พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๑

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 มี.ค. 2565
หมายเลข  42755
อ่าน  330

[เล่มที่ 3] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓

พระวินัยปิฏก เล่ม ๑ ภาค ๓

มหาวิภังค์ ปฐมภาค

สมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย

มหาวิภังค์วรรณนา ภาค ๒

เตรสกัณฑวรรณนา

สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๑

เรื่องภิกษุผู้ประพฤติตามพระเทวทัต 600/587

พระบัญญัติ 590

สิกขาบทวิภังค์ 601/591

กรรมวาจาสวดสมนุภาส 592

บทภาชนีย์ 605/594

อนาปัตติวาร 606/595

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๑

ทุติยสังฆเภทสิกขาบทวรรณนา 595


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 3]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 587

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๑

เรื่องภิกษุผู้ประพฤติตามพระเทวทัต

    [๖๐๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นพระเทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลาย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 588

ข้อห้ามในพุทธจักร ภิกษุทั้งหลายพูดอย่างนี้ว่า พระเทวทัตพูดไม่ถูก ธรรม พูดไม่ถูกวินัย ไฉนพระเทวทัตจึงได้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักรเล่า

เมื่อภิกษุทั้งหลายพูดอย่างนี้แล้ว พระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัต ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้น ว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้พูดอย่างนั้น พระเทวทัตพูดถูกธรรม พูดถูก วินัย ก็พระเทวทัตกล่าวคล้อยคามความพอใจและความเห็นชอบของ พวกเรา พระเทวทัตทราบความพอใจ และความเห็นชอบของพวกเรา จึงกล่าว คำนี้ย่อมควรแม้แก่พวกเรา

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุ ทั้งหลายจึงได้ประพฤติตามพูดสนับสนุนพระเทวทัต ผู้ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์เล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า มีพวกภิกษุประพฤติตามผู้พูด สนับสนุนเทวทัตผู้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ กระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 589

กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงไปประพฤติตามพูดสนับสนุนเทวทัต ผู้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลาย สงฆ์เล่า การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษ เหล่านั้นนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงติเตียนพวกภิกษุผู้ประพฤติตามผู้พูด สนับสนุนพระเทวทัต โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความ เป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความ เป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ ปรารภความเพียร โดยอเนกปริยายแล้ว ทรงกระทำธรรมีกถา ที่สมควร แก่เรื่องนั้น เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุ ทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ ยาก ๑ เพื่อยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 590

ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อ ถือตามพระวินัย ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๕. ๑๑. อนึ่ง มีภิกษุผู้ประพฤติตาม ผู้พูดเข้ากันของภิกษุนั้น แล ๑ รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง เธอทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า ขอท่านทั้งหลายอย่าได้กล่าวคำอะไรๆ ต่อภิกษุนั่น ภิกษุนั่นกล่าวถูก ธรรมด้วย ภิกษุนั่นกล่าวถูกวินัยด้วย ภิกษุนั่นถือเอาความพอใจและ ความชอบใจของพวกข้าพเจ้ากล่าวด้วย เธอทราบความพอใจและ ความชอบใจของพวกข้าพเจ้าจึงกล่าว คำที่เธอกล่าวนั่น ย่อมควร แม้แก่พวกข้าพเจ้า ภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าว อย่าง นี้ว่า ท่านทั้งหลาย อย่าได้กล่าวอย่างนั้น ภิกษุนั่นหาใช่ผู้กล่าวถูก ธรรมไม่ด้วย ภิกษุนั่นหาใช่ผู้กล่าวถูกวินัยไม่ด้วย ความทำลายสงฆ์ อย่าได้ชอบแม้แก่พวกท่าน ขอพวกท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศ เดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก แลภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าว อยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุ ทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย หากเธอทั้งหลาย ถูกสวดสมนุภาสกว่าจะครบสามจบอยู่สละกรรมนั้น

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 591

เสีย สละได้อย่างนี้นั่นเป็นการดี หากเธอทั้งหลายไม่สละเสีย เป็น สังฆาทิเสส.

เรื่องภิกษุผู้ประพฤติตามพระเทวทัต จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๐๑] บทว่า อนึ่ง ... ของภิกษุนั้นแล คือ ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั้น.

บทว่า มีภิกษุทั้งหลาย คือ มีภิกษุเหล่าอื่น.

บทว่า ผู้ประพฤติตาม ความว่า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์เห็นอย่างไร ชอบอย่างไร พอใจอย่างไร แม้ภิกษุเหล่านั้นก็เห็นอย่างนั้น ชอบ อย่างนั้น พอใจอย่างนั้น.

บทว่า ผู้พูดเข้ากัน คือ ผู้ดำรงอยู่ในพวกในฝ่ายของภิกษุนั้น.

คำว่า ๑ รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ความว่า มีภิกษุ ๑ รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ภิกษุเหล่านั้น พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกท่านอย่าได้ กล่าวคำอะไรๆ ต่อภิกษุนั่น ภิกษุนั่นกล่าวถูกธรรมด้วย ภิกษุนั่นกล่าว ถูกวินัยด้วย แลภิกษุนั้นกล่าวคล้อยตามความพอใจและความเห็นชอบ ของพวกข้าพเจ้า เธอทราบความพอใจและความเห็นชอบของพวกข้าพเจ้า จึงกล่าว คำที่เธอกล่าวนั้น ย่อมควรแม้แก่พวกข้าพเจ้า.

[๖๐๒] บทว่า ภิกษุเหล่านั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ประพฤติตามเหล่านั้น.

บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุเหล่าอื่น อธิบายว่า ภิกษุ เหล่าใดเห็นอยู่ ภิกษุเหล่าใดได้ยินอยู่ ภิกษุเหล่านั้นควรว่ากล่าวภิกษุ ผู้ประพฤติตามเหล่านั้นว่า พวกท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น ภิกษุนั่นกล่าว

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 592

ถูกธรรมก็หาไม่ ภิกษุนั่นกล่าวถูกวินัยก็หาไม่ ความทำลายสงฆ์อย่า ได้ชอบใจแม้แก่พวกท่าน ขอใจของพวกท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก พึงกล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงกล่าวแม้ครั้งที่สาม หากภิกษุ เหล่านั้นสละเสียได้ สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากภิกษุเหล่านั้นไม่สละ เสีย ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลายทราบแล้ว ไม่ว่ากล่าว ต้องอาบัติ ทุกกฏ ภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงคุมตัวมาแม้สู่ท่ามกลางสงฆ์ แล้วพึงว่ากล่าวว่า พวกท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น ภิกษุนั่นกล่าวถูกธรรม ก็หาไม่ ภิกษุนั่นกล่าวถูกวินัยก็หาไม่ ความทำลายสงฆ์อย่าได้พอใจแม้ แก่พวกท่าน ขอใจของพวกท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศเดียวกัน ย่อมอยู่ ผาสุก พึงกล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงกล่าวแม้ครั้งที่สาม หากภิกษุเหล่านั้น สละเสียได้ สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากภิกษุเหล่านั้นไม่สละเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ.

วิธีสวดสมนุภาส

[๖๐๓] ภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลาย พึงสวดสมนุภาส ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสวดสมนุภาสอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาสวดสมนุภาส

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มี ชื่อนี้ด้วย เป็นผู้ประพฤติตาม เป็นผู้พูดเข้ากัน ของภิกษุผู้มีชื่อนี้ ซึ่งเป็น

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 593

ผู้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่านั้นยังไม่สละเรื่องนั้น ถ้าความ พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย นี่เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อ นี้ด้วย เป็นผู้ประพฤติตาม เป็นผู้พูดเข้ากันของภิกษุผู้มีชื่อนี้ ซึ่งเป็น ผู้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่านั้นยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์ สวดสมนุภาสภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เพื่อให้สละเรื่องนั้น เสีย การสวดสมนุภาสภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เพื่อให้ สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เป็นผู้ประพฤติตาม เป็นผู้พูดเข้า กัน ของภิกษุผู้มีชื่อนี้ ซึ่งเป็นผู้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่า นั้นยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อ นี้ด้วย เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย การสวดสมนุภาสภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อ นี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เป็นผู้ประพฤติตาม เป็นผู้พูด เข้ากัน ของภิกษุผู้มีชื่อนี้ ซึ่งเป็นผู้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ ภิกษุ เหล่านั้นยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย การสวดสมนุภาสภิกษุทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 594

ผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย สงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว เพื่อให้สละเรื่องนั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

[๖๐๔] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ

จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย

จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏเพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย เพราะกรรมวาจาสองครั้ง ย่อมระงับ สงฆ์พึงสวดสนนุภาสคราวหนึ่ง ต่อภิกษุ ๒ รูป ๓ รูปได้ ไม่ควรสวดสมนุภาสในคราวหนึ่ง ยิ่งกว่านั้น.

บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน มากมาย ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

บทภาชนีย์

[๖๐๕] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 595

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๖๐๖] ภิกษุผู้ยังไม่ถูกสวดสมนุภาส ๑ ภิกษุผู้สละเสียได้ ๑ ภิกษุ วิกลจริต ๑ ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ๑ ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๑ จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๑

ทุติยสังฆเภทสิกขาบทวรรณนา

ทุติยสังฆเภทสิกขาบทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:- ในทุติยสังฆเภทสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถเรื่องภิกษุประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์]

บทว่า อนุวตฺตกา มีความว่า ผู้ปฏิบัติตาม โดยยึดถือเอาความเห็น ความพอใจ และความชอบใจ แห่งพระเทวทัตนั้น (ผู้ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์) ภิกษุเหล่าใดพูดคำเป็นพรรค คือ คำมีในฝักฝ่ายแห่ง

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 596

ความไม่สามัคคีกัน; เหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงชื่อว่าผู้กล่าวคำเป็นพรรค. ก็ในบทภาชนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในวาจา เป็นฝ่ายสรรเสริญพระเทวทัตนั้น. อธิบายว่า ตั้งอยู่แล้ว เพื่อต้องการ สรรเสริญ และเพื่อต้องการความเจริญ แห่งพรรคพวก แก่พระเทวทัตนั้น ผู้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์. พวกภิกษุที่กล่าวคำเป็นพรรค ย่อมเป็น ผู้เช่นนี้โดยนิยม; เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้. แต่เพราะภิกษุมาก กว่า ๓ รูป เป็นผู้ไม่ควรแก่กรรม เพราะสงฆ์จะทำกรรมแก่สงฆ์ไม่ได้; ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เอโก วา เทฺว วา ตโย วา ดังนี้.

บทว่า ชานาติ โน มีความว่า ท่านผู้มีอายุนั้น ย่อมรู้แม้ความ พอใจเป็นต้นของพวกเรา.

บทว่า ภาสติ มีความว่า ย่อมกล่าวกับพวกเราว่า พวกกระผม จะกระทำอย่างนี้.

ข้อว่า อมฺหากํเปตํ ขมติ มีความว่า ท่านผู้มีอายุนั้น ย่อม กระทำสิ่งใด, สิ่งนั้น ย่อมเป็นที่ชอบใจแม้แก่พวกเรา.

ข้อว่า สเมตายสฺมนฺตานํ สงฺเฆน มีความว่า จิตของท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย จงถึงพร้อม คือ จงมาพร้อม, อธิบายว่า จงดำเนินไปสู่ความ เป็นอัน เดียวกันกับสงฆ์. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ปรากฏชัดแล้วทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในสิกขาบทก่อน และเพราะมีอรรถอันตื้น. แม้ สมุฏฐานเป็นต้น ก็เป็นเช่นกับสิกขาบทก่อนนั้นแล.

ทุติยสังฆเภทสิกขาบทวรรณนา จบ