๑๗. อาสวสาสวทุกะ
[เล่มที่ 88] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔
พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗
ปัฏฐาน ภาคที่ ๔
อนุโลมทุกปัฏฐาน
๑๗. อาสวสาสวทุกะ
ปฏิจจวาระ
ปัญหาวาระ
๑. เหตุปัจจัย ฯลฯ ๓. อธิปติปัจจัย 438
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 88]
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 435
๑๗. อาสวสาสวทุกะ
ปฏิจจวาระ
อนุโลมนัย
๑. เหตุปัจจัย
[๔๐๓] ๑. ธรรมที่เป็นทั้งอาสวธรรมและสาสวธรรม อาศัย ธรรมที่เป็นทั้งอาสวธรรมและสาสวธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ อาศัยกามาสวะ ฯลฯ
พึงผูกจักรนัย
อวิชชาสวะ อาศัยภวาสวะ ฯลฯ
พึงผูกจักรนัย
อวิชชาสวะ อาศัยทิฏฐาสวะ ฯลฯ
๒. ธรรมที่เป็นสาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม อาศัย ธรรมที่เป็นทั้งอาสวธรรมและสาสวธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย อาศัยอาสวธรรม ทั้งหลาย.
๓. ธรรมที่เป็นทั้งอาสวธรรมและสาสวธรรม และ ธรรมที่เป็นสาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม อาศัยธรรมที่เป็นทั้ง อาสวธรรมและสาสวธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ที่เป็นสัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย อาศัยกามาสวะ ภวาสวะ ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 436
พึงผูกจักรนัย
๔. ธรรมที่เป็นสาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม อาศัย ธรรมที่เป็นสาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสาสวธรรม แต่ไม่ใช่อาสวธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ
ในปฏิสนธิขณะ หทยวัตถุ อาศัยขันธ์ทั้งหลาย, ขันธ์ทั้งหลายอาศัย หทยวัตถุ.
มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ
๕. ธรรมที่เป็นทั้งอาสวธรรมและสาสวธรรม อาศัย ธรรมที่เป็นสาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ อาสวธรรมทั้งหลาย อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสาสวธรรม แต่ ไม่ใช่อาสวธรรม.
๖. ธรรมที่เป็นทั้งอาสวธรรมและสาสวธรรม และ ธรรมที่เป็นสาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม อาศัยธรรมที่เป็นอาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ และอาสวธรรมทั้งหลาย และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย ขันธ์ ๑ ที่เป็นสาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ
๗. ธรรมที่เป็นทั้งอาสวธรรมและสาสวธรรม อาศัย ธรรมที่เป็นทั้งอาสวธรรมและสาสวธรรม และธรรมที่เป็นสาสวธรรม แต่ไม่ใช่อาสวธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 437
คือ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ อาศัยกามาสวะ และสัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย.
พึงผูกจักรนัยอย่างนี้.
๘. ธรรมที่เป็นสาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม อาศัย ธรรมที่เป็นทั้งอาสวธรรมและสาสวธรรม และธรรมที่เป็นสาสวธรรม แต่ไม่ใช่อาสวธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ที่เป็นสาสวธรรม แต่ไม่ใช่อาสวธรรม และอาสวธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ
๙. ธรรมที่เป็นทั้งอาสวธรรมและสาสวธรรม และ ธรรมที่เป็นสาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม อาศัยธรรมที่เป็นทั้ง อาสวธรรมและสาสวธรรม และธรรมที่เป็นสาสวธรรมแต่ไม่ใช่ อาสวธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย ขันธ์ ๑ ที่เป็นสาสวธรรม แต่ไม่ใช่อาสวธรรม และกามาสวะ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ
พึงผูกจักรนัย.
ฯลฯ
ปฏิจจวาระก็ดี สหชาตวาระก็ดี ปัจจัยวาระก็ดี นิสสยวาระก็ดี สงัสัฏฐวาระ ก็ดี สัมปยุตตวาระก็ดี พึงกระทำอย่างที่กล่าวมาแล้ว.
อาสวทุกะ ฉันใด พึงกระทำฉันนั้น ไม่มีแตกต่างกัน.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 438
ปัญหาวาระ
อนุโลมนัย
๑. เหตุปัจจัย ฯลฯ ๓. อธิปติปัจจัย
ในปัญหาวาระ ในเหตุปัจจัย ก็ดี ในอารัมมณปัจจัยก็ดี ไม่พึง กระทำโลกุตตระ ควรกระทำว่า " พระเสกขะทั้งหลาย " ย่อมพิจารณาโคตรภู ย่อมพิจารณาโวทาน แม้ในอธิปติปัจจัย ผู้ที่รู้ปัจจัยทุกอย่างแล้ว พึงกระทำ.
๔. อนันตรปัจจัย
[๔๐๔] ๑. ธรรมที่เป็นทั้งอาสวธรรมและสาสวธรรม เป็น ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งอาสวธรรม และสาสวธรรม ด้วยอำนาจของ อนันตรปัจจัย
คือ อาสวธรรมทั้งหลาย ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม ทั้งหลาย ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
๒. ธรรมที่เป็นทั้งอาสวธรรมและสาสวธรรม เป็น ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นสาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของ อนันตรปัจจัย
คือ อาสวธรรมทั้งหลาย ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นสาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 439
อาสวธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
๓. ธรรมที่เป็นทั้งอาสวธรรมและสาสวธรรม เป็น ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งอาสวธรรมและสาสวธรรม และธรรมที่เป็น สาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ อาสวธรรมทั้งหลาย ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม ทั้งหลาย ที่เกิดหลังๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
๔. ธรรมที่เป็นสาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็น ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นสาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของ อนันตรปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน, อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสาสวธรรม แต่ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
๕. ธรรมที่เป็นสาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็น ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งอาสวธรรมและสาสวธรรม ด้วยอำนาจของ อนันตรปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 440
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรมทั้งหลาย ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย. อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
๖. ธรรมที่เป็นสาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็น ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งอาสวธรรมและสาสวธรรม และธรรมที่เป็น สาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรมทั้งหลาย ที่เกิดหลังๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรมและสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วย อำนาจของอนันตรปัจจัย.
๗. ธรรมที่เป็นทั้งอาสวธรรมและสาสวธรรม และ ธรรมที่เป็นสาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็น ทั้งอาสวธรรมและสาสวธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ อาสวธรรมทั้งหลาย ที่เกิดก่อนๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรมทั้งหลาย ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
๘. ธรรมที่เป็นทั้งอาสวธรรมและสาสวธรรม และ ธรรมที่เป็นสาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็น สาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 441
คือ อาสวธรรมทั้งหลาย ที่เกิดก่อนๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
อาสวธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วย อำนาจของอนันตรปัจจัย.
๙. ธรรมที่เป็นทั้งอาสวธรรมและสาสวธรรม และ ธรรมที่เป็นสาสวธรรมแต่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็น ทั้งอาสวธรรมและสาสวธรรม และธรรมที่เป็นสาสวธรรมแต่ไม่ใช่ อาสวธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ อาสวธรรมทั้งหลาย ที่เกิดก่อนๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรมทั้งหลาย ที่เกิดหลังๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
พึงให้พิสดารอย่างนี้ทั้งหมด.
อนันตรปัจจัย แม้ในอาสวทุกะ ก็พึงให้พิสดาร เหมือนกับทุกะนี้.
อาวัชชนะก็ดี วุฏฐานะก็ดี ท่านแสดงไว้เหมือนกันอย่างนี้ ข้อที่ย่อไว้ ทั้งหมด พึงกระทำให้พิสดาร เหมือนกับอาสวทุกะ ไม่มีแตกต่างกัน.
อาสวสาสวทุกะ จบ