พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. สัปปัจจยทุกะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ก.พ. 2565
หมายเลข  42256
อ่าน  366

[เล่มที่ 88] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗

ปัฏฐาน ภาคที่ ๔

อนุโลมทุกปัฏฐาน

๗. สัปปัจจยทุกะ

ปฏิจจวาระ

อนุโลมนัย 191

๑. เหตุปัจจัย 166/191

๒. อารัมมณปัจจัย ฯลฯ ๒๓. อวิคตปัจจัย 167/191

การนับจํานวนวาระในอนุโลม 168/192

ปัจจนียนัย 192

๑. นเหตุปัจจัย 169/192

การนับจํานวนวาระในปัจจนียะ 170/192

อนุโลมปัจจนียนัย 193

การนับจํานวนวาระในปัจจนียะ 171/193

ปัจจนียานุโลมนัย 193

การนับจํานวนวาระในปัจจนียานุโลม 172/193

ปัจจยวาระ

อนุโลมนัย 194

๑. เหตุปัจจัย 173/194

๒. อารัมมณปัจจัย 174/194

ปัญหาวาระ

อนุโลมนัย 195

๑. เหตุปัจจัย 175/195

๒. อารัมมณปัจจัย 176/195

๓. อธิปติปัจจัย 177/196

๔. อนันตรปัจจัย ฯลฯ ๒๔. อวิคตปัจจัย 178/198

การนับจํานวนวาระในอนุโลม 179/198

ปัจจนียนัย 199

การยกปัจจัยในปัจจนียะ 180/199

การนับจํานวนวาระในปัจจนียะ 181/199

อนุโลมปัจจนียนัย 200

การนับจํานวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ 182/200

ปัจจนียานุโลม 200

การนับจํานวนวาระในปัจจนียานุโลม 183/200


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 88]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 191

๗. สัปปัจจยทุกะ

ปฏิจจวาระ

อนุโลมนัย

๑. เหตุปัจจัย

[๑๖๖] ๑. สัปปัจจยธรรม อาศัยสัปปัจจยธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสัปปัจจยธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ.

ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ หทยวัตถุ อาศัยขันธ์ทั้งหลาย, ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทยวัตถุ ฯลฯ มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูป กฏัตตารูปที่เป็น อุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย.

๒. อารัมมณปัจจัย ฯลฯ ๒๓. อวิคตปัจจัย

[๑๖๗] ๑. สัปปัจจยธรรม อาศัยสัปปัจจยธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย ฯลฯ

ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 192

การนับจำนวนวาระในอนุโลม

[๑๖๘] ในเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

อนุโลมนัย จบ

ปัจจนียนัย

๑. นเหตุปัจจัย

[๑๖๙] ๑. สัปปัจจยธรรม อาศัยสัปปัจจยธรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสัปปัจจยธรรม ซึ่งเป็นอเหตุกะ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ตลอดถึงอสัญญสัตว์.

โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัยขันธ์ ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ฯลฯ

การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ

[๑๗๐] ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในนอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ปัจจนียนัย จบ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 193

อนุโลมปัจจนียนัย

การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ

[๑๗๑] เพราะเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ... ใน นอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

อนุโลมปัจจนียนัย จบ

ปัจจนียานุโลมนัย

การนับจำนวนวาระในปัจจนียานุโลม

[๑๗๒] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ... ใน อนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ปัจจนียานุโลมนัย จบ

สหชาตวาระ เหมือนกับ ปฏิจจวาระ.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 194

ปัจจยวาระ

อนุโลมนัย

๑. เหตุปัจจัย

[๑๗๓] ๑. สัปปัจจยธรรม อาศัยสัปปัจจยธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสัปปัจจยธรรม ฯลฯ.

ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ หทยวัตถุ อาศัยขันธ์ทั้งหลาย, ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทยวัตถุ.

ฯลฯ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปัจจยธรรม อาศัยหทยวัตถุ.

๒. อารัมมณปัจจัย

[๑๗๔] ๑. สัปปัจจยธรรม อาศัยสัปปัจจยธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย ฯลฯ

ปัจจยวาระก็ดี นิสสยวาระก็ดี สังสัฏฐวาระก็ดี สัมปยุตตวาระก็ดี พึงให้พิสดารอย่างนี้.

ในปัจจัยทั้งปวง มี ๑ วาระ เท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 195

ปัญหาวาระ

อนุโลมนัย

๑. เหตุปัจจัย

[๑๗๕] ๑. สัปปัจจยธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปัจจยธรรม ด้วย อำนาจของเหตุปัจจัย.

คือ เหตุทั้งหลาย ที่เป็นสัปปัจจยธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ

๒. อารัมมณปัจจัย

[๑๗๖] ๑. สัปปัจจยธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปัจจยธรรม ด้วย อำนาจของอารัมมณปัจจัย.

คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ฯลฯ แล้ว พิจารณาซึ่งกุศลกรรมนั้น.

บุคคลพิจารณากุศลกรรมทั้งหลาย ที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน. ออกจากฌานแล้ว พิจารณาฌาน.

พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค พิจารณามรรค, พิจารณาผล, กิเลส ที่ละแล้ว ฯลฯ กิเลสที่ข่มแล้ว ฯลฯ รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้ว ในกาลก่อน.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 196

บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น สัปปัจจยธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ, ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.

บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นสัปปัจจยธรรม ด้วย เจโตปริยญาณ.

อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ, อากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ.

รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น ปัจจัยแก่กายวิญญาณ.

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปัจจยธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่ เจโตปริยญาณ แก่บุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่ อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

๒. อัปปัจจยธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปัจจยธรรม ด้วย อำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ พระอริยะทั้งหลาย พิจารณานิพพาน.

นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล แก่ อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

๓. อธิปติปัจจัย

[๑๗๗] ๑. สัปปัจจยธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปัจจยธรรม ด้วย อำนาจของอธิปติปัจจัย

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 197

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ

ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ กระทำกุศลกรรม นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้วพิจารณา.

บุคคลพิจารณากุศลกรรมที่ทำแล้วในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌาน แล้ว ฯลฯ

พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น แล้วพิจารณา, กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว พิจารณา.

บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปัจจยธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำ จักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อธิปติธรรมที่เป็นสัปปัจจยธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

๒. อัปปัจจยธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปัจจยธรรม ด้วย อำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

พระอริยะทั้งหลายกระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว พิจารณา.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 198

นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล ด้วย อำนาจของอธิปติปัจจัย.

๔. อนันตรปัจจัย ฯลฯ ๒๔. อวิคตปัจจัย

[๑๗๘] ๑. สัปปัจจยธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปัจจยธรรม ด้วย อำนาจของอนันตรปัจจัย ฯลฯ

ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย, อุปนิสสยมูล มี ๒ วาระ.

ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย ฯลฯ

ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย.

ปัจจัยทั้งปวง มี ๑ วาระ เท่านั้น.

การนับจำนวนวาระในอนุโลม

[๑๗๙] ในเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ ใน อธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน นิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในปัจจัยทั้งปวง มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

อนุโลมนัย จบ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 199

ปัจจนียนัย

การยกปัจจัยในปัจจนียะ

[๑๘๐] ๑. สัปปัจจยธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปัจจยธรรม ด้วย อำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของ ปุเรชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.

๒. อัปปัจจยธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปัจจยธรรม ด้วย อำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ

[๑๘๑] ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี๒ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

ปัจจนียนัย จบ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 200

อนุโลมปัจจนียนัย

การนับจำนวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ

[๑๘๒] เพราะเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ... ใน นอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน โนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

อนุโลมปัจจนียนัย จบ

ปัจจนียานุโลม

การนับจำนวนวาระในปัจจนียานุโลม

[๑๘๓] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ ... ใน อธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

ปัจจนียานุโลมนัย จบ

สัปปัจจยทุกะ จบ

 
หัวข้อถัดไป
หัวข้อก่อนหน้า

หน้าบัญชีเรื่อง