พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปาฏิเทสนียกัณฑ์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 มี.ค. 2565
หมายเลข  42783
อ่าน  706

[เล่มที่ 4] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒

พระวินัยปิฎก เล่ม ๒

มหาวิภังค์ ทุติยภาค

ปาฏิเทสนียกัณฑ์

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๑

เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง 781/853

พระบัญญัติ 855

สิกขาบทวิภังค์ 782/855

บทภาชนีย์ 856

อนาปัตติวาร 783/857

ปาฏิเทสนียกัณฑวรรณนา 875

ว่าด้วยการรับของเค้ยวของฉ ี ันจากมือฯ 857

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่๒ 860

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ 784/860

พระบัญญัติ 861

สิกขาบทวิภังค์ 785/861

บทภาชนีย์ 786/862

อนาปัตติวาร 787/863

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๒ 863

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๓ 864

เรื่องตระกูลหนึ่ง 864

พระบัญญัติ 865

เรื่องภิกษุหลายรูป 789/866

พระอนุบัญญัติ ๑ 866

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง 790/867

พระอนุบัญญัติ ๒ 868

สิกขาบทวิภังค์ 791/868

บทภาชนีย์ 792/869

อนาปัตติวาร 793/870

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๓ 871

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๔ 872

เรื่องคนรับใช้ของเจ้าศากยะ 794/872

พระบัญญัติ 873

เรื่องพระอาพาธ 795/873

พระอนุบัญญัติ 874

สิกขาบทวิภังค์ 796/874

บทภาชนีย์ 797/876

อนาปัตติวาร 798/877

บทสรุป 799/877

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๔ 878

อธิบายของควรเคี้ยวที่เขาไม่ได้บอกฯ 878


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 4]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 853

ปาฏิเทสนียกัณฑ์

ท่านทั้งหลาย ก็ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทเหล่านี้แล มาสู่อุเทศ

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๑

เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง

[๗๘๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่ง เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถี เวลากลับ พบภิกษุรูปหนึ่งแล้วได้กล่าว คำนี้ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า นิมนต์พระคุณเจ้าโปรดรับภิกษา ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดีล่ะ น้องหญิง แล้วได้รับภิกษาไปทั้งหมด ครั้นเวลาเที่ยงใกล้เข้าไป ภิกษุณี นั้นไม่อาจไปเที่ยวบิณฑบาตได้ จึงอดอาหาร ครั้นต่อมาวันที่ ๒ ... ย่อมาวัน ที่ ๓ ภิกษุณีนั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี เวลากลับพบภิกษุรูป นั้นแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า นิมนต์พระคุณเจ้าโปรดรับภิกษา ภิกษุนั้น กล่าวว่า ดีละ น้องหญิง แล้วรับภิกษาไปทั้งหมด ครั้นเวลาเที่ยงใกล้ เข้าไป ภิกษุณีนั้นไม่อาจไปเที่ยวบิณฑบาตได้ จึงอดอาหาร ครั้นต่อมาวันที่ ๔ ภิกษุณีนั้นเดินซวนเซไปตามถนน เศรษฐีคหบดีขึ้นรถสวนทางมา ได้กล่าว คำนี้กะภิกษุณีนั้นว่า นิมนต์หลีกไปหน่อยแม่เจ้า ภิกษุณีนั้นหลีกหลบล้มลงในที่ นั่นเอง เศรษฐีคหบดีได้ขอขมาโทษภิกษุณีนั้นว่า ข้าแต่แม่เจ้า ขอท่านโปรด อดโทษแก่ข้าพเจ้าที่ทำให้ท่านล้มลง เจ้าข้า

ภิกษุณีตอบว่า ดูก่อนคหบดี ท่านไม่ได้ทำให้ฉันล้ม ฉันเองต่างหาก ที่มีกำลังน้อย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 854

เศรษฐีคหบดีถามว่า ข้าแต่แม่เจ้า ก็เพราะเหตุไรเล่า แม่เจ้าจึงมี กำลังน้อย จึงภิกษุณีนั้นได้แจ้งเรื่องนั้นให้เศรษฐีคหบดีทราบ เศรษฐีคหบดีจึง นำภิกษุณีนั้นไปให้ฉันที่เรือน แล้วเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระ คุณเจ้าผู้เจริญทั้งหลาย จึงได้รับอามิสจากมือภิกษุณีเล่า เพราะมาตุคามมีลาภ อัตคัด ภิกษุทั้งหลายได้ยินเศรษฐีคหบดีเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุจึง ได้รับอามิสจากมือภิกษุณีเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า เธอรับอามิส จากมือภิกษุณี จริงหรือ

ภิกษุรูปนั้น ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุณีนั้นเป็นญาติของเธอหรือมิใช่ญาติ

ภิ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ภิกษุผู้มี ใช่ญาติย่อมไม่รู้การกระทำอันสมควรหรือไม่สมควร ของที่มีอยู่หรือไม่มี ของ ภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ ไฉนเธอจึงได้รับอามิสจากมือภิกษุณีผู้มีใช่ญาติเล่า การกระ ทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 855

พระบัญญัติ

๑๔๒. ๑. อนึ่ง ภิกษุใด รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วย มือของตน จากมือของภิกษุณี ผู้มิใช่ญาติ ผู้เข้าไปแล้วสู่ละแวกบ้าน แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี อันภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า แนะเธอ ฉันต้อง ธรรมที่น่าติ ไม่เป็นที่สบาย ควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืนธรรมนั้น.

เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๘๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกันทางมารดาก็ดี ทาง บิดาก็ดี ตลอดเจ็ดชั่วบุรพชนก.

ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์สองฝ่าย. ที่ชื่อว่า ละแวกบ้าน ได้แก่ ถนน ตรอกตัน ทางสามแยก เรือน ตระกูล.

ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกโภชนะทั้งห้า ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และยาวชีวิก นอกจากนี้ชื่อว่าของเคี้ยว.

ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะทั้งห้า คือ ข้าวสุก ๑ ขนมสด ๑ ขนมแห้ง ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑.

ภิกษุรับประเคนไว้ด้วยหมายใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ กลืน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุกๆ คำกลืน.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 856

บทภาชนีย์

ติกปาฏิเทสนียะ

ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ รับของเคี้ยวก็ดี ของฉัน ก็ดี ด้วยมือของตน จากมือของภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ ผู้เข้าไปแล้วสู่ละแวกบ้าน แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.

ภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ ภิกษุสงสัยอยู่ รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วย มือของตนจากมือของภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ ผู้เข้าไปแล้วสู่ละแวกบ้าน แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ต้องอาบัติปาฎิเทสนียะ.

ภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ รับของเคี้ยวก็ดี ของฉัน ก็ดี ด้วยมือของตน จากมือของภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ. ผู้เข้าไปแล้วสู่ละแวกบ้าน แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ต้องอาบัติปาฎิเทสนียะ.

จตุกทุกกฏ

ภิกษุรับของที่เป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อทำเป็น อาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ กลืน ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ คำกลืน.

ภิกษุรับ ... จากมือของภิกษุณีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว ด้วย ตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ กลืน ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ คำ กลืน.

ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสงสัยอยู่ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ... ไม่ต้องอาบัติ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 857

อนาปัตติวาร

[๗๘๓] ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ๑ ภิกษุณีผู้มีใช่ญาติสั่งให้ถวาย มิได้ ถวายเอง ๑ เก็บวางไว้ถวาย ๑ ถวายในอาราม ๑ ในสำนักภิกษุณี ๑ ใน สำนักเดียรถีย์ ๑ ในโรงฉัน ๑ นำออกจากบ้านแล้วถวาย ๑ ถวายยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ด้วยคำว่า เมื่อปัจจัยมีอยู่ นิมนต์ฉันได้ ๑ สิกขมานา ถวาย ๑ สามเณรีถวาย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๑ จบ

ปาฏิเทสนียกัณฑวรรณนา

ปาฏิเทสนียธรรมเหล่าใดที่พระธรรม สังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ตั้งไว้ในลำดับพวก ขุททกสิกขาบท บัดนี้จะมีการวรรณนาปาฏิ- เทสนียธรรมเหล่านั้นดังต่อไปนี้.

พึงทราบวินิจฉัย ในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ ก่อน :-

[ว่าด้วยการรับของเคี้ยวของฉันจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ]

บทว่า ปฏิกฺกมนกาเล คือ ในเวลาเป็นที่เที่ยวบิณฑบาตแล้วกลับมา. สองบทว่า สพฺเพว อคฺคเหสิ คือ ได้รับเอาภิกษาไปทั้งหมด.

บทว่า ปเวเธนฺตี แปลว่า เดินซวนเซอยู่.

บทว่า อเปหิ แปลว่า จงถอยไป. อธิบายว่า ท่านยังไม่ให้โอกาส.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 858

คำว่า คารยฺหํ อาวุโส เป็นต้น เป็นคำแสดงอาการที่ภิกษุพึง แสดงคืน.

บทว่า รถิกา แปลว่า ถนน.

บทว่า พฺยูหํ ได้แก่ ตรอกตันไม่ทะลุถึงกัน ไปถึงแล้วต้องย้อน กลับมา.

บทว่า สิงฺฆาฏกํ ได้แก่ ที่ชุมทาง ๔ แยก หรือ ๓ แยก.

บทว่า ฆรํ ได้แก่ เรือนแห่งสกุล.

บรรดาสถานที่ มีถนนเป็นต้นเหล่านี้ ภิกษุยืนรับในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เป็นทุกกฏ เพราะรับ. เป็นปาฏิเทสนียะ โดยการนับคำกลืน. แม้สำหรับภิกษุ ผู้รับในสถานที่มีโรงช้างเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน ภิกษุณียืนถวายที่ถนน, ภิกษุยืนรับในละแวกวัดเป็นต้น เป็นอาบัติเหมือนกัน.

ก็บัณฑิตพึงทราบอาบัติในปาฎิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ นี้ ด้วยอำนาจ แห่งนางภิกษุณีผู้ยืนถวายในละแวกบ้าน โดยพระบาลีว่า อนฺตรฆรํ ปวิฏฺฐาย ดังนี้. ก็ที่ซึ่งภิกษุยืนอยู่ไม่เป็นประมาณ. เพราะเหตุนั้น ถ้าแม้นว่า ภิกษุยืน ในถนนเป็นต้น รับจากนางภิกษุณีผู้ถวายในละแวกวัดเป็นต้น ไม่เป็นอาบัติแล

คำว่า ภิกษุรับประเคน ยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวก เพื่อ ประโยชน์เป็นอาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ. ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ คำกลืน นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอากาลิกที่ไม่ได้ระคนกับอามิส. แต่ในกาลิกที่ ระคนกัน มีรสเป็นอันเดียวกัน เป็นปาฏิเทสนียะเหมือนกัน.

สองบทว่า เอกโต อุปสมฺปนฺนาย ได้แก่ ภิกษุณีผ้อุปสมบทใน สำนักแห่งภิกษุณีทั้งหลาย. แต่ภิกษุผู้รับจากมือแห่งภิกษุณี ผู้อุปสมบทใน สำนักแห่งภิกษุทั้งหลาย เป็นปาฏิเทสนียะตามสมควรแก่วัตถุทีเดียว.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 859

สองบทว่า ทาเปติ น เทติ มีความว่า ภิกษุณีผู้มีใช่ญาติใช้ผู้อื่น บางคนให้ถวาย, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้รับขาทนียโภชนียะนั้น. สองบทว่า อุปกฺขิปิตฺวา เทติ มีความว่า ภิกษุณีวางบนพื้นแล้ว ถวายว่า พระคุณเจ้า! ดิฉันถวายขาทนียโภชนียะนี้แก่ท่าน. ภิกษุรับของที่ ภิกษุณีถวายอย่างนี้ พร้อมกับกล่าวว่า ขอบใจนะน้องหญิง แล้วให้ภิกษุณีนั้น นั่นเอง หรือใช้ผู้อื่นบางคนรับประเคนแล้วฉัน ควรอยู่.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ก็ถ้าว่า ภิกษุณีถือเอาอามิสในบาตรที่อยู่ใน มือ ถวายว่า ดิฉันสละถวายท่าน ภิกษุรับประเคนอามิสที่ภิกษุณีถือไว้ด้วย กล่าวว่า น้องหญิง! เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้รับ.

สองบทว่า สิกฺขมานาย สามเณริยา มีความว่า เมื่อสิกขมานาและ สามเณรีเหล่านี้ถวาย ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้รับ. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้น ทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 860

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๒

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์

[๗๘๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวพุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์ฉันในสกุล มีภิกษุณีเหล่าฉัพพัคคีย์มายืน บงการให้เขาถวายของแก่พระฉัพพัคคีย์ว่า จงถวายแกงที่ท่านองค์นี้ จงถวาย ข้าวที่ท่านองค์นี้ พวกพระฉัพพัคคีย์ได้ฉันตามความต้องการ ภิกษุเหล่าอื่นฉัน ไม่ได้ดังจิตประสงค์ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงไม่ห้ามปรามภิกษุณี ฉัพพัคคีย์ผู้บงการเล่า ... แล้วกราบ ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอไม่ห้ามปรามภิกษุณีทั้งหลายผู้บงการอยู่ จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงไม่ห้ามปรามภิกษุณีผู้บงการอยู่เล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า ดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 861

พระบัญญัติ

๑๔๓. ๒. อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์ฉันในสกุล ถ้าภิกษุณี มายืนสั่งเสียอยู่ในที่นั้นว่า จงถวายแกงในองค์นี้ จงถวายข้าวในองค์นี้ ภิกษุทั้งหลายนั้นพึงรุกรานภิกษุณีนั้นว่า น้องหญิง เธอจงหลีกไป เสีย ตลอดเวลาภิกษุฉันอยู่ ถ้าภิกษุแม้รูปหนึ่งไม่กล่าวออกไป เพื่อ จะรุกรานภิกษุณีว่า น้องหญิง เธอจงหลีกไปเสีย ตลอดเวลาที่ภิกษุ ฉันอยู่ ภิกษุเหล่านั้นพึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ พวกฉันต้องธรรมที่ น่าติ ไม่เป็นที่สบาย ควรจะแสดงคืน พวกฉันแสดงคืนธรรมนั้น.

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๘๕] คำว่า อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์ฉันอยู่ในสกุล ความว่า ที่ชื่อว่าสกุล ได้แก่ตระกูล ๔ คือ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ตระกูลแพศย์ ตระกูลศูทร.

คำว่า รับนิมนต์ฉันอยู่ คือ รับนิมนต์ฉันโภชนะทั้งห้า อย่างใด อย่างหนึ่ง.

ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์สองฝ่าย.

ที่ชื่อว่า ผู้สั่งเสียอยู่ คือ บงการว่า จงถวายแกงในองค์นี้ จง ถวายข้าวในองค์นี้ ดังนี้ ตามความที่เป็นมิตรกัน เป็นเพื่อนร่วมเห็นกัน เป็น เพื่อนร่วมคบกัน เป็นผู้ร่วมอุปัชฌาย์กัน เป็นผู้ร่วมอาจารย์กัน นี้ชื่อว่า ผู้ สั่งเสียอยู่.

คำว่า อันภิกษุทั้งหลายนั้น ได้แก่ ภิกษุที่ฉันอยู่.

คำว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีผู้สั่งเสียนั้น.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 862

ภิกษุทั้งหลายนั้น พึงรุกรานภิกษุณีนั้นว่า น้องหญิง เธอจงหลีกไป จนกว่า ภิกษุทั้งหลายจะฉันเสร็จ ถ้าภิกษุแม้รูปหนึ่งไม่รุกราน รับด้วยหวัง ว่าจักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ กลืน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุกๆ คำ กลืน.

บทภาชนีย์

ติกปาฏิเทสนียะ

[๗๘๖] ภิกษุณีผู้อุปสัมบันสั่งเสียอยู่ ภิกษุสำคัญว่าภิกษุณีผู้อุปสัมบัน ไม่ห้ามปราม ต้องอาบัติปาฎิเทสนียะ.

ภิกษุณีผู้อุปสัมบันสั่งเสียอยู่ ภิกษุมีความสงสัย ไม่ห้ามปราม ต้อง อาบัติปาฏิเทสนียะ.

ภิกษุณีผู้อุปสัมบันสั่งเสียอยู่ ภิกษุสำคัญว่าเป็นภิกษุณีอนุปสัมบัน ไม่ ห้ามปราม ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.

ติกทุกกฏ

สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียวสั่งเสียอยู่ ภิกษุไม่ห้ามปราม ต้อง อาบัติทุกกฏ.

ภิกษุณีผู้เป็นอนุปสัมบันสั่งเสียอยู่ ภิกษุสำคัญว่าเป็นภิกษุณีผู้อุปสัมบัน ไม่ห้ามปราม ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุณีผู้เป็นอนุปสัมบันสั่งเสียอยู่ ภิกษุมีความสงสัย ไม่ห้ามปราม ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ภิกษุณีผู้เป็นอนุปสัมบันสั่งเสียอยู่ ภิกษุสำคัญว่าเป็นภิกษุณีผู้อนุปสัมบัน ไม่ห้ามปราม ไม่ต้องอาบัติ.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 863

อนาปัตติวาร

[๗๘๗] ภิกษุณีสั่งให้ถวายภัตตาหารของตน มิได้ถวายเอง ๑ ถวาย ภัตตาหารของผู้อื่น มิได้สั่งให้ถวาย ๑ สั่งให้ถวายภัตตาหารที่เขาไม่ได้ถวาย ๑ สั่งให้เขาถวายในภิกษุที่เขาไม่ได้ถวาย ๑ สั่งให้ถวายเท่าๆ กันแก่ภิกษุทุกรูป ๑ สิกขมานาสั่งเสีย ๑ สามเณรีสั่งเสีย ๑ เว้นโภชนะห้า อาหารทุกอย่างไม่เป็น อาบัติ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๒ จบ

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๒

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๒ พึงทราบดังนี้:-

คำว่า อปสกฺก ตาว ภคินิ เป็นต้น เป็นคำแสดงอาการที่ภิกษุ พึงรุกราน.

ในคำว่า อตฺตโน ภตฺตํ ทาเปติ น เทติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ถ้าแม้นว่า ภิกษุณีถวายภัตของตนเอง ไม่เป็นอาบัติโดยสิกขาบทนี้เลย เป็น อาบัติโดยสิกขาบทก่อน.

ก็ในคำว่า อญฺสฺส ภตฺตํ เทติ น ทาเปติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ถ้าภิกษุณีใช้ให้ถวาย พึงเป็นอาบัติโดยสิกขาบทนี้, แต่เมื่อภิกษุณีถวายเอง ไม่เป็นอาบัติโดยสิกขาบทนี้และไม่เป็นโดยสิกขาบทก่อน. คำที่เหลือใน สิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๒ จบ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 864

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๓

เรื่องตระกูลหนึ่ง

[๗๘๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ใน พระนครสาวัตถี มีตระกูลหนึ่งเป็นตระกูลที่เลื่อมใส ทั้งสองสามีภรรยาเจริญ ด้วยศรัทธา แต่หย่อนด้วยโภคทรัพย์ เขาได้สละของเคี้ยวของฉันอันเป็นอาหาร มื้อเช้า ซึ่งบังเกิดในตระกูลนั้นทั้งหมด แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว บางคราวถึง กับอดอาหารอยู่ ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้รับอาหารไม่รู้จักประมาณ สามีภรรยาคู่นี้ได้ถวาย แก่สมณะเหล่านี้แล้ว บางคราวถึงกับอดอาหารอยู่ ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้าน พวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงได้กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มี พระภาคเจ้า.

พระพุทธานุญาตพิเศษ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใดเจริญด้วยศรัทธา แต่หย่อนด้วยโภคทรัพย์ เราอนุญาต ให้สมมติว่าเป็นเสกขะแก่ตระกูลเห็นปานนั้นด้วยญัตติทุติยกรรม ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ก็แลพึงให้เสกขสมมติอย่างนี้.

เสกขสมมติ

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม วาจา ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 865

กรรมวาจาให้เสกขสมมติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ตระกูลมีชื่อนี้เจริญ ด้วย ศรัทธา แต่หย่อนด้วยโภคสมบัติ ถ้ำความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่ แล้ว สงฆ์พึงให้สมมติว่าเป็นเสกขะแก่ตระกูลมีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ตระกูลมีชื่อนี้เจริญด้วย ศรัทธา แต่หย่อนด้วยโภคสมบัติ สงฆ์ให้สมมติว่าเป็นเสกขะแก่ ตระกูลมีชื่อนี้ การให้สมมติว่าเป็นเสกขะแก่ตระกูลมีชื่อนี้ ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด.

การให้สมมติว่าเป็นเสกขะ สงฆ์ให้แล้วแก่ตระกูลมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๑๔๔. ๓. ก. อนึ่ง ภิกษุใด รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ในสกุลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะเห็นปานนั้น ด้วยมือของตน แล้ว เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่ น่าติ ไม่เป็นที่สบาย ควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืนธรรมนั้น.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องตระกูลหนึ่ง จบ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 866

เรื่องภิกษุหลายรูป

[๗๘๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ในพระนครสาวัตถีมีงานมหรสพ พวก ชาวบ้านนิมนต์ภิกษุทั้งหลายไปฉัน แม้ตระกูลนั้นก็ได้นิมนต์ภิกษุทั้งหลายไปฉัน ภิกษุทั้งหลายไม่รับนิมนต์รังเกียจอยู่ว่า การรับของเคี้ยวของฉันในตระกูลที่ สมมติว่าเป็นเสกขะ ด้วยมือของตนแล้วเคี้ยวฉัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม แล้ว เขาจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พวกเราจะมีชีวิตอยู่ไปทำไม เพราะพระคุณเจ้าทั้งหลายไม่รับนิมนต์ฉันของพวกเรา ภิกษุทั้งหลายได้ยินเขา เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระพุทธานุญาตพิเศษ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อันทายกนิมนต์แล้ว รับของเคี้ยวก็ดี ของ ฉันก็ดี ในตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ด้วยมือของตนแล้ว เคี้ยวฉันได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๑

๑๔๔. ๓. ข. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ได้รับนิมนต์ก่อน รับของ เคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ในตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะเห็นปาน นั้น ด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติไม่เป็นที่สบาย ควรจะแสดงคืน ฉัน แสดงคืนธรรมนั้น.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 867

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง

[๗๙๐] โดยสมัยต่อจากนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเป็นกุลุปกะของตระกูล นั้น ครั้นเวลาเช้า เธอครองอันตรวาสกแล้วถือบาตรจีวรเดินผ่านเข้าไปใน ตระกูลนั้น ครั้นถึงแล้วจึงนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย ภิกษุนั้นเกิดอาพาธใน ทันใด จึงชาวบ้านเหล่านั้นได้กล่าวอาราธนาภิกษุนั้นว่า นิมนต์ฉันเถิดขอรับ ภิกษุนั้นไม่รับนิมนต์รังเกียจอยู่ว่า ภิกษุผู้อันทายกไม่ได้นิมนต์ไว้ก่อน รับ ของเคี้ยวของฉันในตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะด้วยมือของตนแล้วเคี้ยวฉัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว ดังนี้แล้วไม่อาจไปบิณฑบาต ได้อดอาหาร แล้ว ครั้นหายจากอาพาธแล้ว เธอได้ไปสู่อารามแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระพุทธานุญาตพิเศษ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธรับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ใน ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวฉันได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 868

พระอนุบัญญัติ ๒

๑๔๔. ๓. ค. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ได้รับนิมนต์ก่อน มิใช่ผู้ อาพาธ รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ในตระกูลทั้งหลายที่สงฆ์สมมติ ว่าเป็นเสกขะเห็นปานนั้น ด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นที่สบาย ควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืนธรรมนั้น.

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๙๑] คำว่า ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ความว่า ตระกูลที่ชื่อว่าอันสงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ได้แก่ตระกูลที่เจริญด้วยศรัทธา แต่ หย่อนด้วยโภคสมบัติ ได้รับสมมติด้วยญัตติทุติยกรรมว่าเป็นเสกขะ.

บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ในตระกูลทั้งหลายที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ได้แก่ ตระกูลทั้งหลาย เห็นปานนั้น ที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ.

ที่ชื่อว่า ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ คือเขาไม่ได้นิมนต์เพื่อฉันในวันนี้ หรือพรุ่งนี้ไว้ ภิกษุเดินผ่านอุปจารเรือนเข้าไป เขาจึงนิมนต์ นี้ชื่อว่าไม่ได้ รับนิมนต์ไว้.

ที่ชื่อว่า ได้รับนิมนต์ คือ เขานิมนต์เพื่อฉันในวันนี้หรือพรุ่งนี้ไว้ ภิกษุมิได้เดินผ่านอุปจารเข้าไป เขานิมนต์ นี้ชื่อว่า ได้รับนิมนต์.

ที่ชื่อว่า มิใช่ผู้อาพาธ คือ สามารถไปบิณฑบาตได้.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 869

ที่ชื่อว่า ผู้อาพาธ คือ ไม่สามารถไปบิณฑบาตได้.

ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ เว้นโภชนะห้า ของเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว.

ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะห้า คือ ข้าวสุก ๑ ขนมสด ๑ ขนมแห้ง ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑.

ภิกษุไม่ได้รับนิมนต์ไว้ มิใช่ผู้อาพาธ รับของเคี้ยวของฉันไว้ด้วย หมายใจว่าจักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฎิเทสนียะ ทุกๆ คำกลืน.

บทภาชนีย์

ติกปาฏิเทสนียะ

[๗๙๒] ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นตระกูลที่ สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ไม่ใช่ผู้อาพาธ รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ต้องอาบัติปาฎิเทสนียะ.

ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ภิกษุสงสัยอยู่ ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ มิใช่ผู้อาพาธ รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.

ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ตระกูลที่สงฆ์ สมมติว่าเป็นเสกขะ ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ มิใช่ผู้อาพาธ รับของเคี้ยวก็ดี ของ ฉันก็ดี ด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 870

ทุกกฏ

ภิกษุรับของเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อทำเป็นอาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ คำกลืน.

มิใช่ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นตระกูลที่สงฆ์ สมมติว่าเป็นเสกขะ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

มิใช่ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ภิกษุสงสัยอยู่ ... ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

มิใช่ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ตระกูลที่สงฆ์ สมมติว่าเป็นเสกขะ ... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๗๙๓] ภิกษุได้รับนิมนต์ไว้ ๑ ภิกษุอาพาธ ๑ ภิกษุฉันของเป็นเดน ของภิกษุผู้ได้รับนิมนต์ไว้หรือของภิกษุผู้อาพาธ ๑. ภิกษุฉันภิกษาที่เขาจัดไว้ ในที่นั้นเพื่อภิกษุอื่นๆ ๑ ภิกษุฉันภัตตาหารที่เขานำออกจากเรือนไปถวาย ๑ ภิกษุฉันนิตยภัต ๑ ภิกษุฉันสลากภัต ๑ ภิกษุฉันปักขิกภัต ๑ ภิกษุฉันอุโปสถิกภัต ๑ ภิกษุฉันปาฏิปทิกภัต ๑ ภิกษุฉันยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ที่เขาถวายบอกว่า เมื่อปัจจัยมีก็นิมนต์ฉัน ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๓ จบ

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 871

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๓

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า อุภโต ปสนฺนํ มีความว่า เขาเลื่อมใสทั้ง ๒ คน คือ ทั้งอุบาสกทั้งอุบาสิกา. ได้ยินว่า ในสกุลนั้น ชนแม้ทั้ง ๒ นั้นได้เป็นพระโสดาบันเหมือนกัน.

สองบทว่า โภเคน หายติ มีความว่า ก็ตระกูลเช่นนี้ ถ้าแม้นมี ทรัพย์ถึง ๘๐ โกฏิ ก็ย่อมร่อยหรือจากโภคทรัพย์. เพราะเหตุไร? เพราะทั้ง อุบาสกทั้งอุบาสิกาในตระกูลนั้นไม่สงวนโภคทรัพย์.

คำว่า ฆรโต นีหริตฺวา เทนฺติ มีความว่า อุบาสกอุบาสิกานั้น นำไปยังโรงฉัน หรือวิหารแล้วถวาย. ถ้าแม้นเมื่อภิกษุยังไม่มา พวกเขานำออก มาก่อนทีเดียว วางไว้ที่ประตูแล้วถวายแก่ภิกษุผู้มาถึงภายหลัง ควรอยู่. ท่าน กล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า ก็ภัตที่ตระกูลนั้นเห็นภิกษุแล้วนำออกมาถวายจาก ภายในเรือน ควรอยู่. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ นีเวทนา ๓ ดังนี้ แล.

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๓ จบ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 872

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๔

เรื่องคนรับใช้ของเจ้าศากยะ

[๗๙๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ครั้งนั้น พวกบ่าวของเจ้าศากยะ ทั้งหลายก่อการร้าย นางสากิยานีทั้งหลายปรารถนาจะทำภัตตาหารถวายภิกษุ ทั้งหลายผู้อยู่ในเสนาสนะป่า พวกบ่าวๆ ของเจ้าศากยะได้ทราบข่าวว่า นาง สากิยานีทั้งหลายปรารถนาจะทำภัตตาหารถวายภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในเสนาสนะป่า จึงไปซุ่มอยู่ที่หนทาง เหล่านี้นางสากิยานีพากันนำของเคี้ยวของฉันอย่างประณีต ไปสู่เสนาสนะป่า พวกบ่าวๆ ได้ออกมาแย่งชิงพวกนางสากิยานีและประทุษร้าย พวกเจ้าศากยะออกไปจับผู้ร้ายพวกนั้นได้พร้อมด้วยของกลาง แล้วพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เมื่อพวกผู้ร้ายอาศัยอยู่ในอารามมี ไฉน พระคุณเจ้าทั้งหลายจึงไม่แจ้งความเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกเจ้าศากยะพา กันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ ... เพื่อความ ตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 873

พระบัญญัติ

๑๔๕. ๔. ก. อนึ่ง ภิกษุใด อยู่ในเสนาสนะป่า ที่รู้กันว่า เป็นทีมีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันเขา ไม่ได้บอกให้รู้ไว้ก่อน ด้วยมือของตน ในวัดที่อยู่ เคี้ยวก็ดี ฉัน ก็ดี ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็น ที่สบาย ควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืนธรรมนั้น.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องคนรับใช้ของเจ้าศากยะ จบ

เรื่องพระอาพาธ

[๗๙๕] โดยสมัยต่อจากนั้นแล มีภิกษุรูปหนึ่งอาพาธอยู่ในเสนาสนะ ป่า ชาวบ้านได้พากันนำขอเคี้ยวของฉันไปสู่เสนาสนะป่า ครั้นแล้วได้กล่าว อาราธนาภิกษุนั้นว่า นิมนต์ฉันเถิด ขอรับ.

ภิกษุนั้นไม่รับ รังเกียจอยู่ว่าการรับของเคี้ยวหรือของฉันในเสนาสนะ ป่า ด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวฉัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว ดังนี้ แล้วไม่สามารถไปเที่ยวบิณฑบาต ได้อดอาหารแล้ว เธอได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระพุทธานุญาตพิเศษ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธรับของเคี้ยวหรือของฉัน ในเสนาสนะป่า ด้วยมือของตนแล้วเคี้ยวฉันได้.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 874

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ

๑๔๕. ๔. ข. อนึ่ง ภิกษุใด อยู่ในเสนาสนะป่า ที่รู้กันว่า เป็นที่มีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อัน เขาไม่ได้บอกให้รู้ไว้ก่อน ด้วยมือของตน ในวัดที่อยู่ ไม่ใช่ผู้ อาพาธ เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ ฉัน ต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นที่สบาย ควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืน ธรรมนั้น.

เรื่องพระอาพาธ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๙๖] คำว่า เสนาสนะป่า ความว่า เสนาสนะที่ชื่อว่าป่า มี กำหนดเขต ๕๐๐ ชั่วธนูเป็นอย่างต่ำ.

ที่ชื่อว่า เป็นที่มีรังเกียจ คือ ในอาราม ในอุปจารแห่งอาราม มี สถานที่พวกโจรซ่องสุม บริโภค ยืน นั่ง นอน ปรากฎอยู่

ที่ชื่อว่า มีภัยเฉพาะหน้า คือ ในอาราม ในอุปจารแห่งอาราม มีร่องรอยที่ชาวบ้านถูกพวกโจรฆ่า ปล้น ทุบตี ปรากฏอยู่

บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ในเสนาสนะเห็นปานนั้น คือ ในเสนาสนะมีร่องรอยเช่น นั้นปรากฏ.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 875

ที่ชื่อว่า อันเขาไม่ได้บอกให้รู้ คือ เขาส่งสหธรรมิก ๕ ไปบอก นี้ชื่อว่า ไม่เป็นอันเขาได้บอกให้รู้.

เขาบอกนอกอาราม นอกอุปจารแห่งอาราม นี่ก็ชื่อว่าไม่เป็นอันเขา ได้บอกให้รู้.

ที่ชื่อว่า บอกให้รู้ คือ ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม มาสู่อาราม หรืออุปจารแห่งอารามแล้วบอกว่า ท่านเจ้าข้า สตรีหรือบุรุษชื่อ โน้นจักนำของเคี้ยวหรือของฉันมาถวายภิกษุมีชื่อนี้.

ถ้าที่นั้นเป็นสถานมีรังเกียจ ภิกษุพึงบอกเขาว่า เป็นสถานมีรังเกียจ ถ้าที่นั้นเป็นสถานมีภัยเฉพาะหน้า พึงบอกเขาว่า เป็นสถานมีภัยเฉพาะหน้า ถ้าเขากล่าวว่า ไม่เป็นไร เจ้าข้า เขาจักนำมาเอง ภิกษุพึงบอกพวกโจรว่า ชาวบ้านจักเข้ามาในที่นี้ พวกท่านจงหลีกไปเสีย.

เมื่อเขาบอกให้รู้เฉพาะยาคู แล้วเขานำบริวารแห่งยาคูมาด้วย นี้ชื่อว่า อันเขาบอกให้รู้.

เมื่อเขาบอกให้รู้เฉพาะภัต แล้วเขานำบริวารแห่งภัตมาด้วย นี้ก็ชื่อว่า อันเขาบอกให้รู้.

เมื่อเขาบอกให้รู้เฉพาะของเคี้ยว แล้วเขานำบริวารแห่งของเคี้ยวมา ด้วย นี้ก็ชื่อว่า อันเขาบอกให้รู้.

เมื่อเขาบอกให้รู้เฉพาะตระกูล คนในตระกูลนั้นนำของเคี้ยวหรือของ ฉันมาถวาย นี้ก็ชื่อว่า อันเขาบอกให้รู้.

เมื่อเขาบอกให้รู้เฉพาะหมู่บ้าน คนในหมู่บ้านนั้นนำของเคี้ยวหรือของ ฉันมาถวาย นี้ก็ชื่อว่า อันเขาบอกให้รู้.

เมื่อเขาบอกให้รู้เฉพาะตำบลบ้าน คนในตำบลบ้านนั้นนำของเคี้ยว หรือของฉันมาถวาย นี้ก็ชื่อว่า อันเขาบอกให้รู้.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 876

ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ เว้นโภชนะห้า ของเป็นยามกาลิก สตตาหกาลิก ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว.

ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะห้า คือ ข้าวสุก ๑ ขนมสด ๑ ขนมแห้ง ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑.

ที่ชื่อว่า วัดที่อยู่ สำหรับอารามที่มีเครื่องล้อม ได้แก่ภายในอาราม อารามที่ไม่มีเครื่องล้อม ได้แก่อุปจาร.

ที่ชื่อว่า ไม่ใช่ผู้อาพาธ คือ ผู้สามารถไปเที่ยวบิณฑบาตได้.

ที่ชื่อว่า ผู้อาพาธ คือ ผู้ไม่สามารถไปเที่ยวบิณฑบาตได้.

ภิกษุไม่ใช่ผู้อาพาธ รับประเคนของที่เขาไม่ได้บอกให้รู้ด้วยหมายว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุกๆ คำกลืน.

บทภาชนีย์

ติกปาฏิเทสนียะ

[๗๙๗] เขาไม่ได้บอกให้รู้ ภิกษุสำคัญว่าเขาไม่ได้บอกให้รู้ รับของ เคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือของตน ในวัดที่อยู่ ไม่ใช่ผู้อาพาธ เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.

เขาไม่ได้บอกให้รู้ ภิกษุมีความสงสัย รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือของตน ในวัดที่อยู่ ไม่ใช่ผู้อาพาธ เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ต้องอาบัติ ปาฏิเทสนียะ.

เขาไม่ได้บอกให้รู้ ภิกษุสำคัญว่าเขาบอกให้รู้ แล้วรับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือของตน ในวัดที่อยู่ ไม่ใช่ผู้อาพาธ เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 877

ทุกกฏ

ภิกษุรับประเคนของเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อทำ เป็นอาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ คำกลืน.

เขาบอกให้รู้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าเขาไม่ได้บอกให้รู้ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

เขาบอกให้รู้แล้ว ภิกษุมีความสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

เขาบอกไห้รู้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าเขาบอกให้รู้แล้ว ... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๗๙๘] เขาบอกให้รู้ ๑ ภิกษุอาพาธ ๑ ภิกษุฉันของเป็นเดนของ ภิกษุผู้ได้รับนิมนต์ไว้ หรือของภิกษุผู้อาพาธ ๑ ภิกษุรับนอกวัดแล้วมาฉัน ในวัด ๑ ภิกษุฉันรากไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ หรือผลไม้ ซึ่งเกิดขึ้น ในวัดนั้น ๑ ภิกษุฉันของเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ในเมื่อมี เหตุจำเป็น ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๔ จบ

บทสรุป

[๗๙๙] ท่านทั้งหลาย ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้า ยกขึ้นแสดงแล้วแล ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในธรรม คือ ปาฎิเทสนียะ ๔ สิกขาบทนั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่ ๒ ว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่ ๓ ว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วในธรรมคือ ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทนี้ เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

ปาฏิเทสนียกัณฑ์ จบ

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 878

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๔

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้:-

[อธิบายของควรเคี้ยวที่เขาไม่ได้บอกไว้ก่อน]

สองบทว่า อวรุทฺธา โหนฺติ คือ พวกบ่าวของเจ้าศากยะทั้งหลาย เป็นผู้ก่อการร้าย.

สองบทว่า ปญฺจนฺนํ ปฏิสํวิทิตํ มีความว่า แม้ขาทนียะ โภชนียะที่ เขาส่งสหธรรมิก ๕ คนใดคนหนึ่งให้ไปบอกให้รู้ว่า พวกเราจักนำขาทนียะ หรือโภชนียะมาถวาย ดังนี้ ก็ไม่ชื่อว่าเป็นอันเขาบอกให้รู้เลย.

ข้อว่า อารามํ อารามูปจารํ เปตฺวา มีความว่า ถึงขาทนียะ โภชนียะที่เขาพบภิกษุผู้ออกไปจากอุปจาร ในระหว่างทางบอกให้รู้ก็ดี บอก แก่ภิกษุผู้มายังบ้านให้รู้ก็ดี ยกเว้นอาราม คือ เสนาสนะป่า และอุปจารแห่ง อาราม คือ เสนาสนะป่านั้นเสีย ก็พึงทราบว่า ไม่เป็นอันเขาบอกให้รู้เหมือนกัน.

คำว่า สเจ สาสงฺกํ โหติ สาสงฺกนฺติ อาจิกฺขิตพฺพ ความว่า ภิกษุพึงบอก (พวกชาวบ้าน) เพราะเหตุอะไร? (พึงบอก) เพื่อเปลื้องคำว่า พวกโจรอยู่ในวัด ภิกษุทั้งหลายไม่บอกให้พวกเราทราบ.

ข้อว่า โจรา วตฺตพฺพา มนุสฺสา อิธูปจารนฺติ มีความว่า ภิกษุ ทั้งหลายพึงบอกพวกโจร เพราะเหตุไร? พึงบอกเพื่อเปลื้องคำว่า ภิกษุ ทั้งหลายใช้พวกอุปัฏฐากของตนจับพวกเรา.

ข้อว่า ยาคุยา ปฏิสํวิทิเต ตสฺสา ปริวาโร อาหรียติ ความว่า พวกชาวบ้านบอกให้รู้เฉพาะยาคูแล้ว นำสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วย กล่าว อย่างนี้ว่า จะมีประโยชน์อะไรด้วยยาคูล้วนๆ ที่พวกเราถวาย พวกเราจักทำ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 879

แม้ขนมและข้าวสวยเป็นต้น ให้เป็นบริวารของยาคูแล้วถวาย, ของทุกอย่าง เป็นอันเขาบอกให้รู้แล้วทั้งนั้น.

แม้ในคำว่า ภตฺเตน ปฏิสํวิทิเต เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. พวก ตระกูลแม้อื่นได้ยินว่า ตระกูลชื่อโน้น ทำการบอกให้รู้แล้ว กำลังถือเอา ขาทนียะเป็นต้นมา จึงนำเอาไทยธรรมของตนสมทบมากับตระกูลนั้น สมควร อยู่. ในกุรุนที่กล่าวว่า ตระกูลทั้งหลายบอกให้รู้เฉพาะยาคูแล้ว นำขนมหรือ ข้าวสวยมาถวาย, แม้ขนมและข้าวสวยนั่น ก็ควร.

บทว่า คิลานสฺส ได้แก่ แม้ในขาทนียโภชนียะที่เขาไม่ได้บอก ให้รู้ก่อน ก็ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุอาพาธ.

ข้อว่า ปฏิสํวิทิเต วา คิลานสฺส วา เสสกํ มีความว่า ขาทนียะ โภชนียะที่เขาบอกให้รู้แล้วนำมาถวาย เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุรูปหนึ่ง, แม้ภิกษุ อื่นจะฉันของเป็นเดนแห่งภิกษุนั้น ควรอยู่. ขาทนียะ โภชนียะเป็นของที่เขา บอกให้รู้แล้ว นำมาถวายเป็นอันมาก แก่ภิกษุ ๔ รูป หรือ ๕ รูป, พวกเธอ ปรารถนาจะถวายแม้แก่ภิกษุพวกอื่น. ขาทนียโภชนียะแม้นั่น ก็เป็นเดนของ ภิกษุผู้ได้รับนิมนต์ไว้เหมือนกัน จึงสมควรแม้แก่ภิกษุทุกรูป. ถ้าของนั่นมี เหลือเฟือทีเดียว, เก็บไว้ให้พ้นสันนิธิแล้ว ย่อมควรแม้ในวันรุ่งขึ้น. แม้ใน ของเป็นเดนที่เขานำมาถวายแก่ภิกษุอาพาธ ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ส่วนขาทนียโภชนียะที่เขาไม่ได้บอกให้รู้เลยนำมาถวาย ภิกษุพึงส่ง ไปยังภายนอกวัด แล้วให้ทำเป็นของบอกให้รู้ก่อนแล้วจึงให้นำกลับมา. หรือ พวกภิกษุพึงไปรับเอาในระหว่างทางก็ได้. แม้ของใดพวกชาวบ้านเดินผ่าน ท่ามกลางวัดนำมาถวาย หรือพวกพรานป่าเป็นต้น นำมาถวายจากป่า, ของ นั้นภิกษุพึงให้เขาทำให้เป็นของอันเขาบอกให้รู้โดยนัยก่อนนั่นแล.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 880

สองบทว่า ตตฺถ ชาตกํ มีความว่า ภิกษุฉันของที่เกิดขึ้นในวัด นั่นเอง มีมูลขาทนียะเป็นต้น ที่ผู้อื่นทำให้เป็นกัปปิยะแล้วถวาย ไม่เป็นอาบัติ. ก็ถ้าว่าพวกชาวบ้านนำเอาของนั้นไปยังบ้าน ต้มแกงแล้วนำมาถวาย ไม่ควร. ภิกษุพึงให้เขาทำให้เป็นของบอกให้รู้ก่อน. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

ปฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๔ จบ ตามวรรณนานุกรม

ปาฏิเทสนียวรรณ ในอรรถกถาพระวินัย

ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ