พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 มี.ค. 2565
หมายเลข  42745
อ่าน  559

[เล่มที่ 3] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓

พระวินัยปิฏก เล่ม ๑ ภาค ๓

มหาวิภังค์ ปฐมภาค

สมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย

มหาวิภังค์วรรณนา ภาค ๒

เตรสกัณฑวรรณนา

สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑

สุกกวิสัฏฐิสิกขาบทวรรณนา 96

แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระเสยยสกะ 96

แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องภิกษุหลายรูป 98

อธิบายสิกขาบทวิภังค์ว่าด้วยสัญเจตนิกาศัพท์ 99

อธิบายเหตุให้เกิดความฝัน ๔ อย่าง 102

อธิบายคําว่าสังฆาทิเสส 105

อธิบายบทภาชนีย์ว่าด้วยเหตุให้ปล่อยสุกกะ 106

อธิบายสุทธิกสังฆาทิเสส 109

อธิบายขัณฑจักรและพัทธจักรเป็นต้น 111

อธิบายราคะและประโยค ๑๑ อย่าง 114

วินีตวัตถุในสังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑ 120


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 3]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 96

สมันตปาสาทิกาแปล อรรถกถาพระวินัย

มหาวิภังควรรณนา

ภาค ๒

เตรสกัณฑวรรณนา

เตรสกะ (หมวด ๑๓) ท่านพระธรรมสังคหกาจารย์ ทั้งหลาย ได้ร้อยกรองไว้ในลำดังแห่งปาราชิกกัณฑ์ มีการพรรณนาบทที่ยังไม่มีในก่อน ดังต่อไปนี้

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑

สุกกวิสัฏฐิสิกขาบทวรรณนา

[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระเสยยสกะ]

บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคำว่า โดยสมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทันอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคฤหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ก็ในสมัยนั้นแล ท่านพระเสยยสกะไม่ยินดีประพฤติ พรหมจรรย์นี้ ดังต่อไปนี้.

คำว่า อายสฺมา เป็นคำไพเราะ.

บทว่า เสยฺยสโก เป็นชื่อ ของภิกษุรูปนั้น.

คำว่า อนภิรโต ความว่า เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน คือ ถูกความ เร่าร้อนเพราะกำหนัดในกามแผดเผาอยู่ แต่ไม่ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 97

ข้อว่า โส เตน กิโส โหติ ความว่า พระเสยยสกะนั้นย่อม เป็นผู้ผ่ายผอม เพราะความเป็นผู้ไม่ยินดีนั้น.

ในคำว่า อทฺทสา โข อายสฺมา อุทายี นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:-

บทว่า อุทายี เป็นชื่อของพระเถระนั้น. จริงอยู่ พระเถระ ชื่อโลลุทายีนี้ เป็นอุปัชฌาย์ ของพระเสยยสกะ เป็นผู้มีส่วนเปรียบด้วย เนื้อตื่น คือ เป็นภิกษุโลเลรูปใดรูปหนึ่งหนึ่ง บรรดาภิกษุผู้ตามประกอบ เหตุแห่งความเกียจคร้าน มีความเป็นผู้มีความหลับนอนเป็นที่มายินดี เป็นต้น.

บทว่า กจฺจิ โน ตฺวํ ไขความว่า กจฺจ นุ ตฺวํ แปลว่าท่าน ... ละหรือหนอ. พึงทราบวินิจฉัย ในคำมีอาทิว่า ยาวทตฺถํ ภุญฺช ดังต่อไปนี้ :- ความต้องการมีประมาณเพียงใด ชื่อว่า ยาวทัตถะ (เท่าที่ต้องการ). มีคำอธิบายว่า เธอมีความประสงค์ด้วยโภชนะประมาณ เท่าใด, คือ เธอต้องการประมาณเท่าใด, จงบริโภคประมาณเท่านั้น, หรือว่า เธอปรารถนาเพื่อจะหลับในเวลากลางคืน หรือกลางวัน สิ้นกาล ประมาณเท่าใด, จงหลับสิ้นกาลประมาณเท่านั้น เธอปรารถนาการ ชโลมกายด้วยดินเหนียวเป็นต้น ขัดสีด้วยแป้งเป็นต้น แล้วอาบน้ำ ประมาณเท่าใด, จงอาบน้ำประมาณเท่านั้น, ไม่มีประโยชน์ด้วยบาลี อรรถกถา ข้อวัตรปฏิบัติ หรือด้วยกรรมฐาน.

คำว่า ยทา เต อนภิรติ อุปฺปชฺชติ ความว่า ในกาลใด ความ กระสัน คือ ความเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งความกำหนัด ในกาม เกิดแก่เธอ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 98

คำว่า ราโค จิตฺตํ อนุทฺธํเสติ ความว่า กามราคะย่อมกำจัด ทำลาย คือ ซัดส่ายจิตไปมา และทำจิตให้เหี่ยวแห้ง.

ข้อว่า ตทา หตฺเถน อุปกฺกมิตฺวา อสุจิ โมเจหิ มีความว่า ในกาลนั้น เธอจงเอามือพยายามกระทำการไปล่อยอสุจิ, จริงอยู่ด้วยการ กระทำอย่างนี้ เอกัคคตาจิต จักมีแก่เธอ อุปัชฌาย์พร่ำสอนเธออย่างนี้ เช่นกับคนโง่สอนคนโง่ คนใบ้สอนคนใบ้ฉะนั้น.

(แก้อรรคปฐมบัญญัติเรื่องภิกษุหลายรูป)

คำว่า เตสํฯ เปฯ โอกฺกมฺตานํ มีความว่า เมื่อภิกษุเหล่านั้น ละสติสัมปชัญญะจำวัด. ในคำนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:- เมื่อภิกษุทั้งหลาย กำลังจำวัด ภวังควารที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่, สติสัมปชัญะวาระ จะคลาดไป แม้ก็จริง; ถึงกระนั้น ในการจำวัด ภิกษุควรทำมนสิการ. ภิกษุเมื่อจะจำวัดในกลางวัน พึงจำวัดพร้อมด้วยความอุตสาหะว่า เรา จักจำวัดชั่วเวลาที่ผมของภิกษุผู้สรงน้ำ ยังไม่แห้ง แล้วจักลุกขึ้น ดังนี้ จะจำวัดในเวลากลางคืน พึงเป็นผู้มีความอุตสาหะจำวัดว่า เราจักหลับ สิ้นส่วนแห่งราตรี ชื่อมีประมาณเท่านี้ แล้วลุกขึ้นในเวลาที่ดวงจันทร์ หรือดวงดาวโคจรมาถึงสถานที่ชื่อนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พึงกำหนดกรรมฐานอย่างหนึ่ง ในบรรดากรรมฐาน ทั้ง ๑๐ มีพุทธานุสติเป็นต้น หรือกรรมฐานที่ใจชอบอย่างอื่น แล้ว จึงจำวัด. ก็เมื่อภิกษุกระทำเช่นนั้น ท่านเรียกว่า มีสติสัมปชัญญะ คือ ไม่ละสติและสัมปชัญญะจำวัด, ก็ภิกษุเหล่านั้นเป็นคนโง่ โลเล มีส่วน เปรียบด้วยเนื้อตื่น ไม่ได้กระทำอย่างนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย จงกล่าวว่า เตสํฯ ปฯ โอกฺกมนฺตานํ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 99

ข้อว่า อตฺถิ เจตฺถ เจตนา อุปลพฺภติ มีความว่า ก็ความจงใจ ยินดีในความฝัน มีอยู่ คือหาได้อยู่.

ข้อว่า อตฺเถสา ภกฺขเว เจตนา สา จ โข อพฺโพหาริกา มีความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เจตนาเป็นเหตุยินดี นี้ มีอยู่ , แต่ เจตนานั้นแล ชื่อว่า เป็นอัพโพหาริก คือ ไม่เป็นองค์แห่งอาบัติ เพราะ บังเกิดในฐานอันไม่ใช่วิสัย.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่เจตนาในความฝันเป็น อัพโพหาริก ด้วยประการอย่างนี้แล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบทพร้อมทั้ง อนุบัญญัติว่า ภิกษุทั้งหลาย! ก็แล เธอทั้งหลาย พึงสวดสิกขาบทนี้ อย่างนี้ว่า การปล่อยสุกกะเป็นไปด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน เป็น สังฆาทิเสส ดังนี้.

[อธิบายสิกขาบทวิภังค์ ว่าด้วยสัญเจตนิกาศัพท์]

ในสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- เจตนาแห่งการปล่อย สุกกะนั้น มีอยู่; เหตุนั้น การไปล่อยสุกกะนั้น จึงชื่อว่า สัญเจตนา (มีเจตนา) , สัญเจตนานั่นแหละชื่อสัญเจตนิกา. อีกอย่างหนึ่ง ความจงใจ ของการไปล่อยสุกกะนั้น มีอยู่; เหตุนั้น การปล่อยสุกกะนั้น จึงชื่อว่า สัญเจตนิกา (มีความจงใจ). การไปล่อยสุกกะมีความจงใจ เป็นของ ภิกษุใด, ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ คิด รู้สึกตัว, และการไปล่อยสุกกะนั้น ของ ภิกษุนั้น เป็นการแกล้ง คือ ฝ่าฝืนล่วงละเมิด; เพราะเหตุนั้น เพื่อ แสดงแต่ใจความเท่านั้น ไม่ทำความเอื้อเฟื้อในพยัญชนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบทภาชนะแห่งบทว่า สญฺเจตนิกา นั้น อย่างนี้ว่า อาการ ที่รู้ คือ รู้สึก แกล้ง คือ ฝ่าผื่น ล่วงละเมิด (ชื่อว่ามีความจงใจ).

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 100

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชานนฺโต ได้แก่ รู้อยู่ว่า เรากำลัง พยายาม.

บทว่า สญฺชานนฺโต ได้แก่ รู้สึกตัวอยู่ว่า เรากำลังปล่อยสุกกะ อธิบายว่า รู้พร้อมกับอาการที่พยายามและความรู้นั้นนั่นเอง.

บทว่า เจจฺจ ได้แก่ แกล้ง คือ จงใจ ด้วยอำนาจเจตนา คือ ความยินดีในการปล่อย.

บทว่า อภิวิตริตฺวา ได้แก่ เมื่อฝ่าฝืนด้วยอำนาจความพยายาม ส่งจิตอันปราศจากความรังเกียจไป.

บทว่า วีติกฺกโม มีคำอธิบายว่า ความล่วงละเมิดใดของภิกษุ ผู้ประพฤติอย่างนั้น ความล่วงละเมิดนี้นั้น เป็นใจความสุดยอดแห่ง สัญเจตนิกาศัพท์.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า สุกฺกนฺติ ทส สุกฺกานิ เป็นต้น ก็เพื่อแสดงสุกกะและการปล่อย ในบทว่า สุกฺกวิสฏิ นี้ โดยจำนวน และโดยความต่างแห่งสีก่อน. ในจำนวนและความต่างแห่งสีนั้น พึง ทราบความต่างแห่งสีมีสีเขียวเป็นต้น โดยความต่างแห่งที่อาศัยของสุกกะ ทั้งหลาย และโดยความเป็นต่างๆ แห่งธาตุ. การสละชื่อว่า การปล่อย ก็คำว่า ปล่อยนี้ โดยใจความ เป็นการทำให้เคลื่อนจากฐาน. ด้วย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กิริยาที่ทำให้เคลื่อนจากฐาน เรียกว่าปล่อย. ในคำนั้น พระอาจารย์ทั้งหลายกำหนดฐานแห่งสุกกะ ไว้ ๓ ส่วน คือ กระเพาะเบา ๑ สะเอว ๑ กาย ๑. ได้ยินว่า พระอาจารย์ รูปหนึ่งกล่าวว่า กระเพาะเบาเป็นฐานของสุกกะ. รูปหนึ่งกล่าวว่า สะเอวเป็นฐานของสุกกะ. รูปหนึ่งกล่าวว่า กายทั้งสิ้น.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 101

ใน ๓ อาจารย์นั้น ภาษิตของรูปที่ ๓ กล่าวชอบ. เพราะว่าเว้น ที่ซึ่ง ผม ขน เล็บ และฟัน พ้น จากเนื้อ และอุจจาระปัสสาวะ น้ำลายน้ำมูก และหนังที่แห้งเสียแล้ว กายแม้ทั้งหมดที่เหลือซึ่งมีหนัง และเนื้ออันโลหิตเดินได้ตลอด เป็นฐานของกายประสาท ภาวะชีวิตินทรีย์และดีไม่เป็นฝัก และเป็นฐานของน้ำสมภพเหมือนกัน. จริงอย่างนั้น น้ำสมภพ ย่อมไหลออกทางหมวกหูทั้งสองของช้างทั้งหลาย ที่ถูกความ กลัดกลุ้มด้วยราคะครอบงำแล้ว. และพระเจ้ามหาเสนะผู้ทรงกลัดกลุ้มด้วย ราคะ ไม่ทรงสามารถจะอดทนกำลังน้ำสมภพได้ จึงรับสั่งให้ผ่าต้นพระพาหุด้วยมีด ทรงแสดงน้ำสมภพ ซึ่งไหลออกทางปากแผล ฉะนั้นแล. ก็บรรดาวาทะเหล่านั้น ในวาทะของอาจารย์ที่หนึ่ง เมื่อภิกษุ พยายามที่นิมิตด้วยความยินดีจะให้เคลื่อน แมลงวันน้อยๆ ตัวหนึ่งพึง ดื่มน้ำอสุจิมีประมาณเท่าใดได้ เมื่ออสุจิมีประมาณเท่านั้นมาตรว่าเคลื่อน จากกระเพาะเบา ไหลลงสู่คลองปัสสาวะ จะออกข้างนอกก็ตาม ไม่ออก ก็ตาม เป็นสังฆาทิเสส. ในวาทะของอาจารย์ที่สองก็เหมือนกัน เมื่อ อสุจิมาตรว่าเคลื่อนจากสะเอวไหลสู่คลองปัสสาวะเป็นสังฆาทิเสส. ใน วาทะของอาจารย์ที่สาม ก็เหมือนกัน เพราะยังกายทั้งสิ้นให้หวั่นไหว เมื่ออสุจิมาตรว่าเคลื่อนออกจากกายนั้นไหลลงสู่คลองปัสสาวะ จะออก ข้างนอกก็ตาม ไม่ออกก็ตาม เป็นสังฆาทิเสส. ก็แลความไหลลงสู่คลอง ปัสสาวะ. ท่านกล่าวไว้ในการไปล่อยสุกกะนี้ ก็เพราะ เป็นของที่ใครๆ ไม่พึงอาจจะกลั้นห้ามเสียในระหว่างได้.

จริงอยู่ อสุจิะเคลื่อนจากฐานแล้ว ย่อมลงสู่คลองปัสสาวะเป็นแน่; เพราะฉะนั้น ในการปล่อยสุกกะนี้ พึงทราบอาบัติ ด้วยเหตุเพียงให้

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 102

เคลื่อนจากฐานเท่านั้น. และอาบัตินั้นแล ย่อมมีแก่ภิกษุผู้พยายามที่นิมิต เท่านั้น. ส่วนในการทำหัตถบริกรรม ปาทบริกรรม และคัตตบริกรรม ถ้าแม้นอสุจิเคลื่อนก็ไม่เป็นอาบัติ. นี้เป็นวินิจฉัยทั่วไปแห่งอาจารย์ทั้งปวง.

[อธิบายเหตุให้เกิดความฝัน ๔ อย่าง]

ในคำว่า อญฺตรฺ สุปินนฺตา นี้มีวินิจฉัยดังนี้:-

สุปินะนั่นแหละ ชื่อสุปินันตะ มีคำอธิบายว่า ยกเว้น คือ นำความฝันนั้นออกไปเสีย. ก็แล บุคคลเมื่อจะฝันนั้น ย่อมฝันเพราะเหตุ ๔ ประการคือ เพราะธาตุกำเริบ ๑ เพราะเคยทราบมาก่อน ๑ เพราะ เทวดาสังหรณ์ ๑ เพราะบุพนิมิต ๑.

บรรดาเหตุ ๔ อย่างนั้น คนผู้มีธาตุกำเริบ เพราะประกอบด้วย ปัจจัยอันทำให้ดีเป็นต้นกำเริบ ชื่อว่า ย่อมฝัน เพราะธาตุกำเริบ. และ เมื่อฝัน ย่อมฝันต่างๆ เช่นเป็นเหมือนตกจากภูเขา เหมือนเหาะไป ทางอากาศ และเหมือนถูกเนื้อร้าย ช้างร้าย และโจรเป็นต้น ไล่ติดตาม. เมื่อฝันเพราะเคยทราบมาก่อน ชื่อว่า ย่อมฝันถึงอารมณ์ที่ตนเคยเสวยมา แล้วในกาลก่อน. พวกเทวดาย่อมนำอารมณ์มีอย่างต่างๆ เข้าไป เพื่อ ความเจริญบ้าง เพื่อความเสื่อมบ้าง เพราะเป็นผู้มุ่งความเจริญบ้าง เพราะเป็นผู้มุ่งความเสื่อมบ้าง แก่บุคคลผู้ฝัน เพราะเทวดาสังหรณ์ ผู้นั้น ย่อมฝันเห็นอารมณ์เหล่านั้นด้วยอนุภาพของพวกเทวดานั้น. เมื่อบุคคล ฝันเพราะบุพนิมิต ชื่อว่า ย่อมฝันที่เป็นบุพนิมิตแห่งความเจริญบ้าง แห่ง ความเสื่อมบ้าง ซึ่งต้องการจะเกิดขึ้น ด้วยอำนาจแห่งบุญและบาป เหมือนพระมารดาของพระโพธิสัตว์ ทรงพระสุบินนิมิตในการที่จะได้

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 103

พระโอรสฉะนั้น, เหมือนพระโพธิสัตว์ทรงมหาสุบิน ๕ และเหมือน พระเจ้าโกศลทรงพระสุบิน ๑๖ ประการฉะนั้นแล.

บรรดาความฝัน ๔ อย่างนั้น ความฝันที่คนฝัน เพราะธาตุกำเริบ และเพราะเคยทราบมาก่อนไม่เป็นจริง. ความฝันที่ฝันเพราะเทวดา สังหรณ์ จริงก็มี เหลวไหลก็มี, เพราะว่าพวกเทวดาโกรธแล้ว ประสงค์ จะให้พินาศโดยอุบาย จึงแสดงให้เห็นวิปริตไปบ้าง. ส่วนความฝันที่คนฝัน เพราะบุพนิมิต เป็นความจริงโดยส่วนเดียวแล. ความแตกต่างแห่ง ความฝัน แม้เพราะความแตกต่างแห่งมูลเหตุทั้ง ๔ อย่างนี้คละกันก็มี ได้เหมือนกัน. ก็แลความฝันทั้ง ๔ อย่างนี้นั้น พระเสขะและปุถุชน เท่านั้น ย่อมฝันเพราะยังละวิปลาสไม่ได้. พระอเสขะทั้งหลาย ย่อมไม่ฝัน เพราะท่านละวิปลาสได้แล้ว.

ถามว่า ก็บุคคลเมื่อฝันนั้น หลับ ฝัน หรือตื่นฝัน หรือว่าไม่หลับ ไม่ตื่นฝัน.

แก้ว่า ในเรื่องความฝันนี้ ท่านควรกล่าวเพิ่มอีกสักเล็กน้อย. ชั้นแรก ถ้าคนหลับฝันก็จะต้องขัดแย้งกับพระอภิธรรม. เพราะว่า คน หลับด้วยภวังคจิต. ภวังคจิตนั้น หามีรูปนิมิตเป็นต้นเป็นอารมณ์หรือ สัมปยุตด้วยราคะเป็นต้นไม่. ก็เมื่อบุคคลฝัน จิตทั้งหลายเช่นนี้ ย่อม เกิดขึ้นได้. ถ้าบุคคล ตื่นฝัน ก็จะต้องขัดแย้งกับพระวินัย. เพราะว่า คนตื่นฝันเห็นสิ่งใด, เขาเห็นสิ่งนั้น ด้วยสัพโพหาริกจิต (๑) (ด้วยจิตตามปกติ). ก็ชื่อว่า อนาบัติ ย่อมไม่มีในเพราะความล่วงละเมิด-ที่ภิกษุทำด้วยสัพโพ-


(๑) วิมติวโนทนีฏีกา, สพฺโพหาริกจิตฺเตนาติ ปฏิพุทฺธสฺส ปกติวีถิจิตฺเตน แปลว่า บทว่า ด้วยสัพโพหาริกจิต นั้น คือ ด้วยวิถีจิตตามปกติของคนผู้ตื่นอยู่.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 104

หาริกจิต แต่เมื่อผู้กำลังฝันทำการล่วงละเมิด เป็นอนาบัติโดยส่วนเดียว แท้. ถ้าบุคคลไม่หลับไม่ตื่นฝัน ชื่อว่าใครๆ จะฝันไม่ได้ และเมื่อ เป็นอย่างนั้น ความฝันก็จะต้องไม่มีแน่. จะไม่มีได้. เพราะเหตุไร? เพราะคนผู้ถูกความหลับดุจลิงครอบงำ จึงฝัน. สมจริงดังคำที่พระนาคเสนเถระกล่าวไว้ว่า มหาบพิตร! คนถูกความหลับดุจลิงหลับครอบงำ จึงฝันแล.

บทว่า กปิมิทฺธปเรโต แปลว่า ประกอบด้วยความหลับดุจลิง หลับ. เหมือนอย่างว่า ความหลับของลิงเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ฉันใด, ความหลับใดเปลี่ยนแปลงเร็ว เพราะเกลื่อนกล่นด้วยจิตเป็นกุศลเป็นต้น บ่อยๆ ก็ฉันนั้น คือ มีการตื่นขึ้นจากภวังค์บ่อยๆ ในเวลาความ หลับใดเป็นไป บุคคลผู้นั้นประกอบด้วยความหลับนั้น ย่อมฝันได้ เพราะเหตุนั้น ความฝันนี้ จึงเป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง เป็น อัพยากฤตบ้าง. บรรดาความฝัน ๓ อย่างนั้น ความฝันของผู้ที่ฝันว่า กำลังทำการไหว้พระเจดีย์ ฟังธรรมและแสดงธรรมเป็นต้น พึงทราบ ว่าเป็นกุศล, ของผู้ที่ฝันว่า กำลังทำบาป มีการฆ่าสัตว์เป็นต้น พึงทราบว่า เป็นอกุศล, ความฝันที่พ้นไปจากองค์สอง พึงทราบว่า เป็นอัพยากฤต ในขณะแห่งอาวัชชนจิตและตทารัมมณจิต. ความฝันนี้ นั้นไม่สามารถเพื่อจะชักปฏิสนธิมาได้ เพราะเจตนามีวัตถุอ่อนกำลัง แต่ ในปวัตติกาล อันกุศลและอกุศลเหล่าอื่นสนับสนุนแล้ว ย่อมให้วิบากได้ จะให้วิบากได้แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เจตนาในความฝัน ก็จัดเป็น อัพโพหาริกทีเดียว เพราะบังเกิดในฐานะอันมิใช่วิสัย. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีจึงกล่าวว่า เว้นไว้แต่ฝัน.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 105

[อธิบายคำว่าสังฆาทิเสส]

คำว่า สังฆาทิเสส เป็นชื่อของกองอาบัตินี้. เพราะเหตุนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบสัมพันธ์ในสิกขาบทนี้อย่างนี้ว่า การปล่อยสุกกะมีความ จงใจเว้นความฝันอันใด, อันนี้เป็นกองแห่งอาบัติชื่อสังฆาทิเสส. ก็แล เนื้อความเฉพาะคำในบทว่า สังฆาทิเสส นี้ ว่า สงฆ์อันภิกษุ พึงปรารถนาในกรรมเบื้องต้น และในกรรมที่เหลือแห่งกองอาบัตินั้น; เพราะฉะนั้น กองอาบัตินั้น จึงชื่อสังฆาทิเสส. มีคำอธิบายอย่างไร? มีคำอธิบายว่า ภิกษุต้องอาบัตินี้แล้วพึงปรารถนาสงฆ์ เพื่อประโยชน์ แก่ปริวาสในกรรมเบื้องต้นแห่งการออกจากอาบัติ ของผู้ใคร่จะออก และ เพื่อประโยชน์แก่การให้มานัต หรือเพื่อประโยชน์แก่การให้มานัตรวม กับมูลายปฏิกัสสนา ในกรรมอันเป็นท่ามกลาง เพื่อประโยชน์แก่อัพภาน ในกรรมที่สุด ซึ่งเหลือจากกรรมเป็นเบื้องต้น เพราะว่า บรรดากรรม เหล่านี้ กรรมแม้อันหนึ่ง เว้นสงฆ์เสียแล้ว ใครๆ ไม่สามารถจะทำได้. สงฆ์อันภิกษุพึงปรารถนาในกรรมเบื้องต้น และกรรมที่เหลือแห่งกอง อาบัตินั้น. เพราะฉะนั้น กองอาบัตินั้น จึงชื่อว่าสังฆาทิเสส.

ก็แล เพื่อไม่เอื้อเฟื้อพยัญชนะ แสดงแต่ใจความเท่านั้น พระมีพระภาคเจ้าจึงตรัสบทภาชนะแห่งบทว่า สังฆาทิเสส นั้น ดังนี้ว่า สงฆ์แล ย่อมให้ปริวาส เพื่ออาบัตินั้น ย่อมชักเข้าหาอาบัติเดิม ย่อมให้ มานัต ย่อมอัพภาน, ไม่ใช่ภิกษุมากรูป ไม่ใช่บุคคลผู้เดียว; เพราะเหตุ นั้น อาบัตินั้น ท่านจึงเรียกว่า สังฆาทิเสส. และตรัสเหตุแห่งคำไว้ใน คัมภีร์ปริวารว่า

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 106

อาบัติที่เรากล่าวว่า สังฆาทิเสส, ท่านจงฟังอาบัตินั้น ตามที่ได้กล่าวแล้ว, สงฆ์เท่านั้น ย่อมให้ปริวาส ย่อมชักเข้า หาอาบัติเดิม ย่อมให้มานัต ย่อมอัพภาน; เพราะเหตุนั้น อาบัตินั้น บัณฑิตเรียกว่า สังฆาทิเสส.

สองบทว่า ตสฺเสว วา อาปตฺตินิกายสฺส มีความว่า (อีกอย่างหนึ่ง กรรมเป็นชื่อสำหรับเรียก) ประชุมแห่งอาบัตินั้นนั่นเอง. ในพระบาลีนั้น อาบัตินี้ มีเพียงตัวเดียว แม้ก็จริง, ถึงอย่างนั้นนิกายศัพท์ท่านกล่าวด้วย รุฬหิศัพท์ หรือด้วยโวหารที่เรียกส่วนทั้งหลายรวมกัน อย่างขันธศัพท์ ในคำว่าว่า เวทนาขันธ์หนึ่ง วิญญาณขันธ์หนึ่ง ดังนี้เป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกสิกขาบทที่พระองค์ทรงอุเทศ ไว้ตามลำดับอย่างนั้นแล้ว บัดนี้ จึงตรัสคำว่า อชฺฌตฺตรูเป โมเจติ เป็น อาทิ เพื่อแสดงอุบาย กาล ความประสงค์และวัตถุแห่งความประสงค์ของ ภิกษุผู้ถึงการปล่อยสุกกะนี้

[อธิบายบทภาชนีย์ว่าด้วยเหตุให้ปล่อยสุกกะ]

จริงอยู่ ในส่วนทั้ง ๔ มีอุบายเป็นต้นนี้ อุบายทรงแสดงแล้ว ด้วย ๔ บท มีอัชฌัตตรูปเป็นต้น เพราะว่า ภิกษุพึงปล่อยในรูปภายใน บ้าง ในรูปภายนอกบ้าง ในรูปทั้งสองบ้าง พึงแอ่นเอวในอากาศปล่อย บ้าง. อุบายอื่นนอกจากนี้ ย่อมไม่มี. ในอุบายนั้น ภิกษุพยายามปล่อย ในรูปก็ดี พยายามปล่อยด้วยรูปก็ดี พึงทราบว่า "ปล่อยในรูปทั้งนั้น" เพราะว่าเมื่อมีรูป เธอจึงปล่อยได้, ไม่ได้รูป ปล่อยไม่ได้ ฉะนี้แล.

ส่วนกาลทรงแสดงด้วย ๕ บท มีราคะอุปถัมภ์เป็นต้น. จริงอยู่

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 107

เมื่อความที่องคชาตใด เป็นของควรแก่การงาน มีอยู่ ภิกษุจึงปล่อยได้, องคชาตนั้นย่อมเป็นของควรแก่การงาน ในกาลที่ราคะอุปถัมภ์เป็นต้น (ในเวลามีความกำหนัดหนุนเป็นต้น) กาลอื่นนอกจากนี้ ย่อมไม่มี เพราะว่า เว้นจากกาลที่ราคะอุปถัมภ์เป็นต้นนั้นเสียแล้ว กาลต่างชนิด มีเวลาเช้าเป็นต้นจะเป็นที่กำหนดในการให้เคลื่อนหาได้ไม่. ความประสงค์ ทรงแสดงด้วย ๑๐ บท มีบทว่า อโรคฺยตฺถาย เป็นต้น. จริงอยู่ ภิกษุ ย่อมให้เคลื่อนตามชนิดแห่งความประสงค์เห็นปานนี้. หาใช่โดยประการ อย่างอื่นไม่, ส่วนวัตถุแห่งความประสงค์ที่ ๙ ทรงแสดงด้วย ๑๐ บท มีนีลบทเป็นต้น. จริงอยู่ ภิกษุเมื่อจะทดลอง ย่อมทดลองด้วยอำนาจ แห่งสีเขียวเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง สีอื่นพ้นจากสีเหล่านั้นไปย่อมไม่มี ฉะนั้นแล.

ต่อนี้ไป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า อชฺฌตฺตรูเปติ อชฺฌตฺตอุปาทินฺนรูเป เป็นต้น เพื่อประกาศบททั้งหลายมีอัชฌัตตรูปบทเป็นต้น เหล่านี้นั่นแล. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌตฺตอุปาทินฺนรูเป คือ ในรูปต่างชนิด มีมือเป็นต้นของตน.

บทว่า พหิทฺธอุปาทินเน คือ ในรูปเช่นนั้นเหมือนกันของคนอื่น.

บทว่า อนุปาทินฺเน คือ ในรูปต่างชนิด มีช่องลูกดาลประตู เป็นต้น.

บทว่า ตทุภเย คือ ในรูปทั้งของตนและของคนอื่น. การให้ สุกกะเคลื่อนนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจความพยายามในรูป ทั้งสอง. การให้สุกกะเคลื่อน ย่อมมีได้ แม้ในความพยายามรวมกัน โดยรูปของตน และโดยอนุปาทินนรูป.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 108

สองบทว่า อากาเส วายมนฺตสฺส ความว่า ไม่พยายามโดยรูป อะไรๆ เลย ส่ายองคชาตโดยประโยค คือ การแอ่นเอวในอากาศ อย่างเดียว.

บทว่า ราคูปตฺถมฺเภ ความว่า ในเวลาองคชาตเกิดความกำหนัด เพราะราคะมีกำลัง หรือเพราะความกำหนัด มีอธิบายว่า เมื่อองคชาต เกิดความแข็งตัวขึ้นแล้ว.

สองบทว่า กมฺมนิยํ โหติ ความว่า องคชาตเป็นอวัยวะควรแก่ การงานในอันให้เคลื่อน คือ เหมาะแก่การพยายามในอัชฌัตตรูปเป็นต้น.

บทว่า อุจฺจาลิงฺคปาณกทฏฺฐุปตฺถมฺเภ ความว่า เมื่อองคชาต ถูกหนุนให้เกิดความกำหนัดเพราะบุ้งขนกัด. ที่ชื่อว่าบุ้งขน เป็นสัตว์ เล็กๆ มีขน, องคชาตอันขนของสัตว์เล็กๆ เหล่านั้นถูกต้อง ก็รู้สึกคัน แล้วแข็งตัว (?) ในบาลีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "เพราะถูก บุ้งกัด" (ก็) เพราะขนเหล่านั้น ย่อมสำเร็จเหมือนกัดองคชาต. แต่ โดยใจความ มีอธิบายว่า เพราะถูกขนของบุ้งขนแทงเอา.

คำว่า อโรโค ภวิสฺสามิ ความว่า เราให้สุกกะเคลื่อนแล้วจักเป็น ผู้หายโรค.

คำว่า สุขเวทนํ อุปฺปาเทสฺสามิ ความว่า สุขเวทนาอันใดย่อมมี เพราะการให้เคลื่อน คือ เพราะเกิดการปล่อย และเพราะสุกกะเคลื่อน แล้วเป็นปัจจัย, เราจักยังสุขเวทนานั้น ให้เกิดขึ้น.

คำว่า เภสชฺชํ ภิสฺสติ ความว่า สุกกะที่เราให้เคลื่อนแล้วนี้ จัก เป็นยาบางชนิดทีเดียว.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 109

คำว่า ทานํ ทสฺสามิ ความว่า เราทำให้เคลื่อนแล้ว จักให้ทาน แก่สัตว์เล็กๆ มีแมลงและมดเป็นต้น.

คำว่า ปุญฺํ ภวิสฺสติ ความว่า เมื่อเราปล่อยให้เป็นทานแก่แมลง เป็นต้น จักเป็นบุญ.

คำว่า ยญฺํ ยชิสฺสามิ ความว่า เราทำให้เคลื่อนแล้ว จักบูชา ยัญแก่พวกแมลงเป็นต้น, มีอธิบายว่า เราจักกล่าวบทมนต์อะไรบางอย่าง แล้วให้.

คำว่า สคฺคํ คมิสฺสามิ ความว่า เราจักไปสวรรค์ด้วยการที่ปล่อย ให้ทานแก่พวกแมลงเป็นต้น ด้วยบุญ หรือด้วยยัญวิธี.

คำว่า วีชํ ภวิสฺสติ ความว่า จักเป็นพืชเพื่อทารกผู้เป็นหน่อแห่ง วงศ์สกุล. อธิบายว่า ย่อมปล่อยโดยประสงค์นี้ว่า บุตรจักเกิดด้วยพืช ของเรานี้.

บทว่า วีมํสตฺถาย คือ เพื่อต้องการรู้.

ในคำว่า นีลํ ภวิสฺสติ เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบใจความอย่างนี้ว่า เราจักรู้ก่อนว่า สุกกะที่ปล่อยแล้ว จักเป็นสีเขียว หรือสีอย่างใด อย่างหนึ่ง มีสีเหลืองเป็นต้น.

บทว่า ขิฑฺฑาธิปฺปาโย คือ ขวนขวายในการเล่น. มีคำอธิบายว่า ภิกษุย่อมปล่อยเล่นโดยความประสงค์นั้นๆ.

[อธิบายสุทธิกสังฆาทิเสส]

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงอาการที่ภิกษุให้สุกกะ เคลื่อนต้องอาบัติและจำนวนชนิดอาบัติ ด้วยอำนาจแห่งบทเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 110

ทั้งหมด ในพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า อชฺฌตฺตรูเป โมเจติ เป็นต้น จึง ตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ภิกษุจงใจ คือ พยายามในรูปภายใน, สุกกะ เคลื่อน ต้องสังฆาทิเสส ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เจเตติ ความว่า ย่อมจงใจว่า สุกกะ จงเคลื่อน ด้วยเจตนาที่ถึงความยินดีในการให้เคลื่อน.

บทว่า อุปกฺกมติ ความว่า ย่อมกระทำความพยายามอันสมควร แก่ความจงใจนั้น.

บทว่า มุจฺจติ ความว่า เมื่อภิกษุจงใจอยู่อย่างนั้น พยายามด้วย ความพยายามอันสมควรแก่ความจงใจนั้น สุกกะย่อมเคลื่อนจากฐาน.

คำว่า อาปตฺติ สงฺฆาทิเสสสฺส ความว่า ย่อมเป็นอาบัติชื่อสังฆาทิเสส แก่ภิกษุนั้น ด้วยองค์ ๓ เหล่านี้. แม้ใน ๒๘ บทที่เหลือมีบทว่า พหิทฺพารูเป เป็นต้น ก็นัยนี้.

ก็ในปัญจกะทั้ง ๔ นี้ บัณฑิตพึงนำอาบัติสองพันตัวออกแสดง. แสดงอย่างไร? คือ เมื่อภิกษุปล่อยสุกกะสีเขียวเพื่อประสงค์ความไม่มีโรค ในเวลาเกิดความกำหนัดในรูปภายในก่อน ย่อมเป็นอาบัติตัวเดียว, เป็น อาบัติ อีก ๙ ตัว ด้วยอำนาจปล่อยสุกกะสีเหลืองเป็นต้นในรูปภายในนั่นแล เพื่อประสงค์ความไม่มีโรค ในเวลามีความกำหนัด; ฉะนั้น จึงรวมเป็น อาบัติ ๑๐ ตัว. เหมือนอย่างว่า เพื่อประสงค์ความไม่มีโรค มีอาบัติ ๑๐ ตัว ฉันใด, เพื่อประสงค์ ๙ บท มีสุขบทเป็นต้น ก็มีอาบัติ ๑๐ ตัว เพราะแบ่งออกไปแต่ละบทเป็นบทละ ๑๐ ตัวๆ ฉันนั้น. อาบัติ ๙๐ ตัว เหล่านี้ และอาบัติ ๑๐ ตัวก่อน ด้วยประการอย่างนี้; ฉะนั้น จึงเป็น อาบัติ ๑๐๐ ตัว ในเวลาเกิดความกำหนัดก่อน. เหมือนอย่างว่า ในเวลา

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 111

เกิดความกำหนัด มีอาบัติ ๑๐๐ ตัว ฉันใด, แม้ในเหตุหนุน ๔ อย่าง มีปวดอุจจาระเป็นต้น ก็มีอาบัติ ๔๐๐ ตัว เพราะแบ่งเหตุหนุนแต่ละอย่าง ออกไปเป็นอย่างละ ๑๐๐ ตัวๆ ฉันนั้น. อาบัติ ๔๐๐ ตัวเหล่านี้ และ อาบัติ ๑๐๐ ตัวก่อนดังกล่าวมานี้ จึงเป็นอาบัติ ๕๐๐ ตัว ด้วยอำนาจ แห่งเหตุหนุน ๕ อย่าง ในรูปภายในก่อน. เหมือนอย่างว่าในรูปภายใน มีอาบัติ ๕๐๐ ตัว ฉันใด, ในรูปภายนอกมีอาบัติ ๕๐๐ ตัว ในรูปทั้งที่ เป็นภายในทั้งที่เป็นภายนอก มีอาบัติ ๕๐๐ ตัว, เมื่อภิกษุแอ่นสะเอวใน อากาศ มีอาบัติ ๕๐๐ ตัว ฉันนั้น, บัณฑิตพึงทราบ อาบัติทั้งหมด ๒,๐๐๐ ตัว ด้วยอำนาจปัญจกะทั้ง ๔ ด้วยประการฉะนี้.

[อธิบายขัณฑจักรและพัทธจักรเป็นต้น]

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระบาลีมีความวิจิตรไปด้วยชนิด แห่งขัณฑจักรและพัทธจักรเป็นต้นว่า เพื่อความหายโรคและเพื่อความ สุข ดังนี้ ก็เพื่อแสดงว่า เมื่อมีการปล่อยสุกกะให้เคลื่อนด้วยความ พยายามโดยความจงใจ ของภิกษุผู้จับ (องคชาต) ตามลำดับ หรือผิด ลำดับ หรือเบื้องต่ำใน ๑๐ บท มีบทว่า อาโรคฺยตฺถาย เป็นต้นก่อน แล้วจับเบื้องบนก็ดี จับเบื้องบนแล้วจับเบื้องต่ำก็ดี จับทั้งสองข้างแล้ว หยุดอยู่ที่ตรงกลางก็ดี จับที่ตรงกลางแล้วขยับไปทั้งสองข้างก็ดี จับให้มี มูลรวมกันทั้งหมดก็ดี ชื่อว่าความผิดที่หมาย ย่อมไม่มี.

ในพระบาลีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสขัณฑจักรอันหนึ่ง ประกอบ อาโรคยบท ด้วยทุกๆ บท อย่างนี้ว่า เพื่อความหายโรคและเพื่อ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 112

ความสุข เพื่อความหายโรคและเพื่อเภสัช ดังนี้ เป็นต้น ทรงประกอบ สุขบทเป็นต้นด้วยทุกๆ บท นำมาจนถึงบทเป็นลำดับที่ล่วงไปแห่งตนๆ แล้วตรัส ๙ พัทธจักร, ด้วยประการดังกล่าวมานี้ จึงเป็นจักรมีมูลเดียว กัน ๑๐ จักร. จักรเหล่านั้นกับด้วยจักรมีมูลสองเป็นต้น อันผู้ศึกษาพึง ทราบให้พิสดาร โดยความไม่งมงาย. ส่วนใจความในเอกมูลกจักรแม้นี้ ปรากฏชัดแล้วแล. และตรัสจักรทั้งหลาย แม้ในสุกกะสีเขียวเป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุจงใจ พยายามปล่อยสุกกะสีเขียวและสีเหลือง ดังนี้ เหมือนใน ๑๐ บท มีบทว่า เพื่อความหายโรค เป็นต้น ฉะนั้น. แม้จักรเหล่านั้น ก็ควรทราบให้พิสดารโดยความไม่งมงาย. ส่วน ใจความแม้ในจักรทั้งหลายเหล่านั้น ก็ปรากฏชัดแล้วเหมือนกัน. ตรัส มิสสกจักรอันหนึ่งอีกประกอบบทหลังกับบทหน้าอย่างนี้ คือ บทหนึ่งกับ บทหนึ่ง สองบทกับสองบท ฯลฯ สิบบทกับสิบบทว่า อาโรคฺยตฺถญฺจ นีลญฺจ อาโรคฺยตฺถญฺจ สุขตฺถญฺจ นีลญฺจ ปีตกญฺจ ดังนี้ เป็นต้น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสจักรโดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุจงใจ พยายามว่า "เราจักปล่อยสุกกะสีเขียว" แต่สุกกะสีเหลืองเคลื่อน ดังนี้ เพื่อแสดงนัยแม้น เพราะเมื่อภิกษุจงใจพยายามว่า "จักปล่อยสุกกะสีเขียว" ครั้นสุกกะสีเขียวเป็นต้นเคลื่อนก็ดี จงใจพยายามด้วยอำนาจแห่งสุกกะสีเหลืองเป็นต้น ครั้นสุกกะสีเหลืองเป็นต้นนอกนี้ เคลื่อนก็ดี ไม่มีความ ผิดสังเกตเลย. ต่อจากนั้น ทรงประกกอบบทหลังทั้งหมดด้วย ๙ บท มี นีลบทเป็นต้น แล้วตรัสให้ชื่อว่า กุจฉิจักร. ต่อจากนั้น ทรงประกอบ ๙ บท มีปีตกบทเป็นต้น เข้าด้วยนีลบทเพียงบทเดียว แล้วตรัสให้ชื่อว่า ปิฏฐิจีกร. ต่อจากนั้น ทรงประกอบ ๙ บทมีโลหิตกะเป็นต้น เข้าด้วย

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 113

ปีตกบทเดียวเท่านั้น แล้วตรัสทุติยปิฏฐิจักร. ทรงประกอบ ๙ บทๆ นอกนี้ แม้กับด้วยโลหิตกบทเป็นต้นอย่างนั้น แล้วตรัส ๘ จักรแม้เหล่า อื่น; เพราะฉะนั้น พึงทราบปิฏฐิจักรมีคติ ๑๐ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงครุกาบัติอย่างเดียว โดยพิสดารค้วย อำนาจแห่งจักรมิใช่น้อยมีขัณฑจักรเป็นต้นอย่างนี้แล้ว เพื่อจะทรงแสดง ครุกาบัติ ลหุกาบัติ และอนาบัติ ด้วยอำนาจแห่งองค์เท่านั้น จึงตรัส คำเป็นต้นว่า ย่อมจงใจ ย่อมพยายาม, สุกกะเคลื่อน ดังนี้.

บรรดานัยเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสครุกาบัติถึงพร้อม ด้วยองค์ ๓ ในเพราะพยายามปล่อยอสุจิแห่งภิกษุผู้จงใจ เพื่อต้องการ ความหายโรคเป็นต้น ในเวลาเกิดมีความกำหนัดเป็นต้น ในอัชฌัตตรูป เป็นต้น แม้โดยนัยก่อนนั่นแล. ตรัสลหุกาบัติ คือ อาบัติถุลลัจจัย สำเร็จ ด้วยองก์ ๒ ในเมื่อไม่มีการปล่อยแห่งภิกษุผู้จงใจและพยายามโดยนัยที่ สอง. ตรัสอนาบัติโดย ๖ นัย มีนัยว่า จงใจไม่พยายาม อสุจิเคลื่อน ดังนี้เป็นต้น. ก็ความต่างแห่งอาบัติและอนาบัตินี้ ละเอียด สุขุม เพราะฉะนั้น พระวินัยธรควรกำหนดหมายให้ดี ครั้นกำหนดให้ดีแล้ว ถูก ซักถามถึงความรังเกียจ พึงบอกอาบัติ หรืออนาบัติ หรือพึงกระทำ วินัยกรรม. จริงอยู่ พระวินัยธรเมื่อกำหนดไม่ได้ ทำลงไป ย่อมถึง ความลำบาก และไม่สามารถจะแก้ไขซึ่งบุคค เช่นนั้นได้ ดุจหมดผู้ไม่รู้ ต้นเหตุแห่งโรคแล้วปรุงยาฉะนั้น.

วิธีกำหนดในอธิการว่าด้วยความต่างแห่งอาบัติ และอนาบัตินั้น ดังต่อไปนี้:- ภิกษุผู้มาเพราะความรังเกียจ อันพระวินัยธรพึงถามจน ถึง ๓ ครั้งว่า ท่านต้องด้วยประโยคไหน ด้วยความกำหนัดไหน. ถ้า

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 114

ครั้งแรกเธอกล่าวอย่างหนึ่ง แล้วภายหลังกล่าวอีกอย่างหนึ่ง ไม่กล่าวโดย ทางเดียว, พึงกล่าวเตือนเธอว่า ท่านไม่พูดทางเดียวพูดเลี่ยงไป, เรา ไม่อาจเพื่อจะทำวินัยกรรมแก่ท่านได้, ท่านจงไปแสวงหาความสวัสดีเถิด. ก็ถ้าเธอกล่าวยืนยันโดยทางเดียวเท่านั้นถึง ๓ ครั้ง, กระทำตนให้แจ้งตาม ความเป็นจริง, ลำดับนั้น พระวินัยธรพึงพิจารณาประโยค ๑๑ ด้วย อำนาจแห่งราคะ ๑๑ อย่าง เพื่อวินิจฉัย อาบัติ อนาบัติ ครุกาบัติและ ลหุกาบัติของเธอ.

[อธิบายราคะและประโยค ๑๑ อย่าง]

บรรดาราคะและประโยค ๑๑ นั้น ราคะ ๑๑ เหล่านี้ คือ ความ ยินดีเพื่อจะให้เคลื่อน ๑ ความยินดีในขณะเคลื่อน ๑ ความยินดีในเมื่อ อสุจิเคลื่อนแล้ว ๑ ความยินดีในเมถุน ๑ ความยินดีในผัสสะ ๑ ความ ยินดีในความคัน ๑ ความยินดีในการดู ๑ ความยินดีในกิริยานั่ง ๑ ความ ยินดีในคำพูด ความรักอาศัยเรือน ๑ ความยินดีด้วยกิ่งไม้ที่พึงหักได้ ๑.

ในราคะ ๑๑ อย่างนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้:- ความยินดีเพื่อจะ ให้สุกกะเคลื่อน ชื่อว่า โมจนัสสาทะ. ความยินดีในขณะอสุจิเคลื่อน ชื่อว่า มุจจนัสสาทะ. ความยินดีในเมื่ออสุจิเคลื่อนแล้ว ชื่อว่า มุตตัสสาทะ. ความยินดีในเมถุน ชื่อว่า เมถุนัสสาทะ. ความยินดีในผัสสะ ชื่อว่า ผัสสัสสาทะ. ความยินดีในความคัน ชื่อว่า กัณฑวนัสสาทะ. ความยินดี ในการดู ชื่อว่า ทัสสนัสสาทะ. ความยินดีในกิริยานั่ง ชื่อว่า นิสสัชชัสสาทะ. ความยินดีในถ้อยคำ ชื่อว่า วาจัสสาทะ. ความรักอาศัยเรือน

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 115

ชื่อว่า เคหสิตเปมะ. รุกขาวัยวะอย่างใดอย่างหนึ่ง มีดอกไม้และผลไม้ เป็นต้นที่เขาหักเอามาจากป่า ชื่อว่า วนภังคิยะ (ของขวัญ).

ก็บรรดาบททั้ง ๑๑ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสราคะ โดยยกความ ยินดีที่สัมปยุตเป็นประธานด้วย ๙ บท ตรัส โดยสรูปด้วยบทเดียว, ตรัส โดยวัตถุด้วยบทเดียว. จริงอยู่ วนภังคะ เป็นที่ตั้งแห่งราคะ, ไม่ใช่ เป็นตัวราคะทีเดียว. แต่ประโยค (ในการปล่อย) พระวินัยธรพึงทราบ ด้วยอำนาจแห่งราคะเหล่านี้ โดยนัยดังจะกล่าวต่อไปนี้:-

ในความยินดีเพื่อจะให้สุกกะเคลื่อน พึงทราบวินิจฉัยดังนี้:- เมื่อ ภิกษุจงใจและยินดีอยู่ด้วยโมจนัสสาทเจตนา พยายาม, อสุจิเคลื่อนเป็น สังฆาทิเสส, เมื่อภิกษุจงใจและยินดีอยู่ด้วยเจตนาอย่างนั้นเหมือนกัน พยายาม. แต่อสุจิไม่เคลื่อน เป็นถุลลัจจัย. ถ้าว่าในเวลานอน ภิกษุ เป็นผู้กลัดกลุ้มด้วยราคะ เอาขาอ่อน หรือกำมือบีบองคชาตให้แน่นแล้ว หลับไปทั้งที่ยังมีความอุตสาหะ เพื่อต้องการจะปล่อย ก็เมื่อภิกษุนั้นหลับ อยู่ อสุจิเคลื่อน, เป็นสังฆาทิเสส, ถ้าหากว่า เธอยังความกลัดกลุ้มด้วย ราคะให้สงบโดยมนสิการอสุภะ มีใจบริสุทธิ์หลับไป, แต่เมื่ออสุจิเคลื่อน ขณะเธอหลับ ก็เป็นอนาบัติ.

ในความยินดีขณะเคลื่อน พึงทราบวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุยินดีอสุจิ ที่กำลังเคลื่อนโดยธรรมดาของมัน ไม่พยายาม, อสุจิเคลื่อน เป็นอนาบัติ ก็ถ้าหากว่า เธอยินดีอสุจิที่กำลังจะเคลื่อนย่อมพยายาม, เมื่ออสุจิเคลื่อน แล้วด้วยความพยายามนั้น เป็นสังฆาทิเสส. ในมหาปัจจรีกล่าวว่า เมื่อ อสุจิเคลื่อนโดยธรรมดาของมัน เธอจับองคชาตไว้ด้วยคิดว่า "อย่าเปื้อน ผ้ากาสาวะ หรือ เสนาสนะ" ไปสู่ที่มีน้ำ เพื่อทำความสะอาด ย่อมควร.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 116

ในความยินดีเมื่ออสุจิเคลื่อนแล้ว พึงทราบวินิจฉัยดังนี้:- เมื่อ อสุจิเคลื่อน คือ เคลื่อนจากฐานโดยธรรมดาของมันแล้ว เมื่อภิกษุยินดี ภายหลัง อสุจิเคลื่อนเว้นจากความพยายาม เป็นอนาบัติ. ถ้าเธอยินดี พยายามที่นิมิตเพื่อต้องการให้เคลื่อนอีก แล้วให้เคลื่อน, เป็นสังฆาทิเสส.

ในความยินดีในเมถุน พึงทราบวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุจับมาตุคาม ด้วยความกำหนัดในเมถุน อสุจิเคลื่อนเพราะประโยคนั้น เป็นอนาบัติ แต่การจับต้อง (มาตุคาม) เช่นนั้น เป็นทุกกฏ. เพราะเป็นประโยคแห่ง เมถุนธรรม เมื่อถึงที่สุด เป็นปาราชิก. ถ้าหากภิกษุกำหนัดด้วยความ กำหนัดในเมถุน กลับยินดี พยายามที่นิมิต เพื่อต้องการจะปล่อย แล้ว ปล่อย, เป็นสังฆาทิเสส. พึงทราบวินิจฉัยในความยินดีในผัสสะ ดัง ต่อไปนี้:- ผัสสะมี ๒ อย่าง ผัสสะที่เป็นภายใน ๑ ผัสสะที่เป็นภาย นอก ๑. พึงทราบวินิจฉัยในผัสสะที่เป็นภายในในก่อน:- เมื่อภิกษุเล่น นิมิตของคนโดยคิดว่า เรารู้จักว่า ตึง หรือ หย่อนก็ดี โดยความซุกซน ก็ดี อสุจิเคลื่อน เป็นอนาบัติ. ถ้าเธอเล่นอยู่ยินดี พยายามที่นิมิต เพื่อ ประสงค์จะปล่อย แล้วปล่อย, เป็นสังฆาทิเสส.

ส่วนในผัสสะภายนอก พึงทราบวินิจฉัยดังนี้:- เมื่อภิกษุลูบคลำ อวัยวะน้อยใหญ่ของมาตุคาม และสวมกอดด้วยความกำหนัดในการเคล้า คลึงกาย อสุจิเคลื่อน เป็นอนาบัติ. แต่เธอต้องกายสังสัคคสังฆาทิเสส. ถ้าว่า ภิกษุกำหนัดด้วยความกำหนัดในการเคล้าคลึงกายกลับยินดี พยายาม ในนิมิตเพื่อต้องการปล่อย แล้วปล่อย, เป็นสังฆาทิเสส แม้เพราะการ ปล่อยสุกกะเป็นปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 117

พึงทราบวินิจฉัยความยินดีโนความคัน ดังนี้:- เมื่อภิกษุเกานิมิต ที่กำลังคัน ด้วยอำนาจแห่งหิตด้านและหิดเปื่อย ผื่นคัน และสัตว์เล็ก เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยความยินดีในความคันเท่านั้น อสุจิ เคลื่อน เป็นอนาบัติ. ภิกษุกำหนัดด้วยความยินดีในความ กลับยินดี พยายามในนิมิต เพี่อต้องการจะปล่อย แล้วปล่อย เป็นสังฆาทิเสส.

พึงทราบวินิจฉัยความยินดีในการดู ดังนี้:- ภิกษุเพ่งดูโอกาสอัน ไม่สมควร (กำเนิด) ของมาตุคามบ่อยๆ ด้วยอำนาจความยินดีในการดู อสุจิเคลื่อน เป็นอนาบัติ. แต่เป็นทุกกฎเพราะเพ่งดูที่ไม่ใช่โอกาสอัน สมควรแห่งมาตุคาม. ถ้าภิกษุกำหนัดด้วยความยินดีในการดู กลับยินดี พยายามในนิมิต เพี่อต้องการจะปล่อย แล้วปล่อย เป็นสังฆาทิเสส.

พึงทราบวินิจฉัยความยินดีในการนั่ง ดังนี้:- เมื่อภิกษุนั่งด้วย ความกำหนัดยินดีการนั่งในที่ลับกับมาตุคาม อสุจิเคลื่อน เป็นอนาบัติ. แต่พระวินัยธร พึงปรับเธอด้วยอาบัติที่ต้องเพราะการนั่งในที่ลับเป็น ปัจจัย. ถ้าภิกษุกำหนัดด้วยความยินดีในการนั่ง แล้วกลับยินดี พยายาม ที่นิมิตเพี่อต้องการจะปล่อย แล้วปล่อย, เป็นสังฆาทิเสส.

พึงทราบวินิจฉันในความยินดีในคำพูด ดังนี้:- ภิกษุพูดเกี้ยว มาตุคาม ด้วยคำพูดพาดพิงเมถุนด้วยความกำหนัดยินดีในถ้อยคำ อสุจิ เคลื่อน เป็นอนาบัติ. แต่เธอต้องสังฆาทิเสส เพราะวาจาชั่วหยาบ. ถ้า ภิกษุกำหนัดด้วยความยินดีในถ้อยคำแล้ว กลับยินดี พยายามที่นิมิต เพื่อ ต้องการจะปล่อย แล้วปล่อย เป็นสังฆาทิเสส.

พึงทราบวินิจฉัยในความรักอาศัยเรือน ดังนี้:- เมื่อภิกษุลูบคลำ และสวมกอดบ่อยๆ ซึ่งมารดาด้วยความรักฐานมารดาก็ดี ซึ่งพี่สาว น้อง

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 118

สาวด้วยความรักฉันพี่สาวน้องสาวก็ดี อสุจิเคลื่อน เป็นอนาบัติ แต่เป็น ทุกกฎ เพราะถูกต้องด้วยความรักอาศัยเรือนเป็นปัจจัย. ถ้าหากว่า ภิกษุ กำหนัดด้วยความรักอาศัยเรือนแล้วกลับยินดี พยายามที่นิมิตเพื่อต้องการ จะปล่อย แล้วปล่อย เป็นสังฆาทิเสส.

พึงทราบวินิจฉัยในวนภังคะ (ของขวัญ) ดังนี้:- หญิงกับชายย่อม ส่งบรรณาการ (ของขวัญ) มีชนิด คือ หมากพลู ของหอมดอกไม้ และ เครื่องอบกลิ่นเป็นต้นไรๆ ไปให้กันและกัน เพื่อต้องการความมีสันถวไมตรีที่มั่นคง นี้ชื่อว่า วนภังคะ. ถ้า มาตุคามส่งของขวัญเช่นนั้น ไปให้ แก่ภิกษุผู้เข้าสู่ตระกูล ผู้อยู่ใกล้ชิดกันบางรูป, และเมื่อเธอกำหนัดหนักว่า ของนี้หญิงชื่อโน้นส่งมาให้ ดังนี้แล้ว เอามือลูบคลำของขวัญเล่น บ่อยๆ อสุจิเคลื่อน เป็นอนาบัติ. ถ้าว่า ภิกษุกำหนัดหนักในวนภังคะ แล้วกลับยินดี พยายามที่นิมิตเพื่อประสงล์จะปล่อย แล้วปล่อย, เป็น สังฆาทิเสส. ถ้าแม้ เมื่อภิกษุพยายาม แต่อสุจิไม่เคลื่อน เป็นถุลลัจจัย.

พระวินัยธรพึงพิจารณาประโยค ๑๑ เหล่านี้ ด้วยอำนาจแห่งราคะ ๑๑ เหล่านี้แล้ว กำหนดอาบัติ หรืออนาบัติ ด้วยประการอย่างนี้ ครั้น กำหนดดีแล้ว ถ้าเป็นครุกาบัติ พึงบอกว่า " เป็นครุกาบัติ" ถ้าเป็น ลหุกาบัติ พึงบอกว่า " เป็นลหุกาบัติ" และพึงกระทำวินัยกรรมให้ สมควรแก่อาบัติเหล่านั้นๆ. จริงอยู่ วินัยกรรมที่ทำแล้วอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นกรรมที่ทำดีแล้ว ดุจหมอรู้สมุฎฐานแห่งโรคแล้วปรุงยาฉะนั้น และ ย่อมเป็นไปเพื่อความสวัสดีแก่บุคคลผู้นั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เจเตติ น อุปกฺกมติ เป็นต้น ดังนี้:- ภิกษุจงใจด้วยเจตนายินดีที่จะปล่อย แต่ไม่พยายาม อสุจิเคลื่อน ไม่เป็น

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 119

อาบัติ. ภิกษุถูกความยินดีในการปล่อยบีบคั้นแล้ว จงใจว่า "ไฉนหนอ! อสุจิจะพึงเคลื่อน" แต่ไม่พยายาม, อสุจิไม่เคลื่อน ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุ ไม่จงใจด้วยความยินดีในการปล่อย พยายามด้วยความยินดีในผัสสะก็ดี ด้วยความยินดีในการคันก็ดี อสุจิเคลื่อนไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุไม่จงใจ อย่างนั้นเหมือนกัน แต่พยายาม อสุจิไม่เคลื่อนไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุเมื่อ ตรึกถึงวิตก ไม่จงใจ ไม่พยายาม เพื่อต้องการปล่อย แต่อสุจิ เคลื่อน, ไม่เป็นอาบัติ. ถ้าแม้เมื่อภิกษุนั้นตรึกถึงกามวิตกอยู่ อสุจิไม่ เคลื่อน. คำนี้ เป็นคำที่ชักมาอ้างในอรรถกถาโบราณว่า ภิกษุไม่จงใจ ไม่พยายาม อสุจิไม่เคลื่อน ไม่เป็นอาบัติ ดังนี้.

คำว่า อนาปคฺติ สุปินนฺเตน ความว่า เมื่อภิกษุหลับแล้ว ฝัน เหมือนว่าเสพเมถุนธรรมก็ดี ฝันเหมือนว่าถึงความเคล้าคลึงกาย (มาตุคาม) เป็นต้นก็ดี ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีอสุจิเคลื่อนเพราะเหตุในความ ฝันนั้นเลย. แต่เมื่อเจตนายินดีบังเกิดในความฝัน ถ้าหากเป็นวิสัยของเธอ. (๑) อย่าพึงเคลื่อนไหว ไม่พึงเอามือจับนิมิตเล่น แต่เพื่อจะรักษาผ้ากาสาวะ และผ้าปูที่นอน จะเอาอุ้งมือจับ ไปสู่ที่มีน้ำ เพื่อทำความสะอาค ควรอยู่.

บทว่า นโมจนาธิปฺปายสฺส มีความว่า เมื่อภิกษุใด พอกนิมิต ด้วยเภสัชก็ดี กระทำการถ่ายอุจจาระเป็นต้นก็ดี ไม่มีความประสงค์ในการ ให้เคลื่อน อสุจิเคลื่อน, ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุนั้น. ไม่เป็นอาบัติ แม้ แก่ภิกษุบ้าทั้งสองจำพวก. ในสิกขาบทนี้ พระเสยยสกะเป็นต้นบัญญัติ. ไม่เป็นอาบัติ แก่พระเสยยสกะผู้เป็นต้นบัญญัตินั้น ฉะนี้แล.

บทภาชนียวรรณา จบ


(๑) โยชนาปาฐะ ๑/๔๓๔. สจสฺสาสโยติ สเจ อสฺส ภิกฺขุสฺส อวิสโย.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 120

พึงทราบวินิจฉัยในสมุฏฐานเป็นต้น ดังนี้:- สิกขาบทนี้ มีสมุฏ- ฐานดุจปฐมปาราชิกสิกขาบท ย่อมตั้งขึ้นทางกายกับจิตเป็นกิริยา เป็น สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๒ โดยเป็นสุขเวทนาและอุเบกขาเวทนาทั้งสองแล.

วินีตวัตถุในสังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑

บรรดาวินีตวัตถุทั้งหลาย เรื่องความฝันมีนัยดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้ว ในอนุบัญญัตินั้นแล. เรื่องถ่ายอุจจาระปัสสาวะหลายเรื่อง มี เนื้อความชัดเจนทั้งนั้น.

ในเรื่องวิตก บทว่า กามวิตกฺกํ ได้แก่ ความตรึกถึงกามที่อาศัย เรือน. ในเรื่องกามวิตกนั้น ตรัสอนาบัติไว้แม้โดยแท้, ถึงกระนั้น ภิกษุ ไม่ควรตกอยู่ในอำนาจแห่งวิตก. เรื่องน้ำร้อนเรื่องแรกง่ายแล. ในเรื่อง ที่ ๒ ภิกษุนั้นใคร่เพื่อจะปล่อย เอาน้ำร้อนสาดแล้วสาดอีกซึ่งนิมิตแล้ว อาบน้ำ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงปรับอาบัติแก่เธอ. ในเรื่อง ที่ ๓ เป็นถุลลัจจัยเพราะมีความพยายาม. เรื่องยาและเรื่องเกา มีเนื้อความ กระจ่างทั้งนั้นแล.

พึงทราบวินิจฉัยในมัคควัตถุหลายเรื่อง ดังนี้:- เมื่อภิกษุรูปแรก มีขาล่ำกำลังเดินทาง อสุจิได้เคลื่อน เพราะความเสียดสีในที่แคบ ไม่ เป็นอาบัติแก่เธอ เพราะไม่มีความประสงค์ในการให้เคลื่อน. สำหรับรูป ที่สอง อสุจิได้เคลื่อนอย่างนั้นเหมือนกัน แต่เป็นสังฆาทิเสส เพราะมี

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 121

ความประสงค์ในการให้เคลื่อน. รูปที่สาม อสุจิไม่เคลื่อน แต่เป็นถุลลัจจัย เพราะมีความพยายาม. เพราะเหตุนั้น ภิกษุกำลังเดินทาง เมื่อ ความกลัดกลุ้มเกิดขึ้น ไม่ควรเดินทาง พึงหยุดเดิน ยังจิตให้สงบโดย มนสิการในอสุภเป็นต้น กำหนดกรรมฐานด้วยจิตบริสุทธิ์ แล้วจึงเดิน ต่อไป ถ้าหยุดยืนแล้วไม่อาจบรรเทาได้ พึงแวะออกจากหนทาง นั่ง บรรเทาแล้วเดินกำหนดกรรมฐานด้วยจิตบริสุทธิ์นั่นแล.

ในเรื่องฝักหัวไส้หลายเรื่อง พวกภิกษุเหล่านั้น จับหัวไส้ (๑) ให้แน่น ปล่อย (เบา) ให้เต็มแล้วๆ ถ่ายปัสสาวะ เหมือนพวกเด็กชาวบ้าน.

ในเรื่องเรือนไฟเมื่อภิกษุอังท้องอยู่ มีความประสงค์จะให้เคลื่อนก็ดี ไม่ประสงค์จะให้เคลื่อนก็ดี เมื่ออสุจิเคลื่อนแล้ว เป็นอนาบัติเหมือนกัน. เมื่อกระทำบริกรรมอยู่ อสุจิเคลื่อนด้วยอำนาจแห่งการยังนิมิตให้เคลื่อน ไหว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงปรับอาบัติในฐานะแห่งอาบัติ.

ในเรื่องเสียดสีด้วยขาหลายเรื่อง ท่านกล่าวไว้ในกุรุนทีอรรถกถา อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าปรับอาบัติแก่ภิกษุเหล่าใด, ภิกษุเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เสียดสีอยู่โดยรอบองคชาต ให้ถูกต้ององคชาตนั้น แล้ว. เรื่องสามเณรเป็นต้น มีเนื้อความกระจ่างทั้งนั้น.

ในเรื่องดัดกาย คำว่า กายํ ถมฺเภนฺตสฺส มีความว่า เมื่อภิกษุ นั่งนานหรือนอนนานก็ดี กระทำนวกรรมก็ดี แล้วดัดกายเพื่อแก้ความ เมื่อขยบ.


(๑) สารัตถทีปนี ๒/๒๖. วตฺถึ ทฬฺหํ คเหตฺวาติ องฺคชาตสฺส อคฺเค ปสฺสาวนิคฺคมนาเน จมฺมํ ทฬฺหํ คเหตฺวา แปลว่า ข้อว่า จับหัวไส้ให้แน่นนั้น ได้แก่ จับที่ปลายองคชาต คือ หนังใน ที่ซึ่งปัสสาวะไหลออกให้แน่น

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 122

พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องเพ่งดู ดังนี้:- แม้ถ้าว่า หญิงนั้นนุ่งผ้า ตั้งร้อยชั้น ภิกษุยืนข้างหน้าก็ตาม ข้างหลังก็ตาม เพ่งดูว่า "นิมิตอยู่ ในโอกาสชื่อนี้" เป็นทุกกแท้. ก็เมื่อเพ่งดูนิมิตแห่งพวกเด็กหญิงชาว บ้านผู้ไม่นุ่งผ้า จะต้องกล่าวอะไรเล่า? ในนิมิตแม้แห่งสัตว์เดียรัจฉาน ก็มีนัยเหมือนกันนี้. แต่เมื่อภิกษุไม่เหลียวไปข้างโน้นข้างนี้ เพ่งดูโดย ประโยคเดียว แม้ตลอดทั้งวัน ก็เป็นทุกกฏตัวเดียวเท่านั้น. เมื่อเหลียวดู ทางโน้นและทางนี้ เพ่งดูแล้วๆ เล่าๆ เป็นทุกกฏทุกๆ ประโยค. พระวินัยธร ไม่พึงปรับด้วยอำนาจแห่งการลืมตาและหลับตา (กะพริบตา). เมื่อเพ่งดูโดยบังเอิญ กลับพิจารณาแล้วตั้งอยู่ในสังวรอีก เป็นอนาบัติ. เมื่อละสังวรนั้นแล้ว เพ่งดูอีก เป็นทุกกฏทีเดียว. เรื่องช่องลูกดาล เป็นต้น มีเนื้อความกระจ่างทั้งนั้น.

ในเรื่องอาบน้ำหลายเรื่อง พระผู้มีพระภาคเจ้าปรับอาบัติแก่พวก ภิกษุผู้เอานิมิตฟาดกระแสน้ำ. แม้เรื่องน้ำโคลนหลายเรื่อง ก็มีนัยเหมือน กันนี้. ก็ในเรื่องน้ำโคลนนี้ น้ำโคลนท่านเรียกว่า อุทัญชละ. เรื่อง อื่นๆ นอกนี้ทั้งหมดเรื่องวิ่งในน้ำเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบโดยอุบายนี้ เหมือนกัน. ส่วนความแปลกกัน ในเรื่องบุปผาวลีย์ดังต่อไปนี้:- ถึงว่า จะไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์ในอันให้เคลื่อน. แต่กระนั้น ก็เป็นทุกกฏ เพราะการเล่นเป็นปัจจัย ดังนี้แล.

สุกกวิสัฏฐิสิกขาบทวรรณนา ในอรรถกถาพระวินัย

ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ