พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๗ - สัปปาณกวรรค

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 มี.ค. 2565
หมายเลข  42780
อ่าน  865

[เล่มที่ 4] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒

พระวินัยปิฎก เล่ม ๒

มหาวิภังค์ ทุติยภาค

ปาจิตติยภัณฑ์

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๗

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระอุทายี 631/681

พระบัญญัติ 682

สิกขาบทวิภังค์ 632/682

บทภาชนีย์ 633/682

อนาปัตติวาร 634/683

ปาจิตตีย์วรรคที่ ๘

สัญสิจจปาณ สิกขาบทที่๑ 683

แก้อรรถปาฐะเรื่องการแกล้งพรากสัตว์จากชีวิต 683

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๒ 685

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 635/685

พระบัญญัติ 686

สิกขาบทวิภังค์ 636/686

บทภาชนีย์ 637/686

อนาปัตติวาร 638/687

สัปปาณกสิกขาบทที่ ๒ 687

แก้อรรถว่าด้วยด้วยการบริโภคน้ํามีตัวสัตว์ 687

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่๓ 689

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 639/689

พระบัญญัติ 690

สิกขาบทวิภังค์ 640/690

บทภาชนีย์ 642/691

อนาปัตติวาร 643/691

อุกโกฏนสิกขาบทที่ ๓ 691

ว่าด้วยการรื้อฟื้นอธิกาณ์ที่ทําเสร็จแล้วตามธรรม 691

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๔ 693

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร 644/693

พระบัญญัติ 694

สิกขาบทวิภังค์ 645/694

บทภาชนีย์ 646/695

อนาปัตติวาร 647/696

ทุฏุลลสิกขาบทที่ ๕ 696

แก้อรรถว่าด้วยการปกปิดอาบัติชั่วหยาบ 696

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๕ 698

เรื่องเด็กชายอุบาลี 648/698

พระบัญญัติ 701

สิกขาบทวิภังค์ 651/701

บทภาชนีย์ 652/701

อนาปัตติวาร 653/702

อูนวีสติวัสสสิกขาบทที่ ๕ 702

แก้อรรถบางปาฐะในปฐมบัญญัติ 702

ว่าด้วยบุคคลมีอายุหย่อนและครบ ๒๐ ปี 703

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๖ 706

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง 654/706

พระบัญญัติ 707

สิกขาบทวิภังค์ 655/707

บทภาชนีย์ 656/708

อนาปัตติวาร 657/709

เถยยสัตถสิกขาบทที่ ๖ 709

ว่าด้วยการเดินทางร่วมพวกพ่อค้าเกวียน 709

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๗ 710

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง 658/710

พระบัญญัติ 711

สิกขาบทวิภังค์ 659/711

บทภาชนีย์ 660/712

อนาปัตติวาร 661/713

สังวิธานสิกขาบทที่ ๗ 713

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๘ 714

เรื่องพระอริฏฐะ มิจฉาทิฏฐิ 662/714

พระบัญญัติ 717

สิกขาบทวิภังค์ 663/718

บทภาชนีย์ 666/720

อนาปัตติวาร 668/720

อริฏฐสิกขาบทที่ ๘ 721

ว่าด้วยธรรมกระทําอันตรายแก่ผู้เสพ 721

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๙ 724

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 669/724

พระบัญญัติ 725

สิกขาบทวิภังค์ 670/725

บทภาชนีย์ 671/726

อนาปัตติวาร 672/727

อุกขิตตสัมโภคสิกขาบทที่ ๙ 727

แก้อรรถบางปาฐะในสิกขาบทที่ ๙ 727

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ 729

เรื่องสมณุทเทสกัณฑกะ มิจฉาทิฏฐิ 673/729

พระบัญญัติ 733

สิกขาบทวิภังค์ 675/734

บทภาชนีย์ 678/736

อนาปัตติวาร 678/736

กัณฑกสิกขาบทที่ ๑๐ 737

แก้อรรถบางปาฐะในสิกขาบทที่ ๑๐ 737

หัวข้อประจําเรื่อง 738


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 4]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 681

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๗

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระอุทายี

[๖๓๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน พระอุทายีเป็นผู้ชำนาญในการยิงธนู นกกาทั้งหลายไม่เป็นที่ชอบใจของท่านๆ ได้ยิงมัน แล้วตัดศีรษะเสียบหลาวเรียงไว้เป็นลำดับ.

ภิกษุทั้งหลายถามอย่างนี้ว่า อาวุโส ใครฆ่านกกาเหล่านี้.

พระอุทายีตอบว่า ผมเองขอรับ เพราะผมไม่ชอบนกกา.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายีจึงได้แกล้งพรากสัตว์จากชีวิตเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอุทายีว่า ดูก่อนอุทายี ข่าว ว่า เธอแกล้งพรากสัตว์จากชีวิต จริงหรือ.

ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง ได้แกล้งพรากสัตว์จากชีวิตเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 682

เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อม ใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๑๑๐. ๑. อนึ่ง ภิกษุใด แกล้งพรากสัตว์จากชีวิต เป็น ปาจิตตีย์.

เรื่องพระอุทายีจบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๓๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า แกล้ง คือ รู้อยู่ รู้ดีอยู่ ตั้งใจ พยายาม ละเมิด.

ทีชื่อว่า สัตว์ ตรัสหมายสัตว์ดิรัจฉาน.

บทว่า พราก ... จากชีวิต ความว่า ตัดทอน บั่นทอน ซึ่งอินทรีย์ มีชีวิต ทำความสืบต่อให้กำเริบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

[๖๓๓] สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าสัตว์มีชีวิต พรากจากชีวิต ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

สัตว์มีชีวิต ภิกษุสงสัย พรากจากชีวิต ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 683

สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่สัตว์มีชีวิต พรากจากชีวิต ไม่ต้อง อาบัติ.

ไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าสัตว์มีชีวิต ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๖๓๔] ภิกษุไม่แกล้งพราก ๑ ภิกษุพรากด้วยไม่มีสติ ๑ ภิกษุ ไม่รู้ ๑ ภิกษุไม่ประสงค์ จะให้ตาย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

ปาจิตตีย์ สัปปาณวรรค (๑) ที่ ๗

สัญจิจจปาน สิกขาบทที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑ แห่งสัปปาณวรรคดังต่อไปนี้:-

[แก้อรรถปาฐะเรื่องการแกล้งพรากสัตว์จากชีวิต]

สองบทว่า อิสฺสาโส โหติ ความว่า เคยเป็นอาจารย์ของพวก นายขมังธนูในคราวเป็นคฤหัสถ์

สองบทว่า ชีวิตา โวโรปิตา ได้แก่ พรากเสียจากชีวิต. แม้ใน

สิกขาบท คำว่า โวโรเปยฺย ก็แปลว่า พึงพรากเสีย. ก็เพราะคำว่า โวโรเปยฺย นั่น เป็นเพียงโวหารเท่านั้น, เพราะว่า เมื่อสัตว์ถูกพรากจากชีวิต


(๑) บาลีเป็น สัปปาณกวรรค.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 684

แล้ว ไม่มีชีวิตไรๆ จะยังคงอยู่ต่างหากในสัตว์นี้ คือ จะถึงความอันตรธาน ไปแน่นอน เหมือนศีรษะเมื่อถูกพรากเครื่องประดับศีรษะ ฉะนั้น; เพราะฉะนั้น เพื่อจะแสดงอรรถนั้น ในบทภาชนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัส คำว่า ชีวิตินฺทฺริยํ อุปจฺฉินฺทติ เป็นต้น. ก็ในสิกขาบทนี้ จำเพาะสัตว์ ดิรัจฉานเท่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ปาณะ (ปราณ). ภิกษุฆ่าสัตว์เดรัจฉาน นั้น เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง เป็นอาบัติเท่ากัน, ไม่มีความต่างกัน. แต่ในสัตว์ใหญ่ เป็นอกุศลมาก เพราะมีความพยามมาก.

สองบทว่า ปาเณ ปาณสญฺี มีความว่า ชั้นที่สุด ภิกษุจะทำ ความสะอาดเตียง และทิ้ง มีความสำคัญแม้ในไข่เรือดว่า เป็นสัตว์เล็ก บี้ไข่ เรือดนั้นให้แตกออก เพราะขาดความกรุณา เป็นปาจิตตีย์. เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงตั้งความกรุณาไว้ในฐานะเช่นนั้น เป็นผู้ไม่ประมาททำวัตรเถิด. บทที่ เหลือพร้อมทั้งสมุฏฐานเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบโดยนัยดังได้กล่าวแล้วใน มนุสสวิคคหสิกขาบทนั่นแล.

สัญจิจปาณสิกขาบทที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 685

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๖๓๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ ฉัพพัคคีย์รู้อยู่ บริโภคนามีตัวสัตว์ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่ง โทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์รู้อยู่ จึงได้บริโภคน้ำมีตัว สัตว์เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอรู้อยู่ บริโภคน้ำมีตัวสัตว์ จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอรู้อยู่ จึงได้บริโภคน้ำมีตัวสัตว์เล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็น ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 686

พระบัญญัติ

๑๑๑. ๒. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ บริโภคน้ำมีตัวสัตว์ เป็น ปาจิตตีย์.

เรื่องของพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๓๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เอง หรือคนอื่นๆ บอกแก่เธอ.

บทว่า มีตัวสัตว์ ความว่าภิกษุรู้อยู่ คือ รู้ว่า สัตว์ทั้งหลายจักตาย เพราะการบริโภค ดังนี้ บริโภค ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

[๖๓๗] น้ำมีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่ามีตัวสัตว์ บริโภค ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

น้ำมีตัวสัตว์ ภิกษุสงสัย บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.

น้ำมีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่าไม่มีตัวสัตว์ บริโภค ไม่ต้องอาบัติ.

น้ำไม่มีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่ามีตัวสัตว์ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

น้ำไม่มีตัวสัตว์ ภิกษุสงสัย บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.

น้ำไม่มีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่าไม่มีตัวสัตว์ ... ไม่ต้องอาบัติ.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 687

อนาปัตติวาร

[๖๓๘] ภิกษุไม่รู้ว่าน้ำมีตัวสัตว์ ๑ ภิกษุรู้ว่าน้ำไม่มีตัวสัตว์ คือรู้ว่า สัตว์จักไม่ตายเพราะการบริโภค ดังนี้ บริโภค ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

สัปปาณกสิกขาบทที่ ๒

ในสิกขาบทที่ ๒ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

[แก้อรรถว่าด้วยการบริโภคน้ำมีตัวสัตว์]

บทว่า สปฺปาณกํ ได้แก่ น้ำมีมีตัวสัตว์ด้วยจำพวกสัตว์เล็กๆ ซึ่งจะ ตายเพราะการบริโภค. อธิบายว่า ก็ภิกษุรู้อยู่บริโภคนาเช่นนั้น ต้องปาจิตตีย์ ทุกๆ ประโยค. เมื่อภิกษุดื่มน้ำแม้เต็มบาตร โดยประโยคเดียวไม่ขาดตอน ก็เป็นอาบัติตัวเดียว. ภิกษุเอาน้ำเช่นนั้นแกว่งล้างบาตรมีอามิสก็ดี ทำบาตร ข้าวต้มร้อนให้เย็นในน้ำเช่นนั้นก็ดี เอามือวัก หรือเอากระบวยตักน้ำนั้นอาบ ก็ดี เป็นปาจิตตีย์ ทุกๆ ประโยค.

แม้ภิกษุเข้าไปสู่สระพังน้ำก็ดี สระโบกขรณีก็ดี ให้คลื่นเกิดขึ้นเพื่อ ต้องการให้น้ำทะลักออกภายนอก (เป็นปาจิตตีย์). พวกภิกษุเมื่อชำระสระพัง หรือสระโบกขรณี พึงถ่ายเทน้ำที่ตักจากสระพังหรือจากสระโบกขรณีนั้นลงใน น้ำเท่านั้น. เมื่อในที่ใกล้ไม่มีน้ำ พึงเทน้ำที่เป็นกัปปิยะ ๘ หม้อ หรือ ๑๐ หม้อลงในประเทศที่ขังน้ำได้ (แอ่งน้ำ) แล้วพึงเทลงในน้ำที่เป็นกัปปิยะซึ่งเท ไว้นั้น. อย่าพึงเทน้ำลงบนหินอันร้อน ด้วยสำคัญว่า จักไหลกลับลงไปในน้ำ.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 688

แต่จะรดให้หินเย็นด้วยน้ำที่เป็นกัปปิยะ ควรอยู่. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ตื้น ทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล. แต่ในสิกขาบทนี้ บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นปัณณัตติวัชชะ เพราะภิกษุแม้รู้ว่าน้ำมีตัวสัตว์ แล้วบริโภคด้วยสำคัญว่าเป็นน้ำ ดุจในการที่แม้รู้ว่าตั๊กแตนและสัตว์เล็กจะตก ลงไปแล้ว ตามประทีปด้วยจิตบริสุทธิ์ ฉะนั้น ดังนี้แล

สัปปาณกสิกขาบทที่ ๒ จบ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 689

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๖๓๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์รู้อยู่ ฟื้นอธิกรณ์ที่ทำเสร็จแล้วทามธรรมเพื่อทำอีก ด้วยกล่าว หาว่า กรรมไม่เป็นอันทำแล้ว. กรรมที่ทำแล้วไม่ดี กรรมต้องทำใหม่ กรรม ไม่เป็นอันทำเสร็จแล้ว กรรมที่ทำเสร็จแล้วไม่ดี ต้องทำให้เสร็จใหม่ บรรดา ภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์รู้อยู่ จึงได้ฟื้นอธิกรณ์ที่ทำเสร็จแล้วตามธรรมเพื่อทำใหม่เล่า แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอรู้อยู่ ฟื้นอธิกรณ์ที่ทำเสร็จแล้วตามธรรมเพื่อทำอีก จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอรู้อยู่ จึงได้ฟื้นอธิกรณ์ที่ทำเสร็จแล้วตามธรรมเพื่อทำอีกเล่า การ กระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 690

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๑๑๒. ๓. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ ฟื้นอธิกรณ์ที่ทำเสร็จแล้ว ตามธรรม เพื่อทำอีก เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๔๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เอง หรือคนอื่นๆ บอกแก่เธอ หรือเจ้าตัวบอก.

ที่ชื่อว่า ตามธรรม คือ ที่สงฆ์ก็ดี บุคคลก็ดี ทำแล้วตามธรรม ตามสัตถุศาสน์ นี้ชื่อว่า ตามธรรม.

[๖๔๑] ที่ชื่อว่า อธิกรณ์ ได้แก่ เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัด ต้องทำมี ๔ คือ วิวาทาธิกรณ์ ๑ อนุวาทาธิกรณ์ ๑ อาบัติทาธิกรณ์ ๑ กิจจาธิกรณ์ ๑.

บทว่า ฟื้น ... เพื่อทำอีก คือ ภิกษุฟื้นขึ้นด้วยกล่าวหาว่า กรรม ไม่เป็นอันทำแล้ว กรรมที่ทำแล้วไม่ดี กรรมต้องทำใหม่ กรรมไม่เป็นอัน ทำเสร็จแล้ว กรรมที่ทำเสร็จแล้วไม่ดี สงฆ์ต้องทำให้เสร็จใหม่ ดังนี้ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 691

บทภาชนีย์

[๖๔๒] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ฟื้น ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุมีความสงสัย ฟื้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ฟื้น ไม่ต้องอาบัติ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ฟื้น ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุมีความสงสัย ฟื้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ฟื้น ไม่ต้อง อาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๖๔๓] ภิกษุรู้อยู่ว่า ทำกรรมโดยไม่เป็นธรรม โดยเป็นวรรค หรือ ทำแก่บุคคลผู้ไม่ควรแก่กรรม ดังนี้ ฟื้น ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ- กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

อุกโกฏนสิกขาบทที่ ๓

ในสิกขาบทที่ ๓ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

[ว่าด้วยการรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ทำเสร็จแล้วตามธรรม]

บทว่า อุกฺโกเฏนฺติ มีความว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปยังสำนักของ ภิกษุนั้นๆ แล้ว พูดคำโยกโย้ไปมามีอาทิว่า กรรมไม่เป็นอันทำ คือ ไม่ให้ การยืนยันโดยความเป็นเรื่องควรยืนยัน.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 692

บทว่า ยถาธมฺมํ มีความว่า โดยธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพื่อเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์ใดเล่า.

บทว่า นีหตาธิกรณํ คือ อธิกรณ์ที่สงฆ์วินิจฉัยแล้ว อธิบายว่า อธิกรณ์ซึ่งสงฆ์ระงับแล้วโดยธรรมที่พระศาสดาตรัสแล้วนั่นแหละ.

สองบทว่า ธมฺมกมฺเม ธมฺมกมมสญฺี มีความว่า อธิกรณ์นั้น สงฆ์ระงับแล้วด้วยกรรมใด, ถ้ากรรมนั้นเป็นกรรมชอบธรรม. แม้ภิกษุนี้ก็ เป็นผู้มีความสำคัญในกรรมที่เป็นธรรมนั้นว่า เป็นกรรมชอบธรรม ถ้ารื้อฟื้น อธิกรณ์นั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์. แม้บทที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยนี้. นี้เป็นความย่อในสิกขาบทนี้. ส่วนความพิสดาร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ในคัมภีร์ปริวารโดยนัยมีอาทิว่า การรื้ออธิกรณ์ ๔ นี้ มีเท่าไร? ดังนี้.

พระอรรถกถาจารย์นำถ้อยคำที่ตรัสไว้ในคัมภีร์ปริวารนั้น ทั้งหมดมา แล้วพรรณนาอรรถแห่งคำนั้นนั่นแลไว้ในอรรถกถาทั้งหลาย แต่พวกเราจะ พรรณนาคำนั้นในคัมภีร์ปริวารนั่นแหละ. เพราะเมื่อเราจะนำมาพรรณนาใน สิกขาบทนี้ จะพึงฟั่นเฝือยิ่งขึ้น; ฉะนั้น พวกเราจึงไม่ได้พรรณนาคำนั้น. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม เป็นทุกชเวทนา ดังนี้แล

อุกโกฏนสิกขาบทที่ ๓ จบ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 693

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร

[๖๔๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน พระอุปนันทศากยบุตรต้องอาบัติชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิแล้ว บอกแก่ภิกษุ สัทธิวิหาริกของภิกษุผู้พี่น้องกันว่า อาวุโส ผมต้องอาบัติชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฎฐิแล้ว คุณอย่าได้บอกแก่ใครๆ เลย ครั้นต่อมาภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติ ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิแล้ว ขอปริวาสเพื่อาบัตินั้นต่อสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ ปริวาสเพื่ออาบัตินั้นแก่เธอแล้ว เธอกำลังอยู่ปริวาสอยู่ พบภิกษุรูปนั้นแล้ว ได้บอกภิกษุรูปนั้นว่า อาวุโส ผมต้องอาบัติชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิแล้ว ได้ ขอปริวาสเพื่ออาบัตินั้นต่อสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสเพื่อาบัตินั้นแก่ผมแล้ว ผมนั้นกำลังอยู่ปริวาส ผมขอบอกให้ทราบ ขอท่านจงจำผมว่าบอกให้ทราบ ดังนี้.

ภิกษุนั้นถามว่า อาวุโส แม้ภิกษุรูปอื่นใด ต้องอาบัตินี้ แม้ภิกษุนั้น ก็ทำอย่างนี้หรือ.

ภิกษุผู้อยู่ปริวาสตอบว่า ทำอย่างนี้ อาวุโส.

ภิกษุนั้นพูดว่า อาวุโส ท่านพระอุปนันทศากยบุตรนี้ต้องอาบัติชื่อ สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิแล้ว ท่านได้บอกแก่ผมว่า อาวุโส ผมต้องอาบัติชื่อ สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิแล้ว คุณอย่าได้บอกแก่ใครเลย.

ภิกษุผู้อยู่ปริวาสถามว่า อาวุโส ก็ท่านปกปิดอาบัตินั้นหรือ.

ภิกษุนั้นตอบว่า เป็นเช่นนั้น ขอรับ.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 694

ครั้นแล้วภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นได้แจ้งเรื่องแก่ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ ที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุรู้อยู่ จึงได้ ปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุผู้ปกปิดอาบัตินั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า เธอรู้อยู่ปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุ จริงหรือ.

ภิกษุผู้ปกปิดอาบัตินั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอรู้อยู่ จึงได้ปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ. ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่ เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๑๑๓. ๔. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ ปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๓๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 695

บทว่า ของภิกษุ คือ ของภิกษุรูปอื่น.

ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เอง หรือคนอื่นๆ บอกแก่เธอ หรือเจ้าตัวบอก.

ที่ชื่อว่า อาบัติชั่วหยาบ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ๔ และอาบัติ สังฆาทิเสส ๑๓.

บทว่า ปิด ความว่า เมื่อภิกษุติดเห็นว่า คนทั้งหลายรู้อาบัตินี้แล้ว จักโจท จักบังคับให้ ให้การ จักด่าว่า จักติเตียน จักทำให้เก้อ เราจักไม่ บอกละ ดังนี้ พอทอดธุระเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

[๖๔๖] อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าอาบัติชั่วหยาบ ปิด ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุยังสงสัยอยู่ ปิด ต้องอาบัติทุกกฏ.

อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่อาบัติชั่วหยาบ ปิด ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

ภิกษุปิดอาบัติไม่ชั่วหยาบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุปิดอัชฌาจารอันชั่วหยาบก็ดี ไม่ชั่วหยาบก็ดี ของอนุปสัมบัน ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าอาบัติชั่วหยาบ ปิด ต้องอาบัติทุกกฏ.

อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุยังสงสัยอยู่ ปิด ต้องอาบัติทุกกฏ.

อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่อาบัติชั่วหยาบ ปิด ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 696

อนาปัตติวาร

[๖๔๗] ภิกษุติดเห็นว่าความบาดหมางก็ดี ความทะเลาะก็ดี ความ แก่งแย่งก็ดี การวิวาทก็ดี จักมีแก่สงฆ์ แล้วไม่บอก ๑ ไม่บอกด้วยคิดเห็น ว่าสงฆ์จักแตกแยกกัน หรือจักร้าวรานกัน ๑ ไม่บอกด้วยคิดเห็นว่าภิกษุรูปนี้ เป็นผู้โหดร้ายหยาบคาย จักทำอันตรายชีวิต หรืออันตรายพรหมจรรย์ ๑ ไม่พบภิกษุอื่นที่สมควรจึงไม่บอก ๑ ไม่ตั้งใจจะปิดแต่ยังไม่ได้บอก ๑ ไม่บอก ด้วยคิดเห็นว่าจักปรากฎเอง ด้วยการกระทำของตน ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

ทุฏฐุลลสิกขาบทที่ ๔

ในสิกขาบทที่ ๔ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถว่าด้วยการปกปิดอาบัติชั่วหยาบ]

ในคำว่า ทุฏฺฐุลฺลา นาม อาปตฺติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง แสดงปาราชิก ๔ ไว้ ด้วยอำนาจแห่งการทรงขยายความ, แต่ทรงประสงค์ อาบัติสังฆาทิเสส. เมื่อภิกษุปกปิดอาบัติสังฆาทิเสสนั้น เป็นปาจิตตีย์.

สองบทว่า ธุรํ นิกฺขิตฺตมตฺเต คือ เมื่อสักว่าทอดธุระเสร็จ. ถ้า แม้นทอดธุระแล้ว บอกในภายหลัง, รักษาไม่ได้. มีคำอธิบายว่า พอทอด ธุระเสร็จเท่านั้น ก็เป็นปาจิตตีย์. แต่ถ้าว่า ภิกษุทอดธุระแล้วอย่างนั้น บอก แก่ภิกษุอื่นเพื่อปกปิดไว้นั่นเอง, แม้ภิกษุผู้รับบอกนั้นเล่า ก็บอกแก่ภิกษุอื่น

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 697

โดยอุบายดังกล่าวมานี้ สมณะทั้งร้อยก็ดี สมณะตั้งพันก็ดี ย่อมต้องอาบัติทั้งนั้น ตราบเท่าที่สุดยังไม่ขาดลง.

ถามว่า ที่สุดจะขาดเมื่อไร?

ตอบว่า ท่านมหาสุมเถระกล่าวไว้ก่อนว่า ภิกษุต้องอาบัติ แล้วบอก แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุผู้รับบอกนั้น กลับมาบอกแก่เธอผู้ต้องอาบัตินั้น อีก, ที่สุดย่อมขาดลงอย่างนี้. ส่วนพระมหาปทุมเถระกล่าวว่า เพราะว่า ภิกษุนี้ เป็นวัตถุบุคคลทีเดียว. (บุคคลผู้ต้องอาบัติ) แต่ต้องอาบัติแล้วก็บอกแก่ภิกษุ. รูปหนึ่ง, ภิกษุรูปที่ ๒ นี้ก็บอกแก่ภิกษุรูปต่อไป, ภิกษุรูปที่ ๓ นั้น กลับมา บอกเรื่องที่ภิกษุรูปที่ ๒ บอกเธอแก่ภิกษุรูปที่ ๒ นั้นแล, เมื่อบุคคลที่ ๓ กลับ มาบอกแก่บุคคลที่ ๒ อย่างนี้ ที่สุดย่อมขาดตอนลง.

สองบทว่า อทุฏฺฐุลฺลํ อาปตฺตึ ได้แก่ อาบัติ ๕ กองที่เหลือ.

อัชฌาจารนี้ คือ สุกกวิสัฏฐิ และกายสังสัคคะ ชื่อว่าว่าอัชฌาจาร อันชั่วหยาบสำหรับอนุปสัมบัน ในคำว่า อนุปสมฺปนฺนสฺส ทุฏฺฐุลฺลํ วา อทุฏฺฐุลฺลํ วา อชฺฌาจารํ นี้. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นทางกาย วาจากับจิต เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต ทุกขเวทนา ดังนี้แล.

ทุฏฐุลลสิกขาบทที่ ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 698

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๕

เรื่องเด็กชายอุบาลี

[๖๔๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ในพระนครราชคฤห์ มีเด็กชายพวกหนึ่ง ๑๗ คน เป็นเพื่อนกัน เด็กชายอุบาลีเป็นหัวหน้าของเด็กเหล่านั้น ครั้งนั้น มารดาบิดาของเด็กชาย อุบาลีได้หารือกันว่า ด้วยวิธีอย่างไรหนอ เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไปแล้ว เจ้า อุบาลีจะพึงอยู่เป็นสุขและไม่ต้องลำบาก ครั้นแล้วหารือกันต่อไปว่า ถ้าเจ้า อุบาลีจะพึงเรียนหนังสือ ด้วยวิธีอย่างนี้แหละ เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไป เจ้าอุบาลีก็จะอยู่เป็นสุขและไม่ต้องลำบาก แล้วหารือกันต่อไปอีกว่า ถึงเจ้า อุบาลีจักเรียนหนังสือ นิ้วมือก็จักระบม ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชาคำนวณ ด้วย วิธีอย่างนี้แหละ เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไป เจ้าอุบาลีก็จะอยู่เป็นสุขและไม่ต้อง ลำบาก ครั้นต่อมาจึงหารือกันอีกว่า ถ้าเจ้าอุบาลีจักเรียนวิชาคำนวณ เขาจัก หนักอก ถ้าจะพึงเรียนวิชาดูรูปภาพ ด้วยอุบายอย่างนี้แหละ เมื่อเราทั้งสอง ล่วงลับไป เจ้าอุบาลีก็จะอยู่เป็นสุขและไม่ต้องลำบาก ครั้นต่อมาจึงหารือกัน อีกว่า ถ้าเจ้าอุบาลีจักเรียนวิชาดูรูปภาพ นัยน์ตาทั้งสองของเขาจักชอกช้ำ พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้แล มีความสุขเป็นปกติ มีความ ประพฤติเรียบร้อย บริโภคอาหารที่ดี นอนในห้องนอนอันมิดชิด ถ้าเจ้าอุบาลี จะพึงได้บวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ด้วยวิธีอย่างนี้แหละ เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไป เจ้าอุบาลีก็จะอยู่เป็นสุขและไม่ต้องลำบาก.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 699

ชวนกันออกบวช

[๖๔๙] เด็กชายอุบาลีได้ยินถ้อยคำที่มารดาบิดาสนทนาหารือกันดังนี้ จึงเข้าไปหาเพื่อนเด็กเหล่านั้น ครั้นแล้วได้พูดชวนดังนี้ว่า มาเถิดพวกเจ้า เราจักพากันไปบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร.

เด็กชายพวกนั้นพูดว่า ถ้าเจ้าบวช แม้พวกเราก็จักบวชเหมือนกัน.

ไม่รอช้า เด็กชายเหล่านั้นต่างคนต่างก็ไปหามารดาบิดาของตนๆ แล้ว ขออนุญาตว่า ขอท่านทั้งหลายจงอนุญาตให้พวกข้าพเจ้าออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิตเถิด.

มารดาของเด็กเหล่านั้นก็อนุญาตทันที ด้วยติดเห็นว่า เด็กเหล่านี้ ต่างก็มีฉันทะร่วมกัน มีความมุ่งหมายดีด้วยกันทุกคน

เด็กพวกนั้นเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายขอบรรพชาแล้ว.

ภิกษุทั้งหลายก็ได้ให้เด็กพวกนั้นบรรพชาและอุปสมบท.

ครั้นปัจจุสสมัยแห่งราตรี ภิกษุใหม่เหล่านั้นลุกขึ้นร้องไห้วิงวอนว่า ขอท่านทั้งหลาย จงให้ข้าวต้ม จงให้ข้าวสวย จงให้ของเคี้ยว.

ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย จงรอให้ราตรีสว่างก่อน ถ้าข้าวต้มมี จักดื่มได้ ถ้าข้าวสวยมี จักฉันได้ ถ้าของเคี้ยวมี จักเคี้ยวฉันได้ ถ้าข้าวต้มข้าวสวยหรือของเคี้ยวไม่มี ต้องเที่ยวบิณฑบาตฉัน.

ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลายแม้กล่าวอยู่อย่างนี้แล ก็ยังร้องไห้ วิงวอนอยู่อย่างนั้นแลว่า จงให้ข้าวต้ม จงให้ข้าวสวย จงให้ของเคี้ยว ดังนี้ ย่อมถ่ายอุจจาระรดบ้าง ถ่ายปัสสาวะรดบ้าง ซึ่งเสนาสนะ.

[๖๕๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตื่นบรรทม ณ เวลาปัจจุสสมัยแห่ง ราตรี ได้ทรงสดับเสียงเด็กๆ ครั้นแล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถาน ว่า นั่นเสียงเด็กๆ หรือ อานนท์.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 700

จึงท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคแล้ว.

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า กูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุทั้งหลายรู้อยู่ยังบุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ให้ อุปสมบทจริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน โมฆบุรุษ เหล่านั้นรู้อยู่ จึงได้ยังบุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ให้อุปสมบทเล่า เพราะบุคคล มีอายุหย่อน ๒๐ ปี เป็นผู้ไม่อดทนต่อเย็น ร้อน หิวกระหาย เป็นผู้มีปกติไม่ ทนทานต่อสัมผัสแห่ง เหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เสือกคลาน ต่อคำกล่าวที่ เขากล่าวร้าย อันมาแล้วไม่ดี ต่อทุกขเวทนาทางกาย อันกล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่พอใจ อันอาจผลาญชีวิตได้ ที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคล มีอายุครบ ๒๐ ปีเท่านั้น จึงจะเป็นผู้อดทนต่อเย็น ร้อน หิว กระหาย เป็น ผู้มีปกติทนทานต่อสัมผัสแห่ง เหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เสือกคลาน ต่อ คำกล่าวที่เขากล่าวร้าย อันมาแล้วไม่ดี ต่อทุกขเวทนาทางกาย อันกล้า แข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่พอใจ อันอาจผลาญชีวิตได้ที่เกิดขึ้นแล้ว การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 701

พระบัญญัติ

๑๑๔. ๕. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ ยังบุคคลมีปีหย่อน ๒๐ ให้ อุปสมบท บุคคลนั้นไม่เป็นอุปสัมบันด้วย ภิกษุทั้งหลายนั้นถูกติเตียน ด้วย นี้เป็นปาจิตตีย์ในเรื่องนั้น.

เรื่องเด็กชายอุบาลี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๕๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เอง หรือคนอื่นบอกแก่เธอ หรือเจ้าตัวบอก.

ที่ชื่อว่า มีปีหย่อน ๒๐ คือ มีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปี.

ภิกษุตั้งใจว่าจักให้อุปสมบท แล้วแสวงหาคณะก็ดี พระอาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย พระอุปัชฌายะต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและพระอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.

บทภาชนีย์

[๖๕๒] บุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ภิกษุสำคัญว่ามีอายุหย่อน ๒๐ ปี ให้อุปสมบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ภิกษุสงสัยอยู่ ให้อุปสมบท ต้องอาบัติ ทุกกฎ.

บุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ภิกษุสำคัญว่ามีอายุครบ ๒๐ ปี ให้อุปสมบท ไม่ต้องอาบัติ.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 702

บุคคลมีอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ครบ ๒๐ ปี ให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ.

บุคคลมีอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุสงสัยอยู่ ให้อุปสมบท ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

บุคคลมีอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุสำคัญว่ามีอายุครบ ๒๐ ปี ให้อุปสมบท ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๖๕๓] บุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ภิกษุสำคัญว่ามีอายุครบ ๒๐ ปี ให้อุปสมบท ๑ บุคคลมีอายุ ๒๐ ปี ภิกษุสำคัญมีอายุครบ ๒๐ ปี ให้อุปสมบท ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

อูนวีสติวัสสสิกขาบทที่ ๕

ในสิกขาบทที่ ๕ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถบางปาฐะในปฐมบัญญัติ]

ข้อว่า องฺคุลิโย ทุกฺขา ภวิสฺสนฺติ มีความว่า มารดาบิดาของ เด็กชายอุบาลีคิดว่า เมื่อเจ้าอุบาลีเขียนหนังสือ นิ้วมือจักระบม.

สองบทว่า อุรสฺส ทุกฺโข มีความว่า มารดาบิดาของอุบาลีสำคัญ ว่า เมื่ออุบาลีเรียนวิชาคำนวณจำจะต้องคิดแม้มาก ; เพราะเหตุนั้น เขาจัก หนักอก.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 703

สองบทว่า อกฺขีนิสฺส ทุกฺขานิ มีความว่า มารดาบิดาของอุบาลี สำคัญว่า อุบาลีเมื่อเรียนตำราดูรูปภาพ จำต้องพลิกไปพลิกมาดูเหรียญกษาปณ์; เพราะเหตุนั้น นัยน์ตาทั้ง ๒ ของเขาจักชอกช้ำ. ในบทว่า ฑังสะ เป็นต้น จำพวกแมลงสีเหลือง ชื่อว่า ฑังสะ (เหลือบ).

บทว่า ทุกฺขานํ แปลว่า ทนได้ยาก.

บทว่า ติพฺพานํ แปลว่า กล้า.

บทว่า ขรานํ แปลว่า แข็ง

บทว่า กฏุกานํ แปลว่า เผ็ดร้อน. อนึ่ง ความว่า เป็นเช่นกับ รสเผ็ดร้อน เพราะไม่เป็นที่เจริญใจ.

บทว่า อสาตานํ แปลว่า ไม่เป็นที่ยินดี.

บทว่า ปาณหรานํ แปลว่า อาจผลาญชีวิตได้.

สองบทว่า สีมํ สมฺมนฺนติ ได้แก่ ผูกสีมาใหม่. แต่ในกุรุนที ท่านปรับเป็นทุกกฏแม้ไม่การกำหนดวักน้ำสาด.

บทว่า ปริปุณฺณวีสติวสฺโส ได้แก่ ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์ นับแต่ถือปฏิสนธิมา.

[ว่าด้วยบุคคลผู้มีอายุหย่อนและครบ ๒๐ ปี]

ความจริง แม้ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ทั้งอยู่ในครรภ์ ก็ถึงการนับว่า ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปีเหมือนกัน. เหมือนอย่างที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระกุมารกัสสป เป็นผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ทั้งอยู่ในครรภ์ จึงอุปสมบท ครั้งนั้นแล ท่านพระกุมารกัสสปได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติว่า บุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ ก็ เรามีอายุครบ ๒๐ ปี ทั้งอยู่ในครรภ์ จึงได้อุปสมบท, เราจะเป็นอุปสัมบัน หรือไม่เป็นอุปสัมบันหนอ.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 704

พวกภิกษุได้กราบทูลเรื่องนั่นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. จิตดวงแรกใดเกิด แล้วในท้องของมารดา, วิญญาณดวงแรกปรากฏแล้ว, อาศัยจิตดวงแรกวิญญาณ ดวงแรกนั้นนั่นแหละ เป็นความบังเกิดของสัตว์นั้น, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราอนุญาตให้อุปสมบทกุลบุตรมีอายุครบ ๒๐ ปีทั้งอยู่ในครรภ์.

ในคำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว คพฺภวีสํ อุปสมฺปาเทตุํ นั้น บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ผู้ใดอยู่ในท้องของมารดาถึง ๑๒ เดือน เกิด (คลอด) ในวันมหาปวารณา, ตั้งแต่วันมหาปวารณานั้นไปจนถึงวันมหาปวารณาในปีที่ ๑๙ พึงให้ผู้นั้นอุปสมบทในวันปาฏิบท (แรมค่ำ ๑) เลยวัน มหาปวารณานั้นไป. พึงทราบการลดลงและเพิ่มขึ้นโดยอุบายนั่น.

แต่พวกพระเถระครั้งก่อนให้สามเณรอายุ ๑๙ ปีอุปสมบทในวันปาฏิบท (วันแรมค่ำ ๑) เลยวันเพ็ญเดือน ๙ ไป.

ถามว่า การอุปสมบทนั้นมีได้ เพราะเหตุไร?

ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลย:- ในปีหนึ่ง มีจาตุทสีอุโบสถ (อุโบสถวัน ๑๔ ค่ำ) ๖ วัน, เพราะฉะนั้น ใน ๒๐ ปีจะมีเดือนขาดไป ๔ เดือน, เจ้าผู้ ครองบ้านเมืองจะเลื่อนกาลฝนออกไปทุกๆ ๓ ปี (เพิ่มอธิกมาสทุกๆ ๓ ปี) , ฉะนั้น ใน ๑๘ ปี จะเพิ่มเดือนขึ้น ๖ เดือน (เพิ่มอธิกมาส ๖ เดือน). นำ ๔ เดือนที่ขาดไปด้วยอำนาจอุโบสถออกไปจาก ๖ เดือนที่เพิ่มเข้ามาใน ๑๘ ปี นั้น ยังคงเหลือ ๒ เดือน. เอา ๒ เดือนนั้นมาเพิ่มเข้า จึงเป็น ๒๐ ปีบริบูรณ์ ด้วยประการอย่างนี้ พระเถระทั้งหลายจึงหมดความสงสัยอุปสมบทให้ (สาม เณรอายุ ๑๙ ปี) ในวันปาฏิบทเลยวันเพ็ญเดือน ๙ ไป.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 705

ก็ในคำว่า สามเณรมีอายุ ๑๙ ปี เป็นต้นนี้ ท่านกล่าวคำว่ามีอายุ ๑๙ ปี หมายเอาสามเณรผู้ซึ่งปวารณาแล้ว จักมีอายุครบ ๒๐ ปี. เพราะฉะนั้น ผู้ที่อยู่ในท้องมารดาถึง ๑๒ เดือน จะเป็นผู้มีอายุครบ ๒๑ ปี. ผู้ซึ่งอยู่ (ใน ท้องมารดา) ๗ เดือน จะเป็นผู้มีอายุ ๒๐ ปี กับ ๗ เดือน. แต่ผู้ (อยู่ใน ท้องมารดา) ๖ เดือนคลอด จะไม่รอด.

ในคำว่า อนาปตฺติ อูนวีสติวสฺสํ ปุคฺคลํ ปริปุณฺณสญฺี นี้ มีวินิจฉัยว่า ไม่เป็นอาบัติแก่อุปัชฌายะผู้ให้อุปสมบทแม้โดยแท้. ถึงอย่างนั้น บุคคลก็ไม่เป็นอันอุปสมบทเลย. แต่ถ้าบุคคลนั้น ให้ผู้อื่นอุปสมบทโดยล่วง ไป ๑๐ พรรษา, หากว่า เว้นบุคคลนั้นเสียคณะครบ บุคคลผู้นั้นเป็นอัน อุปสมบทดีแล้ว. และแม้บุคคลผู้ไม่ใช่อุปสัมบันนั้น ยังไม่รู้เพียงใด ยังไม่ เป็นอันตรายต่อสวรรค์ ไม่เป็นอันตรายต่อพระนิพพานของเขาเพียงนั้น. แต่ ครั้นรู้แล้ว พึงอุปสมบทใหม่. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้ แล.

อูนวีสติวัสสสิกขาบทที่ ๕ จบ

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 706

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๖

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง

[๖๕๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พวก พ่อค้าเกวียนต่างหมู่หนึ่งประสงค์จะเดินทาง จากพระนครราชคฤห์ ไปสู่ชนบท ทางทิศทะวันตก ภิกษุรูปหนึ่ง ได้กล่าวกะพ่อค้าพวกนั้นว่า แม้อาตมาจักขอ เดินทางไปร่วมกับพวกท่าน.

พวกพ่อค้าเกวียนต่างกล่าวว่า พวกกระผมจักหลบหนีภาษีขอรับ.

ภิกษุนั้น พูดว่า ท่านทั้งหลายจงรู้กันเองเถิด.

เจ้าพนักงานศุลกากรทั้งหลายได้ทราบข่าวว่า พวกพ่อค้าเกวียนต่างจัก หลบหนีภาษี จึงคอยซุ่มอยู่ที่หนทาง ครั้นพวกเจ้าพนักงานเหล่านั้นจับพ่อค้าเกวียนต่างหมู่นั้น ริบของต้องห้ามไว้ได้แล้ว ได้กล่าวกะภิกษุพวกนั้นว่า พระคุณเจ้ารู้อยู่ เหตุไรจึงได้เดินทางร่วมกับพ่อค้าเกวียนต่างผู้ลักซ่อนของ ต้องห้ามเล่า เจ้าหน้าที่ไต่สวนแล้วปล่อยภิกษุนั้นไป ครั้นภิกษุรูปนั้นไปถึง พระนครสาวัตถีแล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้ มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุรู้อยู่ จึงได้ ชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกันกับพวกพ่อค้าผู้เป็นโจรเล่า แล้วกราบทูล เรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า เธอรู้อยู่ ชักชวนแล้ว เดินทางสายเดียวกันกับพวกเกวียน พวกต่างผู้เป็นโจร จริงหรือ.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 707

ภิกษุรูปนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอรู้อยู่ จึงได้ชักชวนแล้ว เดินทางไกลสายเดียวกันกับพวกเกวียน พวกต่างผู้เป็น โจรเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๑๕. ๖. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ ชักชวนแล้ว เดินทางไกล สายเดียวกัน กับพวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร โดยที่สุดแม้สั้นระยะ บ้านหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๕๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เอง หรือคนอื่นบอกแก่เธอ หรือเจ้าตัวบอก.

ที่ชื่อว่า พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ได้แก่ พวกโจรผู้ทำ โจรกรรมมาก็ดี ไม่ได้ทำมาก็ดี ผู้ที่ลักของหลวงก็ดี ผู้ที่หลบซ่อนของเสียภาษี ก็ดี.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 708

บทว่า กับ คือร่วมกัน.

บทว่า ชักชวนแล้ว ความว่า ชักชวนกันว่า ท่านทั้งหลาย พวกเรา ไปกันเถิด ไปซิขอรับ จงไปกันเถิดขอรับ ไปซิ ท่านทั้งหลาย พวกเราไป กันวันนี้ ไปกันพรุ่งนี้ หรือไปกันมะรืนนี้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ

บทว่า โดยที่สุดแม้สั้นระยะบ้านหนึ่ง ความว่า ในตำบลบ้าน กำหนดชั่วไก่บินถึง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ ระยะบ้าน ในป่าหาบ้านมิได้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ ระยะกึ่งโยชน์.

บทภาชนีย์

[๖๕๖] พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ภิกษุสำคัญว่าพวกเกวียนพวก ต่างผู้เป็นโจร ชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกัน โดยที่สุดแม้สิ้นระยะ บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ภิกษุมีความสงสัย ชักชวนแล้วเดิน ทางไกลสายเดียวกัน โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.

พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ภิกษุสำคัญว่ามิใช่พวกเกวียนพวกต่าง ผู้เป็นโจร ชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกัน โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ไม่ต้องอาบัติ.

ภิกษุชักชวน คนทั้งหลายมิได้ชักชวน ต้องอาบัติทุกกฏ.

มิใช่พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ภิกษุสำคัญว่า พวกเกวียนพวกต่าง

ผู้เป็นโจร ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

มิใช่พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ภิกษุมีความสงสัย ... ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

มิใช่พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ภิกษุสำคัญว่า มิใช่พวกเกวียน พวกต่างผู้เป็นโจร ... ไม่ต้องอาบัติ.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 709

อนาปัตติวาร

[๖๕๗] ภิกษุไม่ได้ชักชวนกันไป ๑ คนทั้งหลายชักชวน ภิกษุมิได้ ชักชวน ๑ ไปผิดวันผิดเวลา ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

เถยยสัตตถสิกขาบทที่ ๖

ในสิกขาบทที่ ๖ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[ว่าด้วยการเดินทางร่วมพวกพ่อค้าเกวียนผู้เป็นขโมย]

บทว่า ปฏิยาโลกํ ความว่า ตรงหน้าแสงอาทิตย์ คือ ทิศทะวันตก.

บทว่า กมฺมิกา ได้แก่ เจ้าพนักงานที่ด่านศุลกากร.

ข้อว่า ราชานํ วา เถยฺยํ คจฺฉนฺติ มีความว่า พวกโจรขโมย ของหลวง คือหลอกลวงลักเอาของหลวงบางอย่างไปด้วยตั้งใจว่า คราวนี้เราจัก ไม่ถวายหลวง.

บทว่า วิสงฺเกเตน มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไปผิดเวลา นัดหมาย และผิดวันนัดหมาย. แต่ไปผิดทางที่นัดหมาย หรือผิดดังที่นัดหมาย เป็นอาบัติเหมือนกัน. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าว แล้วในภิกขุนีวรรค.

สิกขาบทนี้ มีพวกพ่อค้าเกวียนพ่อค้าต่างผู้เป็นโจรเป็นสมุฎฐานเกิด ขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

เถยยสัตถสิกขาบทที่ ๖ จบ

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 710

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๗

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง

[๖๕๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ รูปหนึ่งกำลังเดินทางไปสู่พระนครสาวัตถีในโกศลชนบท เดินทางไปทางประตู บ้านแห่งหนึ่ง สตรีผู้หนึ่งทะเลาะกับสามีแล้วเดินออกจากบ้านไป พบภิกษุ รูปนั้นแล้วได้ถามว่า พระคุณเจ้าจักไปไหน เจ้าข้า.

ภิกษุนั้นตอบว่า ฉันจักไปสู่พระนครสาวัตถี จ้ะ.

สตรีนั้นขอร้องว่า ดิฉันจักไปกับพระคุณเจ้าด้วย.

ภิกษุนั้นกล่าวรับรองว่า ไปเถิด จ้ะ.

ขณะนั้น สามีของสตรีนั้นออกจากบ้านแล้ว ถามคนทั้งหลายว่า พวกท่านเห็นสตรีมีรูปร่างอย่างนี้บ้างไหม.

คนทั้งหลายตอบว่า สตรีมีรูปร่างเช่นว่านั้นเดินไปกับพระ.

ในทันที เขาได้ติดตามไปจับภิกษุนั้นทุบตีแล้วปล่อยไป ภิกษุนั้นนั่ง พ้อตนเองอยู่ ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง.

จึงสตรีนั้น ได้กล่าวกะบุรุษผู้สามีว่า นาย พระรูปนั้นมิได้พาดิฉันไป ดิฉันต่างหากไปกับท่าน พระรูปนั้นไม่ใช่เป็นตัวการ นายจงไปขอขมาโทษ ท่านเสีย.

บุรุษนั้นได้ขอขมาโทษภิกษุนั้น ในทันใดนั้นแล.

ครั้นภิกษุนั้นไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุ จึงได้ชักชวนแล้ว เดินทางไกลสายเดียวกันกับมาตุคามเล่า ...

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 711

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า เธอชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกับมาตุคาม จริงหรือ.

ภิกษุรูปนั้นทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง ได้ชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกับมาตุคามเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๑๖. ๗. อนึ่ง ภิกษุใด ชักชวนแล้ว เดินทางไกลสายเดียว กันกับมาตุคาม โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๕๙] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่หญิงมนุษย์ มิใช่หญิงยักษ์ มิใช่หญิงเปรต มิใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นสตรีผู้รู้เดียงสา สามารถทราบซึ้งถึงถ้อยคำเป็น สุภาษิตทุพภาษิต วาจาชั่วหยาบและสุภาพ.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 712

บทว่า กับ คือร่วมกัน.

บทว่า ชักชวนแล้ว คือ ชักชวนว่า เราไปกันเถิดจ้ะ เราไปกัน เถิดค่ะ เราไปกันเถิดพระคุณเจ้า เราไปกันเถิดน้องหญิง เราไปกันวันนี้ ไปกันพรุ่งนี้ หรือไปกันมะรืนนี้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

บทว่า โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ความว่า ในตำบลบ้าน กำหนดชั่วไก่บินถึง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ ระยะบ้าน ในป่าหาบ้านมิได้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ ระยะกึ่งโยชน์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๖๖๐] มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามาตุคาม ชักชวนกันแล้วเดินทางไกล สายเดียวกัน โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

มาตุคาม ภิกษุสงสัย ชักชวนแล้ว เดินทางไกลสายเดียวกัน โดย ที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม ชักชวนแล้ว เดินทางไกล สายเดียวกัน โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

จตุกทุกกฏ

ภิกษุชักชวน มาตุคามมิได้ชักชวน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกันกับหญิงยักษ์ หญิงเปรต บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉานตัวเมียมีกายคล้ายมนุษย์ โดยที่สุดแม้สิ้นระยะ บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 713

ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามาตุคาม ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม ... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๖๖๑] ภิกษุไม่ได้ชักชวนกันไป ๑ มาตุคามชักชวน ภิกษุไม่ได้ ชักชวน ๑ ภิกษุไปผิดวันผิดเวลา ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

สังวิธานสิกขาบทที่ ๗

ในสิกขาบทที่ ๗ มีวินิจฉัยดังนี้:-

สองบทว่า ปธูเปนฺโต นิสีทิ มีความว่า ภิกษุนั้นนั่งพ้อ หรือ ตำหนิตนเองอยู่.

ข้อว่า นายฺโย โส ภิกฺขุ มํ นิปฺปาเทสิ มีความว่า แน่ะนาย! ภิกษุนี้มิได้ให้ฉันออกไป คือ มิได้พาฉันไป. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้พร้อม กับสมุฏฐานเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในสิกขาบทว่าด้วย การชักชวนเดินทางร่วมกันกับนางภิกษุณีนั่นแล.

สังวิธาน สิกขาบทที่ ๗ จบ

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 714

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระอริฏฐะ มิจฉาทิฏฐิ

[๖๖๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ อริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง มีทิฏฐิทรามเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึง ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วดังข้อที่ตรัสธรรมเหล่าใดว่า ธรรม เหล่านี้เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง ไม่ ภิกษุหลายรูปได้ทราบข่าวว่า พระอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง มีทิฏฐิ ทรามเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ดังข้อที่ตรัสธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้น หาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ แล้วพากันเข้าไปหาพระอริฏฐะผู้เกิดใน ตระกูลพรานแร้งถามว่า อาวุโสอริฎฐะ ข่าวว่า ท่านมีทิฏฐิทรามเห็นปานนี้เกิด ขึ้นว่า ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ดังข้อที่ตรัส ธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำ อันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ ดังนี้ จริงหรือ.

อ. จริงอย่างว่านั้นแล อาวุโสทั้งหลาย ผมรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ดังข้อที่ตรัสว่าเป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้น หาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่.

ภิ. อาวุโสอริฏฐะ ท่านอย่าได้ว่าอย่างนั้น ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีแน่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ได้ตรัสอย่างนั้นเลย ธรรมอันทำอันตรายพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้โดย

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 715

บรรยายเป็นทำอันมาก ก็แลธรรมเหล่านั้น อาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความ คับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า เปรียบเหมือนร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษใน กามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือน ร่างกระดูก กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนคบหญ้า ... กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ... กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนความฝัน ... กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนของยืม ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนผลไม้ ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า เปรียบเหมือนเขียงสำหรับสับเนื้อ ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า เปรียบเหมือนแหลนหลาว ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนศีรษะงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในการทั้งหลาย นี้มากยิ่งนัก.

พระอริฎฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง แม้อันภิกษุเหล่านั้น ว่ากล่าวอยู่ อย่างนี้ก็ยังยึดถือทิฎฐิเห็นปานนั้นอยู่ ด้วยความยึดมั่นอย่างเดิม ซ้ำยังกล่าว ยืนยันว่า ผมกล่าวอย่างนั้นจริง อาวุโสทั้งหลาย ผมรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ดังข้อที่ตรัสธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นธรรม ทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ ดังนี้.

เมื่อภิกษุเหล่านั้น ไม่อาจเปลื้องของพระอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง จากทิฏฐิอันทรามนั้นได้ จึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลเรื่อง นั้นให้ทรงทราบ.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 716

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระอริฏฐะผู้เกิด ในตระกูลพรานแร้งว่า ดูก่อนอริฏฐะ ข่าวว่า เธอมีทิฏฐิทรามเห็นปานนี้เกิด ขึ้นว่า เรารู้ตัวถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ดังข้อที่ตรัสธรรม เหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตราย แก่ผู้เสพได้จริงไม่ จริงหรือ.

พระอริฎฐะทูลรับว่า เป็นจริงดังรับสั่ง พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้วดังข้อที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำ อันตรายได้อย่างไร ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เพราะเหตุไรเธอจึงเข้าใจ ธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนั้นเล่า ธรรมอันทำอันตราย เรากล่าวไว้โดยบรรยาย เป็นอันมากมิใช่หรือ และธรรมเหล่านั้นอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง กาม ทั้งหลายเรากล่าวว่ามีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษ ในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือนร่างกระดูก ... กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ... กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนคบหญ้า ... กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ... กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือนความฝัน ... กามทั้งหลายเรากล่าว ว่าเปรียบเหมือนของยืม ... กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือนผลไม้.. กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือนเขียงสำหรับสับเนื้อ ... กามทั้งหลายเรา กล่าวว่าเปรียบเหมือนแหลนหลาว ... กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือน ศีรษะงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 717

เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยติฎฐิที่ตนยึดถือไว้ผิด ชื่อว่าทำลาย ตนเอง และชื่อว่าประสบบาปมิใช่บุญเป็นอย่างมาก เพราะข้อนั้นแหละ จัก เป็นไปเพื่อผลไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อผลเป็นทุกข์แก่เธอตลอดกาลนาน การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๑๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการว่าเป็นธรรมทำ อันตรายได้อย่างไร ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง ไม่ ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้พูด อย่างนั้น ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีดอก พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสอย่างนั้นเลย แน่ะเธอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมทำอันตรายไว้โดยบรรยาย เป็นอันมาก ก็แลธรรมเหล่านั้น อาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง แลภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนั้น ขืนถืออยู่อย่างนั้นแล ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดประกาศห้ามจนหนที่ ๓ เพื่อสละการนั้นเสีย ถ้าเธอถูกสวดประกาศห้ามอยู่จนทนที่ ๓ สละการนั้นเสียได้ การ สละได้ดั่งนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระอริฏฐะ มิจฉาทิฏฐิ จบ

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 718

สิกขาบทวิภังค์

[๖๖๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า กล่าวอย่างนี้ ความว่า พูดอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่าเป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่.

[๖๖๔] บทว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ที่พูดอย่างนี้.

บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุพวกอื่น คือ ภิกษุพวกที่ ได้เห็น ที่ได้ยินเหล่านั้น พึงว่ากล่าวว่า ท่านอย่าได้พูดอย่างนั้น ท่านอย่าได้ กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีแน่ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสอย่างนั้นเลย แน่ะเธอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรม อันทำอันตรายไว้โดยบรรยายเป็นอันมาก ก็แลธรรมเหล่านั้นอาจทำอันตราย แก่ผู้เสพได้จริง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าเธอสละ ได้ การสละได้ดังนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอสละไม่ได้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุ ทั้งหลายทราบเรื่องแล้ว ไม่ว่ากล่าวต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลายพึงคุมตัว ภิกษุนั้นมา ณ ที่ท่ามกลางสงฆ์ แล้วพึงว่ากล่าวว่า ท่านอย่าได้พูดอย่างนั้น ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีแน่ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสอย่างนั้นเลย แน่ะเธอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ธรรมอันทำอันตรายไว้โดยบรรยายเป็นอันมาก ก็แลธรรมเหล่านั้นอาจทำ อันตรายแก่ผู้เสพได้จริง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๓ ถ้า เธอสละได้ การสละได้ดังนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 719

[๖๖๕] ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงสวดประกาศห้าม ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลายพึงสวดประกาศห้าม ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็แลพึงสวดประกาศห้าม อย่างนี้:-

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรม วาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาสมนุภาส

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ทิฏฐิอันเป็นบาปมีอย่างนี้ เป็นรูป บังเกิดแก่ภิกษุมีชื่อนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่าเป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านี้หาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้ไม่ ภิกษุนั้นไม่สละทิฏฐินั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดประกาศห้ามภิกษุ มีชื่อนี้เพื่อละทิฏฐินั้น นี่เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ทิฏฐิอันเป็นบาปมีอย่างนี้ เป็นรูป บังเกิดแก่ภิกษุมีชื่อนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค เจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่าเป็นธรรมทำอันตราย ธรรม เหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้ไม่ เธอไม่สละทิฏฐินั้น สงฆ์ สวดประกาศห้ามภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อสละทิฏฐินั้น การสวดประกาศ ห้ามภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อสละทิฏฐินั้น ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่ ๒ ...

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ครั้งที่ ๓ ...

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 720

ภิกษุมีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดประกาศห้ามแล้ว เพื่อสละทิฏฐิ นั้นชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

บทภาชนีย์

[๖๖๖] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกปาจิตตีย์

[๖๖๗] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ไม่ยอม สละต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ไม่ยอมสละ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่ยอมสละ ต้อง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ไม่ยอมสละ ต้อง อาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ไม่ยอมสละ ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่ยอมสละ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๖๖๘] ภิกษุผู้ไม่สวดประกาศห้าม ๑ ภิกษุผู้ยอมสละ ๑ ภิกษุวิกล - จริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 721

อริฏฐสิกขาบทที่ ๘

ในสิกขาบทที่ ๘ มีวินิจฉัยดังนี้:-

พวกชนที่ชื่อว่า พรานแร้ง เพราะอรรถว่า ได้ฆ่าแร้งทั้งหลาย. พระอริฏฐะชื่อว่า ผู้เคยเป็นพรานแร้งเพราะอรรถว่า ท่านมีบรรพบุรุษเป็น พรานแร้ง. ได้ความว่า เป็นบุตรของตระกูลเคยเป็นพรานแร้ง คือ เกิดจาก ตระกูลพรานแร้งนั้น.

[ว่าด้วยธรรมกระทำอันตรายแก่ผู้เสพ]

ธรรมเหล่าใด ย่อมทำอันตรายแก่สวรรค์และนิพพาน; เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อันตรายิกธรรม. อันตรายิกธรรมเหล่านั้นมี ๕ อย่าง ด้วยอำนาจ กรรม กิเลส วิบาก อุปวาท และอาณาวีติกกมะ. บรรดา อันตรายิกธรรมมีกรรมเป็นต้นนั้น ธรรมคือ อนันตริยกรรม ๕ อย่าง ชื่อว่า อันตรายิกธรรม คือ กรรม. ภิกขุนีทูสกกรรม ก็อย่างนั้น. แต่ภิกขุนีทูสกกรรมนั้น ย่อมทำอันตรายแก่พระนิพพานเท่านั้น หาทำอันตรายแก่สวรรค์ไม่. ธรรมคือ นิยตมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่า อันตรายิกธรรม คือ กิเลส. ธรรมคือ ปฏิสนธิของพวกบัณเฑาะก์ ดิรัจฉาน และอุภโตพยัญชนก ชื่อว่า อันตรายิกธรรมคือวิบาก. การเข้าไปว่าร้ายพระอริยเจ้า ชื่อว่า อันตรายิกธรรม คือ อุปวาทะ. แต่อุปวาทันตรายิกธรรมเหล่านั้น เป็นอันตรายตลอดเวลาที่ยังไม่ให้ พระอริยเจ้าทั้งหลายอดโทษเท่านั้น, หลังจากให้ท่านอดโทษไป หาเป็นอันตรายไม่. อาบัติที่แกล้งต้อง ชื่อว่าอันตรายิกธรรมคือ อาณาวีติกกมะ. อาบัติ แม้เหล่านั้น ก็เป็นอันตรายตลอดเวลาที่ภิกษุผู้ต้องยังปฏิญญาความเป็นภิกษุ

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 722

หรือยังไม่ออก หรือยังไม่แสดงเท่านั้น ต่อจากทำคืนตามกรณีนั้นๆ แล้วหา เป็นอันตรายไม่.

บรรดาอันตรายิกธรรมตามที่กล่าวแล้วนั้น ภิกษุนี้เป็นพหูสูต เป็น ธรรมกถึก รู้จักอันตรายิกธรรมที่เหลือได้ แต่เพราะไม่ฉลาดในพระวินัย จึง ไม่รู้อันตรายิกธรรม คือ การล่วงละเมิดพระบัญญัติ. เพราะฉะนั้น เธอไป อยู่ในที่ลับได้ติดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ครองเรือนเหล่านี้ยังบริโภคกามคุณ ๕ เป็น พระโสดาบันก็มี เป็นพระสกทาคามีก็มี เป็นพระอนาคามีก็มี แม้ภิกษุทั้งหลาย ก็เห็นรูปที่ชอบใจ พึงรู้ได้ทางจักษุ ฯลฯ ย่อมถูกต้องโผฏฐัพพะอันน่าชอบใจ พึงรู้ได้ทางกาย บริโภคเครื่องลาดและเครื่องนุ่งห่มเป็นต้น แม้อันอ่อนนุ่ม ข้อ นั้นควรทุกอย่าง เพราะเหตุไร รูปสตรีทั้งหลาย ฯลฯ โผฎฐัพพะ คือ สตรี ทั้งหลาย จึงไม่ควรอย่างนี้เล่า? แม้สตรีเป็นต้นเหล่านี้ ก็ควร. เธอเทียบ เคียงรสกับรสอย่างนี้แล้ว ทำการบริโภคกามคุณที่เป็นไปกับด้วยฉันทราคะ กับ การบริโภคกามคุณที่ไม่มีฉันทราคะ ให้เป็นอันเดียวกัน ยังทิฏฐิอันลามกให้ เกิดขึ้น ดุจบุคคลต่อด้ายละเอียดยิ่งกับเส้นปออันหยาบ ดุจเอาเขาสิเนรุเทียบกับ เมล็ดผักกาด ฉะนั้น จึงขัดแย้งกับสรรเพชุดาญาณว่า ไฉน พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบัญญัติปฐมปาราชิกด้วยความอุตสาหะมาก ดุจทรงกั้นมหาสมุทร โทษใน กามเหล่านี้ ไม่มี ดังนี้ ตัดความหวังของพวกภัพบุคคล ได้ให้การประหาร ในอาณาจักรแห่งพระชินเจ้า. เพราะเหตุนั้น อริฏฐภิกษุจึงกล่าว่า ตถาหํ ภควตา ธมฺมํ เทสิตํ อาชานามิ เป็นอทิ.

ในคำว่า อฏฺิกงฺกลูปมา เป็นต้น มีวินิฉัยว่า กามทั้งหลายเปรียบ เหมือนโครงกระดูก ด้วยอรรถว่า มีรสอร่อยน้อย (มีความยินดีน้อย). เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ด้วยอรรถว่า เป็นกายทั่วไปแก่สัตว์มาก. เปรียบเหมือน

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 723

คบหญ้า ด้วยอรรถว่าตามเผาลน. เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ด้วยอรรถว่า เร่าร้อนยิ่งนัก. เปรียบเหมือนความฝันด้วยอรรถว่า ปรากฏชั่วเวลานิดหน่อย. เปรียบเหมือนของขอยืมด้วยอรรถว่า เป็นไปชั่วคราว. เปรียบเหมือนผลไม้ ด้วยอรรถว่าบั่นทอนอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งปวง. เปรียบเหมือนเขียงสำหรับสับเนื้อ ด้วยอรรถว่า เป็นที่รองรับการสับโขก. เปรียบเหมือนแหลนหลาว ด้วยอรรถ ว่าทิ่มแทง. เปรียบเหมือนศรีษะงู ด้วยอรรถว่า น่าระแวงและมีภัยจำเพาะ หน้าแล. นี้ความย่อในสิกขาบทนี้. ส่วนความพิสดารบัณฑิต พึงค้นเอาใน อรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนี.

นิบาทสมุหะว่า เอวํ พฺยา โข แปลว่า เหมือนอย่างที่ทรงแสดง อย่างนี้แล. บทที่เหลื่อในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วใน เบื้องต้น.

สิกขาบทนี้ มีการสวดสมนุภาสน์เป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นทาง กาย วาจา และจิต เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกข์เวทนา ดังนี้แล.

อริฏฐสิกขาบทที่ ๘ จบ

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 724

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๖๖๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์รู้อยู่ กินร่วมบ้าง อยู่ร่วมบ้าง สำเร็จการนอนด้วยกันบ้าง กับ พระอิรฏฐะผู้กล่าวอย่างนั้น ผู้ยังไม่ได้ทำกรรมอันสมควร ยังไม่ได้สละทิฏฐินั้น บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์รู้อยู่ จึงได้กินร่วมบ้าง อยู่ร่วมบ้าง สำเร็จการนอนด้วยกันบ้าง กับพระอริฏฐะผู้กล่าวอย่างนั้น ผู้ยังไม่ได้ทำกรรมอันสมควร ผู้ยังไม่ได้สละ ทิฏฐินั้นเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอรู้อยู่ กินร่วมบ้าง อยู่ร่วมบ้าง สำเร็จการนอนด้วยกันบ้าง กับพระอริฏฐะผู้กล่าวอย่างนั้น ผู้ยังไม่ได้กระทำกรรมอันสมควร ผู้ยังไม่ได้ สละทิฏฐินั้น จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์กราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวก เธอรู้อยู่ จึงได้กินร่วมบ้าง อยู่ร่วมบ้าง สำเร็จการนอนด้วยกันบ้าง กับ อริฏฐะผู้กล่าวอย่างนั้น ผู้ยังไม่ได้ทำกรรมอันสมควร ผู้ยังไม่ได้สละทิฏฐินั้น

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 725

เล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า ดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๑๘. ๙. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ กินร่วมก็ดี อยู่ร่วมก็ดี สำเร็จ การนอนด้วยกันก็ดี กับภิกษุผู้กล่าวอย่างนั้น ยังไม่ได้ทำกรรมอัน สมควร ยังไม่สละทิฏฐินั้น เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๗๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือรู้เอง หรือคนอื่นบอกแก่เธอ หรือเจ้าตัวบอก.

บทว่า ผู้กล่าวอย่างนั้น คือ ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำ อันตรายอย่างไร ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่.

ที่ชื่อว่า ยังไม่ได้ทำกรรมอันสมควร คือ เป็นผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร แล้วสงฆ์ยังไม่ได้เรียกเข้าหมู่.

คำว่า กับ ... ยังไม่ได้สละทิฏฐินั้น คือ กับ ... ยังไม่ได้สละ ทิฏฐิที่ถือนั้น.

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 726

บทว่า กินร่วมก็ดี อธิบายว่า ที่ชื่อว่ากินร่วม หมายถึงการคบหามี ๒ อย่าง คบหากันในทางอามิส ๑ คบหากันในทางธรรม ๑.

ที่ชื่อว่า คบหากันในทางอามิส คือ ให้อามิสก็ดี รับอามิสก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ที่ชื่อว่า คบหากันในทางธรรม คือ บอกธรรมให้ หรือขอ เรียนธรรม.

ภิกษุบอกธรรมให้ หรือขอเรียนธรรมโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ บท.

ภิกษุบอกธรรมให้ หรือขอเรียนธรรมโดยอักขระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ อักขระ.

บทว่า อยู่ร่วมก็ดี ความว่า ทำอุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ร่วมกับภิกษุ ผู้ถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

คำว่า สำเร็จการนอนด้วยกันก็ดี อธิบายว่า ในที่มีหลังคาเดียวกัน เมื่อภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตรนอนแล้ว ภิกษุจึงนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อ

ภิกษุนอนแล้ว ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตรจึงนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือนอน ทั้งสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ลุกขึ้นแล้วนอนซ้ำอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

[๖๗๑] ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว ภิกษุสำคัญว่าถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว กินร่วมก็ดี อยู่ร่วมก็ดี สำเร็จการนอนด้วยกันก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว ภิกษุยังสงสัยอยู่ กินร่วมก็ดี อยู่ร่วมก็ดี สำเร็จการนอนด้วยกันก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 727

ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร กินร่วม ก็ดี อยู่ร่วมก็ดี สำเร็จการนอนด้วยกันก็ดี ไม่ต้องอาบัติ.

ไม่ใช่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร ภิกษุสำคัญว่าถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร ภิกษุยังสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ภิกษุผู้ถูกยกวัตร ... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๖๗๒] ภิกษุรู้ว่าไม่ใช่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร ๑ ภิกษุรู้ว่า ภิกษุถูก สงฆ์ยกวัตร แต่สงฆ์เรียกเข้าหมู่แล้ว ๑ ภิกษุรู้ว่าภิกษุถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว แต่สละทิฏฐินั้นแล้ว ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

อุกขิตตสัมโภคสิกขาบทที่ ๙

ในสิกขาบทที่ ๙ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

[แก้อรรถบางปาฐะในสิกขาบทที่ ๙]

บทว่า อกฏานุธมฺเมน มีความว่า โอสารณา (การเรียกเข้าหมู่) ที่สงฆ์เห็นวัตรอันสมควรกระทำแล้วแก่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร ในเพราะไม่เห็น อาบัติก็ดี ในเพราะไม่กระทำคืนอาบัติก็ดี ในเพราะไม่สละทิฏฐิลามกก็ดี โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ตามธรรม.

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 728

ตามธรรมกล่าว คือ โอสารณานั้นสงฆ์ไม่ได้ทำแก่ภิกษุใด, ภิกษุนี้ชื่อว่า ผู้อัน สงฆ์มิได้กระทำตามธรรม. ความว่า (ยังไม่ได้ทำ) กับด้วยภิกษุเช่นนั้น. ด้วยเหตุนั้นแล ในบทภาชนะแห่งบทว่า อกฏานุธมฺเมน นั้น จึงตรัสว่า ที่ชื่อว่า ยิ่งไม่ได้ทำตามธรรม คือ เป็นผู้ถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว สงฆ์ยังไม่ได้ เรียกเข้าหมู่.

สองบทว่า เทติ วา ปฏิคฺคณฺหาติ วา มีความว่า ภิกษุให้ก็ดี รับก็ดี ซึ่งอามิส แม้เป็นอันมาก โดยประโยคเดียว เป็นปาจิตตีย์ตัวเดียว. เมื่อให้และรับขาดตอน เป็นปาจิตตีย์มากตัว โดยนับประโยค. บทที่เหลือใน สิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

อุกขิตตสัมโภคสิกขาบทที่ ๙ จบ

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 729

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องสมณุทเทสกัณฑกะ มิจฉาทิฏฐิ

[๖๗๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ - เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น สมณุทเทสชื่อกัณฑกะ มีทิฏฐิทรามเห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ดังข้อที่ตรัสธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ ภิกษุหลายรูปได้ทราบข่าวว่า สมณุทเทสชื่อกัณฑกะมีทิฏฐิทรามเห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ดังข้อที่ตรัส ธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมทำอันตราย. ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำ อันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปหาสมณุทเทส ชื่อกัณฑกะ ถึง สำนักแล้วถามว่า อาวุโสกัณฑกะ ข่าวว่า เธอมีทิฏฐิทรามเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ดังข้อที่ตรัสธรรมเหล่าใด ว่า ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้ เสพได้จริงไม่ ดังนี้ จริงหรือ.

ก. จริงอย่างว่านั้นแล ขอรับ ผมรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงแล้ว ดังข้อที่ตรัสธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่.

ภิ. อาวุโส กัณฑกะ เธออย่าได้ว่าอย่างนั้น เธออย่าได้กล่าวตู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีแน่ พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้ตรัสอย่างนั้นเลย ธรรมอันทำอันตราย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดย

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 730

บรรยายเป็นอันมาก ก็แลธรรมเหล่านั้นอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง กาม ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่ามีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความ คับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่าเปรียบเหมือนร่างกระดูก ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเปรียบเหมือน คบหญ้า ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเปรียบเหมือนความฝัน ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเปรียบเหมือนของยืม.. กามทั้งหลายพระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสว่าเปรียบเหมือนผลไม้ ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ว่าเปรียบเหมือนเขียงสำหรับสับเนื้อ ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนแหลนหลาว ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเปรียบ เหมือนศีรษะงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนี้มาก ยิ่งนัก.

กัณฑกะสมณุทเทส อันภิกษุเหล่านั้นว่ากล่าวอยู่เช่นนี้ ยังยึดถือทิฏฐิ ทรามนั้น ด้วยความยึดมั่นอย่างเดิม ซ้ำยังกล่าวยืนยันว่า ผมกล่าวอย่างนั้นจริง ขอรับ ผมรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ดังข้อที่ตรัสธรรม เหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตราย แก่ผู้เสพได้จริงไม่ ดังนี้.

เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่อาจเปลื้องสมณุทเทสกัณฑกะ จากทิฏฐิอันทราม นั้นได้ จึงพากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ.

ประชุมสงฆ์โปรดให้นาสนะ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามสมณุทเทสกัณฑกะ

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 731

ว่า ดูก่อนกัณฑกะ. ข่าวว่า เธอมีทิฏฐิอันทรามเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึง ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ดังข้อที่ตรัสธรรมเหล่าใดว่า ธรรม เหล่านี้เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ ดังนี้จริงหรือ.

สมณุทเทสกัณฑกะทูลรับว่า ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวอย่างนั้นจริง พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว ดังข้อ ที่ตรัสธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหา อาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เพราะเหตุใดเจ้าจึงเข้าใจ ธรรมที่เราแสดงแล้วเช่นนั้นเล่า ธรรมอันทำอันตรายเรากล่าวไว้ โดยบรรยาย เป็นอันมากมิใช่หรือ และธรรมเหล่านั้นอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง กาม ทั้งหลายเรากล่าวว่ามีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษใน กามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือนร่างกระดูก ... กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ... กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เปรียบเหมือนคบหญ้า ... กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ... กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือนความฝัน ... กามทั้งหลายเรากล่าว ว่าเปรียบเหมือนของยืม ... กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือนผลไม้ ... กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือนเขียงสำหรับสับเนื้อ ... กามทั้งหลายเรา กล่าวว่าเปรียบเหมือนแหลนหลาว ... กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเปรียบเหมือน ศีรษะงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น เจ้าชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยทิฏฐิที่ตนยึดถือไว้ผิด ชื่อว่าทำลาย ตนเองและชื่อว่าประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ข้อนั้นแหละจักเป็นไปเพื่อผล ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อผลเป็นทุกข์แก่เจ้า ตลอดกาลนาน การกระทำ

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 732

ของเจ้านั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเจ้านั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่าง อื่นของชุมชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงนาสนะสมณุทเทส กัณฑกะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงนาสนะอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

เจ้ากัณฑกะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เจ้าอย่าอ้างพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ว่าเป็นศาสดาของเจ้า และสมณุทเทสอื่นๆ ย่อมได้การนอนด้วยกัน เพียง ๒ - ๓ คืน กับภิกษุทั้งหลายอันใด แม้กิริยาที่ได้การนอนร่วมนั้นไม่มีแก่เจ้า เจ้าคน เสีย เจ้าจงไป เจ้าจงฉิบหายเสีย.

ครั้งนั้น สงฆ์ได้นาสนะสมณุทเทสกัณฑะแล้ว.

เกลี้ยกล่อมสมณุทเทส

[๖๗๔] ต่อมา พระฉัพพัคคีย์รู้อยู่ เกลี้ยกล่อมสมณุทเทสกัณฑกะ ผู้ถูกสงฆ์นาสนะอย่างนั้นแล้ว ให้อุปัฏฐากบ้าง กินร่วมบ้าง สำเร็จการนอน ด้วยกันบ้าง บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์รู้อยู่ จึงได้เกลี่ยกล่อมสมณุทเทสกัณฑกะ ผู้ถูกสงฆ์นาสนะ อย่างนั้นแล้ว ให้อุปัฎฐากบ้าง กินร่วมบ้าง สำเร็จการนอนด้วยกันบ้างเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอรู้อยู่ เกลี้ยกล่อมสมณุทเทสกัณฑกะ ผู้ถูกสงฆ์นาสนะอย่างนั้น แล้ว ให้อุปัฏฐากบ้าง กินร่วมบ้าง สำเร็จการนอนด้วยกันบ้าง จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 733

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอรู้อยู่ จึงได้เกลี้ยกล่อมสมณุทเทสกัณฑกะผู้ถูกสงฆ์นาสนะอย่างนั้นแล้ว ให้อุปัฏฐากบ้าง กินร่วมบ้าง สำเร็จการนอนร่วมกันบ้างเล่า การกระทำของ พวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า ดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๑๙. ๑๐. ถ้าแม้สมณุทเทสกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่าเป็น ธรรมทำอันตรายได้อย่างไร ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้ เสพได้จริงหรือไม่ สมณุทเทสนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ ว่า อาวุโสสมณุทเทส เธออย่าได้พูดอย่างนั้น เธออย่าได้กล่าวตู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีดอก พระผู้- มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสอย่างนั้นเลย อาวุโส สมณุทเทส พระผู้มี - พระภาคเจ้าตรัสธรรมทำอันตรายไว้โดยบรรยายเป็นอันมาก ก็แล ธรรมเหล่านั้นอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง และสมณุทเทสนั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอย่าอย่างนั้น ขืนถืออยู่อย่างนั้นเทียว สมณุทเทสนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะอาวุโํส สมณุทเทส เธออย่าอ้างพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นว่าเป็นพระศาสดาของ เธอ ตั้งแต่วันนี้ไป และพวกสมณุทเทสอื่นย่อมได้การนอนร่วมเพียง

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 734

๒ - ๓ คืน กับภิกษุทั้งหลายอันใด แม้กิริยาที่ได้การนอนร่วมนั้นไม่ มีแก่เธอ เจ้าคนเสีย เจ้าจงไป เจ้าจงฉิบหายเสีย อนึ่ง ภิกษุใดรู้ อยู่ เกลี้ยกล่อมสมณุทเทสผู้ถูถให้ฉิบหายเสียอย่างนั้น แล้วก็ดี ให้ อุปัฏฐากก็ดี กินร่วมก็ดี สำเร็จการนอนร่วมก็ดี เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องสมณุทเทสกัณฑกะ มิจฉาทิฏฐิ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๗๕] ที่ชื่อว่า สมณุทเทส ได้แก่ บุคคลที่เรียกกันว่าสามเณร คำว่า กล่าวอย่างนี้ คือกล่าวว่า ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงแล้วโดยประการที่ตรัสว่าเป็นธรรมทำอันตรายได้อย่างไร ธรรมเหล่า นั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่

[๖๗๖] คำว่า สมณุทเทสนั้น ได้แก่สมณุทเทสผู้ที่กล่าวอย่างนั้น.

บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุพวกอื่น คือ พวกภิกษุผู้ ได้เห็น ผู้ได้ยิน พึงว่ากล่าวว่า อาวุโส สมณุทเทส เธออย่าได้พูดอย่างนั้น เธออย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีแน่ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสอย่างนั้นเลย อาวุโสสมณุทเทส พระผู้มีพระ - ภาคเจ้าตรัสธรรมทำอันตรายไว้โดยบรรยายเป็นอันมาก ก็แลธรรมเหล่านั้นอาจ ทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง พึงว่ากล่าว แม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ สาม ถ้าเธอสละได้ การสละได้ดังนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ สมณุทเทสนั้น อัน ภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส สมณุทเทส เธออย่าอ้างพระผู้- มีพระภาคเจ้านั้น ว่าเป็นพระศาสดาของเธอตั้งแต่วันนี้ไป และพวกสมณุทเทส อื่น ย่อมได้การนอนร่วมเพียง ๒ - ๓ คืน กับภิกษุทั้งหลายอันใด แม้กิริยาที่ ได้การนอนร่วมนั้นไม่มีแก่เธอ เจ้าคนเสีย เจ้าจงไป เจ้าจงฉิบหาย ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 735

[๖๗๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือรู้เอง หรือคนอื่นบอกแก่เธอ หรือเจ้าตัวบอก.

บทว่า ผู้ถูกให้ฉิบหายเสียอย่างนั้นแล้ว คือ ผู้สงฆ์นาสนะอย่าง นั้นแล้ว.

ที่ชื่อว่า สมณุทเทส ได้แก่ บุคคลที่เรียกกันว่าสามเณร.

บทว่า เกลี้ยกล่อมก็ดี คือ เกลี้ยกล่อมว่า เราจักให้บาตร จีวร อุเทศหรือปริปุจฉาแก่เธอ ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า ให้อุปัฏฐากก็ดี คือ ยินดี จุรณ ดินเหนียว ไม้ชำระฟัน หรือน้ำบ้วนปากของเธอ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า กินร่วมก็ดี อธิบายว่า ที่ชื่อว่ากินร่วม หมายถึงการคบหา มี ๒ อย่าง คือคบหากันในทางอามิส ๑ คบหากันในทางธรรม ๑.

ที่ชื่อว่า คบหากัน ในทางอามิส คือ ให้อามิสก็ดี รับอามิสก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ที่ชื่อว่า คบหากันในทางธรรม คือบอกธรรมให้ หรือขอเรียน ธรรม.

ภิกษุบอกธรรมให้ หรือขอเรียนธรรม โดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ บท.

ภิกษุบอกธรรมให้ หรือขอเรียนธรรม โดยอักขระ ต้องอาบัติ- ปาจิตตีย์ ทุกๆ อักขระ.

คำว่า สำเร็จการนอนร่วมก็ดี อธิบายว่า ในที่มุงบังอันเดียวกัน เมื่อสมณุทเทส ผู้ถูกสงฆ์นาสนะนอนแล้ว ภิกษุจึงนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 736

เมื่อภิกษุนอนแล้ว สมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์นาสนะจึงนอน ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือนอนทั้งสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ลุกขึ้นแล้วนอนต่อไปอีก ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

[๖๗๘] สมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ภิกษุสำคัญว่าถูกสงฆ์นาสนะ แล้ว เกลี้ยกล่อมก็ดี ให้อุปัฏฐากก็ดี กินร่วมก็ดี สำเร็จการนอนร่วมก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

สมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ภิกษุมีความสงสัย เกลี้ยกล่อมก็ดี ให้ อุปัฏฐากก็ดี กินร่วมก็ดี สำเร็จการนอนร่วมก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ผู้ถูกสงฆ์นาสนะ เกลี้ยกล่อมก็ดี ให้อุปัฏฐากก็ดี กินร่วมก็ดี สำเร็จการนอนร่วมก็ดี ไม่ต้อง อาบัติ.

สมณุทเทสไม่ใช่ผู้ถูกสงฆ์นาสนะ ภิกษุสำคัญว่าผู้ถูกสงฆ์นาสนะ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมณุทเทสไม่ใช่ผู้ถูกสงฆ์นาสนะ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ. สมณุทเทสไม่ใช่ผู้สงฆ์นาสนะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ผู้ถูกสงฆ์นาสนะ ... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๖๗๙] ภิกษุรู้อยู่ว่า สมณุทเทสไม่ใช่ผู้ถูกสงฆ์นาสนะ ๑ ภิกษุรู้อยู่ ว่าสมณุทเทสยอมสละทิฏฐินั้นแล้ว ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๗ จบ

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 737

กัณฑกสิกขาบทที่ ๑๐

ในสิกขาบทที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

[แก้อรรถบางปาฐะในสิกขาบทที่ ๑๐]

สองบทว่า ทิฏฺิคตํ อุปฺปนฺนํ คือ สมณุทเทสแม้นี้ เมื่อถลำลง ไปโดยไม่แยบคาย ก็เกิดความเห็นผิดขึ้นมา เหมือนอริฎฐภิกษุฉะนั้น.

นาสนะที่ตรัสไว้ในคำว่า นาเสตุ นี้ มี ๓ อย่างคือ สังวาสนาสนะ ๑ ลิงคนาสนะ ๑ ทัณฑกรรมนาสนะ ๑. บรรดานาสนะ ๓ อย่างนั้น การยกวัตร ในเพราะไม่เห็นอาบัติเป็นต้น ชื่อว่า สังวาสนาสนะ. นาสนะนี้ว่า สามเณร ผู้ประทุษร้าย (นางภิกษุณี) สงฆ์พึงให้นาสนะเสีย, เธอทั้งหลายพึงให้นาสนะ เมตติยาภิกษุณีเสีย ชื่อว่า ลิงคนาสนะ. นาสนะนี้ว่า แน่ะอาวุโส สมณุทเทส เธออย่าอ้างพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นว่า เป็นพระศาสดาของเธอตั้งแต่วันนี้ไป ชื่อว่า ทัณฑกรรมนาสนะ. ทัณฑกรรมนาสนะนี้ ทรงประสงค์เอาในสิกขาบท นี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสว่า เอวญฺจ ภิกฺขเว นาเสตพฺโพ ฯเปฯ จร ปิเร วินสฺส เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จร แปลว่า เธอจงหลีกไปเสีย.

บทว่า ปิเร แปลว่า แน่ะเจ้าคนอื่น คือเจ้าผู้มีใช่พวกเรา.

บทว่า วินสฺส ความว่า เจ้าจงฉิบหายเสีย คือ จงไปในที่ซึ่งพวก เราจะไม่เห็นเจ้า.

บทว่า อุปลาปฺเปยฺย แปลว่า พึงสงเคราะห์.

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 738

บทว่า อุปฏฺาเปยฺย คือ พึงให้สมณุทเทสนั้นทำการบำรุงตน. บทที่เหลือพร้อมทั้งสมุฏฐานเป็นต้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในอริฏฐ- สิกขาบทนั้นนั่นแล.

กัณฑกสิกขาบทที่ ๑๐ จบ

สัปปาณวรรคที่ ๗ จบบริบูรณ์

ตามวรรณนานุกรม

หัวข้อประจำเรื่อง

๑. สัญจิจจปาณสิกขาบท ว่าด้วยแกล้งฆ่าสัตว์

๒. สัปปาณกสิกขาบท ว่าด้วยบริโภคน้ำมีตัวสัตว์

๓. อุกโกฏนสิกขาบท ว่าด้วยฟื้นอธิกรณ์

๔. ทุฏฐุลลฺสิกขาบท ว่าด้วยปิดอาบัติชั่วหยาบ

๕. อูนวีสติวัสสสิกขาบท ว่าด้วยอุปสมบทกุลบุตรมีอายุ หย่อน ๒๐ ปี

๖. เถยยสัตถสิกขาบท ว่าด้วยเดินทางร่วมกับพ่อค้าผู้ เป็นโจร

๗. สํวิธานสิกขาบท ว่าด้วยชักชวนมาตุคามเดินทาง สายเดียวกัน

๘. อริฏฐสิกขาบท ว่าด้วยพระอริฎฐะ

๙. อุกขิตตสัมโภคสิกขาบท ว่าด้วยการคบหากับภิกษุผู้ถูก สงฆ์ยกวัตร

๑๐. กัณฑกสิกขาบท ว่าด้วยสมณุทเทสชื่อกันฑกะ