พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๘ - สหธรรมมิกวรรค

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 มี.ค. 2565
หมายเลข  42781
อ่าน  773

[เล่มที่ 4] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒

พระวินัยปิฎก เล่ม ๒

มหาวิภังค์ ทุติยภาค

ปาจิตติยภัณฑ์

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๘

สหธรรมมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระฉันนะ 680/739

พระบัญญัติ 740

สิกขาบทวิภังค์ 681/740

บทภาชนีย์ 682/741

อนาปัตติวาร 684/742

ปาจิตตีย์ สหธรรมิกวรรคที่ ๘

สหธรรมิกสิกขาบทที่ ๑ 743

แก้อรรถบางปาฐะในสิกขาบทที่ ๑ 743

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๒ 744

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 685/744

พระบัญญัติ 745

สิกขาบทวิภังค์ 686/746

บทภาชนีย์ 687/746

อนาปัตติวาร 688/747

วิเลขนสิกขาบทที่ ๒ 748

อธิบายอานิสงส์ ๕ ว่าด้วยการต้องอาบัติฯ 748

ผู้ทรงวินัยไม่ต้องอาบัติด้วยอาการ ๖ 750

อธิบายพระสัทธรรม ๓ อย่าง 752

จุดประสงค์ในการสรรเสริญวินัยปริยัติ 754

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๓ 757

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 689/757

พระบัญญัติ 758

สิกขาบทวิภังค์ 690/758

บทภาชนีย์ 692/760

อนาปัตติวาร 694/761

โมหนสิกขาบทที่ ๓ 761

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๔ 763

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 695/763

พระบัญญัติ 764

สิกขาบทวิภังค์ 696/764

บทภาชนีย์ 697/764

อนาปัตติวาร 698/765

ปหารสิกขาบทที่ ๔ 765

ว่าด้วยการให้ประหารด้วยฝ่ามือ 765

สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๕ 767

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 699/767

พระบัญญัติ 768

สิกขาบทวิภังค์ 700/768

บทภาชนีย์ 701/768

อนาปัตติวาร 702/769
ตลสัตติกสิกขาบทที่ ๕ 769

ว่าด้วยการเงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นประหาร 769

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๖ 771

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 703/771

พระบัญญัติ 772

สิกขาบทวิภังค์ 704/772

บทภาชนีย์ 705/772

อนาปัตติวาร 706/773

อมูลกสิกขาบทที่ ๖ 773

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๗ 774

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 707/774

พระบัญญัติ 775

สิกขาบทวิภังค์ 708/775

บทภาชนีย์ 709/776

อนาปัตติวาร 710/776

สัญจิจจสิกขาบทที่ ๗ 777

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๘ 778

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 711/778

พระบัญญัติ 779

สิกขาบทวิภังค์ 712/779

บทภาชนีย์ 713/780

อนาปัตติวาร 714/781

อุปัสสุติกสิกขาบทที่ ๘ 781

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๙ 783

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 715/783

พระบัญญัติ 784

สิกขาบทวิภังค์ 716/784

บทภาชนีย์ 717/785

อนาปัตติวาร 718/785

กัมมปฏิพาหนสิกขาบทที่ ๙ 785

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ 787

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 719/787

พระบัญญัติ 788

สิกขาบทวิภังค์ 720/788

บทภาชนีย์ 721/789

อนาปัตติวาร 722/789

ฉันทังอทัตวาคมนสิกขาบทที่ ๑๐ 790

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ 791

เรื่องพระทัพพมัลลบุตร 723/791

พระบัญญัติ 792

สิกขาบทวิภังค์ 724/792

บทภาชนีย์ 725/793

อนาปัตติวาร 726/794

ทัพพสิกขาบทที่ ๑๑ 794

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๒ 795

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 727/795

พระบัญญัติ 795

สิกขาบทวิภังค์ 728/796

บทภาชนีย์ 729/797

อนาปัตติวาร 730/798

ปริณามนสิกขาบทที่ ๑๒ 799

หัวข้อประจําเรื่อง 799


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 4]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 739

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๘

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระฉันนะ

[๖๘๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิ - ตาราม เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะประพฤติอนาจาร ภิกษุ ทั้งหลายพากันกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ฉันนะ ท่านอย่าได้ทำการเห็นปานนั้น การทำอย่างนั้นนั่นไม่ควร.

ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ฉันจักยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ตลอด เวลาที่ฉันยังไม่ได้สอบถามภิกษุอื่นผู้ฉลาด ผู้ทรงวินัย.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระฉันนะ อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรม จึงได้กล่าว อย่างนี้ว่า อาวุโส ฉันจักยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้สอบถาม ภิกษุอื่นผู้ฉลาด ผู้ทรงวินัย ดังนี้เล่า ... แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มี - พระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระฉันนะว่า ดูก่อนฉันนะ ข่าว ว่า เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรม ได้กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ฉันจักยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ ตลอดเวลาที่ฉันยังไม่ได้สอบถามภิกษุอื่น ผู้ฉลาด ผู้ทรงวินัยดังนี้ จริงหรือ.

ท่านพระฉันนะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 740

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉน เธออัน ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรม จึงได้พูดอย่างนี้ว่า อาวุโส ฉันจักยัง ไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้สอบถามภิกษุอื่นผู้ฉลาด ผู้ทรง วินัย ดังนี้เล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๒๐. ๑. อนึ่ง ภิกษุใด อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่โดยชอบ ธรรม กล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเธอ ฉันจักยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้สอบถามภิกษุอื่นผู้ฉลาด ผู้ทรงวินัย เป็น ปาจิตตีย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ศึกษาอยู่ ควรรู้ทั่วถึง ควร สอบถาม ควรตริตรอง นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.

เรื่องพระฉันนะจบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๘๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุเหล่าอื่น.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 741

ที่ชื่อว่า ชอบธรรม คือ สิกขาบทใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง บัญญัติไว้นั่นชื่อว่าชอบธรรม.

ภิกษุผู้อัน ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรมนั้น กล่าวอย่างนี้ คือ กล่าวว่า แน่ะเธอ ฉันจักยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้ สอบถามภิกษุอื่นผู้ฉลาด ผู้ทรงวินัย เป็นบัณฑิต มีปัญญา เป็นพหูสูต เป็น ธรรมกถึก ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๖๘๒] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน กล่าวอย่างนั้น ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัยอยู่ กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติ- ปาจิตตีย์.

ปัญจกทุกกฏ

ภิกษุผู้อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ ตมสิกขาบทที่มิได้ทรงบัญญัติไว้ กล่าวอย่างนี้ว่า สิกขาบทนี้ ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา ไม่เป็นไปเพื่อความ กำจัด ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สะสม ไม่เป็นไป เพื่อปรารภความเพียร และซ้ำพูดว่า แน่ะเธอ ฉันจักยังไม่ศึกษาในสิกขาบท นี้ ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้สอบถามภิกษุอื่นผู้ฉลาด ผู้ทรงวินัย เป็นบัณฑิต มี ปัญญา เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 742

ภิกษุผู้อันอนุปสัมบันว่ากล่าวอยู่ตามสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ก็ตาม ที่ มิได้ทรงบัญญัติไว้ก็ตาม พูดอย่างนี้ว่า สิกขาบทนี้ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา ไม่เป็นไปเพื่อความกำจัด ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ไม่เป็นไปเพื่อความไม่ สะสม ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร แล้วซ้ำกล่าวว่า แน่ะเธอ ฉันจักยัง ไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้สอบถามภิกษุอื่นผู้ฉลาด ผู้ทรง วินัย เป็นบัณฑิต มีปัญญา เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ดังนี้ ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัยอยู่ กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติ- ทุกกฏ.

[๖๘๓] บทว่า ผู้ศึกษาอยู่ คือ ผู้ใคร่จะสำเหนียก.

บทว่า ควรรู้ทั่วถึง คือ ควรทราบไว้.

บทว่า ควรสอบถาม คือ ควรได้ถามดู ว่าสิกขาบทนี้เป็นอย่างไร สิกขาบทนี้มีเนื้อความเป็นอย่างไร.

บทว่า ควรตริตรอง คือ ควรติด ควรพินิจ.

คำว่า นิเป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น ความว่า นี้เป็นความถูกยิ่ง ในเรื่องนั้น.

อนาปัตติวาร

[๖๘๔] ภิกษุกล่าวว่า จักรู้ จักสำเหนียก ดังนี้ ๑ ภิกษุวิกลจริต๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 743

ปาจิตตีย์ สหธรรมิกวรรคที่ ๘

สหธรรมิกสิกขาบทที่ ๑

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑ แห่งสหธรรมิกวรรค พึงทราบดังนี้:-

[แก้อรรถบางปาฐะในสิกขาบทที่ ๑]

สองบทว่า เอตสฺมึ สิกฺขาปเท มีความว่า ข้าพเจ้าจักยังไม่ศึกษา คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสิกขาบทนี้ก่อน.

ก็ในคำว่า อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็น อาบัติ ทุกๆ คำพูด.

ข้อว่า สิกฺขมาเนน ภิกฺขเว ภิกฺขุนา มีความว่า ภิกษุเป็นผู้ใคร่ เพื่อจะศึกษารับพระโอวาทด้วยเศียรกล้านั่นแหละ พึงรู้ทั่วถึง พึงได้ถาม และ พึงใคร่ครวญ. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ บัณฑิตพึงทราบจากใจความเฉพาะ บท โดยนัยดังกล่าวแล้วในทุพพัณณกรณสิกขาบทนั่นแล. ว่าโดยวินิจฉัย ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลก วัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

สหธรรมิกสิกขาบทที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 744

สหธรรมมิกวรรค สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๖๘๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวินัยกถา ทรงพรรณนาคุณแห่งพระวินัย ตรัสอานิสงส์แห่ง การเรียนพระวินัย ทรงยกย่องโดยเฉพาะท่านอุบาลีเนืองๆ แก่ภิกษุทั้งหลาย โดยอเนกปริยาย ภิกษุทั้งหลายพากัน กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวินัยกถา ทรงพรรณนาคุณแห่งพระวินัย ตรัสอานิสงส์แห่งการเรียนพระวินัย ทรงยกย่อง โดยเฉพาะท่านพระอุบาลีเนืองๆ โดยอเนกปริยาย อาวุโสทั้งหลาย ดั่งนั้น พวกเราพากันเล่าเรียนพระวินัยในสำนักท่านพระอุบาลีเถิด ก็ภิกษุเหล่านั้นมาก เหล่า เป็นเถระก็มี เป็นนวกะก็มี เป็นมัชฌิมะก็มี ต่างพากันเล่าเรียนพระวินัยในสำนักท่านพระอุบาลี.

ส่วนพระฉัพพัคคีย์ได้หารือกันว่า อาวุโสทั้งหลาย บัดนี้ภิกษุเป็น อันมากทั้งเถระ นวกะ และมัชฌิมะ พากันเล่าเรียนพระวินัยในสำนักท่านพระอุบาลี ถ้าภิกษุเหล่านี้จักเป็นผู้รู้พระบัญญัติในพระวินัย ท่านจักฉุดกระชาก ผลักไสพวกเราได้ตามใจชอบ อย่ากระนั้นเลย พวกเราจงช่วยกันก่นพระวินัย เถิด เมื่อตกลงดั่งนั้น พระฉัพพัคคีย์จึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย กล่าวอย่างนี้ว่า จะประโยชน์อะไรด้วยสิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ที่ยกขึ้นแสดงแล้ว ช่าง เป็นไปเพื่อความรำคาญ เพื่อความลำบาก เพื่อความยุ่งเหยิงนี่กระไร.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 745

บรรดาภิกษุที่มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์จึงได้พากันก่นพระวินัยเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอช่วยกันก่นวินัย จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้พากันก่นวินัยเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่ เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๒๑. ๒. อนึ่ง ภิกษุใด เมื่อมีใครสวดปาติโมกข์อยู่ กล่าว อย่างนี้ว่า ประโยชน์อะไรด้วยสิกขาบทเล็กน้อยเหล่านี้ที่สวดขึ้นแล้ว ช่างเป็นไปเพื่อความรำคาญ เพื่อความลำบาก เพื่อความยุ่งเหยิง นี่กระไร เป็นปาจิตตีย์ เพราะก่นสิกขาบท.

เรื่องของพระฉัพพัคคีย์

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 746

สิกขาบทวิภังค์

[๖๘๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

คำว่า เมื่อมีใครสวดปาติโมกข์อยู่ ความว่า เมื่อมีผู้ใดผู้หนึ่งยก ปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ก็ดี ให้ผู้อื่นยกขึ้นแสดงอยู่ก็ดี ท่องบ่นอยู่ก็ดี

คำว่า กล่าวอย่างนี้ ความว่า ก่นพระวินัยแก่อุปสัมบันว่า ก็จะ ประโยชน์อะไรด้วยสิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ที่ยกขึ้นแสดงแล้ว ช่างเป็น ไปเพื่อรำคาญ เพื่อความลำบาก เพื่อความยุ่งเหยิงนี่กระไร ความรำคาญ ความลำบาก ความยุ่งเหยิง ย่อมมีแก่พวกภิกษุจำพวกที่เล่าเรียนพระวินัยนี้ แต่จำพวกที่ไม่เล่าเรียนหามีไม่ สิกขาบทนี้พวกท่านอย่ายกขึ้นแสดงดีกว่า สิกขาบทนี้พวกท่านไม่สำเหนียกดีกว่า สิกขาบทนี้พวกท่านไม่เรียนดีกว่า สิกขาบทนี้พวกท่านไม่ทรงจำดีกว่า พระวินัยจะได้สาบสูญ หรือภิกษุพวกนี้จะ ได้ไม่รู้พระบัญญัติดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๖๘๗] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ก่นพระวินัยต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัย ก่นพระวินัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ก่นพระวินัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 747

ปัญจกทุกกฏ

ภิกษุก่นธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุก่นพระวินัยหรือพระธรรมอย่างอื่นแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ก่นพระวินัย ต้องอาบัติทุกกฏ

อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ก่นพระวินัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ก่นพระวินัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๖๘๘] ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะก่น พูดตามเหตุว่านิมนต์ท่านเรียน พระสูตร พระคาถา หรือพระอภิธรรมไปก่อนเถิด ภายหลังจึงค่อยเรียน พระวินัย ดังนี้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

วิเลขนสิกขาบทที่ ๒

ในสิกขาบทที่ ๒ วินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

[แก้อรรถว่าด้วยอานิสงส์มีการเรียนวินัยเป็นมูล]

สองบทว่า วินยกถํ กเถติ มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกถา อันเกี่ยวเนื่องด้วยกัปปิยะและอกัปปิยะ อาบัติและอนาบัติ สังวร อสังวร และปหานะ ที่ชื่อว่า วินัยกถา.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 748

คำว่า วินยสฺส วณฺณํ ภาสติ มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสการวางมาติกาด้วยอำนาจแห่งอาบัติ ๕ กองบ้าง ๗ กองบ้าง แล้วทรง พรรณนาโดยบทภาชนะ ที่ชื่อว่า สรรเสริญพระวินัย.

คำว่า ปริยตฺติยา วณฺณํ ภาสติ มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสสรรเสริญ คือ พรรณนาคุณ ได้แก่ อานิสงส์มีการเรียนพระวินัยเป็นมูล แห่งพวกภิกษุผู้เล่าเรียนพระวินัย. อธิบายว่า แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอานิสงส์ ๕ อานิสงส์ ๖ อานิสงส์ ๗ อานิสงส์ ๘ อานิสงส์ ๙ อานิสงส์ ๑๐ อานิสงส์ ๑๑ ซึ่งมีการเรียนพระวินัยเป็นมูลทั้งหมด ที่พระวินัยธรจะได้.

ถามว่า พระวินัยธร ย่อมได้อานิสงส์ ๕ เหล่าไหน?

แก้ว่า ย่อมได้อานิสงส์ ๕ มีการคุ้มครองสีลขันธ์เป็นต้น ของตน. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อานิสงส์ใน วินัยธรบุคคล (บุคคลผู้ทรงวินัย) มี ๕ เหล่านี้ คือ สีลขันธ์ของตนเป็นอัน คุ้มครองรักษาดีแล้ว ๑ เป็นที่พึงของพวกภิกษุผู้มักระแวงสงสัย ๑ เป็นผู้ แกล้วกล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์ ๑ ข่มเหล่าชนผู้เป็นข้าศึกได้ราบคาบดีโดย สหธรรม ๑ เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม. *

[อธิบายอานิสงส์ ๕ ว่าด้วยการต้องอาบัติ ๖ อย่าง]

สีลขันธ์ของตน เป็นอันวินัยธรบุคคลนั้นคุ้มครอง รักษาดีแล้ว อย่างไร? คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เมื่อต้องอาบัติ ย่อมต้องด้วย อาการ ๖ อย่าง คือ ด้วยความไม่ละอาย ๑ ด้วยความไม่รู้ ๑ ด้วยความ สงสัยแล้วขืนทำ ๑ ด้วยความสำคัญในของไม่ควรว่าควร ๑ ด้วยความสำคัญ ในของควรว่าไม่ควร ๑ ด้วยความหลงลืมสติ ๑.


(๑) วิ. ปริวาร. ๘/๔๕๓ - ๔๙๓.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 749

ภิกษุย่อมต้องอาบัติด้วยความไม่ละอายอย่างไร? คือ ภิกษุรู้อยู่ทีเดียว ว่า เป็นอกัปปิยะ ฝ่าฝืน ทำการล่วงละเมิด. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้นี้ว่า

ภิกษุแกล้งต้องอาบัติ ปกปิดอาบัติ และ ถึงความลำเอียงด้วยอคติ, ภิกษุเช่นนี้ เรา เรียกว่า อลัชชีบุคคล.

ภิกษุย่อมต้องอาบัติ ด้วยความไม่รู้อย่างไร คือ เพราะว่าบุคคลผู้ ไม่มีความรู้เป็นผู้เขลา เป็นผู้งมงาย ไม่รู้สิ่งที่ควรทำและสิ่งที่ไม่ควรทำ ย่อม ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ทำสิ่งที่ควรทำให้ผิดพลาด, ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่าต้อง ด้วยความไม่รู้.

ภิกษุต้องอาบัติด้วยสงสัยแล้วขืนทำอย่างไร? คือ เมื่อเกิดความสงสัย ขึ้นเพราะอาศัยของที่ควรและไม่ควร ฝ่าฝืนล่วงละเมิดทีเดียวด้วยสำคัญว่า ถามพระวินัยธรแล้ว ถ้าเป็นกัปปิยะ เป็นสิ่งที่ควรทำ ถ้าเป็นอกัปปิยะ เป็น สิ่งที่ไม่ควรทำ, แต่อันนี้ สมควรอยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า ต้องด้วย ความสงสัยแล้วขืนทำ.

ภิกษุต้องด้วยความสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควรอย่างไร? คือ ภิกษุ ฉันเนื้อหมี ด้วยสำคัญว่า เนื้อสุกร, ฉันเนื้อเสือเหลืองด้วยสำคัญว่า เนื้อมฤค, ฉันโภชนะที่เป็นอกัปปิยะ ด้วยสำคัญว่า โภชนะเป็นกัปปิยะ, ฉันในเวลาวิกาล ด้วยสำคัญว่าเป็นกาล ดื่มปานะที่เป็นอกัปปิยะ, ด้วยสำคัญว่า ปานะเป็น กัปปิยะ ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า ต้องด้วยความสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร.

ภิกษุย่อมต้องอาบัติด้วยความเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร อย่างไร? คือ ภิกษุฉันเนื้อสุกร ด้วยสำคัญว่า เนื้อหมี, ฉันเนื้อมฤคด้วย

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 750

สำคัญว่า เนื้อเสือเหลือง, ฉันโภชนะที่เป็นกัปปิยะด้วยสำคัญว่า โภชนะที่ เป็นอกัปปิยะ, ฉันในกาล ด้วยสำคัญว่าเป็นวิกาล, ดื่มปานะที่เป็นอกัปปิยะ ด้วยสำคัญว่า ปานะเป็นอกัปปิยะ, ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า ต้องด้วยความ เป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร.

ภิกษุต้องด้วยความหลงลืมสติอย่างไร? คือ ภิกษุเมื่อต้องอาบัติเพราะ การนอนร่วม การอยู่ปราศจากไตรจีวร และเภสัชกับจีวรล่วงกาลเวลาเป็น ปัจจัยแล ชื่อว่าต้องด้วยความหลงลืมสติ. ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ย่อมต้อง อาบัติด้วยอาการ ๖ อย่างเหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้.

[ผู้ทรงวินัยไม่ต้องอาบัติด้วยอาการ ๖ อย่าง]

แด่พระวินัยธรไม่ต้องอาบัติด้วยอาการ ๖ อย่างเหล่านี้. ไม่ต้องด้วย ความเป็นผู้ไม่ละอายอย่างไร? คือ เพราะแม้เมื่อเธอรักษาการตำหนิค่อนขอด ของผู้อื่นนี้ว่า เชิญท่านดูเถิด ผู้เจริญ! ภิกษุนี้รู้สิ่งที่ควรและไม่ควรอยู่แท้ๆ ยังทำการล่วงละเมิดพระบัญญัติ ดังนี้ได้ ก็ชื่อว่า ไม่ต้อง ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่าไม่ต้อง ด้วยความเป็นผู้ไม่ละอาย. แสดงอาบัติเป็นเทศนาคามินีแม้ที่ เผลอต้องเข้า ออกแล้วจากอาบัติที่เป็นวุฏฐานคามีนี ตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์. จำเดิมแต่นั้นย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในความเป็นลัชชีบุคคลนี้ทีเดียวว่า

ภิกษุไม่แกล้งต้องอาบัติ ไม่ปิดบังอาบัติ และไม่ถึงความลำเอียงด้วยอคติ, ภิกษุเช่นนี้ เราเรียกว่า ลัชชีบุคคล. (๑)

ภิกษุไม่ต้องด้วยความไม่รู้อย่างไร? คือ เพราะเธอรู้อยู่ซึ่งสิ่งอันควร และไม่ควร; ฉะนั้น เธอย่อมทำแต่สิ่งที่ควร ไม่ทำสิ่งที่ไม่ควร ด้วยอาการ อย่างนี้ ชื่อว่า ไม่ต้องเพราะความไม่รู้.


(๑) วิ. ปริวาร. ๘/๓๙๓ - ๓๙๔.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 751

ไม่ต้องด้วยความเป็นผู้สงสัยแล้วขืนทำอย่างไร? คือ เพราะเธอเมื่อ เกิดความรังเกียจสงสัย เพราะอาศัยสิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ ตรวจดูวัตถุ ตรวจดูมาติกา บทภาชนะ อันตราบัติ อนาบัติ แล้วถ้าเป็นกัปปิยะจึงทำ, ถ้าเป็นอกัปปิยะไม่ทำ, ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า ไม่ต้องด้วยความเป็นผู้สงสัย แล้วขืนทำ.

ไม่ต้องด้วยความเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควรเป็นต้น อย่างไร? คือ เพราะเธอรู้อยู่ซึ่งสิ่งที่ควรและไม่ควร; ฉะนั้น จึงไม่เป็นผู้ มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร ไม่เป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร และเธอมีสติทั้งมั่นด้วยดี, อธิษฐานผ้าจีวรที่ควรอธิษฐาน, วิกัปจีวรที่ควรวิกัป. วินัยธรบุคคล ชื่อว่า ไม่ต้องอาบัติด้วยอาการ ๖ อย่างนี้ ด้วยประการอย่างนี้. เธอเมื่อไม่ต้อง (อาบัติ) ย่อมเป็นผู้มีศีลไม่ขาด มีศีลบริสุทธิ์. ด้วยอาการ อย่างนี้ สีลขันธ์ของตน ย่อมเป็นอันเธอคุ้มครอง รักษาดีแล้ว.

ถามว่า วินัยธรบุคคล ย่อมเป็นที่พึ่งของพวกภิกษุผู้ถูกความสงสัย ครอบงำอย่างไร?

แก้ว่า ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลายในรัฐนอกและในชนบทนอก เกิดมี ความรังเกียจสงสัยขึ้น ทราบว่า ได้ยินว่า พระวินัยธรอยู่ที่วิหารโน้น แล้ว มาสู่สำนักของเธอ แม้จากที่ไกลถามถึงข้อรังเกียจสงสัย. เธอสอบสวนดูวัตถุ แห่งกรรมที่ภิกษุพวกนั้นทำแล้ว กำหนดชนิดมีอาบัติ อนาบัติ ครุกาบัติ และลหุกาบัติเป็นต้น จึงให้แสดงอาบัติที่เป็นเทศนาคามินี ให้ออกจากอาบัติ เป็นวุฎฐานคามินี ให้ตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์. ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า เป็น ที่พึ่งของพวกภิกษุผู้ถูกความสงสัยครอบงำ.

ข้อว่า เป็นผู้แกล้วกล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์ มีความว่า จริงอยู่ ผู้มิใช่วินัยธรพูดในท่ามกลางสงฆ์ ความกลัว คือ ความประหม่าย่อมครอบงำ,

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 752

ความกลัวนั้นจะไม่มีแก่วินัยธรบุคคล. เพราะเหตุไร? เพราะรู้ว่า เมื่อพูด อย่างนี้มีโทษ พูดอย่างนี้ไม่มีโทษ แล้วจึงพูด.

ในคำว่า ปจฺจตฺถิเก สหธมฺเมน สุนิคฺคหิตํ นิคฺคณฺหาติ นี้ ชื่อว่า ชนผู้เป็นข้าศึกมี ๒ จำพวก คือ ผู้เป็นข้าศึกแก่ตนเองจำพวก ๑ ผู้เป็น ข้าศึกแก่พระศาสนาจำพวก ๑. บรรดาชนผู้เป็นข้าศึก ๒ จำพวกนั้น พวก ภิกษุชื่อเมตติยะ และภุมมชกะ กับเจ้าลิจฉวี ชื่อวัฑฒะ โจทด้วยอันติมวัตถุ อันไม่มีมูล, ชนพวกนี้ ชื่อว่า ผู้เป็นข้าศึกแก่ตนเอง ก็หรือชนผู้ทุศีลแม้เหล่าอื่น ซึ่งเป็นผู้มีธรรมอันลามก ทั้งหมด ชื่อว่า ผู้เป็นข้าศึกแก้ตนเอง. ส่วนอริฏฐ- ภิกษุ กัณฑกสามเณร ภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีผู้มีความเห็นวิปริต และ พวกภิกษุฝ่ายมหายานนิกายมหาสังฆิกะเป็นต้น ซึ่งเป็นผู้มีลัทธิปรูปหาร อัญญาณ กังขา และปรวิตรณา * ทำการยกย่อง กล่าวอ้างคำสอนมิใช่พุทธศาสนาว่า พุทธศาสนา ชื่อว่า ผู้เป็นข้าศึกแก่ศาสนา. วินัยธรบุคคลจะข่มขี่ ชนผู้เป็นข้าศึกเหล่านั้นแม้ทั้งหมดให้ราบคาบ โดยประการที่พวกเขาไม่สามารถ ประดิษฐานอสัทธรรมขึ้นได้ โดยสหธรรม คือ โดยคำเป็นเหตุร่วมกัน.

[อธิบายพระสัทธรรม ๓ อย่าง]

ก็ในคำว่า สทฺธมฺมฏฺิติยา ปฏิปนฺโน โหติ นี้ สัทธรรมมี ๓ ด้วยสามารถแห่ง ปริยติ ปฏิบัติ และอธิคม. บรรดาสัทธรรมทั้ง ๓ นั้น พุทธพจน์ คือ ปิฏก ๓ ชื่อว่า ปริยัติสัทธรรม. ธรรมนี้ คือ ธุดงคคุณ ๑๓ ขันธกวัตร ๑๔ มหาวัตร ๘๒ ชื่อว่า ปฏิปัตติสัทธรรม. มรรค ๔ ผล ๔ นี้ ชื่อว่า อธิคมสัทธรรม.


(๑) พระอรหันต์ยังมีอสุจิ พระอรหันต์ยังมีความไม่รู้ พระอรหันต์ยังมีความสงสัย พระอรหันต์ หายสงสัยเพราะผู้อื่น ดูอธิบายในสารัตถทีปนี ๓/๓๖๖. ผู้ชำระ.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 753

บรรดาสัทธรรมมีปริยัติธรรมเป็นต้นนั้น พระเถระทั้งหลายบางพวก กล่าวว่า ปริยัติเป็นมูลรากของศาสนา โดยพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใดที่เราแสดงแล้วบัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย, ธรรมและวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ดังนี้.

พระเถระบางพวกกล่าวว่า ปฏิบัติเป็นมูลของศาสนา โดยสูตรนี้ว่า ดูก่อนสุภัตทะ! ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้แลพึงอยู่โดยชอบ, โลกไม่พึงว่างเปล่า จากพระอรหันต์ทั้งหลาย แล้วกล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย ๕ รูปผู้ปฏิบัติโดยชอบ ยังมีอยู่เพียงใด, ศาสนา จัดว่ายังตั้งอยู่เพียงนั้น ดังนี้.

ส่วนพระเถระอีกพวกหนึ่ง กล่าวว่า เมื่อปริยัติอันตรธานแล้ว แม้ บุคคลผู้ปฏิบัติดี ก็ไม่มีการบรรลุธรรม แล้วกล่าวว่า ถ้าแม้นภิกษุ ๕ รูปจะ เป็นผู้รักษาปาราชิกไว้ได้, ภิกษุเหล่านั้น ให้กุลบุตรทั้งหลายผู้มีศรัทธา บรรพชาแล้วให้อุปสมบทแม้ในปัจจันตประเทศ ให้ครบคณะทสวรรค แล้ว จักทำการอุปสมบทแม้ในมัธยมประเทศ. ให้ภิกษุสงฆ์ครบวีสติวรรคแล้ว จัก ทำอัพภานกรรมแม้เพื่อตน ยังศาสนาให้ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์โดยอุบาย อย่างนี้.

พระวินัยธรนี้เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความตั้งมั่น แห่งพระสัทธรรมทั้ง ๓ ด้วย ประการอย่างนี้แล. บัณฑิตพึงทราบว่า พระวินัยธรนี้ ย่อมได้อานิสงส์ ๕ อย่าง เหล่านี้ก่อน ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า พระวินัยธรย่อมได้อานิสงส์ ๖ เหล่าไหน?

แก้ว่า อุโบสถ ปวารณา สังฆกรรม บรรพชา อุปสมบท เป็น หน้าที่ของพระวินัยธรนั้น เธอย่อมให้นิสัย ให้สามเณรอุปัฎฐาก.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 754

จริงอยู่ อุโบสถ ๙ เหล่านี้ คือ จาตุทสีอุโบสถ ปัณณรสีอุโบสถ สามัคคีอุโบสถ สังฆอุโบสถ คณอุโบสถ ปุคคลอุโบสถ สุตตุทเทสอุโบสถ ปาริสุทธิอุโบสถ อธิษฐานอุโบสถ ทั้งหมดนั้น เนื่องด้วยพระวินัยธร. และ ถึงแม้ปวารณา ๙ เหล่านี้คือ จาตุทสีปวารณา ปัณณรสีปวารณา สามัคคีปวารณา สังฆปวารณา คณปวารณา ปุคคลปวารณา เตวาจิกาปวารณา เทววาจิกาปวารณา สมานวัสสิกาปวารณา ก็เนื่องด้วยพระวินัยธร เธอเป็น ใหญ่แห่งปวารณา ๙ นั้น เพราะเป็นหน้าที่ของเธอ ด้วยประการฉะนี้ ถึง สังฆกรรมทั้ง ๔ นี้คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติ- จตุตถกรรมก็ดี ทั้งบรรพชา และอุปสมบทแห่งกุลบุตรทั้งหลาย อันเธอเป็น อุปัชฌาย์ทำนี้ก็ดี ก็เรื่องด้วยพระวินัยธรทั้งนั้น. ผู้อื่นถึงทรงปิฏก ๒ ก็ไม่ได้ เพื่อทำกรรมนี้เลย. เธอเท่านั้นให้นิสัย ให้สามเณรอุปัฏฐาก. ผู้อื่นย่อมไม่ได้ เพื่อให้นิสัย ไม่ได้เพื่อให้สามเณรอุปัฏฐากเลย. แต่เมื่อหวังเฉพาะการอุปัฎฐาก ของสามเณร ย่อมได้เพื่อจะให้ถืออุปัชฌาย์ในสำนักของพระวินัยธรก่อนแล้ว จงยินดีข้อวัตรปฏิบัติ.

ก็บรรดาสังฆกรรมมีอุโบสถกรรมเป็นต้นนี้ การให้นิสัยและการให้ สามเณรอุปัฏฐากเป็นองค์เดียวกัน. อานิสงส์ ๕ อย่างก่อน รวมกับอานิสงส์ ข้อหนึ่งในอานิสงส์ ๖ เหล่านี้ จึงเป็น ๖ ด้วยประการฉะนี้. รวมกับอานิสงส์ ๒ ข้อ จึงเป็น ๗, รวมกับอานิสส์ ๓ ข้อจึงเป็น ๘, รวมกับอานิสงส์ ๔ ข้อ จึงเป็น ๙ รวมกับอานิสงส์ ๕ ข้อ จึงเป็น ๑๐, รวมกับอานิสงส์แม้ทั้งหมด นั่นจึงเป็น ๑๑, ด้วยประการดังกล่าวมานี้ บุคคลผู้ทรงวินัย บัณฑิตพึงทราบ ว่า ย่อมได้อานิสงส์ ๕ - ๖ - ๗ - ๘ - ๙ - ๑๐ และ ๑๑ อย่างนี้.

[จุดประสงค์ในการสรรเสริญวินัยปริยัติ]

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมือทรงแสดงอานิสงส์เหล่านี้ อย่างนี้ บัณฑิตพึง ทราบว่า ทรงพรรณนาคุณแห่งการเรียนพระวินัย

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 755

สองบทว่า อาทิสฺส อาทิสฺส ได้แก่ ทรงกำหนดบ่อยๆ คือ ทรงทำให้เป็นแผนกหนึ่งต่างหาก.

หลายบทว่า อายสฺมโต อุปาลิสฺส วณฺณํ ภาสติ มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยวินัยปริยัติ ตรัสชมเชยสรรเสริญคุณแห่งพระบาลีเถระ.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

แก้ว่า ทรงสรรเสริญเพราะเหตุว่า ทำไฉนหนอ ภิกษุทั้งหลายแม้ได้ ฟังการสรรเสริญของเราแล้ว จะพึงสำคัญวินัยว่า คนควรเรียนควรศึกษาใน สำนักแห่งอุบาลี ศาสนานี้จักเป็นของตั้งอยู่ได้นาน จักเป็นไปตลอด ๕,๐๐๐ ปี ด้วยประการอย่างนี้.

ในคำว่า เตธ พหู ภิกฺขู นี้ มีเนื้อความอย่างนี้ว่า ภิกษุเป็นอัน มากเหล่านั้นเป็นเถระก็มี เป็นนวกะก็มี เป็นมัชฌิมะก็มี ได้สดับการสรรเสริญ ของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้แล้ว เกิดมีอุตสาหะ เพราะได้บรรลุอานิสงส์ตามที่ พระองค์ทรงประกาศไว้ด้วยเข้าใจว่า ได้ยินว่า ภิกษุผู้ทรงวินัย ย่อมได้อานิสงส์ เหล่านี้ ภิกษุทั้งหลายผู้ทรงสุตตันตะ และผู้ทรงอภิธรรมหาได้ไม่ จึงพากัน เรียนพระวินัยในสำนักของท่านพระอุบาลี.

บทว่า อิธ เป็นเพียงนิบาทเท่านั้น.

บทว่า อุทฺทิสฺสมาเน ได้แก่ เมื่ออาจารย์สวดแก่อันเตวาสิก. ก็ เพราะว่าปาฏิโมกข์นั้น เมื่ออาจารย์สวดตามความพอใจของตนก็ดี อันเตวาสิก ขอร้องอาจารย์นั้นให้สวดก็ดี เมื่อภิกษุผู้ทรงจำปาฏิโมกข์นั้นได้ กำลังทำการ สาธยายก็ดี ชื่อว่า มีใครยกปาฏิโมกข์ขึ้นสวดอยู่; ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสบทภาชนะว่า อิทฺทิสนฺเต วา อิทฺทิสาเปนฺเต วา สชฺฌายํ กโรนฺเต วา ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 756

บทว่า ขุทฺทานุขุทฺทเกหิ คือ ด้วยสิกขาบทเล็กๆ และน้อยๆ

คำว่า ยาวเทว เป็นคำกำหนดเขตแดงเป็นไปแห่งสิกขาบทเล็กน้อย เหล่านั้น. มีคำอธิบายว่า ก็ภิกษุเหล่าใด สวดก็ดี ให้สวดก็ดี สาธยายก็ดี ซึ่งสิกขาบทเล็กน้อยนั่น สิกขาบทเล็กน้อยนั่น ย่อมเป็นไปจนถึงเกิดความ เดือดร้อน คือ ความลำบาก ที่เรียกว่าความรังเกียจสงสัย และความยุ่งใจที่ เรียกว่าวิจิกิจฉา แก่ภิกษุเหล่านั้น ทีเดียวว่า ควรหรือไม่ควรหนอ.

อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ยาวเทว เป็นคำกำหนดด้วยความยวดยิ่ง. คำว่า ยาวเทว นั้น เชื่อมความเข้ากับบทว่า สํวตฺตนฺติ นี้. มีคำอธิบายว่า ช่าง เป็นไปเพื่อความรำคาญ เพื่อความลำบาก เพื่อความยุ่งยากเหลือเกิน.

ข้อว่า อุปสมฺปนฺนสฺส วินยํ วิวณฺเณติ มีความว่า ภิกษุผู้ใคร่ จะให้เกิดความเคลือบแคลงในวินัยนั้น แก่อุปสัมบันนั้น จึงก่น คือ ตำหนิ ติเตียนพระวินัยในสำนักแห่งอุปสัมบัน. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

วิเลขนสิกขาบทที่ ๒ จบ

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 757

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๖๘๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ ฉัพพัคคีย์ประพฤติอนาจารแล้วตั้งใจอยู่ว่า ขอภิกษุทั้งหลายจงทราบว่า พวก เราเป็นผู้ต้องอาบัติด้วยอาการที่ไม่รู้ แล้วเมื่อพระวินัยธรยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง กล่าวอย่างนี้ว่า พวกผมเพิ่งทราบเดี๋ยวนี้เองว่า ธรรมแม้นี้ก็มาในพระสูตร เนื่อง ในพระสูตร มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่ง โทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์เมื่อพระวินัยธรสวดปาติโมกข์อยู่ กล่าวอย่างนี้ว่า พวกผมเพิ่งทราบเดี๋ยวนี้เองว่า ธรรมแม้นี้ก็มาในพระสูตร เนื่องในพระสูตร มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือนดังนี้ ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า เมื่อพระวินัยธรสวดปาติโมกข์อยู่ พวกเธอได้กล่าวอย่างนี้ว่า ธรรม แม้นี้ก็มาในสูตร เนื่องในสูตร มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ดังนี้จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอเมื่อพระวินัยธรสวดปาติโมกข์อยู่ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกผมเพิ่งทราบ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 758

เดี๋ยวนี้เองว่า ธรรมแม้นี้ก็มาในสูตร เนื่องในสูตร มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือนดังนี้ เล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า ดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๒๒. ๓. อนึ่ง ภิกษุใด เมื่อพระวินัยธรสวดปาติโมกข์อยู่ ทุกกึ่งเดือน กล่าวอย่างนี้ว่า ฉันเพิ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่า เออ ธรรมแม้ นี้ก็มาแล้วในสูตร เนื่องแล้วในสูตร มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ถ้าภิกษุ ทั้งหลายอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เคยนั่งเมื่อปาติโมกข์กำลังสวดอยู่. ๒ - ๓ คราวมาแล้ว กล่าวอะไรเพิ่มอีก อันความพ้นด้วยอาการที่ไม่รู้ หามีแก่ภิกษุนั้นไม่ พึงปรับเธอตามธรรม ด้วยอาบัติที่ต้องในเรื่อง นั้น และพึงยกความหลงขึ้นแก่เธอเพิ่มอีกว่า แน่ะเธอ ไม่ใช่ลาภ ของเธอ เธอได้ไม่ดีแล้ว ด้วยเหตุว่าเมือปาติโมกข์กำลังสวดอยู่ เธอ หาทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ดีไม่ นี้เป็นปาจิตตีย์ในความเป็นผู้ แสร้งทำหลงนั้น.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๙๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 759

บทว่า ทุกกึ่งเดือน คือ ทุกวันอุโบสถ.

บทว่า เมื่อพระวินัยธรกำลังสวดปาติโมกข์อยู่ คือ เมื่อภิกษุ กำลังยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่.

บทว่า กล่าวอย่างนี้ ความว่า ภิกษุประพฤติอนาจารมาแล้ว ตั้งใจ อยู่ว่า ขอภิกษุทั้งหลายจงรู้ว่า เราเป็นผู้ต้องอาบัติด้วยอาการที่ไม่รู้ เมื่อภิกษุ กำลังสวดปาติโมกข์อยู่ กล่าวอย่างนี้ว่า ผมเพิ่งทราบเดี๋ยวนี้เองว่า เออ ธรรม แม้นี้ก็มาแล้วในพระสูตร เนื่องแล้วในพระสูตร มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๖๙๑] คำว่า ถ้า ... นั้น อธิบายว่า ภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุผู้ ปรารถนาแสร้งทำหลงว่า ภิกษุนี้เคยนั่งเมื่อพระวินัยธรสวดปติโมกข์อยู่ ๒ - ๓ คราวมาแล้ว พูดมากไปทำไมอีก อันความพ้นจากอาบัติด้วยอาการที่ไม่รู้ หามี แก่ภิกษุนั้นไม่ พึงปรับเธอตามธรรมด้วยอาบัติที่ต้องประพฤติอนาจารนั้น และ พึงยกความหลงขึ้นแก่เธอเพิ่มอีก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงยกขึ้นอย่างนี้:-

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาลงโมหาโรปนกรรม

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ เมื่อพระ วินัยธรสวดปาติโมกข์อยู่ หาทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ด้วยดีไม่ ถ้า ความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงยกความหลงขึ้นแก่ภิกษุ มีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 760

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ เมื่อพระ วินัยธรสวดปาติโมกข์อยู่ หาทำในใจได้สำเร็จประโยชน์ด้วยดีไม่ สงฆ์ยกความหลงขึ้นแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การยกความหลงขึ้นแก่ภิกษุผู้มี ชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ความหลงอันสงฆ์ยกขึ้นแก่ภิกษุมีชื่อนี้แล้ว ชอบ แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

บทภาชนีย์

[๖๙๒] เมื่อสงฆ์ยังไม่ยกความหลงขึ้น ภิกษุแสร้งทำหลงอยู่ ต้อง อาบัติทุกกฏ.

เมื่อสงฆ์ยกความหลงขึ้นแล้ว ภิกษุยังแสร้งทำหลงอยู่ ต้องอาบัติ. ปาจิตตีย์.

ติกปาจิตตีย์

[๖๙๓] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม แสร้งทำหลง อยู่ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุมีความสงสัย แสร้งทำหลงอยู่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม แสร้งทำหลงอยู่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม แสร้งทำหลงอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 761

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุมีความสงสัย แสร้งทำหลงอยู่ ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม แสร้งทำหลงอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๖๙๔] ภิกษุยังไม่ได้ฟังโดยพิสดาร ๑ ภิกษุฟังโดยพิสดารไม่ถึง ๒ - ๓ คราว ๑ ภิกษุผู้ไม่ปรารถนาจะแสร้งทำหลง ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ - กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

โมหนสิกขาบทที่ ๓

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า อนฺวฑฺฒมาสํ ได้แก่ ตามลำดับ คือทุกๆ กึ่งเดือน. ก็เพราะ ปาฏิโมกข์นั้น อันภิกษุย่อมสวดในวันอุโบสถ; ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง ตรัสไว้ในบทภาชนะว่า ทุกวันอุโบสถ.

บทว่า อุทฺทิสฺสมาเน คือ เมื่อปาฏิโมกข์กำลังสวดอยู่. ก็เพราะ ปาฏิโมกข์นั้น อันภิกษุผู้สวดปาฏิโมกข์ซึ่งกำลังยกขึ้นแสดง ชื่อว่า กำลังสวด อยู่; ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในบทภาชนะว่า เมื่อภิกษุกำลังยก ปาฏิโมกข์ขึ้นแสดงอยู่.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 762

คำว่า ยญฺจ ตตฺถ อาปตฺตึ อาปนฺโน ได้แก่ ภิกษุผู้ต้องอาบัติใด ในอนาจารที่ตนประพฤติแล้วนั้น.

สองบทว่า ยถาธมฺโม กาเรตพฺโพ ได้แก่ เพราะเป็นผู้ต้องอาบัติ ด้วยไม่รู้ เธอจึงไม่มีความพ้นจากอาบัติ ก็แล สงฆ์พึงปรับเธอตามธรรม และวินัยที่วางไว้. อธิบายว่า เธอต้องอาบัติเทศนาคามินี สงฆ์พึงให้แสดง และต้องอาบัติวุฏฐานคามินี พึงให้ประพฤติวุฏฐานวิธี.

บทว่า สาธุกํ แปลว่า โดยดี.

บทว่า อฏฺิกตฺวา แปลว่า กระทำให้มีประโยชน์. มีคำอธิบายว่า เป็นธรรมประกอบด้วยประโยชน์.

ในคำว่า ธมฺมกมฺเม เป็นต้น ท่านประสงค์เอาโมหาโรปนกรรม. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

โมหนสิกขาบทที่ ๓ จบ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 763

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๖๙๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์โกรธ น้อยใจ ให้ประหารแก่พระสัตตรสวัคคีย์ พระสัตตรสวัคคีย์ ร้องไห้ ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านร้องไห้ทำไม.

พระสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย พระฉัพพัคคีย์เหล่านี้โกรธ น้อยใจ ให้ประหารแก่พวกผม.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้โกรธ น้อยใจ ให้ประหารแก่ภิกษุทั้งหลายเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอโกรธ น้อยใจ ให้ประหารแก่ภิกษุทั้งหลายจริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้โกรธ น้อยใจ ให้ประหารแก่ภิกษุทั้งหลายเล่า การกระทำของ พวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 764

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๑๒๓. ๔. อนึ่ง ภิกษุใด โกรธ น้อยใจ ให้ประหารแก่ภิกษุ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๖๙๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า แก่ภิกษุ คือ แก่ภิกษุอื่น.

คำว่า โกรธ น้อยใจ คือ ไม่พอใจ แค้นใจ เจ็บใจ.

คำว่า ให้ประหาร ความว่า ให้ประหารด้วยกายก็ดี ด้วยของ เนื่องด้วยกายก็ดี ด้วยของที่โยนไปก็ดี โดยที่สุด แม้ด้วยกลีบอุบล ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๖๙๗] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน โกรธ น้อยใจ ให้ ประหาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 765

อุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัย โกรธ น้อยใจ ให้ประหาร ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน โกรธ น้อยใจ ให้ประหาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

จตุกทุกกฏ

ภิกษุโกรธ น้อยใจ ให้ประหาร แก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๖๙๘] ภิกษุถูกใครๆ เบียดเบียน ประสงค์จะป้องกันตัว ให้ ประหาร ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

ปหารสิกขาบทที่ ๔

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ พึงทราบดังนี้ :-

[ว่าด้วยการให้ประหารด้วยฝ่ามือ]

สองบทว่า ปหารํ เทนฺติ มีความว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ กล่าวคำ เป็นต้นว่า ผู้มีอายุ พวกท่านจงตั้งตั่งเล็ก จงตักน้ำล้างเท้ามาไว้ แล้วให้ ประหาร (แก่ภิกษุพวกสัตตรสวัคคีย์) ผู้ไม่กระทำตาม.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 766

ในคำว่า ปหารํ เทติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ มีวินิจฉัยว่า เมื่อภิกษุให้ประหารด้วยความเป็นผู้ประสงค์จะประหาร ถ้าแม้นผู้ถูกประหารตาย ก็เป็นเพียงปาจิตตีย์. เพราะการประหาร (นั้น) มือหรือเท้าหัก หรือศีรษะแตก ก็เป็นปาจิตตีย์เท่านั้น. ตัดหู หรือตัดจมูก ด้วยความประสงค์จะทำให้เสียโฉม อย่างนี้ว่า เราจะทำเธอให้หมดสง่าในท่ามกลางสงฆ์ ก็เป็นทุกกฏ.

บทว่า อนุปสมฺปนฺนสฺส มีความว่า ภิกษุให้ประหารแก่คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต แก่สตรีหรือบุรุษ โดยที่สุด แม้แก่สัตว์ดิรัจฉาน เป็นทุกกฏ. แต่ถ้าว่า มีจิตกำหนัด ประหารหญิง เป็นสังฆาทิเสส.

สองบทว่า เกนจิ วิเหิยมาโน ได้แก่ ถูกมนุษย์ หรือสัตว์ ดิรัจฉานเบียดเบียนอยู่.

บทว่า โมกฺขาธิปฺปาโย คือ ปรารถนาความพ้นแก่ตนเองจากมนุษย์ เป็นต้น นั้น.

สองบทว่า ปหารํ เทติ มีความว่า ภิกษุให้ประหารด้วยกาย ของ เนื่องด้วยกาย และของที่ขว้างไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่เป็นอาบัติ. ถ้าแม้นภิกษุ เห็นโจรก็ดี ข้าศึกก็ดี มุ่งจะเบียดเบียนในระหว่างทางกล่าวว่า แน่ะอุบาสก! เธอจงหยุดอยู่ในที่นั้นนั่นแหละ, อย่าเข้ามา แล้วประหารผู้ไม่เชื่อฟังคำกำลัง เดินเข้ามาด้วยไม้ค้อน หรือด้วยศัสตราพร้อมกับพูดว่า ไปโว้ย แล้วไปเสีย. ถ้าเขาตายเพราะการประหารนั้น ไม่เป็นอาบัติเหมือนกัน. แม้ในพวกเนื้อร้าย ก็นัยนี้เหมือนกัน. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

ก็สมุฏฐานเป็นต้น ของสิกขาบทนั้น เป็นเช่นเดียวกับปฐมปาราชิก แต่สิกขาบทนี้เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

ปหารสิกขาบทที่ ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 767

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๖๙๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่พระสัตตรสวัคคีย์ พระสัตตรสวัคคีย์ หลบประหารแล้วร้องไห้ ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโส ทั้งหลาย พวกท่านร้องไห้ทำไม.

พระสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย พระฉัพพัคคีย์เหล่านี้โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่พวกผม.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์จึงได้โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอโกรธ น้อยใจเงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายเล่า การ กระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 768

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๒๔. ๕. อนึ่ง ภิกษุใด โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือ ขึ้นแก่ภิกษุ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องของพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๐๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า แก่ภิกษุ คือ แก่ภิกษุอื่น.

คำว่า โกรธ น้อยใจ คือ ไม่พอใจ แค้นใจ เจ็บใจ

คำว่า เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้น ความว่า เงือดเงื้อกายก็ดี ของเนื่อง ด้วยกายก็ดี โดยที่สุดแม้กลีบอุบล ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๗๐๑] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน โกรธ น้อยใจ เงื้อหอก คือฝ่ามือขึ้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัย โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 769

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือ ฝ่ามือขึ้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

จตุกทุกกฏ

ภิกษุ โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๗๐๒] ภิกษุถูกใครๆ เบียดเบียน ประสงค์จะป้องกันตัว เงื้อหอก คือฝ่ามือขึ้น ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

ตลสัตติกสิกขาบทที่ ๕

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้:-

[ว่าด้วยการเงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นจะประหาร]

สองบทว่า ตลสตฺติกํ อุคฺคิรนฺติ มีความว่า (พวกภิกษุฉัพพัคคีย์) เมื่อแสดงอาการให้ประหาร ย่อมเงื้อดเงื้อกายบ้าง ของเนื่องด้วยกายบ้าง.

ข้อว่า เต ปหารสมุจฺจิตา โรทนฺติ มีความว่า พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เหล่านั้น คุ้นเคยต่อการประหารแล้ว สำคัญอยู่ว่า ภิกษุเหล่านี้จักให้ ประหารบัดนี้ เพราะเป็นผู้ได้รับการประหารมาแม้ในกาลก่อน จึงร้องไห้

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 770

อาจารย์บางพวกสาธยายว่า ปหารสฺส มุจฺฉิตา ก็มี. ในปาฐะนั้นมีความว่า กลัวการประหาร.

ในคำว่า อุคฺคิรติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ถ้า ภิกษุเงื้อพลั้งให้ประหารลงไป เมี่อภิกษุไม่อาจจะยั้งไว้ได้แน่นอนจึงประหาร ลงไปโดยเร็ว เป็นทุกกฏ เพราะเธอให้ประหาร โดยไม่มีประสงค์จะประหาร. เพราะการประหารนั้น อวัยวะอย่างใดอย่างหนึ่งมีมือเป็นต้นหักไป ก็เป็นเพียง ทุกกฏ. ภิกษุผู้ประสงค์จะประหาร แต่การประหารด้วยของอย่างใดอย่างหนึ่ง มีต้นไม้เป็นต้นพลาดเลยไปหรือตนกลับ ได้สติแล้วไม่ประหาร เป็นทุกกฏ. หรือ เมื่อประหาร ถูกใครๆ กันมือไว้ ก็เป็นทุกกฏ.

ในคำว่า โมกฺขาธิปฺปาโย ตลสตฺติกํ อุคฺคิรติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้เงื้อหอกคือฝ่ามือโดยนัยก่อนนั่นแหละในเรื่องทั้งหลายที่ กล่าวแล้วข้างต้น. ถ้าแม้นว่าภิกษุให้ประหารผิดพลาดไป ก็ไม่เป็นอาบัติเหมือน กัน. คำที่เหลือพร้อมทั้งสมุฏฐานเป็นต้น เป็นเช่นเดียวกันกับสิกขาบทก่อน นั้นแล.

ตลสัตติกสิกขาบทที่ ๕ จบ

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 771

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๗๐๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เชตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์โจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆทิเสสไม่มีมูล บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้โจทภิกษุด้วย อาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูลเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้โจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูลเล่า การกระทำของพวกเธอ นั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 772

พระบัญญัติ

๑๒๕. ๖. อนึ่ง ภิกษุใด กำจัดซึ่งภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสส หามูลมิได้ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๐๔] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ซึ่งภิกษุ คือ ซึ่งภิกษุอื่น.

ที่ชื่อว่า หามูลมิได้ คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ

บทว่า ด้วยอาบัติสังฆาทิเสส คือ ด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท สิกขาบทใดสิกขาบทหนึ่ง.

บทว่า กำจัด คือ โจทเองก็ดี ให้ผู้อื่นโจทก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๗๐๕] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน โจทด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ไม่มีมูล ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัย โจทด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน โจทด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มี มูล ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 773

ปัญจกทุกกฏ

ภิกษุโจทด้วยอาจารวิบัติก็ดี ด้วยทิฏฐิวิบัติก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุโจทอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน โจท ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัย โจท ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน โจท ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๗๐๖] ภิกษุสำคัญว่ามีมูล โจทเองก็ดี ให้ผู้อื่นโจทก็ดี ๑ ภิกษุ วิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

อมูลกสิกขาบทที่ ๖

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๖ พึงทราบดังนี้.

บทว่า อนุทฺธํเสนฺติ มีความว่า ก็พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านั้น เพราะตนเองเป็นผู้มีโทษเกลื่อนกล่น เมื่อจะทำการป้องกันว่า ภิกษุทั้งหลาย จักไม่โจท จักไม่ยังพวกเราให้ๆ การด้วยอาการอย่างนี้ จึงรีบชิงโจทภิกษุ ทั้งหลายด้วยสังฆาทิเสสไม่มีมูลเสียก่อน. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยดังเรากล่าวแล้วในอมูลกสิกขาบทในเตรสกัณฑ์.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลก วัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

อมูลกสิขาบทที่ ๖ จบ

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 774

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๗๐๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แกล้งก่อความรำคาญให้แก่พระสัตตรสวัคคีย์ ด้วยพูดว่า อาวุโส ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า สงฆ์ไม่พึงอุปสมบท บุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ดังนี้ ก็พวกท่านมีอายุหย่อน ๒๐ ปี อุปสมบทแล้ว พวกท่านเป็นอนุปสัมบันของพวกเรา กระมัง พระสัตตรสวัคคีย์เหล่านั้นร้องไห้

ภิกษุทั้งหลาย จึงถามอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านร้องไห้ ทำไม

พระสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย พระฉัพพัคคีย์เหล่านี้แกล้ง ก่อความรำคาญให้แก่พวกผม.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้แกล้งก่อความรำคาญให้แก่ภิกษุทั้งหลายเล่า ... แล้ว กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอแกล้งก่อความรำคาญ ให้แก่ภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 775

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวก เธอจึงได้แกล้งก่อความรำคาญให้แก่ภิกษุทั้งหลายเล่า การกระทำของพวกเธอ นั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า

พระบัญญัติ

๑๒๖. ๗. อนึ่ง ภิกษุใด แถล้งก่อความรำคาญแก่ภิกษุด้วย หมายว่า ด้วยเช่นนี้ ความไม่ผาสุกจักมีแก่เธอแม้ครู่หนึ่ง ทำความ หมายอย่างนี้เท่านั้นแลให้เป็นปัจจัย หาใช่อย่างอื่นไม่ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๐๘] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า แก่ภิกษุ คือ แก่ภิกษุรูปอื่น.

บทว่า แกล้ง คือ รู้อยู่ รู้ดีอยู่ จงใจ ตั้งใจ ละเมิด.

บทว่า ก่อความรำคาญ ความว่า ก่อความรำคาญเป็นต้นว่า ชะรอยท่านมีอายุหย่อน ๒๐ ฝน อุปสมบทแล้ว ชะรอยท่านบริโภคอาหารใน เวลาวิกาลแล้ว ซะรอยท่านดื่มน้ำเมาแล้ว ชะรอยท่านนั่งในที่ลับกับมาตุคาม แล้วดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 776

คำว่า ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นแลให้เป็นปัจจัย หาใช่ อย่างอื่นไม่ คือ ไม่มีเหตุอะไรอื่นที่จะก่อความรำคาญให้.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๗๐๙] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน แกล้งก่อความรำคาญ ให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัย แกล้งก่อความรำคาญให้ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน แกล้งก่อความรำคาญให้ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

จตุกทุกกฏ

ภิกษุแกล้งก่อความรำคาญให้แก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๗๑๐] ภิกษุไม่ประสงค์จะก่อความรำคาญ พูดแนะนำว่า ชะรอย ท่านจะมีอายุไม่ครบ ๒๐ ฝนอุปสมบทแล้ว ชะรอยท่านจะบริโภคอาหารในเวลา วิกาลแล้ว ชะรอยท่านจะดื่มน้ำเมาแล้ว ชะรอยท่านจะนั่งในที่ลับกับมาตุคาม แล้ว ท่านจงรู้ไว้เถิดว่า ความรำคาญใจในภายหลังอย่าได้มีแก่ท่าน ดังนี้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 777

สัญจิจจสิกขาบทที่ ๗

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๗ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า อุปทหนฺติ แปลว่า ก่อให้เกิดขึ้น.

ข้อว่า กุกฺกุจฺจํ อุปทหติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส ได้แก่ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.

บทว่า อนุปสมฺปนฺนสฺส มีความว่า ภิกษุก่อความรำคาญแก่ สามเณรโดยนัยเป็นต้นว่า ชะรอยเธอ นั่ง นอน กิน ดื่ม ในที่ลับร่วมกับ มาตุคาม และเธอกระทำอย่างนี้และอย่างนี้ในท่ามกลางสงฆ์. เป็นทุกกฏ ทุกๆ คำพูด. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น. แม้สมุฎฐาน เป็นต้น ก็เช่น เดียวกับอมูลกสิกขาบทนั้นแล.

สัญจิจจสิกขาบทที่ ๗ จบ

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 778

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๗๑๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ ฉัพพัคคีย์ทะเลาะกับพวกภิกษุมีศีลเป็นที่รัก.

พวกภิกษุมีศีลเป็นที่รักกล่าวสนทนากันอยู่อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระฉัพพัคคีย์พวกนี้เป็นอลัชชี พวกเราไม่อาจจะทะเลาะกับพระพวกนี้ได้.

พระฉัพพัคคีย์กล่าวต่ออย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ทำไมพวกท่านจึง ได้เรียกพวกเราด้วยถ้อยคำว่าอลัชชี.

พวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักถามว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านได้ยินมา แต่ที่ไหน.

พระฉัพพัคคีย์ ตอบว่า เรายืนแอบฟังพวกท่านอยู่.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า เมื่อ ภิกษุทั้งหลายเกิดหมางกัน เกิดทะเลาะกัน ถึงการวิวาทกัน ไฉนพระฉัพพัคคีย์ จึงได้ยืนแอบฟังอยู่เล่า ... แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายเกิดหมางกัน เกิดทะเลาะกัน ถึงการวิวาทกัน พวก เธอได้ยืนแอบฟังอยู่ จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 779

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย เมื่อภิกษุ ทั้งหลายเกิดหมางกัน เกิดทะเลาะกัน ถึงการวิวาทกัน ไฉนพวกเธอจึงได้ยืน แอบฟังอยู่เล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า ดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๒๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด เมื่อภิกษุทั้งหลายเกิดหมางกัน เกิดทะเลาะกัน ถึงการวิวาทกัน ยืนแอบฟังด้วยหมายว่าจักได้ฟังคำ ที่เธอพูดกัน ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นแลให้เป็นปัจจัย หาใช่ อย่างอื่นไม่ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๑๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า เมื่อภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุพวกอื่น.

คำว่า เกิดหมางกัน เกิดทะเลาะกัน ถึงการวิวาทกัน คือเกิด อธิกรณ์ขึ้น.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 780

คำว่า ยืนแอบฟัง คือ เดินไปด้วยความตั้งใจว่า เราจักฟังคำของ ภิกษุเหล่านี้แล้วจักท้วง จักเตือน จักฟ้อง จักให้สำนึก จักทำให้เก้อเขิน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ยืนอยู่ในที่ใด ได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เมื่อเดินไปข้างหลัง รีบเดินให้ทันด้วยตั้งใจว่า จักฟัง ต้องอาบัติ ทุกกฏ ยืนอยู่ในที่ใด ได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เมื่อเดินไปข้างหน้า ลดเดินให้ช้าลงด้วยตั้งใจว่า จักฟัง ต้องอาบัติ ทุกกฏ ยืนอยู่ในที่ใด ได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บังเอิญเดินผ่านมาถึงสถานที่ ที่ภิกษุยืนก็ดี นั่งก็ดี นอนก็ดี เมื่อ เขาพูดงุบงิบกันอยู่ ต้องกระแอมไอให้เขารู้ตัว ถ้าไม่กระแอมไอ หรือไม่ให้ เขารู้ตัว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

คำว่า ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นแลให้เป็นปัจจัย หาใช่ อย่างอื่นไม่ ความว่า ไม่มีเหตุอะไรอื่นที่จะยืนแอบฟังความ.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๘๑๓] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ยืนแอบฟัง ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัย ยืนแอบฟัง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสันบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ยืนแอบฟัง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

จตุกทุกกฏ

ภิกษุยืนแอบฟังถ้อยคำของอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 781

อนุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๗๑๘] ภิกษุเดินไปหมายว่า จักฟังถ้อยคำของภิกษุเหล่านี้แล้ว จัก งด จักเว้น จักระงับ จักเปลื้องตน ดังนี้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ- กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

อุปัสสุติกสิกขาบทที่ ๘

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๘ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า อธิกรณชาตานํ ได้แก่ เกิดวิวาทาธิกรณ์ขึ้น เพราะการ บาดหมางกันเป็นต้นเหล่านี้.

บทว่า อุปสฺสุตึ คือ ใกล้พอได้ยิน, อธิบายว่า ในที่ซึ่งตนยืนอยู่ แล้ว อาจได้ยินคำพูดของภิกษุเหล่านั้นได้.

ในคำว่า คจฺฉติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นี้ เป็นทุกกฏทุกๆ ย่างเท้า.

บทว่า มนฺเตนตํ คือ เมื่อภิกษุอีกรูปหนึ่งปรึกษากับภิกษุอีกรูปหนึ่ง. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า มนฺเตนฺเต ก็มี ความก็อย่างนี้.

บทว่า วูปสมิสฺสานิ มีความว่า เราจักสงบ จักถึงความสงบ คือ จักไม่ทำการทะเลาะกัน.

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 782

สองบทว่า อตฺตานํ ปริโมเจสฺสาม มีความว่า เราจักบอกว่าเรา ไม่ใช่เป็นผู้กระทำแล้วเปลื้องตน. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเถยยสัตถสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ บางคราวเป็นกิริยา ด้วยอำนาจแห่งการไปเพราะความ อยากฟัง, บางคราวเป็นอกิริยาด้วยอำนาจแห่งการไม่ยังผู้บาดหมางกันซึ่งมาสู่ตน ยืนอยู่แล้ว ปรึกษากันอยู่ ให้รู้ตัว. แท้จริงสิกขาบททั้ง ๓ นี้ คือ รูปิยสิกขาบท อัญญวาทสิกขาบท อุปัสสุติกสิกขาบท มีความกำหนดอย่างเดียวกัน เป็นสัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

อุปัสสุติกสิกขาบทที่ ๘ จบ

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 783

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๗๑๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
พระฉัพพัคคีย์ประพฤติอนาจารแล้ว เมื่อการกสงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุแต่ละรูปอยู่
ย่อมคัดค้าน ครั้นสงฆ์ประชุมกันด้วยกรรมบางอย่างที่สงฆ์จะต้องทำ พระ
ฉัพพัคคีย์สาละวนทำจีวรกรรมกันอยู่ ได้ให้ฉันทะไปแก่พระรูปหนึ่ง ทันใด
สงฆ์จึงกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้เป็นพวกพระฉัพพัคคีย์มารูปเดียว
ฉะนั้นพวกเราจะทำกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้ทำกรรมแก่พระฉัพพัคคีย์รูปนั้น
เมื่อเสร็จแล้ว ภิกษุฉัพพัคคีย์รูปนั้นได้เข้าไปหาพระฉัพพัคคีย์ๆ ถามภิกษุ
รูปนั้นว่า อาวุโส สงฆ์ได้ทำอะไร.
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า สงฆ์ได้ทำกรรมแก่ผม ขอรับ.
พระฉัพพัคคีย์กล่าวว่า อาวุโส เราไม่ได้ให้ฉันทะไปเพื่อหมายถึงกรรม
นี้ว่า สงฆ์จักทำกรรมแก่ท่าน ถ้าเราทราบว่า สงฆ์จักทำกรรมแก่ท่าน เราจะ
ไม่พึงให้ฉันทะไป.
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย...ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน
พระฉัพพัคคีย์ให้ฉันทะเพื่อกรรมอันเป็นธรรมแล้ว จึงได้ถึงความบ่นว่าใน
ภายหลังเล่า . . . แล้ว กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกเธอให้ฉันทะเพื่อกรรมอันเป็นธรรมแล้ว ได้ถึงความบ่นว่าใน
ภายหลัง จริงหรือ.

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 784

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอให้ฉันทะเพื่อกรรมอันเป็นธรรมแล้ว จึงได้ถึงความบ่นว่าในภายหลัง เล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลือมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๒๖. ๙. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ฉันทะเพื่อกรรมอัน เป็นธรรม แล้ว ถึงธรรมคือความบ่นว่าในภายหลัง เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๑๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้

ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

กรรมอันเป็นธรรม ๔ อย่าง

ที่ชื่อว่า กรรมอันเป็นธรรม ได้แก่ อปโลกนกรรม ๑ ญัตติกรรม ๑ ญัตติทุติยกรรม ๑ ญัตติจตุตถกรรม ๑ ที่สงฆ์ทำแล้วตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสน์ นี้ชื่อว่ากรรมอันเป็นธรรม.

ภิกษุให้ฉันทะไปแล้ว บ่นว่า ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 785

บทภาชนีย์

[๗๑๗] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ให้ฉันทะ ไปแล้ว บ่นว่า ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัยอยู่ ให้ฉันทะไปแล้ว บ่นว่า ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ให้ฉันทะไปแล้ว บ่นว่า ไม่ต้องอาบัติ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๗๑๘] ภิกษุรู้อยู่ว่า สงฆ์ทำกรรมโดยไม่ถูกธรรม เป็นพวกหรือทำ แก่ภิกษุมิใช่ผู้ควรแก่กรรม บ่นว่า ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

กัมมปฏิพาหนสิกขาบทที่ ๙

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๙ พึงทราบดังนี้:-

ข้อว่า สเจ จ มยํ ชาเนยฺยาม แปลว่า ถ้าพวกเราพึงรู้ไซร้. ส่วน อักษร เป็นเพียงนิบาตเท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 786

บทว่า ธมฺมิกานํ มีวิเคราะห์ว่า ธรรมมีอยู่ในกรรมเหล่านั้น เพราะ สงฆ์ทำโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์; เพราะเหตุนั้น กรรมเหล่านั้น จึงขอว่า ธรรมิกะ (กรรมอันเป็นธรรม). เพื่อสังฆกรรม ๔ อันเป็นธรรม เหล่านั้น.

ในคำว่า ขียติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ เป็นปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ. โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

กัมมปฏิพาหนสิกขาบทที่ ๙ จบ

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 787

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๗๑๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น สงฆ์ ประชุมกันด้วยกรรมบางอย่างที่สงฆ์จะต้องทำ พระฉัพพัคคีย์สาละวนทำจีวร กรรมกันอยู่. ได้ให้ฉันทะไปแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ถึงก็พอดีสงฆ์ตั้งญัตติแล้วว่า สงฆ์ประชุมกันเพื่อประสงค์ทำกรรมใด พวกเราจักทำกรรมนั้น ดังนี้.

ภิกษุรูปนั้นจึงพูดขึ้นว่า ภิกษุเหล่านี้ทำกรรมแก่ภิกษุแต่ละรูปอย่างนี้ พวกท่านจักทำกรรมแก่ใครกัน แล้วไม่ให้ฉันทะ ลุกจากอาสนะหลีกไป.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุเมื่อเรื่องอันจะพึงวินิจฉัยยังเป็นไปอยู่ในสงฆ์ จึงได้ไม่ให้ฉันทะ ลุกจาก อาสนะหลีกไปเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า เมื่อเรื่องอันจะพึงวินิจฉัยยังเป็นไปอยู่ในสงฆ์ เธอไม่ให้ฉันทะ ลุกจากอาสนะ หลีกไป จริงหรือ.

ภิกษุรูปนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอ เมื่อเรื่องอันจะพึงวินิจฉัยยังเป็นไปอยู่ในสงฆ์ จึงได้ไม่ให้ฉันทะ ลุกจากอาสนะ

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 788

หลีกไปเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใส แล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๒๙. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด เมื่อเรื่องอันจะพึงวินิจฉัยยังเป็น ไปอยู่ในสงฆ์ ไม่ให้ฉันทะแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไปเสีย เป็น ปาจิตตีย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๒๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า เรื่องอันจะพึงวินิจฉัยในสงฆ์ ได้แก่ เรื่องที่โจทก์จำเลย แจ้งไว้แล้ว แต่ยังไม่ได้วินิจฉัย ๑ ตั้งญัตติแล้ว ๑ กรรมวาจายังสวดค้างอยู่ ๑.

คำว่า ไม่ให้ฉันทะแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไปเสีย คือ ตั้งใจ ว่าไฉน กรรมนี้พึงกำเริบ พึงเป็นวรรค พึงทำไม่ได้ ดังนี้แล้ว ลุกเดินไป ต้องอาบัติทุกกฏ กำลังละหัตถบาสแห่งที่ชุนนุมสงฆ์ ต้องอาบัติทุกกฏ ละหัตถบาสไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 789

บทภาชนีย์

[๗๒๑] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ไม่ให้ฉันทะ แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัยอยู่ ไม่ให้ฉันทะแล้ว ลุกจากอาสนะหลีก ไปต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่ให้ฉันทะแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป ไม่ต้องอาบัติ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ... ต้องอาบัติ ทุกกฎ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัยอยู่ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๗๒๒] ภิกษุติดเห็นว่า ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความ แก่งแย่งหรือการวิวาท จักเกิดแก่สงฆ์ ดังนี้แล้วหลีกไป ๑ ภิกษุคิดเห็นว่า สงฆ์จักแตกแยกกัน หรือจักร้าวรานกัน ดังนี้แล้วหลีกไป ๑ ภิกษุคิดเห็นว่า สงฆ์จักทำกรรมแก่ภิกษุมิใช่ผู้ควรแก่กรรม ดังนี้แล้วหลีกไป ๑ ภิกษุเกิดอาพาธ หลีกไป ๑ ภิกษุหลีกไปด้วยธุระอันจะทำแก่ภิกษุอาพาธ ๑ ภิกษุปวดอุจจาระ ปัสสาวะแล้วหลีกไป ๑ ภิกษุไม่ตั้งใจจะทำกรรมให้เสีย หลีกไปด้วยคิดว่าจะ กลับมาอีก ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 790

ฉันทังอทัตวาคมนสิกขาบทที่ ๑๐

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๐ พึงทราบดังนี้:-

ข้อว่า วตฺถุํ วา อาโรจิตํ โหติ มีความว่า ทั้งโจทก์และจำเลยได้ แถลงถ้อยคำของตนแล้ว ภิกษุผู้สอบสวนสืบสวนก็ได้รับสมมติแล้วแม้ด้วย อาการเพียงเท่านี้ วัตถุเป็นอันบอกแล้ว. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นทางกายวาจากับจิต เป็นทังกิริยาทั้งอกิริยา ส้ญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

ฉันทังอทัตวาคมนสิกขาบทที่ ๑๐ จบ

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 791

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๑

เรื่องพระทัพพมัลลบุตร

[๗๒๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรจัดเสนาสนะและแจกอาหารแก่สงฆ์ แต่ ท่านเป็นผู้มีจีวรเก่า สมัยนั้น มีจีวรผืนหนึ่งเกิดขึ้นแก่สงฆ์ สงฆ์จึงได้ถวายจีวร ผืนนั้นแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร พวกพระฉัพพัคคีย์พากันเพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุทั้งหลายน้อมลาภของสงฆ์ไปตามชอบใจ.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์กับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้จีวรไปแล้ว ภายหลังจึงได้ถึง ธรรมคือบ่นเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอกับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวรแล้ว ภายหลังถึงธรรมคือบ่น จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอกับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวรแล้ว ภายหลังจึงได้ถึงธรรมคือ บนเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่. ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 792

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๓๐. ๑๑. อนึ่ง ภิกษุใด กับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้จีวร แก่ภิกษุแล้ว ภายหลังถึงธรรมคือบ่นว่า ภิกษุทั้งหลายน้อมลาภของ สงฆ์ไปตามชอบใจ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระทัพพมัลลบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๒๔] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

สงฆ์ที่ชื่อว่า พร้อมเพรียงกัน คือ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมา เดียวกัน.

ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ผ้า ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าถึงองค์กำหนด แห่งผ้าต้องวิกัปเป็นอย่างต่ำ.

บทว่า ให้ คือ ตนเองก็ให้.

ที่ชื่อว่า ตามชอบใจ คือ ตามความที่เป็นไมตรีกัน ตามความที่ เคยเห็นกัน ตามความที่เคยคบกัน ตามความที่ร่วมอุปัชฌาย์กัน ตามความที่ ร่วมอาจารย์กัน.

ที่ชื่อว่า ของสงฆ์ คือ ที่เขาถวายแล้ว ที่เขาสละแล้ว แก่สงฆ์.

ที่ชื่อว่า ลาภ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช บริขารอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ โดยที่สุดแม้ก้อนจุรณ ไม้ชำระฟัน ด้าย ชายผ้า.

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 793

คำว่า ภายหลังถึงธรรมคือบ่น ความว่า เมื่อให้จีวรแก่อุปสัมบัน ที่สงฆ์สมมติให้เป็นผู้จัดเสนาสนะก็ดี ให้เป็นผู้แจกอาหารก็ดี ให้เป็นผู้แจก ยาคูก็ดี ให้เป็นผู้แจกผลไม้ก็ดี ให้เป็นผู้แจกของเคี้ยวก็ดี ให้เป็นผู้แจกของ เล็กน้อยก็ดี แล้วบ่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๗๒๕] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม เมื่อให้จีวร แล้วบ่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย เมื่อให้จีวรแล้ว บ่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม เมื่อให้จีวรแล้ว บ่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกกฏ

ให้บริขารอย่างอื่นแล้ว บ่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ให้จีวรหรือบริขารอย่างอื่นแก่อุปสัมบัน ผู้ที่สงฆ์ไม่ได้สมมติให้เป็นผู้ จัดเสนาสนะ ให้เป็นผู้แจกอาหาร ให้เป็นผู้แจกยาคู ให้เป็นผู้แจกผลไม้ ให้ เป็นผู้แจกของเคี้ยว หรือให้เป็นผู้แจกของเล็กน้อย แล้วบ่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

เมื่อให้จีวรหรือบริขารอย่างอื่นแก่อนุปสัมบันผู้ที่สงฆ์สมมติก็ดี ไม่ได้ สมมติก็ดี ให้เป็นผู้จัดเสนาสนะ ให้เป็นผู้แจกอาหาร ให้เป็นผู้แจกยาคู ให้ เป็นผู้แจกผลไม้ ให้เป็นผู้แจกของเคี้ยว หรือให้เป็นผู้แจกของเล็กน้อยแล้ว บ่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 794

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุมีความสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ... ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๗๒๖] ภิกษุบ่นว่าสงฆ์มีปรกติทำโดยฉันทาคติ ... โทสาคติ ... โมหาคติ ... ภยาคติ จะประโยชน์อะไรด้วยจีวรที่ให้แล้วแก่ภิกษุนั้น แม้เธอได้ไป แล้วก็จักทิ้งเสีย จักไม่ใช้สอยโดยชอบธรรม ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ จบ

ทัพพสิกขาบทที่ ๑๑

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๑ พึงทราบดังนี้:- บทว่า ยถามิตฺตตา คือ ตามความเป็นมิตรกัน. มีคำอธิบายว่าให้ แก่ภิกษุผู้ซึ่งเป็นมิตรกัน. ในบททั้งปวงก็นัยนี้เหมือนกัน. คำที่เหลือมีเนื้อความ. ตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในอุชฌาปนกสิกขาบทเป็นต้นนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลก วัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

ทัพพสิกขาบทที่ ๑๑ จบ

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 795

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๒

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๗๒๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ในพระนครสาวัตถี มีชาวบ้านหมู่หนึ่งได้จัดอาหารพร้อมทั้งจีวรไว้เพื่อสงฆ์ ด้วยหมายใจ ว่า ให้ท่านฉันแล้วจักให้ครองจีวร ครั้งนั้นแล พวกพระฉัพพัคคีย์ได้เข้าไป หาชาวบ้านหมู่นั้น แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย ขอจงถวายจีวรเหล่านี้แก่ภิกษุ พวกนี้เถิด.

ชาวบ้านหมู่นั้นกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า พวกกระผมจักถวายไม่ได้ เพราะ พวกกระผมได้จัดอาหารพร้อมทั้งจีวรไว้เพื่อสงฆ์ทุกๆ ปี.

พระฉัพพัคคีย์กล่าวว่า ท่านทั้งหลาย ทายกผู้ถวายแก่สงฆ์มีจำนวน มาก. อาหารสำหรับสงฆ์ก็มีมาก ภิกษุเหล่านี้อาศัยพวกท่าน เห็นอยู่แต่พวก ท่าน จงอยู่ในที่นี้ หากพวกท่านจักไม่ ให้แก่ภิกษุเหล่านี้ ก็บัดนี้ใครเล่าจักให้ แก่ภิกษุเหล่านี้ ขอท่านทั้งหลายจงให้จีวรเหล่านี้แก่ภิกษุพวกนี้เถิด.

เมื่อชาวบ้านพวกนั้นถูกพระฉัพพัคคีย์แค่นได้ จึงได้ถวายจีวรตามที่ได้ จัดไว้แก่พวกฉัพพัคคีย์ไป แล้วอังคาสสงฆ์ด้วยอาหารอย่างเดียว บรรดาภิกษุที่ ทราบว่า อาหารพร้อมทั้งจีวรที่เขาจัดไว้ถวายสงฆ์มี แต่ไม่ทราบว่าเขาได้ถวาย จีวรแก่พระฉัพพัคคีย์ไปแล้ว ได้กล่าวขึ้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ขอจงถวาย จีวรแก่สงฆ์เถิด.

ชาวบ้านหมู่นั้นกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า จีวรตามที่ได้จัดไว้ไม่มี เจ้าข้า เพราะพระคุณเจ้าเหล่าฉัพพัคคีย์ได้น้อมไปเพื่อพระคุณเจ้าเหล่าฉัพพัคคีย์ด้วย กันแล้ว.

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 796

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์รู้อยู่ จึงได้น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์มาเพื่อบุคคล เล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์มาเพื่อบุคคล จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้บัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอรู้อยู่ จึงได้น้อมลาภที่เขาน้อมไปถวายสงฆ์มาเพื่อบุคคลเล่า การกระของพวกเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า ดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๓๑. ๒. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวาย สงฆ์มาเพื่อบุคคล เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

สิกขาบทวิภังค์

[๗๒๘] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 797

ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือรู้เอง หรือคนอื่นบอกแก่เธอ หรือเจ้าตัวบอก.

ที่ชื่อว่า จะถวายสงฆ์ คือเขาจะให้อยู่แล้ว จะบริจาคอยู่แล้วแก่ สงฆ์.

ที่ชื่อว่า ลาภ ได้แก่จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัชบริขารอัน เป็นปัจจัยของภิกษุไข้ โดยที่สุดแม้ก้อนจุรณ ไม้ชำระฟัน ด้ายชายผ้า.

ที่ชื่อว่า เขาน้อมไป คือ เขาได้เปล่งวาจาไว้ว่า จักถวาย จักทำ ภิกษุน้อมมาเพื่อบุคคล ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

[๗๒๙] ลาภที่เขาน้อมไปแล้ว ภิกษุสำคัญว่าเขาน้อมไปแล้ว น้อม มาเพื่อบุคคล ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ลาภที่เขาน้อมไปแล้ว ภิกษุสงสัยอยู่ น้อมมาเพื่อบุคคล ต้องอาบัติ ลาภที่เขาน้อมไปแล้ว ภิกษุสำคัญว่าเขาไม่ได้น้อมไป น้อมมาเพื่อ บุคคล ไม่ต้องอาบัติ.

ลาภที่เขาน้อมไปเพื่อสงฆ์ ภิกษุน้อมมาเพื่อสงฆ์หมู่อื่นก็ดี เพื่อเจดีย์ ก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

ลาภที่เขาน้อมไปเพื่อเจดีย์ ภิกษุน้อมมาเพื่อเจดีย์อื่นก็ดี เพื่อสงฆ์ก็ดี เพื่อบุคคลก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

ลาภที่เขาน้อมไปเพื่อบุคคล ภิกษุน้อมมาเพื่อบุคคลอื่นก็ดี เพื่อสงฆ์ ก็ดี เพื่อเจดีย์ก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

ลาภที่เขายังไม่ได้น้อมไป ภิกษุสำคัญว่าเขาน้อมไปแล้ว ... ต้อง อาบัติทุกกฏ.

ลาภที่เขายังไม่ได้น้อมไป ภิกษุสงสัยอยู่ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 798

ไม่ต้องอาบัติ

ลาภที่เขายังไม่ได้น้อมไป ภิกษุสำคัญว่าเขายังไม่ได้น้อมไป ... ไม่ ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๗๓๐] ภิกษุ เมื่อทายกถามว่าจะถวายที่ไหน ตอบว่าไทยธรรมของ พวกท่าน พึงได้รับการใช้สอย พึงได้รับการปรับปรุง หรือพึงตั้งอยู่ได้นาน ในที่ใด ก็หรือจิตของพวกท่านเลื่อมใสในที่ใด ก็จงถวายในที่นั้นเถิด ดังนี้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๒ จบ

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๘ จบ

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 799

ปริณามนสิกขาบทที่ ๑๒

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๑๒ พึงทราบดังนี้:-

คำที่จะพึงกล่าวทั้งหมด มีนัยดังกล่าวแล้วในปริณามนสิกขาบท ใน ติงสกัณฑ์นั้น เป็นนิสสัคติยปาจิตตีย์ เพราะน้อมมาเพื่อตน ในสิกขาบทนี้ เป็นปาจิตตีย์ล้วน เพราะน้อมไปเพื่อบุคคล (อื่น).

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

ปริณามนสิกขาบทที่ ๑๒ จบ

สหธรรมิกวรรคที่ ๘ จบบริบูรณ์

ตามวรรณนานุกรม

หัวข้อประจำเรื่อง

๑. สหธัมมิกสิกขาบท ว่าด้วยการว่ากล่าวโดยถูกธรรม

๒. วิวัณณนสิกขาบท ว่าด้วยการก่นสิกขาบท

๓. โมหนสิกขาบท ว่าด้วยการแสร้งทำหลง

๔. ปหารทานสิกขาบท ว่าด้วยการให้ประหาร

๕. ตลสัตติกสิกขาบท ว่าด้วยการเงื้อหอกคือฝ่ามือ

๖. อมูลกสิกขาบท ว่าด้วยการโจทด้วยอาบัติไม่มีมูล

๗. สัญจิจจสิกขาบท ว่าด้วยการแกล้งก่อความรำคาญ

๘. อุปัสสุติกสิกขาบท ว่าด้วยการแอบฟัง

๙. กัมมปฏิพาหนสิกขาบท ว่าด้วยการคัดค้านกรรม

๑๐. ฉันทาทานสิกขาบท ว่าด้วยการไม่ให้ฉันทะ

๑๑. ทัพพสิกขาบท ว่าด้วยเรื่องท่านพระทัพพมัลลบุตร

๑๒. ปริณามนสิกขาบท ว่าด้วยการน้อมลาภสงฆ์