ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๒ - ภูตคามวรรค
[เล่มที่ 4] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒
พระวินัยปิฎก เล่ม ๒
มหาวิภังค์ ทุติยภาค
ปาจิตติยภัณฑ์
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๒
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๑
เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี 354/266
ปาจิตตีย์ เสนาสนวรรคที่ ๒
เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวีตัดต้นไม้ 269
แก้อรรถปาฐะว่าภูตคามปาตัพยตาย 272
อธิบายพีชคามและภูตคามเป็นต้น 275
ว่าด้วยภูตคามที่เกิดบนบกและการพรากภูตคามน้นั 277
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๒
เสนาสนวรรค อัญญวาทสิกขาบทที่ ๒ 292
แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระฉันนะ 292
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๓
เสนาสนวรรค อุชฌาปนสิกขาบทที่ ๓ 300
แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระทัพพมัลลบุตร 300
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๔
เสนาสนวรรค ปฐมเสนาสนสิกขาบทที่ ๔ 308
แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องภิกษุหลายรูป 308
ว่าด้วยสถานที่ควรเก็บเตียงตั่ง 308
ว่าด้วยสถานที่ควรเก็บไม้กวาดและวิธีกวาด 310
ว่าด้วยลักษณะเตียงตั่งเป็นต้น 310
ว่าด้วยเครื่องปูลาดและหน้าที่ในการรักษา 314
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ 379/317
เสนาสนวรรค ทุติยเสนาสนสกขาบทที่ ๕ 321
ว่าด้วยการบอกลาและเก็บเครื่องเสนาสนะ 322
ว่าด้วยสถานที่ต้องบอกลาและไม่ต้องบอกลา 323
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๖
เสนาสนวรรค อนูปขัชชสิกขาบทที่ ๖ 329
แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องเข้าไปนอนแทรกแซง 329
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๗
เสนาสนวรรค นิกัฑฒนสิกขาบทที่ ๗ 336
ว่าด้วยสถานที่และกิริยาที่ฉุดคร่า 336
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๘
เสนาสนวรรค เวหาสกุฏีสิกขาบทที่ ๘ 341
แก้อรรถเวหาสกุฏีและกิริยานั่ง 341
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๙
เสนาสนวรรค มหัลลกวิหารสิกขาบทที่ ๙ 346
แก้อรรถปาฐะเรื่องกรอบประตูหน้าต่าง 346
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี 402/351
เสนาสนวรรค สัปปาณกสิกขาบทที่ ๑๐ 353
ว่าด้วยเทน้ํามีตัวสัตว์รดหญ้าหรือดิน 353
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 4]
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 266
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๒
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๑
เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี
[๓๕๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขตรัฐอาฬวี ครั้งนั้น พวกภิกษุชาวรัฐอาฬวีทำนวกรรม ตัดต้นไม้ เองบ้าง ให้คนอื่นตัดบ้าง แม้ภิกษุชาวรัฐอาฬวีรูปหนึ่งก็ตัดต้นไม้ เทวดาผู้ สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้นั้น ได้กล่าวคำนี้กะภิกษุนั้นว่า ท่านเจ้าข้า ท่านประสงค์ จะทำที่อยู่ของท่าน โปรดอย่าตัดต้นไม้อันเป็นที่อยู่ของข้าพเจ้าเลย ภิกษุรูปนั้น ไม่เชื่อฟังได้ตัดลงจนได้ แลฟันถูกแขนทารกลูกของเทวดานั้น เทวดาได้คิด ขึ้นว่า ถ้ากระไรเราพึงปลงชีวิตภิกษุรูปนี้เสีย ณ ที่นี้แหละ แล้ว ติดต่อไปว่า ก็การที่เราจะพึงปลงชีวิตภิกษุรูปนี้เสีย ณ ที่นี้นั้นไม่สมควรเลย ถ้ากระไรเรา ควรกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนั้น เทวาดานั้นจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้ มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานสาธุการว่า ดีแล้วๆ เทวดา ดีนักหนา ที่ท่านไม่ปลงชีวิตภิกษุรูปนั้น ถ้าท่านปลงชีวิตภิกษุรูปนั้นในวันนี้ ตัวท่านจะ พึงได้รับบาปเป็นอันมาก ไปเถิดเทวาดา ต้นไม้ในโอกาสโน้นว่างแล้ว ท่าน จงเข้าไปอยู่ที่ต้นไม้นั้น.
ประชาชนพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พวกพระสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ตัดต้นไม้เองบ้าง ให้คนอื่นตัดบ้าง พระสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตรทั้งหลาย ย่อมเบียดเบียนอินทรีย์ อย่างหนึ่งซึ่งมีชีวะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 267
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกเขาเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่มักน้อย ... ต่างพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พวกภิกษุชาวรัฐอาฬวี จึงได้ตัด ต้นไม้เองบ้าง ให้คนอื่นตัดบ้าง แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอ ตัดเองบ้าง ให้คนอื่นตัดบ้าง ซึ่งต้นไม้ จริงหรือ.
ภิกษุชาวรัฐอาฬวีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้ตัดเองบ้าง ให้คนอื่นตัดบ้าง ซึ่งต้น ไม้ เพราะคนทั้งหลายสำคัญ ในต้นไม้ ว่ามีชีวะ การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว..
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้
พระบัญญัติ
๖๐. ๑. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะพรากภูตคาม.
เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๕๕] ที่ชื่อว่า ภูตคาม ได้แก่พืช ๕ ชนิด คือ พืชเกิดจากเหง้า ๑ พืชเกิดจากต้น ๑ พืชเกิดจากข้อ ๑ พืชเกิดจากยอด ๑ พืชเกิดจากเมล็ด เป็นที่ครบห้า ๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 268
ที่ชื่อว่า พืชเกิดจากเหง้า ได้แก่ ขมิ้น ขิง ว่านน้ำ ว่านเปราะ อุตพิด ข่า แฝก แห้วหมู หรือแม้พืชอย่างอื่นใดซึ่งเกิดที่เหง้า งอกที่เหง้า นั่นชื่อว่า พืชเกิดจากเหง้า.
ที่ชื่อว่า พืชเกิดจากต้น ได้แก่ ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นดีปลี ต้น มะเดื่อ ต้นเต่าร้าง ต้นมะขวิด หรือแม้พืชอย่างอื่นใดซึ่งเกิดที่ต้น งอกที่ต้น นั่นชื่อว่า พืชเกิดจากต้น.
ที่ชื่อว่า พืชเกิดจากข้อ ได้แก่ อ้อย ไม้ไผ่ ไม้อ้อ หรือแม้พืช อย่างอื่นใดซึ่งเกิดที่ข้อ งอกที่ข้อ นั่นชื่อว่า พืชเกิดจากข้อ.
ที่ชื่อว่า พืชเกิดจากยอด ได้แก่ ผักบุ้งล้อม แมงลัก เถาหญ้านาง หรือแม้พืชอย่างอื่นใดซึ่งเกิดที่ยอด งอกที่ยอด นั่นชื่อว่า พืชเกิดจากยอด.
ที่ชื่อว่า พืชเกิดจากเมล็ด ได้แก่ ข้าว ถั่ว งา หรือแม้พืชอย่าง อื่นใดซึ่งเกิดที่เมล็ด งอกที่เมล็ด นั่นชื่อว่า พืชเกิดจากเมล็ด เป็นที่ครบห้า.
บทภาชนีย์
[๓๕๖] พืช ภิกษุสำคัญว่าพืช ตัดเองก็ดี ให้คนอื่นตัดก็ดี ทำลาย เองก็ดี ให้ คนอื่นทำลายก็ดี ต้มเองก็ดี ให้คนอื่นต้มก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พืช ภิกษุสงสัย ตัดเองก็ดี ให้คนอื่นตัดก็ดี ทำลายเองก็ดี ให้คนอื่น ทำลายก็ดี ต้มเองก็ดี ให้คนอื่นต้มก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
พืช ภิกษุสำคัญว่า ไม่ใช่พืช ตัดเองก็ดี ให้คนอื่นตัดก็ดี ทำลาย เองก็ดี ให้คนอื่นทำลายก็ดี ต้มเองก็ดี ให้คนอื่นต้มก็ดี ไม่ต้องอาบัติ.
ไม่ใช่พืช ภิกษุสำคัญว่าพืช ตัดเองก็ดี ให้คนอื่นตัดก็ดี ทำลายเอง ก็ดี ให้คนอื่นทำลายก็ดี ต้มเองก็ดี ให้คนอื่นต้มก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 269
ไม่ใช่พืช ภิกษุสงสัย ตัดเองก็ดี ให้คนอื่นตัดก็ดี ทำลายเองก็ดี ให้คนอื่นทำลายก็ดี ต้มเองก็ดี. ให้คนอื่นต้มก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ใช่พืช ภิกษุสำคัญว่า ไม่ใช่พืช ตัดเองก็ดี ให้คนอื่นตัด ก็ดี ทำลายเองก็ดี ให้คนอื่นทำลายก็ดี ต้มเองก็ดี ให้คนอื่นต้มก็ดี ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๓๕๗] ภิกษุกล่าวว่า ท่านจงรู้พืชนี้ ท่านจงให้พืชนี้ ท่านจงนำ พืชนี้มา เรามีความต้องการด้วยพืชนี้ ท่านจงทำพืชนี้ให้เป็นกัปปิยะดังนี้ ๑ ภิกษุไม่แกล้งพราก ๑ ภิกษุทำเพราะไม่มีสติ ๑ ภิกษุไม่รู้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
ปาจิตตีย์ เสนาสนวรรคที่ ๒
ภูตคามสิกขาบทที่ ๑
พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๑ แห่งเสนาสนวรรค * ดังต่อไปนี้
[เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวี ตัดต้นไม้]
บทว่า อนาทิยนฺโต คือ ไม่เชื่อฟังถ้อยคำของเทวดานั้น.
หลายบทว่า ทารกสฺส พาหุํ อาโกฏฺเฏสิ มีความว่า ภิกษุนั้น ไม่อาจยั้งขวานที่เงื้อขึ้น จึงตัดเอาแขนทรงที่ใกล้ราวนม ของทารกผู้นอนอยู่ บนวิมานทิพย์ ซึ่งตั้งอยู่บนต้นไม้ อันเทวดานั้นได้มาจากสำนักของท้าวจาตุมมหาราช ซึ่งล่วงเลยวิสัยแห่งจักษุของพวกมนุษย์.
(๑) บาลีเป็นภูตคามวรรค.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 270
ในคำว่า น โข ปเนตํ ปฏิรูปํ เป็นต้น มีการพรรณนาโดยสังเขป ดังต่อไปนี้
ได้ยินว่า ในป่าหิมพานต์ มีการประชุมเทวดา ทุกๆ วันปักษ์, ใน ป่าหิมพานต์นั้น พวกเทวดาย่อมถามถึงรุกขธรรมว่า ท่านทั้งอยู่หรือไม่ได้ตั้ง อยู่ในรุกขธรรม. ชื่อว่า รุกขธรรม ได้แก่ การที่รุกขเทวดาไม่ทำความ ประทุษร้ายทางใจ ในเมื่อต้นไม้ถูกตัด. บรรดาเทวดาเหล่านั้น เทวดาองค์ใด ไม่ทั้งอยู่ในรุกขธรรม, เทวดาองค์นั้น ย่อมไม่ได้เพื่อจะเข้าสู่ที่ประชุม. เทวดา องค์นั้น ได้มองเห็นโทษ มีการไม่ตั้งอยู่ในรุกขธรรมเป็นปัจจัยนี้ ด้วยประการ ดังนี้ และระลึกถึงบุรพจรรยา ในปางที่พระตถาคตเจ้าเสวยพระชาติเป็น พญาช้างฉัททันต์เป็นต้น โดยกระแสแห่งพระธรรมเทศนาที่คนเคยสดับมา เฉพาะพระพักตร์แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า. เพราะเหตุนั้น เทวดานั้น จึงได้มี ความรำพึง น โข ปเนตํ ปฏิรูปํ ฯเปฯ ชีวิตา โวราเปยฺยุํ (ก็การ ที่เราจะปลงชีวิตภิกษุรูปนี้เสีย ณ ที่นี้ นั่นไม่สมควรเลย) ดังนี้. ก็ความรำพึง นี้ว่า ถ้ากระไร เราควรกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ ได้มีแก่ เทวดานั้น ผู้ฉุกคิดอยู่อย่างนี้ว่า ภิกษุนี้เป็นบุตรมีบิดา, พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงสดับอัชฌาจารนี้ของภิกษุนี้แล้ว จักทรงป้องกันมารยาท จักทรงบัญญัติ สิกขาบทแน่นอน.
คำว่า สจชฺช ตฺวํ เทวเต มีความว่า ดูก่อนเทวดา! ถ้าท่าน (ปลงชีวิตภิกษุรูปนั้น) ในวันนี้ไซร้.
บทว่า ปสเวยฺยาสิ แปลว่า พึงให้เกิด คือ พึงให้บังเกิดขึ้น. ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะให้เทวดานั้นยินยอม จึงได้ ตรัสพระคาถานี้ว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 271
บุคคลใดแล ข่มความโกรธที่เกิดขึ้น แล้วได้ เหมือนกับสารถีหยุดรถ ซึ่งกำลัง แล่นอยู่ได้ เราตถาคตเรียกบุคคลนั้นว่า เป็นสารถี ชนนอกจากนี้ เป็นแต่คนถือ บังเหียน. (๑)
ในเวลาจบพระคาถา เทวดานั้น ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. พระผู้มี พระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ประชุมกันพร้อมแล้ว จึงได้ ทรงภาษิตพระคาถานี้อีกว่า
ภิกษุใดแล ย่อมกำจัดซึ่งความโกรธ ที่เกิดขึ้น เหมือนหมอกำจัดพิษงูที่แล่นซ่าน ไปแล้ว ด้วยโอกาสทั้งหลาย ฉะนั้น ภิกษุนั้น ย่อมละฝั่งนี้และฝั่งโน้นได้ เหมือนงูลอกคราบเก่าแก่ทิ้งไป ฉะนั้น๒.
บรรดาคาถาทั้งสองนั้น คาถาที่ ๑ พระธรรมสังคาหกาจารย์ยกขึ้นสู่ สังคหะ ในธรรมบท, คาถาที่ ๒ ยกขึ้นสู่สังคหะ ในสุตตนิบาต ส่วนเรื่อง ยกขึ้นสู่สังคหะ ในวินัยปิฏกแล.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่นั่นเทียว ทรงตรวจ ดูสถานที่อยู่ของเทวดานั้น ทอดพระเนตรเห็นสถานที่ อันสมควรแล้ว. จึงตรัสว่า ไปเถิดเทวดา! ณ ที่โอกาสโน้นมีต้นไม้ว่างอยู่, เธอจงเข้าไปอยู่ที่ต้นไม้นั้น. ได้ยินว่า ต้นไม้นั้นไม่มีในแคว้นอาฬวี, มีอยู่ภายในกำแพงเครื่องล้อมแห่ง พระเชตวัน ซึ่งมีเทวบุตรผู้เป็นเจ้าของได้จุติไปแล้ว เพราะเหตุนั้น ต้นไม้นั้น
(๑) ขุ. ธ. ๒๕/๔๔ - ๔๕.
(๒) ข. ส. ๒๕/๓๒๔.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 272
จึงตรัสว่า ว่างแล้ว. ก็แลจำเดิมแต่ปางนั้นมา เทวดานั้น ได้ความคุ้มครอง จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เป็นพุทธอุปัฎฐายิกา. ในคราวมีเทวสมาคม เมื่อ เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ทั้งหลายมาอยู่ เทวดาเหล่าอื่นผู้มีศักดิ์น้อย ย่อมถอยร่นไป จนจดมหาสมุทร และภูเขาจักรวาล. ส่วนเทวดานี้ นั่งฟังธรรม อยู่ในที่อยู่ ของตนนั่นแหละ. เทวดานั้น นั่งฟังปัญหาทั้งหมด แม้ที่พวกภิกษุถามใน ปฐมยาม (และ) ที่พวกเทวดาถามในมัชฌิมยามบนวิมานนั้นนั่นแล. แม้ท้าว มหาราชทั้ง ๔ มาสู่ที่บำรุงของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะไป ก็เยี่ยมเทวดา นั้นก่อนแล้วจึงไป.
[แก้อรรถปาฐะว่าภูตคามปาตัพยตาย]
ในบทว่า ภูตคามปาตพฺยตาย นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้ ที่ชื่อว่า ภูตะ เพราะอรรถว่า เกิดอยู่ด้วย เติบโตขึ้นอยู่ด้วย. อธิบายว่า ย่อมเกิด ย่อมเจริญ หรือว่า เกิดแล้ว เจริญแล้ว.
บทว่า คาโม แปลว่า กอง. กองแห่งภูตทั้งหลาย เหตุนั้นจึงชื่อว่า ภูตคาม. อีกอย่างหนึ่ง กอง คือ ภูต ชื่อภูตคาม. คำว่า ภูตคาม นั่น เป็นชื่อแห่งหญ้า และต้นไม้เขียวสดที่ยืนต้นแล้ว เป็นต้น.
ภาวะแห่งการพราก ชื่อ ปาตัพยตา (ความเป็นแห่งการพราก). อธิบายว่า ภาวะอันบุคคลพึงบริโภคใช้สอยตามความพอใจ. ด้วยการตัดและ การทุบเป็นต้น. ในเพราะความเป็นผู้พรากภูตคามนั้น แห่งภิกษุนั้น. คำนี้ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถแห่งนิมิต. อธิบายว่า เป็นปาจิตตีย์ เพราะความ เป็นผู้พรากภูตคามเป็นเหตุ คือ เพราะการตัดภูตตามเป็นต้นเป็นปัจจัย.
[อธิบายภูตคาม ๕ ชนิด มีมูลแพะเป็นต้น]
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกแสดงภูตคามนั้น จึงตรัส คำเป็นต้นว่า ภูตคาโม นาม ปญฺจ วีชชาตานิ ดังนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 273
ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลายว่า ในคำว่า ภูตคามเป็นต้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกภูตคามขึ้นด้วยคำว่า ภูตคาโม นาม ดังนี้ แล้ว ตรัสคำ ปญฺจ วาชชาตานิ เป็นต้น เพื่อทรงแสดงพืชที่เมื่อมันมีอยู่ ภูตคาม จึงมี. แม้เมื่อมีอย่างนี้ คำว่า ยานิ วา ปนญฺญานิปิ อตฺถิ มูเล ชายนฺติ เป็นต้น. ก็ไม่สมกัน. จริงอยู่ พืช ๕ ชนิด มีพืชเกิดจากเหง้าเป็นต้น ไม่ใช่ เกิดอยู่ทีเหง้าเป็นต้น, แต่พืชเหล่านั้น เมื่อจะเกิดที่เหง้าเป็นต้น ก็ชื่อว่ามูลพืช เป็นต้น เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบวรรณนาในคำว่า ภูตคาโม นาม เป็นต้นนี้ (โดยนัยที่กำลังจะกล่าว) อย่างนี้
บทว่า ภูตคาโม นาม เป็นบทควรแจก.
บทว่า ปญฺจ เป็นการกำหนดชนิดแห่งภูตคามนั้น.
บทว่า วีชชตานิ เป็นบทแสงไขธรรมที่ได้กำหนดไว้. ใจความ แห่งบทว่า วีชชาตานิ นั้นว่า ที่ชื่อว่า พีชชาต เพราะอรรถว่า เกิดจาก จำพวกเมล็ด คำนี้เป็นชื่อแห่งพืชมีต้น ไม้เป็นต้น. อีกนัยหนึ่ง พืชเหล่านั้นด้วย เกิดแล้วด้วย คือ ผลิแล้ว ได้แก่ มีใบและรากงอกออกแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พีชชาต. ด้วยคำว่า พีชชาต นี้ เป็นอันท่านทำการสงเคราะห์ เอาพืช มีขิงเป็นต้น ที่เขาชำไว้ในทรายเปียกเป็นต้น ซึ่งมีใบและรากงอก ขึ้นแล้ว.
บัดนี้ พืชมีต้น ไม้เป็นต้น ที่ตรัสเรียกว่า พีชชาต เพราะเกิดจากพืช เหล่าใด, เมื่อจะทรงแสดงพืชเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า มูลพืช เป็นต้น. อุเทศแห่งพืช มีพืชเกิดจากรากเหง้าเป็นต้นนั้น ปรากฏชัดเจน แล้วแล. ในคำว่า ก็หรือว่าพืชแม้อย่างอื่นใด บรรดามี ซึ่งเกิดที่เหง้า งอก ที่เหง้า นี้ ในอุเทศ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพืชที่เกิดจากเมล็ด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 274
เพราะฉะนั้น พึงเห็นใจความในคำว่า ยานิ วา ปนญานิ เป็นต้นนี้ อย่างนี้ว่า ก็หรือพืชแม้อย่างอื่นใดบรรดามี เป็นต้นว่า ไม้กอ ไม้เถา และ ไม้ต้น ซึ่งเกิดและงอกขึ้นที่เหง้า มีชนิด เช่น รากเหง้าเชือกเขา * (รากเหง้า เถามัน) กระจับ บัวแดง บัวเขียว บัวขาบ บัวขาว (บัวสาย) เผือก มัน และแคฝอยเป็นต้น. ไม้กอ ไม้เถา และไม้ต้นเป็นอาทินั้น ย่อมเกิดและย่อม งอกที่เหง้าใด, ก็เหง้านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในบาลี พืชเกิด จากเหง้า มีขมิ้นเป็นต้นนี้ แม้ทั้งหมด ชื่อว่า มูลพืช. ในขันธพืชเป็นต้น (พืชเกิดจากลำต้น) ก็นัยนี้.
ก็อีกอย่างหนึ่ง บรรดาพืชทั้งหลาย มีพืชที่เกิดจากลำต้น เป็นอาทินี้ พืชเหล่าใด มีต้นมะกอก ต้นช้างน้าว (อ้อยช้างก็ว่า) สลัดได ทองหลาง กรรณิการ์เป็นต้น บัณฑิตพึงเห็นว่า พืชเกิดจากลำต้น พืชทั้งหลาย มีเถาส้ม เถาสี่เหลี่ยม และเถาดีปลี (ยี่หร่าก็ว่า) เป็นต้น บัณฑิตพึงเห็นว่า พืชเกิด แต่ข้อ, พืชมี ปอ มะลิ หงอนไก่ เป็นต้น บัณฑิตพึงเห็นว่า พืชเกิดจากยอด. พืชมีเมล็ดมะม่วง หว้า และขนุนเป็นต้น พึงทราบว่า พืชเกิดจากเมล็ด.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงชนิดแห่งอาบัติ อนาบัติ และชนิดแห่งความถูกพราก ด้วยอำนาจสัญญา (ชื่อ) ในคำที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ภูตคามปาตพฺยตาย ปาจิตฺติยํ (เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความถูกพรากแห่ง ภูตคาม) จึงตรัสดำว่า พีเช พีชสญฺี เป็นต้น.
ภูตคามที่เกิดจากเมล็ด บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า พืช ในคำว่า พีเช พีชสญฺี นั้น ดุจข้าวสุกแห่งข้าวสารข้าวสาลี เขาเรียกกันว่า ข้าวสุกแห่งข้าวสาลี ในคำว่า สาลีนญฺเจว โอทนํ ภุญชติ
(๑) สมัยนี้แปลกันว่ามันฝรั่ง แต่ชาวอินเดียเรียกว่า "อาล." -ผู้ชำระ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 275
เป็นต้น ฉะนั้น. ส่วนพืชที่ท่านคัดออกไว้ให้พ้นไปจากภูตคาม ที่พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสไว้ ในคำว่า พีชคามภูตคามสมารมฺภา ปฏิวิรโต เป็นต้น เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.
อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงประกอบกับบทต้นแห่งสิกขาบทวิภังค์ที่ว่า ภูตคาโม นาม แล้ว พึงทราบเนื้อความในคำว่า พีเช พืชสญี นี้ อย่างนี้ว่า ภิกษุมีความสำคัญในพืชที่มีชื่อว่าภูตคาม ว่าเป็นพืช เอาศัสตราเป็นต้น ตัดเอง ก็ดี ใช้ให้คนอื่นตัดก็ดี เอาก้อนหินเป็นต้นทุบเองก็ดี ใช้ให้คนอื่นทุบก็ดี นำเอาไฟเข้าไปเผาเองก็ดี ใช้คนอื่นให้เผาก็ดี ต้องปาจิตตีย์. แต่บัณฑิตไม่ พึงถือเอาตามพระบาลี ปรับปาจิตตีย์ ในเพราะความพราก มีชนิดตัดพืชนอก ไปจากภูตคามเป็นต้น.
[อธิบายพีชคามและภูตคามเป็นต้น]
จริงอยู่ ในภูตคามสิกขาบทนี้ มีวินิจฉัยกถา ดังต่อไปนี้
ภิกษุพรากภูตคาม เป็นปาจิตตีย์. พรากพีชคามแม้ทั้ง ๕ อย่าง อัน นอกจากภูตคาม เป็นทุกกฏ. ชื่อว่า พีชคามและภูตคามนี้ อยู่ในน้ำก็มี อยู่ บนบกก็มี. บรรดาพีชคามและภูตคามที่อยู่ในน้ำและบนบกทั้งสองนั้น พีชคาม และภูตคามที่อยู่ในน้ำ คือ เสวาลชาติ (สาหร่าย) ทั้งที่มีใบและไม่มีใบทั้งหมด มีชนิดเช่นแหนและจอกเป็นต้น โดยที่สุดกระทั่งฝ้าน้ำ (ตระไคร้น้ำ) บัณฑิต พึงทราบว่า ภูตคาม. ชื่อว่าฝ้าน้ำ (ตระไคร้น้ำ) ข้างบนแข็ง มีสีกร้าน ข้างล่างอ่อน มีสีเขียว.
บรรดาเสวาลชาตินั้น รากของสาหร่ายใดหยั่งลงไปอยู่ในแผ่นดิน แผ่นดินเป็นฐานของสาหร่ายนั้น. น้ำเป็นฐานของสาหร่ายที่ลอยไปมาบนน้ำ เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้พรากภูตคามที่อยู่ในแผ่นดินในที่ใดที่หนึ่งก็ดี ยกขึ้นย้าย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 276
ไปสู่ที่อื่นก็ดี. เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้พรากภูตคามที่ลอยไปมาบนน้ำเหมือนกัน. แต่จะเอามือทั้งสองแหวกไปทางโน้นทางนี้ แล้วอาบน้ำ ควรอยู่. แท้จริง น้ำทั้งสิ้นเป็นฐานของสาหร่ายที่อยู่ในน้ำนั้น เพราะเหตุนั้น สาหร่ายนั้น ยังไม่ จัดว่าเป็นอันภิกษุย้ายไปสู่ที่อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้. แต่จะแกล้งยกขึ้นจากน้ำ โดยเว้นน้ำเสียไม่ควร. ยกขึ้นพร้อมทั้งน้ำ แล้ววางลงในน้ำอีก ควรอยู่. สาหร่ายออกมาทางช่องผ้ากรองน้ำ, ควรให้ทำกัปปิยะก่อน จึงบริโภคน้ำ. ภิกษุถอนเถาวัลย์และหญ้าที่เกิดในน้ำ มีกออุบลและกอปทุมเป็นต้น ขึ้นจากน้ำ ก็ดี พรากเสียในน้ำนั้นเองก็ดี เป็นปาจิตตีย์. พรากกออุบลและกอปทุมเป็นต้น ที่คนอื่นถอนขึ้นไว้แล้ว เป็นทุกกฏ. จริงอยู่ กออุบลและปทุมเป็นต้น ที่คนอื่น ถอนขึ้นไว้นั้น ย่อมถึงรากสงเคราะห์เข้าในพีชคาม. แม้สาหร่ายคือจอกและ แหน * ที่เขายกขึ้นจากน้ำแล้ว ยังไม่เหี่ยว ย่อมถึงซึ่งอันสงเคราะห์เข้าในพืช ที่เกิดจากยอด. ในอรรถกถามหาปัจจรีเป็นต้น ท่านกล่าวไว้ว่า แหน * * ไม่มีราก และหน่อและตระไคร้น้าเป็นต้น เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ. เหตุในคำนั้นไม่ปรากฎ. ในอันธกอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า ยังไม่เป็นภูตคามที่สมบูรณ์ เหตุนั้น จึงเป็นทุกกฏ. แม้คำในอันธกอรรถกถานั้น ก็ไม่สมกัน (กับพระบาลี). จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าปรับปาจิตตีย์ในเพราะภูตคาม, ปรับทุกกฏในเพราะพีชคาม.
ชื่อว่า ภูตคามอันไม่สมบูรณ์ เป็นโกฎฐาสที่ ๓ ไม่ได้มาในบาลี ไม่ได้ มาในอรรถกถาทั้งหลายเลย. ก็ถ้าจะพึงมีมติว่า แหนไม่มีรากและหน่อนั้น
(๑) โยชนาปาระ ๒/๒๕ - ๑ ตตฺถ ติลพีชกเสวาโล นาม อุปริ ขฺทฺทกปตฺโต เหฏฺา ขุทฺทกมูโล เสวาโล. สาสปเสวาโล นาม สาสปมตฺโค ขุทฺทกเสวาโล. แปลว่า บรรดาสาหร่ายเหล่านั้น ที่ชื่อว่า ติลพีชกสาหร่าย ได้แก่ สาหร่ายที่ข้างบนมีใบเล็กๆ ข้างล่างมีรากเล็กๆ ทิ่มีชื่อว่า สาสปสาหร่าย ได้แก่ สาหร่ายเล็กๆ มีขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด. ๒. โยชนาปาฐะ ๒/๒๑ อนนฺตกติลกพืชโกติ อมูลงฺกุรติลพีชโก พืชขนาดเท่าเมล็ดงาไม่มีรากและหน่อ ชื่อว่าแหน. -ผู้ชำระ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 277
จักถึงการสงเคราะห์เข้าในพีชคามไซร้, แม้คำนั้นก็ไม่ควร เพราะพืชเช่นนั้น ไม่เป็นมูลเหตุแห่งภูตคามเลย. อีกนัยหนึ่ง คำว่า บรรดาฐานะที่หนักและเบา ภิกษุควรตั้งอยู่ในฐานะที่หนัก นี้เป็นลักษณะแห่งวินัย.
[ว่าด้วยภูตคามที่เกิดบนบกและการพรากภูตคามนั้น]
วินิจฉัยในภูตคามที่เกิดบนบกต่อไป ส่วนที่เหลือของจำพวกต้นไม้ ที่ถูกตัดจัดว่าเป็นดอกไม้ที่เขียวสด. ในตอไม้เขียวสดนั้น ตอแห่งไม้กุ่ม ไม้- กระถินพิมาน ไม้ประยงค์ และไม้ขนุนเป็นต้น ย่อมงอกขึ้นได้. ตอไม้นั้น ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยภูตคาม. ตอแห่งต้นตาลและมะพร้าวเป็นต้น ย่อมไม่ งอกขึ้นได้. ตอแห่งต้นตาลเป็นต้นนั้น ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยพีชคาม.
ส่วนตอกล้วยที่ยังไม่ตกเครือ ท่านสงเคราะห์ด้วยภูตคาม. ดอกกล้วย ที่ตกเครือแล้ว ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยพีชคาม. แต่ต้นกล้วยที่ตกเครือแล้ว ท่านสงเคราะห์ เข้าด้วยภูตคามเหมือนกัน ตลอดเวลาที่ยังมีโบเขียวอยู่. ไม้ไผ่ ที่ตกขุยแล้ว ก็อย่างนั้น. แต่ไม้ไผ่ ในเวลาแห้งลงมาตั้งแต่ยอด จึงถึงอัน สงเคราะห์ด้วยพีชคาม. สงเคราะห์ด้วยพีชคามชนิดไหน. ด้วยพืชตามชนิด เกิดจากข้อ อะไรเกิดจากต้นไผ่นั้น. จริงอยู่ ถ้าหากว่าอะไรๆ ไม่พึงเกิด. (ต้นไผ่ตกขุย) พึงถึงการสงเคราะห์เข้าในภูตคาม.
ชนทั้งหลายตัดไม้ช้างน้าวเป็นต้น รวมเป็นกองไว้. กิ่งทั้งหลายแม้ ประมาณศอกหนึ่งงอกออกจากท่อนไม้ที่รวมเป็นกองไว้ ย่อมถึงการสงเคราะห์ เข้าด้วยพีชคามเหมือนกัน. ชนทั้งหลายปักลงในพื้นดิน เพื่อประโยชน์เป็น มณฑปก็ดี เพื่อประโยชน์เป็นรั้วก็ดี เพื่อประสงค์จะปลูกเถาวัลย์ก็ดี. เมื่อ จำพวกรากและใบงอกออกแล้ว ย่อมถึงอันนับเข้าเป็นภูตคามอีกแม้โดยแท้ ถึงอย่างนั้นเมื่องอกเพียงทุ่มรากหรือเพียงตุ่มใบก็สงเคราะห์เข้าเป็นพืชคาม เท่านั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 278
เมล็ดจำพวกใดจำพวกหนึ่ง ที่ชนทั้งหลายเอาน้ำรดชำไว้ในแผ่นดิน หรือว่าชนทั้งหลายใส่ดินเปียกลงในกระถางเป็นต้นเพาะไว้. เมล็ดทั้งหมดนั้น แม้เมื่องอกเพียงตุ่มราก หรือเพียงตุ่มใบ ก็จัดเป็นเพียงพืชเท่านั้น. ถ้าแม้นว่า รากทั้งหลายและหน่อข้างบนงอกออก ก็ยังจัดเป็นพืชนั่นแล ตลอดเวลาที่หน่อ ยังไม่เขียว. ก็เมื่อใบแห่งถั่วเขียวเป็นต้นงอกขึ้น หรือเมื่อหน่อแห่งข้าวเปลือก เป็นต้นเขียวสด เกิดใบมีสีเขียวแล้ว ย่อมถึงการสงเคราะห์เข้าเป็นภูตคาม
รากแห่งเมล็ดตาลทั้งหลายงอกออกทีแรก เหมือนเขี้ยวสุกร. แม้เมื่อ งอกออกแล้ว ก็จัดเป็นพีชคามเหมือนกัน ตลอดเวลาที่ม้วนกลีบ ใบข้างบน ยังไม่คลี่ออก. หน่องอกทะลุเปลือกมะพร้าวออกเหมือนไม้สลัก ก็จัดเป็น พีชคามอยู่นั่นเอง ตลอดเวลาที่ม้วนกลีบใบเรียวคล้ายกับเขามฤคยังไม่มี. แม้ เมื่อรากยังไม่ออก กลีบใบเช่นนั้นเกิดขึ้นแล้ว ก็ถึงการสงเคราะห์เข้าในภูตคาม ที่ไม่มีราก.
จำพวกเมล็ดมีเมล็ดมะม่วงเป็นต้น พระวินัยธรพึงตัดสินด้วยจำพวก ข้าวเปลือกเป็นต้น. ก้านหรือรุกขชาติอย่างใดอย่างหนึ่งอื่นก็ดี เกิดที่ต้นไม้แล้ว คลุมโอบต้นไม้. ต้นไม้นั่นแหละเป็นฐานของก้านเป็นต้นนั้น. ภิกษุพรากก้าน เป็นต้นนั้นก็ดี ถอนขึ้นจากต้นไม้นั้นก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เถาวัลย์ชนิดหนึ่งไม่มีราก ย่อมพันพุ่มไม้ป่าและท่อนไม้ดุจวงแหวน (ฝอยทอง) แม้เถาวัลย์นั้นก็มีวินิจฉัยอย่างนี้เหมือนกัน. ที่หน้ามุขเรือนกำแพง ชุกชี และเจดีย์เป็นต้น มีตระไคร้น้ำสีเขียว. คบอดเวลาที่ยังไม่เกิดใบ ๒ - ๓ ใบ ย่อมถึงการสงเคราะห์เข้าเป็นพืชเกิดจากยอด. เมื่อใบทั้งหลายเกิดแล้ว เป็นวัตถุแห่งปาจิตตีย์. เพราะเหตุนั้น จะให้การฉาบปูนขาวในฐานะเช่นนั้น ไม่ควร. จะให้การฉาบน้ำปูนขาวที่ละเอียดบนที่อันอนุปสัมบันฉาบแล้ว ควร
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 279
อยู่. ถ้าในฤดูร้อนตระไคร้น้ำแห้งติดอยู่. จะเอาไม่กวาดเป็นต้น ขูดตระไคร้น้ำ นั้นออกเสีย ควรอยู่. ตระไคร้น้ำข้างนอกหม้อน้ำดื่มเป็นต้น เป็นวัตถุแห่ง ทุกกฏ อยู่ภายในเป็นอัพโพหาริก. แม้เห็ดราที่ไม้ชำระฟันและขนมเป็นต้น เป็นอัพโพหาริกเหมือนกัน. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ถ้าฝา ที่เขากระทำบริกรรมด้วยยางไม้เกิดเป็นเห็ดรา ภิกษุพึงชุบผ้าให้เปียกบีบแล้ว เช็ดเถิด๑.
ปาสาณชาติ ปาสาณทัททุ เสวาละ เสเลยยกะ๒ (ราหิน ตะไคร้หิน สาหร่าย และเอื้องหินหรือเอื้องผา) เป็นต้น ยังไม่มีสีเขียวสด และไม่มีใบ เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ. เห็ด เป็นวัตถุแห่งทุกกฏตลอดเวลาที่ยังตูมอยู่. จำเดิม แต่บานแล้ว เป็นอัพโพหาริก. ก็ภิกษุเก็บเห็ดจากต้นไม้สดแกะเอาเปลือก ต้นไม้ออก เพราะเหตุนั้น จึงเป็นปาจิตตีย์ ในเพราะการแกะเปลือกไม้นั้น. แม้ในสะเก็ดไม้ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. สะเก็ดแห่งต้นช้างน้าว และต้นกุ่ม เป็นต้น หลุดจากต้นแล้ว ยังเกาะอยู่. เมื่อภิกษุถือเอาสะเก็ดนั้น ไม่เป็นอาบัติ. แม้ยางไม้ไหลออกจากต้นไม้แล้ว ยิ่งติดอยู่ก็ดี ติดอยู่ที่ต้นไม้แห้งก็ดี จะถือเอา ควรอยู่. จะถือเอาจากต้นที่ยังสด ไม่ควร แม้ในครั่ง ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. เมื่อภิกษุเขย่าต้นไม้ ให้ใบเหลืองหล่นก็ดี ทำให้ดอกมีดอกกรรณิการ์โรย เป็นต้นหล่นก็ดี เป็นปาจิตตีย์ทั้งนั้น. แม้ภิกษุจาริกตัวอักษรลงบนต้นไม้ มีต้น ช้างน้าว และต้นสลัดไดเป็นต้น ตรงที่ยังอ่อนก็ดี ที่ใบตาลซึ่งเกิดอยู่บนต้นตาล เป็นต้น นั้นก็ดี ด้วยความคะนองมือ ก็นัยนี้นั่นแล.
(๑) วิ. จุลล. ๗/๒๔๙ ๒. วิมติ สาเลยฺยกํ นาม สิลาย สมภูต เอกา คนฺธชาติ. แปลว่า ของหอมชนิดหนึ่งเกิดจากหิน ชื่อว่า สาเลยยกะ. เห็นจะได้แก่ ที่เรียกกันว่าเมื่อกผา หรือโมกผา สารตฺถทีปนี ๓/๒๖๕ สาเลยฺยกํ นาน สิลาย สมฺภูต เอกา สคนฺธชาติ. -ผู้ชำระ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 280
เมื่อพวกสามเณรเลือกเก็บดอกไม้อยู่ ภิกษุจะเหนี่ยวกิ่งลงให้ ก็ควร. แต่ภิกษุอย่าพึงอบน้ำดื่มด้วยดอกไม้เหล่านั้น. ภิกษุต้องการอบกลิ่นน้ำดื่ม พึง อุ้มสามเณรขึ้นแล้วให้เก็บดอกไม้ให้. แม้กิ่งไม้ที่มีผล ตนเองต้องการจะขบฉัน อย่าพึงเหนี่ยวลงมา. พึงอุ้มสามเณรขึ้นแล้วให้เก็บผลไม้. จะจับฉุดมาร่วมกับ สามเณรทั้งหลายผู้กำลังถอนไม้กอ หรือเถาวัลย์อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ควร. แต่เพื่อให้เกิดความอุตสาหะแก่สามเณรเหล่านั้น จะจับที่ปลายแสดงท่าทีฉุด ดุจกำลังลากมา ควรอยู่
ภิกษุกรีดกิ่งต้นไม้ที่มีกิ่งงอกขึ้น อันตนมิได้ให้อุปสัมบันทำให้เป็น กัปปิยะถือเอา เพื่อประโยชน์แก่พัดไล่แมลงวันเป็นต้น ที่เปลือกหรือที่ใบ โดยที่สุดแม้ด้วยเล็บมือ เป็นทุกกฏ. แม้ในขิงสดเป็นต้นก็นัยนี้แล. ก็ถ้าหากว่า รากแห่งขิงสดที่ภิกษุให้กระทำให้เป็นกัปปิยะแล้ว เก็บไว้ในพื้นที่เย็น งอกขึ้น จะตัดที่ส่วนเบื้องบนควรอยู่. ถ้าเกิดหน่อจะตัดที่ส่วนข้างล่าง ก็ควร. เมื่อราก กับหน่อเขียวเกิดแล้ว จะตัดไม่ควร.
[ว่าด้วยการตัดทำลายเผาเองและใช้ให้ทำเป็นต้น]
สองบทว่า ฉินฺทติ วา ฉินฺทาเปติ วา มีความว่า ภิกษุเมื่อจะ กวาดพื้นดิน ด้วยคิดว่า เราจักตัดหญ้า ตัดเองก็ดี ใช้คนอื่นให้ตัดก็ดี โดย ที่สุดแม้ด้วยซี่ไม่กวาด.
สองบทว่า ภินฺทติ วา ภินฺทาเปติ วา มีความว่า โดยที่สุด แม้เมื่อจะเดินจงกรมแกล้งเอาเท้าทั้งสองเหยียบไป ด้วยคิดว่า สิ่งที่จะขาด จงขาดไป สิ่งที่จะแตก จงแตกไป เราจักแสดงที่ที่เราจงกรม ดังนี้ ย่อม ทำลายเองก็ดี ใช้คนอื่นให้ทำลายก็ดี ซึ่งหญ้าและเถาวัลย์เป็นต้น. ถ้าแม้นว่า เมื่อภิกษุทำหญ้าและเถาวัลย์ให้เป็นขมวด หญ้าและเถาวัลย์จะขาด, แม้ทำให้ เป็นหมวด ก็ไม่ควร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 281
ก็ชนทั้งหลาย ย่อมดอกไม้แมลงมุม (หุ่นยนต์แมลงมุม) ผูกหนาม ที่ต้นตาลเป็นต้น เพื่อต้องการไม่ให้พวกโจรขึ้นลัก. การกระทำอย่างนั้น ไม่ควรแก่ภิกษุ ก็ถ้าว่า หุ่นยนต์แมลงมุมเป็นแค่เพียงติดอยู่ที่ต้นไม้เท่านั้น ไม่บีบรัดต้นไม้ ควรอยู่ แม้จะกล่าวว่า เธอจงตัดต้นไม้ จงตัดเถาวัลย์ จงถอนเหง้า หรือราก ดังนี้ ก็ควรอยู่ เพราะเป็นคำพูด ไม่กำหนดลงแน่นอน. แต่จะกำหนดลงไป พูดคำเป็นต้นว่า จงตัดต้นไม้นี้ ไม่ควร. ถึงแม้การระบุ ชื่อกล่าวคำเป็นต้นว่า จงตัด จงทุบ จงถอน ต้นมะม่วง เถาสี่เหลี่ยม หัว เผือกมัน หญ้ามุงการตาย สะเก็ดต้นไม้โน้น ดังนี้ ก็เป็นคำที่ไม่กำหนด แน่นอนเหมือนกัน. แท้จริง คำเป็นต้นว่า ต้นมะม่วงนี้ เท่านั้น ชื่อว่า เป็นคำกำหนดแน่นอน คำนั้น ไม่ควร
สองบทว่า ปจติ วา ปจาเปติ วา มีความว่า บัณฑิตพึงทราบ คำทั้งปวง โดยนัยดังได้กล่าวแล้วในปฐวีขนนสิกขาบทนั้นแลว่า ชั้นที่สุด แม้ประสงค์จะระบมบาตร แกล้งก่อไฟข้างบนกองหญ้าเป็นต้น เผาเองก็ดี ใช้คนอื่นให้เผาก็ดี ดังนี้. แต่จะกล่าวไม่กำหนดแน่นอนว่า จงต้มถั่วเขียว จงต้มถั่วเหลือง เป็นต้น ควรอยู่ จะกล่าวอย่างนี้ว่า จงต้มถั่วเขียวเหล่านี้ จงต้มถั่วเหลืองเหล่านี้ ไม่ควร.
ในคำว่า อนาปตฺติ อิมํ ชาน เป็นต้น บัณฑิตพึงเห็นเนื้อความ อย่างนี้ว่า เธอจงรู้มูลเภสัชนี้ จงให้รากไม้ หรือ ใบไม้นี้ก็ดี จงนำต้นไม้ หรือเถาวัลย์นี้มาก็ดี ต้องการดอกไม้ หรือผลไม้ หรือใบไม้นี้ก็ดี จงกระทำ ต้นไม้ หรือเถาวัลย์ หรือว่าผลไม้นี้ ให้เป็นกัปปิยะก็ดี. ด้วยคำเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันภิกษุกระทำการปลดเปลื้องภูตคาม. แต่ภิกษุผู้จะบริโภคพึงให้ อนุปสัมบันทำให้เป็นกัปปิยะซ้ำอีก เพื่อปลดเปลื้องพีชคาม.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 282
[อธิบายการทำกัปปิยะและวัตถุที่ใช้ทำกัปปิยะ]
ก็การกระทำกัปปิยะในสิกขาบทนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยกระแสแห่งสูตร นี้ว่า ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตเพื่อบริโภคผลไม้ ด้วยสมณกัปปะ (สมณโวหาร) ๕ คือ ผลที่จี้ด้วยไฟ ที่แทงด้วยมีด ที่จิกด้วยเล็บ ผลที่ไม่มีเมล็ด ที่ปล้อน เม็ดออกแล้ว เป็นที่คำรบ ๕. (๑)
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคิปริจิตํ มีอรรถว่า ฉาบ คือ ลวก เผา จี้แล้วด้วยไฟ.
บทว่า สตฺถกปริจิตํ มีอรรถว่า จด คือ ฝาน ตัด หรือแทง แล้วด้วยมีดเล็กๆ. ในข้อว่า จิกด้วยเล็บ ก็นัยนั้นนั่นแล. ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด และผลไม้ที่ปล้อนเมล็ดออกแล้ว เป็นกัปปิยะด้วยตัวมันเองแท้.
ภิกษุเมื่อจะทำกัปปิยะด้วยไฟ พึงทำกัปปิยะด้วยบรรดาไฟฟืนและไฟ โคมัยเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุดแม้ด้วยแต่งโลหะที่ร้อน. ก็แล วัตถุนั้นจับไว้ข้างหนึ่ง พึงกล่าวคำว่า กัปปิยัง๒ แล้วทำเถิด.
เมื่อจะทำด้วยมีด. แสดงรอยตัด รอยผ่า ด้วยปลาย หรือด้วยคม แห่งมีดที่ทำด้วยโลหะอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยทีสุดแม้แห่งเข็มและมีดตัดเล็บ เป็นต้น. พึงกล่าวว่า กัปปิยัง แล้วทำเถิด.
เมื่อจะทำกัปปิยะด้วยเล็บ อย่าพึงทำด้วยเล็บเน่า. ก็เล็บของพวก มนุษย์ สัตว์ ๔ เท้า มีสีหะ เสือโคร่ง เสือเหลือง และลิงเป็นต้น และ แห่งนกทั้งหลาย เป็นของแหลมคม, พึงทำด้วยเล็บเหล่านั้น. กีบแห่งสัตว์
(๑) วิ. จุลฺล. ๗/๑๑
(๒) อุปสัมบันผู้ให้ทำกัปปิยะกล่าวว่า "กปฺปิยํ กโรหิ" อนุปสัมบันผู้ทำกัปปิยะเอามือหนึ่งจับสิ่ง ของที่จะทำกัปปิยะ มือหนึ่งจับวัตถุที่จะใช้ทำกัปปิยะ มีมีดเป็นต้นแล้ว ตัดหรือฝ่าหรือจี้ลงไป ที่สิ่งของนั้นพร้อมกล่าวว่า "กปฺปิย ภนฺเต" เป็นเสร็จพิธี,=ผู้ชำระ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 283
มีม้า กระบือ สุกร เนื้อ และโคเป็นต้น ไม่คม อย่าพึงทำด้วยกีบเหล่านั้น. แม้ทำแล้วก็ไม่เป็นอันทำ. ส่วนเล็บช้าง ไม่เป็นกีบ. จะทำกัปปิยะด้วยเล็บช้าง เหล่านั้น ควรอยู่ แต่การทำกัปปิยะด้วยเล็บเหล่าใด สมควร, พึงแสดง การตัด การจิก ด้วยเล็บเหล่านั้นที่เกิดอยู่ในที่นั้นก็ดี ที่ยกขึ้นถือไว้ก็ดี กล่าวว่า กัปปิยัง แล้วกระทำเถิด.
บรรดาพืชเป็นต้นเหล่านั้น ถ้าแม้นว่าพืชกองเท่าภูเขาก็ดี ต้นไม้ จำนวนพันที่เขาตัดแล้ว ทำให้เนื่องเป็นอันเดียวกันกองไว้ก็ดี อ้อยมัดใหญ่ที่ เขามัดรวมไว้ก็ดี, เมื่อทำพืชเมล็ดหนึ่ง กิ่งไม้กิ่งหนึ่งหรืออ้อยลำหนึ่งให้เป็น กัปปิยะแล้ว ย่อมเป็นอันทำให้เป็นกัปปิยะแล้วทั้งหมด. อ้อยลำและไม้ฟืน เป็นของอันเขามัดรวมกันไว้. อนุปสัมบัน จะแทงไม้ฟืนด้วยตั้งใจว่า เราจัก กระทำอ้อยให้เป็นกัปปิยะ ดังนี้ ก็ควรเหมือนกัน. แต่ถ้าเป็นของที่เขาผูกมัด ด้วยเชือกหรือด้วยเถาวัลย์ใด จะแทงเชือกหรือเถาวัลย์นั้น ไม่ควร. ชนทั้งหลาย บรรจุกระเช้าให้เต็มด้วยลำอ้อยท่อนแล้วนำมา. เมื่อทำอ้อยท่อนลำหนึ่งให้เป็น กัปปิยะแล้ว อ้อยท่อนทั้งหมด ย่อมเป็นอันทำให้กัปปิยะแล้วเหมือนกัน.
ก็ถ้าว่า พวกทายำนำภัตปนกับพริกสุกเป็นต้นมา เมื่อภิกษุกล่าวว่า จงกระทำกัปปิยะ ถ้าแม้นว่า อนุปสัมบันแทงที่เมล็ดข้าวสวย ก็สมควร เหมือนกัน. แม้ในเมล็ดงาและข้าวสารเป็นต้น ก็นัยนั้นนั่นแล. แต่พริกสุก เป็นต้นนั้น ที่เขาใส่ลงในข้าวต้ม ไม่ตั้งอยู่ติดเนื่องเป็นอันเดียวกัน. บรรดา พริกสุกเป็นต้นนั้น พึงทำกัปปิยะแทงที่ละเมล็ดนั่นเทียว. เยื่อในแห่งผลมะขวิด เป็นต้น ร่อนเปลือกแล้วคลอนอยู่ (หลุดจากกะลาคลอนอยู่ช้างใน) ภิกษุพึง ให้ทุบแล้วให้ทำกัปปิยะ. (ถ้า) ยังติดเนื่องเป็นอันเดียวกัน (กับเปลือก) , จะทำ (กัปปิยะ) แม้ทั้งเปลือก (ทั้งกะลา) ก็สมควร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 284
[อธิบายอนาปัตติวาร]
บทว่า อสญฺจิจฺจ มีความว่า เมื่อภิกษุกลิ้งหินและต้นไม้เป็นต้นก็ดี ฉุดลากกิ่งไม้ก็ดี เอาไม้เท้ายันพื้นดินเดินไปก็ดี หญ้าเป็นต้นขาดไป. หญ้า เหล่านั้น ย่อมชื่อว่า เป็นอันภิกษุไม่ได้จงใจทำให้ขาด เพราะไม่ได้จงใจตัด อย่างนี้ว่า เราจักตัดหญ้า ด้วยการกลิ้งเป็นต้นนั้น. ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ แกล้งตัดอย่างนี้.
บทว่า อสติยา มีความว่า ส่งใจไปทางอื่นยืนพูดอะไรๆ กับใครๆ เอาหัวแม่เท้า หรือมือเด็ดหญ้า หรือเถาวัลย์อยู่. ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ตัด เพราะไม่มีสติอย่างนี้.
บทว่า อชานนฺตสฺส มีความว่า ภิกษุไม่รู้ว่า พีชคาม หรือว่า ภูตคาม มีอยู่ในภายในนี้ ทั้งไม่รู้ว่า เรากำลังตัด วางสิ่ง เสียมและจอบ ที่รั้ว หรือที่กองฟาง เพื่อต้องการเก็บรักษาอย่างเดียว หรือว่า มือถูกไฟไหม้ ทิ้งไฟลงก็ดี, ถ้าว่าในที่นั้น หญ้าเป็นต้น ขาดก็ดี ถูกไฟไหม้ก็ดี ไม่เป็นอาบัติ.
แต่ในทุกๆ อรรถกถาในมนุสสวิคคหปาราชิกวรรณนา ท่านกล่าว ไว้ว่า ถ้าภิกษุถูกต้นไม้โค่นทับ หรือว่าตกลงในหลุม และอาจเพื่อจะตัดต้นไม้ แล้ว กลิ้งต้นไม้นั้นไปเสีย หรือขุดแผ่นดินแล้วออกมาได้. ภิกษุไม่ควรจะ กระทำด้วยตนเอง แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต แต่ภิกษุอื่นจะขุดพื้นดิน หรือตัด ต้นไม้ หรือว่าตัดท่อนไม้จากต้นไม้สด งัดต้นไม้นั้นไปแล้ว ให้ (ภิกษุนั้น) ออกมาควรอยู่ ไม่เป็นอาบัติ. เหตุในคำนั้น ไม่ปรากฏ. แต่ปรากฏเพียง สูตรเดียวนี้เท่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราตถาคตอนุญาตให้จุดไฟรับ ให้ทำการป้องกัน ในเมื่อไฟป่ากำลังไหม้มา * ดังนี้. ถ้าว่า (การขุดดินเป็นต้น)
(๑) วิ จลฺล. ๗/๖๙.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 285
จะอนุโลมเข้าสูตรนี้ได้ ก็ไม่อาจได้เหตุแตกต่างกันนี้ว่า เพื่อคนไม่ควร เพื่อ ผู้อื่นควร.
ถ้าในสูตรนี้ อาจารย์ผู้โจทก์พึงกล่าวว่า ภิกษุผู้ทำเพื่อประโยชน์ ตนเอง ย่อมกระทำด้วยอกุศลจิต เพราะรักตนเท่านั้น, แต่ภิกษุอื่นกระทำให้ ด้วยความการุณ; เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็นอาบัติ. แม้คำทีว่าเพื่อประโยชน์ แก่ตน นั่นก็ไม่ใช่เหตุ. จริงอยู่ ภิกษุย่อมต้องอาบัตินี้ แม้ด้วยอกุศลจิต แต่เพราะคำนี้ ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทุกแห่ง จึงไม่อาจเพื่อจะค้านได้, บัณฑิต จึงควรแสวงหายุติในคำนี้ อีกอย่างหนึ่งพึงรับไว้โดยเธอต่ออรรถกถาจารย์ ทั้งหลายแล บทที่เหลือตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบท มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกช์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
ภูตคามสิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 286
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระฉันนะ
[๓๕๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะประพฤติอนาจารเอง แล้วถูกไต่สวน เพราะต้องอาบัติ ในท่ามกลางสงฆ์ กลับเอาเรื่องอื่นมาพูด กลบเกลื่อนว่า ใครต้อง ต้องอะไร ต้องเพราะเรื่องอะไร ต้องอย่างไร ท่านทั้งหลายว่าใคร ว่าเรื่องอะไร
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระฉันนะถูกไต่สวนเพราะต้องอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ จึงเอาเรื่องอื่นมา. พูดกลบเกลื่อนว่า ใครต้อง ต้องอะไร ต้องเพราะเรื่องอะไร ต้องอย่างไร ท่านทั้งหลายว่าใคร ว่าเรื่องอะไร ดังนี้เล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถานท่านพระฉันนะว่า ดูก่อนฉันนะ ข่าวว่าเธอถูกไต่สวนเพราะต้องอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ กลับเอาเรื่องอื่นมาพูด กลบเกลื่อนว่า ใครต้อง ... ว่าเรื่องอะไร ดังนี้ จริงหรือ.
ท่านพระฉันนะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอ เมื่อถูกไต่สวนเพราะต้องอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ จึงเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 287
ว่า ใครต้อง ... ว่าเรื่องอะไร ดังนี้เล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นทรงติเตียนแล้ว ทรงทำ ธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้น สงฆ์จงยก อัญญวาทกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงยกอัญญวาทกกรรมอย่างนั้น
กรรมวาจาลงอัญญาวาทกกรรม
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ถูกไต่สวน ด้วยอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ กลับเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อน ถ้า ความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงยกอัญญวาทกกรรมแก่ ภิกษุฉันนะ นี่เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ถูกไต่สวน ด้วยอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ กลับเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อน สงฆ์ยกอัญญวาทกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ การยกอัญญวาทกกรรมแก่ ภิกษุฉันนะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
อัญญวาทกกรรมอันสงฆ์ยกแล้วแก่ภิกษุฉันนะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 288
ทรงบัญญัติสิกขาบท
[๓๕๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระฉันนะ โดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ... แล้วรับสั่งกะภิกษุ ทั้งหลายว่า ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้.
พระบัญญัติ
๖๑. ๒. ก. เป็นปาจิตตีย์ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องพระฉันนะ
[๓๖๐] อนึ่ง โดยสมัยนั้นแล ท่านพระฉันนะถูกไต่สวนเพราะต้อง อาบัติในท่ามกลางสงฆ์คิดว่า เมื่อเราเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนจักต้องอาบัติ จึงนิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระฉันนะถูกไต่สวนเพราะต้องอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ จึงนิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบากเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มี. พระภาคเจ้า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระฉันนะว่า ดูก่อนฉันนะ ข่าว ว่า เธอเมื่อถูกไต่สวนเพราะต้องอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ได้นิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ ลำบาก จริงหรือ.
ท่านพระฉันนะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 289
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉน เธอ เมื่อถูก ไต่สวนเพราะต้องอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ จึงได้นิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นทรงติเตียนแล้ว ทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ถ้ากระนั้นสงฆ์จงยกวิเหสกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงยกวิเหสกกรรมอย่างนั้น
กรรมวาจาลงวิเหสกกรรม
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ถูกไต่สวน ด้วยอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ได้นิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก ถ้าความ พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงยกวิเหสกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ นี่เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ถูกไต่สวน ด้วยอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ได้นิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก สงฆ์ยก วิเหสกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ การยกวิเหสกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน ผู้นั้นพึงพูด.
วิเหสกกรรมอันสงฆ์ยกแล้วแก่ภิกษุฉันนะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 290
[๓๖๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระฉันนะ โดยอเนก ปริยายดั่งนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๖๑. ๒. ข. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น ในเพราะความเป็นผู้ให้ลำบาก.
เรื่องพระฉันนะ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๖๒] ที่ชื่อว่า เป็นผู้กล่าวคำอื่น คือ ภิกษุเมื่อถูกไต่สวนใน เพราะวัตถุหรืออาบัติ ณ ท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะบอกเรื่องนั้น ไม่ ปรารถนาจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนว่า ใครต้อง ต้องอะไร ต้องในเพราะเรื่องอะไร ต้องอย่างไร ท่านทั้งหลายว่าใคร ว่าเรื่อง อะไร ดังนี้ นี่ชื่อว่า เป็นผู้กล่าวคำอื่น.
[๓๖๓] ที่ชื่อว่า เป็นผู้ให้ลำบาก คือ ภิกษ เมื่อถูกไต่สวนใน เพราะวัตถุหรืออาบัติ ณ ท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะบอกเรื่องนั้น ไม่ ปรารถนาจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงนิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก นี่ชื่อว่า เป็นผู้ให้ ลำบาก
บทภาชนีย์
[๓๖๔] เมื่อสงฆ์ยังไม่ยกอัญญวาทกกรรม ภิกษุถูกไต่สวนในเพราะ วัตถุหรืออาบัติ ณ ท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะบอกเรื่องนั้น ไม่ปรารถนา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 291
จะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงเอาเรื่องอื่นนาพูดกลบเกลื่อนว่า ใครต้อง ต้องอะไร ต้องในเพราะเรื่องอะไร ท้องอย่างไร ท่านทั้งหลายว่าใคร ว่าเรื่องอะไร ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
เมื่อสงฆ์ยังไม่ยกวิเหสกกรรม ภิกษุถูกไต่สวนในเพราะวัตถุหรืออาบัติ ณ ท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะบอกเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงนิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๓๖๕] เมื่อสงฆ์ยกอัญญวาทกกรรมแล้ว ภิกษุถูกไต่สวนในเพราะ วัตถุหรืออาบัติ ณ ท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะบอกเรื่องนั้น ไม่ปรารถนา จะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนว่า ใครต้อง ... ว่าเรื่อง อะไร ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เมื่อสงฆ์ยกวิเหสกกรรมแล้ว ภิกษุถูกไต่สวนในเพราะวัตถุหรืออาบัติ ณ ท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะบอกเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงนิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ติกปาจิตตีย์
[๓๖๖] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น ในเพราะความเป็นผู้ให้ลำบาก
กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็น ผู้กล่าวคำอื่น ในเพราะความเป็นผู้ให้ลำบาก.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น ในเพราะความเป็นผู้ให้ลำบาก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 292
ติกทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ ...
กรรมไม่เป็นธรรน ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ ...
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ ...
อนาปัตติวาร
[๓๖๗] ภิกษุไม่เข้าใจจึงถาม ๑ ภิกษุอาพาธให้การไม่ได้ ๑ ภิกษุ ไม่ให้การด้วยคิดว่า ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง หรือความ วิวาทจักมีแก่สงฆ์ ๑ ภิกษุไม่ให้การด้วยคิดว่า จักเป็นสังฆเภท หรือสังฆราชี ๑ ภิกษุไม่ให้การด้วยคิดว่า สงฆ์จักทำกรรมโดยไม่ชอบธรรม โดยเป็นวรรค หรือจักไม่ทำกรรมแก่ภิกษุผู้ควรแก่กรรม ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
เสนาสนวรรค อัญญวาทสิกขาบทที่ ๒
พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๒ ดังต่อไปนี้
[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องพระฉันนะ]
สองบทว่า อนาจารํ อาจริตฺวา คือ กระทำสิ่งทิ่ไม่ควรทำ มีคำ อธิบายว่า ต้องอาบัติในทางกายทวารและวจีทวาร.
สองบทว่า อญฺเนญฺํ ปฏิจรติ ได้แก่ ย่อมกลบเกลื่อน คือ ปกปิด ทับถมคำอื่นด้วยคำอื่น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 293
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงวิธีกลบเกลื่อนนั้น จึงตรัส คำว่า โก อาปนฺโน เป็นต้น. ในคำนั้น มีพจนสัมพันธ์ดังต่อไปนี้ ได้ยินว่า พระฉันนะนั้นถูกภิกษุทั้งหลาย เห็นการล่วงละเมิดบางอย่างแล้ว สอบถามด้วยอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ท่านเป็นผู้ต้องอาบัติ ใช่ไหม? กล่าวว่า ใครต้อง ดังนี้.
ลำดับนั้น เมื่อภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ท่าน จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าต้อง อาบัติอะไร? ทีนั้น เมื่อภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ปาจิตตีย์ หรือทุกกฏ เมื่อ จะถามวัตถุ จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าต้องในเพราะวัตถุอะไร? ลำดับนั้น เมื่อพวก ภิกษุกล่าวว่า ในเพราะวัตถุชื่อโน้น จึงถามว่า ข้าพเจ้าต้องอย่างไร? และ ข้าพเจ้าทำอะไร จึงต้อง? ดังนี้. ครั้งนั้น เมื่อพวกภิกษุกล่าวว่า ทำการ ละเมิดชื่อนี้ จึงต้อง กล่าวว่า พวกท่านพูดกะใครกัน? ดังนี้ ทีนั้นเมื่อพวก ภิกษุกล่าวว่า พวกเราพูดกะท่าน จึงกล่าวว่า พวกท่านพูดเรื่องอะไร?
อีกอย่างหนึ่ง ในคำว่า โก อาปนฺโน นี้ มีวิธีกลบเกลื่อนคำอื่น ด้วยคำอื่น แม้นอกพระบาลี ดังต่อไปนี้
ภิกษุถูกพวกภิกษุกล่าวว่า พวกเราเห็นกหาปณะ (เหรียญกษาปณ์) ในถุงของท่าน, ท่านทำกรรมไม่สมควรอย่างนี้ เพื่ออะไร? แล้วกล่าวว่า ที่พวกท่านเห็นถูกแล้ว ขอรับ แต่นั่นไม่ใช่กหาปณะ มันเป็นก้อนดีบุก ดังนี้ ก็ดี, ถูกพวกภิกษุกล่าวว่า พวกเราเห็นท่านดื่มสุรา ท่านทำกรรมไม่สมควร อย่างนั้น เพื่ออะไร? แล้วกล่าวว่า ที่พวกท่านเห็นถูกแล้ว ขอรับ แต่นั่น ไม่ใช่สุรา, เป็นยาดองชื่ออริฏฐะ เขาปรุงขึ้นเพื่อต้องการเป็นยา ดังนี้ ก็ดี. ถูกพวกภิกษุกล่าวว่า พวกเราเห็นท่านนั่งในอาสนะกำบังกับมาตุคาม ท่านทำ กรรมไม่สมควรอย่างนั้น เพื่ออะไร? แล้วกล่าวว่า ท่านที่เห็นนับว่าเห็นถูกแล้ว,
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 294
แต่ในที่นั่นมีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่เป็นเพื่อน. เพราะเหตุไรท่านจึงไม่เห็นเขา? ดังนี้ ก็ดี, ถูกพวกภิกษุถามว่า ท่านเห็นการละเมิดเช่นนี้ บางอย่างไหม? ตะแคงหูเข้าไปพูดว่า ไม่ได้ยิน หรือจ้องคาเข้าไปหาพวกภิกษุ ผู้กระซิบถาม ในที่ใกล้หูก็ดี, บัณฑิณพึงทราบว่า ย่อมกลบเกลื่อนถ้อยคำ
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อญฺวาทเก วิเหสเก ปาจิตฺติยํ นี้ ต่อไป คำใด * ย่อมกล่าวความอื่นจากที่ถาม เพราะฉะนั้น คำนั้น ชื่อว่า อัญญวาทกะ. คำว่า อัญญวาทกะ นี้ เป็นชื่อแห่งความกลบเกลื่อนถ้อยคำ (การกลบเกลื่อนเหตุอื่นด้วยเหตุอื่น).
ความเป็นผู้นิ่งใด ย่อมทำสงฆ์ให้ลำบาก เพราะฉะนั้น ความเป็น ผู้นิ่งนั่น ชื่อว่า วิเหสกะ. คำว่า วิเหสกะ นี้ เป็นชื่อแห่งความเป็นผู้นิ่ง. ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น ในเพราะความเป็นผู้ให้ลำบากนั้น
ด้วยบทว่า ปาจิตฺติยํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าปรับปาจิตตีย์ ๒ ตัว ใน ๒ วัตถุ.
สองบทว่า อญฺวาทกํ โรเปตุ ความว่า สงฆ์จงยกอัญญวาทกรรม ขึ้น คือ จงให้ตั้งขึ้น. แม้ในคำว่า วิเหสกํ โรเปตุ นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
สองบทว่า อโรปิเต อญฺวาทเก ได้แก่ ในเพราะความเป็นผู้ กล่าวคำอื่นที่สงฆ์ไม่ได้ยกขึ้นด้วยกรรมวาจา. แม้ในคำว่า อโรปิเต วิเหสเก นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ในคำว่า ธมฺมกมฺเม ธมฺมกมฺมสญฺี เป็นต้น พึงทราบใจความ โดยนัยนี้ว่า อัญญวาทกวิเหสกโรปนกรรม นั้นใด อันสงฆ์กระทำแล้ว, ถ้า กรรมนั้นเป็นกรรมชอบธรรม. และภิกษุนั้น มีความสำคัญในกรรมนั้นว่า
(๑) แปลตามโยชนา ๒/ ๒๔ - ๒๕.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 295
เป็นกรรมชอบธรรม ยังทำความเป็นผู้กล่าวคำอื่น และความเป็นผู้ให้ลำบาก เมื่อนั้น ภิกษุนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น และ ในเพราะความเป็นผู้ให้ลำบากนั้น
สองบทว่า อชานนฺโต ปุจฺฉติ มีความว่า ภิกษุเมื่อไม่รู้ว่าตนต้อง อาบัติเลยจึงถามว่า ท่านทั้งหลายพูดอะไร? ข้าพเจ้าไม่รู้เลย
สองบทว่า คิลาโน น กเถติ มีความว่า ภิกษุมีพยาธิที่ปาก เช่น พยาธิที่เป็นเหตุให้ไม่สามารถจะพูดได้.
ในคำว่า สงฺฆสฺส ภณฺฑนํ วา เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความ โดยนัยนี้ว่า ภิกษุมีความสำคัญว่า เมื่อเรากล่าวในท่ามกลางสงฆ์ ความ บาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง หรือความวิวาทจักมีแก่สงฆ์ เพราะ การพูดนั้นเป็นปัจจัย ความวิวาทนั้นอย่าได้มีเลย จึงไม่พูด. บทที่เหลือตื้น ทั้งนั้นแล.
สิกขาบท มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้น ทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับ จิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยาก็มี เป็นอกิริยาก็มี จริงอยู่ เมื่อภิกษุ กลบเกลื่อนถ้อยคำ เป็นกิริยา เมื่อทำให้ลำบากเพราะความเป็นผู้นิ่ง เป็นอกิริยา เป็นสัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.
อัญญวาทสิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 296
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร
[๓๖๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรจัดแจงเสนาสนะและแจกภัตแก่สงฆ์ สมัยนั้น พระเมตติยและพระภุมมชกะเป็นผู้บวชใหม่ และมีบุญน้อย เสนาสนะของสงฆ์ ที่เลวและอาหารที่ทรามย่อมตกมาถึงเธอทั้งสอง เธอทั้งสองจึงให้ภิกษุทั้งหลาย เพ่งโทษท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า จัดเสนาสนะตามความพอใจ และแจกภัต ตามความพอใจ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย.. ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระเมตติยะและพระภุมมชกะจึงได้ให้ภิกษุทั้งหลายโพนทะนาท่านพระทัพพมัลลบุตรเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ทรงสอบถามพระเมตติยะและพระ ภุมมชกะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอให้ภิกษุทั้งหลายโพนทะนา ภิกษุทัพพามัลลบุตร จริงหรือ.
พระเมติยะและพระภุมมชกะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงให้ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษภิกษุทัพพมัลลบุตร การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลือมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 297
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้
พระบัญญัติ
๖๒. ๓. ก. เป็นปาจิตตีย์ในเพราะความเป็นผู้ให้โพนทะนา. ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้. เรื่องพระทัพพมัลลบุตร จบ
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร (ต่อ)
[๒๖๙] ก็สมัยนั้น พระเมตติยะและพระภุมมชกะคิดว่า ภิกษุทั้งหลาย จักเชื่อฟังด้วยพระบัญญัติเพียงเท่านี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามการให้ โพนทะนาแล้ว จึงบ่นว่าท่านพระทัพพมัลลบุตรอยู่ใกล้ๆ ภิกษุทั้งหลายว่า พระทัพพมัลลบุตรจัดเสนาสนะตามความพอใจ และแจกภัตตามความพอใจ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระเมตติยะ และพระภุมมชกะจึงได้บ่นว่า ท่านพระทัพพมัลลบุตรอยู่เล่า แล้วกราบทูล เนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ทรงสอบถามพระเมทติยะและพระภุมมชกะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอบ่นว่าภิกษุทัพพมัลลบุตร จริงหรือ.
พระเมตติยะและพระภุมมชกะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 298
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงยังได้บ่นว่าภิกษุทัพพมัลลบุตรอยู่เล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๖๒. ๓. ข. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้ให้โพนทะนา ในเพราะความเป็นผู้บ่นว่า.
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร (ต่อ) จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๗๐] ที่ชื่อว่า ความเป็นผู้ให้โพนทะนา คือ อุปสัมบันผู้อัน สงฆ์สมมติแล้ว ให้เป็นผู้จัดเสนาสนะ เป็นผู้แจกอาหาร แจกยาคู แจกผลไม้ แจกของเคี้ยว หรือแจกของเล็กน้อยก็ตาม ภิกษุประสงค์จะแส่โทษ ให้อัปยศ ให้เก้อเขิน จึงให้โพนทะนาก็ดี บ่นว่าก็ดี ซึ่งอุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๓๗๑] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้ให้โพนทะนา ในเพราะความเป็นผู้บ่นว่า.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะความ เป็นผู้ให้โพนทะนา ในเพราะความเป็นผู้บ่นว่า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 299
กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้ให้โพนทะนา ในเพราะความเป็นผู้บ่นว่า.
ทุกกฏ
[๓๗๒] ภิกษุให้โพนทะนา หรือบ่นว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อุปสัมบันผู้อันสงฆ์มิได้สมมติให้เป็นผู้จัดเสนาสนะ เป็นผู้แจกอาหาร แจกยาคู แจกผลไม้ แจกของเคี้ยว หรือแจกของเล็กน้อยก็ตาม ภิกษุประสงค์ จะแส่โทษ ทำให้อัปยศ ทำให้เก้อเขิน จึงให้โพนทะนาก็ดี บ่นว่าก็ดี ซึ่ง อุปสัมบันหรืออนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบันผู้อันสงฆ์สมมติก็ดี มิได้สมมติก็ดี ให้เป็นผู้จัดเสนาสนะ เป็นผู้แจกอาหาร แจกยาคู แจกผลไม้ แจกของเดียว หรือแจกของเล็กน้อย ก็ตาม ภิกษุประสงค์จะแส่โทษ ทำให้อัปยศ ทำให้เก้อเขิน จึงให้โพนทะนา ก็ดี บ่นว่าก็ดี ซึ่งอุปสัมบันหรืออนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ติกทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรมต้องอาบัติทุกกฏ ...
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ ...
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ ...
อานาปัตติวาร
[๓๗๓] ภิกษุผู้ให้โพนทะนา หรือบ่นว่าภิกษุผู้มีปกติทำเพราะ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคูติ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 300
เสนาสนวรรค อุปฌาปนสิกขาบทที่ ๓
พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๓ ดังต่อไปนี้
[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องพระทัพพมัลลบุตร]
หลายบทว่า ทพฺพํ มลฺลปุตฺตํ ภิกฺขู อุชฺฌาเปนฺติ มีความว่า พวกภิกษุเมตติยะ และภุมมชกะ เมื่อกล่าวคำเป็นต้นว่า ฉนฺทาย ทพฺโพ มลฺลปุตฺโต (พระทัพพมัลลบุตรจัดเสนาสนะโดยฉันทาคติ) ดังนี้ ชื่อว่า ยังภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นให้ดูหมิ่น คือให้มองดูท่านทัพพะนั้นด้วยความดูหมิ่น. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ย่อมให้ติดไปทางลามก. ก็ในคำว่า อุชฺฌายนฺติ นี้ พึงทราบลักษณะ (แห่งศัพท์) ตามแนวแห่งคัมภีร์ศัพทศาสตร์. ปาฐะว่า โอชฺฌาเปนฺติ ดังนี้ ก็มี. ความก็อย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า ฉนฺทาย ได้แก่ โดยความชอบพอกัน คือ โดยตกเข้าเป็น ฝักฝ่ายกัน. อธิบายว่า ย่อมจัดแจงเสนาสนะที่ประณีต เพื่อพวกภิกษุผู้เป็น เพื่อนเห็นเพื่อนคบกันของตน ด้วยความชอบพอกันนั้น.
บทว่า ขิยฺยนฺติ คือ พวกภิกษุเมตติยะและภุมมชกะ เมื่อกล่าว คำว่า ฉนฺทาย ทพฺโพ มลฺลปุตฺโต เป็นต้น ชื่อว่า ย่อ ประกาศ.
ในคําว่า อุชฺฌาปนเก ขิยฺยนเก ปาจิตฺติยํ นี้ มีวินิจฉัยว่า พวกภิกษุเมตติยะและภุมมชกะ ย่อมให้โพนทะนาด้วยคำใด. คำนั้น ชื่อว่า อุชฌาปนกะ. และบ่นว่าด้วยคำใด, คำนั้น ชื่อว่า ขิยยนกะ. ในเพราะ ความเป็นผู้ให้โพนทะนา ในเพราะความเป็นผู้บ่นว่านั้น.
ด้วยบท ปาจิตฺติยํ พระผู้มีพระภาคเจ้า ปรับปาจิตตีย์ ๒ ตัว ใน ๒ วัตถุ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 301
บทเหล่านี้ว่า อุชฺฌาปนกํ นาม อุปสมฺปนฺนํ สงฺเฆน สมฺมตํ เสนาสนปญฺาปกํ วาฯปฯ อปฺปมตฺตกวิสฺสชฺชกํ วา ดังนี้ เชื่อมความกับบทว่า มงฺกุกตฺตุกาโม (มีความประสงค์จะทำให้อัปยศ) นี้.
ด้วยอำนาจแห่งบทเหล่านี้ว่า อวณฺณํ กตฺตุกาโม อยสํ กตฺตุกาโม บัณฑิตพึงกระทำการเปลี่ยนวิภัตติในบทว่า อุปสมฺปนฺนํ เป็นต้น อย่างนี้ว่า อุปสมฺปนฺนสฺส ดังนี้.
ก็เพราะในคำว่า อุชฺฌาเปติ วา ขิยฺยติ วา อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ทรงยกบทมาติกาขึ้นอย่างนี้ว่า ขียนกํ นาม ดังนี้แล้ว จะพึงตรัสวิภังค์ที่ตรัสแล้วนั้นแหละ แห่งบทว่า อุชฺฌาปนกํ นาม นี้ (แต่) ความแปลกันอย่างอื่น (ในสิกขาบทนี้) ไม่มี เหมือนในอัญญวาทสิกขาบท เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรง ยกขึ้น ทั้งไม่ทรงแจกบทมาติกานั้น แยกไว้ต่างหาก ทรงทำคำนิคมเท่านั้น ไว้รวมกัน.
ในคำเป็นต้นว่า ธมฺมกมฺเม ธมฺมกมฺเมสญฺี นี้ บัณฑิตพึงทราบ ใจความโดยนัยนี้ว่า สมมติกรรมใด สงฆ์ทำแล้วเพื่อุปสัมบันนั้น ถ้ากรรม นั้นเป็นกรรมชอบธรรม และภิกษุนั้นมีความสำคัญในกรรมนั้นว่า กรรมชอบ ธรรม ย่อมทำการโพนทะนา และบ่นว่า ลำดับนั้น ภิกษุนั้น ต้องอาบัติ- ปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้โพนทะนาและบ่นว่านั้น.
ในคำว่า อนุปสมฺปนฺนํ อุชฺฌาเปติ วา ขิยฺยติ วา มีเนื้อ ความว่า ภิกษุย่อมยังอนุปสัมบันอื่นให้โพนทะนา อุปสัมบันผู้อันสงฆ์สมมติแล้ว หรือให้ดูหมิ่นก็ดี บ่นว่าเธอในสำนักแห่งอนุปสัมบันนั้นก็ดี.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 302
คำว่า อุปสมฺปนฺนํ สงฺเฆน อสมฺมตํ มีความว่า ผู้อันสงฆ์ มิได้สมมติด้วยกรรมวาจา คือ ผู้อันสงฆ์ยกภาระให้ว่า นี้ เป็นภาระของท่าน อย่างเดียว หรือว่าผู้นำภาระนั้นไปด้วยตนเอง เพื่อต้องการความอยู่สบายของ ภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า (ย่อมให้โพนทะนาอุปสัมบัน) ผู้กระทำ กรรมเช่นนั้น ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ ๒ - ๓ รูป.
ก็การให้สมมติ ๑๓ อย่าง แก่อนุปสัมบันย่อมไม่ควร แม้โดยแท้ ถึงอย่างนั้น อนุปสัมบันผู้ได้รับสมมติในคราวเป็นอุปสัมบัน ภายหลังทั้งอยู่ ในความเป็นอนุปสัมบัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาอนุปสัมบันนั้นว่า หรือผู้อันสงฆ์สมมติ ในคำว่า อนุปสมฺปนฺนํ สงฺเฆน สมฺมตํ วา อสมฺมตํ วา นี้. แต่สงฆ์หรือภิกษุที่สงฆ์สมมติ มอบภาระแก่สามเณรรูปใด ผู้ฉลาด อย่างเดียวว่า เธอจะกระทำกรรมนี้ ดังนี้, พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึง สามเณรเช่นนั้นว่า หรือผู้อันสงฆ์ไม่ได้สมมติ. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบท มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้น ทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.
อุชฌาปนสิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 303
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุมากรูป
[๓๗๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เป็น ฤดูหนาว ภิกษุทั้งหลายจัดตั้งเสนาสนะในที่กลางแจ้ง ผิงกายอยู่ ครั้นเขาบอก ภัตกาล เมื่อจะหลีกไป ไม่เก็บเอง ไม่ให้คนอื่นเก็บ ซึ่งเสนาสนะนั้น ไม่บอกมอบหมายแล้วหลีกไป เสนาสนะถูกน้ำค้างและฝนตกชะ บรรดาภิกษุ ที่มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายจัดตั้ง เสนาสนะในที่แจ้งแล้ว เมื่อจะหลีกไป จึงได้ไม่เก็บเอง ไม่ให้คนอื่นเก็บ ซึ่ง เสนาสนะนั้น ไม่บอกมอบหมาย แล้วหลีกไป เสนาสนะถูกน้ำค้างและฝนตกชะ แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุทั้งหลายจัดตั้งเสนาสนะในที่แจ้งแล้ว เมื่อจะหลีกไป ไม่เก็บเอง ไม่ให้คนอื่นเก็บ ซึ่งเสนาสนะนั้น ไม่บอกมอบหมาย แล้วหลีกไป เสนาสนะ ถูกน้ำค้างและฝนตกชะ จริงหรือ.
ภิกษุ ทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน โมฆบุรุษเหล่านั้น จัดตั้งเสนาสนะในที่แจ้งแล้ว เมื่อจะหลีกไป จึงได้ไม่
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 304
เก็บเอง ไม่ให้คนอื่นเก็บ ซึ่งเสนาสนะนั้น ไม่บอกมอบหมายแล้วหลีกไปเล่า เสนาสนะถูกน้ำค้างและฝนตกชะ การกระทำของพวกโมฆบุรุษนั้นนั่น ไม่เป็น ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๖๓.๔ อนึ่ง ภิกษุใดวางไว้แล้วก็ดี ให้วางไว้แล้วก็ดี ซึ่ง เตียงก็ดี ตั่งก็ดี ฟูกก็ดี เก้าอี้ก็ดี อันเป็นของสงฆ์ในที่แจ้ง เมื่อ หลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้เก็บก็ดี ซึ่งเสนาสนะที่วางไว้นั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย เป็นปาจิตตีย์.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุมากรูป จบ
พระพุทธานุญาตให้เก็บเสนาสนะ
[๓๗๕] ก็สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายอยู่ในที่แจ้ง รีบเก็บเสนาสนะก่อน กาลอันสมควร พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้น ผู้รีบเก็บ เสนาสนะก่อนกาลอันสมควร ครั้นแล้วจึงทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บเสนาสนะไว้ในปะรำ หรือที่โคนไม้ หรือในที่ซึ่งนกกา หรือนกเหยี่ยวจะไม่ถ่ายมูลรดได้ ตลอด ๘ เดือน ซึ่งกำหนดว่ามิใช่ฤดูฝน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 305
สิกขาบทวิภังค์
[๓๗๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า อันเป็นของสงฆ์ ได้แก่ ของที่เขาถวายแล้ว สละแล้ว แก่สงฆ์
ที่ชื่อว่า เตียง ได้แก่ เตียง ๔ ชนิด คือ เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าใน ขา ๑ เตียงมีแคร่เนื่องเป็นอันเดียวกันกับขา ๑ เตียงมีขาดังก้ามปู ๑ เตียงมีขา จรดแม่แคร่ ๑
ที่ชื่อว่า ตั่ง ได้แก่ ตั่ง ๔ ชนิด คือ ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในขา ๑ ตั้งมีแม่แคร่เนื่องเป็นอันเดียวกัน กับขา ๑ ตั่งมีขาดังก้ามปู ๑ ตั่งมีขาจรดแม่ แคร่ ๑
ที่ชื่อว่า ฟูก ได้แก่ ฟูก ๕ ชนิด คือ ฟูกขนสัตว์ ๑ ฟูกเปลือกไม้ ๑ ฟูกเศษผ้า ๑ ฟูกหญ้า ๑ ฟูกใบไม้ ๑
ที่ชื่อว่า เก้าอี้ ได้แก่ เก้าอี้ที่เขาถักร่วมใน สำเร็จด้วยเปลือกไม้ก็มี สำเร็จด้วยหญ้าคมแฝกก็มี สำเร็จด้วยหญ้ามุงกระต่ายก็มี สำเร็จด้วยหญ้าปล้อง ก็มี.
บทว่า วางไว้แล้ว คือ วางไว้เอง.
บทว่า ให้วางไว้แล้ว คือ ให้คนอื่นวางไว้
ใช้อนุปสัมบันให้วาง เป็นธุระของอนุปสัมบันผู้วาง
ใช้อุปสัมบันให้วาง เป็นธุระของอุปสัมบันผู้วาง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 306
คำว่า เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเอง ซึ่งเสนาสนะที่วางไว้นั้น คือ ไม่เก็บด้วยตนเอง คำว่า ไม่ให้เก็บ คือ ไม่ให้คนอื่นเก็บ
คำว่า หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ความว่า ภิกษุไม่บอกมอบ หมายภิกษุ สามเณร หรือคนทำการวัด แล้วเดินล่วงเลฑฑุบาตของมัชฌิม บุรุษไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๓๗๗] เสนาสนะของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าของสงฆ์ วางไว้เองก็ดี ให้คนอื่นวางไว้ก็ดี ในที่แจ้ง เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้คนอื่นเก็บก็ดี ซึ่งเสนาสนะนั้น หรือไม่ได้บอกมอบหมายไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เสนาสนะของสงฆ์ ภิกษุสงสัย วางไว้เองก็ดี ให้คนอื่นวางไว้ก็ดี ในที่แจ้ง เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้คนอื่นเก็บก็ดี ซึ่งเสนาสนะนั้น หรือไม่ได้บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์. เสนาสนะของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าของบุคคล วางไว้เองก็ดี ให้คนอื่น วางไว้ก็ดี ในที่แจ้ง เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้คนอื่นเก็บก็ดี ซึ่งเสนาสนะนั้น หรือไม่ได้บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ภิกษุวางไว้เองก็ดี ให้คนอื่นวางไว้ก็ดี ซึ่งเครื่องลาดรักษาผิวฟื้นก็ดี เครื่องลาดเตียงก็ดี เครื่องลาดฟื้นก็ดี เสื่ออ่อนก็ดี ท่อนหนังก็ดี เครื่องเช็ดเท้าก็ดี ตั่งกระดานก็ดี ในที่แจ้ง เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 307
คนอื่นเก็บก็ดี ซึ่งเครื่องลาดรักษาผิวฟื้นเป็นต้นนั้น หรือไม่ได้บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ติกทุกกฏ
เสนาสนะของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของสงฆ์ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
เสนาสนะของบุคคล ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
เสนาสนะของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของบุคคล ... ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะเป็นของส่วนตัวของผู้อื่น.
เสนาสนะเป็นส่วนตัวของตน ... ไม่ต้องอาบัติ.
อานาปัตติวาร
[๓๗๘] ภิกษุเก็บเองแล้วไป ๑ ภิกษุให้คนอื่นเก็บแล้วไป ๑ ภิกษุ บอกมอบหมายแล้วไป ๑ ภิกษุเอาออกผึ่งแดดไว้ ไปด้วยตั้งใจจักกลับมาเก็บ ๑ เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น ๑ ภิกษุมีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 308
เสนาสนวรรค ปฐมเสนาสนสิกขาบทที่ ๔
พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๔ ดังต่อไปนี้
[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องภิกษุหลายรูป]
สองบทว่า เหมนฺติเก กาเล ได้แก่ ในฤดูเหมันต์ คือ ในคราว หิมะตก.
สองบทว่า กายํ โอตาเปนฺตา ได้แก่ นั่งบนเตียงและตั่งเป็นต้น แล้ว ผิงกายด้วยแดดอ่อนอยู่.
สองบทว่า กาเล อาโรเจติ ได้แก่ เมื่อเขาบอกเวลาแห่งอาหาร อย่างใดอย่างหนึ่ง มียาคูและภัตเป็นต้น.
สองบทว่า โอวุฏํ โหติ ได้แก่ ถูกฝนหิมะตกชะเปียก. บทว่า อวสฺสิกสงฺเกเต มีความว่า ตลอด ๘ เดือน คือ ๔ เดือน ในฤดูเหมันต์ ๔ เดือนในฤดูคิมหันต์ ที่มิได้บัญญัติอย่างนี้ว่า เดือนทั้งหลาย แห่งฤดูฝน.
บทว่า มณฺฑเป ได้แก่ ในปะรำทำด้วยกิ่งไม้ หรือในปะรำทำด้วย ไม้เลียบ.
บทว่า รุกฺขมูเล วา ได้แก่ ภายใต้แห่งต้นไม้ต้นใดต้น หนึ่ง.
[ว่าด้วยสถานที่ควรเก็บเตียงตั่ง]
หลายบทว่า ยตฺถ กากา วา กุลลา วา น อูทหนฺติ มีความว่า นกกาและนกตะกรุมเหล่านี้ หรือนกเหล่าอื่นทำรังอยู่ ด้วยการอยู่ประจำใน ต้นไม้ใด จะไม่ถ่ายมูลรดเสนาสนะนั้น เราอนุญาตให้เก็บไว้ที่โคนไม้เช่นนั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 309
เพราะเหตุอย่างนี้นั้น นกทั้งหลายเสาะแสวงหาเหยื่อ พักผ่อนที่ต้นไม้ใดแล้ว บินไป จะเก็บไว้ที่โคนแห่งต้นนั้นก็ควร. แต่ว่า นกทั้งหลายทำรังอยู่ด้วยการ อยู่เป็นประจำที่ต้นไม้ใด อย่าพึงเก็บไว้ที่โคนต้นไม้นั้น
เพราะพระบาลีว่า อฏฺ มาเส ดังนี้ ในชนบทเหล่าใด ฝนไม่ตก ในฤดูฝน, แม้ในชนบทเหล่านั้น จะเก็บไว้ตลอด ๔ เดือน ก็ไม่ควรเหมือนกัน.
เพราะพระบาลีว่า อวสฺสิกสงฺเกเต ดังนี้ ในชนบทเหล่าใดฝนตก ในฤดูเหมันต์ ในชนบทเหล่านั้น จะเก็บไว้ในที่แจ้ง แม้ในฤดูเหมันต์ ก็ไม่ควร. ส่วนในฤดูคิมหันต์ ท้องฟ้าบริสุทธิ์ปราศจากเมฆในที่ทั่วไป ในเวลาเช่นนี้ จะเก็บเตียงและตั่งไว้ในที่แจ้ง ด้วยกรณีจำเป็นบางอย่าง ย่อมควร.
แม้ภิกษุผู้ถืออัพโภกาสิกธุดงค์ ก็ควรรู้วัตร. จริงอยู่ ถ้าเธอมีเตียง ส่วนบุคคล ก็พึงนอนบนเตียงส่วนบุคคลนั่นแล เมื่อจะถือเอาเตียงของสงฆ์ พึงถือเอาเตียงที่ถักด้วยหวาย หรือด้วยปอ. เมื่อเดียงถักด้วยหวายหรือด้วยปอ นั้นไม่มี พึงถือเอาเดียงเก่า. เมื่อเตียงเก่านั้นไม่มี พึงถือเอาเตียงที่ถักใหม่ๆ หรือที่บุด้วยหนัง ก็แล ครั้นถือเอาแล้ว คิดว่า เราจะถือรุกขมูลอย่างเคร่ง ถืออัพโภกาสอย่างเคร่ง ดังนี้ แล้วไม่ทำแม้ซึ่งกุฎีจีวร (เพดานทำด้วยจีวร) จัดตั้งเตียงตั่งนั้นในที่แจ้ง หรือที่โคนไม้ แล้วนอนในคราวที่มิใช่สมัย ย่อม ไม่ควร. ก็ถ้าว่า ภิกษุไม่อาจเพื่อจะรักษากุฎีที่ทำด้วยจีวรแม้ทั้ง ๔ ชั้น ไม่ให้ เปียกได้ มีฝนตกพรำตลอด ๗ วัน, (จะจัดตั้งเตียงน้อยนอน) ก็ควร เพราะ เตียงนอนเป็นไปตามร่างกายของภิกษุ.
พวกมนุษย์มีจิตเลื่อมใสในสีลสัมปทาของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในกระท่อม ใบไม้ในป่า จึงถวายเตียงและตั่งใหม่กล่าวว่า ขอท่านทั้งหลายจงใช้สอย โดย ใช้สอยเป็นของสงฆ์. ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่แล้วจะไป พึงส่งข่าว (ไปบอก) แก่
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 310
ภิกษุผู้ชอบพอกันในวิหารที่ใกล้เคียงแล้วจึงไป. เมื่อไม่มีพวกภิกษุผู้ชอบกัน พึงเก็บไว้ในที่ที่ฝนจะไม่รั่วรดแล้วจึงไป. เมื่อไม่มีที่ที่ฝนไม่รั่วรด พึงแขวน ไว้ที่ต้นไม้ แล้วจึงไป.
[ว่าด้วยสถานที่ควรเก็บไม้กวาดและวิธีกวาด]
ภิกษุถือเอาไม่กวาดที่ลานพระเจดีย์ไปกวาดลานหอฉันก็ดี ลานโรงอุโบสถก็ดี ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง มีบริเวณที่พักกลางวัน และโรงไฟเป็นต้น ล้าง เคาะ (ไม่กวาดนั้น) แล้ว พึงเก็บไม่กวาดไว้ในโรงนั่นแหละอีก. แม้ ภิกษุผู้ถือเอาไม้กวาด ในที่แห่งใดแห่งหนึ่งมีโรงอุโบสถเป็นต้น ไปกวาด บริเวณที่เหลือ ก็นัยนี้นั่นแล. ส่วนภิกษุใดกวาดทางเที่ยวภิกขาจารประสงค์ จะไป (บิณฑบาต) เลย. ภิกษุนั้นกวาดแล้ว พึงเก็บไว้ที่ศาลาซึ่งถ้ามีอยู่ใน ระหว่างทางนั้น. ถ้าศาลาไม่มี กำหนดว่าเมฆฝนยังไม่ตั้งเค้าขึ้น รู้ว่า ฝนจัก ยังไม่ตก จนกว่าเราจะออกมาจากบ้าน เก็บไว้ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง แล้วกลับมา พึง (นำมา) เก็บไว้ในที่เดิมอีก
ในมหาปัจจรีท่านกล่าวว่า ถ้าภิกษุรู้อยู่ว่า ฝนจักตก วางไว้ในกลางแจ้ง เป็นทุกกฏ ดังนี้. แต่ถ้าว่า ไม้กวาดเป็นของอันเขาเก็บไว้เพื่อประโยชน์สำหรับ กวาดในที่นั้นๆ นั่งเอง ภิกษุจะกวาดที่นั้นๆ แล้ว เก็บไว้ในที่นั้นๆ แล สมควรอยู่. ภิกษุผู้จะกวาดโรงฉัน ควรรู้จักวัตร. วัตรในการกวาดโรงฉันนั้น ดังนี้ พึงกวาดทรายตั้งแต่ท่ามกลางตะล่อมมาไว้ตรงหน้าที่เท้ายืน. พึงเอา มือทั้งสองกอบหยากเยื่อออกไปทิ้งข้างนอก.
[ว่าด้วยลักษณะเตียงตั่งเป็นต้น]
เตียงที่เขาทำเจาะที่เท้าเตียง สอดแม่แคร่ทั้งหลายเข้าไปในเท้าเตียงนั้น ชื่อว่า มสารกะ (เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา).
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 311
เตียงที่เขาทำให้แม่แคร่คาบเท้าเตียง โดยลักษณะคล้ายบัลลังก์ ชื่อว่า พุนธิกาพัทธ์ (เตียงมีแม่แคร่เนื่องเป็นอันเดียวกันกับขา).
เตียงที่เขาทำด้วยเท้าเช่นกับเท้าแห่งสัตว์ มีม้าและแพะเป็นต้น ชื่อว่า กุลีรปาท (เตียงมีขาดังก้ามปู) ก็หรือว่า เตียงที่มีเท้างอย่างใดอย่างหนึ่ง นี้ท่านเรียกว่า เตียงมีขาดังก้ามปู. ก็เตียงชื่อว่า อาหัจจปาทกะ นี้ ท่านกล่าว ไว้ในบาลีข้างหน้านั่นแลอย่างนี้ว่า เตียงที่เจาะด้วยเตียงทำ ชื่อว่า อาหัจจ- ปาทกะ (เตียงมีขาจรดแม่แคร่). เพราะเหตุนั้น เ ตียงที่ทำเจาะแม่แคร่ ทั้งหลาย แล้วสอดปลายขาเข้าไปในแม่แคร่นั้น สลักลิ่มในเบื้องบน บัณฑิต พึงทราบว่า เตียงมีขาจรดแม่แคร่. แม้ในตั่ง ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
หลายบทว่า อนฺโต สํเวเตฺวา พทฺธํ โหติ มีความว่า เก้าอี้ ที่เขาถักให้กว้างทั้งข้างล่างและข้างบน ตรงกลางสอบ (แคบ) มีสัณฐานคล้าย บัณเฑาะว์. ได้ยินว่า ชนทั้งหลายกระทำเก้าอี้นั้น ให้หุ้มด้วยหนังสีหะ และ เสือโคร่งที่ตรงกลางก็มี. ในเสนาสนะนี้ ชื่อว่าหนังที่เป็นอกัปปิยะไม่มี. จริงอยู่ แม้เสนาสนะที่เป็นวิการแห่งทอง ก็ควร. เพราะเหตุนั้น เสนาสนะนั้น จึง เป็นของมีค่ามาก
ข้อว่า อนุปฺปสมฺปนฺนํ สนฺถราเปติ ตสฺส ปริโพโธ มีความว่า เป็นธุระของอนุปสัมบันผู้ซึ่งถูกใช้ให้วาง.
ข้อว่า เลฑฺฑุปาตํ อติกฺกมนฺตสฺส อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส มีความว่า ภิกษุผู้เดินเลยเลฑฑุบาต ของบุรุษผู้มีกำลังกลางคนไปต้องปาจิตตีย์.
[ว่าด้วยผู้รับผิดชอบเสนาสนบริขารมีเตียงเป็นต้น]
ก็ในคำว่า เลฑฺฑุปาตํ อติกฺกมนฺตสฺส เป็นต้นนี้ มีวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ พระเถระกระทำภัตกิจในโรงฉัน แล้วสั่งภิกษุหนุ่มว่า เธอจงไป
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 312
แต่งตั้ง เตียง ตั่ง ในที่พักกลางวัน. ภิกษุหนุ่มนั้นกระทำตามสั่งแล้วนั่ง. พระเถระเที่ยวไปตามความพอใจแล้วจึงไปในที่พักกลางวันนั้น วางถุงย่ามและ อุตราสงค์ไว้. จำเดิมแต่นั้นไปเป็นธุระของพระเถระ. พระเถระนั่งแล้ว เมื่อ จะไป ไม่เก็บเอง ไม่สั่งให้เก็บ เป็นปาจิตตีย์ ในเมื่อเดินเลยเลฑฑุบาตไป.
ก็ถ้าพระเถระไม่วางถุงย่ามและอุตราสงค์ไว้บนเตียงและตั่งนั่น จงกรม พลางสั่งภิกษุหนุ่มว่า เธอไปได้, เธอพึงบอกว่า นี้เตียงตั่ง ขอรับ ถ้า พระเถระรู้จักธรรมเนียม พึงกล่าวว่า เธอไปเถิด เราจักกระทำให้เป็นปรกติ เดิม ถ้าภิกษุผู้เถระ เป็นคนเขลาไม่ได้ศึกษาธรรมเนียม กลับขู่ตะคอกภิกษุ หนุ่มว่า ไปเถิด อย่ามายืนในที่นี้ เราจะไม่ให้ (ใคร) นั่ง ไม่ให้ (ใคร) นอน, ภิกษุ หนุ่มเรียนว่า ท่านนอนตามสบายเถิด ขอรับ ได้ข้ออ้างไหว้แล้ว พึง ไปเถิด. เมื่อภิกษุหนุ่มนั้นไปแล้ว เป็นธุระของพระเถระเท่านั้น และบัณฑิต พึงทราบว่า เป็นอาบัติแก่พระเถระนั้น โดยนัยก่อนนั้นเทียว.
ก็ถ้าว่า ในขณะที่สั่งนั่นเอง ภิกษุหนุ่มเรียนว่า ท่านขอรับ. ผมมีกิจ จำต้องทำบางอย่าง มีการซักล้างสิ่งของเป็นต้น และพระเถระกล่าวกะเธอว่า เธอแต่งตั้งแล้วจงไปเถิด ดังนี้ แล้วออกจากโรงฉันไปเสียในที่อื่น พระวินัยธร พึงปรับ (พระเถระ) ตัวอย่างเท้า. ถ้าพระเถระไปนั่งในที่นั้นนั่น เอง, และ เป็นอาบัติแก่พระเถระนั้น ในเมื่อเดินเลยเลฑฑุบาตไป โดยนัยก่อนนั่นแหละ.
ก็ถ้าว่า พระเถระสั่งสามเณร. เมื่อสามเณรแม้จัดตั้งเตียงและตั่งใน โรงฉันนั้นแล้วนั่ง พระเถระไปเสียที่อื่นจากโรงฉัน พระวินัยธรพึงปรับด้วย ย่างเท้าเดิน. พระเถระไปนั่งแล้ว ในเวลาไปต่อไป พึงปรับด้วยอาบัติในเมื่อ เดินเลยเลฑฑุบาตไป.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 313
ก็ถ้าว่า พระเถระเมื่อจะสั่ง สั่งว่า เธอจัดตั้งเตียงและตั่งแล้ว จงนั่ง รอที่เตียงและตั่งนั้นนั่นแหละ ดังนี้. ย่อมได้เพื่อจะไปในที่ที่คนปรารถนา. ส่วนผู้รับสั่งเมื่อไม่ทำให้เป็นปกติเสียเอง เดินไปเป็นปาจิตตีย์ ในเมื่อเดินเลย เลฑฑุบาตไป.
ในระหว่างการประชุม ภิกษุทั้งหลายแต่งตั้งเตียงและตั่งแล้วนั่งในเวลา จะไปพึงบอกแก่อารามิกบุรุษ (คนทำการวัด) ว่า ท่านทั้งหลายจงเก็บเตียง และตั่งนี้ ดังนี้ เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่สั่ง ไปเสีย ในเมื่อเดินเลยเลฑฑุบาต
ธรรมดาการฟังธรรมครั้งใหญ่ ย่อมจะมี ภิกษุทั้งหลายนำเอาเตียง และตั่งมาจากโรงอุโบสถบ้าง จากโรงฉันบ้าง จัดตั้งไว้ในสถานที่ฟังธรรมนั้น. เป็นภารธุระของพวกภิกษุเจ้าถิ่นเท่านั้น. ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะถือเอาไปด้วย อ้างว่า นี้สำหรับอุปัชฌาย์ของเรา นี้สำหรับอาจารย์ของเรา ดังนี้. จำเติมแต่ นั้นไป เป็นภารธุระของพวกภิกษุอาคันตุกะนั้นเท่านั้น. ในเวลาไป เมื่อไม่ กระทำไว้ตามเติม เดินเลยเลฑฑุบาตไป เป็นอาบัติ.
แต่ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวไว้ว่า ชั่วเวลาที่ภิกษุพวกอื่นยังไม่มานั่ง เป็นภาระของพวกภิกษุผู้จัดตั้ง, เมื่อพวกภิกษุเหล่าอื่นมานั่งเป็นภาระของพวก ภิกษุผู้นั่ง ถ้าพวกภิกษุผู้นั่งเหล่านั้นไม่เก็บเองก็ดี ไม่ใช้ให้เก็บก็ดี ไปเสีย เป็นทุกกฏ. เพราะเหตุไร เพราะจัดตั้งโดยไม่ได้สั่ง.
เมื่อแต่งตั้งธรรมาสน์แล้ว ภิกษุผู้สวดหรือผู้แสดงธรรมยังไม่มา เพียงใด เป็นภารธุระของพวกภิกษุผู้แต่งตั้งเพียงนั้น. เมื่อภิกษุผู้สวดหรือผู้ แสดงธรรมมานั่งแล้ว เป็นภารธุระของภิกษุนั้น มีการฟังธรรมตลอดวันและ คืนทั้งสิ้น. ภิกษุผู้สวดหรือผู้แสดงธรรมอื่นลุกไป ภิกษุอื่นมานั่ง ภิกษุใดๆ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 314
มานั่ง เป็นภาระของภิกษุนั้นๆ. แต่เมื่อลุกขึ้น พึงกล่าวว่า อาสนะนี้ เป็น ภาระของท่าน แล้วจึงไป. ถ้าแม้นว่า เมื่อภิกษุผู้สวดผู้แสดงธรรมนอกนี้ยัง ไม่มานั่นแหละ ภิกษุผู้นั่งอยู่ก่อนลุกไป และภิกษุผู้นั่งก่อนนอกนี้ มานั่งอยู่ ภายในอุปจาร สถานที่นั้นนั่นเอง พระวินัยธรไม่พึงปรับเธอผู้ลุกไปด้วยอาบัติ ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุผู้สวดและผู้แสดงธรรมนอกนี้ ยังไม่มานั่นแหละ ภิกษุผู้นั่ง อยู่ก่อนลุกจากอาสนะ เดินเลยเลฑฑุบาตไป, พระวินัยธรพึงปรับเธอด้วยอาบัติ. แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าววินัยนี้ไว้ว่า ทุกๆ แห่งในเมื่อเดินเลยเลฑฑุบาตไป เป็นทุกกฏในย่างเท้าที่ ๑, เป็นปาจิตตีย์ในย่างเท้าที่ ๒.
[ว่าด้วยเครื่องปูลาดและหน้าที่ในการรักษา]
พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า จิมิลิกํ วา เป็นต้น ดังนี้.
เครื่องลาดที่เขาทำไว้ เพื่อรักษาผิวของพื้นที่ทำบริกรรมด้วยปูนขาว เป็นต้น ชื่อว่า จิมิลกา. ชนทั้งหลายปูเครื่องลาดนั้นไว้ข้างล่าง แล้วปูเสื่อ ลำแพนทับไว้ข้างบน.
เครื่องลาดที่ควรปูลาดไว้บนเตียงและตั่ง ชื่อว่าเครื่องลาดเตียง ชนิด แห่งเครื่องปูลาด มีเสื่อลำแพนเป็นต้น ที่ควรลาดไว้บนพื้น ชื่อว่า เครื่องลาด พื้น. เสื่ออ่อนที่เขาทำด้วยใบตาลก็ดี ด้วยเปลือกปอก็ดี ชื่อว่า เสืออ่อน. แม้บรรดาหนังสัตว์ มีสีหะ เสือโคร่ง เสือเหลือง เสือดาว และหมีเป็นต้น หนังชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า แผ่นหนัง. จริงอยู่ ชื่อว่าหนังที่ท่านห้าม ใน การบริโภคเสนาสนะไม่ปรากฎในอรรถกถาทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น บัณฑิต พึงทราบว่า ห้ามเฉพาะในการบริหารหนังสีหะเป็นต้น.
เครื่องเช็ดที่เขาทำด้วยเชือกเล็กๆ ก็ดี ด้วยผ้าเก่าก็ดี เพื่อเช็ดเท้า ชื่อว่า เครื่องเช็ดเท้า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 315
ตั่งที่เขาทำด้วยแผ่นกระดาน ชื่อว่า ตั่งแผ่นกระดาน. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ แผ่นกระดานและดังที่ทำด้วยไม้. แม้เครื่องไม้เป็นต้นทั้งหมด ท่าน สงเคราะห์ด้วยทั่งแผ่นกระดานนั้น แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าวไว้โดยพิสดาร ทีเดียวว่า ภิกษุวางเชิงรองบาตร ฝาบาตร กระเบื้องเช็ดเท้า พัดใบตาล พัด ใบไม้ เครื่องไม้อย่างใดอย่างหนึ่งชั้นที่สุด กระบวยตักน้ำ สังข์ตักน้ำดื่ม ไว้ในที่แจ้งแล้วไปเสีย เป็นทุกกฏ. แต่ในมหาอรรถกถานัยนี้ท่านแสดงไว้ใน สิกขาบทที่ ๒. ภิกษุต้มน้ำย้อมในที่แจ้ง แล้วพึงเก็บเครื่องใช้ทั้งปวง คือ ภาชนะน้ำย้อม กระบวยตักน้ำย้อม รางน้ำย้อมเป็นต้น ไว้ในโรงไฟ. ถ้าโรงไฟ ไม่มี พึงเก็บไว้ในเงื้อมที่น้ำฝนจะไม่รั่วรด แม้เมื่อเงื้อมนั้นไม่มี ถึงจะวาง ไว้ในที่ซึ่งมีพวกภิกษุคอยดูแลอยู่แล้วจึงไป ก็ควร
สองบทว่า อญฺสฺส ปุคฺคลิเก มีความว่า ในมหาปัจจรีเป็นต้น กล่าวว่า การถือเอาโดยวิสาสะในบุคคลใด ไม่ขึ้น, เป็นทุกกฎในเพราะสิ่งของ ของบุคคลนั้น, แต่วิสาสะในบุคคลใดขึ้น, สิ่งของของบุคคลนั้น ย่อมเป็นดุจ ของส่วนตัวบุคคลของตน.
สองบทว่า อาปุจฺฉํ คจฺฉติ มีความว่า บุคคลใด จะเป็นภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อารามิกบุรุษก็ดี เป็นลัชชี ย่อมสำคัญดุจเป็นภารธุระของตน. ภิกษุใดบอกลาบุคคลเช่นนั้นแล้วไป. ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น.
สองบทว่า โอตาเปนฺโต คจฺฉติ มีความว่า ภิกษุเอาออกผึ่งไว้ที่ แดด ไปด้วยคิดว่า เราจักมาเก็บ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไปอย่างนั้น.
คำว่า เกนจิ ปลิพุทฺธํ โหติ มีความว่า เสนาสนะถูกรบกวนด้วย อันตรายบางอย่าง. ก็ถ้าภิกษุผู้แก่กว่าให้ย้ายออกแล้ว ถือเอา (เสนาสนะ) ก็ดี,
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 316
ถ้าว่า ยักษ์หรือเปรต มานั่งอยู่ ก็ดี หรือว่าอิสรชนบางคนมายึดเอาก็ดี เสนาสนะจัดว่าถูกหวงแหน (กางกั้น). ก็หรือว่าเมื่อสัตว์ร้ายมีสีหะและเสือโคร่ง เป็นต้น มาสู่ประเทศนั้นแล้วพักอยู่ เสนาสนะจัดว่าถูกรบกวนเหมือนกัน ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้แม้ไม่เก็บ ไปเสีย เพราะเสนาสนะถูกอันตรายบางอย่าง รบกวนอย่างนี้.
บทว่า อาปทาสุ คือ ในเพราะอันตรายแห่งชีวิต และอันตราย แห่งพรหมจรรย์. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนั้นแล
ปฐมเสนาสนสิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 317
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องพระสตัตรสวัคคีย์
[๓๗๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระสัตตรสวัคคีย์มีพวก ๑๗ รูปเป็นสหายกัน เมื่ออยู่ก็อยู่พร้อมกัน เมื่อหลีกไป ก็หลีกไปพร้อมกัน พวกเธอปูที่นอนในวหารเป็นของสงฆ์แห่งหนึ่งแล้ว เมื่อ หลีกไป ไม่เก็บเอง ไม่ให้คนอื่นเก็บซึ่งที่นอนนั้น ไม่ได้บอกมอบหมาย หลีกไป เสนาสนะถูกปลวกกัด บรรดาภิกษุที่มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระสัตตรสวัคคีย์ ปูที่นอนในวิหารเป็นของสงฆ์ แล้ว เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเอง ไม่ให้คนอื่นเก็บ ซึ่งที่นอนนั้น ไม่ได้บอก มอบหมาย หลีกไปแล้ว เสนาสนะจึงได้ถูกปลวกกัด แล้วกราบทูลเนื้อความ นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุสัตตรสวัคดีย์ ปูที่นอนในวิหารอันเป็นของสงฆ์แล้ว เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเอง ไม่ให้จนอื่นเก็บ ซึ่งที่นอนนั้น ไม่บอกมอบหมาย หลีกไปแล้ว เสนาสนะถูกปลวกกัด จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษ เหล่านั้น ปูที่นอนไว้ในวิหารเป็นของสงฆ์แล้ว เมื่อหลีกไป ไฉนจึงไม่เก็บเอง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 318
ไม่ให้คนอื่นเก็บ ไม่บอกมอบหมาย หลีกไปเสีย เสนาสนะจึงได้ถูกปลวกกัด การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเมื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๖๔.๕ อนึ่ง ภิกษุใด ปูแล้วก็ดี ให้ปูแล้วก็ดี ซึ่งที่นอนใน วิหารเป็นของสงฆ์ เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้เก็บก็ดี ซึ่งที่ นอนอันปูไว้นั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๘๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้
ที่ชื่อว่า เป็นของสงฆ์ ได้แก่ วิหารที่เขาถวายแล้ว สละแล้วแก่ สงฆ์
ที่ชื่อว่า ที่นอน ได้แก่ ฟูก เครื่องลาดรักษาผิวพื้น เครื่องลาด เตียง เครื่องลาดพื้น เสื่ออ่อน ท่อนหนัง ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน เครื่องลาด ทำด้วยหญ้า เครื่องลาดทำด้วยใบไม้.
บทว่า ปู คือ ปูเอง.
บทว่า ให้ปู คือ ให้คนอื่นปู.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 319
คำว่า เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเอง ซึ่งที่นอนอันปูไว้นั้น คือ ไม่เก็บด้วยตนเอง
คำว่า ไม่ให้เก็บ คือ ไม่ให้คนอื่นเก็บ
คำว่า หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ความว่า ภิกษุไม่บอก มอบหมายภิกษุ สามเณร หรือคนทำการวัด เดินเลยเครื่องล้อมแห่งอารามที่ เขาล้อม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เดินเลยอุปจารแห่งอารามที่เขาไม่ได้ล้อม ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๓๘๑] วิหารเป็นของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ ปูเองก็ดี ให้คนอื่นปูก็ดี ซึ่งที่นอน เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้คนอื่นเก็บก็ดี ซึ่งที่นอนอันปูไว้นั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
วิหารเป็นของสงฆ์ ภิกษุสงสัย ปูเองก็ดี ให้คนอื่นปูก็ดี ซึ่งที่นอน เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้คนอื่นเก็บก็ดี ซึ่งที่นอนอันปูไว้นั้น หรือ ไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
วิหารเป็นของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของบุคคล ปูเองก็ดี ให้คนอื่น ปูก็ดี ซึ่งที่นอน เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้คนอื่นเก็บก็ดี ซึ่งที่นอน อันปูไว้นั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
ภิกษุปูเองก็ดี ให้คนอื่นปูก็ดี ซึ่งที่นอน ในอุปจารวิหารก็ดี ในโรง ฉันก็ดี ในมณฑปก็ดี ใต้ต้นไม้ก็ดี เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้คนอื่น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 320
เก็บก็ดี ซึ่งที่นอนอันปูไว้นั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
ภิกษุตั้งไว้เองก็ดี ให้คนอื่นตั้งไว้ก็ดี ซึ่งเตียงก็ดี ตั่งก็ดี ในวิหารก็ดี ในอุปจารวิหารก็ดี ในโรงฉันก็ดี ในมณฑปก็ดี ใต้ต้นไม้ก็ดี เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้คนอื่นเก็บก็ดี ซึ่งเตียงตั่งอันตั้งไว้นั้น หรือไม่บอกมอบ หมาย ไปเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ.
วิหารของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของสงฆ์ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
วิหารของบุคคล ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
วิหารของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของบุคคล ... ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ เป็นของส่วนตัวของผู้อื่น.
วิหารเป็นของส่วนตัวของตน ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๓๘๒] ภิกษุเก็บเองแล้วไป ๑ ภิกษุให้คนอื่นเก็บแล้วไป ๑ ภิกษุ บอกมอบหมายแล้วไป ๑ เสนาสนะมีเหตุบางอย่างขัดขวาง ๑ ภิกษุยังห่วงไป ยืนอยู่ ณ ที่นั้นบอกมอบหมายมา ๑ ภิกษุมีเหตุบางอย่างขัดขวาง ๑ ภิกษุมี อันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 321
เสนาสนวรรค ทุติยเสนาสนสิกขาบทที่ ๕
พึงทราบวินิจฉัย ในทุติยเสนาสนสิกขาบท ตั้งต่อไปนี้
[ว่าด้วยที่นอนมีฟูกเป็นต้น]
ฟูกเตียงก็ดี ฟูกตั่งก็ดี ชื่อว่า ฟูก. เครื่องลาดมีเครื่องลาดรักษา ผิวพื้นเป็นต้น มีประการดังกล่าวแล้วในสิกขาบทก่อนนั่น แล. ผ้าปูนั่งมีชาย พึงทราบว่า นิสีทนะ. ท่านกล่าวคำเพียงเท่านี้ว่า ผ้าปาวาร ผ้าโกเชาว์ (พรม) ชื่อว่า ผ้าปูนอน.
เครื่องลาดหญ้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า เครื่องลาดทำด้วยหญ้า. ในเครื่องลาดทำด้วยใบไม้ก็นัยนี้.
ในคำว่า ปริกฺเขปํ อติกฺกาเมนฺตสฺส นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ก้าวเท้าแรกไป, เป็นปาจิตตีย์ ในย่างเท้าที่ ๒. ๒ เลฑฑุ บาตจากเสนาสนะ ชื่อว่า อุปจารแห่งอารามที่ไม่ได้ล้อม.
[ว่าด้วยการบอกลาและเก็บเครื่องเสนาสนะ]
ในคำว่า อนาปุจฺฉํ วา คจฺเฉยฺย นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้ เมื่อมีภิกษุ พึงบอกลาภิกษุ. เมื่อภิกษุนั้นไม่มี พึงบอกลาสามเณร เมื่อ สามเณรนั้นไม่มี พึงบอกลาคนทำการวัด. แม้เมื่อคนทำการวัดนั้นก็ไม่มี พึง บอกลาเจ้าของวิหาร ผู้สร้างวัด หรือผู้ใดผู้หนึ่ง ในวงศ์ตระกูลของเขา. แม้ เมื่อเจ้าของวิหาร หรือผู้เกิดในวงศ์ตระกูลของเขานั้น ก็ไม่มี. ภิกษุพึงวาง เตียงลงบนหิน ๔ ก้อน แล้วยกเตียงตั่งที่เหลือขึ้นวางบนเตียงนั้นรวมที่นอน ทั้ง ๑๐ อย่าง มีฟูกเป็นต้นกองไว้ข้างบน แล้วเก็บงำภัณฑะไม้ ภัณฑะดิน ปิดประตูและหน้าต่าง บำเพ็ญคมิยวัตรแล้วจึงไป.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 322
ก็ถ้าเสนาสนะฝนรั่วได้, และหญ้า หรืออิฐที่เขานำมาเพื่อมุงหลังคา ก็มีอยู่. ถ้าอาจ ก็พึงมุง. ถ้าไม่อาจ พึงเก็บเตียงและตั่งไว้ในโอกาสที่ฝนจะ ไม่รั่วรด แล้วจึงไป. ถ้าเสนาสนะฝนรั่วทั้งหมด, เมื่อสามารถพึงเก็บไว้ใน เรือนของพวกอุบาสก ภายในบ้าน. ถ้าแม้พวกอุบาสกเหล่านั้น ไม่ยอมรับ กล่าวว่า ท่านขอรับ ธรรมดาของสงฆ์เป็นของหนัก, พวกกระผมกลัวภัย มีไฟไหม้เป็นต้น ดังนี้ ภิกษุจะวางเตียงลงข้างบนหิน แม้ในโอกาสกลางแจ้ง แล้วเก็บเตียงตั่งเป็นต้นที่เหลือ โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแล เอาจำพวก หญ้า และใบไม้ปกปิดแล้วจึงไป ก็ควร. จริงอยู่ ของที่ยังเหลือยู่ในที่นั้น แม้จะเป็นเพียงชิ้นส่วน (ตัวเตียงตั่ง) ก็จักเป็นอุปการะแก่พวกภิกษุเหล่าอื่น ผู้มาในที่นั้น ฉะนี้แล.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า วิหารสฺส อุปจาเร เป็นต้น ดังนี้ บริเวณ ชื่อว่า อุปจารแห่งวิหาร. โรงฉันที่เขาสร้างไว้ในบริเวณชื่อว่า อุปัฏฐานศาลา. ปะรำที่เขาสร้างไว้ในบริเวณ ชื่อว่า มณฑป. โคนไม้ ในบริเวณ ชื่อว่า รุกขมูล. นี้เป็นนัยที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถากุรุนทีก่อน. ท่านกล่าวนัยไว้แล้ว แม้ก็จริง ถึงกระนั้น ห้องภายในก็ดี เสนาสนะที่คุ้ม กันได้ บังทั้งหมดอย่างอื่นก็ดี พึงทราบว่า วิหาร.
สองบทว่า วิหารสฺส อุปจาเร ได้แก่ ในโอกาสภายนอกใกล้ วิหารนั้น.
บทว่า อุปฏฺานสาลายํ วา ได้แก่ ในโรงฉันก็ดี.
บทว่า มณฺฑเป วา ได้แก่ ในมณฑปเป็นที่ประชุมแห่งคนมาก ซึ่งไม่ได้บังหรือแม้บังก็ดี. ในโคนไม้ไม่มีคำที่จะพึงกล่าว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 323
สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า ก็เพราะเมื่อภิกษุปูลาด ที่นอน ๑๐ อย่าง มีประการดังที่กล่าวแล้วในภายในห้อง เป็นต้น และในที่ คุ้มกันได้ แล้วไปเสีย, ที่นอนก็ดี เสนาสนะก็ดี ย่อมเสียหายเพราะปลวก เป็นต้น จะกลายเป็นจอมปลวกไปทีเดียว ฉะนั้น ท่านจึงปรับเป็นปาจิตตีย์. แต่สำหรับภิกษุผู้ปูไว้ในที่มีอุปัฏฐานศาลาเป็นต้น ในภายนอกแล้วไป เพียง แต่ที่นอนเท่านั้นเสียหายไป เพราะสถานที่คุ้มกันไม่ได้, เสนาสนะไม่เสียหาย. เพราะฉะนั้น ท่านจึงปรับเป็นทุกกฏในอุปัฏฐานศาลาเป็นต้นนี้.
วินิจฉัยในคำว่า มญฺจํ วา ปีํ วา เป็นต้นนี้ พึงทราบดังนี้ ก็เพราะตัวปลวกทั้งหลายไม่อาจเพื่อจะกัดเตียงและตั่งทันที ฉะนั้นภิกษุวาง เตียงตั่งนั้นไว้แม้ในวิหารแล้วไป ท่านก็ปรับเป็นทุกกฏ. ส่วนในอุปจารแห่ง วิหาร พวกภิกษุแม้เมื่อเที่ยวตรวจดูวิหาร เห็นเตียงและตั่งนั้นแล้วจักเก็บ.
วินิจฉัยในคำว่า อุทฺธริตฺวา คจฺฉติ นี้ พึงทราบดังนี้ ภิกษุ เมื่อจะเก็บเองแล้วไป พึงรื้อเอาเครื่องถักร้อยเตียงและตั่งออกหมดแล้ว ม้วน แขวนไว้ที่ราวจีวรแล้วจึงไป. ถึงภิกษุผู้มาอยู่ภายหลัง ถักเตียงและตั่งใหม่ เมื่อจะไป ก็พึงกระทำอย่างนั้นเหมือนกัน. ภิกษุผู้ปูที่นอนจากภายในฝาไปถึง ภายนอกฝาแล้วอยู่ ในเวลาจะไป พึงเก็บไว้ในที่ที่คนถือเอามาแล้วๆ นั่นเทียว. แม้ภิกษุผู้ยกลงมาจากชั้นบนแห่งปราสาทแล้วอยู่ภายใต้ปราสาท ก็นัยนี้นั่นแล แม้ภิกษุจะตั้งเตียงและตั่งไว้ในที่พักกลางวัน และที่พักกลางคืนแล้ว ในเวลา จะไปพึงเก็บไว้ตามเดิม ในที่ซึ่งคนถือเอามานั่นแล.
[ว่าด้วยสถานที่ต้องบอกลาและไม่ต้องบอกลา]
ในคำว่า อาปุจฺฉํ คจฺฉติ นี้ มีวินิจฉัยสถานที่ควรบอกลา และ ไม่ควรบอกลา ดังต่อไปนี้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 324
ศาลาใด เป็นศาลายาวก็ดี เป็นศาลาใบไม้ก็ดี อยู่บนพื้นดิน, หรือว่า เรือนที่เขาสร้างบนเสาไม้ทั้งหลายหลังใด เป็นที่ปลวกขึ้นได้ก่อน, ภิกษุเมื่อ จะหลีกไปจากศาลายาวเป็นต้นนั้น พึงบวกลาก่อนแล้วจึงหลีกไป. เพราะว่า เมื่อสถานที่นั้นไม่มีใครปฏิบัติเพียง ๒ - ๓ วัน ตัวปลวกทั้งหลายย่อมตั้งขึ้น
ส่วนเสนาสนะใด เป็นเสนาสนะที่เขาสร้างไว้บนหินดาด หรือบนเสา หินก็ดี ถ้าที่ภูเขาหินก็ดี เสนาสนะที่ฉาบโบกปูนขาวก็ดี ในเสนาสนะใดไม่มี ความสงสัยในเรื่องปลวก (จะขึ้น) , เมื่อภิกษุจะหลีกไปจากที่นั้น จะบอกลา ก็ตาม ไม่บอกลาก็ตาม ไปเสีย ก็ควร. แต่การบอกลาย่อมเป็นธรรมเนียม (ของผู้เตรียมจะไป). ถ้าตัวปลวกทั้งหลายจะขึ้นทางข้างหนึ่งในเสนาสนะแม้ เช่นนั้นได้ ควรบอกลาก่อนแล้วจึงไป.
ฝ่ายภิกษุอาคันตุกะใดประพฤติตามภิกษุผู้ถือเสนาสนะของสงฆ์อยู่ ไม่ ถือเสนาสนะสำหรับคนอยู่. เสนาสนะนั้น เป็นธุระของภิกษุรูปก่อนนั่นแล ตราบเท่าที่ภิกษุนั้นยังไม่ถือ (เสนาสนะสำหรับคน). ก็จำเดิมแต่ภิกษุนั้นถือ เอาเสนาสนะแล้วอยู่โดยอิสระของตน เป็นธุระของภิกษุอาคันตุกะนั่นเอง. ถ้า แม้ทั้ง ๒ รูปแจกกันแล้วถือเอา, เป็นธุระแม้ของท่านทั้ง ๒ รูป.
แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าวไว้ว่า ถ้าภิกษุ ๒ - ๓ รูป ร่วมกันจัดตั้ง, ในเวลาจะไปควรบอกลาทุกรูป. ถ้าบรรดาภิกษุเหล่านั้น รูปหนึ่งไปก่อน ทำ ความผูกใจว่า รูปหลัง จักปฏิบัติ แล้วไป ย่อมสมควร. ความพ้น (จาก อาบัติ) ย่อมไม่มีแก่รูปหลัง เพราะความผูกใจ. ภิกษุมากรูป ส่งภิกษุรูปหนึ่ง ให้ไปปู. ในเวลาจะไป ภิกษุทั้งหมดจึงบอกลา, หรือพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไป บอกลา. ภิกษุนำเอาเตียงและตั่งเป็นต้นมาจากที่อื่น แม้อยู่ในที่อื่น ในเวลา จะไป พึงนำไปไว้ในที่เดิมนั้นนั่นแหละ. ถ้าเมื่อภิกษุนำมาจากที่อื่นแล้วใช้อยู่,
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 325
ภิกษุอื่นผู้แก่กว่ามา อย่าพึงห้ามท่าน พึงเรียนว่า ท่านขอรับ เตียงตั่ง กระผมนำมาจากอาวาสอื่น ท่านพึงทำให้เป็นปกติเติม. เมื่อภิกษุผู้แก่กว่านั้น รับรองว่า เราจักทำอย่างนั้น ดังนี้ ภิกษุนอกนี้จะไป ก็ควร. จริงอยู่ เมื่อ ภิกษุแม้นำไปในที่อึ่นอย่างนี้ ใช้สอยอย่างใช้สอยเป็นของสงฆ์ เตียงและตั่งนั้น จะเสียหายไปก็ตาม เก่าชำรุดไปก็ตาม ถูกพวกโจรลักไปก็ตาม ไม่เป็นสินใช้ แต่เมื่อภิกษุใช้สอยอย่างใช้สอยเป็นของบุคคล ย่อมเป็นสินใช้. อนึ่ง ภิกษุ ใช้สอยเตียงตั่งของผู้อื่น อย่างใช้สอยเป็นของสงฆ์ก็ตาม อย่างใช้สอยเป็นของ ส่วนบุคคลก็ตาม เตียงตั่งเสียหายไป เป็นสินใช้เหมือนกัน.
ข้อว่า เกนจิ ปลิพุทฺธํ โหติ มีความว่า เสนาสนะมีเหตุบางอย่าง บรรดาเหตุมีภิกษุผู้แก่กว่า อิสรชน ยักษ์ สีหะ เนื้อร้าย และงูเห่าเป็นต้น ขัคขวาง.
ในคำว่า สาเปกฺโข คนฺตฺวา ตตฺถ ิโต อาปุจฺฉติ เกนจิ ปลิพุทฺโธ โหติ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ภิกษุยังมีห่วงใยอย่างนี้ว่า เรา จักมาปฏิบัติในวันนี้นั่นแหละ ไปยังฝั่งแม่น้ำ หรือละแวกบ้านแล้ว ยืนอยู่ใน ที่ที่เธอเถิดความคิดที่จะไปนั้นนั่นเอง ส่งใครๆ ไปบอกลา. หรือมีเหตุบ้าง อย่าง บรรดาเหตุมีแม่น้ำเต็มฝั่ง พระราชาและโจรเป็นต้น ขัดขวาง. ภิกษุ ถูกอันตรายขัดขวาง ไม่อาจจะกลับมาได้. ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ไม่เป็นอาบัติ แม้แก่ภิกษุนั้น. บทที่เหลือพร้อมทั้งสมุฏฐานเป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วใน ปฐมสิกขาบทนั่นแล.
ทุติยเสนาสนสิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 326
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๖
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๓๘๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เกียดกันที่นอนดีๆ ไว้ให้พระเถระทั้งหลายย้ายไปเสีย แล้วคิด กันว่า ด้วยอุบายอะไรหนอ พวกเราจะพึงอยู่จำพรรษา ณ ที่นี้แหละ แล้ว สำเร็จการนอนแทรกแซงพระเถระทั้งหลายด้วยหมายใจว่า ผู้ใดมีความดับใจ ผู้นั้นจักหลีกไปเอง บรรดาภิกษุที่มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนา ว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้สำเร็จการนอนแทรกแซงพระเถระทั้งหลาย แล้ว กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถานว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอ สำเร็จการนอนแทรกแซงพระเถระทั้งหลาย จริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้สำเร็จการนอนแทรกแซงพระเถระทั้งหลายเล่า การกระทำของ พวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 327
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้
พระบัญญัติ
๖๕. ๖. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ สำเร็จการนอนแทรกแซงภิกษุ ผู้เข้าไปก่อน ในวิหารของสงฆ์ ด้วยหมายว่า ผู้ใดมีความคับใจ ผู้นั้นจักหลีกไปเอง ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นให้เป็นปัจจัย หาใช่ อย่างอื่นไม่ เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๘๔] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
วิหารที่ชื่อว่า ของสงฆ์ ได้แก่ วิหารที่เขาถวายแล้ว สละแล้วแก่สงฆ์.
ที่ชื่อว่า รู้ คือ รู้ว่าเป็นพระผู้เฒ่า รู้ว่าเป็นพระอาพาธ รู้ว่าเป็นพระที่ สงฆ์มอบวิหารให้.
บทว่า แทรกแซง คือ เข้าไปเบียดเสียด.
บทว่า สำเร็จการนอน ความว่า ภิกษุปูไว้เองก็ดี ให้คนอื่นปูไว้ ก็ดี ซึ่งที่นอน ในสถานที่ใกล้เตียงก็ดี ตั่งก็ดี ทางเข้าออกก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ นั่งทับก็ดี นอนทับก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 328
คำว่า ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นให้เป็นปัจจัย หาใช่อย่าง อื่นไม่ ความว่า ไม่มีอะไรอื่นเป็นปัจจัยเพื่อสำเร็จการนอนแทรกแซง.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๓๘๕] วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าของสงฆ์ สำเร็จการนอน แทรกแซง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
วิหารของสงฆ์ ภิกษุสงสัย สำเร็จการนอนแทรกแซง ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าของบุคคล สำเร็จการนอนแทรกแซง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
เว้นอุปจาร เตียง ตั่ง หรือทางเข้าออกได้ ภิกษุปูเองก็ดี ให้คนอื่นปู ก็ดี ซึ่งที่นอน ต้องอาบัติทุกกฏ นั่งทับก็ดี นอนทับก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุปูเองก็ดี ให้คนอื่นปูก็ดี ซึ่งที่นอน ในอุปจารวิหารก็ดี ใน โรงฉันก็ดี ในมณฑปก็ดี ใต้ต้นไม้ก็ดี ในที่แจ้งก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ นั่งทับก็ดี นอนทับก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
วิหารของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของสงฆ์ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
วิหารของบุคคล ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
วิหารของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของบุคคล ... ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ เป็นของส่วนตัวของผู้อื่น.
วิหารเป็นส่วนตัวของตน ... ไม่ต้องอาบัติ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 329
อนาปัตติวาร
[๓๘๖] ภิกษุอาพาธเข้าอยู่ ๑ ภิกษุถูกความหนาวหรือความร้อน เบียดเบียนแล้วเข้าไปอยู่ ๑ ภิกษุมีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ- กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
เสนาสนวรรค อนูปขัชชสิกขาบทที่ ๖
พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๖ ดังต่อไปนี้
[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องเข้าไปนอนแทรกแซง]
บทว่า ปลิพุทฺธนฺติ มีความว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปถึงก่อนขน บาตรและจีวรไปยืนกั้นอยู่.
ข้อว่า เถเร กิกฺขู วุฏฺาเปนฺติ มีความว่า ถือเอาตามลำดับ พรรษากล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ (ที่นี้) ถึงแก่พวกเรา ดังนี้ แล้วให้ย้ายออก ไปเสีย.
คำว่า อนุปขชฺช เสยฺยํ กปฺเปนฺติ มีความว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ เข้าไปแทรกแซงกล่าวว่า ท่านขอรับ เฉพาะที่เตียงเท่านั้น ถึงแก่พวกท่าน ไม่ใช่วิหารทั้งหมด, บัดนี้ ที่นี้ ถึงแก่พวกกระผม ดังนี้ จัดวางเตียงและตั่ง แล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง กระทำการสาธยายบ้าง.
บทว่า ชานํ ได้แก่ รู้อยู่ว่า ภิกษุนี้ไม่ควรถูกย้าย. ด้วยเหตุนั้น นั่นเอง ในวิภังค์แห่งบทว่า ชานํ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้นว่า วุฑฺโฒติ ชานาติ แปลว่า รู้อยู่ว่าเป็นพระผู้เฒ่า. จริงอยู่ ภิกษุผู้เฒ่าเป็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 330
ผู้ไม่ควรให้ย้าย เพราะตนเป็นผู้เฒ่า, ภิกษุผู้อาพาธเป็นผู้ไม่ควรให้ย้าย เพราะ เธอเป็นผู้อาพาธ ก็สงฆ์กำหนดความเป็นผู้มีอุปการะและความเป็นผู้มีคุณ พิเศษ แห่งภิกษุภัณฑาคาริกก็ดี แห่งภิกษุผู้เป็นพระธรรมกถึก และพระ วินัยธรเป็นต้น ก็ดี แห่งภิกษุผู้เป็นอาจารย์สอนคณะก็ดี จึงสมมติวิหารให้ เพื่อต้องการให้อยู่ประจำ. เพราะเหตุนั้น สงฆ์ให้วิหารแก่ภิกษุใด, ภิกษุแม้นั้น ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ควรให้ย้าย. ก็ในคำว่า วุฑฺโฒติ ชานาติ เป็นต้นนี้ สงฆ์เท่านั้นจะให้เสนาสนะที่สมควรแม้แก่ภิกษุผู้อาพาธก็จริง, ถึงกระนั้น ภิกษุ อาพาธก็แยกตรัสไว้แผนกหนึ่ง เพื่อแสดงว่า แม้เป็นผู้มีเสนาสนะอันสงฆ์ยัง ไม่อปโลกน์ให้ ก็ไม่ควรบีบคั้น ควรอนุเคราะห์ ดังนี้.
ในคำว่า อุปจาเร นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้. หนึ่งศอกคืบโดยรอบ ในวิหารใหญ่ ชื่ออุปจารแห่งเตียงและตั่งก่อน. ในวิหารเล็กหนึ่งศอกคืบจากที่ พอจะดังเตียงตั่งได้ (ชื่อว่า อุปจารแห่งเตียงตั่ง). ทางกว้างศอกคืบชั่วระยะ ถึงเตียงและตั่ง จากที่วางก้อนหินสำหรับล้างเท้าซึ่งวางไว้ที่ประตูและที่ถ่าย ปัสสาวะ สำหรับภิกษุผู้ล้างเท้าแล้วเข้าไป และภิกษุผู้ออกไปเพื่อต้องการถ่าย ปัสสาวะ ชื่ออุปจาร. ภิกษุใดใคร่จะสำเร็จการนอนแทรกแซง ปูลาดเองก็ดี ให้ปูลาดก็ดี ซึ่งที่นอนในอุปจารแห่งภิกษุผู้ยืนอยู่ที่อุปจารแห่งเตียงหรือตั่งนั้น ก็ดี ผู้เข้าหรือออกอยู่ก็ดี ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ.
ในคำว่า อภินีสีทติ วา อภินิปชฺชติ วา นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้. เป็นปาจิตตีย์ เพราะเหตุสักว่านั่งทับบ้าง เพราะเหตุสักว่านอนทับ บ้าง, แต่ถ้าภิกษุทำการนั่งและทำการนอนทั้ง ๒ อย่าง เป็นปาจิตตีย์ ๒ ตัว. เมื่อผุดลุกผุดนั่งหรือผุดลุกผุดนอน เป็นปาจิตตีย์ทุกๆ ประโยค.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 331
บัณฑิตพึงทราบประเภทแห่งทุกกฎ แม้ในทุกกฏวาร มีอาทิว่า วิหารสฺส อุปจาเร ดังนี้ ในคำว่า อุปจารํ เปตฺวา เสยฺยํ สนฺถรติ วา สนฺถราเปติ วา นี้ และอื่นจากคำนี้ เหมือนประเภทแห่งปาจิตตีย์ที่ตรัส ไว้ในการทำกิจทั้ง ๒ คือ เพียงแต่นั่งทับและนอนทับ ในคำว่า อภินิสีทติ วา อภินิปชฺชติ วา นี้ และในประเภทแห่งประโยคฉะนั้น. เพราะไม่ต้องการ ด้วยวิสภาคบุคคลเช่นนี้อยู่ในวิหารเดียวกัน หรือในบริเวณเดียวกัน ฉะนั้น ท่านจึงห้ามการอยู่แห่งวิสภาคบุคคลนั้น ในที่ทุกแห่งทีเดียว.
แม้ในคำว่า อญฺสฺส ปุคฺคลิเก นี้ ก็พึงทราบวินิจฉัยดังนี้. เสนาสนะส่วนตัวของบุคคลผู้คุ้นเคยกัน เช่นเดียวกับของส่วนตัวของตนเหมือน กัน ไม่เป็นอาบัติในเสนาสนะส่วนตัวบุคคลของผู้คุ้นเคยกันนั้น.
บทว่า อาปทาสุ มีความว่า ถ้ามีอันตรายแห่งชีวิตและพรหมจรรย์ แก่ภิกษุผู้อยู่ภายนอก ในเพราะอันตรายเห็นปานนั้น ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุ ผู้เข้าไป (ภายใน). บทที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจปฐมปาราชิก เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.
อนูปขัชชสิกชาบทที่ ๖ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 332
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์
[๓๘๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระสัตตรสวัคคีย์ ปฏิสังขรณ์วิหารใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งทั้งอยู่สุดเขตวัด ด้วย หมายใจว่าพวกเราจักอยู่จำพรรษา ณ ที่นี้ พระฉัพพัคคีย์ได้เห็นพระสัตตรสวัคคีย์ ผู้กำลังปฏิสังขรณ์วิหาร ครั้นแล้วจึงพูดกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระ สัตตรสวัคคีย์เหล่านั้น กำลังปฎิสังขรณ์วิหาร อย่ากระนั้นเลย พวกเราจักไล่ พวกเธอไปเสีย ภิกษุบางเหล่าพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย โปรดรออยู่ก่อน จนกว่าเธอจะปฏิสังขรณ์เสร็จ เมื่อเธอปฎิสังขรณ์เสร็จแล้วพวกเราจงค่อยไล่ไป.
ครั้นพระสัตตรสวัคคีย์ปฎิสังขรณ์เสร็จแล้ว พระฉัพพัคคีย์ได้กล่าวคำนี้ กะพระสัตตรสวัคคีย์ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านจงย้ายไป วิหารถึงแก่พวกเรา.
พระสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านควรจะบอก ล่วงหน้ามิใช่หรือ พวกผมจะได้ปฏิสังขรณ์วิหารหลังอื่น.
ฉ. อาวุโสทั้งหลาย วิหารเป็นของสงฆ์มิใช่หรือ.
ส. ขอรับ วิหารเป็นของสงฆ์.
ฉ. พวกท่านจงย้ายไป วิหารถึงแก่พวกเรา.
ส. วิหารหลังใหญ่ แม้พวกท่านก็อยู่ได้ แม้พวกผมก็จักอยู่.
พระฉัพพัคคีย์กล่าวว่า พวกทานจงย้ายออกไป วิหารถึงแก่พวกเรา ดังนี้แล้ว ทำเป็นโกรธ ขัดใจ จับคอฉุดคร่าออกไป.
พระสัตตรสวัคคีย์ถูกฉุดคร่าออกไปก็ร้องให้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 333
ภิกษุทั้งหลายพากันถามอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านร้องไห้ ทำไม.
พระสัตตรสวัคดีย์ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย พระฉัพพัคคีย์พวกนี้โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าพวกข้าพเจ้าออกไปจากวิหารของสงฆ์
บรรดาภิกษุที่มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์จึงได้โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าภิกษุทั้งหลายออกจากวิหารของสงฆ์เล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอโกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าภิกษุทั้งหลายออกจากวิหาร ของสงฆ์ จริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโฆษบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าภิกษุทั้งหลายออกจากวิหารของสงฆ์เล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้
พระบัญญัติ
๖๖.๗ อนึ่ง ภิกษุใด โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่า ก็ดี ซึ่งภิกษุจากวิหารของสงฆ์เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 334
สิกขาบทวิภังค์
[๓๘๘] บทว่า อนึ่ง.. ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอนี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ซึ่งภิกษุ ได้แก่ ภิกษุอื่น.
บทว่า โกรธ ขัดใจ คือ ไม่พอใจ แค้นใจ เจ็บใจ.
[๓๘๙] วิหารที่ชื่อว่า ของสงฆ์ ได้แก่วิหารที่เขาถวายแล้ว สละ แล้วแก่สงฆ์.
บทว่า ฉุดคร่า คือ จับในห้องฉุดคร่าออกไปหน้ามุข ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์
จับที่หน้ามุขฉุดคร่าออกไปข้างนอก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ให้ก้าวพ้นประตูแม้หลายแห่ง ด้วยประโยคเดียว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า ให้ฉุดคร่า ความว่า ใช้ผู้อื่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ใช้ครั้งเดียวให้ก้าวพ้น ประตู แม้หลายแห่ง ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๓๙๐] วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าของสงฆ์ โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
วิหารของสงฆ์ ภิกษุสงสัย โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าของบุคคล โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 335
ทุกกฏ
ภิกษุขนก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ออกไปจากอุปจารวิหารก็ดี จากโรงฉัน ก็ดี จากปะรำก็ดี จากใต้ต้นไม้ก็ดี จากที่แจ้งก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุขนก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ซึ่งอนุปสัมบัน จากวิหารก็ดี จาก อุปจารวิหารก็ดี จากโรงฉันก็ดี จากปะรำก็ดี จากใต้ต้นไม้ก็ดี จากที่แจ้งก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุขนก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของสงฆ์ ... ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารของบุคคล ภิกษุสงสัย ... .ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของบุคคล ... .ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ เป็นของส่วนตัวของผู้อื่น
วิหารเป็นส่วนตัวของตน ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๓๙๑] ภิกษุฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ซึ่งภิกษุอลัชชี ๑ ภิกษุขนก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของภิกษุอลัชชี ๑ ภิกษุฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ซึ่งภิกษุ วิกลจริต ๑ ภิกษุขนก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของภิกษุวิกลจริตนั้น ๑ ภิกษุ ฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ซึ่งภิกษุผู้ก่อการบาดหมางก็ดี ก่อการทะเลาะก็ดี ก่อการวิวาทก็ดี ก่อความอื้อฉาวก็ดี ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ก็ดี ๑ ภิกษุขนก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของภิกษุผู้ก่อการบาดหมางเป็นต้นนั้น ๑ ภิกษุฉุดคร่าก็ดี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 336
ให้ฉุดคร่าก็ดี ซึ่งอันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริก ผู้ประพฤติไม่เรียบร้อย ๑ ภิกษุ ขนก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของอันเตวาสิก หรือสัทธิวิหาริกนั้น ๑ ภิกษุ วิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติ.
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
เสนาสนวรรค นิกัฑฒนสิกขาบทที่ ๗
พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๗ ดังต่อไปนี้
[ว่าด้วยสถานที่และกิริยาที่ฉุดคร่า]
ข้อว่า อเกน ปโยเคน พหุเกปิ ทฺวาเร อติกฺกาเมติ มีความว่า ในเสนาสนะทั้งหลาย เช่นปราสาท ๔ ชั้น ๕ ชั้นก็ดี ศาลา ๔ เหลี่ยมจตุรัส มีซุ้มประตู ๖ - ๗ - ๘ ซุ้มก็ดี ภิกษุจับที่แขนทั้งสอง หรือที่คอให้ก้าวออกไป ด้วยประโยคเดียว ไม่พักในระหว่าง เป็นปาจิตตีย์เพียงตัวเดียวเท่านั้น. เมื่อ หยุดเป็นพักๆ ให้ก้าวออกไปด้วยประโยคต่างๆ เป็นปาจิตตีย์หลายตัวตาม จำนวนประตู. แม้เมื่อไม่เอามือจับต้องฉุดออกไปด้วยวาจากล่าวว่า จงออกไป ก็นัยนี้นั่นแล.
วินิจฉัยในคำว่า อฺญฺํ อาณาเปติ นี้ พึงทราบดังนี้ เพียงแต่ สั่งว่า จงฉุดภิกษุนี้ออกไป เป็นทุกกฏ. ถ้าภิกษุผู้ได้รับสั่งคราวเดียวนั้นให้ ก้าวพ้นประตูแม้หลายแห่ง ก็ต้องปาจิตตีย์ตัวเดียว. แต่ถ้าว่า เธอได้รับสั่ง กำหนดอย่างนี้ว่า จงฉุดผ่านประตูเท่านี้ออกไป ก็ดี ว่า จงฉุดไปจนถึง ประตูใหญ่ ดังนี้ ก็ดี เป็นปาจิตตีย์ตามจำนวนประตู.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 337
สองบทว่า ตสฺส ปริกฺขารํ มีความว่า ภิกษุใด ขนออกเองก็ดี ใช้ให้ขนออกก็ดี ซึ่งของอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นของส่วนตัวแห่งภิกษุนั้น เช่น บาตร จีวร ธมกรกกรองน้ำ เตียงตั่ง ฟูกและหมอนเป็นต้นโดยที่สุดแม้ สะเก็ดน้ำย้อม เป็นทุกกฏแก่ภิกษุนั้นหลายตัว ตามจำนวนแห่งวัตถุ. ท่านกล่าว ไว้ในมหาปัจจรีว่า ก็ในสิ่งของเหล่านั้น อันเจ้าของผูกมัดไว้แน่น เป็นอาบัติ ตัวเดียวเท่านั้น.
วินิจฉัยแม้ในคำว่า อญฺสฺส ปุคฺคลิเก นี้ พึงทราบดังนี้ ของส่วนตัวแห่งบุคคลผู้คุ้นเคย เช่นเดียวกับของส่วนตัวของตนนั่นแล. ก็ในที่ ทุกๆ แห่ง ผู้ศึกษาพึงทราบนัยเหมือนในคำนี้. แต่ในที่ใดจักมีความแปลกกัน พวกเราจักกล่าวไว้ในที่นั้น.
วินิจฉัยในคำว่า อลชฺชึ นิกฺกฑฺฒติ วา นิกฺกฑฺฒาเปติ วา เป็นต้น พึงทราบดังนี้ ภิกษุย่อมได้เพื่อจะขับไล่ภิกษุผู้ทำความบาดหมาง และผู้ทำความทะเลาะกันเท่านั้น ออกจากสังฆารามทั้งสิ้น. เพราะว่า เธอได้ พรรคพวกแล้ว พึงทำลายสงฆ์ก็ได้. ส่วนพวกภิกษุอลัชชีเป็นต้น ภิกษุพึง ฉุดออกจากที่อยู่ ของตนเท่านั้น จะขับเธอเหล่านั้นออกจากสังฆารามทั่วไป ไม่ควร
บทว่า อุมฺมตฺตกสฺส ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้เป็นบ้าเอง. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๓ เกิดขึ้น ทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ฉะนั้นแล.
นิกัฑฒนสิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 338
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องภิกษุ ๒ รูป
[๓๙๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ ๒ รูป อยู่บนร้านในวิหารเป็นของสงฆ์ รูปหนึ่งอยู่ชั้นล่าง รูปหนึ่งอยู่ชั้นบน ภิกษุอยู่ชั้นบนนั่งทับโดยแรง ซึ่งเตียงอันมีเท้าเสียบ เท้าเตียงตกโดนศีรษะ ภิกษุผู้อยู่ชั้นล่าง ภิกษุนั้นส่งเสียงร้องลั่น ภิกษุทั้งหลายพากันวิ่งเข้าไปถาม ภิกษุนั้นว่า ท่านส่งเสียงร้องทำไม จึงภิกษุนั้นได้ชี้แจงเรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย.
บรรดาภิกษุที่มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุจึงนั่งทับโดยแรง ซึ่งเตียงมีเท้าเสียบ บนร้านในวิหารเป็นของสงฆ์. แล้ว กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่าเธอ นั่งทับโดยแรง ซึ่งเตียงมีเท้าเสียบ บนร้านในวิหารเป็นของสงฆ์ จริงหรือ. ภิกษุนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง ได้นั่งทับโดยแรง ซึ่งเตียงมีเท้าเสียบ บนร้านในวิหารเป็นของสงฆ์เล่า การ กระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 339
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๖๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด นั่งทับก็ดี นอนทับก็ดี ซึ่งเตียงก็ดี ซึ่งตั่งก็ดี อันมีเท้าเสียบ บนร้านในวิหารเป็นของสงฆ์ เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุ ๒ รูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๙๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใดคือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์โนอรรถนี้.
วิหาร ที่ชื่อว่า เป็นของสงฆ์ ได้แก่ วิหารที่เขาถวายแล้ว สละ แล้วแก่สงฆ์.
[๓๙๔] ที่ชื่อว่า ร้าน ได้แก่ ร้านที่ไม่กระทบศีรษะของมัชฌิมบุรุษ เตียงที่ชื่อว่า มีเท้าเสียบ คือเขาสอดเท้าเสียบเข้าไว้ในตัวเตียง. ตั่ง ที่ชื่อว่า มีเท้าเสียบ คือเขาสอดเท้าเสียบเข้าไว้ในตัวตั่ง
บทว่า นั่งทับ คือนั่งทับบนเตียงตั่งนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า นอนทับ คือนอนทับบนเตียงตั่งนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๓๙๕] วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าของสงฆ์ นั่งทับก็ดี นอนทับ ก็ดี ซึ่งเตียงก็ดี ซึ่งตั่งก็ดี อันมีเท้าเสียบ บนร้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 340
วิหารของสงฆ์ ภิกษุสงสัย นั่งทับก็ดี นอนทับก็ดี ซึ่งเตียงก็ดี ซึ่ง ตั่งก็ดี อันมีเท้าเสียบ บนร้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าของบุคคล นั่งทับก็ดี นอนทับก็ดี ซึ่งเตียงก็ดี ซึ่งตั่งก็ดี อันมีเท้าเสียบ บนร้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ติกทุกกฏ
วิหารของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของสงฆ์ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
วิหารของบุคคล ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
วิหารของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของบุคคล เพราะเป็นส่วนตัวของภิกษุ อื่น ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
วิหารเป็นส่วนตัวของตน.. ไม่ต้องอาบัติ.
อานาปัตติวาร
[๓๙๖] ไม่ใช่ร้าน ๑ ร้านสูงพอกระทบศีรษะ ๑ ข้างล่างไม่ได้ใช้ เป็นที่อยู่ ๑ ข้างบนปูพื้นไว้ ๑ เท้าเตียงเท้าตั่งไดตรึงสลักกับตัว ๑ ภิกษุยืน บนเตียงตั่งนั่นหยิบจีวรหรือพาดจีวรได้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 341
เสนาสนวรรค เวหาสกุฎีสิกขาบทที่ ๘
พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๘ ดังต่อไปนี้.
[แก้อรรถเวทาสกุฎีและกิริยานั่งทับ]
บทว่า อุปริ เวหาสกุฏิยา ได้แก่ บนกุฎี ๒ ชั้นก็ดี บนกุฎี ๓ ชั้นก็ดี ที่ข้างบนไม่ได้ปูพื้นไว้
คำว่า มญฺจํ สหสา อภินิสีทติ ได้แก่ นั่งทับ คือ นั่งคร่อมเตียง โดยแรง. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า มญฺจํ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่ง สัตตมีวิภัตติ. ความว่า นั่งลงบนเตียง. ก็คำว่า อภิ นี้ เป็นเพียงอุปสรรค เพื่อทำให้บทสวยงามเท่านั้น.
บทว่า ปติตฺวา คือ ตกลง หรือหลุดออกแล้ว. เพราะว่า ใน เบื้องบนของเท้าเตียงนั้น แม้สลักก็ไม่ใส่ เพราะฉะนั้น เท้าเตียงจึงหลุดออก
บทว่า วิสฺสรมกาสิ คือ ได้ทำเสียงร้องครวญครางผิดรูป
คำว่า เวหาสกุฎี นาม มชฺฌิมสฺส ปุริสสฺส อสีสฆฏฺฏา มีความว่า กุฎีใดไม่กระทบศีรษะแห่งบุรุษผู้มีขนาดปานกลาง ด้วยขื่อที่ต่ำกว่า เขาทั้งหมด, (กุฎีนั้น ชื่อว่า เวหาสกุฎี) ด้วยคำนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเวหาสกุฎีที่ทรงประสงค์แล้วในสิกขาบทนี้. (แต่) หาได้ ทรงแสดงลักษณะของเวหาสกุฎีไว้ไม่. จริงอยู่ กุฎีมี ๒ ชนก็ดี กุฎีมี ๓ ชั้น เป็นต้นก็ดี ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเบื้องบนไม่ได้ปูพื้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า เวหาสกุฎี. แต่ในสิกขาบทนี้ประสงค์เอาเวหาสกุฎีที่ไม่กระทบ ศีรษะ. บัณฑิตพึงทราบความแตกต่างกันแห่งอาบัติ ในการนั่งทับเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งประโยค โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั้นแล
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 342
บทว่า อเวหาสกุฏิยา มีความว่า ไม่เป็นอาบัติในศาลาใบไม้ที่เขา สร้างไว้บนพื้นดินเป็นต้น. เพราะว่า ไม่อาจเพื่อจะทำความเบียดเบียนแก่คน อื่นในกุฎีมีบรรณศาลาเป็นต้นนั้น. บทว่า สีสฆฏฺฏาย มีความว่า กุฎีใดกระทบศีรษะได้, ไม่เป็นอาบัติ ในกุฎีแม้นั้น. เพราะว่า ใครๆ ไม่ก้มตัวลงไม่อาจเพื่อจะเที่ยวไปไม่ปราสาท ชั้นล่าง (พื้นชั้นล่าง) ในกุฎีนั่นได้ ฉะนั้น จักไม่มีความเบียดเบียนแก่ผู้อื่น เพราะไม่ใช่สถานที่สัญจร.
สามบทว่า เหฏฺา อปริโภคํ โหติ มีความว่า ภายใต้เป็นที่ใช้ สอยไม่ได้ เพราะเก็บทัพสัมภาระเป็นต้น. แม้ในกุฎีนั้นก็ไม่เป็นอาบัติ.
สองบทว่า ปทรสญฺจิตํ โหติ มีความว่า พื้นข้างบนกุฎีใดเขาปู แน่นทึบด้วยแผ่นกระดานไม้ก็ดี ทำการบริกรรมด้วยปูนขาวเป็นต้น ก็ดี. แม้ ในกุฎีนั้นก็ไม่เป็นอาบติ.
ข้อว่า ปฏฺฏาณิ ทินฺนา โหติ มีความว่า ได้ตรึงสลักไว้ที่ปลาย เท้าเตียงและตั่งเป็นต้น แม้เมื่อภิกษุนั่งบนเตียงและตั่งใด. (เท้าเตียง) ไม่ตก ลงมา แม้ภิกษุผู้นั่งบนเตียงและตั่งเช่นนั้น ก็ไม่เป็นอาบัติ.
ข้อว่า ตสฺมึ ิโต มีความว่า ภิกษุยืนบนเตียงและตั่งที่มีเท้าเสียบ (เข้าไว้ในตัวเตียงตั่ง) หยิบจีวรหรือวัตถุอะไรๆ ที่แขวนไว้บนไม้ฟันมังกร เป็นต้นข้างบน, หรือว่าจะแขวนวัตถุอื่น, ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุนั้น. บทที่ เหลือตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เกิดขึ้นทางกาย ๑ ทาง กายกับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
เวหาสกุฎีสิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 343
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระฉันนะ
[๓๙๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น มหาอำมาตย์อุปัฏฐากของท่าน พระฉันนะสร้างวิหารถวายท่านพระฉันนะ แต่ท่านพระฉันนะสั่งให้มุงให้โบก ฉาบวิหารที่ทำสำเร็จแล้วบ่อยครั้ง วิหารหนักเกินไป ได้ทลายลงมา จึงท่าน พระฉันนะมัวสาละวนเก็บรวบรวมหญ้าและไม้ ได้ทำนาข้าวเหนียวของ พราหมณ์คนหนึ่งให้เสียหาย พราหมณ์นั้นจึงเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลายจึงได้ทำนาข้าวเหนียวของข้าพเจ้าให้เสียหาย ภิกษุ ทั้งหลายได้ยินพราหมณ์นั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่ผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนท่านพระฉันนะจึงได้ให้มุงให้โบกฉาบ วิหารที่ทำเสร็จแล้วบ่อยครั้งเล่า วิหารหนักเกินไปได้ทลายลงมา แล้วกราบทูล เนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระฉันนะว่า ดูก่อนฉันนะ ข่าว ว่าเธอให้มุงให้โบกฉาบวิหารที่ทำเสร็จแล้วบ่อยครั้ง วิหารหนักเกินไปได้ทลาย ลงมา จริงหรือ
ท่านพระฉันนะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง ได้ให้มุงให้โบกฉาบวิหารที่ทำเสร็จแล้วบ่อยครั้งเล่า วิหารหนักเกินไปก็ทลาย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 344
ลง การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว.. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้
พระบัญญัติ
๖๘. ๙. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำซึ่งวิหารใหญ่ จะวางเช็ดหน้า เพียงไรแต่กรอบแห่งประตู จะบริกรรมช่องหน้าต่าง พึงยืนในที่ ปราศจากของสดเขียว อำนวยให้พอกได้ ๒ - ๓ ชั้น ถ้าเธออำนวย ยิ่งว่านั้น แม้ยินในที่ปราศจากของสดเขียว ก็เป็นปาจิตตีย์
เรื่องพระฉันนะ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๙๘] วิหารที่ชื่อว่า ใหญ่ ท่านว่ามีเจ้าของ.
ที่ชื่อว่า วิหาร ได้แก่ ตึกที่เขาโบกฉาบปูนไว้เฉพาะภายในก็ตาม ที่เขาโบกฉาบปูนไว้เฉพาะภายนอกก็ตาม หรือที่เขาโบกฉาบปนไว้ทั้งภายใน ทั้งภายนอกก็ตาม.
บทว่า ผู้ให้ทำ คือ สร้างเองก็ดี ให้ผู้อื่นสร้างก็ดี.
บทว่า เพียงไรแต่กรอบแห่งประตู คือ ชั่วหัตถบาสโดยรอบแห่ง บานประตู
บทว่า จะวางเช็ดหน้า คือ จะวางประตู.
บทว่า จะบริกรรมช่องหน้าต่าง คือ จะบริกรรมหน้าต่างให้มี สีเขียว สีดำ สียางไม้ ลายดอกไม้ เถาวัลย์ ฟันมังกร ดอกจอก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 345
คำว่า พึงยืนในที่ปราศจากของสดเขียว อำนวยให้พอกได้. ๒- ๓ ชั้นความว่า ที่ชื่อว่า ของสดเขียว ได้แก่ บุพพัณชาติ อปรัณชาติ.
ถ้าภิกษุยืนสั่งการอยู่ในที่มีของสดเขียว ต้องอาบัติทุกกฏ.
ให้มุงตามทางแถว พึงมุงเอง ๒ แถวๆ ที่ ๓ สั่งให้มุงแล้วพึงหลีกไป.
ให้มุงเป็นชั้น พึงมุงเอง ๒ ชั้นๆ ที่ ๓ สั่งให้มุงแล้วพึงหลีกไป.
[๓๙๙] คำว่า ถ้าเธออำนวยให้ยิ่งกว่านั้น แม้ยินในที่ปราศจาก ของสดเขียว ความว่า มุงด้วยอิฐ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ แผ่นอิฐ.
มุงด้วยแผ่นศิลา ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ แผ่นศิลา.
โบกฉาบด้วยปูนขาว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ ก้อนปูนขาว.
มุงด้วยหญ้า ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ กำหญ้า.
มุงด้วยใบไม้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ ใบไม้.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๐๐] เกิน ๒ - ๓ ชั้น ภิกษุสำคัญว่าเกิน อำนวยการ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
เกิน ๒ - ๓ ชั้น ภิกษุสงสัย อำนวยการ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เกิน ๒ - ๓ ชั้น ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ถึง อำนวยการ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
หย่อนกว่า ๒ - ๓ ชั้น ภิกษุสำคัญว่าเกิน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
หย่อนกว่า ๒ - ๓ ชั้น ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
หย่อนกว่า ๒ - ๓ ชั้น ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ถึง ... ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 346
อนาปัตติวาร
[๔๐๑] ภิกษุมุง ๒ - ๓ ชั้น ๑ ภิกษุมุงหย่อนกว่า ๒ - ๓ ชั้น ๑ ภิกษุ สร้างถ้า ๑ คูหา ๑ กุฎีมุงหญ้า ๑ ภิกษุสร้างกุฎีเพื่อภิกษุอื่น ๑ ภิกษุสร้าง ด้วยทรัพย์ของตน ๑ ยกอาคารอันเป็นที่อยู่เสีย ภิกษุสร้างทุกอย่างไม่ต้อง อาบัติ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ภูตคามวรรคสิกขาบทที่ ๙ จบ
เสนาสนวรรค มหัลลกวิหารสิกขาบทที่ ๙
พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๙ ดังต่อไปนี้
[แก้อรรถปาฐะ เรื่องกรอบประตูหน้าต่าง]
โอกาสขนาดเท่าความกว้างของบานประตู โดยรอบแห่งบานประตู ชื่อ ว่าทวารโกส (กรอบแห่งประตู) ในคำว่า ยาว ทฺวารโกสา นี้. แต่ใน มหาปัจจรีท่านกล่าวไว้ว่า หนึ่งศอกคืบ วัดจากบานประตู. ในกุรุนทีกล่าวว่า ขนาดเท่าบานประตูในข้างทั้งสอง ด้านแห่งประตู ในมหาอรรถกถาท่านกล่าว ว่า ชื่อว่าบานประตู มีขนาดศอกคืบก็มี ๒ ศอกก็มี ๒ ศอกคืบก็มี. คำใน มหาอรรถกถานั้นท่านกล่าวดีแล้ว. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอา อรรถนั้นนั่นแล จึงทรงทำการกำหนดอย่างสูงไว้ ดังนี้ว่า ชั่วหัตถบาส โดย รอบแห่งบานประตู.
บทว่า อคฺคลฏฺปนาย มีความว่า เพื่อจะวางทวารพันธ์ (กรอบ ประตู) พร้อมทั้งบาน, อธิบายว่า เพื่อต้องการความไม่เคลื่อนที่แห่งกรอบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 347
ประตูพร้อมทั้งบานประตู. จริงอยู่ แม้บทภาชนะว่า ทฺวารฏฺปนาย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสหมายเอาอรรถนี้นั่นแล.
ก็ในคำนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ ก็บานประตูหมุนคล่องย่อมกระทบฝา ในเวลาเปิด, ย่อมกระทบกรอบประตูในเวลาปิด. ฝาย่อมกระเทือนด้วยการ กระทบนั้น, เพราะฝากระเทือนนั้น ดินย่อมคลอน ครั้นคลอนแล้วย่อมหย่อน หรือหลุดลง. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ยาว ทฺวารโกสา อคฺคลฏฺปนาย ดังนี้.
บัณฑิตพึงเห็นใจความในคำนั้นอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ ตรัสไว้ในมาติกา ไม่ได้ตรัสไว้ในบทภาชนะเลยว่า กิจชื่อนี้ ควรกระทำ แม้ก็จริง. ถึงกระนั้นเพื่อจะวางเช็ดหน้าเพียงไรแต่กรอบแห่งประตู ก็พึงฉาบ เอง หรือพึงให้ฉาบบ่อยๆ โดยอำนวยการตามในอัตถุปปสัตติเหตุว่า ภิกษุให้ ฉาบบ่อยๆ ให้โบกบ่อยๆ ดังนี้.
ส่วนในคำที่ตรัสไว้ในบทภาชนะว่า ปิฏิสงฺฆาฏสฺส สมนฺตา หตฺถปาสา พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ วิหารใดมีประตูอยู่ตรงกลาง และมีฝา สูงอยู่ส่วนบน หัตถบาสโดยรอบใน ๓ ทิศ เป็นอุปจารแห่งวิหารนั้น. สำหรับ วิหารเล็ก มีอุปจารใน ๒ ทิศ. แม้ในวิหารเล็กนั้น บานประตูที่เปิดออก ย่อมกระทบฝาใด, แม้ฝานั้น ก็ยังจัดเป็นอุปจารไม่ได้ครบถ้วน. แต่โดย กำหนดอย่างสูง ทรงอนุญาตหัตถบาสโดยรอบใน ๓ ทิศ (และ) ทรงอนุญาต การโบกฉาบ เพื่องต้องการทำประตูให้แน่น. แต่ถ้าว่า มีโอกาสที่ควรฉาบ แม้ในส่วนเบื้องบนแห่งประตู, จะฉาบโอกาสแม้นั้นก็ควร.
ในคำว่า อาโลกสนฺปริกมฺมาย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก บานหน้าต่างว่า อาโลกสันธิ. ในคำนี้มีอธิบายดังนี้ว่า บานหน้าต่างเหล่านั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 348
ในเวลาเปิด จะกระทบส่วนของฝาประมาณคืบหนึ่งบ้าง เกินกว่าบ้าง. ก็ใน คำว่าอโลกสันธิ นี้ ย่อมได้อุปจารในทิศทั้งปวง เพราะเหตุนั้น โอกาสประมาณ เท่าความกว้างแห่งบานหน้าต่างในทิศทั้งปวง. ภิกษุพึงฉาบเองหรือพึงให้ฉาบ เพื่อประโยชน์แก่การบริกรรมบานหน้าต่าง.
คำว่า เสตวณฺณํ เป็นต้น ไม่ใช่เป็นการแจกบทมาติกา. จริงอยู่ ชื่อว่าวิหารจะเป็นของหนักด้วยสีขาวเป็นต้นนี้ หามิได้ เหตุนั้น พระผู้มี พระภาคเจ้าจึงทรงอนุญาต (สีขาวเป็นต้น) ไว้ในบทภาชนะนั่นแล. เพราะ เหตุนั้น ภิกษุพึงทำกิจทุกอย่างมีการฉาบปูนขาวเป็นต้นนี้ตามสบาย.
[ว่าด้วยการอำนวยให้การพอกบนหลังคา]
เพื่อทรงแสดงกรรม คือการฉาบอันภิกษุพึงทำอย่างนั้นแล้ว แสดง กรรมที่ภิกษุพึงทำบนหลังคาอีก พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ทฺวิตฺติจฺ- ฉทนสฺส เป็นต้น. พึงทราบวินิจฉัยในคำนั้น ดังนี้
คำว่า ทฺวิตฺติจฺฉทนสฺส ปริยายํ คือ (อำนวยให้) การพอกหลังคา ได้ ๒ - ๓ ชั้น. การพอกเรียกว่า ปริยาย. อธิบายว่า พึงอำนวยให้พอกได้ ๒ ครั้ง หรือพอกได้ ๓ ครั้ง
สองบทว่า อปหริเต ิเตน คือ ยืนอยู่ในที่ปราศจากของสดเขียว. ก็ในคำว่า หริตํ นี้ ทรงประสงค์เอาบุพพัณชาติต่างโดยเป็นข้าวเปลือก ๗ ชนิด และอปรัณชาติต่างโดยเป็นถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ถั่วพู น้ำเต้า และฟักเขียวเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้นแล พระองค์จึงตรัสว่า ที่ชื่อว่า ของสดเขียว ได้แก่ บุพพัณชาติ อปรัณชาติ.
ก็ในคำว่า สเจ หริเต ิโต อธิฏฺาติ อปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้ พืชที่เขาหว่านในนาแม้ใด ชั้นแรกยังไม่สำเร็จ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 349
(ยังไม่งอก) ก็หรือว่า เมื่อฝนตกแล้ว จักสำเร็จ (จักงอก) พืชแม้นี้ ก็ถึง การนับว่าของสดเขียวเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น ภิกษุยืนอยู่ แม้ในนาเห็นปาน นั้น ก็ไม่อำนวยการ. พึงยืนอำนวยการในที่ปราศจากของสดเขียวเท่านั้น.
ในเรื่องอำนวยการปราศจากของสดเขียวในนาที่หว่านพืชแล้ว แม้นั้น มีกำหนดดังต่อไปนี้คือ ภิกษุนั่งอยู่ที่ข้างอกไก่ก็ดี ช่อฟ้าเรือนยอดก็ดี ยอดโดม ข้างบนก็ดี มองดูทางริมขอบเชิงชายแห่งหลังคาเห็นคนผู้ยืนอยู่บนภูมิภาคใด. และคนยืนอยู่ที่ภูมิภาคใด ย่อมเห็นภิกษุนั้น ผู้นั่งอยู่ข้างบน, พึงยืนอยู่ที่ภูมิภาค นั้น, ย่อมไม่ได้เพื่อจะยืนอำนวยการในที่แม้เป็นที่ปราศจากของสดเขียว ภายใน แห่งภูมิภาคนั้นเข้ามา เพราะเหตุไร? เพราะว่าภูมิภาคนี้ เป็นโอกาสที่จะ พังลงมาแห่งวิหารเมื่อจะพัง.
การมุงตรงๆ ไปไม่อ้อม ชื่อว่า การมุงตามทางแถว ในคำว่า มคูเคน ฉาเทนฺตสฺส นี้. การมุงตามทางแถวนั้น ย่อมมีได้ด้วยอิฐ ศิลา และปูนขาว.
คำว่า เทฺว มคฺเค อธิฏฺหิตฺวา มีความว่า ทางแถว ๒ แถว ถ้ามุงไม่ดี, ย่อมได้แม้เพื่อจะรื้อออกเสียแล้วให้มุงบ่อยๆ เพราะฉะนั้น พึง มุงเอง ๒ แถว อย่างที่ตนต้องการ แล้วแถวที่ ๓ พึงสั่งว่า ต่อไปนี้ จงมุง อย่างนี้ แล้วหลีกไป.
บทว่า ปริยาเยน แปลว่า ด้วยการพอกเป็นชั้นๆ (การมุงเป็นชั้นๆ). ก็การมุงอย่างนั้น ย่อมได้ด้วยหญ้าและใบไม้. เพราะเหตุนั้น ในการมุงแม้นี้ ภิกษุพึงมุงเอง ๒ ชั้น อย่างที่ตนต้องการแล้ว ชั้นที่ ๓ พึงสั่งว่า ทีนี้ จงมุง อย่างนี้ แล้วหลีกไป ก็ถ้าว่า ไม่หลีกไป พึงยืนนิ่งเสีย. ก็การมุงทั้งหมดนี้ พึงทราบว่า ในเบื้องบนหลังคา. ภิกษุทั้งหลายเข้าใจว่า ก็วิหารที่มุงเป็นชั้นๆ ฝนจะไม่รั่วได้นาน จึงมุอย่างนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 350
คำว่า ตโต เจ อุตฺตรึ มีความว่า เลย ๓ แถว หรือ ๓ ชั้นขึ้นไป คือในแถวที่ ๔ หรือในชั้นที่ ๔.
คำว่า กรเฬ คือ ในกำหญ้าทุกๆ กำ. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
มหัลลกวิหารสิกขาบทที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 351
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี
[๔๐๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขตรัฐอาฬวี ครั้งนั้นพวกภิกษุชาวรัฐอาฬวี กำลังกระทำนวกรรม รู้อยู่ว่าน้ำมีตัวสัตว์ จึงรดเองบ้าง ให้คนอื่นรดบ้าง ซึ่งหญ้าบ้าง ดินบ้าง บรรดาภิกษุที่มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พวกภิกษุ ชาวรัฐอาฬวีรู้อยู่ว่าน้ำมีตัวสัตว์ จึงได้รดเองบ้าง ให้คนอื่นรดบ้าง ซึ่งหญ้าบ้าง ดินบ้างเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสอบถามภิกษุชาวรัฐอาฬวีว่า ดูก่อนภิกษุ- ทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอรู้อยู่ว่าน้ำมีตัวสัตว์ รดเองบ้าง ให้คนอื่นรดบ้าง ซึ่งหญ้าบ้าง ดินบ้าง จริงหรือ.
พวกภิกษุชาวรัฐอาฬวีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย พวก เธอรู้อยู่ว่าน้ำมีตัวสัตว์ ไฉนจึงได้รดเองบ้าง ให้คนอื่นรดบ้าง ซึ่งหญ้าบัาง ดินบ้าง การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 352
พระบัญญัติ
๖๙. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ว่าน้ำมีตัวสัตว์ รดก็ดี ให้รดก็ดี ซึ่งหญ้าก็ดี ดินก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๐๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ ได้แก่ รู้เอง หรือ คนอื่นบอกเธอ.
[๔๐๔] บทว่า รด คือ รดเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า ให้รด คือ ใช้คนอื่นรด ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ใช้ครั้งเดียว แต่เขารดหลายครั้ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
น้ำมีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่าน้ำมีตัวสัตว์ รดเองก็ดี ให้คนอื่นรดก็ดี ซึ่งหญ้าก็ดี ซึ่งดินก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
น้ำมีตัวสัตว์ ภิกษุสงสัย รดเองก็ดี ให้คนอื่นรดก็ดี ซึ่งหญ้าก็ดี ซึ่งดินก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ
น้ำมีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่าไม่มีตัวสัตว์ รดเองก็ดี ให้คนอื่นรดก็ดี ซึ่งหญ้าก็ดี ซึ่งดินก็ดี ไม่ต้องอาบัติ
น้ำไม่มีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่ามีตัวสัตว์ ... ต้องอาบัติทุกกฏ
น้ำไม่มีตัวสัตว์ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ
น้ำไม่มีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่าไม่มีตัวสัตว์ ... ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 353
อนาปัตติวาร
[๔๐๕] ภิกษุไม่แกล้ง ๑ ภิกษุไม่มีสติ ๑ ภิกษุไม่รู้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๒ จบ
เสนาสนวรรค สัปปาณกสิกขาบทที่ ๑๐
พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๑. ดังต่อไปนี้
[ว่าด้วยเทน้ำมีตัวสัตว์รดหญ้าหรือดิน]
สองบทว่า ชานํ สปฺปาณกํ ได้แก่ รู้อยู่โดยประการใดประการหนึ่ง ว่า น้ำนี้ มีตัวสัตว์เล็กๆ.
สองบทว่า สิญฺเจยฺย วา สิญฺจาเปยฺย วา มีความว่า ภิกษุพึง เอาน้ำนั้นรดเองก็ดี สั่งคนอื่นให้รดก็ดี.
ก็คำเช่นนี้ว่า สิญเจยฺาติ สยํ สิญฺจติ ดังนี้ ในพระบาลี ผู้ศึกษา พึงทราบเนื้อความโดยนัยดังกล่าวแล้วในสิกขาบทก่อนนั่นแล. เมื่อภิกษุรดไม่ ทำให้สาย (น้ำ) ในน้ำนั้นขาด เป็นอาบัติเพียงตัวเดียวในหม้อน้ำหม้อเดียวกัน ในภาชนะทุกอย่างก็นัยนี้. แต่เป็นอาบัติทุกๆ ประโยค แก่ภิกษุผู้รดทำให้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 354
สายน้ำขาด. ภิกษุทำเหมืองให้เป็นทางตรง (น้ำ) จะไหลทั้งวันก็ตาม เป็น อาบัติตัวเดียว. ถ้าภิกษุกั้นในที่นั้นๆ แล้วไขน้ำไปทางอื่นๆ เป็นอาบัติทุกๆ ประโยค. ถ้าแม้นหญ้าขนาดบรรทุกเต็มเล่มเกวียน ภิกษุใส่ลงในน้ำด้วยประโยค เดียว ก็เป็นอาบัติตัวเดียว. ภิกษุทั้งหญ้าหรือใบไม้ลงทีละเส้น ทีละใบ เป็น อาบัติทุกๆ ประโยค. ในดินเหนียวก็ดี ในวัตถุอื่นมีไม้ โคลน และโคมัย เป็นต้นก็ดี ก็นัยนี้นั้นและ ก็วิธีทิ้งหญ้าและดินลงในน้ำนี้ มิได้ตรัสหมายถึง น้ำมาก. น้ำใด เมื่อทิ้งหญ้าและดินลงไป จะถึงความแห้งไป หรือจะเป็น น้ำขุ่น, ในน้ำใด จำพวกสัตว์เล็กๆ จะตายเสีย, บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสหมายถึงน้ำเช่นนั้น. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้น ทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
สัปปาณกสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
เสนาสนวรรคที่ ๒ จบบริบูรณ์
ตามวรรณนานุกรม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 355
หัวข้อประจำเรื่อง
๑. ภูตคามสิกขาบท ว่าด้วยพรากของเขียว
๒. อญัญูวาทสิกขาบท ว่าด้วยแกล้งกล่าวคำอื่น
๓. อุชฌาปนสิกขาบท ว่าด้วยโพนทะนา
๔. ปฐมเสนาสนสิกขาบท ว่าด้วยหลีกไปไม่เก็บเสนาสนะ
๕. ทุติยเสนาสนสิกขาบท ว่าด้วยใช้เสนาสนะแล้วไม่เก็บ
๖. อนูปขัชชสิกขาบท ว่าด้วยนอนแทรกแซง
๗. นิกกัฑฒนสิกขาบท ว่าด้วยการฉุดคร่าภิกษุ
๘. เวทาสกุฎีสิกขาบท ว่าด้วยนั่งนอนบนร่างร้าน
๙. มหัลลกสิกขาบท ว่าด้วยการสร้างวิหารใหญ่
๑๐. สัปปาณกสิกขาบท ว่าด้วยใช้น้ำมีตัวสัตว์.