จตุตถปาราชิกกัณฑ์
[เล่มที่ 2] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒
พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ ภาค ๒
มหาวิภังค์ ปฐมภาค
จตุตถปาราชิกกัณฑ์
เรื่องภิกษุพวกฝังแม่น้ําวัคคุมุทา 227/447
เรื่องภิกษุสําคัญว่าได้บรรลุ 232/455
สุทธิกวิโมกข์สุญญตวิโมกข์ 244/470
สุทธิกสมาบัติสุญญตสมาบัติ 246/479
สุทธิกะ ญาณทัสสนะวิชชา ๓ 247/484
สุทธิกะ มรรคภาวนา สติปัฏฐาน 248/485
สุทธิกะอริยผลโสดาปัตติผล 252/496
สุทธิกะการละกิเลส สละราคะ 253/502
สุทธิกะความเปิดจิต เปิดจากราคะ 254/504
ขัณฑจักร ปฐมฌาน-ทุติยฌาน 255/505
ปฐมฌาน-อริยมรรคมีองค์๘ 263/512
มูลแห่งพัทธจักรที่ท่านย่อไว้ 273/528
ขัณฑจักรแห่งวัตถุนิสสารกะฯ 274/532
พัทธจักร ทุมูลกนัยแห่งวัตถุนิสสารกะฯ 276/539
วินีตวัตถุอุทานคาถา 282/275
เรื่องสําคัญว่าได้บรรลุ 283/576
เรื่องอุปัชฌายะ ๒ เรื่อง 285/577
เรื่องอิริยาบถ ๔ เรื่อง 286/578
เรื่องอดกลั้นเวทนา ๒ เรื่อง 584
เรื่องพราหมณ์ ๕ เรื่อง 291/585
เรื่องพยากรณ์มรรคผล ๓ เรื่อง 292/586
เรื่องอัฏฐิสังขลิกเปรต 595/589
เรื่องพระโสภิตะอรหันต์ 299/603
หัวข้อประจําเรื่องปาราชิก ๔ สิกขาบท 604
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 2]
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 447
จตุตถปาราชิกกัณฑ์
เรื่องภิกษุพวก ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
[๒๒๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ซึ่งเคย เห็นร่วมคบหากันๆ จำพรรษาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา ก็แลสมัยนั้น วัชชี ชนบท อัตคัดอาหาร ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีข้าวตายฝอย ต้องมี สลากซื่ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำ ไม่ได้ง่าย จึงภิกษุเหล่านั้นติดกันว่า บัดนี้วัชชีชนบทอัตคัดอาหาร ประชาชน หาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีข้าวตายฝอย คือมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยัง อัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย พวกเราจะพึงเป็น ผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจะ ไม่ต้องลำบากด้วยบิณฑบาต ด้วยอุบายอย่างไรหนอ.
ภิกษุบางพวกพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผิฉะนั้น พวกเราจง ช่วยกันอำนวยกิจการอันเป็นหน้าที่ของพวกคฤหัสถ์เถิด เมือเป็นเช่นนั้น พวกเขาจักมุ่งถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา ด้วยอุบายอย่างนี้ พวกเราจักเป็นผู้ พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจักไม่ ลำบากด้วยบิณฑบาต.
ภิกษุบางพวกพูดอย่างนี้ว่า ไม่ควร ท่านทั้งหลาย จะประโยชน์อะไร ด้วยการช่วยกันอำนวยกิจการ อันเป็นหน้าที่ของพวกคฤหัสถ์ ท่านทั้งหลาย ผิฉะนั้น พวกเราจงช่วยกันนำข่าวสาส์นอันเป็นหน้าที่ทูตของพวกคฤหัสถ์เถิด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 448
เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเขาจักรมุ่งถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา ด้วยอุบายอย่างนี้ พวกเราจักเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็น ผาสุก และจักไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต.
ภิกษุบางพวกพูดอย่างนี้ว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลาย จะประโยชน์อะไร ด้วยการช่วยกันอำนวยกิจการ อันเป็นหน้าที่ของพวกคฤหัสถ์ จะประโยชน์ อะไร ด้วยการช่วยกันนำข่าวสาส์นอันเป็นหน้าที่ทูตของพวกคฤหัสถ์ ท่าน ทั้งหลาย ผิฉะนั้น พวกเราจักกล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวก คฤหัสถ์ว่า ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน รูปโน้น ได้ทุติยฌาน รูปโน้นได้ตติยฌาน รูปโน้นได้จตุตถฌาน รูปโน้นเป็นพระโสดาบัน รูปโน้น เป็นพระสกทาคามี รูปโน้นเป็นพระอนาคามี รูปโน้นเป็นพระอรหันต์ รูปโน้นได้วิชชา ๓ รูป โน้นได้อภิญญา ๖ ดังนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเขาจักมุ่งถวายบิณฑบาตแก่ พวกเรา ด้วยอุบายอย่างนี้ พวกเราก็จักเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจักไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต.
ภิกษุเหล่านั้น มีความเห็นร่วมกันว่า อาวุโสทั้งหลาย การที่พวกเราพา กันกล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์นี้แหละ ประเสริฐ ที่สุด แล้วพากันกล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์ว่า ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน รูปโน้นได้ทุติยฌาน รูปโน้นได้ตติยฌาน รูปโน้น ได้จตุตถฌาน รูปโน้นเป็นพระโสดาบัน รูปโน้นเป็นพระสกทาคามี รูปโน้น เป็นพระอนาคามี รูปโน้นเป็นพระอรหันต์ รูปโน้นได้วิชชา ๓ รูปโน้นได้ อภิญญา ๖ ดังนี้.
ครั้นต่อมา ประชาชนเหล่านั้นพากันยินดีว่า เป็นลาภของพวกเรา หนอ พวกเราได้ดีแล้วหนอ ที่มีภิกษุทั้งหลายผู้มีคุณพิเศษเห็นปานนี้ อยู่จำ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 449
พรรษา เพราะก่อนแต่นี้ ภิกษุทั้งหลายที่อยู่จำพรรษาของพวกเรา จะมีคุณ สมบัติเหมือนภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านี้ไม่มีเลย โภชนะชนิดที่พวกเขา จะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่บริโภคด้วยตน ไม่ให้มารดาบิดา บุตร ภรรยา คนรับใช้ กรรมกร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ของเคี้ยวชนิด ที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่เคี้ยวด้วยตน ไม่ให้มารดาบิดา บุตรภรรยา คนรับใช้ กรรมกร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ของลิ้ม ชนิดที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่ลิ้มด้วยคน ไพ่ให้มารดา บิดา บุตรภรรยา คนรับใช้ กรรมกร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต น้ำดื่ม ชนิดที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่ดื่มด้วยคน ไม่ให้มารดา บิดา บุตรภรรยา คนรับใช้ กรรมกร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต จึง ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้มีน้ำนวล มีอินทรีย์ผ่องใส มีสีหน้าสดชื่น มีผิวพรรณ ผุดผ่อง ก็การที่ภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้วเข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั้นเป็นประเพณี ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาโดยล่วงไตรมาส แล้วเก็บเสนาสนะ ถือบาตรจีวรหลีกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่พระนครเวสาลี เที่ยวจาริกโดย ลำดับ ถึงพระนครเวสาลี ป่ามหาวัน กูฏาคารศาลา แล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระ ภาคเจ้า ถวายบังคม นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
ภิกษุต่างทิศมาเฝ้า
[๒๒๘] ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุผู้จำพรรษาอยู่ในทิศทั้งหลายเป็น ผู้ผอมซูบซีด มีผิวพรรณหมอง เหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น ส่วนภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา เป็นผู้มีน้ำนวล มีอินทรีย์ผ่องใส มีสีหน้า สดชื่น มีผิวพรรณผุดผ่อง ก็การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 450
ปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัดคุมุทาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ร่างกาย ของพวกเธอยังพอทนได้หรือ ยังพอให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอเป็นผู้พร้อม เพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบาก ด้วยบิณฑบาตหรือ.
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ยังพอทนได้พระพุทธเจ้าข้า ยังพอให้เป็น ไปได้พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจ กัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า.
พุทธประเพณี
พระตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่ ย่อมไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม พระตถาคตทั้งหลาย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระองค์ทรง กำจัดด้วยข้อปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงสอบถามภิกษุ ทั้งหลายด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติ สิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต ด้วยวิธีการอย่างไร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 451
ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลเนื้อความนั้น ให้ทรงทราบแล้ว. ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คุณวิเศษของพวกเธอนั่น มีจริงหรือ. ภิ. ไม่มีจริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
[๒๒๙] พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจ ของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึง ได้กล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่ง ท้องเล่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ท้องอันพวกเธอคว้านแล้วด้วยมีดเชือดโค อันคม ยังดีกว่า อันพวกเธอกล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวก คฤหัสถ์เพราะเหตุแห่งท้อง ไม่ดีเลย ข้อที่เราว่าดีนั้น เพราะเหตุไร เพราะ บุคคลผู้คว้านท้องด้วยมีดเชือดโคอันคมนั้น พึงถึงความตาย หรือความทุกข์ เพียงแค่ตาย ซึ่งมีการกระทำนั้นเป็นเหตุ และเพราะการกระทำนั้นเป็นปัจจัย เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วน บุคคลผู้กล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์นั้น เบื้องหน้า แต่แตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ซึ่งมีการกระทำนี้แล เป็นเหตุ ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความ ไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของตนบาง พวกผู้เลื่อมใสแล้ว ครั้นแล้ว ทรงกระทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่า ดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 452
มหาโจร ๕ จำพวก
[๒๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจร ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน โลก มหาโจร ๕ จำพวกเป็นไฉน.
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรบางคนในโลกนี้ ย่อมปรารถนา อย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ เราจักเป็นผู้อันบุรุษร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อม แล้ว ท่องเที่ยวไปในคามนิคมและราชธานีเบียดเบียนเอง ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ตัดเอง ให้ผู้อื่นตัด เผาผลาญเอง ให้ผู้อื่นเผาผลาญ สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ อันบุรุษร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่ง แวดล้อมแล้วเที่ยวไปในตามนิคมและราชธาน เบียดเบียนเอง ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ตัดเอง ให้ผู้อื่นตัด เผาผลาญเอง ให้ผู้อื่น เผาผลาญฉันใด คุณก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมปรารถนาอย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ เราจึงจักเป็นผู้ อันภิกษุร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว เที่ยวจาริกไปในคามนิคมและ ราชธานี อันคฤหัสถ์และบรรพชิต สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร สมัยต่อมา เธอ เป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว เที่ยวจาริกไปในตามนิคม และราชธานี อันคฤหัสถ์และบรรพชิตสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง แล้ว ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขารทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในโลก.
๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรม วินัยนี้ เล่าเรียนธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว ย่อมยกตนขึ้น ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๒ มีปรากฏอยู่ในโลก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 453
๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรม วินัยนี้ ย่อมตามกำจัดเพื่อนพรหมจารี ผู้หมดจด ผู้ประพฤติพรหมจรรย์อัน บริสุทธิ์อยู่ด้วยธรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์อันหามูลมิได้ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๓ มีปรากฏอยู่ในโลก.
๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรม วินัยนี้ ย่อมสงเคราะห์เกลี้ยกล่อมคฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยครุภัณฑ์ ครุบริขาร ของสงฆ์ คือ อาราม พื้นที่อาราม วิหาร พื้นที่วิหาร เตียง ตั่ง ฟูก หมอน หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง จอบ สว่าน เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้ามุงกระต่าย หญ้าปล้อง หญ้าสามัญ ดินเหนียว เครื่องไม้ เครื่องดิน ดูก่อนภิกษุทั้งหาลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในโลก.
๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กล่าวอวดอุตริมนุสธรรม อันไม่มี อยู่ อันไม่เป็นจริง นี้จัดเป็นยอดมหาโจร ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้น ฉันก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น ด้วยอาการ แห่งคนขโมย.
นิคมคาถา
ภิกษุใด ประกาศตนอันมีอยู่โดยอาการอื่น ด้วยอาการอย่าง อื่น โภชนะนั้น อันภิกษุนั้น ฉันแล้ว ด้วยอาการแห่งคนขโมย ดุจพรานนกลวงจับนก ฉะนั้น ภิกษุผู้เลวทรามเป็นอันมาก มีผ้า กาสาวะพันคอ มีธรรมทรามไม่สำรวมแล้ว ภิกษุผู้เลวทรามเหล่านั้น ย่อมเข้าถึงซึ่งนรก เพราะกรรมทั้งหลายที่เลวทราม ภิกษุผู้ทุศีล
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 454
ผู้ไม่สำรวมแล้ว บริโภคก้อนเหล็กแดงดังเปลวไฟ ประเสริฐกว่า การฉันก้อนข้าวของชาวรัฏฐะ จะประเสริฐอะไร.
ทรงบัญญัติปฐมบัญญัติ
[๒๓๑] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา โดยอเนกปริยายแล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคน บำรุง ยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การ ไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมิกถาที่ สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะ ภิกษุทั้งหลายว่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ ทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่ง ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อ กำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่น แห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 455
พระปฐมบัญญัติ
๔. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตริมนุสธรรม อันเป็นความรู้ ความเห็น อย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้า มาในตนว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ ครั้นสมัยอื่น แต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม เป็น อันต้องอาบัติแล้ว มุ่งความหมดจด จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่าน ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ได้พูดพล่อยๆ เป็นเท็จเปล่าๆ แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาส มิได้.
สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุทุทา จบ
เรื่องภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ
[๒๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก สำคัญมรรคผลอันตน ยังมิได้เห็นว่าได้เห็น สำคัญมรรคผลอันยังได้ถึงว่าได้ถึง สำคัญมรรคผล อันตนยังมิได้บรรลุว่าได้บรรลุ สำคัญมรรคผลอันตนยังมิได้ทำให้แจ้งว่าได้ทำ ให้แจ้ง จึงอวดอ้างมรรคผลตามที่สำคัญว่าได้บรรลุ ครั้นต่อมา จิตของ พวกเธอน้อมไปเพื่อความกำหนัดก็มี น้อมไปเพื่อความคัดเคืองก็มี น้อมไป เพื่อความหลงก็มี จึงมีความรังเกียจว่า สิกขาบทอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง บัญญัติไว้แล้ว แต่พวกเราสำคัญมรรคผลที่คนยังมิได้เห็นว่าได้เห็น สำคัญ มรรคผลที่ตนยังมิได้ถึงว่าได้ถึง สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้บรรลุว่าได้บรรลุ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 456
สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้ทำให้แจ้งว่าได้ทำให้แจ้ง จึงอวดอ้างมรรคผลตามที่ สำคัญว่าได้บรรลุ พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ แล้วแจ้งเรื่องนั้น แก่ท่านพระอานนท์ๆ กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า มี อยู่เหมือนกัน อานนท์ ข้อที่ภิกษุทั้งหลายสำคัญมรรคผลที่ตนยิ่งมิได้เห็นว่า ได้เห็น สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้ถึงว่าได้ถึง สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้ บรรลุว่าได้บรรลุ สำคัญมรรคผลที่ตนยังได้ทำให้แจ้งว่าได้ทำให้แจ้ง จึง อวดอ้างมรรคผลคามที่สำคัญว่าได้บรรลุ แต่ข้อนั้นนั่นแล เป็นอัพโพหาริก
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๔. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตริมนุสธรรม อันเป็นความรู้ ความเห็น อย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้ามา ในตนว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม เป็นอันต้อง อาบัติแล้ว มุ่งความหมดจด จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่าน ข้าพเจ้า ไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ได้พูด พล่อยๆ เป็นเท็จเปล่าๆ เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ แม้ภิกษุนี้ กีเป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.
เรื่องภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 457
สิกขาบทวิภังค์
[๒๓๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงาน อย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มี ธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทแล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาผู้ที่ชื่อว่าภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนี้ใด ที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทแล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ภิกษุนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ว่า ภิกษุ ในอรรถนี้.
บทว่า ไม่รู้เฉพาะ คือ ไม่รู้ ไม่เห็น กุศลธรรมในตน ซึ่งไม่มี ไม่เป็นจริง ไม่ปรากฏ ว่าข้าพเจ้ามีกุศลธรรม.
บทว่า อุตริมนุสธรรม ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ญาณทัสสนะ มรรคภาวนา การทำให้แจ้งซึ่งผล การละกิเลส ความเปิดจิต ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 458
บทว่า น้อมเข้ามาในตน ได้แก่ น้อมกุศลธรรมเหล่านั้นเข้ามาในตน หรือน้อมตนเข้าไปในกุศลธรรมเหล่านั้น.
บทว่า ความรู้ ได้แก่ วิชชา ๓. บทว่า ความเห็น โดยอธิบายว่า อันใดเป็นความรู้ อันนั้นเป็น ความเห็น อันใดเป็นความเห็น อันนั้น เป็นความรู้.
บทว่า กล่าวอวด คือ บอกแก่สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต.
คำว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนั้น ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ ความว่า ข้าพเจ้า รู้ธรรมเหล่านี้ ข้าพเจ้าเห็นธรรมเหล่านั้น อนึ่ง ข้าพเจ้ามีธรรมเหล่านี้ และ ข้าพเจ้าเห็นชัดในธรรมเหล่านี้.
[๒๓๔] บทว่า ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น คือ เมื่อขณะคราวครู่หนึ่งที่ ภิกษุกล่าวอวดนั้นผ่านไปแล้ว.
บทว่า อันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตาม คือ มีบุคคลเชื่อในสิ่งที่ภิกษุ ปฏิญาณแล้ว โดยถามว่า ท่านบรรลุอะไร ได้บรรลุด้วยวิธีไร เมื่อไร ที่ไหน ท่านละกิเลสเหล่าไหนได้ ท่านได้ธรรมหมวดไหน.
บทว่า ไม่ถือเอาตาม คือ ไม่มีใครๆ พูดถึง.
บทว่า ต้องอาบัติแล้ว ความว่า ภิกษุมีความอยากอันลามก อัน ความอยากครอบงำแล้ว พูดอวดอุตริมนุสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง ย่อมเป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก.
บทว่า มุ่งความหมดจด คือ ประสงค์จะเป็นคฤหัสถ์ หรือประสงค์ จะเป็นอุบาสก หรือประสงค์จะเป็นอารามิก หรือประสงค์จะเป็นสามเณร.
คำว่า แน่ะท่าน ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็น อย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ความว่า ข้าพเจ้าไม่รู้ธรรมเหล่านั้น ข้าพเจ้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 459
ไม่เห็นธรรมเหล่านั้น อนึ่ง ข้าพเจ้าไม่มีธรรมเหล่านั้น และข้าพเจ้าไม่เห็นชัด ในธรรมเหล่านี้.
คำว่า ข้าพเจ้าพูดพล่อยๆ เป็นเท็จเปล่าๆ ความว่า ข้าพเจ้า พูดพล่อยๆ พูดเท็จ พูดไม่จริง พูดสิ่งที่ไม่มี ข้าพเจ้าไม่รู้ได้พูดแล้ว.
บทว่า เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ คือ ยกเสียแต่เข้าใจว่าตนได้ บรรลุ.
[๒๓๕] บทว่า แม้ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบถึงภิกษุรูป ก่อนๆ.
บทว่า เป็นปาราชิก ความว่า ต้นตาลมียอดด้วนแล้ว ไม่อาจจะ งอกอีก ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นแหละ มีความอยากอันลามก อันความ อยากรอบงำแล้ว พูดอวดอุตริมนุสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง ย่อมไม่ เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.
บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่ กรรมที่ พึงทำร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นั่นชื่อว่า สังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ทาสังวาสมิได้.
บทภาชนีย์
[๒๓๖] ที่ชื่อว่า อุตริมนุสธรรม ได้แก่ ๑. ฌาน ๒. วิโมกข์ ๓. สมาธิ ๔. สมาบัติ ๕. ญาณทัสสนะ ๖. มรรคภาวนา ๗. การทำให้แจ้งซึ่งผล ๘. กรละกิเลส ๙. ความเปิดจิต ๑๐. ความ ยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 460
ที่ชื่อว่า ฌาน ได้แก่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน.
ที่ชื่อว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิต วิโมกข์. ที่ชื่อว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ.
ที่ชื่อว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ.
ที่ชื่อว่า ญาณ ได้แก่ วิชชา ๓.
ที่ชื่อว่า มรรคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิ บาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘.
ที่ชื่อว่า การทำให้แจ้งซึ่งผล ได้แก่การทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล การทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล การทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล การทำให้แจ้งซึ่ง อรหัตตผล.
ที่ชื่อว่า การละกิเลส ได้แก่การละราคะ การละโทสะ การละโมหะ.
ที่ชื่อว่า ความเปิดจิต ได้แก่ความเปิดจิตจากราคะ ความเปิดจิต จากโทสะ ความเปิดจิตจากโมหะ
ที่ชื่อว่า ความยินดีในเรือนอันว่างเปล่า ได้แก่ความยินดียิ่ง ในเรือนอันวางเปล่าด้วยปฐมฌาน ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วย ทุติยฌาน ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยตติยฌาน ความยินดียิ่งในเรือน อันว่างเปล่าด้วยจตุตถฌาน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 461
สุทธิกฌาน
ปฐมฌาน
[๒๓๗] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้วด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๔ อย่างคือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูก ใจ ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ ถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูก ใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 462
[๒๓๘] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่ ด้วยอาการ ๘ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่ ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ ความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
[๒๓๙] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานได้แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ ่ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 463
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานได้แล้ว ด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ต้อองอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานได้แล้ว ด้วย อาการ ๕ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว อำพรางความเห็น ๕ อำพราง ความถูกใจ ต้องอาบัติปาราชิ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานได้แล้ว ด้วย อาการ ๖ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานได้แล้ว ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๖ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
[๒๔๐] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ด้วย อาการ ๓ อย่างคือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 464
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ด้วยอาการ ๗ อย่างคือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูก ใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
[๒๔๑] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญปฐมฌานด้วย อาการ ๓ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญปฐมฌาน ด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญปฐมฌาน ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ ถูกใจ ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 465
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญปฐมฌาน ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญปฐมฌาน ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูก ใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
[๒๔๒] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ปฐมฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้. ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ปฐมฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ปฐมฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ ถูกใจ ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ปฐมฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ ถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 466
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ปฐมฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก. [ปฐมฌานนี้นักปราชญ์ให้พิสดารแล้ว ฉันใด แม้ฌานทั้งมวลก็พึง ให้พิสดาร ฉันนั้น (๑) ]
ทุติยฌาน
[๒๔๓] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานอยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าว เท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าทุติยฌานได้แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
(๑) คำนี้พึงเห็นว่า คัมภีร์ของชาวยุโรป รจนาไว้ในวาระสุดท้ายของฌานนอกนี้ ส่วนคัมภืร์ของ //ชาวเรา คัมภีร์ของพม่า และมอญ รจนาไว้ตรงนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 467
แล้ว ๔ อ่าพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ทุติยฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ แล้ว อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญทุติยฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ทุติยฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ตติยฌาน
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 468
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานอยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าตติยฌานได้แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ตติยฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญตติยฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่างะ ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 469
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ตติยฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
จตุตถณาน
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าจตุตถฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 470
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้จตุตถฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญจตุตถฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า จตุตถฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
สุทธิวิโมกข์
สุญญตวิโมกข์
[๒๔๔] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 471
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์อยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าสุญญตวิโมกข์ได้แล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๘ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้สุญญตวิโมกข์ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๘ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญสุญญตวิโมกข์ ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๘ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๘ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่าสุญญตวิโมกข์ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 472
จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
อนิมิตตวิโมกข์
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์อยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอนิมิตตวิโมกข์ได้แล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ๕ ... อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อนิมิตตวิโมกข์ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 473
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอนิมิตตวิโมกข์ ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าว แล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า อนิมิตตวิโมกข์ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
อัปปณิหิตวิโมกข์
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๘ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเจ้าอัปปณิหิตวิโมกข์อยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 474
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอัปปณิหิตวิโมกข์ได้แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าว แล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อัปปณิหิตวิโมกข์ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้อองต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอัปปณิหิตวิโมกข์ ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าว แล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าว แล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 475
สุทธิกสมาธิ
สุญญตสมาธิ
[๒๔๕] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาธิแล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าว แล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาธิอยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง.. ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าสุญญตสมาธิได้แล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู่ว่ากล่าวเท็จแล้ว อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้สุญญตสมาธิ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 476
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญสุญญตสมาธิ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า สุญญตสมาธิข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู่ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
อนิมิตตสมาธิ
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาธิแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาธิอยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 477
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอนิมิตตสมาธิได้แล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความ จริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อนิมิตตสมาธิ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอนิมิตตสมาธิ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า อนิมิตตสมาธิข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 478
อัปปณิหิตสมาธิ
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาธิแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาธิอยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอัปปณิหิตสมาธิได้แล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อัปปณิหิตสมาธิ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๘ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 479
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอัปปณิตสมาธิ ด้วยอาการ ๓ อย่างะ..๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า อัปปณิหิตสมาธิข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
สุทธิกสมาบัติ
สุญญตสมาบัติ
[๒๔๖] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาบัติแล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง..๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาบัติอยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 480
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าสุญญตสมาบัติได้แล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้สุญญตสมาบัติ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง..๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้อองอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญสุญญตสมาบัติ ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่า สุญญตสมาบัติข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้วด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 481
อนิมิตตสมาบัติ
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาบัติแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาบัติอยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอนิมิตตสมาบัติได้แล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อนิมิตตสมาบัติ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 482
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอนิมิตตสมาบัติ ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า อนิมิตตสมาบัติข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
อัปปณิหิตสมาบัติ
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาบัติแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาบัติอยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 483
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอัปปณิหิตสมาบัติได้แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้อง ต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อัปปณิหิตสมาบัติ ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอัปปณิหิตสมาบัติ ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าว แล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า อัปปณิหิตสมาบัติข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าว แล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 484
สุทธิกะ ญาณทัสสนะ
วิชชา ๓
[๒๔๗] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าวิชชา ๓ แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าวิชชา ๓ อยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าวิชชา ๓ ได้แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้วิชชา ๓ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 485
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญวิชชา ๓ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า วิชชา ๓ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
สุทธิกะ มรรคภาวนา
สติปัฏฐาน
[๒๔๘] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกโจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสติปัฎฐาน ๔ อยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 486
ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าสติปัฏฐาน ๔ ได้แล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้สติปัฏฐาน ๔ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญสติปัฎฐาน ๔ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า สติปัฏราน ๔ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๘ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 487
สัมมัปปธาน ๔
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสัมมัปปธาน ๔ แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสัมมัปปธาน ๔ อยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ควานชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าสัมมัปปธาน ๔ ได้แล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้สัมมัปปธาน ๔ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 488
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญสัมมัปปธาน ๔ ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๘ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า สัมมัปปธาน ๔ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ก็ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่าๆ. กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
อิทธิบาท ๔
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าได้เข้าอิทธิบาท ๔ แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอิทธิบาท ๔ อยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 489
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอิทธิบาท ๔ ได้แล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อิทธิบาท ๔ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอิทธิบาท ๔ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า อิทธิบาท ๔ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 490
อินทรีย์ ๕
[๒๔๙] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอินทรีย์ ๕ แล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอินทรีย์ ๕ อยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอินทรีย์ ๕ ได้แล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้อง ต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอ รู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 491
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอ รู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า อินทรีย์ ๕ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พละ ๕
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าพละ ๕ แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง.. ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าพละ ๕ อยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 492
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าพละ ๕ ได้แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่างะ ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบ ใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้พละ ๕ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญพละ ๕ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า พละ ๕ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอ รู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 493
โพชฌงค์ ๗
[๒๕๐] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโพชฌงค์ ๗ แล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโพชฌงค์ ๗ อยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าโพชฌงค์ ๗ ได้แล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้อง ท้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางควานจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้โพชฌงค์ ๗ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง คืออาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 494
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญโพชฌงค์ ๗ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอ รู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรูอยู่ กล่าวเท็จว่า โพชฌงค์ ๗ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้อง ต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
อริยมรรคมีองค์ ๘
[๒๕๑] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอริยมรรคมีองค์ ๘ อยู่ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอ รู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 495
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๕ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอ รู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จ ๓ ครั้นกล่าว แล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 496
สุทธิกะ อริยผล
โสดาปัตติผล
[๒๕๒] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโสดาปัตติผลแล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโสดาปัตติผลอยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าโสดาปัตติผลได้แล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง.. ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้โสดาปัตติผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 497
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญโสดาปัตติผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า โสดาปัตติผลข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
สกทาคามิผล
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสกทาคามิผลแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอ รู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสกทาคามิผลอยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 498
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้สกทาคามิผลได้แล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้สกทาคามิผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอ รู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จแล้ว อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญสกทาคามิผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า สกทาคามิผลข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 499
อนาคามิผล
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนาคามิผลแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ควานชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนาคามิผลอยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง.. ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอนาคามิผลได้แล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อนาคามิผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 500
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอนาคามิผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็ร้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า อนาคามิผลข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง.. ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
อรหัตตผล
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอรหัตตผลแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอรหัตตผลอยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 501
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอรหัตตผลได้แล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อรหัตตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอรหัตตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ กล่าวเท็จแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า อรหัตตผลข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 502
สุทธิกะ การละกิเลส
สละราคะ
[๒๕๓] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ราคะข้าพเจ้าสละแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ราคะข้าพเจ้าตายแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ราคะข้าพเจ้าพ้นแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ราคะข้าพเจ้าละแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 503
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ราคะข้าพเจ้าสลัดแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ราคะข้าพเจ้าเพิกแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง.. ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ราคะข้าพเจ้าถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
สละโทสะ
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า โทสะข้าพเจ้าสละแล้ว ... คายแล้ว ... พ้นแล้ว ... ละแล้ว ... สลัดแล้ว ... เพิกแล้ว ... ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 504
สละโมหะ
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า โมหะข้าพเจ้าสละแล้ว ... คายแล้ว ... พ้นแล้ว ... ละแล้ว ... สลัดแล้ว ... เพิกแล้ว ... ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
สุทธิกะ ความเปิดจิต
เปิดจากราคะ
[๒๕๔] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้อง ต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
เปิดจากโทสะ
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอ รู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 505
เปิดจากโมหะ
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อ ย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
สุทธิกะ จบ
ขัณฑจักร
ปฐมฌาน-ทุติยฌาน
[๒๕๕] ๑. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้ แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและทุติยฌาน ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้อง ต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน-ตติยฌาน
๒. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและตติยฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๘ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอ รู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 506
กล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน-จตุตถฌาน
๓. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและจตุตถฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน-สุญญตวิโมกข์
[๒๕๖] ๔. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งซึ่งปฐมฌานและสุญญตวิโมกข์ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌานอนิมิตตวิโมกข์
๕. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและอนิมิตตวิโมกข์ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 507
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน-อัปปณิหิตวิโมกข์
๖. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและอัปปณิหิตวิโมกข์ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน-สุญญตสมาธิ
[๒๕๘] ๗. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้า ได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ต่ำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและสุญญตสมาธิ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าว แล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน-อนิมิตตสมาธิ
๘. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและอนิมิตตสมาธิ ด้วยอาการ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 508
๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน-อัปปณิหิตสมาธิ
๙. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาธิ ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน-วิชชา ๓
[๒๕๘] ๑๐. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและสุญญตสมาบัติ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌานอนิมิตตสมาบัติ
๑๑. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและอนิมิตตสมาบติ ด้วย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 509
อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมณาน-อัปปณิหิตสมาบัติ
๑๒. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาบติ ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน-วิชชา ๓
[๒๕๙] ๑๓. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและวิชชา ๓ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 510
ปฐมณานสติปัฏฐาน ๔
[๒๖๐] ๑๔. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้ แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและสติปัฏฐาน ๔ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๘ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกโจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน-สัมมัปปธาน ๔
๑๕. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและสัมมัปปธาน ๔ ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน-อิทธิบาท ๔
๑๖. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและอิทธิบาท ๔ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 511
ปฐมฌาน-อินทรีย์ ๕
[๒๖๑] ๑๗. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้า ได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน - พละ ๕
๑๘. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและพละ ๕ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมณานโพชฌงค์ ๗
[๒๖๒] ๑๙. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้า ได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำไห้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและโพชฌงค์ ๗ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 512
ปฐมณาน-อริยมรรคมีองค์ ๘
[๒๖๓] ๒๐. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและอริยมรรค มีองค์ ๘ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ ถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน - โสดาปัตติผล
[๒๖๔] ๒๑. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและโสดาปัตติผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน - สกทาคามิผล
๒๒. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและสกทาคามิผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๘ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 513
ปฐมฌาน - อนาคามิผล
๒๓. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและอนาคามิผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน - อรหัตตผล
๒๔. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและอรหัตตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางควานถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน - สละราคะ
[๒๖๕] ๒๕. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้า ได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน และราคะ ข้าพเจ้า สละแล้ว ตายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๘ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 514
ปฐมฌาน - สละโทสะ
๒๖. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน และโทสะ ข้าพเจ้าสละแล้ว ตายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน - สละโมหะ
๒๗. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน และโมหะ ข้าพเจ้าสละแล้ว ตายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน - เปิดจากราคะ
[๒๖๖] ๒๘. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้า ได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน และจิตของข้าพเจ้า เปิดจากราคะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 515
เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌาน - เปิดจากโทสะ
๒๙. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานและจิตของข้าพเจ้าเปิดจาก โทสะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ปฐมฌานเปิดจากโมหะ
๓๐. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน และจิตของข้าพเจ้าเปิดจาก โมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
ขัณฑจักร จบ
พัทธจักร
[๒๖๗] ๑. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้า ได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งซึ่งทุติยฌานและตติยฌาน ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 516
๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
๒ ... .ทุติยฌานและจตุตถฌาน ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๓ ... .ทุติยฌานและสุญญตวิโมกข์.. ต้องอาบัติปาราชิก.
๔ ... .ทุติยฌานและอนิมิตตวิโมกข์ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๕ ... .ทุติยฌานและอัปปณิหิตวิโมกข์ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๖ ... .ทุติยฌานและสุญญตสมาธิ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๗ ... .ทุติยฌานและอนิมิตตสมาธิ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๘ ... .ทุติยฌานและอัปปณิหิตสมาธิ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๙ ... .ทุติยฌานและสุญญตสมาบัติ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๐ ... .ทุติยฌานและอนิมิตตสมาบัติ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๑ ... .ทุติยฌานและอัปปณิหิตสมาบัติ.. ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๒ ... .ทุติยฌานและวิชชา ๓ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๓ ... .ทุติยฌานและสติปัฎฐาน ๔ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๔ ... .ทุติยฌานและสัมมัปปธาน ๔ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๕ ... .ทุติยฌานและอิทธิบาท ๔ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๖ ... .ทุติยฌานและอินทรีย์ ๕ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๗ ... .ทุติยฌานและพละ ๕ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๘ ... .ทุติยฌานและ.โพชฌงค์ ๗.. ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๙ ... .ทุติยฌานและอริยมรรคมีองค์ ๘ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๐ ... .ทุติยฌานและโสดาปัตติผล ... ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 517
๒๑ ... .ทุติยฌานและสกทาคามิผล ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๒ ... .ทุติยฌานและอนาคมิผล.. ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๓ ... .ทุติยฌานและอรหัตตผล ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๔ ... .ทุติยฌานและราคะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๕ ... .ทุติยฌานและโทสะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก
๒๖ ... .ทุติยฌานและโมหะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๗ ... .ทุติยฌานและจิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ ... ต้องอาบัติ ปาราชิก.
๒๘ ... .ทุติยฌานและจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ ... ต้องอาบัติ ปาราชิก.
๒๙ ... .ทุติยฌานและจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ ... ต้องอาบัติ ปาราชิก.
๓๐ ... ทุติยฌานและปฐมฌาน ... ต้องอาบัติปาราชิก. พัทธจักร จบ พัทธจักรเอกมูลกนัย ท่านตั้งอุตริมนุสธรรมข้อหนึ่งๆ เป็นมูลแล้ว เวียนไปโดยวิธีนี้ นี้ท่านย่อไว้.
พัทธจักร เอกมูลกนัย
[๒๖๘] ๑. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 518
ซึ่งปฐมฌานด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
๒. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว ... ซึ่งทุติยฌาน ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๓. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว ... ซึ่งตติยฌาน ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๔. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว ... ซึ่งจตุตถฌาน ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๕. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว ... ซึ่งสุญญตวิโมกข์ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๖. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว ... ซึ่งอนิมิตตวิโมกข์ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๗. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว ... ชึ่งอัปปณิหิตวิโมกข์ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๘. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว ... ซึ่งสุญญตสมาธิ ... ไม่ต้อง ปาราชิก.
๙. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว ... ซึ่งอนิมิตตสมาธิ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๐. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว ... ซึ่งอัปปณิหิตสมาธิ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 519
๑๑. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว ... ซึ่งสุญญตสมาบัติ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๒. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว ... ซึ่งอนิมิตตสมาบัติ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๓. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว ... ซึ่งอัปปณิหิตสมาบัติ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๔. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโรงหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว ... ซึ่งวิชชา ๓ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๕. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว ... ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๖. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว ... ซึ่งสัมมัปปธาน ๔ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๗. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว ... ซึ่งอิทธิบาท ๔ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๘. ภิกษุรู้อยู่ จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว ... ซึ่งอินทรีย์ ๕ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๑๙. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว ... ซึ่งพละ ๕ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๐. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว ... ซึ่งโพชฌงค์ ๗ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๑. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว ... ซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 520
๒๒. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว ... ซึ่งโสดาปัตติผละ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๓. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว ... ซึ่งสกทาคามิผล ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๔. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว ... ซึ่งอนาคามิผล ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๕. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าแล้ว ... ซึ่งอรหัตตผล ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๖. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และราคะข้าพเจ้าสละ แล้ว คายแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๗. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และโทสะ ข้าพเจ้า สละแล้ว คายแล้ว.. ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๘. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และโมหะ ข้าพเจ้า สละแล้ว คายแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๒๙. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และจิตของข้าพเจ้า เปิดจากราคะ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
๓๐. ภิกษุรู้อยู่ ... จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ และจิตของข้าพเจ้า เปิดจากโทสะ ... ต้องอาบัติปาราชิก.
พัทธจักร เอกมูลกนัย
มีอุตริมนุสธรรมข้อหนึ่งเป็นมูล ที่ท่านย่อไว้ จบ
[๒๖๙] พัทธจักร ทุมูลกนัย มีอุตริมนุสธรรม ๒ ข้อเป็นมูลก็ดี ติมูลกนัย มีอุตริมนุสธรรม ๓ ข้อเป็นมูลก็ดี จตุมูลกนัย มีอุตริมนุส-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 521
ธรรม ๔ ข้อเป็นมูล ก็ดี ปัญจมูลกนัย มีอุตริมนุสธรรม ๕ ข้อเป็นมูลก็ดี ฉมูลกนัย มีอุตริมนุสธรรม ๖ ข้อเป็นมูลก็ดี สัตตมูลกนัย มีอุตริมนุ- สธรรม ๗ ข้อเป็นมูลก็ดี อัฏฐมูลกนัย มีอุตริมนุสธรรม ๘ ข้อเป็นมูลก็ดี นวมูลกนัย มีอุตริมนุสธรรม ๙ ข้อเป็นมูลก็ดี ทสมูลกนัย มีอุตริมนุสธรรม ๑๐ ข้อเป็นมูลก็ดี บัณฑิตพึงให้พิสดารเหมือนพัทธจักรเอกมูลกนัย ดังที่ให้พิสดารแล้วนั้นเถิด.
พัทธจักร สัพพมูลกนัย มีอุตริมนุสธรรมทุกข้อเป็นมูล ดังต่อไปนี้:-
พัทธจักร สัพพมูลกนัย
[๒๗๐] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ วิชชา ๓ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล ราคะข้าพะเข้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว โทสะข้าพเจ้าสละแล้วคายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว โมหะข้าพเจ้าสละแล้วคายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว จิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ จิตของ ข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 522
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พัทธจักร สัพพมูลกนัย
จบ สุทธิกวารกถา จบ
ขัณฑจักร แห่งนิกเขปบท วัตถุนิสสารกะ
[๒๗๒] ๑. ภิกษุรู้อยู่ ประสงค์จะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ดังนี้ แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้กล่าวเท็จ แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว ... เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๓. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว ... เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๔. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๕. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๖. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 523
๗. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาธิแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๘. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาธิแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๙. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาธิแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๐. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาบัติแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๑. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาบัติแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๒. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาบัติแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๓. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าวิชชา ๓ แล้ว ... เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๔. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าข้าสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๕. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสัมมัปปธาน ๔ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๖. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอิทธิบาท แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๗. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอินทรีย์ ๕ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 524
๑๘. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าพละ ๕ แล้ว ... เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๙. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโพชฌงค์ ๗ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๐. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๑. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโสดาปัตติผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๒. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสกทาคามิผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๓. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนาคามิผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๔. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเจ้าอรหัตตผลแล้ว ... เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๕. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ราคะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๖. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า โทสะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๗. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า โมหะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 525
๒๘. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๙. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๓๐. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
ขัฌฑจักร แห่งนิกเขปบท วัตถุนิสสารกะ จบ
พัทธจักร เอกมูลกนัย แห่งวัตถุนิสสารกะ
มีอุตริมนุสธรรมข้อหนึ่งเป็นมูล
[๒๗๒] ๑. ภิกษุรู้อยู่ ประสงค์จะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว ดังนี้ แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว ... เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๓. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 526
๔. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๕. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๖. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาธิแล้ว ... เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๗. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาธิแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๘. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาธิแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๙. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาบัติแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าเท็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๐. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาบัติแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๑. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาบัติแล้ว เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๒. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าวิชชา ๓ แล้ว ... เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๓. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๔. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสัมมัปปธาน ๔ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 527
๑๕. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอิทธิบาท ๔ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๖. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอินทรีย์ ๕ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๗. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าพละ ๕ แล้ว ... เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๘. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโพชฌงค์ ๗ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๙. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๐. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโสดาปัตติผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๑. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสกทาคามิผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๒. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนาคามิผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๓. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอรหัตตผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๔. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ราคะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 528
๒๕. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า โทสะข้าพเจ้าสละแล้ว ตายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๖. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า โมหะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๗. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๘. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๙. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาถุลลัจจัย.
๓๐. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พัทธจักร เอกมูลกนัย แห่งวัตถุนิสสารกะ
มีอุตริมนุสธรรมข้อหนึ่งเป็นมูล จบ
มูลแห่งพัทธจักรข้อที่ท่านย่อไว้
[๒๗๓] ๑. ภิกษุรู้อยู่ ประสงค์จะกล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจาก โมหะดังนี้ แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 529
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขา ไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว ... เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๓. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว ... เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๔. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว ... เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้อองอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๕. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๖. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เช้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๗. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๘. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาธิแล้ว. เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๙. ภิกษุรู้ยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาธิแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๐. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาธิแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๑. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาบัติแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 530
๑๒. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตสมาบัติแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๓. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาบัติแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๔. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าวิชชา ๓ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๕. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๖. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสัมมัปปธาน ๔ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เสข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๗. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอิทธิบาท ๔ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๘. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอินทรีย์ ๕ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๙. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าพละ ๕ แล้ว ... เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๐. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโพชฌงค์ ๗ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๑. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเขาใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๒. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโสดาปัตติผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 531
๒๓. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสกทาคามิผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๘. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนาคามิผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๕. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอรหัตตผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๖. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ราคะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๗. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า โทสะข้าพเจ้าสละแล้ว ตายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๘. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า โมหะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๙. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๓๐. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พัทธจักร เอกมูลกนัย แห่งวัตถุนิสสารกะ ที่ท่านย่อไว้จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 532
ขัณฑจักรทุมูลกนัย แห่งวัตถุนิสสารกะ
มีอุตริมนุสธรรม ๒ ข้อเป็นมูล
[๒๗๔] ๑. ภิกษุรู้อยู่ ประสงค์จะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน และทุติยฌานแล้ว ดังนี้ แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและตติยฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รูว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ ปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและจตุตถฌาน แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย.
๓. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสุญญตวิโมกข์แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย.
๔. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอนิมิตตวิโมกข์แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย.
๕. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอัปปณิหิต วิโมกข์แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 533
๖. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสุญญตสมาธิแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย.
๗. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอนิมิตตสมาธิแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย.
๘. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาธิแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย.
๙. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสุญญตสมาบัติแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย.
๑๐. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอนิมิตตสมาบัติแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ อาบัติถุลลัจจัย.
๑๑. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาบัติแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย.
๑๒. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและวิชชา ๓ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 534
๑๓. ภิกษุรู่อยู่ แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสติปัฏฐาน ๘ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย.
๑๔. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสัมมัปปธาน ๔ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๕. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอิทธิบาท ๔ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย
๑๖. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอินทรีย์ ๕ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย.
๑๗. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข่าปฐมฌานและพละ ๕ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย.
๑๘. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเช้าปฐมฌานและโพชฌงค์ ๗ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย.
๑๙. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอริยมรรค มีองค์ ๘ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 535
๒๐. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและโสดาปัตติผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย.
๒๑. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสกทาคามิผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย.
๒๒. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอนาคามิผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่ เข้าใจ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย.
๒๓. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอรหัตตผล แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าเข้าใจ ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย.
๒๔. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน และราคะ ข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๕. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน และโทสะ ข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย.
๒๖. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน และโมหะ ข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 536
๒๗. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน และจิตของ ข้าพเจ้าเปิดจากราคะ ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๘. ภิกษุรู้อยู่ ... แต้กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน และจิตของ ข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๙. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน และจิตของ ข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
ขัณฑจักร ทุมูลกนัย แห่งวัตถุนิสสารกะ
มีอุตริมนุสธรรม ๒ ข้อ เป็นมูล จบ
พัทธจักร ทุมูลกนัย แห่งวัตถุนิสสารกะ
มีอุตริมนุสธรรม ๒ ข้อเป็นมูล
[๒๗๕] ๑. ภิกษุรู้อยู่ ประสงค์จะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌาน และตติยฌานแล้ว ดังนี้ แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 537
๒. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๓. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๔. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๕. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาธิแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๖. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาธิแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๗. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาธิแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๘. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญทสมาบัติแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๙. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาบัติแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๐. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาบัติแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๑. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าวิชชา ๓ แล้ว ... เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๒. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ... เนื้อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 538
๑๓. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสัมมัปปธาน ๔ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๔. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอิทธิบาท ๔ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๕. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอินทรีย์ ๕ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๖. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าพละ ๕ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๗. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโพชฌงค์ ๗ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๘. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๙. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโสดาปัตติผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๐. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสกทาคามิผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๑. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนาคามิผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๒๒. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอรหัตตผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๒๓. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ราคะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 539
๒๔. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า โทสะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๕. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า โมหะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๖. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๗. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๘. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๙. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ... เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พัทธจักร ทุมูลกนัย แห่งวัตถุนิสสารกะ
มีอุตริมนุสธรรม ๒ ข้อเป็นมูล จบ
พัทธจักร ทุมูลกนัย แห่งวัตถุนิสสารกะ
ที่ท่านย่อไว้
[๒๗๖] ๑. ภิกษุรู้อยู่ ประสงค์จะกล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจาก โทสะ และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ ดังนี้ แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้า ปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 540
เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว ... เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๓. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว ... เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๔. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว ... เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๕. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๖. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๗. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๘. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาธิแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย..
๙. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาธิแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๐. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาธิแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 541
๑๑. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาบัติติแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๒ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาบัติแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๓. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาบัติแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๔. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าวิชชา ๓ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเข้าไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๕. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๖. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสัมมัปปธาน ๔ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๗. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอิทธิบาท ๔ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๘. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอินทรีย์ ๕ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๑๙. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าพละ ๕ แล้ว ... เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๐. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโพชฌงค์ ๗ แล้ว.. เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๑. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 542
๒๒. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโสดาปัตติผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๓. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสกทาคามิผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๔. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนาคามิผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๕. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอรหัตตผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๖. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ราคะข้าพเจ้าสละ.แล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้อง อาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๗. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า โทสะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้อง อาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๘. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า โมหะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒๙. ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พัทธจักร ทุมูลกนัย มีอุตริมนุสธรรม ๒ ข้อเป็นมูล
แห่งวัตถุนิสสารกะ ที่ท่านย่อไว้ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 543
[๒๗๗] พัทธจักรแห่งวัตถุนิสสารกะ มีอุตริมนุสธรรม ๓ ข้อเป็น มูลก็ดี มีอุตริมนุสธรรม ๔ ข้อเป็นมูลก็ดี มีอุตริมนุสธรรม ๕ ข้อเป็น มูลก็ดี มีอุตริมนุสธรรม ๖ ข้อเป็นมูลก็ดี มีอุตริมนุสธรรม ๗ ข้อเป็น มูลก็ดี มีอุตริมนุสธรรม ๘ ข้อเป็นมูลก็ดี มีอุตรินนุสธรรม ๙ ข้อเป็น มูลก็ดี มีอุตริมนุสธรรม ๑๐ ข้อเป็นมูลก็ดี บัณฑิตพึงทำ ให้เหมือน พัทธจักร แม้มีอุตริมนุสธรรมข้อหนึ่งๆ เป็นมูล แห่งนิกเขปบททั้งหลาย ที่กล่าวไว้แล้วฉะนั้น พึงให้พิสดารเหมือนพัทธจักร มีอุตริมนุสธรรมข้อ หนึ่งเป็นมูล ที่ท่านให้พิสดารแล้วนั้นเถิด
พัทจักร สัพพมูลกนัย
มีอุตริมนุสธรรมทุกข้อเป็นมูล ดังนี้:-
[๒๗๘] ภิกษุรู้อยู่ ประสงค์จะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาบัติติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ วิชชา ๓ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรค มีองค์ ๘ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผลแล้ว ราคะ ข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว โทสะ ข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว โมหะ ข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สละแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว จิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 544
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พัทธจักร สัพพมูลกนัย จบ
จักรเปยยาลแห่งวัตถุนิสสารกะ จบ
วัตถุกามวารกถา จบ
ปัจจยปฏิสังยุตวารกถา เปยยาล ๑๕ หมวด
ปัจจัยตตวจนวาร ๕ หมวด
[๒๓๙] ๑. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... สุญญตวิโมกข์ ... อนิมิตตวิโมกข์ ... อัปปณิหิตวิโมกข์ ... สุญญตสมาธิ ... อนิมิตตสมาธิ ... อัปปณิหิตสมาธิ ... สุญญตสมาบัติ ... อนิมิตตสมาบัติ ... อัปปณิหิตสมาบัติ ... วิชชา ๓ ... สติปัฎฐาน ๔ ... สัมมัปปธาน ๔ ... อิทธิบาท ๔ ... อินทรีย์ ๕ ... พละ ๕ ... โพชฌงค์ ๗ ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 545
อริยมรรคมีองค์ ๘ ... โสดาปัตติผล ... สกทาคามิผล ... อนาคามิผล ... อรหัตตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน ราคะ ภิกษุนั้น สละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โทสะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โมหะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๘ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ ถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน จิตของภิกษุนั้น เปิดจากราคะ ... จิตของภิกษุนั้น เปิดจากโทสะ ... จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 546
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานใน สุญญาคาร ... ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร ... ซึ่งตติยฌานในสุญญาคาร ... ซึ่ง จตุตถฌานในสุญญาคาร ... ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๒๘๐] ๒. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดนุ่งห่มจีวรของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดนุ่งห่มจีวรของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... สุญญตวิโมกข์ ... อนิมิตตวิโมกข์ ... อัปปณิหิตวิโมกข์ ... สุญญตสมาธิ ... อนิมิตตสมาธิ ... อัปปณิหิตสมาธิ.. สุญญตสมาบัติ ... อนิมิตตสมาบัติ ... อัปปณิหิตตสมาบัติ ... วิชชา ๓.. สติปัฏฐาน ๔ ... สัมมัปปธาน ๔ ... อิทธิบาท ๔ ... อินทรีย์ ๕ ... พละ ๕ ... โพชฌงค์ ๗ ... อริยมรรคมีองค์ ๘ ... โสดาปัตติผล ... สกทาคามิผล ... อนาคามิผล
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 547
... อรหัตตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดนุ่งห่มจีวรของท่าน ราคะ ภิกษุนั้น สละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โทสะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โมหะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดนุ่งห่มจีวรของท่าน จิตของภิกษุนั้น เปิดจากราคะ ... จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ ... จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู่ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูก จ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดนุ่งห่มจีวรของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานใน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 548
สุญญาคาร ... ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร ... ซึ่งตติยฌานในสุญญาคาร ... ซึ่ง จตุตถฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
๓. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดบริโภคบิณฑบาตของท่าน ภิกษุ นั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำไห้แจ้ง ซึ่ง ปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดบริโภคบิณฑบาตของท่าน ภิกษุนั้น เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่ง ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... สุญญตวิโมกข์ ... อนิมิตตวิโมกข์ ... อัปปณิหิตวิโมกข์ ... สุญญตสมาธิ ... อนิมิตตสมาธิ ... อัปปณิหิตสมาธิ ... สุญญตสมาบัติ ... อนิมิตตสมาบัติ ... อปัปณิหิตสมาบัติ ... วิชชา ๓ ... สติ- ปัฏฐาน ๔ ... สัมมัปปธาน ๕ ... อิทธิบาท ๔ ... อินทรีย์ ... ๕ พละ ๕ ... โพชฌงค์ ๗ ... อริยมรรคมีองค์ ๘ ... โสดาปัตติผล ... สกทาคามิผล ... อนาคามิผล ... อรหัตตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 549
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดบริโภคบิณฑบาตของท่าน ราคะ ภิกษุ นั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โทสะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โมหะ ภิกษุนั้นสละแล้ว ตายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๘ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดบริโภคบิณฑบาตของท่าน จิตของ ภิกษุนั้นเปิดจากราคะ ... จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ ... จิตของภิกษุนั้นเปิด จากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ ถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดบริโภคบิณฑบาตของท่าน ภิกษุนั้น เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน ในสุญญาคาร ... ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร ... ซึ่งตติยฌานในสุญญาคาร ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 550
ซึ่งจตุตถฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว
๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ. ๔. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดใช้สอยเสนาสนะของท่าน ภิกษุ นั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่ง ปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดใช้สอยเสนาสนะของ ท่าน ภิกษุนั้น เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งซึ่งทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตุถฌาน ... สุญญตวิโมกข์ ... อนิมิตตวิโมกข์ ... อัปปณิ- หิตวิโมกข์ ... สุญญตสมาธิ ... อนิมิตตสมาธิ ... อัปปณิหิตสมาธิ สุญญตสมาบัติ ... อนิมิตตสมาบัติ ... อัปปณิหิตสมาบัติ ... วิชชา ๓ ... สติปัฏฐาน ๔ ... สัมมัปปธาน ๔ ... อิทธิบาท ๔ ... อินทรีย์ ๕ ... พละ ๕ ... โพชฌงค์ ๗ ... อริยมรรคมีองค์ ๘ ... โสดาปัตติผล ... สกทาคามิผล ... อนาคามิผล ... อรหัตตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่า คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 551
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดใช้สอยเสนาสนะของท่าน ราคะ ภิกษุ นั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โทสะ ภิกษุนั้นสละแล้ว ตายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โมหะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว อำ พรางความเห็น ๕ อำพราง ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดใช้สอยเสนาสนะของท่านเ จิตของ ภิกษุนั้นเปิดจากราคะ ... จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ ... จิตของภิกษุนั้น เปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดใช้สอยเสนาสนะของท่าน ภิกษุนั้น เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน ในสุญญาคาร ... ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร ... ซึ่งตติยฌานในสุญญาคาร ... ซึ่งจตุตถฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... อย่าง ... ๕ อย่าง ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 552
๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
๕. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดบริโภคเครื่องยาอันเป็นปัจจัยของ ภิกษุไข้ของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดบริโภคเครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุ ไข้ของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ ... อัปปณิหิตวิโมกข์ ... สุญญตสมาธิ ... อนิมิตตสมาธิ ... อัปปณิหิตสมาธิ ... สุญญตสมาบัติ ... อนิมิตตสมาบัติ ... อัปปณิหิตสมาบัติ ... วิชชา ๓ ... สติปัฏฐาน ๔ ... สัมมัปปธาน ๔ ... อิทธิบาท ... อินทรีย์ ๕ ... พละ ๕ ... โพชฌงค์ ๗ ... อริยมรรคมีองค์ ๘ ... โสดาปัตติผล ... สกทาคามิผล อนาคามิผล ... อรหัตตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลัง กล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพราง ความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความ จริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 553
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดบริโภคเครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุ ไข้ของท่าน ราคะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว. ถอนแล้ว ... โทสะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โมหะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดบริโภคเครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุ ไข้ของท่าน จิตของภิกษุนั้นเปิดจากราคะ ... จิตองภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดบริโภคเครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุ ไข้ของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งซึ่งปฐมฌานในสุญญาคาร ... ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร ... ซึ่งตติยฌานในสุญญาคาร ... ซึ่งจตุตถฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 554
เท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ปัจจัตตวจนวาร จบ
กรณวจนวาร ๕ หมวด
๑. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า วิหารของท่านอันภิกษุใดอาศัยแล้ว ภิกษุ นั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งซึ่งปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า วิหารของท่านอันภิกษุใดอาศัยแล้ว ภิกษุนั้น เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... สุญญตวิโมกข์ ... อนิมิตตวิโมกข์ ... อัปปณิหิตวิโมกข์ ... สุญญสมาธิ ... อนิมิตตสมาธิ ... อัปปณิหิตสมาธิ ... สุญญตสมาบัติ ... อนิมิตตสมาบัติ ... อัปปณิหิคสมาบัติ ... วิชชา ๓ ... สติปัฏ- ฐาน ๔ ... สัมมัปปธาน ๔ ... อิทธิบาท ๔ ... อินทรีย์ ๕ ... พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ... อริยมรรคมีองค์ ๘ ... โสดาปัตติผล ... สกทาคามิผล ... อนาคามิผล ... อรหัตตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 555
๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า วิหารของท่านอันภิกษุใดอาศัยแล้ว ราคะ ภิกษุนั้นสละแล้ว ตายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โทสะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โมหะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า วิหารของท่านอันภิกษุโดอาศัยแล้ว จิตของ ภิกษุนั้นเปิดจากราคะ ... จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ ... จิตของภิกษุนั้น เปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ ถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า วิหารของท่านอันภิกษุใดอาศัยแล้ว ภิกษุนั้น เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐม-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 556
ฌานในสุญญาคาร ... ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร ... ซึ่งตติยฌานในสุญญาคาร ซึ่งจตุตถฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
๒. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า จีวรของท่านอันภิกษุใดใช้สอยแล้ว ภิกษุ นั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า จีวรของท่านอันภิกษุใดใช้สอยแล้ว ภิกษุนั้น เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... สุญญตวิโมกข์ ... อนิมิตตวิโมกข์ ... อัปปณิหิตวิโมกข์ ... สุญญตสมาธิ ... อนิมิตตสมาธิ ... อัปปณิหิตสมาธิ ... สุญญตสมาบัติ ... อนิมิตตสมาบัติ ... อัปปณิหิตสมาบัติ ... วิชชา ๓ ... สติปัฏฐาน ๔.. สัมมัปปธาน ๔ ... อิทธิบาท ๔ ... อินทรีย์ ๕ ... พละ ๕ ... โพชฌงค์ ๗ ... อริยมรรคมีองค์ ๘ ... โสดาปัตติผล ... สกทาคามิผล ... อนาคามิผล ... อรหัตตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 557
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๘ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ พรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า จีวรของท่านอันภิกษุใดใช้สอยแล้ว ราคะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โทสะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โมหะ ภิกษุนั้น สละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า จีวรของท่านอันภิกษุใดใช้สอยแล้ว จิตของ ภิกษุนั้นเปิดจากราคะ ... จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ ... จิตของภิกษุนั้น เปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า จีวรของท่านอันภิกษุใดใช้สอยแล้ว ภิกษุนั้น เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน ในสุญญาคาร ... ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร ... ซึ่งตติยฌานในสุญญาคาร ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 558
ซึ่งจตุตถฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
๓. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า บิณฑบาตของท่านอันภิกษุใดบริโภคแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า บิณฑบาตของท่านอันภิกษุใดบริโภคแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... สุญญตวิโมกช์ ... อนิมิตตวิโมกข์ ... อัปปณิหิตวิโมกข์.ํ.. สุญญตสมาธิ ... อนิมิตตสมาธิ ... อัปปณิหิตสมาธิ ... สุญญตสมาบัติ ... อนิมิตตสมาบัติ ... อัปปณิหิตสมาบัติ ... วิชชา๓ ... สติ- ปัฏฐาน ๔ ... สัมมัปปธาน ๔ ... อิทธิบาท ๔ ... อินทรีย์ ๕ ... พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ... อริยมรรคมีองค์ ๘ ... โสดาปัตติผล ... สกทาคามิผล ... อนาคามิผล ... อรหัตตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 559
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า บิณฑบาตของท่านอันภิกษุใดบริโภคแล้ว ราคะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โทสะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โมหะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่ ข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า บิณฑบาตของท่านอันภิกษุใดบริโภคแล้ว จิตของภิกษุนั้นเปิดจากราคะ ... จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ ... จิตของภิกษุ นั้นเปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ าlย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู่ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า บิณฑบาตของท่านอันภิกษุใดบริโภคแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานในสุญญาคาร ... ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร ... ซึ่งตติยฌานใน สุญญาคาร ... ซึ่งจตุตถฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 560
... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพราง ความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
๔. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า เสนาสนะของท่านอันภิกษุใดใช้สอยแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง ความ ถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า เสนาสนะของท่านอันภิกษุใดใช้สอยแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... สุญญตวิโมกข์ ... อนิมิตตวิโมกข์ ... อัปปณิหิตวิโมกข์ ... สุญญตสมาธิ ... อนิมิตตสมาธิ ... อัปปณิหิตสมาธิ ... สุญญตสมาบัติ ... อนิมิตตสมาบัติ ... อัปปณิหิตสมาบัติ ... วิชชา ๓ ... สติปัฏฐาน ๔ ... สัมมัปปธาน ๔ ... อิทธิบาท ๔ ... อินทรีย์ ... พละ ๕ ... โพชฌงค์ ๗ ... อริยมรรคมีองค์ ๘ ... โสดาปัตติผล ... สกทาคามิผล ... อนาคามิผล ... อรหัตตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 561
๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า เสนาสนะของท่านอันภิกษุใดใช้สอยแล้ว ราคะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โทสะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โมหะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อ เขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า เสนาสนะของท่านอันภิกษุใดใช้สอยแล้ว จิต ของภิกษุนั้นเปิดจากราคะ ... จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ ... จิตของภิกษุนั้น เปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เขาใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า เสนาสนะของท่านอันภิกษุใดใช้สอยแล้ว ภิกษุ นั้น เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่ง ปฐมฌานในสุญญาคาร ... ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร ... ซึ่งตติยฌานใน สุญญาคาร ... ซึ่งจตตุถฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 562
... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพราง ความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความ จริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
๕. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า เครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ ของ ท่านอันภิกษุใดบริโภคแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ แล้ว ๔ อำพราง ความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า เครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ของท่านอัน ภิกษุใดบริโภคแล้ว ภิกษุนั้น เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... สุญญตวิโมกข์ ... อนิมิตตวิโมกข์ ... อัปปณิหิตวิโมกข์ ... สุญญตสมาธิ ... อนิมิตตสมาธิ ... อัปปณิหิตสมาธิ ... สุญญตสมาบัติ ... อนิมิตตสมาบัติ ... อัปปณิหิตสมาบัติ ... วิชชา ๓ ... สติปัฏฐาน ๔ ... สัมมัปปธาน ๔ ... อิทธิบาท ๔ ... อินทรีย์ ๕ ... พละ ๕ ... โพชฌงค์ ๗ ... อริยมรรคมีองค์ ๘ ... โสดาปัตติผล ... สกทาคามิผล ... อนาคามิผล ... อรหัตตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพราง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 563
ความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า เครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ของท่าน อันภิกษุใดบริโภคแล้ว ราคะ ภิกษุนั้นสละแล้ว ตายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โทสะ ภิกษุนั้น สละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โมหะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า เครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ของท่าน อันภิกษุใดบริโภคแล้ว จิตของภิกษุนั้นเปิดจากราคะ ... จิตของภิกษุนั้นเปิด จากโทสะ ... จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลัง กล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว อำพรางความ เห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อําพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า เครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ของท่าน อันภิกษุใดบริโภคแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็น ผู้ชำนาญทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานในสุญญาควร ... ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 564
ซึ่งตติยฌานในสุญญาควร ... ซึ่งจตุตถฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อุปโยควจนวาร ๕ หมวด
๑. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายวิหารแล้ว ภิกษุนั้น เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าวก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายวิหารแล้ว ภิกษุ นั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่ง ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... สุญญตวิโมกข์ ... อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ ... สุญญตสมาธิ ... อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ ... วิชชา ๓ ... สติปัฏฐาน ... ๔ ... สัมมัปปธาน ๔ ... อิทธิบาท ๔ ... อินทรีย์ ๕ ... พละ ๕ ... โพชฌงค์ ๗ ... อริยมรรคมี องค์ ๘ ... โสดาปัตติผล ... สกทาคามิผล ... อนาคามิผล ... อรหัตตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 565
อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูก ใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายวิหารแล้ว ราคะ ภิกษุนั้น สละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอน แล้ว ... โทสะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โมหะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่น เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัยเมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายวิหารแล้ว จิต ของภิกษุนั้นเปิดจากราคะ ... จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ ... จิตของภิกษุนั้น เปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าวก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูก ใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ- ถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อองอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายวิหารแล้ว ภิกษุนั้น เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานใน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 566
สุญญาควร ... ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร ... ซึ่งตติยฌานในสุญญาคาร ... ซึ่ง จตุตถฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ
๒ กำลังกล่าวก็รู้ว่ากล่าว เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ. ๒. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายจีวรแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งซึ่ง ปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าวก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายจีวรแล้ว ภิกษุ นั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่ง ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... สุญญตวิโมกข์ ... อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ ... สุญญตสมาธิ ... อนิมิตตสมาธิ ... อัปปณิหิตสมาธิ ... สุญญตสมาบัติ ... อนิมิตตสมาบัติ ... อัปปณิหิตสมาบัติ ... วิชชา ๓ ... สติปัฏ- ฐาน ๔ ... สัมมัปปธาน ... อิทธิบาท ... ๔ อินทรีย์ ๕ ... พละ๕ ... โพชฌงค์ ๗ ... อริยมรรคมีองค์ ๘ ... โสดาปัตติผล ... สกทาคามิผล ... อนาคามิผล ... อรหัตตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 567
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เนื้อเข้าไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายจีวรแล้ว ราคะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอน แล้ว ... โทสะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โมหะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่น เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายจีวรแล้ว จิตของ ภิกษุนั้น เปิดจากราคะ ... จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ ... จิตของภิกษุนั้นเปิด จากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายจีวรแล้ว จิต ของภิกษุนั้นเปิดจากราคะ ... จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ ... จิตของภิกษุนั้น เปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 568
๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ ถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายจีวรแล้ว ภิกษุนั้น เข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แล้วซึ่งปฐมฌานใน สุญญาคาร ... ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร ... ซึ่งตติยฌานในสุญญาคาร ... ซึ่ง จตุตถฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
๓. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายบิณฑบาต แล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งซึ่ง ปฐมฌานด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าว แล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายบิณฑบาตแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... สุญญตวิโมกข์ ... อนิมิตตวิโมกข์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 569
... อัปปณิหิตวิโมกข์ ... สุญญตสมาธิ ... อนิมิตตสมาธิ ... อัปปณิหิตสมาธิ ... สุญญตสมาบัติ ... อนิมิตตสมาบัติ ... อัปปณิหิตสมาบัติ ... วิชชา ๓ ... สติ- ปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ ... อิทธิบาท ... อินทรีย์ ๕ ... พละ ๕ ... โพชฌงค์ ๗ ... อริยมรรคมีองค์ ๘ ... โสดาปัตติผล ... สกทาคามิผล ... อนาคามิผล ... อรหัตตผลด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายบิณฑบาตแล้ว ราคะ ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โทสะภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โมหะภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายบิณฑบาตแล้ว จิตของภิกษุนั้นเปิดจากราคะ ... จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ ... จิตของภิกษุ นั้นเปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 570
เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายบิณฑบาตแล้วภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานในสุญญาคาร ... ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร ... ซึ่งตติยฌานใน สุญญาคาร ... ซึ่งจตุตถฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพราง ความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความ จริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
๔. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายเสนาสนะแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ ถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายเสนาสนะแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... สุญญตวิโมกข์ ... อนิมิตตวิโมกข์ ... อัปปณิหิตวิโมกข์ ... สุญญตสมาธิ ... อนิมิตตสมาธิ ... อัปปณิ-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 571
หิตสมาธิ ... สุญญตสมาบัติ ... อนิมิต สมาบัติ ... อัปปณิหิตสมาบัติ ... วิชชา ๓ ... สติปัฏฐาน ๔ ... สัมมัปปธาน ๔ ... อิทธิบาท ๔ ... อินทรีย์ ๕ ... พละ ๕ ... โพชฌงค์ ๗ ... อริยมรรคมีองค์ ๘ ... โสดาปัตติผล ... สกทาคามิผล ... อนาคามิผล ... อรหัตตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลัง กล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพราง ความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพางความ จริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายเสนาสนะแล้ว ราคะภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โทสะภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โมหะภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายเสนาสนะแล้ว จิตของภิกษุนั้นเปิดจากราคะ ... จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ ... จิตของ ภิกษุนั้นเปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าว เท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 572
ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายเสนาสนะแล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานในสุญญาคาร ... ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร ... ซึ่งตติยฌานใน สุญญาคาร ... ซึ่งจตุตถฌานในสุญญคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
๕. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายเครื่องยาอัน เป็นปัจจัยของภิกษุไข้แล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายเครื่องยาอันเป็น ปัจจัยของภิกษุไข้แล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... สุญญต-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 573
วิโมกข์ ... อนิมิตตวิโมกข์ ... อัปปณิหิตวิโมกข์ ... สุญญตสมาธิ ... อนิมิตตสมาธิ ... อัปปณิหิตสมาธิ ... สุญญตสมาบัติ ... อนิมิตตสมาบัติ ... อัปปณิหิตสมาบัติ ... วิชชา ๓ ... สติปัฏฐาน ๔ ... สัมมัปปธาน ๔ ... อิทธิบาท ๔ ... อินทรีย์ ๕ ... พละ ๕ ... โพชฌงค์ ๗ ... อริยมรรมมีองค์ ๘ ... โสดาปัตติผล ... สกทาคามิผล ... อนาคามิผล ... อรหัตตผล ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก กล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายเครื่องยาอันเป็น ปัจจัยของภิกษุไข้แล้ว ราคะภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โทสะภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โมหะภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าว เท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายเครื่องยาอันเป็น ปัจจัยของภิกษุไข้แล้ว จิตของภิกษุนั้นเปิดจากราคะ ... จิตของภิกษุนั้นเปิด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 574
จากโทสะ ... จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพราง ความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายเครื่องยาอันเป็น ปัจจัยของภิกษุไข้แล้ว ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานในสุญญาคาร ... ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร ... ซึ่งตติยฌานในสุญญาคาร ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อ คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
เปยยาล ๑๕ หมวด จบ
ปัจจัยปฏิสังยุตวารกถา จบ
อนาปัตติวาร
[๒๘๑] ภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ ๑ ภิกษุไม่ประสงค์จะกล่าวอวด ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน ๑ ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๑ ภิกษุอาทิกัมมีกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 575
วินีตวัตถุ
อุทานคาถา
[๒๘๒] เรื่องสำคัญว่าได้บรรลุมรรคผล ... ๑ เรื่อง
เรื่องอยู่ป่า ... ๑
เรื่อง เรื่องเที่ยวบิณฑบาต ... ๑
เรื่อง เรื่องอุปัชฌายะ ... ๑ เรื่อง
เรื่องอิริยาบถ ... ๔ เรื่อง
เรื่องละสัญโญชน์ ... ๑ เรื่อง
เรื่องธรรมในที่ลับ ... ๑ เรื่อง
เรื่องวิหาร ... ๑ เรื่อง
เรื่องบำรุง ... ๑ เรื่อง
เรื่องทำไม่ยาก ... ๑ เรื่อง
เรื่องความเพียร ... ๑ เรื่อง
เรื่องไม่กลัวความตาย ... ๑ เรื่อง
เรื่องความเสียหาย ... ๑ เรื่อง
เรื่องความประกอบชอบ ... ๑ เรื่อง
เรื่องปรารภความเพียร ... .๑ เรื่อง
เรื่องประกอบความเพียร ... ๑ เรื่อง
เรื่องอดกลั้นเวทนา ... ๒ เรื่อง
เรื่องพราหมณ์ ... ๕ เรื่อง
เรื่องพยากรณ์มรรคผล ... ๓ เรื่อง
เรื่องครองเรือน ... ๑ เรื่อง
เรื่องห้ามกาม ... ๑ เรื่อง
เรื่องยินดี ... ๑ เรื่อง
เรื่องหลีกไป ... ๑ เรื่อง
อัฏฐิสังขลิกเปรต เคยเป็นนายโคฆาต ... ๑ เรื่อง
มังสเปสิเปรต เคยเป็นนายโคฆาต ... ๑ เรื่อง
มังสปิณฑเปรต เคยเป็นพรานนก ... ๑ เรื่อง
นิจฉวิเปรต เคยเป็นคนฆ่าแกะ ... ๑ เรื่อง
อสิโลมเปรต เคยเป็นคนฆ่าสุกร ... ๑ เรื่อง
สัตติโลมเปรต เคยเป็นพรานเนื้อ ... ๑ เรื่อง
อุสุโลมเปรต เคยเป็นนายเพชฌฆาต ... ๑ เรื่อง
สูจิโลมเปรต เคยเป็นนายสารถี ... ๑ เรื่อง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 576
สูจกเปรต เคยเป็นคนส่อเสียด ... ๑ เรื่อง
กุมภัณฑเปรต เคยเป็นผู้พิพากษาโกงชาวบ้าน ... ๑ เรื่อง
คูถนิมุคคเปรต เคยเป็นชู้กับภรรยาเขา ... ๑ เรื่อง
คูถขาทิเปรต เคยเป็นพราหมณ์ชั่วช้า ... ๑ เรื่อง
นิจฉวิตถีเปรต เคยเป็นหญิงนอกใจผัว ... ๑ เรื่อง
มังกุลิตถีเปรต เคยเป็นหญิงแม่มด ... ๑ เรื่อง
โอกิลินีเปรต เคยเป็นหญิงขี้หึงเอาไฟครอกหญิงร่วมสามี ... ๑ เรื่อง
อสิสกพันธเปรต เคยเป็นนายโจรเพชฌฆาต ... ๑ เรื่อง
เรื่องภิกษุเปรต ... ๑ เรื่อง
เรื่องภิกษุณีเปรต ... ๑ เรื่อง
เรื่องสิกขมานาเปรต ... ๑ เรื่อง
เรื่องสามเณรเปรต ... ๑ เรื่อง
เรื่องสามเณรีเปรต ... ๑ เรื่อง ซึ่งในครั้งศาสนาพระพุทธกัสสปเธอ เหล่านั้นบวชแล้วได้ทำกรรรมลามกไว้
เรื่องแม่น้ำตโปทา ๑ เรื่อง เรื่องรบ ณ กรุงราชคฤห์ ๑ เรื่อง
เรื่องช้างลงน้ำ ๑ เรื่อง
เรื่องพระโสภิตะอรหันต์ ระลึกชาติได้ ๕๐๐ กัลป์ ๑ เรื่อง.
เรื่องสำคัญว่าได้บรรลุ
[๒๘๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอวดอ้างคุณวิเศษด้วยสำคัญ ว่าได้บรรลุแล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ไม่ต้องอาบัติเพราะสำคัญว่าได้บรรลุ.
เรื่องอยู่ป่า
[๒๘๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ป่าด้วยตั้งใจว่าคนจัก ยกย่องเราด้วยวิธีนี้ คนยกย่องภิกษุนั้นแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า พระผู้มี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 577
พระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้อง อาบัติปาราชิก ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุไม่พึงอยู่ป่าด้วยตั้งใจเช่นนั้น ภิกษุใด อยู่ด้วยตั้งใจเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องเที่ยวบิณฑบาต
ก็โดยสมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตด้วยตั้งใจว่า คนจักยกย่อง เราด้วยวิธีนี้ คนยกย่องภิกษุนั้นแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุไม่พึงเที่ยวบิณฑบาตด้วยตั้งใจเช่นนั้น ภิกษุใดเที่ยว บิณฑบาตด้วยตั้งใจเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องอุปัชฌายะ ๒ เรื่อง
[๒๘๕] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุอีกรูป หนึ่งว่า อาวุโส พวกภิกษุสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌายะของพวกเรา ล้วนเป็น พระอรหันต์ แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า อาวุโส พวกภิกษุอันเตวาสิกของพระอุปัชฌายะของพวกเรา ล้วนเป็นผู้มีฤทธิ์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 578
มาก มีอานุภาพมาก แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องอิริยาบถ ๔ เรื่อง
[๒๘๖] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเดินจงกรมอยู่ด้วยตั้งใจว่า คนจักยกย่องเราด้วยวิธีนี้ คนยกย่องภิกษุนั้นแล้ว เธอมีความรังเกียจ จึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้อง อาบัติปาราชิก ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุไม่พึงเดินจงกรมด้วยตั้งใจเช่นนั้น ภิกษุ ใดเดินจงกรมด้วยตั้งใจเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งยืนอยู่ด้วยตั้งใจว่า คนจักยกย่อง เราด้วยวิธีนี้ คนยกย่องภิกษุนั้นแล้ว เธอมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุ ทั้งหลาย อันภิกษุไม่พึงยืนด้วยตั้งใจเช่นนั้น ภิกษุใดยืนด้วยตั้งใจเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งนั่งอยู่ด้วยตั้งใจว่า คนจักยกย่อง เราด้วยวิธีนี้ คนยกย่องภิกษุนั้นแล้ว เธอมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุ ทั้งหลาย อันภิกษุไม่พึงนั่งด้วยตั้งใจเช่นนั้น ภิกษุใดนั่งด้วยทั้งใจเช่นนั้น ต้อง อาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 579
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งนอนอยู่ด้วยตั้งใจว่า คนจักยกย่อง เราด้วยวิธีนี้ คนยกย่องภิกษุนั้นแล้ว เธอมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุ ทั้งหลาย อันภิกษุไม่พึงนอนด้วยทั้งใจเช่นนั้น ภิกษุใดนอนด้วยตั้งใจเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องละสัญโญชน์
[๒๘๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพูดอวดอุตริมนุสธรรมแก่ ภิกษุอีกรูปหนึ่ง แม้ภิกษุรูปนั้นก็กล่าวอวดอย่างนี้ว่า อาวุโส แม้ผมก็ละ สัญโญชน์ได้ แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องธรรมในที่ลับ
[๒๘๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่ลับ พูดอวดอุตริ- มนุสธรรม ภิกษุผู้รู้จิตของบุคคลนั้น ตักเตือนเธอว่า อาวุโส คุณอย่าได้พูด เช่นนั้น เพราะธรรมเช่นนั้นไม่มีแก่คุณ ภิกษุนั้นมีความรังเกียจ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุอีกรูปหนึ่งอยู่ในที่ลับ พูดอวดอุตริมนุสธรรม เทพดาตักเตือนเธอว่า ข้าแด่พระคุณเจ้า พระคุณเจ้าอย่าได้พูดเช่นนั้น เพราะ ธรรมนั้นไม่มีแก่พระคุณเจ้า ภิกษุนั้นมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง อาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 580
เรื่องวิหาร
[๒๘๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพูดกะอุบาสกคนหนึ่งว่า ดูก่อนอุบาสก ภิกษุผู้อยู่ในวิหารของท่านนั้น เป็นพระอรหันต์ และภิกษุนั้น ก็อยู่ในวิหารของอุบาสกนั้น เธอมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอติดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องบำรุง
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดกะอุบาสกผู้หนึ่งว่า ดูก่อนอุบาสก ภิกษุที่ท่านบำรุงด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร นั้นเป็นพระอรหันต์ และอุบาสกนั้นก็บำรุงภิกษุนั้นอยู่ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องทำไม่ยาก
[๒๙๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้พา กันถามภิกษุนั้นว่า อุตริมนุสธรรมของคุณมีหรือ.
ภิกษุนั้นตอบว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย การทำพระอรหัตตผลให้แจ้ง ไม่ใช่ของทำได้ยาก แล้วมีความรังเกียจว่า เฉพาะท่านที่เป็นสาวกของพระผู้มี พระภาคเจ้าเท่านั้น จึงควรพูดอย่างนั้น ส่วนเราสิ หาได้เป็นสาวกของพระองค์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 581
ไม่ เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้มีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องความเพียร
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้พากันถาม ภิกษุนั้นว่า อุตริมนุสธรรมของคุณมีหรือ.
ภิกษุนั้นตอบว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อันท่านผู้ปรารภความ เพียร แล้ว พึงยังธรรมให้สัมฤทธิผลได้ แล้วมีความรังเกียจว่า เฉพาะท่านทที่เป็น สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น จึงควรพูดอย่างนั้น ส่วนเราสิ หาได้เป็น สาวกของพระองค์ไม่ เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคนเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิคอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้มีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องไม่กลัวความตาย
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้พูดกะภิกษุ นั้นว่า ดูก่อนอาวุโส ท่านอย่าได้กลัวเลย.
ภิกษุนั้นตอบว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ผมไม่กลัวต่อความตาย แล้ว มีความรังเกียจว่า เฉพาะท่านที่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น จึง ควรพูดอย่างนั้น ส่วนเราสิ หาได้เป็นสาวกของพระองค์ไม่ เราต้องอาบัติ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 582
ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถาม ว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้มีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องความเสียหาย
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้พูดกับภิกษุ นั้นว่า ดูก่อนอาวุโส ท่านอย่าได้กลัวเลย.
ภิกษุนั้นตอบว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย สำหรับท่านผู้มีความกินแหนง แคลงใจต้องกลัวแน่ แล้วมีความรังเกียจว่า เฉพาะท่านที่เป็นสาวกของพระผู้มี พระภาคเจ้าเท่านั้น จึงควรพูดอย่างนั้น ส่วนเราสิหาได้เป็นสาวกของพระองค์ ไม่ เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้มีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะพูดอวด ไม่ไม่ต้อง.
เรื่องประกอบชอบ
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้พากันถามภิกษุ นั้นว่า อุตริมนุสธรรมของคุณมีหรือ.
ภิกษุนั้นตอบว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อันท่านผู้ประกอบโดยชอบ พึงยังธรรมให้สัมฤทธิผลได้ แล้วมีความรังเกียจว่า เฉพาะท่านที่เป็นสาวกของ พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น จึงควรพูดอย่างนั้น ส่วนเราสิหาได้เป็นสาวกของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 583
พระองค์ไม่ เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้มีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้ไม่ความประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องปรารภความเพียร
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้พากันถามภิกษุ นั้น ว่า อุตริมนุสธรรมของคุณมีหรือ.
ภิกษุนั้นตอบว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ท่านผู้มีความเพียรอันปรารภ แล้ว พึงยังธรรมให้สัมฤทธิผลได้ แล้วมีความรังเกียจว่า เฉพาะท่านที่เป็น สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น จึงควรพูดอย่างนั้น ส่วนเราสิ หาได้เป็น สาวกของพระองค์ไม่ เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้มีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องประกอบความเพียร
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้พากันถามภิกษุ นั้นว่า อุตริมนุสธรรมของคุณมีหรือ.
ภิกษุนั้นตอบว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ท่านผู้มีความเพียรอันประกอบ แล้วพึงยังธรรมให้สัมฤทธิผลได้ แล้วมีความรังเกียจว่า เฉพาะท่านที่เป็นสาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น จึงควรพูดอย่างนั้น ส่วนเราสิ หาได้เป็นสาวก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 584
ของพระองค์ไม่ เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้มีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องอดกลั้นเวทนา ๒ เรื่อง
๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้พากันถาม ภิกษุนั้นว่า ดูก่อนอาวุโส คุณยังพออดทนต่อทุกขเวทนาได้หรือ ยังพอประ ทังชีวิตไปได้หรือ.
ภิกษุนั้นตอบว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อันคนพอดีพอร้ายไม่สามารถ จะอดกลั้นได้ แล้วมีความรังเกียจว่า เฉพาะท่านที่เป็นสาวกของพระผู้มี พระภาคเจ้าเท่านั้น จึงควรพูดอย่างนั้น ส่วนเราสิ หาได้เป็นสาวกของพระองค์ ไม่ เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้มีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้พากันถาม ภิกษุนั้นว่า ดูก่อนอาวุโส ท่านยังพออดทนต่อทุกขเวทนาได้หรือ ยังพอ ประทังชีวิตไปได้หรือ.
ภิกษุนั้นตอบว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อันปุถุชนไม่สามารถจะอดกลั้น ได้ แล้วมีความรังเกียจว่า เฉพาะท่านที่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่า นั้น จึงควรพูดอย่างนั้น ส่วนเราสิ หาได้เป็นสาวกของพระองค์ไม่ เราต้อง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 585
อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องพราหมณ์ ๕ เรื่อง
[๒๙๑] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พราหมณ์ผู้หนึ่ง นิมนต์ภิกษุทั้งหลาย มาแล้วได้กล่าวว่า นิมนต์พระอรหันต์ทั้งหลาย จงมาเถิดเจ้าข้า ภิกษุเหล่านั้น มีความรังเกียจว่า พวกเราหาได้เป็นพระอรหันต์ไม่ ก็พราหมณ์นี้มาร้องเรียก พวกเราด้วยวาทะว่าอรหันต์ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ แล้ว กราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ เพราะเขากล่าวด้วยความเลื่อมใส.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พราหมณ์ผู้หนึ่งนิมนต์ภิกษุทั้งหลายมาแล้วได้ กล่าวว่า นิมนต์พระอรหันต์ทั้งหลาย จงนั่งเถิดเจ้าข้า ภิกษุเหล่านั้นมีความ รังเกียจว่า พวกเราหาได้เป็นพระอรหันต์ไม่ ก็พราหมณ์นี้มาร้องเรียกพวกเรา ด้วยวาทะว่าอรหันต์ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ เพราะ เขากล่าวด้วยความเลื่อมใส.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พราหมณ์ผู้หนึ่ง นิมนต์ภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ได้กล่าวว่า นิมนต์พระอรหันต์ทั้งหลาย จงบริโภคเถิดเจ้าข้า ภิกษุเหล่านั้นมี ความรังเกียจว่า พวกเราหาได้เป็นพระอรหันต์ไม่ ก็พราหมณ์นี้มาร้องเรียก พวกเราด้วยวาทะว่าอรหันต์ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ แล้ว กราบทูล
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 586
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ เพราะเขากล่าวด้วยความเลื่อมใส.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล พราหมณ์ผู้หนึ่ง นิมนต์ภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ได้กล่าวว่า นิมนต์พระอรหันต์ทั้งหลาย จงฉันให้อิ่มเถิดเจ้าข้า ภิกษุเหล่านั้น มีความรังเกียจว่า พวกเราหาได้เป็นพระอรหันต์ไม่ ก็พราหมณ์นี้มาร้องเรียก พวกเรา ด้วยวาทะว่าอรหันต์ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ เพราะเขากล่าวด้วยความเลื่อมใส.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล พราหมณ์ผู้หนึ่ง นิมนต์ภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ได้กล่าวว่า นิมนต์พระอรหันต์ทั้งหลาย จงกลับไปเถิดเจ้าข้า ภิกษุเหล่านั้นมี ความรังเกียจว่า พวกเราหาได้เป็นพระอรหันต์ไม่ ก็พราหมณ์นี้มาร้องเรียก พวกเราด้วยวาทะว่าอรหันต์ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ เพราะเขากล่าวด้วยความเลื่อมใส.
เรื่องพยากรณ์มรรคผล ๓ เรื่อง
[๒๙๒] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพูดอวดอุตริมนุสธรรม แก่ภิกษุอีกรูปหนึ่ง แม้ภิกษุรูปนั้นก็ได้กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส แม้ผมก็ ละอาสวะได้แล้ว มีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง พูดอวดอุตริมนุสธรรมแก่ ภิกษุอีกรูปหนึ่ง แม้ภิกษุรูปนั้นก็ได้กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ธรรมเหล่านั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 587
ย่อมมีแม้แก่ผม แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง อวดอุตริมนุสธรรมแก่ภิกษุ อีกรูปหนึ่ง แม้ภิกษุรูปนั้นก็ได้กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส แม้ผมก็ปรากฏในธรรม เหล่านี้ แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส ว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องครองเรือน
[๒๙๓] ก็โดยสมัยนั้นแล พวกญาติได้กล่าวกะภิกษุรูปหนึ่งว่า นิมนต์ ท่านมาอยู่ครองเรือนเถิด ขอรับ.
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า ท่านทั้งหลาย คนอย่างฉันไม่ควรแท้ที่จะอยู่ครอง เรือน แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส ถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องห้ามกาม
ก็โดยสมัยนั้นแล พวกญาติได้กล่าวกะภิกษุรูปหนึ่งว่า นิมนต์ท่านมา บริโภคกามเถิด ขอรับ.
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า ท่านทั้งหลาย กามทั้งหลาย เราห้ามแล้ว แล้ว มีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อน ภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 588
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า.
ภิ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องยินดี
ก็โดยสมัยนั้นแล พวกญาติได้กล่าวกะภิกษุรูปหนึ่งว่า ท่านยังยินดียิ่ง อยู่หรือ ภิกษุรูปนั้นตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย เรายังยินดียิ่งอยู่ ด้วยความยินดี เป็นอย่างยิ่ง แล้วมีความรังเกียจว่า เฉพาะท่านที่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น จึงควรพูดอย่างนั้น ส่วนเราสิ หาได้เป็นสาวกของพระองค์ไม่ เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องหลีกไป
[๒๙๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก จำพรรษาอยู่ในอาวาส แห่งหนึ่งตั้งกติกากันไว้ว่า ภิกษุใดหลีกไปจากอาวาสนี้ก่อน พวกเราจักเข้าใจ ภิกษุนั้นว่าเป็นพระอรหันต์ ภิกษุรูปหนึ่งหลีกไปจากอาวาสนั้นก่อน ด้วยตั้งใจ ว่า ภิกษุทั้งหลายจงเข้าใจเราว่าเป็นพระอรหันต์ แล้วมีความรังเกียจว่า เรา ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 589
เรื่องอัฏฐิสังขลิกเปรต
[๒๙๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนคร ราชคฤห์ ครั้งนั้นท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ ณ คิชฌกูฏ บรรพต ครั้นเวลาเช้า ท่านพระมหาโมคคัลลานะครองอันตราวาสกแล้ว ถือ บาตรจีวรเข้าไปหาท่านพระลักขณะจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่าน พระลักขณะว่า อาวุโส ลักขณะมาเถิด เราจะเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ด้วยกัน ท่านพระลักขณะรับ คำท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ได้ อาวุโส.
ขณะที่ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กำลังลงจากคิชฌกูฏบรรพตนั้น ได้ ยิ้มให้ปรากฏ ณ ประเทศแห่งหนึ่ง จึงท่านพระลักขณะได้ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะ ว่า อาวุโส มหาโมคคัลลานะ อะไรหนอ เป็นเหตุ อะไรหนอ เป็นปัจจัย ให้ยิ้ม.
ม. อาวุโส ลักขณะ ยังไม่สมควรที่จะพยากรณ์ปัญหานี้ ท่านจงถาม ปัญหานี้กะผม ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด.
ครั้นท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ เที่ยวบิณฑบาต ในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาตในเวลาภายหลังภัตแล้ว จึงพากันเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่งแล้ว ท่านพระลักขณะได้กล่าวคำนี้กะท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ท่าน พระมหาโมคคัลลานะ เมื่อกำลังลงจากคิชฌกูฎบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้ทำการยิ้มให้ปรากฏ ณ ประเทศแห่งหนึ่ง อาวุโส โมคคัลลานะ อะไรหนอ เป็นเหตุ อะไรหนอ เป็นปัจจัยให้ยิ้ม.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 590
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นอัฏฐิสังขลิกเปรตมีแต่ร่างกระดูก ลอยไปใน เวหาส์ ฝูงแร้ง เหยี่ยว และนกตะกรุม พากันโฉบอยู่ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทิ้ง ยื้อแย่งตามช่องซี่โครง สะบัดซึ่งเปรตนั้นอยู่ไปมา เปรตนั้นร้องครวญ คราง อาวุโส ผมนั้นได้คิดเช่นนี้ว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ น่าประหลาดจริง หนอ ที่สัตว์แม้เห็นปานนี้ ยักษ์แม้เห็นปานนี้ เปรตแม้เห็นปานนี้ การได้ อัตภาพแม้เห็นปานนี้ก็มีอยู่.
ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานะอวดอุตริมนุสธรรม
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย สาวกทั้งหลายย่อมเป็นผู้มีจักษุอยู่ ย่อมเป็นผู้มีญาณอยู่ เพราะสาวก ได้รู้ได้เห็น หรือได้ทำสัตว์เช่นนี้ ให้เป็นพยานแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ กาลก่อนเราก็ได้เห็นสัตว์นั้น แต่เราไม่ได้พยากรณ์ ถ้าเราพยากรณ์สัตว์นั้น และคนอื่นไม่เชื่อเรา ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไปเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ ทุกข์ แก่เขาเหล่านั้นสิ้นกาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์นั้นเคยเป็นคน ฆ่าโคอยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้นั้น เขาหมกไหม้อยู่ ในนรกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี แล้วได้ประสบอัตภาพ เช่นนี้ ด้วยวิบากแห่งกรรม นั้นแหละ ที่ยังเป็นส่วนเหลืออยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลานะ พูดจริง โมคคัลลานะ ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องมังสเปสิเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 591
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นมังสเปสิเปรต มีแต่ชิ้นเนื้อลอยไปในเวหาส์ ฝูงแร้ง เหยี่ยว และนกตะกรุม พากันโฉบอยู่ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทั้ง ยื้อแย่ง สะบัดซึ่งเปรตนั้นอยู่ไปมา เปรตนั้น ร้องครวญคราง ...
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ... สัตว์นั้น เคยเป็นคนฆ่าโค อยู่ในพระนคร ราชคฤห์นี้เอง ...
เรื่องมังสปิณฑเปรต
โดยในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะ กับ ท่านมหาโมคคัลลานะ ...
ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นมังสปิณฑเปรต มีแต่ก้อนเนื้อ ลอย ไปในเวหาส์ ฝูงแร้ง เหยี่ยว และนกตะกรุม พากันโฉบอยู่ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทิ้ง ยื้อแย่ง สะบัดซึ่งเปรตนั้นอยู่ไปมา เปรตนั้นร้องครวญคราง ...
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ... สัตว์นั้น เคยเป็นพรานนกอยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ...
เรื่องนิจฉวิเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 592
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นนิจฉวิเปรตชาย ไม่มีผิวหนัง ลอยไปในเวหาส์ ฝูงแร้ง เหยี่ยว และนกตะกรุม พากัน โฉบอยู่ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทิ้ง ยื้อแย่ง สะบัดซึ่งเปรตนั้นอยู่ไปมา เปรตนั้น ร้องครวญคราง ...
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ... สัตว์นั้นเคยเป็นคนฆ่าแกะอยู่ในพระนครราชคฤห์ นี้เอง ...
เรื่องอสิโลมเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะ กับ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นอสิโลมเปรตชาย มีขนเป็นดาบ ลอยไปใน เวหาส์ ดาบเหล่านั้น ของมันหลุดลอยขึ้นไปแล้วตกลงที่กายของมันเอง เปรต นั้นร้องครวญคราง ...
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ... สัตว์นั้นเคยเป็นคนฆ่าสุกรอยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ...
เรื่อง สัตติโลมเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่ พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะ กับท่านพระมหาโมคคัลลานะ..
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 593
ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นสัตติโลมเปรตชาย มีขนเป็นหอก ลอยไปใน เวหาส์ หอกเหล่านั้น ของมันหลุดลอยขึ้นไปแล้วตกลงที่กายของมันเอง เปรต นั้น ร้องครวญคราง ...
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ... สัตว์นั้นเคยเป็นพราน เนื้ออยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ...
เรื่อง อุสุโลมเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อัน เป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่าน พระลักขณะ กับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ...
ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นอุสุ โลมเปรตชาย มีขนเป็นลูกศร ลอยไปใน เวหาส์ ลูกศรเหล่านั้นของมัน หลุดลอยขึ้นไปแล้ว ตกลงที่กายของมันเอง เปรตนั้นร้องครวญคราง ...
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ... สัตว์นั้นเคยเป็นเพชฌฆาตอยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ...
เรื่องสูจิโลมเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะ กับ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 594
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นสูจิโลมเปรตชาย มีขนเป็นเข็มลอยไปในเวหาส์ เข็มเหล่านั้นของมัน หลุดลอยขึ้นไปแล้ว ตกลงที่กายของมันเอง เปรตนั้น ร้องครวญคราง ...
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ... สัตว์นั้น เคยเป็น นายสารถี อยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ...
เรื่องสูจกเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะ กับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ...
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงมาจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นสูจกโลมเปรตชาย มีขนเป็นเข็มลอยไปใน เวหาส์ เข็มเหล่านั้นของมัน ทิ่มเข้าไปในศีรษะ แล้วออกทางปาก ทีมเข้าไป ในปาก แล้วออกทางอก ทิ่มเข้าไปในอก แล้วออกทางท้อง ทิ่มเข้าไปในท้อง แล้วออกทางขาทั้งสอง ทิ่มเข้าไปไนขาทั้งสอง แล้วออกทางแข้งทั้งสอง ทิ่ม. เข้าไปในแข้งทั้งสอง แล้วออกทางเท้าทั้งสอง เปรตนั้นร้องครวญคราง ...
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ... สัตว์นั้นเคยเป็น คนส่อเสียดอยู่ใน พระนครราชคฤห์นี้เอง ...
เรื่องกุมภัณฑเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะ กับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 595
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นกุมภัณฑเปรตชาย มีอัณฑะโตเท่าหม้อ ลอย ไปในเวหาส์ เปรตนั้นแม้เมื่อเดินไป ย่อมยกอัณฑะเหล่านั้นแหละขึ้นพาดบ่า เดินไป แม้เมื่อนั่ง ก็ย่อมนั่งบนอัณฑะเหล่านั้นแหละ ฝูงแร้ง เหยี่ยว และ นกตะกรุมพากันโฉบ อยู่ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทิ้งยื้อแย่ง สะบัดซึ่งเปรต นั้น อยู่ไปมา เปรตนั้นร้องครวญคราง ...
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย.. สัตว์นั้นเคยเป็นผู้พิพากษาโกงชาวบ้าน อยู่ในพระนครราชคฤห์ นี้เอง ...
เรื่องคูถนิมุคคเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน วิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะ กับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ...
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นคูถนิมุคคเปรตชาย ผู้จมอยู่ในหลุมคูถท่วม ศีรษะ ...
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ... สัตว์นั้นเคยเป็นชู้กับภรรยาของชายอื่น อยู่ในพระนครราชคฤห์ นี้เอง ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 596
เรื่องคูถขาทิเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะ กับท่าน พระโมคคัลลานะ ...
ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นคูถขาทิเปรตชาย ผู้จมอยู่ในหลุมคูถท่วมศีรษะ กำลังเอามือทั้งสองกอบคูถกินอยู่ ...
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ... สัตว์นั้นเคยเป็นพราหมณ์ผู้ชั่วช้า อยู่ในพระนครราชคฤห์ นี้เอง ครั้งศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พราหมณ์นั้น นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ด้วย ภัตตาหารแล้ว เทคูถลงในรางจนเต็ม สั่งคนให้ไปบอกภัตกาล แล้วได้กล่าว คำนี้ว่า ขอท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงฉันอาหารและนำไปไห้พอแก่ความต้องการ จากสถานที่นี้ ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เขาหมกไหม้ในนรก หลายปี หลาย ร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี แล้วได้ประสบอัตภาพเช่นนี้ ด้วยวิบากแห่ง กรรมนั้นแหละ ซึ่งยังเป็นส่วนเหลืออยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลานะ พูดจริง โมคคัลลานะไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องนิจฉวิตถีเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน วิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนคร ราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะ กับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 597
ท่านมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นนิจฉวิตถีเปรตหญิง ไม่มีผิวหนัง ลอยไปใน เวหาส์ ฝูงแร้ง เหยี่ยว และนกตะกรุม พากันโฉบอยู่ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทิ้งยื้อแย่ง สะบัดซึ่งเปรตหญิงนั้นอยู่ไปมา เปรตหญิงนั้น ร้องครวญคราง ...
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ... เปรตหญิงนั้น ... เคยเป็นหญิงประพฤตินอกใจสามี อยู่ในพระนคร ราชคฤห์นี้เอง ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลานะพูดจริง โมคคัลลานะ ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องมังคุลิตถีเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ...
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นมังคุลิตถีเปรตหญิง มีรูปร่างน่าเกลียด มี กลิ่นเหม็นลอยไปในเวหาส์ ฝูงแร้ง เหยี่ยว และนกตะกรุม พากันโฉบอยู่ ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทิ้งยื้อแย่ง สะบัดซึ่งเปรตหญิงนั้น อยู่ไปมา เปรตหญิงนั้นร้องครวญคราง ...
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ... เปรตหญิงนั้นเคยเป็นแม่มดอยู่ในพระนครราชคฤห์ นี้เอง ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 598
เรื่องโอกิลินีเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ...
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นโอกิลินีเปรตหญิง มีร่างกายถูกไฟลวก มี หยาดเหงื่อไหลหยด มีถ่านเพลิงโปรยลง ลอยไปในเวหาส์ เปรตหญิงนั้น ร้องครวญคราง ...
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ... เปรตหญิงนั้นเคยเป็นอัครมเหสีของพระเจ้ากาลิงคะ นางเป็นคน ขี้หึง ได้เอากระทะเต็มด้วยถ่านเพลิงคลอกสตรีร่วมพระราชสามี ...
เรื่องอสีสกพันธเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะ กับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ...
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นอสีสกพันธเปรตมีศีรษะขาดลอยไปในเวหาส์ ตาและปากของมันอยู่ที่อก ฝูงแร้ง เหยี่ยว และนกตะกรุม พากันโฉบอยู่ ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทิ้งยื้อแย่ง สะบัดซึ่งเปรตนั้นอยู่ไปมา เปรตนั้น ร้องครวญคราง ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 599
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ... สัตว์นั้นเคยเป็นเพชฌฆาตผู้ฆ่าโจร ชื่อทามริกะ อยู่ในพระนคร ราชคฤห์ นี้เอง ...
เรื่องภิกษุเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน วิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะ กับท่านพระมหาโมคคัลลานะ
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นภิกษุเปรตลอยไปใน เวหาส์ สังฆาฏิ บาตร ประคดเอว และ ร่างกายของมัน ถูกไฟติดลุกโชน เปรตนั้นร้องครวญคราง ...
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ... ภิกษุเปรตนั้น เคยเป็นภิกษุผู้ลามก ในศาสนาของพระกัสสป สัมมาสัมพุทธเจ้า.
เรื่องภิกษุณีเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ..
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นภิกษุณีเปรตลอยไปในเวหาส์ สังฆาฏิ บาตร ประคดเอว และร่างกายของมัน ถูกไฟติดลุกโชน เปรตนั้นร้องครวญคราง ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 600
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ... ภิกษุณีเปรตนั้น เคยเป็นภิกษุณีผู้ลามก ในศาสนาของพระกัสสป สัมมาสัมพุทธเจ้า ...
เรื่องสิกขมานาเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ...
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นสิกขมานาเปรต ลอยไปในเวหาส์ สังฆาฏิ บาตร ประคดเอว และร่างกายของมัน ถูกไฟติดลุกโชน เปรตนั้นร้อง ครวญคราง ...
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย ... สิกขมานาเปรตนั้นเคยเป็นสิกขมานาผู้ลามก ในศาสนาของ พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ...
เรื่องสามเณรเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน วิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ... .
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นสามเณรเปรตลอยไปในเวหาส์ สังฆาฏิ บาตร ประคดเอว และร่างกายของมัน ถูกไฟติคลุกโชน เปรตนั้นร้องครวญคราง ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 601
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย ... สามเณรเปรตนั้น เคยเป็นสามเณรผู้ลามก ในศาสนาของพระ กัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ...
เรื่องสามเณรีเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ...
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นสามเณรีเปรต ลอยไปในเวหาส์ สังฆาฎิ บาตร ประคดเอว และร่างกายของมัน ถูกไฟติดลุกโชน เปรตนั้นร้องครวญคราง ...
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย ... สามเณรเปรตนั้น เคยเป็นสามเณรผู้ลามก ในศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ...
เรื่องแม่น้ำตโปทา
[๒๙๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลาย กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย แม่น้ำตโปทานี้ ไหลมาแต่ห้วงใด ห้วงนั้นมี น้ำใสเย็น จืดสนิท สะอาดสะอ้าน มีท่าเรียบราบ น่ารื่นรมย์ มีปลาและเต่า มาก อนึ่ง ดอกบัวประมาณเท่ากงเกวียนแย้มบานอยู่ แต่ถึงอย่างนั้น แม่น้ำ ตโปทานี้ก็เดือดพล่านไหลไปอยู่
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 602
ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนท่านพระมหา โมคคัลลานะจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส แม่น้ำตโปทานี้ไหลมาแต่ห้วงใด ห้วงนั้นมีน้ำใส เย็น จืดสนิท สะอาดสะอ้าน มีท่าเรียบราบ น่ารื่นรมย์ มี ปลา และเต่ามาก อนึ่ง ดอกบัว ประมาณเท่ากงเกวียนแย้มบานอยู่ แต่ถึงอย่าง นั้น แม่น้ำตโปทาน ก็เดือดพล่านไหลไปอยู่ ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าว อวดอุตริมนุสธรรม แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระ ผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำตโปทานี้ไหลมาแต่ห้วงใด ห้วงนั้นมีน้ำใส เย็น จืด สนิท สะอาด สะอ้าน มีท่าเรียบราบ น่ารื่นรมย์ มีปลาและเต่ามาก อนึ่ง ดอกบัวประมาณเท่ากงเกวียนแย้มบานอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่แม่น้ำตโปทา นี้ ไหลผ่านมาในระหว่างมหานรกสองขุม เพราะฉะนั้น แม่น้ำตโปทานี้จึง เดือดพล่านไหลไปอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลานะพูดจริง โมคคัลลานะ ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องรบ ณ พระนครราชคฤห์
[๒๙๗] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทำ สงคราม พ่ายแพ้พวกเจ้าลิจฉวี ต่อมาภายหลัง ท้าวเธอทรงระดมพลยกไปรบ พวกเจ้าลิจฉวีได้ชัยชนะ และตีกลองนันทิเภรีประกาศในสงครามว่า พระราชา ทรงชนะพวกเจ้าลิจฉวีแล้ว ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะพูดกะภิกษุทั้ง หลายว่า อาวุโสทั้งหลาย พระราชาทรงปราชัยพวกเจ้าลิจฉวีแล้ว แต่เขาตี กลองนันทิเภรี ประกาศในสงความว่า พระราชาทรงได้ชัยชนะพวกเจ้าลิจฉวี แล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 603
ภิกษุทั้งหลายพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระ มหาโมคคัลลานะจึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระราชาทรงปราชัยพวก ลิจฉวีแล้ว แต่เขาตีกลองนันทิเภรีประกาศในสงครามว่า พระราชาทรงได้ชัย ชนะพวกเจ้าลิจฉวีแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลลานะกล่าวอวดอุตริมนุสธรรรม แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งแรกพระราชาทรงปราชัยพวกเจ้าลิจฉวี ต่อมาภายหลังท้าวเธอทรงระดมพล ยกไปรบพวกเจ้าลิจฉวีได้ชัยชนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลานะพูดจริง โมคคัลลานะ ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องช้างลงน้ำ
[๒๙๘] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เรียกภิกษุทั้งหลายมา กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เราเข้าอาเนญชสมาธิใกล้ฝั่งแม่น้ำสัปปินิกา ณ ตำบลนี้ ได้ยินเสียงโขลงช้างลงน้ำ เวลาขึ้นจากน้ำ เปล่งเสียงดังดุจ นกกระเรียน.
ภิกษุทั้งหลายพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระ มหาโมคคัลลานะจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เราเข้าอาเนญชสมาธิ ใกล้ฝั่งแม่น้ำสัปปินิกา ณ ตำบลนี้ ได้ยินเสียงโขลงช้างลงน้ำ เวลาขึ้นจากน้ำ เปล่งเสียงดังดุจนกกระเรียน ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กล่าวอวดอุตริมนุสธรรม แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย สมาธินั้นมีอยู่ แต่ไม่บริสุทธิ์ โมคคัลลานะพูดจริง โมคคัลลานะ ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องพระโสภิตะอรหันต์
[๒๙๙] ครั้งนั้น ท่านพระโสภิตะเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ดู ก่อนอาวุโส ทั้งหลาย เราระลึกชาติได้ห้าร้อยกัลป์ ภิกษุทั้งหลายพากัน เพ่งโทษ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 604
ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนท่านพระโสภิตะ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ทั้งหลาย เราระลึกชาติได้ห้าร้อยกัลป์ ท่านพระโสภิตะกล่าวอวดอุตริมนุสธรรม แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย ชาตินี้ของโสภิตะมีอยู่ แต่มีชาติเดียวเท่านั้นแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โสภิตะพูดจริง โสภิตะไม่ต้องอาบัติ.
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ จบ
[๓๐๐] ท่านทั้งหลาย ธรรมคือปาราชิก ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้น แสดงแล้ว ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมไม่ได้สังวาสกับ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นปาราชิก ย่อมเป็นผู้หาสังวาสมิได้ในภายหลังเหมือน ในกาลก่อน ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในธรรม คือ ปาราชิก ๔ สิกขาบทนั้น ว่า ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์ในธรรม คือ ปาราชิก ๔ สิกขาบทนี้แล้วหรือ ข้าพเจ้า ขอถามแม้ครั้งที่สองว่า ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์ ในธรรม คือ ปาราชิก ๔ สิกขาบท นี้แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลาย บริสุทธิ์ในธรรม คือ ปาราชิก ๔ สิกขาบทนี้แล้วหรือ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์ในธรรม คือ ปาราชิก ๔ สิกขาบท แล้ว เพราะฉะนั้นจึงเป็นผู้นิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้แล.
ปาราชิกกัณฑ์ จบ
หัวข้อประจำเรื่อง ปาราชิก ๔ สิกขาบท คือ :-
เมถุนธรรม ๑ อทินนาทาน ๑ มนุสสวิคคหะ ๑ อุตริมนุสธรรม ๑ เป็นวัตถุแห่งมูลเฉท หาความสงสัยมิได้ ดังนี้แล