พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๖

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 มี.ค. 2565
หมายเลข  42750
อ่าน  699

[เล่มที่ 3] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓

พระวินัยปิฏก เล่ม ๑ ภาค ๓

มหาวิภังค์ ปฐมภาค

สมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย

มหาวิภังค์วรรณนา ภาค ๒

เตรสกัณฑวรรณนา

สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๖

เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี 494/354

เรื่องฤาษีสองพี่น้อง 497/357

เรื่องนกฝูงใหญ่ 498/360

เรื่องรัฐบาลกุลบุตร 499/362

พระบัญญัติ 364

สิกขาบทวิภังค์ 501/364

บทภาชนีย์พ้นทื ี่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ 509/370

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖

กุฏิการสิกขาบทวรรณนา 401

วิญญัติกถาว่าด้วยการออกปากขอ 402

แก้อรรถศัพท์ในเรื่องมณีกัณฐนาคราช 407

แก้อรรถศัพท์ในเรื่องนกฝูงใหญ่เป็นต้น 409

แก้อรรถสิกขาบทวิภังค์ว่าด้วยการโบกฉาบกุฏิ 411

ว่าด้วยพ้นทื ี่ควรสร้างกุฏิและไม่ควรสร้าง 415

ว่าด้วยลักษณะการสร้างกุฏิ 417

แก้อรรถบทภาชนีย์ว่าด้วยจตุกกะทําให้เป็นอาบัติ 420

อนาปัตติวารวรรณนา 422


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 3]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 354

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖

เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี

    [๔๙๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายชาวรัฐอาฬวี สร้างกุฎีซึ่งมีเครื่องอุปกรณ์ อันตนขอเขามาเอง อันหาเจ้าของมิได้ เป็นส่วนเฉพาะตนเอง ใหญ่ไม่มีกำหนด กุฎีเหล่านั้นจึงไม่สำเร็จ เธอต้องมีการวิงวอน มีการขอเขาอยู่

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 355

ร่ำไปว่า ท่านทั้งหลายจงให้บุรุษ จงให้แรงบุรุษ จงให้โค จงให้เกวียน จงให้มีด จงให้ขวาน จงให้ผึ่ง จงให้จอบ จงให้สิ่ว จงให้เถาวัลย์ จงให้ไม้ไผ่ จงให้หญ้ามุงกระต่าย จงให้หญ้าปล้อง จงให้หญ้าสามัญ จงให้ดิน ดังนี้เป็นต้น ประชาชนที่ถูกเบียดเบียนด้วยการวิงวอน ด้วย การขอ พอเห็นภิกษุทั้งหลายแล้ว หวาดบ้าง สะดุ้งบ้าง หนีไปเสียบ้าง เดินเลียงไปเสียทางอื่นบ้าง เมินหน้าเสียบ้าง ปิดประตูเสียบ้าง แม้พบ แม่โคเข้าก็หนี สำคัญว่าพวกภิกษุ.

[๔๙๕] ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปจำพรรษาอยู่ในพระนครราชคฤห์ แล้วออกเดินทางมุ่งไปรัฐอาฬวี เที่ยวจาริกไปโดยลำดับถึงรัฐ อาฬวีแล้ว ทราบว่าท่านพักอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ในรัฐอาฬวีนั้น ครั้นเวลา เช้า ท่านพระมหากัสสปครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑ- บาตในรัฐอาฬวี ประชาชนเห็นท่านพระมหากัสสปแล้วหวาดบ้าง สะดุ้ง บ้าง หลบหนีไปบ้าง เดินเลี่ยงไปทางอื่นบ้าง เมินหน้าบ้าง ปิดประตู บ้านบ้าง ครั้นท่านพระมหากัสสปเที่ยวบิณฑบาตไปในรัฐอาฬวี เวลา หลังอาหารกลับจากบิณฑบาตแล้ว เรียกภิกษุทั้งหลายมาถามว่า ท่าน ทั้งหลาย เมื่อก่อนรัฐอาฬวีนี้มีอาหารบริบูรณ์ หาบิณฑบาตได้ง่าย ภิกษุ สงฆ์ครองชีพด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำได้ง่าย มาบัดนี้รัฐอาฬวี อัตคัดอาหาร หาบิณฑบาตได้ยาก ภิกษุสงฆ์จะครองชีพด้วยการถือบาตร แสวงหาก็ทำไม่ได้ง่าย อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้รฐัอาฬวีนี้เป็น ดังนี้ จึงภิกษุเหล่านั้นกราบเรียนเรื่องนั้นให้ท่านพระมหากัสสปทราบแล้ว.

[๔๙๖] คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ในพระนครราชคฤห์ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกโดยหนทางอันจะไปสู่รัฐอาฬวี

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 356

เมื่อเสด็จจาริกโดยลำดับ ได้เสด็จถึงรัฐอาฬวีแล้ว ทราบว่าพระองค์ ประทับอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ในรัฐอาฬวีนั้น จึงท่านพระมหากัสสปเข้าไปเฝ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุชาว รัฐอาฬวีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอให้สร้างกุฎี ซึ่งมี อุปกรณ์ที่ตนต้องขอเขามาเอง อันหาเจ้าของมิได้ เป็นส่วนเฉพาะ ตนเอง ใหญ่ไม่มีกำหนด กุฎีเหล่านั้นจงไม่สำเร็จ พวกเธอจึงต้อง มีการวิงวอน มีการขอเขาอยู่ร่ำไปว่า ท่านทั้งหลายจงให้บุรุษ จงให้ แรงบุรุษ จงให้โค จงให้เกวียน จงให้มีด จงให้ขวาน จงให้ผึ่ง จงให้จอบ จงให้สิ่ว จงให้เถาวัลย์ จงให้ไม้ไผ่ จงให้หญ้ามุงกระต่าย จงให้หญ้าปล้อง จงให้หญ้าสามัญ จงให้ดิน ดังนี้เป็นต้น ประชาชน ที่ถูกเบียดเบียนด้วยการวิงวอน ด้วยการขอ พอเห็นภิกษุทั้งหลายเข้า บ้างก็หวาด บ้างก็สะดุ้ง บ้างก็หลบหนีไป บ้างก็เลี่ยงไปทางอื่น บ้างก็เมินหน้า บ้างก็ปิดประตูบ้าน แม้พบแม่โคก็หลบหนี สำคัญว่า พวกภิกษุ ดังนี้ จริงหรือ.

ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 357

สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้ให้สร้างกุฎีซึ่งมีเครื่อง อุปกรณ์ที่ตนต้องขอเขามาเอง อันหาเจ้าของมิได้ เป็นส่วนเฉพาะตน ใหญ่ไม่มีกำหนดเล่า กุฎีเหล่านั้นจงไม่สำเร็จ พวกเธอจึงต้องมีการ วิงวอน มีการขอเขาอยู่ร่ำไปว่า ท่านทั้งหลายจงให้บุรุษ จงให้แรง บุรุษ จงให้โค จงให้เกวียน จงให้มีด จงให้ขวาน จงให้ผึ่ง จงให้ จอบ จงให้สิ่ว จงให้เถาวัลย์ จงให้ไม้ไผ่ จงให้หญ้ามุงกระต่าย จงให้หญ้าปล้อง จงให้หญ้าสามัญ จงให้ดิน ดั่งนี้เป็นต้น ดูก่อน โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่นเป็นไปเพื่อ ความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่าง อื่น ของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงติเตียนภิกษุชาวรัฐอาฬวีโดยอเนก ปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคน บำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุก คลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคน บำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียรโดยอเนก ปริยายแล้ว ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่าดังนี้:-

เรื่องฤาษีสองพี่น้อง

[๔๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ฤาษีสองพี่น้อง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 358

เข้าอาศัยแม่น้ำคงคาสำนักอยู่ ครั้งนั้น มณีกัณฐนาคราชขึ้นจากแม่น้ำ คงคาเข้าไปหาฤาษีผู้น้อง ครั้นแล้ววงด้วยขนาด ๗ รอบ แผ่พังพานใหญ่ อยู่บนศีรษะ เพราะความกลัวนาคราชนั้น ฤาษีผู้น้องได้ซูบผอม เศร้า หมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น ฤาษีผู้พี่ เห็นฤาษีผู้น้องซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น จึงได้ไต่ถามว่า เหตุไรเธอจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น

น. ท่านพี่ มณีกัณฐนาคราชขึ้นจากแม่น้ำคงคา เข้ามาหาข้าพเจ้า ณ สถานที่นี้ ครั้นแล้ววงข้าพเจ้าด้วยขนาด ๗ รอบ แผ่พังพานใหญ่บน ศีรษะ เพราะความกลัวนาคราชนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น

พ. ท่านต้องการไม่ให้นาคราชนั้นมาหรือ

น. ข้าพเจ้าต้องการไม่ให้นาคราชนั้นมา

พ. ท่านเห็นนาคราชนั้นมีอะไรบ้าง

น. เห็นมีแก้วมณีประดับอยู่ที่คอ

พ. ถ้าเช่นนั้น ท่านจงขอแก้วมณีกะนาคราชนั้นว่า ท่านจงให้ แก้วมณีแก่ข้าพเจ้าๆ ต้องการแก้วมณี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นมณีกัณฐนาคราชขึ้นจากแม่น้ำคงคาเข้า ไปหาฤๅษีผู้น้อง หยุดอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ฤาษีผู้น้องได้กล่าว ขอแก้วมณี กะมณีกัฐนาคราชว่า ขอท่านจงให้แก้วมณีแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าต้องการแก้วมณี จึงมณีกัณฐนาคราชรำพึงว่า ภิกษุขอแก้วมณี

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 359

ภิกษุต้องการแก้วมณี แล้วได้รีบกลับไป แม้ครั้งที่สอง มณีกัณฐนาคราช ขึ้นจากแม่น้ำคงคาเข้าไปหาฤาษีผู้น้องๆ เห็นมณีกัณฐนาคราชมาแต่ไกล ได้กล่าวขอแก้วมณี กะมณีกัณฐนาคราชว่า ขอท่านจงให้แก้วมณีแก่ ข้าพเจ้าๆ ต้องการแก้วมณี จึงมณีกัณฐนาคราชรำพึงว่า ภิกษุขอ แก้วมณี ภิกษุต้องการแก้วมณี แล้วได้กลับแต่ที่ไกลนั้นเทียว แม้ครั้ง ที่สาม มณีกัณฐนาคราชกำลังจะขึ้นจากแม่น้ำคงคา ฤๅษีผู้น้องได้เห็น มณีกัณฐนาคราชกำลังโผล่ขึ้นจากแม่น้ำคงคา ก็ได้กล่าวขอแก้วมณี กะมณีกัณฐนาคราชว่า ขอท่านจงให้แก้วมณีแก่ข้าพเจ้าๆ ต้องการแก้วมณี ขณะนั้นมณีกัณฐนาคราชได้กล่าวตอบฤาษีผู้น้องด้วยคาถา ความว่า ดังนี้:-

ข้าวน้ำ ที่ดียิ่ง มากหลาย บังเกิดแก่ข้าพเจ้า เพราะเหตุ แห่งแก้วมณีดวงนี้ ข้าพเจ้าจะให้แก้วนั้นแก่ท่านไม่ได้ ท่าน เป็นคนขอจัด ข้าพเจ้าจักไม่มาสู่อาศรมของท่านอีกแล้ว.

ท่านขอแก้วกะข้าพเจ้า ทำให้ข้าพเจ้าสะดุ้งกลัว ดังคน หนุ่มถือดาบซึ่งลับดีแล้วบนหินลับ ข้าพเจ้าจักไม่ให้แก้วนั้น แก่ท่านๆ เป็นคนขอจัด ข้าพเจ้าจักไม่มาสู่อาศรมของท่าน อีกแล้ว.

ครั้งนั้นมณีกัณฐนาคราชได้หลีกไป พลางรำพึงว่า ภิกษุขอแก้ว มณี ภิกษุต้องการแก้วมณี ได้หลีกไปอย่างนั้นแล้ว ไม่กลับมาอีก ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ต่อมาฤาษีผู้น้องได้ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็นยิ่งกว่าเก่า เพราะไม่ได้เห็นนาค-

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 360

ราชผู้น่าดูนั้น ฤาษีผู้พี่ได้เห็นฤาษีผู้น้องซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณ คล้ำ มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็นยิงกว่าเก่า จึงได้ถามดูว่า เพราะเหตุไรท่านจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลือง ขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็นยิ่งกว่าเก่า ฤาษีผู้น้องตอบว่า เพราะไม่ได้ เห็นนาคราชผู้น่าดูนั้น จึงฤาษีผู้พี่ได้กล่าวกะฤาษีผู้น้องด้วยคาถา ความว่า ดังนี้:-

บุคคลรู้ว่าสิ่งใดเป็นที่รักของเขา ไม่ควรขอสั่งนั้น อนึ่ง คนย่อมเป็นที่เกลียดชัง ก็เพราะขอจัด นาคที่ถูกพราหมณ์ ขอแก้วมณี จึงไม่มาให้พราหมณ์นั้นเห็นอีกเลย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การวิงวอน การขอ ไม่เป็นที่พอใจของ สัตว์ดิรัจฉานในเหล่านั้นแล้ว ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงหมู่มนุษย์เล่า.

เรื่องนกฝูงใหญ่

[๔๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ในไพรสณฑ์แห่งหนึ่งแถบภูเขาหิมพานต์ ณ สถานที่ไม่ห่างไพรสณฑ์นั้น มีหนองน้ำใหญ่ ครั้งนั้นนกฝูงใหญ่ กลางวันเที่ยวหาอาหารที่หนองน้ำนั้น เวลาเย็นเข้าอาศัยไพรสณฑ์นั้นสำนักอยู่ ภิกษุนั้นรำคาญเพราะเสียงนกฝูง นั้น จึงเข้าไปหาเรา ครั้นกราบไหว้เราแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เราได้ถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ยังพอทนอยู่หรือ ยังพอครองอยู่หรือ เธอเดินทางมาด้วยความลำบากน้อยหรือ ก็นี่เธอมาจากไหนเล่า

ภิกษุกราบทูลว่า ยังพอทนอยู่ ยังพอครองอยู่ พระพุทธเจ้าข้า

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 361

ข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาด้วยความลำบากเล็กน้อย พระพุทธเจ้าข้า มี ไพรสณฑ์ใหญ่อยู่แถบภูเขาหิมพานต์ ณ สถานที่ไม่ห่างไพรสณฑ์นั้นแล มีหนองน้ำใหญ่ ครั้นเวลากลางวัน นกฝูงใหญ่เที่ยวหาอาหารที่หนองน้ำ นั้น เวลาเย็นก็เข้าอาศัยไพรสณฑ์นั้นสำนักอยู่ ข้าพระพุทธเจ้าถูกเสียงนก ฝูงนั้นรบกวน จึงหนีมาจากไพรสณฑ์นั้น พระพุทธเจ้าข้า

ภ. ดูก่อนภิกษุ ก็เธอต้องการจะไม่ให้นกฝูงนั้นมาหรือ

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าต้องการไม่ให้นกฝูงนั้นมา พระพุทธเจ้าข้า

ภ. ดูก่อนภิกษุ ถ้าเช่นนั้นเธอจงกลับไปที่ไพรสณฑ์นั้น เข้าอาศัย ไพรสณฑ์นั้นแล้ว ในปฐมยามแห่งราตรี จงประกาศ ๓ ครั้ง ว่าดังนี้ แน่ะนกผู้เจริญทั้งหลาย นกทั้งหลายที่อาศัยในไพรสณฑ์นี้มีประมาณเท่าใด จงฟังเราๆ ต้องการขน นกทั้งหลายจงให้ขนแก่เรานกละหนึ่งขน ใน มัชฌิมยามแห่งราตรี ก็จงประกาศ ๓ ครั้ง ว่าดังนี้ แน่ะนกผู้เจริญทั้งหลาย นกทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในไพรสณฑ์นี้ มีประมาณเท่าใด จงฟังเราๆ ต้อง การขน นกทั้งหลายจงให้ขนแก่เรานกละหนึ่งขน ในปัจฉิมยามแห่งราตรี ก็จงประกาศ ๓ ครั้ง ว่าดังนี้ แน่ะนกเจริญทั้งหลาย นกทั้งหลายที่อาศัย อยู่ในไพรสณฑ์นี้ มีประมาณเท่าใด จงฟังเราๆ ต้องการขน นกทั้งหลาย จงให้ขนแก่เรานกละหนึ่งขน จึงภิกษุรูปนั้นกลับไปที่ไพรสณฑ์นั้น เข้า อาศัยไพรสณฑ์นั้นแล้ว ในปฐมยามแห่งราตรี ประกาศ ๓ ครั้ง ว่าดังนี้ แน่ะนกผู้เจริญทั้งหลาย ... ในมัชฌิมยามแห่งราตรี ประกาศ ๓ ครั้ง ว่า ดังนี้ แน่ะนกผู้เจริญทั้งหลาย ... ในปัจฉิมยามแห่งราตรี ประกาศ ๓ ครั้ง ว่าดังนี้ แน่ะนกผู้เจริญทั้งหลาย ... ครั้นนกฝูงนั้นทราบว่า ภิกษุขอขน

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 362

ภิกษุต้องการขน ดังนี้ ได้หลีกไปจากไพรสณฑ์นั้น ได้หลีกไปอย่างนั้น เที่ยว ไม่กลับมาอีก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าการวิงวอน การขอ จักไม่ได้เป็น ที่พึงใจของพวกสัตว์ดิรัจฉานเหล่านั้นแล ก็จะป่วยกล่าวไปไยเล่าถึง หมู่สัตว์ที่เกิดมาเป็นมนุษย์.

เรื่องรัฐบาลกุลบุตร

[๔๙๙] ดูก่อนภิกษุหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว บิดาของรัฐบาล กุลบุตร ได้กล่าวถามรัฐบาลกุลบุตรด้วยคาถา ความว่าดังนี้:-

แน่ะพ่อรัฐบาล เออก็คนเป็นอันมากที่พากันมาขอเรา เรา ไม่รู้จัก ไฉนเจ้าไม่ขอเรา.

รัฐบาลกุลบุตรได้กล่าวตอบบิดาด้วยคาถา ความว่าดังนี้:-

คนผู้ขอ ย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ถูกขอ ฝ่ายคนผู้ถูกขอ เมื่อไม่ให้ ก็ย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ขอ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า จงไม่ขอท่าน ขออย่าให้ข้าพเจ้าเป็นที่เกลียดชังของท่านเลย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รัฐบาลกุลบุตรนั้นยังได้กล่าวตอบอย่างนี้ กะบิดาของตนแล้ว ก็จะป่วยกล่าวไปไยเล่าถึงคนอื่นต่อคนอื่น.

[๕๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โภคสมบัติของคฤหัสถ์รวบรวมได้ ยาก แม้ได้มาแล้วก็ยังยากที่จะตามรักษา ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย เมื่อโภคสมบัติ นั้นอันพวกคฤหัสถ์รวบรวมได้ยาก แม้เขาได้มาแล้วก็ยัง ยากที่จะตามรักษาอย่างนี้ พวกเธอได้มีการวิงวอน มีการขอเขาบ่อย ครั้ง หลายคราวแล้วว่า ขอท่านทั้งหลายจงให้คน จงให้แรงงาน จง

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 363

ให้โค จงให้เกวียน จงให้มีด จงให้ขวาน จงให้ผึ่ง จงให้จอบ จงให้สิ่ว จงให้เถาวัลย์ จงให้ไม้ไผ่ จงให้หญ้ามุงกระต่าย จงให้ หญ้าปล้อง จงให้หญ้าสามัญ จงให้ดิน ดังนี้เป็นต้น การกระทำของ พวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การ กระทำของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุชาวรัฐอาฬวีโดยอเนกปริ- ยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุง ยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคน บำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนก ปริยาย แล้วทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ ยาก ๑ เพื่อยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะเกิดในปัจจุบัน เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมรส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 364

ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม เพื่อ ถือตามพระวินัย ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนั้น ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๐. ๖. อนึ่ง ภิกษุผู้จะสร้างกุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะ ตนเอง ด้วยอาการขอเอาเอง พึงสร้างให้ได้ประมาณ ประมาณในการ สร้างกุฎีนั้นดังนี้ โดยยาว ๑๒ คืบ โดยกว้างในร่วมใน ๗ คืบ ด้วย คืบสุคต พึงนำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่ ภิกษุเหล่านั้นพึงแสดง ที่อันไม่มีผู้จองไว้ อันมีชานรอบ หากภิกษุสร้างกุฎีด้วยอาการขอเอา เอง ในที่อันมีผู้จองไว้ อันหาชานรอบมิได้ หรือไม่นำภิกษุทั้งหลาย ไปเพื่อแสดงที่ หรือสร้างให้ล่วงประมาณ เป็นสังฆาทิเสส.

เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๐๑] ที่ชื่อว่า อาการขอเอาเอง คือ ขอเองซึ่งคนก็ดี แรง งานก็ดี โคก็ดี เกวียนก็ดี มีดก็ดี ขวานก็ดี ผึ่งก็ดี จอบก็ดี สิ่วก็ดี เถาวัลย์ก็ดี ไม้ไผ่ก็ดี หญ้ามุงกระต่ายก็ดี หญ้าปล้องดี หญ้าสามัญก็ดี ดินก็ดี.

ที่ชื่อว่า กุฎี ได้แก่ ที่อยู่ซึ่งโบกฉาบปูนไว้เฉพาะภายในก็ตาม ซึ่ง โบกฉาบปูนไว้เฉพาะภายนอกก็ตาม ซึ่งโบกฉาบปูนไว้ทั้งภายในทั้งภาย นอกก็ตาม.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 365

บทว่า สร้าง คือ ทำเองก็ตาม ใช้ให้เขาทำก็ตาม.

บทว่า อันหาเจ้าของมิได้ คือ ไม่มีใครๆ อื่น ที่เป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม เป็นเจ้าของ.

บทว่า เฉพาะตนเอง คือ เพื่อประโยชน์ส่วนตัว.

คำว่า พึงสร้างให้ได้ประมาณ ประมาณในการสร้างกุฎีนั้นดังนี้ โดยยาว ๑๒ คืบ ด้วยคืบสุคต นั้น คือ วัดนอกฝาผนัง.

คำว่า โดยสร้างในร่วมใน ๗ คืบ นั้น คือ วัดร่วมในฝาผนัง.

[๕๐๒] คำว่า พึงนำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่ นั้น มีพระพุทธาธิบาย ไว้ว่าดังนี้ ภิกษุผู้จะสร้างกุฎีนั้น พึงให้แผ้วถางฟื้นที่ที่จะสร้าง กุฎีนั้นเสียก่อน แล้วเข้าไปหาสงฆ์ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุทั้งหลายผู้แก่พรรษากว่า แล้วนั่งกระโหย่งประณมมือกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าใคร่จะสร้างกุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเอง ด้วย อาการขอเอาเอง ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอสงฆ์ให้ตรวจดูฟื้นที่ที่จะสร้าง กุฎี พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม ถ้าสงฆ์ทั้งหมดจะอุตสาหะ ไปตรวจดูฟื้นที่ที่จะสร้างกุฎีได้ ก็พึงไปตรวจดูด้วยกันทั้งหมด ถ้าไม่ อุตสาหะ ในหมู่สงฆ์นั้น ภิกษุเหล่าใดฉลาดสามารถจะรู้ได้ว่า เป็นสถาน มีผู้จองไว้หรือไม่ เป็นสถานมีชานเดินได้รอบหรือไม่ สงฆ์พึงขอสมมติ ภิกษุเหล่านั้นไปแทนสงฆ์

วิธีสมมติ

ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนั้น คือ ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 366

กรรมวาจาขอสมมติให้ภิกษุตรวจดูพื้นที่

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นผู้ใคร่จะ สร้างกุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเอง ด้วยอาการขอเอาเอง เธอขอ สงฆ์ให้ตรวจดูฟื้นที่ที่จะสร้างกุฎี ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุทั้งหลายมีชื่อนี้และมีชื่อนี้ เพื่อตรวจดูฟื้นที่ที่จะสร้างกุฎี ของภิกษุมีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมี ชื่อนี้ผู้นี้ เป็นผู้ใคร่จะสร้างกุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเอง ด้วย อาการขอเอาเอง เธอขอสงฆ์ให้ตรวจดูฟื้นที่ที่จะสร้างกุฎี สงฆ์สมมติ ภิกษุทั้งหลายมีชื่อนี้และมีชื่อนี้ เพื่อตรวจดูฟื้นที่ที่จะสร้างกุฎีของภิกษุมี ชื่อนี้ การสมมติภิกษุทั้งหลายมีชื่อนี้และมีชื่อนี้ เพื่อตรวจดูฟื้นที่ที่จะ สร้างกุฎีของภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ภิกษุทั้งหลายมีชื่อนี้และมีชื่อนี้ อัน สงฆ์สมมติแล้ว เพื่อตรวจดูฟื้นที่ที่จะสร้างกุฎีของภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

วิธีแสดงพื้นที่

[๕๐๓] ภิกษุทั้งหลายผู้อันสงฆ์สมมติแล้วเหล่านั้น พึงไป ณ ที่นั้น ตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี พึงทราบว่าเป็นสถานมีผู้จองไว้ หรือเป็นสถาน ไม่มีผู้จองไว้ เป็นสถานมีชานเดินได้รอบ หรือเป็นสถานไม่มีชานเดินได้ รอบ ถ้าเป็นสถานมีผู้จองไว้ ทั้งไม่มีชานเดินได้รอบ พึงบอกว่า อย่า สร้างลงในที่นี้ ถ้าเป็นสถานไม่มีผู้จองไว้ทั้งมีชานเดินได้รอบ พึงแจ้ง แก่สงฆ์ว่า เป็นสถานไม่มีผู้จองไว้ทั้งมีชานเดินได้รอบ ภิกษุผู้จะสร้างกุฎี นั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 367

ผู้แก่พรรษากว่า แล้วนั่งกระโหย่งประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าใคร่จะสร้างกุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเอง ด้วยอาการขอ เอาเอง ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอสงฆ์ให้แสดงพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี พึง ขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

กรรมวาจาขอสงฆ์ให้แสดงพื้นที่

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ใคร่จะสร้างกุฎี อันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเอง ด้วยอาการขอเอาเอง เธอขอสงฆ์ให้ แสดงพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง แสดงพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีแก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์ จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ใคร่จะสร้างกุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะ ตนเอง ด้วยอาการขอเอาเอง เธอขอสงฆ์ให้แสดงพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี สงฆ์แสดงพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การแสดงะพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี ของภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด พื้นที่ที่จะสร้างกุฎีของภิกษุมีชื่อนี้ อันสงฆ์ แสดงแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

[๕๐๔] ที่ชื่อว่า อันมีผู้จอง คือ เป็นที่อาศัยของมด เป็นที่ อาศัยของปลวก เป็นที่อาศัยของหนู เป็นที่อาศัยของงู เป็นที่อาศัยของ แมลงป่อง เป็นที่อาศัยของตะขาบ เป็นที่อาศัยของช้าง เป็นที่อาศัยของ ม้า เป็นที่อาศัยของราชสีห์ เป็นที่อาศัยของเสือโคร่ง เป็นที่อาศัยของ เสือเหลือง เป็นที่อาศัยของหมี เป็นที่อาศัยของสุนัขป่า เป็นที่อาศัย


(๑) สุนัขป่าในทะเลทราย, เสือดาวก็ว่า.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 368

ของสัตว์ดิรัจฉานบางเหล่า เป็นสถานใกล้ที่นา เป็นสถานใกล้ตะแลงแกง เป็นสถานใกล้ที่ทรมานนักโทษ เป็นสถานใกล้สุสาน เป็นสถานใกล้ที่ สวน เป็นสถานใกล้ที่หลวง เป็นสถานใกล้โรงช้าง เป็นสถานใกล้โรง ม้า เป็นสถานใกล้เรือนจำ เป็นสถานใกล้โรงสุรา เป็นสถานใกล้ที่สุนัข อาศัย เป็นสถานใกล้ถนน เป็นสถานใกล้หนทางสี่แยก เป็นสถานใกล้ที่ ชุมนุมชน หรือเป็นสถานใกล้ทางที่เดินไปมา นี่ชื่อว่าสถานอันมีผู้จองไว้.

[๕๐๕] ที่ชื่อว่า อันหาชานรอบมิได้ คือ เกวียนที่เขาเทียมวัวแล้ว ตามปกติ ไม่สามารถจะเวียนได้ บันไดหรือพะองไม่สามารถจะทอดเวียน ไปได้ โดยรอบ นี่ชื่อว่า สถานอันหาชานรอบมิได้.

[๕๐๖] ที่ชื่อว่า อันไม่มีผู้จองไว้ คือ ไม่เป็นที่อาศัยของมด ไม่ เป็นที่อาศัยของปลวก ไม่เป็นที่อาศัยของหนู ไม่เป็นที่อาศัยของงู ไม่ เป็นที่อาศัยของแมลงป่อง ไม่เป็นที่อาศัยของตะขาบ ไม่เป็นที่อาศัยของ ช้าง ไม่เป็นที่อาศัยของม้า ไม่เป็นที่อาศัยของราชสีห์ ไม่เป็นที่อาศัยของ เสือโคร่ง ไม่เป็นที่อาศัยของเสือเหลือง ไม่เป็นที่อาศัยของหมี ไม่เป็นที่อาศัย ของสุนัขป่า ไม่เป็นที่อาศัยของสัตว์ดิรัจฉานบางเหล่า ไม่เป็นสถานใกล้ ที่นา ไม่เป็นสถานใกล้ที่ไร่ ไม่เป็นสถานใกล้ตะแลงแกง ไม่เป็นสถาน ใกล้ที่ทรมานนักโทษ ไม่เป็นสถานใกล้สุสาน ไม่เป็นสถานใกล้ที่สวน ไม่ เป็นสถานใกล้ที่หลวง ไม่เป็นสถานใกล้โรงช้าง ไม่เป็นสถานใกล้โรงม้า ไม่เป็นสถานใกล้เรือนจำ ไม่เป็นสถานใกล้โรงสุรา ไม่เป็นสถานใกล้ที่ สุนัขอาศัย ไม่เป็นสถานใกล้ถนน ไม่เป็นสถานใกล้หนทางสี่แยก ไม่เป็น สถานใกล้ที่ชุมนุมชน หรือไม่เป็นสถานใกล้ทางที่เดินไปมา นี่ชื่อว่า สถานอันไม่มีผู้จองไว้.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 369

[๕๐๗] ที่ชื่อว่า อันมีชานรอบ คือ เกวียนที่เขาเทียมวัวแล้ว ตามปกติสามารถจะเวียนไปได้ บันไดหรือพะองก็สามารถจะทอดเกวียนไป ได้โดยรอบ นี่ชื่อว่า สถานอันมีชานรอบ.

[๕๐๘] ที่ชื่อว่า อาการขอเอาเอง อธิบายว่า ขอเอง ซึ่งคนก็ดี แรงงานก็ดี โคก็ดี เกวียนก็ดี มีดก็ดี ขวานก็ดี ผึ่งก็ดี จอบก็ดี สิ่ว ก็ดี เป็นต้น

ที่ชื่อว่า กุฎี ได้แก่ ที่อยู่ซึ่งโบกฉาบปูนไว้เฉพาะภายในก็ตาม ซึ่ง โบกฉาบปูนไว้เฉพาะภายนอกก็ตาม ซึ่งโบกฉาบปูนไว้ทั้งภายในทั้งภาย นอกก็ตาม.

บทว่า สร้าง คือ ทำเองก็ตาม ใช้ให้เขาทำก็ตาม.

สองพากย์ว่า หรือไม่นำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่ หรือสร้าง ให้ล่วงประมาณ เป็นสังฆาทิเสส ความว่า ไม่ขอให้สงฆ์แสดงสถานที่ สร้างกฎีด้วยญัตติทุติกรรมวาจาก็ตาม สร้างเองหรือใช้ให้เขาสร้างให้เกิน กำหนด แม้เพียงเส้นผมเดียว โดยส่วนยาวหรือโดยส่วนกว้างก็ตาม ต้อง อาบัติทุกกฏทุกประโยคที่ทำ ยังอิฐอีกก้อนหนึ่งจะเสร็จต้องอาบัติถุลลัจจัย ก้อนที่สุดเสร็จ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล แม้ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 370

บทภาชนีย์

พื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้

[๕๐๙] ภิกษุผู้สร้างกุฏี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้เแสดงให้ มีผู้จอง ไว้ ไม่มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

ภิกษุสร้างกุฎี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ มีผู้จองไว้ มีชาน รอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

ภิกษุสร้างกุฎี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้เแสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มี ชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

ภิกษุสร้างกุฎี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้เแสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ มี ชานรอบ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

พื้นที่อันสงฆ์แสดงให้

ภิกษุสร้างกุฎี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ มีผู้จองไว้ ไม่มีชาน รอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

ภิกษุสร้างกุฎี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ มีผู้จองไวั มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสร้างกุฎี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชาน รอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสร้างกุฎี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ มีชาน รอบ ไม่ต้องอาบัติ.

สร้างเกินประมาณ

[๕๑๐] ภิกษุสร้างกุฎี เกินประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 371

ภิกษุสร้างกุฎี เกินประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ต้องอาบัติ ทุกกฏ ๑ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

ภิกษุสร้างกุฎี เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้อง อาบัติทุกกฏ ๑ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

ภิกษุสร้างกุฎี เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ๑ ตัว

สร้างเท่าประมาณ

ภิกษุสร้างกุฎี เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้องอาบัติ ทุกกฏ ๒ ตัว

ภิกษุสร้างกุฎี เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ต้องอาบัติ ทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสร้างกุฎี เท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้อง อาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสร้างกุฎี เท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ไม่ต้อง อาบัติ.

พื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ

[๕๑๑] ภิกษุสร้างกุฎี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัติ สังฆาทิเสส ๒ ตัว

ภิกษุสร้างกุฎี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ มีผู้ จองไว้ มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 372

ภิกษุสร้างกุฎี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ ไม่มี ผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว

ภิกษุสร้างกุฎี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ ไม่มี ผู้จองไว้ มีชานรอบ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว.

พื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ

[๕๑๒] ภิกษุสร้างกุฏี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ มี ผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

ภิกษุสร้างกุฎี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสร้างกุฏี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ ไม่มีผู้ จองไว้ ไม่มีชาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสร้างกุฏี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ ไม่มีผู้ จองไว้ มีชานรอบ ไม่ต้องอาบัติ.

สั่งสร้างกุฎี มีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้

[๕๑๓] ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า ผู้รับคำสั่ง สร้างกุฎให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ มีผู้จองไว้ ไม่มีชาน รอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเส ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้ แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ต้อง อาบัติทุกกฏ ๑ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 373

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้ แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฎ ๑ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้ แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

สั่งสร้างกุฎี มีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้ แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้ แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้ แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้อง อาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้ แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ไม่ต้อง อาบัติ

สั่งสร้างกุฎี เขาสร้างเกินประมาณ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 374

แก่เธอ เกินประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้ แก่เธอ เกินประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว กับ อาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้ แก่เธอ เกินประมาณ ไม่มีผู้จอง ไม่มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้ แก่เธอ เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

สั่งสร้างกุฎี เขาสร้างเท่าประมาณ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้ แก่เธอ เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้ แก่เธอ เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้ แก่เธอ เท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้ แก่เธอ เท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ไม่ต้องอาบัติ

สั่งสร้างกุฎีมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 375

แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มี ชานรอบ ต้องอาบัติททุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้ แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ มีผู้จองไว้ มี ชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว กับ อาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้ แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่ มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้ เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชาน รอบ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว

สั่งสร้างกุฏีมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้ แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มีชาน รอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้ แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้ แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มี ชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 376

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้ แก่เธอ ซึ่งมีฟื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชาน รอบ ไม่ต้องอาบัติ.

หลีกไป ไม่ได้สั่ง พื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้

[๕๑๔] ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไป เสีย แต่ไม่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ อย่าให้มีผู้จอง ไว้ และจงให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีฟื้นที่อัน สงฆ์มิได้แสดงให้ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ไม่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ อย่าให้มีผู้จองไว้ และ จงให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีฟื้นที่อันสงฆ์ มิได้แสดงให้ มีผู้จองไว้ ชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว กับอาบัติ สังฆาทิเสส ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ไม่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ อย่าให้มีผู้จองไว้ และ จงให้มีชานรอบด้วย ผู้รับสั่งสร้างกุฎีให้แต่เธอ ซึ่งมีฟืนที่อันสงฆ์มิได้ แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ตัว กับ อาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ไม่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ อย่าให้มีผู้จองไว้ และ

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 377

จงให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีฟื้นที่อันสงฆ์มิได้ แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

หลีกไป ไม่ได้สั่ง สงฆ์แสดงที่ให้

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ไม่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ อย่าให้มีผู้จองไว้ และ จงให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์ แสดงให้ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ไม่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ อย่าให้มีผู้จองไว้ และ จงให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีฟืนที่อันสงฆ์ แสดงให้ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ไม่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ อย่าให้มีผู้จองไว้ และ จงให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์ แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ไม่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ อย่าให้มีผู้จองไว้ และ จงให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีฟื้นที่อันสงฆ์ แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ไม่ต้องอาบัติ

หลีกไป ไม่ได้สั่ง เขาสร้างเกินประมาณ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 378

ไม่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นจงให้ได้ประมาณ อย่าให้มีผู้จองไว้ และจงให้มี ชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เกินประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่ มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ไม่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นจงให้ได้ประมาณ อย่าให้มีผู้จองไว้ และจงให้มี ชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เกินประมาณ มีผู้จองไว้ มี ชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ไม่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นจงให้ได้ประมาณ อย่าให้มีผู้จองไว้ และจงให้มี ชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ไม่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นจงให้ได้ประมาณ อย่าให้มีผู้จองไว้ และจงให้มี ชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

หลีกไป ไม่ได้สั่ง เขาสร้างเท่าประมาณ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ไม่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นจงให้ได้ประมาณ อย่าให้มีผู้จองไว้ และจงให้มี ชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มี ชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฎ ๒ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ไม่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นจงให้ได้ประมาณ อย่าให้มีผู้จองไว้ และจงให้มี

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 379

ชานรอบด้วย ผู้รับสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ มีชาน รอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ไม่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นจงให้ได้ประมาณ อย่าให้มีผู้จองไว้ และจงให้มี ชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ไม่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นจงให้ได้ประมาณ อย่าให้มีผู้จองไว้ และจงให้มี ชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ไม่ต้องอาบัติ

หลีกไป ไม่ได้สั่ง พื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ไม่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ จงให้ได้ประมาณ อย่าให้มีผู้จองไว้ และจงให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ไม่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ จงให้ได้ประมาณ อย่าให้มีผู้จองไว้ และจงให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 380

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ไม่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ จงให้ได้ประมาณ อย่าให้มีผู้จองไว้ และจงให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชาน รอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ไม่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ จงให้ได้ประมาณ อย่าให้มีผู้จองไว้ และจงให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว

หลีกไป ไม่ได้สั่ง พื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ไม่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ จงให้ได้ประมาณ อย่าให้มีผู้จองไว้ และจงให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ไม่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ จงให้ได้ประมาณ อย่า ให้มีผู้จองไว้ และจงให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่ง มีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ต้อง อาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 381

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ไม่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ จงให้ได้ประมาณ อย่า ให้มีผู้จองไว้ และจงมีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมี พื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้อง อาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ไม่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ จงให้ได้ประมาณ อย่า ให้มีผู้จองไว้ และจงให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่ง มีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ไม่ต้อง อาบัติ.

สร้างผิดคำสั่ง พื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้

[๕๑๕] ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไป เสีย แต่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ อย่าให้มีผู้จองไว้ และให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์ มิได้แสดงให้ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า เขาสร้าง กุฎีให้แก่เรา ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุนั้นพึงไปเอง หรือพึงส่งทูตไปบอกว่า ต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ อย่าให้มีผู้จองไว้ และให้มีชานรอบด้วย ถ้าไม่ไปเอง หรือไม่ส่งทูตไป บอก ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ไม่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ อย่าให้มีผู้จองไว้ และ

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 382

ให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้ แสดงให้ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า เขาสร้างกุฎีให้ แก่เรา ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุนั้น พึงไปเอง หรือพึงส่งทูตไปบอกว่า ต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ และ อย่าให้มีผู้จองไว้ด้วย ถ้าไม่ไปเอง หรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ อย่าให้มีผู้จองไว้ และ ให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้ แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า เขาสร้าง กุฎีให้แก่เรา ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุนั้นพึงไปเอง หรือพึงส่งทูตไปบอกว่า ต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ และมีชานรอบด้วย ถ้าไม่ไปเอง หรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ อย่าให้มีผู้จองไว้ และ ให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้ แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า เขาสร้างกุฎี ให้แก่เรา ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุนั้นพึงไปเอง หรือพึงส่งทูตไปบอกว่า ต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ถ้าไม่ไปเอง หรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ

สร้างผิดคำสั่ง พื้นที่อันสงฆ์แสดงให้

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ อย่าให้มีผู้จองไว้ และ

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 383

ให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดง ให้ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า เขาสร้างกุฎีให้แก่ เรา ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุนั้นพึง ไปเอง หรือพึงส่งทูตไปบอกว่า ต้องไม่มีผู้จองไว้ และให้มีชานรอบด้วย ถ้าไม่ไปเอง หรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ อย่าให้มีผู้จองไว้ และให้มี ชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า เขาสร้างกุฎีให้แก่เรา ซึ่ง มีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุนั้นพึงไปเอง หรือ พึงส่งทูตไปบอกว่า ต้องไม่มีผู้จองไว้ ถ้าไม่ไปเอง หรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ อย่าให้มีผู้จองไว้ และ ให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดง ให้ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า เขาสร้างกุฎีให้ แก่เรา ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุ นั้นพึงไปเอง หรือพึงส่งทูตไปบอกว่า ต้องมีชานรอบด้วย ถ้าไม่ไปเอง หรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ อย่าให้มีผู้จองไว้ และ

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 384

ให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดง ให้ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ไม่ต้องอาบัติ.

สั่งเท่าประมาณ เขาสร้างเกินประมาณ

[๕๑๖] ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไป เสีย แต่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องเท่าประมาณ อย่าให้มีผู้จองไว้ และให้ มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เกินประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า เขาสร้างกุฎีให้แก่เรา เกินประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุนั้นพึงไปเอง หรือพึงส่งทูตไปบอกว่า ต้องเท่าประมาณ อย่าให้มีผู้จองไว้ และให้มีชานรอบด้วย ถ้าไม่ไปเอง หรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องเท่าประมาณ อย่าให้มีผู้จองไว้ และให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เกินประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุ นั้นทราบข่าวว่า เขาสร้างกุฎีให้แก่เรา เกินประมาณ มีผู้จองไว้ มีชาน รอบ ภิกษุนั้นพึงไปเอง หรือพึงส่งทูตไปบอกว่า ต้องเท่าประมาณ และ อย่าให้มีผู้จองไว้ด้วย ถ้าไม่ไปเอง หรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องเท่าประมาณ อย่าให้มีผู้จองไว้ และให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอน ภิกษุนั้นทราบข่าว เขาสร้างกุฎีให้แก่เรา เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุนั้นพึงไปเอง หรือพึงส่งทูตไปบอกว่า ต้องเท่า

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 385

ประมาณ และให้มีชานรอบด้วย ถ้าไม่ไปเอง หรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องเท่าประมาณ อย่าให้มีผู้จองไว้ และให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า เขาสร้างกุฎีให้แก่เรา เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุนั้นพึงไปเอง หรือพึงส่งทูตไปบอกว่า ต้องเท่าประมาณ ถ้าไม่ไปเอง หรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ

สั่งเท่าประมาณ เขาสร้างเท่าประมาณ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องเท่าประมาณ อย่าให้มีผู้จองไว้ และให้มีชานรอบ ด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า เขาสร้างกุฎีให้แก่เรา เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุนั้นพึงไปเอง หรือพึงส่งทูตไปบอกว่า ต้องไม่มีผู้ จองไว้ และให้มีชานรอบด้วย ถ้าไม่ไปเอง หรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้อง อาบัติทุกกฏ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องเท่าประมาณ อย่าให้มีผู้จองไว้ และให้มีชานรอบ ด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า เขาสร้างกุฎีให้แก่เรา เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุนั้นพึงไปเอง หรือพึงส่งทูตไปบอกว่า ต้องไม่มีผู้จองไว้ ถ้าไม่ไปเอง หรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 386

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องเท่าประมาณ อย่าให้มีผู้จองไว้ และให้มีชานรอบ ด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฏีให้แก่เธอ เท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชาน รอบ ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า เขาสร้างกุฎีให้แก่เรา เท่าประมาณ ไม่มี ผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุนั้นพึงไปเอง หรือพึงส่งทูตไปบอกว่า ต้องมี ชานรอบ ถ้าไม่ไปเอง หรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฏีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฏีนั้นต้องเท่าประมาณ อย่าให้จองไว้ และให้มีชานรอบ ด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชาน รอบ ไม่ต้องอาบัติ

สั่ง พื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ เขาไม่สร้างตามสั่ง

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องเท่าประมาณ ต้อง ไม่มีผู้จองไว้ และให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมี พื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า เขาสร้างกุฎีให้แก่เรา ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดง ให้ เกินประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุนั้นพึงไปเอง หรือ พึงส่งทูตไปบอกว่า ต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องเท่าประมาณ ต้อง ไม่มีผู้จองไว้ และให้มีชานรอบด้วย ถ้าไม่ไปเอง หรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องเท่าประมาณ ต้อง

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 387

ไม่มีผู้จองไว้ และให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมี พื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุ นั้นทราบข่าวว่า เขาสร้างกุฎีให้แก่เรา ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุนั้นพึงไปเอง หรือพึงส่งทูต ไปบอกว่า ต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องเท่าประมาณ และต้องไม่มี ผู้จองไว้ด้วย ถ้าไม่ไปเอง หรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องเท่าประมาณ ไม่มีผู้ จองไว้ และให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่ อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุ นั้นทราบข่าวว่า เขาสร้างกุฎีให้แก่เรา ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุนั้นพึงไปเอง หรือพึง ส่งทูตไปบอกว่า ต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องเท่าประมาณ และให้ มีชานรอบด้วย ถ้าไม่ไปเอง หรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกัน สร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องเท่าประมาณ ต้องไม่มี ผู้จองไว้และให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่ อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุนั้น ทราบข่าวว่า เขาสร้างกุฎีให้แก่เรา ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกิน ประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุนั้นพึงไปเอง หรือพึงส่งทูตไป บอกว่า ต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้และต้องเท่าประมาณด้วย ถ้าไม่ไปเอง หรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 388

สั่ง พื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ เขาสร้างตามสั่ง

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องเท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้และให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้น ที่อันสงฆ์แสดงให้เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุนั้นทราบ ข่าวว่า เขาสร้างกุฎีให้แก่เรา ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุนั้นพึงไปเอง หรือพึงส่งทูตไปบอกว่า ต้องไม่มีผู้จองไว้ และให้มีชานรอบด้วย ถ้าไม่ไปเอง หรือไม่ส่งทูตไป บอก ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องเท่าประมาณ ต้อง ไม่มีผู้จองไว้และให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่ อันสงฆ์แสดงให้เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุนั้น ทราบข่าวว่า เขาสร้างกุฎีให้แก่เรา ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุนั้นพึงไปเอง หรือพึงส่งทูตไปบอกว่า ต้องไม่มีผู้จองไว้ ถ้าไม่ไปเอง หรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกัน สร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องเท่าประมาณ ต้องไม่มีผู้จองไว้ และให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า เขาสร้างกุฎีให้แก่เรา ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุนั้นพึงไปเอง หรือ

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 389

พึงส่งทูตไปบอกว่า ต้องมีชานรอบ ถ้าไม่ไปเอง หรือไม่ส่งทูตไปบอก ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องเท่าประมาณ ต้องไม่มีผู้จองไว้ และให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ไม่ต้องอาบัติ.

ทำผิดคำสั่ง พื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้

[๕๑๗] ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไป เสีย แต่ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องไม่มีผู้จองไว้ และให้มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์ มิได้แสดงให้ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุผู้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ ๓ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎี ให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องไม่มีผู้จองไว้ และมีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้ แสดงให้ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุผู้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องไม่มีผู้จองไว้ และมีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้ แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุผู้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 390

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องไม่มีผู้จองไว้ และมีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้ แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุผู้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว.

ทำผิดคำสั่ง พื้นที่อันสงฆ์แสดงให้

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องไม่มีผู้จองไว้ และมีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดง ให้ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุผู้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องไม่มีผู้จองไว้ และมีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์ แสดงให้ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุผู้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องไม่มีผู้จองไว้ และมีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์ แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุผู้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องไม่มีผู้จองไว้ และ มีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ไม่ต้องอาบัติ.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 391

ทำผิดคำสั่ง เกินประมาณ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องเท่าประมาณ ต้องไม่มีผู้จองไว้ และต้องมีชาน รอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เกินประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มี ชานรอบ ภิกษุผู้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ ๓ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องเท่าประมาณ ต้องไม่มีผู้จองไว้ และมีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เกินประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุ ผู้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้น ต้องเท่าประมาณ ต้องไม่มีผู้จองไว้ และมีชาน รอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุผู้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องเท่าประมาณ ต้องไม่มีผู้จองไว้ และมีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุผู้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว.

ทำผิดคำสั่ง เท่าประมาณ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องเท่าประมาณ ต้องไม่มีผู้จองไว้ และมีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุผู้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 392

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องเท่าประมาณ ต้องไม่มีผู้จองไว้ และมีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุ ผู้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องเท่าประมาณ ต้องไม่มีผู้จองไว้ และมีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุผู้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องเท่าประมาณ ต้องไม่มีผู้จองไว้ และมีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ไม่ต้องอาบัติ.

ทำผิดคำสั่ง พื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องเท่าประมาณ ต้อง ไม่มีผู้จองไว้ และมีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้น ที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุผู้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ ๔ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องเท่าประมาณ ต้อง ไม่มีผู้จองไว้ และมีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้น

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 393

ที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุผู้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ ๓ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องเท่าประมาณ ต้อง ไม่มีผู้จองไว้ และมีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้น ที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุ ผู้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ ๓ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องเท่าประมาณ ต้อง ไม่มีผู้จองไว้ และมีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้น ที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุผู้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว.

ทำผิดคำสั่ง ฟื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องเท่าประมาณ ต้อง ไม่มีผู้จองไว้ และมีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้น ที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุผู้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องเท่าประมาณ ต้อง ไม่มีผู้จองไว้ และมีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้น

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 394

ที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ภิกษุผู้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องเท่าประมาณ ต้อง ไม่มีผู้จองไว้ และมีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้น ที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ภิกษุผู้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย แต่ ได้สั่งไว้ว่า กุฎีนั้นต้องมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ต้องเท่าประมาณ ต้อง ไม่มีผู้จองไว้ และมีชานรอบด้วย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้น ที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ไม่ต้องอาบัติ

พื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ ทำค้าง

[๕๑๘] ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีก ไปเสีย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ถ้าเมื่อเขาทำค้างไว้ เธอกลับมา พึงให้กุฎีนั้น แก่ภิกษุรูปอื่น หรือพึงรื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้แก่ภิกษุรูปอื่น หรือไม่รื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ถ้าเมื่อเขาทำค้างไว้ เธอกลับมา พึงให้กุฎีนั้นแก่ภิกษุรูปอื่น

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 395

หรือพึงรื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้แก่ภิกษุรูปอื่น หรือไม่รอเสียแล้ว สร้างใหม่ คืออาบัติทุกกฏ ๑ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ถ้าเมื่อเขาทำค้างไว้ เธอกลับมา พึงให้กุฎีนั้นแก่ภิกษุรูปอื่น หรือพึงรอเสียแล้วสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้แก่ภิกษุรูปอื่น หรือไม่รื้อเสียแล้ว สร้างใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ถ้าเมื่อเขาทำค้างไว้ เธอกลับมา พึงให้กุฎีนั้นแก่ภิกษุรูปอื่น หรือพึงรื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้แก่ภิกษุรูปอื่น หรือไม่รื้อเสียแล้ว สร้างใหม่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

พื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ทำค้าง

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ถ้าเมื่อเขาทำค้างไว้ เธอกลับมา พึงให้กุฎีนั้นแก่ภิกษุรูปอื่น หรือพึงรื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้แก่ภิกษุรูปอื่น หรือไม่รื้อเสียแล้ว สร้างใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ถ้าเมื่อเขาทำค้างไว้ เธอกลับมา พึงให้กุฎีนั้นแก่ภิกษุรูปอื่น

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 396

หรือพึงรื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้แก่ภิกษุรูปอื่น หรือไม่รื้อเสียแล้ว สร้างใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ถ้าเมื่อเขาทำค้างไว้ เธอกลับมา พึงให้กุฎีนั้นแก่ภิกษุรูปอื่น หรือพึงรื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ถ้าไม่ได้ให้แก่ภิกษุรูปอื่น หรือไม่รื้อเสีย แล้วสร้างใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ไม่ต้องอาบัติ.

เกินประมาณ ทำค้าง

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เกินประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ถ้าเมื่อเขาทำค้างไว้ เธอกลับมา พึงให้กุฎีนั้นแก่ภิกษุรูปอื่น หรือพึงรื้อ เสียแล้วสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้แก่ภิกษุรูปอื่น หรือไม่รื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เกินประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ถ้า เมื่อเขาทำค้างไว้ เธอกลับมา พึงให้กุฎีนั้นแก่ภิกษุรูปอื่น หรือพึงรื้อเสีย แล้วสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้แก่ภิกษุรูปอื่น หรือไม่รื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ต้อง อาบัติทุกกฏ ๑ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 397

ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ถ้าเมื่อเขาทำค้างไว้ เธอกลับมา พึงให้กุฎีนั้นแก่ภิกษุรูปอื่น หรือพึงรื้อ เสียแล้วสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้แก่ภิกษุรูปอื่น หรือไม่รื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ต้องอาบัติทุกกฎ ๑ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ถ้าเมื่อเขาทำค้างไว้ เธอกลับมา พึงให้กุฎีนั้นแก่ภิกษุรูปอื่น หรือพึงรื้อเสีย แล้วสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้แก่ภิกษุรูปอื่น หรือไม่รื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว.

เท่าประมาณ ทำค้าง

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ถ้าเมื่อเขาทำค้างไว้ เธอกลับมา พึงให้กุฎีนั้นแก่ภิกษุรูปอื่น หรือพึงรื้อเสีย แล้วสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้แก่ภิกษุรูปอื่น หรือไม่รื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ถ้า เมื่อเขาทำค้างไว้ เธอกลับมา พึงให้กุฎีนั้นแก่ภิกษุรูปอื่น หรือพึงรื้อเสีย แล้วสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้แก่ภิกษุรูปอื่น หรือไม่รื้อเสียแล้ว สร้างใหม่ ต้อง อาบัติทุกกฎ ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 398

ถ้าเมื่อเขาทำค้างไว้ เธอกลับมา พึงให้กุฏีนั้นแก่ภิกษุรูปอื่น หรือพึงรื้อ เสียแล้วสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้แก่ภิกษุรูปอื่น หรือไม่รื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ เท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ไม่ต้องอาบัติ.

พื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ ทำค้าง

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ถ้าเมื่อเขาทำค้างไว้ เธอกลับมา พึงให้กุฎีนั้น แก่ภิกษุรูปอื่น หรือพึงรื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้แก่ภิกษุรูปอื่น หรือไม่รื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ถ้าเมื่อเขาทำค้างไว้ เธอกลับมา พึงให้กุฎีนั้น แก่ภิกษุรูปอื่น หรือพึงรื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้แก่ภิกษุรูปอื่น หรือ ไม่รื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ถ้าเมื่อเขาทำค้างไว้ เธอกลับมา พึงให้

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 399

กุฎีนั้นแก่ภิกษุรูปอื่น หรือพึงรื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้แก่ภิกษุรูปอื่น หรือไม่รื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย ผู้รับคำ สั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ถ้าเมื่อเขาทำค้างไว้ เธอกลับมา พึงให้กุฎีนั้น แก่ภิกษุรูปอื่น หรือพึงรื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้แก่ภิกษุรูปอื่น หรือ ไม่รื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว.

พื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ ทำค้าง

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ถ้าเมื่อเขาทำค้างไว้ เธอกลับมา พึงให้กุฎีนั้น แก่ภิกษุรูปอื่น หรือพึงรื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้แก่ภิกษุรูปอื่น หรือไม่รื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ถ้าเมื่อเขาทำค้างไว้ เธอกลับมา พึงให้กุฎีนั้น แก่ภิกษุรูปอื่น หรือพึงรื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้แก่ภิกษุรูปอื่น หรือ ไม่รื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ถ้าเมื่อเขาทำค้างไว้ เธอกลับมา พึงให้กุฎี

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 400

นั้นแก่ภิกษุรูปอื่น หรือพึงรื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้แก่ภิกษุรูปอื่น หรือไม่รื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว

ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ไม่ต้องอาบัติ.

สร้างค้าง สร้างต่อ

[๕๑๙] กุฎีที่ตนสร้างค้างไว้ ภิกษุสร้างต่อให้สำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

กุฎีที่ตนสร้างค้างไว้ ภิกษุให้คนอื่นสร้างต่อให้สำเร็จ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส

กุฎีที่คนอื่นสร้างค้างไว้ ภิกษุสร้างต่อให้สำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส

กุฎีที่คนอื่นสร้างค้างไว้ ภิกษุให้คนอื่นสร้างต่อให้สำเร็จ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส.

อนาปัตติวาร

[๕๒๐] ภิกษุสร้างถ้ำ ๑ ภิกษุสร้างดูหา ๑ ภิกษุสร้างกุฎีหญ้า ๑ ภิกษุสร้างกุฎีเพื่อภิกษุอื่น ๑ เว้นอาคารอันเป็นที่อยู่เสีย ภิกษุสร้างนอก จากนั้น ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖ จบ

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 401

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖

กุฏิการสิกขาบทวรรณนา

กุฎิการสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว ต่อไป. ในกุฎิการสิกขาบทนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องภิกษุชาวแคว้นอาฬวี]

บทว่า อาฬวกา มีความว่า พวกเด็กหนุ่มเกิดในแคว้นอาฬวี ชื่อว่า อาฬวกา. เด็กหนุ่มเหล่านั้น แม้ในเวลาบวชแล้ว ก็ปรากฏ ชื่อว่า อาฬวกา เหมือนกัน. ท่านกล่าวคำว่า อาฬวกา ภิกขุ หมาย เอาภิกษุชาวแคว้นอาฬวีเหล่านั้น.

บทว่า สญฺาจิกาโย ได้แก่ มีเครื่องอุปกรณ์อันตนขอเขาเอา มาเอง.

บทว่า การาเปนฺติ ได้แก่ กระทำเองบ้าง ใช้ให้คนอื่นทำบ้าง. ได้ยินว่า พวกภิกษุเหล่านั้น ทอดทิ้งธุระทั้งสอง คือ วิปัสสนาธุระและ คันถธุระ ยกนวกรรมเท่านั้นขึ้นเป็นธุระสำคัญ.

บทว่า อสฺสามิกาโย ได้แก่ ไม่มีผู้เป็นใหญ่, อธิบายว่า เว้น จากผู้สร้างถวาย.

บทว่า อตฺตุทฺเทสิกาโย ได้แก่ เฉพาะตนเอง, อธิบายว่า อัน ภิกษุปรารภเพื่อประโยชน์แก่ตน.

บทว่า อปฺปมาณิกาโย ได้แก่ ไม่มีประมาณกำหนด (๑) ไว้ว่าอย่างนี้ว่า


(๑) ฎีการวิมติและสารัตถทีปนี้ เป็น อปฺปริจฺฉินฺนปฺปมาณาโย แปลว่า ไม่ได้กำหนด ประมาณไว้, หรือไม่มีกำหนดและไม่มีประมาณ.

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 402

จักถึงความสำเร็จด้วยเครื่องอุปกรณ์เพียงเท่านี้ หรือขยายกว้างยาวไม่มี ประมาณ อธิบายว่า ใหญ่ไม่มีประมาณ.

ภิกษุเหล่านี้ มีการขอร้องเท่านั้นมาก การงานอื่น มีน้อย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นมากไปด้วยการขอร้อง. พวกภิกษุ เหล่านั้นเป็นผู้มากด้วยการขอ ก็พึงทราบอย่างนี้. แต่โดยใจความใน สองบทว่า ยาจนพหุลา วิญฺตฺติพหุลา นี้ ไม่มีเหตุแตกต่างกัน. คำนั้น เป็นชื่อรองพวกภิกษุผู้วอนขอหลายครั้งว่า ท่านจงให้คน. จงให้หัตถกรรมที่คนต้องทำ (แรงงาน). บรรดาคนและหัตถกรรมนั้น จะขอคน โดยความขาดมูลไม่ควร. จะขอว่า พวกท่านจงให้คนเพื่อประโยชน์แก่ การร่วมมือ เพื่อประโยชน์แก่การทำงาน ควรอยู่. หัตถกรรมที่คนพึง กระทำท่านเรียกว่า แรงงาน, จะขอแรงงาน ควรอยู่.

[วิญญัติกถาว่าด้วยการออกปากขอ]

ขึ้นชื่อว่าหัตถกรรมมิใช่เป็นวัตถุบางอย่าง, เพราะเหตุนั้น หัตถกรรมนั้น เว้นการงานส่วนตัวของพวกพรานเนื้อและชาวประมงเป็นต้น เสีย ที่เหลือเป็นกัปปิยะทั้งหมด. เมื่อเขาถามว่า ท่านมาทำไมขอรับ? มีการงานที่ใครจะต้องทำหรือ? หรือว่า ไม่ถาม จะขอ ก็ควร. ไม่มี โทษ เพราะการขอเป็นปัจจัย. เพราะเหตุนั้น พวกพรานเนื้อเป็นต้น ภิกษุ ไม่ควรขอกิจการส่วนตัวเขา. ทั้งไม่ได้กำหนดให้แน่นอนลงไป ไม่ควร ขอว่า พวกท่านจงให้หัตถกรรม. เพราะพวกพรานเนื้อเป็นต้นนั้น ถูก ภิกษุขออย่างนั้นแล้ว จะต้องรับคำว่า ได้ ขอรับ! แล้วนิมนต์ภิกษุให้ กลับไป พึงฆ่าเนื้อมาถวายได้ แต่ควรขอกำหนดลงไปว่า ในวิหาร มีกิจการบางอย่างจำต้องทำ, พวกท่านจงให้หัตถกรรมในวิหารนั้น. การ

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 403

ที่ภิกษุจะขอหัตถกรรมบางอย่างกะชาวนา หรือคนอื่นแม้ผู้ขวนขวายใน การงานของตน ซึ่งถือเอาเครื่องอุปกรณ์ มีผาลและไถเป็นต้น กำลัง เดินไปเพื่อไถนาก็ดี เพื่อหว่านก็ดี เพื่อเกี่ยวก็ดี สมควรแท้.

ส่วนผู้ใด เป็นคนกินเดน หรือเป็นคนว่างงานอื่นบางคน ผู้คุย แต่เรื่องไร้ประโยชน์ หรือเอาแต่หลับนอนอยู่, แม้ไม่ขอร้องคนเห็นปานนี้ จะกล่าวว่า เฮ้ย! เองจงมาทำการงานสิ่งนี้ หรือสิ่งนี้ แล้วให้กระทำ การงานตามที่ต้องการ ควรอยู่. แต่เพื่อแสดงว่า หัตถกรรมเป็นกัปปิยะ ทุกอย่าง อาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวนัยนี้ไว้.

ก็ ถ้าว่า ภิกษุประสงค์จะให้สร้างปราสาท, พึงไปยังบ้านแห่ง พวกช่างสลักหิน เพื่อต้องการเสา แล้วกล่าวว่า อุบาสก! การได้ หัตถกรรม ควรอยู่. เมื่อเขาถามว่า ควรทำอย่างไร ขอรับ? พึงบอก ว่า พึงหามเสาหินไปให้. ถ้าพวกเขาหามไปถวาย หรือถวายเสาของตน ที่เข็นมาเก็บไว้แล้ว ควรอยู่. แม้ถ้าพวกเขากล่าวว่า พวกผมไม่มีเวลา จะทำหัตถกรรม ขอรับ! ขอให้ท่านให้คนอื่นขนไปเถิด, พวกผมจักให้ ค่าจ้างแก่เขาเอง ดังนี้, จะใช้ให้คนอื่นขนไปแล้วบอกว่า พวกท่านจง ให้ค่าจ้างแก่พวกคนขนหินเถิด ดังนี้ ก็ควร.

โดยอุบายเช่นเดียวกันนี้ การที่ภิกษุจะไปยังสำนักพวกคนผู้ทำการ ช่างศิลป์นั้นๆ เพื่อประสงค์ทุกๆ สิ่งที่ต้องการ คือ ไปยังสำนักช่างไม้ เพื่อต้องการไม้สร้างปราสาท ไปยังสำนักช่างอิฐเพื่อต้องการอิฐ ไปยัง สำนักช่างมุงหลังคาเรือน เพื่อต้องการมุงหลังคา ไปยังสำนักช่างเขียน เพื่อต้องการจิตรกรรม แล้วขอหัตถกรรม สมควรอยู่. และจะรับเอาของ แม้ที่ตนได้ ด้วยอำนาจการขอหัตถกรรมก็ดี ด้วยการเพิ่มให้ค่าจ้างและ

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 404

เบี้ยเลี้ยง โดยการขาดมูลก็ดี สมควรทุกอย่าง และเมื่อจะนำของมาจากป่า ควรให้นำของทั้งหมดที่ใครๆ ไม่ได้คุ้มครอง (ไม่หวงแหน) มา.

อนึ่ง มิใช่แต่ประสงค์จะสร้างปราสาทอย่างเดียว แม้ประสงค์จะ ให้ทำเตียงตั่งบาตร ธมกรกกรองน้ำ และจีวรเป็นต้น ก็พึงให้นำมา, ได้ไม้ โลหะ และด้ายเป็นต้นแล้ว เข้าไปหาพวกช่างศิลป์นั้นๆ พึง ขอหัตถกรรมโดยนัยดังกล่าวนั่นแล. และสิ่งของแม้ที่ตนได้มาด้วยอำนาจ แห่งการขอหัตถกรรมก็ดี ด้วยการเพิ่มให้ค่าจ้างและเบี้ยเลี้ยงโดยการขาด มูลก็ดี พึงรับเอาทั้งหมด.

ก็ ถ้าพวกคนงานไม่ปรารถนาจะทำ, เกี่ยงเอาค่าจ้างและเบี้ยเลี้ยง, ของเป็นอกัปปิยะมีเหรียญกษาปณ์เป็นต้น ไม่ควรให้. จะแสวงหา ข้าวสารเป็นต้น ด้วยภิกขาจารวัตรให้ ควรอยู่.

ภิกษุให้ช่างบาตรทำบาตรด้วยอำนาจแห่งหัตถกรรมแล้ว ให้ระบม ทำนองเดียวกันนั้นแล้ว เข้าไปยังภายในบ้าน เพื่อต้องการน้ำมันชโลม บาตรที่ระบมใหม่ เมื่อชาวบ้านเข้าใจว่า มาเพื่อภิกษา แล้วนำข้าวต้ม หรือข้าวสวยมา (ถวาย) พึงเอามือปิดบาตร. ถ้าอุบาสิกาถามว่า ทำไม เจ้าค่ะ! ภิกษุพึงบอกว่า บาตรระบมใหม่ ต้องการน้ำมันสำหรับทา. ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวว่า โปรดให้บาตรเถิด เจ้าค่ะ! แล้วรับบาตรไปทา น้ำมัน บรรจุข้าวต้ม หรือข้าวสวยให้เต็มแล้วถวาย, ไม่ชื่อว่า เป็นวิญญัติ จะรับควรอยู่ฉะนี้แล.

พวกภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตแต่เช้ามืด ไปถึงหอฉันไม่เห็นที่นั่ง ยืนคอยอยู่. ถ้าที่หอฉันนั้น พวกอุบาสิกาเห็นพวกภิกษุยืนอยู่ ช่วยกัน ให้นำที่นั่งมาเอง. พวกภิกษุผู้นั่งแล้ว เมื่อจะไป พึงบอกลาก่อนแล้ว

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 405

จึงไป. เมื่อพวกภิกษุไม่บอกลาก่อนแล้วไป ของหาย ไม่เป็นสินใช้. แต่การบอกลาแล้วไป เป็นธรรมเนียม.

ถ้าอาสนะเป็นของที่ชาวบ้านซึ่งภิกษุทั้งหลายสั่งว่า พวกท่านจง นำอาสนะมา จึงนำมาให้; ภิกษุทั้งหลายต้องบอกลาแล้วจึงไป. เมื่อ พวกภิกษุไปไม่บอกลา เป็นการเสียธรรมเนียม และของหาย เป็นสินใช้ ด้วย; แม้ในพรมสำหรับปูลาด ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.

แมลงหวี่มีชุมมาก พึงกล่าวว่า จงเอาพัดปัดแมลงหวี่. พวก ชาวบ้านนำกิ่งสะเดาเป็นต้นมาให้ พึงให้ทำกัปปิยะก่อน แล้วจึงรับ. ภาชนะน้ำที่หอฉันว่างเปล่า ไม่ควรกล่าวว่า จงนำธมกรกมา. เพราะ เมื่อหย่อนธมกรกลงไปในภาชนะว่างเปล่า จะพึงทำภาชนะแตก. แต่ จะไปยังแม่น้ำ หรือบึง แล้วกล่าวว่า จงนำน้ำมา ควรอยู่ จะกล่าวว่า จงนำมาจากเรือน ก็ไม่ควรเหมือนกัน. อยู่บริโภคน้ำที่เขานำมาให้.

ภิกษุทั้งหลายผู้ทำภัตกิจที่หอฉัน หรือเสนาสนะป่าก็ดี ใบไม้หรือ ผลไม้ที่ควรกินเป็นกับแกล้มอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่มีคนหวงห้ามเกิดใน ที่นั้น ถ้าพวกเธอจะให้คนทำงานบางอย่างนำมา ควรจะให้นำมาด้วย อำนาจแห่งหัตถกรรมแล้วฉัน, แต่ไม่ควรใช้พวกภิกษุ หรือสามเณรผู้เป็น อลัชชีให้ทำหัตถกรรม, ในเรื่องปุริสัตถกร (แรงงานคน) มีนัยเท่านี้ก่อน.

แต่การที่ภิกษุจะให้นำโคมาจากสถานที่แห่งคนผู้มีใช่ญาติ และมิใช่ ปวารณา ย่อมไม่ควร. เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ให้นำมา. จะขอโดยขาด มูลค่าแม้จากสถานที่แห่งญาติและคนปวารณา ก็ไม่ควร. จะขอโดยนัย ของขอยืม ควรทุกแห่ง. และพึงรักษาบำรุงโคที่ให้นำมาแล้วอย่างนี้


(๑) อตฺถโยชนา ๑/๔๕๔ มจฺฉิกาติ มกฺขากา. มกฺขิกาติปิ อตฺถิ.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 406

เสร็จแล้วพึงมอบให้เจ้าของรับมันคืนไป. ถ้าเท้าหรือเขาของมันแตกหัก หรือเสียไป, ถ้าเจ้าของยอมรับมันคืนไป, การยินยอมรับนั่นอย่างนั้นเป็น การดี, ถ้าเจ้าของไม่ยอมรับ. เป็นสินใช้. ถ้าหากเจ้าของกล่าวว่า พวก ผมถวายท่านเลย ไม่ควรรับ. แต่เมื่อเจ้าของกล่าวว่า พวกผมถวายวัด พึงกล่าวว่า พวกท่านจงบอกแก่บุคคลผู้ทำการวัด เพื่อประโยชน์แก่การ เลี้ยงดูมัน. จะกล่าวกะพวกคนที่มิใช่ญาติ และไม่ได้ปวารณาว่า พวก ท่านจงถวายเกวียน ดังนี้ก็ดี ไม่ควร. ย่อมเป็นวิญญัติแท้ คือต้อง อาบัติทุกกฏ. แต่ในฐานแห่งญาติและคนปวารณา ควรอยู่. ของขอยืม ก็ควร. ทำการงานเสร็จแล้วพึงคืนให้. ถ้ากงเป็นต้นแตกไป พึงกระทำ ให้เหมือนเดิม แล้วให้คืน. เมื่อเสียหาย เป็นสินใช้. เมื่อเจ้าของกล่าวว่า พวกผมถวายท่านเลย ธรรมดาว่าเครื่องไม้ควรจะรับไว้. ในมีด ขวาน ผึ่ง จอบ และสิ่วก็ดี ในพฤกษชาติ มีเถาวัลย์เป็นต้นก็ดี ที่เจ้าของ หวงแหน ก็มีนัยเหมือนกันนี้. ก็ในพวกพฤกษชาติมีเถาวัลย์เป็นต้น ที่ พอเป็นครุภัณฑ์ได้เท่านั้น จึงเป็นวิญญัติ ต่ำกว่านั้นหาเป็นไม่.

แต่ภิกษุจะให้นำเอาของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ไม่มีคนหวงห้ามมา ควรอยู่. เพราะว่า ในที่มีคนรักษาคุ้มครองเท่านั้น ท่านเรียกว่า วิญญัติ. วิญญัติ นั้น ย่อมไม่ควรในปัจจัยทั้งสอง (คือ จีวรและบิณฑบาต) โดยประการ ทุกอย่าง. แต่ในเสนาสนปัจจัย เพียงแต่ออกปากขอว่า ท่านจงนำมา จงให้ เท่านั้น ไม่ควร. ปริกถา โอภาส และนิมิตตกรรม ควร.

บรรดาปริกถา โอภาส และนิมิตตกรรมนั้น คำพูดของภิกษุ ผู้ต้องการโรงอุโบสถ หอฉัน หรือเสนาสนะอะไรๆ อื่น โดยนัยเป็นต้น ว่า การสร้างเสนาสนะเห็นปานนี้ ในโอกาสนี้ ควรหนอ หรือว่าชอบหนอ

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 407

หรือสมควรหนอ ดังนี้ ชื่อว่า ปริกถา. ภิกษุถามว่า อุบาสก! พวก ท่านอยู่ที่ไหน? พวกอุบาสกตอบว่า ที่ปราสาท ขอรับ! พูดต่อไปว่า ก็ปราสาทไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลายหรือ อุบาสก! คำพูดมีอาทิอย่างนี้ ชื่อว่า โอภาส. ก็การกระทำมีอาทิอย่างนี้ คือภิกษุเห็นพวกชาวบ้านแล้ว ขึงเชือก ให้ตอกหลัก เมื่อพวกชาวบ้านถามว่า นี้ให้ทำอะไรกัน ขอรับ? ตอบว่า พวกอาตมาจะสร้างที่อยู่อาศัยที่นี้ ชื่อว่า นิมิตตกรรม. ส่วน ในคิลานปัจจัย แม้วิญญติก็ควร จะป่วยกล่าวไปไยถึงปริกถาเป็นต้นเล่า.

คำว่า มนุสฺสา อุปทฺทุตา ยาจนาย อุปทฺทุตา วิญฺตฺติยา มีความว่า พวกชาวบ้านถูกบีบคั้นด้วยการขอร้อง และด้วยการออกปาก ขอนั้นของภิกษุเหล่านั้น.

บทว่า อุพฺภิชฺชนฺติปิ มีความว่า ย่อมได้รับความหวาดสะดุ้ง คือ ไหว หวั่นไปว่า จักให้นำอะไรไปให้หนอ?

บทว่า อุตฺตสนฺติปิ มีความว่า พบภิกษุเข้า ก็พลันสะดุ้งชะงัก ไปเหมือนพบงูฉะนั้น.

บทว่า ปลายนฺติปิ มีความว่า ย่อมหนีไปเสียแต่ไกล โดยทางใด ทางหนึ่ง.

สองบทว่า อญฺเนปิ คจฺฉนฺติ มีความว่า ละทางที่ภิกษุเดินไป เสีย แล้วกลับเดินมุ่งไปทางซ้าย หรือทางขวา. ปิดประตูเสียบ้างก็มี.

[แก้อรรถศัพพ์ในเรี่องมณีกัณฐนาคราช]

สองบทว่า ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว เป็นต้น มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้ และตรัสธรรมี-

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 408

กถาให้สมควรแก่เรื่องราวนั้นแล้ว เมื่อจะทรงทำโทษแห่งวิญญัติให้ ปรากฏชัดแม้อีก จึงทรงแสดง ๓ เรื่องนี้ โดยนัยเป็นต้นว่า ภูตปพฺพํ ภิกฺขเว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มณิกณฺโ มีความว่า ได้ยินว่า พญานาคนั้นประดับแก้วมณีมีค่ามาก ซึ่งอำนวยให้สิ่งที่ปรารถนาทุกอย่าง ไว้ที่คอ เที่ยวไป ; เพราะฉะนั้น จึงปรากฎนามว่า มณิกัณฐนาคราช.

คำว่า อุปริมุทฺธนิ มหนฺตํ ผณํ อฏฺาสิ มีความว่า ได้ยินว่า บรรดาฤษีทั้ง ๒ นั้น ฤษีผู้น้องนั้น เป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา; เพราะ เหตุนั้น พญานาคนั้นจึงขึ้นมาจากแม่น้ำ นิรมิตเพศเป็นเทวดานั่งในสำนัก แห่งฤษีนั้น กล่าวสันโมทนียกถา ละเพศเทวดานั้นแล้ว กลับกลาย เป็นเพศเดิมของตนนั้นแล วงล้อมฤษีนั้น เมื่อจะทำอาการเลื่อมใส จึง แผ่พังพานใหญ่เบื้องบนศีรษะแห่งฤษีนั้น ดุจกั้นร่มไว้ยับยั้งอยู่ชั่วครู่หนึ่ง แล้วจึงหลีกไป. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ได้ยืน แผ่พังพานใหญ่ไว้ ณ เบื้องบนศีรษะ ดังนี้.

ข้อว่า มณิมสฺส กณฺเ ปิลนฺธนํ มีความว่า ซึ่งแก้วมณีอัน พญานาคนั้นประดับไว้ คือ สวมไว้ที่คอ.

สองบทว่า เอกมนฺตํ อฏฺาสิ มีความว่า พญานาคนั้นมาแล้ว โดยเพศเทวดานั้น ชื่นชมอยู่กับดาบส ได้ยืนอยู่ ณ ประเทศหนึ่ง.

บทว่า มนฺนปานํ ได้แก่ ข้าวและน้ำของเรา.

บทว่า วิปุลํ ได้แก่ มากมาย.

บทว่า อุฬารํ ได้แก่ ประณีต.

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 409

บทว่า อติยาจโกสิ ได้แก่ เป็นผู้ขอจัดเหลือเกิน. มีคำอธิบายว่า ท่านเป็นคนขอซ้ำๆ ซากๆ.

บทว่า สุสู มีความว่า คนหนุ่ม คือ ผู้สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง ได้แก่บุรุษที่ยังอยู่ในวัยหนุ่ม.

ศิลาดำ ท่านเรียกว่า หินลับ. ดาบที่เขาลับแล้วบนหินลับนั้น ท่านเรียกว่า สักขรโธตะ. ดามที่ลับดีแล้วบนหินลับ มีอยู่ในมือของ บุรุษนั้น; เพราะเหตุนั้น บุรุษนั้น จึงชื่อว่า ผู้ถือดาบซึ่งลับดีแล้ว บนหินลัน, อธิบายว่า มีมือถือดาบซึ่งขัดและลับดีแล้วบนหิน. ท่าน วอนขอแก้วกะเรา ทำให้เราหวาดเสียว เหมือนบุรุษมีดาบในมือนั้น ทำให้คนอื่นหวาดเสียวฉะนั้น.

ข้อว่า เสลํ มํ ยาจมาโน มีความว่า วอนขออยู่ซึ่งแก้วมณี.

ข้อว่า น ตํ ยาเจ มีความว่า ไม่ควรขอของนั้น.

ถามว่า ของสิ่งไหน?

ตอบว่า ของที่ตนรู้ว่า เป็นที่รักของเขา.

ข้อว่า ยสฺส ปิยํ ชิคึเส มีความว่า คนพึงรู้ว่า สิ่งใดเป็นที่รัก ของสัตว์นั้น (ไม่ควรขอของนั้น).

ข้อว่า กิมงฺคํ ปน นนุสฺสภูตานํ มีความว่า ในคำว่า (การอ้อนวอนขอนั้น) ไม่เป็นที่พอใจของเหล่าสัตว์ที่เป็นมนุษย์ นี้ จะพึง กล่าวทำไมเล่า?

[แก้อรรถศัพท์ในเรื่องนกฝูงใหญ่เป็นต้น]

หลายบทว่า สกุณสงฺฆสฺส สทฺเทน อุพฺพาฬฺโห มีความว่า ได้ยินว่า ฝูงนกนั้น ทำเสียงระเบ็งเซ็งแซ่ติดต่อกันไปจนตลอดปฐมยาม

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 410

และปัจฉิมยาม. ภิกษุนั้นเป็นผู้รำคาญด้วยเสียงนกนั้น จึงได้ไปยังสำนัก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เข้ามาหาเราถึงที่อยู่.

ในคำว่า กุโต จ ตฺวํ ภิกฺขุ อาคจฺฉสิ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุนั้นนั่งอยู่แล้ว (ในสำนักแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้านี้) มิใช่พึงมา, แต่ การที่จะกล่าวอย่างนี้ในอดีตกาลใกล้ปัจจุบันกาลยอมมีได้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ! ก็เธอมาจากไหนเล่า? อธิบายว่า เธอเป็นผู้มาแล้วแต่ที่ไหน?

แม้ในคำว่า ตโต อหํ ภควา อาคจฺฉามิ นี้ ก็มีนัยอย่างนั้น เหมือนกัน.

บทว่า อุพฺพาฬฺโห มีความว่า เป็นผู้ถูกเสียงรบกวน คือ ก่อให้ เกิดความรำคาญ.

ในคำว่า โส สกุณสงฺโฆ ภิกขุ ปตฺตํ ยาจติ นี้ มีวินิจฉัย ดังนี้:- ฝูงนกย่อมไม่รู้คำพูดของภิกษุ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำให้ มันรู้โดยอานุภาพของพระองค์.

คำว่า อปาหํ เต น ชานามิ มีความว่า เออ เราก็ไม่รู้จักชน เหล่านั้นว่า ชนเหล่านี้ เป็นคนพวกไหน หรือว่า ชนพวกนี้เป็นคน ของใคร.

สองบทว่า สงฺคมฺม ยาจนฺติ มีความว่า ชนเหล่านั้นพากันมา คือ รวมกันเป็นพวกๆ อ้อนวอนขออยู่.

คำว่า ยาจโก อปฺปิโย โหติ มีความว่า บุคคลผู้ขอย่อมไม่เป็นที่รัก (ของผู้ถูกขอ).

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 411

คำว่า ยาจํ อททมปฺปิโย มีความว่า สิ่งที่คนอื่นขอ ท่านเรียกว่า ยาจัง แม้ผู้ไม่ให้ซึ่งประโยชน์ที่เขาขอ ย่อมไม่เป็นที่รัก (ของคนผู้ขอ).

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยาจํ ได้แก่ ของบุคคลผู้ขออยู่.

คำว่า อททมปฺปิโย มีความว่า ผู้ไม่ให้ (แก่ผู้ขอ) ย่อมไม่เป็น ที่รัก (ของผู้ขอ).

คำว่า มา เม วิทฺเทสนา อหุ มีความว่า ความเป็นผู้ไม่เป็น ที่รัก อย่าได้มีแล้วแก่ข้าพเจ้า, อธิบายว่า ข้าพเจ้าอย่าได้เป็นที่เกลียดชัง คือ ไม่เป็นที่รักของท่าน หรือว่าท่านอย่าได้เป็นที่เกลียดชัง คือไม่เป็น ที่รักของข้าพเจ้า.

บทว่า ทุสฺสํหรานิ มีความว่า รวบรวมมาได้โดยยาก ด้วยอุบาย ทั้งหลาย มีกสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้น. การอ้อนวอนขอที่ภิกษุให้ เป็นไปเอง ท่านเรียกว่า สังยาจิกา ในคำว่า สํยาจิกาย ปน ภิกฺขุนา นี้. เพราะเหตุนั้น บทว่า สํยาจิกา จึงมีรูปความที่ท่านกล่าวไว้ว่า ด้วย การวิงวอนขอของตน. อธิบายว่า ด้วยอุปกรณ์ทั้งหลายที่ตนขอมาเอง. ก็เพราะว่า กุฎีนั้นเป็นอันภิกษุทำอยู่ด้วยเครื่องอุปกรณ์ที่ตนขอมาเอง คือ ขอเอามากระทำเอง; ฉะนั้น เพื่อแสดงบรรยายแห่งอรรถนั้น ท่านจึงกล่าว บทภาชนะแห่งบทว่า สํยาจิกาย นั้นอย่างนี้ว่า ขอเองซึ่งคนบ้าง เป็นต้น.

[แก้อรรถสิกขาบทวิภังค์ ว่าด้วยการโบกฉาบกุฎี]

บทว่า อุลฺลิตฺตา ได้แก่ โบกฉาบปูนไว้เฉพาะภายใน.

บทว่า อวลิตฺตา ได้แก่ โบกฉาบปูนไว้เฉพาะภายนอก.

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 412

บทว่า อลฺลิตฺตาวลิตตา มีคำอธิบายว่า โบกฉาบปูนไว้ทั้งภายใน ทั้งภายนอก.

ในบทภาชนะแห่งบทว่า การยมาเนน นี้ คำเพียงว่า การาเปนฺเตน นี้เท่านั้น เป็นคำที่ท่านพระอุบาลีกล่าวไว้ เพราะว่าเมื่อมีคำอย่างนี้ พยัญชนะย่อมเสมอกัน. แต่เพราะเหตุที่ภิกษุแม้ให้สร้างกุฎีด้วยอาการ ขอเอาเอง พึงปฏิบัติโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในสิกขาบทนี้นั่นแล, ฉะนั้น เพื่อแสดงอรรถนี้ว่า ภิกษุผู้สร้างเองก็ตามให้ผู้อื่นสร้างก็ตาม ทั้งสอง พวกนี้สงเคราะห์ด้วยบทว่า การยมาเนน นี้แล จึงกล่าวว่า กโรนฺโต วา การาเปนฺโต วา ดังนี้เป็นต้น. ก็ถ้าว่าท่านพระอุบาลีจะพึงกล่าวว่า กโรนฺเตน วา การาเปนฺเตน วา พยัญชนะจะต้องผิดไป. เพราะว่า ภิกษุใช้ให้เขาทำ จะชื่อว่าเป็นผู้ทำเองไม่ได้. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ในบทภาชนะนี้พระอุบาลีแสดงแต่เพียงใจความเท่านั้น.

บทว่า อตฺตุทฺเทสํ มีความว่า คนเป็นที่เจาะจงแห่งกุฎีนั้นอย่างนี้ว่า กุฎีนี้ของเรา เพราะฉะนั้น กุฎีนั้นจึงชื่อว่าเฉพาะตนเอง. ซึ่งกุฎีเฉพาะ ตนเองนั้น. ก็เพราะกุฎีมีตนเป็นที่เจาะจงนั้น ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ตน; ฉะนั้น ท่านพระอุบาลีเมื่อจะแสดงบรรยายแห่งอรรถนั้น จึงกล่าวว่า บทว่า อตฺตุตฺเทสํ คือ เพื่อประโยชน์แก่ตน.

สองบทว่า ปมาณิกา กาเรตพฺพา คือ พึงสร้างให้ได้ประมาณ.

สองบทว่า ตตฺรีทํ ปมาณํ คือ นี้ ประมาณแห่งกุฎีนั้น.

บทว่า สุคติวิทตฺถิยา มีความว่า ที่มีชื่อว่า คืบพระสุคตคือ ๓ คืบ ของบุรุษกลางคนในปัจจุบันนี้ เท่ากับศอกคืบ โดยศอกช่างไม้.

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 413

สองบทว่า พาหิริเมน มาเนน ได้แก่ ๑๒ คืบ โดยวัดนอกฝาผนัง แห่งกุฎี. แต่เมื่อจะวัด ไม่พึงกำหนดเอาที่สุดก้อนดินเหนียวใหญ่ที่ตนให้ ไว้แต่แรกเขาหมด. พึงวัดโดยที่สุดก้อนดินผสมแกลบ (ก้อนอิฐ). การ ฉาบทาปูนขาวข้างบนแห่งก้อนดินผสมแกลบ เป็นอัพโพหาริก. ถ้าภิกษุ ไม่มีความต้องการด้วยก้อนดินผสมแกลบ สร้างให้เสร็จด้วยก้อนดินเหนียว ใหญ่เท่านั้น, ดินเหนียวใหญ่นั่นแล เป็นเขตกำหนด.

บทว่า ติริยํ แปลว่า โดยส่วนกว้าง.

บทว่า สตฺต แปลว่า ๗ คืบพระสุคต.

บทว่า อนฺตรา นี้ มีนิเทศดังนี้:- คือ โดยการวัดอันมีในร่วม ใน มีอธิบายว่า เมื่อไม่ถือเอาที่สุดด้านนอกฝา วัดเอาที่สุด โดยการวัด ทางริมด้านใน ได้ประมาณด้านกว้าง ๗ คืบพระสุคต.

ส่วนภิกษุใดอ้างเลศว่า เราจักทำให้ได้ประมาณตามที่ตรัสไว้จริงๆ แต่พึงทำประมาณด้านยาว ๑๑ คืบ ด้านกว้าง ๘ คืบ หรือด้านยาว ๑๓ คืบ ด้านกว้าง ๖ คืบ. การทำนั้นไม่สมควรแก่ภิกษุนั้น. จริงอยู่ ประมาณ แม้ที่เกินไปทางด้านเดียว ก็จัดว่าเกินไปเหมือนกัน. คืบจงยกไว้ จะลด ด้านยาวเพิ่มด้านกว้าง หรือลดด้านกว้างเพิ่มด้านยาว แม้เพียงปลายเส้นผม เดียว ก็ไม่ควร. จะป่วยกล่าวไปไยในการขยายเพิ่มทั้งสองด้านเล่า.

สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุสร้างเองก็ดี ให้ ผู้อื่นสร้างก็ดี (ซึ่งกุฎี) ให้ล่วงประมาณไปทางด้านยาว หรือด้านกว้าง โดย ที่สุดแม้เพียงปลายเส้นผมเดียว เป็นทุกกฏทุกๆ ประโยค ดังนี้เป็นต้น. ก็กุฎีมีประมาณตามที่กล่าวไว้เท่านั้น จึงสมควร.

ส่วนกุฎีใด ด้านยาวมีประมาณถึง ๖๐ ศอก ด้านกว้างมีประมาณ

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 414

๓ ศอก หรือหย่อน ๓ ศอก เป็นที่ซึ่งเตียงที่ได้ขนาดหมุนไปข้างโน้น ข้างนี้ไม่ได้, กุฎีนี้ไม่ถึงการนับว่า กุฎี. เพราะฉะนั้น กุฎีแม้นี้ ก็สมควร; แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าวกุฎีกว้าง ๔ ศอกไว้โดยกำหนดอย่างต่ำ. ต่ำกว่า กุฎีกว้าง ๔ ศอกนั้น ไม่จัดว่าเป็นกุฎี; ก็กุฎีถึงได้ประมาณ แต่สงฆ์ยัง ไม่ได้แสดงที่ให้ก็ดี มีผู้จองไว้ก็ดี ไม่มีชานเดินโดยรอบก็ดี ไม่ควร. กุฎีได้ประมาณ สงฆ์แสดงที่ให้แล้ว ไม่มีผู้จองไว้ มีชานเดินได้รอบ จึงควร.

ภิกษุเมื่อจะสร้างกุฎีต่ำกว่าประมาณก็ดี กุฎีมีประมาณ ๔ - ๕ ศอกก็ดี พึงสร้างให้เป็นกุฎีมีที่อันสงฆ์แสดงให้แล้วเท่านั้น. ก็แลเมื่อภิกษุทำให้ ล่วงประมาณไป ต้องครุกาบัติ ในเวลาฉาบเสร็จ. ในอธิการแห่งการ สร้างกุฎีให้ล่วงประมาณนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบการฉาบ การไม่ฉาบ โอกาสควรฉาบ และโอกาสไม่ควรฉาบ.

คือ อย่างไร? คือ ที่ชื่อว่าการฉาบนั้น ได้แก่การฉาบ ๒ อย่าง คือ การฉาบด้วยดินเหนียว ๑ การฉาบด้วยปูนขาว ๑ ก็ยกเว้นการฉาบ ๒ อย่างนี้เสีย การฉาบที่เหลือ มีชนิดฉาบด้วยเถ้าและโคมัยเป็นต้น ไม่จัดเป็นการฉาบ. ถ้าแม้นมีการฉาบด้วยโคลน ก็ไม่จัดเป็นการฉาบ เหมือนกัน.

ที่ชื่อว่า โอกาสควรฉาบนั้น ได้แก่จำพวกฝาผนัง และหลังคา. ก็โอกาสไม่ควรฉาบที่เหลือ ยกเว้นฝาและหลังคาเสีย มีเสา คาน บานประตู หน้าต่าง และปล่องควันเป็นต้น แม้ทั้งหมด พึงทราบว่า โอกาส ไม่ควรฉาบ.

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 415

[ว่าด้วยพื้นที่ควรสร้างกุฏีและไม่ควรสร้าง]

ข้อว่า ภิกฺขู อภิเนตพฺพา วตฺถุเทสนาย มีความว่า อันภิกษุ ผู้จะสร้าง พึงนำภิกษุทั้งหลายไป เพื่อประโยชน์แก่การแสดงที่ให้ในที่ ซึ่งตนต้องการจะให้สร้างกุฏี.

ก็คำว่า เตน กุฏีการเกน เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อทรงแสดงวิธีที่จะพึงนำภิกษุเหล่านั้นไปเพื่อแสดงที่สร้าง.

บรรดาบทเหล่านั้นด้วยคำว่า กุฏีวตฺถุํ โสเธตฺวา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ภิกษุผู้สร้างกุฎี อย่าพึงนำภิกษุทั้งหลายไปสู่ป่ามีพื้น ที่ไม่เสมอ พึงให้ชำระที่สร้างกุฎีก่อน ปราบพื้นที่ให้เรียบเสมอเช่นกับ มณฑลสีมาแล้ว ภายหลังเข้าไปหาสงฆ์ขอแล้วจึงพาไป.

สองบทว่า เอวมสฺส วจนีโย มีความว่า สงฆ์ควรเป็นผู้อันภิกษุ นั้นพึงบอกอย่างนี้,. แต่ข้างหน้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงภิกษุ หลายรูป ตรัสพหุวจนะว่า ทุติยมฺปิ ยาจิตพฺพา.

คำว่า สเจ สพฺโพ สงฺโฆ น อุสฺสหติ มีความว่า ถ้าสงฆ์ ทั้งปวงไม่ปรารถนา คือ ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ขวนขวายในกิจ มีการ สาธยายและมนสิการเป็นต้น.

สองบทว่า สารมฺภํ อนารมฺภํ ได้แก่ มีเหตุขัดข้อง ไม่มีเหตุ ขัดข้อง.

สองบทว่า สปริกฺกมนํ อปริกฺกมนํ ได้แก่ มีชานรอบ ไม่มี ชานรอบ.

บทว่า ปตฺตกลฺลํ มีความว่า เวลาแห่งการตรวจดูนี้ถึงแล้ว; เพราะ เหตุนั้น จึงชื่อว่ามีกาลถึงแล้ว. ปัตตกาลนั้นแล ข้อว่า ปัตตกัลลัง.

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 416

ก็แลอปโลกนกรรมนี้ ถึงจะอปโลกน์ทำ โดยนัยแห่งการสวดประกาศ สมมติกรรม เพื่อต้องการตรวจดูพื้นที่ ก็ควร. แต่ต่อไปข้างหน้ากรรม ที่ทำในการแสดงพื้นที่ ควรทำด้วยญัตติ และอนุสาวนาตามที่กล่าวแล้ว เท่านั้น. จะอปโลกน์ทำไม่ควร.

บทว่า กิปิลิกานํ มีความว่า แห่งมดทั้งหลาย มีชนิดเป็นมดแดง มดดำและมดเหลืองเป็นต้น ชนิดใดชนิดหนึ่ง. ปาฐะว่า กปีลกานํ ก็มี.

บทว่า อาสโย แปลว่า สถานที่อยู่ประจำ. และพึงทราบที่อาศัย คือ ที่อยู่ประจำแม้ของพวกสัตว์เล็ก มีตัวปลวกเป็นต้น เหมือนของ พวกมดฉะนั้น, แต่พวกสัตว์เล็ก มีมดแดงเป็นต้นนั้น มาเพื่อต้องการ หาเหยื่อในที่ใดแล้วไป, ประเทศที่สัญจรเช่นนั้น แม้ของสัตว์ทุก จำพวก ท่านไม่ห้าม. เพราะฉะนั้น การถางต้นไม้เป็นต้นในโอกาสนั้น ออกปราบให้เตียนแล้วสร้าง ควรอยู่. ที่ ๖ สถานเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าห้ามไว้ก่อน เพราะความเอ็นดูสัตว์.

บทว่า หตฺถีนํ วา มีความว่า สถานที่อยู่ประจำก็ดี สถานที่ หากินประจำก็ดี ของช้างโขลง ย่อมไม่สมควร. ที่อาศัยของสัตว์ร้าย มีสีหะเป็นต้นก็ดี ทางเดินประจำของพวกสัตว์ร้ายมีสีหะเป็นต้น ที่หลีก ไปหาเหยื่อก็ดี ไม่สมควร. แต่ท่านมิได้หมายเอาพื้นที่เป็นที่เที่ยวไปแห่ง สัตว์ร้ายเหล่านั่น.

สองบทว่า เยสํ เกสญฺจิ มีความว่า แห่งสัตว์ดิรัจฉานที่ดุร้าย แม้จำพวกอื่น. ที่ ๗ สถานเหล่านี้ เป็นที่มีภัยเฉพาะหน้า ทรงห้ามไว้ เพื่อประโยชน์แก่ความปลอดจากอันตรายแห่งภิกษุทั้งหลาย. สถานที่เหลือ เป็นสถานที่มีเหตุขัดข้องด้วยเหตุขัดข้องต่างๆ.

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 417

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺพนฺนนิสฺสิตํ มีความว่า อันอาศัย นาบุพพัณชาติ คือตั้งอยู่ใกล้เคียงนาเพราะปลูกธัญชาติ ๗ ชนิด. แม้ ในบทว่า อปรนฺนนิสฺสิตํ เป็นต้น ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. แต่ในบทว่า อปรนฺนนิสฺสิตํ เป็นต้นนี้ ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลายมีกุรุนที เป็นต้นว่า ที่ชื่อว่า ตะแลงแกง นั้น ได้แก่เรือนของเจ้าพนักงาน คือ เรือนของคนมีเวร ที่เขาสร้างไว้ เพื่อใช้เป็นที่ฆ่าพวกโจร.

พื้นที่ลงอาชญาคนผิด มีการตัดมือและเท้าเป็นต้น เรียกว่า ที่ ทรมานนักโทษ. ป่าช้าใหญ่ ท่านเรียกว่า สุสาน. ทางที่คนจะต้องเดิน ผ่านไป คือ ทางไปมา ท่านเรียกว่า ทางสัญจร. บทที่เหลือชัดเจน ทั้งนั้น.

[ว่าด้วยลักษณะการสร้างกุฎี]

ข้อว่า น สกฺกา โหติ ยถายุตฺเตน สกเฏน มีความว่า เป็น ที่อันเกวียนซึ่งเทียมด้วยโคถึก ๒ ตัว ไม่อาจจะจอดล้อข้างหนึ่งไว้ในที่น้ำ ตกจากชายคา ล้อข้างหนึ่งไว้ข้างนอกแล้วเวียนไปได้. แต่ในกุรุนทีกล่าว ว่า เทียมด้วยโคถึก ๔ ตัว ก็ดี.

หลายบทว่า สมนฺตา นิสฺเสณิยา อนุปริคนฺตุํ มีความว่า เป็น ที่ซึ่งคนทั้งหลายผู้ยืนมุงเรือนอยู่ที่บันได หรือพะอง ไม่อาจเวียนไปโดย รอบด้วยบันได หรือพะองได้, ในที่มีผู้จองไว้และไม่มีชานรอบ เห็นปานนี้ ดังกล่าวมาฉะนี้ ไม่ควรให้สร้างกุฎี. แค่ควรให้สร้างในที่ไม่มีผู้จองไว้ และมีชานรอบ.

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 418

สองบท (ว่า อนารมฺภํ สปริกฺกมนํ) นั้น มาแล้วในพระบาลี นั่นแล โดยปฏิปักขนัยแห่งคำกล่าวแล้ว. คำเป็นต้นอย่างนี้ว่า สํยาจิกา นาม พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสซ้ำเพื่อประกาศเนื้อความแห่งคำว่า สํยาจิกา เป็นต้น ที่ตรัสไวอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุสร้างกุฎีด้วยอาการขอมาเอง ในพื้น ที่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ.

สองบทว่า ปโยเค ทุกฺกฏํ มีความว่า ภิกษุดำริว่า เราจักให้ สร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่แสดงที่ให้ หรือให้ล่วงประมาณ โดยนัยดังตรัสไว้ในบาลี อย่างนี้ แล้วลับมีด หรือขวานเพื่อต้องการนำไม้มาจากป่า เป็นทุกกฏ. เข้าสู่ป่า เป็นทุกกฏ. ตัดหญ้าสดในป่านั้น เป็นปาจิตตีย์พร้อมด้วยทุกกฏ. ตัดหญ้าแห้ง เป็นทุกกฏ. แม้ในต้นไม้ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.

ประโยคตั้งแต่ต้นอย่างนี้ คือ ภิกษุถางพื้นที่, ขุด โกยดิน วัด เป็นต้นไป จนถึงปักผัง (ผูกแผนผัง) ชื่อว่า บุพประโยค. ในบุพประโยคนี้ ทุกๆ แห่ง ในฐานะแห่งปาจิตตีย์ เป็นปาจิตตีย์กับทุกกฏ ในฐานะแห่งทุกกฏ เป็นเพียงทุกกฏ. จำเดิมแต่ปักผังนั้นไป ชื่อว่า สหประโยค.

ในสหประโยคนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ในกุฎีที่พึงสร้างด้วยเสาหลาย ต้น ภิกษุให้ยกเสาต้นแรกในกุฎีนั้น เป็นทุกกฏ. ในกุฎีที่พึงก่อด้วยอิฐ หลายก้อน ภิกษุก่ออิฐก้อนแรก เป็นทุกกฏ. ภิกษุประกอบเครื่อง อุปกรณ์ใดๆ เข้าด้วยอุบายยอย่านี้. เป็นทุกกฏ ทุกประโยคแห่งการ ประกอบเครื่องอุปกรณ์นั้น. เมื่อถากไม้ เป็นทุกกฏทุกๆ ครั้งที่ยกมือ, เมื่อไปเพื่อต้องการถากไม้นั้นเป็นทุกกฏทุกๆ ย่างเท้า.

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 419

ก็เมื่อภิกษุคิดว่า เราจักฉาบกุฎีฝาผนังไม้ หรือฝาผนังศิลา หรือ ฝาผนังอิฐ ชั้นที่สุดแม้บรรณศาลา พร้อมทั้งฝาและหลังคาที่สร้างแล้ว อย่างนี้ แล้วฉาบด้วยปูนขาว หรือดินเหนียวเป็นทุกกฏทุกๆ ประโยค, เป็นทุกกฏ ตลอดเวลาที่ยังไม่เป็นถุลลัจจัย. แต่ทุกกฏนี้ ขยายเพิ่มขึ้น ด้วยการฉาบมากครั้งเหมือนกัน. ไม่เป็นอาบัติ ในเพราะการระบายสีขาว และสีแดงหรือในเพราะจิตรกรรม.

ข้อว่า เอกํ ปิณฺฑํ อนาคเต มีความว่า ในเมื่อการสร้างกุฎี ยิ่งไม่ทันถึงก้อนปูนฉาบก้อนหนึ่ง ซึ่งเป็นก้อนหลังสุดแห่งเขาทั้งหมด มีคำอธิบายว่า ในขณะที่ควรกล่าวได้ว่า กุฎีจักถึงความสำเร็จด้วย ๒ ก้อน ในบัดนี้ ในบรรดา ๒ ก้อนนั้น เป็นถุลลัจจัยในการใส่ก้อนแรก.

ข้อว่า ตสฺมึ ปิณฺเฑ อาคเต มีความว่า ในเมื่อกุฎีกรรมยัง ไม่ถึงก้อนหนึ่งอันใด เป็นถุลลัจจัย, เมื่อก้อนนั้นอันเป็นก้อนสุดท้าย มาถึงแล้ว คือ อันภิกษุใส่แล้ว วางลงแล้ว ต้องสังฆาทิเสส เพราะการ ฉาบเชื่อมกันแล้ว. และอันภิกษุผู้ฉาบอย่างนี้ เมื่อเชื่อมการฉาบด้านใน ด้วยการฉาบด้านใน ทำให้ฝาและหลังคาเนื่องเป็นอันเดียวกัน หรือเมื่อ เชื่อมการฉาบด้านนอกด้วยการฉาบด้านนอกแล้ว จึงเป็นสังฆาทิเสส

ก็ถ้าภิกษุยังไม่ตั้งทวารพันธ์ (กรอบประตู) หรือหน้าต่างเลย ฉาบ ด้วยดินเหนียว, และเมื่อตั้งกรอบประตูและหน้าต่างนั้นแล้วจะขยายโอกาส แห่งกรอบประตูและหน้าต่างนั้นใหม่ หรือไม่ขยายก็ตาม การฉาบยังไม่ เชื่อมกัน ยังรักษาอยู่ก่อน. แต่เมื่อฉาบใหม่พอเชื่อมกันก็เป็นสังฆาทิเสส.

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 420

ถ้ากรอบประตูและหน้าต่างนั้น ที่ภิกษุติดตั้งไว้ ตั้งอยู่ติดต่อกัน กับด้วยการฉาบที่ให้ไว้แต่แรกทีเดียว, เป็นสังฆาทิเสสตั้งแต่แรกเหมือน กัน. เพื่อป้องกันปลวก จะฉาบฝาผนัง ไม่ให้ถึงหลังคาประมาณ ๘ นิ้ว ไม่เป็นอาบัติ. เพื่อป้องกันปลวกเหมือนกัน จะทำฝาผนังหินภายใต้ ไม่ ฉาบฝานั้น ฉาบในเบื้องบน, การฉาบชื่อว่ายังไม่เชื่อมต่อกัน, ไม่เป็น อาบัติเหมือนกัน.

ภิกษุทำหน้าต่างและปล่องไฟด้วยอิฐล้วน ในกุฎีฝาผนังอิฐ เป็น อาบัติโดยเชื่อมด้วยการฉาบทีเดียว. ภิกษุฉาบบรรณศาลา, เป็นอาบัติ โดยเชื่อมด้วยการฉาบเหมือนกัน, เพื่อต้องการแสงสว่างในบรรณศาลานั้น จึงฉาบเว้นที่ไว้ประมาณ ๘ นิ้ว, การฉาบชื่อว่ายังไม่เชื่อมต่อกัน, ยังไม่ เป็นอาบัติเหมือนกัน.

ถ้าภิกษุทำในใจว่า เราได้หน้าต่างแล้ว จักตั้งตรงนี้ แล้วจึงทำ, เมื่อติดตั้งหน้าต่างเสร็จแล้ว เป็นอาบัติโดยเชื่อมด้วยการฉาบ. ถ้าภิกษุ ทำฝาผนังด้วยดินเหนียว, เป็นอาบัติในเพราะการเชื่อมกันกับด้วยการฉาบ หลังคา. รูปหนึ่งพักให้เหลือไว้ก้อนหนึ่ง. อีกรูปอื่นเห็นหนึ่งก้อนที่ไม่ได้ ฉาบนั้น ทำในใจว่า นี้เป็นทุกกฏ จึงฉาบเสียด้วยมุ่งวัตร ไม่เป็นอาบัติ ทั้งสองรูป.

[แก้อรรถนี้บทภาชนีย์ว่าด้วยจตุกกะทำให้เป็นอาบัติต่างๆ]

๓๖ จตุกกะมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกขุ กุฏี กโรติ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ เพื่อทรงแสดงชนิดแห่งอาบัติ. ใน ๓๖ จตุกกะนั้น พึงทราบ อาบัติที่คละกันด้วยอำนาจแห่งทุกกฏและสังฆาทิเสสเหล่านี้ คือทุกกฏ

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 421

เพราะมีผู้จองไว้, ทุกกฏ เพราะไม่มีชานรอบ, สังฆาทิเสส เพราะทำ ล่วงประมาณ, สังฆาทิเสส เพราะสงฆ์ไม่ได้แสดงที่สร้างให้.

ก็ในคำเป็นต้นว่า อาปตฺติ ทฺวินฺนํ สงฺฆาทิเสสานํ ทฺวินฺนํ ทุกฺกฏานํ บัณฑิตพึงทราบใจความโดยนัยเป็นต้นว่า ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว พร้อมด้วยสังฆาทิเสส ๒ ตัว

ก็ในคำเป็นต้นว่า โส เจ วิปฺปกเต อาคจฺฉติ มีอรรถวินิจฉัย ดังต่อไปนี้:-

บทว่า โส ได้แก่ ภิกษุผู้สั่งแล้วหลีกไปเสีย.

บทว่า วิปฺปกเต ได้แก่ เมื่อการสร้างกุฎียังไม่เสร็จ.

สองบทว่า อญฺสฺส วา ทาตพฺพา มีความว่า พึงสละให้แก่บุคคล อื่น หรือแก่สงฆ์.

สองบทว่า ภินฺทิตวา วา ปุน กาตพฺพา มีความว่า กุฎีจัดว่าเป็น อันรื้อแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร? ถ้าเสาฝังลงที่พื้นดิน พึงถอนขึ้น. ถ้าตั้งไว้บนหิน พึงนำออกเสีย. พึงรื้อผนังแห่งกุฎีที่ก่ออิฐออกเสีย จน ถึงอิฐมงคล (ศิลาฤกษ์). โดยสังเขป กุฎีที่ถูกพังลงให้เรียบเสมอพื้น ย่อมจัดว่าเป็นอันรื้อแล้ว เหนือพื้นดินขึ้นไป เมื่อยังมีฝาผนังเหลืออยู่ แม้ประมาณ ๔ นิ้ว กุฎีจัดว่ายังไม่ได้รื้อเลย คำที่เหลือในทุกๆ จตุกกะ ปรากฏชัดแล้วทั้งนั้น แท้จริง ในจตุกกะทั้งปวงนี้ ไม่มีคำอะไรอื่นที่จะ พึงรู้ได้ยาก ตามแนวแห่งพระบาลีเลย.

ก็ในคำว่า อตฺตนา วิปฺปกตํ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:- ที่ชื่อว่า ยังกุฎีที่ตนริเริ่มไว้ให้สำเร็จลงด้วยตนเอง คือ เมื่อภิกษุใส่ก้อนสุดท้าย

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 422

เข้าในกุฎีที่คนมีความประสงค์จะให้ถึงความเป็นของสร้างแล้วเสร็จด้วยดินเหนียวจำนวนมาก หรือด้วยดินเหนียวผสมแกลบ ชื่อว่าให้สำเร็จลง.

สองบทว่า ปเรหิ ปริโยสาเปติ มีความว่า ใช้คนเหล่าอื่นทําให้ สำเร็จ เพื่อประโยชน์แก่ตน

ในคำนี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ว่า ก็กุฎีอันตนเอง หรืออันคน เหล่าอื่น หรือว่าทั้งสองฝ่าย ทำค้างไว้ก็ตามที, ก็แล ภิกษุยังกุฎีนั้นให้ สำเร็จด้วยตนเองก็ดี ใช้ให้คนอื่นทำให้สำเร็จก็ดี ใช้คนที่รวมเป็นคู่ คือ ตนเองและคนเหล่าอื่นสร้างให้สำเร็จก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตน เป็นสังฆาทิเสสทั้งนั้น.

แต่ในกุรุนที ท่านกล่าวว่า ภิกษุ ๒ - ๓ รูป รวมกันทำกล่าวว่า พวกเราจักอยู่, ยังรักษาอยู่ก่อน, ยังไม่เป็นอาบัติ เพราะยังไม่แจกกัน, แจกกันว่า ที่นี่ของท่าน แล้วช่วยกันทำ, เป็นอาบัติ, สามเณรกับภิกษุ ร่วมกันทำ, ยังรักษาอยู่ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้แบ่งกัน, แจกกันโดยนัยก่อน แล้วช่วยกันทำ เป็นอาบัติแก่ภิกษุ ดังนี้.

[อนาปัตติวารวรรณนา]

ในคำว่า อนาปตฺติ เลเณ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:- ไม่เป็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้กระทำถ้ำแม้ให้ใหญ่ เพราะการฉาบในถ้ำนี้ไม่เชื่อมต่อกัน. สำหรับภิกษุผู้กระทำแม้คูหา คือ คูหาก่ออิฐก็ดี คูหาศิลาก็ดี คูหาไม้ก็ดี คูหาดินก็ดี แม้ให้ใหญ่ก็ไม่เป็นอาบัติ.

บทว่า ติณกุฎีกาโย มีความว่า ปราสาทแม้มีพื้น ๗ ชั้น แต่ หลังคามุงด้วยหญ้าและใบไม้ ท่านก็เรียกว่า กุฎีหญ้า. แต่ในอรรถกถา

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 423

ทั้งหลาย ท่านเรียกกุฎีที่เขาทำหลังคาให้ประสานกันดุจตาข่าย ด้วยไม้ ระแนงทั้งหลายย แล้วมุงด้วยพวกหญ้าหรือใบไม้นั้นแลว่า เรือนเล้าไก่ ไม่เป็นอาบัติในเพราะกุฎีที่เขามุงแล้วนั่น. จะกระทำเรือนหลังคามุงหญ้า แม้ให้ใหญ่ ก็ควร เพราะว่าภาวะมีการโบกฉาบปูนภายในเป็นต้นเป็น ลักษณะแห่งกุฎี. และภาวะมีโบกฉาบปูนภายในเป็นต้นนั้น บัณฑิตพึง ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงหลังคาเท่านั้น.

ก็คำว่า หญ้าและใบไม้แห่งโรงจงกรมพังลง ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราอนุญาตเพื่อกำหนดทำการโบกฉาบปูนทั้งภายในและภายนอก เป็นต้น เป็นเครื่องสาธกในกุฎีหญ้านี้. เพราะฉะนั้น เรือนหลังใด มีปีกสองข้าง หรือติดยอด กลม หรือ ๔ เหลี่ยมจตุรัสเป็นของที่เขาสร้างโดยสังเขปว่า นี้เป็นหลังคาของเรือนหลังนี้ เมื่อการฉาบเชื่อมติดต่อกันกับด้วยการฉาบ ฝาผนังของเรือนหลังนั้นแล้ว เป็นอาบต. ก็ถ้าว่าภิกษุทั้งหลายมุงด้วย หญ้าข้างบน เพื่อรักษาเครื่องฉาบของเรือนที่มีหลังคาโบกฉาบปูนไว้ทั้ง ภายในและภายนอก ไม่ชื่อว่าเป็นกุฎีหญ้า ด้วยอาการเพียงเท่านี้.

ถามว่า ก็ในกุฎีหญ้านี้ ไม่เป็นอาบัติ เพราะสงฆ์ไม่ได้แสดงที่ให้ และทำล่วงประมาณเป็นปัจจัยเท่านั้น หรือว่า แม้เพราะมีผู้จองไว้และ ไม่มีชานรอบเป็นปัจจัยเล่า?

ตอบว่า ไม่เป็นอาบัติ แม้ในทุกๆ กรณี.

จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงกุฎีเช่นนี้ จึงตรัสไว้ ในคัมภีร์ปริวารว่า

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 424

ภิกษุสร้างกุฎี ซึ่งสงฆ์ไม่แสดงที่ให้ ล่วงประมาณ มีผู้ จองไว้ ไม่มีชานรอบด้วยการขอเอาเอง ไม่เป็นอาบัติ ปัญหานี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย คิดกันแล้ว.

ส่วนคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในบาลีมีอาทิว่า ภิกษุผู้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ ๓ ตัว ดังนี้ ตรัสเพราะการไม่สร้างตามที่สั่งไว้เป็นปัจจัย.

สองบทว่า อญฺสฺสตฺถาย มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้สร้าง. กุฎี แม้ไม่ถูกลักษณะของกุฎี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น คืออุปัชฌาย์ก็ตาม อาจารย์ก็ตาม สงฆ์ก็ตาม

ข้อว่า วาสาคารํ เปตฺวา สพฺพตฺถ มีความว่า ภิกษุให้สร้าง อาคารอื่น เว้นอาคารเพื่อประโยชน์เป็นที่อยู่ของตนเสีย ด้วยตั้งใจว่า จักเป็นโรงอุโบสถก็ตาม เป็นเรือนไฟก็ตาม เป็นหอฉันก็ตาม เป็นโรง ไฟก็ตาม; ไม่เป็นอาบัติในเพราะอาคารทั้งหมด มีโรงอุโบสถเป็นต้น. ถ้าแม้นภิกษุนั้น มีความรำพึงในใจว่า จักเป็นโรงอุโบสถด้วย เราจัก อยู่ด้วย ดังนี้ ก็ดี ว่า จักเป็นเรือนไฟด้วย จักเป็นศาลาฉันด้วย ... จัก เป็นโรงไฟด้วย เราจักอยู่ด้วย ดังนี้ ก็ดี แม้เมื่อให้สร้างโรงอุโบสถ เป็นต้น เป็นอาบัติแท้. แต่ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวว่า ไม่เป็นอาบัติ แล้วกล่าวว่า เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้สร้าง เพื่อประโยชน์แก่เรือนเป็นที่อยู่ ของตนเท่านั้น.

บทว่า อนาปตฺติ มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุบ้า และแก่ พวกภิกษุชาวแคว้นอาฬวี ผู้เป็นต้นบัญญัติเป็นต้น.

ในสมุฏฐานเป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้:- สิกขาบทนี้ มีสมุฏ- ฐาน ๖ เป็นกิริยา. แท้จริง สิกขาบทนี้ ย่อมเกิดโดยการกระทำของภิกษุ

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 425

ผู้ให้สงฆ์แสดงที่ให้แล้ว สร้างให้ล่วงประมาณไป, เกิดทั้งโดยการทำและไม่ทำของภิกษุผู้ไม่ให้สงฆ์แสดงที่ให้แล้วสร้าง เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.

กุฏีการสิกขาบทวรรณนา จบ