พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. สัมปยุตตวาระ (๑. กุสลติกะ) - อนุโลมติกปัฏฐาน

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 398

๖. สัมปยุตตวาระ

อนุโลมนัย

[๔๗๕] ๑. กุศลธรรม ประกอบกับกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ ประกอบกับขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ ประกอบกับขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ ประกอบกับขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

[๔๗๖] ๒. อกุศลธรรม ประกอบกับอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ ประกอบกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ ประกอบกับขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ ประกอบกับขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

[๔๗๗] ๓. อัพยากตธรรม ประกอบกับอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ ประกอบกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ ประกอบกับขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ ประกอบกับขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ ประกอบกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ ประกอบกับขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ ประกอบกับ ขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 399

การนับวาระในอนุโลมแห่งสัมปยุตตวาระ

[๔๗๘] ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

อนุโลมนัย จบ

ปัจจนียนัย

[๔๗๙] ๑. อกุศลธรรม ประกอบกับอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะ นเหตุปัจจัย

คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ประกอบ กับขันธ์ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดขึ้น.

[๔๘๐] ๒. อัพยากตธรรม ประกอบกับอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 400

คือ ขันธ์ ๓ ประกอบกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา ซึ่งเป็นอเหตุกะเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ ประกอบกับขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ ประกอบกับขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ ประกอบกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ ประกอบกับขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ ประกอบ กับขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ฯลฯ.

การนับวาระในปัจจนียะแห่งสัมปยุตตวาระ

[๔๘๑] ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน นอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

ปัจจนียนัย จบ

อนุโลมปัจจนียนัย

การนับวาระในอนุโลมปัจจนียะแห่งสัมปยุตตวาระ

[๔๘๒] เพราะเหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ... ใน นปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 401

นอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

อนุโลมปัจจนียนัย จบ

การนับวาระในปัจจนียนุโลมแห่งสัมปยุตตวาระ

[๔๘๓] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ ... ใน อนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

ปัจจนียานุโลมนัย จบ

สัมปยุตตวาระ จบ

ข้อความในสัมปยุตตวาระ เหมือนข้อความในสังสัฏฐาวาระ.

ข้อความในสังสัฏฐวาระ เหมือนข้อความในสัมปยุตตวาระ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 402

อรรถกถาสัมปยุตตวาระ

พึงทราบวินิจฉัยใน สัมปยุตตวาระ ต่อไป:-

คำว่า กุสลํ ธมฺม สมฺปยุตฺโต ประกอบกับกุศลธรรม ความว่า ทำกุศลธรรมให้เป็นสัมปยุตตปัจจัย. คำที่เหลือในวรรณนานี้ พึงทราบ ตามนัยที่กล่าวไว้ในสังสัฏฐวาระ. ส่วนในที่สุดของสัมปยุตตวาระนี้ คำว่า อรรถว่า สังสัฏฐะ เจือ มีความหมายเท่ากับ สัมปยุตตะ ประกอบ อรรถว่า สัมปยุตตะ ประกอบ มีความหมายเท่ากับ สังสัฏฐะ เจือ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อแสดงความไม่ต่างกัน โดยใจความแห่งวาระ ทั้งสองนี้. จริงอยู่ เมื่อว่าโดยใจความ วาระทั้งสองนี้ ไม่มีข้อแตกต่างกัน เหมือน ปฏิจจะ ศัพท์ กับ สหชาตะ และ ปัจจยะ กับ นิสสยะ ศัพท์ฉะนั้น ถึงอย่างนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อกำหนดความของกันและกัน. จริงอยู่ ในคำมีอาทิว่า ม้าทั้งหลายอันเขาเอาเข้าคู่กันเทียมเข้า ด้วยกัน ดังนี้. แม้สิ่งที่ไม่ได้ประกอบกัน ท่านก็เรียกว่า สังสัฏฐะได้. ในคำว่า วิมังสานั้นใด สหรคตแล้วด้วยโกสัชชะ สัมปยุตแล้วด้วย โกสัชชะ ดังนี้เป็นต้น. แม้สิ่งที่ระคนปนกันก็มาเป็นสัมปยุตได้. วาระทั้งสองนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อให้เน้นหนักถึงภาวะที่สัมปยุตตปัจจัย ซึ่งมีลักษณะเกิดในคราวเดียวกันเป็นต้น เป็นสังสัฏฐวาระ และเพื่อให้เน้นหนักถึงสังสัฏฐธรรม ซึ่งมีการเกิดในคราวเดียวกันเป็นต้น เป็นลักษณะ เป็นสัมปยุตตปัจจัย โดยสัมปยุตตวาระ. อีกอย่างหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 403

วาระทั้งสองนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยเป็น เทศนาวิลาสะ ตามอำนาจอัธยาศัยของเหล่าสัตว์ผู้จะตรัสรู้โดยประการนั้น และด้วยอำนาจพระปรีชาอันแตกฉานในนิรุตติปฏิสัมภิทา.

อรรถกถาสัมปยุตตวาระ จบ