พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. สังกิลิฏฐติกะ - อนุโลมติกปัฏฐาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ก.พ. 2565
หมายเลข  42202
อ่าน  594

[เล่มที่ 86] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗

ปัฏฐาน ภาคที่ ๒

อนุโลมติกปัฏฐาน

๕. สังกิลิฏฐติกะ

ปฏิจจวาระ

อนุโลมนัย

เหตุปัจจัย 1660/286

การนับจํานวนวาระในอนุโลม สุทธมูลกนัย 1664/288

ปัจจนียนัย 1666/288

การนับจํานวนวาระในปัจจนียะเป็นต้น 289

ปัญหาวาระ

อนุโลมนัย

๑. เหตุปัจจัย 1668/290

๒. อารัมมณปัจจัย 1675/291

๓. อธิปติปัจจัย 1681/295

๔. อนันตรปัจจัย 1689/299

๕. สมนันตรปัจจัยฯลฯ - ๙. อุปนิสสยปัจจัย 1696/301

๑๐. ปุเรชาตปัจจัย 1704/305

๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย 1707/306

๑๒. อาเสวนปัจจัย 1710/307

๑๓. กัมมปัจจัย 1713/308

๑๔. วิปากปัจจัย 1720/310

๑๕. อาหารปัจจัย 1724/312

๑๖. อินทริยปัจจัย 1727/312

๑๗. ฌานปัจจัย ฯลฯ - ๑๙. สัมปยุตตปัจจัย 1728/313

๒๐. วิปปยุตตปัจจัย 1729/313

๒๑. อัตถิปัจจัย 1734/315

๒๒. นัตถิปัจจัย 1747/321

สุทธมูลกนัย 1748/321

เหตุสภาคะ 1749/322

เหตุฆฏนา 1750/322

ปัจจนียนัย

การยกปัจจัยในปัจจนียะแห่งปัญหาวาระ 1751/323

การนับจํานวนวาระในปัจจนียะ สุทธมูลกนัย 1765/326

อนุโลมปัจจนียะ 1766/326

ปัจจนียานุโลม 1767/327

อรรถกถาสังกิลิฏฐติกะ 328


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 86]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 286

๕. สังกิลิฏฐติกะ

ปฏิจจวาระ

อนุโลมนัย

เหตุปัจจัย

[๑๖๖๐] ๑. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม อาศัยสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๒. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม อาศัยสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมเกิดขึ้น.

๓. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม และอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม อาศัยสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

[๑๖๖๑] ๔. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม อาศัยอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฎฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 287

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น. หทยวัตถุอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุ เกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูป และ กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูป เกิดขึ้น.

[๑๖๖๒] ๕. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม อาศัยอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๖. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม อาศัยอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เกิดขึ้น.

๗. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม และอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม อาศัยอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 288

[๑๖๖๓] ๘. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม อาศัยอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม และอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม และมหาภูตรูป เกิดขึ้น.

[๑๖๖๔] ๙. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม อาศัยสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม และอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม และมหาภูตรูป ฯลฯ

การนับจำนวนวาระในอนุโลม

สุทธมูลกนัย

[๑๖๖๕] ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ ในวิปากปัจจัย มี ๕ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

ในกุสลติกะท่านจำแนกไว้อย่างไร พึงจำแนกอย่างนั้น.

ปัจจนียนัย

[๑๖๖๖] สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม อาศัยสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย

คือ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัยขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เกิดขึ้น.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 289

[๑๖๖๗] อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม อาศัยอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ซึ่งเป็นอเหตุกะ เกิดขึ้น ฯลฯ

ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ ฯลฯ สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ

ในกุสลติกะ ท่านจำแนกไว้อย่างไร พึงจำแนกอย่างนั้น.

การนับจำนวนวาระในปัจจนียะเป็นต้น

ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๖ วาระ ฯลฯ

เพราะเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ฯลฯ

เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ ฯลฯ

สหชาตวาระก็ดี ปัจจยวาระ นิสสยวาระ สังสัฏฐวาระ และสัมปยุตตวาระก็ดี พึงให้พิสดาร.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 290

ปัญหาวาระ

อนุโลมนัย

๑. เหตุปัจจัย

[๑๖๖๘] ๑. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

[๑๖๖๙] ๒. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

[๑๖๗๐] ๓. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม และอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

[๑๖๗๑] ๔. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 291

ในปฏิสนธิขณะ เหตุที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

[๑๖๗๒] ๕. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

[๑๖๗๓] ๖. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

[๑๖๗๔] ๗. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม และอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

๒. อารัมมณปัจจัย

[๑๖๗๕] ๑. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 292

คือ ๑. บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่งราคะ เพราะปรารภราคะ นั้น ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น. บุคคลย่อมยินดีซึ่งทิฏฐิ ฯลฯ เพราะปรารภวิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัส ฯลฯ

ในกุสลติกะ ท่านจำแนกไว้อย่างไร พึงจำแนกอย่างนั้น.

[๑๖๗๖] ๒. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ ๑. พระอริยะทั้งหลาย พิจารณากิเลสที่ละแล้ว.

๒. พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว.

๓. รู้กิเลสที่เคยเกิดแล้วในกาลก่อน.

๔. พิจารณาเห็นขันธ์ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

๕. รู้จิตของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.

๖. พระเสกขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นขันธ์ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่อกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตอันเป็นวิบาก ย่อมเกิดขึ้น.

๗. ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งขันธ์ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น เมื่ออกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตอันเป็นวิบาก ย่อมเกิดขึ้น.

๘. ขันธ์ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 293

[๑๖๗๗] ๓. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ ๑. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรม แล้วพิจารณากุศลนั้น.

๒. บุคคลพิจารณากุศลที่สั่งสมไว้ในกาลก่อน.

๓. บุคคลออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน.

๔. พระอริยบุคคลพิจารณาโคตรภู พิจารณาโวทาน.

๕. พิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พิจารณา โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ และขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

๖. เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ

๗. รู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียง ด้วยจิตที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.

๘. อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ

๙. อากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

๑๐. รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของ อารัมมณปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

๑๑. ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 294

[๑๖๗๘] ๔. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ ๑. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรมแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่ง กุศลนั้น เมื่อปรารภกุศลนั้น ราคะ ทิฏฐิ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

๒. บุคคลย่อมยินดีกุศลที่ได้สั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน.

๓. ออกจากฌาน. ยินดีฌาน ยินดีจักษุ ฯลฯ ยินดีโผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ หทยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เพราะปรารภกุศล เป็นต้นนั้น ราคะ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

[๑๖๗๙] ๕. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรค แก่ผล ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

[๑๖๘๐] ๖. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ ๑. พระอริยบุคคลออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรค พิจารณา ผล พิจารณานิพพาน.

๒. นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

๓. พระอริยบุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 295

๔. ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

๓. อธิปติปัจจัย

[๑๖๘๑] ๑. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณธิปติ และ สหชาตาธิปติ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

๑. บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำราคะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำราคะนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

๒. บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำทิฏฐินั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นทำทิฏฐินั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อธิปติธรรมที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

[๑๖๘๒] ๒. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่อธิปติธรรมที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 296

[๑๖๘๓] ๓. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม และอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

[๑๖๘๔] ๔. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ

ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

๑. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว กระทำกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้วพิจารณา.

๒. กระทำกุศลที่ตนสั่งสมไว้ดีแล้วในกาลก่อนให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.

๓. ออกจากฌานแล้ว กระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.

๔. พระเสกขะ กระทำโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา, กระทำโวทานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.

ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อธิปติธรรมที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

[๑๖๘๕] ๕. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 297

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

๑. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำ กุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

๒. บุคคลกระทำกุศลที่สั่งสมไว้แล้วในกาลก่อนให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง.

๓. บุคคลออกจากฌานแล้ว กระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง.

๔. บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำโผฏฐัพพะ ฯลฯ หทยวัตถุและขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำธรรมนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

[๑๖๘๖] ๖. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี ๒ อย่างคือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ

ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรค แก่ผล ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อธิปติธรรมที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 298

[๑๖๘๗] ๗. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

๑. พระอริยบุคคลออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณากระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณากระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้วพิจารณา.

๒. นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อธิปติธรรมที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

[๑๖๘๘] ๘. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรมและอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อธิปติธรรมที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 299

๔. อนันตรปัจจัย

[๑๖๘๙] ๑. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

[๑๖๙๐] ๒. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

[๑๖๙๑] ๓. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย, อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน อาวัชชนะเป็นปัจจัย แก่ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

[๑๖๙๒] ๔. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 300

คือ อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

[๑๖๙๓] ๕. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค, โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค, อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ, เนวสัญญานาสัญญายตนะของผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

[๑๖๙๔] ๖. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรมที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

มรรคเป็นปัจจัยแก่ผล ผลเป็นปัจจัยแก่ผล ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

[๑๖๙๕] ๗. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 301

๕. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ ๙. อุปนิสสยปัจจัย

[๑๖๙๖] ๑. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย (๑) ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย (๒) เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย๓ ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย (๔) ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจ ของอุปนิสสยปัจจัย๕

มี ๓ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

บุคคลอาศัยราคะ ย่อมฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์, อาศัยโทสะ ย่อมฆ่า สัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์, ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ราคะ ฯลฯ แก่ความปรารถนาด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

ปาณาติบาตเป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ นิยตมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยแก่นิยตมิจฉาทิฏฐิด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[๑๖๙๗] ๒. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยราคะแล้วให้ทาน สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรม ยังฌาน วิปัสสนา อภิญญา สมาบัติ ให้เกิดอาศัยความปรารถนาแล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด.


๑. มี ๗ วาระ, ๒. มี ๙ วาระ ๓. มี ๓ วาระ ๔. มี ๑๓ วาระ ๕. มี ๘ วาระ (ดูข้อ ๑๗๔๘ ข้างหน้า)

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 302

ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา แก่ความสุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

บุกคลฆ่าสัตว์แล้ว ย่อมให้ทานสมาทานศีล ทำอุโบสถกรรม ยังฌานวิปัสสนา อภิญญา และสมาบัติให้เกิด เพื่อลบล้างบาปกรรมนั้น ฯลฯ บุคคลทำลายสงฆ์แล้ว ย่อมให้ทาน สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรม เพื่อต้องการลบล้างบาปกรรมนั้น.

อกุศลกรรม เป็นปัจจัยแก่วิบาก ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[๑๖๙๘] ๓. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

๑. บุคคลอาศัยราคะแล้ว ยังมรรคให้เกิด เข้าผลสมาบัติ, อาศัยโทสะ ฯลฯ ความปรารถนา ยังมรรคให้เกิด เข้าผลสมาบัติ.

๒. ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่มรรค แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[๑๖๙๙] ๔. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

๑. บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ยังสมาบัติให้เกิด อาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ ย่อมให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 303

๒. ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา สุขทางกาย ด้วย อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๓. กุศลกรรม เป็นปัจจัยแก่วิบาก ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๔. บริกรรมแห่งปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่ปฐมฌาน ฯลฯ อากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ

[๑๗๐๐] ๕. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย. มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

๑. บุคคลอาศัยศรัทธาแล้ว ก่อมานะ ถือทิฏฐิ, อาศัยศีล ฯลฯ เสนาสนะ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.

๒. ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ราคะ ฯลฯ แก่ความปรารถนาด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[๑๗๐๑] ๖. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกรรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ. ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

บริกรรมแห่งปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรค ฯลฯ ทุติยมรรค ฯลฯ ตติยมรรค ฯลฯ จตุตถมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 304

[๑๗๐๒] ๗. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

๑. ปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค

๒. ทุติยมรรค เป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค

๓. ตติยมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค

๔. มรรค (๑) เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[๑๗๐๓] ๘. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

๑. พระอริยบุคคล อาศัยมรรค ยังสมาบัติที่ยังไม่เกิด ให้เกิด เข้าสมาบัติที่เกิดแล้ว พิจารณาเห็นสังขาร โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

๒. มรรคเป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความฉลาดในฐานะและอฐานะของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๓. ผลสมาบัติ เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.


๑. บาลีเป็น จตุตฺโถ มคฺโค, คำว่า จตุตฺโถ เกินมา ในทีนี้จึงแปลเฉพาะค่าว่า มคฺโค.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 305

๑๐. ปุเรชาตปัจจัย

[๑๗๐๔] ๑. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ

ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่

๑. บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พิจารณาเห็นโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

๒. เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ.

๓. ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.

๔. รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ.

ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่

๑. จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

๒. หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

[๑๗๐๕] ๒. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 306

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่

บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งจักษุ เพราะปรารภจักษุนั้น ราคะ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น. ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งโสตะ ฯลฯ โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ เพราะปรารภโสตะเป็นต้นนั้น ราคะ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่

หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วย อำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

[๑๗๐๖] ๓. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

คือ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย

[๑๗๐๗] ๑. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 307

[๑๗๐๘] ๒. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.

[๑๗๐๙] ๓. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.

๑๒. อาเสวนปัจจัย

[๑๗๑๐] ๑. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.

[๑๗๑๑] ๒. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ที่เกิดก่อนๆ ฯลฯ อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู, อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 308

[๑๗๑๒] ๓. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย

คือ โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรคด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.

๑๓. กัมมปัจจัย

[๑๗๑๓] ๑. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

[๑๗๑๔] ๒. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

เจตนาที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมที่เกิดพร้อม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมเป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ และ กฏัตตารูป ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 309

[๑๗๑๕] ๓. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม และอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

[๑๗๑๖] ๔. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

เจตนาที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่

เจตนาที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิสิกธรรมเป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ และ กฏัตตารูป ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

[๑๗๑๗] ๕. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 310

เจตนาที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่

เจตนาที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ที่เป็น อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ซึ่งเป็นวิบาก ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

[๑๗๑๘] ๖. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

เจตนาที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

[๑๗๑๙] ๗. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม และอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจ ของกัมมปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

เจตนาที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

๑๔. วิปากปัจจัย

[๑๗๒๐] ๑. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 311

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ซึ่งเป็นวิบาก เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยวิปากปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๒.

ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย.

[๑๗๒๑] ๒. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ซึ่งเป็นวิบาก เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒.

[๑๗๒๒] ๓. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย

คือ ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ซึ่งเป็นวิบาก เป็นปัจจัย แก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย.

[๑๗๒๓] ๔. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสสิกธรรม และอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 312

๑๕. อาหารปัจจัย

[๑๗๒๔] ๑. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๗๒๕] ๔. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย

คือ อาหารที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย. ในปฏิสนธิขณะ (๑) ฯลฯ กวฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย ฯลฯ.

[๑๗๒๖] ๕. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๖. อินทริยปัจจัย

[๑๗๒๗] ๑. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ.

๔. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย

คือ อินทรีย์ที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.


๑. ฯลฯ ดูข้อ ๑๖๗๑

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 313

ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ.

จักขุนทรีย์ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย. รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.

๕. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม มี ๓ วาระ.

๑๗. ฌานปัจจัย

๑๘. มัคคปัจจัย

๑๙. สัมปยุตตปัจจัย

[๑๗๒๘] ๑. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจ ของมัคคปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย.

๒๐. วิปปยุตตปัจจัย

[๑๗๒๙] ๑. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

ขันธ์ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมที่เกิดพร้อม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่


๑. ๒. มี ๗ วาระ, ๓. มี ๓ วาระ

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 314

ขันธ์ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

[๑๗๓๐] ๒. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ และ ปัจฉาชาตะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมที่เกิดพร้อม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ, หทยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่

จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่ กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

หทยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

[๑๗๓๑] ๓. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 315

มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

[๑๗๓๒] ๔. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

[๑๗๓๓] ๕. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรมที่เกิดพร้อม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

๒๑. อัตถิปัจจัย

[๑๗๓๔] ๑. สังกิลิฏิฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 316

[๑๗๓๕] ๒. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

ขันธ์ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมที่เกิดพร้อม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

[๑๗๓๖] ๓. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม และอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และ จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ ฯลฯ

[๑๗๓๗] ๔. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี ๕ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และ อินทริยะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

ขันธ์ ๑ ที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 317

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ

ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่

บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น อนัตตา, พิจารณาเห็นโสตะ ฯลฯ กายะ รูป ฯลฯ โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ โดย ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.

รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ.

หทยวัตถุที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัย แก่กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

กวฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้.

รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

[๑๗๓๘] ๕. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 318

มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่

บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่งจักษุ เพราะปรารภจักษุนั้น ราคะ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่งหทยวัตถุ ฯลฯ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจ ของอัตถิปัจจัย.

[๑๗๓๙] ๖. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

[๑๗๔๐] ๗. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ.

[๑๗๔๑] ๘. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ที่เกิดพร้อมเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 319

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

[๑๗๔๒] ๙. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม และอสังกิลฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ.

[๑๗๔๓] ๑๐. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม และอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจ ของอัตถิปัจจัย

มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ, ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ และรวมกับ อินทริยะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรมที่เกิดพร้อมและมหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรมที่เกิดภายหลังและกวฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อินทริยะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็น อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมที่เกิดภายหลังและรูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 320

[๑๗๔๔] ๑๑. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม และอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ ได้แก่

ขันธ์ ๑ ที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรมที่เกิดพร้อมและหทยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ.

[๑๗๔๕] ๑๒. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม และอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ ได้แก่

ขันธ์ ๑ ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมที่เกิดพร้อมและหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ ๒ ฯลฯ

[๑๗๔๖] ๑๓. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม และอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ, ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ และ รวมกับ อินทริยะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมที่เกิดพร้อม และมหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 321

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมที่เกิดภายหลัง และกวฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจ ของอัตถิปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมที่เกิดภายหลัง และรูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

๒๒. นัตถิปัจจัย

[๑๗๔๗] สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของนัตถิปัจจัย () (๑) ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของวิคตปัจจัย () (๒) ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย () (๓)

สุทธมูลกนัย

[๑๗๔๘] ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๖ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๘ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๘ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๔ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ใน มัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี


(๑) (๒) มี ๗ วาระ เหมือนอนันตรปัจจัย (๓) มี ๑๓ วาระ เหมืนอัตถิปัจจัย

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 322

๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

เหตุสภาคะ

[๑๗๔๙] เพราะเหตุปัจจัย ในอธิปติปัจจัย มี ๔ วาระ ... ใน สหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๔ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๔ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๔ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

เหตุฆฏนา

[๑๗๕๐] ปัจจัย ๕ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ และอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

ปัจจัย ๖ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ อัตถิ และ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

ปัจจัย ๗ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ สัมปยุตตะ อัตถิและอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

ปัจจัย ๖ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ วิปปยุตตะ อัตถิ และอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

ปัจจัย ๖ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ อัตถิ และอวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

ปัจจัย ๗ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ วิปากะ อัตถิ และอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 323

ปัจจัย ๘ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ วิปากะ สัมปยุตตะ อัตถิ และอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

ปัจจัย ๗ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

ปัจจัย ๘ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ วิปากะ วิปปยุตตะ อัตถิ และอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ในกุสลติกะให้พิสดารแล้ว อย่างไร พึงให้พิสดารอย่างนั้น.

อนุโลมนัย จบ

ปัจจนียนัย

การยกปัจจัยในปัจจนียะแห่งปัญหาวาระ

[๑๗๕๑] สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[๑๗๕๒] สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจ ของกัมมปัจจัย.

[๑๗๕๓] สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 324

[๑๗๕๔] สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม และอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.

[๑๗๕๕] อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.

[๑๗๕๖] อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย ฯลฯ ด้วยเป็นปัจจัยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

[๑๗๕๗] อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วย อำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

[๑๗๕๘] อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 325

[๑๗๕๙] อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.

[๑๗๖๐] อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม และอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.

[๑๗๖๑] อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม และอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม

มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ, ปัจจาชาตะ รวมกับ อาหาระ และรวมกับ อินทริยะ

[๑๗๖๒] อสังกิฏฐสังกิเลสิกธรรม และอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ

[๑๗๖๓] สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม และอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ

[๑๗๖๔] สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม และอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 326

มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ, ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ และรวมกับ อินทริยะ.

การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ

สุทธมูลกนัย

[๑๗๖๕] ในนเหตุปัจจัย มี ๑๔ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑๔ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑๔ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๑๔ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑๔ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑๐ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑๐ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๑๐ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑๒ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๔ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๔ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑๔ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๔ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑๔ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑๔ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑๔ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๔ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๐ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๘ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๘ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๔ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑๔ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๘ วาระ.

เพราะนเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑๔ วาระ ฯลฯ การนับ ปัจจยนียะ ในกุสลติกะอย่างไร ในสังกิลิฏฐติกะ ก็พึงนับอย่างนั้น.

ปัจจนียะ จบ

อนุโลมปัจจนียะ

[๑๗๖๖] เพราะเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ ... ใน นอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย ในนปุเร-

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 327

ชาตปัจจัย ฯลฯ ในนปัจฉาชาตปัจจัย ในนอาเสวนปัจจัย ในนกัมมปัจจัย ในนวิปากปัจจัย ในนอาหารปัจจัย ในนอินทริยปัจจัย ในนฌานปัจจัย (แต่ ละปัจจัย) มี ๗ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

เพราะปัจจัย ๕ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ.

การนับวาระในอนุโลมปัจจนียะ ในกุสลติกะได้จำแนกไว้แล้วอย่างไร ในติกะนี้ ก็พึงจำแนกอย่างนั้น

อนุโลมปัจจนียะ จบ

ปัจจนียานุโลม

[๑๗๖๗] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๖ วาระ ... ใน อธิปติปัจจัย มี ๘ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๘ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระในปุจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๔ วาระ ในอาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย แต่ละปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 328

เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ในอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ.

การนับวาระในปัจจนียานุโลม ในกุสลติกะ ได้จำแนกไว้แล้วอย่างไร ในที่นี้ก็พึงจำแนกอย่างนั้น.

ปัจจนียานุโลม จบ

สังกิลิฏฐติกะที่ ๕ จบ

อนุโลมติกปัฏฐาน ตอนต้น จบ (๑)

อรรถกถาสังกิลิฏฐติกะ

คำทั้งหมดใน สังกิลิฏฐสังกิเลสติกะ ผู้ศึกษาพึงทราบตามแนว แห่งนัยที่กล่าวแล้วในกุสลติกะ.

อรรถกถาสังกิลิฏฐติกะ จบ


(๑) จบบาลีเล่ม ๔๐ เพียงติกะที่ ๕