พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑ (ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๑)

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 มี.ค. 2565
หมายเลข  42765
อ่าน  573

[เล่มที่ 4] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒

พระวินัยปิฎก เล่ม ๒

มหาวิภังค์ ทุติยภาค

ปาจิตติยภัณฑ์

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๑

มุสาวาทวรรค

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระหัตถกะศากยบุตร 173/1

พระบัญญัติ 4

สิกขาบทวิภังค์ 174/4

บทภาชนีย์ 175/4

อาการของการกล่าวเท็จทั้งๆ ที่รู้ไม่เห็นว่าเห็น 176/5

อนาปัตติวาร 181/14

ขุททกกัณฑวรรณนา

ปาจิตตีย์มุสาวาทวรรคที่ ๑

มุสาวาท สิกขาบทที่ ๑ 20

แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระหัตถกะ 20

อรรถาธิบายอนริยโวหาร ๘ อย่าง 22


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 4]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 1

พระวินัยปิฎก เล่ม ๒

มหาวิภังค์ ทุติยภาค

ปาจิตติยภัณฑ์

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๑

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระหัตถกะ ศากยบุตร

[๑๗๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นพระ หัตถกะ ศากยบุตรเป็นคนพูดสับปลับ ท่านเจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์ กล่าว ปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จ ทั้งๆ ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้ว ทำให้คลาดเคลื่อน.

พวกเดียรถีย์พากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระหัตถกะ ศากยบุตรเจรจาอยู่กับพวกเรา จึงได้กล่าวปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฎิเสธ เอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้ว ทำให้คลาดเคลื่อนเล่า.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 2

ภิกษุทั้งหลายได้ยินเดียรถีย์พวกนั้น เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ จึงเข้าไปหาพระหัตถกะ ศากยบุตรถึงสำนัก ครั้นแล้วได้ถามพระหัตถกะว่า อาวุโสหัตถกะ ข่าวว่าท่านเจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์ กล่าวปฏิเสธแล้วรับ กล่าว รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่ พูด นัดหมายไว้แล้ว ทำให้คลาดเคลื่อน จริงหรือ.

พระหัตถกะ ศากยบุตรตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าพวกเดียรถีย์ เหล่านี้ เราต้องเอาชนะด้วยวิธีใครวิธีหนึ่ง เราไม่ควรให้ความชนะแก่เดียรถีย์ พวกนั้น.

บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระหัตถกะ ศากยบุตร เจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์ จึงได้กล่าวปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฎิเสธ เอา เรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้ว ทำให้ คลาดเคลื่อนเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม พระหัตถกะ ศากยบุตรว่า จริงหรือหัตถกะ ข่าวว่าเธอเจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์ กล่าวปฏิเสธ แล้วรับ กล่าวรับแล้ว ปฏิเสธ เอาเรื่องอื่นเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้ว ทำให้คลาดเคลื่อน.

พระหัตถกะ ศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 3

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอ เจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์ จึงได้กล่าวปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฎิเสธ เอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้ว ทำให้คลาดเคลื่อนเล่า การกระทำของเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั้น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส และเพื่อ ความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.

ทรงบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรง ติเตียนพระหัตถกะ ศากยบุตร โดยอเนก ปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลีความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความ สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ ปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักกับบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ ทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่ง ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก เพื่อป้องกัน อาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อ กำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 4

เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่น แห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๕๐.๑ เป็นปาจิตตีย์ในเพราะสัมปชานมุสาวาท.

เรื่องพระหัตถกะ ศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๗๔] ที่ชื่อว่า สัมปชานมุสาวาท ได้แก่ วาจา เสียงที่เปล่ง ถ้อยคำเป็นแนวทาง การเปล่งวาจา เจตนาที่ให้เขาเข้าใจทางวาจา ของบุคคล ผู้จงใจจะพูดให้คลาดจากความจริง ได้แก่คำพูดของอนารยชน ๘ อย่าง คือ ไม่เห็น พูดว่าข้าพเจ้าเห็น ๑ ไม่ได้ยิน พูดว่าข้าพเจ้าได้ยิน ๑ ไม่ทราบ พูดว่าข้าพเจ้าทราบ ๑ ไม่รู้ พูดว่าข้าพเจ้ารู้ ๑ เห็น พูดว่าข้าพเจ้าไม่เห็น. ได้ยิน พูดว่าข้าพเจ้าไม่ได้ยิน ๑ ทราบ พูดว่าข้าพเจ้าไม่ทราบ ๑ รู้ พูดว่า ข้าพเจ้าไม่รู้ ๑.

บทภาชนีย์

[๑๗๕] ที่ชื่อว่า ไม่เห็น คือ ไม่เห็นด้วยตา

ที่ชื่อว่า ไม่ได้ยิน คือ ไม่ได้ยินด้วยหู.

ที่ชื่อว่า ไม่ทราบ คือ ไม่ได้สูดดมด้วยจมูก ไม่ได้ลิ้มด้วยลิ้น ไม่ ได้สัมผัสด้วยกาย.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 5

ที่ชื่อว่า ไม่รู้ คือ ไม่รู้ด้วยใจ.

ที่ชื่อว่า เห็น คือ เห็นด้วยตา.

ที่ชื่อว่า ได้ยิน คือ ได้ยินด้วยหู

ที่ชื่อว่า ทราบ คือ ได้สูดดมด้วยจมูก ได้ลมด้วยลิ้น ได้สัมผัสด้วยกาย.

ที่ชื่อว่า รู้ คือ รู้ด้วยใจ.

อาการของการกล่าวเท็จทั้งๆ ที่รู้

ไม่เห็น - ว่าเห็น

[๑๗๖] ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าวก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จ ว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความความ ถูกใจ ๖อำพรางความชอบใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 6

ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใ จ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่ได้ยิน - ว่าได้ยิน

ไม่ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่ทราบ - ว่าทราบ

ไม่ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่รู้ - ว่ารู้

ไม่รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วย อาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วย อาการ ๗ อย่าง.. ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่เห็น ว่าเห็น และได้ยิน

[๑๗๗] ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็นและได้ยินด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ... ด้วย อาการ ๖ อย่าง ... ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 7

ไม่เห็น ว่าเห็น และทราบ

ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง.. ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่เห็น ว่าเห็น และรู้

ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่เห็น ว่าเห็น ได้ยิน และทราบ

ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน และทราบ ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง.. ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่เห็น ว่าเห็น ได้ยิน และรู้

ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง.. ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง.. ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่เห็น ว่าเห็น ได้ยิน ทราบ และรู้

ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน ทราบ และรู้ ด้วย อาการ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 8

ไม่ได้ยิน ว่าได้ยิน และทราบ

ไม่ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง.. ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง.. ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่ได้ยิน ว่าได้ยิน และรู้

ไม่ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง.. ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ อย่าง.. ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ไม่ได้ยิน ว่าได้ยิน และเห็น

ไม่ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน และเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง.. ด้วยอาการ ๔ อย่าง.. ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง.. ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่ได้ยิน ว่าได้ยิน ทราบ และรู้

ไม่ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน ทราบ และรู้ ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ การ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่ได้ยิน ว่าได้ยิน ทราบ และเห็น

ไม่ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน ทราบ และเห็น ด้วย ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง.. ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 9

ไม่ได้ยิน ว่าได้ยิน ทราบ รู้ และเห็น

ไม่ไค้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวว่าข้าพเจ้าได้ยิน ทราบ รู้ และเห็น ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง.. ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่ทราบ ว่าทราบ และรู้

ไม่ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่ทราบ ว่าทราบ และเห็น

ไม่ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ และเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่ทราบ ว่าทราบ และได้ยิน

ไม่ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ และได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง.. ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่ทราบ ว่าทราบ รู้ และเห็น

ไม่ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ รู้ และเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง.. ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 10

ไม่ทราบ ว่าทราบ รู้ และได้ยิน

ไม่ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ รู้ และได้ยิน ด้วย อาการ ๓ อย่าง.. ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง.. ด้วย อาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่ทราบ ว่าทราบ รู้ เห็น และ ได้ยิน

ไม่ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ รู้ เห็น และได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง.. ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่รู้ ว่ารู้ และเห็น

ไม่รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ และเห็น ด้วยอาการ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง.. ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่รู้ ว่ารู้ และได้ยิน

ไม่รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ และได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่รู้ ว่ารู้ และทราบ

ไม่รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง.. ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 11

ไม่รู้ ว่ารู้ เห็น และได้ขึ้น

ไม่รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ เห็น และได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่รู้ ว่ารู้ เห็น และทราบ

ไม่รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ เห็น และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่รู้ ว่ารู้ เห็น ได้ยิน และทราบ

ไม่รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ เห็น ได้ยิน และทราบ ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วย อาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เห็น ว่าไม่เห็น

[๑๗๘] เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าไม่เห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ได้ยิน ว่าไม่ได้ยิน

ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าไม่ได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 12

ทราบ ว่าไม่ทราบ

ทราบ ภิกษุรู้อยู้กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าไม่ทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

รู้ ว่าไม่รู้

รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าไม่รู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วย อาการ ๘ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วย อาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เห็น ว่าได้ยิน

[๑๗๙] เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เห็น ว่าทราบ

เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เห็น ว่ารู้

เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วย อาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วย อาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 13

เห็น ว่าได้ยิน และทราบ

เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เห็น ว่าได้ยิน และรู้

เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง.. ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เห็น ว่าได้ยิน ทราบ และรู้

เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน ทราบ และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ได้ยิน ว่าทราบ

ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ได้ยิน ว่ารู้

ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วย อาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วย อาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 14

ได้ยิน ว่าเห็น

ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ได้ยิน ว่าทราบ และรู้

ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ได้ยิน ว่าทราบ และเห็น

ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ และเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ได้ยิน ว่าทราบ รู้ และเห็น

ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ รู้ และเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทราบ ว่ารู้

ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วย อาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วย อาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 15

ทราบ ว่าเห็น

ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทราบ ว่าได้ยิน

ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๘ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทราบ ว่ารู้ และเห็น

ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ และเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทราบ ว่ารู้ และได้ยิน

ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ และได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทราบ ว่ารู้ เห็น และได้ยิน

ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ เห็น และได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 16

รู้ ว่าเห็น

รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วย อาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วย อาการ ๗ อย่าง.. ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

รู้ ว่าได้ยิน

รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วย อาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วย อาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

รู้ ว่าทราบ

รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วย อาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วย อาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

รู้ ว่าเห็น และได้ยิน

รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น และได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

รู้ ว่าเห็น และทราบ

รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วย อาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 17

รู้ ว่าเห็น ได้ยิน และทราบ

รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เห็น สงสัย

[๑๘๐] เห็น ภิกษุสงสัย กำหนดไม่ได้ว่าเห็น จำไม่ได้ว่าเห็น หลง ลืมว่าเห็น รู้อยู่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเห็น และได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วย อาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

... ข้าพเจ้าเห็น และทราบ ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

... ข้าพเจ้าเห็น และรู้ ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

... ข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน และทราบ ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

... ข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน และรู้ ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

... ข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน ทราบ และรู้ ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ได้ขึ้น สงสัย

ได้ยิน ภิกษุสงสัย กำหนดไม่ได้ว่าได้ยิน จำไม่ได้ว่าได้ยิน หลง ลืมว่าได้ยิน รู้อยู่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าได้ยิน และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 18

... ข้าพเจ้าได้ยิน และรู้ ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

... ข้าพเจ้าได้ยิน และเห็น ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

... ข้าพเจ้าได้ยิน ทราบ และรู้ ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

... ข้าพเจ้าได้ยิน ทราบ และเห็น ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

... ข้าพเจ้าได้ยิน ทราบ รู้ และเห็น ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทราบ - สงสัย

ทราบ ภิกษุสงสัย กำหนดไม่ได้ว่าทราบ จำไม่ได้ว่าทราบ หลงลืม ว่าทราบ รู้อยู่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าทราบ และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง.. ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

... ข้าพเจ้าทราบ และเห็น ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

... ข้าพเจ้าทราบ และได้ยิน ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

... ข้าพเจ้าทราบ รู้ และเห็น ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

... ข้าพเจ้าทราบ รู้ และได้ยิน ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

... ข้าพเจ้าทราบ รู้ เห็น และได้ยิน ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

รู้ - สงสัย

รู้ ภิกษุสงสัย กำหนดไม้ได้ว่ารู้ จำไม่ได้ว่ารู้ หลงลืมว่ารู้ รู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้ารู้ และเห็นด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 19

... ข้าพเจ้ารู้ และได้ยิน ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

... ข้าพเจ้ารู้ และทราบ ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์

... ข้าพเจ้ารู้ เห็น และได้ยิน ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

... ข้าพเจ้ารู้ เห็น และทราบ ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

... ข้าพเจ้ารู้ เห็น ได้ยิน และทราบ ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร

[๑๘๑] ภิกษุพูดพลั้ง ๑ ภิกษุพูดพลาด ๑ [ชื่อว่าพูดพลั้ง คือพูด เร็วไป ชื่อว่าพูดพลาด คือตั้งใจว่าจักพูดคำอื่น แต่กลับพูดไปอีกอย่าง] ภิกษุ วิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 20

ขุททกกัณฑวรรณนา

ขุททกสิกขาบทเหล่าใด สงเคราะห์ ตามวรรคเป็น ๙ วรรค ประดิษฐานอยู่ด้วยดี แล้ว บัดนี้ จะมีการพรรณนาสิกขาบท เหล่านั้น ดังต่อไปนี้:-

ปาจิตตีย์ มุสาวาทวรรคที่ ๑

มุสาวาทสิขาบทที่ ๑

บรรดาวรรค ๙ เหล่านั้น (บรรดาขุททกสิกิขาบทเหล่านั้น) พึงทราบ วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑ แห่งมุสาวาทวรรดูก่อน.

[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระหัตถกะ]

คำว่า หตฺถโก เป็นชื่อของพระเถระนั้น. บุตรของพวกเจ้าศากยะ ชื่อว่าศากยบุตร. ได้ยินว่า ในครั้งพุทธกาล บุรุษแปดหมื่นคน ได้ออกบวช จากศากยตระกูล. ท่านพระหัตถกะนั้น เป็นคนใดคนหนึ่ง บรรดาบุรุษ แปดหมื่นคนนั้น.

บทว่า วาทกฺขิตฺโต มีความว่า ถูกคำพูดที่ตนกำหนดไว้อย่างนี้ว่า เราจักกระทำวาทะ (ทำการโต้วาทะกัน) ซัดไป คือ ผลักไป อธิบายว่า ดันไป คือ ส่งไปสู่สำนักของพวกปรวาที. อีกอย่างหนึ่ง ท่านพระหัตถกะนั้น ถูกจิต ของตนซัดไปในวาทะ. ย่อมปรากฏในสถานที่ซึ่งมีการโต้วาทะกันทุกครั้งไป. แม้เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่าถูกซัดไปในวาทะ (เป็นคนพูดสับปลับ).

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 21

ข้อว่า อวชานิตฺวา ปฏิชานาติ มีความว่า พระหัตถกะนั้น กำหนดโทษบางอย่างในคำพูดของตนได้ ถลากไถลไปว่า นี้ไม่ใช่คำพูดของเรา เมื่อพูดไปๆ สังเกตได้ว่าไม่มีโทษ แล้วยอมรับว่า นี้ เป็นคำพูดของเราละ.

ข้อว่า ปฏิชานิตฺวา อวชานาติ มีความว่า ท่านเมื่อกำหนดอานิสงส์ ในคำพูดบางอย่างได้ ก็ยอมรับว่า นี้ เป็นคำพูดของเรา เมื่อพูดต่อไปอีก กำหนดโทษในถ้อยคำนั้นได้ ก็ถลากไถลไปว่า นี้ ไม่ใช่คำพูดของเรา ดังนี้.

ข้อว่า อญฺเญนญฺํ ปฏิจรติ มีความว่า ย่อมกลบเกลื่อน คือ ย่อมปกปิด ได้แก่ ทับถมเหตุอย่างหนึ่ง ด้วยเหตุอย่างหนึ่ง คือ กล่าวเหตุว่า รูปไม่เที่ยง เพราะเป็นของพึงรู้ได้ แล้วกลับกล่าวเหตุเป็นต้นว่า เพราะมี ความเกิดเป็นธรรมดา.

แต่ในกุรุนที ท่านกล่าวว่า ย่อมพูดเรื่องอื่นเป็นอันมาก เพราะเหตุ ที่จะปกปิดปฏิญญาและความถลากไถลนั่น.

ในคำว่า เอตสฺส เป็นต้นนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ว่า เธอย่อม กล่าวคำเป็นอันมากมีอาทิอย่างนี้ว่า ใครกล่าว? กล่าวว่าอย่างไร? กล่าวที่ไหน? ดังนี้ เพื่อปกปิดคำปฏิญญาและคำถลากไถลนั้น.

ในมหาอรรถกถา ท่านกล่าวไว้อีกว่า ถลากไถลแล้วปฏิญาณ และ ปฏิญาณแล้วถลากไถล นั่นแหละ ชื่อว่า กลบเกลื่อนเรื่องอื่นด้วยเรื่องอื่น. สองบทว่า สมฺปชานมุสา ภาสติ ได้แก่ กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่.

หลายบทว่า สงฺเกตํ กตฺวา วิสํวาเทติ มีความว่า ทำการนัดหมายว่า การโต้วาทะ จงมีในประเทศชื่อโน้น ในบรรดากาลมีปุเรภัตเป็นต้น ชื่อโน้น ดังนี้ แล้วไปก่อน หรือหลังจากเวลาที่ตนนัดหมายไว้ แล้วกล่าวว่า จงดูเอาเถิด ผู้เจริญ! พวกเดียรถีย์ ไม่มาแล้ว แพ้แล้ว ดังนี้ หลีกไปเสีย.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 22

บทว่า สมฺปชานมุสาวาเท ได้แก่ ในเพราะการพูดเท็จทั้งที่รู้ตัว แล้วและกำลังรู้.

บทว่า วิสํวาทนปุเรกฺขารสฺส ได้แก่ ผู้พูดทำจิตที่คิดจะพูดให้ คลาดเคลื่อนไว้เป็นเบื้องหน้า.

เจตนายังคำพูดอันนับเนื่องในมิจฉาวาจาให้ตั้งขึ้น ชื่อว่า วาจา.

ท่านแสดงเสียงอันตั้งขึ้นด้วยเจตนานั้น ด้วยคำว่า คิรา.

ทางแห่งถ้อยคำ ชื่อว่า พยบถ. ก็วาจานั่นแล ท่านเรียกว่า พยบถ เพราะเป็นแนวทางแม้ของชนเหล่าอื่น ผู้ถึงทิฏฐานุคติ.

การเปล่งวาจาที่มีความเข้าใจกันว่าคำพูด ชื่อว่า วจีเภท. วาจามี ชนิดต่างๆ กันนั่นเอง ท่านเรียกอย่างนี้ (ว่าวจีเภท).

วจีวิญญัตติ ชื่อว่า วิญญัตติที่เป็นไปทางวาจา. ด้วยอาการอย่างนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ด้วยบทแรก ท่านพระอุบาลีกล่าวเพียงเจตนาล้วน, ด้วย ๓ บทท่ามกลาง กล่าวเจตนาที่ประกอบด้วยเสียงซึ่งตั้งขึ้นด้วยเจตนานั้น. ด้วย บทเดียวสุดท้าย กล่าวเจตนาที่ประกอบด้วยวิญญัตติ.

โวหาร (คำพูด) ของเหล่าชนผู้ไม่ใช่พระอริยเจ้า คือเหล่าพาลปุถุชน ชื่อว่า อนริยโวหาร.

พระอุบาลีเถระ. ครั้นแสดงสัมปชานมุสาวาทอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อ จะแสดงลักษณะแห่งอนริยโวหาร ที่นับเป็นสัมปชานมุสาวาท ซึ่งกล่าวไว้ใน ที่สุด จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อทิฏฺํ นาม ดังนี้.

[อรรถาธิบายอนริยโวหาร ๘ อย่าง]

ในคำว่า อทิฏฺํ เป็นต้นนั้น บัณฑิตพึงทราบอรรถโดยนัยนี้ว่า ถ้อยคำ หรือ เจตนาเป็นเหตุยังถ้อยคำนั้นให้ตั้งขึ้น ของภิกษุผู้กล่าวเรื่องที่ตน ไม่เห็นอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าเห็น ชื่อว่า อนริยโวหารอย่างหนึ่ง.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 23

อีกนัยหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐาน ในคำว่า อทิฏฺํ ทิฏฺํ เม เป็นต้นนี้ว่า อารมณ์ที่ตนไม่ได้รับด้วยอำนาจแห่งจักษุชื่อว่า ไม่เห็น, ที่ไม่ได้รับด้วยอำนาจแห่งโสตะ ชื่อว่า ไม่ได้ยิน, ที่ไม่ได้รับ ทำให้ดุจเนื่อง เป็นอันเดียวกันกับอินทรีย์ ๓ ด้วยอำนาจแห่งฆานินทรีย์เป็นต้น ชื่อว่า ไม่ทราบ, ที่วิญญาณล้วนๆ อย่างเดียว นอกจากอินทรีย์ ๕ ไม่ได้รับ ชื่อว่า ไม่รู้.

แต่ในพระบาลี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทศนาโดยนัยอันปรากฏชัด ทีเดียวอย่างนี้ว่า ที่ชื่อว่า ไม่เห็น คือ ไม่เห็นด้วยตา ฉะนี้แล.

ก็บรรดาอารมณ์ที่ได้เห็นเป็นต้น ที่ตนเองก็ดี คนอื่นก็ดี เห็นแล้ว ชื่อว่า ทิฏฐะทั้งนั้น. อารมณ์ที่ชื่อว่า สุตะ มุตะ และวิญญาตะก็อย่างนี้ นี้ เป็นบรรยายหนึ่ง. ส่วนอีกบรรยายหนึ่ง อารมณ์ใดที่ตนเห็นเอง อารมณ์นั้น จัดเป็นทิฎฐะแท้. ในสุตะเป็นต้น ก็มีนัยอย่างนั้น. ก็อารมณ์ใดที่คนอื่นเห็น อารมณ์นั้น ย่อมตั้งอยู่ในฐานะแห่งอารมณ์ที่ตนได้ยิน. แม้อารมณ์มีสุตะ เป็นต้น ก็มีนัยอย่างนี้.

บัดนี้ พระอุบาลีเถระ เมื่อจะยกอาบัติขึ้นแสดงด้วยอำนาจแห่งอนริยโวหารเหล่านั้น จึงกล่าวคำว่า ตีหากาเรหิ เป็นต้น. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งคำว่า ตีหากาเรหิ เป็นต้นนั้น โดยนัยดังที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ในวรรณนาบาลีจตุตถปาราชิก มีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุกล่าวสัมปชานมุสาวาทว่า ข้าพเจ้าบรรลุปฐมฌาน ต้องอาบัติปาราชิกโดยอาการ ๓ ดังนี้นั่นแล. จริงอยู่ ในบาลีจตุตถปาราชิกนั้น ท่านกล่าวไว้เพียงคำว่า ปมํ ฌานํ สมาปชฺชึ. ข้าพเจ้าบรรลุปฐมฌานแล้ว อย่างเดียว, ในสิกขาบทนี้ กล่าวไว้ว่า อทิฏฺํ ทิฏฺํ เม ไม่เห็นพูดว่า ข้าพเจ้าเห็น ดังนี้. และในบาลีจตุตถปาราชิกนั้น

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 24

กล่าวไว้ว่า อาปตฺติ ปาราชิกสฺส (ต้องอาบัติปาราชิก) ในสิกขาบทนี้ กล่าวว่า อาปตฺตฺ ปาจิตฺติยสฺส (ต้องอาบัติปาจิตตีย์) ดังนี้. มีความแปลก กันเพียงในวัตถุและอาบัติอย่างนี้. คำที่เหลือมีลักษณะอย่างเดียวกันแท้แล. แม้คำเป็นต้นว่า ตีหากาเรหิ ทิฏฺเ เวมติโก ก็พึงทราบเนื้อความโดยนัย ดังกล่าวแล้ว ในวรรณนาบาลีทุฏฐโทสสิกขาบทเป็นต้น อย่างนี้ว่า ทิฏฺสฺส โหติ ปาราชิกํ ธมฺมํ อชฺฌาปชฺชนฺโน ทิฏฺเ เวนติโก (ภิกษุผู้โจทก์ นั้นได้เห็นภิกษุผู้ต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในสิ่งที่ได้เห็น) ดังนี้นั่น แล. ก็ในสิกขาบทนี้ เพียงแต่คำบาลีเท่านั้น แปลกกัน (จากบาลีจตุตถปาราชิก). ส่วนในเนื้อความพร้อมทั้งเถรวาท ไม่มีการแตกต่างอะไรกันเลย.

สองบทว่า สหสา ภณติ ความว่า ภิกษุไม่ได้ไตร่ตรอง หรือ ไม่ได้ใคร่ครวญ พูดโดยเร็วถึงสิ่งที่ไม่เห็นว่า ข้าพเจ้าเห็น.

คำว่า อญฺํ ภณิสฺสามีติ อญฺณํ ภณติ ความว่า เมื่อตนควร จะกล่าวคำว่า จีวรํ (จีวร) ไพล่กล่าวว่า จีรํ (นาน) ดังนี้เป็นต้น เพราะ ความเป็นผู้อ่อนความคิด เพราะเป็นผู้เซอะ เพราะความพลาดพลั้ง. แต่ภิกษุใด ผู้อันสามเณรเรียนถามว่า ท่านขอรับ! เห็นอุปัชฌาย์ของกระผมบ้างไหม ดังนี้ กระทำการล้อเลียน กล่าวว่า อุปัชฌาย์ของเธอจักเทียมเกวียนบรรทุกฟืน ไปแล้วกระมัง หรือว่า เมื่อสามเณรได้ยินเสียงสุนัขจิ้งจอกแล้ว ถามว่า นี้เสียง สัตว์อะไร ขอรับ! กล่าวว่า นี้เสียงของพวกคนผู้ช่วยกันยกล้อที่ติดหล่ม ของมารดาเธอ ผู้กำลังไปด้วยยาน ดังนี้ อย่างนั้นกล่าวคำอื่นไม่ใช่เพราะเล่น ไม่ใช่เพราะพลั้ง, ภิกษุนั่น ย่อมต้องอาบัติแท้. ยังมีถ้อยคำอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปูรณกถา คือ ภิกษุรูปหนึ่ง ได้น้ำมันเล็กน้อยในบ้าน แล้วกลับมาสู่วิหาร พูดกะสามเณรว่า เธอไปไหนเสีย วันนี้ บ้านมีแต่น้ำมัน อย่างเดียว ดังนี้ ก็ดี

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 25

ได้ชิ้นขนมที่เขาวางไว้ในกระเช้า และพูดกะสามเณรว่า วันนี้ คนทั้งหลาย ในบ้าน เอากระเช้าหลายใบใส่ขนมไป ดังนี้ก็ดี นี้จัดเป็นมุสาวาทเหมือนกัน. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้น ทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิตมีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

มุสาวาทสิกขาบทที่ ๑ จบ