พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ (ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๑)

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 254

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี

[๓๔๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขตรัฐอาฬวี ครั้งนั้น พวกภิกษุชาวรัฐอาฬวีช่วยกันท่านวกรรม ขุดเอง บ้าง ให้คนอื่นขุดบ้างซึ่งปฐพี คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ขุดเองบ้าง ให้คนอื่นขุดบ้างซึ่ง ปฐพี พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมเบียดเบียนอินทรีย์อย่างหนึ่ง ซึ่งมีชีวะ ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดา ที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุชาวรัฐอาฬวีจึงได้ขุดเองบ้าง ให้คนอื่นขุดบ้างซึ่งปฐพีเล่า ... แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอ ขุดเองบ้าง ให้คนอื่นขุดบ้างซึ่งปฐพี จริงหรือ.

ภิกษุชาวรัฐอาฬวีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้ขุดเองบ้าง ให้คนอื่นขุดบ้างซึ่งปฐพีเล่า เพราะคนทั้งหลายสำคัญ ในปฐพีว่ามีชีวะ การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 255

พระบัญญัติ

๕๙. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด ขุดก็ดี ให้ขุดก็ดี ซึ่งปฐพี เป็น ปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๕๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า ปฐพี ได้แก่ปฐพี ๒ อย่าง คือ ปฐพีแท้อย่างหนึ่ง ปฐพี ไม่แท้อย่างหนึ่ง.

ที่ชื่อว่า ปฐพีแท้ คือ มีดินร่วนล้วน มีดินเหนียวล้วน มีหินน้อย มีกรวดน้อย มีกระเบื้องน้อย มีแร่น้อย มีทรายน้อย มีดินร่วนมาก มีดิน เหนียวมาก แม้ดินที่ยังไม่ได้เผาไฟก็เรียกว่า ปฐพีแท้.

กองดินร่วนก็ดี กองดินเหนียวก็ดี ที่ฝนตกรดเกิน ๔ เดือนมาแล้ว แม้นี้ก็เรียกว่า ปฐพีแท้.

ที่ชื่อว่า ปฐพีไม่แท้ คือ เป็นหินล้วน เป็นกรวดล้วน เป็น กระเบื้องล้วน เป็นแร่ล้วน เป็นทรายล้วน มีดินร่วนน้อย มีดินเหนียวน้อย มีหินมาก มีกรวด มีกระเบื้อง มีแร่ มีทรายมาก แม้ดินที่เผาไฟแล้ว ก็ เรียกว่า ปฐพีไม่แท้.

กองดินร่วนก็ดี กองดินเหนียวก็ดี ที่ฝนตกรดยังหย่อนกว่า ๔ เดือน แม้นี้ก็เรียกว่า ปฐพีไม่แท้.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 256

[๓๕๑] บทว่า ขุด คือ ขุดเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า ให้ขุด คือ ใช้ให้คนอื่นขุด ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

สั่งครั้งเดียว เขาขุดแม้หลายครั้ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

[๓๕๒] ปฐพี ภิกษุสำคัญว่า ปฐพี ขุดเองก็ดี ใช้ให้เขาขุดก็ดี ทำลาย เองก็ดี ใช้ให้เขาทำลายก็ดี เผาไฟเองก็ดี ใช้ให้เขาเผาไฟก็ดี ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

ปฐพี ภิกษุสงสัย ขุดเองก็ดี ใช้ให้เขาขุดก็ดี ทำลายเองก็ดี ใช้ให้ เขาทำลายก็ดี เผาไฟเองก็ดี ใช้ให้เขาเผาไฟก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

ปฐพี ภิกษุสำคัญว่า มิใช่ปฐพี ขุดเองก็ดี ใช้ให้เขาขุดก็ดี ทำลาย เองก็ดี ใช้ให้เขาทำลายก็ดี เผาไฟเองก็ดี ใช้ให้เขาเผาไฟก็ดี ไม่ต้องอาบัติ.

มิใช่ปฐพี ภิกษุสำคัญว่า ปฐพี ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

มิใช่ปฐพี ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

มิใช่ปฐพี ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ปฐพี ... ไม่ต้องอาบัติ.

อานาปัตติวาร

[๓๕๓] ภิกษุกล่าวว่า ท่านจงรู้ดินนี้ ท่านจงให้ดินนี้ ท่านจงนำ ดินนี้มา เรามีความต้องการด้วยดินนี้ ท่านจงทำดินนี้ให้เป็นกัปปิยะ ดังนี้ ๑ ภิกษุไม่แกล้ง ๑ ภิกษุไม่มีสติ ๑ ภิกษุไม่รู้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ- อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 257

หัวข้อประจำเรื่อง

๑. มุสาวาทสิกขาบท ว่าด้วยพูดเท็จ

๒. โอมสวาทสิกขาบท ว่าด้วยพูดเสียดสี

๓. เปสุญญสิกขาบท ว่าด้วยพูดส่อเสียด

๔. ปทโสธัมมสิกขาบท ว่าด้วยสอนธรรมว่าพร้อมกัน

๕. ปฐมสหเสยยสิกขาบท ว่าด้วยนอนร่วมกับอนุปสัมบัน

๖. ทุติยสหเสยยสิกขาบท ว่าด้วยนอนร่วมกับมาตุคาม

๗. ธัมมเทสนาสิกขาบท ว่าด้วยแสดงธรรม

๘. ภูตาโรจนสิกขาบท ว่าด้วยบอกอุตริมนุสธรรม

๙. ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท ว่าด้วยบอกอาบัติชั่วหยาบ

๑๐. ปฐวีขนนสิกขาบท ว่าด้วยขุดดิน.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 258

มุสาวาทวรรค ปฐวีขนนสิกขาบทที่ ๑๐

พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้

[แก้อรรถ เรื่องปฐพีแท้ไม่แท้]

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปฐพีแท้ และปฐพีไม่แท้ ด้วยบทเหล่านี้ ว่า ชาตา จ ปวี อชาตา จ ปวี ดังนี้.

ในบททั้งหลายมีบทว่ามีหินน้อยเป็นต้น ผู้ศึกษาพึงเห็นใจความอย่าง นี้ว่า ที่ปฐพีแท้นี้มีหินน้อย ฉะนั้น จึงชื่อว่า อัปปปาสาณะ. ในบทว่า มีหินน้อย เป็นต้นนั้น พึงทราบว่า มีหินเกินกว่าขนาดกำมือหนึ่ง. กรวด ก็พึงทราบว่า มีขนาดกำมือหนึ่ง. เศษกระเบื้องชื่อ กถลา. ก้อนกรวดที่ ปรากฏ (หินกรวดคล้ายวลัย) ชื่อ มรุมพา. ทรายนั่นแหละ ชื่อว่า วาลุกา.

สองบทว่า เยภุยฺเยน ปํสุ มีความว่า ใน ๓ ส่วน ๒ ส่วน เป็น ดินร่วนเสีย, ส่วนหนึ่ง เป็นหินเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง.

บทว่า อทฑฺฒาปี มีความว่า ยังไม่ได้เผาไฟ โดยประการใด ประการหนึ่ง ด้วยอำนาจแห่งเตาไฟ ที่ระบมบาตร และเตาช่างหม้อเป็นต้น ก็ปฐพีที่ยังไม่ได้เผาไฟนั้น ไม่มีต่างหาก, พึงทราบว่าเป็นปฐพีชนิดใดชนิดหนึ่ง มีดินซุยล้วนเป็นต้น.

สองบทว่า เยภุยฺเยน สกฺขรา ได้แก่ มีก้อนกรวดมากกว่า. ได้ยินว่า ในหัตถิกุจฉิประเทศ พวกภิกษุให้ขนดินมาเต็มกระบุงหนึ่ง แล้วล้างในลำราง รู้ว่าเป็นปฐพีมีกรวดโดยมาก จึงขุดสระโบกชรณีเสียเอง.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 259

ก็สองบทว่า อปฺปปํสุ อปฺปมตฺติกา ซึ่งมีอยู่ตรงกลาง ผนวกเข้า หมวด ๕ มีหินโดยมากเป็นต้นนั่นแล. แท้จริง คำนี้ เป็นคำแสดงชนิดแห่ง ปฐพีทั้ง ๒ นั้น นั่นแล.

ในคำว่า สยํ ขนติ อาปตฺต ปาจิตฺติยสฺส นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบว่า เป็นปาจิตตีย์ทุกๆ ครั้งที่ขุด.

คำว่า สกึ อาณตฺโต พทุกํปิ ขนติ มีความว่า ถ้าแม้นว่า ผู้รับ สั่งขุดตลอดทั้งวัน ก็เป็นปาจิตตีย์ตัวเดียวเท่านั้นแก่ผู้สั่ง. แต่ถ้าผู้รับสั่งเป็นคน เกียจคร้าน ผู้สั่งต้องสั่งบ่อยๆ เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้สั่งให้เขาขุดทุกๆ คำ. พรรณนาบาลีเท่านี้ก่อน.

[บาลีมุตตกวินิจฉัยว่าด้วยการขุดดินเป็นต้น]

ส่วนวินิจฉัยนอกพระบาลี ดังต่อไปนี้ ภิกษุกล่าวว่า เธอจงขุด สระโบกขรณี ดังนี้ ควรอยู่. เพราะว่า สระที่ขุดแล้วเท่านั้น จึงชื่อว่า เป็น สระโบกขรณี ฉะนั้น โวหารนี้ เป็นกัปปิยโวหาร. แม้ในคำเป็นต้นว่า จงขุด บึง บ่อ หลุม ดังนี้ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. แต่จะกล่าวว่า จงขุด โอกาสนี้ จงขุดสระโบกขรณี ในโอกาสนี้ ดังนี้ ไม่ควร. จะกล่าวไม่กำหนด แน่นอนลงไปว่า จงขุดเหง้า จงขุดราก ดังนี้ ควรอยู่ จะกล่าวว่า จงขุด เถาวัลย์นี้ จงขุดเหง้า หรือรากในโอกาสนี้ ดังนี้ ไม่สมควร. เมื่อชำระ สระโบกขรณี อาจจะเอาหม้อวิดเปือกตมเหลวๆ ใดออกได้, จะนำเปือกตม นั้นออก ควรอยู่. จะนำเปือกตมที่ข้นออก ไม่ควร. เปือกตมแห้งเพราะ แสงแดด แตกระแหง ในเปือกตมแห้งนั้น ส่วนใดไม่เนื่องกับแผ่นดินใน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 260

เบื้องล่าง, จะนำเปือกตมนั้นแลออก ควรอยู่. ชื่อว่าระแหง (แผ่นคราบน้ำ,๑ ดินร่วนเพราะน้ำแห้ง) มีอยู่ในที่น้ำไหลไป ย่อมไหวเพราะถูกลมพัด จะนำ เอาระแหงนั้นออก ควรอยู่. ฝั่ง (ตลิ่ง) แห่งสระโบกขรณีเป็นต้น พังตก ลงไปริมน้า. ถ้าถูกฝนตกรดต่ำกว่า ๔ เดือน จะฟันออก หรือทุบออก ก็ควร ถ้าเกิน ๔ เดือน ไม่ควร. แต่ถ้าตกลงในน้ำเลย. แม้เมื่อฝนตกรดเกิน ๔ เดือน แล้ว ก็ควร เพราะน้ำ (ฝน) ตกลงไปในน้ำเท่านั้น.

ภิกษุทั้งหลายขุด (เจาะ) สะพังน้ำ (ตระพังหิน) บนหินดาด. ถ้า แม้นว่า ผงละเอียดตกลงไปในตระพังหินนั้น ทั้งแต่แรกทีเดียว. ผงละเอียด นั้นถูกฝนตกรด ต่อล่วงไปได้ ๔ เดือน จึงถึงอันนับว่า เป็นอกัปปิยปฐพี. เมื่อน้ำงวดแล้ว (แห้งแล้ว) พวกภิกษุผู้ชำระตระพังหิน จะแยกผงละเอียด นั้นออก ไม่ควร. ถ้าเต็มด้วยน้ำอยู่ก่อน. ผงละอองตกลงไปภายหลัง. จะแยก ผงละอองนั้นออก ควรอยู่. แท้จริง แม้เมื่อฝนตกในตระพังหินนั้น น้ำย่อม ตกลงในน้ำเท่านั้น. ผงละเอียดมีอยู่บนพวกหินดาด ผงละเอียดนั้น เมื่อถูก ฝนตกซะอยู่ ก็ติดกันเข้าอีก. จะแยกผงละอองแม้นั้นออกโดยล่วง ๔ เดือนไป ไม่ควร.

จอมปลวกเกิดขึ้นที่เงื้อมเป็นเองไม่มีคนสร้าง. จะแยกออกตามสะดวก ควรอยู่. ถ้าจอมปลวกเกิดขึ้นในที่แจ้ง ถูกฝนตกรดต่ำกว่า เดือนเท่านั้น จึงควร. แม้ในดินเหนียวของตัวปลวกที่ขึ้นไปบ้านไม้เป็นต้น มีนัยอย่างนี้ เหมือนกัน. แม้ในขุยไส้เดือน ขุยหนู และระแหงกีบโคเป็นต้น ก็มีนัยอย่างนั้น เหมือนกัน. เปือกตมที่ถูกตัดด้วยกีบฝูงโค (โคลนรอยกีบฝูงโค) เรียกว่า


(๑) วิมฺติ แก้ว่า อุทกปปฺปฎโกติ อุทเก อนฺโตภูมิยํ ปวิฎฺเ ตสฺส อุปริภาคํ ฉาเทตฺวา ตนุปํสุ วา มตฺติกา วา ปฎลํ หุตฺวา ปตมานา ติฎฺ ติ, ตสฺมึ อุทเก สุกฺเขปิ ตํ ปฎฺลํ วาเตน จลมานา ติฎฺติ, ตํ อุทกปปฺปฏโก นาม-ผู้ชำระ.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 261

ระแหงกีบโค. ก็ถ้าว่า ระแหงกีบโคนั้น ติดกับแผ่นดินทางพื้นล่าง แม้ใน วันเดียวจะแยกออก ก็ไม่ควร. ภิกษุถือเอาดินเหนียวที่ถูกไถตัด แม้ในที่ ที่ชาวนาไถไว้ ก็มีนัยอย่างนั้นเหมือนกัน.

เสนาสนะเก่า ไม่มีหลังคา หรือมีหลังคาพังก็ตาม ถูกฝนตกรดเกิน ๔ เดือน ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า ปฐพีแท้เหมือนกัน. ภิกษุจะถือเอากระเบื้อง มุงหลังคา หรือเครื่องอุปกรณ์มีกลอนเป็นต้น ที่เหลือจากเสนาสนะเก่านั้น ด้วยสำคัญว่า เราจะเอาอิฐ จะเอากลอน จะเอาเชิงฝา จะเอากระดานปูพื้น จะเอาเสาหิน ดังนี้ ควรอยู่. ดินเหนียวตกลงติดกับกระเบื้องหลังคาเป็นต้นนั้น ไม่เป็นอาบัติ. แต่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้เอาดินเหนียวที่ฉาบฝา. ถ้าดินก้อนใดๆ ไม่เปียกชุ่ม, ภิกษุถือเอาดินก้อนนั้นๆ ไม่เป็นอาบัติ.

ภายในเรือนมีกองดิน เมื่อกองดินนั้น ถูกฝนตกรดเสียวันหนึ่ง ชนทั้งหลายจึงมุงเรือน. ถ้ากองดินเปียกทั้งหมด, ต่อล่วงไปได้ ๔ เดือน กลายเป็นปฐพีแท้เหมือนกัน. ถ้าส่วนเบื้องบนแห่งกองดินนั้นเท่านั้นเปียก ภายใน ไม่เปียก จะใช้ให้พวกกัปปียการกคุ้ยเอาดินเท่าจำนวนที่เปียกออกเสีย ด้วย กัปปิยโวหารแล้ว ใช้สอยดินส่วนที่เหลือตามสะดวกก็ควร. จริงอยู่ ดินที่ เปียกน้ำแล้วจับติดเนื่องเป็นอันเดียวกันนั่นแล จัดเป็นปฐพีแท้. นอกนี้ ไม่ใช่แล.

กำแพงดินเหนียวอยู่ในที่แจ้ง ถ้าถูกฝนตกรดเกิน ๔ เดือน ย่อมถึง อันนับว่า ปฐพีแท้. แต่ภิกษุจะเอามือเปียกจับต้องดินร่วนอันติดอยู่ที่ปฐพีแท้ นั้น ควรอยู่. ถ้าหากว่า เป็นกำแพงอิฐ ทั้งอยู่ในฐานเป็นเศษกระเบื้องอิฐ. เสียโดยมาก จะคุ้ยเขี่ยออกตามสบาย ก็ได้.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 262

ภิกษุจะโยกเอาเสามณฑปที่ตั้งอยู่ในที่แจ้ง ไปทางโน้นทางนี้ ทำให้ ดินแยกออก ไม่ควร ยกขึ้นตรงๆ เท่านั้น จึงควร. สำหรับภิกษุผู้จะถือเอา ต้นไม้แห้ง หรือตอไม้แห้งแม้อย่างอื่น ก็นัยนี้แล. ภิกษุทั้งหลายเอาพวกไม้ท่อน งัดหิน หรือต้นไม้กลิ้งไป เพื่อการก่อสร้าง. แผ่นดินในที่กลิ้งไปนั้น แตก เป็นรอย. ถ้าภิกษุทั้งหลายมีจิตบริสุทธิ์กลิ้งไป ไม่เป็นอาบัติ. แต่ทว่า ภิกษุ ทั้งหลาย เป็นผู้ใคร่จะทำลายแผ่นดินด้วยเลศนั้นนั่น เอง เป็นอาบัติ. พวก ภิกษุผู้ลากกิ่งไม้เป็นต้นไปก็ดี ผ่าพื้นบนแผ่นดินก็ดี ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน จะตอกหรือจะเสียบแม้วัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง มีกระดูก เข็มและหนามเป็นต้น ลงไปในแผ่นดิน ก็ไม่ควร. แม้จะถ่ายปัสสาวะ ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เราจะพัง แผ่นดินด้วยกำลังแห่งสายน้ำปัสสาวะ ก็ไม่ควร. เมื่อภิกษุถ่ายดินพัง เป็นอาบัติ. แม้จะเอาไม้กวาดครูดถู ด้วยติดว่า เราจักทำพื้นดินที่ไม่เสมอ ให้เสมอ ดังนี้ ก็ไม่ควร. ความจริง ควรจะกวาดด้วยหัวข้อแห่งวัตรเท่านั้น.

ภิกษุบางพวก กระทุ้งแผ่นดิน ด้วยปลายไม้เท้า เอาปลายนิ้วหัวแม่เท้า ขีดเขียน (แผ่นดิน). เดินจงกรมทำลายแผ่นดิน ครั้งแล้วครั้งเล่า ด้วยคิดว่า เราจักแสดงสถานที่ที่เราจงกรม ดังนี้, กรรมเช่นนั้น ไม่ควรทุกอย่าง. แต่ภิกษุ ผู้กระทำสมณธรรมเพื่อยกย่องความเพียร มีจิตบริสุทธิ์ จงกรม สมควรอยู่. เมื่อกระทำ (การเดินจงกรมอยู่แผ่นดิน) จะแตกก็ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุทั้งหลาย ครูดสีที่แผ่นดิน ด้วยคิดว่า จักล้างมือ ไม่ควร. ส่วนภิกษุ ผู้ไม่ครูดสี แต่วางมือเปียกลงบนแผ่นดิน แล้วแตะเอาละอองไป ได้อยู่. ภิกษุบางพวก อาพาธด้วยโรคคัน และหิดเป็นต้น จึงครูดสีอวัยวะใหญ่น้อยลงบนที่มีตลิ่งชัน เป็นต้น, การทำนั้น ก็ไม่สมควร.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 263

[ว่าด้วยการะขุดเองและการใช้ให้ขุดแผ่นดินเป็นต้น]

สองบทว่า ขนติ วา ขนาเปติ วา มีความว่า ภิกษุขุดเองก็ดี ใช้ให้ ผู้อื่นขุดก็ดี (ซึ่งแผ่นดิน) ชั้นที่สุดด้วยปลายนิ้วเท้าบ้าง ด้วยซี่ไม้กวาดบ้าง

สองบทว่า ภินฺทติ วา ภินฺทาเปติ วา มีความว่า ภิกษุทำลาย เองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นทำลายก็ดี (ซึ่งแผ่นดิน) ชั้นที่สุด แม้จะเทน้ำ.

สองบทว่า ทหติ วา ทหาเปติ วา มีความว่า ภิกษุเผาเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นเผาก็ดี ชั้นที่สุดจะระบมบาตร. ภิกษุจุดไฟเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นจุด ในที่มีประมาณเท่าใด เป็นปาจิตตีย์มีประมาณเท่านั้นตัว. ภิกษุ แม้เมื่อจะ ระบมบาตร พึงระบมในที่เคยระบมแล้วนั่นแหละ. จะวางไฟลงบนแผ่นดินที่ ไฟยังไม่ไหม้ ไม่ควร. แต่จะวางไฟลงบนกระเบื้องสำหรับระบมบาตร ควรอยู่. วางไฟลงบนกองฟืน, ไฟนั้นไหม้ฟืนเหล่านั้น แล้วจะลุกลามเลยไปไหม้ดิน ไม่ควร. แม้ในที่มีอิฐและหินเป็นต้น ก็มีนัยอย่างนั้นเหมือนกัน. จริงอยู่ ใน ที่แม้นั้น จะวางไฟลงบนกองอิฐเป็นต้นนั่นแล ควรอยู่. เพราะเหตุไร? เพราะอิฐเป็นต้นนั้น มิใช่เชื้อไฟ. จริงอยู่ อิฐเป็นต้นนั้น ไม่ถึงอันนับว่า เป็นเชื้อแห่งไฟ. จะติดไฟแม้ที่ตอไม้แห้ง และต้นไม้แห้งเป็นต้น ก็ไม่ควร.

แต่ถ้าว่า ภิกษุจะติดไฟด้วยคิดว่า เราจักดับไฟที่ยังไม่ทัน ถึงแผ่นดิน เสียก่อนแล้วจึงจักไป ดังนี้ ควรอยู่. ภายหลังไม่อาจเพื่อจะดับได้ ไม่เป็นอาบัติ เพราะไม่ใช่วิสัย ภิกษุถือคบเพลิงเดินไป เมื่อมือถูกไฟไหม้จึงทิ้งลงที่พื้น, ไม่เป็นอาบัติ. ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า จะเติมเชื้อก่อไฟ ในที่คบเพลิงตก นั่นแหละ ควรอยู่. ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีนั้นนั่นแลว่า ก็ที่มีประมาณเท่าใด ในแผ่นดินซึ่งถูกไฟไหม้ ไอร้อนระอุไปถึง จะโกยที่ทั้งหมดนั้น ออก ควรอยู่.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 264

ก็ภิกษุใด ยังไม่รู้จะสีให้ไฟเกิดด้วยไม้สีไฟ เอามือหยิบขึ้นแล้วกล่าวว่า ผมจะทำอย่างไร? ภิกษุอื่นบอกว่า จงทำให้ลุกโพลงขึ้น. เธอกล่าวว่า มัน จะไหม้มือผม จึงบอกว่า จงทำอย่างที่มันจะไม่ไหม้. แต่ไม่พึงบอกว่า จงทิ้ง ลงที่พื้น. ถ้าว่า เมื่อไฟไหม้มือ เธอทิ้งลง ไม่เป็นอาบัติ เพราเธอไม่ได้ ทิ้งลงด้วยตั้งใจว่า เราจักเผาแผ่นดิน. ท่านกล่าวไว้ในกุรุนทีว่า ถึงจะก่อไฟ ในที่ไฟตกลง ก็ควร

ก็ในคำว่า อนาปตฺติ อิมํ ชาน เป็นต้น ผู้ศึกษาพึงทราบใจความ อย่างนี้ คือ (ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้กล่าวว่า) เธอจงรู้หลุมสำหรับเสานี้, จงรู้ ดินเหนียวก้อนใหญ่ จงรู้ดินปนแกลบ จงให้ดินเหนียวก้อนใหญ่ จงให้ดิน ปนแกลบ. จงนำดินเหนียวมา. จงนำดินร่วนมา, ต้องการดินเหนียว, ต้องการ ดินร่วน จงทำหลุมให้เป็นกัปปิยะสำหรับเสานี้, จงทำดินเหนียวนาให้เป็น กัปปิยะ, จงทำดินร่วนนี้ให้เป็นกัปปิยะ.

บทว่า อสญฺจิจฺจ มีความว่า เมื่อภิกษุกลิ้งหินและต้นไม้เป็นต้นไป หรือเดินเอาไม้เท้ายันๆ ไป แผ่นดินแตก. แผ่นดินนั้นชื่อว่า อันภิกษุไม่ได้ แกล้งทำแตก เพราะเธอไม่ได้จงใจทำลายอย่างนี้ว่า เราจักทำลาย (แผ่นดิน) ด้วยไม้เท่านี้, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่แกล้งทำลาย ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อสติยา มีความว่า ภิกษุส่งใจไปทางอื่นยืนพูดอะไรกับคน บางคนเอานิ้วหัวแม่เท้า หรือไม้เท้าขีดเขียนแผ่นดินไปพลาง ไม่เป็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ขีดเขียน หรือทำลาย (ดิน) ด้วยไม่มี สติอย่างนี้.

บทว่า อาชานนฺตสฺส มีความว่า ภิกษุไม่รู้แผ่นดินที่ฝนตกรดภายในเรือน ซึ่งมุงหลังคาปิดแล้วว่า เป็นอกัปปิยปฐพี จึงโกยออก ด้วยสำคัญว่า เป็นกัปปิยปฐพี ก็ดี ไม่รู้ว่า เราขุด เราทำลาย เราเผาไฟ ก็ดี เก็บเสียม

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 265

เป็นต้น เพื่อต้องการรักษาไว้อย่างเดียวก็ดี มือถูกไฟไหม้ ทิ้งไฟลงก็ดี, ไม่ เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่รู้อย่างนี้ บทที่เหลือตื้นทั้งนั้น..

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิ ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สาญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีเวทนา ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.

ปฐวีขนนสิกขาบทที่ ๑๐ จบ

มุสาวาทวรรคที่ ๑ จบบริบูรณ์

ตามวรรณนานุกรม