พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๕. สาสวทุกะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ก.พ. 2565
หมายเลข  42264
อ่าน  349

[เล่มที่ 88] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗

ปัฏฐาน ภาคที่ ๔

อนุโลมทุกปัฏฐาน

๑๕. สาสวทุกะ

ปฏิจจวาระ

อนุโลมนัย 379

๑. เหตุปัจจัย 362/379


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 88]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 379

๑๕. สาสวทุกะ

ปฏิจจวาระ

อนุโลมนัย

๑. เหตุปัจจัย

[๓๖๒] ๑. สาสวธรรม อาศัยสาสวธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสาสวธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

ในปฏิสนธิขณะ หทยวัตถุ อาศัยขันธ์ทั้งหลาย ขันธ์ทั้งหลาย อาศัย หทยวัตถุ

ฯลฯ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ

จิตตสมุฏฐานรูป กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย.

๒. อนาสวธรรม อาศัยอนาสวธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอนาสวธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

๓. สาสวธรรม อาศัยอนาสวธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนาสวธรรม.

๔. สาสวธรรม และอนาสวธรรม อาศัยอนาสวธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 380

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอนาสวธรรม ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒.

๕. สาสวธรรม อาศัยสาสวธรรม และอนาสวธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนาสวธรรม และ มหาภูตรูปทั้งหลาย.

โลกิยทุกะ ในจูฬันตรทุกะฉันใด พึงกระทำฉันนั้น ไม่มีแตกต่างกัน.

สาสวทุกะ จบ

 
หัวข้อถัดไป
หัวข้อก่อนหน้า

หน้าบัญชีเรื่อง