พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วรรคที่ ๓

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 มี.ค. 2565
หมายเลข  42762
อ่าน  797

[เล่มที่ 3] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓

พระวินัยปิฏก เล่ม ๑ ภาค ๓

มหาวิภังค์ ทุติยภาค

นิสสัคคิยกัณฑ์

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วรรคที่ ๓

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 117/984

พระบัญญัติ 986

พระอนุบัญญัติเรื่องพระอานนท์ 118/986

พระอนุบัญญัติสิกขาบทวิภังค์ 987

ขนาดของบาตร ๓ 987

บทภาชนีย์ 124/990

อนาปัตติวาร 126/991

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑ 992

พรรณนาปัตตสิกขาบท 992

อธิบายบาตร ที่ควรอธิษฐานและวิกัปเป็นต้น 995

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒

เรื่องภิกษุหลายรูป 128/1000

พระบัญญัติ 1007

สิกขาบทวิภังค์ 131/1008

บทภาชนีย์บาตรไม่มีแผลเป็นต้น 133/1011

อนาปัตติวาร 137/1021

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒ 1021

พรรณนาอูนปัญจพันธนสิกขาบท 1021

อธิบายบาตรมีที่ผูก ๕ แห่งเป็นต้น 1022

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระปิลินทวัจฉเถระ 138/1025

ทรงอนุญาตให้มีคนทําการวัด 1026

พระบัญญัติสิกขาบทวิภังค์ 1032

วิธีเสียสละแก่สงฆ์เป็นต้น 1033

บทภาชนีย์ 142/1035

อนาปัตติวาร 144/1,036

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓

พรรณนาเภสัชชสิกขาบท 1036

แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระปิลินทวัจฉะ 1037

อธิบายวิธีปฏิบัติในการรับประเคนเภสัชต่างๆ 1038

อธิบายวิธีปฏิบัติในเนยใสเป็นต้น 1039

อธิบายข้อที่ทรงอนุญาตไว้เฉพาะ ๗ อย่าง 1050

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 145/1054

พระบัญญัติสิกขาบทวิภังค์ 1057

วิธีเสียสละแก่สงฆ์เป็นต้น 1058

บทภาชนีย์ 147/1060

อนาปัตติวาร 148/1061

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔

พรรณนาวัสสิกสาฏิกสิกขาบท 1062

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร 149/1067

พระบัญญัติสิกขาบทวิภังค์ 1070

วิธีเสียสละแก่สงฆ์เป็นต้น 1072

บทภาชนีย์ 1073

อนาปัตติวาร 152/1074

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕ 1074

พรรณนาจีวรอัจฉินทนสิกขาบท 1074

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 153/1077

พระบัญญัติ 1079

สิกขาบทวิภังค์ 154/1080

วิธีเสียสละแก่สงฆ์เป็นต้น 1081

บทภาชนีย์ 155/1082

อนาปัตติวาร 156/1083

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖ 1083

พรรณนาสุตตวิญญัตติสิกขาบท 1083

ว่าด้วยกําเนิดด้าย ๖ ชนิด 1084

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร 157/1088

พระบัญญัติ 1092

สิกขาบทวิภังค์ 158/1093

วิธีเสียสละแก่สงฆ์เป็นต้น 1094

บทภาชนีย์ 159/1096

อนาปัตติวาร 160/1097

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๗ 1097

พรรณนามหาเปสการสิกขาบท 1097

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘

เรื่องมหาอํามาตย์ 161/1098

ทรงอนุญาตอัจเจกจีวร 1099

พระบัญญัติ 1101

สิกขาบทวิภังค์ 162/1102

วิธีเสียสละแก่สงฆ์เป็นต้น 1103

บทภาชนีย์ 163/1104

อนาปัตติวาร 164/1105

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘ 1106

พรรณนาอัจเจกจีวรสิกขาบท 1106

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๙

เรื่องภิกษุหลายรูป 165/1109

พระบัญญัติสิกขาบทวิภังค์ 1112

วิธีเสียสละแก่สงฆ์เป็นต้น 1113

บทภาชนีย์ 167/1115

อนาปัตติวาร 168/1116

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๙ 1117

พรรณนาสาสังกสิกขาบท 1117

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 169/1121

พระบัญญัติสิกขาบทวิภังค์ 1124

วิธีเสียสละแก่สงฆ์เป็นต้น 1125

บทภาชนีย์ 1127

อนาปัตติวาร 171/1128

หัวข้อประจําเรื่อง 1128

บทสรุป 1129

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ 1129

พรรณนาปริณตสิกขาบท 1129


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 3]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 984

นิสัคคิยปาจิตตีย์ วรรคที่ ๓

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๑๑๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์สั่งสมบาตรไว้เป็นอันมาก ชาวบ้านพากันเที่ยวชมวิหาร เห็นแล้วพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้สั่งสมบาตรไว้เป็นอันมาก ท่านจักทำการขายบาตร หรือ จักตั้งร้านขายภาชนะดินเผา

ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้น เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ จึงได้ ทรงอติเรกบาตรเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระ ฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอทรงอติเรกบาตร จริงหรือ

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 985

สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้ทรงอติเรกบาตรเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดย ที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่น ของชนบางพวกที่ เลื่อมใสแล้ว

ทรงบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยายดังนี้ แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่ น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 986

ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อ ถือตามพระวินัย ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๔๐. ๑. อนึ่ง ภิกษุใด ทรงอติเรกบาตร เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

พระอนุบัญญัติ

เรื่องพระอานนท์

[๑๑๘] ก็โดยสมัยนั้นแล อติเรกบาตรเกิดขึ้นแก่ท่านพระอานนท์ มีอยู่ และท่านประสงค์จะถวายบาตรนั้นแก่ท่านพระสารีบุตร แต่ท่าน พระสารีบุตรอยู่ถึงเมืองสาเกต ท่านพระอานนท์จึงมีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ภิกษุไม่พึงทรงอติเรกบาตร ก็นี่อติเรกบาตรบังเกิดแก่เรา และเราก็ใคร่จะถวายแก่ท่านพระสารีบุตร แต่ท่านอยู่ถึงเมืองสาเกต เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ ครั้นแล้วท่าน พระอานนท์ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 987

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ ยังอีกนานเท่าไร สารีบุตรจึงจะกลับมา

พระอานนท์กราบทูลว่า ท่านจะกลับมาในวันที่ ๙ หรือที่ ๑๐ พระพุทธเจ้าข้า

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทรงอติเรกบาตรไว้ได้ ๑๐ วัน เป็น อย่างยิ่ง อนึ่ง พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้-

พระอนุบัญญัติ

๔๐. ๑. ก. พึงทรงอติเรกบาตรไว้ได้ ๑๐ วัน เป็นอย่างยิ่ง ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

เรื่องพระอานนท์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๑๙] บทว่า ๑๐ วัน เป็นอย่างยิ่ง คือ ทรงไว้ได้ ๑๐ วัน เป็น อย่างมาก

ที่ชื่อว่า อติเรกบาตร ได้แก่ บาตรที่ยังมิได้อธิษฐาน ยังไม่ได้ วิกัป

ที่ชื่อว่า บาตร มี ๒ อย่าง คือ บาตรเหล็ก ๑ บาตรดินเผา ๑

ขนาดของบาตร

บาตร ๓ ขนาด คือ บาตรขนาดใหญ่ ๑ บาตรขนาดกลาง ๑ บาตรขนาดเล็ก ๑

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 988

บาตรขนาดใหญ่ จุข้าวสุกแห่งข้าวสารกึ่งอาฬหก ของเคี้ยวเท่า ส่วนที่ ๔ กับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น

บาตรขนาดกลาง จุข้าวสุกแห่งข้าวสาร ๑ นาฬี ของเคี้ยวเท่าส่วน ที่ ๔ กับข้าวพอสมควรแก่ข้างสุกนั้น

บาตรขนาดเล็ก จุข้าวสุกแห่งข้าวสาร ๑ ปัตถะ ของเคี้ยวเท่าส่วน ที่ ๔ กับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น

ใหญ่กว่านั้นเป็นบาตรที่ใช้ไม่ได้ เล็กกว่านั้นเป็นบาตรที่ใช้ได้.

[๑๒๐] คำว่า ให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคีย์ ความว่า เมื่ออรุณที่ ๑๑ ขึ้นมา บาตรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสียสละ แก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละบาตรนั้น อย่างนี้:-

วิธีเสียสละ

เสียสละแก่สงฆ์

[๑๒๑] ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ ว่า:-

ท่านเจ้าข้า บาตรใบนี้ของข้าพเจ้าล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะ สละ ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่สงฆ์

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า ของสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บาตรใบนี้ของภิกษุมีชื่อนี้

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 989

เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้บาตรใบนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.

เสียสละแก่คณะ

[๑๒๒] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์ เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-

ท่านเจ้าข้า บาตรใบนี้ของข้าพเจ้า ล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะ สละ ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่ท่านทั้งหลาย

ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับ อาบัติ พึงคืนบาตรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า บาตรใบนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่ง ของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้บาตรใบนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.

เสียสละแก่บุคคล

[๑๒๓] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์ เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งเท้าประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านเจ้าข้า บาตรใบนี้ของข้าพเจ้า ล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะ สละ ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่ท่าน

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้บาตรใบนี้แก่ท่าน ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 990

บทภาชนีย์

นิสสัคคิยปาจิตตีย์

[๑๒๔] บาตรล่วง ๑๐ วันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าล่วงแล้ว เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บาตรล่วง ๑๐ วันแล้ว ภิกษุสงสัย เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์

บาตรล่วง ๑๐ วันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ล่วง เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์

บาตรยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บาตรยังไม่ได้วิกัป ภิกษุสำคัญว่าวิกัปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์

บาตรยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าสละแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์

บาตรยังไม่หาย ภิกษุสำคัญว่าหายแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์

บาตรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์

บาตรยังไม่แตก ภิกษุสำคัญว่าแตกแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์

บาตรยังไม่ถูกชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกชิงไปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 991

ทุกกฏ

[๑๒๕] บาตรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่ได้เสียสละ.. บริโภค ต้อง อาบัติทุกกฏ

บาตรยังไม่ล่วง ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่าล่วงแล้ว บริโภค ต้อง อาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ

บาตรยังไม่ล่วง ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ล่วง บริโภค ไม่ต้อง อาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๑๒๖] ภิกษุอธิษฐาน ๑ ภิกษุวิกัปไว้ ๑ ภิกษุสละให้ไป ๑ บาตรหายไป ๑ บาตรฉิบหาย ๑ บาตรแตก ๑ โจรชิงเอาไป ๑ ภิกษุ ถือวิสาสะ ๑ ในภายใน ๑๐ วัน ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๑๒๗] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ ไม่ให้คืนบาตรที่เสียสละ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บาตรที่ภิกษุเสียสละแล้ว สงฆ์ คณะ หรือบุคคล จะไม่คืนให้ไม่ได้ ภิกษุรูปใดไม่คืนให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 992

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๑

พรรณนาปัตตสิกขาบท

ปัตตสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:- ในปัตตสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัย ดังต่อไปนี้:-

บทว่า ปตฺตวณิชฺชํ มีความว่า พวกสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จักเที่ยวทำการขายบาตร หรือออกร้านขายภาชนะดินในบ้านและนิคม เป็นต้น. ภาชนะท่านเรียกว่า อามัตตะ (ในคำว่า อามตฺติกาปณํ). ภาชนะเหล่านั้นเป็นสินค้าของชนเหล่าใด ชนเหล่านั้น ชื่อว่า อามัตติกา (ผู้มีภาชนะเป็นสินค้า). ร้านตลาดของผู้มีภาชนะเป็นสินค้าเหล่านั้น ชื่อว่า อามัตติกาปณะ. อธิบายว่า ร้านขายสินค้าของพวกช่างหม้อ.

[อธิบายขนาดบาตร ๓ - ๙ ขนาด]

หลายบทว่า ตโย ปตฺตสฺส วณฺณา ได้แก่ ขนาดแห่งบาตร ๓ ขนาด.

สองบทว่า อฑฺฒาฬฺหโกทนํ คณฺหติ มีความว่า ย่อมจุข้าวสุก แห่งข้าวสาร ๒ ทะนาน โดยทะนานมคธ. ในอันธกอรรถกถาท่านกล่าว ว่า ที่ชื่อว่า ทะนานมคธ มี ๑๒ ปละครึ่ง. ในมหาอรรถกถาท่านกล่าว ว่า ในเกาะสิงหล ทะนานตามปกติใหญ่ ทะนานของชาวทมิฬเล็ก, ทะนาน มคธ ได้ขนาด. ทะนานครั้ง โดยทะนานมคธนั้น เป็นหนึ่งทะนานสิงหล.

บทว่า จตุพฺภาคขาทนียํ มีความว่า ของเคี้ยว ประมาณเท่า ส่วนที่ ๔ แห่งข้าวสุก. ขาทนียะนั้น พึงทราบด้วยสามารถแห่งแกง ถั่วเขียว พอหยิบด้วยมือได้.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 993

สองบทว่า ตทุปิยญฺจ พฺยญฺชนํ มีความว่า กับข้าวมีปลาเนื้อ ผักดองผลไม้และหน่อไม้เป็นต้น อันสมควรแก่ข้าวสุกนั้น.

ในบาตรนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- พึงเอาข้าวสารแห่งข้าวสาลีเก่า (ซึ่งเก็บไว้แรมปี) ที่ไม่หัก ซึ่งซ้อมบริสุทธิ์ดีแล้ว ๒ ทะนานมคธ หุง ให้เป็นข้าวสุกด้วยข้าวสารเหล่านั้นไม่เช็ดน้ำ ไม่เป็นข้าวท้องเล็น ไม่แฉะ ไม่เป็นก้อน สละสลวยดี เช่นกับกองดอกมะลิตูมในหม้อ แล้วบรรจุลง ในบาตรไม่ให้เหลือ เพิ่มแกงถั่วที่ปรุงด้วยเครื่องปรุงทุกอย่าง ไม่ข้นนัก ไม่เหลวนัก พอมือหยิบได้ลงไป ประมาณเท่าส่วนที่ ๔ แห่งข้าวสุกนั้น. แต่นั้น จึงเพิ่มกับข้าวมีปลา เนื้อเป็นต้น ลงไปสมควรแก่คำข้าวเป็นคำๆ จนเพียงพอกับคำข้าวเป็นอย่างยิ่ง. ส่วนเนยใส น้ำมัน รสเปรียงและน้ำ ข้าวเป็นต้น ไม่ควรนับ. เพราะของเหล่านั้น มีคติอย่างข้าวสุกนั่นเทียว ไม่อาจเพื่อจะลดลงและไม่อาจจะเพิ่มขึ้นได้. อาหารที่บรรจุลงอย่างนี้แม้ ทั้งหมดนั่น ถ้าตั้งอยู่เสมอแนวล่างแห่งขอบปากบาตร, เมื่อเอาเส้นด้าย หรือไม้ซีก (เสี้ยนตาล) ปาดไป (ของในบาตรนี้) ถูกที่สุดภายใต้เส้นด้าย หรือไม้ซีกนั้น (คือของในบาตรมีข้าวสุกทะนานครึ่งเป็นต้นนี้ถูกที่สุดเบื้อง ล่างแห่งด้ายหรือเสี้ยนตาลของบุคคลผู้ตัดด้วยด้ายหรือเสี้ยนตาล) , บาตรนี้ ชื่อว่าบาตรขนาดใหญ่ (อย่างกลาง). ถ้าของในบาตรนั้นพูนเป็นจอม เลยแนว (ขอบปากบาตร) นั้นขึ้นมา, บาตรนี้ชื่อว่าบาตรขนาดใหญ่อย่าง เล็ก. ถ้าของในบาตรนั้น ไม่ถึงแนวขอบ (ปากบาตร) พร่องอยู่ภายใน เท่านั้น, บาตรนี้ ชื่อว่า บาตรขนาดใหญ่อย่างใหญ่.

บทว่า นาฬิโกทนํ ได้แก่ ข้าวสุกแห่งข้าวสาร ๑ ทะนานโดย ทะนานมคธ.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 994

บทว่า ปตฺโถทนํ ได้แก่ ข้าวสุกกึ่งทะนานโดยทะนานมคธ. บทที่ เหลือ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. แต่มีความแปลกกันในเหตุ สักว่าชื่อ ดังต่อไปนี้:- ถ้าของมีข้าวสุก ๑ ทะนานเป็นต้นแม้ทั้งหมด ที่บรรจุลงแล้ว อยู่เสมอแนวขอบล่าง โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นเอง. บาตรนี้ ชื่อว่า บาตรขนาดกลาง (อย่างกลาง). ถ้าของพูนเป็นจอมเลยแนวขอบ นั้นขึ้นมา, บาตรนี้ ชื่อว่า บาตรขนาดกลางอย่างเล็ก. ถ้าไม่ถึงแนว ขอบนั้น, พร่องอยู่เพียงภายในเท่านั้น, บาตรนี้ชื่อว่า บาตรขนาดกลาง อย่างใหญ่.

ถ้าของทั้งหมดมีข้าวสุกประมาณกึ่งทะนานเป็นต้น ที่บรรจุลงแล้ว อยู่เสมอแนวล่าง (แห่งขอบปากบาตร) , บาตรนี้ ชื่อว่า บาตรขนาดเล็ก (อย่างกลาง). ถ้าของพูนเป็นจอมเลยแนวขอบนั้นขึ้นมา, บาตรนี้ ชื่อว่า บาตรขนาดเล็กอย่างเล็ก. ถ้าของไม่ถึงแนวขอบนั้นพร่องอยู่ภายในเท่า นั้น, บาตรนี้ ชื่อว่า บาตรขนาดเล็กอย่างใหญ่. ผู้ศึกษาพึงทราบบาตร ๙ ชนิดเหล่านี้ โดยประการดังกล่าวมาฉะนี้แล.

บรรดาบาตร ๙ ชนิดนั้น บาตร ๒ ชนิด คือ บาตรขนาดใหญ่ อย่างใหญ่ ๑ บาตรเล็กอย่างเล็ก ๑ ไม่จัดเป็นบาตร (เป็นบาตรใช้ไม่ได้). จริงอยู่ คำว่า ใหญ่กว่านั้น ไม่ใช่บาตร เล็กกว่านั้น ไม่ใช่บาตร นี้ตรัส หมายเอาบาตร ๒ ชนิดนั่น. แท้จริง บรรดาบาตร ๒ ชนิด บาตรขนาด ใหญ่อย่างใหญ่ คือใหญ่กว่านั้น ตรัสว่า ไม่ใช่บาตร เพราะใหญ่กว่า ขนาดใหญ่. และบาตรขนาดเล็กอย่างเล็ก คือ เล็กกว่านั้น ตรัสว่า ไม่ใช่บาตร เพราะเล็กกว่าขนาดเล็ก. เพราะฉะนั้น บาตรเหล่านี้ ควร

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 995

ใช้สอยอย่างใช้สอยภาชนะ ไม่ควรอธิษฐาน ไม่ควรวิกัป. ส่วนบาตร ๗ ชนิดนอกนี้ พึงอธิษฐานหรือวิกัปไว้ใช้เถิด.

เมื่อภิกษุไม่กระทำอย่างนี้ ให้บาตรนั้นล่วง ๑๐ วันไป เป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์ คือ เมื่อภิกษุให้บาตรแม้ทั้ง ๗ ชนิด ล่วงกาลมี ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่งไป เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ แล.

ข้อว่า นิสฺสคฺคิยํ ปตฺตํ อนิสฺสชฺชิตฺวา ปริภุญฺชติ พึงทราบ ความว่า เป็นทุกกฏ ทุกๆ ประโยคอย่างนี้ คือ เมื่อภิกษุดื่มยาคูแล้ว ล้างบาตร เป็นทุกกฏ. เมื่อฉันของควรเคี้ยว ฉันภัตตาหารแล้วล้างบาตร เป็นทุกกฏ.

[อธิบายบาตรที่ควรอธิษฐานและวิกัป]

ก็ในคำว่า อนาปตฺติ อนฺโตทสาหํ อธิฏฺเติ วิกปฺเปติ นี้ ผู้ศึกษา พึงทราบแม้บาตรที่ได้ประมาณเป็นบาตรควรอธิษฐานและวิกัป โดยนัย ดังจะกล่าวอย่างนี้:-

บาตรเหล็ก ระบมแล้วด้วยการระบม ๕ ไฟ บาตรดินระบมแล้ว ด้วยการระบม ๒ ไฟ จึงควรอธิษฐาน. บาตรทั้ง ๒ ชนิด เมื่อให้มูลค่า ที่ควรให้แล้วนั่นแล ถ้าระบมยังหย่อนอยู่แม้เพียงหนึ่งไฟหรือยังไม่ได้ให้ มูลค่าแม้เพียงกากณิกหนึ่ง ไม่ควรอธิษฐาน. ถ้าเจ้าของบาตรกล่าวว่า ท่านจงให้ในเวลาท่านมีมูลค่า ท่านจงอธิษฐานใช้สอยเถิด ดังนี้ ก็ยัง ไม่ควรอธิษฐานแท้. เพราะว่า ยังไม่ถึงการนับว่าเป็นบาตร เพราะการ ระบมยังหย่อนอยู่, ยังไม่ถึงความเป็นบาตรของตน ยังเป็นของผู้อื่นอยู่ ทีเดียว เพราะมูลค่าทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งยังไม่ได้ให้; เพราะฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 996

เมื่อระบม และเมื่อให้มูลค่าเสร็จแล้วนั่นแล จึงเป็นบาตรควรอธิษฐาน บาตรใบที่ควรอธิษฐานเท่านั้น จึงควรวิกัป. บาตรนั้น จะมาถึงมือแล้ว ก็ตาม ยังไม่มาถึงก็ตาม ควรอธิษฐาน หรือควรวิกัปไว้เสีย.

ก็ถ้าว่า ช่างบาตรได้มูลค่าแล้ว หรือเป็นผู้ประสงค์จะถวายเอง กล่าวว่า ท่านขอรับ! ผมจักทำบาตรถวายท่าน ระบมแล้วในวันชื่อโน้น จัก เก็บไว้ และภิกษุให้ล่วง ๑๐ วันไป จากวันที่ช่างบาตรนั้นกำหนดไว้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ก็ถ้าว่า ช่างบาตรกล่าวว่า ผมจักทำบาตรถวาย ท่าน ระบมแล้วจักส่งข่าวมาให้ทราบ แล้วทำเหมือนอย่างนั้น, ส่วน ภิกษุผู้ที่ช่างบาตรนั้นวานไปไม่บอกแก่ภิกษุนั้น, ภิกษุอื่นเห็น หรือได้ยิน จึงบอกว่า ท่านขอรับ! บาตรของท่านเสร็จแล้ว, การบอกของภิกษุ นั่นไม่เป็นประมาณ. แต่ในเวลาที่ภิกษุซึ่งช่างบาตรนั้นวานนั่นแหละบอก, เมื่อภิกษุให้ล่วง ๑๐ วันไปจำเดิมแต่วันที่ได้ยินคำบอกกล่าวของภิกษุนั้น เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ถ้าช่างบาตรกล่าวว่า ผมจักทำบาตรถวายท่าน ระบมแล้วจักส่งไปในมือของภิกษุบางรูป แล้วกระทำตามพูดนั้น, แต่ภิกษุ ผู้รับบาตรมาเก็บไว้ในบริเวณของตนแล้วไม่บอกแก่เธอ ภิกษุอื่นบางรูป กล่าวว่า ท่านขอรับ! บาตรที่ได้มาใหม่สวยดีบ้างไหม? เธอกล่าวว่า คุณ! บาตรที่ไหนกัน? ภิกษุบางรูปนั้นกล่าวว่า ช่างบาตรส่งมาในมือ ของภิกษุชื่อนี้. ถ้อยคำของภิกษุแม้นี้ก็ไม่เป็นประมาณ. แต่ในเวลาที่ภิกษุ นั้นให้บาตร, เมื่อเธอให้ล่วง ๑๐ วันไปนับแต่วันที่ได้บาตรมา เป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์. เพราะฉะนั้น อย่าให้ล่วง ๑๐ วัน พึงอธิษฐานหรือ พึงวิกัปเสีย.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 997

[อธิบายการอธิษฐานบาตร]

บรรดาการอธิษฐานและวิกัปนั้น อธิษฐานบาตรมี ๒ คือ อธิษฐาน ด้วยกายอย่าง ๑ อธิษฐานด้วยวาจาอย่าง ๑. ภิกษุเมื่อจะอธิษฐานด้วย อำนาจแห่งการอธิษฐาน ๒ อย่างนั้น พึงปัจจุทธรณ์บาตรเก่าที่ตั้งอยู่ต่อ หน้าหรือในที่ลับหลังอย่างนี้ว่า อิมํ ปตฺตํ ปจฺจุทฺธรามิ แปลว่า ข้าพเจ้า ถอนบาตรใบนี้ หรือว่า เอตํ ปตฺตํ ปจฺจุทฺธรามิ แปลว่า ข้าพเจ้าถอน บาตรใบนั่น หรือให้แก่ภิกษุอื่นแล้ว เอามือลูบคลำบาตรใหม่ที่ตั้งอยู่ ในที่แห่งใดแห่งหนึ่งแล้ว ทำความคำนึงด้วยใจ แล้วทำกายวิการ อธิษฐานด้วยกาย หรือเปล่งวาจา แล้วอธิษฐานด้วยวาจาว่า อิมํ ปตฺตํ อธิฏฺามิ แปลว่า ข้าพเจ้าอธิษฐานบาตรใบนี้.

ในอธิษฐานวิสัยนั้น อธิษฐานมี ๒ อย่าง. ถ้าบาตรอยู่ในหัตถบาส พึงเปล่งวาจาว่า อิมํ ปตฺตํ อธิฏฺามิ ข้าพเจ้าอธิษฐานบาตรใบนี้. ถ้า บาตรนั้นอยู่ภายในห้องก็ดี ที่ปราสาทชั้นบนก็ดี ในวิหารใกล้เคียงก็ดี ภิกษุพึงกำหนดสถานที่บาตรตั้งอยู่ แล้วพึงเปล่งวาจาว่า เอตํ ปตฺตํ อธิฏฺ- ามิ ข้าพเจ้าอธิษฐานบาตรใบนั่น. ก็ภิกษุผู้อธิษฐานแม้อธิษฐานรูปเดียว ก็ควร. แม้จะอธิษฐานในสำนักของภิกษุอื่น ก็ควร. การอธิษฐานใน สำนักของภิกษุอื่นมีอานิสงส์ดังต่อไปนี้:- ถ้าเธอเกิดความเคลือบแคลงว่า บาตร เราอธิษฐานแล้วหรือไม่หนอ ดังนี้, อีกรูปหนึ่งจักเตือนให้นึก ได้ตัดความสงสัยเสีย. ถ้าภิกษุบางรูปได้บาตรมา ๑๐ ใบ ตนเองประสงค์ จะใช้สอยทั้งหมดทีเดียว, อย่าพึงอธิษฐานทั้งหมด. อธิษฐานบาตรใบ หนึ่งแล้ววันรุ่งขึ้นปัจจุทธรณ์บาตรนั้นแล้วพึงอธิษฐานใบใหม่. โดยอุบาย นี้อาจจะได้บริหาร (การคุ้มครอง) ตั้ง ๑๐๐ ปี.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 998

[ว่าด้วยการขาดอธิษฐานของบาตร]

ถามว่า การขาดอธิษฐาน พึงมีแก่ภิกษุผู้ไม่ประมาทอย่างนี้ได้ หรือ?

ตอบว่า พึงมีได้.

หากว่า ภิกษุนี้ให้บาตรแก่ภิกษุอื่นก็ดี หมุนไปผิดก็ดี บอก ลาสิกขาก็ดี กระทำกาละเสียก็ดี เพศของเธอกลับก็ดี ปัจจุทธรณ์เสียก็ดี บาตรมีช่องทะลุก็ดี บาตรย่อมขาดอธิษฐาน. และคำนี้แม้พระอาจารย์ ทั้งหลายก็ได้กล่าวไว้ว่า

การขาดอธิษฐาน ย่อมมีได้ด้วยการให้ ๑ หมุน ไปผิด ๑ ลาสิกขา ๑ กระทำกาลกิริยา ๑ เพศ กลับ ๑ ปัจจุทธรณ์ (ถอน) ๑ เป็นที่ ๗ กับช่องทะลุ ๑ ดังนี้.

แม้เพราะโจรลักและการถือเอาโดยวิสาสะ บาตรก็ขาดอธิษฐาน เหมือนกัน. บาตรจะขาดอธิษฐานด้วยช่องทะลุประมาณเท่าไร? จะขาด อธิษฐานด้วยช่องทะลุพอเมล็ดข้าวฟ่างลอดออกได้ และลอดเข้าได้.

จริงอยู่ บรรดาธัญชาติ ๗ ชนิด เมล็ดข้าวฟ่างนี้ เป็นเมล็ด ธัญชาติอย่างเล็ก. เมื่อช่องนั้นอุดให้กลับ เป็นปกติด้วยผงเหล็ก หรือ ด้วยหมุดแล้วพึงอธิษฐานบาตรนั้นใหม่ภายใน ๑๐ วัน.

ในการอธิษฐานที่ตรัสไว้ในคำว่า อนฺโตทสาหํ อธิฏฺเติ วิกปฺเปติ นี้ มีวินิจฉัยเพียงเท่านี้ก่อน.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 999

[ว่าด้วยการวิกัปบาตร]

ก็ในการวิกัป มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- วิกัปมี ๒ อย่าง คือวิกัป ต่อหน้าอย่าง ๑ วิกัปลับหลังอย่าง ๑. วิกัปต่อหน้าเป็นอย่างไร? คือ ภิกษุพึงรู้ว่าบาตรมีใบเดียวหรือหลายใบ และวางไว้ใกล้หรือมิได้วางไว้ ใกล้ แล้วกล่าวว่า อิมํ ปตฺตํ ซึ่งบาตรนี้ หรือว่า อิเม ปตฺเต ซึ่ง บาตรเหล่านี้ ก็ดี ว่า เอตํ ปตฺตํ ซึ่งบาตรนั่น หรือว่า เอเต ปตฺเต ซึ่งบาตรเหล่านั้น ก็ดี แล้วกล่าวว่า ตุยฺหํ วิกปฺเปมิ ข้าพเจ้าวิกัปแก่ ท่าน นี้ชื่อว่าวิกัปต่อหน้าอย่าง ๑. ด้วยวิธีวิกัปเพียงเท่านี้จะเก็บไว้ควร อยู่. แต่จะใช้สอย จะจำหน่าย หรือจะอธิษฐานไม่สมควร. แต่เมื่อ ภิกษุผู้รับวิกัปกล่าวอย่างนี้ว่า มยฺหํ สนฺตกํ ปริภุญฺช วา วิสฺสชฺเชหิ วา ยถาปจฺจยํ วา กโรหิ บาตรนี้ของข้าพเจ้า ท่านจงใช้สอย จง จำหน่าย หรือจงกระทำตามปัจจัยก็ตาม ดังนี้ ชื่อว่าถอน. จำเดิมแต่ นั้น แม้การใช้สอยเป็นต้นควรอยู่.

อีกนัยหนึ่ง ภิกษุทราบว่าบาตรมีใบเดียวหรือหลายใบ และวางไว้ ใกล้หรือมิได้วางไว้ใกล้อย่างนั้นเหมือนกัน แล้วกล่าวว่า อิมํ ปตฺตํ ซึ่ง บาตรนี้ หรือว่า อิเม ปตฺเต ซึ่งบาตรทั้งหลายเหล่านี้ ก็ดี ว่า เอตํ ปตฺตํ ซึ่งบาตรนั่น หรือว่า เอเต ปตฺเต ซึ่งบาตรทั้งหลายเหล่านั่น ก็ดี ในสำนักของภิกษุนั้นนั่นแหละ แล้วระบุชื่อแห่งบรรดาสหธรรมิก ทั้ง ๕ รูปใดรูปหนึ่ง คือ ท่านใดท่านหนึ่ง ที่ตนชอบใจแล้วพึงกล่าวว่า ติสฺสสฺส ภิกฺขุโน วิกปฺเปมิ ข้าพเจ้าวิกัปแก่ภิกษุชื่อว่าติสสะ ดังนี้ ก็ดี ว่า ติสฺสาย ภิกฺขุนิยา ... ติสฺสาย สิกฺขมานาย ... ติสฺสสฺส สามเณรสฺส ... ติสฺสาย สามเณริยา วิกปฺเปมิ ข้าพเจ้าวิกัปแก่ภิกษุณี

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1000

ชื่อติสสา ... แก่สิกขมานาชื่อติสสา ... แก่สามเณรชื่อติสสะ ... แก่สามเณรี ชื่อติสสา ดังนี้ ก็ดี นี้ชื่อว่าวิกัปต่อหน้า แม้อีกอย่างหนึ่ง. ด้วยคำเพียง เท่านี้ จะเก็บไว้ สมควรอยู่, แต่บรรดากิจมีการบริโภคเป็นต้น แม้กิจ อย่างหนึ่งก็ไม่ควร. แต่เมื่อภิกษุผู้รับวิกัปนั้นกล่าวว่า ติสฺสสฺส ภิกขุโน สนฺตกํฯปฯ ติสฺสาย สามเณริยา สนฺตกํ ปริภุญฺชา วา วิสฺสชฺเชหิ วา ยถาปจฺจยํ วา กโรหิ บาตรนี้ ของภิกษุชื่อติสสะ ฯลฯ ของ สามเณรีชื่อติสสา ท่านจงใช้สอยก็ตาม จงจำหน่ายก็ตาม จงกระทำตาม ปัจจัยก็ตาม ดังนี้แล้ว ชื่อว่าถอน. จำเดิมแต่นั้น แม้การบริโภคเป็นต้น ก็สมควร.

วิกัปลับหลังเป็นอย่างไร? คือ ภิกษุทราบว่าบาตรมีใบเดียวหรือ หลายใบ และว่าวางไว้ใกล้ หรือมิได้วางไว้ใกล้อย่างนั้นนั่นแลแล้วกล่าว ว่า อิมํ ปตฺตํ ซึ่งบาตรนี้ หรือว่า อิเม ปตฺเต ซึ่งบาตรเหล่านี้ ก็ดี ว่า เอตํ ปตฺตํ ซึ่งบาตรนั่น หรือว่า เอเต ปตฺเต ซึ่งบาตรเหล่านั้น ก็ดี แล้วกล่าวว่า ตุยหํ วิกปฺปนตฺถาย ทมฺมิ ข้าพเจ้าให้แก่ท่านเพื่อ ต้องการวิกัป ดังนี้.

ภิกษุผู้รับวิกัปนั้น พึงถามเธอว่า ใครเป็นมิตรหรือเป็นเพื่อน เห็นกันของท่าน. ลำดับนั้น ภิกษุผู้วิกัปนอกนี้ พึงกล่าวว่า ติสฺโส ภิกฺขุ ภิกษุชื่อว่าติสสะ ฯลฯ หรือว่า ติสฺสา สามเณรี สามเณรีชื่อว่าติสสา โดยนัยก่อนนั่นแล. ภิกษุนั้น พึง่กล่าวอีกว่า อหํ ติสฺสสฺส ภิกฺขุโน ทมฺมิ ฯเปฯ หรือว่า ติสฺสาย สามเณริยา ทมฺมิ ข้าพเจ้าให้แก่ภิกษุ ชื่อติสสะ ฯลฯ หรือว่า ข้าพเจ้าให้แก่สามเณรีชื่อติสสา. นี้ชื่อว่า วิกัปลับหลัง. ด้วยการวิกัปเพียงเท่านี้จะเก็บไว้ ควรอยู่, แต่บรรดากิจมี

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1001

การบริโภคเป็นต้น กิจแม้อย่างเดียวไม่ควร. เมื่อภิกษุนั้นกล่าวว่า อิตถฺนฺนามสฺส สนฺตกํ ปริภุญฺช วา วิสฺสชฺเชหิ วา ยถาปจฺจยํ วา กโรหิ บาตรนี้ ของภิกษุชื่อนี้ ท่านจงใช้สอยก็ตาม จงจำหน่ายก็ตาม จงกระทำตามปัจจัยก็ตาม โดยนัยดังกล่าวแล้ว ในวิกัปต่อหน้าอย่างที่ สองนั่นแล ย่อมชื่อว่าถอน. จำเดิมแต่นั้น แม้การจะใช้สอยเป็นต้น ก็ควร. แต่ข้อแตกต่างกันแห่งวิกัปทั้งสองอย่างนี้ และลำดับแห่งวรรณนาที่ยัง เหลือทั้งหมด ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในวรรณนาแห่ง ปฐมกฐินสิกขาบทนั่นแหละ พร้อมทั้งสมุฎฐานเป็นต้น ฉะนี้แล.

ปัตตสิกขาบทที่ ๑ จบ

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒

เรื่องภิกษุหลายรูป

[๑๒๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ครั้งนั้น นายช่างหม้อ ผู้หนึ่งปวารณาภิกษุทั้งหลายไว้ว่า พระคุณเจ้าเหล่าใดต้องการบาตร กระผมจักถวายบาตรแก่พระคุณเจ้าเหล่านั้น

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่รู้จักประมาณ ขอบาตรเขามาเป็นอันมาก ภิกษุที่มีบาตรขนาดเล็ก ย่อมขอบาตรขนาดใหญ่ ภิกษุที่มีบาตรขนาดใหญ่ ย่อมขอบาตรขนาดเล็ก จึงนายช่างหม้อนั้น มัวทำบาตรเป็นอันมากถวาย ภิกษุทั้งหลายอยู่ ไม่สามารถจะทำของสำหรับขายอย่างอื่นได้ แม้ตนเอง ก็ไม่พอครองชีพ แม้บุตรภรรยาของเขาก็ลำบาก

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1002

ชาวบ้านพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเธอ สายพระศากยบุตรจึงได้ไม่รู้จักประมาณ ขอบาตรเขามากมายเล่า นายช่าง หม้อผู้นี้มัวทำบาตรเป็นอันมากมาถวายพระสมณะเหล่านี้อยู่ จึงไม่สามารถ จะทำของสำหรับขายอย่างอื่นได้ แม้ตนเองก็ไม่พอครองชีพ แม้บุตร ภรรยาของเขาก็ลำบาก

ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านแหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงได้ไม่ รู้จักประมาณ ขอบาตรเขามาไว้เป็นอันมากเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณ ขอบาตรเขามาไว้มากมายจริงหรือ

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ กระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านี้นั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่ กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นจึง ได้ไม่รู้จักประมาณ ขอบาตรเขามาไว้เป็นอันมากเล่า การกระทำของ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1003

ภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนเลื่อมใสแล้ว โดย ที่แท้ การกระทำของพวกโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น เป็นไปเพื่อความไม่ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชน บางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

ทรงห้ามขอบาตร

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้น โดยอเนกปริยาย ดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจ คร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำ ธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ควรขอบาตร ภิกษุใดขอ ต้อง อาบัติทุกกฏ.

[๑๒๙] ก็โดยสมัยนั้นแล บาตรของภิกษุรูปหนึ่งแตก ภิกษุนั้น รังเกียจว่า การขอบาตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติห้ามแล้ว จึงไม่ ขอบาตรเขาเที่ยวรับบิณฑบาตด้วยมือทั้งสอง ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้เที่ยว รับบิณฑบาตด้วยมือทั้งสองเหมือนพวกเดียรถีย์เล่า

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1004

ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอนุญาตให้ขอบาตร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีบาตรหายหรือมีบาตรแตก ขอบาตรเขาได้ ...

[๑๓๐] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาติให้ภิกษุผู้มีบาตรหายหรือมีบาตรแตก ขอบาตรเขาได้ แม้พวกเธอมีบาตรแตกเพียงเล็กน้อย ทะลุเพียงเล็กน้อย กะเทาะเพียง เล็กน้อย มีรอยขีดเพียงเล็กน้อย ก็ไม่รู้จักประมาณ ขอบาตรเขามาไว้ เป็นอันมาก

คราวนั้น นายช่างหม้อผู้นั้นมัวทำบาตรเป็นอันมากถวายแก่ภิกษุ ทั้งหลายอยู่อย่างนั้น ไม่สามารถจะทำของขายอย่างอื่นได้ แม้ตนเอง ก็ไม่พอครองชีพ แม้บุตรภรรยาของเขาก็ลำบาก ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาดุจก่อนนั้นว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึง ได้ไม่รู้จักประมาณ ขอบาตรเขามามากมายเล่า นายช่างหม้อผู้นี้มัวทำ บาตรเป็นอันมากถวายพระสมณะเหล่านี้อยู่ จึงไม่สามารถจะทำของสำหรับ ขายอย่างอื่นได้ แม้ตนเองก็ไม่พอครองชีพ แม้บุตรภรรยาของเขาก็ลำบาก

ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้น เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์แม้มีบาตร

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1005

แตกเพียงเล็กน้อย ทะลุเพียงเล็กน้อย กะเทาะเพียงเล็กน้อย มีรอยขีด เพียงเล็กน้อย จึงได้ไม่รู้จักประมาณ ขอบาตรเขามาไว้เป็นอันมากเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอมีบาตรแตกเพียงเล็ก น้อย ทะลุเพียงเล็กน้อย กะเทาะเพียงเล็กน้อย มีรอยขีดเพียงเล็ก น้อย ก็ไม่รู้จักประมาณ ขอบาตรเขามาไว้เป็นอันมาก จริงหรือ พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การ กระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอ แม้มีบาตรแตกเพียงเล็กน้อย ทะลุเพียงเล็กน้อย กะเทาะเพียงเล็กน้อย มีรอยขีดเพียงเล็กน้อย จึงได้ไม่รู้จักประมาณ ขอบาตรเขามาไว้เป็นอันมากเล่า การกระทำ ของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การ กระทำของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1006

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอมีบาตรแตกเพียง เล็กน้อย ทะลุเพียงเล็กน้อย กะเทาะเพียงเล็กน้อย มีรอยขีดเพียง เล็กน้อย ก็ไม่รู้จักประมาณ ขอบาตรเขามาไว้เป็นอันมาก จริงหรือ

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การ กระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของ สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอ แม้มีบาตรแตกเพียงเล็ก น้อย ทะลุเพียงเล็กน้อย กะเทาะเพียงเล็กน้อย มีรอยขีดเพียงเล็ก น้อย จึงได้ไม่รู้จักประมาณ ขอบาตรเขามาไว้เป็นอันมากเล่า การ กระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใส แล้ว

ทรงบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์ โดยอเนกปริยายดังนี้ แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1007

ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่ น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน เพื่อกำจัดอาสนะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อ ถือตามพระวินัย ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๔๑. ๒. อนึ่ง ภิกษุใด มีบาตรมีแผลหย่อนห้า ให้จ่ายบาตร ใหม่อื่น เป็นนิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ ภิกษุนั้นพึงสละบาตรใบนั้นในภิกษุ บริษัท บาตรใบสุดภิกษุบริษัทนั้น พึงมอบให้แก่ภิกษุนั้นสั่งว่า

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1008

ภิกษุ นี้บาตรของท่าน พึงทรงไว้กว่าจะแตก นี้เป็นสามีจิกรรมใน เรื่องนั้น.

เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๓๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการ งานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะ ก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระะเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วย ญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้

บาตรที่ชื่อว่า มีแผลหย่อนห้า คือ ไม่มีแผล มี ๑ แผล มี ๒ แผล มี ๓ แผล หรือมี ๔ แผล

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1009

บาตรที่ชื่อว่า ไม่มีแผล ได้แก่ บาตรที่มีรอยร้าวยาวไม่ถึงสององคุลี

บาตรที่ชื่อว่า มีแผล ได้แก่ บาตรที่มีรอยร้าวยาวถึงสององคุลี

บาตรที่ชื่อว่า ใหม่ ตรัสหมายถึงบาตรที่ขอเขามา.

บทว่า ให้จ่าย คือ ขอเขา เป็นทุกกฏในประโยคที่ขอ เป็น นิสสัคคีย์ด้วยได้บาตรมา จำต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์

ภิกษุทุกรูปพึงถือบาตรที่อธิษฐานแล้วไปประชุม อย่าอธิษฐาน บาตรเลว ด้วยหมายจะได้บาตรที่มีราคามาก ถ้าอธิษฐานบาตรเลว ด้วย หมายจะได้บาตรที่มีราคามาก ต้องอาบัติทุกกฏ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละบาตรนั้น อย่างนี้:-

วิธีเสียสละบาตร

[๑๓๒] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-

ท่านเจ้าข้า บาตรใบนี้ ของข้าพเจ้ามีบาตรมีแผลหย่อนห้า ให้ จ่ายมาแล้วเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่สงฆ์

ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับ อาบัติ สงฆ์พึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร

องค์ ๕ ของภิกษุผู้เปลี่ยนบาตร

องค์ ๕ นั้น คือ ๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ ๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะเกลียดชัง ๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะงมงาย ๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะกลัว และ ๕. รู้จักว่าทำอย่างไร เป็นอัน เปลี่ยนหรือไม่เป็นอันเปลี่ยน

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1010

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติภิกษุผู้เปลี่ยนบาตรนั้น อย่างนี้:-

วิธีสมมติภิกษุผู้เปลี่ยนบาตร

พึงขอภิกษุให้รับตกลงก่อน ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

คำสมมติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้ เป็นผู้เปลี่ยนบาตร การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด

ภิกษุมีชื่อนี้สงฆ์สมมติให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตรแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้

ภิกษุผู้รับสมมติแล้วนั้น พึงให้เปลี่ยนบาตร พึงกราบเรียนพระเถระ ว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระเถระจงเปลี่ยนบาตร ถ้าพระเถระเปลี่ยน พึง ถวายบาตรพระเถระ ให้พระทุติยเถระเปลี่ยน อันภิกษุจะไม่เปลี่ยน เพราะความสงสารภิกษุนั้นไม่ได้ ภิกษุใดไม่ยอมเปลี่ยน ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงให้ภิกษุผู้ไม่มีบาตรเปลี่ยน พึงให้เปลี่ยนเลื่อนลงมาโดยอุบายนี้แล ตลอดถึงพระสังฆนวกะ ก็แลบาตรใดเป็นใบสุดท้ายแห่งภิกษุบริษัทนั้น พึงมอบบาตรนั้น แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์นั้น ด้วยสั่งกำชับ

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1011

ว่า ดูก่อนภิกษุ นี้บาตรของเธอ พึงใช้ไปกว่าจะแตก ดังนี้ ภิกษุนั้น อย่าเก็บบาตรใบนั้นไว้ในที่อันไม่ควร อย่าใช้โดยอาการอันไม่ควร อย่า ทอดธุระว่าบาตรใบนี้จะเป็นอย่างไรก็ตาม คือ จะหาก็ช่าง จะฉิบหาย ก็ช่าง จะแตกก็ช่าง ถ้าเก็บไว้ในที่ๆ ไม่ควรก็ดี ใช้อย่างที่เขาไม่ใช้กัน ก็ดี ปล่อยทิ้งเสียก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ

บทว่า นี้เป็นสามีกรรมในเรื่องนั้น คือ นี้เป็นความถูกยิ่งใน เรื่องนั้น.

บทภาชนีย์

บาตรไม่มีแผล

[๑๓๓] ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่ไม่มีแผล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีแผล ๑ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีแผล ๒ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีแผล ๓ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีแผล ๔ แห่ง เป็นนิสสัคดีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1012

บาตรมีแผล ๑ แห่ง

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีแผล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๑ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๒ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๓ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๔ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บาตรมีแผล ๒ แห่ง

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีแผล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๑ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๒ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๓ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๔ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1013

บาตรมีแผล ๓ แห่ง

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีแผล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๑ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๒ แห่ง เป็นนิส-. สัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๓ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๔ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บาตรมีแผล ๔ แห่ง

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีแผล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๑ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๒ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๓ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๔ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1014

ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล

[๑๓๔] ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ แห่ง

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1015

ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๓ แห่ง

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1016

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๔ แห่ง

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล

[๑๓๕] ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล ขอบาตรที่ไม่มีแผล เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล ขอบาตรที่มีแผล ๑ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล ขอบาตรที่มีแผล ๒ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล ขอบาตรที่มีแผล ๓ แห่ง เป็นนิส - สัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล ขอบาตรที่มีแผล ๔ แห่ง เป็นนิส - สัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1017

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีแผล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๑ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๒ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๓ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ ขอบาตรที่มีแผล ๔ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีแผล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๑ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๒ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๓ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๔ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1018

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีแผล เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๑ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๒ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๓ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๔ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีแผล เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๑ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๒ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๓ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๔ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1019

ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล

[๑๓๖] ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1020

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรทีมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1021

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร

[๑๓๗] ภิกษุมีบาตรหาย ๑ ภิกษุมีบาตรแตก ๑ ภิกษุขอต่อญาติ ๑ ภิกษุขอต่อคนปวารณา ๑ ภิกษุขอเพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น ๑ ภิกษุ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ ต้องอาบัติแล. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๒

พรรณนาอูนปัญจพันธนสิกขาบท

อูนปัญจพันธนสิกขาบทว่า เตน สนเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว ต่อไป:- ในอูนปัญจพันธนสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1022

บทว่า น ยาเปติ มีความว่า นัยว่า ช่างหม้อนั้นถูกภิกษุฉัพพัคคีย์ เหล่านั้นรบกวนอย่างนี้ ถ้าจักไม่ได้เป็นพระอริยสาวกแล้ว คงจักถึงความ เสียใจเป็นอย่างอื่นไปก็ได้. แต่เพราะเขาเป็นโสดาบัน ตัวเองอย่างเดียว เท่านั้นไม่พอเลี้ยงชีพ. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า แม้ตนเองก็ไม่พอครองชีพ แม้บุตรภรรยาของเขาก็ลำบาก.

[อธิบายบาตรที่มีผูกหย่อน ๕ แห่งเป็นต้น]

ใน บทว่า อูนปญฺจพนฺธเนน นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- บาตรที่ ชื่อว่า มีที่ผูกหย่อน ๕ แห่ง เพราะมีแผลหย่อน ๕ แห่ง. อธิบายว่า บาตรนั้นมีแผลยังไม่ครบเต็ม ๕ แห่ง. มีบาตร มีแผลหย่อน ๕ นั้น. (บทนี้เป็น) ตติยาวิภัตติ ลงในลักษณะแห่งอิตถัมภูต, ในพากโยปัญญาส นั้น แม้บาตรยังไม่มีแผล จะมีแผลครบ ๕ แห่ง ไม่ได้ เพราะยังไม่มี โดยประการทั้งปวง; ฉะนั้น ในบทภาชนะพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า อพนฺธโน วา เป็นต้น และเพราะตรัสคำว่า มีแผลหย่อน ๕ แห่ง ดังนี้ ภิกษุใดมีบาตรมีแผลครบ ๕ แห่ง. บาตรนั้นของภิกษุนั้น ไม่จัด เป็นบาตร; เพราะฉะนั้น จึงควรขอบาตรใหม่ได้. ก็เพราะขึ้นชื่อว่าแผล นี้เมื่อมีท่าจะมีแผล จึงมีได้ เมื่อไม่มีท่าจะมีแผล ก็ไม่มี; ฉะนั้น เพื่อ จะทรงแสดงลักษณะแห่งผลนั้น จึงตรัสคำว่า อพนฺธโนกาโส นาม เป็นต้น.

คำว่า ทฺวงฺคุลราชิ น โหติ ได้แก่ ไม่มีรอยร้าวแม้รอยเดียว ยาว ประมาณสององคุลี ภายใต้ขอบปาก.

คำว่า ยสฺส ทฺวงฺคุลราชิ โหติ มีความว่า บาตรที่มีรอยร้าวรอย

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1023

เดียวเช่นนี้ พึงเอาเหล็กเจาะบาตร เจาะที่สุดริมล่างของรอยร้าวนั้น ระบมแล้วผูกรัดด้วยเชือกด้าย และเชือกปอเป็นต้น หรือด้วยลวดดีบุก. พึงอุดแผลนั้นด้วยแผ่นดีบุก หรือด้วยยางสำหรับติดบางอย่างเพื่อกัน อามิสติด. และบาตรนั้นพึงอธิษฐานไว้ใช้เถิด. อนึ่ง พึงผูกทำช่องให้ เล็ก. แต่จะยาด้วยขี้ผึ้ง ครั่ง และยางสนเป็นต้นล้วนๆ ไม่ควร. จะ เคี่ยวน้ำอ้อยด้วยผงหิน ควรอยู่. แต่บาตรที่ภิกษุเอาเหล็กเจาะบาตร เจาะ ในที่ใกล้ขอบปาก จะแตก เพราะแผ่นเหล็กหนา; เพราะฉะนั้น จึง ควรเจาะข้างล่าง. แต่สำหรับบาตรที่มีรอยร้าว ๒ แห่ง หรือเพียงแห่ง เดียวแต่ยาวถึง ๔ องคุลี ควรให้เครื่องผูก ๒ แห่ง. พึงให้เครื่องผูก ๓ แห่งแก่บาตรที่มีรอยร้าว ๓ แห่ง หรือมีเพียงแห่งเดียว แต่ยาวถึง ๖ องคุลี. พึงให้เครื่องผูก ๔ แห่ง แก่บาตรที่มีรอยร้าว ๔ แห่ง หรือมี เพียงแห่งเดียวแต่ยาวถึง ๘ องคุลี บาตรที่รอยร้าว ๕ แห่ง หรือมีเพียง แห่งเดียวแต่ยาวถึง ๑๐ องคุลี จะผูกก็ตาม ไม่ผูกก็ตาม ไม่จัดเป็นบาตร เลย, ควรขอบาตรใหม่. นี้เป็นวินิจฉัยในบาตรดินก่อน.

ส่วนวินิจฉัยในบาตรเหล็ก พึงทราบดังต่อไปนี้:- ถ้าแม้นมีช่อง ทะลุ ๕ แห่ง หรือเกินกว่า, และช่องทะลุเหล่านั้นอุดด้วยผงเหล็กด้วย หมุด หรือด้วยก้อนเหล็กกลมๆ เป็นของเกลี้ยงเกลา, ควรใช้สอยบาตร นั้นนั่นแล, ไม่ควรขอบาตรใหม่. แต่ถ้ามีช่องทะลุแม้ช่องเดียว แต่เป็น ช่องใหญ่, แม้อุดด้วยก้อนเหล็กกลมๆ ก็ไม่เกลี้ยงเกลา, อามิสติดที่บาตร ได้ เป็นอกัปปิยะ, บาตรนี้ ไม่ใช่บาตร ควรขอบาตรใหม่ได้.

สองบทว่า เถโร วตฺตพฺโพ มีความว่า ภิกษุแสดงอานิสงส์ใน

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1024

บาตรแล้ว พึงเรียนพระเถระว่า ท่านขอรับ! บาตรใบนี้มีขนาดถูกต้อง สวยดี สมควรแก่พระเถระ, ขอท่านโปรดรับบาตรนั้นไว้เถิด.

สองบทว่า โย น คณฺเหยฺย มีความว่า เมื่อพระเถระไม่รับไว้ เพื่ออนุเคราะห์เป็นทุกกฏ. แต่เพราะความสันโดษ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ไม่รับด้วยคิดว่า จะมีประโยชน์อะไรแก่เราด้วยบาตรใบอื่น.

บทว่า ปตฺตปริยนฺโต ได้แก่ บาตรที่เปลี่ยนกันอย่างนี้ตั้งอยู่ท้าย สุด.

บทว่า อเทเส มีความว่า ภิกษุนั้นไม่พึงเก็บบาตรใบนั้นไว้ในที่ ไม่ควร มีเตียงตั้งร่มไม้ฟันนาคเป็นต้น. พึงเก็บไว้ในที่ที่ตนเก็บบาตรดี ใบก่อนไว้นั่นแล. ความจริง ที่เก็บบาตร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ แล้วในขันธกะนั่นแลโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราอนุญาต เชิงรองบาตร ดังนี้. บทว่า น อโภเคน คือ ไม่พึงใช้บาตรโดยการใช้ไม่สมควร มี การต้มข้าวต้มและต้มน้ำย้อมเป็นต้น. แต่เมื่อเกิดอาพาธในระหว่างทาง เมื่อภาชนะอื่นไม่มี จะเอาดินเหนียวพอกแล้วต้มข้าวต้ม หรือต้มน้ำร้อน ควรอยู่.

บทว่า น วิสฺสชฺเชตพฺโพ มีความว่า ไม่ควรให้แก่คนอื่น. แต่ ถ้าว่า สัทธิวิหาริกหรืออันเตวาสิกวางบาตรที่ดีใบอื่นไว้แทนถือเอาไปด้วย คิดว่า บาตรนี้ ควรแก่เรา, บาตรนี้ควรแก่พระเถระ ดังนี้ ควรอยู่. หรือภิกษุอื่นถือเอาบาตรใบนั้นแล้วถวายบาตรของตน ก็ควร. ไม่มีกิจที่ ต้องกล่าวว่า เธอจงเอาบาตรของเรานั่นแหละมา.

ก็ในบทว่า ปวาริตานํ มีอธิบายว่า ในกุรุนทีท่านกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1025

ภิกษุมีบาตรเป็นแผลเพียง ๕ แห่ง จะขอบาตรใหม่ในที่ที่เขาปวารณาไว้ ด้วยอำนาจแห่งสงฆ์ ควรอยู่, ถึงมีบาตรเป็นแผลหย่อน ๕ แห่ง จะขอ ในที่ที่เขาปวารณาไว้ด้วยอำนาจแห่งบุคคล ก็ควร ดังนี้. คำที่เหลือใน สิกขาบทนี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล. อูนปัญจพันธนสิกขาบท จบ

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระปิลินทวัจฉเถระ

[๑๓๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิตคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน พระปิลินทวัจฉะกำลังให้คนชำระเงื้อมเขาในเขตพระนครราชคฤห์ ประสงค์จะทำเป็นสถานที่เร้น

ขณะนั้น พระเจ้าพิมพิสาร จอมพลมคธรัฐ เสด็จเข้าไปหาท่าน พระปิลินทวัจฉะถึงสำนัก ทรงอภิวาทแล่งประทับนั่งเหนือพระราชอาสน์ อันควรส่วนข้างหนึ่ง ได้ตรัสถามท่านพระปิลินทวัจฉะว่า ข้าแด่พระคุณเจ้า พระเถระกำลังให้เขาทำอะไรอยู่

ท่านพระปิลินทวัจฉะถวายพระพรว่า อาตมภาพกำลังให้เขาชำระ เงื้อมเขาประสงค์จะทำเป็นสถานที่เร้น ขอถวายพระพร

พิ. พระคุณเจ้าจะต้องการคนทำการวัดบ้างไหม

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1026

ปิ. ขอถวายพระพร คนทำการวัด พระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่ทรง อนุญาต

พิ. ถ้าเช่นนั้น โปรดทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วบอกให้ ข้าพเจ้าทราบ

ท่านพระปิลินทวัจฉะทูลสนองพระบรมราชโองการว่า ได้ ขอถวาย พระพร แล้วชี้แจงให้พระเจ้าพิมพิสาร จอมพลมคธรัฐ ทรงสมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว

ลำดับนั้นแล พระเจ้าพิมพิสาร จอมพลมคธรัฐ อันท่านพระปิลินทวัจฉะชี้แจงให้ทรงสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากพระราชอาสน์ ทรงอภิวาที่ท่านพระปิลินทวัจฉะ ทรงทำ ประทักษิณแล้วเสด็จกลับ

หลังจากนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะส่งสมณทูตไปในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระเจ้าพิมพิสาร จอม พลมคธรัฐ มีพระราชประสงค์จะทรงถวายคนทำการวัด ข้าพระพุทธเจ้า จะพึงปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า

ทรงอนุญาตให้มีคนทำการวัด

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น ทรงกระทำธรรมีกถา แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มีคน ทำการวัด

พระเจ้าพิมพิสาร จอมพลมคธรัฐ เสด็จเข้าไปหาท่านพระปิลินทวัจ- ฉะ ถึงสำนักเป็นคำรบสอง ทรงอภิวาทแล้ว ประทับนั่งเหนือพระอาสน์อัน

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1027

ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วตรัสถามท่านพระปิลินทวัจฉะว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า คนทำการวัด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้วหรือ

ท่านพระปิลินทวัจฉะถวายพระพรว่า ขอถวายพระพร ทรงอนุญาต แล้ว

พระเจ้าพิมพิสาร จอมพลมคธรัฐ ทรงรับปฏิญาณถวายคนทำการวัด แก่ท่านพระปิลินทวัจฉะว่า ถ้าเช่นนั้น ข้าพเจ้าจักถวายคนทำการวัดแก่ พระคุณเจ้าดังนี้แล้วทรงลืมเสีย ต่อนานมาทรงระลึกได้ จึงตรัสถาม มหาอำมาตย์ผู้สำเร็จราชกิจทั้งปวงผู้หนึ่งว่า พนาย คนทำการวัดที่เราได้ รับปฏิญาณจะถวายแก่พระคุณเจ้านั้น เราได้ถวายไปแล้วหรือ

มหาอำมาตย์กราบทูลว่า ขอเดชะ ยังไม่ได้พระราชทาน พระพุทธเจ้าข้า

พระราชาตรัสถามว่า จากวันนั้นมา นานกี่ราตรีแล้ว พนาย

ท่านมหาอำมาตย์นับราตรีแล้วกราบทูลในทันใดนั้นแลว่า ขอเดชะ ๕๐๐ ราตรี พระพุทธเจ้าข้า

พระราชารับสั่งว่า พนาย ถ้าเช่นนั้นจงถวายท่านไป ๕๐๐ คน.

ท่านมหาอำมาตย์รับสนองพระบรมราชโองการว่า พระพุทธเจ้าข้า แล้วได้จัดคนทำการวัดไปถวายพระปิลินทวัจฉะ ๕๐๐ คน หมู่บ้านของ คนทำการวัดพวกนั้น ได้ตั้งอยู่แผนกหนึ่ง คนทั้งหลายเรียกตำบลบ้าน นั้นว่า ตำบลบ้านอารามิกบ้าง ตำบลบ้านปิลินทวัจฉะบ้าง.

[๑๓๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระปิลินทวัจฉะ ได้เป็นพระกุลุปกะ ในหมู่บ้านตำบลนั้น ครั้นเช้าวันหนึ่ง ท่านครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตร จีวรเข้าไปบิณฑบาตยังตำบลบ้านปิลินทวัจฉะ สมัยนั้น ในตำบลบ้านนั้น

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1028

มีมหรสพ พวกเด็กๆ ตกแต่งกายประดับดอกไม้ เล่นมหรสพอยู่ พอดี ท่านพระปิลินทวัจฉะเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกปิลินทวัจฉะ ได้ เข้าไปถึงเรือนคนทำการวัดผู้หนึ่ง ครั้นแล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย

ขณะนั้น ธิดาของสตรีผู้ทำการวัดนั้น เห็นเด็กๆ พวกอื่นตกแต่ง กายประดับดอกไม้แล้วร้องอ้อนว่า จงให้ดอกไม้แก่ข้าพเจ้า จงให้ เครื่องตกแต่งกายแก่ข้าพเจ้า

ท่านพระปิลินทวัจฉะจึงถามสตรีผู้ทำการวัดคนนั้นว่า เด็กหญิงคนนี้ ร้องอ้อนอยากได้อะไร

นางกราบเรียนว่า ท่านเจ้าข้า เด็กหญิงคนนี้เห็นเด็กๆ พวกอื่น ตกแต่งกายประดับดอกไม้ จึงร้องอ้อนขอว่า จงให้ดอกไม้แก่ข้าพเจ้า จงให้เครื่องตกแต่งกายแก่ข้าพเจ้า ดิฉันบอกว่า เราเป็นคนจน จะได้ ดอกไม้มาจากไหน จะได้เครื่องแต่งกายมาจากไหน

ขณะนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะ หยิบหมวกฟางใบหนึ่งส่งให้แล้ว กล่าวว่า เจ้าจงสวมหนวกฟางนี้ลงที่ศีรษะเด็กหญิงนั้น ทันใดนางได้รับ หมวกฟางนั้นสวมลงที่ศีรษะเด็กหญิงนั้น หมวกฟางนั้นได้กลายเป็น ระเบียบดอกไม้ทองคำ งดงามน่าดูน่าชม ระเบียบดอกไม้ทองคำเช่นนั้น แม้ในพระราชสถานก็ไม่มี

ชาวบ้านกราบทูลแด่พระเจ้าพิมพิสาร จอมพลมคธรัฐว่า ขอเดชะ ระเบียบดอกไม้ทองคำที่เรือนของคนทำการวัดชื่อโน้น งดงาม น่าดู น่าชม แม้ในพระราชสถานก็ไม่มี เขาเป็นคนเข็ญใจจะได้มาแต่ไหน เป็นต้อง ได้มาด้วยโจรกรรมเป็นแน่นอน

ท้าวเธอจึงรับสั่งให้จองจำตระกูลคนทำการวัดนั้น

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1029

ครั้นเช้าวันที่ ๒ ท่านพระปิลินทวัจฉะครองอันตรวาสกแล้ว ถือ บาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตถึงตำบลบ้านปิลินทวัจฉะ เมื่อเที่ยวบิณฑบาต ไปตามลำดับตรอกในบ้านปิลินทวัจฉะ ได้เดินผ่านไปทางเรือนคนทำการ วัดผู้นั้น ครั้นแล้วได้ถามคนที่เขาดุ้นกันว่า ตระกูลคนทำการวัดนี้ไป ไหนเสีย

คนพวกนั้นกราบเรียนว่า เขาถูกจองจำเพราะเรื่องระเบียบดอกไม้ ทองคำนั้น เจ้าข้า

ทันใดนั้นแล ท่านพระปิลินทวัจฉะได้เข้าไปสู่พระราชนิเวศน์นั่ง เหนืออาสนะที่เขาจัดถวาย

ขณะนั้น พระเจ้าพิมพิสาร จอมพลมคธรัฐ เสด็จเข้าไปหาท่าน พระปิลินทวัจฉะ ทรงอภิวาทแล้ว ประทับนั่งเหนือพระราชอาสน์ อัน ควรส่วนข้างหนึ่ง

ท่านพระปิลินทวัจฉะได้ทูลถามพระเจ้าพิมพิสาร จอนพลมคธรัฐ ผู้ประทับนั่งเรียบร้อยแล้วดังนี้ว่า ขอถวายพระพร ตระกูลคนทำการวัด ถูกรับสั่งให้จองจำด้วยเรื่องอะไร

พระเจ้าพิมพิสารตรัสว่า ข้าแด่พระคุณเจ้า เพราะที่เรือนของเขา มีระเบียบดอกไม้ทองคำอย่างงดงาม น่าดู น่าชม แม้ที่ในวังก็ยังไม่มี เขาเป็นคนจนจะได้มาแต่ไหน เป็นต้องได้มาด้วยโจรกรรมเป็นแน่นอน

ขณะนั้นแล ท่านพระปิลินทวัจฉะได้อธิษฐานปราสาทของพระเจ้า พิมพิสาร จอมพลมคธรัฐว่า จงเป็นทอง ปราสาทนั้นได้กลายเป็นทอง ไปทั้งหมดแล้วได้ถวายพระพรทูลถามว่า ขอถวายพระพร ก็นี่ทองมากมาย เท่านั้น มหาบพิตรได้มาแต่ไหน

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1030

ข้าพเจ้าทราบแล้ว นี้เป็นอิทธานุภาพของพระคุณเจ้า พระเจ้า พิมพิสารตรัสดังนี้แล้ว รับสั่งให้ปล่อยตระกูลคนทำวัดนั้นพ้นพระราชอาญา.

[๑๔๐] ชาวบ้านทราบข่าวว่า ท่านพระปิลินทวัจฉะแสดงอิทธิ- ปาฏิหาริย์ซึ่งเป็นธรรนอันยิ่งของมนุษย์ในบริษัทพร้อมทั้งพระราชา ต่าง พากันยินดีเลื่อมใสโดยยิ่ง แล้วได้นำเภสัชห้า คือเนยใส เนยขึ้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย มาถวายท่านพระปิลินทวัจฉะ แม้ตามปกติท่านก็ได้เภสัช ห้าอยู่เสมอ ท่านจึงแบ่งเภสัชที่ใดๆ มาถวายบริษัท แต่บริษัทของท่าน เป็นผู้มักมาก เก็บเภสัชที่ใดๆ มาไว้ในกระถางบ้าง ในหม้อน้ำบ้าง จนเต็ม แล้วบรรจุลงในหม้อกรองน้ำบ้าง ในถุงย่ามบ้าง แขวนไว้ ที่หน้าต่าง เภสัชเหล่านั้นก็เยิ้มซึม แม้จำพวกหนูก็เกลื่อนกล่นไปทั่ววิหาร ชาวบ้านที่เดินเที่ยวชมไปตามวิหารพบเข้า ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนา ว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ มีเรือนคลังในภายในเหมือน พระเจ้าพิมพิสาร จอมพลมคธรัฐ

ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงพอใจ ในความมักมากเช่นนี้เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1031

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุทั้งหลายพอใจในความ มักมากเช่นนี้ จริงหรือ

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ กระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้พอใจความมักมากเช่นนี้เล่า การกระทำของโมฆบุรุษนั้นนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของภิกษุ โมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

ทรงบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นโดยอเนกปริยาย ดังนี้ แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความ เป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำ ธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุ ทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1032

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหดุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับ ว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอัน จะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือ ตามพระวินัย ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๔๒. ๓. อนึ่ง มีเภสัชอันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ภิกษุรับประเคนของนั้นแล้ว พึงเก็บ ไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. เรื่องพระปิลินทวัจฉเถระ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๔๑] คำว่า มีเภสัชอันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธ เป็นต้น มี อธิบายดังต่อไปนี้:-

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1033

ที่ชื่อว่า เนยใส ได้แก่ เนยใสที่ทำจากน้ำมันโคบ้าง น้ำนมแพะ บ้าง น้ำมันกระบือบ้าง มังสะของสัตว์เหล่าใดเป็นของควร เนยใสที่ทำ จากน้ำนมสัตว์เหล่านั้น ก็ใช้ได้

ที่ชื่อว่า เนยข้น ได้แก่ เนยข้นที่ทำจากน้ำนมสัตว์เหล่านั้นแล

ที่ชื่อว่า น้ำมัน ได้แก่ น้ำมันอันสกัดออกจากเมล็ดงาบ้าง จาก เมล็ดพันธุ์ผักกาดบ้าง จากเมล็ดมะซางบ้าง จากเมล็ดละหุ่งบ้าง จาก เปลวสัตว์บ้าง

ที่ชื่อว่า น้ำผึ้ง ได้แก่ รสหวานที่แมลงผึ้งทำ

ที่ชื่อว่า น้ำอ้อย ได้แก่ รสหวานที่เกิดจากอ้อย

คำว่า ภิกษุรับประเคนของนั้นแล้ว พึงเก็บไว้ฉันได้ ๗ วัน เป็นอย่างยิ่ง คือเก็บไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างมาก คำว่า ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคีย์ ความว่า เมื่อ อรุณที่ ๘ ขึ้นมา เภสัชนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละเภสัชนั้นอย่างนี้:-

วิธีเสียสละ

เสียสละแก่สงฆ์

ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านเจ้าข้า เภสัชนี้ของข้าพเจ้าล่วง ๗ วัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละเภสัชนี้แก่สงฆ์

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1034

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนเภสัช ที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจาดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า เภสัชนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึง ที่แล้ว สงฆ์พึงให้เภสัชนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้

เสียสละแก่คณะ

ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านเจ้าข้า เภสัชนี้ของข้าพเจ้าล่วง ๗ วัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละเภสัชนี้แก่ท่านทั้งหลาย

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนเภสัชที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า เภสัชนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของ

ท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้เภสัชนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.

เสียสละแก่บุคคล

ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งเท้าประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านเจ้าข้า เภสัชนี้ของข้าพเจ้าล่วง ๗ วัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละเภสัชนี้แก่ท่าน

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1035

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนเภสัชที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้เภสัชนี้แก่ท่าน ดังนี้.

บทภาชนีย์

นิสสัคคิยปาจิตตีย์

[๑๔๒] เภสัชล่วง ๗ วันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าล่วงแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เภสัชล่วง ๗ วันแล้ว ภิกษุสงสัย เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เภสัชล่วง ๗ วันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ล่วง เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์

เภสัชยังไม่ได้ผูกใจ ภิกษุสำคัญว่าผูกใจแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์

เภสัชยังไม่ได้แจกจ่ายให้ไป ภิกษุสำคัญว่าแจกจ่ายไปแล้ว เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เภสัชยังไม่สูญหายไป ภิกษุสำคัญว่าสูญหายไปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เภสัชยังไม่เสีย ภิกษุสำคัญว่าเสียแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์

เภสัชยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เภสัชยังไม่ถูกชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกชิงไปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1036

[๑๔๓] เภสัชที่เสียสละแล้ว ภิกษุนั้นได้คืนมา ไม่พึงใช้ด้วยกิจที่ เกี่ยวกับกาย และไม่ควรฉัน พึงน้อมเข้าไปในการตามประทีป หรือใน การผสมสี ภิกษุอื่นจะใช้ด้วยกิจที่เกี่ยวกับกายได้อยู่ แต่ไม่ควรฉัน

ทุกกฏ

เภสัชยังไม่ล่วง ๗ วัน ภิกษุสำคัญว่าล่วงแล้ว ... ต้องอาบัติทุกกฏ เภสัชยังไม่ล่วง ๗ วัน ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ

เภสัชยังไม่ล่วง ๗ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ล่วง ๗ วัน ... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๑๔๔] ภิกษุผูกใจไว้ว่าจะไม่บริโภค ๑ ภิกษุแจกจ่ายให้ไป ๑ เภสัชนั้นสูญหาย ๑ เภสัชนั้นเสีย ๑ เภสัชนั้นถูกไฟไหม้ ๑ เภสัชนั้น ถูกโจรชิงไป ๑ ภิกษุถือวิสาสะ ๑ ในภายในเจ็ดวัน ภิกษุให้แก่อนุปสัมบันด้วยจิตคิดสละแล้ว ทิ้งแล้ว ปล่อยแล้ว ไม่ห่วงใย กลับได้คืนมา ฉันได้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๓

พรรณนาเภสัชชสิกขาบท

เภสัชชสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว ต่อไป:- ในเภสัชชสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1037

[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระปิลินทวัจฉะ]

พระราชาทอดพระเนตรเห็นภิกษุทั้งหลาย ขวนขวายชำระเงื้อมเขา เพื่อประโยชน์เป็นที่เร้น ของพระเถระ มีพระราชประสงค์จะถวายคน ทำการวัด จึงได้ตรัสถามว่า อตฺโถ ภนฺเต เป็นต้น.

บทว่า ปาฏิเยกฺโก แปลว่า เป็นหมู่บ้านหนึ่งต่างหาก.

บทว่า มาลากิเต ได้แก่ ผู้ทำระเบียบดอกไม้ คือ ทรงไว้ซึ่ง ระเบียบดอกไม้. อธิบายว่า ประดับด้วยระเบียบดอกไม้.

บทว่า ติณณฺฑูปกํ แปลว่า เทริดหญ้า (หมวกฟาง).

บทว่า ปฏิมุญฺจิ แปลว่า สวมไว้ (บนศีรษะ).

ข้อว่า สา อโหสิ สุวณฺณมาลา มีความว่า หมวกฟางนั้น พอ สวมบนศีรษะของเด็กหญิงเท่านั้น ได้กลายเป็นระเบียบดอกไม้ทองคำ ด้วยอำนาจแห่งการอธิษฐานของพระเถระ. จริงอยู่ พระเถระอธิษฐาน หมวกฟางนั้น ซึ่งพอวางลงบนศีรษะนั่นแลว่า จงกลายเป็นระเบียบ ดอกไม้ทองคำ.

คำว่า หุติยมฺปิ โขฯ เปฯ อุปสงฺกมิ ได้แก่ พระเถระได้ไป หาในวันรุ่งขึ้นนั่นแหละ.

สองบทว่า สุวณฺณนติ อธิมุจฺจิ ได้แก่ พระเถระได้อธิษฐานว่า จงสำเร็จเป็นทองคำ.

สองบทว่า ปญฺจนฺนํ เภสชฺชานํ ได้แก่ เภสัช ๕ มีเนยใส เป็นต้น.

บทว่า พาหุลฺลิกา ได้แก่ ผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นผู้มักมากด้วย ปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1038

ในคำว่า โกลุมฺเพปิ ฆเฏปิ นี้ กระถางปากกว้างเรียกชื่อว่า โกลุมพะ.

บทว่า โอลีนวิลีนานิ ได้แก่ เยิ้มหยดลงภายใต้ และที่ข้างทั้งสอง.

บทว่า โอกิณฺณวิกิณฺณา มีความว่า พวกหนูขุดพื้นดินเกลื่อน. และกัดฝาผนัง วิ่งพลุกพล่านไปมาข้างบนเกลื่อนกล่น เพราะกลิ่นแห่ง เภสัช ๕ มีเนยใสเป็นต้น.

บทว่า อนฺโตโกฏฺาคาริกา ได้แก่ มีเรือนคลังจัดแจงไว้ ณ ภายใน.

บทว่า ปฏิสายนียานิ ได้แก่ อันควรลิ้ม. อธิบายว่า ควร บริโภค.

บทว่า เภสชฺชานิ มีความว่า เภสัชทั้งหลาย จะทำกิจแห่งเภสัช หรือไม่ก็ตาม ก็ได้โวหาร (ว่าเภสัช) อย่างนี้.

ด้วยบทว่า โคสปฺปิ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเนยใส ที่ปรากฏในโลก แล้วทรงแสดงสงเคราะห์เอาเนยใสแม้แห่งสัตว์เหล่าอื่น มีมฤค ละมั่ง และกระต่ายเป็นต้น เข้าด้วยคำว่า เยสํ มํสํ กปฺปติ นี้. แท้จริง สัตว์เหล่าใดมีน้ำนม, สัตว์เหล่านั้นก็มีเนยใสด้วย. แต่เนยใส ของสัตว์เหล่านั้น จะหาได้ง่ายหรือหาได้ยากก็ตามที ก็ตรัสไว้ เพื่อความ ไม่งมงาย. ถึงเนยขึ้น ก็อย่างนั้น.

[อธิบายวิธีปฏิบัติในการรับประเคนเภสัชต่างๆ]

สองบทว่า สนฺนิธิการกํ ปริภุญฺชิตพฺพานิ มีความว่า พึงกระทำ การสั่งสม คือ เก็บไว้บริโภค. อย่างไร? คือ บรรดาเภสัชมีเนยใส

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1039

เป็นต้น ที่มาในพระบาลี จะกล่าวถึงเนยใสก่อน ที่ภิกษุรับประเคน ก่อนฉัน ควรจะฉันเจืออามิสก็ได้ ปราศจากอามิสก็ได้ ในเวลาก่อนฉัน ในวันนั้น. ตั้งแต่ภายหลังฉันไป พึงฉันปราศจากอามิสได้ตลอด ๗ วัน. แม้เพราะล่วง ๗ วันไป ถ้าภิกษุเก็บไว้ในภาชนะเดียว เป็นนิสสัคคีย์ ตัวเดียว. ถ้าเก็บไว้ในภาชนะมากหลาย เป็นนิสสัคคีย์หลายตัว ตาม จำนวนวัตถุ.

เนยใสที่ภิกษุรับประเคนภายหลังฉัน ควรฉันได้ไม่เจืออามิสเลย ตลอด ๗ วัน. ภิกษุจะกลืนกินเนยใสที่ตนทำให้เป็นอุคคหิตก์ เก็บไว้ใน เวลาก่อนฉัน หรือหลังฉัน ย่อมไม่ควร. พึงน้อมไปใช้ในกิจอื่นมีการ ใช้ทาเป็นต้น. แม้เพราะล่วง ๗ วันไป ก็ไม่เป็นอาบัติ เพราะถึงความ เป็นของไม่ควรกลืนกิน. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า เป็นของควรลิ้ม.

ถ้าอนุปสัมบันทำเนยใสด้วยเนยข้นที่รับประเคนไว้ ในเวลาก่อน ฉันถวาย, จะฉันกับอามิสในเวลาก่อนฉัน ควรอยู่. ถ้าภิกษุทำเอง, ฉัน ไม่เจืออามิสเลย ย่อมควรแม้ตลอด ๗ วัน. แต่เนยใสที่บุคคลใดคนหนึ่ง ทำด้วยเนยข้นที่รับประเคนในเวลาหลังฉัน ควรฉันได้ไม่เจืออามิสตลอด ๗ วันเหมือนกัน.

[อธิบายวิธีปฏิบัติในเนยใสและเนยข้น]

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยในเนยใสที่ทำด้วยเนยข้น (ซึ่งภิกษุทำให้) เป็นอุคคหิตก์ โดยนัยแห่งเนยใสล้วนๆ ดังที่กล่าวแล้วในก่อนนั้นแล. เนยใสทำด้วยนมสดที่ภิกษุรับประเคนไว้ก่อนฉันก็ดี ด้วยนมส้มก็ดี ที่

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1040

อนุปสัมบันทำ ควรฉันได้ แม้เจืออามิส ในเวลาก่อนฉันวันนั้น. ที่ ภิกษุทำเอง ควรฉันปราศจากอามิสอย่างเดียว, ในภายหลังฉันไม่ควร.

จริงอยู่ เมื่อภิกษุอุ่นเนยข้น ไม่จัดเป็นสามปักกะ. แต่จะฉัน อามิสกับด้วยเนยข้นนั้นที่เป็นสามปักกะ ย่อมไม่ควร. ตั้งแต่หลังฉันไป ก็ไม่ควรเหมือนกัน. ไม่เป็นอาบัติ แม้ในเพราะล่วง ๗ วันไป เพราะ รับประเคนทั้งวัตถุ. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า รับประเคนเภสัชเหล่านั้นแล้ว เป็นต้น, แต่เนยใสที่ทำด้วยนมสดและนมส้มที่ภิกษุรับประเคนในเวลาฉัน ควรน้อมไปใช้ในกิจมีการทาตัวเป็นต้น. เนยใสที่ทำด้วยนมสดนมส้มซึ่ง เป็นอุคคหิตก์ แม้ในเวลาก่อนฉัน (ก็ควรน้อมเข้าไปใช้ในกิจมีการทาตัว เป็นต้น). ไม่เป็นอาบัติ แม้เพราะเนยใสทั้งสองอย่าง ๗ วันไป. ในเนย ใสของพวกสัตว์ที่มีมังสะเป็นอกัปปิยะ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. แต่มี ความแปลกกันดังต่อไปนี้:-

เป็นนิสสัคคีย์ ด้วยเนยข้นและเนยใสที่มาแล้วในพระบาลีใด, ใน พระบาลีนั้น เป็นทุกกฏด้วยเนยใสของพวกสัตว์ที่มีมังสะเป็นกัปปิยะนี้. ในอรรถกถาอันธกะ ท่านคัดค้านเนยใสและเนยข้นของมนุษย์ไว้ทำให้ สมควรแก่เหตุ. เนยใสและเนยข้นของมนุษย์นั้น ท่านคัดค้านไว้ไม่ชอบ เพราะพระอาจารย์ทั้งหลาย อนุญาตไว้ในอรรถกถาทั้งปวง. และแม้การ วินิจฉัยเนยใสและเนยข้นของมนุษย์นั้น จักมาข้างหน้า. แม้เนยข้นที่มา แล้วในพระบาลี ภิกษุรับประเคนในเวลาก่อนฉัน จะฉันแม้เจือกับ อามิสในเวลาก่อนฉันในวันนั้น ควรอยู่, ตั้งแต่ภายหลังฉันไป ไม่เจือ อามิสเลย จึงควร. เพราะล่วง ๗ วันไป ในเนยข้นที่เก็บไว้ในภาชนะ ต่างๆ กัน เป็นนิสสัคคีย์ ตามจำนวนภาชนะ, ในเนยข้นที่เก็บไว้อย่าง

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1041

เป็นก้อนๆ ไม่คละกัน แม้ในภาชนะเดียว ก็เป็นนิสสัคคีย์ ตามจำนวน ก้อน. เนยข้นที่ภิกษุรับประเคนไว้ในเวลาหลังฉัน ผู้ศึกษาพึงทราบโดย นัยแห่งเนยใสเหมือนกัน.

ส่วนความแปลกกันในเนยข้นนี้ มีดังนี้:- ก้อนนมส้มบ้าง หยาด เปรียงบ้าง มีอยู่; เพราะฉะนั้น พวกพระเถระจำนวนครึ่ง จึงได้กล่าวว่า ที่ฟอกแล้วจักควร. ส่วนพระมหาสีวเถระกล่าวว่า ตั้งแต่เวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว เนยข้นพอยกขึ้นจากเปรียงเท่านั้น ภิกษุ ทั้งหลายขบฉันได้. เพราะเหตุนั้น ภิกษุจะฉันเนยขึ้นพึงชำระ คือตักเอา นมส้ม เปรียงแมลงวัน และมดแดงเป็นต้นออกแล้วฉันเถิด. ภิกษุใคร่ จะเจียวให้เป็นเนยใสฉัน จะเจียวแม้เนยข้นที่ยังไม่ฟอกก็ควร. ในเนยขึ้น นั้นสิ่งใดที่เป็นนมส้มก็ดี ที่เป็นเปรียงก็ดี สิ่งนั้นจักถึงความหมดสิ้นไป. ก็ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ยังไม่ชื่อว่ารับประเคนพร้อมทั้งวัตถุ อธิบายดังกล่าว มานี้ เป็นอธิบายในคำของพระมหาสีวเถระนี้. แต่ภิกษุทั้งหลายผู้มัก รังเกียจ ย่อมรังเกียจแม้ในเนยข้นที่เจียวนั้น เพราะเจียวพร้อมทั้งอามิส.

บัดนี้ ผู้ศึกษาพึงถือเอานัยแห่งอาบัติ อนาบัติ การบริโภค และไม่ บริโภคในเนยข้นที่จับต้องแล้วเก็บไว้ ในเนยข้นที่ภิกษุรับประเคนนมสด และนมส้มก่อนฉันแล้วทำ ในเนยข้นที่ภิกษุรับประเคนนมสดนมส้มนั้น ในภายหลังฉันแล้วทำ ในเนยข้นที่ทำด้วยนมสดและนมส้ม ที่เป็นอุคคหิตก์ และในเนยข้นของพวกสัตว์ที่มีมังสะเป็นอกัปปิยะ ทั้งหมดโดยลำดับดัง กล่าวแล้วในเนยใสนั่นแล. พวกชาวบ้าน ย่อมเทซึ่งเนยใสบ้าง เนยข้น บ้าง น้ำมันที่เคี่ยวแล้วบ้าง น้ำมันที่ยังไม่ได้เคี่ยวบ้าง ลงในเนยใสนั้น นั่นเอง ของภิกษุทั้งหลายผู้เข้าไป เพื่อภิกษาน้ำมัน. หยาดเปรียงและ

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1042

นมส้มบ้าง เมล็ดข้าวสุกบ้าง รำข้าวสารบ้าง จำพวกแมลงวันเป็นต้นบ้าง มีอยู่ในเนยใสนั้น. เนยใสนั้น ภิกษุทำให้สุกด้วยแสงแดดแล้วกรองเอาไว้ จัดเป็นสัตตาหกาลิก.

ก็การที่ภิกษุจะเคี่ยวกับเภสัชที่รับประเคนไว้ แล้วทำการนัตถุ์เข้า ทางจมูก ควรอยู่. ถ้าในสมัยฝนพรำ สามเณรผู้ลัชชี เมื่อจะเปลื้องการ หุงต้มอามิสให้พ้นไป อย่างที่พวกภิกษุไม่หุงต้มข้าวสารและรำเป็นต้น ที่ตกลงไปในเนยใสนั้น ทำให้ละลายในไฟแล้วกรองไว้ เจียวถวายใหม่ ย่อมควรตลอด ๗ วัน โดยนัยก่อนเหมือนกัน.

[อธิบายวิธีปฏิบัติในเภสัช คือน้ำมัน]

บรรดาจำพวกน้ำมัน จะว่าถึงน้ำมันงาก่อน ที่รับประเคนก่อน ฉัน แม้เจืออามิส ย่อมควร ในเวลาก่อนฉัน. ตั้งแต่หลังฉันไปปราศจาก อามิสเท่านั้นจึงควร. ผู้ศึกษา พึงทราบความที่น้ำมันงานั้นเป็นนิสสัคคีย์ ด้วยจำนวนภาชนะ เพราะล่วง ๗ วันไป. น้ำมันงาที่รับประเคนภายหลังฉัน ปราศจากอามิสเท่านั้น จึงควร ตลอด ๗ วัน. จะดื่มกินน้ำมันงาที่ทำ ให้เป็นอุคคหิตก์เก็บไว้ไม่ควร. ควรน้อมเข้าไปในกิจมีการทาศีรษะ เป็นต้น. แม้ในเพราะล่วง ๗ วันไป ก็ไม่เป็นอาบัติ. น้ำมันที่ภิกษุรับ ประเคน เมล็ดงาในปุเรภัตทำ เจืออามิสย่อมควร ในปุเรภัต. ตั้งแต่ ปัจฉาภัตไปเป็นของไม่ควรกลืนกิน. พึงน้อมไปในกิจมีการทาศีรษะ เป็นต้น. แม้ในเมื่อล่วง ๗ วันไป ก็ไม่เป็นอาบัติ. น้ำมันที่ภิกษุรับ ประเคนเมล็ดงาในปัจฉาภัตแล้วทำ เป็นของไม่ควรกลืนกินเหมือนกัน เพราะรับประเคนทั้งวัตถุ. แม้ในเมื่อล่วง ๗ วันไป ก็ไม่เป็นอาบัติ.

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1043

พึงน้อมเข้าไปในกิจมีการทาศีรษะเป็นต้น. แม้ในน้ำมันที่ทำด้วยเมล็ดงา ที่ภิกษุจับต้องในปุเรภัต หรือในปัจฉาภัตก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.

น้ำมันที่คั่วเมล็ดงาซึ่งภิกษุรับประเคนในปุเรภัต แล้วนึ่งแป้งงา หรือให้ชุ่มด้วยน้ำอุ่นทำ, ถ้าอนุปสัมบันทำ แม้เจืออามิส ย่อมควรใน ปุเรภัต. ที่ตนทำเอง เพราะปล้อนวัตถุออกแล้ว ไม่มีอามิสเลย จึงควร ในปุเรภัต. เพราะเป็นน้ำมันที่เจียวเอง เจืออามิสจึงไม่ควร. ก็เพราะ เป็นของที่รับประเคนพร้อมวัตถุ แม้ทั้งสองอย่าง จึงไม่ควรกลืนกิน จำเดิมแต่ปัจฉาภัตไป พึงน้อมเข้าไปในการทาศีรษะเป็นต้น. แม้ในเมื่อ ล่วง ๗ วันไป ก็ไม่เป็นอาบัติ, แต่ถ้าว่า น้ำอุ่นมีน้อย, น้ำนั้นเพียงแต่ ว่าพรมลงเท่านั้น เป็นอัพโพหาริก ย่อมไม่ถึงการนับว่าเป็นสามปักกะ. แม้ในน้ำมันเมล็ดพันธุ์ผักกาดเป็นต้น ที่ภิกษุรับประเคนพร้อมทั้งวัตถุ ก็มีวินิจฉัยเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้ว ในน้ำมันงาที่ไม่มีวัตถุนั่นแล.

ก็ถ้าว่า ภิกษุอาจเพื่อทำน้ำมัน จากผงแห่งเมล็ดพันธุ์ผักกาด เป็นต้น ที่รับประเคนไว้ในปุเรภัต โดยเจียวด้วยแสงแดด, น้ำมันนั้น แม้เจือด้วยอามิส ย่อมควรในปุเรภัต. ตั้งแต่ปัจฉาภัตไป ไม่เจืออามิสเลย จึงควร. ในเมื่อล่วง ๗ วันไป เป็นนิสสัคคีย์.

อนึ่ง เพราะภิกษุทั้งหลาย นึ่งผงเมล็ดพันธุ์ผักกาดและมะซาง เป็นต้นและคั่วเมล็ดละหุ่งแล้วกระทำน้ำมันอย่างนี้; ฉะนั้น น้ำมันของ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นที่พวกอนุปสัมบันทำ แม้เจืออามิสก็ควรในเวลา ก่อนฉัน. ก็เพราะวัตถุเป็นยาวชีวิก จึงไม่มีโทษ. ในการรับประเคน พร้อมทั้งวัตถุ ฉะนี้แล. น้ำมันเมล็ดพันธุ์ผักกาดเป็นต้น ที่ตนทำเอง พึงบริโภค โดยการบริโภคปราศจากอามิสอย่างเดียวตลอด ๗ วัน. น้ำมัน

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1044

ที่ทำด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาดเป็นต้น ที่เป็นอุคคหิตก์ไม่ควรกลืนกิน ควรแต่ ในการใช้สอยภายนอก. แม้เมื่อล่วง ๗ วันไป ก็ไม่เป็นอาบัติ. น้ำมัน ที่ภิกษุรับประเคนเมล็ดพันธุ์ผักกาด มะซางและเมล็ดละหุ่ง เพื่อต้องการ จะทำน้ำมัน แล้วทำในวันนั้นนั่นเอง เป็นสัตตาหกาลิก, ทำในวันรุ่งขึ้น ควรบริโภคได้ ๖ วัน. ทำในวันที่ ๓ ควรบริโภคได้ ๕ วัน. แต่ที่ทำ ในวันที่ ๔ ควร ๓ วัน ... ในวันที่ ๕ ควร ๒ วัน ... ในวันที่ ๖ ควร ๑ วัน ... ในวันที่ ๗ ควรในวันนั้นเท่านั้น. ถ้ายังคงอยู่จนถึงอรุณขึ้น เป็นนิสสัคคีย์. ที่ทำในวันที่ ๘ ไม่ควรกลืนกินเลย, แต่ควรในการใช้ สอยภายนอก เพราะเป็นของยังไม่เสียสละ. แม้ถ้าว่าไม่ทำ, ในเมื่อเมล็ด พันธุ์ผักกาดที่ตนรับไว้ เพื่อประโยชน์แก่น้ำมันเป็นต้น ล่วงกาล ๗ วันไป ก็เป็นทุกกฏอย่างเดียว.

อนึ่ง น้ำมันผลไม้มะพร้าวเมล็ดสะเดา สะคร้อ เล็บเหยี่ยว และ สำโรง (๑) เป็นต้น แม้เหล่าอื่นที่ไม่ได้มาในพระบาลี ก็ยังมี. เมื่อภิกษุรับ ประเคนน้ำมันเหล่านั้นแล้วให้ล่วง ๗ วันไปเป็นทุกกฏ. ในมะพร้าว เป็นต้นเหล่านี้ มีความแปลกกันดังนี้:- พึงกำหนดวัตถุแห่งยาวกาลิก ที่เหลือแล้ว ทราบวิธีการแห่งสามปักกะ (ให้สุกเอง) สวัตถุก (ของที่รับ ทั้งวัตถุ) ของที่รับประเคนในปุเรภัตรับประเคนในปัจฉาภัต และอุคคหิตวัตถุ (ของที่ยังไม่ได้รับประเคนภิกษุจับต้อง) ทั้งหมด ตามนัยดังกล่าว แล้วนั่นแล.

[อธิบายน้ำมันทำจากเปลวสัตว์ต่างๆ]

บทว่า วสาเตลํ ได้แก่ น้ำมันแห่งเปลวสัตว์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตไว้อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย! เราอนุญาต เปลวมัน ๕ ชนิด


(๑) บางแห่งว่า เมล็ดฝ้าย.

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1045

คือ เปลวหมี, เปลวปลา, เปลวปลาฉลาม, เปลวสุกร, เปลวลา * ก็ บรรดาเปลวมัน ๕ ชนิดนี้ ด้วยคำว่า เปลวหมี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง อนุญาตเปลวมันแห่งสัตว์ที่มีมังสะเป็นอกัปปิยะทั้งหมด เว้นเปลวมันแห่ง มนุษย์เสีย. อนึ่ง แม้ปลาฉลาม ก็เป็นอันพระองค์ทรงถือเอาแล้วด้วย ศัพท์ว่าปลา. แต่เพราะปลาฉลามเป็นปลาร้าย พระองค์จึงตรัสแยกไว้ ต่างหาก. ในบาลีนี้ พระองค์ทรงอนุญาตเปลวมันแห่งพวกสัตว์มีมังสะ เป็นกัปปิยะแม้ทุกชนิด ด้วยศัพท์ว่าปลาเป็นต้น.

จริงอยู่ ในจำพวกมังสะ มังสะแห่งมนุษย์, ช้าง, ม้า, สุนัข, งู, สีหะ, เสือโคร่ง, เสือเหลือง, หมี, เสือดาว; ๑๐ ชนิด เป็นอกัปปิยะ. บรรดาเปลวมัน เปลวมันแห่งมนุษย์ อย่างเดียว เป็นอกัปปิยะ. บรรดา อวัยวะอย่างอื่น มีน้ำนมเป็นต้น ชื่อว่า เป็นอกัปปิยะ ไม่มี. น้ำมัน เปลวที่พวกอนุปสัมบันทำและกรองแล้ว ภิกษุรับประเคนก่อนฉัน แม้ เจืออามิส ก็ควรก่อนฉัน. ตั้งแต่หลังฉันไปไม่เจืออามิสเลย จึงควร ตลอด ๗ วัน. วัตถุใดที่คล้ายกับธุลีอันละเอียด เป็นมังสะก็ดี เอ็นก็ดี กระดูกก็ดี เลือดก็ดี ปนอยู่ในเปลวมันนั้น, วัตถุนั้นจัดเป็นอัพโพหาริก

ก็ถ้าว่า ภิกษุรับประเคนเปลวมันกระทำน้ำมันเอง, รับประเคน แล้วเจียว กรองเสร็จในปุเรภัต พึงบริโภค โดยบริโภคปราศจากอามิส ตลอด ๗ วัน. แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงการบริโภค ปราศจากอามิส จึงตรัสคำนี้ว่า รับประเคนในกาล เจียวเสร็จในกาล กรอง ในกาล ควรเพื่อบริโภคอย่างบริโภคน้ำมัน. มังสะที่ละเอียดเป็นต้น แม้


(๑) วิ. มหา. ๕/๔๑.

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1046

ในน้ำมันที่รับประเคนเปลวมันแล้วเจียวกรองนั้น ก็เป็นอัพโพหาริก เหมือนกัน. แต่จะรับประเคน หรือเจียวในปัจฉาภัต ไม่ควรเลย.

สมจริง ดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้นี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย! ถ้าภิกษุรับประเคนเปลวมันในเวลาวิกาล เจียวในเวลาวิกาล กรองใน เวลาวิกาล, ถ้าภิกษุบริโภคซึ่งน้ำมันนั้น ต้องทุกกฏ ๓ ตัว, ภิกษุ ทั้งหลาย! ถ้าภิกษุรับประเคนมันเปลวในกาล เจียวในวิกาล กรองใน วิกาล. ถ้าบริโภคน้ำมันนั้น ต้องทุกกฏ ๒ ตัว. ภิกษุทั้งหลาย! ถ้า ภิกษุรับประเคนในกาล เจียวในกาล กรองในวิกาล, ถ้าบริโภคน้ำมัน นั้น ต้องทุกกฏ (ตัวเดียว). ภิกษุทั้งหลาย! ถ้ามันเปลวภิกษุรับประเคน ในกาลเจียว ในกาลกรองในกาล, ถ้าภิกษุบริโภคน้ำมันนั้น ไม่เป็นอาบัติ * ดังนี้.

แต่พวกอันตวาสิกถามพระอุปติสสเถระว่า ท่านขอรับ! เนยใส เนยข้น และเปลวมัน ที่ภิกษุเจียวรวมกันแล้วเกรอะออกควรหรือไม่ควร.

พระเถระตอบว่า ไม่ควร อาวุโส! ได้ยินว่า พระเถระรังเกียจใน เนยใส เนยข้น เปลวมัน ที่ภิกษุเจียวรวมกันแล้ว เกรอะออกนี้ ดุจ ในกากน้ำมันงาที่เจียวแล้ว.

ภายหลัง พวกอันเตวาสิกถามท่านหนักขึ้นว่า ท่านขอรับ! ก้อน นมส้มก็ดี หยดเปรียงก็ดี มีอยู่ในเนยข้น, เนยข้นนั่น ควรไหม?

พระเถระตอบว่า ผู้มีอายุ แม้เนยข้นนั่น ก็ไม่ควร. ลำดับนั้น พวกอันเตวาสิก จึงถามท่านว่า ท่านขอรับ! น้ำมันที่เจียวรวมกันกรอง


(๑) วิ. มหา. ๕/๔๑

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1047

แล้ว มีความร้อนสูง ย่อมบำบัดโรคได้. พระเถระยอมรับว่า ดีละ อาวุโส! ดังนี้.

แต่พระมหาสุมเถระกล่าวไว้ว่า เปลวมันของสัตว์ที่มีมังสะเป็น กัปปิยะ ย่อมควรในการบริโภคเจืออามิส, เปลวมันของพวกสัตว์ที่มีมังสะ เป็นกัปปิยะนอกนี้ ควรในการบริโภคปราศจากอามิส.

ฝ่ายพระมหาปทุมเถระปฏิเสธว่า นี้อะไรกัน? แล้วกล่าวว่า พวก ภิกษุอาพาธด้วยโรคลม เติมน้ำมันเปลวหมีและสุกรเป็นต้นลงในข้าวยาคู ที่ต้มด้วยน้ำฝาดรากไม้ ๕ ชนิด แล้วดื่มข้าวยาคู, ข้าวยาคูนั้นบำบัดโรคได้ เพราะมีความร้อนสูง ดังนี้ จึงกล่าวว่าสมควรอยู่

[อธิบายเภสัชว่าด้วยน้ำผึ้ง]

สองบทว่า มธุ นาม มกฺขิกามธุ ได้แก่ น้ำหวานที่พวกผึ้ง ใหญ่แมลงผึ้งตัวเล็ก และจำพวกแมลงภู่ ซึ่งมีชื่อว่าแมลงทำน้ำหวาน (น้ำผึ้ง) ทำแล้ว. น้ำผึ้งนั้น ภิกษุรับประเคนก่อนฉัน แม้จะบริโภคเจือ อามิสในปุเรภัตก็ควร. ตั้งแต่ปัจฉาภัตไป ควรบริโภคปราศจากอามิส อย่างเดียวตลอด ๗ วัน ในเมื่อล่วง ๗ วันไป ถ้าน้ำผึ้งชนิดหนามากเป็น เช่นกับยาง (เคี่ยวให้แข้น) ทำเป็นชิ้นเล็กชิ้นใหญ่เก็บไว้ หรือน้ำผึ้งชนิด บางนอกนี้เก็บไว้ในภาชนะต่างๆ กัน เป็นนิสสัคคีย์ มากตามจำนวน วัตถุ, ถ้ามีเพียงชิ้นเดียวเท่านั้น หรือน้ำผึ้งบางนอกนี้ ก็เก็บรวมไว้ใน ภาชนะเดียว. เป็นนิสสัคคีย์เพียงตัวเดียว. น้ำผึ้งที่เป็นอุคคหิตก์พึงทราบ ตามนัยที่กล่าวนั่นแล. พึงน้อมเข้าไปในกิจอื่นมีทาแผลเป็นต้น. รังผึ้ง หรือขี้ผึ้ง ถ้าน้ำผึ้งไม่ดี บริสุทธิ์ เป็นยาวชีวิก. แต่ที่มีน้ำผึ้งติดอยู่

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1048

มีคติอย่างน้ำผึ้งเหมือนกัน. แมลงผึ้งตัวยาวมีปีก ชื่อว่า จิริกะ, แมลงภู่ ใหญ่ตัวดำมีปีกแข็ง มีชื่อว่า ตุมพละ. ในรังของแมลงผึ้งเหล่านั้น มีน้ำผึ้ง คล้ายกับยาง. น้ำผึ้งนั้นเป็นยาวชีวิก.

[อธิบายเภสัชว่าด้วยน้ำอ้อย]

ข้อว่า ผาณิตนินาม อจฺฉุมฺหา นิพฺพตฺตํ มีความว่า น้ำอ้อยชนิด ที่ยังไม่ได้เคี่ยว หรือที่เคี่ยวแล้วไม่มีกาก หรือที่ไม่มีกากแม้ทั้งหมดจน กระทั่งน้ำอ้อยสดพึงทราบว่า น้ำอ้อย. น้ำอ้อยนั้นที่ภิกษุรับประเคนก่อน ฉัน แม้เจืออามิส ก็ควรในปุเรภัต. ตั้งแต่ปัจฉาภัตไป ไม่เจืออามิสเลย จึงควรตลอด ๗ วัน. ในเมื่อล่วง ๗ วันไป เป็นนิสสัคคีย์ตามจำนวนวัตถุ. ก้อนน้ำอ้อยแม้มากภิกษุย่อยให้แหลกแล้ว ใส่ไว้ในภาชนะเดียวกัน ย่อม จับรวมกันแน่น, เป็นนิสสัคคีย์เพียงตัวเดียว. น้ำอ้อยที่เป็นอุคคหิตก์ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. พึงน้อมเข้าไปในกิจอื่นมีการอบ เรือนเป็นต้น.

ผาณิตที่เขาทำด้วยน้ำอ้อยสดที่ยังไม่ได้กรอง ซึ่งภิกษุรับประเคนไว้ ในเวลาก่อนฉัน ถ้าอนุปสัมบันทำ แม้เจืออามิส ก็ควร. ถ้าภิกษุทำเอง ไม่เจืออามิสเลย จึงควร. ก็จำเดิมแต่ปัจฉาภัตไป ไม่ควรกลืนกิน เพราะ เป็นของรับประเคนทั้งวัตถุ. แม้ในเมื่อล่วง ๗ วันไปก็ไม่เป็นอาบัติ. แม้ที่เขาทำด้วยน้ำอ้อยสด ที่ภิกษุรับประเคนทั้งที่ยังไม่ได้กรองในปัจฉาภัต ก็ไม่ควรกลืนกินเหมือนกัน. แม้ในเมื่อล่วง ๗ วันไปก็ไม่เป็นอาบัติ แม้ ในผาณิตที่ภิกษุรับประเคนอ้อยลำทำ ก็มีนัยอย่างนี้.

ก็ผาณิตที่ทำด้วยน้ำอ้อยสดที่กรองและรับประเคนไว้ในกาลก่อนฉัน

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1049

ถ้าอนุปสัมบันทำ แม้เจืออามิส ก็ควรในปุเรภัต. ตั้งแต่ปัจฉาภัตไป ไม่เจืออามิสเลย จึงควรตลอด ๗ วัน. ที่ทำเองไม่เจืออามิสเลย ย่อมควร แม้ในปุเรภัต, จำเดิมแต่ปัจฉาภัตไปไม่เจืออามิสเหมือนกัน ควรตลอด ๗ วัน. แต่ผาณิตทำด้วยน้ำอ้อยสด ที่กรองและรับประเคนแล้ว ใน ปัจฉาภัต ปราศจากอามิสเท่านั้น จึงควรตลอด ๗ วัน, ผาณิตที่เป็น อุคคหิตก์ มีดังกล่าวแล้วเหมือนกัน.

ในมหาอรรถกถาท่านกล่าวว่า ผาณิตที่ทำด้วยน้ำอ้อยเผาก็ดี ผาณิต ที่ทำด้วยน้ำอ้อยหีบก็ดี ควรแต่ในปุเรภัตเท่านั้น. ส่วนในมหาปัจจรี ท่านตั้งคำถามว่า ผาณิตที่เคี่ยวทั้งวัตถุ (กาก) นี้ ควรหรือไม่ควร? ดังนี้ แล้วกล่าวว่า ผาณิตที่ทำด้วยน้ำอ้อยสด ชื่อว่าไม่ควรในปัจฉาภัต ย่อม ไม่มี. คำนั้นถูกแล้ว.

ผาณิตดอกมะซางที่เขาทำด้วยน้ำเย็น แม้เจืออามิส ก็ควรในปุเรภัต. จำเดิมแต่ในปัจฉาภัต ไป ไม่เจืออามิสเลย จึงควรตลอด ๗ วัน. ในเมื่อ ล่วง ๗ วันไป เป็นทุกกฏตามจำนวนวัตถุ, ส่วนผาณิตมะซางที่เขาเติม นมสดทำ เป็นยาวกาลิก. แต่ชนทั้งหลายตักเอาฝ้า (ฟอง) นมสดออก แล้วๆ ชำระขัณฑสกรให้สะอาด; เพราะฉะนั้น ขัณฑสกรนั้น ก็ควร. ส่วนดอกมะซางสดย่อมควรแม้ในปุเรภัต คั่วแล้วก็ควร. คั่วแล้วตำผสมด้วย ของอื่นมีเมล็ดงาเป็นต้น หรือไม่ผสม ก็ควร.

แต่ถ้าว่า ชนทั้งหลายถือเอามะซางนั้นประกอบเข้ากัน (ปรุง) เพื่อ ต้องการเมรัย, ดอกมะซางที่ปรุงแล้วนั้น ย่อมไม่ควรตั้งแต่พืช. ผาณิต แห่งผลไม้ที่เป็นยาวกาลิกทั้งหมด มีกล้วย ผลอินทผลัม (เป้งก็ว่า) มะม่วง

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1050

สาเก ขนุน และมะขามเป็นต้น เป็นยาวกาลิกเหมือนกัน ชนทั้งหลาย ทำผาณิตด้วยพริกสุก, ผาณิตนั้นเป็นยาวกาลิก.

สองบทว่า ตานิ ปฏิคฺคเหตฺวา มีความว่า ถ้าภิกษุรับประเคน เภสัช ๕ อย่าง มีเนยเป็นต้นแม้ทั้งหมด เก็บไว้ไม่แยกกันในหม้อเดียว ในเมื่อล่วง ๗ วันไปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์เพียงตัวเดียว, เมื่อแยกกันเก็บ เป็นนิสสัคคีย์ ๕ ตัว. เอาเภสัช ๕ นี้ ยังไม่ล่วง ๗ วัน ภิกษุผู้อาพาธก็ดี ไม่อาพาธก็ดี ควรบริโภคตามสบาย โดยนัยดังกล่าวแล้ว.

[อธิบายข้อที่ทรงอนุญาตไว้เฉพาะ ๗ อย่าง]

ก็ข้อที่ชื่อว่าทรงอนุญาตเฉพาะ มี ๗ อย่าง คือ อนุญาตเฉพาะ อาพาธ ๑ เฉพาะบุคคล ๑ เฉพาะกาล ๑ เฉพาะสมัย ๑ เฉพาะประเทศ ๑ เฉพาะมันเปลว ๑ เฉพาะเภสัช ๑.

บรรดาอนุญาตเฉพาะ ๗ อย่างนั้น ที่ชื่อว่าทรงอนุญาตเฉพาะอาพาธ ได้แก่ ข้อที่ทรงอนุญาตเฉพาะอาพาธอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราอนุญาตเนื้อสด เลือดสด ในเพราะอาพาธอันเกิดจากมนุษย์ *. เนื้อสด และเลือดสดนั้น ควรแก่ภิกษุผู้อาพาธด้วยอาพาธนั้นอย่างเดียว ไม่ควร แก่ภิกษุอื่น. ก็แล เนื้อสดและเลือดสดนั้นเป็นกัปปิยะก็ดี เป็นอกัปปิยะ ก็ดี ย่อมควรทั้งนั้น ทั้งในกาลทั้งในวิกาล.

ที่ชื่อว่าทรงอนุญาตเฉพาะบุคคล ได้แก่ ข้อที่ทรงอนุญาตเฉพาะ บุคคลอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราอนุญาตการเรออวกแก่ภิกษุผู้ มักเรออวก, ภิกษุทั้งหลาย! แต่ที่เรออวกมานอกทวารปากแล้ว ไม่ควร


(๑) วิ. มหา. ๕/๓๕

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1051

กลืนกิน (๑) การเรออวกนั้น ควรแก่ภิกษุผู้มักเรออวกนั้นเท่านั้น ไม่ควร แก่ภิกษุอื่น.

ที่ชื่อว่าทรงอนุญาตเฉพาะกาล ได้แก่ ข้อที่ทรงอนุญาตเฉพาะกาล ที่ภิกษุถูกงูกัดอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราอนุญาตยามหาวิกัฏ ๔ คือ คูถ มูตร เถ้า ดิน (๒) ยามหาวิกัฎนั้น เฉพาะในกาลนั้น แม้ไม่รับ ประเคน ก็ควร, ในกาลอื่นหาควรไม่.

ที่ชื่อว่าทรงอนุญาตเฉพาะสมัย ได้แก่ อนาบัติทั้งหลาย ที่ทรง อนุญาตไว้เฉพาะสมัยนั้นๆ โดยนัยมีว่า (เป็นปาจิตตีย์) ในเพราะคุณโภชนะ เว้นแต่สมัย (๓) ดังนี้ เป็นต้น. อาบัติเหล่านั้นเป็นอาบัติเฉพาะใน สมัยนั้นๆ เท่านั้น, ในสมัยอื่นหาเป็นไม่.

ที่ชื่อว่าอนุญาตเฉพาะประเทศ ได้แก่ สังฆกรรมมีอุปสมบท เป็นต้น ที่ทรงอนุญาตเฉพาะในปัจจันตประเทศอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย! เราอนุญาตการอุปสมบท ด้วยคณะมีพระวินัยธรเป็นที่ ๕ ใน ปัจจันตชนบทเห็นปานนี้ (๔) สังฆกรรมมีอุปสมบทเป็นต้นนั้น ย่อมควร เฉพาะในปัจจันตชนบทนั้นเท่านั้น, ในมัชฌิมประเทศหาควรไม่.

ที่ชื่อว่าทรงอนุญาตเฉพาะมันเปลว ได้แก่ ข้อที่ทรงอนุญาตเภสัช โดยชื่อแห่งมันเปลวอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราอนุญาตเปลวมัน เป็นเภสัช (๕) เปลวมันเภสัชนั้น ของจำพวกสัตว์มีเปลวมันเป็นกัปปิยะและ อกัปปิยะทั้งหมด เว้นเปลวมันของมนุษย์เสียย่อมควร เพื่อบริโภคอย่าง บริโภคน้ำมัน แก่พวกภิกษุผู้มีความต้องการด้วยน้ำมันนั้น.


(๑) วิจุล. ๗/๔๘.

(๒) มหา. ๒/๓๑๒.

(๓) (๔) วิ. มหา. ๕/๕๑ - ๓๖ - ๔๑ - ๓๙.

(๕) วิ. มหา. ๕/๕๑ - ๓๖ - ๔๑ - ๓๙.

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1052

ที่ชื่อว่าทรงอนุญาตเฉพาะเภสัช ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย ที่สามารถแผ่ไปเพื่อสำเร็จอาหารกิจ ซึ่งทรงอนุญาตไว้ โดย ชื่อแห่งเภสัชอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราอนุญาตเภสัช ๕. เภสัช ๕ เหล่านั้น ภิกษุรับประเคนแล้ว พึงบริโภคได้ตามสบายในปุเรภัตในวัน นั้น, ตั้งแต่ปัจฉาภัตไป เมื่อมีเหตุ พึงบริโภค ได้ตลอด ๗ วัน โดย นัยดังกล่าวแล้ว.

[อธิบายบทภาชนีย์และอนาปัตติวาร]

ข้อว่า สตฺตาหาติกฺกนฺเต อติกฺกนฺตสญฺี นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ มีความว่า แม้ถ้าว่า เภสัชนั้นมีประมาณเท่าเมล็คพันธุ์ผักกาด พอจะเอา นิ้วแตะแล้วลมด้วยลิ้นคราวเดียว อันภิกษุจำต้องเสียสละแท้ และพึง แสดงอาบัติปาจิตตีย์เสีย.

ข้อว่า น กายิเกน ปริโภเคน ปริภุญฺชิตพฺพํ มีความว่า ภิกษุ อย่าพึงเอาทาร่างกาย หรือทาแผลที่ร่างกาย. แม้บริขารมีผ้ากาสาวะ ไม้เท้า รองเท้า เขียงเช็ดเท้า เตียงและตั่งเป็นต้น ถูกเภสัชที่เป็นนิสสัคคิยวัตถุเหล่านั้นเปื้อนแล้ว เป็นของไม่ควรบริโภค ในมหาปัจจรี กล่าวว่า ที่สำหรับมือจับแม้ในบานประตูและหน้าต่างก็ไม่ควรทำ. ในมหาอรรถกถาท่านกล่าวว่า แต่ผสมลงในน้ำฝาดแล้วควรทาบานประตูและหน้าต่าง ได้.

ข้อว่า อนาปตฺติ อนฺโตสตฺตาหํ อธิฏฺเติ มีความว่า ในภายใน ๗ วัน ภิกษุอธิษฐานเนยใส น้ำมัน และเปลวมันไว้เป็นน้ำมันทาศีรษะ หรือเป็นน้ำมันสำหรับหยอด, อธิษฐานน้ำผึ้งไว้เป็นยาทาแผล น้ำอ้อย

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1053

เป็นเครื่องอบเรือน ไม่เป็นอาบัติ. ถ้าภิกษุประสงค์จะรินน้ำมันที่อธิษฐาน เอาไว้แล้ว ลงในภาชนะใส่น้ำมันที่ยังไม่ได้อธิษฐาน, ถ้าในภาชนะมี ช่องแคบ น้ำมันที่ค่อยๆ ไหลเข้าไป ถูกน้ำมันเก่าล้นขึ้นมาท่วม, พึง อธิษฐานใหม่. ถ้าภาชนะปากกว้าง น้ำมันมาก ไหลเข้าไปอย่างรวดเร็วจน ท่วมน้ำมันเก่า ไม่มีกิจที่จะต้องอธิษฐานใหม่. แท้จริง น้ำมันนั้น มีคติ อย่างน้ำมันที่อธิษฐานแล้ว. ผู้ศึกษาพึงทราบแม้การรินน้ำมันที่ไม่ได้ อธิษฐานลงในภาชนะใส่น้ำมันที่อธิษฐานแล้วโดยนัยนี้.

ในบทว่า วิสฺสชฺเชติ นี้มีวินิจฉัยดังนี้:- ถ้าเภสัชนั้นเป็นของ สองเจ้าของ ภิกษุรูปหนึ่งรับประเคนไว้ ยังไม่ได้แบ่งกัน, ในเมื่อล่วง ๗ วันไปไม่เป็นอาบัติแม้ทั้ง ๒ รูป, แต่ไม่ควรบริโภค. ถ้ารูปใดรับ ประเคนไว้ รูปนั้นกล่าวกะอีกรูปหนึ่งว่า ท่านผู้มีอายุ! น้ำมันนี้ถึง ๗วัน แล้ว, ท่านจงบริโภคน้ำมันนั้นเสีย ดังนี้ และเธอก็ไม่ทำการบริโภค จะ เป็นอาบัติแก่ใคร? ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ใครๆ ทั้งนั้น. เพราะเหตุไร? เพราะรูปที่รับประเคนก็สละแล้ว แสะเพราะอีกรูปหนึ่งก็ไม่ได้รับประเคน.

บทว่า วินสฺเสติ ได้แก่ เป็นของบริโภคไม่ได้.

ในคำว่า จตฺเตน เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:- เภสัชอันภิกษุสละ แล้ว ปล่อยแล้ว ด้วยจิตใด, จิตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า สละแล้ว ทิ้งแล้ว ปล่อยแล้ว. ตรัสเรียกบุคคลผู้ไม่มีความห่วงใยด้วยจิต นั้น. อธิบายว่า ผู้ไม่มีความห่วงใยอย่างนั้นให้แล้วแก่สามเณร. คำนี้ตรัสไว้ เพราะเหตุไร? ท่านพระมหาสุมเถระกล่าวว่า ตรัสไว้เพื่อแสดงว่าไม่เป็น

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1054

อาบัติ แก่ภิกษุผู้ให้แล้วในภายใน ๗ วันอย่างนั้น ภายหลังได้คืนมา แล้วฉัน.

ส่วนท่านพระมหาปทุมเถระกล่าวว่า น้ำมันนี้ ภิกษุไม่ควรขอ. ด้วยว่าในเพราะการบริโภคใหม่ ซึ่งน้ำมันที่ให้ไปแล้วในภายใน ๗ วัน ไม่มีอาบัติเลย, แต่ตรัสคำนี้ไว้ ก็เพื่อแสดงว่าไม่เป็นอาบัติในเพราะบริโภค น้ำมันที่ล่วง ๗ วันไป. เพราะเหตุนั้น เภสัชที่เขาถวายแล้วอย่างนี้ ถ้าสามเณรปรุงแล้ว หรือไม่ได้ปรุง ถวายแก่ภิกษุนั้นเพื่อกระทำการนัตถุ์. ถ้าสามเณรเป็นผู้เขลา ไม่รู้เพื่อจะถวาย, ภิกษุอื่นพึงบอกเธอว่า แน่ะ สามเณร! เธอมีน้ำมันหรือ? เธอรับว่า ขอรับ มีอยู่ ท่านผู้เจริญ! ภิกษุนั้นพึงบอกเธอว่า นำมาเถิด, เราจักทำยาถวายพระเถร ะ. น้ำมัน ย่อมควรแม้ด้วย (การถือเอา) อย่างนี้. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เป็นอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

เภสัชชสิกขาบท จบ

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๑๔๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว พระฉัพ-

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1055

พัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าอาบน้ำฝนแล้ว จึง แสวงหาจีวรคือผ้าอาบน้ำฝนเสียก่อนบ้าง ทำแล้วนุ่งเสียก่อนบ้าง ครั้นผ้า อาบน้ำฝนเก่าแล้ว ก็เปลือยกายอาบน้ำฝน

บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ จึงได้แสวงหาจีวร คือผ้าอาบน้ำฝนเสียก่อนบ้าง ทำแล้วนุ่งเสียก่อนบ้าง เมื่อผ้าอาบน้ำฝนเก่าแล้ว จึงได้เปลือยกายอาบน้ำฝนเล่า แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอแสวงหาจีวรคือผ้า อาบน้ำฝนเสียก่อนบ้าง ทำแล้วนุ่งเสียก่อนบ้าง เมื่อผ้าอาบน้ำฝนเก่า แล้ว เปลือยกายอาบน้ำฝน จริงหรือ

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของ สมณะ ใช่ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้แสวงหาจีวรคือผ้า อาบน้ำฝนเสียก่อนบ้าง ทำแล้วนุ่งเสียก่อนบ้าง เมื่อผ้าอาบน้ำฝนเก่า แล้ว จึงได้เปลือยกายอาบน้ำฝนเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1056

เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวก เธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และ เพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

ทรงบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยาย ดังนี้ แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการ ที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้นแก่ภิกษุ ทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระธรรม ๑ เพื่อ ถือตามพระวินัย ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1057

พระบัญญัติ

๔๓. ๔. ภิกษุรู้ว่า ฤดูร้อนยังเหลืออีก ๑ เดือน พึงแสวงหา จีวร คือผ้าอาบน้ำฝนได้ รู้ว่า ฤดูร้อนยังเหลืออีกกึ่งเดือน พึงทำนุ่งได้ ถ้าเธอรู้ว่า ฤดูร้อนเหลือล้ำกว่า ๑ เดือน แสวงหาจีวร คือผ้าอาบน้ำฝน รู้ว่า ฤดูร้อนเหลือล้ำกว่ากึ่งเดือน ทำนุ่ง เป็นนิสสัคคีย์ปาจิตตีย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๔๖] คำ ว่า ภิกษุรู้ว่า ฤดูร้อนยังเหลืออีก ๑ เดือน พึงแสวงหา จีวร คือผ้าอาบน้ำฝนได้ นั้น อธิบายว่า ภิกษุพึงเข้าไปหาชาวบ้าน บรรดาที่เคยถวายจีวร คือ ผ้าอาบน้ำฝนมาก่อน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ถึงกาลแห่งผ้าอาบน้ำฝนแล้ว ถึงสมัยแห่งผ้าอาบน้ำฝนแล้ว แม้ชาวบ้าน เหล่าอื่น ก็ถวายจีวรคือผ้าอาบน้ำฝน ดังนี้ แต่อย่าพูดว่า จงให้จีวรคือ ผ้าอาบน้ำฝนแก่อาตมา จงหาจีวร คือผ้าอาบน้ำฝนมาให้อาตมา จงแลก เปลี่ยนจีวรคือผ้าอาบน้ำฝนมาให้อาตมา จงจ่ายจีวรคือผ้าอาบน้ำฝนมาให้ อาตมา ดังนี้เป็นต้น

คำว่า รู้ว่า ฤดูร้อนยังเหลืออีกกึ่งเดือน พึงทำนุ่งได้ นั้น คือ เมื่อ ฤดูร้อนยังเหลืออยู่กึ่งเดือน พึงทำนุ่งได้

คำว่า ถ้าเธอรู้ว่า ฤดูร้อนเหลือล้ำกว่า ๑ เดือน นั้น คือ เมื่อฤดู ร้อนยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน แสวงหาจีวรคือผ้าอาบน้ำฝน เป็นนิสสัคคีย์

คำว่า รู้ว่า ฤดูร้อนเหลือล้ำกว่ากึ่งเดือน นั้น คือ เมื่อฤดูร้อน

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1058

ยังเหลือเกินกว่ากึ่งเดือน ทำนุ่ง เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสีย สละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรคือผ้าอาบน้ำฝน นั้นอย่างนี้:-

วิธีเสียสละ

เสียสละแก่สงฆ์

ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านเจ้าข้า จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ของข้าพเจ้า แสวงหาได้ มาในฤดูร้อนซึ่งยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน ทำนุ่งในฤดูร้อนซึ่งยังเหลือ อยู่เกินกว่าถึงเดือน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรคือผ้าอาบน้ำ ฝนผืนนี้แก่สงฆ์

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรคือผ้าอาบน้ำฝนที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ของ ภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อม พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ แก่ภิกษุ มีชื่อนี้.

เสียสละแก่คณะ

ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1059

ท่านเจ้าข้า จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ของข้าพเจ้า แสวงหาได้ มาในฤดูร้อน ซึ่งยังเหลืออยู่เกินกว่า ๑ เดือน ทำนุ่งในฤดูร้อนซึ่งยัง เหลืออยู่เกินกว่ากึ่งเดือน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรคือผ้า อาบน้ำฝนผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรคือผ้าอาบน้ำฝนที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ของ ภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความ พร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรคือผ้า อาบน้ำฝนผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.

เสียสละแก่บุคคล

ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่ง กระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

ท่าน จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ของข้าพเจ้า แสวงหาได้มาใน ฤดูร้อนซึ่งยังเหลืออยู่เกินกว่า ๑ เดือน ทำนุ่งในฤดูร้อนซึ่งยังเหลืออยู่ เกินกว่ากึ่งเดือน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรคือผ้าอาบน้ำฝน ผืนนี้แก่ท่าน

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวร คือผ้าอาบน้ำฝนที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรคือผ้า อาบน้ำฝนผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1060

บทภาชนีย์

ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์ (แสวงหา)

[๑๔๗] ฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน แสวงหาจีวรคือผ้าอาบน้ำฝน เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน ภิกษุสงสัย แสวงหาจีวรคือผ้า อาบน้ำฝน เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ถึง แสวง หาจีวรคือผ้าอาบน้ำฝน เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์ (ทำนุ่ง)

ฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่ากึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน ทำนุ่ง เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่ากึ่งเดือน ภิกษุสงสัย ทำนุ่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่ากึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ถึง ทำนุ่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ

เมื่อผ้าอาบน้ำฝนมี ภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝน ต้องอาบัติทุกกฏ

ฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึง ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน ... ต้องอาบัติทุกกฏ

ฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึง ๑ เดือน ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1061

ไม่ต้องอาบัติ

ฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึง ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ถึง ... ไม่ต้อง อาบัติ

ทุกกฏ

ฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึงกึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน ... ต้องอาบัติทุกกฏ

ฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึงเดือน ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ

ฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึงกึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่า ยังไม่ถึง ... ไม่ต้อง อาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๑๔๘] ภิกษุรู้ว่าฤดูร้อนยังเหลืออีกหนึ่งเดือน แสวงหาจีวร คือ ผ้าอาบน้ำฝน ๑ ภิกษุรู้ว่าฤดูร้อนยังเหลืออีกกึ่งเดือน ทำนุ่ง ๑ ภิกษุ รู้ว่าฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึงกึ่งเดือน แสวงหาจีวรคือผ้าอาบน้ำฝน ๑ ภิกษุ รู้ว่าฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึงกึ่งเดือน ทำนุ่ง ๑ เมื่อผ้าอาบน้ำฝน ภิกษุ แสวงหาได้แล้ว ฝนแล้ง เมื่อผ้าอาบน้ำฝน ภิกษุทำนุ่งแล้ว ฝนแล้ง ซักเก็บไว้ ๑ ภิกษุนุ่งในสมัย ๑ ภิกษุมีจีวรถูกโจรชิงไป ๑ ภิกษุมีจีวร หากเสีย ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1062

ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๔

พรรณนาวัสสิกสาฏิกสิกขาบท

วัสสิกสาฎิกสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว ต่อไป:- ในวัสสิกสาฎิกสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

สองบทว่า วสฺสิกสาฏิกา อนุญฺาตา มีความว่า ผ้าอาบน้ำฝน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้วในเรื่องนางวิสาขาในจีวรขันธกะ.

บทว่า ปฏิกจฺเจว แปลว่า ก่อนนั่นเทียว.

หลายบทว่า มาโส เสโส คิมฺหานํ มีความว่า ฤดูร้อน ๔ เดือน ยังเหลือเดือนสุดท้ายอีก ๑ เดือน.

บทว่า กตฺวา มีความว่า ให้สำเร็จลงด้วยการเย็บ ย้อมและกัปปะ เป็นที่สุด และภิกษุเมื่อจะทำพึงกระทำผืนเดียวเท่านั้น แล้วอธิษฐานใน สมัย จะอธิษฐาน ๒ ผืน ไม่ควร.

ข้อว่า อติเรกมาเส เสเส คิมฺหาเน ได้แก่ เมื่อเดือนที่มีชื่อว่า ฤดูร้อน ยังเหลือเกิน ๑ เดือน.

แต่ผู้ศึกษาตั้งอยู่ในคำว่า อติเรกฑฺฒมาเส เสเส คิมฺหาเน กตฺวา นิวาเสติ (ทำนุ่งในเมื่อฤดูร้อนยังเหลืออยู่เกินว่ากึ่งเดือน) นี้แล้ว พึงทราบ เขตแห่งผ้าอาบน้ำฝน ๔ เขต คือเขตแห่งการแสวงหา ๑ เขตแห่งการ กระทำ ๑ เขตแห่งการนุ่งห่ม ๑ เขตแห่งการอธิษฐาน ๑, และสมัย ๒ สมัย คือ กุจฉิสมัย ๑ ปิฎฐิสมัย ๑, และจตุกกะ ๒ คือ ปิฎฐิสมัยจตุกกะ ๑ กุจฉิสมัยจตุกกะ ๑.

บรรดาเขต สมัย และจตุกกะเหล่านั้น กึ่งเดือนหนึ่ง ตั้งแต่วัน

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1063

แรมค่ำหนึ่งหลังวันเพ็ญของเดือน ๗ ต้น ไปจนถึงวันอุโบสถในกาฬปักษ์ นี้เป็นเขตแห่งการแสวงหา และเขตแห่งการกระทำ, แท้จริง ในระหว่าง นี้ ภิกษุจะแสวงหาผ้าอาบน้ำฝน ที่ยังไม่ได้ และจะทำผ้าอาบน้ำฝนที่ได้ แล้ว ควรอยู่. จะนุ่งห่มและจะอธิษฐานไม่ควร. กึ่งเดือนหนึ่ง ตั้งแต่ วันแรมค่ำหนึ่ง หลังวันอุโบสถในกาฬปักษ์ไปจนถึงวันเพ็ญเดือน ๘ นี้ เป็นเขตแห่งการแสวงหา การกระทำและการนุ่งห่ม แม้ทั้ง ๓. จริงอยู่ ในระหว่างนี้ จะแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนซึ่งยังไม่ได้ กระทำผ้าที่ได้แล้วและ จะนุ่งห่ม ควรอยู่. จะอธิษฐานอย่างเดียวไม่ควร. ตั้งแต่วันแรมค่ำหนึ่ง หลังวันเพ็ญเดือน ๘ ไป จนถึงวันเพ็ญเดือนกัตติกา (เดือน ๑๒) ๔ เดือน นี้เป็นเขตแห่งการแสวงหาการกระทำ การนุ่งห่ม และอธิษฐาน แม้ทั้ง๔. จริงอยู่ ในระหว่างนี้ จะแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนที่ยังไม่ได้ หรือจะกระทำ ผ้าที่ได้แล้ว จะนุ่งห่ม และจะอธิษฐาน ควรอยู่. พึงทราบเขต ๔ อย่าง นี้ก่อน.

อนึ่ง ตั้งแต่วันแรมค่ำหนึ่งหลังวันเพ็ญเดือน ๑๒ ไปจนถึงวันเพ็ญ แห่งเดือน ๘ ต้น, ๗ เดือนนี้ ชื่อว่าปิฏฐิสมัย (หลังสมัย). จริงอยู่ ใน ระหว่างนี้ เมื่อภิกษุทำการเตือนสติ โดยนัยเป็นต้นว่า กาลแห่งผ้าอาบ น้ำฝน แล้วให้จีวร คือ ผ้าอาบน้ำฝนสำเร็จจากที่ของคนผู้ไม่ใช่ญาติ และไม่ใช่ปวารณา เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ด้วยสิกขาบทนี้, เมื่อกระทำ วิญญัตติโดยนัยเป็นต้นว่า ท่านจงให้จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนแก่เรา แล้วให้ สำเร็จ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ด้วยอัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท. เมื่อกระทำ การเตือนสติ โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ ให้สำเร็จจากที่แห่งญาติและ คนปวารณา เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ด้วยสิกขาบทนี้แล, เมื่อกระทำ

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1064

วิญญัตติให้สำเร็จไม่เป็นอาบัติ ด้วยอัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท. สมจริง ดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ในคัมภีร์ปริวารว่า

ขอจีวรกะมารดา และไม่ได้น้อมลาภไปเพื่อสงฆ์ เพราะ เหตุไร ภิกษุนั้น จึงต้องอาบัติ แต่ไม่ต้องอาบัติ เพราะ บุคคลผู้เป็นญาติ ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายติดกัน * แล้ว

ก็ปัญหาข้อนี้ ท่านกล่าวหมายถึงเนื้อความนี้แล. พึงทราบปิฏฐิสมัย จตุกกะอย่างนี้.

อนึ่ง ตั้งแต่วันแรมค่ำหนึ่งหลังวันเพ็ญแห่งเดือน ๗ ต้น ไปจน ถึงวันเพ็ญเดือนกัตติกา ๕ เดือนนี้ ชื่อว่ากุจฉิสมัย (ท้องสมัย). จริงอยู่ ในระหว่างนี้ เมื่อภิกษุทำการเตือนสติ โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ ให้จีวร คือผ้าอาบน้ำฝนสำเร็จจากที่แห่งคนผู้มิใช่ญาติ และมิได้ปวารณา เป็นทุกกฏในเพราะเสียธรรมเนียม. แต่พวกชาวบ้าน ซึ่งเคยถวายจีวร คือผ้าอาบน้ำฝนแม้ในกาลก่อน ถึงหากว่าจะเป็นผู้มิใช่ญาติ และมิใช่ ผู้ปวารณาของตน ก็ไม่มีการเสียธรรมเนียม เพราะทำการเตือนสติ ใน ชนเหล่านั้น ทรงอนุญาตไว้. เมื่อภิกษุกระทำวิญญัตติให้สำเร็จเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ด้วยอัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท. เพราะเหตุไร? เพราะ ตรัสไว้ว่า ภิกษุเข้าไปหาพวกชาวบ้านผู้เคยถวายจีวร คือผ้าอาบน้ำฝนใน ก่อน แล้วพึงกล่าวอย่างนี้ ดังนี้เป็นต้น.

ก็จีวร คือผ้าอาบน้ำฝนนี้ ตามปกติ ย่อมมีแม้ในหมู่ทายกผู้ถวาย ผ้าอาบน้ำฝนนั่นแล. เมื่อภิกษุเตือนให้เกิดสติ โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นเอง แล้วให้สำเร็จจากที่แห่งคนผู้เป็นญาติและคนปวารณา ไม่เป็นอาบัติด้วย


(๑) วิ. ปริวาร. ๘/๕๓๕.

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1065

สิกขาบทนี้, เมื่อกระทำวิญญัตติให้สำเร็จมา ไม่เป็นอาบัติด้วยอัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท. จริงอยู่ คำว่า ไม่พึงบอกเขาว่า จงถวายแก่เรา นี้ ตรัสหมายถึงคนผู้มิใช่ญาติและมิใช่ปวารณานั่นเอง. พึงทราบกุจฉิสมัยจตุกกะ (หมวด ๔ ท้องสมัย) อย่างนี้.

ในคำว่า นคฺโค กายํ โอวสฺสาเปติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นี้ มี วินิจฉัยดังต่อไปนี้:- ภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝนนั้น พระวินัยธรอย่าปรับ ตามจำนวนเมล็ดน้ำฝน พึงปรับด้วยทุกกฏ ทุกๆ ประโยค ด้วยอำนาจ เสร็จการอาบน้ำ. ก็แล ภิกษุนั้นอาบน้ำที่ตกลงมาจากอากาศอยู่ ในลาน ที่เปิดเผย (กลางแจ้ง) เท่านั้น (จึงต้องทุกกฏ). เมื่ออาบอยู่ในซุ้มอาบน้ำ และในบึงเป็นต้น หรือด้วยน้ำที่ใช้หม้อตักรด (ตักอาบ) ไม่เป็นอาบัติ.

ในคำ วสฺสํ อุกฺกฑฺฒียติ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- ถ้าเมื่อผ้า อาบน้ำฝนทำเสร็จแล้ว พวกภิกษุให้เดือนท้ายฤดูสิ้นไปแล้วเลื่อนเดือนต้น ฤดูฝนนั่นแหละขึ้นมาเป็นเดือนท้ายฤดูร้อนอีก, พึงซักผ้าอาบน้ำฝนเก็บ ไว้. ไม่ต้องอธิษฐานไม่ต้องวิกัป ได้บริหารตลอด ๒ เดือน. พึง อธิษฐาน ในวันวัสสูปนายิกา (วันเข้าพรรษา). ถ้าว่าผ้าอาบน้ำฝนภิกษุ มิได้ทำ เพราะหลงลืมสติ หรือเพราะผ้าไม่พอก็ดี ย่อมได้บริหารตลอด ๖ เดือน คือ ๒ เดือนนั้นด้วย เดือนฤดูฝนด้วย. แต่ถ้าภิกษุกราน กฐินในเดือนกัตติกา ย่อมได้บริหารอีก ๔ เดือน. รวมเป็น ๑ เดือน ด้วยประการอย่างนี้. แม้ต่อจาก ๑๐ เดือนนั้นไป เมื่อมีความหวัง (จะ ได้ผ้าอาบน้ำฝน) ของภิกษุผู้ทำให้เป็นจีวรเดิมเก็บไว้ ได้บริหารอีก เดือนหนึ่ง ดังนั้น จึงได้บริหารตลอด ๑๑ เดือน ด้วยประการอย่างนี้.

ถามว่า ก็ถ้าว่า ผ้าอาบน้ำฝนที่ได้แล้วและสำเร็จแล้ว ในเมื่อวัน

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1066

เข้าพรรษายังไม่มาถึง ด้วยอำนาจแห่งวันหนึ่งและสองวันเป็นต้นจนถึง ๑๐ วัน หรือในภายในพรรษา จะพึงอธิษฐานเมื่อไร?

ตอบว่า คำนี้ ท่านไม่ได้วิจารณ์ไว้ในอรรถกถาทั้งหลาย. พวกเรา มีอัตโนมัติอย่างนี้ว่า ก็แล ผ้าอาบน้ำฝนที่สำเร็จแล้ว ภายใน ๑๐ วัน ตั้งแต่วันที่ได้มา พึงอธิษฐานภายใน ๑๐ วันนั้นนั่นเอง. ที่สำเร็จในเมื่อ ล่วง ๑๐ วันไป พึงอธิษฐานในวันนั้น, เมื่อยังไม่ครบ ๑๐ วัน ไม่พึง ให้เลยจีวรกาลไป. เพราะเหตุไร? เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราอนุญาตให้อธิษฐานไตรจีวร ไม่ใช่ให้วิกัป, ให้อธิษฐานผ้าอาบน้ำฝนตลอด ๔ เดือนฤดูฝน ต่อจากนั้นไปให้วิกัป. * เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นอาบัติ แม้เพราะล่วง ๑๐ วันไป ก่อนแต่วันเข้า พรรษา. สมจริง ดังที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุพึงทรงอติเรกจีวรได้ ๑๐ วันเป็น อย่างมาก.๒ เพราะฉะนั้น ผ้าอาบน้ำฝนที่ได้มาและสำเร็จแล้วในเมื่อวัน เข้าพรรษา ยังมาไม่ถึงด้วยอำนาจแห่งวันหนึ่ง และสองวัน เป็นต้น จน ถึง ๑๐ วัน หรือในภายในพรรษา พึงอธิฐานในภายใน ๑๐ วัน หรือ ในวันนั้น โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ, เมื่อยังไม่ครบ ๑๐ วัน ก็ไม่ พึงให้ล่วงเลยจีวรกาลไป.

ในอธิการแห่งผ้าอาบน้ำฝนนั้น จะพึงมีการท้วงว่า เพราะพระบาลี ว่า เราอนุญาตให้อธิษฐานตลอด ๔ เดือน ฤดูฝน, ในภายใน ๔ เดือน จะอธิษฐานในเวลาใดเวลาหนึ่ง ก็น่าจะใช้ได้. ถ้าเมื่อมีคำอย่างนี้, คำที่ ตรัสไว้ว่า เราอนุญาตให้อธิษฐานผ้าปิดฝีได้ตลอดเวลาที่ยังมีอาพาธ และ แม้ผ้าปิดฝีนั้น ก็ไม่ควรให้ล่วง ๑๐ วัน, และเมื่อมีการล่วง ๑๐ วันไป


(๑) วิ. มหา. ๕/๒๑๘.

(๒) วิ. มหา. ๒/๓.

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1067

อย่างนั้น คำว่า พึงทรงอติเรกจีวรได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง นี้ก็จะผิดไป; เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงควรเชื่อถือคำตามที่กล่าวแล้วนั่นแล. หรือว่าได้ เหตุที่ไม่หละหลวมอย่างอื่นแล้ว ก็ควรสลัดทิ้งเสีย.

อนึ่ง แม้ในกุรุนที ก็กล่าวไว้ในที่สุดแห่งนิสสัคคีย์ว่า ผ้าอาบน้ำ ฝนควรอธิษฐานเมื่อไร? ก็แล ผ้าอาบน้ำฝนที่สำเร็จแล้วภายใน ๑๐ วัน ตั้งแต่วันที่ได้มา ควรอธิษฐานภายใน ๑๐ วันนั้นนั่นแหละ, ถ้าผ้าไม่พอ ย่อมได้บริหารไปจนถึงเพ็ญเดือน ๑๒.

คำว่า อจฺฉินฺนจีวรสฺส นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเฉพาะ ผ้าอาบน้ำฝนเท่านั้น. จริงอยู่ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุเหล่านั้นผู้เปลือยกาย ในเพราะยังน้ำฝนให้รดร่างกาย.

ก็ในบทว่า อาปทาสุ นี้ อุปัทวะคือโจร ชื่อว่าอันตราย แห่ง ภิกษุผู้นุ่งผ้าอาบน้ำฝนมีราคาแพง อาบน้ำอยู่. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

วัสสิกสาฏิกสิกขาบท จบ

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร

[๑๔๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1068

ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ได้กล่าวชวนภิกษุสัทธิวิหาริกของภิกษุผู้เป็น พี่น้องกันว่า อาวุโส จงมา เราจักพากนหลีกไปเที่ยวตามชนบท

ภิกษุรูปนั้นตอบว่า ผมไม่ไปขอรับ เพราะมีจีวรเก่า

ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวขยั้นขยอว่า ไปเถิด อาวุโส ผม จักให้จีวรแก่ท่าน แล้วได้ให้จีวรแก่ภิกษุรูปนั้น

ภิกษุรูปนั้นได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จเที่ยวจาริก ไปตามชนบท จึงคิดว่า บัดนี้ เราจักไม่ไปเที่ยวตามชนบทกับท่านพระอุปนันทศากยบุตรละ จักตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเที่ยวจาริกไปตาม เสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเที่ยวจาริกไปตามชนบท

ครั้นถึงกำหนด ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้กล่าวคำนี้กะภิกษุ รูปนั้นว่า มาเถิด อาวุโส เราจักพากันไปเที่ยวตามชนบทในบัดนี้

ภิกษุรูปนั้นตอบว่า ผมไม่ไปกับท่านละ ผมจักตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเที่ยวจาริกไปตามชนบท

ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า ผมได้ให้จีวรแก่ท่านไปด้วย หมายใจว่าจักไปเที่ยวตามชนบทด้วยกัน ดังนี้แล้วโกรธ น้อยใจ ได้ชิง จีวรที่ให้นั้นคืนมา

ภิกษุรูปนั้นจึงได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย

บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตรให้จีวรแก่ภิกษุไปเองแล้ว จึงได้โกรธ น้อยใจ ชิงเอาคืนมา เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1069

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่าน พระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูก่อนอุปนันทะ ข่าวว่า เธอให้จีวรแก่ภิกษุ เองแล้ว โกรธ น้อยใจ ชิงเอาคืนมาจริงหรือ

ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การ กระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้ว จึงได้โกรธ น้อยใจ ชิงเอาคืนมาเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อ ความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่น ของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

ทรงบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยอเนก ปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคน บำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็น คนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความ

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1070

กำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดย อเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่ เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อ ถือตามพระวินัย ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๔๔. ๕. อนึ่ง ภิกษุใดให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้ว โกรธ น้อยใจ ชิงเอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๕๐] บทว่า อนึ่ง ... ใ ด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด มีการงาน อย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะ ก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1071

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฎิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า แก่ภิกษุ คือ แก่ภิกษุรูปอื่น.

บทว่า เอง คือ ให้เอง.

ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ ผ้าจีวร ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้า องค์กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัปเป็นอย่างต่ำ.

บทว่า โกรธ น้อยใจ คือ ไม่ชอบใจ มีใจฉุนเฉียว เกิดมีใจ กระด้าง.

บทว่า ชิงเอามา คือ ยื้อแย่งเอามาเอง จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์.

บทว่า ให้ชิงเอามา คือ ใช้คนอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุรับคำสั่งครั้งคราวเดียว ชิงเอามาแม้หลายคราว ก็เป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้นอย่างนี้:-

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1072

วิธีเสียสละ

เสียสละแก่สงฆ์

ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้แก่ภิกษุเองแล้วชิงเอามา เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.

เสียสละแก่คณะ

ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุ ผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้แก่ภิกษุเองแล้วชิงเอามา เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของ ท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1073

เสียสละแก่บุคคล

ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-

ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้แก่ภิกษุเองแล้วชิงเอามา เป็น ของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.

บทภาชนีย์

ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์

[๑๕๑] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ให้จีวรเองแล้ว โกรธ น้อยใจ ชิงเอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ให้จีวรเองแล้ว โกรธ น้อยใจ ชิงเอามา ก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ให้จีวรเองแล้ว โกรธ น้อยใจ ชิงเอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ

ภิกษุให้บริขารอย่างอื่นแล้ว โกรธ น้อยใจ ชิงเอามาก็ดี ให้ชิง เอามาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุให้จีวรก็ดี บริขารอย่างอื่นก็ดี แก่อนุปสัมบันแล้ว โกรธ น้อยใจ ชิงเอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1074

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ

อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๑๕๒] ภิกษุผู้ได้รับไปนั้นให้คืนเองก็ดี ภิกษุเจ้าของเดิมถือวิสาสะ แก่ผู้ได้รับไปนั้นก็ดี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๕

พรรณนาจีวรอัจฉินทนสิกขาบท

จีวรอัจฉินทนสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว ต่อไป:- ในจีวรอัจฉินทนสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

หลายบทว่า ยํปิ ตฺยาหํ ตัดบทเป็น ยํปิ เต อหํ แปลว่า เรา ได้ให้จีวรแม้ใดแก่ท่าน. ไ่ด้ยินว่า พระอุปนนท์นั้น คิดว่า ภิกษุนี้จัก นำบาตร จีวร รองเท้า และผ้าปูนอนเป็นต้นของเรา ไปสู่ที่จาริกกับ เรา จึงได้ให้แล้ว; เพราะเหตุนั้นแล เธอจึงได้กล่าวอย่างนั้น.

[ว่าด้วยการชิงคืน ของภิกษุผู้ให้จีวร]

บทว่า อจฺฉินฺทิ แปลว่า ได้ถือเอาแล้วโดยพลการ. แต่เพราะ ถือเอาด้วยสำคัญว่าของตน จึงไม่เป็นปาราชิกแก่เธอ. เพราะเธอทำให้ ลำบากแล้วถือเอาจีวร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงบัญญัติอาบัติไว้.

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1075

ข้อว่า สยํ อจฺฉินฺทติ นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ มีความว่า สำหรับ ภิกษุผู้ชิงเอาจีวรผืนเดียว และมากผืนซึ่งเนื่องเป็นอันเดียวกัน เป็นอาบัติ ตัวเดียว. เมื่อภิกษุชิงเอาจีวรมากผืนซึ่งไม่เนื่องเป็นอันเดียวกัน และตั้ง อยู่แยกกัน และเมื่อใช้ให้ผู้อื่นนำมาให้โดยสั่งอย่างนี้ว่า เธอจงนำสังฆาฎิ มา, จงนำผ้าอุตราสงค์มา เป็นอาบัติมากตัวตามจำนวนวัตถุ. แม้เมื่อ กล่าวว่า เธอจงนำจีวรทั้งหมดที่เราให้แล้วคืนมา ก็เป็นอาบัติจำนวนมาก เพราะคำพูดคำเดียวนั่นแล.

ข้อว่า อญฺํ อาณาเปติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า สั่งว่า เธอจงถือเอาจีวร เป็นทุกกฏตัวเดียว. ภิกษุผู้รับสั่งถือจีวรหลายตัว, ก็ เป็นปาจิตตีย์ตัวเดียว เมื่อภิกษุกล่าวว่า เธอจงเอาสังฆาฎิมา, จงเอา อุตราสงค์มา เป็นทุกกฏ ทุกๆ คำพูด. เมื่อกล่าวว่า เธอจงเอาจีวรที่เรา ให้ทั้งหมดคืนมา เป็นอาบัติจำนวนมาก เพราะคำพูดคำเดียว.

สองบทว่า อญฺํ ปริกฺขารํ มีความว่า บริขารอย่างใดอย่างหนึ่ง เว้นจีวรอย่างเล็กที่ควรจะวิกัปได้ โดยที่สุดแม้แต่เข็ม. แม้ในจำพวกเข็ม ที่ห่อเก็บไว้ ก็เป็นทุกกฏหลายตัวตามจำนวนวัตถุ. ในเข็มที่ห่อไว้หลวมๆ(ก็เป็นทุกกฏมากตัวตามจำนวนวัตถุ) อย่างนั้นเหมือนกัน. ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวว่า ก็ในเข็มทั้งหลายที่เขามัดไว้แน่นเป็นทุกกฏตัวเดียวเท่านั้น. แม้ในเข็มที่เขาใส่ไว้ในกล่องเข็ม ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. ถึงแม้ใน เภสัชมีเครื่องเผ็ดร้อน ๓ ชนิด ที่เขาใส่ไว้ในถุงย่ามมัดไว้หย่อน และมัด ไว้เป็น ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.

[อธิบายการคืนให้แก่เจ้าของเดิมแห่งภิกษุผู้รับไป]

สองบทว่า โส วา เทติ มีความว่า ให้คืนอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ!

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1076

จีวรนี้สมควรแก่ท่านเท่านั้น ดังนี้ ก็ดี. อีกอย่างหนึ่ง ก็ภิกษุหนุ่มนั้นถูก พระเถระนั้น กล่าวถ้อยคำมีอาทิอย่างนี้ว่า คุณ! เราได้ให้จีวรแก่เธอ ด้วยหวังว่า จักทำวัตรและปฏิวัตร จักถืออุปัชฌาย์ จักเรียนซึ่งธรรมใน สำนักของเรา มาบัดนี้ เธอนั้นไม่กระทำวัตร ไม่ถืออุปัชฌาย์ ไม่เรียน ธรรม ดังนี้ จึงให้คืนว่า ท่านขอรับ! ดูเหมือนท่านพูดเพื่อต้องการ จีวร, นี้จีวรของท่าน. ภิกษุผู้รับไปนั้น ให้คืนแม้ด้วยอาการอย่างนี้ก็ดี. ก็หรือว่าพระเถระกล่าวถึงภิกษุหนุ่มผู้หลีกไปสู่ทิศว่า พวกท่านจงให้เธอ กลับ. เธอไม่กลับ. พระเถระสั่งว่า พวกท่านจงยึดจีวรกันไว้ ถ้าอย่างนี้ เธอกลับเป็นการดี. ถ้าเธอกล่าวว่า พวกท่านดูเหมือนจะพูด เพื่อต้อง การบาตรและจีวร, พวกท่านจงรับเอามันไปเถิด แล้วให้คืน. แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าภิกษุผู้รับไปนั้นให้คืนเองก็ดี.

อนึ่ง พระเถระเห็นเธอสึกแล้วกล่าวว่า เราได้ให้บาตรและจีวรแก่ เธอด้วยหวังว่า จักกระทำวัตร บัดนี้ เธอนั้นก็สึกไปแล้ว. ฝ่ายภิกษุ หนุ่มที่สึกไปพูดว่า ขอท่านโปรดรับเอาบาตรและจีวรของท่านไปเถิด แล้วให้คืน. แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าภิกษุผู้รับไปนั้นนั่นแล ให้คืนเองก็ดี. แต่จะให้ด้วยกล่าวอย่างนี้ว่า เราให้แก่เธอผู้ถืออุปัชฌาย์ในสำนักของเรา เท่านั้น เราไม่ให้แก่ผู้ถืออุปัชฌาย์ในที่อื่น, เราให้เฉพาะแก่ผู้กระทำวัตร, ไม่ให้แก่ผู้ไม่กระทำวัตร เราให้แก่ผู้เรียนธรรมเท่านั้นไม่ให้แก่ผู้ไม่เรียน เราให้แก่ผู้ไม่สึกเท่านั้น ไม่ให้แก่ผู้สึก ดังนี้ ไม่ควร. เป็นทุกกฏแก่ผู้ ให้. แต่จะใช้ให้นำคืนมาควรอยู่. ภิกษุผู้ชิงเอาจีวรที่ตนสละให้แล้วคืนมา พระวินัยธรพึงปรับตามราคาสิ่งของ. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้น ทั้งนั้นแล.

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1077

สิกขาบทนี้ มี ๓ สมุฏฐาน ย่อมเกิดทางกายกับจิต ๑ ทางวาจา กับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ฉะนี้แล.

จีวรอัจฉินทนสิกขาบท จบ

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๑๕๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระเวฬุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นถึงคราวทำจีวร พระฉัพพัคคีย์ขอด้ายเขามาเป็นอันมาก แม้ทำจีวรเสร็จแล้ว ด้ายก็ยังเหลืออยู่เป็นอันมาก จึงพระฉัพพัคคีย์ได้ ปรึกษากันว่า อาวุโสทั้งหลาย ผิฉะนั้น พวกเราพากันไปขอด้ายแม้อื่นมา ให้ช่างหูกทอจีวรเถิด ครั้นไปขอด้ายแม้อื่นมาแล้ว ให้ช่างหูกทอจีวร แม้ทอจีวรแล้ว ด้ายก็ยังเหลืออยู่อีกมากมาย จึงไปขอด้ายแม้อื่นมา ให้ ช่างหูกทอจีวรอีกเป็นครั้งที่สอง แม้ทอจีวรแล้ว ด้ายก็ยังเหลืออยู่อีกมาก มาย จึงไปขอด้ายแม้อื่นมา ให้ช่างหูกทอจีวรอีกเป็นครั้งที่สาม

ชาวบ้านพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ขอด้ายเขามาเองแล้ว ยังช่างหูกให้ทอจีวรเล่า

ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1078

ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ขอ ด้ายเขามาเองแล้ว ยังช่างหูกให้ทอจีวรเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอขอด้ายเขามาเองแล้ว ยังช่างหูกให้ทอจีวร จริงหรือ

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้ขอด้ายเขามาเองแล้วยังช่างหูกให้ทอ จีวรเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใส แล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวก ที่เลื่อมใสแล้ว

ทรงบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยายดังนี้ แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1079

ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่า เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย ทรง กระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุ ทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ รันว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อ ถือตามพระวินัย ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๔๕. ๖. อนึ่ง ภิกษุใดขอด้ายมาเองแล้ว ยังช่างหูกให้ทอจีวร เป็นนิสัคคิยปาจิตตีย์

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1080

สิกขาบทวิภังค์

[๑๕๔] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด มีการ งานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติ อย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียง กันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบควรแก่ฐานะ บรรดา ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ใน อรรถนี้.

บทว่า เอง คือ ขอเขามาเอง

ด้ายมี ๖ อย่าง

ที่ชื่อว่า ด้าย นั้น มี ๖ อย่าง คือ ทำด้วยเปลือกไม้ ๑ ทำด้วย ฝ้าย ๑ ทำด้วยไหม ๑ ทำด้วยขนสัตว์ ๑ ทำด้วยป่าน ๑ ทำด้วยสัมภาระ เจือกันใน ๕ อย่างนั้น ๑.

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1081

บทว่า ยังช่างหูก คือ ยังช่างหูกให้ทอ เป็นทุกกฏในประโยคที่ ช่างหูกจัดทำอยู่นั้น เป็นนิสสัคคีย์ ด้วยได้จีวรมา จำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้นอย่างนี้:-

วิธีเสียสละ

เสียสละแก่สงฆ์

ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอด้ายมาเองแล้วยังช่างหูก ให้ทอ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ ป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้

เสียสละแก่คณะ

ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอด้ายมาเองแล้วยังช่างหูก ให้ทอ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1082

ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับ อาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของ ท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้

เสียสละแก่บุคคล

ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอด้ายมาเองแล้วยังช่างหูกให้ทอ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน

ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.

บทภาชนีย์

ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์

[๑๕๕] ให้เขาทอ ภิกษุสำคัญว่าให้เขาทอ เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์

ให้เขาทอ ภิกษุสงสัย เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ให้เขาทอ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ให้เขาทอ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1083

ทุกกฏ

ไม่ได้ให้เขาทอ ภิกษุสำคัญว่าให้เขาทอ ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ได้ให้เขาทอ ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ได้ให้เขาทอ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ให้เขาทอ ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๑๕๖] ภิกษุขอด้ายมาเพื่อเย็บจีวร ๑ ภิกษุขอด้ายมาทำผ้ารัดเข่า ๑ ภิกษุขอด้ายมาทำประคดเอว ๑ ภิกษุขอด้ายมาทำผ้าอังสะ ๑ ภิกษุขอด้าย มาทำถุงบาตร ๑ ภิกษุขอด้ายมาทำผ้ากรองน้ำ ๑ ภิกษุขอต่อญาติ ๑ ภิกษุขอต่อคนปวารณา ๑ ภิกษุขอเพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น ๑ ภิกษุ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๖

พรรณนาสุตตวิญญัตติสิกขาบท

สุตตวิญญัตติสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว ต่อไป:- ในสุตตวิญญัตติสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1084

[ว่าด้วยกำเนิดด้าย ๖ ชนิด]

บทว่า โขมํ ได้แก่ ด้ายที่ทำด้วยเปลือกไม้โขมะ.

บทว่า กปฺปาสิกํ ได้แก่ ด้ายที่เกิดจากฝ้าย.

บทว่า โกเสยฺยํ ได้แก่ ด้ายที่กรอด้วยใยไหม.

บทว่า กมฺพลํ ได้แก่ ด้ายทำด้วยขนแกะ.

บทว่า สาณํ ได้แก่ ด้ายที่ทำด้วยเปลือกไม้สาณะ (ป่าน).

บทว่า ภงฺคํ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ได้แก่ ด้ายที่ทำด้วยปอ ชนิดหนึ่งต่างหาก. แต่ด้ายที่เขาทำผสมกันด้วยสัมภาระทั้ง ๕ อย่างนั่น ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ภังคะ.

หลายบทว่า วายาเปติ ปโยเค ทุกฺกฏํ มีความว่า ถ้าช่างหูกไม่มี กระสวยและฟืมเป็นต้น, เขาคิดว่า เราจักนำของเหล่านั้นมาจากป่า จึง ลับมีดหรือขวาน, ตั้งแต่นั้นไปเขากระทำประโยคใดๆ เพื่อต้องการเครื่อง อุปกรณ์ก็ดี เพื่อต้องการจะทอจีวรก็ดี เป็นทุกกฏแก่ภิกษุทุกๆ ประโยค นั้นของช่างหูกในกิจทั้งปวง. เมื่อช่างหูกทอผ้าได้ด้านยาวประมาณคืบ ๑ และด้านกว้างประมาณศอก ๑ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. แต่ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวว่า เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ทุกๆ ผัง * (ทุกๆ ช่วงผัง) แก่ ภิกษุผู้ให้ช่างหูกทออยู่จนถึงที่สุด (จนสำเร็จ). แม้คำนั้น ก็พึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายเอาประมาณนี้นั่นแหละ. จริงอยู่ ประมาณผ้าอย่างต่ำควร วิกัปได้ จึงถึงการนับว่าจีวรแล.

[อธิบายการใช้ช่างหูกทอด้วยด้ายกัปปิยะเป็นต้น]

อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคำว่า วายาเปติ ปโยเค ทุกฺกฏํ นี้อย่างนี้:- จะกล่าวถึงด้ายก่อน ที่ภิกษุขอเองเป็นอกัปปิยะ. ด้ายที่เหลือ


(๑) ไม้สำหรับถ่างผ้าที่ทอให้ตึง ปลายทั้งสองมีเข็มสำหรับเสียบที่ริมผ้า.

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1085

อันบังเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งญาติเป็นต้น เป็นกัปปิยะ. แม้ช่างหูกก็ไม่ใช่ ญาติและไม่ใช่คนปวารณา ภิกษุได้มาด้วยการขอ เป็นอกัปปิยะ. ช่าง หูกที่เหลือเป็นกัปปิยะ. บรรดาด้ายและช่างหูกเหล่านั้น ด้ายที่เป็นอกัปปิยะ เป็นนิสสัคคีย์แก่ภิกษุผู้ให้ช่างหูกที่เป็นอกัปปิยะทอ โดยนัยดังกล่าว แล้วในก่อน.

อนึ่ง เมื่อภิกษุให้ช่างหูกที่เป็นอกัปปิยะนั้นแลทอด้ายที่เป็นกัปปิยะ เป็นทุกกฏ เหมือนเป็นนิสสัคคีย์ในเบื้องต้นนั่นแล. เมื่อภิกษุให้ช่างหูก อกัปปิยะนั้นแล ทอด้ายกัปปิยะและอกัปปิยะ ถ้าจีวรเป็นดุจกระทงนา เนื่องกันเท่าประมาณแห่งจีวรขนาดเล็ก อย่างนี้ คือ ตอนหนึ่งสำเร็จ ด้วยด้ายกัปปิยะล้วนๆ ตอนหนึ่งสำเร็จด้วยด้ายอกัปปิยะ. เป็นปาจิตตีย์ ในทุกๆ ตอนที่สำเร็จด้วยด้ายอกัปปิยะ. เป็นทุกกฏใน (ตอนที่สำเร็จด้วย ด้ายเป็นกัปปิยะ) นอกนี้ อย่างนั้นเหมือนกัน. ถ้ามีหลายตอนหย่อนกว่า ขนาดจีวรที่ควรวิกัปเป็นอย่างต่ำนั้น โดยที่สุด แม้ขนาดเท่าดวงไฟก็เป็น ทุกกฏตามจำนวนตอนในทุกๆ ตอน. ถ้าจีวรทอด้วยด้ายที่คั่นลำดับกัน ทีละเส้นก็ดี ทอให้ด้ายกัปปิยะอยู่ทางด้านยาว (ด้านยืน) ให้ด้ายอกัปปิยะ อยู่ทางด้านขวาง (ด้านพุ่ง) ก็ดี, เป็นทุกกฏทุกๆ ผัง.

จริงอยู่ เมื่อภิกษุใช้ให้ช่างหูกกัปปิยะทอด้ายที่เป็นอกัปปิยะ เป็น ทุกกฏ เหมือนเป็นนิสสัคคีย์ในเบื้องต้น. เมื่อภิกษุให้ช่างหูกกัปปิยะนั้น นั่นเอง ทอด้ายที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ ถ้าว่า มีตอนแห่งด้ายอกัปปิยะ หลายตอนขนาดเท่าจีวรอย่างเล็ก หรือหย่อนกว่า, ในตอนด้ายอกัปปิยะ เหล่านั้น เป็นทุกกฏด้วยจำนวนตอน. ในตอนด้ายที่เป็นกัปปิยะทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ. ถ้าจีวรทอด้วยด้ายคั่นลำดับกันทีละเส้นก็ดี ทอให้ด้าย

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1086

กัปปิยะอยู่ทางด้านยาว (ด้านยืน) ให้ด้ายอกัปปิยะอยู่ด้านขวาง (ด้านพุ่ง) ก็ดี, เป็นทุกกฏในทุกๆ ผัง (ทุกๆ ช่วงผัง).

[ว่าด้วยช่างหูก ๒ คนผลัดกันทอ]

ก็ถ้ามีช่างหูก ๒ คน คนหนึ่งเป็นกัปปิยะ คนหนึ่งเป็นอกัปปิยะ และด้ายก็เป็นอกัปปิยะ, ถ้าช่างหูก ๒ คนนั้นผลัดกันทอ, เป็นปาจิตตีย์ ในทุกๆ ผังที่ช่างหูกอกัปปิยะทอ เป็นทุกกฏ ในจีวรที่หย่อนลงมา. เป็นทุกกฏในตอนทั้งสองที่ช่างหูกกัปปิยะนอกนี้ทอ. ถ้าช่างหูกทั้ง ๒ คน จับฟืมทอด้วยกัน, เป็นทุกกฏในทุกๆ ผัง. ถ้าด้ายเป็นกัปปิยะ และ จีวรมีตอนด้วยการกั้นดังกระทงนาเป็นต้น, เป็นทุกกฏในทุกๆ ตอนที่ ช่างหูกกัปปิยะทอ. ในตอนที่ช่างหูกกัปปิยะนอกนี้ทอ ไม่เป็นอาบัติ. ถ้าช่างหูกทั้ง ๒ คน จับฟืมทอด้วยกัน เป็นทุกกฏในทุกๆ ผัง.

ถ้าแม้ด้ายเป็นทั้งกัปปิยะทั้งอกัปปิยะ, ถ้าช่างหูกทั้งสองคนนั้นผลัด กันทอ, ในตอนที่สำเร็จด้วยด้ายอกัปปิยะ มีขนาดเท่าจีวรอย่างเล็ก ซึง ช่างหูกอกัปปิยะทอ เป็นปาจิตตีย์ ตามจำนวนตอน. เป็นทุกกฏในตอน ทั้งหลายที่หย่อนลงมา และที่สำเร็จด้วยด้ายกัปปิยะ. เป็นทุกกฏเหมือนกันใน ตอนที่สำเร็จด้วยด้ายอกัปปิยะ ซึ่งได้ขนาดหรือหย่อนลงมา ที่ช่างหูก กัปปิยะทอ. ในตอนที่สำเร็จด้วยด้ายกัปปิยะ ไม่เป็นอาบัติ.

ถ้าช่างหูกทั้ง ๒ คนทอด้วยด้ายที่สลับกันทีละเส้นก็ดี ทอให้ด้าย อกัปปิยะอยู่ทางด้านยาว (ด้านยืน) ให้ด้ายกัปปิยะอยู่ทางด้านขวาง (ด้าน พุ่ง) ก็ดี แม้ทั้งสองคนจับฟืมทอด้วยกันก็ดี, เป็นทุกกฏทุกๆ ผัง ใน จีวรที่ไม่มีตอน. ส่วนเนื้อความว่า ในจีวรที่มีตอนเป็นทุกกฏหลายตัว ด้วยอำนาจแห่งตอน นี้ไม่ปรากฏในมหาอรรถกถา ปรากฏแต่ในมหาปัจจรีเป็นต้น, ในอรรถกถานี้ปรากฏโดยอาการทุกอย่างแล.

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1087

ถ้าทั้งด้ายก็เป็นกัปปิยะ ทั้งช่างหูกก็เป็นกัปปิยะ คือ เป็นญาติ และเป็นคนปวารณา หรือภิกษุจ้างมาด้วยมูลค่า ไม่เป็นอาบัติ เพราะ การใช้ให้ทอเป็นปัจจัย. แต่ภิกษุเมื่อจะป้องกันอาบัติ เพราะการล่วง ๑๐ วันเป็นปัจจัย พึงอธิษฐานจีวรที่ทอแล้วนั่นแหละ ในเมื่อหูกที่ช่างหูกทอ ได้ขนาดเท่าจีวรที่ควรวิกัป. เพราะว่า จีวรที่ช่างหูกทอให้สำเร็จลงโดย ล่วง ๑๐ วันไป จะพึงเป็นนิสสัคคีย์ ฉะนี้แล.

แม้ในจีวรที่พวกญาติเป็นต้นยกหูขึ้นแล้วมอบถวายว่า ท่านผู้เจริญ! ท่านพึงรับเอาจีวรนี้ เพื่อท่าน ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. ถ้าช่างหูกอัน ภิกษุว่าจ้างมาอย่างนี้ หรือเป็นผู้ประสงค์จะถวายเสียเอง จึงกล่าวว่า ท่าน ขอรับ! ผมจักทอจีวรถวายท่านในวันชื่อโน้นแล้วจักเก็บไว้, และภิกษุ ให้ล่วง ๑๐ วันไปจากวันที่ช่างหูกนั้นกำหนดไว้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. แต่ช่างหูกกล่าวว่า ผมจักทอจีวรเขาถวายท่านแล้วจักส่งข่าวไปให้ทราบ แล้ว ทำเหมือนอย่างที่พูดไว้, แก่ภิกษุที่เขาวานไป ไม่บอกแก่ภิกษุนั้น, ภิกษุ รูปอื่นเห็น หรือได้ยินแล้วบอกว่า ท่านขอรับ! จีวรของท่านสำเร็จแล้ว, การบอกของภิกษุนี้ ไม่เป็นประมาณ. แต่ในเวลาเมื่อเธอให้ล่วง ๑๐ วัน ไป จำเดิมแต่วันที่เธอได้ยินคำของภิกษุที่ช่างหูกนั้นวานไปนั่นแหละบอก จึงเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

ถ้าช่างหูกกล่าวว่า กระผมทอจีวร เพื่อท่านแล้ว จักส่งไปถวาย ในมือของภิกษุบางรูป แล้วกระทำตามที่พูดนั้น, แต่ภิกษุที่รับจีวรไปเก็บ ไว้ที่บริเวณของตน ไม่บอกแก่เธอ ภิกษุอื่นบางรูปกล่าวว่า ท่านขอรับ! จีวรที่มาใหม่สวยดีบ้างหรือ? เธอกล่าวว่า จีวรที่ไหนกัน คุณ!? ภิกษุ นั้นจึงตอบว่า ที่เขาส่งมาในมือแห่งภิกษุชื่อนี้, คำพูดแม้ของภิกษุนี้ ก็

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1088

ไม่เป็นประมาณ. ต่อเมื่อใดภิกษุนั้นถวายจีวร, เมื่อเธอให้ล่วง ๑๐ วัน ไปนับแต่วันที่ตนได้จีวรมานั้น เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. แต่ถ้าค่าจ้างให้ทอ เป็นของที่ภิกษุยังไม่ได้จ่ายให้, ยังรักษาอยู่ตราบเท่าที่ค่าจ้างทำยังเหลืออยู่ แม้เพียงกากณิกหนึ่ง.

ข้อว่า อนาปตฺติ จีวรํ สิพฺพิตุํ มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ขอด้ายเพื่อต้องการเย็บจีวร. ในจีวรทั้งหลายมีว่า ผ้ารัดเข่า เป็นต้น มีอธิบายว่า คำว่า อาโยเค เป็นต้น เป็นสัจจมีวิภัตติลงในอรรถแห่งนิมิต. ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ขอ ด้ายมีผ้ารัดเข่าเป็นต้นเป็นนิมิต. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ มีอรรถตื้น ทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

สุตตวิญญัติสิกขาบท จบ

ปัตตวรรค สิขาบทที่ ๗

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร

[๑๕๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่ง เมื่อจะไปแรมคืนต่างถิ่น ได้กล่าวคำนี้กะภรรยาว่า จงกะ ด้ายให้แก่ช่างหูกคนโน้นให้ทอจีวรแล้วเก็บไว้ ฉันกลับมาแล้วจักนิมนต์ พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครองจีวร

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1089

ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ได้ยินบุรุษผู้นั้นกล่าว วาจานี้ จึงเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงสำนัก ครั้นแล้วได้ กล่าวคำนี้แก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า อาวุโส อุปนันทะ ท่านเป็น ผู้มีบุญมาก ณ สถานตำบลโน้น บุรุษผู้หนึ่ง เมื่อจะไปแรมคืนต่างถิ่น ได้กล่าวคำนี้กะภรรยาว่า จงกะด้ายให้แก่ช่างหูกดนโน้นให้ทอจีวรแล้ว เก็บไว้ ฉันกลับมาแล้วจักนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครองจีวร ดังนี้

ท่านพระอุปนันทะกล่าวรับรองว่า มีขอรับ เขาเป็นอุปัฏฐากของผม

แม้ช่างหูกผู้นั้น ก็เป็นอุปัฏฐากของท่านพระอุปนันทศากยบุตร จึงท่านพระอุปนันทศากยบุตร เข้าไปหาช่างหูกผู้นั้นถึงบ้าน ครั้นแล้วได้ กล่าวคำนี้กะช่างหูกผู้นั้นว่า ท่าน จีวรผืนนี้แล เขาให้ท่านทอเฉพาะเรา ท่านจงทำให้ยาว ให้กว้าง ให้แน่น ให้เป็นของที่ขึงดี ให้เป็นของที่ ทอดี ให้เป็นของที่สางดี และให้เป็นของที่กรีดดี

ช่างหูกกล่าวว่า เขากะด้ายส่งมาให้กระผมเท่านี้เอง ขอรับ แล้ว สั่งว่า จงทอจีวรด้วยด้ายเท่านี้ กระผมไม่สามารถจะทำให้ยาว ให้กว้าง หรือให้แน่นได้ แต่สามารถจะทำให้เป็นของที่ขึงดี ให้เป็นของที่ทอดี ให้เป็นของสางดี และให้เป็นของที่กรีดดีได้ ขอรับ

ท่านพระอุปนันทะ กล่าวรับรองว่า เชิญท่านช่วยทำให้ยาว ให้ กว้าง และให้แน่นเถิด ความขัดข้องด้วยด้ายนั้น จักไม่มี

ครั้นช่างหูกนำด้ายตามที่เขาส่งมาเข้าไปในหูกแล้ว ด้ายไม่พอ จึง เข้าไปหาสตรีเจ้าของ แจ้งว่า ต้องการด้าย ขอรับ

สตรีเจ้าของกล่าวค้านว่า ดิฉันสั่งคุณแล้วมิใช่หรือว่า จงทอจีวร ด้วยด้ายเท่านี้

 
  ข้อความที่ 107  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1090

ช่างหูกอ้างเหตุว่า ท่านสั่งผมไว้จริง ขอรับ แต่พระคุณเจ้าอุปนันทะบอกผมอย่างนี้ว่า เชิญท่านช่วยทำให้ยาว ให้กว้าง และให้เป็นเถิด ความขัดข้องด้วยด้ายนั้น จักไม่มี

จึงสตรีผู้นั้นได้ให้ด้ายเพิ่มไปอีกเท่าที่ให้ไว้คราวแรก

ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้ทราบข่าวว่า บุรุษนั้นกลับมาจากที่ แรมคืนต่างถิ่นแล้ว จึงเข้าไปหาถึงเรือนบุรุษนั้น ครั้นแล้ว นั่งบน อาสนะะที่เขาจัดไว้

จึงบุรุษนั้นเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร กราบแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ถามภรรยาว่า จีวรที่ให้ทอเสร็จแล้วหรือยัง

ภรรยาตอบว่า เสร็จแล้ว เจ้าค่ะ

บุรุษนั้นสั่งว่า จงหยิบมา ฉันจักยังพระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครอง จีวร

จึงสตรีนั้นหยิบจีวรออกมาให้สามี แล้วได้เล่าเรื่องนั้นให้ทราบ บุรุษนั้นถวายจีวรนั้นแก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรแล้ว ได้เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาขึ้น ในขณะนั้นแลว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร เหล่านี้ เป็นคนมักมาก ไม่สันโดษ จะให้ครองจีวรก็ทำไม่ได้ง่าย ไฉน พระคุณเจ้าอุปนันทะอันเราไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน จึงได้เข้าไปหาช่างหูก แล้วถึงการกำหนดในจีวร

ภิกษุทั้งหลายได้ยินบุรุษนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่ เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตร อัน

 
  ข้อความที่ 108  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1091

เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน จึงได้เข้าไปหาช่างหูกของเจ้าเรือน แล้วถึงการ กำหนดในจีวรเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่าน พระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูก่อนอุปนันทะ ข่าวว่า เธออันเขาไม่ได้ ปวารณาไว้ก่อน ได้เข้าไปหาช่างหูกของเจ้าเรือนแล้ว ถึงการกำหนด ในจีวร จริงหรือ

ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ภ. เขาเป็นญาติของเธอ หรือมิใช่ญาติ

อุ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ ได้ ไม่ควรทำ คนที่มิใช่ญาติ ย่อมไม่รู้การกระทำอันสมควร หรือ ไม่สมควร ของที่มีอยู่หรือไม่มี ของคนที่มิใช่ญาติ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธออันเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ยังเข้าไปหาช่างหูกของเจ้าเรือนผู้มิใช่ ญาติ แล้วถึงการกำหนดในจีวรได้ การกระทำของเธอนั้นไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็น ไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น อย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

 
  ข้อความที่ 109  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1092

ทรงบัญญัติสิกขาบท

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดย อเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็น คนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความ เป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความ กำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียรโดย อเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๔๖. ๗. อนึ่ง พ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ สั่งช่างหูกให้ทอจีวรเฉพาะภิกษุ ถ้าภิกษุนั้นเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน

 
  ข้อความที่ 110  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1093

เข้าไปหาช่างหูกแล้ว ถึงความกำหนดในจีวรในสำนักของเขานั้นว่า จีวรผืนนี้ทอเฉพาะรูป ขอท่านจงทำให้ยาว ให้กว้าง ให้แน่นให้เป็น ของที่ขึงดี ให้เป็นของที่ทอดี ให้เป็นของที่สางดี ให้เป็นของที่กรีดดี แม้ไฉนรูปจะให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัลแก่ท่าน ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัล โดยที่สุดแม้สักว่าบิณฑบาต เป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์.

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๕๘] บทว่า อนึ่ง ... เฉพาะภิกษุ ความว่า เพื่อประโยชน์ของ ภิกษุ ทำภิกษุให้เป็นอารมณ์แล้ว ใคร่จะให้ภิกษุครอง

ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ตลอด ๗ ชั่วอายุของบุรพชนก

ผู้ชื่อว่า พ่อเจ้าเรือน ได้แก่ บุรุษผู้ครอบครองเรือน

ผู้ชื่อว่า แม่เจ้าเรือน ได้แก่ สตรีผู้ครอบครองเรือน

บทว่า ช่างหูก ได้แก่ คนทำการทอ

ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ ผ้าจีวร ๖ ชนิดๆ ใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์ กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัปเป็นอย่างต่ำ

บทว่า ให้หอ คือ ให้ทออยู่

บทว่า ถ้าภิกษุนั้น ... ในสำนักของเขานั้น ได้แก่ ภิกษุที่เขาสั่งให้ ช่างหูกทอจีวรไว้ถวายเฉพาะ

 
  ข้อความที่ 111  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1094

บทว่า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน คือ เป็นผู้อันเขาไม่ได้บอกไว้ ก่อนว่า ท่านเจ้าข้า ท่านจะต้องการจีวรเช่นไร ผมจักทอจีวรเช่นไรถวาย

บทว่า เข้าไปหาช่างหูกแล้ว คือ ไปถึงเรือนแล้ว เข้าไปหาใน ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง

คำว่า ถึงความกำหนดในจีวรนั้น คือการกำหนดในจีวรว่า จีวร ผืนนี้ทอเฉพาะรูป ขอท่านจงทำให้ยาว ให้กว้าง ให้แน่น ให้เป็นของ ที่ขึงดี ให้เป็นของที่ทอดี ให้เป็นของที่สางดี ให้เป็นของที่กรีดดี แม้ ไฉนรูปจะให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัลแก่ท่าน คำว่า ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัล โดยที่สุดแม้สักว่าบิณฑบาต อธิบายว่า ยาคูก็ดี ข้าวสารก็ดี ของเคี้ยว ก็ดี ก้อนจุรณก็ดี ไม้ชำระฟันก็ดี ด้วยเชิงชายก็ดี โดยที่สุดแม้กล่าว ธรรมก็ชื่อว่าบิณฑบาต เขาทำให้ยาวก็ดี ให้กว้างก็ดี ให้แน่นก็ดี ตาม คำของเธอเป็นทุกกฏในประโยคที่เขาทำ เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้จีวรมา ต้อง เสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้:-

วิธีเสียสละ

เสียสละแก่สงฆ์

ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้าไปหาช่างหูกของเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ถึงความกำหนดใน จีวร เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์

 
  ข้อความที่ 112  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1095

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่ แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.

เสียสละแก่คณะ

ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าไปหาช่างหูกของเจ้าเรือนผู้ใช่ญาติ ถึงความกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของ ท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้

เสียสละแก่บุคคล

ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่ง กระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้า เข้าไปหาช่างหูกของเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ถึงความกำหนดในจีวร เป็น ของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน

 
  ข้อความที่ 113  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1096

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรแก่ท่าน ดังนี้.

บทภาชนีย์

ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์

[๑๕๙] เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ เขาไม่ได้ ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาช่างหูกของเจ้าเรือนแล้ว ถึงความกำหนดใน จีวร เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไป หาช่างหูกของเจ้าเรือนแล้ว ถึงความกำหนดในจีวร เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง

เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ ก่อน เข้าไปหาช่างหูกของเจ้าเรือนแล้ว ถึงความกำหนดในจีวร เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ

เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ... ต้องอาบัติทุกกฏ

เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ

เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ... ไม่ต้องอาบัติ.

 
  ข้อความที่ 114  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1097

อนาปัตติวาร

[๑๖๐] ภิกษุขอต่อญาติ ๑ ภิกษุขอต่อคนปวารณา ๑ ภิกษุขอ เพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น ๑ ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตนเอง ๑ เจ้าเรือนใคร่จะให้ทอจีวรมีราคามาก ภิกษุให้ทอจีวรมีราคาน้อย ๑ ภิกษุ วิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๗

พรรณนามหาเปสการสิกขาบท

มหาเปสการสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว ต่อไป:- ในมหาเปสการสิกขาบทนั้นมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

สองบทว่า สุตฺตํ ธารยิตฺวา ได้แก่ ชั่งด้ายให้ได้กำหนดหนึ่งปละ.

บทว่า อปฺปิตํ แปลว่า ให้แน่น.

บทว่า สุวีตํ ได้แก่ ให้เป็นของที่ทอดี คือ ให้เป็นของที่ทอ เสมอในที่ทุกแห่ง. บ

ทว่า สุปฺปวายิตํ ได้แก่ ขึงให้ดี คือ ขึงหูกให้ตึงเสมอในที่ ทุกแห่ง.

บทว่า สุวิเลขิตํ แปลว่า ให้เป็นของสางดีด้วยเครื่องสาง.

บทว่า สุวิตจฺฉิตํ แปลว่า ให้เป็นของกรีดดีด้วยหวี (ด้วยแปรง). อธิบายว่า ให้เป็นของชำระเรียบร้อย.

บทว่า ปฏิพทฺธํ แปลว่า ความขาดแคลน.

 
  ข้อความที่ 115  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1098

บทว่า ตนฺเต มีความว่า นำเข้าไปในหูกที่ขึงไปทางด้านยืนนั่นแล. (ด้านยาว).

หลายบทว่า ตตฺร เจโส ภิกขุ มีความว่า ในคามหรือนิคมที่พวก ช่างหูกเหล่านั้นอยู่.

สองบทว่า วิกปฺปํ อาปชฺเชยฺย มีความว่า ถึงความกำหนดเอา พิเศษ คือจัดแจงเอาอย่างยิ่ง. แต่ในบาลี เพื่อทรงแสดงอาการที่เป็น เหตุให้ภิกษุถึงความกำหนดเอา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิทํ โข อาวุโส เป็นต้น.

สองบทว่า ธมฺมํปิ ภณติ ได้แก่ กล่าวธรรมกถา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอาการ คือการเพิ่มด้ายเท่านั้น ด้วยคำว่า เขาทำให้ยาว ก็ดี ให้กว้างก็ดี ให้แน่นก็ดี ตามคำของภิกษุนั้น.

สองบทว่า ปุพฺเพ อปฺปวาริโต ได้แก่ เป็นผู้อันเจ้าของแห่งจีวร ทั้งหลายมิได้ปวารณาไว้. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล. มหาเปสการสิกขาบท จบ

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘ เรื่องมหาอำมาตย์คนหนึ่ง

[๑๖๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ

 
  ข้อความที่ 116  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1099

พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น มหาอำมาตย์ผู้หนึ่ง เมื่อจะไปแรมคืนต่างถิ่น ได้ส่งทูตไปในสำนักภิกษุ ทั้งหลายว่า นิมนต์ท่านผู้เจริญทั้งหลายมา ข้าพเจ้าจักถวายผ้าจำนำพรรษา ภิกษุทั้งหลายไม่ไป รังเกียจอยู่ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าจำนำ พรรษาแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ออกพรรษาแล้ว จึงท่านมหาอำมาตย์ผู้นั้นเพ่ง โทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนท่านผู้เจริญทั้งหลาย เมื่อเราส่งทูตไปแล้ว จึงได้ไม่มาเล่า เพราะเราจะไปในกองทัพ จะเป็นหรือจะตายก็ยากที่จะรู้ได้

ภิกษุทั้งหลายได้ทราบข่าวมหาอำมาตย์ผู้นั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอนุญาตอัจเจกจีวร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ไม่เพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อรับอัจเจกจีวรแล้วเก็บไว้ได้

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายทราบพระพุทธานุญาตินั้นแล้ว รับอัจเจกจีวรเก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาล จีวรเหล่านั้น ภิกษุห่อแขวนไว้ที่สายระเดียง

ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไปตามเสนาสนะได้พบเห็นจีวรเหล่านั้นที่ ภิกษุทั้งหลายห่อแขวนไว้ที่สายระเดียง ครั้นแล้วได้เรียกภิกษุทั้งหลายมา ถามว่า อาวุโสทั้งหลาย จีวรเหล่านี้ของใครห่อแขวนไว้ที่สายระเดียง

ภิกษุทั้งหลายตอบว่า อัจเจกจีวรของพวกกระผม ขอรับ

ท่านพระอานนท์ซักว่า เก็บไว้นานเท่าไรแล้ว จึงภิกษุเหล่านั้นได้แจ้งแก่ท่านพระอานนท์ ตามที่ตนได้เก็บไว้ นานเท่าไร

 
  ข้อความที่ 117  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1100

ท่านพระอานนท์เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลาย รับอัจเจกจีวรแล้ว จึงได้เก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาลเล่า แล้วกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุทั้งหลายรับอัจเจกจีวรแล้ว เก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาล จริงหรือ

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ กระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้รับอัจเจกจีวรแล้ว เก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาลเล่า การกระทำของ ภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดย ที่แท้ การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น เป็นไปเพื่อความไม่ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชน บางพวกที่เลื่อมใส

ทรงบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นโดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความ

 
  ข้อความที่ 118  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1101

เป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจ- คร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่า เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๔๗. ๘. วันปุรณมีที่ครบ ๓ เดือน แห่งเดือนกัตติกา ยังไม่ มาอีก ๑๐ วัน อัจเจกจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ภิกษุรู้ว่าเป็นอัจเจกจีวร พึงรับไว้ได้ ครั้นรับไว้แล้ว พึงเก็บไว้ได้จนตลอดสมัยที่เป็นจีวรกาล ถ้าเธอเก็บไว้ยิ่งกว่านั้น เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

เรื่องมหาอำมาตย์คนหนึ่ง จบ

 
  ข้อความที่ 119  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1102

สิกขาบทวิภังค์

[๑๖๒] บทว่า ยังไม่มาอีก ๑๐ วัน คือ ก่อนวันปวารณา ๑๐ วัน

บทว่า วันปุรณมีที่ครบ ๓ เดือน แห่งเดือนกัตติกา นั้น คือวัน ปวารณา ท่านกล่าวว่าวันเพ็ญเดือนกัตติกา

ที่ชื่อว่า อัจเจกจีวร อธิบายว่า บุคคลประสงค์จะไปในกองทัพก็ดี บุคคลประสงค์จะไปแรมคืนต่างถิ่นก็ดี บุคคลเจ็บไข้ก็ดี สตรีมีครรภ์ก็ดี บุคคลยังไม่มีศรัทธา มามีศรัทธาเกิดขึ้นก็ดี บุคคลที่ยังไม่เลื่อมใส มามี ความเลื่อมใสเกิดขึ้นก็ดี ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า นิมนต์ ท่านผู้เจริญมา ข้าพเจ้าจัดถวายผ้าจำนำพรรษา ผ้าเช่นนี้ชื่อว่าอัจเจกจีวร

คำว่า ภิกษุรู้ว่าเป็นอัจเจกจีวร พึงรับไว้ได้ ครั้นรับไว้แล้ว พึง เก็บไว้ได้จนตลอดสมัยที่เป็นจีวรกาล ดังนี้นั้น คือ พึงทำเครื่องหมาย ว่า นี้อัจเจกจีวร แล้วเก็บไว้

ที่ชื่อว่า สมัยที่เป็นจีวรกาล คือ เมื่อไม่ได้กรานกฐิน ได้ท้าย ฤดูฝน ๑ เดือน เมื่อกรานกฐินแล้ว ได้ขยายออกไปเป็น ๕ เดือน

คำว่า ถ้าเธอเก็บไว้ยิ่งกว่านั้น คือ เมื่อไม่ได้กรานกฐิน เก็บไว้ ล่วงเลยวันสุดท้ายแห่งฤดูฝน เป็นนิสสัคคีย์ เมื่อได้กรานกฐินแล้ว เก็บ ไว้ล่วงเลยวันกฐินเดาะ เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละอัจเจกจีวรนั้น อย่างนี้:-

 
  ข้อความที่ 120  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1103

วิธีเสียสละ

เสียสละแก่สงฆ์

ภิกษุรูปนั้นพึงเขาไปหาสงฆ์ ห่มผาอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านเจ้าข้า ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เก็บไว้ล่วงเลยสมัย จีวรกาล เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้แก่สงฆ์

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า อัจเจกจีวรผืนนี้ของภิกษุมี ชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้

เสียสละแก่คณะ

ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านเจ้าข้า ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เป็นไว้ล่วงเลยสมัย จีวรกาล เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้แก่ท่าน ทั้งหลาย

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ท่านทั้งหลาย ของจงฟังข้าพเจ้า ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้ของภิกษุมี ชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความ

 
  ข้อความที่ 121  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1104

พร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้ผ้าอัจเจกจีวร ผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้

เสียสละแก่บุคคล

ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

ท่าน ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เก็บไว้ล่วงเลยสมัยจีวรกาล เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้แก่ท่าน

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.

บทภาชนีย์

นิสสัคคิยปาจิตตีย์

[๑๖๓] อัจเจกจีวร ภิกษุสำคัญว่าเป็นอัจเจกจีวร เก็บไว้ล่วงสมัย จีวรกาล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อัจเจกจีวร ภิกษุสงสัย เก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อัจเจกจีวร ภิกษุสำคัญว่ามิใช่อัจเจกจีวร เก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จีวรยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว เก็บไว้ล่วง สมัยจีวรกาล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จีวรยังไม่ได้วิกัป ภิกษุสำคัญว่าวิกัปแล้ว เก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

 
  ข้อความที่ 122  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1105

จีวรยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าสละแล้ว เก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จีวรยังไม่หาย ภิกษุสำคัญว่าหายแล้ว เก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว เก็บไว้ล่วงสมัยจีวร กาล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว เก็บไว้ล่วงสมัย จีวรกาล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จีวรยังไม่ถูกชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกชิงไปแล้ว เก็บไว้ล่วงสมัย จีวรกาล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ

จีวรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่ได้สละ บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ใช่อัจเจกจีวร ภิกษุสำคัญว่าอัจเจกจีวร ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ใช่อัจเจกจีวร ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ใช่อัจเจกจีวร ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่อัจเจกจีวร ... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๑๖๔] ภิกษุอธิษฐาน ๑ ภิกษุวิกัป ๑ ภิกษุสละให้ไป ๑ จีวร

 
  ข้อความที่ 123  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1106

หาย ๑ จีวรฉิบหาย ๑ จีวรถูกไฟไหม้ ๑ จีวรถูกชิงเอาไป ๑ ภิกษุถือ วิสาสะ ๑ ในภายในสมัย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๘

พรรณนาอัจเจกจีวรสิกขาบท

อัจเจกจีวรสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว ต่อไป:- ในอัจเจกจีวรสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า ทสาหานาคตํ มีความว่า วันทั้งหลาย ๑๐ ชื่อว่า ทสาหะ. (วันปุรณมีที่ครบ ๓ เดือนแห่งเดือนกัตติกา) ยังไม่มาโดยวัน ๑๐ นั้น ชื่อว่า ทสาหานาคตะ. อธิบายว่า ยังไม่มาถึง ๑๐ วัน. ในวันปุรณมีที่ ยังไม่มาถึงอีก ๑๐ วันนั้น. ทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ ด้วย อำนาจแห่งอัจจันตสังโยค. เพราะเหตุนั้นแล ในบทภาชนะแห่งบทว่า ทสาหานาคตํ นั้น จึงตรัสว่า ทสาหานาคตาย.

ก็คำว่า ปวารณาย นี้ เป็นคำประกอบตามหลัง เพื่อความไม่ฉงน เพื่อจะแสดงปวารณาที่ตรัสไว้ว่า ทสาหานาคตา โดยสรูป.

[อธิบายการเกิดแห่งอัจเจกจีวร]

บทว่า กตฺติกเตมาสิกปุณฺณมํ แปลว่า วันปุรณมีที่ครบ ๓ เดือน แห่งเดือนกัตติกาต้น. แม้ในบทว่า กตฺติกเตมาสิกปุณฺณมํ นี้ ก็เป็น ทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ โดยนัยก่อนเหมือนกัน เพราะ

 
  ข้อความที่ 124  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1107

ประกอบตามหลังบทต้น. มีคำอธิบายว่า วันมหาปวารณาแรก ตรัสเรียก ว่า ทสาหานาคตา ตั้งแต่กาลใดไป. ถ้าแม้นว่าอัจเจกจีวร พึงเกิดขึ้น แก่ภิกษุแน่นอนตลอดวันเหล่านั้นทีเดียว (ใน ๑๐ วันนั้น วันใดวันหนึ่ง). ภิกษุรู้ว่า นี้เป็นอัจเจกจีวร (จีวรรีบด่วน) พึงรับไว้ได้แม้ทั้งหมด.

ด้วยคำว่า ทสาหานาคตํ กตฺติกเตมาสิกปุณฺณมํ นั้น เป็นอัน พระองค์ทรงแสดงกาลเป็นที่เก็บจีวรซึ่งเกิดขึ้นจำเดิมแต่วันที่ ๕ ค่ำ แห่ง ชุณหปักษ์ของเดือนปวารณา. ก็กาลเป็นที่เก็บจีวรนั่นสำเร็จด้วยคำว่า พึง ทรงอติเรกจีวรได้ ๑๐ วัน เป็นอย่างยิ่ง นี้ ก็จริงแล แต่ทรงแสดง เรื่องเหมือนไม่เคยมี ด้วยอำนาจแห่งเรื่องที่เกิดขึ้น แล้วทรงตั้งสิกขาบท ไว้.

จีวรรีบด่วนตรัสเรียกว่า อัจเจกจีวร. ก็เพื่อแสดงจีวรนั้นเป็นผ้า รีบด่วน จึงตรัสคำว่า บุคคลประสงค์จะไปในกองทัพก็ดี เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า สทฺธา นี้ ทรงแสดงเหตุเพียง สัทธาธรรมดาเท่านั้น.

ด้วยบทว่า ปสาโท นี้ ทรงแสดงสัทธาอย่างแรงกล้า มีความ ผ่องใสดี.

จีวรที่ทายกมีความประสงค์จะถวายด้วยเหตุเหล่านี้จึงส่งทูตมา หรือ มาบอกเองอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าจักถวายผ้าจำนำพรรษา ได้ชื่อว่า อัจเจกจีวร ในคำว่า เอตํ อจฺเจกจีวรํ นาม นี้แล. แต่ถึงจีวรที่ภิกษุปัจจุทธรณ์ (ถอน) แม้ซึ่งจีวรที่มิใช่อัจเจกจีวร อันเกิดขึ้นตั้งแต่วัน ๖ ค่ำแล้ว เก็บ ไว้ ก็ได้บริหารนี้เหมือนกัน.

หลายบทว่า สญฺาณํ กตฺวา นิกฺขิปิตฺพฺพํ ได้แก่ พึงทำเครื่องหมาย

 
  ข้อความที่ 125  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1108

บางอย่างแล้ว เก็บไว้. คำว่า พึงทำเครื่องหมายแล้วเก็บไว้ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ทำไม? เพราะว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายแจกอัจเจกจีวรนั้น ก่อนวันปวารณา, ภิกษุที่ได้ผ้าอัจเจกจีวรนั้นไป ต้องไม่เป็นผู้ขาดพรรษา. แต่ถ้าเป็นผู้ขาดพรรษา จีวรจะกลายเป็นของสงฆ์ไปเสีย; เพราะฉะนั้น จักต้องกำหนดแจกให้ดี; (เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำนี้ไว้).

คำอย่างนี้ว่า อจฺเจกจีวเร อจฺเจกจีวรสญฺี เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเฉพาะจีวรที่แจกกันไปแล้ว. แต่ถ้ายังไม่ได้แจก กัน หรือเป็นจีวรที่เก็บไว้ในเรือนคลังของสงฆ์, แม้ในเพราะล่วงสมัยไป ก็ไม่เป็นอาบัติ. อติเรกจีวรได้บริหาร ๑๐ วัน ด้วยประการฉะนี้ ไตรจีวร ไม่มีบริหารเลยแม้วันเดียว. ผู้ศึกษาพึงทราบว่า จีวร คือ ผ้าอาบน้ำฝนที่ยังไม่ได้ทำ เมื่อ ไม่ได้กรานกฐิน ได้บริหาร ๕ เดือน, เมื่อเพิ่มฤดูฝน (เพิ่มอธิกมาส) ได้บริหาร ๖ เดือน, เมื่อได้กรานกฐินได้บริหารอีก ๔ เดือน, ได้บริหาร อีกหนึ่งเดือน ด้วยอำนาจการอธิษฐานให้เป็นจีวรเดิม เมื่อมีความหวังจะ ได้ (ผ้า) ในวันสุดท้ายแห่งฤดูหนาว รวมเป็นได้บริหาร ๑๑ เดือน อย่างนี้. อัจเจกจีวร เมื่อไม่ได้กรานกฐิน ได้บริหาร ๑ เดือนกับ ๑๑ วัน, เมื่อได้กรานกฐิน ได้บริหาร ๕ เดือนกับ ๑๑ วัน, ต่อจากนั้นไป ไม่ ได้บริหาร แม้วันเดียว.

บทว่า อนจฺเจกจีวเร ได้แก่ ในจีวรอื่นที่คล้ายกับอัจเจกจีวร. คำ ที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีกฐินเป็นสมุฏฐาน เป็นอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์

 
  ข้อความที่ 126  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1109

อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.

อัจเจกจีวรสิกขาบท จบ

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๙

เรื่องภิกษุหลายรูป

[๑๖๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้วยับยั้งอยู่ในเสนาสนะป่า พวกโจรเดือน ๑๒ เข้าใจว่า ภิกษุทั้งหลายจึงได้ลาภแล้ว จึงพากันเที่ยวปล้น ภิกษุทั้งหลาย ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอนุญาตให้เก็บจีวรไว้ในละแวกบ้าน

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมีกถา ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะป่า เก็บไตร จีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้

ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง อนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะป่า เก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวก บ้านได้ จึงเก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้าน แล้วอยู่ปราศเกิน ๖ คืน จีวรเหล่านั้นหายบ้าง ฉิบหายบ้าง ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกหนูกัด

 
  ข้อความที่ 127  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1110

บ้าง ภิกษุทั้งหลายมีแต่ผ้าไม่ดี มีแต่จีวรปอน จึงถามกันขึ้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย เพราะเหตุใด พวกท่านจึงมีแต่ผ้าไม่ดี มีแต่จีวรปอน ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย

บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายจึง เก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้าน แล้วอยู่ปราศเกิน ๖ คืนเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุเก็บไตรจีวรผืนใด ผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้าน แล้วอยู่ปราศเกิน ๖ คืน จริงหรือ

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ กระทำของพวกภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน ภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้เก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งในละแวกบ้าน แล้วอยู่ปราศเกิน ๖ คืนเล่า การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 128  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1111

นั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อ ความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

ทรงบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นโดยอเนกปริยาย ดังนี้ แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่ น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อ ถือตามพระวินัย ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 129  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1112

พระบัญญัติ

๔๘. ๙. อนึ่ง ภิกษุจำพรรษาแล้ว จะอยู่ในเสนาสนะป่า ที่ รู้กันว่าเป็นที่มีรังเกียจ มีภัยจำเพาะหน้า ตลอดถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒ ปรารถนาอยู่ พึงเก็บจีวร ๓ ผืนๆ ใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้ และปัจจัยอะไรๆ เพื่อจะอยู่ปราศจากจีวรนั้น จะพึงมีแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นพึงอยู่ปราศจากจีวรนั่นได้ ๖ คืนเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเธออยู่ปราศ ยิ่งกว่านั้น เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๖๖] บทว่า อนึ่ง ... จำพรรษาแล้ว คือ ภิกษุออกพรรษาแล้ว วันเพ็ญเดือน ๑๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ตรงกับวันปุรณมีดิถีเป็น ที่เต็ม ๔ เตือน ในกัตติกมาส

คำว่า เสนาสนะป่า เป็นต้น ความว่า เสนาสนะที่ชื่อว่า ป่า นั้นมีระยะไกล ๕๐๐ ชั่วธนูเป็นอย่างน้อย

ที่ชื่อว่า เป็นที่รังเกียจ คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม มี สถาน ที่อยู่ ที่กิน ที่ยืน ที่นั่ง ที่นอน ของพวกโจรปรากฏอยู่

ที่ชื่อว่า มีภัยเฉพาะหน้า คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม มี มนุษย์ถูกพวกโจร ฆ่า ปล้น ทุบตี ปรากฏอยู่

คำว่า ภิกษุ ... จะอยู่ในเสนาสนะป่า ... ความว่า ภิกษุจะยับยั้งอยู่ ในเสนาสนะเห็นปานนั้น.

 
  ข้อความที่ 130  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1113

บทว่า ปรารถนาอยู่ คือ พอใจอยู่

คำว่า จีวร ๓ ผืนๆ ใดผืนหนึ่ง ได้แก่ ผ้าสังฆาฏิ ผ้าอุตราสงค์ หรือผ้าอันตรายวาสก

คำว่า พึงเก็บ ... ไว้ในละแวกบ้านได้ คือ พึงเก็บไว้ในโคจรคาม โดยรอบได้

คำว่า และปัจจัยอะไรๆ เพื่อจะอยู่ปราศจากจีวรนั้น จะพึงมี แก่ภิกษุนั้น คือ มีเหตุ มีกิจจำเป็น

คำว่า ภิกษุนั้นพึงอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ ๖ คืนเป็นอย่างยิ่ง ความ ว่า พึงอยู่ปราศจากได้เพียง ๖ คืนเป็นอย่างมาก. บทว่า เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ คือ ยกเว้นภิกษุผู้ได้รับสมมติ

คำว่า ถ้าเธออยู่ปราศยิ่งกว่านั้น ความว่า เมื่ออรุณที่ ๗ ขึ้นมา จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือ บุคคล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้นอย่างนี้:-

วิธีเสียสละ

เสียสละแก่สงฆ์

ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศแล้วเกิน ๖ คืน เป็น ของจำจะสละ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรนี้แก่สงฆ์

 
  ข้อความที่ 131  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1114

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึง ที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้

เสียสละแก่คณะ

ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศแล้วเกิน ๖ คืน เป็นของจำจะสละ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ ท่านทั้งหลาย

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของ ท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.

เสียสละแก่บุคคล

ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่ง กระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศแล้วเกิน ๖ คืน เป็นของ จำจะสละ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน

 
  ข้อความที่ 132  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1115

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.

บทภาชนีย์

นิสสัคคิยปาจิตตีย

[๑๖๗] จีวรเกิน ๖ คืน ภิกษุสำคัญว่าเกิน อยู่ปราศ เว้นไว้แต่ ภิกษุได้สมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จีวรเกิน ๖ คืน ภิกษุสงสัย อยู่ปราศ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จีวรเกิน ๖ คืน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ถึง อยู่ปราศ เว้นไว้แต่ภิกษุ ได้สมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จีวรยังไม่ได้ถอน ภิกษุสำคัญว่าถอนแล้ว อยู่ปราศ เว้นไว้แต่ ภิกษุได้สมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จีวรยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าสละแล้ว อยู่ปราศ เว้นไว้แต่ภิกษุ ได้สมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จีวรยังไม่หาย ภิกษุสำคัญว่าหายแล้ว อยู่ปราศ เว้นไว้แต่ได้สมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว อยู่ปราศ เว้นไว้แต่ ภิกษุได้สมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว อยู่ปราศ เว้น ไว้แต่ภิกษุได้สมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

 
  ข้อความที่ 133  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1116

จีวรยังไม่ถูกชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกชิงไปแล้ว อยู่ปราศ เว้นไว้ แต่ภิกษุได้สมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ

จีวรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุไม่ได้สละ บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ

จีวรยังไม่ถึง ๖ ราตรี ภิกษุสำคัญว่าเกิน ... ต้องอาบัติทุกกฏ

จีวรยังไม่ถึง ๖ ราตรี ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ

จีวรยังไม่ถึง ๖ ราตรี ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ถึง ๖ ราตรี บริโภค ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๑๖๘] ภิกษุอยู่ปราศ ๖ ราตรี ๑ ภิกษุอยู่ปราศไม่ถึง ๖ ราตรี ๑ ภิกษุอยู่ปราศ ๖ ราตรีแล้วกลับมายังคามสีมา อยู่แล้วหลีกไป ๑ ภิกษุ ถอนเสียภายใน ๖ ราตรี ๑ ภิกษุสละให้ไป ๑ จีวรหาย ๑ จีวรฉิบหาย ๑ จีวรถูกไฟไหม้ ๑ จีวรถูกชิงเอาไป ๑ ภิกษุถือวิสาสะ ๑ ภิกษุได้สมมติ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

 
  ข้อความที่ 134  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1117

ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๙

พรรณนาสาสังกสิกขาบท

สาสังกสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:- ในสาสังกสิกขาบทนั้นมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

สองบทว่า วุฏฺวสฺสา อารญฺเกสุ มีความว่า ภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้น แม้ในกาลก่อน ก็อยู่ในป่าเหมือนกัน. แต่ภิกษุเหล่านั้นอยู่ จำพรรษาในเสนาสนะใกล้แดนบ้าน ด้วยสามารถแห่งปัจจัย เพราะเป็น ผู้มีจีวรคร่ำคร่า เป็นผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว ปรึกษากันว่า บัดนี้พวกเราหมด กังวลแล้ว จักกระทำสมณธรรม จึงพากันอยู่ในเสนาสนะป่า.

บทว่า กตฺติกโจรกา ได้แก่ พวกโจรในเดือน ๑๒.

บทว่า ปริปาเตนฺติ มีความว่า ย่อมรบกวน คือ วิ่งขวักไขว่ไป มาในที่นั้นๆ แล้วทำให้หวาดเสียว ให้หนีไป.

สองบทว่า อนฺตรฆเร นิกฺขิปิตุํ ได้แก่ เพื่อเก็บไว้ในภายในบ้าน.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตให้เก็บไว้ในละแวกบ้าน เพื่อ สงวนจีวรไว้ เพราะธรรมดาว่า ปัจจัยทั้งหลาย เป็นของหาได้ยากโดย ชอบธรรม, จริงอยู่ ภิกษุผู้มีความขัดเกลา ไม่อาจเพื่อจะขอจีวร แม้ กะมารดา. แต่พระองค์ไม่ทรงห้ามการอยู่ป่า เพราะเป็นการสมควรแก่ ภิกษุทั้งหลาย.

ในคำว่า อุปวสฺสํ โข ปน นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า อุปวสฺสํ คือ เข้าอยู่แล้ว. มีคำอธิบายว่า เข้าอยู่จำพรรษา แล้ว. แท้จริง บัณฑิตพึงเห็นนิคหิตในคำว่า อุปวสฺสํ นี้ ดุจในคำมี คำว่า อุปสมฺปชฺชํ เป็นต้น. ความว่า เข้าถึงฤดูฝนและอยู่แล้ว (เข้าจำ

 
  ข้อความที่ 135  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1118

พรรษาและปวารณาแล้ว). และบทว่า อุปวสฺสํ นี้ สัมพันธ์ด้วยคำนี้ว่า ตถารูเปสุ ภิกฺขุ เสนาสเนสุ วิหรนฺโต แปลว่า ภิกษุอยู่ในเสนาสนะ เห็นปานนั้น.

ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร? ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุเข้าถึงฤดูฝน และอยู่แล้ว (เข้าจำพรรษาและปวารณาแล้ว) จะอยู่ในเสนาสนะป่าที่รู้กัน ว่าเป็นที่รังเกียจ มีภัยจำเพาะหน้าเห็นปานนั้น ตลอดกาลอันเป็นที่สุดแห่ง วันเพ็ญเดือนกัตติกาหลัง ต่อจากนั้นมา เมื่อปรารถนาพึงเก็บจีวร ๓ ผืน ผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้

อนึ่ง เพราะว่า ภิกษุใด เข้าจำพรรษาแล้ว อยู่มาจนถึงวันเพ็ญ เดือนกัตติกาต้น, ภิกษุรูปนั้น เป็นผู้อยู่ภายในแห่งพวกภิกษุผู้อยู่จำพรรษา แล้ว; ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะไม่ทรงทำการวิจารณ์พยัญชนะ ที่รกรุงรังยิ่งนี้ แสดงบุคคลผู้ควรแก่การเก็บจีวรอย่างเดียวในบทภาชนะ จึงตรัสคำว่า วุฏฺวสฺสานํ ดังนี้. ถึงบทว่า วุฏฺวสฺสานํ นั้น ก็สัมพันธ์ กับคำนี้ว่า ภิกษุเมื่ออยู่ในเสนาสนะ. จริงอยู่ ในคำว่า วุฏฺวสฺสานํ นี้ มีใจความดังนี้ว่า อยู่ในเสนาสนะทั้งหลาย ของพวกภิกษุผู้อยู่จำพรรษา แล้ว. มีคำอธิบายว่า ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งอยู่ภายในแห่งภิกษุทั้งหลายผู้เห็น ปานนี้. ลักษณะแห่งป่า ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในวรรณนาแห่งอทินนาทาน. ส่วนความแปลกกันดังต่อไปนี้:- ถ้าว่า วัดมีเครื่องล้อม พึงวัดตั้งแต่ เสาเขื่อนแห่งบ้านซึ่งมีเครื่องล้อม และจากสถานที่ควรล้อมแห่งบ้านที่ไม่ ได้ล้อมไป จนถึงเครื่องล้อมวัด. ถ้าเป็นวัดที่ไม่ได้ล้อม, สถานที่ใดเป็น แห่งแรกเขาทั้งหมด จะเป็นเสนาสนะก็ดี โรงอาหารก็ดี สถานที่ประชุม

 
  ข้อความที่ 136  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1119

ประจำก็ดี ต้นโพธิ์ก็ดี เจดีย์ก็ดี, ถ้าแม้นมีอยู่ห่างไกลจากเสนาสนะ, พึงวัดเอาที่นั้นให้เป็นเขตกำหนด.

ถ้าแม้นว่า มีหมู่บ้านอยู่ใกล้, พวกภิกษุอยู่ที่วัด ย่อมได้ยินเสียง ของพวกชาวบ้าน, แต่ไม่อาจจะไปทางตรงได้ เพราะมีภูเขาและแม่น้ำ เป็นต้นกั้นอยู่ และทางใดเป็นทางตามปกติของบ้านนั้น ถ้าแม้นจะต้อง โดยสารไปทางเรือ, ก็พึงกำหนดเอาที่ห้าร้อยชั่วธนู จากบ้านโดยทางนั้น. แต่ภิกษุใดปิดกั้นหนทางในที่นั้นๆ เพื่อยังบ้านใกล้ให้ถึงพร้อมด้วยองค์ ภิกษุนี้ พึงทราบว่า ผู้ขโมยธุดงค์.

บทว่า สาสงฺกสมฺมตาน แปลว่า รู้กันว่า เป็นที่มีรังเกียจ. อธิบายว่า เขารู้กันแล้วอย่างนั้น. แต่ในบทภาชนะ เพื่อจะทรงแสดง การณ์เป็นเหตุให้เสนาสนะเหล่านั้นเป็นที่รู้กันว่า เป็นที่มีรังเกียจ จึงตรัส คำมีว่า อาราเม อารามูปจาเร เป็นต้น. เสนาสนะที่เป็นไปกับด้วยภัย เฉพาะหน้า ชื่อว่า สปฏิภยะ (มีภัยเฉพาะหน้า). อธิบายว่า มีภัยร้ายแรง ชุกชุม. แต่ในบทภาชนะ เพื่อทรงแสดงการณ์เป็นเหตุให้เสนาสนะ เหล่านั้นเป็นที่มีภัยจำเพาะหน้า จึงตรัสคำว่า อาราเม อารามูปจาเร เป็นต้น.

ข้อว่า สมนฺตา โคจรคาเม นิกฺขิเปยฺย มีความว่า เมื่อมีองค์ครบ พึงเก็บไว้ ในโคจรคามที่ตนพอใจ ในทุกทิศาภาคโดยรอบแห่งเสนาสนะ

ในเสนาสนะป่านั้น มีองคสมบัติดังต่อไปนี้:- ภิกษุเข้าพรรษา ในวันเข้าพรรษาแรก ปวารณาในวันมหาปวารณา, นี้เป็นองค์อันหนึ่ง. ถ้าภิกษุเข้าพรรษาในวันเข้าพรรษาหลังก็ดี มีพรรษาขาดก็ดี ย่อมไม่ได้ เพื่อจะเก็บไว้. เป็นเดือน ๑๒ เท่านั้น, นี้เป็นองค์ที่ ๒. นอกจากเดือน

 
  ข้อความที่ 137  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1120

๑๒ ไป ย่อมไม่ได้เพื่อจะเก็บ. เป็นเสนาสนะที่ประกอบด้วยประมาณ อย่างต่ำ ๕๐๐ ชั่วธนูเท่านั้น, นี้เป็นองค์ที่ ๓. ในเสนาสนะที่มีขนาด หย่อน หรือมีขนาดเกินคาวุตไป ย่อมไม่ได้ (เพื่อจะเก็บไว้). จริงอยู่ ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตแล้วอาจเพื่อกลับมาสู่วัดทันเวลาฉัน ในเสนาสนะใด, เสนาสนะนั้น ทรงประสงค์เอา ในสิกขาบทนี้. แต่ภิกษุผู้รับนิมนต์ไว้ ไปสิ้นทางกึ่งโยชน์บ้าง โยชน์หนึ่งบ้าง แล้วกลับมาเพื่อจะอยู่. ที่นี้ไม่ใช่ ประมาณ. เป็นเสนาสนะมีความรังเกียจ และมีภัยเฉพาะหน้าเท่านั้น, นี้ เป็นองค์ที่ ๔ จริงอยู่ ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะ ไม่มีความรังเกียจ ไม่มีภัย เฉพาะหน้า แม้ประกอบด้วยองค์ก็ไม่ได้ เพื่อจะเก็บไว้ ฉะนี้แล.

สองบทว่า อญฺตฺร ภิกฺขุสมฺมติยา มีความว่า เว้นไว้แต่โกสัมพิกสมมติ ที่ทรงอนุญาตไว้ในอุทโทสิตสิกขาบท. ก็ถ้าว่า มีภิกษุได้ สมมตินั้นไชร้, จะอยู่ปราศจากเกิน ๖ ราตรีไปก็ได้.

คำว่า ปุน คามสีมํ โอกฺกมิตฺวา มีความว่า ถ้ามีเสนาสนะอยู่ทาง ทิศตะวันออกจากโคจรคาม และภิกษุนี้ จะไปยังทิศตะวันตก, เธอไม่ อาจจะมายังเสนาสนะให้ทันอรุณที่ ๗ ขึ้น แวะลงสู่แม้คามสีมาพักอยู่ใน สภาหรือในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ทราบข่าวคราวแห่งจีวรแล้วจึงหลีกไป ควรอยู่.

ภิกษุผู้ไม่อาจอย่างนั้น พึงยืนอยู่ในที่ที่ตนไปแล้วนั้นนั่นแล ปัจจุทธรณ์ (ถอน) เสีย. จีวรจักตั้งอยู่ ในฐานแห่งอติเรกจีวร ฉะนี้แล. คำ ที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื่นทั้งนั้นแล.

 
  ข้อความที่ 138  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1121

สิกขาบทนี้ มีกฐินเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑ ทาง กายวาจากับจิต ๑ เป็นอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

สาสังกสิกขาบท จบ

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๑๖๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ในพระนครสาวัตถี มีชาวบ้านหมู่หนึ่ง จัดภัตตาหารพร้อมทั้งจีวรไว้ถวาย สงฆ์ ด้วยตั้งใจว่าจักให้ฉันแล้วจึงให้ครองจีวร ณ เวลาเดียวกันนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ได้เข้าไปหาชาวบ้านหมู่นั้น ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะชาวบ้าน หมู่นั้นว่า ท่านทั้งหลาย ขอพวกท่านจงให้จีวรเหล่านี้แก่พวกอาตมา

ชาวบ้านหมู่นั้นกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า พวกกระผมจะถวายไม่ได้ เพราะพวกกระผม จัดภิกษาหารพร้อมทั้งจีวรได้ถวายแก่พระสงฆ์ทุกปี พระฉัพพัคคีย์กล่าวว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย ทายกของสงฆ์มีมาก ภัตตาหารของสงฆ์ก็มีมาก พวกอาตมาอาศัยพวกท่าน เห็นอยู่แต่พวกท่าน จึง อยู่ในที่นี้ ถ้าพวกท่านไม่ให้แก่พวกอาตมา เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่าจัก ให้แก่พวกอาตมา ขอพวกท่านจงให้จีวรเหล่านี้ แก่พวกอาตมาเถิด

เมื่อชาวบ้านหมู่นั้น ถูกพระฉัพพัคคีย์แค่นได้ จึงได้ถวายจีวรตาม ที่ได้จัดไว้แก่พระฉัพพัคคีย์แล้วอังคาสพระสงฆ์เฉพาะภัตตาหาร

 
  ข้อความที่ 139  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1122

บรรดาภิกษุที่ทราบว่า เขาจัดภัตตาหารพร้อมทั้งจีวรไว้ถวาย พระสงฆ์ แต่ไม่ทราบว่า เขาได้ถวายจีวรแก่พระฉัพพัคคีย์ไปแล้ว จึง ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ขอพวกท่านจงน้อมถวายจีวรแก่พระสงฆ์ เถิด

ชาวบ้านหมู่นั้นกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า จีวรตามที่ได้จัดไว้ไม่มี เพราะ พระคุณเจ้าเหล่าพระฉัพพัคคีย์น้อมไปเพื่อตนแล้ว

บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ รู้อยู่ จึงได้น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตนเล่า แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอรู้อยู่ น้อมลาภที่เขา น้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน จริงหรือ

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของ สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอรู้อยู่ จึงได้น้อมลาภที่เขา น้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตนเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น

 
  ข้อความที่ 140  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1123

ไม่เป็นไปเพื่อความเสื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวก เธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และ เพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

ทรงบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยายดังนี้ แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่ น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อ ความรับว่าดีแห่งสงฆ์ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ เพื่อข่มบุคคล ผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกัน อาสวะอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดใน อนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความ เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑

 
  ข้อความที่ 141  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1124

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๔๙. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะ ถวายสงฆ์มาเพื่อตน เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๗๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการ งานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างโด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะ ก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกขุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่าภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 142  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1125

ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้

ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เอง หรือคนอื่นบอกเธอ หรือเจ้าตัวบอก

ที่ชื่อว่า เป็นของจะถวายสงฆ์ ได้แก่ ของที่ถวายแล้ว บริจาค แล้ว แก่สงฆ์

ที่ชื่อว่า ลาภ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัชบริขาร อันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ โดยที่สุด แม้ก้อนแห่งจุรณ ไม้ชำระฟัน ด้าย ชายผ้า

ที่ชื่อว่า ที่เขาน้อมไว้ คือ เขาได้เปล่งวาจาไว้ว่า จักถวาย จัก กระทำ ภิกษุน้อมมาเพื่อตน ในประโยคที่ทำเป็นทุกกฏ ได้มาเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละลาภนั้น อย่างนี้:-

วิธีเสียสละ

เสียสละแก่สงฆ์

ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านเจ้าข้า ลาภนี้เขาน้อมไปเป็นของจะถวายสงฆ์ ข้าพเจ้ารู้ อยู่ น้อมมาเพื่อตน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละลาภนี้แก่สงฆ์

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนลาภที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ลาภนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น

 
  ข้อความที่ 143  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1126

ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่ แล้ว สงฆ์พึงให้ลาภนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้

เสียสละแก่คณะ

ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านเจ้าข้า ลาภนี้เขาน้อมไปเป็นของจะถวายสงฆ์ ข้าพเจ้ารู้ อยู่ น้อมมาเพื่อตน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละลาภนี้แก่ท่าน ทั้งหลาย

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนลาภที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า ลาภนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของ ท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้ลาภนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.

เสียสละแก่บุคคล

ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

ท่าน ลาภนี้เขาน้อมไปเป็นของจะถวายสงฆ์ ข้าพเจ้ารู้อยู่ น้อมมาเพื่อตน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละลาภนี้แก่ท่าน

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนลาภที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้ลาภนี้แก่ท่าน ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 144  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1127

บทภาชนีย์

นิสสัคคิยปาจิตตีย์

ลาภที่เขาน้อมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเขาน้อมไว้ น้อมมาเพื่อตน เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ

ลาภที่เขาน้อมไว้ ภิกษุสงสัย น้อมมาเพื่อตน ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ

ลาภที่เขาน้อมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเขาไม่ได้น้อมไว้ น้อมมาเพื่อตน ไม่ต้องอาบัติ

ทุกกฏ

ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อสงฆ์ ภิกษุน้อมมาเพื่อสงฆ์หมู่อื่นก็ดี เพื่อ เจดีย์ก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ

ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อเจดีย์ ภิกษุน้อมมาเพื่อเจดีย์อื่นก็ดี เพื่อสงฆ์ ก็ดี เพื่อคณะก็ดี เพื่อบุคคลก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ

ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อบุคคล ภิกษุน้อมมาเพื่อบุคคลอื่นก็ดี เพื่อ สงฆ์ก็ดี เพื่อคณะก็ดี เพื่อเจดีย์ก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ

ลาภที่เขาไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเขาน้อมไว้ น้อมมาเพื่อตน ต้องอาบัติทุกกฏ

ลาภที่เขาไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ

 
  ข้อความที่ 145  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1128

ไม่ต้องอาบัติ

ลาภที่เขาไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุสำคัญว่า เขาไม่ได้น้อมไว้ น้อมมา เพื่อตน ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๑๗๑] ภิกษุอันพวกทายกถามว่า จะถวายที่ไหน ดังนี้ บอก แนะนำว่า ไทยธรรมของพวกท่าน พึงได้รับการใช้สอย พึงได้รับการ ปฏิสังขรณ์ หรือพึงตั้งอยู่ได้นาน ในที่ใด ก็หรือจิตของพวกท่านเลื่อมใส ในภิกษุรูปใด ก็จงถวายในที่นั้น หรือภิกษุรูปนั้นเถิดดังนี้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วรรคที่ ๓ จบ

หัวข้อประจำเรื่อง

๑. ปัตตสิกขาบท ว่าด้วยบาตร

๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท ว่าด้วยบาตรมีแผลหย่อนห้า

๓. เภสัชชสิกขาบท ว่าด้วยเภสัช

๔. วัสสิกสาฏิกสิกขาบท ว่าด้วยผ้าอาบน้ำฝน

๕. จีวรอัจฉินทนสิกขาบท ว่าด้วยการให้จีวรแล้วชิงเอามา

๖. สุตตวิญญัตติสิกขาบท ว่าด้วยการขอด้ายมาเอง

๗. เปสการสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งช่างหูก ให้ทอจีวร

๘. อัจเจกจีวรสิกขาบท ว่าด้วยอัจเจกจีวร

 
  ข้อความที่ 146  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1129

    ๙. สาสังกสิกขาบท ว่าด้วยเสนาสนะป่าเป็นที่มีรังเกียจ และ

    ๑๐. ปริณตสิกขาบท ว่าด้วยการน้อมลาภ ที่เขาจะถวายเป็นของสงฆ์

    รวม ๑๐ สิกขาบทเหล่านี้ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้วดังนี้แล.

บทสรุป

    [๑๗๒] ท่านทั้งหลาย ธรรม คือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในธรรม คือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์ แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สองว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว หรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ในธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท เหล่านี้ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

    นิสสัคคิยกัณฑ์ จบ

ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขายทที่ ๑๐

พรรณนาปริณตสิกขาบท

    ปริณตสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:- ในปริณตสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

    บทว่า ปูคสฺส แปลว่า หมู่. ความว่า หมู่ผู้บำเพ็ญธรรม.

 
  ข้อความที่ 147  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1130

    บทว่า ปฏิยตฺตํ แปลว่า ตกแต่งแล้ว.

ด้วยคำว่า พหู สงฺฆสฺส ภตฺตา นี้ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ย่อมแสดงความหมายว่า สงฆ์มีภัตมากมาย คือมีทางเกิดลาภมิใช่น้อย สงฆ์ไม่บกพร่องด้วยอะไรๆ.

บทว่า โอโณเชถ แปลว่า พวกท่านจงถวาย.

ถามว่า ก็การที่ภิกษุกล่าวอย่างนี้ ควรหรือ?

ตอบว่า เพราะเหตุไร จะไม่ควร? เพราะว่าภิกษาที่เขานำมาจำเพาะนี้ เป็นของที่เขานำมาตกแต่งไว้ เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ในคราวหนึ่ง. ธรรมดาปยุตวาจา (การออกปากขอ) ย่อมไม่มีในปัจจัยมีจีวร เป็นต้น ที่เขานำมาตระเตรียมไว้ และในส่วนที่เขาตั้งเจาะจงไว้.

[อธิบายลาภสงฆ์และการน้อมลาภสงฆ์]

    บทว่า สงฺฆิกํ แปลว่า ของมีอยู่แห่งสงฆ์. จริงอยู่ ลาภนั้นแม้ยังไม่ถึงมือ ก็จัดว่าเป็นของสงฆ์ โดยปริยายหนึ่ง เพราะเขาน้อมไปเพื่อสงฆ์แล้ว, แต่ในบทภาชนะ ท่านพระอุบาลีแสดงลาภของสงฆ์โดยตรงทีเดียว ด้วยอำนาจแห่งการขยายความ อย่างนี้ว่า ที่ชื่อว่าของสงฆ์ ได้แก่ ของที่เขาถวายแล้ว บริจาคแล้วแก่สงฆ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวัตถุที่สงฆ์ควรได้ ด้วยบทว่า ลาภํ. ด้วยเหตุนั้น แล ในนิเทศแห่งบทว่า ลาภํ นั้น จึงตรัสคำว่า จีวรํปิ เป็นต้น.

บทว่า ปริณตํ ได้แก่ ที่เขาถวายสงฆ์ คือ ที่เขาตั้งไว้เป็นของโอนไปเพื่อสงฆ์ เอนไปเพื่อสงฆ์. ก็เพื่อทรงแสดงการณ์เป็นเหตุที่เขาน้อมลาภนั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบทภาชนะว่า คือ ที่เขาเปล่งวาจาว่า พวกข้าพเจ้า จักถวาย จักกระทำ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 148  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1131

    สองบทว่า ปโยเค ทุกฺกฏํ มีความว่า เป็นทุกกฏ ทุกประโยคที่น้อมลาภซึ่งเขาน้อมไป (เพื่อสงฆ์) มาเพื่อตน. เป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือ เพราะลาภนั้นถึงมือ. แต่ถ้าว่าของนั้นเป็นอันเขาถวายสงฆ์แล้ว, จะรับเอาของที่เขาถวายสงฆ์แล้วนั้นมา ไม่ควร, พึงถวายแก่สงฆ์นั้นแล. ก็ภิกษุใด พลอยกินกับพวกคนวัด, สงฆ์พึงให้ตีราคาภัณฑะนั้น ปรับอาบัติแก่ภิกษุนั้น. แต่เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้ว่าลาภเขาน้อมไปเพื่อสงฆ์ แล้วน้อมลาภที่เขาน้อมไปแล้ว ของพวกสหธรรมิกก็ดี ของพวกคฤหัสถ์ก็ดี โดยที่สุดแม้ของมารดา มาเพื่อตนว่า ท่านจงให้สิ่งนี้แก่เรา แล้วถือเอา. เป็นปาจิตตีย์ล้วนๆ แก่ภิกษุผู้น้อมไปเพื่อคนอื่นอย่างนี้ว่า ท่านจงให้แก่ภิกษุนี้. ภิกษุน้อมบาตรใบหนึ่ง หรือจีวรผืนหนึ่งมาเพื่อตน น้อมไปเพื่อคนอื่นใบหนึ่ง หรือผืนหนึ่ง, เป็นทั้งนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ทั้งสุทธิกปาจิตตีย์. ในบาตรและจีวรมาก ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. ข้อนี้ สมจริงดังคำที่พระอุบาลีเถระกล่าวไว้ว่า

    ภิกษุพึงต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ และอาบัติปาจิตตีย์ล้วน ที่ตรัสไว้ในขุททกสิกขาบทพร้อมกัน, ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว

ก็ปัญหานี้ ท่านกล่าวหมายเอาการน้อม (ลาภ). ฝ่ายภิกษุใดทราบว่า ผ้าอาบน้ำฝนเขาน้อมไปเพื่อสงฆ์แม้ในเรือนของมารดา ในสมัยแห่งผ้าอาบน้ำฝนแล้วน้อมเอาไปเพื่อตน, เป็นนิสสัคคีย์แก่ภิกษุนั้น น้อมไปเพื่อผู้อื่น เป็นปาจิตตีย์ล้วน. พวกชาวบ้าน ปรึกษากันว่า พวกเราจักกระทำสังฆภัต จึงนำเนยใสและน้ำมันเป็นต้นมา. ถ้าแม้นภิกษุอาพาธ รู้ว่าเขาน้อมไปเพื่อถวายสงฆ์แล้ว ยังขออะไรๆ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์

 
  ข้อความที่ 149  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1132

เหมือนกัน. ก็ถ้าภิกษุอาพาธนั้นถามว่า เนยใสเป็นต้นของพวกท่านที่นำมา มีอยู่หรือ? เมื่อพวกเขาตอบว่า มีอยู่ขอรับ! แล้วกล่าวว่า พวกท่านจงให้แก่เราบ้าง ดังนี้ สมควร. ถ้าแม้นพวกอุบาสก รังเกียจภิกษุอาพาธนั้น พูดว่า แม้สงฆ์ย่อมได้เนยใสเป็นต้นที่พวกเราถวายนี้แหละ. นิมนต์ท่านรับเถิด ขอรับ! แม้อย่างนี้ ก็ควร.

ข้อว่า สงฺฆสฺส ปริณตํ อญฺสงฺฆสฺส มีความว่า น้อมลาภที่เขาน้อมไปเพื่อถวายสงฆ์ในวัดหนึ่ง หรือที่เขาน้อมไปเฉพาะวัดอื่นด้วยพูดว่า พวกท่านจงถวายแก่สงฆ์ในวัดชื่อโน้น.

บทว่า เจติยสฺส วา มีความว่า น้อมไปเพื่อเจดีย์อย่างนี้ว่า ถวายสงฆ์จะมีประโยชน์อะไร? พวกท่านจงทำการบูชาแก่พระเจดีย์ ดังนี้ก็ดี.

ในคำว่า เจติยสฺส ปริณตํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- แม้จะบูชาดอกไม้ที่เจดีย์อื่น จากต้นไม้ดอกที่เขากำหนดปลูกไว้ เพื่อประโยชน์แก่เจดีย์อื่น ก็ไม่ควร. แต่เห็นฉัตรหรือธงแผ่นผ้าที่เขาบูชาไว้แก่เจดีย์หนึ่ง แล้วให้ถวายของที่เหลือแก่เจดีย์อื่น สมควรอยู่.

สองบทว่า ปุคฺคลสฺส ปริณตํ มีความว่า ชั้นที่สุดแม้อาหารที่เขาน้อมไปเพื่อสุนัข ภิกษุน้อมไปเพื่อตัวอื่นอย่างนี้ว่า ท่านอย่าให้แก่สุนัขตัวนี้ ดังนี้ ก็เป็นทุกกฏ. แต่ถ้าพวกทายกกล่าวว่า พวกเราอยากจะถวายภัตแก่สงฆ์, อยากจะบูชาพระเจดีย์. อยากจะถวายบริขารแก่ภิกษุรูปหนึ่ง, จักถวายตามความพอใจของพวกท่าน, ขอท่านโปรดบอก, พวกเราจะถวายในที่ไหน? เมื่อพวกทายกกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้น พึงบอกพวกเขาว่า พวกท่านจงถวายในที่ซึ่งพวกท่านปรารถนา. แต่ถ้าพวก

 
  ข้อความที่ 150  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1133

ทายกถามอย่างเดียวว่า พวกข้าพเจ้า จะถวาย ณ ที่ไหน, ภิกษุพึงกล่าว
ตามนัยที่มาแล้วในบาลีนั่นแล. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มี ๓ สมุฏฐาน เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางวาจา
กับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ
โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.

พรรณนาปริณตสิกขาบท ในอรรถกถาพระวินัย

ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ

ติงสกกัณฑ์ จบ