นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วรรคที่ ๒
[เล่มที่ 3] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓
พระวินัยปิฏก เล่ม ๑ ภาค ๓
มหาวิภังค์ ทุติยภาค
นิสสัคคิยกัณฑ์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วรรคที่ ๒
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๑ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 74/874
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๒ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 78/881
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๒
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๔
พระอนุบัญญัติเรื่องภิกษุอาพาธ 87/897
พระบัญญัติสิกขาบทวิภังค์ 88/899
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องพระอุปเสนวังคันตบุตร 91/904
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๖
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๗
พระบัญญัติสิกขาบทวิภังค์ 102/929
บทภาชนีย์สําคัญว่ามิใช่ญาติเป็นต้น 103/932
พรรณนาเอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท 937
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร 105/937
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘
ว่าด้วยการรับ การรับใช้เป็นต้น 947
เรื่องเรียนคัณฐะจากคนเลวเพื่ออนุเคราะห์ธรรม 955
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๙
พรรณนารูปิยสัพโยหารสิกขาบท 965
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร 113/971
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 3]
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 874
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วรรคที่ ๒
โกสิยวรรค สิกขายบทที่ ๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๗๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขตพระนครอาฬวี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เข้าไปหาพวก ช่างไหม กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่านต้มตัวไหมไว้เป็นอันมาก จงให้พวกอาตมาบ้าง แม้พวกอาตมาก็ปรารถนาจะทำสันถัตเจือด้วยไหม ช่างไหมเหล่านั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะ เชื้อสาย พระศากยบุตรจึงได้เข้ามาหาพวกเรากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวก ท่านต้มตัวไหมไว้เป็นอันมาก จงให้แก่พวกอาตมาบ้าง แม้พวกอาตมา ก็ปรารถนาจะทำสันถัตเจือด้วยไหม ดังนี้ แม้พวกเราผู้ซึ่งทำสัตว์ตัวเล็กๆ มากมายให้วอดวาย เพราะเหตุแห่งอาชีพ เพราะเหตุแห่งบุตรและภริยา ก็ยังชื่อว่าไม่ได้ลาภ หาได้ไม่สุจริต
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 875
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกช่างไหมเหล่านั้น เพ่งโทษติเตียนโพนทะนา อยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงเข้า ไปหาพวกช่างไหม แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่านต้ม ตัวไหมไว้เป็นอันมาก จงให้แก่พวกอาตมาบ้าง แม้พวกอาตมาก็ปรารถนา จะทำสันถัตเจือด้วยไหม ดังนี้เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมสงฆ์ ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอเข้าไปหาพวกช่างไหม แล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่านต้มตัวไหมไว้เป็นอันมาก จง ให้แก่พวกอาตมาบ้าง แม้พวกอาตมาก็ปรารถนาจะทำสันถัตเจือด้วย ไหม ดังนี้ จริงหรือ
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของ สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้เข้าไปหาพวกช่างไหม แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่านต้มตัวไหมไว้เป็นอันมาก จงให้แก่พระพวกอาตมาบ้าง แม้พวกอาตมาก็ปรารถนาจะทำสันถัตเจือ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 876
ด้วยไหม ดังนี้เล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็นไป เพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น อย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์ โดยอเนกปริยายดังนี้ แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่ น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ ยาก ๑ เพื่อยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 877
ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๐. ๑. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำสันถัตเจือด้วยไหม เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
สิกขาบทวิภังค์
[๗๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงาน อย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะ ก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 878
อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดา ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่มีชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่เขาหล่อ ไม่ใช่ทอ.
บทว่า ให้ทำ ความว่า ทำเองก็ดี ใช้ให้ทำก็ดี เจือด้วยไหม แม้เส้นเดียว เป็นทุกกฏในประโยคที่ทำ เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้สันถัตมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละสันถัตนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า สันถัตเจือด้วยไหมผืนนี้ ของข้าพเจ้าได้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่สงฆ์
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เสียสละให้ ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 879
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า สันถัตเจือด้วยไหมผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของ ท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า สันถัตเจือด้วยผ้าไหมผืนนี้ ของข้าพเจ้าให้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้สันถัตผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
จตุกกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๗๖] สันถัตตนทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 880
สันถัตตนทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำต่อจนสำเร็จ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำต่อจนสำเร็จ เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อใช้เป็นของอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุได้สันถัตที่คนอื่นทำไว้แล้ว ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๗๗] ภิกษุทำเป็นเพดานก็ดี เป็นเครื่องลาดพื้นก็ดี เป็นม่านก็ดี เป็นเปลือกฟูกก็ดี เป็นปลอกหมอนก็ดี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ- กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๑
พรรณนาโกสิยสิกขาบท
โกสิยสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:- ในโกสิยสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 881
หลายบทว่า สนฺถริตฺวา กตํ โหติ มีความว่า สันถัตที่ลาด เส้นไหมซ้อนๆ กัน บนภาคพื้นที่เสมอแล้ว เอาน้ำข้าวเป็นต้นเทราดลงไป แล้วหล่อ.
ในคำว่า เอเกนปิ โกสิยํสุนา มิสฺสิตฺวา นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบ วินิจฉัยว่า สันถัตที่เจือ (ไหม) ด้วยอำนาจแห่งความชอบใจของตนจง ยกไว้, ถ้าแม้นว่า ลมพัดเอาเส้นไหมเส้นเดียวไปตกลงในที่หล่อสันถัตนั้น แม้อย่างนั้น ก็ชื่อว่า หล่อสันถัตเจือ (ด้วยไหม) เหมือนกัน. คำที่เหลือ ทุกๆ แห่ง มีอรรถตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ เวทนา ๓ ฉะนี้แล.
พรรณนาโกสิยสิกขาบทที่ ๑ จบ
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๗๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ให้เขาทำสันถัต แห่งขนเจียมดำล้วน ชาวบ้านพากันมาเที่ยวชมวิหารได้แลเห็นแล้ว จึง พากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร เหล่านี้ จึงได้ให้เขาทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน เหมือนพวกคฤหัสถ์ ผู้บริโภคกามเล่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 882
ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้น เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ให้ เขาทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วนเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอให้เขาทำสันถัตแห่ง ขนเจียมดำล้วน จริงหรือ
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของ สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้ให้เขาทำสันถัต แห่งขนเจียมดำล้วนเล่า การกระทำของพวกเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่นเป็น ไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น อย่างอื่นของบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 883
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยายดังนี้ แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่ น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุ ทั้งหลาย แล้วทรงรับส่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ ยาก ๑ เพื่อยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑
พระบัญญัติ
๓๐. ๒. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน เป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 884
สิกขาบทวิภังค์
[๗๙] อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรม เครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิภษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วย ญัตติจตุตถกรรมอันไม่กำเริบควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่ สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรมอันไม่กำเริบ ควร แก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ดำ มี ๒ อย่าง คือ ดำเองโดยกำเนิดอย่างหนึ่ง ดำโดย ย้อมอย่างหนึ่ง.
ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่เขาหล่อ ไม่ใช่ทอ.
บทว่า ให้ทำ ความว่า ทำเองก็ดี ใช้ให้เขาทำก็ดี เป็นทุกกฏใน ประโยคที่ทำ เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้สันถัตมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 885
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละสันถัตนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า สันถัตแห่งขนเจียมดำล้วนผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ทำ แล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่สงฆ์
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุแก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า สันถัตแห่งขนเจียมดำล้วนผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ทำ แล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่ง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 886
ของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุมี ชื่อนี้
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่ง กระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่าน สันถัตแห่งขนเจียมดำล้วนผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้สันถัตผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
จตุกกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๘๐] สันถัตตนทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สันถัตตนทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สันถัดคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 887
ทุกกฏ
ภิกษุทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อใช้เป็นของอื่น ต้องอาบัติ ทุกกฏ
ภิกษุได้สันถัตที่คนอื่นทำไว้แล้ว ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๘๑] ภิกษุทำเป็นเพดานก็ดี เป็นเครื่องลาดพื้นก็ดี เป็นม่านก็ดี เป็นเปลือกฟูกก็ดี เป็นปลอกหมอนก็ดี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๒
พรรณนาสุทธกาฬกสิกขาบท
สุทธกาฬกสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว ต่อไป:- ในสุทธกาฬกสิกขาบทนั้น บทว่า สุทฺธกาฬกานํ ความว่า ดำล้วน คือ ดำไม่เจือด้วยขนเจียมอย่างอื่น. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น. แม้สมุฏฐานเป็นต้น ก็เป็นเช่นกับโกสิยสิกขาบทนั่นเอง.
พรรณนาสุทธกาฬกสิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 888
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๘๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามการกระทำสันถัตแห่ง ขนเจียมดำล้วน จึงถือเอาขนเจียมขาวหน่อยหนึ่งปนไว้ที่ชายสันถัต แล้ว ให้ทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วนเหมือนอย่างเดิมนั่นแหละ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ จึงได้ถือเอาขนเจียมขาวหน่อยหนึ่งปนไว้ที่ชายสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน เหมือนอย่างเดิมนั้นเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอถือเอาขนเจียมขาว หน่อยหนึ่งปนไว้ที่ชายสันถัด แล้วให้ทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน เหมือนอย่างเดิมนั่นแหละ จริงหรือ
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 889
สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้ถือเอาขนเจียมขาว หน่อยหนึ่งปนไว้ที่ชายสันถัต แล้วให้ทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน เหมือนอย่างเดิมนั้นเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็น ไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น อย่างอื่น ของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยายดังนี้ แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่า เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย ทรง กระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุ ทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่อยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 890
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อ ถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๒. ๓. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำสันถัตใหม่ พึงถือเอาขนเจียมดำ ล้วน ๒ ส่วน ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ ถ้าภิกษุไม่ถือเอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วน ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ ให้ทำสันถัตใหม่ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๓] ที่ชื่อว่า ใหม่ ตรัสหมายการทำขึ้น.
ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่เขาหล่อ ไม่ใช่ทอ.
บทว่า ผู้ให้ทำ คือ ทำเองก็ตาม ใช้ให้เขาทำก็ตาม.
คำว่า พึงถือเอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วน ความว่า พึงชั่งถือเอา ขนเจียมดำล้วนน้ำหนัก ๒ ชั่ง.
บทว่า ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ คือ ขนเจียมขาวน้ำหนัก ๑ ชั่ง.
บทว่า ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ คือ ขนเจียมแดงน้ำหนัก ๑ ชั่ง.
คำว่า ถ้าภิกษุไม่ถือเอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วน ขนเจียมขาว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 891
เป็นส่วนที่ ๓ ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ ความว่า ไม่ถือเอาขนเจียม ขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ทำเองก็ดี ให้เขาทำก็ดี ซึ่งสันถัตใหม่ เป็นทุกกฏในประโยคที่ทำ เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้สันถัตมา ต้องเสียสละแก่ สงฆ์ คณะ หรือบุคคล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละสันถัตนั้นอย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า สันถัตผืนนี้ของข้าพเจ้า ไม่ได้ถือเอาขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ให้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้า สละสันถัตผืนนี้แก่สงฆ์
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 892
ท่านเจ้าข้า สันถัตผืนนี้ของข้าพเจ้า ไม่ได้ถือเอาขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ให้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้า สละสันถัตผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่ง ของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุมี ชื่อนี้
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-
ท่าน สันถัตผืนนี้ของข้าพเจ้า ไม่ได้ถือเอาขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ให้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัต ผืนนี้แก่ท่าน
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้สันถัตผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
จตุกกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๘๔] สันถัตทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 893
สันถัตทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์
สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อใช้เป็นของอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุได้สันถัตที่คนอื่นทำไว้แล้ว ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๘๕] ภิกษุถือเอาขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง แล้ว ทำ ๑ ภิกษุถือเอาขนเจียมขาวมากกว่า ขนเจียมแดงมากกว่า แล้วทำ ๑ ภิกษุถือเอาขนเจียมขาวล้วน ขนเจียมแดงล้วน แล้วทำ ๑ ภิกษุทำเป็น เพดานก็ดี เป็นเครื่องลาดพื้นก็ดี เป็นม่านฟูกก็ดี เป็นเปลือกก็ดี เป็น ปลอกหมอนก็ดี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 894
โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๓
พรรณนาเทวภาคสิกขาบท
เทวภาคสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว ต่อไป:- ในเทวภาคสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:-
สองบทว่า อนฺเต อาทิยิตฺวา มีความว่า ให้ติดขนเจียมขาวไว้ที่ ชายแห่งสันถัตดุจอนุวาตที่ชายผ้าฉะนั้น.
สองบทว่า เทฺว ภาคา แปลว่า ๒ ส่วน.
บทว่า อาทาตพฺพา แปลว่า พึงถือเอา.
บทว่า โคจริยานํ แปลว่า มีสีแดง.
คำว่า เทฺว ตุลา อาทาตพฺพา ท่านกล่าวหมายเอาภิกษุผู้ประสงค์ จะให้ทำด้วยขนเจียม ๔ ส่วน. บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐานว่า ก็โดยใจ ความ เป็นอันทรงแสดงคำนี้ทีเดียวว่า ภิกษุมีความประสงค์จะทำด้วยขน เจียม มีประมานเท่าใด, ในขนเจียมมีประมาณเท่านั้น ขนเจียมดำ ๒ ส่วน ขนเจียมขาว ๑ ส่วน ขนเจียมแดง ๑ ส่วน. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น.
แม้สมุฏฐานเป็นต้น ก็เป็นเหมือนโกสิยสิกขาบทนั่นเอง. สิกขาบท นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบว่า เป็นกิริยาและอกิริยาอย่างเดียว เพราะถือเอาและ ไม่ถือเอาทำ ฉะนี้แล.
พรรณนาเทวภาคสิกขาบทที่ ๓ จบ
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๘๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 895
ภิกษุทั้งหลายให้เขาทำสันถัตใช้ทุกๆ ปี พวกเธอวอนขอเขาอยู่ร่ำไปว่า ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม อาตมาต้องการขนเจียม ชาวบ้านพากันเพ่ง โทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ จึง ได้ขอให้เขาทำสันถัตใช้ทุกๆ ปี วอนขอเขาอยู่ร่ำไปว่า ท่านทั้งหลายจง ให้ขนเจียม อาตมาต้องการขนเจียม ส่วนสันถัตของพวกเราทำคราวเดียว ถูกเด็กๆ ของพวกเราถ่ายอุจจาระรดบ้าง ถ่ายปัสสาวะรดบ้าง หนูกัด เสียบ้าง ก็ยังอยู่ได้ถึง ๕ - ๖ ปี ส่วนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร เหล่านี้ ขอให้ทำสันถัตใช้ทุกๆ ปี วอนขอเขาอยู่ร่ำไปว่า ท่านทั้งหลาย จงให้ขนเจียม อาตมาต้องการขนเจียม
ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงได้ขอ ให้เขาทำสันถัตใช้ทุกๆ ปี วอนขอเขาอยู่ร่ำไปว่า ท่านทั้งหลายจงให้ ขนเจียม อาตมาต้องการขนเจียม ดังนี้เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแต่ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย ขอให้เขาทำ สันถัตใช้ทุกๆ ปี วอนขอเขาอยู่ร่ำไปว่า ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม อาตมาต้องการขนเจียม ดังนี้ จริงหรือ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 896
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำ ของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ให้เขาทำสันถัตใช้ ทุกๆ ปี วอนขอเขาอยู่ร่ำไปว่า ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม อาตมา ต้องการขนเจียม ดังนี้เล่า การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของ พวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอี่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุทั้งหลายโดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็น คนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมัก น้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำ ธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 897
รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแต่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อ ถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๓. ๔. อนึ่ง ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่แล้ว พึงทรงไว้ให้ได้ ๖ ฝน ถ้ายังหย่อนกว่า ๖ ฝน เธอสละเสียแล้วก็ดี ยังไม่สละแล้วก็ดี ซึ่งสันถัตนั้น ให้ทำสันถัตอื่นใหม่ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่ ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ
พระอนุบัญญัติ
เรื่องภิกษุอาพาธ
[๘๗] ก็สมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธอยู่ในพระนครโกสัมพี พวกญาติส่งทูตไปในสำนักภิกษุรูปนั้นว่า นิมนต์ท่านมา พวกผมจัก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 898
พยาบาล แม้ภิกษุทั้งหลายก็ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ไปเถิดอาวุโส พวกญาติ จักได้พยาบาลท่าน
ภิกษุนั้นได้ตอบอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง บัญญัติสิกขาบทไว้ว่า อนึ่ง ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่แล้ว พึงทรงไว้ให้ได้ ๖ ฝน ก็ผมกำลังอาพาธ ไม่สามารถจะนำสันถัตไปด้วยได้ และผมเว้น สันถัตแล้ว ไม่สบาย ผมจักไม่ไปละ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตให้สมมติสันถัต
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับส่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติสันถัตแก่ภิกษุผู้อาพาธ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สมมติสันถัตนั้น อย่างนี้:-
วิธีสมมติสันถัต
ภิกษุผู้อาพาธรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอาพาธ ไม่สามารถจะนำสันถัตไปด้วยได้ ท่าน เจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอสมมติสันถัตต่อสงฆ์ พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ พึงขอแม้ ครั้งที่ ๓ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ- ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้อาพาธ ไม่สามารถ จะนำสันถัตไปด้วยได้ เธอขอสมมติสันถัตต่อสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สมมติสันถัตแก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 899
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อผู้นี้อาพาธ ไม่สามารถ จะนำสันถัตไปด้วยได้ เธอขอสมมติสันถัตต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สมมติสันถัต แก่ภิกษุมีชื่อนี้ การให้สมมติสันถัตแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน ผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด การสมมติสันถัต อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง ความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๓. ๔. ก. ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่แล้ว พึงทรงไว้ให้ได้ ๖ ฝน ถ้ายังหย่อนกว่า ๖ ฝน เธอสละเสียแล้วก็ดี ยังไม่สละแล้วก็ดี ซึ่ง สันถัตนั้น ให้ทำสันถัตอื่นใหม่ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมิต เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุอาพาธ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๘] ที่ชื่อว่า ใหม่ ตรัสหมายการทำขึ้น.
ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่เขาหล่อ ไม่ใช่ทอ.
บทว่า ให้ทำแล้ว คือ ทำเองก็ตาม ใช้ให้ขาทำก็ตาม
บทว่า พึงทรงไว้ให้ได้ ๖ ฝน คือ พึงทรงไว้ให้ได้ ๖ ฝนเป็น อย่างเร็ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 900
บทว่า ถ้ายังหย่อนกว่า ๖ ฝน คือ ยังไม่ถึง ๖ ฝน.
บทว่า สละเสียแล้วก็ดี ... ซึ่งสันถัตนั้น คือ ให้แก่คนอื่นไป.
บทว่า ยังไม่สละแล้วก็ดี คือ ยังไม่ได้ให้แก่ใครๆ.
บทว่า เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ คือ ยกเว้น ภิกษุผู้ได้รับสมมติ
ภิกษุทำเองก็ตาม ใช้ให้เขาทำก็ตาม ซึ่งสันถัตอื่นใหม่ เป็นทุกกฏ ในประโยคที่ทำ เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้สันถัตมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละสันถัตนั้น อย่างนี้:-
วิธีสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า สันถัตผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ทำหย่อนกว่า ๖ ฝน เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้ แก่สงฆ์
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 901
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า สันถัตผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ทำหย่อนกว่า ๖ ฝน เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้ แก่ท่านทั้งหลาย
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่ง ของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุมี ชื่อนี้
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่ง กระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่าน สันถัตผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ทำหย่อนกว่า ๖ ฝน เว้นไว้ แต่ภิกษุได้สมมติ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้สันถัตผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 902
บทภาชนีย์
จตุกกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๘๙] สันถัตตนทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สันถัตตนทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๙๐] ครบ ๖ ฝนแล้วภิกษุทำใหม่ ๑ เกิน ๖ ฝนแล้วภิกษุทำ ใหม่ ๑ ภิกษุทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อใช้เป็นของอื่น ๑ ภิกษุได้ สันถัตที่คนอื่นทำไว้แล้ว ใช้สอย ๑ ภิกษุทำเป็นเพดานก็ดี เป็นเครื่อง ลาดพื้นก็ดี เป็นม่านก็ดี เป็นเปลือกฟูกก็ดี เป็นเปลือกหมอนก็ดี ๑ ภิกษุได้สมมติ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 903
โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๔
พรรณนาฉัพพัสสสิกขาบท
ฉัพพัสสสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว ต่อไป:-
สองบทว่า อูทหนฺติปิ อุมฺมิหนฺติปิ มีรูปความที่ท่านกล่าวไว้ว่า พวกเด็กๆ ถ่ายอุจจาระรดบ้าง ถ่ายปัสสาวะรดบ้าง เบื้องบนสันถัต ทั้งหลาย.
พระปุสสเทวเถระกล่าวว่า ภิกษุผู้ได้รับสมมติอย่างนี้ว่า สันถัต สมมิตสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุชื่อนี้ ย่อมได้เพื่อทำสันถัตในที่ที่ตนไปถึงตลอด เวลาที่โรคยังไม่หาย. ถ้าเธอหายโรคแล้ว กลับอาพาธอีกด้วยพยาธิเดิม นั่นแล, บริหาร (การคุ้มครอง) นั้นนั่นแลยังอยู่, ไม่มีกิจที่จะต้อง สมมติอีก.
ส่วนพระอุปติสสเถระกล่าวว่า อาพาธนั้นกำเริบขึ้นหรืออาพาธอื่น ก็ตามที, เธอได้ชื่อว่า เป็นผู้อาพาธ คราวเดียว ก็เป็นอันได้แล้ว นั่นเที่ยว, ไม่มีกิจที่จะต้องสมมติใหม่.
ข้อว่า โอเรน เจ ฉนฺนํ วสฺสานํ ได้แก่ ส่วนร่วมใน คือ ภายใน. แต่ในบทภาชนะ เพื่อจะแสดงแต่เพียงสังขยา จึงตรัสว่า ยังหย่อน ๖ ปี.
ข้อว่า อนาปตฺติ ฉพฺพสฺสานิ กโรติ มีความว่า ย่อมทำสันถัต ในเวลาครบ ๖ ปีบริบูรณ์. แม้ในบทที่ ๒ พึงเห็นใจความอย่างนี้ว่า ทำในเวลาเกิน ๖ ฝนไป. ความจริง ภิกษุนั้นจะทำคลอด ๖ ปี หามิได้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 904
แล. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น. สมุฏฐานเป็นต้น ก็เป็นเหมือนโกสิยสิกขาบทนั่นแล, แต่สิกขาบทนี้เป็นทั้งกิริยาและอกิริยาแล.
พรรณนาฉัพพัสสสิกขาบทที่ ๔ จบ
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องพระอุปเสนวังคันตบุตร
[๙๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา ปรารถนาจะหลีกออกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส ใครๆ อย่าเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้ารูปให้รูปเดียว.
ภิกษุเหล่านั้นรับพระพุทธาณัติแล้ว ไม่มีใครไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าในพระวิหารนี้เลย นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว โดยแท้ ถึงอย่างนั้น สงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถีก็ยังตั้งกติกากันไว้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะเสด็จหลีกออกเร้นอยู่ ตลอดไตรมาส ใครๆ ไม่พึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ นอกจากภิกษุผู้นำ บิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว ภิกษุรูปใดเข้าไปเฝ้าพระองค์ ต้องให้ แสดงอาบัติปาจิตตีย์.
[๙๒] ครั้งนั้น ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตกับภิกษุบริษัทเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 905
พุทธประเพณี
อันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลายนี้ นั่นเป็นพุทธประเพณี
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า ดูก่อนอุปเสน พวกเธอพอทนได้ พอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ พวก เธอเดินทางมาโดยได้รับความลำบากน้อยหรือ
ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า พอทนได้ พอให้อัตภาพ เป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาโดยได้รับ ความลำบากเล็กน้อย พระพุทธเจ้าข้า
ก็แลขณะนั้น ภิกษุสัทธิวิหาริกของท่านพระอุปเสนวังคันตบุตร นั่งเฝ้าอยู่ไม่ห่างพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุ รูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ผ้าบังสุกุลเป็นที่พอใจของเธอหรือ
ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า ผ้าบังสุกุล มิได้เป็นที่พอใจของข้าพระพุทธเจ้าเลย พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ก็ทำไมเธอจึงได้ทรงผ้าบังสุกุลเล่า ภิกษุ
ภิ. พระอุปัชฌายะของข้าพระพุทธเจ้าทรงผ้าบังสุกุล ข้าพระพุทธเจ้าจึงต้องทรงผ้าบังสุกุลอย่างนั้นบ้าง พระพุทธเจ้าข้า
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า ดูก่อนอุปเสน บริษัทของเธอนี้น่าเลื่อมใสนัก เธอแนะนำ บริษัทอย่างไร
ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ผู้ใดขอ อุปสมบทต่อข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าบอกกะเขาอย่างนี้ว่า อาวุโส
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 906
ฉันเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถ้าท่านจักถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร บ้าง ฉันก็จักให้ท่านอุปสมบทตามประสงค์ ถ้าเขารับคำของข้าพระพุทธเจ้าๆ จึงให้เขาอุปสมมท ถ้าเขาไม่รับคำของข้าพระพุทธเจ้าๆ ก็ไม่ให้เขาอุปสมบท ภิกษุใดขอนิสัยต่อข้าพระพุทธเจ้าๆ บอกกะภิกษุนั้น อย่างนี้ว่า อาวุโส เราเป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถ้าท่านจักถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้างได้ เราก็จักให้นิสัยแก่ท่านตามความประสงค์ ถ้าภิกษุนั้นรับคำของข้าพระพุทธเจ้าๆ จึงจะให้นิสัย ถ้าภิกษุนั้นรับคำ ของข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้ ข้าพระพุทธเจ้าก็ไม่ให้นิสัย ข้าพระพุทธเจ้า แนะนำบริษัทอย่างนี้แล พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดีแล้ว ดีแล้ว อุปเสน เธอแนะนำบริษัทได้ดีจริงๆ เออ ก็เธอรู้กติกาของสงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถีไหม อุปเสน
อุ. ไม่ทราบเกล้าฯ พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูก่อนอุปเสน สงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถี ตั้งกติกากันไว้ ว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะเสด็จหลีกออก เร้นอยู่ตลอดไตรมาส ใครๆ อย่าเข้าไปเฝ้าพระองค์ นอกจากภิกษุ ผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว ภิกษุใดเข้าไปเฝ้าพระองค์ ต้องให้ แสดงอาบัติปาจิตตีย์
อุ. พระสงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถี จักทราบทั่วกันตามกติกาของ ตน พวกข้าพระพุทธเจ้าจักไม่แต่งตั้งสิกขาบทที่พระองค์มิได้ทรงบัญญัติ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 907
และจักไม่เพิกถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ จักสมาทานประพฤติใน สิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้
ภ. ดีแล้ว ดีแล้ว อุปเสน ไม่ควรแต่งตั้งสิกขาบทที่เรายังมิได้ บัญญัติ หรือว่าไม่ควรเพิกถอนสิกขาบทที่เราบัญญัติ ควรสมาทาน ประพฤติในสิกขาบทตามที่เราได้บัญญัติไว้ เราอนุญาตให้พวกภิกษุ ผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้าหาเราได้ตามสะดวก
เวลานั้น ภิกษุหลายรูปกำลังรออยู่ที่นอกซุ้มประตูพระวิหาร ด้วย ตั้งใจว่า พวกเราจักให้ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรแสดงอาบัติปาจิตตีย์ ครั้นท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกับภิกษุบริษัทลุกจากอาสนะ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคเจ้าทำประทักษิณหลีกไปแล้ว จึงภิกษุเหล่านั้นได้ถาม ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรดังนี้ว่า อาวุโส อุปเสน ท่านทราบกติกา ของสงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถีไหม
ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็รับสั่งถามกระผมอย่างนี้ว่า ดูก่อนอุปเสน เธอทราบกติกา ของสงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถีไหม กระผมกราบทูลว่า ไม่ทราบเกล้าฯ พระพุทธเจ้าข้า พระองค์รับสั่งต่อไปว่า ดูก่อนอุปเสน สงฆ์ในพระนคร สาวัตถีได้ทั้งกติกากันไว้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะเสด็จหลีกออกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส ใครๆ อย่าเข้าเฝ้า พระองค์ นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว ภิกษุใดเข้า เฝ้าพระองค์ ต้องให้แสดงอาบัติปาจิตตีย์ กระผมกราบทูลว่า พระสงฆ์ ในเขตพระนครสาวัตถีจักทราบทั่วกันตามกติกาของตน พวกข้าพระ-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 908
พุทธเจ้าจักไม่แต่งตั้งสิกขาบทที่พระองค์มิได้ทรงบัญญัติ และจักไม่เพิก ถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ จักสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่ทรง บัญญัติไว้ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเลยทรงอนุญาตให้บรรดาภิกษุผู้ถือ การอยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้า เฝ้าได้ตามสะดวก ดังนี้
ภิกษุเหล่านั้นเห็นจริงด้วยในทันใดนั้นว่า ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรพูดถูกต้องจริงแท้ พระสงฆ์ไม่ควรแต่งตั้งสิกขาบทที่ยังมิได้ทรง บัญญัติ หรือไม่ควรเพิกถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ ควรสมาทาน ประพฤติในสิกกาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้.
[๙๓] ภิกษุทั้งหลายได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง อนุญาตให้ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้า บังสุกุลเป็นวัตร เข้าเฝ้าได้ตามสะดวก ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะเข้าเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ต่างละทิ้งสันถัตพากันสมาทานอารัญญิกธุดงค์ บิณฑ- ปาติกธุดงค์ ปังสุกูลิกธุดงค์
หลังจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก เสด็จ เที่ยวประพาสตามเสนาสนะ ได้ทอดพระเนตรเห็นสันถัตซึ่งถูกทอดทิ้งไว้ ในที่นั้นๆ ครั้นแล้วรับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สันถัตเหล่านี้ของใคร ถูกทอดทิ้งไว้ในที่นั้นๆ
จึงภิกษุเหล่านั้น ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 909
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ ยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อ ถือตามพระวินัย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้:-
พระบัญญัติ
๓๔. ๕. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำสันถัตสำหรับนั่ง พึงถือเอาคืบสุคต โดยรอบแห่งสันถัตว่า เพื่อทำให้เสียสี ถ้าภิกษุไม่ถือเอาคืบสุคตโดย รอบแห่งสันถัตเก่า ให้ทำสันถัตสำหรับนั่งใหม่ เป็นนิสสัคคีย์ปาจิตตีย์.
เรื่องพระอุปเสนวังคันตบุตร จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๙๔] ที่ชื่อว่า สำหรับนั่ง ตรัสหมายผ้ามีชาย.
ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่เขาหล่อ ไม่ใช่ทอ.
บทว่า ผู้ให้ทำ คือ ทำเองก็ตาม ให้เขาทำก็ตาม.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 910
ที่ชื่อว่า สันถัตเก่า คือ ที่แม้นุ่ง (๑) แล้วคราวเดียว แม้ห่ม (๑) แล้ว คราวเดียว.
คำว่า พึงถือเอาคืบสุคตโดยรอบ ... เพื่อทำให้เสียสี คือ ตัดกลมๆ หรือสี่เหลี่ยมแล้วลาดในเอกเทศหนึ่ง หรือชีออกปนหล่อเพื่อความทน
คำว่า ถ้าภิกษุไม่ถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่า ความว่า ไม่ถือเอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบแล้ว ทำเองก็ตาม ใช้ให้เขาทำ ก็ตาม ซึ่งสันถัตสำหรับนั่งใหม่ เป็นทุกกฏในประโยคที่ทำ เป็นนิสสัคคีย์ ด้วยได้สันถัตมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละสันถัตสำหรับนั่งนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้ของข้าพเจ้า ไม่ได้ถือเอาคืบ สุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่าให้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้า สละสันถัตสำหรับนั่งผืนนี้แก่สงฆ์
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตสำหรับนั่งที่เสียสละ ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
(๑) เห็นจะหลงมาจากจีวรเก่าในสิกขาบทที่ ๔ แห่งจีวรวรรค.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 911
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้ของ ภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อม พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่านั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-
ท่านเจ้าข้า สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้ของข้าพเจ้า ไม่ได้ถือเอาคืบ สุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่า ให้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้า สละสันถัตสำหรับนั่งผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตสำหรับนั่งที่เสียสละให้ ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้ของภิกษุ มีชื่อนี้เป็นของจำสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อม พรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้สันถัตสำหรับนั่ง ผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-
ท่าน สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้ของข้าพเจ้า ไม่ได้ถือเอาคืบสุคต โดยรอบแห่งสันถัตเก่า ให้ทำแล้ว เป็นของจำสละ ข้าพเจ้าสละ สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้แก่ท่าน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 912
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตสำหรับนั่งที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้สันถัตสำหรับ นั่งผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
จตุกกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๙๕] สันถัตสำหรับนั่ง ตนทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สันถัตสำหรับนั่ง ตนทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สันถัตสำหรับนั่ง คนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สันถัตสำหรับนั่ง คนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อใช้เป็นของอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๙๖] ภิกษุถือเอาสันถัตเก่าหนึ่งคืบสุคตโดยรอบแล้วทำ ๑ ภิกษุ ไม่ได้ถือเอาแต่น้อยแล้วทำ ๑ ภิกษุหาไม่ได้ ไม่ถือเอาเลยแล้วทำ ๑ ภิกษุได้สันถัตที่คนอื่นทำไว้แล้ว ใช้สอย ๑ ภิกษุทำเป็นเพดานก็ดี เป็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 913
เครื่องลาดพื้นก็ดี เป็นม่านก็ดี เป็นเปลือกฟูกก็ดี เป็นปลอกหมอนก็ดี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๕
พรรณนานิสีทนสันถตสิกขาบท
นิสีทนสันถตสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว ต่อไป:- ในนิสีทนสันถตสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
สองบทว่า อิจฺฉามหํ ภิกฺขเว ความว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทอดพระเนตรเห็นสัตว์ที่ควรให้ตรัสรู้ไรๆ เลย ตลอดภายใน ไตรมาสนั้น; เพราะเหตุนั้น จึงตรัสอย่างนี้. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น พระองค์ก็จะต้องทรงกระทำพระธรรมเทศนา ด้วยสามารถแห่งตันติ- ประเพณี.
อนึ่ง เพราะพระองค์ได้ทรงมีรำพึงอย่างนี้ว่า เมื่อเราให้ทำโอกาส หลีกเร้นอยู่ ภิกษุทั้งหลายจักกระทำกติกาวัตรอันไม่เป็นธรรม, อุปเสนะ จักทำลายกติกาวัตรอันไม่เป็นธรรมนั้น, เราจักเลื่อมใส (ขอบใจ) เธอ แล้วอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายเฝ้า, แต่นั้น พวกภิกษุผู้ประสงค์จะเยี่ยมเรา เป็นอันมากจักสมาทานธุดงค์ทั้งหลาย และเราจักบัญญัติสิกขาบท เพราะ สันถัตที่ภิกษุเหล่านั้นละทิ้งเป็นปัจจัย. ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส อย่างนั้น. ก็ในการหลีกเร้นนี้ มีอานิสงส์มากอย่างนี้แล.
ข้อว่า สปริโส เยน ภควา เตนูปสงฺกมิ มีความว่า ได้ยินว่า พระเถระได้รับการตำหนิในขันธกสิกขาบทนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 914
ภิกษุผู้มีพรรษาหย่อน ๑๐ ไม่พึงให้กุลบุตรบวช, ภิกษุใดพึงให้บวช, ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ! อย่างไร กันน๊ะ เธอยังเป็นผู้ที่คนอื่นควรโอวาทควรพร่ำสอน จักสำคัญเพื่อจะ โอวาท เพื่อจะพร่ำสอนผู้อื่น จึงคิดว่า พระศาสดาทรงอาศัยบริษัท ของเราได้ทรงประทานการตำหนิแก่เรา, บัดนี้ เรานั้นจักยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เปล่งพระสุรเสียงดุจพรหม ด้วยพระพักตร์อันบริบูรณ์ด้วย อาการทุกอย่าง มีสิริดังพระจันทร์เพ็ญนั้นนั่นแล แล้วจักให้ประทาน สาธุการ เพราะอาศัยบริษัทนั่นแหละ เป็นกุลบุตรผู้มีหทัยงามเดินทาง ล่วงไปได้ ๑๐๐ กว่าโยชน์ ได้แนะนำบริษัท เป็นผู้อันภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปแวดล้อมแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอีก. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคีติกาจารย์จงกล่าวว่า สปริโส เยน ภควา เตนูปสงฺกมิ เป็นต้น. จริงอยู่ ใครๆ ไม่อาจจะให้พระพุทธเจ้าทั้งหลายโปรดปราน ได้โดยประการอื่นนอกจากวัตรสมบัติ.
ข้อว่า ภควโต อวิทูเร นิสินฺโน มีความว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ หมดความระแวง เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยวัตรสมบัติ จึงนั่งในที่ไม่ไกล พระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจสีหะนั่งอยู่ใกล้ถ้ำแห่งภูเขาทองฉะนั้น.
บทว่า เอตทโวจ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ เพื่อยก เรื่องราวขึ้น.
ข้อว่า มนาปานิ เต ภิกฺขุ ปํสุกูลานิ ความว่า ดูก่อนภิกษุ! ผ้าบังสุกุลเหล่านี้เป็นที่ชอบใจของเธอหรือ? คือ เธอถือตามความชอบใจ ตามความพอใจของตนหรือ?
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 915
ด้วยคำว่า น โข เม ภนฺเต มนาปานิ นี้ ภิกษุนั้นย่อมแสดง ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ามิได้ถือตามความชอบใจตาม ความพอใจของตน คือ ข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ถูกอุปัชฌาย์ให้ถือดุจบุคคล ถูกบังคับให้ถือด้วยการบีบคอ และด้วยการตีที่กระหม่อมฉะนั้น.
บทว่า ปญฺายิสฺสติ มีความว่า จักเป็นผู้ปรากฏ คือ เป็นผู้มี ชื่อเสียง. มีคำอธิบายว่า จักปรากฏในกติกานั้น.
ข้อว่า น มยํ อปฺปญฺตฺตํ ปญฺาเปสฺสาม มีความว่า เรา ทั้งหลายชื่อว่าเป็นสาวก จักไม่บัญญัติข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรง บัญญัติไว้. จริงอยู่ วิสัย คือการบัญญัติสิกขาบทที่มิได้ทรงบัญญัติ หรือ การถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว โดยนัยว่า ปาจิตตีย์ ทุกกฏ เป็นต้น นี้เป็นพุทธวิสัย.
ด้วยบทว่า สมาทาย นี้ พระอุปเสนะ แสดงว่า เราทั้งหลาย จักสมาทานสิกขาบทนั้นๆ แล้วรับว่า ดีละ โดยดี ดังนี้แล้วจักศึกษาใน สิกขาบททั้งปวง ตามที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีพระหฤทัยโปรดปรานแล้ว ได้ทรงกระทำสาธุการแม้อีก แก่พระอุปเสนะนั้นว่า ดีละ ดีละ.
บทสนธิว่า อนุญฺาตาวโส ตัดบทว่า อนุญฺาตํ อาวุโส แปลว่า (ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว).
บทว่า ปิหนฺตา แปลว่า กระหยิ่มอยู่.
สองบทว่า สนฺถตานิ อุชฺฌิตฺวา มีความว่า ละทิ้งสันถัตทั้งปวง แล้ว เพราะเป็นผู้มีความสำคัญในสันถัตว่า เป็นจีวรผืนที่ ๕.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 916
ข้อว่า ธมฺมึ กถํ กตฺวา ภิกฺขู อามนฺเตสิ มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทอดพระเนตรเห็นสันถัตทั้งหลายเกลื่อนกลาด แล้วทรง ดำริว่า ไม่มีเหตุในการที่จะยังศรัทธาไทยให้ตกไป, เราจักแสดงอุบายใน การใช้สอย แก่ภิกษุเหล่านั้น แล้วทรงกระทำธรรมีกถาตรัสเตือนภิกษุ ทั้งหลาย.
ข้อว่า สกึ นิวตฺถํปิ สกึ ปารุตํปิ ได้แก่ นั่งและนอนแล้ว ครั้งเดียว.
บทว่า สามนฺตา มีความว่า พึงถือเอาโดยประการที่ที่ตนตัดเอา เป็นวงกลม หรือเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสจากชายข้างหนึ่ง จะมีประมาณคืบหนึ่ง. แต่ภิกษุเมื่อจะลาดพึงลาดลงในเอกเทศ หรือชีออกแล้วลาดให้ผสมกัน โดยนัยดังกล่าวในบาลีนั่นเทียว. สันถัตที่ภิกษุหล่อแล้วอย่างนี้ จะเป็น ของมั่นคงยิ่งขึ้น. คำทีเหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล. สมุฏฐานเป็นต้น แห่ง สิกขาบทนี้ เป็นเช่นเดียวกับเทวภาคสิกขาบท เพราะเป็นทั้งกิริยา ฉะนี้แล.
นิสีทนสันถตสิกขาบทที่ ๕ จบ
ก็ในสันถัต ๕ ชนิดเหล่านี้ สันถัต ๓ ชนิดข้างต้น ผู้ศึกษาพึงทราบ ว่า กระทำวินัยกรรมแล้วได้มา ไม่ควรใช้สอย, ๒ ชนิดข้างหลังทำ วินัยกรรมแล้วได้มา จะใช้สอย ควรอยู่.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 917
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๖
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๙๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไปสู่พระนครสาวัตถี แถบโกศลชนบท ขนเจียม เกิดขึ้นแก่เธอในระหว่างทาง จึงภิกษุนั้นได้ผ้าเอาผ้าอุตราสงค์ห่อขนเจียม เหล่านั้นเดินไป
ชาวบ้านเห็นภิกษุนั้นแล้วพูดสัพยอกว่า ท่านเจ้าข้า ท่านซื้อขนเจียม มาด้วยราคาเท่าไร กำไรจักมีสักเท่าไร
ภิกษุรูปนั้นถูกชาวบ้านพูดสัพยอกได้เป็นผู้เก้อ ครั้นเธอไปถึง พระนครสาวัตถีแล้ว ทั้งๆ ที่ยืนอยู่นั่นแล ได้โยนขนเจียมเหล่านั้น ลง
ภิกษุทั้งหลายจึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า อาวุโส ทำไมท่านจึงโยน ขนเจียมเหล่านั้นลงทั้งๆ ที่ยังยืนอยู่เล่า
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า ก็เพราะผมถูกชาวบ้านพูดสัพยอก เหตุขนเจียม เหล่านี้ขอรับ
ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโส ก็ท่านนำขนเจียมเหล่านี้มาจากที่ไกล เท่าไรเล่า
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า เกินกว่า ๓ โยชน์ ขอรับ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุจึงได้นำ ขนเจียมมาไกลเกิน ๓โยชน์ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 918
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุรูปนั้น ว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า เธอนำขนเจียมมาไกลเกิน ๓ โยชน์ จริงหรือ
ภิกษุรูปนั้นทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้นำขนเจียมมาไกลเกิน ๓โยชน์ การกระทำ ของเธอนั่น ไม่เป็นเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขอองชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำ ของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุรูปนั้น โดยอเนกปริยาย ดังนี้ แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคน บำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 919
อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนก ปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลายแล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุนชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๕. ๖. อนึ่ง ขนเจียมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เดินทางไกล ภิกษุต้อง การพึงรับได้ ครั้นรับแล้ว เมื่อคนถือไม่มี พึงถือไปด้วยมือของตนเอง ตลอดระยะทาง ๓ โยชน์เป็นอย่างมาก ถ้าเธอถือเอาไปยิ่งกว่านั้น แม้ คนถือไม่มี เป็นนิสสัคคีย์ปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 920
สิกขาบทวิภังค์
[๙๘] บทว่า แก่ภิกษุผู้เดินทางไกล ได้แก่ ภิกษุเดินทาง.
บทว่า ขนเจียมเกิดขึ้น คือ เกิดขึ้นแต่สงฆ์ก็ตาม แต่คณะ ก็ตาม แต่ญาติก็ตาม แต่มิตรก็ตาม แต่ที่บังสุกุลก็ตาม แต่ทรัพย์ของ ตนก็ตาม.
บทว่า ต้องการ คือ เมื่อปรารถนา ก็พึงรับได้.
คำว่า ครั้นรับแล้ว พึงถือไปด้วยมือของตนเอง ตลอดระยะทาง ๓ โยชน์เป็นอย่างมาก คือ นำไปด้วยมือของตนเองได้ ชั่วระยะทาง ๓ โยชน์เป็นอย่างไกล.
บทว่า เมื่อคนถือไม่มี ความว่า คนอื่น คือสตรี หรือบุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต สักคนหนึ่ง เป็นผู้ช่วยถือไปไม่มี.
คำว่า ถ้าเธอถือเอาไปยิ่งกว่านั้น แม้คนถือไม่มี อธิบายว่า เธอ ก้าวเกิน ๓ โยชน์ เท้าแรกต้องอาบัติทุกกฏ เท้าที่สอง ขนเจียมเหล่านั้น เป็นนิสสัคคีย์ เธอยืนอยู่ภายในระยะ ๓ โยชน์ โยนขนเจียมลงนอกระยะ ๓ โยชน์ก็เป็นนิสสัคคีย์ ซ่อนไว้ในยานพาหนะก็ตาม ในห่อถุงก็ตาม ของคนอื่น ซึ่งเขาไม่รู้ ให้ล่วง ๓ โยชน์ไป ก็เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของ จำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละขนเจียมนั้นอย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 921
ท่านเจ้าข้า ขนเจียมเหล่านี้ของข้าพเจ้าให้ล่วงเลย ๓ โยชน์ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละขนเจียมเหล่านี้ แก่สงฆ์
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุนี้ ชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-
ท่านเจ้าข้า ขนเจียมเหล่านี้ของข้าพเจ้าให้ล่วง ๓ โยชน์ เป็น ของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่านทั้งหลาย
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่ง ของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุ มีชื่อนี้
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่ง กระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 922
ท่าน ขนเจียมเหล่านี้ของข้าพเจ้าให้ล่วงเลย ๓ โยชน์ เป็น ของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้นพึงรับอาบัติ พึง คืนขนเจียมที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้ขนเจียมเหล่านี้ แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๙๙] เกิน ๓ โยชน์ ภิกษุสำคัญว่าเกิน เดินเลย ๓ โยชน์ไป เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เกิน ๓ โยชน์ ภิกษุสงสัย เดินเลย ๓ โยชน์ไป เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เกิน ๓ โยชน์ ภิกษุสำคัญว่าหย่อน เดินเลย ๓ โยชน์ไป เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
หย่อน ๓ โยชน์ ภิกษุสำคัญว่าเกิน ... ต้องอาบัติทุกกฏ
หย่อน ๓ โยชน์ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ต้องอาบัติ
หย่อน ๓ โยชน์ ภิกษุสำคัญว่าหย่อน ... ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 923
อนาปัตติวาร
[๑๐๐] ภิกษุถือไปเพียงระยะ ๓ โยชน์ ๑ ภิกษุถือไปหย่อนระยะ ๓ โยชน์ ๑ ภิกษุถือไปก็ดี ถือกลับมาก็ดี เพียงระยะ ๓ โยชน์ ๑ ภิกษุ ถือไปเพียง ๓ โยชน์ แล้วพักแรมเสีย รุ่งขึ้นต่อจากนั้นไปอีก ๑ ขนเจียม ถูกโจรชิงไปแล้ว ภิกษุได้คืนมา ถือไปอีก ๑ ขนเจียมที่สละแล้ว ภิกษุ ได้คืนมา ถือไปอีก ๑ ภิกษุให้คนอื่นช่วยถือไป ๑ ขนเจียมที่ทำเป็นสิ่ง ของแล้วภิกษุถือไป ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๖
พรรณนาเอฬกโลมสิกขาบท
เอฬกโลมสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว ต่อไป:- ในเอฬกโลมสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า อุปฺผณฺเฑสุํ มีความว่า พวกชาวบ้านกล่าวคำสัพยอก เป็นต้นว่า ท่านขอรับ (ขนเจียมนี้) ท่านซื้อมาด้วยราคาเท่าไร่?
สองบทว่า ิตโกว อาสุมฺภิ มีความว่า พวกชาวบ้านขนมัดฟืน แบกใหญ่มาจากป่าเหน็ดเหนื่อยแล้วโยนลงไป ทั้งๆ ที่ยืนอยู่ฉันใด ภิกษุนี้ ได้โยน (ขนเจียม) ให้ตกลงไปฉันนั้น.
บทว่า สหคฺถา แปลว่า ด้วยมือตนเอง. มีคำอธิบายว่า นำไป ด้วยตนเอง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 924
สองบทว่า พหิติโยชนํ ปาเตติ มีความว่า โยนออกไปภายนอก ๓ โยชน์. เมื่อขนเจียมจะตกไปโดยไม่มีอันตราย พอพ้นจากมือ เป็น นิสสัคคีย์ยปาจิตตีย์มากตัวตามจำนวนเส้นขน. ถ้าขนเจียมที่โยนไปนั้น กระทบที่ต้นไม้ หรือเสาในภายนอก ๓ โยชน์แล้วตกลงภายใน (๓ โยชน์) อีก ยังไม่ต้องอาบัติ. ถ้าห่อขนเจียม ตกลงฟื้นหยุดแล้วกลิ้งไป กลับ เข้ามาภายใน (๓ โยชน์) อีก เป็นอาบัติแท้.
ภิกษุยืนข้างในเอามือ หรือเท้า หรือไม้เท้ากลิ้งไป, ห่อขนเจียม จะหยุด หรือไม่หยุดก็ตาม กลิ้งออกไป, เป็นอาบัติเหมือนกัน. ภิกษุ วางไว้ด้วยตั้งใจว่า คนอื่นจักนำไป, แม้เมื่อคนนั้นนำขนเจียมไปเป็น อาบัติเหมือนกัน. ขนเจียมที่ภิกษุวางไว้ด้วยจิตบริสุทธิ์ลมพัดไปหรือคนอื่น ให้ตกไป ในภายนอกโดยธรรมดาของตน เป็นอาบัติเหมือนกัน เพราะ ภิกษุมีอุตสาหะ และเพราะสิกขาบทเป็นอจิตตกะ. แต่ในกุรุนทีเป็นต้น ท่านกล่าวอนาบัติไว้ ในเพราะขนเจียมที่ถูกลมพัดไป หรือบุคคลอื่นให้ ตกไปภายนอกนี้, อนาบัติที่ท่านกล่าวไว้นั้น ไม่สมด้วยบาลีแห่งอนาปัตติวาร.
ภิกษุกระทำห่อทั้งสองข้างให้เนื่องเป็นอันเดียวกัน เมื่อวางไว้ให้ ห่อหนึ่งอยู่ภายในเขตแดน อีกห่อหนึ่งให้อยู่ในภายนอกเขตแดน, ยัง รักษาอยู่ก่อน. แม้ในหาบที่เนื่องเป็นอัน เดียวกัน ก็มีนัยเหมือนกันนี้. แต่ถ้าว่าขนเจียมเป็นเพียงแต่ภิกษุวางไว้ที่ปลายหาบมิได้ผูกเลย, ย่อมคุ้ม อาบัติไม่ได้. เมื่อภิกษุสับเปลี่ยนแม้ขนเจียมที่เนื่องเป็นอันเดียวกันไปวาง ไว้แทน ก็เป็นอาบัติเหมือนกัน.
ในคำว่า อญฺสฺส ยาเน วา นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุวางไว้บน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 925
ยาน หรือบนหลังช้างเป็นต้น ซึ่งกำลังไป ด้วยตั้งใจว่า เมื่อเจ้าของเขา ไม่รู้เลย มันจักนำไปเอง, เมื่อยานนั้น ล่วงเลย ๓ โยชน์ ไปเป็นอาบัติ ทันที. แม้ในยานที่จอดอยู่ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. ก็ถ้าว่า ภิกษุวาง ขนเจียมไว้บนยาน หรือบนหลังช้างเป็นต้นที่ไม่ไป แล้วขึ้นขับขี่ไป หรือ ไปเตือนภายใต้ (ให้ไป) หรือเรียกให้ (จอดอยู่) ติดตามไป, ไม่เป็นอาบัติ เพราะพระบาลีว่า ภิกษุให้คนอื่นช่วยนำไป. แต่ในกุรุนทีเป็นต้นท่าน กล่าวว่า เป็นอาบัติ. คำนั้นไม่สมด้วยคำนี้ว่า ภิกษุให้คนอื่นช่วยนำไป. ก็ในอทินนาทานเป็นอาบัติในเพราะสุงกฆาฏ (ตระบัดภาษี). แท้จริง อาบัติใด ในอทินนาทานนั้น, อาบัตินั้น เป็นอนาบัติในสิกขาบทนี้, อาบัติใดในสิกขาบทนี้, อาบัตินั้น เป็นอนาบัติในอทินนาทานนั้น.
ภิกษุไปถึงสถานที่นั้นส่งใจไปอื่น หรือถูกพวกโจรเป็นต้นรบกวน เลยไปเสียก็ดี, เป็นอาบัติเหมือนกัน. พึงทราบจำนวนอาบัติ ตามจำนวน เส้นขนในฐานะทั้งปวง.
หลายบทว่า ติโยชนํ วาสาธิปฺปาโย คนฺตฺวา ตโต ปรํ หรติ มี ความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นำไป แม้ตั้งร้อยโยชน์อย่างนี้ คือเพราะ ไม่ได้อุเทศและปริปุจฉาเป็นต้น ในที่ที่คนไปแล้ว ภิกษุจึงไปในที่อื่นต่อ จากที่นั้น, ไปในที่อื่นแม้จากที่นั้น.
สองบทว่า อจฺฉินฺนํ ปฏิลภิตฺวา มีความว่า พวกโจรชิงเอาขนเจียม นั้นไป รู้ว่าไม่มีประโยชน์แล้วคืนให้, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นำขนเจียม นั้นไป.
สองบทว่า นิสฺสฏฺํ ปฏิลภิตฺวา มีความว่า ได้ขนเจียมที่ทำวินัยกรรมแล้วคืนมา.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 926
บทว่า กตภณฺฑํ มีความว่า ขนเจียมที่เขาทำเป็นสิ่งของ มีผ้า กัมพล พรม และสันถัตเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งโดยที่สุดแม้เพียงมัด ด้วยเส้นด้าย. อนึ่ง ภิกษุใด สอดขนเจียมลงในระหว่างถลกบาตรบางๆ ก็ดี ในหลืบผ้ารัดเข่า ผ้าอังสะ และประคดเอวเป็นต้นก็ดี ในฝักมีด เพื่อ ป้องกันสนิมกรรไกรเป็นต้นก็ดี โดยที่สุดอาพาธเป็นลม ยอนขนเจียมไว้ แม้ในช่องหูแล้วเดินไปเป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้นเหมือนกัน, แต่ขนเจียมที่มัด ด้วยด้ายใส่ไว้ (ในระหว่างรองเท้าและถลกบาตรเป็นต้น) ย่อมตั้งอยู่ใน ฐานะแห่งขนเจียมที่ทำเป็นสิ่งของ. ภิกษุทำให้เป็นช้องผมแล้วนำไป, นี้ ชื่อว่าทางเลี่ยงเก็บ, เป็นอาบัติเหมือนกัน. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น.
บรรดาสมุฏฐานเป็นต้น เอฬกโลมสิกขาบทนี้ ชื่อว่าเอฬกโลมสมุฏฐาน (มีขนเจียมเป็นสมุฏฐาน) ย่อมเกิดขึ้น ทางกาย ๑ ทางกายกับ จิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
เอฬกโลมสิกขาบทที่ ๖ จบ
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๐๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ แถบสักกชนบท ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ ใช้ภิกษุณีซักบ้าง ย้อมบ้าง สางบ้าง ซึ่งขนเจียม ภิกษุณีทั้งหลายมัว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 927
สาละวนซัก ย้อม สาง ขนเจียมอยู่ จึงละเลยอุเทศ ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
ครั้งนั้นแล พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี เสด็จเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ พุทธสำนัก ครั้นถวายบังคมแล้ว ได้ประทับยืน ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีผู้ประทับอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแลว่า ดุก่อนพระโคตมี พวกภิกษุณียังเป็นผู้ไม่ ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่หรือ
พระนางกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ความไม่ประมาทของพวก ภิกษุณีจักมีแต่ไหน เพราะพระผู้เป็นเจ้าเหล่าฉัพพัคคีย์ใช้ภิกษุณีซักบ้าง ย้อมบ้าง สางบ้าง ซึ่งขนเจียม ภิกษุณีทั้งหลายมัวสาละวนซัก ย้อม สาง ขนเจียมอยู่ จึงละเลยอุเทศ ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
ครั้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว พระนางถวายบังคม พระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณ หลีกไปแล้ว
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ใน เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม พระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอใช้ภิกษุณีซักบ้าง ย้อมบ้าง สางบ้าง ซึ่งขนเจียมจริงหรือ
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 928
พ. เขาเป็นญาติของพวกเธอ หรือมิใช่ญาติ
ฉ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การ กระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของ สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ภิกษุผู้มิใช่ญาติ ย่อมไม่รู้การกระทำที่ สมควรหรือไม่สมควร อาการที่น่าเลื่อมใสหรือไม่น่าเลื่อมใส ของ ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเธอยังใช้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ให้ซักบ้าง ย้อมบ้าง สางบ้าง ซึ่งขนเจียมได้ การกระทำของพวก เธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำ ของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยายดังนี้ แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุง ง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการ ที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 929
ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๖. ๗. อนึ่ง ภิกษุใด ยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ให้ซักก็ดี ให้ ย้อมก็ดี ให้สางก็ดี ซึ่งขนเจียม เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการ งานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะ ก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 930
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็น พระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดา ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ใน อรรถนี้
ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ตลอด ๗ ชั่วอายุของบุรพชนก
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ภิกษุสั่งว่า จงซัก ต้องอาบัติทุกกฏ ขนเจียมที่ซักแล้ว เป็น นิสสัคคีย์
ภิกษุสั่งว่า จงย้อม ต้องอาบัติทุกกฏ ขนเจียมที่ย้อมแล้ว เป็น นิสสัคคีย์
ภิกษุสั่งว่า จงสาง ต้องอาบัติทุกกฏ ขนเจียมที่สางแล้ว เป็น นิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำต้องเสียสละะแก่สงฆ์ คณะ หรือบุศคล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละขนเจียมนั้นอย่างนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 931
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า ขนเจียมเหล่านี้ของข้าพเจ้า ใช้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ซักแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละขนเจียมเหล่านี้แก่สงฆ์
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุมี ชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-
ท่านเจ้าข้า ขนเจียมเหล่านี้ของข้าพเจ้า ใช้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ซักแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน ทั้งหลาย
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่ง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 932
ของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุ มีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่ง กระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-
ท่าน ขนเจียมเหล่านี้ของข้าพเจ้า ใช้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
สำคัญว่ามิใช่ญาติ จตุกกะ ๑
[๑๐๓] ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ซัก ซึ่งขน เจียมเป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่ง ขนเจียม ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ซัก ให้สาง ซึ่ง ขนเจียม ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ซัก ให้ย้อม ให้สาง ซึ่งขนเจียม ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 933
สำคัญว่ามิใช่ญาติ จตุกกะ ๒
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ย้อม ให้สาง ซึ่ง ขนเจียม ต้องอาบัติทุกกฏ กันนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ย้อม ให้ซัก ซึ่ง ขนเจียม ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ย้อม ให้สาง ให้ ซัก ซึ่งขนเจียม ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์
สำคัญว่ามิใช่ญาติ จตุกกะ ๓
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้สาง ซึ่งขนเจียม เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้สาง ให้ซัก ซึ่ง ขนเจียม ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้สาง ให้ย้อม ซึ่ง ขนเจียม ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้สาง ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์
สงสัย จตุกกะ
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ซัก ซึ่งขนเจียม เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 934
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม ต้อง อาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ชัก ให้สาง ซึ่งขนเจียม ต้อง อาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ซัก ให้ย้อม ให้สาง ซึ่งขนเจียม ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์
สงสัย จตุกกะ ๒
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ย้อม ให้สาง ซึ่งขนเจียม ต้อง อาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ย้อม ให้ซัก ซึ่งขนเจียม ต้อง อาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ย้อม ให้สาง ให้ซัก ซึ่งขนเจียม ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์
สงสัย จตุกกะ ๓
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้สาง ซึ่งขนเจียม เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้สาง ให้ซัก ซึ่งขนเจียม ต้อง อาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 935
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้สาง ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม ต้อง อาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้สาง ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์
สำคัญว่าเป็นญาติ จตุกกะ ๑
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ซัก ซึ่งขนเจียม เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่ง ขนเจียม ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ซัก ให้สาง ซึ่ง ขนเจียม ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ซัก ให้ย้อม ไห้สาง ซึ่งขนเจียม ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์
สำคัญว่าเป็นญาติ จตุกกะ ๒
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ย้อม ให้สาง ซึ่ง ขนเจียม ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ย้อม ให้ซัก ซึ่งขน เจียม ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 936
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ย้อม ให้สาง ให้ซัก ซึ่งขนเจียม ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์
สำคัญว่าเป็นญาติ จตุกกะ ๓
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้สาง ซึ่งขนเจียม เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้สาง ให้ซัก ซึ่ง ขนเจียม ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้สาง ให้ย้อม ซึ่ง ขนเจียม ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้สาง ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์
ทุกกฏ
ภิกษุ ใช้ภิกษุณี ซักขนเจียมของภิกษุอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุ ใช้ภิกษุณีผู้อุปสมบทแต่สงฆ์ฝ่ายเดียวซัก ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ... ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ... ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 937
อนาปัตติวาร
[๑๐๔] ภิกษุณีผู้เป็นญาติซักให้เอง ๑ ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติเป็นผู้ช่วย เหลือ ๑ ภิกษุไม่ได้บอกใช้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักให้เอง ๑ ภิกษุใช้ให้ซัก ขนเจียม ที่ทำเป็นสิ่งของแล้วแต่ยังไม่ได้ใช้ ๑ ใช้สิกขมานาซัก ๑ ใช้ สามเณรีซัก ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๗
พรรณาเอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท
เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะ กล่าวต่อไป:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ริญฺจนฺติ แปลว่า ย่อมละทิ้ง คือ ย่อมสละเสีย. มีคำอธิบายว่า ย่อมไม่อาจเพื่อจะประกอบเนืองๆ.
คำที่เหลือในเอฬกโลมโธวาปนสิกขาบทนี้ พร้อมทั้งสมุฏฐาน เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วในปุราณจีวรสิกขาบทนั่นแล.
เอฬกโลมโธวาปนสิกขายบทที่ ๗ จบ
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๑๐๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 938
ครั้งนั้นท่านพระอุปนันทศากยบุตร เป็นกุลุปกะของสกุลหนึ่ง รับภัตตาหาร อยู่เป็นประจำ ของเคี้ยวของฉันอันใดที่เกิดขึ้นในสกุลนั้น เขาย่อมแบ่งส่วน ไว้ถวายท่านพระอุปนันทศากยบุตร เย็นวันหนึ่งในสกุลนั้นมีเนื้อเกิดขึ้น เขาจึงแบ่งส่วนเนื้อนั้นไว้ถวายท่านพระอุปนันทศากยบุตร เด็กของสกุล นั้นตื่นขึ้นในเวลาเช้ามืด ร้องอ้อนวอนว่า จงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้า บุรุษผู้สามี จึงสั่งภรรยาว่า จงให้ส่วนของพระแก่เด็ก เราจักซื้อของอื่นถวายท่าน ครั้นแล้วเวลาเช้าท่านอุปนันทศายบุตร นุ่งอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปสู่สกุลนั้น แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย
ทันใด บุรุษนั้นเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร กราบแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบเรียนว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อเย็นวานนี้มี มีเนื้อเกิดขึ้น ผมได้เก็บไว้ถวายพระคุณเจ้าส่วนหนึ่ง จากนั้นเด็กคนนี้ ตื่นขึ้นแต่เช้ามืดร้องอ้อนวอนว่า จงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้า ผมจึงได้ให้เนื้อ ส่วนของพระคุณเจ้าแก่เด็ก พระคุณเจ้าจะให้ผมจัดหาอะไรมาถวายด้วย ทรัพย์กหาปณะหนึ่ง ขอรับ
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถามว่า เธอบริจาคทรัพย์กหาปณะหนึ่ง แก่เราแล้วหรือ
บุ. ขอรับ ผมบริจาคแล้ว
อุ. เธอจงให้กหาปณะนั้นแหละแก่เรา
บุรุษนั้นได้ถวายกหาปณะแก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ในทันใด นั้นเองแล้วเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากบุตรเหล่านี้ รับรูปิยะเหมือนพวกเรา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 939
ภิกษุทั้งหลายได้ยินบุรุษนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดา ภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อ สิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงได้รับรูปิยะเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่าน พระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูก่อนอุปนันทะ ข่าวว่าเธอรับรูปิยะจริงหรือ
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้รับรูปิยะเล่า การกระทำของเธอนั่น ไมเป็น ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไป เพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น อย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดย อเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็น คนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 940
คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความ เป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความ กำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดย อเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๓๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือ ยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 941
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๖] บทวา อนึ่ง ... ใด ความวา ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการ งานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดย ปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็น พระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุ เหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้
ที่ชื่อว่า ทอง ตรัสหมายทองคำ
ที่ชื่อว่า เงิน ได้แก่ กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยโลหะ มาสกที่ทำ ด้วยไม้ มาสกที่ทำด้วยครั้ง ซึ่งใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขาย กันได้.
บทว่า รับ คือ รับเอง เป็นนิสสัคคีย์.
บทว่า ให้รับ คือ ให้คนอื่นรับแทน เป็นนิสสัคคีย์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 942
บทว่า หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ ความว่า หรือยินดี ทองเงินที่เขาเก็บไว้ให้ด้วยบอกว่า ของนี้จงเป็นของพระคุณเจ้า ดังนี้ เป็นต้น เป็นนิสสัคคีย์ ทอง เงิน ที่เป็นนิสสัคคีย์ ต้องเสียสละในท่าม กลางสงฆ์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละรูปิยะนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละรูปิยะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ารับรูปิยะไว้แล้ว ของนี้ของข้าพเจ้า เป็น ของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละรูปิยะนี้แก่สงฆ์
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ ถ้าคนผู้ทำการวัด หรืออุบาสก เดินมาในสถานที่เสียสละนั้น พึงบอก เขาว่า ท่านจงรู้ของสิ่งนี้ ถ้าเขาถามว่า จะให้ผมนำของสิ่งนี้ไปหาอะไร มา อย่าบอกว่า จงนำของสิ่งนี้หรือของสิ่งนี้มา ควรบอกแต่ของที่เป็น กัปปิยะ เช่น เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย ถ้าเขานำรูปิยะนั้น ไปแลกของที่เป็นกัปปิยะมาถวาย เว้นภิกษุผู้รับรูปิยะ ภิกษุนอกนั้นฉันได้ ทุกรูป ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้พึงบอกเขาว่า โปรดช่วย ทิ้งของนี้ ถ้าเขาทิ้งให้ นั่นเป็นการดี ถ้าเขาไม่ทิ้งให้ พึงสมมติภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 943
องค์ ๕ ของภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ
องค์ ๕ นั้น คือ ๑.ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ ๒. ไม่ ถึงความลำเอียงเพราะเกลียดชัง ๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะงมงาย ๔. ไม่ ถึงความลำเอียงเพราะกลัว และ ๕. รู้จักว่าทำอย่างไรเป็นอันทิ้งหรือไม่ เป็นอันทิ้ง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติภิกษุนั้น อย่างนี้:-
วิธีสมมติภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ
พึงขอภิกษุให้รับตกลงก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
คำสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี่เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็น ผู้ทิ้งรูปิยะ การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
ภิกษุผู้รับสมมติแล้วนั้น พึงทิ้งอย่าหมายที่ตก ถ้าทิ้งหมายที่ตก ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 944
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๐๗] รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ รับรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
รูปิยะ ภิกษุสงสัย รับรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ รับรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ต้องอาบัติ
ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๐๘] ทองเงินตกอยู่ภายในวัดก็ดี ภายในที่อยู่ก็ดี ภิกษุหยิบยก เองก็ดี ใช้ให้หยิบยกก็ดี แล้วเก็บไว้ด้วยตั้งใจว่า เป็นของผู้ใด ผู้นั้น จักนำไปดังนี้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 945
โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๘
พรรณนารูปิยสิกขาบท
รูปิยสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:- ในรูปิยสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า ปฏิวึโส แปลว่า ส่วน.
ในบทว่า ชาตรูปรชตํ นี้ คำว่า ชาตรูป เป็นชื่อแห่งทองคำ. ก็เพราะทองคำนั้นเป็นเช่นกับพระฉวีวรรณแห่งพระตถาคต; เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในบทภาชนะว่า ท่านเรียกพระฉวีวรรณของพระศาสดา. เนื้อความแห่งบทภาชนะนั้นว่า โลหะพิเศษมีสีเหมือนพระฉวีวรรณของ ของพระศาสดา นี้ชื่อว่า ชาตรูป (ทองคำธรรมชาติ). ส่วนเงินท่านเรียก ว่า รูปิยะ. ในคำทั้งหลายว่า สังข์ ศิลา ประพาฬ เงิน ทอง เป็นต้น. แต่ในสิกขาบทนี้ ท่านประสงค์เอากหาปณะเป็นต้นอย่างใดอย่างอย่างหนึ่ง ที่ให้ถึงการซื้อขายได้. เพราะเหตุนั้นนั่นแล ในบทภาชนะแห่งบทว่า รชตํ นั้น ท่านจึงกล่าวคำว่า กหาปณะ โลหมาสก ดังนี้ เป็นต้น.
[อธิบายวัตถุแห่งนิสสัคคีย์และทุกกฏ]
บรรดาบทว่า กหาปณะ เป็นต้นนั้น กหาปณะที่เขาทำด้วย ทองคำก็ดี ทำด้วยเงินก็ดี กหาปณะธรรมดาก็ดี ชื่อว่า กหาปณะ.
มาสกที่ทำด้วยแร่ทองแดงเป็นต้น ชื่อว่า โลหมาสก.
มาสกที่ทำด้วยไม้แก่นก็ดี ด้วยข้อไม้ไผ่ก็ดี โดยที่สุดแม้มาสกที่เขา ทำด้วยใบตาลสลักเป็นรูป ก็ชื่อว่า มาสกไม้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 946
มาสกที่เขาทำด้วยครั่งก็ดี ด้วยยางก็ดี ดุนให้เกิดรูปขึ้น ชื่อว่า มาสกยาง.
ก็ด้วยบทว่า เย โวหารํ คจฺฉนฺติ นี้ ท่านสงเคราะห์เอามาสก ทั้งหมดที่ใช้เป็นมาตราซื้อขายในชนบท ในเวลาซื้อขายกัน โดยที่สุดทำ ด้วยกระดูกบ้าง ทำด้วยหนังบ้าง ทำด้วยเมล็ดผลไม้บ้าง ดุนให้เป็นรูปบ้าง มิได้ดุนให้เป็นรูปบ้าง. วัตถุทั้ง ๔ อย่าง คือ เงิน ทอง ทั้งหมดนี้อย่างนี้ (และ) มาสกทอง มาสกเงิน มีประเภทดังกล่าวแล้วแม้ทั้งหมด จัดเป็น วัตถุแห่งนิสสัคคีย์, วัตถุนี้ คือ มุกดา มณี ไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ ทับทิม บุพราคัม ธัญชาติ ๗ ชนิด ทาสหญิง ทาสชาย นาไร่ สวนดอกไม้ สวนผลไม้เป็นต้น จัดเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ. วัตถุนี้ คือ ด้าย ผาลไถ ผืนผ้า ฝ้ายอปรัณชาติมีอเนกประการ และเภสัช มีเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยงบเป็นต้น จัดเป็นกัปปิยวัตถุ.
บรรดานิสสัคคิยวัตถุและทุกกฏวัตถุนั้น ภิกษุจะรับนิสสัคคิยวัตถุ เพื่อประโยชน์ตนเอง หรือเพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ คณะบุคคลและเจดีย์ เป็นต้น ย่อมไม่ควร, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รับเพื่อประโยชน์ แก่ตนเอง. เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้รับเพื่อประโยชน์แก่สิ่งที่เหลือ เป็น ทุกกฏอย่างเดียว แก่ภิกษุผู้รับทุกกฏวัตถุ เพื่อประโยชน์ทุกอย่าง, ไม่เป็น อาบัติในกัปปิยวัตถุ. เป็นปาจิตตีย์ด้วยอำนาจที่มาในรัตนสิกขาบทข้างหน้า แก่ภิกษุผู้รับวัตถุมีเงินเป็นต้นแม้ทั้งหมด ด้วยหน้าที่แห่งภัณฑาคาริก เพื่อต้องการจะเก็บไว้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 947
[ว่าด้วยการรับ การใช้ให้รับ และวิธีปฏิบัติในรูปิยะ]
บทว่า อุคฺคณฺเหยฺย แปลว่า พึงถือเอา. ก็เพราะเมื่อภิกษุรับเอา จึงต้องอาบัติ; ฉะนั้น ในบทภาชนะแห่งบทว่า อุคฺคณฺเหยฺย นั้น ท่าน จึงกล่าวว่า ภิกษุรับเอง เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. แม้ในบทที่เหลือ ก็มี นัยอย่างนี้.
ในการรับเองและใช้ให้รับนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:-
เป็นอาบัติตัวเดียวแก่ภิกษุผู้รับเอง หรือใช้ให้รับวัตถุสิ่งเดียว ใน บรรดาภัณฑะ คือ ทองเงิน ทั้งกหาปณะ และมาสก. ถ้าแม้นว่า ภิกษุ รับเอง หรือใช้ให้รับตั้งพันอย่างรวมกัน, เป็นอาบัติมากตามจำนวนวัตถุ. แต่ในมหาปัจจรีและกุรุนที กล่าวรวมกันว่า เป็นอาบัติ โดยนับรูป ในถุงที่ผูกไว้หย่อนๆ หรือในภาชนะที่บรรจุไว้หลวมๆ. ส่วนในถุงที่ ผูกไว้แน่น หรือในภาชนะที่บรรจุแน่น เป็นอาบัติตัวเดียวเท่านั้น.
ส่วนในการยินดีเงินทองที่เขาเก็บไว้ มีวินิจฉัยดังนี้:- เมื่อเขา กล่าวว่า นี้เป็นของพระผู้เป็นเจ้า ถ้าแม้นภิกษุยินดีด้วยจิต เป็นผู้ ใคร่เพื่อจะรับเอาด้วยกายหรือวาจา, แต่ปฏิเสธว่า นี้ไม่ควร ไม่เป็น อาบัติ. แม้ไม่ห้ามด้วยกายและวาจา เป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์ ไม่ยินดีด้วยคิดว่า นี้ไม่ควรแก่เรา ไม่เป็นอาบัติเหมือนกัน. จริงอยู่ บรรดาไตรทวาร อันภิกษุห้ามแล้วด้วยทวารใดทวารหนึ่ง ย่อมเป็นอันห้ามแล้วแท้. แต่ถ้า ไม่ห้ามด้วยกายและวาจา รับอยู่ด้วยจิต ย่อมต้องอาบัติ ในกายทวาร และวจีทวาร มีการไม่กระทำเป็นสมุฏฐาน เพราะไม่กระทำการห้ามที่ตน พึงกระทำด้วยกายและวาจา. แต่ ชื่อว่า อาบัติ ทางมโนทวาร ไม่มี. บุคคลคนเดียววางเงินทองตั้งร้อยตั้งพันไว้ใกล้เท้า ด้วยกล่าวว่า นี้ จงเป็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 948
ของท่าน. ภิกษุห้ามว่า นี้ไม่ควร. อุบาสกพูดว่า กระผมสละถวายท่าน แล้ว ก็ไป มีคนอื่นมาที่นั้น ถามว่า นี้อะไร ขอรับ! ภิกษุพึงบอก คำที่อุบาสกนั้น และคนพูดกัน. ถ้าเขาพูดว่า ผมจักเก็บให้ ขอรับ! ท่านจงแสดงที่เก็บ. ภิกษุพึงขึ้นไปยังปราสาทถึงชั้น ๗ แล้วพึงบอกว่า นี้ที่ เก็บ. แต่อย่าพึงบอกว่า จงเก็บไว้ในที่นี้. อกัปปิยวัตถุ (มีทองและเงิน เป็นต้น) ย่อมเป็นอันอาศัยวัตถุที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ ตั้งอยู่ด้วย คำบอกมีประมาณเท่านี้, พึงปิดประตูแล้วอยู่รักษา.
ถ้าว่า อุบาสกถือเอาบาตรและจีวรซึ่งเป็นของจะขายบางอย่างมา, เมื่อเขากล่าวว่า ท่านจักรับสิ่งนี้ไหม ขอรับ! พึงกล่าวว่า อุบาสก พวกเรามีความต้องการสิ่งนี้ และวัตถุชื่อเห็นปานนี้ ก็มีอยู่, แต่ไม่มี กัปปิยการก. ถ้าเขาพูดว่า ผมจักเป็นกัปปิยการก, ขอท่านโปรดเปิด ประตูให้เถิด พึงเปิดประตูแล้ว กล่าวว่า ตั้งอยู่ในโอกาสโน้น. และ อย่าพึงกล่าวว่า ท่านจงถือเอาสิ่งนี้. แม้อย่างนี้ อกัปปิยวัตถุก็เป็น อันอาศัยวัตถุที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะตั้งอยู่เหมือนกัน. ถ้าเขาถือเอา กหาปณะนั้นแล้ว ถวายกัปปิยภัณฑ์แก่เธอ, ควรอยู่. ถ้าเขาถือเอาเกินไป พึงบอกเขาว่า พวกเราจักไม่เอาภัณฑะของท่าน, จงเก็บเสีย.
ในคำว่า สงฺฆมชฺเฌ นิสฺสชฺชิตพฺพํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ ตรัสว่าพึงสละ แก่สงฆ์ หรือแก่คณะ หรือแก่บุคคล ก็เพราะธรรมดา ว่ารูปิยะเป็นอกัปปิยะ (เป็นของไม่สมควร).
อนึ่ง เพราะรูปิยะนั้น เป็นเพียงแต่ภิกษุรับไว้เท่านั้น เธอไม่ ได้จ่ายหากัปปิยภัณฑ์อะไรด้วยรูปิยะนั้น; ฉะนั้น เพื่อทรงแสดงการใช้ สอยโดยอุบาย จึงตรัสว่า พึงสละในท่ามกลางแห่งสงฆ์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 949
ข้อว่า กปฺปิยํ อาจิกฺขิตพฺพํ สปฺปิ วา มีความว่า พึงบอก อย่างนี้ว่า อุบาสก เนยใส หรือน้ำมัน ย่อมควรแก่บรรพชิตทั้งหลาย.
[ปัจจัยที่ได้จากรูปิยะที่ภิกษุรับ ไม่ควรแก่เธอผู้รับ]
ข้อว่า รูปิยปฏิคฺคาหกํ เปตฺวา สพฺเพเหว ปริภุญฺชิตพฺพํ มีความว่า ภิกษุทั้งหมดพึงแจกกันบริโภค. ภิกษุผู้รับรูปิยะไม่พึงรับ ส่วนแบ่ง. แม้ได้ส่วนที่ถึงแก่พวกภิกษุอื่นหรืออารามิกชนแล้ว จะบริโภค ก็ไม่ควร. โดยที่สุด เนยใส หรือน้ำมันนั้น อันดิรัจฉานมีลิงเป็นต้น ลักเอาไปจากส่วนแบ่งนั้น วางไว้ในป่า หรือที่หล่นจากมือของสัตว์ เหล่านั้น ยังเป็นของอันดิรัจฉานหวงแหนก็ดี เป็นของบังสุกุลก็ดี ไม่ สมควรทั้งนั้น. แม้จะอบเสนาสนะ ด้วยน้ำอ้อยที่นำมาจากส่วนแบ่งนั้น ก็ไม่ควร. จะตามประทีปด้วยเนยใส หรือน้ำมันแล้วนอนก็ดี กระทำ กสิณบริกรรมก็ดี สอนหนังสือก็ดี ด้วยแสงสว่างแห่งประทีป ไม่ควร. อนึ่ง จะทาแผลที่ร่างกายด้วยน้ำมัน น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น จากส่วน แบ่งนั้น ก็ไม่ควรเหมือนกัน.
คนทั้งหลาย เอาวัตถุนั้น จ่ายหาเตียงและตั่งเป็นต้นก็ดี สร้าง อุโบสถาคารก็ดี สร้างโรงฉันก็ดี จะบริโภคใช้สอย ก็ไม่ควร. แม้ร่มเงา (แห่งโรงฉัน เป็นต้น) อันแผ่ไปอยู่ตามเขตของเรือน ก็ไม่ควร. ร่มเงา ที่เลยเขตไป ควรอยู่ เพราะเป็นของจรมา. จะเดินไปตามทางก็ดี สะพานก็ดี เรือก็ดี แพก็ดี ที่เขาจำหน่ายวัตถุนั้นสร้างไว้ไม่ควร. จะดื่ม หรือใช้สอยน้ำที่เอ่อขึ้นเต็มปริ่มสระโบกขรณี ซึ่งเขาให้ขุดด้วยวัตถุนั้น ก็ไม่ควร. แต่ว่า เมื่อน้ำภายใน (สระ) ไม่มี น้ำที่ไหลมาใหม่ หรือ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 950
น้ำฝนไหลเข้าไป สมควรอยู่. แม้น้ำที่มาใหม่ซึ่งซื้อมาพร้อมกับสระ โบกขรณีที่ซื้อมา (ด้วยวัตถุนั้น) ก็ไม่ควร.
สงฆ์ตั้งวัตถุนั้นเป็นของฝาก (เก็บดอกผล) บริโภคปัจจัย แม้ ปัจจัยเหล่านั้น ก็ไม่ควรแก่เธอ. แม้อารามซึ่งเป็นที่อันสงฆ์รับไว้ (ด้วยวัตถุนั้น) ก็ไม่ควรเพื่อบริโภคใช้สอย. ถ้าพื้นดินก็ดี พืชก็ดี เป็น อกัปปิยะ, จะใช้สอยพื้นดิน จะบริโภคผลไม้ไม่ควรทั้งนั้น. ถ้าภิกษุ ซื้อพื้นดินอย่างเดียว เพาะปลูกพืชอื่น, จะบริโภคผล ควรอยู่. ถ้าพืช ภิกษุซื้อมาปลูกลงในพื้นดินอันเป็นกัปปิยะ จะบริโภคผล ไม่ควร. จะนั่ง หรือนอนบนพื้นดิน ควรอยู่.
ข้อว่า สเจ โส ฉฑฺเฑติ มีความว่า เขาโยนทิ้งไป ที่แห่งใด แห่งหนึ่ง. ถ้าแม้นเขาไม่ทิ้ง หรือถือเอาไปเสียเอง, ไม่พึงห้ามเขา
ข้อว่า โน เจ ฉฑฺเฑติ มีความว่า ถ้าเขาไม่ถือเอาไป และไม่ ทิ้งให้ หลีกไปตามความปรารถนา ด้วยใส่ใจว่า ประโยชน์อะไรของเรา ด้วยการขวนขวายนี้, ลำดับนั้น สงฆ์พึงสมมติภิกษุผู้มีลักษณะตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ.
[ว่าด้วยองค์แห่งภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ]
ในคำว่า โย น ฉนฺทาคตึ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุผู้ กระทำวัตถุนั้นเพื่อตน หรือยกตนขึ้นอ้าง ด้วยอำนาจแห่งความโลภ ชื่อว่า ย่อมถึงความลำเอียงเพราะชอบกัน. เมื่อรุกรานผู้อื่นด้วยอำนาจ แห่งโทสะว่า ภิกษุนี้ไม่รู้แม่บทเลย ไม่รู้วินัย ชื่อว่า ย่อมถึงความ ลำเอียง เพราะโทสะ. เมื่อถึงความเป็นผู้พลั้งเผลอและหลงลืมสติด้วยอำนาจโมหะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 951
ชื่อว่า ย่อมถึงความลำเอียงเพราะหลง. เมื่อไม่อาจจะทิ้งเพราะกลัวภิกษุ ผู้รับรูปิยะ ชื่อว่าย่อมถึงความลำเอียงเพราะกลัว. ภิกษุผู้ไม่กระทำอย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมไม่ถึงความลำเอียงเพราะชอบกัน ฯลฯ ย่อมไม่ถึง ความลำเอียงเพราะกลัว.
สองบทว่า อนิมิตฺตํ กตฺวา ได้แก่ ไม่กระทำให้มีที่หมาย. อธิบายว่า ภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะนั้น หลับตาแล้ว ไม่เหลียวดูดุจคูถคือไม่กำหนดหมายที่ตก พึงทิ้งให้ตกไปในแม่น้ำ ในเหว หรือในพุ่มไม้. ในรูปิยะแม้อันภิกษุ พึงรังเกียจอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสบอกการบริโภคใช้สอย แก่ ภิกษุทั้งหลายโดยปริยาย. ก็การบริโภคปัจจัยที่เกิดขึ้นจากรูปิยะนั้น ย่อม ไม่สมควรแก่ภิกษุผู้รับรูปิยะ โดยปริยายไรๆ เลย. ก็การบริโภคปัจจัย ที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ควรแก่ภิกษุผู้รับรูปิยะนั่น ฉันใด. ปัจจัยที่เกิดขึ้น เพราะ การอวดอุตริมนุสธรรมอันไม่มีจริงก็ดี เพราะกุลทูสกกรรมก็ดี เพราะ การหลอกลวงเป็นต้นก็ดี ย่อมไม่ควรแก่ภิกษุนั้น และแก่ภิกษุอื่น ฉันนั้น ถึงปัจจัยที่เกิดขึ้นโดยธรรมโดยสม่ำเสมอ ยังไม่ได้พิจารณา จะบริโภค ก็ไม่ควร.
[อธิบายการบริโภคปัจจัยมี ๔ อย่าง]
จริงอยู่ การบริโภค มี ๔ อย่าง คือ ไถยบริโภค (บริโภคอย่าง ขโมย) ๑ อิณบริโภค (บริโภคอย่างเป็นหนี้) ๑ ทายัชชบริโภค (บริโภค อย่างเป็นผู้รับมรดก) ๑ สามีบริโภค (บริโภคอย่างเป็นเจ้าของ) ๑. บรรดา การบริโภค ๔ อย่างนั้น การบริโภคของภิกษุผู้ทุศีลซึ่งนั่งบริโภคอยู่ แม้ในท่ามกลางสงฆ์ ชื่อว่า ไถยบริโภค. การบริโภคไม่พิจารณาของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 952
ภิกษุผู้มีศีล ชื่อว่า อิณบริโภค. เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้มีศีลพึงพิจารณา จีวรทุกขณะที่บริโภคใช้สอย บิณฑบาตพึงพิจารณาทุกๆ คำกลืน. เมื่อ ไม่อาจอย่างนั้น พึงพิจารณาในกาลก่อนฉัน หลังฉัน ยามต้น ยามกลาง และยามสุดท้าย. หากเมื่อเธอไม่ทันพิจารณาอรุณขึ้น, ย่อมตั้งอยู่ในฐานะ บริโภคหนี้. แม้เสนาสนะ ก็พึงพิจารณาทุกๆ ขณะที่ใช้สอย. ความมี สติเป็นปัจจัยทั้งในขณะรับทั้งในขณะบริโภคเภสัช ย่อมควร. แม้เมื่อ เป็นอย่างนั้น ก็เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ทำสติในการรับ ไม่ทำในการบริโภค อย่างเดียว. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ทำสติในการรับ ทำแต่ในเวลา บริโภค.
ก็สุทธิมี ๔ อย่าง คือ เทสนาสุทธิ (หมดจดด้วยการแสดง) ๑ สังวรสุทธิ (หมดจดด้วยสังวร) ๑ ปริยิฎฐิสุท๑ธิ (หมดจดด้วยการแสวงหา) ๑ ปัจจเวกขณสุทธิ (หมดจดด้วยการพิจารณา) ๑. บรรดาสุทธิ ๔ อย่างนั้น ปาฎิโมกขสังวรศีล ชื่อว่าเทสนาสุทธิ. ก็ปาฎิโมกขสังวรศีลนั้น ท่านเรียก ว่า เทสนาสุทธิ เพราะบริสุทธิ์ด้วยการแสดง. อินทรียสังวรศีล ชื่อว่า สังวรสุทธิ. ก็อินทรียสังวรศีลนั้น ท่านเรียกว่า สังวรสุทธิ เพราะ บริสุทธิ์ด้วยสังวร คือ การตั้งจิตอธิษฐานว่า เราจักไม่ทำอย่างนี้อีก เท่านั้น. อาชีวปริสุทธิศีล ชื่อว่า ปริยิฎฐิสุทธิ.๑ ก็อาชีวปาริสุทธิศีลนั้น ท่านเรียกว่า ปริยิฎฐิสุทธิ๒ เพรา.่เป็นความบริสุทธิ์ด้วยการแสวงหา ของภิกษุผู้ละอเนสนาแล้วยังปัจจัยทั้งหลายให้เกิดขึ้นโดยธรรม โดยสม่ำ เสมอ. ปัจจัยบริโภคสันนิสสิตศีล ชื่อว่า ปัจจเวกขณสุทธิ. จริงอยู่ ปัจจัยบริโภคสันนิสสิตศีลนั้น ท่านเรียกว่า ปัจจเวกขณสุทธิ เพราะ
(๑) - (๒) ในที่อื่นๆ เป็น ปริเยฏฐิสุทธิ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 953
บริสุทธิ์ด้วยการพิจารณาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุ ย่อมพิจารณาโดยแบบคายแล้วเสพจีวร ดังนี้. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึง กล่าวว่า แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ทำสติในการรับ ทำแต่ในการ บริโภค. การบริโภคปัจจัยของพระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่า ทายัชชบริโภค. จริงอยู่ พระเสขะ ๗ จำพวกนั้น เป็นพระโอรสของพระผู้มีพระภาคเจ้า; เพราะฉะนั้น จึงเป็นทายาทแห่งปัจจัยอันเป็นของพระพุทธบิดา บริโภคอยู่ ซึ่งปัจจัยเหล่านั้น.
ถามว่า ก็พระเสขะเหล่านั้น บริโภคปัจจัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือบริโภคปัจจัยของพวกคฤหัสถ์?
ตอบว่า ปัจจัยเหล่านั้น แม้อันพวกคฤหัสถ์ถวาย ก็จริง. แต่ชื่อว่า เป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระเสขะเหล่านั้น บริโภคปัจจัยของ พระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็ธรรมทายาทสูตร เป็นเครื่องสาธกในการบริโภค ปัจจัยของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้.
การบริโภค ของพระขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่า สามีบริโภค. จริงอยู่ พระขีณาสพทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นเจ้าของบริโภคเพราะล่วงความ เป็นทาสแห่งตัณหาได้แล้ว. บรรดาการบริโภคทั้ง ๔ นี้ สามีบริโภคและ ทายัชชบริโภค ย่อมควรแม้แก่ภิกษุทุกจำพวก. อิณบริโภค ไม่สมควร เลย. ในไถยบริโภค ไม่มีคำจะพูดถึงเลย.
[อธิบายว่าการบริโภคอีก ๔ อย่าง]
การบริโภคแม้อื่นอีก ๔ คือ ลัชชีบริโภค อลัชชีบริโภค ธัมมิยบริโภค อธัมมิยบริโภค. บรรดาการบริโภค ๔ อย่างนั้น การบริโภค
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 954
ของอลัชชีภิกษุร่วมกับลัชชีภิกษุ สมควร. ไม่พึงปรับอาบัติเธอ. การ บริโภคของลัชชีภิกษุร่วมกับอลัชชีภิกษุ ย่อมควรตลอดเวลาที่เธอยังไม่รู้. เพราะว่าธรรมดาภิกษุผู้เป็นอลัชชีมาแต่แรกไม่มี. เพราะฉะนั้น พึงว่า กล่าวเธอในเวลาทราบว่าเธอเป็นอลัชชีว่า ท่านทำการละเมิดในกายทวาร และวจีทวาร, การทำนั้น ไม่สมควรเลย, ท่านอย่าได้กระทำอย่างนี้. ถ้าเธอไม่เอื้อเฟื้อยังคงกระทำอยู่อีก, ถ้ายังขืนทำการบริโภคร่วมกับอลัชชี นั้น, แม้เธอก็กลายเป็นอลัชชีไปด้วย. ฝ่ายภิกษุใด กระทำการบริโภค ร่วมกับอลัชชี ผู้ซึ่งเป็นภาระของตน, แม้ภิกษุนั้น อันภิกษุอื่นเห็น พึงห้าม, ถ้าเธอไม่ยอมงดเว้น, ภิกษุแม้รูปนี้ ก็เป็นอลัชชีเหมือนกัน. อลัชชีภิกษุแม้รูปเดียว ย่อมทำให้ภิกษุเป็นอลัชชีได้แม้ตั้งร้อยรูปอย่างนี้. ชื่อว่าอาบัติในการบริโภคร่วมกันระหว่างอลัชชีกับอลัชชี ย่อมไม่มี. การ บริโภคร่วมระหว่างลัชชีกับลัชชี เป็นเช่นเดียวกับขัตติยกุมารสองพระองค์ เสวยร่วมกันในสุวรรณภาชน์. การบริโภคเป็นธรรม และไม่เป็นธรรม ผู้ศึกษาพึงทราบด้วยอำนาจแห่งปัจจัยนั่นแล.
ในการบริโภคเป็นธรรม และไม่เป็นธรรมนั้น พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้:-
ถ้าแม้บุคคลก็เป็นอลัชชี แม้บิณฑบาตไม่เป็นธรรม, น่ารังเกียจ ทั้ง ๒ ฝ่าย. บุคคลเป็นอลัชชี แต่บิณฑบาตเป็นธรรม, ภิกษุทั้งหลาย รังเกียจบุคคลแล้ว ไม่พึงรับบิณฑบาต. แต่ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวไว้ว่า คนทุศีล ได้อุเทศภัตเป็นต้นจากสงฆ์แล้ว ถวายแก่สงฆ์นั่นแล. อุเทศ- ภัตเป็นต้นนี้ ย่อมควร เพราะเป็นไปตามที่เขาถวายนั่นเอง. บุคคลเป็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 955
ลัชชี บิณฑบาตไม่เป็นธรรม, บิณฑบาตน่ารังเกียจ ไม่ควรรับเอา. บุคคลเป็นลัชชี แม้บิณฑบาตก็เป็นธรรม ย่อมสมควร.
[อธิบายการยกย่องและการบริโภคอีกอย่างละ ๒]
ยังมีการยกย่อง ๒ อย่าง และการบริโภค ๒ อย่างอีก คือ การ ยกย่องลัชชี ๑ การยกย่องอลัชชี ๑ ธรรมบริโภค ๑ อามิสบริโภค ๑, ในการยกย่องและการบริโภคนั้น การยกย่องลัชชี แก่อลัชชี สมควร. เธอไม่ควรถูกปรับอาบัติ. ก็ถ้าว่า ลัชชียกย่องอลัชชี ย่อมเชื้อเชิญด้วย อนุโมทนา เชื้อเชิญด้วยธรรมกถา อุปถัมภ์ในสกุลทั้งหลาย, แม้อลัชชี นอกนี้ ก็กล่าวสรรเสริญเธอในบริษัทว่า อาจารย์ของพวกเราย่อมเป็นผู้ เช่นนี้และเช่นนี้, ภิกษุนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมทำพระศาสนาให้เสื่อม ลง คือ ให้อันตรธานไป.
ก็บรรดาธรรมบริโภคและอามิสบริโภค ในบุคคลใด อามิสบริโภค สมควร, ในบุคคลนั้น แม้ธรรมบริโภค ก็สมควร. ท่านกล่าวไว้ (ใน อรรถกถาทั้งหลาย) ว่า ก็คัมภีร์ใด ตั้งอยู่ในสุดท้าย จักฉิบหายไป โดย กาลล่วงไปแห่งบุคคลนั้น, จะเรียนเอาคัมภีร์นั้นเพื่ออนุเคราะห์ธรรม ควรอยู่. ในการอนุเคราะห์ธรรมนั้น มีเรื่องต่อไปนี้:-
[เรื่องเรียนคัณฐะจากคนเลวเพื่ออนุเคราะห์ธรรม]
ได้ยินว่า ในยุคมหาภัย ได้มีภิกษุผู้ชำนาญมหานิเทศเพียงรูปเดียว เท่านั้น. ครั้งนั้น พระอุปัชฌะของพระติสสเถระ ผู้ทรงนิกาย ๔ ชื่อว่า มหาติปิฎกเถระ กล่าวกะพระมหารักขิตเถระว่า อาวุโสมหารักขิต! เธอ จงเรียนเอามหานิเทศในสำนักแห่งภิกษุนั่นเถิด. เธอเรียนว่า ได้ทราบว่า ท่านรูปนี้เลวทราม ขอรับ! กระผมจักไม่เรียนเอา.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 956
อุปัชฌาย์. เรียนไว้เถิดคุณ! ฉันจักนั่งใกล้ๆ เธอ.
พระเถระ. ดีละ ขอรับ! เมื่อท่านนั่งอยู่ด้วย กระผมจักเรียนเอา แล้วเริ่มเรียนติดต่อกันทั้งกลางคืนกลางวัน วันสุดท้ายเห็นสตรีภายใต้เตียง แล้ว เรียนว่า ท่านขอรับ! กระผมได้สดับมาก่อนแล้วทีเดียว, ถ้าว่า กระผมพึงรู้อย่างนี้ จะไม่พึงเรียนธรรมในสำนักคนเช่นนี้เลย. ก็พระมหาเถระเป็นอันมาก ได้เรียนเอาในสำนักของพระเถระนั้นแล้ว ได้ ประดิษฐานมหานิเทศไว้สืบมา.
อันทองและเงินแม้ทั้งหมด ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ถึงการสงเคราะห์ ว่ารูปิยะทั้งนั้น ในคำว่า รูปิเย รูปิยสญฺี นี้.
สองบทว่า รูปิเย เวมติโก มีความว่า เกิดมีความสงสัย โดยนัย เป็นต้นว่า เป็นทองคำ หรือทองเหลือง * หนอ
สองบทว่า รูปิเย อรูปิยสญฺี ความว่า มีความสำคัญในทองคำ เป็นต้นว่า เป็นทองเหลืองเป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ใคร่ในบุญทั้งหลาย มีนางสนมของพระราชา เป็นต้น ถวายเงินและทองใส่ไว้ในภัต ของควรเคี้ยว ของหอมและ กำยานเป็นต้น, ถวายแผ่นผ้าเล็กๆ รวมกับกหาปณะที่ขอดไว้ที่ชายผ้า เป็นต้นต้นนั่นแหละ แก่ภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยวบิณฑบาตผ้า, ภิกษุทั้งหลาย รับเอาด้วยสำคัญว่าภัตตาหารเป็นต้น หรือสำคัญว่าผ้, ภิกษุนี้ พึงทราบว่า ผู้มีความสำคัญในรูปิยะว่ามิใ ช่รูปิยะ รันเอารูปิยะด้วยอาการอย่างนี้.
แต่ภิกษุผู้รับ พึงกำหนดให้ดีว่า วัตถุนี้เราได้ในเรือนหลังนี้
(๑) วิมติ ขรปตฺตนฺติ ขรสงฺขาตํ สุวรฺณปฏิรูปกํ วตฺถุ แปลว่า ที่ชื่อว่า ขรปัตตะ ได้แก่ วัตถุ ที่นับว่าแข็ง เทียมทองคำ. -ผู้ชำระ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 957
เพราะว่า ผู้ที่ถวายของด้วยไม่มีสติ ได้สติแล้วจะกลับมา (ทวงถาม). ลำดับนั้น ภิกษุพึงบอกเขาว่า ท่านจงตรวจดูห่อผ้าของท่าน ดังนี้. บท ที่เหลือในสิกขาบทนี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น.
บรรดาสมุฏฐานเป็นต้น สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ บางคราวเป็น กิริยา เพราะต้องด้วยการรับ บางคราวเป็นอกิริยา เพราะไม่ทำการห้าม จริงอยู่ รูปิยสิกขาบท อัญญวาทกสิกขาบท และอุปัสสุติสิกขาบท ทั้ง ๓ มีกำหนดอย่างเดียวกัน เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.
รูปิยสิกขาบทที่ ๘ จบ
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๐๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะ มีประการต่างๆ ชาวบ้านพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้ถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภค กามเล่า
ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา อยู่ บรรดาผู้ที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จงได้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 958
ถึงการซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอถึงการซื้อขายด้วย รูปิยะมีประการต่างๆ จริงหรือ
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การ กระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของ สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้ถึงการซื้อขายด้วย รูปิยะมีประการต่างๆ เล่า การกระทำของพวกเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อ ด้วยความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็น ไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น อย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ทรงบัญญัติสิกขาบท
ครั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยาย ดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 959
ควานเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุง ง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการ ที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อ ถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๘. ๙. อนึ่ง ภิกษุใดถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 960
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการ งานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะ ก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็น พระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดา ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ใน อรรถนี้
ที่ชื่อว่า มีประการต่างๆ คือ เป็นรูปพรรณบ้าง ไม่เป็นรูปพรรณ บ้าง เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณบ้าง
ที่ชื่อว่า เป็นทั้งรูปพรรณ ได้แก่ เครื่องประดับศีรษะ เครื่องประดับ คอ เครื่องประดับมือ เครื่องประดับเท้า เครื่องประดับสะเอว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 961
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นรูปพรรณ คือ ที่เรียกกันว่าเป็นแท่ง
ที่ชื่อว่า เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ ได้แก่ ของ ๒ อย่าง นั้น
ที่ชื่อว่า รูปิยะ ได้แก่ ทองคำ กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยโลหะ มาสกที่ทำด้วยไม้ มาสกที่ทำด้วยครั้ง ซึ่งใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยน ซื้อขายกันได้.
บทว่า ถึงความซื้อขาย คือ เอาของที่เป็นรูปพรรณซื้อของที่เป็น รูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
เอาของที่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
เอาของที่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
เอาของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
เอาของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณเป็น นิสสัคคีย์
เอาของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่ รูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
เอาของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ ซื้อของที่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
เอาของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ ซื้อของที่มิใช่รูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 962
เอาของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ ซื้อของที่เป็นทั้งรูปพรรณเละมิใช่รูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
ของที่ซื้อขายด้วยรูปิยะ ซึ่งเป็นนิสัคคีย์นั้น ต้องเสียสละในท่าม กลางสงฆ์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละของนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละของที่ซื้อขายด้วยรูปิยะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ ของสิ่งนี้ของข้าพเจ้า เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่ สงฆ์
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ ถ้าคนทำการวัด หรืออุบาสกเดินมาในสถานที่เสียสละนั้น พึงบอกเขาว่า ท่านจงรู้ของสิ่งนี้ ถ้าเขาถามว่า จะให้ผมนำของสิ่งนี้ไปหาอะไรมา อย่า บอกว่า จงนำของสิ่งนี้หรือของสิ่งนี้มา ควรบอกแต่ของที่เป็นกัปปิยะ เช่นเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย ถ้าเขานำของสิ่งนั้นไป แลก ของที่เป็นกัปปิยะมาถวาย เว้นภิกษุผู้ซื้อขายด้วยรูปิยะ ภิกษุนอกนั้นฉัน ได้ทุกรูป ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ พึงบอกเขาว่า โปรด ช่วยทั้งของสิ่งนี้ ถ้าเขาทิ้งให้ นั่นเป็นการดี ถ้าเขาไม่ทิ้งให้ พึงสมมติ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 963
องค์ ๕ ของภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ
องค์ ๕ นั้น คือ ๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ ๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะเกลียดชัง ๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะ งมงาย ๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะกลัว และ ๕. รู้จักว่าทำอย่างไร เป็นอันทิ้ง หรือไม่เป็นอันทิ้ง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติภิกษุนั้น อย่างนี้:-
วิธีสมมติภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ
พึงขอภิกษุให้รับตกลงก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึง ประกาศให้สงฆ์กราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
คำสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้ เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
ภิกษุผู้รับสมมติแล้วนั้น พึงทิ้งอย่าหมายที่ตก ถ้าทิ้งหมายที่ตก ต้องอาบัติทุกกฏ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 964
บทภาชนีย์
[๑๑๑] รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
รูปิยะ ภิกษุสงสัย ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์
รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
มิใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
มิใช่รูปิยะ ภิกษุสงสัย ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์
มิใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
มิใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ... ต้องอาบัติทุกกฏ
มิใช่รูปิยะ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 965
ไม่ต้องอาบัติ
มิใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ ... ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
[๑๑๒] ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล. โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๙
พรรณนารูปิยสัพโยหารสิกขาบท
รูปิยสัพโย๑หารสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะ กล่าวต่อไป:- ในรูปิยสัพโยหาร๒สิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า นานปฺปการกํ ได้แก่ มีประการมิใช่น้อย ด้วยอำนาจรูปิยะ ที่ทำ (เป็นรูปภัณฑ์) และมิได้ทำ (เป็นรูปภัณฑ์) เป็นต้น.
บทว่า รูปิยสพฺโยหารํ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนด้วยทองและเงิน.
บทว่า สมาปชฺชนฺติ มีความว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มองไม่เห็น โทษในการแลกเปลี่ยนด้วยทองและเงินที่คนรับไว้แล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามการรับอย่างเดียว จึงกระทำ (การแลกเปลี่ยนด้วย รูปิยะ).
ในคำว่า สีสุปคํ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:- ทองเงินรูปภัณฑ์
(๑) - (๒) บาลีและโยชนาเป็น รูปิยสังโวหารสิกขาบท.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 966
ที่ชื่อว่าสีสูปคะ เพราะอรรถว่า ประดับศีรษะ. ก็ในคัมภีร์ทั้งหลายเขียนไว้ ว่า สีสูปกํ ก็มี. คำว่า สีสูปกํ นี้ เป็นชื่อของเครื่องประดับศีรษะชนิด ใดชนิดหนึ่ง. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.
ในบทว่า กเตน กตํ เป็นต้นนี้ บัณฑิตพึงทราบการซื้อขายด้วย รูปิยะล้วนๆ เท่านั้น.
ข้าพเจ้า จักกล่าววินิจฉัยในบทว่า รูปิเย รูปิยสญฺี เป็นต้น ต่อไป:- บรรดาวัตถุที่กล่าวแล้วในสิกขาบทก่อน เมื่อภิกษุซื้อขาย นิสสัคคิยวัตถุด้วยนิสสัคคิยวัตถุ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ด้วยสิกขาบทก่อน ในเพราะการรับมูลค่า, ในเพราะการซื้อขายของอื่นๆ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ด้วยสิกขาบทนี้แล. แต่เมื่อซื้อขายทุกกฏวัตถุ หรือกัปปิยวัตถุ ด้วยนิสสัคคิยวัตถุ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
[ว่าด้วยการซื้อขายรูปิยะด้วยรูปิยะเป็นต้น]
จริงอยู่ ผู้ศึกษาพึงทราบติกะว่า ภิกษุมีความสำคัญในรูปิยะว่าเป็น รูปิยะ ซื้อขายสิ่งที่มิใช่รูปิยะ เป็นต้น นี้ เป็นอีกติกะหนึ่ง ซึ่งแม้มิได้ ตรัสไว้ เพราะอนุโลมแก่ติกะที่สองที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุมีความสำคัญในสิ่ง ที่มิใช่รูปิยะว่าเป็นรูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ เป็นต้นนี้. แท้จริง ภิกษุซื้อขาย รูปิยะของผู้อื่นด้วยสิ่งมิใช่รูปิยะของตนก็ดี ซื้อขายสิ่งที่มิใช่รูปิยะของ ผู้อื่นด้วยรูปิยะของตนก็ดี แม้โดยการซื้อขายทั้งสองประการ ก็จัดเป็น ทำการซื้อขายด้วยรูปิยะเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น ในบาลี จึงตรัสไว้ติกะ เดียวเท่านั้น ในฝ่ายรูปิยะข้างเดียวฉะนี้แล.
ก็เมื่อภิกษุซื้อขายวัตถุแห่งนิสสัคคีย์ ด้วยวัตถุแห่งทุกกฏ เป็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 967
ทุกกฏด้วยสิกขาบทก่อน ในเพราะการรับมูลค่า. เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ด้วยสิกขาบทนี้ ในเพราะแลกเปลี่ยนในภายหลัง เพราะซื้อขายของหนัก. เมื่อซื้อขายทุกกฏวัตถุนั่นแหละ หรือกัปปิยวัตถุ ด้วยวัตถุแห่งทุกกฏ เป็นทุกกฏด้วยสิกขาบทก่อน ในเพราะการรับมูลค่า, เป็นทุกกฏเช่นกัน ด้วยสิกขาบทนี้ แม้ในเพราะแลกเปลี่ยนภายหลัง. เพราะเหตุไร? เพราะ ซื้อขายด้วยอกัปปิยวัตถุ.
ส่วนในอรรถกถาอันธกะ ท่านกล่าวว่า ถ้าภิกษุถึงการซื้อขายเป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์ คำนั้น ท่านกล่าวไว้ไม่ชอบ. เพราะเหตุไร? เพราะ ชื่อว่าการซื้อขาย นอกจากการให้และการรับ ไม่มี. และกยวิกกยสิกขาบท พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาการแลกเปลี่ยนกัปปิยวัตถุด้วยกัปปิยวัตถุ เท่านั้น. ก็แลการแลกเปลี่ยนนั้นนอกจากพวกสหธรรมิก.
สิกขาบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาการซื้อขายรูปิยะ และ สิ่งมิใช่รูปิยะด้วยรูปิยะ และการซื้อขายรูปิยะด้วยสิ่งมิใช่รูปิยะ, ส่วนการ ซื้อขายวัตถุแห่งทุกกฏด้วยวัตถุแห่งทุกกฏ มิได้ตรัสไว้ในบาลีในสิกขาบท นี้ (และ) มิได้ตรัสไว้ในบาลีในกยวิกกสิกขาบทนั้นเลย. ก็ในการซื้อ ขายวัตถุแห่งทุกกฏ ด้วยวัตถุแห่งทุกกฏนี้ ไม่ควรจะ (เป็นอนาบัติ). เพราะฉะนั้น พวกอาจารย์ผู้รู้พระประสงค์แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ กล่าวคำว่า ในเพราะรับวัตถุแห่งทุกกฏ เป็นทุกกฏ ฉันใด, แม้ในเพราะ ซื้อขายวัตถุแห่งทุกกฏนั้น ด้วยวัตถุแห่งทุกกฏนั้นนั่นแล เป็นทุกกฏ ก็ ชอบแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน.
อนึ่ง เมื่อภิกษุซื้อขายวัตถุนิสสัคคีย์ ด้วยกัปปิยวัตถุ เป็นอนาบัติ ด้วยสิกขาบทก่อนในเพราะการรับมูลค่า, เป็นนิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ ด้วย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 968
สิกขาบทนี้ ในเพราะแลกเปลี่ยนภายหลัง. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งมิใช่รูปิยะว่าไม่ใช่รูปิยะ ซื้อ ขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. เมื่อภิกษุซื้อขายวัตถุแห่งทุกกฏด้วย กัปปิยวัตถุนั้นนั่นแหละ ไม่เป็นอาบัติ เหมือนอย่างนั้น ในเพราะการ รับมูลค่า, เป็นทุกกฏด้วยสิกขาบทนี้ ในเพราะการแลกเปลี่ยนภายหลัง. เพราะเหตุไร? เพราะซื้อขายสิ่งเป็นอกัปปิยะ.
อนึ่ง เมื่อภิกษุแลกเปลี่ยนกัปปิยวัตถุ ด้วยกัปปิยวัตถุ นอกจาก พวกสหธรรมิก ไม่เป็นอาบัติ ด้วยสิกขาบทก่อน ในเพราะการรับมูลค่า. เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์ด้วยวิกกยสิกขาบทข้างหน้า เพราะการแลกเปลี่ยน ภายหลัง. เมื่อภิกษุถือเอาพ้นการซื้อขายไป ไม่เป็นอาบัติ แม้โดย สิกขาบทข้างหน้า. (แต่) เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ประกอบการหาผลกำไร.
[อธิบายปัตตจตุกกะเป็นอุทาหรณ์]
อนึ่ง ผู้ศึกษาพึงทราบปัตตจตุกกะนี้ อันแสดงถึงความที่รูปิยสัพโยหารสิกขาบทนี้หนัก. ความพิสดารว่า ภิกษุใด รับเอารูปิยะ แล้ว จ้างให้ขุดแร่เหล็กขึ้นด้วยรูปิยะนั้น, ให้ช่างเหล็กถลุงแร่เหล็กนั้น แล้ว ให้ทำบาตรด้วยโลหะนั้น. บาตรนี้ ชื่อว่า เป็นมหาอกัปปิยะ ภิกษุนั้น ไม่อาจทำให้เป็นกัปปิยะได้ด้วยอุบายไรๆ. ก็ถ้าว่า ทำลายบาตรนั้นแล้ว ให้ช่างทำกระถาง. แม้กระถางนั้นก็เป็นอกัปปิยะ. ให้กระทำมีด แม้ไม้ สีพื้นที่ตัดด้วยมีดนั้น ก็เป็นอกัปปิยะ. ให้กระทำเบ็ด แม้ปลาที่เขาให้ ตายด้วยเบ็ดนั้น ก็เป็นอกัปปิยะ. ภิกษุให้ช่างเผาตัวมีดให้ร้อนแล้ว แช่ น้ำ หรือนมสดให้ร้อน. แม้น้ำและนมสดนั้น ก็เป็นอกัปปิยะเช่นกัน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 969
ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวว่า ก็ภิกษุใด รับรูปิยะแล้วซื้อบาตรด้วย รูปิยะนั้น, แม้บาตรนี้ของภิกษุนั้น ก็เป็นอกัปปิยะ ไม่สมควรแม้แก่ สหธรรมิกทั้ง ๕. แต่ภิกษุนั้นอาจทำบาตรนั้น ให้เป็นกัปปิยะได้. จริง อยู่ บาตรนั้น จะเป็นกัปปิยะได้ ต่อเมื่อให้มูลค่าแก่เจ้าของมูลค่า และ เมื่อให้บาตรแก่เจ้าของบาตร. ภิกษุจะให้กัปปิยภัณฑ์แล้วรับเอาไปใช้สอย สมควรอยู่.
ฝ่ายภิกษุใด ให้รับเอารูปิยะไว้แล้วไปยังตระกูลช่างเหล็กกับด้วย กัปปิยการก เห็นบาตรแล้วพูดว่า บาตรนี้ เราชอบใจ. และกัปปิยการก ให้รูปิยะนั้นแล้ว ให้ช่างเหล็กตกลง. แม้บาตรใบนี้ อันภิกษุนั้นถือเอา โดยกัปปิยโวหาร เป็นเช่นกับบาตรใบที่ ๒ นั่นเอง จัด เป็นอกัปปิยะ เหมือนกัน เพราะภิกษุรับมูลค่า.
ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่ควรแก่สหธรรมิกที่เหลือ?
แก้ว่า เพราะไม่เสียสละมูลค่า.
อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รับรูปิยะไปยังตระกูลช่างเหล็ก พร้อมกับกัปปิยการกที่ทายกส่งมาว่า ท่านจงซื้อบาตรถวายพระเถระ เห็นบาตรแล้ว ให้ กัปปิยการกจ่ายกหาปณะว่า เธอจงรับเอากหาปณะเหล่านี้แล้ว ให้บาตรนี้ แล้วได้ถือเอาไป. บาตรนี้ ไม่ควรแก่ภิกษุรูปนี้เท่านั้น เพราะจัดการไม่ ชอบ, แต่ควรแก่ภิกษุเหล่าอื่น เพราะไม่ได้รับมูลค่า.
ได้ทราบว่า อุปัชฌาย์ของพระมหาสุมเถระ มีชื่อว่าอนุรุทธเถระ. ท่านบรรจุบาตรเห็นปานนี้ของตนให้เต็ม ด้วยเนยใสแล้ว สละแก่สงฆ์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 970
พวกสัทธิวิหาริกแม้ของพระจุลนาคเถระผู้ทรงไตรปิฏก ก็ได้มีบาตร เช่นนั้นเหมือนกัน. พระเถระสั่งให้บรรจุบาตรนั้นให้เต็ม ด้วยเนยใสแล้ว ให้เสียสละแก่สงฆ์ ดังนี้แล. นี้ชื่ออกัปปิยปัตตจตุกกะ. ก็ถ้าว่า ภิกษุ ไม่รับรูปิยะไปสู่ตระกูล แห่งช่างเหล็ก พร้อมด้วยกัปปิยการกที่ทายกส่งมา ว่า เธอจงซื้อบาตรถวายพระเถระ เห็นบาตรแล้วกล่าวว่า บาตรนี้เรา ชอบใจ หรือว่า เราจักเอาบาตรนี้, และกัปปิยการกจ่ายรูปิยะนั้นให้แล้ว ให้ช่างเหล็กยินยอมตกลง. บาตรนี้สมควรทุกอย่าง ควรแก่การบริโภค แม้แห่งพระพุทธทั้งหลาย.
สองบทว่า อรูปิเย รูปิยสญฺี ได้แก่ มีความสำคัญในทองเหลือง เป็นต้น ว่าเป็นทองคำเป็นต้น.
สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า ถ้าภิกษุซื้อขายสิ่งที่มิใช่ รูปิยะ.. ด้วยสิ่งที่มิใช่รูปิยะ ซึ่งมีความสำคัญว่าเป็นรูปิยะนั้น เป็นอาบัติ ทุกกฏ. ในภิกษุผู้มีความสงสัย ก็มีนัยอย่างนี้. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ มีความสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ แม้กระทำการซื้อขาย กับด้วย สหธรรมิก ๕ ว่า ท่านจงถือเอาสิ่งนี้แล้วให้สิ่งนี้. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ เป็น อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
รูปิยสัพโยหาร สิกขาบทที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 971
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๑๑๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตร เป็นผู้ชำนาญทำจีวรกรรม เธอเอาผ้าเก่าๆ ทำผ้าสังฆาฏิย้อมแต่งดีแล้วใช้ห่ม
ขณะนั้นแล ปริพาชกผู้หนึ่งห่มผ้ามีราคามาก เข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงสำนัก ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ผ้าสังฆาฏิผืนนี้ของท่านงามแท้ จงแลกกันกับผ้าของข้าพเจ้า เถิด
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า ท่านจงรู้เอาเองเถิด ปริพาชกตอบสนองว่า ข้าพเจ้ารู้ ขอรับ
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรตอบว่า ตกลง ขอรับ แล้วได้ให้ไป
จึงปริพาชกนั้น ได้ห่มผ้าสังฆาฏิผืนนั้น ไปสู่ปริพาชการาม
พวกปริพาชกพากันรุมถามปริพาชกผู้นั้นว่า สังฆาฏิผืนนี้ของท่าน ช่างงามจริง ท่านได้มาแต่ไหน
ปริพาชกผู้นั้นตอบว่า ผมเอาผ้าของผมผืนนั้นแลกเปลี่ยนมา
พวกปริพาชกกล่าวว่า ผ้าสังฆาฏิของท่านผืนนี้จักอยู่ได้สักกี่วัน ผ้า ของท่านผืนนั้นแหละดีกว่า
ปริพาชกผู้นั้นเห็นจริงว่า ปริพาชกทั้งหลายพูดถูกต้อง ผ้าสังฆาฎิ ของเราผืนนี้ จักอยู่ได้สักกี่วัน ผ้าผืนนั้นของเราดีกว่า แล้วเข้าไปหา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 972
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงสำนัก ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า โปรดนำผ้าสังฆาฎิของท่านไป โปรดคืนผ้าของ ผมมา
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรพูดว่า ข้าพเจ้าได้บอกท่านแล้วมิใช่หรือ ว่า จงรู้เอาเองเถิด ข้าพเจ้าจักไม่คืนให้
ปริพาชกนั้น จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาขึ้นในทันใดนั้นแล ว่า ธรรมดาคฤหัสถ์ก็ยังคืนให้แก่คฤหัสถ์ผู้เดือดร้อน ก็นี่บรรพชิตจักไม่ คืนให้แก่บรรพชิตด้วยกันเทียวหรือ
ภิกษุทั้งหลายได้ยินปริพาชกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาผู้ที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุปนันท - ศากยบุตร จึงได้ถึงการแลกเปลี่ยนกับปริพาชกเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระะผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่าน พระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูก่อนอุปนันทะ ข่าวว่า เธอถึงการแลก เปลี่ยนกันปริพาชก จริงหรือ
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 973
ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้ถึงการแลกเปลี่ยนกับปริพาชกเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่ แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใส แล้ว
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดย อเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็น คนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความ เป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความ กำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 974
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๙. ๑๐. อนึ่ง ... ภิกษุใดถึงการแลกเปลี่ยนมีประการต่างๆ เป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๔] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการ งานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะ ก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 975
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่ กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้
ที่ชื่อว่า มีประการต่างๆ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ โดยที่สุด แม้ก้อนฝุ่น ไม้ ชำระฟัน ด้ายชายผ้า.
บทว่า ถึงการแลกเปลี่ยน คือ ภิกษุพูดเป็นเชิงบังคับว่า จงให้ ของสิ่งนี้ด้วยของสิ่งนี้ จงนำของสิ่งนี้มาด้วยของสิ่งนี้ จงแลกเปลี่ยนของ สิ่งนี้ด้วยของสิ่งนี้ จงจ่ายของสิ่งนี้ด้วยของสิ่งนี้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติ ทุกกฏ ในเวลาที่แลกแล้ว คือของๆ ตนไปอยู่ในมือของคนอื่น และ เปลี่ยนแล้ว คือของๆ คนอื่นมาอยู่ในมือของตน เป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละของสิ่งนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าได้ถึงการแลกเปลี่ยนมีประการต่างๆ ของ สิ่งนี้ของข้าพเจ้าเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่สงฆ์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 976
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนของที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ของสิ่งนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ของสิ่งนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าได้ถึงการแลกเปลี่ยนมีประการต่างๆ ของ สิ่งนี้ของข้าพเจ้าเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่ท่าน ทั้งหลาย
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนของที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า ของสิ่งนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของ ท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้ของสิ่งนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่ง กระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่าน ข้าพเจ้าได้ถึงการแลกเปลี่ยนมีประการต่างๆ ของสิ่งนี้ ของข้าพเจ้าเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่ท่าน
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนของที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้ของสิ่งนี้แก่ท่าน ดังนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 977
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๑๕] แลกเปลี่ยน ภิกษุสำคัญว่าแลกเปลี่ยน เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
แลกเปลี่ยน ภิกษุสงสัย เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
แลกเปลี่ยน ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้แลกเปลี่ยน เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ไม่ได้แลกเปลี่ยน ภิกษุสำคัญว่าแลกเปลี่ยน ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้แลกเปลี่ยน ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ต้องอาบัติ
ไม่ได้แลกเปลี่ยน ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้แลกเปลี่ยน ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๑๖] ภิกษุถามราคา ๑ ภิกษุบอกแก่กัปปิยการกว่า ของสิ่งนี้ ของเรามีอยู่ แต่เราต้องการของสิ่งนี้และของสิ่งนี้ ดังนี้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วรรคที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 978
หัวข้อประจำเรื่อง
๑. โกสิยสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตเจือด้วยไหม
๒. สุทธกาฬกสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตแห่งขนเจียมดำ ล้วน
๓. เทวภาคสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตแห่งขนเจียมดำ ล้วน ๒ ส่วน
๔. ฉัพพัสสสิกขาบท ว่าด้วยการทรงสันถัตไว้ให้ได้ ๖ ฝน
๕. นิสีทนสันถตสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตสำหรับนั่ง
๖. เอฬกโลมสิกขาบท ว่าด้วยการรับขนเจียม
๗. เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท ว่าด้วยการซักขนเจียม
๘. รูปิยอุคคหสิกขาบท ว่าด้วยการรับทองเงิน
๙. รูปิยสังโวหารสิกขาบท ว่าด้วยกายซื้อขายด้วยรูปิยะ มี ประการต่างๆ
๑๐. กยวิกกยสิกขาบท ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนมีประการต่างๆ
โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๑๐
พรรณนากวิกกยสิกขาบท
กยวิกกยสิกขาบทว่า เตน สนเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว ต่อไป:- ในกยวิกกยสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
คำว่า กตีหิปิ ตฺยายํ คือ สังฆาฎิผืนนี้ ของท่านจักอยู่ได้กี่วัน. ในบทว่า กตีหิปิ นี้ หิ ศัพท์ เป็นปทปูรณะ ปิ ศัพท์เป็นไปในความ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 979
ตำหนิ. อธิบายว่า สังฆาฎิของท่านผืนนี้ชำรุด จักอยู่ได้สักกี่วัน, อีก อย่างหนึ่ง ปาฐะว่า กติหํปิ ตฺยายํ ก็มี. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กติหํ คือ สิ้นวัน เท่าไร. มีคำอธิบายว่า ตลอดสักกี่วัน. บทที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน. คำว่า กตีหิปิ มฺยายํ นี้ ก็พึงทราบโดย นัยนี้เหมือนกัน.
ในคำว่า คิหึปิ นํ คิหิสฺส นี้ ศัพท์ว่า นํ เป็นนิบาต ลงในอรรถ แห่งนามศัพท์. มีคำอธิบายว่า ธรรมดาว่าแม้คฤหัสถ์ ก็ยังคืนให้แก่ คฤหัสถ์.
บทว่า นานปฺปการกํ คือ มีอย่างมิใช่น้อย ด้วยอำนาจแห่งกัปปิยภัณฑ์ มีจีวรเป็นต้น. เพราะเหตุนั้นแล ในบทภาชนะแห่งบทว่า นานปฺปการํ นั้น ท่านจึงทรงแสดงเฉพาะกัปปิยภัณฑ์ตั้งต้นแต่จีวร มี ด้ายชายผ้าเป็นที่สุด. จริงอยู่ การแลกเปลี่ยนด้วยอกัปปิยภัณฑ์ย่อมไม่ถึง การสงเคราะห์เข้าในการซื้อขาย.
[อธิบายการซื้อและขายที่ทำให้เป็นอาบัติ]
บทว่า กยวิกฺกยํ ได้แก่ การซื้อและการขาย. ภิกษุเมื่อถือเอา กัปปิยภัณฑ์ของคนอื่นโดยนัยเป็นต้นว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ด้วยสิ่งนี้ ชื่อว่า ย่อมถึงการซื้อ, เมื่อให้กัปปิยภัณฑ์ของตน ชื่อว่าย่อมถึงการขาย.
บทว่า อชฺฌาจรติ คือ ย่อมประพฤติข่มขู่. อธิบายว่า ย่อม กล่าววาจาล่วงเกิน.
ข้อว่า ยโต กยิตญฺจ โหติ วิกฺกีตญฺจ มีความว่า ในเวลาทำภัณฑะ ของผู้อื่นให้อยู่ในมือของตน ชื่อว่าซื้อ และในเวลาทำภัณฑะของตนให้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 980
อยู่ในมือของผู้อื่น ชื่อว่าขาย. แต่ด้วยบทนี้ ในบาลีท่านแสดงภัณฑะ ของตนก่อน โดยอนุรูปแก่คำว่า อิมํ เป็นต้น.
บทว่า นิสฺสชฺชิตพฺพํ มีความว่า พึงสละกัปปิยภัณฑ์ ที่รับเอา จากมือของคนอื่น ด้วยอำนาจแห่งการซื้อขายอย่างนี้. ก็การซื้อขายอย่างนี้ กับพวกคฤหัสถ์ และนักบวชที่เหลือ เว้นสหธรรมิกทั้ง ๕ โดยที่สุด แม้กับมารดาบิดา ก็ไม่ควร.
วินิจฉัยในการซื้อขายนั้นดังต่อไปนี้:- ผ้ากับผ้าก็ตาม อาหารกับ อาหารก็ตาม จงยกไว้, ภิกษุกล่าวถึงกัปปิยภัณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ ด้วยสิ่งนี้ เป็นทุกกฏ. ภิกษุกล่าวอย่างนั้นแล้วให้ภัณฑะ ของตนแม้แก่มารดาก็เป็นทุกกฏ. ภิกษุอันมารดากล่าวว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ ด้วยสิ่งนี้ หรือกล่าวว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ ฉันจักให้สิ่งนี้แก่ท่าน แล้วถือ เอาภัณฑะแม้ของมารดาเพื่อตนก็เป็นทุกกฏ. เมื่อภัณฑะของตนถึงมือของ คนอื่น และเมื่อภัณฑะของคนอื่นถึงมือของตน เป็นนิสสัคคีย์. แต่เมื่อ ภิกษุกล่าวกะมารดาหรือบิดาว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ ไม่เป็นการออกปากขอ. เมื่อภิกษุกล่าวว่า ท่านจงถือเอาสิ่งนี้ ไม่เป็นการยังสัทธาไทยให้ตกไป. เมื่อภิกษุพูดกะผู้มิใช่ญาติว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ เป็นการออกปากขอ, เมื่อ พูดว่า ท่านจงถือเอาสิ่งนี้ เป็นการยังสัทธาไทยให้ตกไป. เมื่อภิกษุถึง การซื้อขายว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ ด้วยสิ่งนี้ เป็นนิสสัคคีย์. เพราะฉะนั้น อันภิกษุผู้จะแลกเปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ พึงแลกเปลี่ยนกับมารดาบิดาให้พ้น การซื้อขาย กับพวกคนผู้มิใช่ญาติให้พ้นอาบัติ ๓ ตัว.
[อธิบายวิธีการแลกเปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์]
ในกัปปิยภัณฑ์นั้น มีวิธีการแลกเปลี่ยนดังต่อไปนี้:- ภิกษุมีข้าว -
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 981
สารเป็นเสบียงทาง. เธอเห็นบุรุษถือข้าวสุกในระหว่างทางแล้วพูดว่า เรา มีข้าวสาร, และเราไม่มีความต้องการด้วยข้าวสารนี้ แต่มีความต้องการ ด้วยข้าวสุก ดังนี้. บุรุษรับเอาข้าวสารแล้วถวายข้าวสุก ควรอยู่. ไม่เป็น อาบัติทั้ง ๓ ตัว. ชั้นที่สุด แม้เพียงสักว่านิมิตกรรมก็ไม่เป็น. เพราะเหตุไร? เพราะมีมูลเหตุ. และพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ไว้ข้างหน้า นั่นแลว่า ภิกษุพูดว่า เรามีสิ่งนี้, แต่มีความต้องการด้วยสิ่งนี้และสิ่งนี้ ดังนี้.
อนึ่ง ภิกษุใด ไม่กระทำอย่างนี้ แลกเปลี่ยนว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ ด้วยสิ่งนี้ เป็นอาบัติตามวัตถุแท้. ภิกษุเห็นคนกินเดนกล่าวว่า เธอจง กินข้าวสุกนี้แล้ว นำน้ำย้อมหรือฟืนมาให้ แล้วให้ (ข้าวสุก). เป็น นิสสัคคีย์หลายตัวตามจำนวนสะเก็ดน้ำย้อมและจำนวนฟืน. ภิกษุกล่าวว่า พวกท่านบริโภคข้าวสุกนี้แล้ว จงทำกิจชื่อนี้ แล้วใช้พวกช่างศิลป์มีช่าง แกะสลักงาเป็นต้น ให้ทำบริขารนั้นๆ บรรดาบริขารมีธมกรกเป็นต้น หรือใช้พวกช่างย้อมให้ซักผ้า, เป็นอาบัติตามวัตถุทีเดียว. ภิกษุให้พวก ช่างกัลบกปลงผมให้พวกกรรมกรทำนวกรรม, เป็นอาบัติตามวัตถุเหมือน กัน. ก็ถ้าภิกษุไม่กล่าวว่า พวกท่านบริโภคอาหารนี้แล้ว จงทำกิจนี้ กล่าวว่า เธอจงบริโภคอาหารนี้, เธอบริโภคแล้ว, (หรือ) จักบริโภค, จงช่วยทำกิจชื่อนี้ ย่อมสมควร. ก็ในการให้ทำบริขารเป็นต้นนี้ ภัณฑะ ของผู้อื่นที่อยู่ในความรับผิดชอบของตน ชื่อว่าอันภิกษุพึงสละ ย่อมไม่มี ในการซักผ้าหรือในการปลงผม หรือในนวกรรม มีการถางพื้นที่เป็นต้น แม้ก็จริง, ถึงอย่างนั้น เพราะท่านกล่าวไว้หนักแน่นในมหาอรรถกถา ใครๆ ไม่อาจคัดค้านคำนั้นได้; เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงแสดงปาจิตตีย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 982
ในเพราะการจ้างซักผ้าเป็นต้นแม้นี้ เหมือนแสดงปาจิตตีย์ ในเพราะ นิสสัคคิยวัตถุ ที่ตนใช้สอยแล้ว หรือเสียหายแล้วฉะนั้น.
[อธิบายอนาปัตติวาร]
ในคำว่า กยวิกฺกเย กยวิกฺกยสญฺี เป็นต้น ผู้ศึกษาพึงทราบใจ ความอย่างนี้ว่า ภิกษุใด ถึงการซื้อขาย, ภิกษุนั้นจงเป็นผู้มีความสำคัญ ในการซื้อขายนั้นว่าเป็นการซื้อขาย หรือมีความสงสัย หรือมีความสำคัญ ว่าไม่ใช่การซื้อชายก็ตามที เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์ทั้งนั้น. ในจูฬติกะ เป็นทุกกฏเหมือนกันทั้ง ๒ บท.
สองบทว่า อคฺฆํ ปุจฺฉติ มีความว่า ภิกษุถามว่า บาตรของท่านนี้ ราคาเท่าไร? แต่เมื่อเจ้าของบาตรกล่าวว่า ราคาเท่านี้ ถ้ากัปปิยภัณฑ์ ของภิกษุนั้นมีราคามาก, และภิกษุตอบอุบาสกนั้นไปอย่างนี้ว่า อุบาสก! วัตถุของเรานี้มีราคามาก, ท่านจงให้บาตรของท่านแก่คนอื่นเถิด. ฝ่าย อุบาสกได้ยินคำนั้น กล่าวว่า ผมจะแถมกระถางอื่นให้อีก จะรับเอาไว้ ก็ควร. ของนั้นตกไปในลักษณะที่ตรัสไว้ว่า เรามีสิ่งนี้ เป็นต้น. ถ้า บาตรนั้นมีราคาแพง, สิ่งของของภิกษุมีราคาถูก, และเจ้าของบาตรไม่ รู้ว่าของนั้นราคาถูก, ภิกษุอย่าพึงรับเอาบาตร. พึงบอกว่า ของของเรา มีราคาถูก. จริงอยู่ เมื่อภิกษุกล่าวหลอกลวงว่า มีราคามากรับเอา (บาตร) ไป จะถึงความเป็นผู้อันพระวินัยธรพึงให้ตีราคาสูงของแล้วปรับอาบัติ. ถ้าเจ้าของบาตรกล่าวว่า ช่างเถอะ ขอรับ! ที่เหลือจักเป็นบุญแก่ผม แล้ว ถวาย ควรอยู่.
สองบทว่า กปฺปิยการกสฺส อาจิกฺขติ มีความว่า ภิกษุทำคนอื่น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 983
เว้นคนที่ตนรับภัณฑะจากมือ โดยที่สุดแม้เป็นบุตร หรือพี่น้องชายของ เขา ให้เป็นกัปปิยการกแล้วบอกว่า เธอจงเอาสิ่งนี้ด้วย สิ่งนี้ ให้ด้วย. ถ้าบุตรหรือพี่น้องชายนั้น เป็นคนฉลาดคัดเลือกต่อรองซ้ำๆ ซากๆ แล้ว จึงรับเอา, ภิกษุพึงยืนนิ่งอยู่. ถ้าเขาเป็นคนไม่ฉลาด ไม่รู้จักจะถือเอา พ่อค้า จะลวงเขา, ภิกษุพึงบอกเขาว่า เธออย่าเอา ดังนี้.
ในคำว่า เรามีสิ่งนี้ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุกล่าวว่า น้ำมัน หรือเนยใสที่รับประเคนแล้วนี้ ของเรามีอยู่, แต่เราต้องการของ อื่นที่ยังไม่ได้ประเคน ถ้าเขารับเอาน้ำมัน หรือเนยใสนั้น ให้น้ำมันหรือ เนยใสอื่น. อย่าพึงให้ตวงน้ำมันของตนก่อน. เพราะเหตุไร? เพราะ ยังมีน้ำมันที่เหลืออยู่ ในทะนานน้ำมัน. น้ำมันที่เหลือนั้น จะพึงทำน้ำมัน ที่ยังไม่ได้รับประเคน ของภิกษุผู้ตวงในภายหลังให้เสียไป ฉะนี้แล. คำ ที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ. ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
พรรณนากยวิกกยสิกจาบทที่ ๑๐ จบ
และจบวรรคที่ ๒