พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

กุสลติกสรณทุกะ (๑. กุสลติกะ ๑๐๐. สรณทุกะ)

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 มี.ค. 2565
หมายเลข  42574
อ่าน  304

[เล่มที่ 90] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๖

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗

ปัฏฐาน ภาคที่ ๖

และ อรรถกถา

อนุโลมติกทุกปัฏฐาน

กุสลติกสรณทุกะ

(๑. กุสลติกะ ๑๐๐. สรณทุกะ)

สรณบทปฏิจจวาระ 855/1053

อรณบทปฏิจจวาระ 857/1053

อรณบทปัญหาวาระ 860/1054


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 90]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๖ - หน้า 1053

กุสลติกสรณทุกะ

(๑. กุสลติกะ ๑๐๐. สรณทุกะ)

สรณบทปฏิจจวาระ

อนุโลมนัย

๑. เหตุปัจจัย

[๘๕๕] ๑. สรณธรรมที่เป็นอกุศล อาศัยสรณธรรมที่เป็น อกุศล เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

การนับจำนวนวาระในอนุโลม

[๘๕๖] ในเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สหชาตวาระก็ดี ฯลฯ ปัญหาวาระก็ดี ทุกปัจจัย มี ๑ วาระ.

อรณบทปฏิจจวาระ

อนุโลมนัย

๑. เหตุปัจจัย

[๘๕๗] ๑. อรณธรรมที่เป็นกุศล อาศัยอรณธรรมที่เป็นกุศล เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ.

๔. อรณธรรมที่เป็นอัพยากตะ อาศัยอรณธรรมที่เป็น อัพยากตะ เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๖ - หน้า 1054

๕. อรณธรรมที่เป็นอัพยากตะ อาศัยอรณธรรมที่เป็น กุศล และอรณธรรมที่เป็นอัพยากตะ เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

๒. อารัมมณปัจจัย

[๘๕๘] ๑. อรณธรรมที่เป็นกุศล อาศัยอรณธรรมที่เป็นกุศล เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย

๒. อรณธรรมที่เป็นอัพยากตะ อาศัยอรณธรรมที่เป็น อัพยากตะ เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย

การนับจำนวนวาระในอนุโลม

[๘๕๙] ในเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

สหชาตวาระก็ดี ฯลฯ สัมปยุตตวาระก็ดี เหมือนกับปฏิจจวาระ.

อรณบทปัญหาวาระ

อนุโลมนัย

๑. เหตุปัจจัย

[๘๖๐] ๑. อรณธรรมที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่อรณธรรม ที่เป็นกุศล ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๖ - หน้า 1055

๔. อรณธรรมที่เป็นอัพยากตะ เป็นปัจจัยแก่อรณธรรมที่เป็นอัพยากตะ ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

การนับจำนวนวาระในอนุโลม

[๘๖๑] ในเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๔ วาระ ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

แม้ปัญหาวาระในกุสลติกะฉันใด พึงให้พิสดารฉันนั้น.

กุสลติกสรณทุกะ จบ