๘๗. สวิตักกทุกะ
[เล่มที่ 89] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕
พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗
ปัฏฐาน ภาคที่ ๕
อนุโลมทุกปัฏฐาน (ต่อ)
๘๗. สวิตักกทุกะ
ปฏิจจวาระ
การนับจํานวนวาระในอนุโลม 643/710
การนับจํานวนวาระในปัจจนียะ 645/712
การนับจํานวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ 646/713
การนับจํานวนวาระในปัจจนียานุโลม 647/713
ปัจจยวาระ
การนับจํานวนวาระในอนุโลม 649/716
การนับจํานวนวาระในปัจจนียะ 651/717
สังสัฏฐวาระ
การนับจํานวนวาระในอนุโลม 653/719
การนับจํานวนวาระในปัจจนียะ 655/720
ปัญหาวาระ
๕. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ ๘. นิสสยปัจจัย 733
๑๔. วิปากปัจจัย ฯลฯ ๑๙. สัมปยุตตปัจจัย 739
๒๒. นัตถิปัจจัย ฯลฯ ๒๔. อวิคตปัจจัย 744
การนับจํานวนวาระในอนุโลม 666/744
การนับจํานวนวาระในปัจจนียะ 668/746
การนับจํานวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ 669/746
การนับจํานวนวาระในปัจจนียานุโลม 670/747
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 89]
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 707
๘๗. สวิตักทุกะ
ปฏิจจวาระ
อนุโลมนัย
๑. เหตุปัจจัย
[๖๔๒] ๑. สวิตักกธรรม อาศัยสวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสวิตักกธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒. ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
๒. อวิตักกธรรม อาศัยสวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย
คือ วิตก และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม. ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
๓. สวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม อาศัยสวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓, วิตก และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น สวิตักกธรรม.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
๔. อวิตักกธรรม อาศัยอวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 708
คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอวิตักกธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒.
จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยวิตก.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอวิตักกธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒.
กฏัตตารูป อาศัยวิตก.
หทยวัตถุ อาศัยขันธ์ทั้งหลาย, ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทยวัตถุ.
หทยวัตถุ อาศัยวิตก, วิตก อาศัยหทยวัตถุ.
ฯลฯ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ
๕. สวิตักกธรรม อาศัยอวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย
คือ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาศัยวิตก.
ในปฏิสนธิขณะ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาศัยวิตก.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม อาศัยหทยวัตถุ.
๖. สวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม อาศัยอวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลายและจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยวิตก.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม อาศัยวิตก.
จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย.
ในปฏิสนธิขณะ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และกฏัตตารูป อาศัยวิตก.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม อาศัยวิตก.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 709
กฏัตตารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม อาศัยหทยวัตถุ.
กฏัตตารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย.
ในปฏิสนธิขณะ วิตก และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทยวัตถุ.
๗. สวิตักกธรรม อาศัยสวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสวิตักกธรรม และ วิตก ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสวิตักกธรรม และ หทยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ ๒.
๘. อวิตักกธรรม อาศัยสวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม, วิตก และมหาภูตรูปทั้งหลาย.
ในปฏิสนธิขณะ กฏัตตารูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม, วิตก และมหาภูตรูปทั้งหลาย.
ในปฏิสนธิขณะ วิตักกธรรม อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และหทยวัตถุ.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 710
๙. สวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม อาศัยสวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก ฯลฯ ขันธ์ ๒.
ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก ฯลฯ ขันธ์ ๒.
จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม วิตก และ มหาภูตรูปทั้งหลาย.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น สวิตักกธรรม และวิตก ฯลฯ ขันธ์ ๒.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสวิตักกธรรม และ วิตก ฯลฯ ขันธ์ ๒.
กฏัตตารูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม วิตก และมหาภูตรูปทั้งหลาย.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และวิตก อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสวิตักกธรรม และหทยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ ๒.
ฯลฯ
การนับจำนวนวาระในอนุโลม
[๖๔๓] ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ ใน อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๖ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๖ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๙ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในปัจจัยทั้งปวง มี ๙ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 711
ปัจจนียนัย
๑. นเหตุปัจจัย
[๖๔๔] ๑. สวิตักกธรรม อาศัยสวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสวิตักกธรรม ซึ่งเป็นอเหตุกะ ฯลฯ ขันธ์ ๒.
ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ ฯลฯ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคต ด้วยอุทธัจจะ อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ.
ธรรมที่มีสวิตักกธรรมเป็นมูล ที่เหลือ ๒ วาระ (วาระที่ ๒ - ๓) พึงกระทำอเหตุกะด้วย ไม่มีแตกต่างกัน.
๔. อวิตักกธรรม อาศัยอวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะ นเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอวิตักกธรรม ซึ่งเป็นอเหตุกะ ฯลฯ ขันธ์ ๒.
จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยวิตก ที่เป็นอเหตุกะ.
ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ กฏัตตารูป อาศัยวิตก.
หทยวัตถุ อาศัยวิตก, วิตก อาศัยหทยวัตถุ.
ฯลฯ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ
๕. สวิตักกธรรม อาศัยอวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะ นเหตุปัจจัย
คือ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาศัยวิตก ที่เป็นอเหตุกะ.
ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาศัยวิตก.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 712
โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัยวิตักกธรรม.
๖. สวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม อาศัยอวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย ฯลฯ
เหมือนกับเหตุปัจจัย พึงกำหนดว่า เป็นอเหตุกะ.
๗. สวิตักกธรรม อาศัยสวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสวิตักกธรรม ซึ่งเป็นอเหตุกะ และวิตก ฯลฯ ขันธ์ ๒.
ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์๑ ที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก ฯลฯ ขันธ์ ๒.
ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสวิตักกธรรม หทยวัตถุ, และวิตก ฯลฯ ขันธ์ ๒.
โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัยขันธ์ ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และวิตก.
ส่วนที่เหลือ ๒ วาระ (วาระที่ ๘ - ๙) เหมือนกับเหตุปัจจัย ไม่มี แตกต่างกัน พึงกำหนดว่า เป็นอเหตุกะ.
การนับจํานวนวาระในปัจจนียะ
[๖๔๕] ในนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ ใน
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 713
นอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.
อนุโลมปัจจนียนัย
การนับจำนวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ
[๖๔๖] เพราะเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ใน นอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ ในนกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.
ปัจจนียานุโลมนัย
การนับจำนวนวาระในปัจจนียานุโลม
[๖๔๗] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ ในอนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๖ วาระ ฯลฯ ใน อาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ในปัจจัยทั้งปวง มี ๙ วาระ.
สหชาตวาระ เหมือนกับปฏิจจาวาระ.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 714
ปัจจยวาระ
อนุโลมนัย
๑. เหตุปัจจัย
[๖๔๘] ๑. สวิตักกธรรม อาศัยสวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย มี ๓ วาระ เหมือนกับปฏิจจวาระ.
๔. อวิตักกธรรม อาศัยอวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอวิตักกธรรม ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒.
จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยวิตักกธรรม.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น
อวิตักกธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒.
ในปฏิสนธิขณะ กฏัตตารูป อาศัยวิตก.
หทยวัตถุ อาศัยขันธ์ทั้งหลาย, ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทยวัตถุ.
หทยวัตถุ อาศัยวิตก วิตก อาศัยหทยวัตถุ.
มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอวิตักกธรรม อาศัยหทยวัตถุ, วิตก อาศัย หทยวัตถุ.
๕. สวิตักกธรรม อาศัยอวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 715
คือ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาศัยวิตก.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม อาศัยหทยวัตถุ.
แม้ในปฏิสนธิขณะ ก็มีทั้ง ๒ วาระ.
๖. สวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม อาศัยอวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย อาศัยวิตก. สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาศัยวิตก.
จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม อาศัยหทยวัตถุ.
จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย.
วิตกและสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทยวัตถุ.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
แม้ในปฏิสนธิขณะ ก็เหมือนกับปวัตตินั้นเทียว.
๗. สวิตักกธรรม อาศัยสวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก ฯลฯ ขันธ์ ๒.
ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสวิตักกธรรม และหทยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ ๒.
ในปฏิสนธิขณะ พึงทำทั้ง ๒ วาระ.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 716
๘. อวิตักกธรรม อาศัยสวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก.
จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นวิตักกธรรม, อวิตักกธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลาย.
วิตก อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นวิตักกธรรม และหทยวัตถุ.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
แม้ในปฏิสนธิขณะ ก็มีทั้ง ๓ วาระ.
๙. สวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม อาศัยสวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก ฯลฯ ขันธ์ ๒.
ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสวิตักกธรรม วิตก, และหทยวัตถุ. ฯลฯ ขันธ์ ๒.
จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม วิตก, และ มหาภูตรูปทั้งหลาย.
ขันธ์ ๓ และวิตักกธรรม อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นสวิตักกธรรม และ หทยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ ๒.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
การนับจำนวนวาระในอนุโลม
[๖๔๙] ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในปัจจัยทั้งปวง มี ๙ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 717
ปัจจนียนัย
๑. นเหตุปัจจัย
[๖๕๐] ๑. สวิตักกธรรม อาศัยสวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะ นเหตุปัจจัย
พึงกระทำเป็น ๙ วาระ.
พึงกำหนดคำว่า เป็นอเหตุกะ ๓ วาระเท่านั้น พึงยกโมหะออกเสีย. เหมือนเหตุปัจจัยในปฏิจจวาระ เพิ่มปัญจวิญญาณ โมหะ วิตก.
ปัจจนียนัย
การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ
[๖๕๑] ในนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ ใน นวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.
การนับทั้งสองนัยนอกนี้ก็ดี นิสสยวาระก็ดี พึงกระทำอย่างนี้.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 718
สังสัฏฐวาระ
อนุโลมนัย
๑. เหตุปัจจัย
[๖๕๒] ๑. สวิตักกธรรม เจือกับสวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ๑ ที่เป็นสวิตักกธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒. ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
๒. อวิตักกธรรม เจือกับสวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย
คือ วิตก เจือกับขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม. ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
๓. สวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม เจือกับสวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ และวิตก เจือกับขันธ์ ๑ ที่เป็นสวิตักกธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
๔. อวิตักกธรรม เจือกับ อวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอวิตักกธรรม, ขันธ์ ๒ เจือกับ ขันธ์ ๒.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 719
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
๕. สวิตักกธรรม เจือกับอวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย
คือ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เจือกับวิตก,
ในปฏิสนธขณะ ฯลฯ
๖. สวิตักกธรรม เจือกับสวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ๑ ที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก ฯลฯ ขันธ์ ๒.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
การนับจำนวนวาระในอนุโลม
[๖๕๓] ในเหตุปัจจัย มี ๖ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๖ วาระ ใน อธิปติปัจจัย มี ๖ วาระ ในปัจจัยทั้งปวง มี ๖ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๖ วาระ.
ปัจจนียนัย
นเหตุปัจจัย
[๖๕๔] ๑. สวิตักกธรรม เจือกับสวิตักกธรรม เกิดขึ้น เพราะ นเหตุปัจจัย
โดยนัยนี้ พึงกระทำเป็น ๖ วาระ เหมือนกับอนุโลม พึงกำหนด คำว่า อเหตุกะ มี ๓ วาระ เหมือนกัน พึงยกโมหะออกเสีย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 720
การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ
[๖๕๕] ในนเหตุปัจจัย มี ๖ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๖ วาระ ใน นปุเรชาตปัจจัย มี ๖ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๖ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๖ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๖ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๖ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ.
การนับทั้งสองนัยนอกนี้ก็ดี สัมปยุตตวาระก็ดี พึงกระทำอย่างนี้.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 721
ปัญหาวาระ
อนุโลมนัย
๑. เหตุปัจจัย
[๖๕๖] ๑. สวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของเหตุปัจจัย
คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
๒. สวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่อวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของเหตุปัจจัย
คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่วิตก และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
พึงกระทำมูล (วาระที่ ๓).
เหตุทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย, วิตก และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
๔. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่อวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของเหตุปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 722
คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
๒. อารัมมณปัจจัย
[๖๕๗] ๑. สวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของอารัมมณปัจจัย
คือ เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นสวิตักกธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล (วาระที่ ๒)
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น อวิตักกธรรมและวิตก ย่อมเกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล (วาระที่ ๓)
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น สวิตักกธรรมและวิตก ย่อมเกิดขึ้น.
๔. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่อวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของอารัมมณปัจจัย
คือ พระอริยะทั้งหลายออกจากฌานที่เป็นอวิตักกธรรม แล้วพิจารณา ฌานที่เป็นอวิตักกธรรม, ออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค, ออกจากผลแล้ว พิจารณาผล, พิจารณานิพพาน.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 723
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่มรรคที่เป็นอวิตักกธรรม แก่ผล แก่วิตก ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอวิตักกธรรม และวิตก โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลิน ยิ่ง เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น วิตก ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นอวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของเจโตปริยญาณ.
อากาสานัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะ ฯลฯ
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ, แก่ เจโตปริยญาณ, แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ, แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่วิตก ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอวิตักกธรรม และวิตก ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอวิตักกธรรม และวิตก ย่อมเกิดขึ้น.
๕. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของอารัมมณปัจจัย
คือ พระอริยะทั้งหลายออกจากฌาน ที่เป็นอวิตักกธรรม ฯลฯ ออก จากมรรค พิจารณามรรค, ออกจากผล พิจารณาผล, พิจารณานิพพาน.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรคที่เป็นสวิตักกธรรม, แก่ผล, แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 724
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอวิ- ตักกธรรม และวิตก โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อม เพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอวิตักกธรรม และวิตก ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นสวิตักกธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
๖. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม และ อวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
คือ พระอริยะทั้งหลายออกจากฌานที่เป็นอวิตักกธรรม ฯลฯ ออก จากมรรค พิจารณามรรค, ออกจากผล พิจารณาผล, พิจารณานิพพาน.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรคที่เป็นสวิตักกธรรม, แก่ผล, แก่อาวัชชนะ, แก่วิตก ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอวิตักกธรรม และวิตก โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลิน ยิ่ง เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก ย่อมเกิดขึ้น.
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอวิตักกธรรม และวิตก ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก ย่อมเกิดขึ้น.
๗. สวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่ สวิตักกธรรม ด้วยอํานาจของอารัมมณปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 725
คือ เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล (วาระที่ ๘)
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอวิตักกธรรม และวิตก ย่อมเกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล (วาระที่ ๙)
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก ย่อมเกิดขึ้น.
๓. อธิปติปัจจัย
[๖๕๘] ๑. สวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของอธิปติปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรมให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นสวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
๒. สวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่อวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของอธิปติปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 726
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรมให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น วิตก ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นสวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่วิตก และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
๓. สวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม และ อวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรมให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นอวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย, วิตก และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
๔. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่อวิตักกธรรม ด้วย อํานาจของอธิปติปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 727
พระอริยะทั้งหลายออกจากฌานที่เป็นอวิตักกธรรม ฯลฯ ออกจากมรรค ฯลฯ พิจารณามรรค, ออกจากผล กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา, กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่มรรคที่เป็นอวิตักกธรรม, แก่ผล แก่วิตก ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอวิตักกธรรม และวิตก ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุเป็นต้นนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว วิตก ย่อม เกิดขึ้น.
เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอวิตักกธรรม และวิตกให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น วิตก ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นอวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
๕. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
พระอริยะทั้งหลายออกจากฌานที่เป็นอวิตักกธรรม ฯลฯ แล้วพิจารณา ฌาน, ออกจากมรรค ฯลฯ แล้วพิจารณามรรค, ออกจากผล กรทำ ผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา, กระทำนิพพานให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 728
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรคที่เป็นสวิตักกธรรม, แก่ผล ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอวิตักกธรรม และวิตกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อม เกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอวิตักกธรรม และวิตก ให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
๖. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม และ อวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
พระอริยะทั้งหลายออกจากฌานที่เป็นอวิตักกธรรม ฯลฯ ออกจาก ผล พิจารณาผล พิจารณานิพพาน.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรคที่เป็นสวิตักกธรรม, แก่ผล, และแก่วิตก ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งเพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอวิตักกธรรม และวิตกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้น กระทำจักษุเป็นต้นนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอวิตักกธรรม และวิตกให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก ย่อมเกิดขึ้น.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 729
๗. สวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่ สวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตกให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล (วาระที่ ๘)
เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตกให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น วิตก ย่อมเกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล (วาระที่ ๙)
เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตกให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก ย่อมเกิดขึ้น.
๔. อนันตรปัจจัย
[๖๕๙] ๑. สวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
๒. สวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่อวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ อวิตักกธรรม ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 730
จุติจิต ที่เป็นสวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่เป็นอวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ปัญจวิญญาณ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย. ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่ วุฏฐานะ ที่เป็น อวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
บริกรรมแห่งทุติยฌาน เป็นปัจจัยแก่ทุติยฌาน ด้วยอำนาจของ อนันตรปัจจัย.
บริกรรมแห่งตติยฌาน ฯลฯ
บริกรรมแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ.
บริกรรมแห่งทิพยจักษุ ฯลฯ
บริกรรมแห่งทิพโสตธาตุ ฯลฯ
บริกรรมแห่งอิทธิวิธญาณ ฯลฯ แห่งเจโตปริยญาณ ฯลฯ แห่ง ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ บริกรรมแห่งยถากัมมูปคญาณ เป็นปัจจัยแก่ ยถากัมมูปคญาณ.
บริกรรมแห่งอนาคตังสญาณ เป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณ ด้วย อำนาจของอนันตรปัจจัย.
โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรคที่เป็นอวิตักกธรรม, โวทาน เป็นปัจจัย แก่มรรคที่เป็นอวิตักกธรรม, อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ที่เป็นอวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 731
๓. สวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม และ อวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม ที่เกิดหลังๆ และวิตก ด้วยอำนาจของ อนันตรปัจจัย.
๔. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่อวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ วิตกที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่วิตก ที่เกิดหลังๆ ด้วย อำนาจของอนันตรปัจจัย.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอวิตักกธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นอวิตักกธรรม ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
มรรคที่เป็นอวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่ผลที่เป็นอวิตักกธรรม, ผล ที่เป็นอวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่ผลที่เป็นอวิตักกธรรม.
เนวสัญญานาสัญญายตนะของผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ที่เป็นอวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
๕. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอวิตักกธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
จุติจิตที่เป็นอวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิต ที่เป็นสวิตักกธรรม
ภวังค์ที่เป็นอวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นสวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 732
๖. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม และ อวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ วิตกที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม ที่เกิดหลังๆ และวิตก ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
๗. สวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่ สวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม ที่เกิดก่อนๆ และวิตก เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของ อนันตรปัจจัย.
๘. สวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่ อวิตักกธรรม ด้วยอํานาจของอนันตรปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม ที่เกิดก่อนๆ และวิตก เป็น ปัจจัยแก่วิตก ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย, จุติจิตที่เป็น สวิตักกธรรม และวิตก เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่เป็นอวิตักกธรรม ฯลฯ อาวัชชนะ และวิตก เป็นปัจจัยแก่ปัญจวิญญาณ, ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นอวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของ อนันตรปัจจัย.
บริกรรมแห่งทุติยฌาน และ วิตก ฯลฯ
ข้อความที่เขียนไว้ข้างต้น พึงเห็นโดยเหตุนี้.
อนุโลมและวิตก เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่เป็นอวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของอนันตรปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 733
๙. สวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่ สวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม ที่เกิดก่อนๆ และวิตก เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม ที่เกิดหลังๆ และวิตก ด้วย อำนาจของอนันตรปัจจัย.
๕. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ ๘. นิสสยปัจจัย
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มี ๙ วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ.
๙. อุปนิสสยปัจจัย
[๖๖๐] ๑. สวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
มี ๓ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น สวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
พึงกระทํามูล (วาระที่ ๒)
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 734
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น อวิตักกธรรม และวิตก ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
พึงกระทำมูล (วาระที่ ๓)
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น สวิตักกธรรม และวิตก ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๔. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่อวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
มี ๓ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นอวิตักกธรรม แล้วยังฌานที่เป็นอวิ- ตักกธรรมให้เกิดขึ้น ฯลฯ ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นอวิตักกธรรม ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ วิตกแล้ว ยังฌานที่เป็น อวิตักกธรรม ฯลฯ มรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น.
ศรัทธาที่เป็นอวิตักกธรรม ฯลฯ เสนาสนะ และวิตก เป็นปัจจัยแก่ ศรัทธาที่เป็นอวิตักกธรรม ฯลฯ แก่ปัญญา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่มรรคที่เป็นอวิตักกธรรม แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๕. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย พึงทำอุปนิสสยปัจจัยทั้ง ๓ นัย ในที่ทั้งปวง.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 735
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นอวิตักกธรรม แล้วให้ทาน สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรม ยังฌานที่เป็นสวิตักกธรรม ฯลฯ วิปัสสนา มรรค อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นอวิตักกธรรม ฯลฯ เสนาสนะ วิตก แล้ว ให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธาที่เป็นอวิตักกธรรม ฯลฯ เสนาสนะ และวิตก เป็นปัจจัยแก่ ศรัทธาที่เป็นสวิตักกธรรม แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๖. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม และ อวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
คือ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นอวิตักกธรรม แล้วให้ทาน ฯลฯ ในทุติยวาระ พึงทำบทที่เขียนไว้ทั้งหมด ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ เสนาสนะ วิตก แล้ว ให้ทาน ฯลฯ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธาที่เป็นอวิตักกธรรม ฯลฯ เสนาสนะ และวิตก เป็นปัจจัยแก่ ศรัทธาที่เป็นสวิตักกธรรม ฯลฯ แก่ปัญญา แก่ราคะ แก่ความปรารถนา แก่มรรคที่เป็นสวิตักกธรรม แก่ผลสมาบัติ และแก่วิตก ด้วยอำนาจของ อุปนิสสยปัจจัย.
๗. สวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่ สวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 736
คือขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
พึงกระทำมูล (วาระที่ ๘)
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอวิตักกธรรม และวิตก ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
พึงกระทำมูล (วาระที่ ๙)
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๑๐. ปุเรชาตปัจจัย
[๖๖๑] ๑. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่อวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของปุเรชาตปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภหทยวัตถุนั้น วิตก ย่อม เกิดขึ้น.
ฯลฯ ด้วยทิพยจักษุ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 737
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอวิตักกธรรม และวิตก ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
๒. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของปุเรชาตปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม ย่อมเกิดขึ้น
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม ด้วยอำนาจ ของปุเรชาตปัจจัย.
๓. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม และ อวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก ย่อมเกิดขึ้น. ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 738
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย
[๖๖๒] ๑. สวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่อวิตักกธรรม ด้วย อํานาจของปัจฉาชาตปัจจัย
เป็นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ.
๑๒. อาเสวนปัจจัย
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ.
๑๓. กัมมปัจจัย
[๖๖๓] สวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม ด้วยอำนาจ ของกัมมปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นสวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วย อำนาจของกัมมปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นสวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรมที่เป็นวิบาก ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
โดยนัยนี้ พึงกระทำ ๔ วาระ ทั้งสหชาตะ และ นานาขณิกะ
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 739
๑๔. วิปากปัจจัย ฯลฯ ๑๙. สัมปยุตตปัจจัย
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย มี ๔ วาระ
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย มี ๔ วาระ
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย มี ๙ วาระ
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ
๒๐. วิปปยุตตปัจจัย
[๖๖๔] ๑. สวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
๒. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่อวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย
มี ๓ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
๓. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปุเรชาตะ
๔. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม และ อวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปุเรชาตะ
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 740
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ในปฏิสนธิขณะ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่วิตก และสัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่วิตก และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วย อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
๕. สวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่ อวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ ฯลฯ
๒๑. อัตถิปัจจัย
[๖๖๕] ๑. สวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม ด้วย อํานาจของอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ เหมือนกับปฏิจจวาระ.
๒. สวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่อวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของอัตถิปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ ฯลฯ
๓. สวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม และ อวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย เหมือนกับปฏิจจวาระ.
๔. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่อวิตกกธรรม ด้วย อำนาจของอัตถิปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 741
มี ๕ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และ อินทริยะ ฯลฯ
๕. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของอัตถิปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปุเรชาตะ ฯลฯ
๖. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม และ อวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปุเรชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
วิตก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วย อำนาจของอัตถิปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ วิตก เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูป ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่วิตก และสัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น วิตก และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่วิตก และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วย อำนาจของอัตถิปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 742
๗. สวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่ สวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปุเรชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ ๑ ที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วย อำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ
ที่เป็น สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ ได้แก่
ขันธ์ ๑ ที่เป็นสวิตักกธรรม ที่เกิดพร้อมกัน และหทยวัตถุ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ
ในปฏิสนธิขณะ แม้เพราะสหชาตะ ก็พึงกระทำ ๒ วาระ.
๘. สวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่ อวิตักกธรรม ด้วยอํานาจของอัตถิปัจจัย
มี ๕ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ และ ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ และรวมกับ อินทริยะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก เป็นปัจจัยแก่จิตสมุฏ- ฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่วิตก ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 743
ในปฏิสนธิขณะ มี ๓ วาระ.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตกที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัย แก่กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม, วิตกที่เกิดภายหลัง และกพฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อินทริยะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกธรรม วิตกที่เกิดภายหลัง และรูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
๙. สวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่ สวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ ๑ ที่เป็นสวิตักกธรรม และวิตก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ
ที่เป็น สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ ได้แก่
ขันธ์ ๑ ที่เป็นสวิตักกธรรม และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และวิตก ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ
แม้ในปฏิสนธิขณะ มี ๒ วาระ.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 744
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนัตถิปัจจัย
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของวิคตปัจจัย
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย
การนับจำนวนวาระในอนุโลม
[๖๖๖] ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ ใน อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๙ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ใน กัมมปัจจัย มี ๔ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๔ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๔ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ใน อัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.
ปัจจนียนัย
การยกปัจจัยในปัจจนียะ
[๖๖๗] ๑. สวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของ กัมมปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 745
๒. สวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่อวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของ ปัจฉาชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
๓. สวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม และ อวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจ ของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย, เป็น ปัจจัย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
๔. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่อวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของ ปุเรชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.
๕. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม ด้วย อำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของ ปุเรชาตปัจจัย.
๖. อวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกธรรม และ อวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจ ของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย, เป็น ปัจจัย ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 746
๗. สวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่ สวิตักกธรรม ด้วยอํานาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจ ของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
๘. สวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่ อวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจ ของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย, เป็น ปัจจัย ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
๙. สวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม เป็นปัจจัยแก่ สวิตักกธรรม และอวิตักกธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของ อุปนิสสยปัจจัย.
การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ
[๖๖๘] ในนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ ในปัจจัยทั้งปวง มี ๙ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.
อนุโลมปัจจนียนัย
การนับจำนวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ
[๖๖๙] เพราะเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๔ วาระ ... ฯลฯ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอุป-
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 747
นิสสยปัจจัย มี ๔ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๔ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.
ปัจจนียานุโลมนัย
การนับจำนวนวาระในปัจจนียานุโลม
[๖๗๐] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ ... ใน อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ อนุโลมมาติกาพึงให้พิสดาร ในอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.
สวิตักกทุกะ จบ