พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๓

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 มี.ค. 2565
หมายเลข  42747
อ่าน  877
  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 181

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระอุทายี

    [๓๙๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีอยู่ในวิหารชายป่า สตรีเป็นอันมากได้พากันไปสู่อาราม มีความประสงค์จะชมวิหาร จึงเข้าไปหาท่านพระอุทายีกราบเรียนว่า พวกดิฉันประสงค์จะชมวิหารของพระคุณเจ้า เจ้าค่ะ

จึงท่านพระอุทายีเชิญสตรีเหล่านั้นให้ชมวิหารแล้ว กล่าวมุ่งวัจจมรรค ปัสสาวมรรค ของสตรีเหล่านั้น ชมบ้าง ติบ้าง ขอบ้าง อ้อนวอนบ้าง ถามบ้าง ย้อนถามบ้าง บอกบ้าง สอนบ้าง ด่าบ้าง สตรี เหล่านั้นจำพวกที่หน้าด้าน ฐานนักเลง ไม่มียางอาย บ้างยิ้มแย้ม บ้างๆ พูดยั่ว บ้างก็ซิกซี้ บ้างก็เย้ยกับท่านพระอุทายี ส่วนจำพวกที่มีความละอายใจ ก็เลี่ยงออกไป แล้วโพนทะนาภิกษุทั้งหลายว่า ท่านเจ้าข้า คำนี้ไม่สมควร

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 182

ไม่เหมาะ แม้สามีดิฉันพูดอย่างนี้ ดิฉันยังไม่ปรารถนา ก็นี่ประโยชน์ อะไรด้วยท่านพระอุทายี

ภิกษุทั้งหลาย บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระอุทายีจึงได้พูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจาอันชั่วหยาบเล่า แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับส่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสสอบถามท่าน พระอุทายีว่า ดูก่อนอุทายี ข่าวว่าเธอพูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจา อันชั่วหยาบ จริงหรือ

ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ครวทำ ไฉนเธอจึงได้พูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจา อันชั่วหยาบเล่า

ดูก่อนโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยายเพื่อ คลายความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่ เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมีความถือมั่น มิใช่หรือ เมื่อธรรมชื่อนั้น อันเราแสดงแล้ว เพื่อคลายความกำหนัด เธอยังจักคิดมีเพื่อมีความกำหนัด เราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจัก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 183

คิดเพื่อความประกอบ เราแสดงเพื่อความไม่ถือมั่น เธอยังจักคิด เพื่อมีความถือมั่น

ดูก่อนโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยายเพื่อ เป็นที่สำรอกแห่งราคะ เพื่อเป็นที่สร่างความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญ แห่งความกระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่งอาลัย เพื่อเป็นที่เข้าไปตัด แห่งวัฏฏะ เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความ ดับทุกข์ เพื่อปราศจากตัณหาเครื่องร้อยรัด มิใช่หรือ

ดูก่อนโมฆบุรุษ การละกาม การกำหนัดรู้ความหมายในกาม การกำจัดความกระหายในกาม การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม เราบอกไว้แล้วโดยอเนกปริยาย มิใช่หรือ

ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั้น เป็นไปเพื่อ ความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นไป อย่างอื่นของตนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระอุทายีโดยอเนกปริยายดังนี้ แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่ น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 184

ทรงกระทำธรรมมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมกับเรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้ เก้อยาก ๑ เพื่อยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกัน อาสวะอันจะเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสนะอันจักบังเกิดใน อนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความ ตั้งมั่น แห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือความพระวินัย ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนั้นว่าดังนี้:-

พระปฐมบัญญัติ

๗.๓. อนึ่ง ภิกษุใด กำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว พูด เคาะมาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบ เหมือนชายหนุ่มพูดเคาะหญิงสาว ด้วยวาจาพาดพิงเมถุน เป็นสังฆาทิเสส.

เรื่อง พระอุทายี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๙๘] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการ งานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 185

มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะ ก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง..ใด.

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพระอรรถว่า เป็น พระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุ. เหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยเหนือญัตติจตุตถกรรมอัน ไม่กำเริบควรแก่ฐานะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ว่า ภิกษุ ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า กำหนัดแล้ว คือ มีความยินดี มีความเพ่งเล็ง มีจิตปฏิพัทธ์-

บทว่า แปรปรวนแล้ว ความว่า จิตแม้อันราคะย้อมแล้ว ก็แปร ปรวน แม้อันโทสะประทุษร้ายแล้ว ก็แปรปรวน แม้อันโมหะให้ลุ่มหลง แล้ว ก็แปรปรวน แต่ที่ว่า แปรปรวนแล้ว ในอรรถนี้ ทรงประสงค์ จิตอันราคะย้อมแล้ว.

ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่ หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถทราบ ถ้อยคำที่เป็นสุภาษิตทุพภาษิต วาจาชั่วหยาบ และสุภาพ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 186

วาจา ชื่อว่า ชั่วหยาบ ได้แก่ วาจาที่พาดพิงวัจจมรรค ปัสสาวมรรค และเมถุนธรรม.

บทว่า พูดเคาะ คือ ที่เรียกกันว่า ประพฤติล่วงเกิน.

คำว่า เหมือนชายหนุ่มหญิงสาว ได้แก่ เด็กชายรุ่นกับเด็กหญิงรุ่น คือหนุ่มกับสาว ชายบริโภคกามกับหญิงบริโภคกาม.

บทว่า ด้วยวาจาพาดพิงเมถุน ได้แก่ ถ้อยคำที่เกี่ยวด้วยเมถุนธรรม.

บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

บทภาชนีย์ มาติกา

[๓๙๙] มุ่งมรรคทั้งสอง พูดชม ก็ดี พูดติ ก็ดี พูดขอ ก็ดี พูดอ้อนวอน ก็ดี ถาม ก็ดี ย้อนถาม ก็ดี บอก ก็ดี สอน ก็ดี ด่า ก็ดี.

[๔๐๐] ที่ชื่อว่า พูดชม คือ ชม พรรณนา สรรเสริญ มรรค ทั้งสอง. ที่ชื่อว่า พูดติ คือ ด่า ว่า ติเตียน มรรคทั้งสอง.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 187

ที่ชื่อว่า พูดขอ คือ พูดว่า โปรดให้แก่เรา โปรดยกให้แก่เรา ควรจะให้แก่เรา ดังนี้เป็นต้น.

ที่ชื่อว่า พูดอ้อนวอน คือ พูดว่า เมื่อไรมารดาของเธอจักเลื่อมใส เมื่อไรบิดาของเธอจักเลื่อมใส เมื่อไรเทวดาของเธอจักเลื่อมใส เมื่อไร โอกาสดีจักมีแก่เธอ เมื่อไรเวลาดีจักมีแก่เธอ เมื่อไรยามดีจักมีแก่เธอ เมื่อไรฉันจักได้เมถุนธรรมของเธอ ดังนี้เป็นต้น.

ที่ชื่อว่า ถาม คือ ถามว่า เธอให้เมถุนธรรมแก่สามีอย่างไร ให้ แก่ชู้อย่างไร ดังนี้เป็นต้น. ที่ชื่อว่า ย้อนถาม คือ สอบถามดูว่า ข่าวว่า เธอให้เมถุนธรรม แก่สามีอย่างนี้หรือ ให้แก่ชู้อย่างนี้หรือ ดังนี้เป็นต้น.

ที่ชื่อว่า บอก คือ ถูกเขาถามแล้วบอกว่า เธอจงให้อย่างนี้ เมื่อ ให้อย่างนี้ จักเป็นที่รักใคร่และพอใจของสามี ดังนี้เป็นต้น.

ที่ชื่อว่า สอน คือ เขาไม่ได้ถาม บอกเองว่า เธอจงให้อย่างนี้ เมื่อให้อย่างนี้ จักเป็นที่รักใคร่และพอใจของสามี ดังนี้เป็นต้น.

ที่ชื่อว่า ด่า คือ ด่าว่า เธอเป็นคนไม่มีนิมิต เธอเป็นคนสักแต่ว่า มีนิมิต เธอเป็นคนไม่มีโลหิต เธอเป็นคนมีโลหิตเสมอ เธอเป็นคนมีผ้าซับ เสมอ เธอเป็นคนช้ำรั่ว เธอเป็นคนมีเดือย เธอเป็นบัณเฑาะก์หญิง เธอเป็นคนกล้าผู้ชาย เธอเป็นคนผ่า เธอเป็นคนสองเพศ ดังนี้ เป็นต้น.

สตรี

[๔๐๑] สตรี ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี ความกำหนัดและ พูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสตรี ชนก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อน-

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 188

วอนก็ดี ถามก็ดี ย้อมถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สตรี ภิกษุมีความสงสัย มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวาร หนัก ทวารเบา ของสตรี ชมก็ดี ก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติถุลลัจจัย

สตรี ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ มีความกำหนัด และ พูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสตรี ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้อง อาบัติถุลลัจจัย สตรี ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษ มีความกำหนัด และพูด พาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสตรี ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอน ก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติถุลลัจจัย

สตรี ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน มีความกำหนัด และ พูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสตรี ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย

บัณเฑาะก์

บัณเฑาะก์ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบัณเฑาะก์ ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติถุลลัจจัย

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 189

บัณเฑาะก์ ภิกษุมีความสงสัย มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึง ทวารหนัก ทวารเบา ของบัณเฑาะก์ ชมก็ดี ก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอน ก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ

บัณเฑาะก์ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษ มีความกำหนัด และ พูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบัณเฑาะก์ ชมก็ดี ก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติ ทุกกฏ

บัณเฑาะก์ ภิกษุที่ความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และพูด พาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบัณเฑาะก์ ชมก็ดี ติก็ดี อ้อนวอน ก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ

บุรุษ

บุรุษ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษ มีความกำหนัด และพูด พาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบุรุษ ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอน ก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ

บุรุษ ภิกษุมีความสงสัย มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวาร หนัก ทวารเบา ของบุรุษ ชมก็ดี ติก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อน ถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ

บุรุษ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน มีความกำหนัดเละ พูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบุรุษ ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้อง อาบัติทุกกฏ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 190

บุรุษ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และพูด พาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบุรุษชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอน ก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ

บุรุษ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ มีความกำหนัด และ พูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบุรุษ ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้อง อาบัติทุกกฏ

สัตว์ดิรัจฉาน

สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน มีความ กำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสัตว์ดิรัจฉาน ชม ก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอน ก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติ ทุกกฏ

สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุมีความสงสัย มีความกำหนัด และพูดพาดพิง ถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสัตว์ดิรัจฉาน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติ ทุกกฏ

สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และ พูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสัตว์ดิรัจฉาน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ

สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสัตว์ดิรัจฉาน ชมก็ดี ติก็ดี

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 191

ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ

สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษ มีความกำหนัด และ พูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสัตว์ดิรัจฉาน ชมก็ดี ติก็ดี ขอ ก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

สตรี ๒ คน

[๔๐๒] สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มี ความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสตรีทั้งสองคน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว

สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองคน มีความกำหนัด และพูด พาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสตรีทั้งสองคน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ๒ ตัว

สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองคน มีความ กำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสตรีทั้งสองคน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้อง อาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว

สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสองคน มีความ กำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสตรีทั้งสองคน ชม

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 192

ก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอน ก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว.

สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองคน มี ความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสตรีทั้งสองคน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว

บัณเฑาะก์ ๒ คน

บัณเฑาะก์ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองคน มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบัณเฑาะก์ ทั้งสองคน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว

บัณเฑาะก์ ๒ คน ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองคน มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบัณเฑาะก์ทั้งสองคน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

บัณเฑาะก์ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสองคน มี ความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบัณเฑาะก์ ทั้งสองคน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

บัณเฑาะก์ ๒ คน ภิกษุความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองคน มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบัณเฑาะก์ ทั้งสองคน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 193

บัณเฑาะก์ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความ กำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบัณเฑาะก์ทั้งสองคน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

บุรุษ ๒ คน

บุรุษ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษสองคน มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบุรุษทั้งสองคน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

บุรุษ ๒ คน ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองคน มีความกำหนัด และ พูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบุรุษทั้งสองคน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

บุรุษ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองคน มี ความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบุรุษทั้งสองคน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

บุรุษ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความ กำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบุรุษทั้งสองคน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อมถามก็ดี บอกก็ดี สอน ก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

บุรุษ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองคน มีความ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 194

กำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบุรุษทั้งสองคน ชมก็ดี ก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว

สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ตัว มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสัตว์ ดิรัจฉานทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถาม ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองตัว มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ชมก็ดี ก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองตัว มี ความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสัตว์ดิรัจฉาน ทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองตัว ความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสัตว์ดิรัจฉาน ทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสองตัว มี ความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสัตว์ดิรัจฉาน

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 195

ทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอก ก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว.

สตรี - บัณเฑาะก์

[๔๐๓] สตรี ๑ บัณเฑาะก์ ๑ ภิกษุมีความสำคัญเป็นสตรีทั้งสอง คน มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสตรี และบัณเฑาะก์ทั้งสองคน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สตรี ๑ บัณเฑาะก์ ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองคน มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสตรีและบัณเฑาะก์ทั้งสองคน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอน ก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย

สตรี ๑ บัณเฑาะก์ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองคน มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสตรีและ บัณเฑาะก์ทั้งสองคน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว

สตรี ๑ บัณเฑาะก์ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสองงคน มี ความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสตรีและ บัณเฑาะก์ทั้งสองคน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย

สตรี ๑ บัณเฑาะก์ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง คน มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสตรี

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 196

และบัณเฑาะก์ทั้งสองคน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อน ถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย

สตรี-บุรุษ

สตรี ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความ กำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสตรีและบุรุษทั้งสอง คน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติสังฆาทิเสส

สตรี ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองคน มีความกำหนัด และ พูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสตรีและบุรุษทั้งสองคน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย

สตรี ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองคน มี ความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสตรีและบุรุษ ทั้งสองคน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย

สตรี ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสองคน มีความ กำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสตรีและบุรุษทั้งสอง คน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย

สตรี ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองคน มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสตรีและบุรุษ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 197

ทั้งสองคน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ กับถุลลัจจัย

สตรี-สัตว์ดิรัจฉาน

สตรี สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสอง มี ความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสตรีและ สัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อน ถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติสังฆาทิเสส

สตรี ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสงสัยทั้งสอง มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสตรีและสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอน ก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย

สตรี ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสอง มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสตรีและ สัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย

สตรี ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสอง มี ความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสตรีและ สัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย

สตรี ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ติรัจฉานทั้ง สอง มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสตรี และสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 198

ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติ ถุลลัจจัย

บัณเฑาะก์-บุรุษ

บัณเฑาะก์ ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสอง คน มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบัณเฑาะก์ และบุรุษทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถาม ก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย

บัณเฑาะก์ ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองคน มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบัณเฑาะก์และบุรุษทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

บัณเฑาะก์ ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสองคน มี ความกำหนด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบัณเฑาะก์แล บุรุษทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติ ทุกกฏ ๒ ตัว

บัณเฑาะก์ ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง สองคน มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของ บัณเฑาะก์และบุรุษทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

บัณเฑาะก์ ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มี ความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบัณเฑาะก์

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 199

และบุรุษทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถาม ก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

บัณเฑาะก์-สัตว์ดิรัจฉาน

บัณเฑาะก์ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ทั้งสอง มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของ บัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองงง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ กับ อาบัติถุลลัจจัย

บัณเฑาะก์ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสงสัยทั้งสอง มีความ กำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบัณเฑาะก์และสัตว์ ดิรัจฉานทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถาม ก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

บัณเฑาะก์ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสอง มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบัณเฑาะก์ และสัตว์ติรัจฉานทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

บัณเฑาะก์ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ทั้งสอง มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของ บัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองงง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

บัณเฑาะก์ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสอง มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบัณเฑาะก์

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 200

และสัตว์ติรัจฉานทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

บุรุษ- สัตว์ดิรัจฉาน

บุรุษ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสอง มี ความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบุรุษและสัตว์ ดิรัจฉานทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี ย้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถาม ก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

บุรุษ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสงสัยทั้งสอง มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบุรุษและสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอน ก็ดี ด่าก็ดี ไม่ต้องทุกกฏ ๒ ตัว

บุรุษ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง สอง มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบุรุษ และสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

บุรุษ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสอง มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบุรุษและสัตว์ ดิรัจฉานทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถาม ก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

บุรุษ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสอง มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของบุรุษและ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 201

สัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อน ถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว.

ใต้รากขวัญ-เหนือเข่า

[๔๐๔] อนึ่ง สตรี ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงอวัยวะเบื้องบนใต้รากขวัญลงมา อวัยวะเบื้องต่ำเหนือเข่า ในรูป เว้น ทวารหนัก ทวารเบา ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติถุลลัจจัย

บัณเฑาะก์ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และพูด พาดพิงถึงอวัยวะเบื้องบนใต้รากขวัญลงมา อวัยวะเบื้องต่ำเหนือเข่าขึ้นไป เว้นทวารหนัก ทวารเบา ของบัณเฑาะก์ ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอน ก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ

บุรุษ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และพูดพาด พิงถึงอวัยวะเบื้องบนใต้รากขวัญลงมา อวัยวะเบื้องต่ำเหนือเข่าในรูป เว้น ทวารหนัก ทวารเบา ของบุรุษ ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอน ก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ

สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และ พูดพาดพิงถึงอวัยวะเบื้องบนใต้รากขวัญลงมา อวัยวะเบื้องต่ำเหนือเข่า ขึ้นไป เว้นทวารหนัก ทวารเบา ของสัตว์ดิรัจฉาน ชมก็ดี ติก็ดี ก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ

สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความ กำหนัด และพูดพาดพิงถึงอวัยวะเบื้องบนใต้รากขวัญลงมา อวัยวะ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 202

เบื้องต่ำเหนือเข่าขึ้นไป เว้นทวารหนัก ทวารเบา ของสตรีทั้งสอง ชม ก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอน ก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว

สตรี ๑ บัณเฑาะก์ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มี ความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงอวัยวะเบื้องบนใต้รากขวัญลงมา อวัยวะ เบื้องต่ำเหนือเข่าขึ้นไป เว้นทวารหนัก ทวารเบา ของสตรีและบัณเฑาะก์ ทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอก ก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฎ กับอาบัติถุลลัจจัย.

เหนือรากขวัญ-ใต้เข่า

[๔๐๕] สตรี ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และ พูดพาดพิงถึงอวัยวะเบื้องต่ำใต้เข่าลงมา ของสตรี ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติ ทุกกฏ

บัณเฑาะก์ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และ พูดพาดพิงถึงอวัยวะเบื้องบนเหนือรากขวัญขึ้นไป อวัยวะเบื้องต่ำใต้เข่า ลงมา ชองบัณเฑาะก์ ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฎ

บุรุษ ภิกษุมีความสำคัญ ว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และพูดพาด พิงถึงอวัยวะเบื้องบนเหนือรากขวัญขึ้นไป อวัยวะเบื้องต่ำใต้เข่าลงมา ของบุรุษ ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฎ

สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 203

พูดพาดพิงถึงอวัยวะเบื้องบนเหนือรากขวัญขึ้นไป อวัยวะเบื้องต่ำใต้เข่า ลงมา ของสัตว์ดิรัจฉาน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ

สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความกำหนด และพูดพาดพิงถึงอวัยวะเบื้องบนเหนือรากขวัญขึ้นไป อวัยวะเบื้องต่ำใต้ เข่าลงมา ของสตรีทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

สตรี ๑ บัณเฑาะก์ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน นี้ ความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงอวัยวะเบื้องบนเหนือรากขวัญขึ้นไป อวัยวะเบื้องต่ำใต้เข่าลงมา ของสตรีและบัณเฑาะก์ทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

ขอเนื่องด้วยกาย

สตรี ภิกษุมีความสำคัญ ว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และพูดพาดพิง ถึงของที่เนื่องด้วยกาย ของสตรี ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ

บัณเฑาะก์ ภิกษุมีความสำคัญ ว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และพูด พาดพิงถึงของที่เนื่องด้วยกาย ของบัณเฑาะก์ ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติ ทุกกฏ

บุรุษ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และพูดพาด พิงถึงของที่เนื่องด้วยกาย ของบุรุษ ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 204

ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ

สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด แล ะ พูดพาดพิงถึงของที่เนื่องด้วยกาย ของสัตว์ดิรัจฉาน ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติ ทุกกฏ

สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงของที่เนื่องด้วยกาย ของสตรีทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอ ก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถามก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

สตรี ๑ บัณเฑาะก์ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มี ความกำหนัด และพูดพาดพิงถึงของที่เนื่องด้วยกาย ของสตรีและ บัณเฑาะก์ทั้งสอง ชมก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อนวอนก็ดี ถามก็ดี ย้อนถาม ก็ดี บอกก็ดี สอนก็ดี ด่าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

อนาปัตติวาร

[๘๐๖] ภิกษุผู้มุ่งประโยชน์ ๑ ภิกษุผู้มุ่งธรรม ๑ ภิกษุผู้มุ่งสั่งสอน ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล

วินีตวัตถุ

อุทานคาถา

[๔๐๗] เรื่องสีแดง เรื่องขนแข็ง เรื่องขนรก เรื่องขน หยาบ เรื่องขนยาว เรื่องนาหว่าน เรื่องหนทางราบรื่น เรื่อง มีศรัทธา เรื่องให้ทาน อย่างละ ๓ เรื่อง เรื่องทำงาน ๓ เรื่อง.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 205

วินีตวัตถุ

เรื่องสีแดง

[๔๐๘] ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งห่มผ้ากัมพลใหม่สีแดง ภิกษุ รูปหนึ่ง มีความกำหนัด พูดเคาะว่า น้องหญิง เธอมีสีแดงแท้

นางไม่เข้าใจความหมาย ตอบว่า เจ้าค่ะ ผ้ากัมพลใหม่สีแดงค่ะ

ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมัง หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ

เรื่องขนแข็ง

ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งห่มผ้ากัมพลขนแข็ง ภิกษุรูปหนึ่ง มีความกำหนัด พูดเคาะว่า น้องหญิง เธอมีขนแข็งแท้

นางไม่เข้าใจความหมาย ตอบว่า เจ้าค่ะ ผ้ากัมพลมีขนแข็งค่ะ

ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ

เรื่องขนรก

ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งห่มผ้ากัมพลซักใหม่ ภิกษุรูปหนึ่ง ความกำหนัด พูดเคาะว่า น้องหญิง เธอมีขนรก

นางไม่เข้าใจความหมาย ตอบว่า เจ้าค่ะ ผ้ากัมพลซักใหม่ค่ะ

ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง นั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 206

เรื่องขนหยาบ

ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งห่มผ้ากัมพลขนหยาบ ภิกษุรูปหนึ่งมี ความกำหนัด พูดเคาะว่า น้องหญิง เธอมีขนหยาบ

นางไม่เข้าใจความหมาย ตอบว่า เจ้าค่ะ ผ้ากัมพลขนหยาบค่ะ

ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมัง หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.

เรื่องขนยาว

[๔๐๙] ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งห่มผ้ามีขนยาว ภิกษุรูปหนึ่ง มีความกำหนัด พูดเคาะว่า น้องหญิง เธอมีขนยาว

นางไม่เข้าใจความหมาย ตอบว่า เจ้าค่ะ ผ้าห่มมีขนยาวค่ะ

ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังมาทิเสสแล้วกระมัง หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.

เรื่องนาหว่าน

[๔๑๐] ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งหว่านข้าวในนาแล้วกลับมา ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด พูดเคาะว่า น้องหญิง เธอหว่านนาแล้วหรือ

นางไม่เข้าใจความหมาย ตอบว่า หว่านแล้วเจ้าค่ะ แต่ยังไม่ได้ กลบค่ะ

ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมัง หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 207

เรื่องหนทางราบรื่น

[๔๑๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพบนางปริพาชิกาเดินสวน ทางมา มีความกำหนัด พูดเคาะว่า น้องหญิง หนทางของเธอราบรื่น ดอกหรือ

นางไม่เข้าใจความหมาย ตอบว่า เจ้าค่ะภิกษุ ท่านจักเดินไปได้

ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมัง หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ ภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

เรื่องมีศรัทธา

[๘๑๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีความกำหนัด พูดเคาะ สตรีผู้หนึ่งว่า น้องหญิง เธอเป็นคนมีศรัทธา จะถวายของที่เธอให้สามี แก่พวกฉันบ้างไม่ได้หรือ

สตรีนั้นถามว่า ของอะไรเจ้าขา

ภิกษุตอบว่า เมถุนธรรม จ้ะ

ภิกษุรูปนั้น มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมัง หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว

เรื่องให้ทาน

ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีความกำหนัด พูดเคาะสตรี ผู้หนึ่งว่า น้องหญิง เธอเป็นคนมีศรัทธา ทำไมไม่ถวายทานที่เลิศแก่ พวกฉันบ้าง

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 208

สตรีนั้นถามว่า อะไรเจ้าขา ชื่อว่าทานที่เลิศ

ภิกษุตอบว่า เมถุนธรรม จ้ะ

ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมัง หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว.

เรื่องทำงาน ๓ เรื่อง

[๔๑๓] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งกำลังทำงานอยู่ ภิกษุ รูปหนึ่งมีความกำหนัด พูดเคาะว่า น้องหญิง หยุดเถิด ฉันจักทำเอง นางไม่เข้าใจความหมาย ภิกษุนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฎ

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งกำลังทำงานอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งมี ความกำหนัด พูดเคาะว่า น้องหญิง นั่งลงเถิด ฉันจักทำเอง นางไม่ เขัาใจความหมาย ภิกษุนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ

๓. ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งกำลังทำงานอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งมี ความกำหนัด พูดเคาะว่า น้องหญิง จงนอนเสียเถิด ฉันจักทำเอง นางไม่เข้าใจความหมาย ภิกษุนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆา - ทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓ จบ

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 209

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓

ทุฏฐุลลวาจาสิกขาบทวรรณนา

ทุฏฐุลลวาจาสิกขา บทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:-

พึงทราบวินิจฉัยในทุฎฐุลลวาจาสิกขาบทนั้นดังนี้

[อธิบาย สิกขาบทวิภังค์ สังฆาทิเสสที่ ๓]

บทว่า อาทิสฺส แปลว่า มุ่งถึง.

หลายบทว่า วณฺณมฺปิ ภณติ เป็นต้น จักมีแจ้งข้างหน้า.

บทว่า อจฺฉินฺนกา แปลว่า ขาคความเกรงบาป.

บทว่า ธุตฺติกา แปลว่า ผู้มีมารยา.

บทว่า อหิริกาโย แปลว่า ผู้ไม่มีความอาย.

บทว่า โอหสนฺติ แปลว่า แย้มพรายแล้ว หัวเราะเบาๆ.

บทว่า อุลฺลปนฺติ ความว่า ย่อมกล่าวถ้อยคำแทะโลม มีประการ ต่างๆ ยกย่องโดยนัยเป็นต้นว่า โอ! พระคุณเจ้า.

บทว่า อุชฺชคฆนฺติ แปลว่า ย่อมหัวเราะลั่น.

บทว่า อุปฺผณฺเฑนฺติ ความว่า กระทำการเยาะเย้ยโดยนัยเป็นต้น ว่า นี้ เป็นบัณเฑาะก์ นี้ มิใช่ผู้ชาย.

บทว่า สารตฺโต แปลว่า กำหนัดแล้ว ด้วยความกำหนัด โดย อำนาจแห่งความพอใจในวาจาชั่วหยาบ.

บทว่า อเปกฺขวา ปฏิพทฺธจิตฺโต มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ใน สิกขาบทนี้ พึงประกอบราคะด้วยอำนาจแห่งความยินดีในวาจาอย่างเดียว.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 210

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงมาตุคามที่ทรงประสงค์ในคำ ว่า มาตุคามํ ทุฏฐุลฺลาหิ ราจาหิ นี้ จึงตรัสดำว่า มาตุคาโม เป็นอาทิ.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยคำว่า เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถทราบ ถ้อยคำที่เป็นสุภาษิตทุพภาษิต วาจาชั่วหยาบและสุภาพได้ นี้ท่านพระอุบาลีแสดงว่า หญิงที่เป็นผู้ฉลาด สามารถเพื่อจะทราบถ้อยคำที่เป็น ประโยชน์และไร้ประโยชน์ ถ้อยคำที่พาดพิงอสัทธรรมและสัทธรรมทรง ประสงค์เอาในสิกขาบทนี้, ส่วนหญิงที่โง่เขลาเบาปัญญาแม้เป็นผู้ใหญ่ ก็ไม่ทรงประสงค์เอาในสิกขาบทนี้.

บทว่า โอภาเสยฺย ความว่า พึงพูดเคาะ คือ พูดพาดพิงอสัทธรรม มีประการต่างๆ. ก็เพราะชื่อว่า การพูดเคาะของภิกษุผู้พูดอย่างนี้ โดยความหมาย เป็นอัชฌาจาร คือ เป็นความประพฤติล่วงละเมิดเขต แดนแห่งความสำรวมด้วยอำนาจแห่งราคะ; เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า บทว่า โอภาเสยฺย คือ ที่เรียกว่า อัชฌาจาร.

คำว่า ตํ ในคำว่า ยถาตํ นี้ เป็นเพียงนิบาต. ความว่า เหมือน ชายหนุ่มพูดเคาะหญิงสาวฉะนั้น.

คำเป็นต้นว่า เทฺว มคฺเค อาทิสฺส ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส แล้ว เพื่อทรงแสดงอาการที่เป็นเหตุให้เป็นสังฆาทิเสส แก่ภิกษุผู้พูดเคาะ (หญิง).

[อธิบายบทภาชนีย์ สังฆาทิเสสที่ ๓]

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เทฺว มคฺเค ได้แก่ วัจจมรรคกับ

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 211

ปัสสาวมรรค. คำที่เหลือปรากฏแล้วแต่แรกในอุเทศนั่นแล. ก็ในอุเทศ คำว่า พูดชม คือ พูดว่า เธอเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยลักษณะของหญิง คือด้วยศุภลักษณะ, อาบัติยังไม่ถึงที่สุดก่อน. พูดว่า วัจจมรรคและ ปัสสาวมรรคของเธอเป็นเช่นนี้, เธอเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยลักษณะของ สตรี คือด้วยศุภลักษณะเช่นนี้ ด้วยเหตุเช่นนั้น, อาบัติย่อมถึงที่สุด คือ เป็นสังฆาทิเสส.

ก็สองบทว่า วณฺเณติ ปสํสติ นี้ เป็นไวพจน์ของบทว่า พูดชม.

บทว่า ขุํเสติ ความว่า ย่อมพูดกระทบกระเทียบด้วยประตัก คือ วาจา.

บทว่า วมฺเภติ แปลว่า พูดรุกราน.

บทว่า ครหติ แปลว่า ย่อมกล่าวโทษ.

แต่เมื่อยังไม่พูดเชื่อมต่อกับ ๑๑ บท มีบทว่า อนิมิตฺตาสิ เป็นต้น ซึ่งมาในบาลีข้างหน้า อาบัติยังไม่ถึงที่สุด, ถึงแม้เชื่อมแล้ว เมื่อพูดเชื่อม ด้วย ๓ บทเหล่านี้ว่า เธอเป็นคนมีเดือย, เธอเป็นคนผ่า, เธอเป็นคน ๒ เพศ ดังนี้เท่านั้น ในบรรดา ๑๑ บทเหล่านั้น จึงเป็นสังฆาทิเสส. แม้ ในการพูดขอว่า เธอจงให้แก่เรา อาบัติยังไม่ถึงที่สุด ด้วยคำพูดเพียง เท่านี้ ต่อเมื่อพูดเชื่อมด้วยเมถุนธรรมอย่างนี้ว่า เธอจงให้เมถุนธรรม เป็นสังฆาทิเสส. แม้ในคำพูดอ้อนวอนว่า เมื่อไรมารดาของเธอจักเลื่อมใส เป็นต้น อาบัติยังไม่ถึงที่สุด ด้วยคำพูดเพียงเท่านี้ แต่เมื่อพูดเชื่อมด้วย เมถุนธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า เมื่อไรมารดาของเธอจักเลื่อมใส, เมื่อไร เราจักได้เมถุนธรรมของเธอ หรือว่า เมื่อมารดาของเธอเลื่อมใสแล้ว เราจักได้เมถุนธรรม ดังนี้ เป็นสังฆาทิเสส. แม้ในคำถามเป็นต้นว่า เธอ

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 212

ให้แก่สามีอย่างไร? เมื่อพูดคำว่า เมถุนธรรม เท่านั้น จึงเป็นสังฆาทิเสส หาเป็นโดยประการอื่นไม่. แม้ในคำพูดสอบถามว่า ได้ยินว่า เธอให้แก่สามีอย่างนี้หรือ ก็มีนัยเหมือนกันนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในการบอกดังนี้:- สองบทว่า ปุฏฺโ ภณติ มี ความว่า ภิกษุถูกผู้หญิงถามว่า เมื่อให้อย่างไร จึงจะเป็นที่รักของสามี? แล้วบอก. ก็ในการบอกนั้น แม้เมื่อพูดว่า จงให้อย่างนี้ เมื่อให้อย่างนี้ อาบัติยังไม่ถึงที่สุด, แต่เมื่อเชื่อมด้วยเมถุนธรรมเท่านั้น โดยนัยเป็นต้น ว่า เธอจงให้ จงน้อมเข้าไป ซึ่งเมถุนธรรมอย่างนี้, เมื่อให้ เมื่อน้อม เข้าไปซึ่งเมถุนธรรมอย่างนี้ จะเป็นที่รัก เป็นสังฆาทิเสส. แม้ในการ กล่าวสอน ก็มีนัยเหมือนกันนี้.

วินิจฉัยอักโกสนิเทศ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า อนิมิตฺตาสิ แปลว่า เธอเป็นคนปราศจากนิมิต. มีอธิบาย ว่า ช่องปัสสาวะของเธอมีประมาณเท่ารูกุญแจเท่านั้น.

บทว่า นิมิตฺตมตฺตาสิ แปลว่า นิมิตสตรีของเธอ ไม่เต็มบริบูรณ์, มีอธิบายว่า สักแต่ว่าเป็นที่หมายรู้เท่านั้น.

บทว่า อโลหิตา แปลว่า มีช่องคลอดแห้ง.

บทว่า ธุวโลหิตา แปลว่า มีช่องคลอดที่เปียกชุ่มไปด้วยโลหิต เป็นนิตย์.

บทว่า ธุวโจลา แปลว่า มีผ้าลิ่มจุกอยู่เป็นนิตย์. มีอธิบายว่า เธอใช้ผ้าซับเสมอ.

บทว่า ปคฺฆรนฺติ แปลว่า ย่อมไหลออก. มีอธิบายว่า น้ำมูตร ของเธอไหลออกอยู่เสมอ.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 213

บทว่า สิขิรณี แปลว่า มีเนื้อเดือยยื่นออกมาข้างนอก. หญิงที่ไม่ มีนิมิตเลย ท่านเรียกว่า หญิงบัณเฑาะก์, หญิงที่มีหนวดและเครา รูปร่าง คล้ายผู้ชาย ท่านเรียกว่า หญิงคล้ายผู้ชาย.

บทว่า สมฺภนฺนา ความว่า มีช่องทวารหนัก และช่องทวารเบา ปนกัน.

บทว่า อุภโตพฺยญฺชนา ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยเพศทั้งสอง คือ เครื่องหมายเพศสตรี ๑ เครื่องหมายเพศบุรุษ ๑.

ก็บรรดา ๑๑ บทเหล่านั้น ๓ บทล้วนๆ นี้ คือ เธอมีเดือย, เธอ เป็นคนผ่า, เธอเป็นคนสองเพศ เท่านั้น ย่อมถึงที่สุด. ๓ บทนี้ และ ๓ บทก่อนๆ คือ บทว่าด้วยวัจจมรรคปัสสาวมรรค และเมถุนธรรม รวมเป็น ๖ บทล้วนๆ ทำให้เป็นอาบัติได้ ด้วยประการฉะนี้.

บทที่เหลือเป็นต้นว่า เธอเป็นคนไม่มีนิมิต ซึ่งเชื่อมในบทว่าไม่มี นิมิต ด้วยเมถุนธรรมไม่แล้วนั่นแล โดยนัยเป็นต้นว่า เธอจงให้เมถุนธรรม แก่เรา หรือว่า เธอเป็นคนไม่มีนิมิต จงให้เมถุนธรรมแก่เรา พึงทราบ ว่า เป็นบทก่อให้เป็นอาบัติได้.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงชนิดแห่งอาบัติโดยพิสดาร ด้วยสามารถแห่งอาการมีการพูดชมเป็นต้นเหล่านี้ พาดพิงถึงวัจจมรรค และปัสสาวมรรค ของภิกษุผู้กำหนัด มีจิตแปรปรวนพูดเคาะมาตุคาม จึงตรัสคำว่า อิตฺถี จ โหติ อิตฺถีสญฺี เป็นต้น เนื้อความแห่งบทเหล่านั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้ว ในกายสังสัคคะนั่นแล. ส่วนความ แปลกกัน ดังต่อไปนี้:-

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 214

บทว่า อธกฺขกํ คือ เบื้องต่ำตั้งแต่รากขวัญลงมา.

บทว่า อุพฺภชานุนณฑลํ คือ เบื้องบนตั้งแต่มณฑลเข่าขึ้นไป.

บทว่า อพฺภกฺขกํ คือ บนตั้งแต่รากขวัญขึ้นไป.

บทว่า อโธชานุมณฺฑลํ คือ ต่ำตั้งแต่มณฑลเข่าลงไป.

ก็รากขวัญ (ไหปลาร้า) และมณฑลเข่า สงเคราะห์เข้าในเขตแห่ง ทุกกฎ เฉพาะในสิกขาบทนี้ เหมือนในกายสังสัคคะของนางภิกษุณี แท้จริง พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงบัญญัติครุกาบัติ ให้มีส่วนเหลือหามิได้แล

บทว่า กายปฏิพทฺธํ ได้แก่ ผ้าบ้าง ดอกไม้บ้าง เครื่องประดับบ้าง.

[ว่าด้วยอนาปัตติวาร]

บทว่า อตฺถปุเรกฺขารสฺส ความว่า ผู้กล่าวอรรถแห่งบทเป็นต้นว่า อนิมิตฺตาสิ หรือผู้ทำการสาธยายอรรถกถา.

บทว่า ธมฺมปุเรกฺขารสฺส ความว่า ผู้บอก หรือสาธยายพระบาลี อยู่. เมื่อภิกษุมุ่งอรรถ มุ่งธรรม กล่าวอย่างนี้ ชื่อว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ ผู้มุ่งอรรถ และมุ่งธรรม.

บทว่า อนุสาสนีปุเรกฺขารสฺส ความว่า เมื่อภิกษุมุ่งสั่งสอนกล่าว อย่างนั้นว่า ถึงบัดนี้ เธอก็เป็นคนไม่มีนิมิต, เป็นคนสองเพศ เธอพึง ทำความไม่ประมาทเสีย แต่บัดนี้, เธออย่าเป็นเหมือนอย่างนี้ต่อไปเลย ชื่อว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ผู้มุ่งคำสอน. ส่วนภิกษุใด เมื่อบอกบาลีแก่พวก นางภิกษุณี ละทำนองพูดตามปกติเสีย หัวเราะเยาะพูดย้ำๆ อยู่ว่า เธอ เป็นคนมีเดือย, เป็นคนผ่า, เป็นคนสองเพศ, ภิกษุนั้น เป็นอาบัติแท้.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 215

ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุบ้า. พระอุทายีเถระเป็นต้นบัญญัติ ในสิกขาบทนี้ ไม่เป็นอาบัติแก่ท่านผู้เป็นต้นบัญญัติฉะนี้แล.

บทภาชนียวรรณา จบ บรรดาปกิณกะมีสมุฏฐานเป็นต้น สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ ย่อม เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็น กิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๒ ฉะนี้แล.

วินีตวัตถุในตติยสังฆาทิเสส

บรรดาวินีตวัตถุ พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องโลหิต ดังนี้:- ภิกษุนั้น กล่าวหมายถึงนิมิตที่มีโลหิตของหญิง, หญิงนอกนี้ไม่รู้; เพราะฉะนั้น จึงเป็นทุกกฏ.

บทว่า กกฺกสโลมํ แปลว่า มีขนมากด้วยขนสั้นๆ.

บทว่า อากิณฺณโลมํ แปลว่า มีขนรกรุงรัง.

บทว่า ขรโลมํ แปลว่า มีขนกระด้าง.

บทว่า ทีฆโลมํ แปลว่า มีเส้นขนไม่สั้น (ขนยาว). คำทั้งหมด ภิกษุเหล่านั้นกล่าวหมายถึงนิมิตของหญิงทั้งนั้น.

ภิกษุนั้นกล่าวหมายถึงอสัทธรรมว่า เธอหว่านนาแล้วหรือ? หญิง นั้นไม่เข้าใจ จึงกล่าวว่า (หว่านแล้ว) แต่ยังไม่ได้กลบเจ้าค่ะ!

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 216

พืชที่ชื่อว่ากลบแล้ว ได้แก่ พืชที่เขาให้ตั้งขึ้นใหม่ (ให้หว่านซ่อม) ในโอกาสที่พืชทั้งหลายตั้งไม่ติด (ไม่งอก) หรือในโอกาสที่มีพืชถูกพวกแมลงทำให้เสียหาย แล้วราดให้เสมอด้วยน้ำ ในนาหว่านมีน้ำ (และ) พืชที่เขาเกลี่ยให้เสมอด้วยคราดมีฟัน ๘ ซี่ซ้ำอีก เพื่อต้องการทำให้พืชทั้งหลาย ที่ตกลงไปไม่สม่ำเสมอกัน ให้สม่ำเสมอกันในนาหว่านที่ดอน. บรรดาพืชเหล่านั้น หญิงนี้กล่าวหมายเอาพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง.

ในเรื่องทาง คำว่า ทางของเธอราบรื่นดอกหรือ? ภิกษุนั้นกล่าว หมายถึงทางองคชาต. คำที่เหลือมีเนื้อความกระจ่างทั้งนั้นแล.

ทุฏฐุลลวาจาสิกขาบทวรรณนา ในอรรถกถาพระวินัย

ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ