พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อนิยตสิกขาบทที่ ๒

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 มี.ค. 2565
หมายเลข  42759
อ่าน  394
  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 680

อนิยตสิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระอุทายีกับนางวิสาขา มิคารมาตา

[๖๔๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามการสำเร็จการนั่งในที่ลับ คือ ในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้ กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่ง จึงสำเร็จ การนั่งในที่ลับ กับสาวน้อยคนนั้นแล หนึ่งต่อหนึ่ง เจรจากล่าวธรรมอยู่ ควรแก่เวลา

แม้ครั้งที่สองแล นางวิสาขา มิคารมาตา ก็ได้ถูกเชิญไปสู่สกุลนั้น นางได้เห็นท่านพระอุทายีนั่งในที่ลับ กับสาวน้อยนั้นแล หนึ่งต่อหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอุทายีว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า การที่พระคุณเจ้านั่งในที่ลับกับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเช่นนี้ ไม่เหมาะ ไม่ควร พระคุณเจ้าแม้ไม่ต้องการด้วยธรรมนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น พวกชาวบ้าน ผู้ที่ไม่เลื่อมใส จงบอกให้เชื่อได้โดยยาก

ท่านพระอุทายี แม้ถูกนางวิสาขา มิคารมาตา ว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ก็มิได้เชื่อฟัง

เมื่อนางวิสาขา มิคารมาตากลับไปแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุ ทั้งหลาย

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่าน พระอุทายีจึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับ กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเล่า แล้ว กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 681

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่าน พระอุทายีว่า ดูก่อนอุทายี ข่าวว่า เธอสำเร็จการนั่งในที่ลับ กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่ง จริงหรือ

ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของ เธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับกับ มาตุคามหนึ่งต่อหนึ่งเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความ ไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงติเตียนท่านพระอุทายีโดยอเนกปริยาย ดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการ ที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย แล้วทรงกระทำธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 682

แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับ ว่าดีแห่งสงฆ์ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันบังเกิด ในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักเกิดในอนาคต เพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อม ใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๙. ๒. อนึ่ง สถานหาเป็นอาสนะกำบังไม่เลยทีเดียว หาเป็น ที่พอจะทำการได้ไม่ แต่เป็นที่พอจะพูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่ว หยาบได้อยู่ แลภิกษุใดรูปเดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับ กับด้วย มาตุคามผู้เดียว ในอาสนะมีรูปอย่างนั้น อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้ เห็นภิกษุกับมาตุคามนั้นนั่นแล้ว พูดขึ้นด้วยธรรม ๒ ประการ อย่าง ใดอย่างหนึ่ง คือด้วยสังฆาทิเสสก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญาณ ซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วย สังฆาทิเสสบ้าง ด้วยปาจิตตีย์บ้าง อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อ ได้นั้นกล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วยธรรมนั้น แม้ธรรมนี้ ก็ชื่อ อนิยต.

เรื่องพระอุทายี กับนางวิสาขา จบ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 683

สิกขาบทวิภังค์

[๖๔๕] คำว่า อนึ่ง สถานหาเป็นอาสนะกำบังไม่เลยทีเดียว อธิบายว่า อาสนะเป็นที่เปิดเผย คือ เป็นสถานที่มิได้กำบังด้วยฝา บานประตู เสื่อลำแพน ม่านบัง ต้นไม้ เสา หรือฉาง อย่างใด อย่างหนึ่ง.

บทว่า หาเป็นที่พอจะทำการได้ไม่ คือ ไม่อาจเสพเมถุนธรรมได้

คำว่า แต่เป็นที่พอจะพูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบได้อยู่ คือ อาจจะพูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบได้.

[๖๔๖] บทว่า แล ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงาน อย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะ ก็ดีตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า แล ... ใด.

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียง กันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดา

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 684

ภิกษุเหล่านี้นั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ในอาสนะมีรูปอย่างนั้น คือ ในอาสนะเห็นปานนั้น.

ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่ หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นสตรีผู้รู้เดียงสา สามารถซาบซึ้ง ถึงถ้อยคำ เป็นสุภาษิต ทุรภาษิต วาจาชั่วหยาบ และสุภาพ.

บทว่า กับ คือ ร่วมกัน.

คำว่า รูปเดียว ... ผู้เดียว ได้แก่ ภิกษุ ๑ มาตุคาม ๑.

ที่ชื่อว่า ในที่ลับ ได้แก่ ที่ลับตา ๑ ที่ลับหู ๑ ที่ลับตา ได้แก่ สถานที่ซึ่งเมื่อภิกษุ หรือมาตุคาม ขยิบตา ยักคิ้ว หรือชูศีรษะไม่มีใคร สามารถจะแลเห็นได้.

ที่ลับหู ได้แก่ สถานที่ซึ่งไม่มีใครสามารถได้ยินถ้อยคำที่พูดตาม ปกติได้.

คำว่า สำเร็จการนั่ง หมายความว่า เมื่อมาตุคามนั่งแล้ว ภิกษุ นั่งใกล้หรือนอนใกล้ก็ดี เมื่อภิกษุนั่งแล้ว มาตุคามนั่งใกล้ หรือนอนใกล้ ก็ดี นั่งทั้งสองคน หรือนอนทั้งสองคนก็ดี.

[๖๔๗] อุบาสิกาที่ชื่อว่า มีวาจาเชื่อได้ คือ เป็นสตรีผู้บรรลุผล ผู้ตรัสรู้ธรรม ผู้เข้าใจศาสนาดี.

ที่ชื่อว่า อุบาสิกา ได้แก่ สตรีผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ผู้ถึง พระธรรมเป็นสรณะ ผู้ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ.

บทว่า เห็น คือ พบ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 685

[๖๔๘] อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้เช่นนั้น พึงพูดขึ้นด้วยธรรม ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยสังฆาทิเสสก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ ก็ดี ภิกษุปฏิญาณซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม ๒ ประการ อย่างใด อย่างหนึ่ง คือ ด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วยปาจิตตีย์บ้าง อีกประการหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้น กล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วย ธรรมนั้น.

ปฏิญญาตกรณะ

เห็นนั่งกำลังเคล้าคลึง

[๖๔๙] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลัง ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนั่งนั้น พึง ปรับตามอาบัติ

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังถึง ความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า นั่งจริง แต่ไม่ได้ถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย ดังนี้ พึงปรับเพราะการนั่ง

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังถึง ความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ ได้นั่ง ข้าพเจ้านอนอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะการนอน

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังถึง ความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า ไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 686

เห็นนอนกำลังเคล้าคลึง

[๖๕๐] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้า นอนกำลังเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังถึง ความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นนอนจริง แต่ไม่ได้ถึงความ เคล้าคลึงด้วยกาย ดังนี้ พึงปรับเพราะการนอน

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลัง ถึงความเคล้าคลึงกายกับมาตุคาม ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ นอน ข้าพเจ้านั่งอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะการนั่ง

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลัง ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า ยืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.

ได้ยินนั่งกำลังเคาะ

[๖๕๑] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้า นั่งกำลังพูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนั่งนั้น พึงปรับตามอาบัติ

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านั่งกำลัง พูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า นั่งจริง แต่ไม่ได้พูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ ดังนี้ พึงปรับ เพราะการนั่ง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 687

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านั่งกำลัง พูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า นอนอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะการนอน

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านั่งกำลังพูด เคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ ได้นั่ง ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.

ได้ยินนอนกำลังพูดเคาะ

[๖๕๒] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้า นอนกำลังพูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการ นอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านอนกำลัง พูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า นอนจริง แต่ไม่ได้พูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ ดังนี้ พึงปรับ เพราะการนอน

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านอนกำลัง พูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า ไม่ได้นอน ข้าพเจ้านั่งอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะการนั่ง

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านอนกำลัง พูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า ไม่ได้นอน ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 688

เห็นนั่งในที่ลับ

[๖๕๓] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้า รูปเดียว นั่งในที่ลับกับมาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนั่งนั้น พึงปรับเพราะการนั่ง

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียว นั่ง ในที่ลับกับมาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้านอนอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะการนอน

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียว นั่ง ในที่ลับกับมาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.

เห็นนอนในที่ลับ

[๖๕๔] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉัน เห็นพระคุณเจ้า รูปเดียว นอนในที่ลับกับมาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนอนนั้น พึงปรับเพราะการนอน

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียว นอนในที่ลับกับมาตุคามผู้เดียว ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้านั่งอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะการนั่ง

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียว นอน ในที่ลับกับมาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 689

[๖๕๕] บทว่า แม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเท้าถึงสิกขาบทก่อน.

บทว่า อนิยต แปลว่า ไม่แน่นอน คือ เป็นสังฆาทิเสสก็ได้ เป็น ปาจิตตีย์ก็ได้.

บทภาชนีย์

[๖๕๖] ภิกษุปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ

ภิกษุปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับ ตามอาบัติ

ภิกษุปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับ เพราะการนั่ง

ภิกษุปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ ไม่ พึงปรับ

ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับ ตามอาบัติ

ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึง ปรับตามอาบัติ

ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับ เพราะการนั่ง

ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ ไม่พึงปรับ.

อนิยตสิกขาบทที่ ๒ จบ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 690

บทสรุป

[๖๕๗] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมคืออนิยต ๒ สิกขาบท ข้าพเจ้า ยกขึ้นแสดงแล้วแล ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในธรรม คือ อนิยต ๒ สิกขาบทเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถาม แม้ครั้งที่สองว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ท่านทั้งหลายเป็นผู้ บริสุทธิ์แล้วในธรรม คือ อนิยต ๒ สิกขาบทเหล่านี้ เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

อนิยตภัณฑ์ จบ

หัวข้อประจำเรื่อง

อนิยต ๒ สิกขาบท คือ นั่งในที่ลับพอจะทำการได้ ๑ แลนั่ง ในที่เช่นนั้น แต่หาเป็นที่พอจะทำการได้ไม่ ๑ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้คงที่ ทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว ดังนี้แล.

พรรณนาอนิยตสิกขาบทที่ ๒

อนิยตสิกขาบทที่ ๒ ว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นต้น ข้าพเจ้าจะขอกล่าวต่อไป:- ในอนิยตสิกขาบทที่ ๒ นั้น มีวินิจฉัยดัง ต่อไปนี้ :-

ไม่คำว่า ภควตา ปฏิกฺขิตฺตํ เป็นต้น ผู้ศึกษาพึงทราบสัมพันธ์ อย่างนี้ว่า ภิกษุรูปเดียว พึงสำเร็จการนั่งใด ในที่ลับ คือ อาสนะกำบัง

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 691

พอจะทำการได้กับมาตุคามผู้เดียว, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามการสำเร็จ การนั่งนั้น. จริงอยู่ เมื่อจะถือเอาใจความโดยประการอื่นควรจะตรัสว่า เอกสฺส เอกาย.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะท่านกล่าวคำว่า ทรงห้ามแล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง คำว่า เอโก นี้ พึงทราบว่า เป็นปฐมาวิภัตติลง ในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ.

[อธิบายว่าด้วยสถานที่ลับทำให้ต้องอาบัติ]

ก็ในคำว่า น เหว โข ปน ปฏิจฺฉนฺนํ นี้ แม้สถานที่ล้อม ในภายนอก ภายในเปิดเผย มีบริเวณสนามเป็นต้น ก็พึงทราบว่า รวมเข้าในภายใน (นับเนื่องในสถานที่ไม่กำบัง). ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า สถานที่แม้เห็นปานนี้ นับเข้าในที่ไม่กำบังทีเดียว. คำที่เหลือ พึงทราบโดยนัยแห่งสิกขาบทที่ ๑ นั่นแล. ก็ในสิกขาบทนี้มีความแปลก กันเพียงอย่างเดียวนี้ว่า คนรู้เดียงสาผู้หนึ่งผู้ใดเป็นหญิงก็ตาม ชายก็ตาม ไม่เป็นคนตาบอด และหูหนวก ยืนหรือนั่งอยู่ในโอกาสภายใน ๑๒ ศอก มีจิตฟุ้งซ่านไปบ้าง เคลิ้มไปบ้าง ก็คุ้มอาบัติได้. ส่วนคนหูหนวก แม้ มีตาดี หรือคนตาบอดแม้หูไม่หนวก ก็คุ้มไม่ได้. และพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงลดอาบัติปาราชิกลงมา ปรับอาบัติเพราะวาจาชั่วหยาบ. คำที่เหลือ เป็นเช่นกับสิกขาบทก่อนนั่นแล. แม้ในสิกขาบททั้งสอง ไม่เป็นอาบัติ แก่ภิกษุบ้า และภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 692

ในสมุฏฐานเป็นต้น สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เกิดจากกายกับ จิต วาจากับจิต กายวาจากันจิต เป็นกิริยา เป็นสัญญาวิโมกข์ เป็น สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๒ โดย เป็นสุขเวทนาและอุเบกขาเวทนา บทที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

อนิยตวรรณนาในอรรถกถาพระวินัย

ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ

ปฐมสมันตปาสาทิกา วินัยวรรณนา จบ