พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๒

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 มี.ค. 2565
หมายเลข  42756
อ่าน  520

[เล่มที่ 3] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓

พระวินัยปิฏก เล่ม ๑ ภาค ๓

มหาวิภังค์ ปฐมภาค

สมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย

มหาวิภังค์วรรณนา ภาค ๒

เตรสกัณฑวรรณนา

สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๒

เรื่องพระฉันนะ 607/597

พระบัญญัติ 599

สิกขาบทวิภังค์ 608/600

กรรมวาจาสวดสมนุภาส 602

บทภาชนีย์ 612/603

อนาปัตติวาร 613/604

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๒ 604

ทุพพจสิกขาบทวรรณนา 604


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 3]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 597

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๒

เรื่องพระฉันนะ

[๖๐๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารโฆสิตาราม เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะประพฤติมารยาทอันไม่สมควร ภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า ดูก่อนฉันนะ ท่านอย่าได้กระทำอย่างนี้ ประพฤติดังนี้ไม่ควร

พระฉันนะกล่าวตอบว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย พวกท่านสำคัญว่า เราเป็นผู้ที่ท่านควรว่ากล่าวกระนั้นหรือ เราต่างหากควรว่ากล่าวพวกท่าน เพราะพระพุทธเจ้าก็ของเรา พระธรรมก็ของเรา พระลูกเจ้าของเราตรัสรู้ธรรมแล้ว พวกท่านต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ต่างสกุลกัน บวชรวมกันอยู่ ดุจลมกล้าพัดหญ้าไม้ และใบไม้แห้งให้อยู่รวมกัน หรือดุจแม่น้ำที่ไหลมาจากภูเขา พัดจอกสาหร่ายและแหนให้อยู่รวมกันฉะนั้น ดูก่อนท่านทั้งหลาย พวกท่านสำคัญว่าเราเป็นผู้ที่ท่านควรว่ากล่าวกระนั้นหรือ เราต่างหากควรว่ากล่าวพวกท่าน เพราะพระพุทธเจ้าก็ของเราพระธรรมก็ของเรา พระลูกเจ้าของเราตรัสรู้ธรรมแล้ว

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระฉันนะ อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ถูกทางธรรม จึงได้ทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้ แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 598

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระฉันนะว่า ดูก่อนฉันนะ ข่าวว่า เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ถูกทาง ธรรม ได้ทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้จริงหรือ.

พระฉันนะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ถูก ทางธรรม จึงทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้ ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดย ที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอี่นของชนบางพวกที่เลื่อมใส แล้ว

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระฉันนะโดยอเนกปริยาย ดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่า เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย แล้ว

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 599

ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้นแก่ภิกษุ ทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือเพื่อความรับ ว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ ยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน เพื่อกำจัดอาสวะอันจะบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๖. ๑๒. อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสัญชาติแห่งคนว่ายาก อันภิกษุ ทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ถูกทางธรรม ในสิกขาบททั้งหลายอันเนื่องในอุเทศ ทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้ ด้วยกล่าวโต้ว่า พวกท่าน อย่าได้กล่าวอะไรต่อเรา เป็นคำดีก็ตาม เป็นคำชั่วก็ตาม แม้เรา ก็จักไม่กล่าวอะไรๆ ต่อพวกท่านเหมือนกัน เป็นคำดีก็ตาม เป็นคำชั่ว) ก็ตาม ขอพวกท่านจงเว้นจากการว่ากล่าวเราเสีย ภิกษุนั้นอันภิกษุ ทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้ทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่า กล่าวไม่ได้ ขอท่านจงทำตนให้เขาว่ากล่าวได้แล แม้ท่านก็จงว่ากล่าว

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 600

ภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรม แม้ภิกษุทั้งหลายก็จักว่ากล่าวท่านโดย ชอบธรรม เพราะว่าบริษัทของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เจริญแล้ว ด้วยการอย่างนี้ คือด้วยว่ากล่าวซึ่งกันและกัน ด้วยเตือนกันและกัน ให้ออกจากอาบัติ แลภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาส กว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเส ย หากเธอถูกสวดสมนุภาส กว่าจะครั้นสามจบอยู่ สละกรรมนั้นเสีย สละได้อย่างนี้นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย เป็นสังฆาทิเสส.

เรื่องพระฉันนะ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๐๘] คำว่า อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสัญชาติแห่งคนว่ายาก ความว่า เป็นผู้ว่าได้โดยยาก ประกอบด้วยธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องกระทำความ เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับอนุสาสนีโดยเบื้องขวา

คำว่า ในสิกขาบททั้งหลายอันเนื่องในอุเทศ ได้แก่ สิกขาบทอัน นับเนื่องในพระปาติโมกข์.

บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุเหล่าอื่น

ที่ชื่อว่า ถูกทางธรรม คือ สิกขาบทใดอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง บัญญัติแล้ว สิกขาบทนั้นชื่อว่าถูกทางธรรม ภิกษุนั้นผู้อันภิกษุทั้งหลาย ว่ากล่าวอยู่ โดยถูกทางธรรมนั้น ย่อมทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าว ไม่ได้ ด้วยกล่าวโต้ว่าพวกท่านอย่าได้กล่าวอะไรๆ ต่อเรา เป็นคำดีก็ตาม

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 601

เป็นคำชั่วก็ตาม แม้เราก็จักไม่กล่าวคำอะไรๆ ต่อพวกท่าน เป็นคำดี ก็ตาม เป็นคำชั่วก็ตาม ขอพวกท่านจงเว้นจากการว่ากล่าวเสีย.

[๖๐๙] บทว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้มีสัญชาติแห่งคนว่ายากนั้น.

บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุเหล่าอื่น อธิบายว่า ภิกษุ เหล่าใดเห็นอยู่ ได้ยินอยู่ ภิกษุเหล่านั้นควรว่ากล่าวภิกษุผู้มีสัญชาติแห่ง คนว่ายากนั้นว่า ท่านอย่าได้ทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้ ขอท่าน จงทำตนให้เขาว่าได้แล แม้ท่านก็จงว่ากล่าวภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรม แม้ภิกษุทั้งหลายก็จักว่ากล่าวท่านโดยชอบธรรม เพราะว่าบริษัทของ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเจริญแล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือด้วยว่ากล่าวซึ่งกัน และกัน ด้วยเตือนกันและกันให้ออกจากอาบัติ ควรว่ากล่าวแม้ครั้งที่สอง ควรว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากเธอสละเสีย สละได้อย่างนี้นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลายได้ยินแล้วไม่ว่ากล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงคุมตัวมาแม้สู่ท่ามกลางสงฆ์ แล้วพึงว่ากล่าวว่า ท่านอย่าได้ทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้ ขอท่านจงทำตนให้ว่ากล่าวได้แล แม้ท่านก็จงว่ากล่าวภิกษุทั้งหลายโดย ชอบธรรม แม้ภิกษุทั้งหลายก็จักว่ากล่าวท่านโดยชอบธรรม เพราะว่า บริษัทของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเจริญแล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือด้วยว่า กล่าวซึ่งกันและกัน ด้วยเตือนกันและกันให้ออกจากอาบัติ ควรว่ากล่าว แม้ครั้งที่สอง ควรว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากเธอสละเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 602

วิธีสวดสมนุภาส

[๖๑๐] ภิกษุนั้น อันสงฆ์พึงสวดสมนุภาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสวดสมนุภาสอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาสวดสมนุภาส

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ อันภิกษุทั้งหลาย ว่ากล่าวอยู่ถูกทางธรรม ย่อมทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้ ภิกษุนั้นไม่สละเรื่องนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง สวดสมนุภาสภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ อันภิกษุทั้งหลาย ว่ากล่าวอยู่ถูกทางธรรม ย่อมทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้ ภิกษุนั้นไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่อง นั้น การสวดสมนุภาสภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้โด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ถูกทางธรรม ย่อมทำตนให้ เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้ ภิกษุนั้นไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาส ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวดสมนุภาสภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อให้ สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 603

ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ถูกทางธรรม ย่อมทำตนให้ เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้ ภิกษุนั้นไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาส ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวดสมนุภาสภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อให้สละ เรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ภิกษุมีชื่อนี้อันสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบ แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

[๖๑๑] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ

จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย

กรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏเพราญัตติ อาบัติถุลลัจจัย เพราะกรรมวาจาสองครั้ง ย่อมระงับ.

บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกันมาก มาย ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล แม้ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

บทภาชนีย์

[๖๑๒] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ เสีย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ไม่สละเสีย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 604

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละเสีย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๖๑๓] ภิกษุผู้ยังไม่ถูกสวดสมนุภาส ๑ ภิกษุผู้สละเสียได้ ๑ ภิกษุ วิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๒ จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๒

ทุพพจสิกขาบทวรรณนา

ทุพพจสิกขาบทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นต้น ข้าพเจ้า จะกล่าวต่อไป:- ในทุพพจสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระฉันนะ]

สองบทว่า อนาจารํ อาจรติ มีความว่า ย่อมกระทำการล่วงละเมิด ทางกายทวารและวจีทวาร มีอเนกประการ.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 605

คำว่า กึ นุ โข นาม นี้ เป็นการกล่าวข่ม (ผู้อื่น).

คำว่า อหํ โข นาม เป็นคำยก (ตน).

ด้วยคำว่า ตุมฺเห วเทยฺย ท่านแสดงว่า เราควรจะว่ากล่าวพวก ท่านว่า พวกท่าน จงกระทำอย่างนี้ อย่ากระทำอย่างนี้.

หากผู้ถามจะถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะพระฉันนะกล่าวหมายเอาความประสงค์เป็นต้น อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงม้ากัณฐกะเสด็จออกพร้อมกับ เรา ทรงผนวชแล้ว. ครั้นกล่าวว่า พระธรรมของเราแล้ว เมื่อจะแสดง ยุติในความเป็นของๆ คนอีก จึงกล่าวว่า พระธรรมนี้ พระลูกเจ้าของ เรา ได้ตรัสรู้แล้ว ดังนี้. มีคำอธิบายว่า เพราะว่า สัจจธรรม ๔ อัน พระลูกเจ้าของเราแทงตลอดแล้ว; ฉะนั้น แม้พระธรรมก็เป็นของเรา. แต่สำคัญพระสงฆ์ว่า ตั้งอยู่ในฝักฝ่ายแห่งคนคู่เวรของตน จึงไม่กล่าวว่า พระสงฆ์ของเรา. แค่ใคร่จะกล่าวเปรียบเปรยรุกรานสงฆ์ จึงกล่าวคำ เป็นต้นว่า เสยฺยถาปิ นาม ดังนี้.

บทว่า ติณกฏฺปณฺณสฏํ ได้แก่ หญ้า ไม้ และใบไม้แห้งที่ร่วง หล่นตกไปในสถานที่นั้นๆ. อีกอย่างหนึ่ง หญ้าด้วย ไม้เบาไม่มีแก่น ด้วย; เหตุนั้น จึงชื่อว่า หญ้าและไม้. ใบไม้แห้ง ชื่อว่า ปัณณสฏะ.

บทว่า อุสฺสาเทยฺย ได้แก่ พัดไปกองรวมไว้.

บทว่า ปพฺพเตยฺย ได้แก่ เกิดจากภูเขา. จริงอยู่ แม่น้ำนั้นมี กระแสอันเชี่ยว; เพราะฉะนั้น ท่านจึงระบุเอาแต่แม่น้ำนั้นเท่านั้น.

ในคำว่า สงฺขเสวาลปณกํ น มีวินิจฉัยดังนี้:-

สาหร่ายที่มีใบ มีรากยาว เรียกว่า จอก. สาหร่ายสีเขียว เรียกว่า

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 606

สาหร่าย. สาหร่ายที่เหลือ มีตะไคร้น้ำและแหนเป็นต้น แม้ทั้งหมด ถึงการนับว่า แหน.

ด้วยคำว่า เอกโต อุสฺสาทิตา ท่านแสดงว่า แม้อันใครๆ ประมวล มาแล้ว คือทำเป็นกองไว้ในที่เดียวกัน.

บทว่า ทุพฺพจชาติโก ได้แก่ มีภาวะแห่งบุคคลผู้ว่ายาก. อธิบายว่า ผู้อันใครๆ ไม่อาจว่ากล่าวได้. แม้ในบทภาชนะแห่งบทว่า ทุพฺพจชาติโก นั้น บทว่า ทุพฺพโจ ได้แก่ ผู้อันเขากล่าวสอนได้โดยยาก คือโดยลำบาก. มีคำอธิบายว่า อันใครๆ ไม่อาจว่ากล่าวได้โดยง่าย.

บทว่า โทวจสฺสกรเณหิ คือ (ด้วยธรรม) อันกระทำความเป็น ผู้ว่ายาก. อธิบายว่า ก็ธรรมทั้งหลายเหล่าใด ย่อมทำบุคคลให้เป็นผู้ว่า ยาก, เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมเหล่านั้น.

ก็บัณฑิตพึงทราบธรรมเหล่านั้น มี ๑๙ อย่าง (๑) คือความเป็นผู้มี ความปรารถนาลามก ๑ ความยกตนข่มผู้อื่น ๑ ความเป็นคนมักโกรธ ๑ ความผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ ๑ ความเป็นผู้มักระแวงเพราะ ความโกรธเป็นเหตุ ๑ ความเป็นผู้เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธเพราะ ความโกรธเป็นเหตุ ๑ ความกลับเป็นผู้โต้เถียงโจทก์ ๑ ความเป็นผู้กลับ รุกรานโจทก์ ๑ ความเป็นผู้กลับปรักปรำโจทก์ ๑ ความกลบเรื่องอื่น ด้วยเรื่องอื่น ๑ ความเป็นผู้ไม่พอใจตอบด้วยความประพฤติ ๑ ความเป็น ผู้ลบหลู่ตีเสมอ ๑ ความเป็นคนริษยาเป็นคนตระหนี่ ๑ ความเป็นคนโอ้ อวดเจ้ามายา ๑ ความเป็นคนกระด้างดูหมิ่นผู้อื่น ๑ ความเป็นคนถือแต่ ความเห็นของตน ๑ ความเป็นคนถือรั้น ๑ ความเป็นผู้ถอนได้ยาก ๑


(๑) มีเพียง ๘ แม้ในอนุมานสูตร ก็มีเพียง ๑๖. ม. มู. ๑๒/๑๘๙.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 607

อันมาแล้วในอนุมานสูตรตามลำดับ โดยนัยมีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ธรรมอันทำความเป็นคนว่ายากเหล่าไหน? ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย! ภิกษุ ในศาสนานี่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ดังนี้ เป็นต้น.

ผู้ใด ไม่อด ไม่ทนโอวาท, เพราะเหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า อักขมะ. ผู้ใด เมื่อไม่ปฏิบัติ ตามที่ท่านพร่ำสอน ไม่รับอนุสาสนีโดยเบื้องขวา; เพราะเหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า มีปกติไม่รับโดยเบื้องขวาซึ่งอนุสาสนี.

บทว่า อุทฺเทสปริยาปนฺเนสุ ได้แก่ นับเนื่องในอุเทศ คือรวมลง ในภายใน. ความว่า เป็นไปภายในปาฏิโมกขุทเทส เพราะท่านสงเคราะห์ อย่างนี้ว่า อาบัติ มีแก่ท่านผู้ใด, ท่านผู้นั้นพึงเปิดเผย.

สองบทว่า สหธมฺมิกํ วุจฺจมาโน ได้แก่ อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าว อยู่โดยชอบสหธรรม. นี้เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ. อธิบาย ว่า อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ ด้วยสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ ไว้ อันได้นามว่า สหธรรมิก เพราะเป็นสิกขาอันสหธรรมิก ๕ พึง ศึกษา หรือเพราะเป็นของสหธรรมิก ๕ เหล่านั้น.

คำว่า วิรมถายสฺสนฺโต มม วจนาย มีความว่า พวกท่านว่ากล่าว ข้าพเจ้าด้วยคำใด, จงเลิกจากคำนั้น ตามคำของข้าพเจ้า. มีคำอธิบายว่า พวกท่าน จงอย่ากล่าวคำนั้นกะข้าพเจ้า.

คำว่า วเทตุ สหธมฺเมน มีความว่า ท่านผู้มีอายุ จงว่ากล่าวด้วย สิกขาบทอัน เป็นสหธรรม หรือด้วยคำแม้อื่นอันเป็นสหธรรม คือเป็นไป เพื่อความเลื่อมใส.

ศัพท์ว่า ยทิทํ เป็นนิบาต ลงในอรรถ คือแสดงเห็นแห่งความ เจริญ. ด้วยคำว่า ยทิทํ นั้น ย่อมเป็นอันท่านแสดงเหตุแห่งความเจริญ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 608

ของบริษัทอย่างนี้ว่า การพูดแนะประโยชน์แก่กันและกัน และการยังกัน
และกันให้ออกจากอาบัตินี้ใด, บริษัทเจริญแล้ว ด้วยการว่ากล่าวกันและ
ด้วยการยังกันและกันให้ออกจากอาบัตินั้น. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้น
ทั้งนั้น. แม้สมุฏฐานเป็นต้น ก็เป็นเช่นกับปฐมสังฆเภทสิกขาบท
นั้นแล.

ทุพพจสิกขาบทวรรณนา จบ