พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕๓. ปรามาสปรามัฏฐทุกะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ก.พ. 2565
หมายเลข  42292
อ่าน  348

[เล่มที่ 88] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗

ปัฏฐาน ภาคที่ ๔

อนุโลมทุกปัฏฐาน

๕๓. ปรามาสปรามัฏฐทุกะ

ปฏิจจวาระ

อนุโลมนัย 793

๑. เหตุปัจจัย 727/793

ปัญหาวาระ

อนุโลมนัย 795

๑. เหตุปัจจัย 728/795


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 88]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 793

๕๓. ปรามาสปรามัฏฐทุกะ

ปฏิจจวาระ

อนุโลมนัย

๑. เหตุปัจจัย

[๗๒๗] ๑. ธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรมแต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม อาศัยธรรมที่เป็นทั้งปรามาสธรรม และปรามัฏฐธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย.

คือ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยปรามาสธรรม.

๒. ธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรมแต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม อาศัยธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นปรามัฏฐ- ธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒.

ในปฏิสนธิขณะ ตลอดถึงอัชฌัตติกมหาภูตรูป.

๓. ธรรมที่เป็นทั้งปรามาสธรรม และปรามัฏฐธรรม อาศัยธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ปรามาสธรรม อาศัยขันธ์ทั้งหลายทั้งเป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ ปรามาสธรรม.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 794

๔. ธรรมที่เป็นปรามาสธรรม และปรามัฏฐธรรม และธรรมที่เป็นปรามัฏฐาน แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม อาศัยธรรม ที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุ ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓, ปรามาสธรรม และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒.

๕. ธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม อาศัยธรรมที่เป็นทั้งปรามาสธรรม และปรามัฏฐธรรม และธรรม ที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุ ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นปรามัฏฐ- ธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม และปรามาสธรรม ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒.

ฯลฯ

วาระทั้งหมดพึงกระทำเหมือนกับปรามาสทุกะ ไม่มีแตกต่างกัน.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 795

ปัญหาวาระ

อนุโลมนัย

๑. เหตุปัจจัย

[๗๒๘] ๑. ธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็น ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ๒. ธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็น ธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งปรามาสธรรมและปรามัฏฐธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็น ปัจจัยแก่ปรามาสธรรม อำนาจของเหตุปัจจัย.

๓. ธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งปรามาสธรรม และปรามัฏฐธรรม และธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม ด้วยอำนาจ ของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็น ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และปรามาสธรรม และจิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 796

[๗๒๙] ๑. ธรรมที่เป็นทั้งปรามาสธรรม และปรามัฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งปรามาสธรรมและปรามัฏฐธรรม ด้วย อำนาจของอารัมมณปัจจัย

มี ๓ วาระ พึงกระทำว่าปรารภ เหมือนกับปรามาสทุกะ.

๔. ธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ กระทำอุโบสถกรรม แล้ว พิจารณากุศลธรรมนั้น ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภกุศลกรรม นั้น ราคะ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ

ออกจากฌาน ฯลฯ

พระอริยะทั้งหลายพิจารณาโคตรภู, พิจารณาโวทาน, กิเลสที่สะสม แล้ว ฯลฯ กิเลสที่ข่มแล้ว ฯลฯ กิเลสทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน ฯลฯ

บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

บุคคลเห็นรูปด้วยทิพย์จักษุ ตลอดถึงอาวัชชนะ พึงกระทำทั้งหมด.

๕. ธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งปรามาสธรรม และปรามัฏฐธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๔ - หน้า 797

คือ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ

พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ

ออกจากฌาน ฯลฯ

บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะ ปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ทิฏฐิ ฯลฯ

๖. ธรรมที่ปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งปรามาสธรรมและปรามัฏฐธรรม และธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม ด้วยอำนาจ ของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ

พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ

ออกจากฌาน ฯลฯ

บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น ปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ปรามาสธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.

ทั้ง ๓ วาระแม้นอกนี้ พึงกระทำว่า เพราะปรารภ.

ทุกะนี้ เหมือนกับปรามาสทุกะ โลกุตตระไม่ได้ในที่ใด ก็ไม่พึง กระทำในที่นั้น.

ปรามาสปรามัฏฐทุกะ จบ