สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๓
[เล่มที่ 3] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓
พระวินัยปิฏก เล่ม ๑ ภาค ๓
มหาวิภังค์ ปฐมภาค
สมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย
มหาวิภังค์วรรณนา ภาค ๒
เตรสกัณฑวรรณนา
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๓
เรื่องภิกษุพวกพระอัสสชิและปุนัพพสุกะ 614/608
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๓
อธิบายลักษณะ ๕ มีอกัปปิยโวหารเป็นต้น 633
ว่าด้วยการวินิจฉัยอาบัติในการปลูกเองเป็นต้น 637
ว่าด้วยความประพฤติอนาจารต่างๆ 643
แก้อรรถตอนชาวกิฏาคีรีพบภิกษุอาคันตุกะ 646
อุบาสกนิมนต์ภิกษุอาคันตุกะไปยังเรือน 649
ทรงรับสั่งให้ลงปัพพาชนียกรรมพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ 650
อรรถธิบายกุลทูสกรรมมีการให้ดอกไม้เป็นต้น 653
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 3]
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 608
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๓
เรื่องภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ
[๖๑๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ เป็นเจ้าถิ่นในชนบทกิฏาคีรี เป็นภิกษุอลัชชี ชั่วช้า ภิกษุพวกนั้นประพฤติอนาจารเห็นปานดังนี้ คือ ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทรดเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้แผงสำหรับประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยต่อก้าน นำไปเองบ้าง ใช้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 609
ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยเรียงก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้ช่อ นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พุ่ม นำ ไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้เทริด นำไปเองบ้าง ใช้ให้ ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พวง นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อันนำไปบ้าง ซึ่ง ดอกไม้แผงสำหรับประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุลกุมารี เพื่อสะใภ้แห่งสกุล เพื่อกุลทาสี ภิกษุพวกนั้น ฉันอาหารในภาชนะอัน เดียวกันบ้าง ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง นั่งบนอาสนะอันเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงอันเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดอัน เดียวกันบ้าง นอน คลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้าง กับกุลสตรี กุลธิดา กุลกุมารี สะใภ้แห่งสกุล กุลทาสี ฉันอาหารในเวลา วิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้บ้าง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงฟ้อนรำ บ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคมกับหญิงฟ้อนรำบ้าง เต้นรำกับ หญิงฟ้อนรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้าง ขับร้องกับหญิงขับร้องบ้าง ประโคมกับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ฟ้อนรำกับหญิง ประโคมบ้าง ขับร้องกับหญิงประโคมบ้าง ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิง เต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง เต้นรำกับหญิงเต้นรำบ้าง เล่น หมากรุกแถวละแปดตาบ้าง เล่นหมากรุกแถวละสิบตาบ้าง เล่นหมากเก็บ บ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนห่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่นฟาดให้เป็นรูปต่างๆ บ้าง เล่นสกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถ น้อยๆ บ้าง เล่นหกคะเมนบ้าง เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 610
ใบไม้บ้าง เล่นรถน้อยๆ บ้าง เล่นธนูน้อยๆ บ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง หัดขี่ช้างบ้าง หัดขี่ม้าบ้าง หัด ขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง วิ่งผลัดช้างบ้าง วิ่งผลัดม้า บ้าง วิ่งผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวกันบ้าง ผิวปากบ้าง ปรบมือ บ้าง ปล้ำกันบ้าง ชกมวยกันบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ณ กลางสถานเต้นรำ แล้ว พูดกับหญิงฟ้อนรำอย่างนี้ว่า น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำ ณ ที่นี้ ดังนี้ บ้าง ให้การคำนับบ้าง ประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆ บ้าง.
[๖๑๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งจำพรรษาในแคว้นกาสี เดินทางไปพระนครสาวัตถีเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงชนบทกิฎาคีรีแล้ว ครั้นเวลาเช้าภิกษุนั้นครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาต ยังชนบทกิฎาคีรี มีอาการเดินไป ถอยกลับ แลเหลียว เหยียดแขน คู้แขน น่าเลื่อมใส มีจักษุทอดลง สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ
คนทั้งหลายเห็นภิกษุรูปนั้นแล้ว พูดอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปนี้เป็นใคร ดูคล้ายคนไม่ค่อยมีกำลัง เหมือนคนอ่อนแอ เหมือนคนมีหน้าสยิ้ว ใคร เล่าจักถวายบิณฑะแก่ท่านผู้เข้าไปเที่ยวบิณฑบาตรูปนี้ ส่วนพระผู้เป็นเจ้า เหล่าพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะของพวกเรา เป็นผู้อ่อนโยน พูด ไพเราะ อ่อนหวาน ยิ้มแย้มก่อน มักพูดว่า มาเถิดมาดีแล้ว มีหน้าไม่ สยิ้ว มีหน้าชื่นบาน มักพูดก่อน ใครๆ ก็ต้องถวายบิณฑะแก่ท่าน เหล่านั้น.
อุบาสกคนหนึ่ง ได้แลเห็นภิกษุรูปนั้นกำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ใน ชนบทกิฎาคีรี ครั้นแล้วจึงเข้าไปหาภิกษุนั้น กราบเรียนถามภิกษุรูปนั้น ว่า พระคุณเจ้าได้บิณฑะบ้างไหม ขอรับ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 611
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า ยังไม่ได้บิณฑะเลยจ้ะ
อุบาสกกล่าวอาราธนาว่า นิมนต์ไปเรือนผมเถิด ขอรับ แล้วนำ ภิกษุนั้นไปเรือน นิมนต์ให้ฉันแล้วถามว่า พระคุณเจ้าจักไปที่ไหน ขอรับ
ภิ. อาตมาจักไปพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
อุ. ถ้าเช่นนั้น ขอพระคุณเจ้า จงกราบถวายบังคมพระบาทของ พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า และขอจงกราบทูลตามถ้อยคำของ กระผมอย่างนี้ด้วยขอรับว่า พระพุทธเจ้าข้า วัดในชนบทกิฏาคีรีโทรม ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะเป็นเจ้าถิ่นในชนบทกิฏาคีรี เป็น ภิกษุอลัชชี เลวทราม พวกเธอประพฤติอนาจารเห็นปานดังนี้ คือปลูก ต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัย เรียงก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ... ประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆ บ้าง เมื่อก่อนชาวบ้านยิ่งมีศรัทธาเลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้เขาไม่ศรัทธาไม่ เลื่อมใสแล้ว แม้ทานประจำของสงฆ์ก่อนๆ บัดนี้ทายกทายิกาได้ตัดขาด แล้ว ภิกษุมีศีลเป็นที่รักย่อมหลีกเลี่ยงไป ภิกษุเลวทรามอยู่ครอง พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส พระผู้มีพระภาคเจ้า พึงส่งภิกษุทั้งหลายไปสู่ชนบทกิฎาคีรี เพื่อวัดในชนบทกิฏาคีรีนี้จะพึงตั้ง มั่นอยู่
ภิกษุนั้นรับคำของอุบาสกนั้นแล้ว หลีกไปโดยหนทางอันจะไปสู่ พระนครสาวัตถี ถึงพระนครสาวัตถี พระวิหารเชตวัน อารามของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 612
อนาถบิณฑิกคหบดีโดยลำดับ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พุทธประเพณี
[๖๑๖] อันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัย กับพระอาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี
พระพุทธเจ้าทรงปราศรัย
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ เธอยังพอทนอยู่ดอกหรือ ยังพอครองอยู่ดอกหรือ เธอเดินทางมาเหนื่อย น้อยหรือ ก็นี่เธอมาจากไหนเล่า
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้ายังพอทนอยู่ได้ ยังพอครอง อยู่ได้ พระพุทธเจ้าข้า และข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาลำบากเล็กน้อย ข้าพระพุทธเจ้าจำพรรษาในแคว้นกาสีแล้ว เมื่อจะมายังพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ผ่านชนบทกิฎาคีรี พระพุทธเจ้าข้า ครั้น เวลาเช้า ข้าพระพุทธเจ้าครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไป บิณฑบาตยังชนบทกิฎาคีรี พระพุทธเจ้าข้า อุบาสกคนหนึ่ง ได้เห็น ข้าพระพุทธเจ้ากำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในชนบทกิฎาคีรี ครั้นแล้ว ได้ เข้าไปหาข้าพระพุทธเจ้า กราบไหว้ข้าพระพุทธเจ้าถามว่า ท่านได้บิณฑะ บ้างไหม ขอรับ ข้าพระพุทธเจ้าตอบว่า ยังไม่ได้บิณฑะเลยจ้ะ เขาพูดว่า มนต์ไปเรือนผมเถิด ขอรับ แล้วนำข้าพระพุทธเจ้าไปเรือน ให้ฉันแล้ว ถามว่า พระคุณเจ้าจักไปที่ไหน ขอรับ ข้าพระพุทธเจ้าตอบว่า จักไป พระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจ้ะ เขาพูดว่า ท่านขอรับ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 613
ถ้าเช่นนั้นขอท่านจงกราบถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย เศียรเกล้า และขอจงกราบทูลตามถ้อยคำของกระผมอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า วัดในชนบทกิฏาคีรีโทรม ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ เป็นเจ้าถิ่นในชนบทกิฏาคีรี เป็นภิกษุอลัชชี เลวทราม ประพฤติอนาจาร เห็นปานดังนี้ คือปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเอง บ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง ... ประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆ บ้าง เมื่อก่อน ชาวบ้านยังมีศรัทธาเลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้เขาไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใสแล้ว แม้ ทานประจำของสงฆ์ก่อนๆ บัดนี้ทายกทายิกาได้ตัดขาดแล้ว ภิกษุมีศีล เป็นที่รักย่อมหลีกเลี่ยงไป ภิกษุเลวทรามอยู่ครอง พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส พระองค์ควรส่งภิกษุทั้งหลายไปสู่ ชนบทกิฎาคีรี เพื่อวัดในชนบทกิฏาคีรีนี้จะพึงตั้งมั่นอยู่ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้ามาจากชนบทกิฏาคีรีนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงสอบถามภิกษุสงฆ์
[๖๑๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุพวกอสัสชิและ ปุนัพพสุกะเป็นเจ้าถิ่นในชนบทกิฏาคีรี เป็นภิกษุอลัชชี เลวทราม ประพฤติอนาจารเห็นปานดังนี้ คือปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่น ปลูกบ้าง รดนำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 614
ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ พุ่มเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำ บ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้แผงสำหรับ ประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ... ประพฤติอนาจารต่างๆ บ้าง เมื่อก่อนชาวบ้านยังมีศรัทธาเลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้เขาไม่ศรัทธา ไม่ เลื่อมใสแล้ว แม้ทานประจำของสงฆ์ก่อนๆ บัดนี้ทายกทายิกาได้ตัด ขาดแล้ว ภิกษุมีศีลเป็นที่รักย่อมหลีกเลี่ยงไป ภิกษุเลวทรามอยู่ครอง ดังนี้ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระพุทธเจ้าทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ กระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั่นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้ประพฤติ อนาจารเห็นปานดังนี้ คือปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกเอง บ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง ทำ มาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ พุ่มเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำ บ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้แผงสำหรับ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 615
ประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง พวกเธอนำไปเองบ้าง ใช้ให้ ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยต่อก้านนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยเรียงก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้ช่อ นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พุ่ม นำไปเองบ้าง ใช้ ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้เทริด นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พวง นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้แผง สำหรับประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุลกุมาร เพื่อสะใภ้ แห่งสกุล เพื่อกุลทาสี พวกเธอฉันอาหารรนภาชนะอันเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง นั่งบนอาสนะอันเดียวกันบ้าง นอนบน เตียงอันเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดอันเดียวกันบ้าง นอนคลุม ผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้าง กับกุลสตรี กุลธิดา กุลกุมารี สะใภ้แห่งสกุล กุลทาสี ฉันอาหารใน เวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ บ้าง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคมกับหญิงฟ้อนรำบ้าง เต้นรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ฟ้อนรำกันหญิงขับร้องบ้าง ขับร้องกับหญิง ขับร้องบ้าง ประโคมกับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง ขับร้องกับหญิงประโคมบ้าง ประโคมกับ หญิงประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำ บ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง เต้นรำ กับหญิงเต้นรำบ้าง เล่นหมากรุกแถวละแปดตาบ้าง เล่นหมากรุกแถว สิบตาบ้าง เล่นหมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 616
เล่นโยนห่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่นฟาดให้เป็นรูปต่างๆ บ้าง เล่น สกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อยๆ บ้าง เล่นหกคะเมนบ้าง เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่นรถน้อยๆ บ้าง เล่นธนูน้อยๆ บ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียน คนพิการบ้าง หัดขี่ช้างบ้าง หัดขี่ม้าบ้าง หัดขับรถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง วิ่งผลัดช้างบ้าง วิ่งผลัดม้าบ้าง วิ่งผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวกันบ้าง ผิวปากบ้าง ปรบมือบ้าง ปล้ำกันบ้าง ชกมวยกันบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ณ กลางสถานเต้นรำ แล้วพูดกับ หญิงฟ้อนรำอย่างนี้ว่า น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำ ณ ที่นี้ดังนี้บ้าง ให้ การคำนับบ้าง ประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆ บ้างเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของโมฆ- บุรุษเหล่านั้นนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
รับสั่งให้ปัพพาชนียกรรม
[๖๑๘] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนพัพสุกะโดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ทรงกระทำธรรมีกถารับสั่ง กะพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะว่า ไปเถิด สารีบุตรและโมคคัลลานะ พวกเธอไปถึงชนบทกิฏาคีรีแล้วจงทำปัพพาชนียกรรมแก่- ภิกษุพวกอัสสชิและปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรี เพราะภิกษุพวกนั้น เป็นสัทธิวิหาริกของเธอ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 617
พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะกราบทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระพุทธเจ้าจะทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีได้ด้วยวิธีไร เพราะภิกษุพวกนั้น ดุร้าย หยาบคาย
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตรและโมคคัลลานะ ถ้า เช่นนั้น พวกเธอจงไปพร้อมด้วยภิกษุหลายๆ รูป
พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
วิธีทำปัพพาชนียกรรม
[๖๑๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีปัพพาชนียกรรมพึงทำอย่างนี้ พึงโจทภิกษุพวกอัสสชิและปุนัพพสุกะก่อน ครั้นแล้วพึงให้พวกเธอให้การ ครั้นแล้วพึงยกอาบัติขึ้น ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ- จตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาทำปัพพาชนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระ - ปุนัพพสุกะเหล่านี้ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ ด้วย และสกุลทั้งหลายอันภิกษุเหล่านี้ประทุษร้าย เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขา ได้ยินอยู่ด้วย ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำปัพพาช-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 618
นียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี นี่เป็น ญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะเหล่านี้เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความ ประพฤติเลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายอันภิกษุเหล่านี้ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขา ได้ยินอยู่ด้วย สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี การทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอสัสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะเหล่านี้ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขา ได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายอันภิกษุเหล่านี้ประทุษ ร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฎาคีรีว่า ภิกษุ พวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี การทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฎาคีรี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 619
ว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่ท่านผู้โด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะเหล่านี้ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มี ความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขา ได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายอันภิกษุเหล่านี้ประทุษ- ร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฎาคีรีว่า ภิกษุพวก พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบทถิฏาคีรี การทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฎาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏคีรี ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ปัพพาชนียกรรม สงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความ นี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
[๖๒๐] ลำดับนั้น ภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เป็นประมุขได้ไปสู่ชนบทกิฎาคีรีแล้ว ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวก พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฎาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี
ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะเหล่านั้น ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว ไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ประพฤติ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 620
แก้ตัว ไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลาย ยังด่า ยังบริภาษการกสงฆ์ ยังใส่ความว่า ลำเอียงด้วยความพอใจ ลำเอียงด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียงด้วยความกลัว หลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มี
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุ พวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว จึงไม่ ประพฤติโดยชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ประพฤติแก้ตัว ไม่ขอขมาภิกษุ ทั้งหลาย ยังด่า ยังบริภาษการกสงฆ์ ยังใส่ความว่า ลำเอียงด้วยความ พอใจ ลำเอียงด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียงด้วยความ กลัว หลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มีเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
[๖๒๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุพวกอัสสชิและ ปุนัพพสุกะถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว ไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่ หายเย่อหยิ่ง ไม่ประพฤติแก้ตัว ไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลาย ยังด่า ยังบริภาษการกสงฆ์ ยังใส่ความว่า ลำเอียงด้วยความพอใจ ลำเอียง ด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียงด้วยความกลัว หลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มีจริงหรือ.
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 621
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ กระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกภิกษุโมฆบุรุษ เหล่านั้นถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว จึงไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ประพฤติแก้ตัว ไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลาย ยังด่า ยังบริภาษการกสงฆ์ ยังใส่ความว่า ลำเอียงด้วยความพอใจ ลำเอียง ด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียงด้วยความกลัว หลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มีเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของโมฆ- บุรุษเหล่านั้นนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะโดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยายแล้ว ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะ สมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 622
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือเพื่อความรับ ว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะ บังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อ ถือตามพระวินัย ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๗. ๑๓. อนึ่ง ภิกษุเข้าไปอาศัยบ้านก็ดี นิคมก็ดี แห่งใด แห่งหนึ่งอยู่ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความ ประพฤติเลวทรามของเธอ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และ สกุลทั้งหลายอันเธอประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ ด้วย ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลาย พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเป็นผู้ ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทราม ของท่าน เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายอัน ท่านประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ท่านจง หลีกไปเสียจากอาวาสนี้ ท่านอย่าอยู่ในที่นี้ และภิกษุนั้นอันภิกษุ ทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ พึงว่ากล่าวภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า พวกภิกษุ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 623
ถึงความพอใจด้วย ถึงความขัดเคืองด้วย ถึงความหลงด้วย ถึงความ กลัวด้วย ย่อมขับภิกษุบางรูป ย่อมไม่ขับภิกษุบางรูป เพราะอาบัติ เช่นเดียวกัน ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่า ได้กล่าวอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย หาได้ถึงความพอใจไม่ หาได้ถึง ความขัดเคืองไม่ หาได้ถึงความหลงไม่ หาได้ถึงความกลัวไม่ ท่าน เองแล เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความ ประพฤติเลวทรามของท่าน เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายอันท่านประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เข้าได้ ยินอยู่ด้วย ท่านจงหลีกไปเสียจากอาวาสนี้ ท่านอย่าอยู่ในที่นี้ และ ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลาย พึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบสามจบ เพื่อ ให้สละกรรมนั้นเสีย หากเธอถูกสวดสมนุภาสกว่าจะครบสามจบอยู่ สละกรรมนั้นเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย เป็นสังฆาทิเสส.
เรื่องภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๖๒๒] คำว่า อนึ่ง ภิกษุ ... บ้านก็ดี นิคมก็ดี แห่งใดแห่งหนึ่ง ความว่า บ้านก็ดี นิคมก็ดี นครก็ดี ชื่อว่า บ้านและนิคม.
บทว่า เข้าไปอาศัย ... อยู่ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ เภสัชบริขารเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ เป็นปัจจัยเกี่ยวเนื่องอยู่ในที่นั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 624
ที่ชื่อว่า สกุล หมายสกุล ๔ คือ สกุลกษัตริย์ สกุลพราหมณ์ สกุลแพศย์ สกุลศูทร.
บทว่า เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล คือ ประจบสกุลด้วยดอกไม้ก็ดี ผลไม้ก็ดี แป้งก็ดี ดินก็ดี ไม้สีฟันก็ดี ไม้ไผ่ก็ดี การแพทย์ก็ดี การสื่อสารก็ดี.
บทว่า มีความประพฤติเลวทราม คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง.
[๖๒๓] บทว่า เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย คือ ชน เหล่าใดอยู่เฉพาะหน้า ชนเหล่านั้น ชื่อว่าได้เห็นอยู่ ชนเหล่าใดอยู่ลับหลัง ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้ยินอยู่.
บทว่า และสกุลทั้งหลาย อันเธอประทุษร้ายแล้ว คือ ชน ทั้งหลายเมื่อก่อนมีศรัทธา อาศัยภิกษุนั้นกลับเป็นคนไม่มีศรัทธา เมื่อก่อน เป็นคนเลื่อมใสอาศัยภิกษุนั้นกลับเป็นคนไม่เลื่อมใส.
บทว่า เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย คือ ชนเหล่าใด อยู่เฉพาะหน้า ชนเหล่านั้น ชื่อว่าได้เห็นอยู่ ชนเหล่าใดอยู่ลับหลัง ชน เหล่านั้นชื่อว่าได้ยินอยู่.
[๖๒๔] บทว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุลรูปนั้น.
บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุเหล่าอื่น อธิบายว่า ภิกษุ พวกที่ได้เห็นได้ยินเหล่านั้น พึงกล่าวภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุลรูปนั้นว่า ท่านแล เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติ เลวทรามของท่านแล เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุล ทั้งหลาย อันท่านประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 625
ท่านจงหลีกไปเสียจากอาวาสนี้ ท่านอย่าอยู่ในที่นี้ และภิกษุนั้น อันภิกษุ ทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนั้น พึงว่าภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ถึงความพอใจด้วย ถึงความขัดเคืองด้วย ถึงความหลงด้วย ถึงความ กลัวด้วย ย่อมขับภิกษุบางรูป ย่อมไม่ขับภิกษุบางรูป เพราะอาบัติเช่น เดียวกัน.
[๖๒๕] บทว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ทำกรรมรูปนั้น.
บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุเหล่าอื่น อธิบายว่า ภิกษุ เหล่าใดได้เห็น ภิกษุเหล่าใดได้ยิน ภิกษุเหล่านั้น พึงว่ากล่าวภิกษุผู้ทำ กรรมรูปนั้นว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลายหาได้ถึงความ พอใจไม่ หาได้ถึงความขัดเคืองไม่ หาได้ถึงความหลงไม่ และหาได้ถึง ความกลัวไม่ ท่านแลเป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของท่านแล เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลาย อันท่านประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยิน อยู่ด้วย ท่านจงหลีกไปเสียจากอาวาสนี้ ท่านอย่าอยู่ในที่นี้ พึงว่ากล่าว แม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากเธอสละเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลายได้ยิน แล้วไม่ว่ากล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงคุมตัวมา แม้สู่ท่ามกลางสงฆ์แล้ว พึงว่ากล่าวว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น ภิกษุ ทั้งหลาย หาได้ถึงความพอใจไม่ หาได้ถึงความขัดเคืองไม่ หาได้ถึง ความหลงไม่ หาได้ถึงความกลัวไม่ ท่านแลเป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความ ประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของท่านแล เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลาย อันท่านประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 626
อยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ท่านจงหลีกไปเสียจากอาวาสนี้ ท่านอย่าอยู่ในที่นี้ พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากเธอสละเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ.
วิธีสวดสมนุภาส
[๖๒๖] ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงสวดสมนุภาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสวดสมนุภาสอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสวดสมนุภาส
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ ถูกสงฆ์ทำ ปัพพาชนียกรรมแล้ว ใส่ความภิกษุทั้งหลายว่า ลำเอียงด้วยความพอใจ ลำเอียงด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียงด้วยความกลัว เธอยังไม่สละเรื่องนั้น ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวด สมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย นี่เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ ถูกสงฆ์ทำ ปัพพาชนียกรรมแล้ว ใส่ความภิกษุทั้งหลายว่า ลำเอียงด้วยความพอใจ ลำเอียงด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียงด้วยความกลัว เธอยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่อง นั้นเสีย การสวดสมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว ใส่ความภิกษุทั้งหลายว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 627
ลำเอียงด้วยความพอใจ ลำเอียงด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียงด้วยความกลัว เธอยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสภิกษุผู้มี ชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวดสมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละ เรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว ใส่ความภิกษุทั้งหลายว่า ลำเอียงด้วยความพอใจ ลำเอียงด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียงด้วยความกลัว เธอยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสภิกษุผู้มี ชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย การสวดสมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้ สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุผู้มีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
[๖๒๗] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏเพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัยเพราะ กรรมวาจาสองครั้ง ย่อมระงับ.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 628
ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล แม้ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.
บทภาชนีย์
[๖๒๘] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๖๒๙] ภิกษุผู้ยังไม่ถูกสวดสมนุภาส ๑ ภิกษุผู้สละเสียได้ ๑ ภิกษุ วิกลจริต ๑ ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน ๑ ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๓ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 629
บทสรุป
[๖๓๐] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม คือสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว เก้าสิกขาบทให้ต้องอาบัติเมื่อแรกทำ สี่สิกขาบท ให้ต้องอาบัติเมื่อสวดสมนุภาสครบสามจบ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส สิกขาบทใดสิกขาบทหนึ่งแล้ว รู้อยู่ แต่ปกปิดไว้สิ้นวันเท่าใด ภิกษุนั้น ต้องอยู่ปริวาสด้วยความไม่ปรารถนา สิ้นวันเท่านั้น ภิกษุอยู่ปริวาสแล้ว ต้องประพฤติวัตรเพื่อมานัตสำหรับภิกษุเพิ่มขึ้นอีก ๖ ราตรี ภิกษุประพฤติ มานัตแล้ว ภิกษุสงฆ์ ๒๐ รูปอยู่ในสีมาใด พึงเรียกภิกษุนั้นเข้าหมู่ใน สีมานั้น ถ้าภิกษุสงฆ์ ๒๐ รูป หย่อนแม้รูปหนึ่ง พึงเรียกภิกษุนั้นเข้าหมู่ ภิกษุนั้นก็ไม่เป็นอันสงฆ์เรียกเข้าหมู่แล้ว และภิกษุเหล่านั้นควรถูกตำหนิ นี้เป็นสามีจิในกรรมนั้น
ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในอาบัติสังฆาทิเสสเหล่านั้นว่า ท่าน ทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถาม แม้ครั้งที่สองว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถาม แม้ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์ แล้วใน อาบัติสังฆาทิเสสเหล่านี้ เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วย อย่างนี้.
เตรสกัณฑ์ จบ
หัวข้อประจำเรื่อง
สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท คือ ปล่อยสุกกะ ๑ เคล้าคลึงกาย ๑ วาจา ชั่วหยาบ ๑ บำเรอกามของตน ๑ ชักสื่อ ๑ ทำกุฎี ๑ ทำวิหาร ๑ โจท
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 630
ด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ๑ โจทอ้างเลศบางอย่าง ๑ ทำลายสงฆ์ ๑ ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั่นแหละ ๑ ว่ายาก ๑ ประทุษร้ายสกุล ๑ ดังนี้แล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๓
กุลทูสกสิกขาบทวรรณนา
กุลทูสกสิกขาบทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นต้น ข้าพเจ้า จะกล่าวต่อไป:- ในกุลทูสกสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:-
[แก้อรรถเรื่องพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ]
คำว่า อสฺสชิปุนพฺพสุกา นาม ได้แก่ ภิกษุชื่ออัสสชิและ ปุนัพพสุกะ.
บทว่า กิฏาคิริสฺมึ ได้แก่ ในชนบทที่มีชื่ออย่างนั้น.
ในคำว่า อาวาสิกา โหนฺติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:-
อาวาสของภิกษุเหล่านี้ มีอยู่; เหตุนั้น ภิกษุเหล่านี้ จึงชื่อว่า อาวาสิกะ (เจ้าอาวาส). วิหารท่านเรียกว่า อาวาส. วิหารนั้นเกี่ยวเนื่อง แก่ภิกษุเหล่าใด โดยความเป็นผู้ดำเนินหน้าที่มีการก่อสร้างสิ่งใหม่ๆ และการซ่อมแซมของเก่าเป็นต้น, ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า อาวาสิกะ (เจ้าอาวาส). แต่ภิกษุเหล่าใด เพียงแต่อยู่ในวิหารอย่างเดียว, ภิกษุ เหล่านั้น ท่านเรียกว่า เนวาสิกะ (เจ้าถิ่น). ภิกษุอสัสชิและปุนัพพสุกะนี้ ได้เป็นเจ้าอาวาส.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 631
สองบทว่า อลชฺชิโน ปาปภิกฺขู ได้แก่ เป็นพวกภิกษุลามก ไม่มี ความละอาย เพราะว่า ภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะเหล่านั้น เป็นภิกษุ ฉัพพัคคีย์ชั้นหัวหน้า แห่งภิกษุฉัพพัคคีย์ทั้งหลาย.
[ประวัติพวกภิกษุฉัพพัคคีย์]
ได้ยินว่า ชน ๖ คน๑ ในกรุงสาวัตถีเป็นสหายกัน ปรึกษากันว่า การกสิกรรมเป็นต้นเป็นการงานที่ลำบาก, เอาเถิด สหายทั้งหลาย! พวกเราจะพากันบวช, และพวกเราเมื่อจะบวช ควรบวชในฐานผู้ช่วย สลัดออกเสียในเมื่อมีกิจการเกิดขึ้น๒ ดังนี้แล้ว ได้บวชในสำนักแห่ง พระอัครสาวกทั้งสอง. พวกเธอมีพรรษาครบ ๕ พรรษา ท่องมาติกาได้ คล่องแล้ว ปรึกษากันว่า ธรรมดาว่าชนบท บางคราว ก็มีภิกษาสมบูรณ์ บางคราว มีภิกษาฝืดเคือง, พวกเราอย่าอยู่รวมในที่แห่งเดียวกันเลย จงแยกกันอยู่ในที่ ๓ แห่ง.
ลำดับนั้น พวกเธอจึงกล่าวกะภิกษุชื่อบัณฑุกะและโลหิตกะว่า ท่าน ผู้มีอายุทั้งหลาย! ขึ้นชื่อว่ากรุงสาวัตถี มีตระกูลห้าล้านเจ็ดแสนตระกูล อยู่ครอบครอง เป็นปากทางแห่งความเจริญของแคว้นกาสีและโกศล ทั้งสอง กว้างประมาณ ๓๐๐ โยชน์ ประดับด้วยหมู่บ้าน ๘ หมื่นตำบล, พวกท่านจงให้สร้างสำนัก ในสถานที่ใกล้ๆ กรุงสาวัตถีนั้นนั่นแล แล้ว ปลูกมะม่วง ขนุน และมะพร้าวเป็นต้น สงเคราะห์ตระกูลด้วยดอก และผลไม้เหล่านั้น ให้พวกเด็กหนุ่มของตระกูลบวชแล้วขยายบริษัทให้ เจริญเถิด.
(๑) ๖ คน คือ ปัณฑกะ ๑ โลหิตกะ ๑ เมตติยะ ๑ ภุมมชกะ ๑ อัสสชิ ๑ ปุนัพพสุกะ ๑ บวชแล้ว เรียกว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ แปลว่า มีพวก ๖.
(๒) นิตฺถเรณกฏฺาเนติ อุปฺปนฺนกิจฺจสฺส นิปฺผาทนฏฺาเนติ โยชนาปาโฯ ๑/๔๕๓.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 632
กล่าวกะพวกภิกษุชื่อว่าเมตติยะและภุมมชกะว่า ท่านผู้มีอายุ! ชื่อว่า กรุงราชคฤห์มีพวกมนุษย์ ๑๘ โกฎิ อยู่ครอบครอง เป็นปากทางแห่ง ความเจริญของแคว้นอังคะและมคธทั้งสอง กว้าง ๓ โยชน์ ประดับด้วย หมู่บ้าน ๘ หมื่นตำบล, พวกท่านจงให้สร้างสำนักในที่ใกล้ๆ กรุงราชคฤห์ นั้นแล้ว ปลูกมะม่วง ขนุน และมะพร้าวเป็นต้น สงเคราะห์ตระกูล ด้วยดอกและผลไม้เหล่านั้น ให้พวกเด็กหนุ่มของตระกูลบวชแล้ว ขยาย บริษัทให้เจริญเถิด.
กล่าวกะพวกภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะว่า ท่านผู้มีอายุ! ขึ้นชื่อว่ากิฏาคีรีชนบท อันเมฆ (ฝน) ๒ ฤดูอำนวยแล้ว ย่อมได้ข้าวกล้า ๓ คราว, พวกท่านจงให้สร้างสำนัก ในที่ใกล้ๆ กิฎาคีรีชนบทนั้น นั่นแล ปลูกมะม่วง ขนุน และมะพร้าวเป็นต้นไว้ สงเคราะห์ตระกูล ด้วยดอกและผลไม้เหล่านั้น ให้พวกเด็กหนุ่มของตระกูลบวชแล้วขยาย บริษัทให้เจริญเถิด.
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านั้น ได้กระทำอย่างนั้น บรรดาพวกภิกษุ ฉัพพัคคีย์เหล่านั้น แต่ละฝ่าย มีภิกษุเป็นบริวาร ฝ่ายละ ๕๐๐ รูป รวม เป็นจำนวนภิกษุ ๑,๕๐๐ รูปกว่า ด้วยประการอย่างนี้.
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุชื่อปัณฑุกะและโลหิตกะ พร้อม ทั้งบริวารเป็นผู้มีศีลแล เที่ยวไปยังชนบทเป็นที่จาริกร่วมเสด็จกับพระผู้มีพระภาคเจ้า. พวกเธอไม่ก่อให้เกิดเรื่องใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใครทำ, แต่ชอบย่ำยีสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้ว. ส่วนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์นอกนี้ ทั้งหมดเป็นอลัชชี ย่อมก่อให้เกิดเรื่องใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใครทำด้วย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 633
ย่อมพากันย่ำยีสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้วด้วย. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกะทั้งหลายจึงกล่าวว่า อลชฺชิโน ปาปภิกิขู ดังนี้.
บทว่า เอวรูปํ ได้แก่ มีกำเนิดอย่างนี้.
สองบทว่า อนาจารํ อาจรนฺติ ความว่า ย่อมประพฤติล่วงมารยาท ที่ไม่ควรประพฤติ คือกระทำสิ่งที่ไม่ควรกระทำ.
บทว่า มาลาวจฺฉํ ได้แก่ ต้นไม้มีดอกตูม (กอไม้ดอก).
จริงอยู่ ต้นไม้ดอกก็ดี กอไม้ดอกก็ดี ที่ดอกยังตูม ท่านเรียกว่า กอไม้ดอกทั้งนั้น. ก็ภิกษุเหล่านั้น ปลูกเองบ้าง ให้คนอื่นปลูกบ้าง ซึ่งกอไม้ดอกมีชนิดต่างๆ กันมากมาย. ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกะ ทั้งหลายจงกล่าวว่า มาลาวจฺฉํ โรเปนฺติปิ โรปาเปนฺติปิ ดังนี้.
บทว่า สิญฺจนฺติ ได้แก่ ย่อมรดน้ำเองบ้าง.
บทว่า สิญฺจาเปนฺติ ได้แก่ ย่อมใช้ให้คนอื่นรดบ้าง.
[อธิบายลักษณะ ๕ มีอกัปปิยโวหารเป็นต้น]
ก็ในอธิการนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบลักษณะ ๕ อย่าง เหล่านี้ คือ อกัปปิยโวหาร ๑ กัปปิยโวหาร ๑ ปริยาย ๑ โอภาส ๑ นิมิตกรรม ๑ บรรดาลักษณะ ๕ เหล่านั้น ที่มีชื่อว่า อกัปปิยโวหาร ได้แก่ การตัดเอง การใช้ให้ตัดจำพวกของสดเขียว, การขุดเอง การใช้ให้ขุดหลุม, การ ปลูกเอง การใช้ให้ปลูกกอไม้ดอก, การก่อเอง การใช้ให้ก่อคันกั้น, การรดน้ำเอง การใช้ให้รดน้ำ, การทารางน้ำให้ตรงไป การรดน้ำที่เป็น กัปปิยะ การรดด้วยน้ำล้างมือล้างหน้าล้างเท้าและน้ำอาบ.
ที่ชื่อว่า กัปปิยโวหาร ได้แก่ คำว่า จงรู้ต้นไม้นี้, จงรู้หลุมนี้, จงรู้กอไม้ดอกนี้, จงรู้น้ำในที่นี้ และการทำรางน้ำที่แห้งให้ตรง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 634
ที่ชื่อว่า ปริยาย ได้แก่ คำมีอาทิว่า บัณฑิตควรให้ปลูกต้นไม้ ทั้งหลาย มีต้นไม้ดอกเป็นต้น จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อกาลไม่นานนัก.
ที่ชื่อว่า โอภาส ได้แก่ การยืนถือจอบและเสียมเป็นต้น และ กอไม้ดอกทั้งหลายอยู่. จริงอยู่ พวกสามเณรเป็นต้น เห็นพระเถระยืนอยู่ อย่างนั้น รู้ว่า พระเถระประสงค์จะใช้ให้ทำ แล้วจะมาทำให้.
ที่ชื่อว่า นิมิตกรรม ได้แก่ การนำจอบ เสียม มีด ขวาน และภาชนะน้ำมาวางไว้ในที่ไกล้ๆ.
ลักษณะทั้ง ๕ ประการนี้ ย่อมไม่ควรในการปลุก เพื่อประโยชน์ แก่การสงเคราะห์ตระกูล. เพื่อประโยชน์แก่การบริโภคผล กิจ ๒ อย่าง คือ อกัปปิยโวหารและกัปปิยโวหาร เท่านั้น ไม่ควร. กิจ ๓ อย่างนอกนี้ ควรอยู่. แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าวว่า แม้กัปปิยโวหาร ก็ควร. และการ ปลูกใด ย่อมควรเพื่อประโยชน์แก่การบริโภคของตน, การปลูกนั้น ก็ควรเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น แก่สงฆ์ หรือแก่เจดีย์ด้วย. แต่การใช้ ให้ปลูก เพื่อต้องการอาราม เพื่อต้องการป่า และเพื่อต้องการร่มเงา เพียงเป็นอกัปปิยโวหารอย่างเดียว ไม่สมควร. ที่เหลือ ควรอยู่. และ มิใช่จะควรแต่กิจที่เหลืออย่างเดียว ก็หามิได้, แม้การทำเหมืองให้ตรงก็ดี การรดน้ำที่เป็นกัปปิยะก็ดี การทำห้องอาบน้ำแล้วอาบเองก็ดี และการ เทน้ำล้างมือ ล้างเท้าและล้างหน้าลงในที่ปลูกต้นไม้นั้นก็ดี อย่างใด อย่างหนึ่ง สมควรอยู่. แต่ในมหาปัจจรี และในกุรุนที ท่านกล่าวว่า แม้จะปลูกเอง ในกัปปิยปฐพี ก็ควร. ถึงแม้จะบริโภคผลไม้ที่ปลูกเอง หรือใช้ปลูกเพื่อประโยชน์แก่อารามเป็นต้น ก็ควร. ในการเก็บเอง และ ในเพราะการใช้ให้เก็บผลไม้ แม้ตามปกติก็เป็นปาจิตตีย์. แต่ (ในการเก็บ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 635
และในการใช้ให้เก็บ) เพื่อต้องการประทุษร้ายตระกูล เป็นปาจิตตีย์ด้วย เป็นทุกกฏด้วย. ในเพราะการร้อยดอกไม้ มีการร้อยตรึงเป็นต้น มี พวงดอกไม้สำหรับประดับอกเป็นที่สุด เป็นทุกกฏอย่างเดียว แก่ภิกษุ ผู้ทำเพื่อต้องการประทุษร้ายตระกูล หรือเพื่อประการอื่น.
ถามว่า เพราะเหตุไร.
ตอบว่า เพราะเป็นอนาจาร และเพราะเป็นปาปสมาจารดังตรัสไว้ ในคำว่า ปาปสมาจาโร นี้.
หากโจทก์ท้วงว่า เหตุไร ในการปลูกต้นไม้เพื่อประโยชน์แก่การ บูชาพระรัตนตรัย จึงไม่เป็นอนาบัติ เหมือนในการปลูกต้นไม้เพื่อ ประโยชน์แก่อารามเป็นต้นเล่า?
เฉลย เป็นอนาบัติเหมือนกัน. เหมือนอย่างว่า ในการปลูกต้นไม้ เพื่อประโยชน์แก่อารามเป็นต้นนั้น เป็นอนาบัติ เพราะกัปปิยโวหาร และ อาการมีปริยายเป็นต้น ฉันใด, แม้ในการปลูกต้นไม้เพื่อประโยชน์แก่ การบูชาพระรัตนตรัย ก็คงเป็นอนาบัติ ฉันนั้น.
โจทก์ท้วงว่า ก็ในการปลูกต้นไม้นั้น แม้ปลูกเองในกัปปิยปฐพี ย่อมควรมิใช่หรือ?
เฉลยว่า คำนั้นท่านกล่าวแล้วในมหาปัจจรีและกุรุนที, แต่ในมหา อรรถกถามิได้กล่าวไว้. ถ้าแม้นท่านจะพึงฉงนไปว่า ถึงคำที่กล่าวแล้ว ในอรรถกถานอกนี้จะเป็นประมาณได้ก็จริง, แต่การรดน้ำที่เป็นกัปปิยะ ท่านได้กล่าวไว้ในมหาอรรถกถา, การรดน้ำที่เป็นกัปปิยะนั้นเป็นอย่างไร? แม้การรดน้ำที่เป็นกัปปิยะนั้น ก็ไม่ผิด.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 636
อันที่จริงในการปลูกและการรดนั้น เมื่อท่านกล่าวอยู่ว่า ซึ่ง ดอกไม้ดอก ดังนี้ ในเมื่อท่านควรจะกล่าวโดยไม่แปลกกันว่า ปลูก เองบ้าง ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดเองบ้าง ให้ผู้อื่นรดบ้าง ซึ่งต้นไม้ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมให้ทราบ อธิบายว่า คำว่า กอไม้ดอก นี้กล่าวหมายเอาต้นไม้ ที่มีดอกและผล เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ตระกูลเท่านั้น, แต่ยังมี ปริยายในการปลูก เพื่อประโยชน์แก่อารามเป็นต้นอย่างอื่น; เพราะเหตุนั้น คำใดที่พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายทราบความมีปริยายในการ ปลูกเพื่อประโยชน์แก่อารามเป็นต้นนั้น และความไม่มีปริยายในการปลูก เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ตระกูลนี้แล้ว กล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลาย, คำนั้นเป็นอันท่านกล่าวชอบแท้. จริงอยู่ คำนี้ข้าพเจ้าก็ได้กล่าว แล้วว่า
พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายในปางก่อนได้รจนาอรรถกถา ทั้งหลาย ไม่ได้ละมติของพระสาวกทั้งหลายผู้รู้ธรรมและวินัย เหมือนที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้วทีเดียว เพราะเหตุนั้นแล คำใดที่กล่าวแล้วในอรรถกถาทั้งหลาย, คำนั้นทั้งหมด เว้น คำที่เขียนด้วยคำพลั้งเผลอเสียแล้ว ย่อมเป็นประมาณของ บัณฑิตทั้งหลายผู้มีความเคารพในสิกขาในพระศาสนา เพราะ เหตุใด.
การปลูกเป็นต้นและการร้อยเป็นต้นทุกๆ อย่าง พึงทราบตามนัย ที่กล่าวแล้ว. ในวิสัยมีการร้อยเป็นต้นนั้น พึงมีคำถามว่า ถ้าเป็นอาบัติ ในเพราะการร้อยเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่การบูชาพระรัตนตรัยแล้ว เหตุไร ในเพราะการนำไปเป็นต้น จึงเป็นอนาบัติเล่า?
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 637
มีคำแก้ว่า เพราะนำไปเพื่อประโยชน์แก่กุลสตรีเป็นต้น จึงเป็น อาบัติ. จริงอยู่ ในหรณาธิการ พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายได้ กล่าวไว้ให้พิเศษแล้วว่า เต กุลิตฺถีนํ เป็นต้น. เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็น อาบัติแก่ภิกษุผู้นำไปเพื่อประโยชน์แก่พระพุทธเจ้าเป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกโต วณฺฏิกํ ได้แก่ ระเบียบดอกไม้ ที่จัดทำร่วมขั้วดอกไม้เข้าด้วยกัน (มาลัยต่อก้าน).
บทว่า อุภโต วณฺฏิกํ ได้แก่ ระเบียบดอกไม้ที่ทำแยกขั้วดอกไม้ไว้ สองข้าง (มาลัยเรียงก้าน).
ส่วนในบทว่า มญฺชริกํ เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า บุปผวิกัติที่ทำคล้าย กำไล เรียกว่า มัญชริกา (ดอกไม้ช่อ).
ระเบียบดอกไม้ที่ใช้เข็ม หรือซี่ไม้เสียบดอกย่างทรายเป็นต้นทำ ชื่อว่า วิธูติกา (ดอกไม้พุ่ม).
บทว่า วฏํสโก ได้แก่ เทริด (ดอกไม้กรองบนศีรษะ). ระเบียบ ดอกไม้สำหรับประดับหู ชื่อ อาเวฬา (ดอกไม้พวง).
พวงดอกไม้ที่ตั้งอยู่ตรงอก คล้ายแก้วมุกดาหาร ชื่อ ทับทรวง (ดอกไม้แผงสำหรับประดับ). พรรณนาเฉพาะบทในพระบาลีนี้เท่านี้ก่อน.
[ว่าด้วยการวินิจฉัยอาบัติในการปลูกเองเป็นต้น]
ก็แล พึงทราบวินิจฉัยอาบัติโดยพิสดารตั้งแต่ต้น ดังต่อไปนี้:- เป็นอาบัติปาจิตตีย์ กับทุกกฏ แก่ภิกษุผู้ปลูกกอไม้ดอกเอง ในอกัปปิยปฐพี เพื่อประโยชน์แก่การประทุษร้ายสกุล ภิกษุใช้ให้ปลูกด้วยอกัปปิยโวหารก็เหมือนกัน, ในการปลูกเองก็ดี ใช้ให้ปลูกก็ดี ในกัปปิยปฐพี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 638
เป็นทุกกฏอย่างเดียว. ในปฐพีแม้ทั้งสอง ในเพราะใช้ให้ปลูกกอไม้ดอก แม้มาก ด้วยการสั่งครั้งเดียว เป็นปาจิตตีย์กับทุกกฏ หรือเป็นทุกกฏล้วน แก่ภิกษุนั้น ครั้งเดียวเท่านั้น, ไม่เป็นอาบัติในเพราะใช้ให้ปลูกด้วย กัปปิยโวหาร ในฟื้นที่ที่เป็นกัปปิยะ หรือฟื้นที่ที่เป็นอกัปปิยะ เพื่อ ประโยชน์แก่การบริโภค. แม้เพื่อประโยชน์แก่อารามเป็นต้น ในอกัปปิยปฐพี ก็คงเป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ปลูกเอง หรือใช้ให้ปลูกด้วยถ้อยคำที่เป็นอกัปปิยะ. แต่นัยนี้ ท่านมิได้จำแนกไว้ให้ละเอียดในมหาอรรถกถา, จำแนกไว้แต่ในมหาปัจจรี ฉะนี้แล.
ก็ในการรดเอง และการใช้ให้รด มีวินิจฉัยอาบัติดังนี้:- เป็น ปาจิตตีย์ ทุกๆ แห่ง ด้วยน้ำที่เป็นอกัปปิยะ เพื่อประโยชน์แก่การ ประทุษร้ายตระกูลและบริโภค เป็นทุกกฏก็มี. แต่เพื่อประโยชน์แก่การ ทั้งสองนั้นเท่านั้น เป็นทุกกฏ ด้วยน้ำที่เป็นกัปปิยะ, ก็ในการประทุษ- รายตระกูลและการบริโภคนี้ เพื่อต้องการบริโภคไม่เป็นอาบัติในการใช้-- ให้รดน้ำด้วยกัปปิยโวหาร แต่ในฐานะแห่งอาบัติ ผู้ศึกษาพึงทราบความ เป็นอาบัติมาก เพราะมีประโยคมาก ด้วยอำนาจสายน้ำขาด. ในการเก็บ เอง เพื่อประโยชน์แก่การประทุษร้ายตระกูล เป็นทุกกฏกับปาจิตตีย์ตาม จำนวนดอกไม้. ในการบูชาพระรัตนตรัยเป็นต้นอย่างอื่น เป็นปาจิตตีย์ อย่างเดียว. แต่ภิกษุผู้เก็บดอกไม้เป็นจำนวนมากด้วยประโยคอันเดียว พระวินัยธรพึงปรับด้วยอำนาจแห่งประโยค. ในการใช้ให้เก็บ เพื่อ ประโยชน์แก่การประทุษร้ายตระกูล คนที่ภิกษุใช้ครั้งเดียว เก็บแม้มาก ครั้ง ก็เป็นปาจิตตีย์กับทุกกฏแก่ภิกษุนั้นครั้งเดียวเท่านั้น ในการเก็บ เพื่อบูชาพระรัตนตรัยเป็นต้น อย่างอื่นเป็นปาจิตตีย์อย่างเดียว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 639
[อรรถาธิบายบุปผวิกัติ ๖ ชนิด]
ในการร้อยดอกไม้ทั้งหลายมีการร้อยตรึงเป็นต้น ผู้ศึกษาพึงทราบ บุปผวิกัติทั้งหมด ๖ ชนิด คือ คณฺิมํ ร้อยตรึง ๑ โคปฺปิมํ ร้อยควบ หรือร้อยคุม ๑ เวธิมํ ร้อยแทงหรือร้อยเสียบ ๑ เวิมํ ร้อยพันหรือ ร้อยผูก ๑ ปูริมํ ร้อยวง ๑ วายิมํ ร้อยกรอง ๑. บรรดาบุปผวิกิติ ๖ ชนิดนั้น ที่ชื่อว่า คัณฐิมะ พึงเห็นในดอกอุบลและดอกปทุมเป็นต้นที่มี ก้าน หรือในดอกไม้ทั้งหลายอื่นที่มีขั้วยาว. จริงอยู่ ดอกไม้ที่ร้อยตรึง ก้านกับก้าน หรือขั้วกับขั้วนั่นเอง ชื่อ คัณฐิมะ. แม้คัณฐิมะนั้น ภิกษุ หรือภิกษุณีจะทำเองก็ดี ใช้ให้ทำด้วยถ้อยคำเป็นอกัปปิยะก็ดี ย่อมไม่ควร. แต่จะใช้ให้ทำด้วยกัปปิยวาจาเป็นต้นว่า จงรู้อย่างนี้, ทำได้อย่างนี้แล้วจะ พึงงาม, จงทำดอกไม้ทั้งหลายเหล่านี้ ไม่ให้กระจัดกระจาย ดังนี้ ควรอยู่.
การเอาด้าย หรือปอเป็นต้น ร้อยคุมดอกไม้มีดอกมะลิเป็นต้น ด้วยอำนาจระเบียบดอกไม้มีขั้วข้างเดียวและมีขั้วสองข้าง (ด้วยอำนาจมาลัย ต่อก้านและมาลัยเรียงก้าน) ชื่อว่า โคปปิมะ. คนทั้งหลายทบปอ หรือ เชือกเป็นสองเส้น และร้อยดอกไม้ไม่มีขั้วเป็นต้นในปอ หรือเชือกนั้น แล้วขึงไว้ตามลำดับ, แม้ดอกไม้นี้ ก็ชื่อว่า โคปปิมะ เหมือนกัน. โคปปิมะทั้งหมด ไม่ควรโดยนัยก่อนเหมือนกัน.
ที่ชื่อว่า เวธิมะ คือ ดอกไม้ที่คนทั้งหลายเสียบดอกไม้ที่มีขั้ว มี ดอกมะลิเป็นต้นที่ขั้ว หรือเสียบดอกไม้ที่ไม่มีขั้ว มีดอกพิกุลเป็นต้น ภายในช่องดอก ด้วยเสี้ยนตาลเป็นต้น แล้วร้อยไว้นี้ ชื่อว่า เวธิมะ. แม้ดอกไม้นั้น ก็ไม่สมควร โดยนัยก่อนเหมือนกัน.
ก็คนบางคนเอาหนาม หรือเสี้ยนตาลเป็นต้นปักที่ต้นกล้วยแล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 640
เสียบดอกไม้ไว้ที่หนามเป็นต้นนั้น. บางพวกเสียบดอกไม้ไว้ที่กิ่งไม้มี หนาม. บางพวกเสียบดอกไม้ไว้ที่หนาม ซึ่งปักไว้ที่ฉัตรและฝา เพื่อ กระทำฉัตรดอกไม้และเรือนยอดดอกไม้. บางพวกเสียบดอกไม้ไว้ที่หนาม ซึ่งผูกไว้ที่เพดานธรรมาสน์ บางพวกเสียบดอกไม้มีดอกกรรณิการ์ เป็นต้น ด้วยซี่ไม้ และกระทำให้เหมือนฉัตรซ้อนฉัตร. ดอกไม้ที่ทำ อย่างนั้นโอฬารยิ่งนักแล.
ก็การที่จะผูกหนามไว้ที่เพดานธรรมาสน์ เพื่อเสียบดอกไม้ก็ดี จะ เสียบดอกไม้ดอกเดียวด้วยหนามเป็นต้นก็ดี จะเอาดอกไม้เสียบเข้าใน ดอกไม้ด้วยกันก็ดี ไม่ควร. ก็การจะแซมดอกไม้ทั้งหลายไว้ในช่องแห่ง เพดานตาข่าย ชุกชี ฟันนาค (กระจัง) ที่วางดอกไม้และช่อใบตาล เป็นต้น หรือว่า ในระหว่างช่อดอกอโศก ไม่มีโทษ. เพราะดอกไม้ อย่างนั้นไม่จัดเป็นเวธิมะ. แม้ในเชือกธรรมดา (เชือกสำหรับเสียบดอกไม้) ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
ดอกไม้ที่มีชื่อว่า เวฐิมะ พึงเห็นในพวงดอกไม้และกำดอกไม้. อธิบายว่า คนบางพวก เมื่อจะทำพวงดอกไม้แขวนยอด (ธรรมาสน์ เป็นต้น) จึงร้อยดอกไม้ทั้งหลาย (๑) เพื่อแสดงอาการเป็นพุ่มอยู่ภายใต้ บางพวกมัดดอกอุบลเป็นต้นที่ก้านอย่างละ ๘ ดอกบ้าง อย่างละ ๑๐ ดอก บ้างด้วยด้าย หรือด้วยปอ กระทำให้เป็นกำดอกอุบล หรือเป็นกำดอกบัว หลวง. การทำดอกไม้อย่างนั้น ไม่ควรทั้งสิ้น โดยนัยก่อนเหมือนกัน แม้การที่จะเอาผ้ากาสาวะพันดอกอุบลเป็นต้น ที่พวกสามเณรถอนขึ้นวาง
(๑) สารตฺถทีปนี ๓/๑๑๖ มตฺถกทามนฺติ ธมฺมาสนาทมตฺถเก ลมฺพกทามํ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 641
ไว้บนบกให้เป็นห่อ ก็ไม่ควร. แต่จะเอาปอหรือก้านของดอกอุบลเป็นต้น นั้นนั่นแหละ มัดเข้าด้วยกัน หรือกระทำให้เป็นห่อสะพาย ควรอยู่.
ที่ชื่อว่า ห่อสะพายนั้น คือพวกภิกษุรวบเอาชายทั้งสองข้างของ ผ้ากาสาวะที่พาดไว้บนคอเข้ามาแล้ว ทำให้เป็นถุง (โป่งผ้า) ใส่ดอกไม้ ลงในถุงนั้น ดุจถุงกระสอบ นี้ ท่านเรียกว่า ห่อสะพาย. การกระทำ ดอกไม้เช่นนั้น ควรอยู่. คนทั้งหลายเอาก้านแทงใบบัว แล้วเอาใบท่อ ดอกอุบลเป็นต้น ถือไป. แม้ในวิสัยที่เอาใบอุบลเป็นต้น ห่อถือไปนั้น จะผูกใบปทุมเบื้องบนดอกไม้ทั้งหลายเท่านั้น ควรอยู่. แต่ก้านปทุม ไม่ ควรผูกไว้ภายใต้ดอก (แต่การผูกก้านปทุมไว้ภายใต้ดอก ไม่ควร).
ที่ชื่อว่า ปูริมะ พึงเห็นในพวงมาลัย และดอกไม้แผ่น. อธิบายว่า ผู้ใดเอาพวงมาลัยวงรอบเจดีย์ก็ดี ต้นโพธิ์ก็ดี ชุกชีก็ดี นำวกกลับมาให้ เลยที่เดิม (ฐานเดิม) ไป, แม้ด้วยการวงรอบเพียงเท่านั้น ดอกไม้ของ ผู้นั้น ชื่อว่า ปูริมะ, ก็จะกล่าวอะไรสำหรับผู้ที่วงรอบมากครั้ง. เมื่อ สอดเข้าไปทางระหว่างฟันนาค (๑) (บันไดแก้ว). ปล่อยให้น้อยลงมา แล้ว ตลบพันรอบฟันนาค (บันไดแก้ว) อีก แม้ดอกไม้นี้ ก็ชื่อว่า ปูริมะ. แต่จะสอดวลัยดอกไม้เข้าไปในฟันนาค (บันไดแก้ว) สมควรอยู่.
คนทั้งหลาย ย่อมทำแผงดอกไม้ (ดอกไม้แผ่น) ด้วยพวงมาลัย. แม้ในวิสัยดอกไม้แผงนั้น จะขึงพวงมาลัยไปเพียงครั้งเดียว ควรอยู่. เมื่อนำย้อนกลับมาอีก จัดเป็นการร้อยวงทีเดียว. ดอกไม้ชนิดนั้น ไม่ ควรทุกอย่าง โดยนัยก่อนเหมือนกัน. ก็การได้พวงดอกไม้ที่เขาทำด้วย พวงมาลัยแม้เป็นอันมากแล้ว ผูกไว้เบื้องบนแห่งอาสนะเป็นต้น ควรอยู่.
(๑) นาคทนฺตกํ แปลว่า ฟันนาค, บันไดแก้ว, และกระจังก็ได้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 642
ก็การเอาพวงมาลัยที่ยาวมากขึงไป หรือวงรอบไปครั้งหนึ่งแล้ว (เมื่อถึง เงื่อนเดิม) อีก ให้แก่ภิกษุอื่นเสีย สมควรอยู่. แม้ภิกษุนั้น ก็ควรทำ อย่างนั้นเหมือนกัน.
ที่ชื่อว่า วายิมะ พึงเห็นในดอกไม้ตาข่าย ดอกไม้แผ่น และ ดอกไม้รูปภาพ. เมื่อภิกษุกระทำตาข่ายดอกไม้ แม้บนพระเจดีย์เป็นทุกกฏ ทุกๆ ช่องตาข่ายแต่ละตา. ในฝาผนัง ฉัตร ต้นโพธิ์ และเสาเป็นต้น ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. ก็การที่ภิกษุจะร้อยกรองแผงดอกไม้แม้ที่คนอื่น ทำให้เต็มแล้ว ก็ไม่ได้. คนทั้งหลายย่อมกระทำรูปช้างและรูปม้าเป็นต้น ด้วยดอกไม้ที่ร้อยคุมทั้งหลายนั่นแล. แม้รูปช้างและรูปม้าเป็นต้นเหล่านั้น ก็ตั้งอยู่ในฐานแห่ง วายิมะ ดอกไม้นั้น ย่อมไม่ควรทั้งสิ้น โดยนัยก่อน เหมือนกัน.
แต่เมื่อจะวางดอกไม้ (ตามปกติไม่ได้ร้อย) ในตอนที่คนเหล่าอื่น ทำไว้แล้ว กระทำแม้ให้เป็นรูปช้างและรูปม้าเป็นต้น ควรอยู่. แต่ใน มหาปัจจรี ท่านกล่าวบุปผวิกัติไว้ ๘ ชนิด รวมกับพวงพู่ห้อย และพวง ดังพระจันทร์เสี้ยว. บรรดาพวงพู่ห้อยและพวงดังพระจันทร์เสี้ยวนั้น พวงห้อยที่เป็นพู่ในระหว่างพวงพระจันทร์เสี้ยว ท่านเรียกชื่อว่า กลัมพกะ (พวงพู่ห้อย). การวงรอบพวงมาลัยกลับไปกลับมา (อันเขาทำ) โดยอาการ ดังพระจันทร์เสี้ยว ท่านเรียกชื่อว่าอัฑฒจันทกะ (พวงพระจันทร์เสี้ยว). แม้ดอกไม้ทั้งสองชนิดนั้น ก็จัดเข้าในปูริมะ (ร้อยวง) เหมือนกัน. ส่วน ในกุรุนที ท่านกล่าวว่า แม้การจัดพวงมาลัยสองสามพวงเข้าด้วยกัน แล้วทำให้เป็นพวงดอกไม้ ก็ชื่อว่า วายิมะ เหมือนกัน. แม้การทำพวง ดอกไม้นั้นในมหาอรรถกถานี้ ก็จัดเข้าในฐานแห่ง ปูริมะ เหมือนกัน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 643
และมิใช่แต่พวงดอกไม้อย่างเดียวเท่านั้น, พวงดอกไม้ทำด้วยแป้งก็ดี พวงดอกไม้ทำคล้ายลูกคลีก็ดี พวงดอกไม้ที่ทำคล้ายฟันสุนัข (๑) (ที่ทำด้วย ไม้ไผ่ก็ว่า) ซึ่งท่านกล่าวไว้ในกุรุนทีก็ดี พวกภิกษุก็ดี พวกภิกษุณีก็ดี จะทำเอง ก็ไม่ควร จะใช้ให้ทำก็ไม่ควร เพราะสิกขาบทเป็นสาธารณบัญญัติ. แต่จะกล่าวถ้อยคำที่เป็นกัปปิยะ มีการบูชาเป็นเครื่องหมาย สมควรทุกๆ แห่ง. ปริยาย โอภาส และนิมิตกรรม สมควรทั้งนั้นแล.
[ว่าด้วยความประพฤติอนาจารต่างๆ]
บทว่า ตุวฏฺเฏนฺติ แปลว่า ย่อมนอน.
บทว่า ลาเสนฺติ มีความว่า พวกภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะนั้น ลุกขึ้นดุจลอยตัวอยู่เพราะปีติ แล้วให้นางระบำผู้ชำนาญเต้นรำ ร่ายระบำ รำฟ้อน คือ ให้จังหวะ (ร่ายรำ) (๒)
สองบทว่า นจฺจนฺติยาปิ นจฺจนฺติ มีความว่า ในเวลาที่หญิงฟ้อน ร่ายรำอยู่ แม้ภิกษุพวกอัสสชิและปุนัพพสุกะนั้น ก็ร่ายรำไปข้างหน้า หรือข้างหลังแห่งหญิงฟ้อนนั้น.
สองบทว่า นจฺจนฺติยาปิ คายนฺติ มีความว่า ในขณะที่หญิงฟ้อน นั้นฟ้อนอยู่ พวกภิกษุเหล่านั้น ย่อมขับร้องคลอไปตามการฟ้อนรำ. ใน ทุกๆ บท ก็มีนัยอย่างนี้.
(๑) อตฺถโยชนา ๑/๕๐๑ ขรปตฺตทามนฺติ สุนขทนุตสทิสํ กตปุปฺผทามํ,เวฬาทหิ กตปุปฺผทามนฺติปิ เกจิ. แปลว่า พวงดอกไม้ที่ทำคล้ายฟันสุนัข ชื่อขรปัตตาทามะ,อาจารย์บางพวก กล่าวว่า พวงดอกไม้ทำด้วยไม้ไผ่เป็นต้น ก็มี.
(๒) สารัตถทีปนี ๓/๑๑๘ แก้ไว้ว่า แสดงนัยยิ่งๆ มีอธิบายว่า ประกาศความประสงค์ของตน แล้วลุกขึ้นแสดงอาการฟ้อนรำก่อน ด้วยกล่าวว่า ควรฟ้อนรำอย่างนี้ แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สอดนิ้วมือเข้าปาก ทำเสียง หมุนตัวดุจจักร ชื่อว่า ให้ เรวกะ-ผู้ชำระ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 644
สองบทว่า อฏฺปเทปิ กีฬนติ มีความว่า ย่อมเล่นหมากรุกบน กระดานหมากรุกแถวละ ๘ ตา. ในกระดานหมากรุกแถวละ ๑๐ ตา ก็ เหมือนกัน.
บทว่า อากาเสปิ มีความว่า เล่นหมากเก็บในอากาศ เหมือน เล่นหมากรุกแถวละ ๘ ตา และแถวละ ๑๐ ตาฉะนั้น.
บทว่า ปริหารปเถ มีความว่า ทำวงเวียนมีเส้นต่างๆ ลงบนพื้น ดินแล้ว เล่นวกวนไปตามเส้นวกวนในวงเวียนนั้น (เล่นชิงนาง).
สองบทว่า สนฺติกายปิ กีฬนิติ ได้แก่ เล่นกีฬาหมากไหวบ้าง. อธิบายว่า ตัวหมากรุกและหินกรวดเป็นต้นที่ทอดไว้รวมกัน เอาเล็บ เท่านั้นเขี่ยออก และเขี่ยเข้าไม่ให้ไหว. ถ้าว่า ในลูกสกาตัวหมากรุก หรือหินกรวดเหล่านั้นบางอย่างไหว เป็นแพ้.
บทว่า ขลิกาย ได้แก่ เล่นโยนห่วงบนกระดานสกา.
บทว่า ฆฏิกาย มีความว่า การเล่นกีฬาไม้หึ่ง ท่านเรียกว่า ฆฏิถา เล่นด้วยกีฬาไม้หึ่งนั้น. ความว่า เที่ยวเอาไม้ยาวตีไม้สั้นเล่น.
บทว่า สลากหตฺเถน มีความว่า เล่นเอาพู่กันจุ่มด้วยน้ำครั่ง น้ำ ฝาง หรือน้ำผสมแป้งแล้วถามว่า จะเป็นรูปอะไร? จึงแต้มพู่กันนั้นลง ที่พื้น หรือที่ฝาผนังแสดงรูปช้างและรูปม้าเป็นต้น.
บทว่า อกฺเขน แปลว่า ลูกสกา.
บทว่า ปงฺกจิเรน มีความว่า หลอดใบไม้ ท่านเรียกว่า ปังกจิระ, เล่นเป่าหลอดใบไม้นั้น.
บทว่า วงฺกเกน ได้แก่ ไถเล็กๆ เป็นเครื่องเล่นของพวกเด็กชาว บ้าน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 645
บทว่า โมกฺขจิกาย มีความว่า การเล่นหกคะเมน ตีลังกา ท่าน เรียกว่า โมกขจิกา. อธิบายว่า เล่นค้ำยันไม้บนอากาศ หรือปักศรีษะ ลงที่พื้นแล้วหมุนไปรอบๆ ทั้งข้างล่างและข้างบน (เล่นจับบาร์หรือปัก ศีรษะลงจดฟื้นแล้วหกคะเมนตีลังกา).
บทว่า จิงฺคุเลน มีความว่า กังหันที่หมุนไปโดยถูกลมพัด ซึ่ง กระทำด้วยใบตาลเป็นต้น เรียกว่า จิงคุลกะ, เล่นด้วยกังหันนั้น.
บทว่า ปตฺตาฬหเกน มีความว่า กรวยใบไม้ เรียกว่า ปัตตาฬหกะ, เล่นตวงทรายเป็นต้น ด้วยกรวยใบไม้นั้น.
บทว่า รถเกน ได้แก่ รถน้อยๆ.
บทว่า ธนุเกน ได้แก่ ธนูน้อยๆ.
บทว่า อกฺขริกาย มีความว่า การเล่นทายอักษรที่อากาศ หรือ ที่หลัง เรียกว่า อักขริกา, เล่นด้วยกีฬาทายอักษรนั้น.
บทว่า มเนสิกาย มีความว่า เล่นด้วยกีฬาทายความคิดทางใจ ที่ท่านเรียกว่า มเนสิกา.
บทว่า ยถาวชฺเชน มีความว่า การเล่นแสดงประกอบท่าทางของ คนพิการ มีคนตาบอด คนกระจอก และคนค่อมเป็นต้น ที่ท่านเรียกว่า เล่นเลียนคนพิการ. ภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะเล่นด้วยกายเล่นเลียนคน พิการ เหมือนพวกชนชาวเวลัมพกเล่น (ชนพวกเล่นกายกรรม) ฉะนั้น.
สองบทว่า หตฺถิสฺมิมฺปิ สิกฺขนฺติ มีความว่า ย่อมศึกษาศิลปะที่ ควรศึกษา มีช้างเป็นนิมิต. แม้ในศิลปะมีมาเป็นต้น ก็มีนัยอย่างนี้
บทว่า ธาวนฺติปิ ได้แก่ วิ่งขับไปตามหลัง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 646
บทว่า อาธาวนฺติปิ มีความว่า วิ่งหันหน้าวกกลับมาตลอดระยะ ทางที่ตนวิ่งไป (วิ่งเปี้ยวกัน).
บทว่า นพฺพชฺณนฺติ ได้แก่ ย่อมทำการปล้ำกัน.
สองบทว่า นลาฏิกมฺปิ เทนฺติ มีความว่า ย่อมแตะนิ้วที่หน้าผาก ตนแล้ว แตะที่หน้าผากของหญิงฟ้อนนั้น พร้อมกับพูดว่า ดีละ ดีแล้ว น้องหญิง!
สองบทว่า วิวิธมฺปิ อนาจารํ มีความว่า ประพฤติอนาจารต่างๆ มีกลองปากเป็นต้น (ปี่พาทย์ปาก, ผิวปากเป็นต้น) แม้อื่นๆ ซึ่งไม่ได้ มาในพระบาลี.
[แก้อรรถตอนชาวกิฏาคีรีพบภิกษุอาคันตุกะ]
บทว่า ปาสาทิเกน ได้แก่ อันนำมาซึ่งความเลื่อมใส คือสมควร เหมาะสมแก่สมณะ.
บทว่า อภิกฺกนฺเตน คือ มีการเดิน.
บทว่า ปฏิกฺกนฺเตน คือ มีการถอยกลับ.
บทว่า อวโลกิเตน คือ การมองดูไปข้างหน้า.
บทว่า วิโลกิเตน คือ ดูข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้าง.
บทว่า สมฺมิฺชิเตน คือ การคู้ข้ออวัยวะเข้า.
บทว่า ปสาริเตน คือ การเหยียดข้อเหล่านั้นนั่นแหละออก. ใน บททั้งปวงเป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถบอกอิตถัมภูต. มีคำอธิบายว่า เป็นผู้ มีการเดินไปข้างหน้า ถอยกลับ เหลียวซ้าย แลขวา คู้เข้า เหยียดออก อันน่าเลื่อมใส เพราะถูกควบคุมด้วยสติสัมปชัญญะ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 647
บทว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ คือ มีจักษุทอดลงเบื้องต่ำ.
บทว่า อิริยาปถสมฺปนฺโน มีความว่า มีอิริยาบถเรียบร้อย เพราะ มีกิริยาก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น อันน่าเลื่อมใสนั้น.
บทว่า กฺวายํ ตัดบทเป็น โก อยํ แปลว่า ภิกษุนี้เป็นใคร่?
บทว่า อพฬพโฬ วิย มีความว่า ได้ยินว่า ชนทั้งหลายเรียกคน อ่อนแอว่า อพฬ. ก็คำกล่าวย้ำนี้ เป็นไปในอรรถว่า อย่างยิ่ง, เพราะฉะนั้น จึงมีคำอธิบายว่า เหมือนคนอ่อนแอเหลือเกิน.
ด้วยบทว่า มนฺทมนฺโท ชาวบ้านย่อมแสดงคุณแท้ๆ โดยเป็นโทษ อย่างนี้ว่า เป็นผู้อ่อนแอนัก คืออ่อนเปียกนัก เพราะเป็นผู้มีอิริยาบถ มีการก้าวเดินเป็นต้นไม่ปราดเปรียว.
บทว่า ภากุฏิกภากุฏิโก วิย มีความว่า เพราะท่านเป็นผู้มีจักษุ ทอดลง ชาวบ้านจึงสำคัญพูดกันว่า ภิกษุนี้ทำหน้าสยิ้ว มีหน้านิ่วคิ้วขมวด เที่ยวไปเหมือนคนโกรธ.
บทว่า สณฺหา คือ เป็นผู้ละเอียด. อธิบายว่า เป็นผู้ฉลาดชักนำ อุบาสกชนไปในฐานะอันควรอย่างนี้ว่า แน่ะโยมหญิง โยมชาย พี่สาว น้องสาว! ท่านหาเป็นคนไม่มีพละกำลังเหมือนภิกษุรูปนี้ไม่.
บทว่า สขิลา ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีวาจานุ่มนวล.
บทว่า สุขสํภาสา นี้ เป็นคำแสดงเหตุแห่งคำก่อน. จริงอยู่ ชน ผู้มีการพูดจาอ่อนหวาน เป็นสัมโมทนียกถา ไม่หยาบคาย เสนาะหู ท่านเรียกว่า ผู้มีวาจาไพเราะ ด้วยเหตุนั้น ชาวบ้านจึงกล่าวว่า (พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา) เป็นผู้พูดไพเราะ พูดอ่อนหวาน. ก็ในคำนี้มี อธิบายดังนี้ว่า พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา เห็นพวกอุบาสกอุบาสิกาแล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 648
กล่าวสัมโมทนียกถาไพเราะ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเป็นผู้พูดไพเราะ อ่อน หวาน ไม่เป็นคนอ่อนแอและอ่อนเปียกเหมือนภิกษุนี้เลย.
บทว่า มิหิตปุพฺพงฺคมา มีวิเคราะห์ว่า ภิกษุเหล่านี้ มีการยิ้มแย้ม เป็นไปก่อนพูด; เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีการยิ้มแย้มเป็นเบื้องหน้า ความว่า ภิกษุเหล่านั้นยิ้มแย้มก่อนจึงพูดภายหลัง. บทว่า เอหิสฺวาคตวาทิโน มีความว่า เห็นอุบาสกแล้วมักพูด อย่างนั้นว่า มาเถิด ท่านมาดีแล้ว หาเป็นคนมีหน้าสยิ้ว เพราะเป็นคนมี หน้านิ่วคิ้วขมวดเหมือนภิกษุนี้ไม่. พวกชาวกิฏาคีรีชนบท ครั้นแสดง ความเป็นผู้มีหน้าไม่สยิ้ว เพราะเป็นผู้มีปกติยิ้มแย้มก่อนเป็นต้น โดย อรรถอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงแม้โดยสรุปอีก จึงได้กล่าวว่า มีหน้าไม่ สยิ้ว มีหน้าชื่นบาน มักพูดก่อน.
อีกอย่างหนึ่ง ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ทั้ง ๓ บท มีบทว่า อภากุฏิกา เป็นต้นนี้ แสดงความไม่มีแห่งอาการแม้ทั้ง ๓ โดยมาสับลำดับกัน
คือ อย่างไร? คือ บรรดาบททั้ง ๓ มีบทว่า อภากุฏิกา เป็นต้น นั่น ด้วยบทว่า อภากุฏิกา นี้ ท่านแสดงความไม่มีอาการสยิ้วหน้าสยิ้วตา
ด้วยบทว่า อุตฺตานมุขา นี้ ท่านแสดงความไม่มีแห่งอาการอ่อนแอ และอ่อนเปียก. ก็ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้หน้าเบิกบานด้วยการลืมตาทั้งสอง มองดู. ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าไม่เป็นคนอ่อนแอและอ่อนเปียก.
ด้วยบทว่า ปุพฺพภาสิโน นี้ ท่านแสดงความไม่มีแห่งอาการอ่อน แอและอ่อนเปียก. ก็ภิกษุเหล่าใด ย่อมทักทายก่อนว่า แน่ะโยมหญิง! โยมชาย! ดังนี้ เพราะเป็นผู้ฉลาดในการโอภาปราศรัย, ภิกษุเหล่านั้น หาเป็นผู้ไม่มีพละกำลังไม่ ฉะนี้แล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 649
[อุบาสกนิมนต์ภิกษุอาคันตุกะไปยังเรือน]
บทว่า เอหิ ภนฺเต ฆรํ คมิสฺสาม มีความว่า ได้ยินว่า อุบาสก นั้น เมื่อภิกษุกล่าวตอบว่า ท่านผู้มีอายุ! อาตมายังไม่ได้บิณฑบาตเลย ดังนี้ จึงกล่าวว่า พวกภิกษุนั่นแหละ ทำให้ท่านไม่ได้บิณฑบาตนั่น ถึง แม้ท่านจะเที่ยวไปจนทั่วหมู่บ้าน ก็จักไม่ได้เลย ประสงค์จะถวายบิณฑ- บาต จึงกล่าวว่า มาเถิด ขอรับ! พวกเราจักไปเรือนด้วยกัน.
ถามว่า ก็วาจานี้ เป็นวิญญัตติวาจา หรือไม่เป็น?
ตอบว่า ไม่เป็น. ธรรมดาปัญหาที่เขาถามแล้วนี้ ควรจะตอบ. เพราะฉะนั้น ถ้าแม้นว่าในทุกวันนี้ ใครๆ ถามภิกษุผู้เข้าไปสู่ละแวก บ้านในเวลาเช้าก็ดี ในเวลาเย็นก็ดี ว่า ท่านเที่ยวไปทำไม ขอรับ! การที่ภิกษุบอกความประสงค์ที่ตนเที่ยวไปแล้ว เมื่อเขาถามว่า ได้แล้ว หรือยังไม่ได้ ถ้ายังไม่ได้ก็บอกว่า ยังไม่ได้ แล้วรับเอาสิ่งของที่เขาถวาย ควรอยู่.
บทว่า หุฏฺโ มีความว่า ไม่ได้ทรุดโทรมลง ด้วยการยังความ เลื่อมใสเป็นต้นให้พินาศไป, แต่ทรุดโทรมลง ด้วยอำนาจแห่งบุคคล ผู้โทรม.
ทานทั้งหลายนั่นแล ท่านเรียกว่า ทานบถ. อีกอย่างหนึ่ง ทาน ประจำ ท่านเรียกว่า ทานบถ มีคำอธิบายว่า ทานวัตร.
บทว่า อุปจฺฉินฺนานิ ได้แก่ ถูกพวกทายกตัดขาดแล้ว. อธิบายว่า บัดนี้พวกทายกเหล่านั้น ไม่ถวายทานนั้น.
บทว่า ริญฺจนฺติ มีความว่า พวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก เป็นผู้แยก กันอยู่ คือกระจายกันอยู่ , มีคำอธิบายว่า ย่อมพากันหลีกหนีไป.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 650
บทว่า สณฺฐเหยฺย มีความว่า พึงดำรงอยู่โดยชอบ คือพึงเป็นที่ พำนักของเหล่าภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก.
ภิกษุนั้นรับสาสน์ของอุบาสกผู้มีศรัทธามีความเลื่อมใส ด้วยคำว่า เอวมาวุโส ดังนี้แล. ได้ยินว่า การนำข่าวสาสน์ที่เป็นกัปปิยะเห็นปานนี้ ไป ย่อมควร. เพราะฉะนั้น ภิกษุไม่พึงทำความรังเกียจในข่าวสาสน์ ทั้งหลายเช่นนี้ว่า ขอท่านจงถวายบังคมพระบาทยุคลของพระผู้มีพระภาคเจ้าตามคำของเรา ดังนี้ ก็ดี ว่า ขอท่านจงไหว้พระเจดีย์ พระปฏิมา ต้นโพธิ์ พระสังฆเถระ ดังนี้ ก็ดี ว่า ท่านจงทำการบูชาด้วยของหอม การบูชาด้วยดอกไม้ที่พระเจดีย์ ดังนี้ ก็ดี ว่า ขอท่านจงนิมนต์ให้ภิกษุ ทั้งหลายประชุมกัน, พวกเราจักถวายทาน จักฟังธรรม ดังนี้ ก็ดี ข่าว สาสน์เหล่านี้ เป็นกัปปิยสาสน์ ไม่เกี่ยวด้วยคิหิกรรมของพวกคฤหัสถ์ ด้วย ประการฉะนี้แล.
คำว่า กุโต จ ตฺวํ ภกฺขุ อาคจนฺฉติ มีความว่า ภิกษุนั้นนั่งอยู่แล้ว ไม่ใช่กำลังมา. แต่โดยอรรถภิกษุนั้นเป็นผู้มาแล้ว. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ คำปัจจุบันกาลในอรรถอดีตที่ใกล้ต่อปัจจุบันกาล ย่อมมีได้ ; เพราะฉะนั้น จึงไม่มีความผิด. แม้ในคำว่า ตโต อหํ ภควา อาคจฺฉามิ นี้ ในสุดท้าย ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
[ทรงรับสั่งให้ลงปัพพาชนียกรรมพวกภิกษุฉัพพัคคีย์]
ในคำว่า ปมํ อสฺสชิปุนพฺพสุกา ภิกฺขู โจเทตพฺพา นี้ มีวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ว่า พระอัสสชิและปุนัพพสุกะ อันสงฆ์พึงให้ทำโอกาสว่า พวกผมต้องการจะพูดกะพวกท่าน แล้วพึงโจทด้วยวัตถุและอาบัติ, ครั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 651
โจทแล้วพึงให้ระลึกถึงอาบัติที่พวกเธอยังระลึกไม่ได้. ถ้าพวกเธอปฏิญญา วัตถุและอาบัติ หรือปฏิญญาเฉพาะอาบัติ ไม่ปฏิญญาวัตถุ พึงยกอาบัติ ขึ้นปรับ. ถ้าปฏิญญาเฉพาะวัตถุ ไม่ปฏิญญาอาบัติ แม้ในการปฏิญญา อย่างนั้น ก็พึงยกอาบัติขึ้นทีเดียวว่า เป็นอาบัติชื่อนี้ ในเพราะวัตถุนี้. ถ้าพวกเธอไม่ปฏิญญาทั้งวัตถุ ไม่ปฏิญญาทั้งอาบัติ ไม่พึงยกอาบัติขึ้น ปรับ.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปรับอาบัติตามปฏิญญาแล้ว เมื่อจะทรง แสดงว่า สงฆ์พึงลงปัพพาชนียกรรมอย่างนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า พฺยตฺเตน ภิกฺขุนา ดังนี้. คำนั้น ตื้นทั้งนั้น. ก็ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรม อย่างนี้แล้ว ไม่ควรอยู่ในวัดที่ตนเคยอยู่ หรือในบ้านที่ตนทำกุลทูสกกรรม. เมื่อจะอยู่ในวัดนั้น ไม่พึงเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านใกล้เคียง. แม้จะอยู่ในวัดใกล้เคียง ก็ไม่ควรเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านนั้น. แต่ พระอุปติสสเถระ ถูกพวกอันเตวาสิกค้านว่า ท่านขอรับ! ธรรมดาว่า นครใหญ่มีประมาณถึง ๑๒ โยชน์ ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า ภิกษุทำกุลทูสกกรรมในถนนใด, ท่านห้ามแต่ถนนนั้น. ลำดับนั้น ท่านถูกพวก อันเตวาสิกค้านเอาว่า แม้ถนนก็ใหญ่ มีประมาณเท่านครเที่ยว แล้ว จึงกล่าวว่า ภิกษุกระทำกุลทูสกกรรมในลำดับเรือนแถวใด ท่านห้าม ลำดับ เรือนแถวนั้น ดังนี้. ท่านถูกพวกอันเตวาสิกค้านอีกว่า แม้ลำดับ เรือน ก็มีขนาดเท่าถนนทีเดียว จึงกล่าวว่า ท่านห้าม ๗ หลังคาเรือน ข้างโน้นและข้างนี้. ก็คำทั้งหมดนั้น เป็นเพียงมโนรถของพระเถระ เท่านั้น. ถ้าแม้นวัดใหญ่มีขนาด ๓ โยชน์เป็นอย่างสูง และนครโตขนาด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 652
๑๒ โยชน์เป็นอย่างยิ่ง ภิกษุผู้ทำกุลทูสกกรรม จะอยู่ในวัดจะเที่ยวไป ในนคร (นั้น) ไม่ได้เลย ฉะนั้นแล.
ข้อว่า เต สงฺเฆน ปพฺพาชนียกมฺมกตา มีความว่า ถามว่า สงฆ์ ได้กระทำกรรมแก่พวกภิกษุอัสสชิและปุนพัพสุกะนั้น อย่างไร?
ตอบว่า สงฆ์ไม่ได้ไปข่มขี่กระทำกรรมเลย, โดยที่แท้ เมื่อพวก ตระกูลอาราธนา นิมนต์มาแล้ว กระทำภัตเพื่อสงฆ์ พระเถระทั้งหลาย ในที่นั้นๆ แสดงข้อปฏิบัติของสมณะ ให้พวกมนุษย์เข้าใจว่า นี้เป็น สมณะ นี้ไม่ใช่สมณะ แล้วให้ภิกษุ ๑ รูป ๒ รูป เข้าสู่สีมาแล้ว ได้ กระทำปัพพาชนียกรรมแมแก่พวกภิกษุทั้งหมด โดยอุบายนี้นั่นแล.
ก็เมื่อภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมอย่างนี้แล้ว บำเพ็ญวัตร ๑๘ ประการให้บริบูรณ์ขออยู่ กรรมอันสงฆ์พึงระงับ. และแม้ภิกษุผู้มีกรรม ระงับแล้วนั่น ตนทำกุลทูสกกรรมไว้ในตระกูลเหล่าใดในครั้งก่อน ไม่ ควรรับปัจจัยจากตระกูลเหล่านั้น. แม้บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะแล้วก็ ไม่ควรรับ, ปัจจัยเหล่านั้น จัดเป็นของไม่สมควรแท้.
เมื่อภิกษุถูกทายกถามว่า ทำไม ท่านจึงไม่รับ? ตอบว่า เพราะ ได้กระทำไว้อย่างนี้เมื่อก่อน ดังนี้, ถ้าพวกชาวบ้านกล่าวว่า พวกกระผม ไม่ถวายด้วยเหตุอย่างนั้น, ถวายเพราะท่านมีศีลในบัดนี้ (ต่างหาก) ดังนี้ ควรรับได้. กุลทูสกกรรม เป็นกรรมอันภิกษุผู้กระทำเฉพาะในสถานที่ ให้ทานตามปกติ, จะรับทานตามปกติจากสถานที่นั้นนั่นแล ควรอยู่. ทานที่ทายกถวายเพิ่มเติม ไม่ควรรับ.
บทว่า น สมฺมา วตฺตนฺติ มีความว่า ก็พวกภิกษุอัสสชิปุนัพพสุกะ เหล่านั้นย่อมไม่ประพฤติโดยชอบ ในวัตร ๑๘ ประการ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 653
ข้อว่า น โลมํ ปาเตนฺติ มีความว่า ชื่อว่า เป็นผู้ไม่หายเย่อหยิ่ง เพราะไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติอันสมควร.
ข้อว่า น เนตฺถารํ วตฺตนฺติ มีความว่า ย่อมไม่ปฏิบัติตามทางเป็น เครื่องช่วยถอนตนเอง.
ข้อว่า ภิกขู น ขมาเปนฺติ มีความว่า ย่อมไม่กระทำให้ภิกษุ ทั้งหลายอดโทษอย่างนี้ว่า พวกกระผมกระทำผิด ขอรับ! แต่พวกกระผม จะไม่กระทำเช่นนี้อีก, ขอท่านทั้งหลายจงอดโทษแก่พวกกระทำเถิด.
บทว่า อกฺโกสนฺติ คือ ย่อมด่าการกสงฆ์ ด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐.
บทว่า ปริภาสนฺติ คือ ย่อมแสดงภัยแก่ภิกษุเหล่านั้น.
ข้อว่า ฉนฺทคามิตาฯ เปฯ ภยคามิตา ปาเปนฺติ มีความว่า ย่อม ให้ถึง คือ ประกอบด้วย ความลำเอียงเพราะรักใคร่กันบ้าง ฯลฯ ด้วย ความลำเอียงเพราะกลัวบ้าง อย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ เป็นผู้มีความลำเอียง เพราะรัก ฯลฯ และมีความลำเอียงเพราะกลัว.
บทว่า ปกฺกมนฺติ มีความว่า บรรดาสมณะ ๕๐๐ ซึ่งเป็นบริวาร ของพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะนั้น บางพวกก็หลีกไปสู่ทิศ.
บทว่า วิพฺภมนฺติ คือ บางพวกก็สึกเป็นคฤหัสถ์.
ในคำว่า กถํ หิ นาม อสฺสสชิปุนพฺพสุกา นี้ ท่านเรียกภิกษุแม้ ทั้งหมดว่า อสัสชิปุนัพพสุกะ ด้วยอำนาจแห่งภิกษุทั้งสองรูปผู้เป็น หัวหน้า.
[อรรถาธิบายกุลทูสกรรมมีการให้ดอกไม้เป็นต้น]
ในคำว่า คามํ นี้ แม้นครท่านยึดเอาด้วยคามศัพท์เหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น ในบทภาชนะแห่งบทนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บ้านก็ดี นิคม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 654
ก็ดี นครก็ดี ชื่อว่า คามและนิคม. บรรดาบ้านเป็นต้นนั้น หมู่บ้านที่ ไม่มีกำแพงเป็นเครื่องล้อม มีร้านตลาด พึงทราบว่า นิคม.
ภิกษุใดประทุษร้ายซึ่งตระกูลทั้งหลาย; เหตุนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่า กุลทูสกะ. และเมื่อจะประทุษร้าย ไม่ใช่ประทุษร้ายด้วยของเสีย มีของ ไม่สะอาด และเปียกตมเป็นต้น โดยที่แท้ย่อมทำความเลื่อมใสของตระกูล ทั้งหลายนั้นให้พินาศไป ด้วยข้อปฏิบัติชั่วของตน, ด้วยเหตุนั้นแล ใน บทภาชนะแห่งบทนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปุปฺเผน วา เป็นต้น.
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า ปุปฺผทาเนน เป็นต้นนั้นดังนี้:-
ภิกษุใดนำไปให้เองก็ดี ให้นำไปให้ก็ดี เรียกมาให้เองก็ดี ให้เรียก มาให้ก็ดี หรือว่าให้ดอกไม้ที่เป็นของตน อย่างใดอย่างหนึ่งแก่บุคคล ทั้งหลายที่เข้าไปหาเอง เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ตระกูล, ภิกษุนั้น ต้องทุกกฏ. ให้ดอกไม้ของคนอื่น ก็เป็นทุกกฏเหมือนกัน. ให้ด้วยไถยจิต พระวินัยธรพึงปรับตามราคาสิ่งของ. แม้ในของสงฆ์ก็มีนัยอย่างนี้เหมือน กัน. ส่วนความแปลกกัน ดังต่อไปนี้ เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้ให้ดอกไม้ ที่เขากำหนดไว้ เพื่อประโยชน์แก่เสนาสนะ โดยถือว่าตนเป็นใหญ่.
ถามว่า ชื่อว่า ดอกไม้ ควรให้แก่ใคร ไม่ให้แก่ใคร?
ตอบว่า เมื่อจะให้แก่มารดาบิดาก่อน นำไปให้เองก็ดี ให้นำไป ให้ก็ดี เรียกมาให้เองก็ดี ให้เรียกมาให้ก็ดี ควรทั้งนั้น. สำหรับญาติที่ เหลือ ให้เรียกมาให้เท่านั้นจึงควร. ก็แลการให้ดอกไม้นั้น. เพื่อประโยชน์ แก่การบูชาพระรัตนตรัยจึงควร. แต่จะให้ดอกไม้แม้แก่ใครๆ เพื่อ ประโยชน์แก่การประดับ หรือเพื่อประโยชน์แก่การบูชาศิวลึงค์เป็นต้น ไม่ควร. และเมื่อจะให้นำไปให้แก่มารดาบิดา ควรใช้สามเณรผู้เป็นญาติ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 655
เท่านั้นให้นำไปให้. สามเณรผู้มิใช่ญาตินอกนั้น ถ้าปรารถนาจะนำไป เองเท่านั้น จึงควรให้นำไป. ภิกษุผู้แจกดอกไม้ที่ได้รับสมมติ จะให้ส่วน กึ่งหนึ่งแก่พวกสามเณรผู้มาถึงในเวลาแจกก็ควร.
ในกุรุนทีท่านกล่าวว่า ควรให้ครึ่งส่วนแก่คฤหัสถ์ที่มาถึง, ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ควรให้แต่น้อย. ภิกษุผู้ไม่ได้รับสมมติควรอปโลกน์ให้ พวกสามเณรผู้มีความเคารพในอาจารย์และอุปัชฌายะ ได้นำดอกไม้เป็น อันมากมากองไว้. พระเถระทั้งหลายให้แก่พวกสัทธิวิหาริกเป็นต้น หรือ แก่พวกอุบาสกผู้มาถึงแต่แช้าตรู่ ด้วยกล่าวว่า เธอจงถือเอาดอกไม้นี้ เธอจงถือเอาดอกไม้นี้, ไม่จัดว่าเป็นการให้ดอกไม้. พวกภิกษุผู้ถือเอาไป ด้วยคิดว่า พวกเราจักบูชาพระเจดีย์ก็ดี กำลังทำการบูชาก็ดี ให้แก่พวก คฤหัสถ์ผู้มาถึงในที่นั้นๆ เพื่อประโยชน์แก่การบูชาพระเจดีย์. แม้การ ให้นี้ ก็ไม่จัดว่าเป็นการให้ดอกไม้ แม้เห็นพวกอุบาสกกำลังบูชาด้วย ดอกรักเป็นต้น แล้วกล่าวว่า อุบาสกทั้งหลาย! ดอกกรรณิการ์เป็นต้น ที่วัดมี, พวกท่านจงไปเก็บดอกกรรณิการ์เป็นต้นมาบูชาเถิด ดังนี้ ก็ ควร.
พวกชาวบ้านถามภิกษุทั้งหลายผู้ทำการบูชาด้วยดอกไม้ แล้วเข้าไป ยังบ้านค่อนข้างสายว่า เพราะเหตุไร ขอรับ! พวกท่านจึงเข้ามาสายนัก? พวกภิกษุตอบว่า ที่วัดมีดอกไม้มาก, พวกเราได้ทำการบูชา (ก่อนเข้า มา). พวกชาวบ้านรู้ว่า ได้ทราบว่าที่วัดมีดอกไม้มาก วันรุ่งขึ้นจึงถือเอา ของเคี้ยวของฉันเป็นอันมากไปสู่วัด กระทำการบูชาด้วยดอกไม้และถวาย ทาน, การพูดนั่นก็ควร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 656
พวกชาวบ้านขอวาระดอกไม้ว่า ท่านขอรับ! พวกกระผมจักบูชา ณ วันชื่อโน้น แล้วมาในวันที่อนุญาต. และพวกสามเณรได้เก็บดอกไม้ ไว้แต่เช้าตรู่. พวกชาวบ้านเมื่อไม่เห็นดอกไม้เป็นต้น จึงพูดว่า ดอกไม้ อยู่ที่ไหน ขอรับ! พระเถระทั้งหลายตอบว่า พวกสามเณรเก็บไว้, ก็ พวกท่านจงไปบูชากันเถิด, สงฆ์จักบูชาในวันอื่น. พวกชาวบ้านเหล่านั้น พากันบูชา ถวายทานแล้วไป, การพูดอย่างนั้น ก็ควร.
แต่ในมหาปัจจรีและกุรุนที ท่านกล่าวว่า พระเถระทั้งหลายย่อม ไม่ได้เพื่อจะใช้ให้พวกสามเณรให้, ถ้าพวกสามเณรให้ดอกไม้เหล่านั้นแก่ พวกชาวบ้านเหล่านั้นเสียเองนั่นแล, การให้นั่น สมควร, แต่พระเถระ ทั้งหลาย ควรกล่าวคำเพียงเท่านี้ว่า พวกสามเณรเก็บดอกไม้เหล่านี้ไว้.
แต่ถ้าว่า พวกชาวบ้านขอวาระดอกไม้แล้ว เมื่อพวกสามเณรไม่ได้ เก็บดอกไม้ไว้ ถือเอายาคูและภัตเป็นต้นมาแล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย จงให้สามเณรทั้งหลายเก็บให้ การใช้ให้พวกสามเณรผู้เป็นญาติเท่านั้น เก็บให้ จึงควร. พระเถระทั้งหลายยกพวกสามเณรที่มิใช่ญาติขึ้นวางบน กิ่งไม้. พวกสามเณรไม่ควรลงแล้วหนีไปเสีย, ควรเก็บให้.
ในมหาปัจจรีและกุรุนทีกล่าวว่า ก็ถ้าว่าพระธรรมกถึกบางรูปจะ กล่าวว่า อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย ดอกไม้ที่วัดมีมาก, พวกท่านจง ถือเอายาคูและภัตเป็นต้น ไปทำการบูชาด้วยดอกไม้เถิด, ยาคูและภัต เป็นต้นนั้น ย่อมไม่สมควรแก่พระธรรมกถึกนั้นเท่านั้น. แต่ในมหาอรรถกถา ท่านกล่าวไว้โดยไม่แปลกกันว่า ยาคูและภัต เป็นต้นนั้น เป็น อกัปปิยะ ไม่สมควร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 657
แม้ผลไม้ที่เป็นของของตน จะให้แก่มารดาบิดาและพวกญาติที่เหลือ ย่อมควร โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. แต่เมื่อภิกษุผู้ให้ เพื่อประโยชน์ แก่การสงเคราะห์ตระกูล พึงทราบว่าเป็นทุกกฏเป็นต้น ในเพราะผลไม้ ของตน ของคนอื่น ของสงฆ์ และของที่เขากำหนดไว้เพื่อประโยชน์ แก่เสนาสนะ โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. เฉพาะผลไม้ที่เป็นของของตน จะให้แก่พวกคนไข้ หรือแก่พวกอิสรชนผู้มาถึงซึ่งหมดเสบียงลง ก็ควร. ไม่จัดเป็นการให้ผลไม้. แม้ภิกษุผู้แจกผลไม้ที่สงฆ์สมมติ จะให้กึ่งส่วน แก่พวกชาวบ้านผู้มาถึงในเวลาแจกผลไม้แก่สงฆ์ ก็ควร. ผู้ไม่ได้รับสมมติ ควรอปโลกน์ให้.
แม้ในสังฆาราม สงฆ์ก็ควรทำกติกาไว้ ด้วยการกำหนดผลไม้หรือ ด้วยการกำหนดต้นไม้ เมื่อพวกคนไข้หรือพวกคนอื่นขอผลไม้ จากผล หรือจากต้นไม้ที่กำหนดไว้นั้น พึงให้ผลไม้ ๔ - ๕ ผล หรือพึงแสดง ต้นไม้ ตามที่กำหนดไว้ว่า พวกเธอถือเอาจากต้นนี้ได้ แต่ไม่ควรพูดว่า ผลไม้ที่ต้นนี้ดี, พวกเธอจงถือเอาจากต้นนี้.
พึงทราบวินิจฉัย ในบทว่า จุณฺเณน นี้ ดังต่อไปนี้:-
ภิกษุให้จุรณสน หรือน้ำฝาดอย่างอื่นของของตนเพื่อประโยชน์แก่ การสงเคราะห์ตระกูล เป็นทุกกฏ. แม้ในของของตนอื่นเป็นต้น ก็พึง ทราบวินิจฉัยโดยนัยดังกล่าวมาแล้ว. ส่วนความแปลกกันดังต่อไปนี้:- ในจุรณวิสัยนี้ เปลือกไม้แม้ที่สงฆ์รักษาและสงวนไว้ ก็จัดเป็นครุภัณฑ์ แท้. แม้ในพวกดินเหนียว ไม้ชำระฟัน และไม้ไผ่ บัณฑิตรู้จักของที่ควร เป็นครุภัณฑ์แล้ว พึงทราบวินิจฉัยดังกล่าวแล้วในจุรณนั่นแล. แต่การ ให้ใบไม้ ไม่มาในบาลีนี้. แม้การให้ใบไม้นั้น ก็พึงทราบโดยนัยดังกล่าว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 658
แล้วเหมือนกัน. ข้าพเจ้าจักพรรณนาการให้ใบไม้ทั้งหมด โดยพิสดาร ในการวินิจฉัยครุภัณฑ์ แม้ข้างหน้า.
เวชกรรมวิธี ในบทว่า เวชฺชกาย วา นี้ บัณฑิตพึงทราบโดยนัย ที่กล่าวไว้แล้วในตติยปาราชิกวรรณนานั่นแล.
กรรม คือ การงานของทูต และการส่งข่าวสาสน์ของพวกคฤหัสถ์ ท่านเรียกว่า ชังฆเปสนียะ ในคำว่า ชงฺฆเปสนิเกน นี้, ข้อนั้น อัน ภิกษุไม่ควรกระทำ. ด้วยว่าเมื่อภิกษุรับข่าวสาสน์ของพวกคฤหัสถ์แล้วเดิน ไป เป็นทุกกฏ ทุกๆ ย่างเท้า. แม้เมื่อฉันโภชนะที่อาศัยกรรมนั้นได้มา ก็เป็นทุกกฏ ทุกๆ คำกลืน. แม้เมื่อไม่รับข่าวสาสน์แต่แรก ภายหลัง ตกลงใจว่า บัดนี้ นี้คือบ้านนั้น เอาละ เราจักแจ้งข่าวสาสน์นั้น แล้ว แวะออกจากทาง ก็เป็นทุกกฎ ทุกๆ ย่างเท้า. เมื่อฉันโภชนะที่บอกข่าว สาสน์ได้มา เป็นทุกกฏโดยนัยก่อนเหมือนกัน. แต่ภิกษุไม่รับข่าวสาสน์ มา เมื่อถูกคฤหัสถ์ถามว่า ท่านขอรับ! อันผู้มีชื่อนี้ ในบ้านนั้น มีข่าว คราวเป็นอย่างไร! ดังนี้ จะบอกก็ควร. ในปัญหาที่เขาถาม ไม่มี โทษ.
แต่จะส่งข่าวสาสน์ของพวกสหธรรมิก ๕ ของมารดาบิดา คน ปัณฑุปลาส และไวยาจักรของตนควรอยู่. และภิกษุจะส่งข่าวสาสน์ที่ สมควร มีประการดังกล่าวแล้วในก่อน ของพวกคฤหัสถ์ควรอยู่. เพราะ ข่าวสาสน์ที่สมควรนี้ ย่อมไม่ชื่อว่าเป็นกรรม คือ การเดินข่าว. ก็แล ปัจจัยที่เกิดขึ้นจากกุลทูสกกรรม ๘ อย่างนี้ ย่อมไม่สมควรแก่สหธรรมิก ทั้ง ๕ เป็นเช่นกับปัจจัยที่เกิดขึ้นจากการอวดอุตริมนุสธรรมอันไม่เป็น จริง และการซื้อขายด้วยรูปิยะทีเดียว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 659
ภิกษุนั้น มีความประพฤติลามก; เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ปาปสมาจาร. ก็เพราะปาปสมาจาร มีการปลูกต้นไม้ดอกเป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาแล้วในสิกขาบทนี้; ฉะนั้น พระองค์จึงตรัส ไว้ในบทภาชนะแห่งบทว่า ปาปสมาจาร นี้ โดยนัยเป็นต้นว่า มาลาวจฺฉํ โรเปนฺติปิ ดังนี้.
บทว่า ติโรกฺขา แปลว่า ลับหลัง.
ก็คำว่า กุลานิ นี้ ในคำว่า กุลานิ จ เตน ทุฏานิ นี้ เป็นเพียง โวหาร, แต่โดยความหมาย พวกชาวบ้านถูกภิกษุนั้นประทุษร้าย; ฉะนั้น ในบทภาชนะแห่งบทว่า กุลานิ จ เตน ทุฏฺานิ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง ตรัสคำมีอาทิว่า ปุพเพ สทฺธา หุตฺวา ดังนี้.
บทว่า ฉนฺทคามิโน มีวิเคราะห์ว่า ผู้ชื่อว่า มีฉันทคามินะ เพราะ อรรถว่า ย่อมลำเอียงเพราะชอบพอกัน. ในบทที่เหลือ ก็มีนัยอย่างนี้.
ในคำว่า สมนุภาสิตพฺโพ ตสฺส ปฏินิสฺสคฺคาย นี้ บัณฑิตพึง เห็นความอย่างนี้ว่า เป็นทุกกฏอย่างเดียว เพราะกุลทูสกกรรม. แต่ภิกษุ นั้นหลีกเลี่ยงกล่าวคำใดกะสงฆ์ว่า เป็นผู้มีความลำเอียงเพราะชอบพอกัน เป็นต้น สงฆ์พึงกระทำสมนุภาสนกรรม เพื่อสละคืนซึ่งคำว่า เป็นผู้มี ลำเอียงเพราะชอบกัน เป็นต้นนั้นเสีย.
คำที่เหลือทุกๆ แห่ง มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น แม้สมุฏฐานเป็นต้น ก็เช่นเดียวกับปฐมสังฆเภทสิกขาบทนั้นแล.
กุลทูสกสิกขาบทวรรณนา จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 660
[แก้อรรถบทสรูปสังฆาทิเสส]
ในคำว่า อุทฺทิฏฺา โขฯ เปฯ เอวเมตํ ธารยามิ นี้ มีวินิจฉัย ดังต่อไปนี้:-
ธรรมเหล่านี้ มีการต้องแต่แรก; เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปฐมาปัตติกะ อธิบายว่า พึงต้องในครั้งแรก คือ ในขณะที่ล่วงละเมิดทีเดียว. ส่วนธรรมทั้งหลายนอกนี้ พึงทราบว่าเป็น ยาวตติยกะ ด้วยอรรถว่ามี (เป็นอาบัติ) ในเพราะสมนุภาสนกรรมครั้งที่ ๓ เหมือนโรคไข้เชื่อม (โรคผอม) มี (เป็น) ในวันที่ ๓ และที่ ๔ เขาเรียกว่า โรคที่ ๓ ที่ ๔ ฉะนั้น.
ข้อว่า ยาวตีหํ ชานํ ปฏิจฺฉาเทติ มีความว่า รู้อยู่ ปกปิดไว้ คือ ไม่บอกแก่เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้ สิ้นวัน มีประมาณเท่าใด.
บทว่า ตาวตีหํ ความว่า (ต้องอยู่ปริวาสด้วยความไม่ปรารถนา) สิ้นวันมีประมาณเท่านั้น.
ข้อว่า อกามา ปริวตฺตพฺพํ มีความว่า ไม่ใช่ด้วยความปรารถนา คือ ไม่ใช่ด้วยอำนาจ (ของตน) , ที่แท้พึงสมาทานปริวาสอยู่ด้วยความไม่ ปรารถนา คือ ด้วยมิใช่อำนาจ (ของตน).
สองบทว่า อุตฺตรึ ฉารตฺตํ คือ สิ้น ๖ ราตรี เพิ่มขึ้นจากปริวาส.
บทว่า ภิกขุมานตฺตาย ได้แก่ เพื่อความนับถือของภิกษุทั้งหลาย, มีคำอธิบายว่า เพื่อประโยชน์ให้ภิกษุทั้งหลายยินดี.
ภิกษุสงฆ์นั้น ชื่อว่า วิสติคณะ เพราะมีคณะนับได้ ๒๐ รูป.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 661
บทว่า ตตฺถ มีความว่า ในสีมาที่ภิกษุสงฆ์ มีคณะ ๒ รูป โดยกำหนดอย่างต่ำกว่าเขาทั้งหมด.
บทว่า อพฺเภตพฺโพ มีความว่า อันภิกษุสงฆ์พึงอัพภาน คือ พึงรับรอง, มีคำอธิบายว่า พึงเรียกเข้าด้วยอำนาจแห่งอัพภานกรรม อีกอย่างหนึ่ง มีใจความว่า สงฆ์พึงเรียกเข้าหมู่.
บทว่า อนพฺภิโต ได้แก่ เป็นผู้อันสงฆ์ไม่ได้อัพภาน คือ ไม่ได้รับรอง. มีคำอธิบายว่า ยังไม่ได้ทำอัพภานกรรม. อีกอย่างหนึ่ง มีใจความว่า สงฆ์ยังไม่ได้เรียกเข้าหมู่.
บทว่า สามีจิ แปลว่า ตามธรรมดา. มีคำอธิบายว่า โอวาทานุสาสนีอันคล้อยตามโลกุตรธรรม เป็นสามีจิ คือ เป็นธรรมดา (สามีจิกรรม). บทที่เหลือในคำว่า อุทฺทิฏฺา โข เป็นต้นนี้ มีนัยดังกล่าวแล้วทั้งนั้นแล.
เตรสกัณฑวรรณนา ในอรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ