พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๖ - สุราปานวรรค

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 มี.ค. 2565
หมายเลข  42779
อ่าน  653

[เล่มที่ 4] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒

พระวินัยปิฎก เล่ม ๒

มหาวิภังค์ ทุติยภาค

ปาจิตติยภัณฑ์

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๖

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระสาคตะ 575/630

พระบัญญัติ 633

สิกขาบทวิภังค์ 576/633

บทภาชนีย์ 577/633

อนาปัตติวาร 578/634

ปาจิตตีย์สุราปานวรรคที่ ๖

สุราปานสิกขาบทที่ ๑ 635

แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องสุราเมรัย 635

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๒ 637

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 579/637

พระบัญญัติ 638

สิกขาบทวิภังค์ 580/638

บทภาชนีย์ 581/638

อนาปัตติวาร 585/639

อังคุลีปโฏทกสิกขาบทที่ ๒ 640

แก้อรรถว่าด้วยการจี้ด้วยนิ้วมือ 640

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๓ 641

เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ 586/641

พระบัญญัติ 642

สิกขาบทวิภังค์ 587/642

บทภาชนีย์ 588/642

อนาปัตติวาร 591/643

หัสสธรรม สิกขาบทที่ ๓ 644

แก้อรรถว่าด้วยธรรมคือหัวเราะในน้ํา 644

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๔ 646

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 592/646

พระบัญญัติ 646

สิกขาบทวิภังค์ 593/647

บทภาชนีย์ 594/647

อนาปัตติวาร 597/648

อนาทริยสิกขาบทที่ ๔ 649

แก้อรรถว่าด้วยความไม่เอื้อเฟื้อในธรรม 649

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๕ 650

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 598/650

พระบัญญัติ 651

สิกขาบทวิภังค์ 599/651

บทภาชนีย์ 600/651

อนาปัตติวาร 652

ภิงสาปนสิกขาบทที่ ๕ 652

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๖ 653

เรื่องภิกษุหลายรูป 604/653

พระบัญญัติ 654

ทรงอนุญาตให้พระอาพาธผิงไฟได้ 605/654

พระอนุบัญญัติ ๑ 654

ทรงอนุญาตให้ตามประทีบเป็นต้น 606/655

พระอนุบัญญัติ ๒ 655

สิกขาบทวิภังค์ 607/655

บทภาชนีย์ 608/656

อนาปัตติวาร 609/656

โชตสมมทาน สิกขาบทที่ ๖ 657

แก้อรรถบางปาฐะเกี่ยวกับการจุดไฟผิง 657

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๗ 659

เรื่องพระเจ้าพิมพิสาร 610/659

พระบัญญัติ 660

ทรงอนุญาตให้อาบน้ําในฤดูร้อน 611/661

พระอนุบัญญัติ๑ 661

ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธอาบน้ําได้ 612/661

พระอนุบัญญัติ ๒ 662

ทรงอนุญาตให้ภิกษุทํานวกรรมอาบน้ําได้ 613/662

พระอนุบัญญัติ๓ 663

ทรงอนุญาตให้ภิกษุไปทางไกลอาบน้ําได้ 614/663

พระอนุบัญญัติ ๔ 663

ทรงอนุญาตให้ภิกษุทําจีวรอาบน้ําได้ 615/664

พระอนุบัญญัติ ๕ 664

สิกขาบทวิภังค์ 616/664

บทภาชนีย์ 617/665

อนาปัตติวาร 618/666

นหานสิกขาบทที่ ๒ 666

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๘ 667

เรื่องภิกษุหลายรูป 619/667

พระบัญญัติ 668

สิกขาบทวิภังค์ 620/668

บทภาชนีย์ 621/669

อนาปัตติวาร 622/669

ทุพพัณณกรณสิกขาบทที่ ๘ 670

ว่าด้วยการพินทุจีวรที่ได้มาใหม่ก่อนใช้ 670

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๙ 672

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร 672

พระบัญญัติ 673

สิกขาบทวิภังค์ 624/673

บทภาชนีย์ 625/674

อนาปัตติวาร 626/675

วิกัปปนสิกขาบทที่ ๙ 675

ว่าด้วยการใช้จีวรยังไม่ได้ถอนวิกัป 675

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ 677

เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ 627/677

พระบัญญัติ 677

สิกขาบทวิภังค์ 628/677

บทภาชนีย์ 629/678

อนาปัตติวาร 630/679

จีวราปนิธานสิกขาบทที่ ๑๐ 680

หัวข้อประจําเรื่อง 680


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 4]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 630

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๖

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระสาคตะ

[๕๗๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเสด็จจาริกในเจติยชนบท ได้ทรงพระดำเนินไปทางตำบลบ้านรั้วงาม คนเลี้ยงโค คนเลี้ยงปศุสัตว์ คนชาวนา คนเดินทาง ได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังทรงพระดำเนินมา แต่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระองค์อย่าได้ เสด็จไปยังท่ามะม่วงเลย พระพุทธเจ้าข้า เพราะที่ท่ามะม่วงมีนาคอาศัยอยู่ใน อาศรมชฎิล เป็นสัตว์มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษมีพิษร้าย มันจะได้ไม่ทำร้ายพระองค์ พระพุทธเจ้าข้า.

เมื่อเขากราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระองค์ได้ทรงดุษณี.

แม้ครั้งที่สองแล ... แม้ครั้งที่สามแล ...

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงตำบลบ้านรั้วงามแล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ ตำบลบ้านรั้วงามนั้น. ครั้งนั้นแล ท่านพระสาคตะเดินผ่านไปทางท่ามะม่วง อาศรมชฎิล

ครั้นถึงแล้วได้เข้าไปยังโรงบูชาไฟ ปูหญ้าเครื่องลาด นั่งบัลลังก์ ตั้งกาย ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า นาคนั้นพอแลเห็นท่านพระสาคตะเดินผ่านเข้ามา ได้เป็นสัตว์ดุร้ายขุ่นเคือง จึงบังหวนควันขึ้นในทันใด แม้ท่านพระสาคตะก็ บังหวนควันขึ้น มันทนความลบหลู่ไม่ได้ จึงพ่นไฟสู้ในทันที แม้ท่านพระ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 631

สาคตะก็เข้าเตโชธาตุกสิณสมาบัติ บันดาลไฟต้านทานไว้ ครั้นท่านครอบงำ ไฟของนาคนั้นด้วยเตโชกสิณแล้ว เดินผ่านไปทางตำบลบ้านรั้วงาม.

ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ทำบลบ้านรั้วงาม ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จหลีกไปสู่จาริกทางพระนครโกสัมพี พวกอุบาสกชาว พระนครโกสัมพีได้ทราบข่าวว่า พระคุณเจ้าสาคตะได้ต่อสู้กับนาคผู้อยู่ ณ ทำบลท่ามะม่วง พอดีพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกโดยลำดับถึงพระนคร โกสัมพี จึงพวกอุบาสกชาวพระนครโกสัมพีพากันรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้ว เข้าไปหาท่านพระสาคตะ กราบไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วถามท่านว่า ท่านขอรับ อะไรเป็นของหายากและเป็นของชอบของพระคุณเจ้า พวกกระผมจะจัดของอะไรถวายดี.

เมื่อเขาถามอย่างนั้นแล้ว พระฉัพพัคคีย์ได้กล่าวตอบคำนี้กะพวก อุบาสกว่า มี ท่านทั้งหลาย สุราใสสีแดงดังเท้านกพิราบ เป็นของหายาก ทั้งเป็นของชอบของพวกพระ ท่านทั้งหลายจงแต่งสุรานั้น ถวายเถิด. ครั้งนั้น พวกอุบาสกชาวพระนครโกสัมพี ได้จัดเตรียมสุราใสสีแดง ดังเท้านกพิราบไว้ทุกๆ ครัวเรือน พอเห็นท่านพระสาคตะเดินมาบิณฑบาต จึงต่างพากันกล่าวเชื้อเชิญว่า นิมนต์พระคุณเจ้าสาคตะดื่มสุราใสสีแดงดังเท้า นกพิราบเจ้าข้า นิมนต์พระคุณเจ้าสาคตะดื่มสุราใสสีแดงดังเท้านกพิราบ เจ้าข้า.

ครั้งนั้น ท่านพระสาคตะได้ดื่มสุราใสสีแดงดังเท้านกพิราบทุกๆ ครัว เรือนแล้ว เมือจะเดินออกจากเมือง ได้ล้มกลิ้งอยู่ที่ประตูเมือง.

พอดีพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากเมืองพร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระสาคตะล้มกลิ้งอยู่ที่ประตูเมือง จึงรับสั่งกะภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงช่วยกันหามสาคตะไป.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 632

ภิกษุเหล่านั้นรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว หามท่านพระสาคตะไปสู่ อาราม ให้นอนหันศีรษะไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ท่านพระสาคตะได้ พลิกกลับนอนผันแปรเท้าทั้งสองไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย สาคตะมีความเคารพ มีความยำเกรงในคถาคตมิใช่หรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เป็นดังรับสั่ง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เออก็บัดนี้ สาคตะมีความเคารพ มีความ ยำเกรงในตถาคตอยู่หรือ.

ภิ. ข้อนั้นไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาคตะได้ต่อสู้กับนาคอยู่ที่ตำบลท่ามะม่วง มิใช่หรือ.

ภิ. ใช่ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เดี๋ยวนี้สาคตะสามารถจะต่อสู้แม้กับงูน้ำได้ หรือ.

ภิ. ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย น้ำที่ดื่มเข้าไปแล้วถึงวิสัญญีภาพนั้น ควรดื่ม หรือไม่.

ภิ. ไม่ควรดื่ม พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของสาคตะไม่เหมาะ. ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนสาคตะจึงได้ดื่มน้ำที่ทำ ผู้ดื่มให้เมาเล่า การกระทำของสาคตะนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 633

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๐๐. ๑. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะดื่มสุราและเมรัย.

เรื่องพระสาคตะ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๗๖] นี้ชื่อว่า สุรา ได้แก่สุราที่ทำด้วยแป้ง สุราที่ทำด้วยขนม สุราที่ทำด้วยข้าวสุก สุราที่หมักส่าเหล้า สุราที่ผสมด้วยเครื่องปรุง

ที่ชื่อ เมรัย ได้แก่น้ำดองดอกไม้ น้ำดองผลไม้ น้ำดองน้ำผึ้ง น้ำดองน้ำอ้อยงบ น้ำดองที่ผสมด้วยเครื่องปรุง.

คำว่า ดื่ม คือ ดื่มโดยที่สุดแม้ด้วยปลายหญ้าคา ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๗๗] น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่าน้ำเมา ดื่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ น้ำเมา ภิกษุสงสัย ดื่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่น้ำเมา ดื่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ไม่ใช่น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่าน้ำเมา ดื่ม ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่น้ำเมา ภิกษุสงสัย ดื่ม ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 634

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ใช่น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่น้ำเมา ดื่ม ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๕๗๘] ภิกษุดื่มน้ำที่มีกลิ่นรสเหมือนน้ำเมา แต่ไม่ใช่น้ำเมา ๑ ภิกษุ ดื่มน้ำเมาที่เจือลงในแกง ๑ ... ที่เจือลงในเนื้อ ๑ ... ที่เจือลงในน้ำมัน ๑ ... น้ำเมาในน้ำอ้อยที่ดองมะขามป้อม ๑ ภิกษุดื่มยาดองอริฏฐะซึ่งไม่ใช่ของ เมา ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมนิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติและ

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 635

ปาจิตตีย์ สุราปานวรรคที่ ๖

สุราปานสิกขาบทที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๑ แห่งสุราปานวรรค ดังต่อไปนี้:-

[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องสุราเมรัย]

หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ชื่อว่า ภัททวติกะ. หมู่บ้านนั้นได้ชื่ออย่างนี้ เพราะประกอบด้วยรั้วงาม.

บทว่า ปถาวิโน แปลว่า คนเดินทาง.

สองบทว่า เตชสา เตชํ ได้แก่ (ครอบงำ) ซึ่งเดชแห่งนาคด้วยเดช คือ ด้วยอานุภาพของตน.

บทว่า กาโปติกา คือ มีสีแดงเสมอเหมือนกับสีเท้าแห่งพวกนกพิราบ.

คำว่า ปสนฺนา นี้ เป็นชื่อแห่งสุราใส.

สามบทว่า อนนุจฺฉวิกํ ภิกฺขเว สาคตสฺส มีรูปความที่ท่านกล่าว ไว้ว่า ชื่อว่า การดื่มน้ำเมา เป็นการไม่สมควรแก่สาคตะผู้สำเร็จอภิญญา ๕.

เมรัยที่เขาทำด้วยรสแห่งดอกมะซางเป็นต้น ชื่อว่า ปุปผาสวะ. เมรัย ที่เขาคั้นผลลูกจันทน์เป็นต้นแล้ว ทำด้วยรสแห่งผลลูกจันทน์เป็นต้นนั้น ชื่อว่า ผลาสวะ. เมรัยที่เขาทำด้วยรสชาติแห่งผลลูกจันทน์ (หรือองุ่น) เป็นต้น ชื่อว่า มัธวาสวะ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เขาทำด้วยน้ำผึ้งก็มี. เมรัยที่ ชื่อว่า คุฬาสวะ. เขาทำด้วยน้ำอ้อยสด เป็นต้น.

ธรรมดาสุรา ที่เขาใส่เธอแป้ง กระทำด้วยรสแม้แห่งจั่นมะพร้าว เป็นต้น ย่อมถึงการนับว่า สุราทั้งนั้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เมื่อตักเอา น้ำใสแห่งสุราใส่เชื้อแล้วนั่นแล (ที่เหลือ) ย่อมถึงการนับว่าเมรัยทั้งนั้น.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 636

สามบทว่า อนฺตมโส กุสคฺเคนาปิ ปิวติ มีความว่า ภิกษุดื่มสุรา หรือเมรัยนั่นตั้งแต่เชื้อ แม้ด้วยปลายหญ้าคา เป็นปาจิตตีย์. แต่เมื่อดื่มแม้มาก ด้วยประโยคเดียว เป็นอาบัติเพียงตัวเดียว. เมื่อดื่มขาดเป็นระยะๆ เป็นอาบัติ มากตัวโดยนับประโยค.

คำว่า อมชฺชญฺจ โหต มชฺชวณฺณํ มชฺชคนฺธํ มชฺชรสํ มี ความว่า เป็นยาดองน้ำเกลือก็ดี มีสีแดงจัดก็ดี.

บทว่า สูปสํปาเก มีความว่า ชนทั้งหลายใส่น้ำเมาลงนิดหน่อย เพื่ออบกลิ่นแล้วต้มแกง, เป็นอนาบัติ ในเพราะแกงใส่น้ำเมาเล็กน้อยนั้น. แม้ในต้มเนื้อก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ชนทั้งหลายย่อมเจียวน้ำมันกับน้ำเมา แม้ เพื่อเป็นยาระงับลม, ไม่เป็นอาบัติในน้ำมัน แม้นั้นที่ไม่ได้เจือน้ำเมาจนเกินไป เท่านั้น. ในน้ำมันที่เจือน้ำเมาจัดไป จนมีสีมีกลิ่น และรสแห่งน้ำเมาปรากฏ เป็นอาบัติแท้.

สองบทว่า อมชฺชํ อริฏฺํ มีความว่า ในยาดองชื่ออริฏฐะซึ่งไม่ใช่ น้ำเมา ไม่เป็นอาบัติ. ได้ยินว่า ชนทั้งหลายทำยาดองชื่ออริฏฐะ ด้วยรสแห่ง มะขามป้อมเป็นต้นนั่นแหละ. ยาดองนั้นมี สี กลิ่น และรสคล้ายน้ำเมา แต่ไม่เมา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอายาดองชื่ออริฏฐะนั้น จึงตรัสคำนี้ แต่ยาดองอริฏฐะที่เขาปรุงด้วยเครื่องปรุงจัดเป็นน้ำเมา ไม่ควรตั้งแต่เชื้อ. บท ที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ แล. ก็ใน สมุฏฐานเป็นต้นนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นอจิตตกะ. เพราะไม่รู้วัตถุ. พึง ทราบว่า เป็นโลกวัชชะ เพราะจะพึงดื่มด้วยอกุศลจิตเท่านั้น ดังนี้แล.

สุราปานสิกขาบทที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 637

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๕๗๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ได้ทำภิกษุรูปหนึ่งในจำพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ให้หัวเราะ เพราะ จี้ด้วยนิ้วมือ ภิกษุรูปนั้นเหนื่อย หายใจไม่ทันได้ถึงมรณภาพลง บรรดาภิกษุ ที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึง ได้ทำภิกษุให้หัวเราะ เพราะจี้ด้วยนิ้วมือเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอทำภิกษุให้หัวเราะเพราะจี้ด้วยนิ้วมือ จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้ทำภิกษุให้หัวเราะ เพราะจี้ด้วยนิ้วมือเล่า การกระทำของพวก เธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิงของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 638

พระบัญญัติ

๑๐๑. ๒. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะจี้ด้วยนิ้วมือ.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๘๐] ที่ชื่อว่า จี้ด้วยนิ้วมือ คือ ใช้นิ้วมือจี้ อุปสัมบันมีความ ประสงค์จะยังอุปสัมบันให้หัวเราะ ถูกต้องกายด้วยกาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๘๑] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ใช้นิ้วมือจี้ให้หัวเราะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ใช้นิ้วมือจี้ให้หัวเราะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ใช้นิ้วมือจี้ให้หัวเราะ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

ทุกกฏ

[๕๘๒] ภิกษุเอากายถูกต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุเอาของเนื่องด้วยกายถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุเอาของเนื่องด้วยกายถูกต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุเอาของโยนถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุเอาของโยนถูกต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุเอาของโยนถูกต้องของโยน ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๘๓] ภิกษุเอากายถูกต้องกายอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 639

ภิกษุเอากายถูกต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุอาของเนื่องด้วยกายถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุเอาของเนื่องด้วยกายถูกต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุเอาของโยนถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุเอาของโยนถูกต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุเอาของโยนไปถูกต้องของโยนมา ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๘๔] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน เอานิ้วมือจี้ให้หัวเราะ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๕๘๕] ภิกษุไม่ประสงค์จะให้หัวเราะ เมื่อมีกิจจำเป็น ถูกต้องเข้า ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 640

อังคุลีปโฏทกสิกขาบทที่ ๒

ในสิกขาบทที่ ๒ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถว่าด้วยการจี้ด้วยนิ้วมือ]

ด้วยบทว่า องฺคุลีปโฏทเกน นี้ ตรัสการเอานิ้วมือจี้ที่รักแร้เป็นต้น.

บทว่า อุตฺตสนฺโต คือ เหน็ดเหนื่อยด้วยการหัวเราะเกินไป.

บทว่า อนสฺสาสโก คือ เป็นผู้มีลมอัสสาสะปัสสาสะขาดการสัญจร ไปมา.

สามบทว่า อนุปสมฺปนฺนํ กาเยน กายํ มีความว่า แม้นางภิกษุณี ก็ตั้งอยู่ในฐานแห่งอนุปสัมบัน ในสิกขาบทนี้. เมื่อภิกษุถูกต้องนางภิกษุณี แม้นั้น ด้วยประสงค์จะเล่น ก็เป็นทุกกฏ. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจปฐมปาราชิกสิกขาบท เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๒ ดังนี้แล.

อังคุลีปโฏทกสิกขาบทที่ ๒ จบ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 641

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์

[๕๘๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระสัตตรสวัคคีย์กำลังเล่นน้ำกันอยู่ในแม่น้ำอจิรวดี ขณะนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ประทับอยู่ ณ พระปราสาทชั้นบน พร้อมด้วยพระนางมัลลิกาเทวี ได้ทอด พระเนตรเห็นพระสวัตตรสวัคคีย์กำลังเล่นน้ำอยู่ในแม่น้ำอจิรวดี ครั้นแล้วก็ได้ รับสั่งกะพระนางมัลลิกาเทวีว่า นี่แน่ะแม่มัลลิกา นั่นพระอรหันต์กำลังเล่นน้ำ.

พระนางกราบทูลว่า ขอเดชะ ชะรอยพระผู้มีพระภาคเจ้ายังมิได้ทรง บัญญัติสิกขาบท หรือภิกษุเหล่านั้นจะยังไม่สันทัดในพระวินัยเป็นแน่ พระพุทธ เจ้าข้า.

ขณะนั้น ท้าวเธอทรงรำพึงว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ เราจะไม่ต้อง กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า และพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงทรงทราบได้ว่า ภิกษุ เหล่านั้นเล่นน้ำ ครั้นแล้วท้าวเธอรับสั่งให้นิมนต์พระสัตตรสวัคคีย์มา แล้ว พระราชทานน้ำอ้อยงบใหญ่แก่ภิกษุเหล่านั้น รับสั่งว่า ขอพระคุณเจ้าโปรด ถวายน้ำอ้อยงบนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระสัตตรสวัคคีย์ได้นำน้ำอ้อยงบนั้นไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กราบทูลว่า พระเจ้าแผ่นดินถวายน้ำอ้อยงบนี้แต่พระองค์ พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พระเจ้าแผ่นดิน พบพวกเธอที่ไหนเล่า.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 642

พระสัตตรสวัคคีย์กราบทูลว่า พบพวกข้าพระพุทธเจ้ากำลังเล่นน้ำอยู่ ในแม่น้ำอจิรวดี พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้เล่นน้ำเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใสแล้ว หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่ เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า ดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๑๐๒.๓. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะธรรมคือหัวเราะในน้ำ.

เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๘๗] ที่ชื่อว่า ธรรมคือหัวเราะในน้ำ ความว่า ในน้ำลึกพ้น ข้อเท้าขึ้นไป ภิกษุมีความประสงค์จะรื่นเริง ดำลงก็ดี ผุดขึ้นก็ดี ว่ายไปก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๘๘] เล่นน้ำ ภิกษุสำคัญว่าเล่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เล่นน้ำ ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เล่นน้ำ ภิกษุก็สำคัญว่ามิได้เล่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 643

ทุกกฏ

[๕๘๙] ภิกษุเล่นน้ำตื้นใต้ข้อเท้า ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุเล่นเรือ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุเอามือวักน้ำก็ดี เอาเท้าแกว่งน้ำก็ดี เอาไม้ขีดน้ำก็ดี เอากระเบื้อง ปาน้ำเล่นก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

น้ำ น้ำส้ม น้ำนม เปรียง น้ำย้อม น้ำปัสสาวะ หรือน้ำโคลน ซึ่ง ขังอยู่ในภาชนะ ภิกษุเล่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๙๐] ไม่ได้เล่นน้ำ ภิกษุสำคัญว่าเล่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ได้เล่นน้ำ ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ได้เล่นน้ำ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้เล่น ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๕๙๑] ภิกษุไม่ประสงค์จะเล่น แต่เมื่อมีกิจจำเป็น ลงน้ำแล้วดำลง ก็ดี ผุดขึ้นก็ดี ว่ายไปก็ดี ๑ ภิกษุผู้จะข้ามฟาก ดำลงก็ดี ผุดขึ้นก็ดี ว่ายไป ก็ดี ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 644

หัสสธรรมสิกขาบทที่ ๓

ในสิกขาบทที่ ๓ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถว่าด้วยธรรม คือหัวเราะในน้ำ]

บทว่า อปฺปกตญฺญุโน มีความว่า ภิกษุเหล่านั้นจะยังไม่รู้ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแต่งตั้ง ไว้ คือ ทรงบัญญัติไว้แล้ว. การเล่นน้ำ พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ธรรม คือ การหัวเราะในน้ำ.

บทว่า อุปริโคปฺผเก คือ ในน้ำลึกขนาดท่วมส่วนเบื้องบนของข้อ เท้าทั้ง ๒.

บทว่า หสุสาธิปฺปาโย แปลว่า มีความประสงค์จะเล่น.

ในคำว่า นิมุชฺชติ วา เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า เนื้อหยั่งลงเพื่อต้อง การจะดำลง เป็นทุกกฏ ทุกๆ ย่างเท้า. ในการดำลงและผุดขึ้นเป็นปาจิตตีย์ ทุกๆ ประโยค. ภิกษุดำลงว่ายไปภายในน้ำนั่นเอง เป็นปาจิตตีย์ ทุกๆ ครั้ง ที่ขยับมือขยับเท้าในที่ทั้งปวง.

บทว่า ปลวติ แปลว่า ว่ายข้ามไป. เมื่อใช้มือทั้ง ๒ ว่ายข้ามไป เป็นปาจิตตีย์ ทุกๆ ครั้งที่ขยับมือ. แม้ในเท้าทั้ง ๒ ก็นัยนี้นั้นแล ภิกษุว่ายข้าม ไปด้วยอวัยวะใดๆ เป็นปาจิตตีย์ ทุกๆ ประโยค แห่งอวัยวะนั้นๆ. ภิกษุ กระโดดลงในน้ำ จากฝั่งก็ดี จากต้นไม้ก็ดี เป็นปาจิตตีย์เหมือนกัน.

สองบทว่า นาวาย กีฬติ มีความว่า ภิกษุแล่นเรือด้วยพายและถ่อ เป็นต้น หรือเข็นเรือบนตลิ่ง ชื่อว่าเล่นเรือ เป็นทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 645

แม้ในบทว่า หตฺเถน วา เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นทุกกฏ ทุกๆ ประโยค. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เมื่อภิกษุเอามือปากระเบื้องไปบน น้ำ เป็นทุกกฏ ทุกๆ ครั้งที่กระเบื้องตกลงและแฉลบขึ้น. คำนั้นไม่ควรถือ เอา แท้จริง ในเพราะกระเบื้องที่ปาลงไปในน้ำนั้น เป็นทุกกฏตัวเดียวเท่านั้น เพราะมีประโยคเดียว.

อีกนัยหนึ่ง ภิกษุข้ามน้ำ หรือมิได้ข้าม เล่นน้ำที่ขังอยู่ในที่แห่งใด แห่งหนึ่ง ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งอื่น เว้นการคำผุดเป็นต้น ที่กล่าวแล้ว ในน้ำพ้น ข้อเท้าขึ้นไป ขึ้นที่สุด แม้เล่นวักหยาดน้ำสาดก็เป็นทุกกฏเหมือนกัน. แต่จะเขียนอักษรขยายความ ควรอยู่. ในสิกขาบทนี้ มีวินิจฉัยเท่านี้. บทที่ เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนปฐมปาราชิก เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ ดังนี้ แล.

หัสสธรรมสิกขาบทที่ ๓ จบ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 646

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระฉันนะ

[๕๙๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะประพฤติอนาจาร ภิกษุทั้งหลาย ได้ว่ากล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสฉันนะ ท่านอย่าได้ทำเช่นนั้น การกระทำเช่นนั้น ไม่ควร ท่านพระฉันนะไม่เอื้อเฟื้อยังขืนทำอยู่อย่างเดิม บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มัก น้อย ... ต่างก็พากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนท่านพระฉันนะจึงได้ไม่ เอื้อเฟื้อยังขืนทำอยู่เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระฉันนะว่า ดูก่อนฉันนะ ข่าว ว่า เธอไม่เอื้อเฟื้อยังขืนทำอยู่ จริงหรือ.

ท่านพระฉันนะทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอ จึงได้ไม่เอื้อเฟื้อยังขืนทำอยู่อีกเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อม ใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๐๓.๔. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ.

เรื่องพระฉันนะ จบ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 647

สิกขาบทวิภังค์

[๕๙๓] ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อ ได้แก่ความไม่เอื้อเฟื้อ ๒ อย่าง คือ ความไม่เอื้อเฟื้อในบุคคล ๑ ความไม่เอื้อเฟื้อในธรรม ๑.

ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อในบุคคล ได้แก่ ภิกษุผู้อันอุปสัมบัน ว่ากล่าวอยู่ด้วยพระบัญญัติ แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า ท่านผู้นี้ถูกยก วัตร ถูกดูหมิ่น หรือถูกติเตียน เราจักไม่ทำตามถ้อยคำของท่านผู้นี้ ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อในธรรม ได้แก่ภิกษุผู้อันอุปสัมบัน ว่า กล่าวอยู่ด้วยพระบัญญัติ แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า ไฉนธรรมข้อนี้จะ พึงเสื่อม สูญหาย หรืออันตรธานเสีย ดังนี้ก็ดี ไม่ประสงค์จะศึกษาพระบัญญัติ นั้น จึงแสดงความไม่เอื้อเฟื้อก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๕๙๔] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสงสัยแสดงความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกกฏ

[๕๙๕] ภิกษุอุปสัมบันว่ากล่าวอยู่ ด้วยข้อธรรมอันมิใช่พระบัญญัติ แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า ข้อนี้ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา ไม่เป็นไป เพื่อความกำจัด ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้ที่น่าเลื่อมใส ไม่เป็นไปเพื่อความไม่ สะสม ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 648

ภิกษุถูกอนุปสัมบันว่ากล่าวอยู่ด้วยพระบัญญัติก็ดี ด้วยข้อธรรมอัน มิใช่พระบัญญัติก็ดี แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า ข้อนี้ ไม่เป็นไปเพื่อความ ขัดเกลาไม่เป็นไปเพื่อความกำจัด ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้ที่น่าเลื่อมใส ไม่ เป็นไปเพื่อความไม่สะสม ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๙๖] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ ต้อง อาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๕๙๗] ภิกษุกล่าวชี้เหตุว่า อาจารย์ทั้งหลายของพวกข้าพเจ้าเรียนมา อย่างนี้ สอบถามมาอย่างนี้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 649

อนาทริยสิกขาบทที่ ๔

ในสิกขาบทที่ ๔ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถว่าด้วยความไม่เอื้อเฟื้อในธรรม]

คำว่า กถายํ นสฺเสยฺย มีความว่า ไฉน ธรรม คือแบบแผน ประเพณีนี้ จะพึงเสื่อมไปเสีย.

คำว่า ตํ วา น สิกฺขิตุกาโม มีความว่า ผู้ไม่ประสงค์จะศึกษา พระบัญญัติ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ ซึ่งเป็นเหตุให้พวกภิกษุเรียก (เธอว่าผู้ไม่เอื้อเฟื้อ).

บทว่า อปฺปญฺตฺเตน คือ ไม่ได้มาในพระสูตร หรือในพระอภิธรรม.

ในคำว่า เอวํ อมฺหากํ อาจริยานํ อุคฺคโห นี้ ไม่ควรถือเอา การเรียนของอาจารย์ที่น่าติเตียน. ควรถือเอาการเรียนของอาจารย์ที่มาตาม ประเพณีเท่านั้น. ในกุรุนที กล่าวว่า การเรียนตามอาจารย์ในทางโลกวัชชะ ไม่ควร, แต่ในทางปัณณัตติวัชชะ ควรอยู่. ในมหาปัจจรีกล่าวว่า การเรียน ของพวกอาจารย์ผู้เรียนสูตร และสุตตานุโลมเท่านั้น จัดเป็นประมาณได้, ถ้อย คำของพวกอาจารย์ผู้ไม่รู้ (สูตรและสุตตานุโลม) หาเป็นประมาณได้ไม่. คำ ทั้งหมดนั้น ก็รวมลงในการเรียนที่มาตามประเพณี. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกชเวทนา ดังนี้แล.

อนาทริยสิกขาบทที่ ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 650

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๕๙๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์หลอนพระสัตตรสวัคคีย์ พวกเธอถูกหลอนจึงร้องไห้.

ภิกษุทั้งหลายถามพระสัตตรสวัคคีย์ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่าน ร้องไห้ทำไม.

พระสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า พระฉัพพัคคีย์พวกนี้หลอนพวกผมขอรับ.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็พากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนา ว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้หลอนภิกษุทั้งหลายเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีตระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอหลอนภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้หลอนภิกษุทั้งหลายเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็น ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ชุมชมที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 651

พระบัญญัติ

๑๐๔.๕. อนึ่ง ภิกษุใดหลอนซึ่งภิกษุ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๙๙] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ซึ่งภิกษุ ได้แก่ ภิกษุรูปอื่น.

บทว่า หลอน ความว่า อุปสัมบันมุ่งจะหลอนอุปสันบัน แสดงรูป ก็ดี เสียงก็ดี กลิ่นก็ดี รสก็ดี โผฏฐัพพะก็ดี เธอผู้ถูกหลอนนั้น จะตกใจก็ตาม ไม่ตกใจก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสันบันมุ่งจะหลอนอุปสัมบัน บอกเล่าทางกันดารเพราะโจรก็ดี ทาง กันดารเพราะสัตว์ร้ายก็ดี ทางกันดารเพราะปีศาจก็ดี เธอจะตกใจก็ตาม ไม่ ตกใจก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๖๐๐] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน หลอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย หลอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน หลอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกกฏ

[๖๐๑] อุปสัมบันมุ่งจะหลอนอนุปสัมบัน แสดงรูปก็ดี เสียงก็ดี กลิ่น ก็ดี รสก็ดี โผฏฐัพพะก็ดี เขาจะตกใจก็ตาม ไม่ตกใจก็ตาม ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 652

อุปสัมบันมุ่งจะหลอนอนุปสัมบัน บอกเล่าทางกันดารเพราะโจรก็ดี ทางกันดารเพราะสัตว์ร้ายก็ดี ทางกันดารเพราะปีศาจก็ดี เขาจะตกใจก็ตาม ไม่ตกใจก็ตาม ต้องอาบัติทุกกฏ.[๖๐๒] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน หลอน ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย หลอน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญ ว่าอนุปสัมบัน หลอน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อาปัตติวาร

[๖๐๓] ภิกษุไม่ประสงค์จะหลอน แต่แสดงรูปก็ดี เสียงก็ดี กลิ่นก็ดี รสก็ดี โผฏฐัพพะก็ดี หรือบอกเล่าทางกันดารเพราะโจร ทางกันดารเพราะ สัตว์ร้าย ทางกันดารเพราะปีศาจ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

ภิงสาปนสิกขาบทที่ ๕

การนำรูปเข้าไปแสดงเป็นต้น ในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบโดยนัย ดัง กล่าวแล้ว ในมนุสสวิคคหสิกขาบทนั่นแล. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้น. ปกิณกะมี สมุฏฐานเป็นต้น เป็นเช่นเดียวกับอนาทริยสิกขาบทนั้นแล.

ภิงสาปนสิกขาบทที่ ๕ จบ

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 653

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๖

เรื่องภิกษุหลายรูป

[๖๐๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกลามฤคทายวัน เขตเมืองสุงสุมารคิระ ในภัคคชนบท สมัยนั้น ถึงเดือนฤดูหนาว ภิกษุทั้งหลายได้ก่อไฟที่ขอนไม้มีโพรงใหญ่ท่อนหนึ่งแล้วผิง ก็งูเห่าในโพรงไม้ ท่อนใหญ่นั้นถูกไฟร้อนเข้า ได้เลื้อยออกไล่พวกภิกษุๆ ได้วิ่งหนีไปในที่นั้นๆ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนภิกษุ ทั้งหลายจึงได้ก่อไฟผิงเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุก่อไฟผิง จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ก่อไฟผิงเล่า การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษ เหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 654

พระบัญญัติ

๑๐๕. ๖. อนึ่ง ภิกษุใด มุ่งการผิง ติดก็ดี ให้ติดก็ดี ซึ่งไฟ เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

ทรงอนุญาติให้พระอาพาธผิงไฟได้

[๖๐๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายอาพาธ บรรดาภิกษุผู้ พยาบาลไข้ ได้ถามพวกภิกษุอาพาธว่า อาวุโสทั้งหลาย พออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ.

ภิกษุอาพาธตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย เมื่อก่อนพวกผมก่อไฟผิงได้ เพราะเหตุนั้นความผาสุกจึงมีแก่พวกผม แต่บัดนี้พวกผมรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว จึงผิงไฟไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ความผาสุกจึงไม่มี แก่พวกผม.

ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงอนุญาต ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธก่อเองก็ดี ให้ผู้อื่นก่อก็ดี ซึ่งไฟ แล้วผิงได้ อนึ่ง พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๑

๑๐๕. ๖. ก. อนึ่ง ภิกษุใด มิใช่ผู้อาพาธ มุ่งการผิง ติดก็ดี ให้ติดก็ดี ซึ่งไฟ เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องทรงอนุญาตให้พระอาพาธผิงไฟได้ จบ

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 655

ทรงอนุญาตให้ตามประทีปเป็นต้นได้

[๖๐๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายพากันรังเกียจการตามประทีป บ้าง การก่อไฟบ้าง การติดไฟในเรือนไฟบ้าง จึงได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงอันอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ติด เองก็ดี ให้ผู้อื่นติดก็ดี ซึ่งไฟ เพราะปัจจัยเห็นปานนั้นได้ อนึ่ง พวกเธอ พึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๒

๑๐๕. ๖. ข. อนึ่ง ภิกษุใดมิใช่ผู้อาพาธ มุ่งการผิง ติดก็ดี ให้ติดก็ดี ซึ่งไฟ เว้นไว้แต่ปัจจัยมีอย่างนั้นเป็นรูป เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องทรงอนุญาตให้ตามประทีปเป็นต้นได้ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๐๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่าผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า มิใช่ผู้อาพาธ คือ ผู้ที่เว้นไฟก็ยังมีความผาสุก.

ที่ชื่อว่า ผู้อาพาธ คือ ผู้ที่เว้นไฟแล้ว ไม่มีความผาสุก.

บทว่า มุ่งการผิง คือ ประสงค์จะให้ร่างกายอบอุ่น.

ที่ชื่อว่า ไฟ คือ ที่เรียกกันว่า อัคคี.

บทว่า ติด คือ ติดเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า ให้ติด คือ ใช้ผู้อื่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ภิกษุสั่งหนเดียว แต่เขาติดแม้หลายหน ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า เว้นไว้แต่ปัจจัยมีอย่างนั้นเป็นรูป คือ ยกไว้แต่ปัจจัย เห็นปานนั้น.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 656

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๖๐๘] มิใช่ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ผู้อาพาธ มุ่งการผิง ติดก็ดี ให้ติดก็ดี ซึ่งไฟ เว้นไว้แต่มีปัจจัยเห็นปานนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

มิใช่ผู้อาพาธ ภิกษุสงสัย มุ่งการผิง ติดก็ดี ให้ติดก็ดี ซึ่งไฟเว้นไว้ แต่มีปัจจัยเห็นปานนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

มิใช่ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่าผู้อาพาธ มุ่งการผิง ติดก็ดี ให้ติดก็ดี ซึ่งไฟ เว้นไว้แต่มีปัจจัยเห็นปานนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกทุกกฏ

ภิกษุยกฟืนที่ติดไฟไว้ในที่เดิม ต้องอาบัติทุกกฏ.

ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ผู้อาพาธ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ผู้อาพาธ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่าผู้อาพาธ ... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๖๐๙] ภิกษุอาพาธ ๑ ภิกษุผิงไฟที่ผู้อื่นติดไว้ ๑ ภิกษุผิงถ่านไฟที่ ปราศจากเปลว ๑ ภิกษุตามประทีปก็ดี ก่อไฟใช้อย่างอื่นก็ดี ติดไฟในเรือนไฟ ก็ดี เพราะมีเหตุเห็นปานนั้น ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ- กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 657

โชตสมาทหนสิกขาบทที่ ๖

ในสิกขาบทที่ ๖ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถบางปาฐะเกี่ยวกับ การจุดไฟผิง]

คำว่า ภัคคะ นี้ เป็นชื่อของชนบท. คำว่า สุงสุมารคีระ เป็นชื่อ ของเมือง. คำว่า เภสกลาวัน เป็นชื่อแห่งป่าที่อาศัยเมืองนั้น (วนอุทยาน ที่ตั้งอยู่ใกล้เมืองนั้น). ก็ป่านั้นเรียกว่า มฤคทายะ เพราะเป็นที่พระราชทาน อภัยแก่พวกเนื้อ เพื่อต้องการให้อยู่สบาย.

บทว่า สมาทหิตฺวา คือ ให้ลุกโพลงขึ้น.

บทว่า ปริปาเตสิ คือ ไล่ติดตามไป.

ในคำว่า สยํ สมาทหติ นี้ มีวินิจฉัยว่า เริ่มแต่จุดไม้สีไฟด้วย ความประสงค์จะก่อไฟไป จนกระทั่งถึงเปลวไฟยังไม่ลุกขึ้น เป็นทุกกฏ ทุกๆ ประโยค.

บทว่า ปทีเปปิ คือ ในการตามประทีปก็ดี.

บทว่า โชติเกปิ ได้แก่ การก่อไฟในกิจมีการระบมบาตร และอบตัว เป็นต้นก็ดี.

บทว่า ตถารูปปจฺจยา คือ มีการตามประทีปเป็นต้นเป็นปัจจัย.

สองบทว่า ปฏิลาตํ อุกฺขิปติ มีความว่า ภิกษุยกดุ้นฟืนที่กำลัง ติดไฟ ซึ่งตกลงไปขึ้นมา อธิบายว่า ยกวางไว้ในที่เดิมอีก เมื่อภิกษุหยิบ ดุ้นฟืนที่ไฟยังไม่ดับอย่างนี้ ใส่ลงไปเท่านั้น เป็นทุกกฏ แต่เป็นปาจิตตีย์แท้ แก่ภิกษุผู้ก่อไฟฟืนที่ไฟดับแล้วให้ลุกอีก.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 658

บทว่า ตถารูปปจฺจยา ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ติดไฟ เพราะ ปัจจัยเห็นปานนั้นแม้อย่างอื่น เว้นการตามประทีปเป็นต้นเสีย.

บทว่า อาปทาสุ มีความว่า มีอันตรายเพราะถูกงูกัด ถูกโจรล้อม เนื้อร้ายและอมนุษย์ขัดขวาง ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุผู้ติดไฟในเพราะอุปัทวะ นั้น บทที่เหลือตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ นีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

โชติสมาทหนสิกขาบทที่ ๖ จบ

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 659

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระเจ้าพิมพิสาร

[๖๑๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้ง นั้นภิกษุพากันสรงน้ำอยู่ในแม่น้ำตโปทา ขณะนั้นแล พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพแห่งมคธรัฐเสด็จไปสู่แม่น้ำตโปทา ด้วยพระราชประสงค์จะทรงสนาน พระเศียรเกล้าแล้วประทับพักรออยู่ในที่ควรแห่งหนึ่ง ด้วยตั้งพระทัยว่า จัก สรงสนานต่อเมื่อพระคุณเจ้าสรงน้ำเสร็จ ภิกษุทั้งหลายได้สรงน้ำอยู่จนถึง เวลาพลบ ดังนั้นท้าวเธอจึงทรงสนานพระเศียรเกล้าในเวลาพลบค่ำ เมื่อประตู พระนครปิด จำต้องประทับแรมอยู่นอกพระนคร แล้วเสด็จเข้าเฝ้าพระผู้มี พระภาคเจ้าแต่เช้า ทั้งๆ ที่เครื่องประทินทรงยังคงปรากฏอยู่ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วประทับเหนือราชอาสน์ อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท้าวเธอผู้นั่งประทับเรียบร้อยแล้วว่า ดู ก่อนมหาบพิตร พระองค์เสด็จมาแต่เช้า ทั้งเครื่องวิเลปนะที่ทรงยังคงปรากฏ อยู่ เพื่อพระราชประสงค์อะไร.

จึงท้าวเธอกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระะผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงชี้แจงให้ท้าว เธอทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้นท้าวเธอ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วย ธรรมีกถาแล้วเสด็จลุกจากที่ประทับ ทรงอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำ ประทักษิณแล้วเสด็จกลับ.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 660

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุแม้พบพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ก็ยังอาบ น้ำอยู่ไม่รู้จักประมาณจริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น แม้เห็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว จึงยิ่งอาบน้ำอยู่ ไม่รู้จัก ประมาณเล่า การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อม ใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๐๖. ๗. อนึ่ง ภิกษุใด ยังหย่อนกึ่งเดือน อาบน้ำเป็น ปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระเจ้าพิมพิสาร จบ

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 661

ทรงอนุญาตให้อาบน้ำในฤดูร้อน

[๖๑๐] ครั้นถึงคราวร้อน คราวกระวนกระวาย ภิกษุทั้งหลายพากัน รังเกียจ ไม่อาบน้ำ ย่อมนอนทั้งๆ ที่ร่างกายชุ่มด้วยเหงื่อ เหงื่อนั้นย่อมประทุษ ร้ายทั้งจีวร ทั้งเสนาสนะ ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคราวร้อน ในคราวกระวน กระวาย เราอนุญาต ยังหย่อนกึ่งเดือนก็อาบน้ำได้

ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๑

๑๐๖. ๗. ก. อนึ่ง ภิกษุใด ยังหย่อนกึ่งเดือน อาบน้ำ เว้นไว้ แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัยในเรื่องนั้น เดือนกึ่งท้ายฤดูร้อน เดือน ต้นแห่งฤดูฝน สองเดือนกึ่งนี้ เป็นคราวร้อน เป็นคราวกระวนกระวาย นี้สมัยในเรื่องนั้น.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องทรงอนุญาตให้อาบน้ำในฤดูร้อน จบ

ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธอาบน้ำได้

[๖๑๒] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายอาพาธ บรรดาภิกษุผู้พยาบาลไข้ ได้ถามพวกภิกษุผู้อาพาธว่า อาวุโสทั้งหลายพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้ เป็นไปได้หรือ

ภิกษุผู้อาพาธตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย เมื่อก่อน พวกผมอาบน้ำใน กาล ยังหย่อนกึ่งเดือนได้ เพราะเหตุนั้น พวกผมจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 662

พวกผมรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว จึงไม่ได้อาบน้ำ เพราะ เหตุนั้น พวกผมจึงไม่มีความผาสุก

ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงอนุญาต ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุอาพาธ ยังหย่อนกึ่งเดือน อาบน้ำ ได้

ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๒

๑๐๖. ๗. ข. อนึ่ง ภิกษุใด ยังหย่อนกึ่งเดือน อาบน้ำ เว้น ไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัยในเรื่องนั้น เดือนกึ่งท้ายฤดูร้อน เดือนต้นแห่งฤดูฝน สองเดือนกึ่งนี้ เป็นคราวร้อนเป็นคราวกระวน กระวาย คราวเจ็บไข้ นี้สมัยในเรื่องนั้น.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธอาบน้ำได้ จบ

ทรงอนุญาตให้ภิกษุทำนวกรรมอาบน้ำได้

[๖๒๓] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทำนวกรรมแล้ว พากันรังเกียจไม่ อาบน้ำ ย่อมนอนทั้งๆ ที่ร่างกายชุ่มด้วยเหงื่อ เหงื่อนั้นย่อมประทุษร้ายทั้ง จีวรทั้งเสนาสนะ ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคราวทำงาน เราอนุญาต หย่อนกึ่ง เดือน อาบน้ำได้

ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 663

พระอนุบัญญัติ ๓

๑๐๖. ๗. ค. อนึ่ง ภิกษุใด ยังหย่อนกึ่งเดือน อาบน้ำ เว้น ไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัยในเรื่องนั้น เดือนกึ่งท้ายฤดูร้อน เดือนต้นแห่งฤดูฝน สองเดือนกึ่งนี้ เป็นคราวร้อน เป็นคราวกระวนกระวาย คราวเจ็บไข้ คราวทำการงาน นิสมัยในเรื่องนั้น.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องทรงอนุญาตให้ภิกษุทำนวกรรมอาบน้ำได้ จบ

ทรงอนุญาตให้ภิกษุไปทางไกลอาบน้ำได้

[๖๑๔] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายพากันเดินทางไกลไปแล้ว พากัน รังเกียจ ไม่อาบน้ำ ย่อมนอนทั้งๆ ที่ร่างกายชุ่มด้วยเหงื่อ เหงื่อนั้นย่อม ประทุษร้ายทั้งจีวรทั้งเสนาสนะ ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคราวไปทางไกล เรา อนุญาต ยังหย่อนกึ่งเดือน อาบน้ำได้.

ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๔

๑๐๖. ๗. ง. อนึ่ง ภิกษุใด ยังหย่อนกึ่งเดือน อาบน้ำ เว้นไว้ แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัยในเรื่องนั้น เดือนกึ่งท้ายฤดูร้อน เดือน ต้นแห่งฤดูฝน สองเดือนกึ่งนี้ เป็นคราวร้อน เป็นคราวกระวนกระวาย คราวเจ็บไข้ คราวทำการงาน คราวไปทางไกล นี้สมัยใน เรื่องนั้น.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องทรงอนุญาตให้ภิกษุไปทางไกลอาบน้ำได้ จบ

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 664

ทรงอนุญาตให้ภิกษุทำจีวรอาบน้ำได้

[๖๑๕] สมัยต่อมา ภิกษุหลายรูปกำลังช่วยกัน ทำจีวรกรรมอยู่ในที่ แจ้งถูกต้องลมผสมธุลี ทั้งฝนก็ตกถูกต้องประปราย ภิกษุทั้งหลายพากันรังเกียจ ไม่อาบน้ำ ย่อมนอนทั้งๆ ที่ร่างกายโสมม ร่างกายที่โสมมนั้นย่อมประทุษร้าย ทั้งจีวร ทั้งเสนาสนะ ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคราวฝนปนพายุ เราอนุญาต ยัง หย่อนกึ่งเดือน อานน้ำได้.

ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๕

๑๐๖. ๗. จ. อนึ่ง ภิกษุใด ยังหย่อนกึ่งเดือน อาบน้ำ เว้น ไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัยในเรื่องนั้น เดือนกึ่งท้ายฤดูร้อน เดือนต้นแห่งฤดูฝน สองเดือนกึ่งนี้ เป็นคราวร้อน เป็นคราว กระวนกระวาย คราวเจ็บไข้ คราวทำการงาน คราวไปทางไกล คราวฝนมากับพายุ นี้สมัยในเรื่องนั้น.

เรื่องทรงอนุญาตให้ภิกษุทำจีวรอาบน้ำได้ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๐๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ยังหย่อนกึ่งเดือน คือ ยังไม่ถึงครึ่งเดือน.

บทว่า อาบน้ำ ได้แก่ อาบน้ำด้วยจุรณหรือดินเหนียว เป็นทุกกฏ ในประโยค เมื่ออาบน้ำเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 665

บทว่า เว้นไว้แต่สมัย คือ ยกไว้แต่มีสมัย.

ที่ชื่อว่า คราวร้อน คือ เดือนกึ่งท้ายฤดูร้อน.

ที่ชื่อว่า คราวกระวนกระวาย คือ เดือนต้นแห่งฤดูฝน ภิกษุอาบ น้ำได้ เพราะถือว่าสองเดือนกึ่งนี้ เป็นคราวร้อน เป็นคราวกระวนกระวาย.

ที่ชื่อว่า คราวเจ็บไข้ คือ เว้นอาบน้ำ ย่อมไม่สบาย ภิกษุอาบ น้ำได้ เพราะถือว่าเป็นคราวเจ็บไข้.

ที่ชื่อว่า คราวทำการงาน คือ โดยที่สุดแม้กวาดบริเวณ ภิกษุ อาบน้ำได้ เพราะถือว่าเป็นคราวทำการงาน.

ที่ชื่อว่า คราวไปทางไกล คือ ภิกษุตั้งใจว่า จักเดินทางกึ่งโยชน์ อาบน้ำได้ คือ ตอนจะไปอาบน้ำได้ ไปถึงแล้วก็อาบน้ำได้.

ที่ชื่อว่า คราวฝนมากับพายุ คือ ภิกษุทั้งหลายถูกต้องลมผสมธุลี หยาดฝนตกถูกต้องกาย ๒ - ๓ หยาด อาบน้ำได้ เพราะถือว่าเป็นคราวฝนมากับ พายุ.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๖๑๗] หย่อนกึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าหย่อน อาบน้ำ เว้นไว้แต่สมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

หย่อนกึ่งเดือน ภิกษุสงสัย อาบน้ำ เว้นไว้แต่สมัย ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

หย่อนกึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน อาบน้ำ เว้นไว้แต่สมัย ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 666

ทุกะทุกกฏ

เกินกึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าหย่อน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

เกินกึ่งเดือน ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

เกินกึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน ... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๖๑๘] ภิกษุอาบน้ำในสมัย ๑ ภิกษุอาบน้ำในเวลากึ่งเดือน ๑ ภิกษุ อาบน้ำในเวลาเกินกึ่งเดือน ๑ ภิกษุข้ามฟากอาบน้ำ ๑ ภิกษุอาบน้ำในปัจจันตชนบท ทุกๆ แห่ง ๑ ภิกษุอาบน้ำเพราะมีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

นหานสิกขาบทที่ ๗

ในสิกขาบทที่ ๗ มีวินิจฉัยดังนี้:-

ในคำว่า จุณฺเณน วา มตฺติกาย วา นี้ มีวินิจฉัยว่า เป็น ทุกกฏ ทุกๆ ประโยค เริ่มต้นแต่เวลาที่เตรียมแป้งและดินเป็นต้น.

ในคำว่า ปารํ คจฺฉนฺโต นหายติ นี้ มีวินิจฉัยว่า ภิกษุจะอาบน้ำ ในหลุม (แอ่ง) ที่ตนคุ้ยทรายขึ้นทำไว้ในแม่น้ำแห้ง ควรอยู่.

บทว่า อาปทาสุ มีความว่า ภิกษุถูกแมลงภู่เป็นต้น ไล่ต่อยจะดำลง ในน้ำ ก็ควร. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีสมฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

นหานสิกขาบทที่ ๗ จบ

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 667

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๘

เรื่องภิกษุหลายรูป

[๖๑๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบินฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุ กับพวกปริพาชกต่างพากันเดินทาง จากเมืองสาเกตไปยังพระนครสาวัตถี ใน ระหว่างทาง พวกโจรได้พากันออกมาแย่งชิงพวกภิกษุกับพวกปริพาชกเหล่านั้น พวกเจ้าหน้าที่ได้ออกจากพระนครสาวัตถี ไปจับโจรเหล่านั้นได้พร้อมทั้งของ กลาง แล้วส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า นิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายมา จำจีวรของตนๆ ไว้แล้วจงรับเอาไป ภิกษุทั้งหลายจำจีวรไม่ได้ ชาวบ้านพา กันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลายจำจีวรของตนๆ ไม่ได้เล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น ทรงทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่อง นั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่ง สงฆ์ ๑ ... เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือความพระวินัย ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ว่า ดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 668

พระบัญญัติ

๑๐๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุได้จีวรมาใหม่ พึงถือเอาวัตถุสำหรับ ทำให้เสียสี ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ของเขียวความก็ได้ ตม ก็ได้ ของดำคล้ำก็ได้ ถ้าภิกษุไม่ถือเอาวัตถุสำหรับ ทำให้เสียสี ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้จีวรใหม่ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๒๐] ที่ชื่อว่า ใหม่ ท่านกล่าวว่ายังมิได้ทำเครื่องหมาย.

ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ ผ้า ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง.

พากย์ว่า พึงถือเอาวัตถุ สำหรับทำให้เสียสี ๓ อย่าง อย่างใด อย่างหนึ่ง นั้น คือ พึงถือ โดยที่สุดแม้ด้วยปลายหญ้าคา.

ที่ชื่อว่า ของเขียวคราม ได้แก่ของเขียวคราม ๒ อย่าง คือของ เขียวครามเหมือนสำริดอย่าง ๑ ของเขียวครามเหมือนน้ำใบไม้เขียวอย่าง ๑.

ที่ชื่อว่า สีตม ตรัสว่า สีน้ำตม.

ที่ชื่อว่า สีดำคล้ำ ได้แก่สีดำคล้ำชนิดใดชนิดหนึ่ง.

พากย์ว่า ถ้าภิกษุไม่ถือเอาวัตถุสำหรับทำให้เสียสี ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง นั้น ความว่า ภิกษุไม่ถือเอาวัตถุสำหรับทำให้เสียสี ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง (ทำเป็นวงกลม) โดยที่สุดแม้ด้วยปลายหญ้าคา แล้วใช้จีวรใหม่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 669

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๖๒๑] มิได้ถือเอา ภิกษุสำคัญว่ามิได้ถือเอา ใช้นุ่งห่ม ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

มิได้ถือเอา ภิกษุสงสัย ใช้นุ่งห่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

มิได้ถือเอา ภิกษุสำคัญว่าถือเอา ใช้นุ่งห่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ถือเอาแล้ว ภิกษุสำคัญว่ามิได้ถือเอา ใช้นุ่งห่ม ต้องอาบัติทุกกฏ.

ถือเอาแล้ว ภิกษุสงสัย ใช้นุ่งห่ม ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ถือเอาแล้ว ภิกษุสำคัญว่าถือเอาแล้วใช้นุ่งห่ม ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๖๒๒] ภิกษุถือเอาแล้วนุ่งห่ม ๑ ภิกษุนุ่งห่มจีวรที่มีเครื่องหมายหาย สูญไป ๑ ภิกษุนุ่งห่มจีวร ที่มีโอกาสทำเครื่องหมายไว้ แต่จางไป ๑ ภิกษุ นุ่งห่มจีวรที่ยังมิได้ทำเครื่องหมาย แต่เย็บติดกับจีวรที่ทำเครื่องหมายแล้ว ๑ ภิกษุนุ่งห่มผ้าปะ ๑ ภิกษุนุ่งห่มผ้าทาบ ๑ ภิกษุใช้ผ้าดาม ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 670

ทุพพัณณกรณสิกขาบทที่ ๘

ในสิกขาบทที่ ๘ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[ว่าด้วยการพ้นทุจีวรที่ได้มาใหม่ก่อนใช้]

ในคำว่า นวํ ปน ภิกขุนา จีวรลาเภน นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุได้จีวรใด, เพราะเหตุนั้น จีวรนั้น จึงชื่อว่าลภะ, ลภะนั่นแหละ คือ ลาภ. ได้อะไร? ได้จีวร. จีวรเช่นไร? จีวรใหม่. เมื่อควรตรัสโดยนัยอย่าง นี้ว่า นวจีวรลาเภน ไม่ลบนิคหิคตรัสว่า นวํ จีวรลาเภน ดังนี้. มีใจ ความว่า ได้จีวรใหม่มา. ศัพท์ว่า ปน ในบททั้ง ๒ วางไว้ตรงกลางเป็นนิบาต.

คำว่า ภิกฺขุนา เป็นการแสดงถึงภิกษุผู้ได้จีวร. แต่ในบทภาชนะ ไม่ทรงเอื้อเฟื้อพยัญชนะ เพื่อจะแสดงแต่จีวรที่ภิกษุได้ จึงตรัสคำว่า จีวรํ นาม ฉนฺนํ จีวรานํ เป็นต้น.

ก็ในบทว่า จีวรํ นี้ พึงทราบว่า เป็นจีวรที่อาจนุ่งหรือห่มได้เท่า นั้น. เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า จีวรควรวิกัป ได้เป็นอย่างต่ำ.

บทว่า กํสนีลํ คือ สีเขียวของช่างหนัง. แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า สนิมเหล็ก สนิมโลหะ นั่น ชื่อว่า สีเขียวเหมือนสำริด.

บทว่า ปลาสนีลํ ได้แก่ น้ำใบไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีสีเขียว ความ.

คำว่า ทุพฺพณฺณกรณํ อาทาตพฺพํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส หมายเอากัปพินทุ (จุดเครื่องหมาย) มิได้ตรัสหมายถึงการกระทำจีวรทั้งผืน

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 671

ให้เสียสี ด้วยสีเขียวเป็นต้น. ก็แล ภิกษุเมื่อจะถือเอากัปปะนั้น ย้อมจีวร แล้วพึงถือเอาจุดเครื่องหมายเท่าแววตานกยูง หรือว่าหลังตัวเรือด ที่มุมทั้ง ๔ หรือที่มุมทั้ง ๓ ทั้ง ๒ หรือมุมเดียวก็ได้.

แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า จะถือเอาพินทุกัปปะที่ผืนผ้า หรือที่ลูกดุม ไม่ควร. ส่วนในมหาอรรถกถากล่าวว่า ควรแท้ ก็กัปปะที่เป็นแนว และ กัปปะที่เป็นช่อเป็นต้น ท่านห้ามไว้ในทุกๆ อรรถกถา; เพราะฉะนั้น จึงไม่ ควรทำกัปปะ โดยวิการแม้อะไรอย่างอื่น เว้นจุดกลมจุดเดียว.

ในคำว่า อคฺคเฬ แป็นต้น มีวินิจฉัยว่า ไม่มีกิจที่จะเพิ่มผ้าเพาะ เป็นต้นนี้ ในจีวรที่กระทำกัปปะแล้ว ทำกัปปะใหม่ในภายหลัง. บทที่เหลือตื้น ทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดัง นี้แล.

ทุพพัณณกรณสิกขาบทที่ ๘ จบ

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 672

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระอุปนันทศายบุตร

[๖๒๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตร วิกัปจีวรเองแก่ภิกษุสัทธิวิหาริกของภิกษุผู้เป็นพี่น้องกัน แล้วใช้ สอยจีวรนั้นซึ่งยังมิได้ถอน ครั้นแล้วภิกษุนั้นเล่าเรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสทั้งหลาย ท่านพระอุปนันทศากยบุตรนี้ วิกัปจีวรเองแก่ผมแล้วใช้สอย จีวรนั้นซึ่งยังมิได้ถอน บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ท่านพระอุปนันทศากยบุตรวิกัปจีวรเองแก่ภิกษุแล้ว ไฉนจึงได้ ใช้สอยจีวรนั้นซึ่งยังมิได้ถอนเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามว่า ดูก่อนอุปนันท์ ข่าวว่า เธอวิกัป จีวรเองแก่ภิกษุแล้วใช้สอยจีวรนั้นซึ่งยังมิได้ถอน จริงหรือ.

ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอวิกัป จีวรเองแก่ภิกษุแล้ว ไฉนจึงได้ใช้สอยจีวรนั้นซึ่งยังมิได้ถอนเล่า การกระทำ ของเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 673

พระบัญญัติ

๑๐๘. ๙. อนึ่ง ภิกษุใดวิกัปจีวรเอง แก่ภิกษุก็ดี ภิกษุณีก็ดี สิกขมานาก็ดี สามเณรก็ดี สามเณรีก็ดี แล้วใช้สอยจีวรนั้น ซึ่ง ไม่ให้เขาถอนก่อน เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๒๔] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า แก่ภิกษุ คือ แก่ภิกษุรูปอื่น.

ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย.

ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สามเณรีผู้มีสิกขาอันศึกษาแล้วใน ธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี.

ที่ชื่อว่า สามเณร ได้แก่ บุรุษผู้ถือสิกขาบท ๑๐.

ที่ชื่อว่า สามเณรี ได้แก่ สตรีผู้ถือสิกขาบท ๑๐.

บทว่า เอง คือ วิกัปด้วยตน.

ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ ผ้า ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์ กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัปเป็นอย่างต่ำ.

ที่ชื่อว่า วิกัป (โดยใจความก็คือทำให้เป็นของสองเจ้าของ) มี ๒ อย่าง คือ วิกัปต่อหน้า ๑ วิกัปลับหลัง ๑.

ที่ชื่อว่า วิกัปต่อหน้า คือกล่าวคำว่า ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่ท่าน หรือว่าข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่สหธรรมิกผู้มีชื่อนี้.

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 674

ที่ชื่อว่า วิกัปลับหลัง คือกล่าวคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน เพื่อช่วยวิกัป ภิกษุผู้รับวิกัปนั้นพึงถามว่า ใครเป็นมิตรหรือเป็นผู้เคยเห็น ของท่าน พึงตอบว่า ท่านผู้มีชื่อนี้ และท่านผู้มีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับวิกัปนั้น พึง กล่าวว่า ข้าพเจ้าให้แก่ภิกษุมีชื่อนี้นั้นและภิกษุมีชื่อนั้น จีวรผืนนี้เป็นของภิกษุ เหล่านั้น ท่านจงใช้สอยก็ตาม จงสละก็ตาม จงทำตามปัจจัยก็ตาม.

ที่ชื่อว่า ซึ่งไม่ให้เขาถอนก่อน คือ ภิกษุใช้สอยจีวรที่ผู้รับวิกัป นั้นยังมิได้คืนให้ หรือไม่วิสาสะแก่ภิกษุผู้รับวิกัปนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๖๒๕] จีวรยังมิได้ถอน ภิกษุสำคัญว่ายังมิได้ถอน ใช้สอย ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

จีวรยังมิได้ถอน ภิกษุสงสัย ใช้สอย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

จีวรยังมิได้ถอน ภิกษุสำคัญว่าถอนแล้ว ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ

ภิกษุอธิษฐานก็ดี สละให้ไปก็ดี ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.

จีวรที่ถอนแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังมิได้ถอน ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.

จีวรที่ถอนแล้ว ภิกษุสงสัย ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

จีวรที่ถอนแล้ว ภิกษุสำคัญว่าถอนแล้ว ใช้สอย ไม่ต้องอาบัติ.

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 675

อนาปัตติวาร

[๖๒๖] ภิกษุใช้สอยจีวรที่ภิกษุผู้รับวิกัปคืนให้ หรือวิสาสะแก่ภิกษุ ผู้รับวิกกัป ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

วิกัปปนสิกขาบทที่ ๙

ในสิกขาบทที่ ๗ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[ว่าด้วยการใช้จีวรยังไม่ได้ถอนวิกัป]

สองบทว่า ตสฺส วา อทินฺนํ ได้แก่ (จีวร) ที่ภิกษุผู้รับวิกัปยัง ไม่กล่าวให้แก่ภิกษุเจ้าของจีวรอย่างนี้ว่า ท่านจงใช้สอยก็ตาม จงสละก็ตาม จงทำตามปัจจัยก็ตาม.

สองบทว่า ตสฺส วา อวิสฺสาเสนฺโต มีความว่า หรือด้วยไม่ วิสาสะแก่ภิกษุผู้ทำวินัยกรรม. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ใช้สอยจีวรที่ภิกษุผู้รับ วิกัป นั้น ให้แล้ว หรือด้วยวิสาสะแก่ภิกษุผู้รับวิกัปนั้น. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยดังที่ได้กล่าวแล้ว ในติงสกกัณฑวรรณนานั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑ ทางวาจากับจิต ๑ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชระ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓. ดังนี้แล.

วิกัปปนสิกขาบทที่ ๙ จบ

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 676

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์

[๖๒๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระสัตตรสวัคคีย์เป็นผู้ไม่เก็บงำบริขาร พระฉัพพัคคีย์จึงซ่อนบาตรบ้าง จีวร บ้าง ของพระสัตตรสวัคคีย์ๆ จึงกล่าวขอร้องพระฉัพพัคคีย์ว่า อาวุโสทั้งหลาย ขอท่านจงคืนบาตรให้แก่พวกผมดังนี้บ้าง ว่าขอท่านจงคืนจีวรให้แก่พวกผม ดังนี้บ้าง พระฉัพพัคคีย์พากันหัวเราะ พระสัตตรสวัคคีย์ร้องไห้ ภิกษุทั้งหลาย พากันถามว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านร้องไห้ทำไม.

พระสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกพระฉัพพัคคีย์เหล่านี้ พากัน ซ่อนบาตรบ้าง จีวรบ้าง ของพวกผม.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ซ่อนบาตรบ้าง จีวรบ้าง ของภิกษุทั้งหลายเล่า แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอซ่อนบาตรบ้าง จีวรบ้าง ของภิกษุทั้งหลายจริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้ซ่อนบาตรบ้าง จีวรบ้าง ของภิกษุทั้งหลายเล่า การกระทำของ

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 677

พวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๑๐๙. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด ซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดี ซึ่งบาตรก็ดี จีวรก็ดี ผ้าปูนั่งก็ดี กล่องเข็มก็ดี ประคดเอวก็ดี ของภิกษุ โดยที่สุด แม้หมายจะหัวเราะ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๒๘] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ของภิกษุ คือ ของภิกษุอื่น.

ที่ชื่อว่า บาตร ได้แก่ บาตร ๒ ชนิด คือ บาตรเหล็กชนิดหนึ่ง บาตรดินเผาชนิดหนึ่ง.

ที่ชื่อว่า จีวร หมายถึงผ้า ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์ กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัป เป็นอย่างต่ำ.

ที่ชื่อว่า ผ้าปูนั่ง ตรัสหมายผ้าปูนั่งที่มีชาย.

ที่ชื่อว่า กล่องเข็ม ได้แก่กล่องที่มีเข็มก็ตาม ไม่มีเข็มก็ตาม

ที่ชื่อว่า ประคดเอว ได้แก่ประคดเอว ๒ ชนิด คือ ประคดผ้า ชนิดหนึ่ง ประคดไส้สุกรชนิดหนึ่ง.

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 678

บทว่า ซ่อน คือ ซ่อนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า ให้ซ่อน คือ ใช้ผู้อื่นให้ซ่อน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ใช้ หนเดียว เขาซ่อนแม้หลายหน ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า โดยที่สุดแม้หมายจะหัวเราะ คือ มุ่งจะล้อเล่น.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๖๒๙] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดี ซึ่งบาตรก็ดี จีวรก็ดี ผ้าปูนั่งก็ดี กล่องเข็มก็ดี ประคดเอวก็ดี โดยที่สุดแม้ หมายจะหัวเราะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดี ซึ่งบาตรก็ดี จีวรก็ดี ผ้าปูนั่งก็ดี กล่องเข็มก็ดี ประคดเอวก็ดี โดยที่สุดแม้หมายจะหัวเราะ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดี ซึ่งบาตร ก็ดี จีวรก็ดี ผ้าปูนั่งก็ดี กล่องเข็มก็ดี ประคดเอวก็ดี โดยที่สุดแม้หมายจะ หัวเราะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ปัญจกทุกกฏ

ภิกษุซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดี ซึ่งบริขารอย่างอื่น โดยที่สุดแม้หมายจะ หัวเราะ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดี ซึ่งบาตรก็ดี จีวรก็ดี บริขารอย่างอื่นก็ดี ของอนุปสัมบัน โดยที่สุดแม้หมายจะหัวเราะ คือ อาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 679

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๖๓๐] ภิกษุไม่มีความประสงค์จะหัวเราะ ๑ ภิกษุเก็บบริขารที่ผู้อื่น วางไว้ไม่ดี ๑ ภิกษุเก็บไว้ด้วยหวังสั่งสอนแล้วจึงจะคืนให้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๖ จบ

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 680

จีวราปนิธานสิกขาบทที่ ๑๐

ในสิกขาบทที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังนี้:-

บทว่า อปนิเธนฺติ คือ นำไปเก็บซ่อนไว้.

บทว่า หสฺสาเปกฺโข คือ มีความประสงค์จะหัวเราะ.

สองบทว่า อญฺํ ปริกฺขารํ ได้แก่ บริขารอื่นมีถุงบาตรเป็นต้น ซึ่งมิได้มาในพระบาลี.

สามบทว่า ธมฺมึ กถํ กตฺวา มีความว่า เมื่อภิกษุเก็บไว้ด้วยทำใจว่า เราจักกล่าวธรรมกถาอย่างนี้ว่า ชื่อว่า สมณะเป็นผู้ไม่เก็บงำบริขารไม่ควร แล้วจึงจักให้ ดังนี้ ไม่เป็นอาบัติ. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลก วัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

จีวราปนิธานสิกขาบทที่ ๑๐ จบ

สุราปานวรรคที่ ๖ จบบริบูรณ์

ตามวรรณนานุกรม

หัวข้อประจำเรื่อง

๑. สุราปานสิกขาบท ว่าด้วยการดื่มสุรา

๒. อังคุลิปโตทกสิกขาบท ว่าด้วยการจี้

๓. หัสสธัมสิกขาบท ว่าด้วยการเล่นน้ำ

๔. อนาทริยสิกขาบท ว่าด้วยความไม่เอื้อเฟื้อ

๕. ภิงสาปนสิกขาบท ว่าด้วยการหลอนภิกษุ

๖. โชติสมาทหนสิกขาบท ว่าด้วยการติดไฟ

๗. นหานสิกขาบท ว่าด้วยการอาบน้ำ

๘. ทุพพัณณกรณสิกขาบท ว่าด้วยของสำหรับทำให้เสียสี

๙. วิกัปปนสิกขาบท ว่าด้วยการวิกัปจีวร และ

๑๐. จีวราปนิธานสิกขาบท ว่าด้วยการซ่อนจีวร