พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๓ - โอวาทวรรค

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 มี.ค. 2565
หมายเลข  42776
อ่าน  593

[เล่มที่ 4] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒

พระวินัยปิฎก เล่ม ๒

มหาวิภังค์ ทุติยภาค

ปาจิตติยภัณฑ์

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๓

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 406/356

พระบัญญัติ 359

องค์คุณ ๘ ของภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณี 361

สิกขาบทวิภังค์ 408/362

คุรุธรรม ๘ ประการ 363

บทภาชนีย์ 411/364

อนาปัตติวาร 423/368

ภิกขุนีวรรคที่ ๓ โอวาทสิกขาบทที่ ๑ 369

แก้อรรถเรื่องภิกษุไม่ได้รับสมมติสั่งสอนนางภิกษุณี 369

อธิบายองค์ ๘ ของภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณี 370

ว่าด้วยภิกษุพหูสูต ๓ จําพวก 373

ปาฏิโมกข์ทั้งสองของเธอมาดีแล้วโดยพิสดาร 375

ว่าด้วยคุณธรรม ๘ ของนางภิกษุณี 377

ลําดับคําของทั้งสองฝ่ายที่ครบสงฆ์และไม่ครบสงฆ์ 385

ข้อว่าพึงปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่ายโดย ๓ สถาน 389

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๒ 394

เรื่องพระจูฬปันถกเถระ 424/394

พระบัญญัติ 396

สิกขาบทวิภังค์ 426/396

บทภาชนีย์ 427/397

อนาปัตติวาร 428/397

ภิกขุนีวรรค อัตถังคตสิกขาบทที่ ๒ 398

แก้อรรถกถาของพระจูฬบันถกเถระ 398

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๓ 401

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 429/401

พระบัญญัติ 402

เรื่องพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี 430/402

พระอนุบัญญัติ 403

สิกขาบทวิภังค์ 431/404

บทภาชนีย์ 432/404

อนาปัตติวาร 433/405


ภิกขุนีวรรคที่ ๓ 406-448

ภิกขุนีอุปัสสยสิกขาบทที่ ๓ 406

ข้อเบ็ดเตล็ดในสิกขาบทที่ ๓ 406

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๔ 408

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 434/408

พระบัญญัติ 409

สิกขาบทวิภังค์ 435/409

บทภาชนีย์ 437/409

อนาปัตติวาร 441/410

ภิกขุนีวรรค อามิสสิกขาบทที่ ๔ 411

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๕ 412

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง 442/412

พระบัญญัติ 413

เรื่องภิกษุหลายรูป 443/413

พระอนุบัญญัติ 414

สิกขาบทวิภังค์ 444/414

บทภาชนีย์ 445/415

อนาปัตติวาร 446/416

ภิกขุนีวรรค จีวรทานสิกขาบทที่ ๕ 416

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๖ 417

เรื่องพระอุทายี 447/417

พระบัญญัติ 418

สิกขาบทวิภังค์ 448/419

บทภาชนีย์ 449/419

อนาปัตติวาร 450/420

ภิกขุนีวรรค จีวรสิพพนสิกขาบทที่ ๖ 420

แก้อรรถเรื่องเย็บจีวรให้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ 420

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๗ 423

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 451/423

พระบัญญัติ 424

เรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป 452/424

พระอนุบัญญัติ 425

สิกขาบทวิภังค์ 453/425

บทภาชนีย์ 454/426

อนาปัตติวาร 455/427

ภิกขุนีวรรค สังวิธานสิกขาบทที่ ๗ 427

อธิบายบ้านชั่วระยะไก่บินถึงฯ 427

ว่าด้วยการชักชวนกันเดินทางร่วมกัน 428

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๘ 431

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 456/431

พระบัญญัติ 432

เรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป 457/432

พระอนุบัญญัติ 433

สิกขาบทวิภังค์ 458/433

บทภาชนีย์ 459/434

อนาปัตติวาร 460/435

ภิกขุนีวรรค นาวาภิรุหนสิกขาบทที่ ๘ 435

ว่าด้วยการชักชวนกันโดยสารเรือลําเดียวกัน 435

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๙ 437

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา 461/437

พระบัญญัติ 439

เรื่องพระภิกษุรูปหนึ่ง 462/439

พระอนุบัญญัติ 440

สิกขาบทวิภังค์ 463/440

บทภาชนีย์ 464/441

อนาปัตติวาร 465/441

ภิกขุนีวรรค ปริปาจนสิกขาบทที่๙ 442

ว่าด้วยบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนําให้ถวาย 442

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ 444

เรื่องพระอุทายี 466/444

พระบัญญัติ 445

สิกขาบทวิภังค์ 467/445

บทภาชนีย์ 468/446

อนาปัตติวาร 469/446

ภิกขุนีวรรค รโหนิสัชชสิกขาบทที่ ๑๐ 447

หัวข้อประจําเรื่อง 448


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 4]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 356

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๓

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๘๐๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ ชั้นเถระทั้งหลาย กล่าวสอนพวกภิกษุณี ย่อมได้จีวรบิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร จึงพระฉัพพัคคีย์ ปรึกษากันว่า อาวุโสทั้งหลาย บัดนี้พระเถระกล่าวสอนพวกภิกษุณี ย่อมได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เอาเถิด พวกเราจะกล่าวสอนพวกภิกษุณีบ้าง ครั้นแล้ว ได้เข้าไปหาพวกภิกษุณีกล่าวคำนี้ว่า มาเถิด น้องหญิงทั้งหลายจงไปหาพวก เราบ้าง แม้พวกเราก็จักกล่าวสอน หลังจากนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นได้เข้าไปหา พระฉัพพัคคีย์ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง จึงพระฉัพพัคคีย์ได้ ทำธรรมีกถาแก่พวกภิกษุณีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ให้วันเวลาล่วงไปด้วยติรัจ- ฉานกถา แล้วสั่งให้กลับไปด้วยคำว่า กลับไปเถิด น้องหญิงทั้งหลาย ลำดับนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมแล้ว ยืนเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถานภิกษุณีเหล่านั้นผู้ยืนเผาอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่งนั้นแลว่า ดูก่อนภิกษุณีทั้งหลาย การกล่าวสอนภิกษุณีได้สัมฤทธิ์ ผลดีหรือ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 357

ภิกษุณีทั้งหลายกราบทูลว่า จะสัมฤทธิ์ผลมาแต่ไหน พระพุทธเจ้าข้า เพราะพระคุณเจ้าเหล่าฉัพพัคคีย์ได้ทำธรรมีกถาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ให้วันเวลา ล่วงไปด้วยติรัจฉานกถา แล้วก็สั่งให้กลับไป พระพุทธเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ภิกษุณีเหล่านั้นเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้นภิกษุณีเหล่านั้น อันพระผู้มี. พระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกจากอาสน์ถวายอภิวาท ทำประทักษิณหลีกไปแล้ว

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอทำธรรมีกถาแก่พวกภิกษุณีเพียง เล็กน้อยเท่านั้น ให้วันเวลาล่วงไปด้วยติรัจฉานกถา แล้วก็สั่งให้กลับไป จริง หรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลายไฉน พวกเธอจึงได้ทำธรรมีกถาแก่พวกภิกษุณี เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ให้วันเวลา ล่วงไปด้วยติรัจฉานกถาแล้วสั่งให้กลับไปเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุเป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 358

วิธีสมมติภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณี

พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้

กล่าววาจาสมมติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณี นี่เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้ เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณี การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้กล่าวสอน ภิกษุณีชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สอง ...

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึง ข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณี การสมมติ ภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณีชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณีแล้ว ชอบ แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนก ปริยายแล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ... รับสั่งว่า ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 359

พระบัญญัติ

๗๐. ๑. อนึ่ง ภิกษุใดไม่ได้รับสมมติ กล่าวสอนพวกภิกษุณี เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ. แล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ (ต่อ)

[๔๐๗] ก็แลสมัยนั้น พวกพระเถระทั้งหลายผู้ได้รับสมมติ กล่าว สอนพวกภิกษุณี ก็ยังได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช บริขารเหมือนอย่างเดิม จึงพระฉัพพัคคีย์ได้ปรึกษากันว่า อาวุโสทั้งหลาย บัดนี้ พระเถระทั้งหลายได้รับสมมติ แล้วกล่าวสอนพวกภิกษุณี ก็ยังได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอยู่เหมือนอย่างเติม เอาเถิด แม้พวกเราจะไปนอกสีมาสมมติกันและกัน ให้เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณี แล้ว สั่งสอนพวกภิกษุณีกันเถิด ครั้นแล้วพากันไปนอกสีมา สมมติกันและกันให้ เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณี แล้วได้เข้าไปบอกภิกษุณีทั้งหลายว่า ดูก่อนน้องหญิง ทั้งหลาย แม้พวกเราก็ได้รับสมมติ ท่านทั้งหลายจงเข้าไปหาพวกเรา แม้ พวกเราก็จักกล่าวสอน ต่อมาภิกษุณีเหล่านั้น พากันเข้าไปหาพระฉัพพัคคีย์ กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง จึงพระฉัพพัคคีย์ได้ทำธรรมีกถาแก่ พวกภิกษุณีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ให้วันเวลาล่วงไปด้วยติรัจฉานกถาแล้วสั่งให้ กลับไปด้วยคำว่า กลับไปเถิด น้องหญิงทั้งหลาย ลำดับนั้นพวกนางได้พากัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วยืนเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 360

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถานภิกษุณีผู้ยืนเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่งเหล่านั้นแลว่า ดูก่อนภิกษุณีทั้งหลาย โอวาทได้สัมฤทธิ์ผลดีหรือ.

พวกภิกษุณีกราบทูลว่า จะสัมฤทธิ์ผลมาแต่ไหน พระพุทธเจ้าข้า เพราะพระคุณเจ้าเหล่าฉัพพัคคีย์ได้ทำธรรมีกถาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ให้วัน เวลาล่วงไปด้วยดิรัจฉานกถาแล้วสั่งให้กลับไป พระพุทธเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังภิกษุณีเหล่านั่น ให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้นภิกษุณีเหล่านั้น อันพระผู้มี พระภาคเจ้าทรงให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกจากอาสน์ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณหลีกไปแล้ว.

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอทำธรรมีกถาแก่พวกภิกษุณีเพียงเล็กน้อย เท่านั้น ให้วันเวลาล่วงไปด้วยดิรัจฉานกถา แล้วส่งให้กลับไป จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้ทำธรรมีกถาแก่พวกภิกษุณีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ให้วันเวลาล่วง ไปด้วยติรัจฉานกถาแล้วสั่งให้กลับไปเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็น ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 361

ทรงอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณี

ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ดังต่อไปนี้ เป็นผู้ กล่าวสอนภิกษุณี.

องค์คุณ ๘ ของภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณี

๑. เป็นผู้มีศีล คือสำรวมด้วยปาติโมกข์สังวรศีล สมบูรณ์ด้วยอาจาระ และโคจรอยู่ มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขา บททั้งหลาย

๒. เป็นพหูสูต คือทรงสุตะ เป็นผู้สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใดงาม ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้ง อรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ ธรรมเห็นปานนั้น อันภิกษุนั้นได้ สดับมาก ทรงจำไว้ได้ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยปัญญา.

๓. พระปาติโมกข์ทั้งสองมาแล้วด้วยดีโดยพิสดาร แก่ภิกษุนั้น คือ ภิกษุนั้นจำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี วินิจฉัยได้เรียบร้อยโดยสูตร โดยอนุ- พยัญชนะ.

๔. เป็นผู้มีวาจาสละสลวย ชัดเจน.

๕. เป็นที่นิยมชมชอบของภิกษุณีโดยมาก.

๖. เป็นผู้สามารถกล่าวสอนภิกษุณีได้.

๗. เป็นผู้ไม่เคยล่วงครุธรรม กับสตรีผู้ครองผ้ากาสายะบวช เฉพาะ พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ และ.

๘. มีพรรษาได้ ๒๐ หรือเกิน ๒๐.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 362

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ คุณ ๘ ประการนี้ให้เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณีได้.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ (ต่อ) จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๐๘] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ.. นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้

ที่ชื่อว่า ไม่ได้รับ สมมติ คือ สงฆ์ยังไม่ได้สมมติด้วยญัตติจจตุตถกรรมวาจา.

ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์สองฝ่าย.

[๔๐๙] บทว่า กล่าวสอน ความว่า ภิกษุกล่าวสอนด้วยครุธรรม ๘ ประการ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กล่าวสอนด้วยธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ กล่าวสอนภิกษุณีผู้อุปสมบทในภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ

[๔๑๐] ภิกษุผู้ได้สมมติแล้วนั้น พึงกวาดบริเวณ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ ปูอาสนะไว้ แล้วชวนเพื่อนภิกษุไปนั่งอยู่ด้วย. ภิกษุณีทั้งหลายพึงไป ณ ที่นั้น อภิวาทภิกษุนั้นแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ส่วนข้างหนึ่ง

ภิกษุผู้ได้รับสมมติแล้วนั้นพึงถามว่า พวกเธอพร้อมเพรียงกันแล้ว หรือ น้องหญิงทั้งหลาย

ถ้าพวกนางตอบว่า พวกดิฉันพร้อมเพรียงกันแล้ว เจ้าข้า

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 363

พึงถามว่า ครุธรรม ๘ ประการ ยังประพฤติกันอยู่หรือ น้องหญิง ทั้งหลาย

ถ้าพวกนางตอบว่า ยังประพฤติกันอยู่ เจ้าข้า

พึงสั่งว่า นี่เป็นโอวาท น้องหญิงทั้งหลาย

ถ้าพวกนางตอบว่า ไม่ได้ประพฤติกัน เจ้าข้า

พึงตักเตือนว่าดังนี้.

ครุธรรม ๘ ประการ

๑. ภิกษุณีอุปสมบทแล้วได้ ๑๐๐ พรรษา ต้องทำการกราบไหว้ การต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุผู้อุปสนบทแล้วในวันนั้น ธรรมนี้ อันภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ล่วงละเมิดตลอด ชีวิต

๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ธรรมแม้นี้อัน ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ล่วงละเมิดตลอดชีวิต

๓. ภิกษุณีต้องหวังธรรม ๒ ประการ คือ ถามอุโบสถ ๑ ไปรับ โอวาท ๑ จากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมแม้นนี้อันภิกษุณีก็ต้องสักการะเคารพ นับถือ บูชา ไม่ล่วงละเมิดตลอดชีวิต

๔. ภิกษุณีผู้จำพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในสงฆ์สองฝ่ายโดยสถาน ทั้ง ๓ คือ ด้วยได้เห็น ๑ ด้วยได้ฟัง ๑ ด้วยรังเกียจ ๑ ธรรมแม้นอันภิกษุณี ก็ต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ล่วงละเมิดตลอดชีวิต

๕. ภิกษุณีล่วงละเมิดครุธรรมแล้ว ต้องประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ สองฝ่าย ธรรมแม้นนี้อันภิกษุณีก็ต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ล่วง ละเมิดตลอดชีวิต

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 364

๖. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์สองฝ่าย เพื่อสิกขมานาผู้ ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการครบ ๒ ปีแล้ว ธรรมแม้นอันภิกษุณีก็ต้อง สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ล่วงละเมิดตลอดชีวิต.

๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุ โดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง ธรรมแม้นี้อันภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ล่วงละเมิด ตลอดชีวิต

๘ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ปิดทางไม่ให้ภิกษุณีทั้งหลายสอนภิกษุ เปิดทางให้ภิกษุทั้งหลายสอนภิกษุณีได้ ธรรมแม้นี้อันภิกษุณีก็ต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ล่วงละเมิดตลอดชีวิต

ถ้าพวกนางตอบว่า พวกดิฉันพร้อมเพรียงกันแล้ว เจ้าข้า

ภิกษุผู้ได้รับสมมติแล้วนั้น สั่งสอนธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ

ถ้าพวกนางตอบว่า ยิ่งเป็นพรรคอยู่ เจ้าข้า

ภิกษุผู้ได้รับสมมติแล้วนั้น กล่าวสอนครุธรรม ๘ ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ให้โอวาท สั่งสอนธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

บทภาชนีย์

อัฏฐารสปาจิตตีย์

[๔๑๑] ๑. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าไม่พร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๒. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์ ยิ่งไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 365

๓. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์ ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

[๔๑๒] ๔. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อม เพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าไม่พร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๕.. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๖. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

[๔๑๓า ๗. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าไม่พร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๘. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๙. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

[๔๑๔] ๑๐. กรรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๑. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์ พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๒. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์ พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 366

[๔๑๕] ๑๓. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๔. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๕. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

[๔๑๖] ๑๖. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๗. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์ พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๘. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์ พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

สัตตรสทุกกฏ

[๘๑๗] ๑. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ

๒. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์ ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ

๓. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์ ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติ ทุกกฏ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 367

[๔๑๘] ๔. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อม เพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ

๕. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ

๖. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๔๑๙] ๗. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ภิกษุณี สงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ

๘. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์ยัง ไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ

๙. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่ พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๘๒๐] ๑. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ

๑๑. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์ พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ

๑๒. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์ พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๔๒๑] ๑๓. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียง กัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 368

๑๔. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกัน ภิกษุ สงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ

๑๕. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกัน ภิกษุ สำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๔๒๒] ๑๖. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ภิกษุณี สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้อง อาบัติทุกกฏ

๑๗. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์ พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์พร้อม เพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๔๒๓] ภิกษุให้อุเทศ ๑ ภิกษุให้ปริปุจฉา ๑ ภิกษุอันภิกษุณีกล่าวว่า นิมนต์ท่านสวดเถิด เจ้าข้า ดังนี้ สวดอยู่ ๑ ภิกษุถามปัญหา ๑ ภิกษุถูกถาม ปัญหาแล้วแก้ ๑ ภิกษุกล่าวสอนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นอยู่ แต่พวกภิกษุณีฟังอยู่ ด้วย ๑ ภิกษุกล่าวสอนสิกขมานา ๑ ภิกษุกล่าวสอนสามเณรี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 369

ภิกขุนีวรรคที่ ๓ โอวาทสิกขาบทที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๑ แห่งภิกชุนีวรรค (๑) ดังต่อไปนี้.

[แก้อรรถ เรื่องภิกษุไม่ได้รับสมมติสั่งสอนนางภิกษุณี]

ในคำว่า ลาภิโน โหนติ นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้ นาง ภิกษุณีทั้งหลาย ย่อมไม่ถวายเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้ ถวายแก่พระเถระเหล่านั้น. แต่พวกกุลธิดาผู้ออกบวชจากตระกูลใหญ่ ย่อมเจาะจงพระอสีติมหาสาวกว่า พระเถระโน้นและโน้น ย่อมกล่าวสอน แล้วกล่าวสรรเสริญคุณ ที่มีอยู่. เช่นศีล สุตะ อาจาระ ชาติ และโคตรเป็นต้น ของพระอสีติมหาสาวกเหล่านั้น ตาม กระแสแห่งถ้อยคำของเหล่าญาติชนผู้มาสู่สำนักของตน ถามอยู่ว่า ข้าแต่แม่เจ้า พวกท่านได้รับโอวาท อุเทศ ปริปุจฉา จากที่ไหน ร ดังนี้. จริงอยู่ คุณ ที่มีอยู่เห็นปานนี้ ควรเพื่อจะกล่าว. เพราะเหตุนั้น พวกมนุษย์ผู้มีจิตเลื่อมใส จึงได้นำเอาลาภและสักการะเป็นอันมาก เช่นจีวรเป็นต้น ไปถวายแก่พระเถระ ทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกะทั้งหลายจึงกล่าวว่า ลาภิโน โหนฺติ จีวรฯปฯ ปริกฺขารํ ดังนี้.

สองบทว่า ภิกฺขุนิโย อุปสงฺกมิตฺวา มีความว่า ได้ยินว่า บรรดา นางภิกษุณีเหล่านั้น แม้ภิกษุณีรูปหนึ่งก็ไม่มาในสำนักของภิกษุฉัพพัคคีย์ เหล่านั้น, แต่พ่วกภิกษุฉัพพัคคีย์ผู้มีใจอันตัณหาในลาภฉุดลากไปเนืองๆ ได้ ไปสู่สำนักแห่งนางภิกษุณีเหล่านั้น. พระธรรมสังคาหกะทั้งหลาย หมายถึงการ ไปสู่สำนักภิกษุณีแห่งภิกษุฉัพพัคคีย์นั้น จึงได้กล่าวคำว่า ภิกฺขุนิโย อุปสงฺ- กมิตฺวา ดังนี้. แม้ภิกษุณีเหล่านั้น ได้กระทำตามถ้อยคำแห่งพวกภิกษุฉัพพัคคีย์


(๑) บาลี เป็นโอวาทวรรค.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 370

นั้นนั่นเทียว เพราะเป็นผู้มีจิตคลอนแคลน. ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกะ ทั้งหลาย จึงกล่าวคำว่า อถฺโข ตา ภิกฺขุนิโย ฯเปฯ นิสีทึสุ ดังนี้

บทว่า ติรจฺฉานกถํ ได้แก่ ถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์มีมากอย่าง มี ราชกถาเป็นต้นอันเป็นการขัดขวางแม้ในการไปสู่ทางสวรรค์.

บทว่า อิทฺโร แปลว่า สำเร็จแล้ว. อธิบายว่า มีประโยชน์ลึกซึ้ง มีรสมาก ประกอบด้วยลักษณปฏิเวธ.

ในคำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เพราะภิกษุ ฉัพพัคคีย์เหล่านั้น เมื่อถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่ากล่าวสอนภิกษุณีทั้งหลาย ดังนี้ จะพึงผูกอาฆาตในพระตถาคตเจ้า แล้ว เป็นผู้เข้าถึงอบาย เพราะเป็นผู้ยังไม่เห็นสัจจะ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงหลีกเลี่ยงความเป็นผู้เข้าถึงอบายนั้นแห่งภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านั้น ทรงประสงค์จะกัน ภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านั้น ไว้ภายนอกจากการกล่าวสอนภิกษุณี โดยอุบายอย่างอื่นนั่นเอง จึงทรงอนุญาตภิกขุโนวาทสมมตินี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต (ภิกขุโนวาทสมมติ) เพราะมีพระประสงค์จะกันภิกษุเหล่านั้น ไว้ภายนอกในสิกขาบทนี้อย่างนี้ เมื่อจะทรงทำต่อไป ข้างหน้า จึงตรัสดำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว อฏฺหงฺเคหิ สมนฺนาคตํ เป็นต้น. จริงอยู่ องค์ ๘ เหล่านี้ ยังไม่เคยมีแก่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แม้แต่ ความฝันแล.

[อธิบายองค์ ๘ ของภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณี]

บัณฑิตพึงทราบวิเคราะห์ในบทว่า สีลวา นั้นว่า ศีลของภิกษุนั้น มีอยู่ เหตุนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่าผู้มีศีล. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง แสดงศีลที่มีอยู่ และประการที่ศีลนั้นมีแก่ภิกษุนั้นอย่างไรจึงชื่อว่ามีอยู่ จึงได้ ตรัสคำว่า ปาฏิโมกฺขสํวรสํวุโต เป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 371

ในคำนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ สังวร คือ ปาฎิโมกข์ชื่อว่าปาฎิโมกขสังวร. ภิกษุผู้สำรวม คือประกอบด้วยปาฏิโมกขสังวรนั้น เหตุนั้น ภิกษุนั้น จึงชื่อว่า ผู้สำรวมด้วยปาฏิโมกขสังวร.

บทว่า วิหรติ แปลว่า เป็นไป. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส ไว้ในวิภังค์ว่า บทว่า ปาฏิโมกข์ ได้แก่ ศีลอันเป็นที่อาศัย เป็นเบื้องต้น เป็นจรณะ เป็นเครื่องสำรวม เป็นเครื่องระวัง เป็นหัวหน้า เป็นประธาน เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย. บทว่า สังวร ได้แก่ การไม่ล่วง ละเมิดทางกาย การไม่ล่วงละเมิดทางวาจา การไม่ล่วงละเมิดทางกายและวาจา. บทว่า เป็นผู้สำรวมแล้ว มีอธิบายว่า เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เช้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบ แล้วด้วยปาฏิโมกขสังวรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เป็นผู้สำรวมแล้วด้วย ปาฏิโมกขสังวร. บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติเป็นไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึง เรียกว่า อยู่ (๑)

บทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน มีความว่า ละอโคจรมีหญิงแพศยา เป็นต้น ด้วยอาจาระที่ป้องกันมิจฉาชีพ มีการไม่ให้ไม้ไผ่เป็นต้น แล้วถึง พร้อมด้วยโคจร มีสกุลที่สมบูรณ์ด้วยศรัทธาเป็นต้น ชื่อว่า ผู้ถึงพร้อมด้วย อาจาระและโคจร.

คำว่า อนุมตฺเตสุ วชฺเชส ภยทสฺสาวี ได้แก่ ผู้มีปรกติเห็นภัย ในโทษทั้งหลายมีประมาณเล็กน้อย มีคำอธิบายว่า มีปรกติเห็นโทษเหล่านั้น โดยความเป็นภัย.


(๑) อภิ. วิ. ๓๕/๓๓๑.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 372

คำว่า สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ มีความว่า บรรดาสิกขาบท ที่จัดเป็น ๓ อย่าง โดยความเป็นอธิศีลสิกขาเป็นต้น สมาทานถือเอาโดยชอบ ได้แก่ รับเอาโดยดี ศึกษาไม่ละทิ้งสิกขาบทนั้นๆ. นี้ความสังเขปในคำว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน นี้. ส่วนผู้ต้องการความพิสดารพึงถือเอาในอรรถกถา มัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนี ในอรรถกถาแห่งวิภังคปกรณ์ ชื่อสันโมหวิโนทนี หรือว่า จากวิสุทธิมัคคปกรณ์.

สุตะของภิกษุนั้นมาก; เหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า พหุสสุตะ. ภิกษุใด จำทรงสุตะไว้ เหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า สุตธระ. อธิบายว่า คำที่ภิกษุ นั้นได้ฟัง ชื่อว่า พหุสสุตะ, สุตะนั้นไม่ใช่แต่สักว่าฟังอย่างเดียว โดยที่แท้ ย่อมทรงสุตะนั้นด้วย. สุตะสั่งสมในภิกษุนั้น ดุจรัตนะที่เก็บไว้ในหีบ เหตุนั้น ภิกษุนั้น จึงชื่อว่า มีการสั่งสมสุตะ. ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง แสดงความไม่เสื่อมสูญไปแม้โดยกาลนาน แห่งสุตะที่ภิกษุนั้นทรงไว้ ดุจรัตนะ ที่เก็บรักษาไว้ในหีบ ฉะนั้น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงสุตะนั้นโดยสรูป จึงตรัส คำว่า เย เต ธมฺมา เป็นต้น. คำนั้น มีนัยดังกล่าวแล้ว ในเวรัญชกัณฑ์ นั่นแล แต่นี้เป็นคำตรัสย้ำในสิกขาบทนี้. ธรรมเห็นปานนั้น เป็นอันภิกษุ นั้นสดับแล้วมาก เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้น จึงชื่อว่า พหุสสุตะ ธรรมเหล่านั้น อันภิกษุนั้น ทรงจำไว้ได้ เหตุนั้น ภิกษุนั้น จึงชื่อว่า สุตธระ ธรรมเหล่านั้น อันภิกษุนั้นสั่งสมไว้ด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยทิฏฐิ เหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า สุตสันนิจยะ.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า วจสา ปริจิตา ได้แก่ อันภิกษุ นั้นกระทำให้คล่องปาก.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 373

บทว่า มนสานุเปกฺขิตา มีความว่า อันภิกษุเพ่งด้วยใจแล้ว ย่อม เป็นดุจสว่างไสวด้วยแสงประทีปพันดวงแก่เธอผู้ใคร่ครวญ.

สองบทว่า ทิฏฺิยา สุปฺปฏิวิทฺธา มีความว่า ธรรมทั้งหลายย่อม เป็นอันภิกษุนั้นแทงตลอดแล้วด้วยดี คือ กระทำให้ประจักษ์ชัดแล้วด้วยปัญญา โดยอรรถและโดยการณ์.

[ว่าด้วยภิกษุพหูสูต ๓ จำพวก]

ก็ภิกษุผู้ชื่อว่า พหุสสุตะนี้ มี ๓ จำพวก คือ นิสัยมุจจนกะ ผู้พอ พ้นนิสัย ๑ ปริสูปัฎฐาปกะ ผู้ให้บริษัทอุปัฏฐาก ๑ ภิกขุโนวาทกะ ผู้สั่งสอน ภิกษุณี ๑. บรรดาพหุสสุตะทั้ง ๓ นั้น ภิกษุผู้นิสัยมุจจนกะมีพรรษา ๕ โดย อุปสมบท พึงท่องมาติกา (๑) ๒ ให้ช่ำชอง คล่องปาก โดยกำหนดอย่างต่ำกว่า เขาทั้งหมด, พึงเรียนภาณวาร ๔ จากสุตตันตปิฏก เพื่อประโยชน์แก่ธรรมสวนะในวันปักษ์ทั้งหลาย, พึงเรียนกถามรรคอันหนึ่ง เช่นกับอันธกวินทสูตร มหาราหุโลวาทสูตร อัมพัฎฐสูตร เพื่อประโยชน์แก่การกล่าวธรรมเบ็ดเตล็ด แก่เหล่าชนผู้มาหา, พึงเรียนคาถาอนุโมทนา ๓ อย่าง เพื่อประโยชน์อนุโนทนา ในสังฆภัตงานมงคลและอวมงคล, พึงเรียนวินิจฉัยกรรมและมิใช่กรรม เพื่อ อุโบสถและปวารณาเป็นต้น พึงเรียนกรรมฐานอย่างหนึ่ง มีพระอรหัตเป็น ที่สุด ด้วยสามารถแห่งสมาธิก็ดี ด้วยสามารถแห่งวิปัสสนาก็ดี เพื่อกระทำ สมณธรรม, พึงเรียน (พุทธพจน์มีพระสูตร ๔ ภาณวารเป็นต้น) เพียงเท่านี้ แท้จริง ด้วยการเรียนเพียงเท่านี้ ภิกษุนี้ย่อมชื่อว่า เป็นพหุสสุตะ เป็นผู้ ปรากฏในทิศ ๔ ย่อมได้เพื่อยู่โดยความเป็นอิสระของตนในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง.


(๑) สารัตถทีปนี ๓/๒๙๒ แก้ว่า มาติกา ๒ ได้แก่ภิกขุมาติกา และ ภิกขุนีมาติกา. -ผู้ชำระ.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 374

ภิกษุผู้ปริสูปัฏฐาปกะ มีพรรษา ๑๐ โดยอุปสมบท พึงกระทำวิภังค์ ทั้ง ๒ ให้ช่ำชอง คล่องปาก เพื่อแนะนำบริษัทในอภิวินัย โดยกำหนดอย่างต่ำ ที่สุด. เมื่อไม่อาจ พึงกระทำ (วิภังค์ทั้ง ๒ คัมภีร์) ให้ควรแก่การผลัดเปลี่ยน กันกับภิกษุ ๓ รูป. พึงเรียนกรรมและมิใช่กรรม และขันธกวัตร. แต่เพื่อจะ แนะนำบริษัทในอภิธรรม ถ้าเป็นผู้กล่าวมัชฌิมนิกาย พึงเรียนมูลปัณณาสก์. ผู้กล่าวทีฆนิกาย พึงเรียนแม้มหาวรรค. ผู้กล่าวสังยุตตนิกาย พึงเรียน ๓ วรรค ข้างต้น หรือมหาวรรค. ผู้กล่าวอังคฺตตรนิกาย พึงเรียนครึ่งนิกาย ข้างต้น หรือข้างปลาย. ผู้ไม่สามารถ แม้จะเรียนข้างต้น ตั้งแต่ติกนิบาตไปก็ได้ แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ผู้จะเรียนเอานิบาตเดียวแม้จะเรียนเอาจตุกกนิบาต หรือปัญจกนิบาต ก็ได้. ผู้กล่าวชาดก พึงเรียนเอาชาดกพร้อมทั้งอรรถกถา. จะเรียนต่ำกว่าชาดกพร้อมทั้งอรรถกถา ไม่ควร. ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า จะเรียนเอาแม่ธรรมบท พร้อมทั้งวัตถุนิทาน ก็ควร.

ถามว่า จะเลือกเรียนเอาจากนิกายนั้นๆ มีทีฆนิกายเป็นต้น แม้เพียง มูลปัณณาสก์ ควรหรือไม่ควร.

ตอบว่า ท่านปฏิเสธไว้ในอรรถกถากุรุนทีว่า ไม่ควร. ในอรรถกถา นอกนี้ ไม่มีการวิจารณ์ไว้เลย. ในอภิธรรมท่านไม่ได้กล่าวว่า ควรเรียนเอา อะไร. ก็ภิกษุใดช่ำชองวินัยปิฏกและอภิธรรมปิฎกพร้อมทั่งอรรถกถา, แต่ไม่มี คัณฐะมีประการดังที่กล่าวในสุตตันปิฏก ภิกษุนั้น ย่อมไม่ได้เพื่อจะให้ บริษัทอุปัฏฐาก. แต่ภิกษุใดเรียนคัณฐะมีประมาณดังกล่าวแล้ว จากสุตตันตปิฎกบ้าง จากวินัยปิฏกบ้าง, ภิกษุนี้เป็นปริสูปัฏฐาปกะ เป็นพหุสสุตะ เป็น ทิศาปาโมกข์ ไปได้ตามความปรารถนา ย่อมได้เพื่อจะให้บริษัทอุปัฏฐาก.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 375

ส่วนภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณี พึงเรียนปิฎก ๓ พร้อมทั้งอรรถกถา. เมื่อ ไม่อาจ พึงทำอรรถกถาแห่งนิกายหนึ่ง บรรดา ๔ นิกายให้ชำนาญ. เพราะว่า ด้วยนิกายเดียว ก็จักสามารถเพื่อกล่าวแก้ปัญหาแม้ในนิกายที่เหลือได้. บรรดา ปกรณ์ ๗ พึงทำอรรถกถาแห่ง ๔ ปกรณ์ให้ชำนาญ. เพราะว่า ด้วยนัยที่ได้ ในอรรถกถาแห่ง ๔ ปกรณ์นั้น ก็จักสามารถเพื่อกล่าวแก้ปัญหาในปกรณ์ที่ เหลือได้. ส่วนวินัยปิฏกมีอรรถต่างๆ กัน มีเหตุต่างๆ กัน เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้สั่งสอนนางภิกษุณีพึงกระทำวินัยปิฎกนั้นพร้อมทั้งอรรถกถาให้ชำนาญ ทีเดียว. ก็ด้วยการเรียนสุตะมีประมาณเท่านี้ ภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณี ชื่อว่า เป็นผู้มีสุตะมากแล.

[ปาฏิโมกข์ทั้งสองของเธอมาดีแล้วโดยพิสดาร]

ส่วนคำว่า อุภยานิ โข ปนสฺส เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ต่างหาก ก็เพราะเมื่อพาหุสัจจะ แม้มีองค์ ๙ อย่างอื่นมีอยู่ครบทั้งหมด จะเว้นวินัยปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถาเสีย ย่อมไม่ควรทีเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิตฺถาเรน ได้แก่ พร้อมด้วยอุภโตวิภังค์.

บทว่า สฺวาคตานิ คือ มาแล้วด้วยดี. ก็ปาฎิโมกข์ทั้ง ๒ มาแล้ว โดยประการใด จึงจัดว่ามาแล้วด้วยดี เพื่อแสดงประการนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า สุวิภตฺตานิ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุวิภตฺตานิ ได้แก่ จำแนกได้ดี คือเว้น จากโทษ คือบทที่ตกหล่นภายหลังและสับสนกัน.

บทว่า สุปฺปวตฺตินี ได้แก่ ช่ำชอง คล่องปาก.

สองบทว่า สุวินิจฺฉิตา สุตฺตโส ได้แก่ มีวินิจฉัยดีแล้ว ด้วยอำนาจ แห่งสูตรที่จะพึงนำมาจากขันธกะและบริวาร.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 376

บทว่า อนุพฺยชนโส ได้แก่ วินิจฉัยได้เรียบร้อย โดยความ บริบูรณ์แห่งอักขรบท และ โดยอำนาจแห่งสูตร คือไม่ขาดตก ไม่มีอักษรที่ ผิดพลาด. อรรถกถา ท่านแสดงไว้ด้วยบทว่า โดยอนุพยัญชนะนี้ จริงอยู่ วินิจฉัยนี้ ย่อมมีมาจากอรรถกถา.

บทว่า กลฺยาณวาโจ มีความว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยวาจาของชาวเมือง ซึ่งมีบทและพยัญชนะกลมกล่อม ตามคำที่สมควรแก่การจัดเป็นสถิลและธนิต เป็นต้น คือ ประกอบด้วยวาจาให้รู้แจ้งซึ่งอรรถอันสละสลวย ไม่มีโทษ.

บทว่า กลฺยาณวากฺกรโณ แปลว่า มีเสียงอ่อนหวาน จริงอยู่ มาตุคาม ย่อมเป็นผู้ยินดีในความสมบูรณ์แห่งเสียง เพราะเหตุนั้น หล่อน จึงดูแคลนคำพูดที่เว้นจากความสมบูรณ์แห่งเสียง แม้ที่มีบทและพยัญชนะ กลมกล่อม.

คำว่า เยภุยฺเยน ภิกขุนีนํ ปิโย โหติ มนาโป มีความว่า ชื่อว่า ภิกษุผู้เป็นที่รักแห่งภิกษุณีทั้งหมด หาได้ยาก. แต่ต้องเป็นที่รักเป็นที่จำเริญใจ ของพวกภิกษุณีผู้เป็นพหูสูต เป็นบัณฑิต เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลและ อาจาระ.

คำว่า ปฏิพโล โหติ ภิกฺขุนิโย โอวทิตุํ มีความว่า เมื่อแสดง สูตรและเหตุ ชื่อว่าเป็นผู้สามารถ เพื่อจะขู่ด้วยภัยในวัฏฏะ แล้วกล่าวสอน ภิกษุณีทั้งหลาย คือ เมื่อแสดงธรรมแก่ภิกษุณีเหล่านั้น.

บทว่า ถาสายวตฺถวสนาย แปลว่า ผู้นุ่งผ้าย้อมฝาด.

บทว่า ครุธมฺมํ มีความว่า ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ ไม่เคยต้องกาย สังสัคคะกับภิกษุณี หรือว่าไม่เคยต้องเมถุนธรรมในนางสิกขมานาและสามเณรี จริงอยู่ มาตุคาม ระลึกถึงกรรมที่ภิกษุกระทำไว้ในก่อน ย่อมไม่ทำความ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 377

เคารพในธรรมเทศนา ของภิกษุแม้ผู้ตั้งอยู่ในสังวร. อีกอย่างหนึ่ง หล่อนจะ ยังความคิดให้เกิดขึ้นในอสัทธรรมนั่นเอง.

บทว่า วีสติวสฺโส วา มีความว่า ผู้มีพรรษา ๒๐ โดยอุปสมบท หรือว่า มีพรรษาเกินกว่า ๒๐ แต่อุปสมบทนั้น. ภิกษุนั้น แม้จะคลุกคลีอยู่ กับวัตถุที่เป็นข้าศึกกัน มีรูปเห็นปานนั้นบ่อยๆ ก็จะไม่พลันถึงความเสียศีล เหมือนภิกษุหนุ่ม. ภิกษุนั้นพิจารณาดูวัยของตนแล้ว ย่อมเป็นผู้มีกำลังพอที่ จะขจัดฉันทราคะ ในฐานะอันไม่สมควรเสีย. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วีสติวสฺโส วาโหติ อติเรกวสติวสฺโส วา.

ก็บรรดาองค์ ๘ เหล่านี้ บัณฑิตพึงทราบว่า คำว่า เป็นผู้มีศีลเป็นต้น เป็นองค์ที่ ๑, คำว่า เป็นพหูสูตเป็นต้น เป็นองค์ที่ ๒, คำว่า ก็ (ปาฏิโมกข์) ทั้ง ๒ แลของเธอ เป็นต้น เป็นองค์ที่ ๓, คำว่าเป็นผู้มีวาจาไพเราะ มีเสียง อ่อนหวาน เป็นองค์ที่ ๔, คำว่า เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของพวกนางภิกษุณี โดยมาก เป็นองค์ที่ ๕, คำว่า เป็นผู้สามารถสั่งสอนพวกนางภิกษุณี เป็น องค์ที่ ๖, คำว่า ก็ข้อนั้นหามิได้แลเป็นต้น เป็นองค์ที่ ๗, คำว่า มีพรรษา ๒๐ เป็นต้น เป็นองค์ที่ ๘.

บทว่า ตฺติจตุตฺเถน ได้แก่ (ด้วยญัตติจตุตถกรรม) มีนัยดังกล่าว แล้วในเรื่องก่อนๆ นั่น แหละ.

[ว่าด้วยคุณธรรม ๘ ของนางภิกษุณี]

บทว่า ครุธมฺเมหิ คือด้วยธรรมอันหนัก จริงอยู่ ธรรมเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ครุธรรม เพราะเป็นธรรมอันภิกษุณีทั้งหลาย พึงกระทำความเคารพรับรอง.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 378

ในคำว่า เอกโต อุปสมฺปนฺนา นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้. ภิกษุ ใด ย่อมกล่าวสอนด้วยครุธรรมแก่ภิกษุณีผู้อุปสมบท ในสำนักแห่งภิกษุณี ทั้งหลายฝ่ายเดียว เป็นทุกกฏแก่ภิกษุนั้น. แต่เป็นอาบัติตานวัตถุทีเดียว (แก่ ภิกษุผู้สั่งสอนนางภิกษุณี) ผู้อุปสมบทในสำนักของพวกภิกษุ.

สองบทว่า ปริเวณํ สมฺมชฺชิตฺวา มีความว่า ถ้าบริเวณไม่เตียน หรือแม้เตียนแล้วในเวลาเช้า กลับรกเพราะหญ้า และใบไม้เป็นต้น และเกิด มีทรายกระจุยกระจาย เพราะถูกเท้าเหยียบย่ำ, ภิกษุผู้ได้รับสมมติพึงกวาด. จริงอยู่ ภิกษุณีทั้งหลายเหล่านั้น เห็นบริเวณนั้นไม่เตียน พึงเป็นเหมือนผู้ไม่ อยากฟัง ด้วยสำคัญว่า พระผู้เป็นเจ้าไม่ชักนำแม้พวกภิกษุหนุ่ม ผู้เป็นนิสิตก์ ของตน ในวัตรปฏิบัติ, ดีแต่แสดงธรรมอย่างเดียว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี พระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า ปริเวณํ สมฺมชฺชิตฺวา.

ก็ภิกษุณีทั้งหลาย เดินมาจากภายในบ้าน ย่อมกระหายน้ำและเหน็ด เหนื่อย. ภิกษุณีเหล่านั้น จึงหวังเฉพาะอยู่ซึ่งน้ำดื่ม และการกระทำให้มือ เท้า และหน้าเย็น. และเมื่อน้ำนั้นไม่มี ภิกษุณีเหล่านั้น เกิดความไม่เคารพ โดยนัยก่อนนั่นแล แล้วเป็นผู้ไม่ประสงค์จะพึงธรรม ก็ได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ปานียํ ปริโภชนียํ อุปฏฺเปตฺวา.

บทว่า อาสนํ มีความว่า ก็ภิกษุผู้ได้รับสมมตินั้น พึงจัดทั้งที่นั่ง มีชนิดตั่งเล็ก ตั้งแผ่นกระดาน เสื่ออ่อน และเสื่อลำแพนเป็นต้น โดยที่สุด แม้กิ่งไม่พอจะหักได้ ด้วยติดอย่างนี้ว่า นี้ จักเป็นที่นั่งของภิกษุณีเหล่านั้น แล้วพึงปรารถนาบุรุษผู้รู้เดียงสาเป็นเพื่อน เพื่อเปลื้องอาบัติในเพราะการแสดง ธรรม เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทุติยํ คเหตฺวา ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 379

บทว่า นิสีทิตพฺพํ มีความว่า ไม่พึงนั่งในที่สุดแดนวิหาร โดย ที่แท้ พึงนั่งในสถานชุมนุมแห่งคนทั่วไป ใกล้ประตูแห่งโรงอุโบสถหรือโรง ฉันในท่ามกลางวิหาร.

บทว่า สมคฺคตฺถ มีความว่า ท่านทั้งหลายมาพร้อมเพรียงกันหมด แล้วหรือ?

บทว่า วตฺตนฺติ แปลว่า (ครุธรรม ๘) ยังจำกันได้อยู่หรือ? อธิบายว่า ชำนาญ คล่องปากหรือ?

บทว่า นิยฺยาเทตพฺโพ แปลว่า พึงมอบให้.

บทว่า โอสาเรตพฺพา ได้แก่ พึงบอกบาลี.

คำว่า วสฺสสตูปสมฺปนฺนาย เป็นต้น เป็นคำแสดงบาลีที่ภิกษุผู้ได้ รับสมมติจะพึงบอก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สามีจิกมฺมํ ได้แก่ วัตรอันสมควร มีการหลีกทางให้ พัดวี และถามโดยเอื้อเฟื้อด้วยน้ำดื่มเป็นต้น. ก็บรรดาวัตร มีการอภิวาทเป็นต้นนี้ ชื่อว่าการกราบไหว้ภิกษุ อันภิกษุณีพึงกระทำแท้ ภายในบ้านก็ดี นอกบ้านก็ดี ภายในวิหารก็ดี ภายนอกวิหารก็ดี ในละแวก บ้านก็ดี ในตรอกก็ดี โดยที่สุดแม้เมื่อการขับไล่ เพราะเหตุพระราชาเสด็จมา เป็นไปอยู่ก็ดี เมื่อฝนกำลังตกก็ดี ในพื้นดินมีโคลนตมเป็นต้น ก็ดี มีร่มและ บาตรอยู่ในมือก็ดี ถูกช้างและม้าเป็นต้น ไล่ติดตามก็ดี. ภิกษุณีเห็นพวกภิกษุ เข้าสู่ที่ภิกขาจาร เดินเป็นแถวเนื่องกันเป็นแถวเดียว จะไหว้ในที่แห่งเดียว ด้วยกล่าวว่า ดิฉันไหว้ พระคุณเจ้า ดังนี้ ก็ควร. ถ้าภิกษุทั้งหลายเดินเว้น ระยะในระหว่าง ห่างกัน ๑๒ ศอก พึงแยกไหว้, จะไหว้ภิกษุทั้งหลายผู้นั่งอยู่


(๑) โยขนาปาฐะ ๒/๔๑ เป็น ฉตฺตปตฺตหตฺถายปิ ... ผู้ชำระ.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 380

ในที่ประชุมใหญ่ ในทำแห่งเดียวเท่านั้นก็ได้. แม้ในอัญชลีกรรมก็นัยนี้. ก็ ภิกษุณีนั่งแล้วในที่ใดที่หนึ่งพึงกระทำการลุกรับ พึงกระทำกรรมนั้นๆ ในที่ และเวลาอันสมควรแก่สามีจิกรรมนั้นๆ.

บทว่า สกฺกตฺวา คือ กระทำโดยประการที่ธรรมซึ่งคนทำแล้ว จะ เป็นอันทำแล้ว ด้วยดี.

บทว่า ครุกตฺวา คือ ให้เกดความเคารพในกรรมนั้น.

บทว่า มาเนตฺวา คือ กระทำความรักด้วยใจ (จริง).

บทว่า ปูเชตฺวา คือ บูชาด้วยการทำกิจ ๓ อย่างเหล่านี้แหละ.

บทว่า นาติกฺกมนีโย คือ อันภิกษุณีไม่พึงล่วงละเมิด.

[ภิกษุณีไม่พึงจำพรรษาในอาวาสไม่มีภิกษุ]

ในคำว่า อภิกฺขุเก อาวาเส นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ถ้าภิกษุ ทั้งหลายผู้ให้โอวาทไม่ได้อยู่ในโอกาสภายในระยะกึ่งโยชน์จากสำนักแห่งภิกษุณะ อาวาสนี้ ชื่อว่า อาวาสไมีมีภิกษุ. ภิกษุณีทั้งหลาย ไม่พึงอยู่จำพรรษาใน อาวาสไม่มีภิกษุนี้. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อาวาสที่ภิกษุณี ทั้งหลาย ไม่อาจจะไปเพื่อโอวาท หรือเพื่ออยู่ร่วมกัน ชื่อว่า ไม่มีภิกษุ และ ไม่อาจเพื่อจะไปที่อื่นจากสำนักภิกษุณีนั้นในภายหลังภัต ฟังธรรมแล้วกลับมา. ถ้าหมู่ญาติหรือพวกอุปัฏฐาก กล่าวกะภิกษุณีทั้งหลายผู้ไม่ประสงค์จะอยู่ จำพรรษาในอาวาสนั้นอย่างนี้ว่า ขอจงอยู่เถิด แม่เจ้า พวกผมจักนำภิกษุ ทั้งหลายมา. ดังนี้ ควรอยู่.

แต่ถ้า ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะอยู่ จำพรรษาในประเทศ มี ประมาณดังเรากล่าวแล้ว มาพักค้างแม้ที่ปะรำกิ่งไม้คืนหนึ่ง ถูกพวกชาวบ้าน

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 381

นิมนต์ไว้ จึงไม่ประสงค์จะไป, * แม้ด้วยความปรารถนาที่ภิกษุจะมาอยู่ จำพรรษาเพียงเท่านี้ ก็ชื่อว่า อาวาสมีภิกษุ. พวกภิกษุณีจะเข้าจำพรรษาใน อาวาสนี้ ก็ควร. และเมื่อเข้าพรรษา พึงขอร้องภิกษุทั้งหลายในวัน ๑๓ ค่ำ แห่งปักษ์นั้นแลว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! พวกดิฉันจักอยู่ด้วยโอวาทของท่าน ทั้งหลาย.

สถานที่อยู่ของภิกษุทั้งหลายอยู่ในที่กึ่งโยชน์ โดยทางตรงจากสำนัก ภิกษุณีใด มีอันตรายแห่งชีวิต และอันตรายแห่งพรหมจรรย์ แก่พวกภิกษุณี ผู้ไปโดยทางนั้น, เมื่อไปโดยทางอื่น มีระยะเกินกว่ากึ่งโยชน์, อาวาสนี้ ย่อม ทั้งอยู่ในฐานะแห่งอาวาสไม่มีภิกษุเหมือนกัน. แต่ถ้าว่ามีสำนักภิกษุณีอื่น อยู่ ในที่ปลอดภัยไกลจากสำนักภิกษุณีนั้น ประมาณคาวุตหนึ่ง, ภิกษุณีเหล่านั้น พึงขอร้องภิกษุณีพวกนั้น แล้วกลับไปขอร้องภิกษุทั้งหลายว่า ข้าแต่พระผู้ เป็นเจ้าทั้งหลาย! มีอันตรายในทางตรงแก่พวกดิฉัน, เมื่อไปทางอื่นมีระยะ เกินกว่ากึ่งโยชน์, แต่ในระหว่างทาง มีสำนักภิกษุณีอื่นไกลจากสำนักของพวก ดิฉันประมาณคาวุตหนึ่ง พวกดิฉันจักอยู่ด้วยโอวาทที่มาแล้ว ในสำนักภิกษุณี นั้นจากสำนักพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นพึงรับรอง. ตั้งแต่นั้นไป ภิกษุณีเหล่านั้น พึงมาสู่สำนักภิกษุณีนั้นกระทำอุโบสถ, หรือว่าเยี่ยมภิกษุณี เหล่านั้นแล้ว กลับไปยังสำนักของ ในนั่นแหละ กระทำอุโบสถก็ได้.

ก็ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลายใคร่จะอยู่จำพรรษา มายังวิหารในวัน ๑๘ ค่ำ และพวกภิกษุณีถามว่า พระผู้เป็นเจ้าจักอยู่จำพรรษาในที่นี้หรือ? แล้วกล่าว ว่า เออ ภิกษุณีเหล่านั้น กราบเรียนต่อไปว่า พระผู้เป็นเจ้า! ถ้าอย่างนั้น แม้พวกดิฉันก็จักอยู่อาศัยโอวาทของท่านทั้งหลาย ดังนี้, ในวันรุ่งขึ้น ไม่เห็น


(๑) แปลตามฎีกาและโยชนา ๒/๔๑.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 382

ความสมบูรณ์แห่งอาหารในบ้าน คิดว่า เราไม่อาจอยู่ในที่นี้ได้ จึงหลีกไป ถ้าว่า ภิกษุณีเหล่านั้น ไปสู่วิหารในวันอุโบสถ ไม่เห็นภิกษุเหล่านั้น. ถามว่า ในอาวาสเช่นนี้ จะพึงทำอย่างไร? แก้ว่า ภิกษุทั้งหลายอยู่ในอาวาสใด พึง ไปเข้าพรรษาในวันเข้าพรรษาหลัง ณ อาวาสนั้น, หรือว่า ทำความผูกใจว่า ภิกษุทั้งหลายจักมาเข้าพรรษาในวันเข้าพรรษาหลัง แล้วพึงอยู่ด้วยโอวาทใน สำนักของพวกภิกษุผู้มาแล้ว.

ก็ถ้าว่า แม้ในวันเข้าปัจฉิมพรรษาก็ไม่มีภิกษุบางรูปมา, และใน ระหว่างทาง มีราชภัย โจรภัย หรือทุพภิกขภัย, เป็นอาบัติแก่ภิกษุณีผู้อยู่ ในอาวาสไม่มีภิกษุ, แม้ผู้ขาดพรรษาไป ก็เป็นอาบัติ, พึงรักษาอาบัติ มีการ ขาดพรรษาเป็นเหตุนั้นไว้. จริงอยู่ ในอันตรายทั้งหลาย ท่านปรับเป็นอนาบัติ แก่ภิกษุณีผู้อยู่ในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ.

ถ้าภิกษุทั้งหลายมาเข้าพรรษาแล้ว หลีกไปเสียอีก ด้วยเหตุบางอย่าง ก็ตาม, พวกภิกษุณีพึงอยู่ต่อไป. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุณีผู้มีพวกภิกษุเข้าพรรษาแล้ว หลีกไปก็ดี สึกเสียก็ดี กระทำกาละเสียก็ดี ไปเข้าฝักฝ่ายอื่นก็ดี มีอันตรายก็ดี ผู้เป็นบ้าก็ดี ผู้เป็นต้น บัญญัติก็ดี, แต่เมื่อจะปวารณาพึงไปปวารณาในอาวาสที่มีพวกภิกษุ.

บทว่า อนฺวฑฺฒมาสํ แปลว่า ทุกๆ กึ่งเดือน.

สามบทว่า เทฺว ธมฺมา ปจฺจาสึสิตพฺพา คือ พึงปรารถนา ธรรม ๒ อย่าง.

บทว่า อุโปสถปุจฺฉกํ แปลว่า ถามถึงอุโบสถ ในการถามถึง อุโบสถนั้น ในอุโบสถ ๑๕ ค่ำ พึงไปถามอุโบสถในวัน ๑๔ ค่ำแห่งปักษ์ ในอุโบสถ ๑๔ ค่ำ พึงไปถามอุโบสถในวัน ๑๓ ค่ำ แห่งปักษ์. แต่ในมหา-

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 383

ปัจจรีกล่าวว่า พึงไปถามในดิถีที่ ๑๓ ค่ำแห่งปักษ์นั่นแลว่า อุโบสถนี้ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ. ในวันอุโบสถ พึงเข้าไปเพื่อประโยชน์แก่โอวาท ก็ตั้งแต่วัน แรมค่ำ ๑ ไป พึงไปเพื่อประโยชน์แก่การฟังธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงประทานโอกาสแก่กรรมอื่น ทรงบัญญัติการไปติดต่อกันในสำนักของ ภิกษุทั้งหลายเท่านั้น แก่พวกภิกษุณีด้วยประการอย่างนั้น. เพราะเหตุไร? เพราะ มาตุคามมีปัญญาน้อย. จริงอยู่ มาตุคามมีปัญญาน้อย การฟังธรรมเป็นนิตย์ มีอุปการะมากแก่เธอ (แก่มาตุคามนั้น). และเมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุณีทั้งหลาย จักไม่กระทำมานะว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ย่อมรู้ธรรมที่พวกเรารู้อยู่เท่านั้น แล้วจักเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุสงฆ์ กระทำการบรรพชาให้มีประโยชน์. เพราะ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงทำ (การบัญญัติ) อย่างนั้น. ฝ่ายภิกษุณี ทั้งหลาย สำคัญว่า เราทั้งหลายจักปฏิบัติตามที่ทรงพร่ำสอน จึงเข้าไปยังวิหาร ไม่ขาดทั้งหมดทีเดียว.

[ว่าด้วยภิกษุณีสงฆ์เข้าไปหาภิกษุสงฆ์เพื่อรับโอวาท]

สมจริงดังคำที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ก็โดยสมัยนั่นแล ภิกษุณีสงฆ์ทั้งหมด ย่อมไปรับโอวาท. พวกมนุษย์ย่อมโพนทะนา ติเตียน ยกโทษว่า ภิกษุณีเหล่านี้ เป็นเมียของภิกษุพวกนี้, เหล่านี้ เป็นชู้สาวของภิกษุ เหล่านั้น, บัดนี้ ภิกษุเหล่านี้จักอภิรมย์กับภิกษุณีเหล่านี้ ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย จึงกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุณีสงฆ์ ไม่พึงไปรับโอวาททั้งหมด ถ้าไปรับ (ทั้งหมด) ต้องทุกกฏ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราอนุญาตให้ภิกษุณี ๔ - ๕ รูปไปรับโอวาท ดังนี้. ถึงอย่างนั้น พวกชาวบ้านก็โพนทะนาอีกเหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอีกว่า ภิกษุทั้งหลาย! เราอนุญาตให้ภิกษุณี ๒ - ๓ รูปไปรับโอวาท ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 384

เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุณีสงฆ์พึงขอร้องภิกษุณี ๒ - ๓ รูปแล้วส่งไปว่า ไปเถิดแม่เจ้า! จงขอการเข้าไปรับโอวาทกะภิกษุสงฆ์ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! ภิกษุณีสงฆ์ขอการเข้าไปเพื่อรับโอวาทกะภิกษุสงฆ์ ดังนี้. ภิกษุณีเหล่านั้น พึงไปยังอาราม แต่นั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ผู้รับโอวาทไหว้แล้ว, ภิกษุณี รูปหนึ่งพึงกราบเรียนภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! ภิกษุณีสงฆ์ ย่อมไหว้เท้าแห่งภิกษุสงฆ์ และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า นัยว่า ภิกษุณีสงฆ์จงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท ดังนี้.

ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้แสดงปาฏิโมกข์ แล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ! ภิกษุณีสงฆ์ย่อมไหว้เท้าของภิกษุสงฆ์ และขอการเข้ามาเพื่อรับ โอวาท, ท่านขอรับ! นัยว่า ภิกษุณีสงฆ์ จงได้ซึ่งการเข้ามาเพื่อรับโอวาท ดังนี้. ภิกษุผู้แสดงปาฏิโมกข์พึงกล่าวว่า มีภิกษุบางรูปที่สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ สั่งสอนภิกษุณีหรือๆ ถ้ามีภิกษุบางรูปที่สงฆ์สมมติให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี, ภิกษุผู้แสดงปาฏิโมกข์ พึงกล่าวว่า ภิกษุชื่อโน้น สงฆ์สมมติให้เป็นผู้สั่งสอน ภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จงเข้าไปหาภิกษุนั้น ดังนี้.

ถ้าไม่มีภิกษุบางรูปที่สงฆ์สมมติให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี, ภิกษุผู้แสดง ปาฏิโมกข์ พึงกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุรูปไหน จะสามารถสั่งสอนพวกภิกษุณี ถ้ามีภิกษุบางรูปอาจจะสั่งสอนพวกภิกษุณีและภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ พึงสมมติภิกษุนั้น แล้วกล่าวว่า ภิกษุชื่อโน้น สงฆ์สมมติให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี, ภิกษุณีสงฆ์จงเข้าไปหาภิกษุนั้นเถิด.

แต่ใครๆ ก็ไม่สามารถจะสั่งสอนพวกภิกษุณี, ภิกษุผู้แสดงปาฏิโมกข์ พึงกล่าวว่า ไม่มีภิกษุบางรูปที่สงฆ์สมมติให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี, ภิกษุณีสงฆ์ จงให้ถึงพร้อมด้วยกรรมอันน่าเลื่อมใสเถิด. จริงอยู่ ด้วยคำเพียงเท่านี้ ศาสนา

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 385

สงเคราะห์ด้วยใครสิกขาทั้งสิ้น เป็นอันเธอบอกแล้ว. ภิกษุนั้นรับว่า ดีละ แล้วพึงบอกแก่ภิกษุณีทั้งหลายในวันแรมค่ำ ๑.

แม้ภิกษุณีสงฆ์ พึงส่งภิกษุณีเหล่านั้นไปว่า ไปเถิดแม่เจ้า! จงถามว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! ภิกษุณีสงฆ์ย่อมได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาทหรือ? ภิกษุณี เหล่านั้นรับว่า ดีละ พระแม่เจ้า! แล้วไปยังอาราม เข้าไปหาภิกษุนั้น พึง กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! ภิกษุณีสงฆ์ย่อมได้การเข้ามาเพื่อรับ โอวาทหรือ? ภิกษุนั้น พึงกล่าวว่า ไม่มีภิกษุบางรูปที่สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ สั่งสอนภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์ จงให้ถึงพร้อมด้วยกรรมอันน่าเลื่อมใสเถิด. ภิกษุณี เหล่านั้น พึงรับว่า ดีละ พระผู้เป็นเจ้า!

ก็ท่านกล่าวคำพหูพจน์ว่า ตาหิ ด้วยอำนาจแห่งภิกษุณีทั้งหลายผู้มา พร้อมกัน. ก็บรรดาภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีรูปหนึ่ง พึงกล่าวและพึงรับ. ภิกษุณีนอกนี้ พึงเป็นเพื่อนของภิกษุณีนั้น. ก็ถ้าว่าภิกษุณีสงฆ์ก็ดี ภิกษุสงฆ์ ก็ดี ไม่ครบ (องค์เป็นสงฆ์). หรือทั้ง ๒ ฝ่ายเป็นเพียงคณะหรือบุคคลเท่านั้น ก็ดี ภิกษุณีรูปเดียวถูกส่งไปจากสำนักภิกษุณีมากแห่ง เพื่อประโยชน์แก่โอวาท ก็ดี. ในคำว่า ภิกฺขุนีสงฺโฆ วา น ปูรติ เป็นต้นนั้น มีพจนานุกรม ดังต่อไปนี้

[ลำดับคำขอทั้งสองฝ่ายที่ครบสงฆ์และไม่ครบสงฆ์]

๑. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! ภิกษุณีทั้งหลาย ย่อมไหว้เท้าของ ภิกษุสงฆ์ และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท, ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ได้ยินว่า พวกภิกษุณีจงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท.

๒. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ดิฉันไหว้เท้าภิกษุสงฆ์ และขอการ เข้ามาเพื่อรับโอวาท, ได้ยินว่า ดิฉันจงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 386

๓. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! ภิกษุณีสงฆ์ ไหว้เท้าพระผู้เป็นเจ้า ทั้งหลาย และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! ได้ยินว่า ภิกษุณีสงฆ์จงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท.

๔. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! ภิกษุณีทั้งหลายไหว้เท้าพระผู้เป็นเจ้า ทั้งหลาย และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท. ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! ได้ยินว่า ภิกษุณีทั้งหลาย จงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท.

๕. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! ดิฉันย่อมไหว้เท้าพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท, ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! ดิฉันจงได้การเข้ามา เพื่อรับ โอวาท.

๖. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! ภิกษุณีสงฆ์ย่อมไหว้เท้าพระผู้เป็นเจ้า และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท, ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! ได้ยินว่า ภิกษุณีสงฆ์ จงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท.

๗. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! ภิกษุณีทั้งหลาย ย่อมไหว้เท้าพระผู้- เป็นเจ้า และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท, ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! ภิกษุณีทั้งหลาย จงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท.

๘. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ดิฉันไหว้เท้าพระผู้เป็นเจ้า และขอการ เข้ามาเพื่อรับโอวาท, ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! ดิฉันจงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท

๙. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! ภิกษุณีสงฆ์ไหว้ ภิกษุณีทั้งหลายไหว้ และภิกษุณีไหว้เท้าของภิกษุสงฆ์ ของพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายของพระผู้เป็นเจ้า และขอๆ ๆ การเข้ามาเพื่อรับโอวาท ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! นัยว่า ภิกษุสงฆ์ จงได้ ... นัยว่า ภิกษุณีทั้งหลายจงได้ ... และนัยว่า ภิกษุณีจงได้การเข้ามา เพื่อรับโอวาท. (๑)


(๑) ข้อนี้ท่านละเป็นเปยยาลไว้ ทางที่ถูกต้องแยกเปลเหมือนข้างต้น. - ผู้ชำระ.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 387

ภิกษุนั้น พึงกล่าวในเวลาทำอุโบสถอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ! ภิกษุณีทั้งหลายย่อมไหว้เท้าภิกษุสงฆ์ และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท, ข้าแต่ ผู้เจริญ! ได้ยินว่า ภิกษุณีทั้งหลายจงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท.

ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ! ภิกษุณีไหว้เท้าภิกษุสงฆ์ และขอการเข้ามา เพื่อรับโอวาท. ข้าแต่พระผู้เจริญ! ได้ยินว่า ภิกษุณีจงได้การเข้ามาเพื่อรับ โอวาท.

ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ! ภิกษุณีสงฆ์ ฯลฯ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ! ภิกษุณีไหว้เท้าของท่านผู้มีอายุทั้งหลาย และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท, ข้าแต่ ท่านผู้เจริญ! ได้ยินว่า ภิกษุณี จงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท.

ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ! ภิกษุณีสงฆ์ไหว้ ภิกษุณีทั้งหลายไหว้ และ ภิกษุณีไหว้เท้าของภิกษุสงฆ์ ของท่านผู้มีอายุทั้งหลาย และขอๆ ๆ การเข้ามา เพื่อรับโอวาท, นัยว่า ภิกษุณีสงฆ์จงได้ ... นัยว่า ภิกษุณีทั้งหลายจงได้ ... และนัยว่า ภิกษุณีจงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท. *

ฝ่ายภิกษุผู้สวดปาฏิโมกข์ ถ้ามีภิกษุผู้ที่สงฆ์สมมติ พึงกล่าวโดยนัย ก่อนนั่นแหละว่า ภิกษุณีสงฆ์ จงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น, ภิกษุณีทั้งหลาย จง เข้าไปหาภิกษุรูปนั้น, ภิกษุณีจงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น, ดังนี้. ถ้าภิกษุผู้ได้รับ สมมติไม่มี, พึงกล่าวว่า ภิกษุณีสงฆ์จงให้ถึงพร้อมด้วยกรรมที่น่าเลื่อมใสเถิด ภิกษุณีทั้งหลายจงให้ถึงพร้อม ... ภิกษุณีจงให้ถึงพร้อมด้วยกรรมทีน่าเลื่อมใส เถิด. ภิกษุผู้รับโอวาทพึงนำกลับไปบอกเหมือนอย่างนั้น ในวันปาฏิบท.

ก็ภิกษุอื่น เว้นภิกษุผู้เป็นพาล ผู้อาพาธ และผู้เตรียมจะไปเสีย ถ้าแม้นเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร จะไม่รับโอวาทไม่ได้. สมจริงดังคำที่พระผู้มี


(๑) ข้อนี้เวลาแปลจริงต้องแยกแปลเป็นข้อๆ เหมือนข้างต้น. - ผู้ชำระ.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 388

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายที่เหลือ รับโอวาท เว้นภิกษุผู้เป็นพาล ผู้อาพาธ ผู้เตรียมจะไปเสีย๑.

บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้มีความประสงค์จะไปในวันอุโบสถที่ ๑๔ - ๑๕ ค่ำ หรือในวันปาฏิบท ชื่อว่า ผู้เตรียมจะไป ถึงจะไปในวันแห่ง ปักษ์ที่ ๒ จะไม่รับ ก็ไม่ได้ คือ ต้องอาบัติที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุจะไม่รับโอวาทไม่ได้, ภิกษุใดไม่รับ. ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ๒ ดังนี้นั่นแล.

ภิกษุรับโอวาทแล้ว ไม่บอกในโรงอุโบสถ หรือไม่นำกลับไปบอก แก่ภิกษุณีทั้งหลายในวันปาฏิบท ย่อมไม่ควร. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุจะไม่บอกโอวาทไม่ได้. ภิกษุใดไม่บอก, ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ๓. แม้คำอื่นก็ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุจะไม่ พึงนำโอวาทไปบอกไม่ได้, ภิกษุใดไม่นำไปบอก. ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ๔ ดังนี้.

บรรดาภิกษุผู้นำโอวาทไปบอกเหล่านั้น ภิกษุผู้ถืออรัญญิกธุดงค์ พึง ทำการนัดหมายเพื่อนำไปบอก. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร รับโอวาทและทำ การนัดหมายว่า เราจักนำไปบอก๕ ในที่นี้ ดังนี้. เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้อยู่ป่า เป็นวัตร ถ้าหากได้ภิกษาในบ้านเป็นที่อยู่ของภิกษุณีทั้งหลาย. พึงเที่ยวไปใน บ้านนั้นนั่นแหละ พบพวกภิกษุณีบอกแล้วจึงไป. ถ้าที่บ้านนั้น ภิกษาเป็น ของหาไม่ได้ง่ายสำหรับเธอ, พึงเที่ยวไปในบ้านใกล้เคียง แล้วมาบ้านของ พวกภิกษุณีทำเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. ถ้าหากจะต้องไปไกล พึงทำการ นัดหมายว่า เราจักเข้าไปยังสภา มณฑป หรือว่า โคนไม้ ชื่อโน้น ใกล้ ประตูบ้านของพวกท่าน, พวกท่านพึงมาที่สภาเป็นต้นนั้น. พวกภิกษุณีพึงไป


(๑) วิ. จุล ล. ๗/๓๔๒.

(๒) - (๓) - (๔) - (๕) วิ. จุลฺล. ๗/๓๔๑ - ๓๔๓.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 389

ที่สภาเป็นต้นนั้น จะไม่ไปไม่ได้, สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีจะไม่ไปสู่ที่นัดหมายไม่ได้, ภิกษุณีใดไม่ไป, ภิกษุณีนั้น ต้องทุกกฏ๑ ดังนี้.

[ข้อว่าพึงปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่ายโดย ๓ สถาน]

ในคำว่า อุภโตสงฺเฆ ตีหิ าเนหิ ปวาเรตพฺพํ นี้ มีวินิจฉัยว่า ภิกษุณีทั้งหลาย ปวารณาด้วยตนเองในวัน ๑๔ ค่ำ แล้วพึงปวารณาใน ภิกษุสงฆ์ในวันอุโบสถ. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ (ภิกษุณีทั้งหลาย) ปวารณาในวันนี้แล้ว พึง ปวารณากะภิกษุสงฆ์ในวันรุ่งขึ้นอีก๒ ดังนี้.

ก็บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคำนี้ โดยนัยดังที่ตรัสไว้ในภิกขุนีขันธกะ นั่นแล. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ก็โดยสมัยนั้น แล ภิกษุณี สงฆ์ทั้งปวง ขณะปวารณาได้ทำการไกลาหล. ภิกษุณีทั้งหลายบอกเรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ สมมติภิกษุณีรูปหนึ่ง ผู้ฉลาด สามารถ ให้ปวารณากะภิกษุสงฆ์ เพื่อประโยชน์ แก่ภิกษุณีสงฆ์. ภิกษุทั้งหลาย! ก็แลภิกษุณีสงฆ์พึงสมมติอย่างนั้น คือ ภิกษุณีสงฆ์ พึงขอร้องภิกษุณีรูปหนึ่งก่อน. ครั้นขอร้องแล้ว ภิกษุณีผู้ฉลาด สามารถ พึงเผดียงสงฆ์ว่า ข้าแต่แม่เจ้า! ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ถ้าความ พรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงสมมติภิกษุณีชื่อนี้ให้ปวารณาภิกษุสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุณีสงฆ์, นี้เป็นคำญัตติ. ข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงพึง ข้าพเจ้า, สงฆ์สมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้ปวารณาภิกษุสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่


(๑) - (๒) วิ. จุลฺล. ๗/๓๔๓.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 390

ภิกษุณีสงฆ์ การสมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้ปวารณาภิกษุสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ ภิกษุณีสงฆ์ ย่อมควรแก่แม่เจ้ารูปใด แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่งอยู่, ย่อมไม่ควร แก่แม่เจ้ารูปใด แม่เจ้ารูปนั้นพึงพูดขึ้น. ภิกษุณีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้ปวารณา ภิกษุสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุณีสงฆ์ ย่อมควรแก่สงฆ์ เพราะเหตุนั้น สงฆ์จงนิ่งอยู่, ข้าพเจ้าจะทรงไว้ซึ่งความเป็นผู้นิ่งอยู่แห่งสงฆ์อย่างนี้ *.

ภิกษุณีทีสงฆ์สมมตินั้น พาภิกษุณีสงฆ์เข้าไปหาภิกษุสงฆ์แล้ว ทำ ผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประคองอัญชลี พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่ พระผู้เป็นเจ้า! ภิกษุณีสงฆ์ ย่อมปวารณากะภิกษุสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วย ได้ฟังก็ดี ด้วยรังเกียจก็ดี ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! ขอภิกษุสงฆ์จงอาศัยความ อนุเคราะห์ว่ากล่าวภิกษุณีสงฆ์, ภิกษุณีสงฆ์เห็นอยู่จักกระทำคืน ข้าแต่พระ ผู้เป็นเจ้า! แม้ครั้งที่ ๒ ... ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุณีสงฆ์ ฯลฯ จักทำคืน ดังนี้.

ถ้าภิกษุณีสงฆ์ ไม่ครบ (องค์เป็นสงฆ์) , นางภิกษุณีทีสงฆ์สมมติ พึงกล่าว ๓ ครั้งอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! ภิกษุณีทั้งหลายปวารณา ภิกษุสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ตาม ด้วยได้ฟังก็ตาม ด้วยรังเกียจก็ตาม, ข้าแต่ พระผู้เป็นเจ้า! ขอภิกษุสงฆ์จงอาศัยความอนุเคราะห์ว่ากล่าวพวกภิกษุณี ภิกษุณีทั้งหลายเห็นอยู่ จักทำคืน และว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! ดิฉันปวารณา ภิกษุสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ตาม ด้วยได้ฟังก็ตาม ด้วยรังเกียจก็ตาม, ข้าแต่ พระผู้เป็นเจ้า! ขอภิกษุสงฆ์จงอาศัยความอนุเคราะห์ว่ากล่าวดิฉัน. ดิฉันเห็น อยู่จักทำคืน ดังนี้.

ถ้าภิกษุสงฆ์ไม่ครบ (องค์เป็นสงฆ์) พึงกล่าว ๓ ครั้งอย่างนี้ว่า ข้าแต่ พระผู้เป็นเจ้า ภิกษุณีสงฆ์ปวารณากะพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ตาม


(๑) วิ. จุลฺล. ๗/๓๖๒.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 391

ด้วยได้ฟังก็ตาม ด้วยรังเกียจก็ตาม ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จงอาศัยความ อนุเคราะห์ว่ากล่าวภิกษุณีสงฆ์, ภิกษุณีสงฆ์เห็นอยู่ จักทำคืน, และว่า ข้าแต่ พระผู้เป็นเจ้า! ภิกษุณีสงฆ์ปวารณากะพระผู้เป็นเจ้า ด้วยได้เห็นก็ตาม ด้วย ได้ฟังก็ตาม ด้วยรังเกียจก็ตาม, ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอาศัยความอนุเคราะห์ ว่ากล่าวภิกษุณีสงฆ์, ภิกษุณีสงฆ์เห็นอยู่ จักคำคืน ดังนี้.

เมื่อไม่ครบสงฆ์แม้ทั้ง ๒ ฝ่าย พึงกล่าว ๓ ครั้ง อย่างนี้ว่า ข้าแต่ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย! ภิกษุณีทั้งหลายปวารณากะพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ด้วย ได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยรังเกียจก็ดี, พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจงอาศัยความ อนุเคราะห์ว่ากล่าวภิกษุณีทั้งหลายๆ เห็นอยู่ จักกระทำคืน, และว่า ข้าแต่ พระผู้เป็นเจ้า! ภิกษุณีทั้งหลายปวารณากะพระผู้เป็นเจ้า ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วย ได้ฟังก็ดี ด้วยรังเกียจก็ดี, ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอาศัย ความอนุเคราะห์ ว่ากล่าวภิกษุณีทั้งหลายๆ เห็นอยู่ จักกระทำคืน ดังนี้, ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย! ดิฉันปวารณากะพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ด้วย ได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยรังเกียจก็ดี, ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจงอาศัย ความอนุเคราะห์ว่ากล่าวดิฉันๆ เห็นอยู่ จักกระทำคืน และว่า ข้าแต่พระผู้- เป็นเจ้า! ดิฉันปวารณากะพระผู้เป็นเจ้า ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วย รังเกียจก็ดี ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอาศัยความอนุเคราะห์ว่ากล่าวดิฉันๆ เห็นอยู่ จักกระทำคืน ดังนี้.

การประพฤติมานัต และการแสวงหาการอุปสมบท จักมีแจ้งในที่ ตามควรแก่ฐานะนั่นแล.

ข้อว่า น ภิกฺขุนิยา เกนจิ ปริยาเยน มีความว่า ภิกษุณีอย่า พึงด่า อย่าพึงบริภาษภิกษุด้วยอักโกสวัตถุ ๑. หรือด้วยคำเปรียบเปรยอะไร อย่างอื่น และไม่พึงขู่ภิกษุด้วยภัย.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 392

บทว่า โอวโฏ ได้แก่ ปิด คือ กั้น ห้าม. ถ้อยคำนั้น แหละ ชื่อว่า พจนบถ.

บทว่า อโนโฏ ได้แก่ ไม่ปิด คือ ไม่กั้น ไม่ห้าม. เพราะเหตุนั้น ภิกษุณีทั้งอยู่ในฐานแห่งความเป็นผู้ใหม่ คือ ในฐานแห่งผู้เป็นหัวหน้า อย่า พึงว่ากล่าว อย่าพึงสั่งสอนภิกษุโดยปริยายใดๆ ว่า ท่านจงเดินหน้าอย่างนี้, จงถอยกลับอย่างนี้, จงนุ่งอย่างนี้, จงห่มอย่างนี้. แต่เห็นโทษแล้ว จะแสดง โทษที่มีอยู่โดยนัยเป็นต้นว่า พระมหาเถระทั้งหลายในปางก่อน ย่อมไม่เดินไป ข้างหน้า ไม่ถอยหลัง ไม่นุ่ง ไม่ห่มอย่างนั้น, ย่อมไม่ทรงแม้ผ้ากาสาวะเช่นนี้ ไม่หยอดนัยน์ตาอย่างนั้น ดังนี้ ควรอยู่.

ส่วนภิกษุทั้งหลาย ว่ากล่าว สั่งสอนภิกษุณี คามสะดวกว่า แม่ สมณีแก่นี้ ย่อมนุ่งอย่างนี้ ย่อมห่มอย่างนี้, อย่านุ่งอย่างนี้ อย่าห่มอย่างนี้, อย่ากระทำกรรมเกี่ยวด้วยเมล็ดงา และเกี่ยวด้วยใบไม้เป็นต้น ควรอยู่.

สองบทว่า สมคฺคมฺหยฺยาติ ภณนฺตํ ได้แก่ กะภิกษุณีสงฆ์ ผู้กล่าว อยู่ว่า พวกดิฉันพร้อมเพรียงกัน พระผู้เป็นเจ้า!

คำว่า อญฺํ ธมฺมํ ภณติ ได้แก่ (สั่งสอน) สูตร หรืออภิธรรม อย่างอื่น, ก็พวกภิกษุณีย่อมหวังเฉพาะโอวาทด้วยคำว่า สมคฺคมฺหยฺย. เพราะเหตุนั้น จึงเป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้กล่าวธรรมอื่นเว้นโอวาทเสีย.

สองบทว่า โอวาทํ อนิยฺยาเทตฺวา ได้แก่ ไม่กล่าวว่า ดูก่อน น้องหญิง! ในโอวาท, กรรม คือ ภิกขุโนวาทกสมมติ (การสมมติภิกษุผู้ สั่งสอนภิกษุณี) ผู้ศึกษาพึงทราบว่า กรรม ในคำว่า อธมฺมกมฺเม เป็นต้น. บรรดากรรม มีกรรมไม่เป็นธรรมเป็นต้นนั้น ในกรรมไม่เป็นธรรม เป็น ปาจิตตีย์ ๑๘ ตัว ด้วยอำนาจแห่งหมวด ๙ ๒ หมวด. ในกรรมเป็นธรรม

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 393

ไม่เป็นอาบัติ ในบทสุดท้ายแห่งหมวด ๙ หมวดที่ ๒. ในบทที่เหลือเป็น ทุกกฏ ๑๗ ตัว.

สองบทว่า อุทฺเทสํ เทนฺโต ได้แก่ ผู้แสดงบาลีแห่งครุธรรม ๘.

สองบทว่า ปริปุจฺฉํ เทนฺโต มีความว่า ผู้กล่าวอรรถกถาแห่งบาลี ครุธรรมที่คล่องแคล่วนั้นนั่นแล.

หลายบทว่า โอสาเรหิ อยฺยาติ วุจฺจมาโน โอสาเรติ มีความว่า ภิกษุผู้อันภิกษุณีทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ ย่อมสวดบาลีครุธรรม ๘ ภิกษุผู้ให้อุเทศ ผู้ให้ปริปุจฉาอย่างนี้ และภิกษุผู้อันภิกษุณีกล่าวว่า นิมนต์สวดเถิด สวด ครุธรรม ๘, ไม่เป็นอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุนั้น ไม่เป็นอาบัติทุกกฎแก่ภิกษุผู้ กล่าวธรรมอื่น.

หลายบทว่า ปญฺหํ ปุจฉติ ปญฺหํ ปุฏฺโ กเถติ มีความว่า ภิกษุณีย่อมถามปัญหาอิงครุธรรม หรืออิงธรรมมีชันธ์เป็นต้น. ไม่เป็นอาบัติ แม้แก่ภิกษุผู้กล่าวแก้ปัญหานั้น.

สองบทว่า อญฺสฺสตฺถาย ภณนฺตํ มีความว่า ภิกษุณีทั้งหลาย เข้าไปหาภิกษุผู้กำลังแสดงธรรมในบริษัท ๔ แล้วฟังอยู่. แม้ในการกล่าวเพื่อ ประโยชน์แก่คนอื่นนั้น ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ.

สองบทว่า สิกฺขมานาย สามเณริยา คือ ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุ ผู้แสดงแก่สิกขมานาและสามเณรีเหล่านั้น. บทที่เหลือ มีอรรถตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนปทโสธรรมสิกขาบท เกิดขึ้นทางวาจา ๑ ทางวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัติวัชชะ วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

โอวาทสิกขาบทที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 394

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระจูฬปันถกเถระ

[๔๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระเถระ ทั้งหลาย ผลัดเปลี่ยนกันกล่าวสอนพวกภิกษุณี สมัยนั้น ถึงวาระของท่าน พระจูฬปันถกที่จะกล่าวสอนพวกภิกษุณีๆ พูดกัน อย่างนี้ว่า วันนี้โอวาทเห็น จะไม่สำเร็จประโยชน์ เพราะประเดี๋ยวพระคุณเจ้าจูฬปันถกจะกล่าวอุทานอย่าง เดิมนั่นแหละซ้ำๆ ซากๆ แล้วพากันเข้าไปหาท่านพระจูพปันถก อภิวาท แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ท่านพระจูฬปันถกได้ถามภิกษุณีเหล่านั้น ผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว ดังนี้ว่า พวกเธอพร้อมเพรียงกันแล้วหรือ น้องหญิงทั้งหลาย.

ภิกษุณี. พวกดิฉันพร้อมเพรียงกันแล้ว เจ้าข้า

จูฬ. ครุธรรม ๘ ประการยังเป็นไปดีอยู่หรือ น้องหญิงทั้งหลาย.

ภิกษุณี. ยังเป็นไปดีอยู่ เจ้าข้า.

ท่านพระจูฬปันถกสั่งว่า นี่แหละเป็นโอวาทละ น้องหญิงทั้งหลาย แล้วได้กล่าวอุทานนี้ซ้ำอีก ว่าดังนี้.

ความโศก ย่อมไม่มีแก่มนุษย์ ผู้มีจิตตั้ง มั่น ไม่ประมาท ศึกษาอยู่ในโมเนยยปฏิปทา ผู้คงที่ ผู้สงบระงับ มีสติทุกเมื่อ.

[๔๒๕] ภิกษุณีทั้งหลายได้สนทนากันอย่างนี้ว่า เราได้พูดแล้วมิใช่ หรือว่า วันนี้ โอวาทเห็นจะไม่สำเร็จประโยชน์ เพราะประเดี๋ยวพระคุณเจ้า จูฬปันถกจะกล่าวอุทานอย่างเดิมนั่นแหละซ้ำๆ ซากๆ.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 395

ท่านพระจูฬปันถกได้ยินคำสนทนานี้ของภิกษุณีพวกนั้น ครั้นแล้ว ท่านเหาะขึ้นสู่เวหา จงกรมบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง สำเร็จการนอนบ้าง ทำให้ ควันกลุ้มตลบขึ้นบ้าง ทำให้เป็นไฟโพลงขึ้นบ้าง หายตัวบ้าง อยู่ในอากาศ กลางหาว กล่าวอุทานอย่างเติมนั้น และพระพุทธพจน์อย่างอื่นอีกมาก.

ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวชมอย่างนี้ว่า น่าอัศจรรย์นักชาวเราเอ๋ย ไม่เคย มีเลยชาวเราเอ๋ย ในกาลก่อนแต่นี้ โอวาทไม่เคยสำเร็จประโยชน์แก่พวกเรา เหมือนโอวาทของพระคุณเจ้าจูฬปันถกเลย คราวนั้นท่านพระจูฬปันถกกล่าว สอนภิกษุณีเหล่านั้นจนพลบค่ำ ย่ำสนธยา แล้วได้ส่งกลับด้วยคำว่า กลับไป เถิด น้องหญิงทั้งหลาย จึงภิกษุณีเหล่านั้น เมื่อเขาปิดประตูเมืองแล้ว ได้ พากันพักแรมอยู่นอกเมือง รุ่งสายจึงเข้าเมืองได้ ประชาชนพากันเพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า ภิกษุณีพวกนี้เหมือนไม่ใช่สตรีผู้ประพฤติพรหมจรรย์ พักแรมอยู่กับพวกภิกษุในอารามแล้ว เพิ่งจะพากันกลับเข้าเมืองเดี๋ยวนี้ ภิกษุ ทั้งหลายได้ยินประชาชนพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มัก น้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระจูฬปันถก เมื่อ พระอาทิตย์ตกแล้ว จึงยังได้กล่าวสอนพวกภิกษุณีอยู่เล่า แล้วกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามว่า ดูก่อนจูฬปันถก ข่าวว่า เมื่อ พระอาทิตย์ตกแล้ว เธอยังกล่าวสอนพวกภิกษุณีอยู่ จริงหรือ.

พระจูฬปันถกทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 396

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนจูฬปันถก เมื่อพระอาทิตย์ตกแล้ว ไฉนจึงยังได้กล่าวสอนพวกภิกษุณีอยู่เล่า การกระทำของเธอ นั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้

พระบัญญัติ

๗๑.๒. ถ้าภิกษุ แม้ได้รับสมมติแล้ว เมื่อพระอาทิตย์อัสดง แล้ว กล่าวสอนพวกภิกษุณี เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องจูฬปันถกเถระ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๒๖] ผู้ชื่อว่า ได้รับ สมมติแล้ว คือ ได้รับสมมติแล้วด้วยญัตติ- จตุตถกรรม.

คำว่า เมื่อพระอาทิตย์อัสดงแล้ว คือ เมื่อพระอาทิตย์ตกแล้ว.

ผู้ชื่อว่า พวกภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย.

บทว่า กล่าวสอน ความว่า กล่าวสอนด้วยครุธรรม ๘ ประการ หรือด้วยธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 397

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๔๒๗] พระอาทิตย์อัสดงแล้ว ภิกษุสำคัญว่า อัสดงแล้ว กล่าว สอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พระอาทิตย์อัสดงแล้ว ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

พระอาทิตย์อัสดงแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่อัสดง กล่าวสอน ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

ติกทุกกฏ

ภิกษุสั่งสอนภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระอาทิทย์ยังไม่อัสดง ภิกษุสำคัญว่าอัสดงแล้ว กล่าวสอน ต้อง อาบัติทุกกฏ.

พระอาทิตย์ยังไม่อัสดง ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

พระอาทิตย์ยังไม่อัสดง ภิกษุสำคัญว่ายังไม่อัสดง กล่าวสอน ไม่ ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๔๒๘] ภิกษุให้อุเทศ ๑ ภิกษุให้ปริปุจฉา ๑ ภิกษุอันภิกษุณีกล่าว ว่า นิมนต์ท่านสวดเถิด เจ้าข้า ดังนี้ สวดอยู่ ๑ ภิกษุถามปัญหา ๑ ภิกษุ ถูกถามปัญหาแล้วแก้ ๑ ภิกษุกล่าวสอนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นอยู่ แต่พวก ภิกษุณีฟังอยู่ด้วย ๑ ภิกษุกล่าวสอนสิกขมานา ๑ ภิกษุกล่าวสอนสามเณรี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

โอวาทวรรคสิกขาบทที่ ๒ จบ

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 398

ภิกขุนีวรรค อัตถังคตสิกขาบทที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

[แก้อรรถกถาของพระจูฬบันถกเถระ]

บทว่า ปริยาเยน คือ ตามวาระ ความว่า ตามลำดับ.

บทว่า อธิเจตโส คือ ผู้มีอธิจิต อธิบายว่า ผู้ประกอบด้วยจิตที่ ยิ่งกว่าจิตทั้งหมด คือ อรหัตตผลจิต.

บทว่า อปฺปมฺชฺชโต คือ ผู้ไม่ประมาท. มีคำอธิบายว่า ผู้ประกอบ ด้วยการบำเพ็ญกุศลธรรมติดต่อกัน ด้วยความไม่ประมาท.

บทว่า มุนิโน มีความว่า ญาณ ตรัสเรียกว่า โมนะ เพราะรู้โลกทั้ง ๒ อย่างนี้ว่า ผู้ใด ย่อมรู้โลกทั้ง ๒ ผู้นั้น เราเรียกว่า มุนี เพราะเหตุนั้น หรือ พระขีณาสพ ตรัสเรียกชื่อว่า มุนี เพราะประกอบด้วยญาณนั้น แก่ มุนีนั้น.

สองบทว่า โมนปเถสุ สิกฺขโต มีความว่า ผู้ศึกษาอยู่ในทางแห่ง ญาณชื่อโมนะ กล่าวคือ อรหัตตมรรคญาณ คือ ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ หรือ ในไตรสิกขา. ก็คำนี้พระผู้มีพระภาคตรัสหมายเอาปฏิปทาเป็นต้นส่วนเบื้อง ต้น. เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงเห็นใจความในคำว่า มุนิโน โมนปเถสุ สิกฺขโต นี้ อย่างนี้ว่า แก่มุนีผู้ศึกษาอยู่ในธรรมเป็นต้นส่วนเบื้องต้น อย่างนี้ บรรลุความเป็นมุนีด้วยการศึกษานี้.

บทพระคาถาว่า โสกา น ภวนฺติ ตาทิโน มีความว่า ความโศก ทั้งหลาย เพราะเรื่องมีการพลัดพรากจากอิฏฐารมณ์เป็นต้น ในภายใน (ในจิต) ย่อมไม่มีแก่พระขีณาสวมุนีผู้คงที่. อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า ตาทิโน นี้ มี

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 399

ใจความแม้อย่างนี้ว่า ความโศกทั้งหลายย่อมไม่มีแก่มุนีผู้ประกอบด้วยลักษณะ คงที่เห็นปานนี้.

บทว่า อุปสนฺตสฺส ได้แก่ ผู้สงบระงับเพราะสงบกิเลสมีราคะ เป็นต้นได้.

บทว่า สทา สตีมโต ได้แก่ ผู้ไม่เว้น จากสติ ตลอดกาลเป็นนิตย์ เพราะเป็นผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติ.

สองบทว่า อากาเส อนฺตลิกเข ได้แก่ ในอากาศ กล่าวคือ กลางหาว, ไม่ใช่อากาศเพิกกสิณ ไม่ใช่อากาศเป็นเครื่องกำหนดรูป.

สองบทว่า จงฺกมติปิ ติฏฺติปิ มีความว่า พระจูฬปันถกเถระได้ ฟังถอยคำของภิกษุณีเหล่านั้น คิดว่า ภิกษุณีเหล่านี้ ดูหมิ่นเราว่า พระเถระ รูปนี้ รู้ธรรมเพียงเท่านี้แหละ, เอาละ! บัดนี้ เราจะแสดงอานุภาพของตน แก่ภิกษุณีเหล่านี้ จึงยังความเคารพมาก ในธรรมให้เกิดขึ้นแล้ว เข้าจตุตถฌาน มีอภิญญาเป็นบาท ออกแล้วได้แสดงอิทธิปาฎิหาริย์เห็นปานนี้ คือ เดินจงกรมในอากาศกลางหาวบ้าง ฯลฯ หายตัวไปในระหว่างบ้าง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺตรา ปิธายติ มีความว่า หายตัว ไปบ้าง คือไปไม่ปรากฎให้เห็นบ้าง.

ข้อว่า ตญฺเว อุทานํ ภณติ อญฺญฺจ พหุํ พุทฺธวจนํ มี ความว่า ได้ยินว่า พระเถระถูกให้เรียนคาถาม ในสำนักของพระเถระผู้เป็น หลวงพี่ของตนว่า

ดอกบัวชื่อโกกนุท มีกลิ่นหอม พึง บานแต่เช้า ยังไม่วายกลิ่น ฉันใด, ท่านจงดู พระอังคีรส ผู้รุ่งโรจน์เหมือนดวงอาทิตย์ แผดรัศมีรุ่งโรจน์อยู่ในกลางหาว ฉันนั้น.

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 400

ได้สาธยายถึง ๔ เดือน แต่ไม่อาจทำให้คล่องแคล่วได้.

ครั้งนั้น พระเถระ (หลวงพี่) จึงขับไล่พระจูฬบันถกนั้น ไปเสียจาก วิหาร ด้วยกล่าวว่า เธอเป็นคนอาภัพในพระศาสนานี้. ท่านได้ยืนร้องไห้อยู่ ที่ซุ้มประตู. คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูพุทธเวไนยสัตว์ ทอด พระเนตรเห็นท่านแล้ว จึงเสด็จไปใกล้ๆ ท่าน ดุจเสด็จเที่ยวไปยังวิหารจาริก ตรัสว่า จูฬบันถก! เธอร้องให้ทำไม ท่านจึงกราบทูลเรื่องราวนั้น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงประทานท่อนผ้าอันสะอาดแก่ท่าน ตรัสว่า เธอจงลูบคลำผ้านี้ว่า ผ้าเช็ดธุลี. ท่านรับว่า สาธุ แล้ว นั่งในที่อยู่ของ ตนลูบคลำที่สุดด้านหนึ่งแห่งผ้านั้น. ที่ที่ถูกลูบคลำนั้น ได้กลายเป็นสีดำ ท่านกลับ ได้ความสลดใจว่า ผ้าชื่อว่าแม้บริสุทธิ์อย่างนี้ อาศัยอัตภาพนี้ กลับ กลายเป็นสีดำ ดังนี้ แล้ว จึงปรารภวิปัสสนา. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบว่า ท่านปรารภความเพียร ได้ทรงภาษิตโอภาสคาถานี้ว่า อธิเจตโส เป็นต้น. พระเถระบรรลุพระอรหัตตผลในเวลาจบคาถา. เพราะเหตุนั้น พระ เถระจึงเคารพรักคาถานี้ ตามปรกติเทียว. ท่านกล่าวคาถานี้นั่นแล เพื่อให้ ทราบความเคารพรักคาถานี้นั้น และนำพุทธพจน์อื่นเป็นอันมากมากล่าวอยู่ใน ระหว่าง. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า กล่าว อุทานั้นนั่นแล และพระพุทธพจน์อย่างอื่นเป็นอันมาก.

สองบทว่า เอกโต อุปสมฺปนฺนาย ได้แก่ ภิกษุณีผู้อุปสมบทใน ภิกษุณีสงฆ์. แต่เป็นปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณีผู้อุปสมบทในภิกษุ สงฆ์. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ท่านทั้งนั้น. และแม้สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน เหมือนปทโสธรรมสิกขาบทนั่นแล.

อัตถังคตสิกขาบทที่ ๒ จบ

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 401

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๔๒๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ เข้าไปสู่สำนัก ภิกษุณี แล้วกล่าวสอนภิกษุณีฉัพพัคคีย์อยู่.

ภิกษุณีทั้งหลายได้กล่าวคำนี้กะภิกษุณีฉัพพัคคีย์ว่า มาเถิด แม่เจ้า ทั้งหลาย พวกเราจักไปรับโอวาทกัน.

ภิกษุณีฉัพพัคคีย์พูดว่า แม่เจ้าทั้งหลาย พวกเราจะต้องไปเพราะเหตุ แห่งโอวาททำไม เพราะพระคุณเจ้าฉัพพัคคีย์กล่าวสอนพวกเราอยู่ ที่นี้แล้ว.

ภิกษุณีทั้งหลายต่างพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์จึงเข้ามากล่าวสอนพวกภิกษุณีถึงสำนักภิกษุณีเล่า แล้วแจ้งเรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย.

บรรดาภิกษุที่มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์จึงได้เข้าไปกล่าวสอนพวกภิกษุณีถึงสำนักภิกษุณีเล่า แล้วกราบ ทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอเข้าไปกล่าวสอนพวกภิกษุณี ถึงสำนักภิกษุณี จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 402

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้เข้าไปกล่าวสอนพวกภิกษุณีถึงสำนักภิกษุณีเล่า การกระทำของ พวกเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๓๒. ๓. ก. อนึ่ง ภิกษุใด เข้าไปสู่ที่อาศัยแห่งภิกษุณี แล้ว สั่งสอนพวกภิกษุณี เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี

[๔๓๐] ต่อจากสมัยนั้นมา พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีอาพาธ พระเถระ ทั้งหลาย พากันเข้าไปเยี่ยมพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีถึงสำนัก แล้วได้กล่าว คำนี้กะพระเถรีว่า ดูก่อนพระโคตมี ท่านยังพอทนได้หรือ ยังพอให้อัตภาพ เป็นไปได้หรือ

พระมหาปชาบดีโคตมีตอบว่า ดิฉัน ทนไม่ไหว ให้อัตภาพเป็นไป ไม่ได้เจ้าข้า ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายโปรดแสดงธรรมเถิด เจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 403

ดูก่อนน้องหญิง การเข้ามาสู่สำนักภิกษุณีแล้วแสดงธรรมแก่ภิกษุณี ยังไม่สมควรก่อน พระเถระเหล่านั้นกล่าวดังนี้แล้วต่างก็รังเกียจอยู่ ไม่แสดง ธรรม.

ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตร จีวรเสด็จเข้าไปเยี่ยมพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีถึงสำนัก ประทับนั่งบนอาสนะ ที่เขาจัดถวายแล้วได้ตรัสดำนี้กะพระมหาปชาบดีโคตมีว่า ดูก่อนโคตมี เธอยัง พอทนได้หรือ ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ

พระมหาปชาบดีโคตมีกราบทูลว่า เมื่อก่อนพระเถระทั้งหลายพากันมา แสดงธรรมแก่หม่อมฉัน เพราะเหตุนั้น หม่อมฉันจึงมีความสำราญ แต่บัดนี้ ท่านกล่าวว่าพระองค์ทรงห้ามแล้ว จึงรังเกียจไม่แสดง เพราะเหตุนั้นหม่อมฉัน จึงไม่มีความสำราญ พระพุทธเจ้าข้า

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีให้ เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจากอาสนะ เสด็จกลับ ครั้นนั้นแล้วพระองค์ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าไปสู่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีผู้อาพาธได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้

พระอนุบัญญัติ

๗๒. ๓. ข. อนึ่ง ภิกษุใด เข้าไปสู่ที่อาศัยแห่งภิกษุณีแล้ว สั่งสอนพวกภิกษุณี เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ สมัยในเรื่องนั้น ดังนี้ คือ ภิกษุณีอาพาธ นี้เป็นสมัยในเรื่องนั้น.

เรื่องพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี จบ

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 404

สิกขาบทวิภังค์

[๔๓๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด.

บทว่า ภิกษุ ความว่าที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า ที่อาศัยแห่งภิกษุณี ได้แก่ สถานเป็นที่พักแรมของพวก ภิกษุณี แม้เพียงคืนเดียว.

บทว่า เข้าไป คือ ไปในสถานที่นั้น.

ผู้ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย.

บทว่า สั่งสอน ความว่า ภิกษุกล่าวสอนด้วยครุธรรม ๘ ประการ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า เว้นไว้แต่สมัย คือ ยกเว้นสมัย.

ที่ชื่อว่า ภิกษุณีอาพาธ ได้แก่ ภิกษุณีไม่สามารถจะไปรับโอวาท หรือไปร่วมประชุมได้.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๔๓๒] อุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบันภิกษุณี เข้าไปสู่ ที่อาศัยแห่งภิกษุณี เว้นไว้แต่สมัย สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุณี ภิกษุสงสัย เข้าไปสู่ที่อาศัยแห่งภิกษุณี เว้น ไว้แต่ สมัย สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบันภิกษุณี เข้าไปสู่ที่อาศัย แห่งภิกษุณี เว้นไว้แต่สมัย สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 405

จตุกกทุกกฏ

ภิกษุสั่งสอนด้วยธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุสั่งสอนภิกษุณีผู้อุปสมบทแต่สงฆ์ฝ่ายเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบันภิกษุณี. สั่งสอน ต้อง อาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

อนุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบันภิกษุณี ... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๔๓๓] ภิกษุสั่งสอนในสมัย ๑ ภิกษุให้อุเทศ ๑ ภิกษุให้ปริปุจฉา ๑ ภิกษุอันภิกษุณีกล่าวว่า นิมนต์ท่านสวดเถิด เจ้าข้า ดังนี้ สวดอยู่ ๑ ภิกษุ ถามปัญหา ๑ ภิกษุถูกถามปัญหาแล้วแก้ ๑ ภิกษุสั่งสอนเพื่อประโยชน์แห่ง ผู้อื่น แต่ภิกษุณีฟังอยู่ด้วย ๑ ภิกษุสั่งสอนสิกขมานา ๑ ภิกษุสั่งสอนสามเณรี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 406

ภิกขุนีวรรคที่ ๓

ภิกขุนีอุปสสยสิกขาบทที่ ๓

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้.

ในคำเป็นต้นว่า อญฺตฺรสมยา โอวทติ อาปตฺติ ปาจิตฺตยสฺส เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้กล่าวสอนด้วยครุธรรม ๘ เท่านั้น, กล่าวสอนด้วยธรรมอื่นเป็นทุกกฏ.

สองบทว่า เอกโต อุปสมฺปนฺนาย ได้แก่ ภิกษุณีผู้อุปสมบทใน ภิกษุณีสงฆ์. แต่เป็นปาจิตตีย์แท้ แก่ภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณีผู้อุปสมบทใน ภิกษุสงฆ์. อนึ่ง เบื้องหน้าแต่นี้ไปในที่ทุกๆ แห่งที่ท่านกล่าวคำว่า เอกโต อุปสมฺปนฺนาย ไว้ บัณฑิตพึงเห็นเนื้อความอย่างนี้เหมือนกัน. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานเหมือนกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑ ทางวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัติวัชชระ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

ภิกขุนีอุปัสสยสิกขาบทที่ ๓ จบ

ข้อเบ็ดเตล็ดในสิกขาบทที่ ๓

ก็แล ในสิกขาบทที่ ๓ นี้ ท่านกล่าวปกิณกะไว้ในมหาปัจจรี ดัง ต่อไปนี้ ถ้าว่า ภิกษุผู้มีได้รับสมมติ เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว เข้าไป สู่สำนักภิกษุณี กล่าวสอนด้วยครุธรรม ๘ เป็นปาจิตตีย์ ๓ ตัว. เมื่อสอนด้วย ธรรมอื่น เป็นทุกกฏ ๒ ตัว เป็นปาจิตตีย์ ๑ ตัว.

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 407

คือ อย่างไร? คือว่า ทุกกฏ มีการไม่ได้รับสมมติเป็นมูล ๑ ทุกกฏ มีการไปสู่สำนัก ภิกษุณีแล้ว กล่าวสอนด้วยธรรมอินเป็นมูล ๑ ปาจิตตีย์ มีการ กล่าวสอนเมื่อพระอาทิตย์อัสคงคตแล้วเป็นมูล ๑. ภิกษุผู้ได้รับสมมติแล้ว เมื่อ พระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว ไปในสำนักภิกษุณีนั้น กล่าวสอนอยู่ด้วยครุธรรม ๘ เป็นอนาบัติ ๑ เป็นปาจิตตีย์ ๒ ตัว.

คือ อย่างไร? คือว่า เป็นอนาบัติ เพราะเป็นผู้ได้รับสมมติ, เป็น ปาจิตตีย์ ๒ ตัว คือ ปาจิตตีย์ มีการกล่าวสอนเมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว เป็นมูลตัว ๑ ปาจิตตีย์ มีการไปกล่าวสอนด้วยครุธรรม ๘ เป็นมูลตัว ๑. ภิกษุผู้กล่าวสอนด้วยธรรมอื่นนั่นแล เป็นอนาบัติ ๑ เป็นทุกกฏ ๑ ตัว เป็น ปาจิตตีย์ ๑ ตัว.

คือ อย่างไร? คือว่า เป็นอนาบัติ เพราะได้รับสมมติ เป็นทุกกฏ มีการไปกล่าวสอนด้วยธรรมอื่นเป็นมูลตัว ๑ เป็นปาจิตตีย์ มีการกล่าวสอน เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้วเป็นมูลตัว ๑. แต่สำหรับภิกษุผู้ได้รับสมมติ และ ไม่ได้รับสมมติ ไปกล่าวสอนในกลางวัน บัณฑิตพึงชักปาจิตตีย์ ที่มีการ กล่าวสอนในเวลากลางคืนเป็นมูลออกตัว ๑ แล้วทราบอาบัติและอนาบัติที่เหลือ ฉะนี้แล.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 408

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๓๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระเถระ ทั้งหลายสั่งสอนพวกภิกษุณี ย่อมได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร พระฉัพพัคคีย์พูดกันอย่างนี้ว่า พระเถระทั้งหลายไม่ตั้งใจ สั่งสอนพวกภิกษุณี ท่านสั่งสอนพวกภิกษุณีเพราะเห็นแก่อามิส บรรดาภิกษุที่ มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้พูด อย่างนี้ว่า พระเถระทั้งหลายตั้งใจสั่งสอนพวกภิกษุณี ท่านสั่งสอนพวกภิกษุณี เพราะเห็นแก่อามิส แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าพวกเธอพูดอย่างนี้ว่า พระเถระทั้งหลายไม่ตั้งใจสั่งสอนพวกภิกษุณี ท่านสั่งสอนพวกภิกษุณีเพราะเห็นแก่อามิส ดังนี้ จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงพูดอย่างนี้ว่า พระเถระทั้งหลายไม่ตั้งใจสั่งสอนพวกภิกษุณี ท่าน สั่งสอนพวกภิกษุณีเพราะเห็นแก่อามิส ดังนี้เล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว..

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 409

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้

พระบัญญัติ

๗๓. ๔. อนึ่ง ภิกษุใด กล่าวอย่างนี้ว่า พวกภิกษุสั่งสอน พวกภิกษุณีเพราะเหตุอามิส เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

สิกขาบทวิภังค์

[๔๓๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า เพราะเหตุอามิส คือ เพราะเหตุจีวร บิณฑบาตเสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การกราบไหว้ การบูชา.

[๔๓๖] คำว่า กล่าวอย่างนี้ ความว่า ภิกษุประสงค์จะแส่โทษ ประสงค์จะทำให้อัปยศ ประสงค์จะทำให้เก้อเขิน กล่าวกะอุปสัมบันผู้อันสงฆ์ สมมติให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีอย่างนี้ คือ กล่าวว่า เธอสั่งสอน เพราะเหตุ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การกราบไหว้ การบูชา ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๔๓๗] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 410

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกกฏ

[๘๓๘] ภิกษุประสงค์จะแส่โทษ ประสงค์จะทำให้อัปยศ ประสงค์จะ ทำให้เก้อเขิน กล่าวกะอุปสัมบันผู้อัน สงฆ์มิได้สมมติให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี อย่างนั้น คือ กล่าวว่า เธอสั่งสอนเพราะเหตุจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การกราบไหว้ การบูชา ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๔๓๙] ภิกษุประสงค์จะแส่โทษ ประสงค์จะทำให้อัปยศ ประสงค์จะ ทำให้เก้อเขิน กล่าวกะอนุปสัมบันผู้อันสงฆ์สมมติก็ตาม มิได้สมมติก็ตาม ให้ ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี อย่างนี้ คือ กล่าวว่า เธอสั่งสอนเพราะเหตุจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร สักการะ. ความเคารพ ความ นับถือ การกราบไหว้ การบูชา ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ติกทุกกฏ

[๔๔๐] กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ... ต้อง อาบัติทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ... ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๔๔๑] ภิกษุผู้กล่าวกะภิกษุผู้สั่งสอนเพราะเหตุจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร สักการะ ความเคารพ ความนับถือ

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 411

การกราบไหว้ การบูชา ตามปกติ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

ภิกขุนีวรรค อามิสสิกขาบทที่ ๔

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้

บทว่า น พหุกตา คือ ไม่ทำความทั่งใจ (สอนจริง). อธิบายว่า ไม่ทำความเคารพมากในธรรมกล่าวสอน. ผู้ศึกษาพึงทราบอรรถแห่งบท ทั้งหลายว่า ภิกษุโนวาทกํ อวณฺณํ กตฺตุกาโม เป็นต้น โดยนัยดังที่ กล่าวแล้วในอุชฌาปนกสิกขาบทนั่นแล. ภิกษุที่ภิกษุผู้ได้รับสมมติ หรือสงฆ์ มอบภาระให้ไว้ พึงทราบว่า ชื่อว่า ภิกษุไม่ได้รับสมมติ ในคำว่า อุปสมฺปนฺนํ สงฺเฆน อสมฺมตํ นี้.

ส่วนในคำว่า อุปสมฺปนฺนํ สงฺเฆน สมฺมตํ วา อสมฺมตํ วา นี้ ภิกษุผู้ได้รับสมมติในคราวเป็นภิกษุแล้ว ตั้งอยู่ในภูมิแห่งสามเณร พึงทราบ ว่าได้รับสมมติ. สามเณรพหูสูตที่ภิกษุผู้ได้รับสมมติหรือสงฆ์มอบหน้าที่ไว้ พึงทราบว่า ผู้มีได้รับสมมติ. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้ว.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๓ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์สจิตตกะ. โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

อามิสสิกขาบทที่ ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 412

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๕

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง

[๔๔๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ รูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตไปตามถนนแห่งหนึ่ง ในพระนครสาวัตถี แม้ภิกษุณี รูปหนึ่งก็เที่ยวบิณฑบาตไปในถนนนั้น ครั้งนั้นแล ภิกษุนั้นได้กล่าวคำนี้ กะ ภิกษุณีรูปนั้นว่า ไปเถิดน้องหญิง ณ สถานที่โน้น มีผู้ถวายภิกษา แม้ภิกษุณี รูปนั้น ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ไปเถิดพระคุณเจ้า ณ สถานที่โน้นมีผู้ถวายภิกษา ภิกษุและภิกษุณีทั้งสองได้เป็นเพื่อนเห็นกัน เพราะได้พบกันอยู่เนืองๆ

ก็แลสมัยนั้น พระเจ้าหน้าที่แจกจีวรกำลังแจกจีวรของสงฆ์จึงภิกษุณี รูปนั้นไปรับโอวาท แล้วเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง

ภิกษุรูปนั้นได้กล่าวคำนี้กะภิกษุณีนั้นผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูก่อนน้องหญิง ส่วนจีวรของฉะนั้นเธอจักยินดีหรือไม่

ภิกษุณีรับว่า ยินดี เจ้าข้า เพราะดิฉันมีจีวรเก่า

ภิกษุนั้นได้ให้จีวรแก่ภิกษุณีนั้น แต่ภิกษุนั้นก็เป็นผู้มีจีวรเก่าอยู่ เหมือนกัน ภิกษุทั้งหลายจึงได้กล่าวกะภิกษุรูปนั้นว่า บัดนี้ ท่านจงเปลี่ยน จีวรของท่านเถิด ภิกษุรูปนั้นได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่ มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุจึงได้ให้จีวรแก่ ภิกษุณีเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 413

ทรงสอบถามแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า เธอได้ให้จีวรแก่ภิกษุณี จริงหรือ.

ภิกษุรูปนั้น ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุณีนั้นเป็นญาติของเธอหรือมิใช่ญาติ.

ภิ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนโมฆบุรุษ ภิกษุผู้มีใช่ญาติย่อมไม่รู้การกระทำอันสมควร หรือไม่สมควร ของที่มีอยู่หรือไม่มี ของภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ ไฉน เธอจึงได้ ให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้มีใช่ญาติเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้

พระบัญญัติ

๗๔.๕. ก. อนึ่ง ภิกษุใด ให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เป็น ปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

เรื่องภิกษุหลายรูป

[๔๔๓] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่ให้จีวรแลกเปลี่ยนแก่ พวกภิกษุณี ภิกษุณีทั้งหลายจึงเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้า

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 414

จึงไม่ให้แลกเปลี่ยนแก่พวกเรา ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินภิกษุณีเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยนจีวร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนแก่สหธรรมิกทั้ง ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนแก่สหธรรมิก ๕ เหล่า นี้ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้

พระอนุบัญญัติ

๗๔. ๕. ข. อนึ่ง ภิกษุใด ให้จีวรแก่ภิกษุณี ผู้ไม่ใช่ญาติ เว้น ไว้แลถเปลี่ยน เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๔๔] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทาง บิดาก็ดี ตลาด ๗ ชั่วบุรพชนก.

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 415

ผู้ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย.

ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิดๆ ใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์ กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัปเป็นอย่างต่ำ.

คำว่า เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยน ความว่า ภิกษุให้ เว้นการแลกเปลี่ยน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๔๔๕] ภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้จีวร เว้นไว้ แต่แลกเปลี่ยน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้จีวร เว้น ไว้แต่แลกเปลี่ยน ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้จีวร เว้น ไว้แต่แลก เปลี่ยน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกทุกกฏ

ภิกษุให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว เว้นไว้แต่แลก เปลี่ยน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้จีวร ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสงสัย ให้จีวร ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้จีวร ไม่ต้องอาบัติ.

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 416

อนาปัตติวาร

[๔๔๖] ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ๑ ภิกษุแลกเปลี่ยน คือ เอาจีวรมีค่าน้อย แลกเปลี่ยนจีวรมีค่ามาก หรือเอาจีวรมีค่ามากแลกเปลี่ยนจีวรมีค่าน้อย ๑ ภิกษุณีถือวิสาสะ ๑ ภิกษุณีถือเอาเป็นของขอยืม ๑ ภิกษุให้บริขารอื่นเว้น จีวร ๑ ภิกษุให้แก่สิกขมานา ๑ ภิกษุให้สามเณรี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

ภิกขุนีวรรค จีวรทานสิกขาบทที่ ๕

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้.

บทว่า วิสิขาย แปลว่า ในตรอก.

สองบทว่า ปิณฺฑาย จรติ มีความว่า ย่อมเที่ยวไปเนืองๆ ด้วย สามารถแห่งการเที่ยวไปเป็นประจำ.

บทว่า สนฺทิฏฺฐา คือ ได้เป็นเพื่อนเห็นกัน. บทที่เหลือในสิกขา บทนี้ โดยบท มีอรรถตื้น โดยวินิจฉัย พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในจีวร ปฏิคคหณสิกขาบทนั้นแล พร้อมทั้งสมุฏฐานเป็นต้น. จริงอยู่ ในจีวร ปฏิคคหณสิกขาบทนั้น ภิกษุเป็นผู้รับ ในสิกขาบทนี้ ภิกษุณีเป็นผู้รับ นี้เป็น ความแปลกกัน. คำที่เหลือเป็นเช่นนั้นเหมือนกันแล.

จีวรทานสิกขาบทที่ ๕ จบ

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 417

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระอุทายี

[๔๔๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน พระอุทายีเป็นผู้สามารถทำจีวรกรรม ภิกษุณี รูปหนึ่งเข้าไปหาท่านแล้วพูดว่า ดิฉันขอโอกาส เจ้าค่ะ ขอพระคุณเจ้าช่วยเย็บจีวรให้ดิฉันด้วย ฝ่ายท่านพระ อุทายีเย็บจีวรให้นางแล้ว ทำการย้อมอย่างดี ทำบริกรรมเรียบร้อยแล้ว เขียนรูปอัน วิจิตร ตามความติดเห็นไว้ในท่ามกลางแล้วพับเก็บไว้.

ครั้นภิกษุณีนั่นเข้าไปหาท่านพระอุทายีแล้วถามว่า จีวรนั้นเสร็จแล้ว หรือยังเจ้าค่ะ.

พระอุทายีตอบว่า เสร็จแล้ว น้องหญิง เชิญนำจีวรผืนนี้ตามที่พับ ไว้แล้วไปเก็บไว้ เมื่อไรภิกษุณีสงฆ์มารับโอวาท จึงต่อยห่มจีวรผืนนี้เดินตาม มาเบื้องหลังภิกษุณีสงฆ์.

ฝ่ายภิกษุณีนั้นนำจีวรตามที่พับไว้นั้น ไปเก็บไว้ ถึงคราวที่ภิกษุณีสงฆ์มารับโอวาท จึงห่มจีวรผืนนั้น เดินตามมาเบื้องหลังภิกษุณีสงฆ์ ประชาชน พากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ภิกษุณีพวกนี้หมดความเกรงกลัว เป็นคน ชั่ว ไม่มียางอาย เขียนรูปอันวิจิตรตามความเห็นไว้ที่จีวรได้.

ภิกษุณีทั้งหลายถามว่า นี่ใครทำ.

ภิกษุณีนั้น ตอบว่า พระคุณเจ้าอุทายี.

ภิกษุณีทั้งหลายพูดว่า รูปอย่างนั้นไม่งาม แม้แก่พวกนักเลงที่หมด ความเกรงกลัว ไม่มียางอาย ไฉนจะงามแก่พระคุณเจ้าอุทายีเล่า แล้วแจ้ง เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 418

บรรดาภิกษุที่มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระอุทายีจึงได้เย็บจีวรให้ภิกษุณีเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

ทรงสอบถามแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอุทายีว่า ดูก่อนอุทายี ข่าวว่า เธอเย็บจีวรให้ภิกษุณี จริงหรือ.

ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ ภิกษุณีนั้นเป็นญาติของเธอ หรือมิใช่ญาติ.

อุ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนโมฆบุรุษ ภิกษุที่มิใช่ญาติ ย่อมไม่รู้การกระทำที่สมควร หรือไม่สมควร อาการที่น่าเลื่อมใสหรือไม่น่าเลื่อมใส ของภิกษุณีที่มิใช่ญาติ ไฉนเธอจึงได้เย็บจีวรให้ภิกษุณีที่มิใช่ญาติเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็น ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๗๕.๖. อนึ่ง ภิกษุใด เย็บก็ดี ให้เย็บก็ดี ซึ่งจีวร เพื่อ ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระอุทายี จบ

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 419

สิกขาบทวิภังค์

[๔๔๘] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทาง บิดาก็ดี ตลอด ๗ ชั่วบุรพชนก

ผู้ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย

ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิดๆ ใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์ กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัปเป็นอย่างต่ำ.

บทว่า เย็บ คือ เย็บเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ รอยเข็ม.

บทว่า ให้เย็บ คือ ใช้ผู้อื่นเย็บ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ใช้หนเดียว แต่เย็บแม้หลายหน ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๔๔๙] ภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ เย็บก็ดี ให้เย็บ ก็ดี ซึ่งจีวร ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ ภิกษุสงสัย เย็บเองก็ดี ให้เย็บก็ดี ซึ่งจีวร ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์

ภิกษุณีมิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เย็บเองก็ดี ให้เย็บก็ดี ซึ่งจีวร ต้องอาบัติปาจิตตีย์

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 420

ติกทุกกฏ

ภิกษุเย็บเองก็ดี ให้เย็บก็ดี ซึ่งจีวร เพื่อภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์ ฝ่ายเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ... ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ

ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๔๕๐] ภิกษุเย็บเพื่อภิกษุณีผู้เป็นญาติ ๑ ภิกษุเย็บเองก็ดี ให้เย็ ก็ดี ซึ่งบริขารอื่นเว้นจีวร ๑ ภิกษุเย็บเพื่อสิกขมานา ๑ ภิกษุเย็บเพื่อสามเณรี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

ภิกขุนีวรรค จีวรสิพพนสิกขาบทที่ ๖

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๖ พึงทราบดังนี้

[แก้อรรถ เรื่องเย็บจีวรให้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ]

คำว่า อุทายี ได้แก่ พระโลลุทายี.

บทว่า ปฏฺโฐ แปลว่า ผู้มีความสามารถ. มีคำอธิบายว่า เป็นผู้ เข้าใจและสามารถ.

สองบทว่า อญฺตรา ภิกฺขุนี ได้แก่ ภิกษุณีผู้เป็นภรรยาเก่า พระอุทายีนั้นนั่นเอง.

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 421

บทว่า ปฏิภาณจิตฺตํ ได้แก่ มีความงดงามอันทำด้วยปฏิภาณของตน. ได้ยินว่า พระโลลุทายีนั้น ย้อมจีวรแล้ว ได้กระทำรูปหญิงกับชายกำลังทำ เมถุนกัน ด้วยสีต่างๆ ในท่ามกลางแห่งจีวรนั้น เพราะเหตุนั้น พระธรรม สังคาหกาจารย์ทั้งหลาย จึงได้กล่าวว่า มชฺเฌ ปฏิภาณจิตฺตํ วุฏฺาเปตฺวา เป็นต้น.

บทว่า ยถาสํหริตฺวา คือ ตามที่พับไว้แล้วนั่นแหละ.

บทว่า จีวรํ ได้แก่ จีวรที่ภิกษุอาจเพื่อจะนุ่งหรือห่มได้. จริงอยู่ ในมหาปัจจรี เป็นต้น ท่านก็ได้กล่าวไว้อย่างนี้.

ในคำว่า สยํ สิพฺเพติ นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ภิกษุกะก็ดี ตัดก็ดี ด้วยตั้งใจว่า. เราจักเย็บ เป็นทุกกฏ. แต่เป็นปาจิตตีย์ในเพราะการ สอยเข็มทุกๆ ครั้งที่สอย แก่ภิกษุผู้เย็บอยู่ เพราะพระบาลีว่า (ต้องปาจิตตีย์) ทุกๆ รอยเข็ม ดังนี้. แต่ถ้าว่าภิกษุไม่ชักเข็มออกหมดทั้งเล่ม แทงด้นไป แม้ทั้งร้อยครั้ง เพื่อด้นด้ายเนาแล้วจึงนำออก เป็นปาจิตตีย์ตัวเดียว.

คำว่า สกึ อาณตฺโต ได้แก่ ภิกษุผู้สั่งครั้งเดียวว่า จงเย็บจีวร.

คำว่า พหุมฺปิ สิพฺพติ มีความว่า ถ้าแม้นว่า ผู้รับสั่งให้สุจิกรรม ทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้ว ให้จีวรสำเร็จลง ก็เป็นปาจิตตีย์เพียงตัวเดียว. แต่ถ้าเธอ ได้รับคำสั่งว่า กรรมที่จะพึงทำในจีวรนี้ เป็นภาระของเธอ ดังนี้ แล้วจึงทำ เป็นปาจิตตีย์แก่ผู้รับสั่งทุกๆ รอยเข็ม รอยเข็มละ ๑ ตัว. เป็นปาจิตตีย์แม้ มากตัว เพราะคำพูดคำเดียวแก่ภิกษุผู้สั่ง. ส่วนในการสั่งบ่อยๆ ไม่มีคำที่จะ พึงกล่าวเลย.

ถ้าเมื่ออาจารย์และอุปัชฌาย์ กำลังเย็บจีวร เพื่อพวกภิกษุณีผู้เป็นญาติ ของตน, ฝ่ายนิสิตก์เหล่าใดของท่านเหล่านั้น เย็บด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักทำ

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 422

อาจริยวัตรอุปัชฌายวัตร หรือกฐินวัตร, เป็นอาบัติมากตัวแม้แก่นิสิตก์เหล่านั้น ตามจำนวนรอยเข็ม. อาจารย์และอุปัชฌาย์ใช้ให้พวกอันเตวาสิกเย็บ (จีวร) เพื่อพวกภิกษุณีผู้เป็นญาติของตน, เป็นทุกกฏแก่อาจารย์และอุปัชฌาย์. เป็น ปาจิตตีย์แก่พวกอันเตวาสิก. พวกอันเตวาสิกนิมนต์ให้อาจารย์และอุปัชฌาย์ ช่วยเย็บ (จีวร) เพื่อพวกภิกษุผู้เป็นญาติของตน, แม้ในการที่อันเตวาสิก นิมนต์อาจารย์และอุปัชฌาย์ให้ช่วยเย็บนั้น ก็นัยนั้นนี่และ จีวรเป็นของภิกษุณี ผู้เป็นญาติ ทั้งฝ่ายอันเตวาสิก ทั้งผ่ายอาจารย์และอุปชฌาย์. แต่อาจารย์และ อุปัชฌาย์ลวงพวกอันเตวาสิกให้เย็บ (จีวร) , เป็นทุกกฏแม้แก่ทั้ง ๒ ฝ่าย. เพราะเหตุไร? เพราะจีวรพวกอันเตวาสิกเย็บด้วยความสำคัญว่า ไม่ใช่ญาติ (และ) เพราะอาจารย์กับอุปัชฌาย์นอกนี้ ชักนำในสิ่งที่ไม่ควร. เพราะฉะนั้น จึงควรบอกว่า นี้เป็นจีวรของมารดาเธอ และนี้เป็นจีวรของน้องสาว แล้วให้ พวกเธอช่วยเย็บ

สองบทว่า อญฺํ ปริกฺขารํ ได้แก่ บริขารอย่างใดอย่างหนึ่ง มีถุงรองเท้าเป็นต้น. บทที่เหลือคนทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชซะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

จีวรสิพพนสิกขาบทที่ ๖ จบ

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 423

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๔๕๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ชักชวนกัน เดินทางไกลร่วมกับพวกภิกษุณี คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้เที่ยวไปกับพวก ภิกษุณี เหมือนพวกเรากับภรรยาเดินเที่ยวกันฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ยินคน พวกนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ชักชวนกัน แล้วเดินทางไกลร่วม กับพวกภิกษุณีเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอชักชวนกันแล้ว เดินทางไกลร่วมกับพวกภิกษุณี จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงชักชวนกัน แล้วเดินทางไกลร่วมกับพวกภิกษุณีเล่า การกระทำของ พวกเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใสหรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 424

พระบัญญัติ

๗๖.๗ ก. อนึ่ง ภิกษุได้ชวนกันแล้ว เดินทางไกลด้วย กันกับภิกษุณี โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป

[๔๕๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุและภิกษุณี ลายรูปด้วยกัน จะพากัน เดินทางไกลจากเมืองสาเกต ไปพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีพวกนั้นพบ ภิกษุ พวกเธอนั้นได้กล่าวคำนี้ว่า แม้พวกดิฉันก็จักไปกับพวกพระคุณเจ้าด้วย

ภิกษุพวกนั้น พูดว่า ดูก่อนน้องหญิง การชักชวนกันแล้วเดินทางไกล ร่วมกันกับภิกษุณีไม่สมควร พวกเธอจะไปก่อน หรือพวกฉันจักไป

ภิกษุณีพวกนั้นตอบว่า พวกพระคุณเจ้าเป็นชายผู้ล้ำเลิศ พระคุณเจ้า นั่นแหละจงไปก่อน

เมื่อภิกษุณีพวกนั้นเดินทางไปภายหลัง พวกโจรในระหว่างทางได้พา กันแย่งชิงและประทุษร้าย ครั้นภิกษุณีพวกนั้น ไปถึงพระนครสาวัตถี ได้แจ้ง เรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลายๆ ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายๆ ได้กราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอนุญาตให้ได้เดินทางร่วม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 425

ภิกษุทั้งหลาย ในหนทางที่จะต้องไปกับพวกเกวียน รู้กันอยู่ว่าเป็นที่น่ารังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า เราอนุญาตให้ชักชวนกันแล้วเดินทางไกลร่วมกับภิกษุณีได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ

๗๖. ข. อนึ่ง ภิกษุใดชักชวนกันแล้วเดินทางไกลด้วยกัน กับภิกษุณี โดยที่สุดแม้สั้นระยะบ้านหนึ่ง เว้นไว้แต่สมัย เป็น ปาจิตตีย์. ในสมัยในเรื่องนั้น ทางเป็นที่จะต้องไปด้วยพวกเกวียน รู้กันอยู่ว่าเป็นที่น่ารังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า นี้สมัยในเรื่องนั้น.

เรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๕๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ผู้ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย.

บทว่า กับ คือ ร่วมกัน.

บทว่า ชักชวนกันแล้ว คือ ชักชวนกันว่า ไปกันเถิดน้องหญิง ไปกันเถิดพระคุณเจ้า ไปกันเถิดเจ้าค่ะ ไปกันเถิดจ้ะ พวกเราไปกันในวันนี้ ไปกันในวันพรุ่งนี้ หรือไปกันในวันมะรืนนี้ ดังนี้ต้องอาบัติทุกกฏ.

บทว่า โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง คือ ในหมู่บ้านกำหนด ชั่วไก่บินตก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ ระยะบ้าน ในป่าหาบ้านมิได้ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ ทุกๆ กึ่งโยชน์.

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 426

บทว่า เว้นไว้แต่สมัย คือ ยกไว้แต่สมัย.

หนทางที่ชื่อว่า จะต้องไปด้วยพวกเกวียน คือ เว้นพวกเกวียน แล้วไม่สามารถจะไปได้

ที่ชื่อว่า เป็นที่น่ารังเกียจ คือในหนทางนั้นมีสถานที่พวกโจรซ่องสุม บริโภค ยืน นั่ง นอน ปรากฏอยู่

ที่ชื่อว่า มีภัยเฉพาะหน้า คือ ในหนทางนั้น มีมนุษย์ถูกพวกโจรฆ่า ปล้น ทุบที ปรากฏอยู่.

ภิกษุพาไปตลอดทางที่มีภัยเฉพาะหน้า ถึงทางที่ปลอดภัยแล้ว พึงส่ง พวกภิกษุณีไปด้วยคำว่า ไปเถิดน้องหญิงทั้งหลาย.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๔๕๘] ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าชักชวนกันแล้วเดินทางไกล ด้วยกัน โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง เว้นไว้แต่สมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสงสัย เดินทางไกลด้วยกัน โดยที่สุดแม้สิ้นระยะ บ้านหนึ่ง เว้นไว้แต่สมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวนกัน เดินทางไกลด้วยกัน โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง เว้นไว้แต่สมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกทุกกฏ

ภิกษุชักชวน ภิกษุณีไม่ได้ชักชวน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าชักชวน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 427

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวน ... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๔๕๕] มีสมัย ๑ ไม่ได้ชักชวนกันไป ๑ ภิกษุณีชักชวน ภิกษุไม่ ได้ชักชวน ๑ ไปผิดนัด ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

ภิกขุนีวรรค สังวิธานสิกขาบทที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๗ ดังต่อไปนี้

คำว่า ปจฺฉา คจฺฉนฺตีนํ โจรา อจฺฉินฺทึสุ มีความว่า เมื่อพวก ภิกษุณีไปที่หลัง พวกโจรได้ชิงเอาบาตรและจีวรไป.

บทว่า ทูเลสุํ ได้แก่ พวกโจรประทุษร้ายพวกภิกษุณีเหล่านั้น. อธิบายว่า ให้ถึงความเสียศีล.

บทว่า สํวิธาย คือ ชักชวนกัน, อธิบายว่า ทำการนัดหมายกัน ในเวลาจะไป.

[อธิบายบ้านชั่วระยะไก่บินถึงเป็นต้น]

ไก่ออกจากบ้านใด แล้วเดินไปยังบ้านอื่น, บ้านนี้ท่านเรียกว่า ชั่วไก่ ไปถึง ในบทว่า กุกฺกุฏสมฺปาเท นี้. ในบทนั้น มีอรรถเฉพาะคำดังต่อไปนี้

ไก่ทั้งหลายย่อมเที่ยวไปถึงที่บ้านนี้ เหตุนั้น บ้านนี้จึงชื่อว่า เป็น ที่ไปถึง. พวกไหนไปถึง? พวกไก่. การเที่ยวไปถึงของพวกไก่ ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 428

กุกกุฏสัมปาทะ. อีกอย่างหนึ่ง การไปถึง ชื่อว่า สัมปาทะ. การไปถึง ของพวกไก่ มีอยู่ที่บ้านนี้. เพราะเหตุนั้นบ้านนี้จึงชื่อว่า กุกกุฏสัมปาทะ. ปาฐะว่า กุกฺกุฏสมฺปาเต ก็มี. ไก่บินโผขึ้นจากหลังคาเรือนแห่งบ้านใด แล้ว ไปตกลงที่หลังคาเรือนแห่งบ้านอื่น, บ้านนี้ท่านเรียกว่า ชั่วไก่บินถึง ในปาฐะ ว่า กุกฺกุฏสมฺปาเต นั้น. ส่วนอรรถเฉพาะคำในบทนี้ บัณฑิตพึงทราบ โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.

ก็บ้านแม้มีประการดังกล่าวแล้ว ๒ อย่างนี้ ใกล้ชิดกันนัก ย่อมไม่ได้ อุปจาร ในอรรถกถาท่านกล่าวไว้ว่า ก็เสียงไก่ขันอยู่ในเวลาใกล้รุ่งในบ้านใด ได้ยินไปถึงในบ้านที่ถัดไป ต้องปาจิตตีย์ทุกๆ ละแวกบ้าน ในรัฐที่คับคั่ง ด้วยหมู่บ้านเช่นนั้น. ท่านได้กล่าวคำนั้นไว้แล้ว แม้ก็จริง, ถึงอย่างนั้น ก็เป็น อาบัติเหมือนกัน แก่ภิกษุผู้ก้าวลงสู่อุปจารแห่งบ้าน ซึ่งถ้าแม้นมีระยะห่างกัน ประมาณศอกกำที่พวกชาวบ้านเว้นไว้ เพราะพระบาลีว่า ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ ละแวกบ้าน ดังนี้. คำนั้นไม่สมด้วยพระบาลี. ถ้าว่า บ้านแม้เห็นปานนี้ โดยโวหารที่ได้แล้วอย่างนั้น เพราะไม่ใกล้ชิดกัน ย่อมได้โวหารว่า ชั่วไก่บินถึง ดังนี้ ก็ดี ว่า ชั่วไก่บินไม่ถึง ดังนี้ก็ดี เพราะเป็นบ้านใกล้ชิดกัน. เพราะ ฉะนั้น จึงไม่สมกันกับบาลี ฉะนั้นแล. ส่วนในบ้านนอกนี้ การเดินเลยอุปจาร บ้านนี้ไป และก้าวลงสู่อุปจารบ้านอื่นเท่านั้นไม่ปรากฏ. เพราะฉะนั้น ที่ยก อาบัติขึ้นปรับ จึงไม่ปรากฏเหมือนกัน.

[ว่าด้วยการกันชวนกันเดินทางร่วมกัน]

วินิจฉัยอาบัติในคำว่า คามนฺตเร คามนฺตเร อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นั้น ดังต่อไปนี้ จริงอยู่ ในเวลาชักชวนกัน ถ้าว่าภิกษุและภิกษุณีแม้ทั้ง ๒ ยืนชักชวนกัน ในสำนักภิกษุณีก็ดี ในระหว่างวัดก็ดี ในโรงฉันก็ดี ในที่ อยู่แห่งเดียรถีย์ก็ดี ไม่เป็นอาบัติ. ได้ยินว่า ภูมินี้ เป็นกัปปิยภูมิ. เพราะเหตุนั้น

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 429

ท่านอาจารย์ทั้งหลายจึงไม่ปรับอาบัติทุกกฏ เพราะการชักชวนเป็นปัจจัย ใน สำนักแห่งภิกษุณีเป็นต้นนี้ เป็นปาจิตตีย์ตามวัตถุทีเดียว แก่ภิกษุผู้เดินไป.

แต่ถ้าว่า ภิกษุกับภิกษุณีชักชวนกัน ภายในบ้าน ที่ถนนใกล้ประตู สำนักของภิกษุณีก็ดี ในที่เหล่าอื่น มีทาง ๔ แยก ๓ แยก และโรงช้างเป็นต้น ก็ดี, ภิกษุไม่ต้องทุกกฏ. ครั้นชักชวนกันอย่างนั้นแล้ว จึงออกจากบ้านไป. ไม่เป็นอาบัติเพราะการออกจากบ้าน. แต่ในเพราะย่างลงสู่อุปจารแห่งบ้านที่ ถัดไป เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุ. ท่านกล่าวไว้ในในมหาปัจจรีว่า แม้ในการย่างลงสู่ อุปจารนั้น เป็นทุกกฏในย่างเท้าที่ ๑ เป็นปาจิตตีย์ในย่างเท้าที่ ๒. ก็ภิกษุ ออกจากบ้านแล้ว แต่ยังไม่ย่างลงสู่อุปจารแห่งบ้านถัดไปเพียงใด, แม้เมื่อ ชักชวนกันในระหว่างนี้ ก็เป็นทุกกฏแก่ภิกษุเพียงนั้น. ในการย่างลงสู่อุปจาร แห่งบ้านถ้า ไป ไม่เป็นอาบัติโดยนัยก่อนเหมือนกัน. ถ้าภิกษุกับภิกษุณีมีความ ประสงค์จะไปสู่บ้านไกลมาก, เป็นอาบัติทุกๆ ครั้งที่ย่างลง (สู่อุปจารแห่งบ้าน) โดยนับอุปจารแห่งบ้าน

ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า แต่ไม่เป็นอาบัติในเพราะการเดินเลยบ้าน นั้นๆ ไป. แต่ถ้าภิกษุณีคิดว่า เราจักไปยังบ้านชื่อโน้น แล้วเดินออกจาก สำนักไป, ฝ่ายภิกษุก็คิดว่า เราจักไปยังบ้านโน้น แล้วเดินออกจากวิหาร มุ่งหน้าไปยังบ้านนั้นนั่นแล, ถ้าภิกษุกับภิกษุณีแม้ทั้ง ๒ ไปพบกันที่ประตูบ้าน แล้ว ถามกันว่า ท่านจะไปไหน? จะไปบ้านโน้น, ท่านจะไปไหน? กล่าวว่า แม้เราก็จะไปที่บ้านนั้นเหมือนกัน จึงชักชวนกันว่า มาเถิดท่าน พวกเราจะ ไปกันเดี๋ยวนี้ แล้วเดินไป ไม่เป็นอาบัติ. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า ภิกษุกับภิกษุณีต่างออกไปด้วยใส่ใจว่า เราจักไปตั้งแต่แรกนั่นเอง. คำที่กล่าว ในมหาปัจจรีนั้น ไม่สมด้วยบาลี และไม่สมด้วยอรรถกถาที่เหลือ.

สองบทว่า อฑฺฒโยชเน อฑฺฒโยชเน มีความว่า ภิกษุเดินเลย กึ่งโยชน์หนึ่งๆ ไปในขณะที่คิดว่า บัดนี้ เราจักเดินเลยไป เป็นทุกกฏใน

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 430

ย่างเท้าที่ ๑ เป็นปาจิตตีย์ในย่างเท้าที่ ๒. แท้จริง นัยนี้เป็นอาบัติในขณะที่ เดินเลยไป ไม่เป็นอาบัติในขณะย่างลง.

สองบทว่า ภิกฺขุ สํวิทหติ มีความว่า ภิกษุเห็นภิกษุณีที่ประตูเมือง หรือที่ถนน กล่าวว่า ท่านเคยไปสู่บ้านชื่อโน้นไหม? ภิกษุณีตอบว่า ดิฉัน ยังไม่เคยไป พระผู้เป็นเจ้า ภิกษุกล่าวว่า มาเถิด เราจักไปด้วยกัน หรือว่า ฉันจักไปพรุ่งนี้ แม้เธอก็พึงมาด้วย ดังนี้ก็ดี.

สองบทว่า ภิกฺขุนี สํวิทหติ มีความว่า ภิกษุณีเห็นภิกษุออกจาก บ้าน เพื่อจะไหว้พระเจดีย์ในบ้านอื่น จึงกล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้า ท่านจะ ไปไหน ภิกษุตอบว่า ฉันจะไปยังบ้านโน้น เพื่อไหว้พระเจดีย์ ดังนี้. ภิกษุณีนั่น แล ชักชวนแม้อย่างนี้ว่า พระผู้เป็นเจ้า! แม้ดิฉันก็จักไปด้วย. ภิกษุไม่ได้ชักชวน.

วินิจฉัยในคำว่า วิสงฺเกเตน นี้ พึงทราบดังนี้ ภิกษุกับภิกษุณี กล่าวว่า เราจักไปกันก่อนฉัน แล้วไปภายหลังฉัน กล่าวว่า เราจะมากันใน วันนี้ แล้วไปเสียวันพรุ่งนี้, อย่างนี้ไม่เป็นอาบัติ เพราะผิดนัดเวลาแล. แต่ แม้เมื่อมีการผิดนัดหมายประตู หรือผิดนัดหมายหนทาง เป็นอาบัติแท้.

บทว่า อาปทาสุ มีความว่า ในเพราะรัฐถูกปล้น ชาวชนบททั้งหลาย พากันขึ้นสู่ล้อทางเดินหรือล้อเกวียนอพยพไป, ไม่เป็นอาบัติ ในอันตรายมีรูป เห็นปานนี้. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๔ เกิดขึ้นทางกาย ๑ ทางกายกับวาจา ๑ ทางกายกับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

สังวิธานสิกขาบทที่ ๗ จบ

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 431

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๔๕๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ชักชวนกัน แล้ว โดยสารเรือลำเดียวกับพวกภิกษุณี ประชาชน เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า พวกเราพร้อมด้วยภรรยาเล่นเรือลำเดียวกันฉันใด พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ชักชวนกันแล้ว เล่นเรือลำเดียวกับพวก ภิกษุณี ก็ฉันนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ จึงได้ชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียวกับพวกภิกษุณีเล่า แล้วกราบทูล เนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียวกับภิกษุณี ทั้งหลาย จริงหรือ

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้ชักชวนกันแล้วโดยสารเรือลำเดียวกับภิกษุณีทั้งหลายเล่า การ กระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 432

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้

พระบัญญัติ

๗๗. ๘. ก. อนึ่งภิกษุใดชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียว กับภิกษุณี ขึ้นน้ำไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดี เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป

[๔๕๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุและภิกษุณีหลายรูปด้วยกันจะเดิน ทางไกลจากเมืองสาเกต ไปพระนครสาวัตถี ระหว่างทางมีแม่น้ำที่จะต้องข้าม จึงภิกษุณีพวกนั้น ได้กล่าวคำนี้กะภิกษุพวกนั้นว่า แม้พวกดิฉันก็จักข้ามไปกับ ด้วยพระคุณเจ้า.

ภิกษุพวกนั้นพูดว่า ดูก่อนน้องหญิง การชักชวนกันแล้วโดยสารเรือ ลำเดียวกันกับภิกษุณี ไม่สมควร พวกเธอจักข้ามไปก่อน หรือพวกฉันจัก ข้ามไป.

ภิกษุณีพวกนั้น ตอบว่า พวกพระคุณเจ้าเป็นชายผู้ล้ำเลิศ พระคุณเจ้า นั่นแหละจงข้ามไปก่อน.

เมื่อภิกษุณีพวกนั้นข้ามไปภายหลัง พวกโจรได้พากันแย่งชิงและประทุษร้าย ครั้นภิกษุณีพวกนั้น ไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ ภิกษุณีทั้งหลายๆ ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่พวกภิกษุๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 433

ทรงอนุญาตให้โดยสารเรือลำเดียวกันข้ามฟาก

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ในการข้ามฟาก เราอนุญาตให้ชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียว กับภิกษุณีได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้

พระอนุบัญญัติ

๗๗.๘. ข. อนึ่ง ภิกษุใดชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียว กับภิกษุณี ขึ้นน้ำไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดี เว้นไว้แต่ข้ามฟาก เป็น ปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๕๘] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ผู้ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย.

บทว่า กับ คือ ร่วมกัน.

บทว่า ชักชวนวนกันแล้ว คือ ชักชวนกันว่า ไปโดยสารเรือกันเถิด น้องหญิง ไปโดยสารเรือกันเถิดพระคุณเจ้า ไปโดยสารเรือกันเถิดเจ้าค่ะ ไปโดยสารเรือกันเถิดจ้ะ พวกเราไปโดยสารเรือกันในวันนี้ ไปโดยสารเรือกัน ในวันพรุ่งนี้ หรือไปโดยสารเรือกันในวันมะรืนนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 434

เมื่อภิกษุณีโดยสารแล้ว ภิกษุจึงโดยสาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เมื่อภิกษุโดยสารแล้ว ภิกษุณีจึงโดยสาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

หรือ โดยสารทั้งสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า ขึ้นน้ำไป คือ แล่นขึ้นทวนน้ำ.

บทว่า ล่องน้ำไป คือ แล่นลงตามน้ำ.

บทว่า เว้นไว้แต่ข้ามฟาก คือ ยกเว้นแต่ข้ามฟาก.

ในหมู่บ้านกำหนดชั่วไก่บินตก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ ระยะบ้าน ในป่าหาบ้านมิได้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ กึ่งโยชน์

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๔๕๙] ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือ ลำเดียวกัน ขึ้นน้ำไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดี เว้นไว้แต่ข้ามฟาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสงสัย โดยสารเรือลำเดียวกัน ขึ้นน้ำไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดี เว้นไว้แต่ข้ามฟาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ชักชวนกัน แล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวนกัน โดยสารเรือลำเดียว กัน ขึ้นน้ำไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดี เว้นไว้แต่ข้ามฟาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ

ภิกษุชักชวน ภิกษุณีไม่ได้ชักชวน ... ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญ ว่าชักชวน ... ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 435

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวน ... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๔๖๐] ข้ามฟาก ๑ ไม่ได้ชักชวนกันโดยสาร ๑ ภิกษุณีชักชวน ภิกษุไม่ได้ชักชวน ๑ โดยสารเรือผิดนัด ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมนิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

ภิกขุนีวรรค นาวาภิรุหนสิกขาบทที่ ๘

พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๘ ดังต่อไปนี้.

[ว่าด้วยการชักชวนกันโดยสารเรือลำเดียวกัน]

บทว่า สํวิธาย ได้แก่ ชักชวนกันมุ่งการเล่นเป็นเบื้องหน้า ด้วย อำนาจมิตรสันถวะซึ่งเป็นความยินดีของชาวโลก.

บทว่า อุทฺธคามินึ คือ แล่นทวนกระแสของแน่น้ำขึ้นไป. ก็เพราะ ผู้ซึ่งเล่นกีฬาทางเรือที่แล่นขึ้นทวนน้ำ โดยวิ่งทวนขึ้นไป ท่านเรียกว่า โดยสาร เรือขึ้นน้ำไป. ด้วยเหตุนั้น ในบทภาชนะแห่งบทว่า อุทฺธคามินึ นั้น เพื่อ แสดงเฉพาะอรรถเท่านั้น จึงตรัสว่า อุชฺชวนิกาย (แล่นขึ้นทวนน้ำ) ดังนี้.

บทว่า อุโธคามินึ คือ แล่นตามกระแสน้ำลงไป. ก็เพราะผู้ซึ่ง เล่นกีฬาทางเรือที่แล่นลงตามน้ำ โดยแล่นลงไปทางได้ ท่านเรียกว่าโดยสาร เรือล่องน้ำไป. ด้วยเหตุนั้น ในบทภาชนะแม้แห่งบทว่า อโธคามินึ นั้น

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 436

เพื่อแสดงแต่อรรถเหมือนกัน จึงตรัสว่า โอชวนิกาย (แล่นลงตามน้ำ) ดังนี้. ในเรือนั้น ชนทั้งหลาย ย่อมแล่นเรือใดไปเหนือ หรือใต้เพื่อให้ถึงท่าจอดเรือ, ไม่เป็นอาบัติในการแล่นเรือนั้นไปที่นั่น.

คำว่า ติริยนฺตรณาย นี้ เป็นปัญจมีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ.

ในคำว่า คามนฺตเร คามนฺตเร นี้ มีวินิจฉัยดังนี้. แม่น้ำใด มีฝั่งข้างหนึ่งต่อเนื่องกันด้วยหมู่บ้าน กำหนดชั่วไก่บินตก, ฝั่งข้างหนึ่งเป็นป่า ไม่มีบ้าน, ในเวลาไปทางริมฝั่งที่มีหมู่บ้านแห่งแม่น้ำนั้น เป็นปาจิตตีย์หลายตัว ด้วยจำนวนละแวกบ้าน. ในเวลาไปทางข้างริมฝั่งที่ไม่มีบ้าน เป็นปาจิตตีย์มาก ตัว ด้วยการนับกึ่งโยชน์. แต่แม่น้ำใดมีความกว้าง ๑ โยชน์ แม้ในการไป โดยท่ามกลางแห่งแม่น้ำนั้น ก็พึงทราบปาจิตตีย์หลายตัว ด้วยการนับกึ่งโยชน์.

ในคำว่า อนาปตฺติ ติรยนฺตรณาย นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ ไม่ใช่ ในแม่น้ำอย่างเดียว. แม้ภิกษุใดออกจากท่าชื่อมหาดิษฐ์ ไปสู่ท่าชื่อตามพลิตติ ก็ดี ชื่อสุวรรณภูมิ ก็ดี ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุนั้น. จริงอยู่ ในทุกๆ อรรถกถา ท่านวิจารณ์อาบัติไว้ในแม่น้ำเท่านั้น ไม่ใช่ในทะเล.

ในคำว่า วิสงฺเกเตน แม้น้ำ ก็ไม่เป็นอาบัติ เพราะผิดนัดเวลา เท่านั้น แต่เมื่อไปโดยผิดนัดท่าเรือโดยผิดนัดเรือเป็นอาบัติทีเดียว. คำที่เหลือ พร้อมด้วยสมุฏฐานเป็นต้น เป็นเช่นกับปฐมสิกขาบททั้งนั้นแล.

นาวาภิรุหนสิกขาบทที่ ๘ จบ

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 437

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๙

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

[๔๖๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน วิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้ง นั้น ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นกุลุปิกาของตระกูลแห่งหนึ่ง เป็นผู้รับภัตตาหาร ประจำอยู่ ก็แลคหบดีนั้นได้นิมนต์พระเถระทั้งหลายไว้ ครั้นเวลาเช้า ภิกษุณี ถุลลนันทาครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่ตระกูลนั้น ครั้นแล้ว ไต่ถามคหบดีนั้นว่า ดูก่อนท่านคหบดี ท่านจัดของเคี้ยวของฉันนี้ไว้มากมาย ทำไม.

ค. กระผมได้นิมนต์พระเถระทั้งหลายไว้ ขอรับ

ถุ. ดูก่อนคหบดี พระเถระเหล่านั้นคือใครบ้าง.

ค. คือพระคุณเจ้าสารีบุตร พระคุณเจ้ามหาโมคคัลลานะ พระคุณเจ้า มหากัจจานะ พระคุณเจ้ามหาโกฏฐิตะ พระคุณเจ้ามหากัปปินะ พระคุณเจ้า มหาจุนทะ พระคุณเจ้าอนุรุทธะ พระคุณเจ้าเรวตะ พระคุณเจ้าอุบาลี พระคุณ เจ้าอานนท์ พระคุณเจ้าราหุล.

ถุ. ดูก่อนคหบดี ก็เมื่อพระเถระผู้ใหญ่มีปรากฏอยู่ ทำไมท่านจึง นิมนต์พระเล็กๆ เล่า.

ค. พระเถระผู้ใหญ่เหล่านั้น คือใครบ้าง ขอรับ.

ถุ. คือพระคุณเจ้าเทวทัต พระคุณเจ้าโกกาลิกะ พระคุณเจ้ากฏโมรกติสสกะ พระคุณเจ้าขัณฑเทวีบุตร พระคุณเจ้าสมุทททัต.

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 438

ในระหว่างที่ภิกษุณีถุลลนันทาพูดค้างอยู่เช่นนี้ พอดีพระเถระทั้งหลาย เข้ามาถึง นางกลับพูดว่า ดูก่อนคหบดีถูกแล้ว พระเถระผู้ใหญ่ทั้งนั้น ท่าน นิมนต์มาแล้ว.

ค. เมื่อกี้นี้เองแท้ๆ ท่านพูดว่าพระคุณเจ้าทั้งหลายเป็นพระเล็กๆ เดี๋ยวนี้กลับพูดว่าเป็นพระเถระผู้ใหญ่ คหบดีนั้นพูดแล้วขับนางออกจากเรือน และงดอาหารที่ถวายประจำ.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระเทวทัตรู้อยู่ จึงฉันบิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำให้ถวาย แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระเทวทัตว่า ดูก่อนเทวทัต ข่าวว่า เธอรู้อยู่ฉันบิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำให้ถวาย จริงหรือ.

พระเทวทัตทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอรู้อยู่ จึงได้ฉันบิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำให้ถวายเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ว่า ดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 439

พระบัญญัติ

๗๘.๙. ก. อนึ่ง ภิกษุ รู้อยู่ ฉันบิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำ ให้ถวาย เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง

[๔๖๒] สมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งบวชมาจากพระนครราชคฤห์แล้ว ได้เดินทางไปยังตระกูลญาติ คนทั้งหลายได้ตั้งใจจัดภัตตาหารถวาย ด้วยดีใจว่า ต่อนานๆ ท่านาพึงได้มา ภิกษุณีกุลุปีกาของตระกูลนั้น ได้บอกแนะนำคน พวกนั้นว่า ขอพวกท่านจงถวายภัตตาหารแก่พระคุณเจ้าเถิด ฝ่ายภิกษุรูปนั้น รังเกียจว่า การที่ภิกษุรู้อยู่ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้ถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามไว้แล้ว ดังนี้ จึงไม่รับประเคน และไม่สามารถจะเที่ยว ไปบิณฑบาต ได้ขาดภัตตาหารแล้ว ครั้นเธอไปถึงพระอารามแล้วแจ้งความนั้น แก่ภิกษุทั้งหลายๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงอนุญาตให้ฉันบิณฑบาตที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ในเพราะคฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน เราอนุญาตให้ภิกษุ ผู้รู้อยู่ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้เขาถวายได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 440

พระอนุบัญญัติ

๗๘. ๙. ข. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ ฉันบิณฑบาตอันภิกษุณี แนะนำให้ถวาย เว้นแต่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๖๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า รู้ คือ รู้เอง หรือคนอื่นบอกเธอ หรือภิกษุณีนั้นบอก.

ผู้ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย.

ที่ชื่อว่า แนะนำให้ถวาย คือ ภิกษุณีบอกแก่ผู้ไม่ประสงค์จะ ถวายทาน ไม่ประสงค์จะทำบุญไว้แต่แรกว่า ท่านเป็นนักสวด ท่านเป็นผู้คง แก่เรียน ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในพระสุตตันตปิฏก ท่านเป็นพระวินัยธร ท่าน เป็นพระธรรมกถึก ขอท่านทั้งหลายจงถวายทานแก่ท่านเถิด ขอท่านทั้งหลาย จงทำบุญแก่ท่านเถิด ดังนี้ นี้ชื่อว่า แนะนำให้ถวาย.

ที่ชื่อว่า บิณฑบาต ได้แก่ โภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า เว้นไว้แต่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน คือ ยกแค่คฤหัสถ์ปรารภ ไว้ก่อน.

ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์ปรารภไว้ คือ เขาเป็นญาติ เป็นผู้ปวารณา หรือ เขาจัด แจงไว้ตามปรกติ.

เว้นจากบิณฑบาตที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน ภิกษุรับประเคนไว้ด้วย ตั้งใจว่าจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำกลืน.

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 441

บทภาชนีย์

[๔๖๔] บิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำให้ถวาย ภิกษุสำคัญว่าแนะนำ ให้ถวาย ฉัน เว้นไว้แต่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำให้ถวาย ภิกษุสงสัย ฉัน เว้นไว้แค่คฤหัสถ์ ปรารภไว้ก่อน ต้องอาบัติทุกกฏ.

บิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำให้ถวาย ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้แนะนำให้ ถวาย ฉัน เว้นไว้แต่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน ไม่ต้องอาบัติ.

บิณฑบาตอันภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว แนะนำให้ถวายภิกษุ ฉัน เว้นไว้แต่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน ต้องอาบัติทุกกฏ.

บิณฑบาตอันภิกษุณีมิได้แนะนำให้ถวาย ภิกษุสำคัญว่าแนะนำให้ถวาย ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

บิณฑบาตอันภิกษุณีมิได้แน่ะนำให้ถวาย ภิกษุสงสัย ฉัน ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

บิณฑบาตอันภิกษุณีมิได้แนะนำให้ถวาย ภิกษุสำคัญว่ามิได้แนะนำ ให้ถวาย ฉัน ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๔๖๕] ภิกษุฉันบิณฑบาตที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน ๑ ภิกษุฉัน บิณฑบาตอันสิกขมานาแนะนำให้ถวาย ๑ ภิกษุฉันบิณฑบาตอันสามเณรีแนะนำ ให้ถวาย ๑ ภิกษุฉันอาหารทุกชนิดเว้นโภชนะห้า ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 442

ภิกขุนีวรรค ปริปาจนสิกขาบทที่ ๙

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๙ พึงทราบดังนี้

[ว่าด้วยบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้ถวาย]

คำว่า มหานาเค ติฏฺมาเน เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่ง สัตตมีวิภัตติ. อธิบายว่าเมื่อพระเถระผู้ใหญ่ทั้งหลายมีปรากฏอยู่. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ศึกษาพึงเห็นปาฐะเหลือในคำนี้ ดังนี้ว่า เห็นพระเถระผู้ใหญ่ทั้งหลายมีปรากฏ อยู่. ความจริง เมื่อว่าโดยประการหลังนี้ ความยังไม่เหมาะ.

ถ้อยคำที่ยังไม่ถึงที่สุด ถึงตรงท่ามกลางแห่งการเริ่มต้นกับที่สุด ชื่อว่า อันตรากถา.

บทว่า วิปฺปกตา คือ กำลังทำค้างอยู่

คำว่า สจฺจํ มหา นาคา โข ตยา คหปติ มีความว่า ภิกษุณี ถูลนันทา หลิ่วตามอง เห็นพระเถระทั้งหลายกำลังเข้ามา ทราบว่าพระเถระ เหล่านั้นได้ยินแล้ว จึงกล่าวอย่างนี้.

บทว่า ภิกฺขุนีปริปาจิตํ ได้แก่ อันภิกษุณีแนะนำให้ถวาย. อธิบายว่า อันภิกษุณีให้สำเร็จ คือ ทำให้เป็นของควรได้ด้วยการประกาศคุณ. แต่ใน บทภาชนะแห่งบทนั้น เพื่อทรงแสดงภิกษุณีและอาการที่ภิกษุณีนั้น แนะนำ ให้ถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ผู้ชื่อว่าภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบท ในสงฆ์ ๒ ฝ่าย, ที่ชื่อว่าแนะนำให้ถวาย คือ (ภิกษุณีบอก) แก่คนผู้ไม่ประสงค์ จะถวายแต่แรก ดังนี้เป็นต้น.

ในคำ ปุพฺเพ คิหิสมารมฺภา นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 443

บทว่า ปุพฺเพ แปลว่า แต่แรกเริ่ม, ภัตที่เขาริเริ่มไว้แล้ว เรียกว่า สมารัมภะ. คำว่า สมารัมภะ นี้ เป็นชื่อแห่งภัตที่เขาตระเตรียมไว้แล้ว. การริเริ่มแห่งพวกคฤหัสถ์ ชื่อว่า คิหิสมารัมภะ. ภัตใดที่พวกคฤหัสถ์เตรียม ไว้ก่อนแต่นางภิกษุณีแนะนำให้ถวาย, ภิกษุฉันบิณฑบาตอื่นนอกจากภัตนั้น คือ เว้นบิณฑบาตนั้นเสีย เป็นอาบัติ. มีคำอธิบายว่า แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ฉันบิณฑบาตที่พวกคฤหัสถ์จัดแจงไว้นั้น. ส่วนในบทภาชนะ พระอุบาลีเถระ กล่าวไว้ว่า คิหิสมารมฺโภ นาม าตกา วา โหนฺติ ปวาริตา ดังนี้ เพื่อแสดงแต่อรรถเท่านั้น ไม่เอื้อเฟื้อถึงพยัญชนะ เพราะบิณฑบาต แม้ที่ พวกญาติและคนปวารณามิได้ปรารภไว้ เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุก็เป็นอันเขา ปรารภไว้แล้ว โดยอรรถ เพราะจะพึงให้นำมาได้ตามสบาย.

บทว่า ปกติปฏิยตฺตํวา มีความว่า เป็นภัตที่เขาจัดแจงไว้เพื่อ ประโยชน์แก่ภิกษุนั้นนั่นเอง ตามปรกติว่า พวกเราจักถวายแก่พระเถระ ดังนี้

แต่ในมหาปัจจรีกล่าวไว้โดยไม่แปลกกันว่า เป็นภัตที่เขาจัดแจงไว้ว่า จักถวายแก่พวกภิกษุ ไม่ได้ระบุว่า ภิกษุรูปนั้น หรือรูปอื่น.

ข้อว่า ปญฺจ โภชนานิ เปตฺวา สพพตฺถ อนาปตฺติ ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติในยาคูของควรเคี้ยว และผลไม้น้อยใหญ่ทั้งหมด แม้ที่นางภิกษุณี แนะนำให้ถวาย. บทที่เหลือคนทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปฐมปาราชิก เกิดขึ้นทางกายกับจิต เป็น กิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

ปริปาจมสิกขาบทที่ ๙ จบ

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 444

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระอุทายี

[๔๖๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ปุราณทุติยิกาของท่านพระอุทายีได้บวชอยู่ในสำนักภิกษุณี นางมาในสำนักท่าน พระอุทายีเนืองๆ แม้ท่านอุทายีก็ไปในสำนักนางเนืองๆ สมัยนั้นแล ท่าน ตระอุทายีได้สำเร็จการนั่งในที่ลับกับภิกษุณีนั้นหนึ่งต่อหนึ่ง

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่าไฉน ท่านพระอุทายีผู้เดียว จึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับกับภิกษุณีผู้เดียวเล่า แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระอุทายีว่า ดูก่อนอุทายี ข่าวว่า เธอผู้เดียวสำเร็จการนั่งในที่ลับกับภิกษุณีผู้เดียว จริงหรือ.

พระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอ เดียวจึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับกับภิกษุณีผู้เดียวเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุ่มชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้ :-

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 445

พระบัญญัติ

๗๙.๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด ผู้เดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับกับ ภิกษุณี ผู้เดียว เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระอุทายี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๖๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถ.

ผู้ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย

บทว่า กับ คือ ร่วมกัน.

บทว่า ผู้เดียว ผู้เดียว คือ มีเฉพาะภิกษุและภิกษุณี

ที่ชื่อว่า ที่ลับ คือ ที่ลับตา ที่ลับหู

ที่ชื่อว่า ที่ลับตา ได้แก่ สถานที่ซึ่งไม่สามารถแลเห็นภิกษุกับภิกษุณี ขยิบตากัน ยักคิ้วกัน หรือชะเง้อศีรษะกัน

ที่ชื่อว่า ที่ลับหู ได้แก่ สถานที่ซึ่งไม่สามารถได้ยินถ้อยคำที่พูดกัน ตามปกติ.

บทว่า สำเร็จการนั่ง ความว่า เมื่อภิกษุณีนั่ง ภิกษุนั่งใกล้ หรือ นอนใกล้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เมื่อภิกษุนั่ง ภิกษุณีนั่งใกล้หรือนอนใกล้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

นั่งทั้งสองก็ดี นอนทั้งสองก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 446

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๔๖๘] ที่ลับภิกษุสำคัญว่าที่ลับ สำเร็จการนั่งหนึ่งต่อหนึ่ง ต้อง อาบัติปาจิตตีย์

ที่ลับ ภิกษุสงสัย สำเร็จการนั่ง หนึ่งต่อหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ที่ลับสำเร็จการนั่ง หนึ่งต่อหนึ่ง ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ไม่ใช่ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ลับ สำเร็จการนั่ง หนึ่งต่อหนึ่ง ต้องอาบัติ ทุกกฏ

ไม่ใช่ที่ลับ ภิกษุสงสัย สำเร็จการนั่ง หนึ่งต่อหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ใช่ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ที่ลับ ... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๔๖๙] ภิกษุมีบุรุษผู้รู้เดียาสาคนใดคนหนึ่งอยู่ เป็นเพื่อน ๑ ภิกษุยืน มิได้นั่ง ๑ ภิกษุผู้มีได้มุ่งที่ลับ ๑ ภิกษุนั่งส่งใจไปในอารมณ์อื่น ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๓ จบ

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 447

ภิกขุนีวรรค รโหนิสัชชสิกขาบทที่ ๑๐

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๑๐ พึงทราบดังนี้ :-

อรรถแห่งบาลีและวินิจฉัยทั้งหมด ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยดังได้กล่าว แล้วในอนิยตสิกขาบทที่ ๒ นั่นแล. จริงอยู่ สิกขาบทนี้ มีข้อกำหนดอย่าง เดียวกันกับอนิยตสิกขาบทที่ ๒ และกับสิกขาบทที่ ๔ แห่งพระอุปนนทะข้างหน้า. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้แผนกหนึ่ง ด้วยอำนาจแห่งเหตุที่เกิดขึ้น ดังนี้แล.

รโหนิสัชชสิกขาบทที่ ๑๐ จบ

ภิกขุนีวรรคที่ ๓ จบบริบูรณ์

ตามวรรณนานุกรม

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 448

หัวข้อประจำเรื่อง

๑. อสัมมตภิกขุโนวาทสิกขาบท ว่าด้วยสั่งสอนภิกษุณี

๒. อัตถังคตสิกขาบท ว่าด้วยสั่งสอนภิกษุณีเมื่อ อาทิตย์ตกแล้ว

๓. ภิกขุปัสสยสิกขาบท ว่าด้วยสั่งสอนภิกษุณีถึง ในที่อยู่

๔. อามิสสิกขาบท ว่าด้วยสั่งสอนภิกษุณี เพราะเห็นแก่ลาภ

๕. จีวรทานสิกขาบท ว่าด้วยให้จีวร

๖. จีวรสิพพนสิกขาบท ว่าด้วยเย็บจีวร

๗. สังวิธานสิกขาบท ว่าด้วยชักชวนกันเดินทาง

๘. นาวาภิรุหนสิกขาบท ว่าด้วยโดยสารเรือ

๙. ปริปาจนสิกขาบท ว่าด้วยฉันบิณฑบาตอัน ภิกษุณี

๑๐. รโหนิสัชชสิกขาบท ว่าด้วยนั่งในที่ลับ

รวม ๑๐ สิกขาบท