สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๐
[เล่มที่ 3] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓
พระวินัยปิฏก เล่ม ๑ ภาค ๓
มหาวิภังค์ ปฐมภาค
สมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย
มหาวิภังค์วรรณนา ภาค ๒
เตรสกัณฑวรรณนา
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๐
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐
แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระเทวทัต 572
พระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าในข้อนี้ 573
ปลาเนื้อบริสุทธิ์โดยส่วน ๓ เป็นกัปปิยะควรฉัน 575
แก้อรรถตอนพระเทวทัตทูลขอวัตถุ ๕ 579
แก้อรรถตอนตรัสประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท 580
แก้อรรถบทภาชนีย์ว่าด้วยการชอบธรรมเป็นต้น 585
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 3]
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 560
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องพระเทวทัต
[๕๙๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนคร
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 561
ราชคฤห์ ครั้งนั้นพระเทวทัตเข้าไปหาพระโกกาลิกะ พระกูฏโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัต ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะพระโกกาลิกะ พระกูฎโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัต ว่า มาเถิด อาวุโสทั้งหลาย พวกเราจักกระทำสังฆเภท จักรเภท แก่ พระสมณโคดม
เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้แล้ว พระโกกาลิกะได้กล่าวคำนี้กะ พระเทวทัตว่า อาวุโส พระสมณโคดมมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ไฉนเราจักทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดมได้เล่า
วัตถุ ๕ ประการ
พระเทวทัตกล่าวว่า มาเถิด อาวุโสทั้งหลาย พวกเราจักเข้าเฝ้า พระสมณโคดม ทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย ความสันโดษ ความ ขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ ความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัตถุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเสื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ๑. ภิกษุ ทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุใดอาศัยบ้านอยู่ โทษพึงถูกต้องภิกษุ นั้น ๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีการ นิมนต์ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอด ชีวิต ภิกษุใดยินดีผ้าคหบดี โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๔. ภิกษุทั้งหลาย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 562
ควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุใดเข้าอาศัยที่มุงบัง โทษพึงถูกต้องภิกษุ นั้น ๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุใดฉันปลา และเนื้อ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น พระสมณโคดม จักไม่ทรงอนุญาต วัตถุ ๕ ประการนี้ พวกเราทั้งนั้นจักโฆษณาให้ชุมชนเชื่อถือด้วยวัตถุ ๕ ประการนี้ อาวุโสทั้งหลาย พวกเราสามารถที่จะกระทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดมได้ เพราะวัตถุ ๕ ประการนี้แล เพราะคนทั้งหลาย เลื่อมใสในลูขปฏิบัติ.
[๕๙๑] ครั้งนั้น พระเทวทัตพร้อมด้วยบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงสรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย ความ สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัตถุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความ กำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดย อเนกปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุใดอาศัยบ้านอยู่ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีการนิมนต์ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๓. ภิกษุทั้งหลายควร ถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีผ้าคหบดี โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุใดเข้าอาศัยที่มุงบัง โทษ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 563
พึงถูกต้องภิกษุนั้น ๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุใดฉันปลาและเนื้อ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าห้ามว่า อย่าเลย เทวทัต ภิกษุใดปรารถนา ก็จงอยู่ป่า ภิกษุใดปรารถนา ก็จงอยู่บ้าน ภิกษุใดปรารถนา ก็จงเที่ยว บิณฑบาต ภิกษุใดปรารถนา ก็จงยินดีการนิมนต์ ภิกษุใดปรารถนา ก็จงถือผ้าบังสุกุล ภิกษุใดปรารถนา ก็จงยินดีผ้าคหบดี ดูก่อนเทวทัต เราอนุญาตรุกขมูลเสนาสนะตลอด ๘ เดือนเท่านั้น เราอนุญาตปลาและ เนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ๑. ไม่ได้เห็น ๒. ไม่ได้ยิน ๓. ไม่ได้รังเกียจ.[๕๙๒] ครั้งนั้น พระเทวทัตร่าเริงยินดีเป็นอย่างยิ่งว่า พระผู้มี พระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการนี้ แล้วพร้อมด้วยบริษัท ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณหลีกไป ต่อมา เธอพร้อมด้วยบริษัทเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ โฆษณาให้ประชาชน เชื่อถือด้วยวัตถุ ๕ ประการว่า อาวุโสทั้งหลาย เราเข้าเฝ้าพระสมณโคดม ทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงสรรเสริญ คุณแห่งความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการ ที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัตถุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความ สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุใดอาศัยบ้านอยู่ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 564
บิณฑบาตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีการนิมนต์ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสกุลตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีผ้าคหบดี โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุ ใดอาศัยที่มุงบัง โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลา และเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุใดฉันปลาและเนื้อ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น พระสมณโคดมไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการนี้ พวกเราเท่านั้นสมาทาน ประพฤติวัตถุ ๕ ประการนี้อยู่.
[๕๙๓] บรรดาประชาชนชาวพระนครราชคฤห์นั้น จำพวกที่ไม่มี ศรัทธา ไม่เลื่อมใส มีความรู้ทราม พากันกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้แล เป็นผู้กำจัด มีความประพฤติขัดเกลา ส่วนพระสมณโคดมเป็นผู้มีความมักมาก ดำริเพื่อความมักมาก ส่วนประชาชนจำพวกที่มีศรัทธาเลื่อมใสเป็นบัณฑิต มีความรู้สูง ต่าง พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระเทวทัตจึงได้ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักร ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเล่า
ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา อยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระเทวทัตจึงได้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักร เล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 565
เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระเทวทัตว่า ดูก่อนเทวทัต ข่าวว่า เธอตะเกียกตะกาย เพื่อทำลาย ข้อห้ามในพุทธจักร จริงหรือ.
พระเทวทัตทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การ กระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูก่อนโฆษบุรุษ ไฉนเธอจึงได้ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักรเล่า
ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใสยิ่ง หรือเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความ ไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอัน ของ ชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนพระเทวทัต โดยอเนกปริยาย ดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่า เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย แล้ว ทรงกระทำธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้นแก่ ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 566
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือเพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ ยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม เพื่อ ถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๔. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้ พร้อมเพรียงหรือถือเอาอธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกันยกย่องยันอยู่ ภิกษุ นั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรืออย่าได้ถือเอาอธิกรณ์อันเป็นเหตุ แตกกันยกย่องยันอยู่ ขอท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศเดียวกันย่อม อยู่ผาสุก แลภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายกล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่อง ยันอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลาย พึงสวดสมนุภาสกว่า จะครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย หากเธอถูกสวดสมนุภาส
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 567
กว่าจะครบสามจบอยู่ สละกรรมนั้นเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็น การดี หากเธอไม่สละเสีย เป็นสังฆาทิเสส.
เรื่องพระเทวทัต จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๙๔] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นโด มีการ งานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออยู่อย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะ ก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง ... ใด. บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 568
สงฆ์ที่ชื่อว่า ผู้พร้อมเพรียง คือมีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมาเดียวกัน
คำว่า ตะเกียกตะกายเพื่อทำลาย คือ แสวงหาพวก รวมเป็น ก๊กด้วยหมายมั่นว่า ไฉนภิกษุเหล่านี้ พึงแตกกัน พึงแยกกัน พึงเป็น พรรคกัน.
คำว่า หรือ ... อธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกัน ได้แก่ วัตถุเป็นเหตุ กระทำการแตกกัน ๑๘ อย่าง.
บทว่า ถือเอา คือ ยึดเอา.
บทว่า ยกย่อง คือ แสดง.
บทว่า ยันอยู่ คือ ไม่กลับคำ.
[๕๙๕] บทว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์.
บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุเหล่าอื่น อธิบายว่า ภิกษุ เหล่าใดได้เห็น ภิกษุเหล่าใดได้ยิน ภิกษุเหล่านั้นพึงว่ากล่าวภิกษุผู้ทำลาย สงฆ์รูปนั้นว่า ท่านอย่าได้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรืออย่าได้ถือเอาอธิกรณ์อัน เป็นเหตุแตกกัน ยกย่องยันอยู่ ขอท่านจง พร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่ วิวาทกัน มีอุเทศเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สอง พึง ว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากเธอสละเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลายทราบแล้วไม่ว่ากล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงคุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ แล้วพึงว่ากล่าวว่า ท่านอย่าได้ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรืออย่าได้ถือเอาอธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกันยกย่องยันอยู่ ขอ ท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดอง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 569
กัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก ดังนี้ พึงว่ากล่าวแม้ ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากเธอสละเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ.
วิธีสวดสมนุภาส
[๕๙๖] ภิกษุนั้น อันสงฆ์พึงสวดสมนุภาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสวดสมนุภาสอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศให้ สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสวดสมนุภาส
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละเรื่องนั้น ถ้าความพรั่งพร้อม ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่อง นั้นเสีย นี่เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาส ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวดสมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อ ให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวคำนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละ เรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 570
สมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน ผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละ เรื่องนั้น สงฆ์สมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวด สมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน ผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุผู้มีชื่อนี้ สงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว เพื่อให้สละเรื่องนั้น ชอบ แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
[๕๙๗] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติถุลลจัย
จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏเพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย เพราะกรรมวาจาสองครั้ง ย่อมระงับ.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติเติม ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั่นแล แม้ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 571
บทภาชนีย์
[๕๙๘] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๕๙๙] ภิกษุยังไม่ถูกสวดสมนุภาส ๑ ภิกษุผู้สละเสียได้ ภิกษุ วิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐
ปฐมสังฆเภทสิกขาบทวรรณนา
สังฆเภทสิกขาบทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป. ในสังฆเภทสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 572
[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระเทวทัต]
ในคำว่า อถโข เทวทตฺโต เป็นต้นนี้ มีวินิจฉัยดังนี้:-
เรื่องพระเทวทัต เรื่องที่พระเทวทัตบวช และเหตุที่ไปหาพรรคพวก มีภิกษุโกกาลิกเป็นต้น แล้วกล่าวชักชวนว่า มาเถิด ผู้มีอายุ! พวกเราจักกระทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดม ดังนี้ เป็นต้น ทั้งหมดมาแล้วโนสังฆเภทขันธกะนั้นแล.
ส่วนเรื่องขอวัตถุ ๕ จักมาในสังฆเภทขันธกะนั้นเหมือนกัน แม้ ก็จริง, ถึงอย่างนั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวในเรื่องขอวัตถุ ๕ นี้ก่อน แล้ว จึงจักผ่านไป เพราะเรื่องมาในสังฆเภทสิกขาบทนี้ ก็มี.
คำว่า สาธุ ภนฺเต ได้แก่ การทูลขอพระวโรกาส.
คำว่า ภิกฺขู ยาวชีวํ อารญฺิกา อสฺสุ มีความว่า ภิกษุทั้งหมด สมาทานอรัญญิกธุดงค์แล้ว จงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร คือ จงอยู่แต่ในป่า เท่านั้น ตลอดชีวิต.
ด้วยคำว่า โย คามนฺตํ โอสเรยฺย วชฺชํ นํ ผุเสยฺย พระเทวทัตกล่าวด้วยความประสงค์ว่า ภิกษุใด คือ แม้ภิกษุรูปหนึ่งละป่า เข้าสู่เขตบ้าน เพื่อต้องการจะอยู่, โทษพึงต้องภิกษุนั้น คือโทษจงต้อง ภิกษุนั้น ได้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงปรับภิกษุนั้นด้วยอาบัติ, แม้ ในวัตถุที่เหลือ ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
สองบทว่า ชนํ สญฺาเปสฺสสาม มีความว่า พวกเราจักยัง ประชาชนให้เข้าใจว่า พวกเราเป็นผู้มีความมักน้อยเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง มีคำอธิบายว่า พวกเราจักให้ประชาชนยินดีพอใจ คือ จักให้เลื่อมใส.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 573
ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า พอทรงสดับคำของพระเทวทัตผู้ทูลขอ วัตถุ ๕ นี้เท่านั้น ก็ทรงทราบได้ว่า เทวทัตนี้ มีความต้องการจะทำลาย สงฆ์จึงขอ ก็เพราะวัตถุ ๕ นั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต ย่อมเป็นไปเพื่ออันตรายแก่มรรค ของเหล่ากุลบุตรเป็นอันมาก; ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงปฎิเสธว่า อย่าเลย เทวทัต! แล้วตรัสว่า ภิกษุใดปรารถนา, ภิกษุนั้น จงเป็นผู้อยู่ป่าเถิด ดังนี้เป็นต้น.
[พระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าในข้อนี้]
อนึ่ง ในคำว่า โย อิจฺฉติ เป็นต้นนี้ กุลบุตรควรทราบความ ประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทราบความสมควรแก่ตน. จริงอยู่ ความประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในคำว่า โย อิจฺฉติ เป็นต้นนี้ ดังต่อไปนี้:-
ภิกษุรูปหนึ่ง มีอัธยาศัยใหญ่ มีอุตสาหะมาก ย่อมสามารถเพื่อ งดเสนาสนะใกล้แดนบ้านเสียแล้ว อยู่ในป่ากระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. ภิกษุ รูปหนึ่งที่มีกำลังอ่อนแอ มีเรี่ยวแรงน้อย ย่อมไม่สามารถจะอยู่ในป่า (กระทำที่สุดทุกข์ได้) , สามารถแต่ในคามเขตเท่านั้น. รูปหนึ่งมีกำลังมาก มีธาตุเป็นไปสม่ำเสมอ สมบูรณ์ด้วยอธิวาสนขันติมีจิตคงที่ในอิฎฐารมณ์ และอนิฎฐารมณ์ ย่อมสามารถทั้งในป่า ทั้งในเขตบ้านได้ทั้งนั้น. รูปหนึ่ง ไม่อาจทั้งในเขตบ้าน ทั้งในป่า คือ เป็นปทปรมบุคคล.
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนี้ใด มีอัธยาศัยใหญ่ มีอุตสาหะมาก ย่อมสามารถเพื่องดเสนาสนะใกล้แดนบ้านเสียแล้ว อยู่ในป่ากระทำที่สุด ทุกข์ได้, ภิกษุรูปนั้น จงอยู่ในป่าเท่านั้นเถิด, การอยู่ในป่านี้ สมควร
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 574
แก่เธอ. แม้พวกสัทธิวิหาริกเป็นต้นของเธอ ศึกษาตามอยู่ จักสำคัญ ข้อที่ตนควรอยู่ในป่าด้วย. อนึ่ง ภิกษุรูปใด มีกำลังอ่อนแอ มีเรื่ยวแรง น้อย ย่อมอาจจะกระทำที่สุดทุกข์ได้ในแดนบ้านเท่านั้น ในป่าไม่อาจ, ภิกษุนั้นจงอยู่แต่ในเขตบ้านนั้น ก็ได้ ส่วนภิกษุรูปใด ซึ่งมีกำลังแข็งแรง มีธาตุเป็นไปสม่ำเสมอ สมบูรณ์ด้วยอธิวาสนขันติ มีจิตคงที่ ในอิฎ- ฐารมณ์และอนิฎฐารมณ์ ย่อมอาจทั้งในป่าทั้งในแดนบ้านทีเดียว. แม้ รูปนี้ จงละเสนาสนะใกล้แดนบ้านเสียแล้ว อยู่ในป่าเถิด, การอยู่ในป่านี้ สมควรแก่เธอ. แม้พวกสัทธิวิหาริกเป็นต้นของเธอ ศึกษาตามอยู่ จัก สำคัญข้อที่ตนควรอยู่ป่า.
ส่วนภิกษุนี้ใด ซึ่งไม่อาจทั้งในแดนบ้าน ไม่อาจทั้งในบ่า เป็น ปทปรมบุคคล, แม้รูปนี้ ก็จงอยู่ในป่านั้นเถิด. เพราะว่า การเสพ ธุดงคคุณ และการเจริญกรรมฐานนี้ของเธอ จักเป็นอุปนิสัยเพื่อมรรค และผลต่อไป (ในอนาคต). แม้พวกสัทธิวิหาริกเป็นต้นของเธอเมื่อศึกษา ตาม จักสำคัญข้อที่ตนควรอยู่ป่า ฉะนี้แล. ภิกษุนี้ใด ซึ่งเป็นผู้มีกำลัง อ่อนแอ มีเรี่ยวแรงน้อยอย่างนี้ เมื่ออยู่ในแดนบ้านเท่านั้น จึงอาจเพื่อ จะทำที่สุดทุกข์ได้ ในป่า ไม่อาจ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงบุคคล เช่นนี้ จึงตรัสว่า โย อิจฺฉติ คามนฺเต วิหรตุ (ภิกษุใดปรารถนา,) ภิกษุนั้นจงอยู่ในแดนบ้านเถิด) ดังนี้. และบุคคลนี้ ได้ให้ช่องแม้แก่ คนเหล่าอื่น.
ก็ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า พึงทรงรับรองวาทะของพระเทวทัต ไซร้, บุคคลนี้ใด ซึ่งมีกำลังอ่อนแอ มีเรี่ยวแรงน้อยตามปกติ, ถึง บุคคลใดสามารถอยู่ในป่าสำเร็จได้แต่ในเวลายังเป็นหนุ่ม ต่อมาในเวลา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 575
แก่ตัวลง หรือในเวลาเกิดธาตุกำเริบ เพราะลมและดีเป็นต้นอยู่ป่าไม่ สำเร็จ, แต่เมื่ออยู่ในแดนบ้านเท่านั้น จึงอาจกระทำที่สุดทุกข์ได้. บุคคล เหล่านั้น จะพึงสูญเสียอริยมรรคไป ไม่พึงบรรลุอรหัตตผลได้, สัตถุศาสน์ พึงกลายเป็นนอกธรรมนอกวินัย ยุ่งเหยิง ไม่เป็นไปเพื่อนำออกจากทุกข์. และพระศาสดาจะพึงเป็นผู้มิใช่พระสัพพัญญูของบุคคลจำพวกนั้น ทั้งจะ พึงถูกตำหนิติเตียนว่า ทรงทิ้งวาทะของพระองค์เสีย ไปตั้งอยู่ในวาทะ ของพระเทวทัต ดังนี้.
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงสงเคราะห์บุคคล ทั้งหลายผู้เห็นปานนี้ จึงทรงปฎิเสธวาทะของพระเทวทัต. ในเรื่องแห่ง ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรก็ดี ในเรื่องแห่งภิกษุผู้ถือผ้าบังสกุลเป็น วัตรก็ดี ในเรื่องแห่งภิกษุผู้ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตรตลอด ๘ เดือนก็ดี พึง ทราบวินิจฉัยโดยอุบายนี้นั่นแล. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงห้ามเสนาสนะ โคนไม้ตลอด ๔ เดือน (ฤดูฝน) เท่านั้น.
[ปลาเนื้อบริสุทธิ์โดยส่วน ๓ เป็นกัปปิยมังสะควรฉันได้]
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องปลาและเนื้อ ดังนี้:-
บทว่า ติโกฏิปริสุทฺธํ ได้แก่ บริสุทธิ์โดยส่วน ๓. อธิบายว่า เว้นจากที่ไม่บริสุทธิ์ มีการเห็นเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ.
บรรดามังสะ ๓ อย่างนั้น มังสะที่ชื่อว่า ไม่ได้เห็น คือ ไม่เห็น ชาวบ้านฆ่าเนื้อและปลา เอามาเพื่อประโยชน์แก่พวกภิกษุ. ที่ชื่อว่า ไม่ได้ยิน คือ ไม่ได้ยินว่า พวกชาวบ้านฆ่าเนื้อ ปลา เอามาเพื่อ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 576
ประโยชน์แก่พวกภิกษุ, ส่วนที่ไม่ได้รังเกียจ ผู้ศึกษาควรรู้จักมังสะที่ รังเกียจด้วยการเห็น รังเกียจด้วยการได้ยิน และที่รังเกียจพ้นจากเหตุ ทั้งสองนั้น แล้วพึงทราบโดยส่วนตรงกันข้ามจากสามอย่างนั้น.
คือ อย่างไร? คือว่า พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นพวกชาว บ้านถือแหและตาข่ายเป็นต้น กำลังออกไปจากบ้าน หรือกำลังเที่ยว ไปในป่า. และในวันรุ่งขึ้น พวกชาวบ้านนำบิณฑบาตมีปลาและเนื้อมา ถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้เข้าไปยังบ้านนั้นเพื่อบิณฑบาต. ภิกษุเหล่านั้น รังเกียจด้วยการได้เห็นนั้นว่า พวกชาวบ้านทำเนื้อเพื่อประโยชน์แก่พวก ภิกษุหรือหนอแล? มังสะนี้ ชื่อว่า รังเกียจโดยได้เห็นมา. จะรับมังสะ เช่นนั้น ไม่ควร. มังสะที่ไม่ได้รังเกียจเช่นนั้นจะรับ ควรอยู่. ก็ถ้า พวกชาวบ้านเหล่านั้น ถามว่า ทำไม ขอรับ! ท่านจึงไม่รับ? ได้ฟัง ความนั้นแล้ว พูดว่า มังสะนี้ พวกกระผมไม่ได้กระทำเพื่อประโยชน์ แก่ภิกษุทั้งหลาย, พวกกระผมกระทำเพื่อประโยชน์แก่ตนบ้าง เพื่อประโยชน์แก่ข้าราชการเป็นต้นบ้าง ดังนี้, มังสะนั้น ควร.
ภิกษุทั้งหลายหาเห็นไม่แล, แต่ได้ฟังว่า ได้ยินว่า พวกชาวบ้าน มีมือถือแหและตาข่ายออกจากบ้าน หรือเที่ยวไปในป่า และในวันรุ่งขึ้น พวกชาวบ้านนำบิณฑบาตมีปลาและเนื้อมาถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้เข้าไป ยังบ้านนั้น เพื่อบิณฑบาต. พวกเธอสงสัยด้วยการได้ยินนั้นว่า เขาทำ เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย หรืออย่างไรหนอ? มังสะนี้ ชื่อว่า รังเกียจด้วยได้ยินมา. จะรับมังสะนั้น ไม่ควร. มังสะที่ไม่ได้สงสัยอย่างนี้ จะรับ ควรอยู่. ก็ถ้าพวกชาวบ้านเหล่านั้น ถามว่า ทำไม ขอรับ! ท่านจึงไม่รับเล่า? ได้ฟังความนั้นแล้ว จึงพูดว่า มังสะนี้ พวกกระผม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 577
ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย, พวกกระผมทำเพื่อประโยชน์แก่ ตนเองบ้าง เพื่อประโยชน์แก่ข้าราชการเป็นต้นบ้าง ดังนี้, มังสะนั้น ควรอยู่.
อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟังมาเลย, แต่เมื่อพวกภิกษุ เหล่านั้นเข้าไปยังบ้านนั้นเพื่อบิณฑบาต ชาวบ้านรับบาตรไปแล้ว จัด บิณฑบาตมีปลา เนื้อ นำมาถวาย. พวกเธอรังเกียจว่า มังสะนี้ เขาทำ เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย หรืออย่างไรหนอ? นี้ชื่อว่า มังสะที่ รังเกียจพ้นจากเหตุทั้งสองนั้น. แม้มังสะเช่นนั้น ก็ไม่สมควรรับ. มังสะ ที่ไม่ได้รังเกียจอย่างนั้น จะรับ ควรอยู่ ก็ถ้าว่าพวกชาวบ้านเหล่านั้น ถามว่า ทำไม ขอรับ! พวกท่านจึงไม่รับ? แล้วได้ฟังความนั้น จึง พูดว่า มังสะนี้ พวกกระผมไม่ได้กระทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย, พวกกระผมกระทำเพื่อประโยชน์แก่ตนบ้าง เพื่อประโยชน์แก่พวกข้าราชการเป็นต้นบ้าง, หรือว่า พวกกระผมได้ปวัตตมังสะ เฉพาะที่เป็นกัปปิยะ เท่านั้น จึงปรุงให้สำเร็จเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย มังสะนั้น ควรอยู่. แม้ในมังสะที่เขาทำเพื่อประโยชน์แห่งเปตกิจ แก่ผู้ตายไปแล้วก็ดี เพื่อ ประโยชน์ แก่งานมงคลเป็นต้นก็ดี ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ มังสะชนิดใดๆ ที่เขาไม่ได้กระทำเพื่อภิกษุทั้งหลายเลย และภิกษุก็ไม่มี ความสงสัยในมังสะใด, มังสะนั้นๆ ควรทั้งนั้น.
ก็ถ้าว่า มังสะที่เขาทำอุทิศพวกภิกษุในวิหารหนึ่ง และพวกเธอ ไม่ทราบว่าเขากระทำเพื่อประโยชน์ตน, แต่ภิกษุพวกอื่นรู้ พวกใดรู้ ไม่ควรแก่พวกนั้น. พวกอื่นไม่รู้ แต่พวกเธอเท่านั้นรู้, ย่อมไม่ควร เฉพาะพวกเธอนั้น, แต่ควรสำหรับพวกอื่น. แม้พวกเธอรู้อยู่ว่า เขา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 578
กระทำเพื่อประโยชน์แก่พวกเรา, ถึงภิกษุพวกอื่นก็รู้ว่า เขาทำเพื่อ ประโยชน์แก่ภิกษุพวกนี้ ไม่ควรแก่พวกเธอทั้งหมด. พวกภิกษุทั้งหมด ไม่รู้, ย่อมควรแก่พวกเธอทั้งหมด. บรรดาสหธรรมิกทั้ง ๕ มังสะอัน เขาทำเจาะจงเพื่อประโยชน์แก่สหธรรมิกรูปใดรูปหนึ่งหนึ่งก็ตาม ย่อมไม่สม ควรแก่สหธรรมิกทั้งนั้น.
ถามว่า ก็ถ้าว่า มีบุคคลบางคนฆ่าสัตว์ เจาะจงภิกษุรูปหนึ่งบรรจุ บาตรให้เต็มแล้ว ถวายแก่ภิกษุรูปนั้น และเธอรู้อยู่ด้วยว่า มังสะเขา กระทำเพื่อประโยชน์ตน รับไปแล้วถวายแก่ภิกษุรูปอื่น ภิกษุรูปอื่นนั้น ฉันด้วยเชื่อภิกษุนั้น, ใครต้องอาบัติเล่า?
ตอบว่า ไม่ต้องอาบัติแม้ทั้งสองรูป.
ด้วยว่า มังสะที่เขาทำเฉพาะภิกษุใด ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น เพราะเธอไม่ได้ฉัน, และไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนอกนี้ เพราะไม่รู้. แท้จริง ในการรับกัปปิยมังสะ ไม่เป็นอาบัติ. แต่ภิกษุไม่รู้ ฉันมังสะที่เขากระทำ เจาะจง ภายหลังรู้เข้า กิจด้วยการแสดงอาบัติ ไม่มี. ส่วนภิกษุไม่รู้ ฉันอกัปปิยมังสะ แม้ภายหลังรู้เข้า พึงแสดงอาบัติ. จริงอยู่ เป็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้รู้แล้ว ฉันมังสะที่เขาทำเจาะจง. และเป็นอาบัติเหมือนกัน แม้ แก่ภิกษุผู้ไม่รู้ ฉันอกัปปิยมังสะ. เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้เกรงกลัวต่ออาบัติ แม้เมื่อกำหนดรูปการณ์ พึงถามก่อนแล้วจึงรับประเคนมังสะ, จะรับ ประเคนด้วยใจตั้งว่า ในเวลาฉันเราจักถามแล้ว จึงจะฉัน ควรถามก่อน แล้ว จึงฉัน.
ถามว่า เพราะเหตุไร?
ตอบว่า เพราะมังสะรู้ได้ยาก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 579
ความจริง เนื้อหมี ก็คล้ายกับเนื้อสุกร. เนื้อเสือเหลืองเป็นต้น ก็เหมือน กับเนื้อมฤคเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น เพราะอาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า การถามแล้วจึงรับประเคนนั่นแล เป็นธรรนเนียม.
[แก้อรรถตอนพระเทวทัตทูลขอวัตถุ ๕]
สองบทว่า หฏฺโ อุหคฺโค ได้แก่ เป็นผู้ยินดีแล้ว และมีกาย ใจฟูขึ้นแล้ว.
ได้ยินว่า พระเทวทัตนั้นคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาต วัตถุ ๕ เหล่านี้, บัดนี้ เราจักอาจเพื่อทำสังฆเภท ดังนี้ จึงได้แสดง อาการลิงโลดแก่พระโกกาลิก ไม่รู้ว่าทุกข์ที่ตนจะพึงบังเกิดในอเวจีแล้ว เสวย แม้ซึ่งใกล้เข้ามาเพราะสังฆเภทเป็นปัจจัย ร่าเริงเบิกบานใจว่า บัดนี้ เราได้อุบาย เพื่อทำลายสงฆ์ เหมือนดังบุรุษผู้ประสงค์จะกินยาพิษ ตาย หรือประสงค์จะเอาเชือกผูกคอตาย หรือประสงค์จะเอาศัสตรามาฆ่า ตัวตาย ได้วัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง มียาพิษเป็นต้น ไม่รู้จักทุกข์ คือ ความตายแม้ใกล้เข้ามา เพราะการกินยาพิษเป็นต้นนั้นเป็นปัจจัย เป็นผู้ ร่าเริงเบิกบานใจอยู่ ฉะนั้น จึงพร้อมด้วยบริษัทลุกจากที่นั่ง ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยความเป็นผู้ร่าเริงนั่นแล ได้กระทำประทักษิณแล้ว หลีกไป.
ก็ในคำว่า เต มยํ อิเมหิ ปญฺจหิ วตฺถูหิ สมาทาย วตฺตาม นี้ แม้เมื่อพระเทวทัตควรจะกล่าวคำว่า อิมานิ ปญฺจ วตฺถูนิ ดังนี้ ไม่ทันได้สังเกตความผิดพลาดแห่งวิภัตติ ด้วยอำนาจแห่งวิตกเนืองๆ ว่า เต มยํ อเมหิ ปญฺจหิ วตฺถูหิ ชนํ สญฺาเปสฺสาม (พวกเรานั้น)
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 580
จักยังประชาชนให้ยินยอมด้วยวัตถุ ๕ เหล่านี้) ดังนี้ จึงกล่าวตามควร แก่ความรำพึงเนืองๆ นั่นแลว่า เต มยํ อิเมหิ ปญฺจหิ วตฺถูหิ ...(พวกเรานั้นจะสมาทานประพฤติด้วยวัตถุ ๕ เหล่านี้) เหมือนกับคนมีจิต ฟุ้งซ่านฉะนั้นแล.
สองบทว่า ธุตา สลฺเลขวุตฺติโน มีความว่า ผู้ชื่อว่า ธุตะ เพราะ เป็นผู้ประกอบด้วยปฏิปทาอันกำจัดเสียซึ่งกิเลส, และผู้ชื่อว่ามีความประพฤติขัดเกลา เพราะภิกษุเหล่านี้ มีความประพฤติขัดเกลากิเลสทั้งหลาย.
บทว่า พาหุลฺลิโก มีความว่า ภาวะที่ปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น มีมาก ชื่อว่า พาหุลละ. ความที่ปัจจัย ๔ มีมาก มีแก่พระโคดมนั้น; เหตุนั้น พระโคดมนั้น ชื่อว่า พาหุลลิกะ อีกอย่างหนึ่ง พระโคดมนั้น เป็นผู้ ประกอบ คือตั้งอยู่ในความมีปัจจัยมากนั้น; เหตุนั้น จึงชื่อว่า พาหุลลิกะ (เป็นผู้มีความมักมาก).
สองบทว่า พาหุลฺลาย เจเตติ มีความว่า ย่อมคิด คือย่อมดำริ ย่อมตรึก เพื่อต้องการความมีปัจจัยมาก. อธิบายว่า ผู้ถึงความขวนขวาย อย่างนี้ว่า ทำอย่างไรหนอ ความเป็นผู้มีปัจจัย มีจีวรเป็นต้นมาก จะพึง มีแก่เราและสาวกของเรา.
[แก้อรรถตอนตรัสประชุมสงฆ์แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท]
หลายบทว่า ธมฺมึ กถํ กตฺวา มีความว่า ทรงกระทําธรรมีกถา อันสมควรในขณะนั้น คือเหมาะสมในขณะนั้น แก่พระเทวทัตและแก่ ภิกษุทั้งหลายเป็นอเนกประการ โดยนัยที่ตรัสไว้ในขันธกะ มีอาทิอย่างนี้ว่า อย่าเลย เทวทัต! การทำลายสงฆ์ อย่าเป็นที่ชอบใจแก่เธอเลย, ดูก่อน เทวทัต! การทำลายสงฆ์ หนักแล. ดูก่อนเทวทัต! บุคคลใดแล ทำลาย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 581
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน, ผู้นั้น จะประสบกรรมอันหยาบช้า คงอยู่ชั่วกัป, ดูก่อนเทวทัต! ส่วนบุคคลใดแล กระทำสงฆ์ที่แตกกันแล้วให้สมัคร สมานกัน, ผู้นั้นย่อมประสบบุญอันประเสริฐ บันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป ดังนี้.
บทว่า สมคฺคสฺส ได้แก่ ผู้ร่วมกัน, อธิบายว่า ผู้ไม่แยกกัน ทั้งทางใจและทางกาย. จริงอยู่ แม้ในบทภาชนะ พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้ทรงแสดงเนื้อความอย่างนั้นเหมือนกัน.
แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสว่า สมานสํวาสโก ย่อมเป็น อันทรงแสดงความไม่แยกกันทางจิต.
เมื่อตรัสว่า สมานสีมายํ ิโต ย่อมเป็นอันทรงแสดงความไม่ แยกกันทางกาย. คืออย่างไร? คือว่า ภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกัน เว้นจาก ผู้มีสังวาสต่างกันโดยลัทธิ หรือผู้มีสังวาสต่างกันโดยกรรม ชื่อว่าเป็นผู้ ไม่แยกกันทางจิต เพราะมีจิตเสมอกัน, ผู้ตั้งอยู่ในสีมาเสมอกัน ชื่อว่า เป็นผู้ไม่แยกกันทางกาย เพราะให้กายสามัคคี.
สองบทว่า เภทนสํวตฺตนิกํ วา อธิกรณํ ได้แก่ เหตุที่เป็นไป เพื่อแตกแยกกัน คือเพื่อต้องการทำลายสงฆ์.
จริงอยู่ ในโอกาสนี้ เหตุท่านประสงค์เอาว่า อธิกรณ์ ดุจใน ประโยคว่า กามเหตุ กามนิทานํ กามาธิกรณํ (แปลว่า มีกาม เป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเหตุ มีกามเป็นมูลเหตุ). ก็เพราะอธิกรณ์นั้นมี ๑๘ ประการ; ฉะนั้น ในบทภาชนะพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วัตถุ กระทำความแตกแยกกันมี ๑๘ อย่าง. ก็เภทกรวัตถุเหล่านั้นมาแล้วใน ขันธกะโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนอุบาลี! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 582
อธรรมว่า ธรรม ดังนี้. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจักพรรณนาเนื้อความแห่ง เภทกรวัตถุเหล่านั้นในขันธกะนั้นนั่นแล. อนึ่ง สังฆเภทนี้ แม้ใด อาศัย วัตถุเหล่านี้ ย่อมมีโดยเหตุอื่นอีก ๕ ประการ คือ โดยกรรม ๑ โดยอุเทศ ๑ โดยโวหาร ๑ โดยอนุสาวนา ๑ โดยการจับสลาก ๑, ข้าพเจ้าจักประกาศ สังฆเภทแม้นั้น ในอาคตสถานนั่นแล. แต่โดยสังเขปในคำว่า ถือเอา อธิกรณ์ที่เป็นไปเพื่อความแตกแยกกัน นี้ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความอย่าง นี้ว่า ถือเอาเหตุที่เป็นไปเพื่อต้องการทำลายสงฆ์ คืออันสามารถให้สำเร็จ การทำลายสงฆ์ได้.
บทว่า ปคฺคยฺห ได้แก่ ประคอง คือยกย่อง ทำให้ปรากฎ.
บทว่า ติฏฺเยฺย มีความว่า ยืนยันให้เป็นอย่างที่ตนถือเอาแล้ว คืออย่างที่ตนยกย่องแล้วนั่นแลอยู่. ก็เพราะอธิกรณ์นั้น. ย่อมเป็นอัน ภิกษุผู้ประคองและยืนยันอย่างนั้น แสดงแล้วและไม่สละคืน; ฉะนั้น ในบทภาชนะพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า พึงแสดง และว่า ไม่พึงสละคืน ดังนี้
คำว่า ภิกฺขูหิ เอวมสฺส วจนีโย มีความว่า ภิกษุนั้น เป็น ผู้อันพวกลัชชีภิกษุเหล่าอื่นจะพึงว่ากล่าวอย่างนี้.
ก็ในบทภาชนะแห่งบทว่า ภิกฺขูหิ นั้น มีวินิจฉัยดังนี้:- คำว่า เย ปสฺสนฺติ มีความว่า ภิกษุเหล่าใดเห็นภิกษุนั้นผู้ยกย่องยันอยู่ต่อหน้า.
คำว่า เย สุณนฺติ มีความว่า แม้ภิกษุเหล่าใด ได้ยินว่า พวกภิกษุ ในวิหารชื่อโน้น ถือเอาอธิกรณ์อันเป็นไปเพื่อความแตกกันยกย่องยันอยู่.
คำว่า สเมตายสฺมา สงฺเฆน มีความว่า ท่านผู้มีอายุ ขอจงร่วม จงสมาคม จงเป็นผู้มีลัทธิอันเดียวกันกับด้วยสงฆ์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 583
ถามว่า เพราะเหตุไร?
ตอบว่า เพราะว่า สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่ วิวาทกัน มีอุเทศเดียวกัน ย่อมอยู่เป็นผาสุก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺโมทมาโน มีความว่า บันเทิงอยู่ ด้วยดีด้วยสมบัติ (มีศีลเป็นต้น) ของกันและกัน
บทว่า อวิวทมาโน มีความว่า ไม่วิวาทกันอย่างนี้ นี้ธรรม นี้มิใช่ธรรม.
สงฆ์นั้นมีอุเทศอันเดียวกัน; เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอกุทเทส (มีอุเทศเดียวกัน). อธิบายว่า มีปาฏิโมกขุทเทส เป็นไปร่วมกันไม่ แยกกัน.
สองบทว่า ผาสุวิหรติ ได้แก่ ย่อมอยู่เป็นสุข.
คำว่า อิจฺเจตํ กุสลํ มีความว่า การสละเสียได้นั้น เป็นกุศล คือปลอดภัย ได้แก่เป็นสวัสดิภาพแก่ภิกษุนั้น.
ข้อว่า โน เจ ปฏินิสฺสชฺชติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ได้แก่ เป็น ทุกกฏ แก่ภิกษุผู้ถูกสวด ๓ ครั้ง แล้วไม่สละคืน.
ข้อว่า สุตฺวา น วทนฺติ อาปตฺติ ทุกฺกกสฺส มีความว่า เป็นทุกกฏ แม้แก่พวกภิกษุ ผู้ได้ยินแล้วไม่ว่ากล่าว ในที่ไกลเท่าไร จึงเป็นทุกกฏ แก่พวกภิกษุผู้ได้ยินแล้วไม่ว่ากล่าว. ในวิหารเดียวกัน ไม่มีคำที่จะพึง กล่าวเลย. ส่วนในอรรถกถา ท่านกล่าวว่า ในระยะทางกึ่งโยชน์โดยรอบ จัดเป็นภาระของภิกษุทั้งหลาย. ความพ้นจากอาบัติย่อมไม่มี แม้แก่ภิกษุ ผู้ส่งทูตหรือจดหมายไปพูด. พึงไปห้ามเองทีเดียวว่า ท่านผู้มีอายุ! การทำลายสงฆ์ เป็นการหนัก, เธออย่าพยายามเพื่อทำลายสงฆ์. แต่ภิกษุ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 584
ผู้สามารถ แม้ไกล ก็ควรไป. จริงอยู่ แม้ที่ไกลๆ จัดเป็นภาระของ พวกภิกษุไม่อาพาธทีเดียว. บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงแต่เพียงใจความเท่านั้น ในคำว่า ก็ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายกล่าวอยู่อย่างนี้ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้นว่า ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลาย พึงคุมตัวมา แม้สู่ท่ามกลางสงฆ์แล้ว พึงกล่าว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านี้นั้น สองบทว่า สงฺฆมชฺณมฺปิ อากฑฺฒิตฺวา มีความว่า ถ้าภิกษุนั้น อันพวกภิกษุว่ากล่าวอยู่โดยนัยก่อน ยังไม่สละ คืน แม้พวกภิกษุจับที่มือและที่เท้า คุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ แล้วพึง ว่ากล่าวเธออีกถึง ๓ ครั้ง โดยนัยเป็นต้นว่า มา อายสฺมา ดังนี้.
สองบทว่า ยาวตติยํ สมนุภาสิตพฺโพ มีความว่า สงฆ์พึงสวด สมนุภาสถึงครั้งที่ ๓ ก่อน. มีคำอธิบายว่า สงฆ์พึงกระทำกรรมด้วย สมนุภาสนกรรมวาจา ๓ หน. ก็ในบทภาชนะแห่งบทว่า ยาวตติยํ สมนุภาสิตพฺโพ นั้น เพื่อถือเอาแต่ใจความแสดงสมนุภาสนวิธี พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นว่า โส ภิกฺขุ สมนุภาสิตพฺโพ เอวญฺจ ปน ภิกฺขเว สมนุภาสิตพฺโพ ดังนี้.
ในคำว่า สมนุภาสิตพฺโพ เป็นต้นนั้น คำว่า ตฺติยา ทุกฺกฏํ ทฺวีหิ กมฺมวาจาหิ ถุลฺลจฺจยา ปฏิปฺปสฺสมฺภนฺติ มีความว่า อาบัติ ทั้ง ๓ คือ ทุกกฏที่ภิกษุต้องในที่สุดญัตติ และถุลลัจจัย ที่ต้องเพราะ กรรมวาจา ๒ หน ย่อมระงับไปด้วยกรรมวาจาครั้งที่ ๓ พอสวดถึง ย อักษร อย่างนี้ว่า ยสฺส นกฺขมติ โส ภาเสยฺย, ภิกษุนั้น ย่อมตั้งอยู่ ในสังฆาทิเสสทีเดียว.
ถามว่า อาบัติที่ต้องแล้วระงับไป หรือว่า อาบัติที่ไม่ได้ต้องระงับ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 585
ตอบว่า พระมหาสุมเถระกล่าวไว้ก่อนว่า ภิกษุใดสละกรรมนั้น ในเวลาจบ, ภิกษุนั้นย่อมไม่ต้องอาบัติเหล่านี้; เพราะเหตุนั้น อาบัติที่ ไม่ได้ต้องจึงระงับไป ส่วนพระมหาปทุมเถระกล่าวว่า อาบัติที่ต้องแล้ว ย่อมระงับไป ดุจอสาธารณาบัติ ระงับไปเพราะเพศกลับฉะนั้น, จะ ประโยชน์อะไร ด้วยอาบัติที่ยังไม่ได้ต้องระงับไปเล่า?
[แก้อรรถบทภาชนีย์ว่าด้วยกรรมชอบธรรมเป็นต้น]
สองบทว่า ธมฺมกมฺเม ธมฺมกมฺมสญฺี มีความว่า ถ้าสมนุภาสนกรรมนั้นเป็นกรรมชอบธรรม เธอมีความสำคัญในสมนุภาสนกรรมนั้นว่า เป็นกรรมชอบธรรม. ในบททั้งปวงก็มีนัยเหมือนกันนี้. ความสำคัญใน บทว่า กมฺมสญฺี นี้คุ้มไม่ได้ เพราะกรรมเป็นของชอบธรรม เมื่อไม่ สละอย่างนั้น ย่อมต้องอาบัติ.
บทว่า อสมนุภาสนฺตสฺส มีความว่า เมื่อไม่ถูกสวดสมนุภาส แม้ไม่ยอมสละ ก็ไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
บทว่า ปฏินิสฺสชฺชนฺตสฺส มีความว่า ไม่ต้องด้วยอาบัติสังฆาทิเสส แก่ภิกษุผู้สละเสียก่อนแต่ญัตติ หรือในขณะญัตติ หรือในเวลาจบญัตติ หรือเพียงที่สวดยังไม่ถึง ย อักษร แห่งอนุสาวนาที่ ๑ ก็ดี ที่ ๒ ก็ดี ที่ ๓ ก็ดี.
บทว่า อาทิกมฺมิกสฺส มีความว่า ก็ในสิกขาบทนี้ พระเทวทัต เป็นต้นบัญญัติ เพราะบาลีที่มาในคัมภีร์ปริวารว่า พระเทวทัตได้พยายาม ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน, ทรงปรารภพระเทวทัตในเพราะเรื่องนั้น. ก็พระเทวทัตนั่นแล เป็นต้นบัญญัติแห่งการพยายามเพื่อทำลายสงฆ์เท่านั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 586
หาได้เป็นต้นบัญญัติแห่งการไม่ยอมสละไม่. เพราะว่า กรรมนั้น สงฆ์ ไม่ได้ทำแก่เธอ.
ถ้าจะมีคำถามว่า ก็คำที่กล่าวนี้ พึงทราบได้อย่างไร?
ตอบว่า พึงทราบได้ โดยพระสูตร.
เหมือนอย่างว่า การย่อมปรากฏว่า สงฆ์ทำแล้วแก่อริฎฐภิกษุ เพราะบาลีที่มาในคัมภีร์ปริวารว่า อริฎฐภิกษุมีบรรพบุรุษเป็นคนฆ่าแร้ง ไม่ยอมสละด้วยสมนุภาสน์ จนถึงครั้งที่ ๓ ทรงปรารภอริฎฐภิกษุใน เพราะเรื่องนั้น ดังนี้ ฉันใด กรรมจะได้ปรากฎว่า สงฆ์ทำแก่พระเทวทัต ฉันนั้น หามิได้. แม้ถ้าใครๆ จะพึงกล่าวด้วยเหตุสักว่าความ ชอบใจของตนเท่านั้นว่า กรรมอันสงฆ์ทำแล้วแก่พระเทวทัตนั้น จะพึงมี ไซร้ แม้อย่างนั้น ขึ้นชื่อว่าอาบัติ ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ ในเพราะไม่สละเสีย. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า อนาบัติ ย่อมไม่ปรากฎแก่ภิกษุ ผู้ล่วงสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้ว นอกจากสิกขาบทที่ทรงอนุญาตไว้โดย เฉพาะ.
แม้คำว่า อาทิกมฺมิกสฺส ในอนาปัตติวารแห่งอริฏฐสิกขาบทที่ ท่านลิขิตไว้ในคัมภีร์ทั้งหลาย ก็ลิขิตไว้ด้วยความพลั้งเผลอ. ก็แลข้อที่ คำนั้น เป็นคำที่ท่านลิขิตไว้ด้วยความพลั้งเผลอ พึงทราบโดยพระบาลี สำหรับยกอาบัติในกรรมขันธกะอย่างนี้ว่า อริฎฐภิกษุอันสงฆ์พึงโจทก่อน, ครั้นโจทแล้วพึงให้เธอให้การ, ครั้นให้เธอให้การแล้ว พึงยกอาบัติขึ้น ปรับ กรรมนั้นสงฆ์ไม่ได้ทำแก่พระเทวทัตผู้เป็นอาทิกัมมิกะในเพราะ พยายามเพื่อทำลายสงฆ์ ด้วยประการฉะนี้; เพราะเหตุนั้น อาบัตินั้นแล ชื่อว่า ยังไม่เกิด, แต่พระเทวทัตนั้น ถูกเรียกว่า ผู้เป็นต้นบัญญัติ เพราะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 587
ทำความเข้าใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภท่านบัญญัติสิกขาบทอนาบัติท่านกล่าวแล้วสำหรับพระเทวทัตนั้น เพราะไม่มีอาบัตินั่นเองด้วยประการฉะนี้.
ก็แลอนาบัตินี้นั้น สำเร็จด้วยบทนี้เทียวว่า อสมนุภาสนฺตสฺส แม้โดยแท้, ถึงกระนั้น สงฆ์ไม่ได้ทำสมนุภาสนกรรมอย่างเดียวแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้น ท่านเรียก ชื่อว่า ผู้ไม่ถูกสวดสมนุภาส ไม่เรียกว่า ผู้เป็นต้นบัญญัติ ส่วนพระเทวทัตนี้ คงเป็นต้นบัญญัติแท้ , เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวบทว่า อาทิกมฺมิกสฺส ไว้.
วินิจฉัยในสมนุภาสน์แห่งสิกขาบททั้งปวง เว้นแต่อริฏฐสิกขาบทเสีย พึงทราบโดยอุบายนี้. คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น.
บรรดาปกิณกะมีสมุฎฐานเป็นต้น สิกขาบทนี้ มีองค์ ๓ มีสมุฎฐานเดียว, ชื่อว่า สมนุภาสนสมุฎฐาน ย่อมตั้งขึ้นทางกาย ทางวาจา และทางจิต, แต่เป็นอกิริยา เพราะเมื่อภิกษุไม่ทำกายวิการหรือเปล่งวาจาเลยว่า เราจะสละคืน จึงต้อง, เป็นสัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ด้วยประการฉะนี้.
ปฐมสังฆเภทสิกขาบทวรรณนา จบ