เสขิยกัณฑ์
[เล่มที่ 4] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒
พระวินัยปิฎก เล่ม ๒
มหาวิภังค์ ทุติยภาค
เสขิยกัณฑ์
วรรคที่ ๑ ปริมัณฑลวรรค 800/881
วรรคที่ ๒ อุชชัคฆิกวรรค 810/889
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 4]
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 881
เสขิยกัณฑ์
ท่านทั้งหลาย ก็ธรรมคือ เสขิยะเหล่านี้แล มาสู่อุเทศ
วรรคที่ ๑ ปริมัณฑลวรรค
สารูป ๒๖ สิกขาบท
สิกขาบทที่ ๑
[๘๐๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นุ่งผ้า เลื้อยหน้าบ้าง เลื้อยหลังบ้าง ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้นุ่งผ้าเลื้อยหน้าบ้าง เลื้อยหลังบ้าง เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาว บ้านเหล่านั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพพัคคีย์จึงได้นุ่งผ้าเลื้อย หน้าบ้าง เลื้อยหลังบ้างเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ทรงสอบ ถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอ นุ่งผ้าเลื้อยหน้าบ้าง เลื้อยหลังบ้าง จริงหรือ
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 882
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้นุ่งผ้าเลื้อยหน้าบ้าง เลื้อยหลังบ้างเล่า การกระทำของพวก เธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า ดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๔๖. ๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจะนุ่งเป็นปริมณฑล.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุนุ่งปิดมณฑลสะดือ มณฑลเข่า ชื่อว่านุ่งเป็นปริมณฑล
ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นุ่งผ้าเลื้อยหน้าหรือเลื้อยหลัง ต้อง อาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ ไม่มีสติ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
[๘๐๑] สาวัตถีนิทาน. (๑) ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ห่มผ้าเลื้อยหน้าบ้าง เลื้อยหลังบ้าง ... (๒)
(๑) บาลีว่า สาวัตถีนิทาน เห็นอยู่ในที่ใด ในที่นั้นมีบาลีแปลว่า โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาค พุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ดังนี้
(๒) หมายว่ามีเนื้อความดังสิกขาบทที่ ๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 883
พระบัญญัติ
๑๔๗. ๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักห่มเป็นปริมณฑล.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุห่มทำมุมทั้งสองให้เสมอกัน ชื่อว่าห่มเป็นปริมณฑล ภิกษุ ใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ห่มผ้าเลื้อยหน้าเลื้อยหลัง ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑วิกลจริต ๑ อาทิ กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๓
[๘๐๒] สาวัตถีนิทาน. โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนคร สารวัตถี ครั้งนั้น พระฉันพัคคีย์เดินเปิดกายไปในละแวกบ้าน ...
พระบัญญัติ
๑๔๘. ๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปกปิดกายดี ไป ในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุพึงปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อเดินเปิดกายไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 884
อนปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๔
[๘๐๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งเปิดกายในละแวก บ้าน ...
พระบัญญัติ
๑๔๙. ๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปกปิดกายดี นั่ง ในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุพึงปิดกายด้วยดี นั่งในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่ เอื้อเฟื้อนั่งปิดกายในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ อยู่ในที่พัก ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๕
[๘๐๔] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินคะนองมือบ้าง คะนองเท้าบ้าง ไปในละแวกบ้าน ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 885
๑๕๐. ๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักสำรวมดี ไปใน ละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุพึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเพื่อคะนองมือก็ดี คะนองเท้าก็ดี ไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๖
[๘๐๕] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์คะนองมือบ้าง คะนอง เท้าบ้าง นั่งในละแวกบ้าน ...
พระบัญญัติ
๑๕๑. ๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักสำรวมดี นั่งใน ละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุพึงสำรวมดี นั่งในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ คะนองมือก็ดี คะนองเท้าก็ดี นั่งในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 886
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๗
[๘๐๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินไปในละแวกบ้าน พลางแลดูในที่นั้นๆ ...
พระบัญญัติ
๑๕๒. ๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลง ไป ในละแวกบ้าน.
อันภิกษุพึงมีนัยน์ตาทอดลง เดินไปในละแวกบ้าน พึงแลประมาณ ชั่วแอกหนึ่ง ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ไปในละแวกบ้าน พลางแลดูใน ที่นั้นๆ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๘
[๘๐๗] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งในละแวกบ้าน พลางแลดูในที่นั้นๆ ...
พระบัญญัติ
๑๕๓. ๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลง นั่ง ในละแวกบ้าน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 887
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุพึงมีนัยน์ตาทอดลง นั่งในละแวกบ้าน พึงแลประมาณชั่วแอก หนึ่ง ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งในละแวกบ้าน พลางแลดูในที่นั้นๆ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๙
[๘๐๘] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินเวิกผ้าไปในละ แวกบ้าน ...
พระบัญญัติ
๑๕๔. ๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไปในละแวก บ้าน ด้วยทั้งเวิกผ้า ...
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงเดินเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่ เอื้อเฟื้อเวิกผ้าขึ้นข้างเดียวก็ดี ทั้งสองข้างก็ดี เดินไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 888
ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
[๘๐๙] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เวิกผ้า นั่งในละแวก บ้าน ...
พระบัญญัติ
๑๕๕. ๑๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งในละแวก บ้าน ด้วยทั้งเวิกผ้า.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงเวิกผ้านั่งในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เวิกผ้าขึ้นข้างเดียวก็ดี ทั้งสองข้างก็ดี นั่งในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ อยู่ในที่พัก ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
วรรคที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 889
วรรคที่ ๒ อุชชัคฆิกวรรค
[๘๑๐] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินหัวเราะลั่นไปใน ละแวกบ้าน ...
พระบัญญัติ
๑๕๖. ๑๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไปในละแวก บ้าน ด้วยทั้งความหัวเราะลั่น.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงเดินหัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่ เอื้อเฟื้อ เดินหัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ๑ ๑ ทำอาการเพียงยิ้มแย้ม ในเมื่อมีเรื่องที่น่าขัน ๑ มีอันตราย๒ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๒
[๘๑๑] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งหัวเราะลั่นอยู่ ใน ละแวกบ้าน ...
(๑) (๒) บาลี ๒ บทนี้ ควรพิจารณา เพราะคนไข้ไม่ต้องการหัวเราะ และในคราวมีอันตราย ก็ไม่จำเป็นหัวเราะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 890
พระบัญญัติ
๑๕๗. ๑๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งในละแวก บ้าน ด้วยทั้งความหัวเราะลั่น.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงนั่งหัวเราะลั่นในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่ เอื้อเฟื้อ นั่งในละแวกบ้านหัวเราะลั่น ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตตวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ * ๑ ทำอาการเพียงยิ้มแย้มใน เมื่อมีเรื่องที่น่าขัน ๑ มีอันตราย๒ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๓
[๘๑๒] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินส่งเสียงตะเบ็ง เสียงตะโกน ไปในละแวกบ้าน ...
พระบัญญัติ
๑๕๘. ๑๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีเสียงน้อยไป ในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุพึงมีเสียงเบาเดินไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่ เอื้อเฟื้อ เดินส่งเสียงตะเบ็งเสียงตะโกนไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.
(๑) (๒) แม้บาลี ๒ บทนี้ ก็ควรพิจารณาโดยนัยดังกล่าวแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 891
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๔
[๘๑๓] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งส่งเสียงตะเบ็งเสียง ตะโกนลั่น อยู่ในละแวกบ้าน ...
พระบัญญัติ
๑๕๙. ๑๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีเสียงน้อย นั่ง ในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุพึงมีเสียงเบา นั่งในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ส่งเสียงตะเบ็งเสียงตะโกน นั่งในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๕
[๘๑๔] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินโคลงกายไปใน ละแวกบ้าน วางท่าภาคภูมิ ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 892
พระบัญญัติ
๑๖๐. ๑๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เดินโยกกาย ไปในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงเดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน พึงประคองกายเดินไป ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน วางท่าภาคภูมิ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๖
[๘๑๕] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งโคลงกายอยู่ใน ละแวกบ้าน วางท่าภาคภูมิ ...
พระบัญญัติ
๑๖๑. ๑๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งโยกกาย ในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงนั่งโคลงกายในละแวกบ้าน พึงนั่งประคองกาย ภิกษุใด อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงกายในละแวกบ้าน วางท่าภาคภูมิ ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 893
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ อยู่ในที่พัก ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๗
[๘๑๖] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินไกวแขนไปใน ละแวกบ้าน แสดงท่ากรีดกราย ...
พระบัญญัติ
๑๖๒. ๑๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขนไป ในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงเดินแกว่งแขนไปในละแวกบ้าน พึงประคองแขนเดินไป ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินแกว่งแขนไปในละแวกบ้าน แสดงท่า กรีดกราย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 894
อุชชัคมิกวรรค สิกขาบทที่ ๘
[๘๑๗] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งไกวแขน แสดง ท่ากรีดกราย ในละแวกบ้าน ...
พระบัญญัติ
๑๖๓. ๑๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขนนั่ง ละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงนั่งไกวแขนในละแวกบ้าน พึงนั่งประคองแขน ภิกษุใด อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งแกว่งไกวแขนในละแวกบ้าน แสดงท่ากรีดกราย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ อยู่ในที่พัก ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๙
[๘๑๘] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินโคลงศีรษะไปใน ละแวกบ้าน ทำท่าคอพับ ...
พระบัญญัติ
๑๖๔. ๑๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงศีรษะไป ในละแวกบ้าน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 895
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงเดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน พึงเดินประคองศีรษะ ไป ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ทำท่าคอ พับ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
[๘๑๙] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งโคลงศรีษะใน ละแวกบ้าน ทำท่าคอพับ ...
พระบัญญัติ
๑๖๕. ๒๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงศีรษะนั่ง ในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงนั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้าน พึงนั่งประคองศีรษะ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงศีรษะในแวกบ้าน ทำศรีษะให้ห้อย ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 896
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ อยู่ในที่พัก ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
วรรคที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 897
วรรคที่ ๓ ขัมภกตวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๘๒๐] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินค้ำกายไปใน ละแวกบ้าน ...
พระบัญญัติ
๑๖๖. ๒๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำความค้ำกาย ไปในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงเดินค้ำกายไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่ เอื้อเฟื้อเดินค้ำกายข้างเดียวก็ตาม ทั้งสองข้างก็ตาม ไปในละแวกบ้าน ต้อง อาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ขัมภกตวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
ขัมภกตวรรค สิกขาบทที่ ๒
[๘๒๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งค้ำกายในละแวก บ้าน ...
พระบัญญัติ
๑๖๗. ๒๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำความค้ำกาย นั่งในละแวกบ้าน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 898
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงนั่งค้ำกายในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งค้ำกายข้างเดียวก็ตาม ทั้งสองข้างก็ตาม ในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ อยู่ในที่พัก ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ขัมภกตวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
ขัมภกตวรรค สิกขาบทที่ ๓
[๘๒๒] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินคลุมศีรษะไปใน ละแวกบ้าน ...
พระบัญญัติ
๑๖๘. ๒๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่คลุมศีรษะไป ในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงคลุมศีรษะเดนไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่ เอื้อเฟื้อ เดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ขัมภกตวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 899
ขัมภกตวรรค สิกขาบทที่ ๔
[๘๒๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์คลุมศีรษะนั่งใน ละแวกบ้าน ...
พระบัญญัติ
๑๖๙. ๒๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่คลุมศีรษะนั่ง ในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงคลุมศีรษะนั่งในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่ เอื้อเฟื้อ คลุมศีรษะนั่งในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ อยู่ในที่พัก ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ขัมภกตวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
ขัมภกตวรรค สิกขาบทที่ ๕
[๘๒๔] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์กระโหย่งเท้าเดินไป ในละแวกบ้าน ...
พระบัญญัติ
๑๗๐. ๒๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไปในละแวก บ้านด้วยทั้งความกระโหย่ง.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงมีการกระโหย่งเท้าเดินไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 900
ความไม่เอื้อเฟื้อ เดินกระหย่งเท้าไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ อยู่ในที่พัก ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๖
[๘๒๕] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์รัดเข่านั่งในละแวก บ้าน ...
พระบัญญัติ
๑๗๑. ๒๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งในละแวก บ้านด้วยทั้งความรัด.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงมีการรัดเข่านั่งในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่ เอื้อเฟื้อ นั่งรัดเข่าด้วยมือก็ดี รัดเข่าด้วยผ้าก็ดี ในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ อยู่ในที่พัก ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
สารูป ๒๖ สิกขาบท จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 901
โภชนปฏิสังยุตต์ ๓๐ สิกขาบท
ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๗
[๘๒๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาต โดย ไม่เอาใจใส่ ทำอาการดุจทิ้งเสียง.
พระบัญญัติ
๑๗๒. ๒๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาต โดยเอื้อเฟื้อ.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุพึงรับบิณฑบาตโดยเคารพ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ บิณฑบาตโดยไม่เคารพ ทำอาการดุจทิ้งเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๘
[๘๒๗] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาต พลาง แลไปในที่นั้นๆ เมื่อเขากำลังเกลี่ยบิณฑบาตลงก็ดี เมื่อเกลี่ยเสร็จแล้วก็ดี หารู้สึกตัวไม่ ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 902
พระบัญญัติ
๑๗๓. ๒๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักจ้องในบาตร รับบิณฑบาต.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุพึงแลดูบาตรรับบิณฑบาต ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตพลางเหลียวแลไปในที่นั้นๆ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๙
[๘๒๘] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาต รับ แต่สูปะเป็นส่วนมาก ...
พระบัญญัติ
๑๗๔. ๒๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตมี สูปะเสมอกัน.
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า สูปะ มีสองชนิด คือ สูปะทำด้วยถั่วเขียว ๑ สูปะทำด้วย ถั่วเหลือง ๑ ที่จับได้ด้วยมือ.
อันภิกษุพึงรับบิณฑบาตมีสูปะพอสมกัน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ รับแต่สูปะอย่างเดียวเป็นส่วนมาก ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 903
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ รับกับข้าวต่างอย่าง ๑ รับของญาติ ๑ รับของผู้ปวารณา ๑ รับเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น ๑ จ่ายมา ด้วยทรัพย์ของตน ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.
ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
[๘๒๙] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาตถึงล้น บาตร ...
พระบัญญัติ
๑๗๕. ๓๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตจด เสมอขอบบาตร.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุพึงรับบิณฑบาตเสมอขอบปากบาตร ภิกษุใดอาศัยความไม่ เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตจนล้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
วรรคที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 904
วรรคที่ ๔ สักกัจจวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๘๓๐] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาตโดยไม่ เอาใจใส่ ทำอาการดุจไม่อยากฉัน ...
พระบัญญัติ
๑๗๖. ๓๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาต โดยเอื้อเฟื้อ.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุพึงฉันบิณฑบาตโดยไม่รังเกียจ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตโดยรังเกียจ ทำอาการดุจไม่อยากฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกันมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๒
[๘๓๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาตพลาง เหลียวแลไปในที่นั้นๆ เมื่อเขาเกลี่ยบิณฑบาตลงก็ดี เมื่อเกลี่ยเสร็จแล้วก็ดี หา รู้สึกตัวไม่ ...
พระบัญญัติ
๑๗๗. ๓๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักจ้องดูอยู่ในบาตร ฉันบิณฑบาต.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 905
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารพึงแลดูในบาตร ฉันบิณฑบาต ภิกษุใดอาศัยความ ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตพลางแลดู ไปในที่นั้นๆ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๓
[๘๓๒] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาตเจาะลง ในที่นั้น ...
พระบัญญัติ
๑๗๘. ๓๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตไม่ แหว่ง.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุพึงฉันบิณฑบาตเกลี่ยให้เสมอ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตเจาะลงในที่นั้นๆ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ด้วย ๑ อาพาธ ๑ ตักให้ภิกษุอื่น เว้า แหว่ง ๑ ตักเกลี่ยลงในภาชนะอื่นแหว่ง ๑ ตักสูปะแหว่งเว้า ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 906
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๔
[๘๓๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาต ฉัน แต่กับอย่างเดียวมาก ...
พระบัญญัติ
๑๗๙. ๓๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตมี สูปะเสมอกัน.
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า สูปะ มีสองชนิด คือ สูปะทำด้วยถั่วเขียว ๑ สูปะทำด้วย ถั่วเหลือง ๑ ที่จับได้ด้วยมือ.
อันภิกษุพึงฉันบิณฑบาตมีสูปะพอดีกัน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันแต่สูปะอย่างเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ฉันกับข้าวอย่างอื่นๆ ๑ ฉันของญาติ ๑ ฉันของคนปวารณา ๑ ฉันเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น ๑ จ่าย มาด้วยทรัพย์ของตน ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๕
[๘๓๔] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาตขยุ้มลง แต่ยอด ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 907
พระบัญญัติ
๑๘๐. ๓๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ขยุ้มลงแต่ยอด ฉันบิณฑบาต.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงขยุ้งลงแต่ยอดฉันบิณฑบาต ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อ เฟื้อขยุ้มลงแต่ยอดฉันบิณฑบาต ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ กวาดตะล่อมข้าวที่เหลือ เล็กน้อยรวมเป็นคำแล้วเปิบฉัน ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๖
[๘๓๕] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์อาศัยความอยากได้ มากกลบแกงบ้าง กับข้าวบ้าง ด้วยข้าวสุก ...
พระบัญญัติ
๑๘๑. ๓๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่กลบแกงก็ดี กับข่าวก็ดี ด้วยข้าวสุก อาศัยความอยากได้มาก.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงกลบแกง หรือกับข้าว ด้วยข้าวสุกเพราะ อยากจะได้มาก ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ กลบแกงหรือกับข้าวด้วยข้าวสุก เพราะอยากจะได้มาก ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 908
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ เจ้าของกลบถวาย ๑ ไม่ได้มุ่งอยาก ได้มาก ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ขอข้าวแกงฉัน
[๘๓๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ขอกับข้าวบ้าง ข้าว สุกบ้าง เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน ชาวบ้านพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนา ว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้ขอกับข้าวบ้าง ข้าวสุกบ้าง เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉันเล่า กับข้าวหรือข้าวสุกที่ดี ใครจะไม่พอใจ ของ ที่มีรสอร่อยใครจะไม่ชอบใจ ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเพ่งโทษติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ขอกับข้าวบ้าง ข้าวสุกบ้าง เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน เล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอขอกับข้าวบ้าง ข้าวสุกบ้าง เพื่อประ โยชน์แก่ตนมาฉัน จริง หรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 909
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้ขอกับข้าวบ้าง ข้าวสุกบ้าง เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉันเล่า การ กระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า ดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๘๒. ๓๗. ก. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ขอสูปะก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตน ฉัน.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ขอข้าวแกงฉัน จบ
เรื่องพระอาพาธ
[๘๓๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายอาพาธ พวกภิกษุผู้พยาบาล ได้ถามภิกษุทั้งหลายผู้พาธว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านยังพอทนได้หรือ ยัง พอให้อัตภาพเป็นได้หรือ
ภิกษุอาพาธทั้งหลายตอบว่า อาวุโสทั้งหลายเมื่อก่อนพวกผมขอสูปะ บ้าง ข้าวสุกบ้าง เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉันได้ พวกผมมีความผาสุกเพราะเหตุ นั้น แต่บัดนี้พวกผมรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว จึงไม่ขอ เพราะเหตุนั้น พวกผมจึงไม่มีความผาสุก
ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 910
ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาพาธขอได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในพระเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธ ขอสูปะก็ดี ข้าวสุก ก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉันได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า ดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๘๒. ๓๗. ข. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จัก ไม่ขอสูปะก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตน ฉัน.
เรื่องพระอาพาธ จบ
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่อาพาธ ไม่พึงขอสูปะ หรือข้าวสุก เพื่อประโยชน์แก่ตน มาฉัน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ มิใช่ผู้อาพาธ ขอสูปะก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์ แก่ตนมาฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ขอต่อญาติ ๑ ขอต่อคน ปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 911
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๘
[๘๓๘] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์มีความมุ่งหมายจะ เพ่งโทษ แลดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น ...
พระบัญญัติ
๑๓๘. ๓๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เพ่งโพนทะนา แลดูบาตรของผู้อื่น.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงมุ่งหมายจะเพ่งโทษ แลดูบาตรของภิกษุอื่น ภิกษุใด อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ มีความมุ่งหมายจะเพ่งโทษ แลดูบาตรของภิกษุพวก อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ แลดูด้วยคิดว่าจักเติมของฉันให้ หรือ จักสั่งให้เขาเติมถวาย ๑ มิได้มีความมุ่งหมายจะเพ่งโทษ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๙
[๘๓๙] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ทำคำข้าวใหญ่.
พระบัญญัติ
๑๘๔. ๓๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำคำข้าวให้ ใหญ่นัก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 912
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป ภิกษุใดอาศัยความ ไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวให้ใหญ่ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ฉันของเคี้ยว ๑ ฉันผลไม้ น้อยใหญ่ ๑ ฉันกับแกง ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
[๘๔๐] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันข้าวทำคำข้าวยาว ...
พระบัญญัติ
๑๘๕. ๔๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักทำคำข้าวให้กลม กล่อม
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารพึงทำคำข้าวให้กลมกล่อม ภิกษุใดอาศัยความไม่ เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวยาว ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ฉันของเคี้ยว ๑ ฉันผลไม้ น้อยใหญ่ ๑ ฉันกับแกง ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
วรรคที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 913
วรรคที่ ๕ กพฬวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๘๔๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เมื่อคำข้าวยังไม่นำมา ถึง ย่อมอ้าช่องปากไว้ท่า ...
พระบัญญัติ
๑๘๖. ๔๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อคำข้าวยังไม่นำมาถึง เราจักไม่อ้าช่องปาก.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหาร เมื่อคำข้าวยังไม่ถึงปาก ไม่พึงอ้าช่องปากไว้ท่า ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เมื่อคำข้าวยังนำมาไม่ถึงปาก อ้าช่องปากไว้ท่า ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๒
[๘๔๒] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์กำลังฉันอยู่ สอดนิ้ว มือทั้งหมดเข้าไปในปาก ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 914
พระบัญญัติ
๑๘๗. ๔๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราฉันอยู่ จักไม่สอดมือ ทั้งนั้นเข้าไปในปาก.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุกำลังฉันอาหารอยู่ ไม่พึงสอดนิ้วมือทั้งหมดเข้าไปในปาก ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ กำลังฉันอยู่ สอดนิ้วมือทั้งหมดเข้าในปาก ต้อง อาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๓
[๘๔๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เจรจาทั่งๆ ที่ในปาก ยังมีคำข้าว ...
พระบัญญัติ
๑๘๘. ๔๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า ปากยังมึคำข่าว เราจัก ไม่พูด.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงพูดด้วยทั้งปากยัง มีคำข้าว ภิกษุใดอาศัย ความไม่เอื้อเฟื้อ พูดด้วยทั้งปากยังมีคำข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 915
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๔
[๘๔๔] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารโยนคำข้าว ...
พระบัญญัติ
๑๘๙. ๔๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเดาะคำข้าว.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันเดาะคำข้าว ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเพื่อฉันเดาะคำข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ฉันอาหารที่แข้น ๑ ฉันผลไม้น้อยใหญ่ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๕
[๘๔๕] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารกัดคำข้าว ...
พระบัญญัติ
๑๙๐. ๔๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 916
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันกัดคำข้าว ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารกัดคำข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ฉันขนมที่แข้นแข็ง ๑ ฉันผลไม้น้อยใหญ่ ๑ ฉันกับแกง ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๖
[๘๔๖] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารทำกระพุ้ง แก้มให้ตุ่ย ...
พระบัญญัติ
๑๙๑. ๔๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำกระพุ้ง แก้มให้ตุ่ย.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย ภิกษุใดอาศัยความ ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ยข้างเดียวก็ดี ทั้งสองข้างก็ดี ต้อง อาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ฉันผลไม้น้อยใหญ่ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 917
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๗
[๘๔๗] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารสลัดมือ ...
พระบัญญัติ
๑๙๒. ๔๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันสลัดมือ.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันสลัดมือ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารสลัดมือ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ สลัดมือทิ้งเศษอาหาร มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๘
[๘๔๘] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหาร โปรย เมล็ดข้าว ...
พระบัญญัติ
๑๙๓. ๔๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเมล็ด ข้าวตก.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันทำเมล็ดข้าวตก ภิกษุใดอาศัยความไม่ เอื้อเฟื้อ ฉันทำเมล็ดข้าวให้ร่วง ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 918
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ทิ้งผงข้าวเมล็ดข้าวติด ไปด้วย ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๙
[๘๔๙] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉัน อาหารแลบลิ้น ...
พระบัญญัติ
๑๙๔. ๔๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันแลบลิ้น.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงแลบลิ้น ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉัน อาหารแลบลิ้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
[๘๕๐] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารดังจับๆ ...
พระบัญญัติ
๑๙๕. ๕๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงจับๆ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 919
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุฉันอาหารไม่พึงฉันทำเสียงดังจับๆ ภิกษุใดอาศัยความไม่ เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารดังจับๆ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
วรรคที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 920
วรรคที่ ๖ สุรุสุรุวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๘๕๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งปรุงปานะน้ำนมถวาย พระสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายซดน้ำนมดังซูดๆ ภิกษุรูปหนึ่งเคยเป็นนักฟ้อนรำ กล่าวขึ้นอย่างนี้ว่า ชะรอยพระสงฆ์ทั้งปวงนี้อันความเย็นรบกวนแล้ว บรรดา ภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุจึงได้ พูดปรารภพระสงฆ์เล่นเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้พระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า เธอได้พูดปรารภพระสงฆ์เล่น จริงหรือ.
ภิกษุรูปนั้น ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง ได้พูดปรารภสงฆ์เล่นเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัน ภิกษุทั้งหลายไม่พึงพูดปรารภพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เล่น รูปใด ฝ่าฝืน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ครั้นทรงติเตียนภิกษุนั่นโดยอเนกปริยายแล้ว ตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 921
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๙๖. ๕๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงดัง ซูดๆ.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันดังซูดๆ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารทำเสียงดังซูดๆ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๒
[๘๕๒] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารเลียมือ ...
พระบัญญัติ
๑๙๗. ๕๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันเลียมือ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารเลียมือ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 922
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๓
[๘๕๓] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารขอดบาตร ...
พระบัญญัติ
๑๙๘. ๕๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันขอดบาตร.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันขอดบาตร ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารขอดบาตร ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ข้าวสุกเหลือน้อยกวาด ขอดรวมกันเข้าแล้วฉัน ๑ มีอันตราย ๒ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๔
[๘๕๔] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารเลียริมฝีปาก ...
พระบัญญัติ
๑๙๙. ๕๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 923
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันเลียริมฝีปาก ภิกษุใดอาศัยความไม่ เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารเลียริมฝีปาก ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๕
[๘๕๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ที่สวนสัตว์ เภสกฬาวัน เขตพระนครสุงสุมารคิระ แขวงภัคคชนบท ครั้งนั้น ภิกษุ ทั้งหลายรับประเคนโอน้ำด้วยมือข้างที่เปื้อนอามิส ในโกกนุทปราสาท ชาวบ้าน พากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึง ได้รับประเคนโอน้ำด้วยมือข้างที่เปื้อนอามิส เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม เล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลาย จึงได้รับประเคนโอน้ำด้วยมือข้างที่เปื้อนอามิสเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุรับประเคนโอน้ำด้วยมือที่เป็นอามิส จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 924
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก โมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้รับประเคนโอน้ำด้วยมือข้างที่เปื้อนอามิสเล่า การ กระทำของพวกโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๐๐. ๕๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่รับโอน้ำด้วยมือ เปื้อนอามิส.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงรับประเคนโอน้ำ ด้วยมือข้างที่เปื้อนอามิส ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ รับประเคนโอน้ำด้วยมือข้างที่เปื้อนอามิส ต้อง อาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ รับประเคนด้วยหมายว่า จักล้างเอง หรือให้ผู้อื่นล้าง ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 925
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๖
[๘๕๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ที่สวนสัตว์ เภสกฬาวัน เขตพระนครสุงสุมารคิระ แขวงภัคคชนบท ครั้งนั้น ภิกษุ ทั้งหลายเทน้ำล้างบาตรซึ่งมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้าน ใกล้โกกนุทปราสาท ชาวบ้านพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้เทน้ำล้างบาตรซึ่งมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้าน เหมือนพวกคฤหัสถ์ ผู้บริโภคกามเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงได้เทน้ำล้างบาตร ซึ่งมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้านเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุเทน้ำล้างบาตรซึ่งยังมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้าน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก โมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้เทน้ำล้างบาตรซึ่งยังมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้านเล่า การกระทำของพวกโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 926
พระบัญญัติ
๒๐๑. ๕๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เทน้ำล้างบาตร มีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่เทน้ำล้างบาตร ซึ่งยังมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้าน ภิกษุใด อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เทน้ำล้างบาตรซึ่งยังมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้าน ต้อง อาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ เก็บเมล็ดข้าวออกแล้ว จึงเทน้ำล้างบาตร หรือขยี้เมล็ดข้าวให้ละลายแล้วเท หรือเทน้ำล้างบาตรลงใน กระโถนแล้วนำไปเทข้างนอก ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
โภชนปฏิสังยุตต์ ๓๐ สิกขาบท จบ
ธรรมเทศนาปฏิสังยุตต์ ๑๖ สิกขาบท
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๗
[๘๕๗] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคล ผู้กั้นร่ม บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้แสดงธรรมแก่บุคคลผู้กั้นร่มเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่อง นี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 927
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอแสดงธรรมแก่บุคคลผู้กั้นร่ม จริงหรือ. พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้แสดงธรรมแก่บุคคลผู้กั้นร่มเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๐๒. ๕๗. ก. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดง ธรรมแก่บุคคลมีร่มในมือ.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
[๘๕๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายรังเกียจเพื่อจะแสดงธรรม แก่คนเป็นไข้มีร่มในมือ ชาวบ้านพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงไม่แสดงธรรมแก่คนเป็นไข้ซึ่งมีร่มในมือเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านพวกนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 928
ทรงอนุญาตให้แสดงธรรมแก่คนไข้
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งแก่ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้แสดงธรรมแก่คนเป็นไข้มีร่มในมือได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๒๐๒. ๕๗. ข. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดง ธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีร่มในมือ.
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ร่ม ได้แก่ร่ม ๓ ชนิด คือ ร่มผ้าขาว ๑ ร่มลำแพน ๑ ร่มใบไม้ ๑ ที่เย็บเป็นวงกลมผูกติดกับซี่.
ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่ ถ้อยคำที่อิงอรรถอิงธรรม เป็นพุทธภาษิต สาวกภาษิต อิสีภาษิต เทวตาภาษิต.
บทว่า แสดง คือแสดงโดยบท ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ อักขระ.
อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่บุคคลไม่เป็นไข้ผู้กั้นร่ม ภิกษุใดอาศัย ความเอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้กั้นร่ม ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 929
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๘
[๘๕๙] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคล ผู้ถือไม้พลอง ...
พระอนุบัญญัติ
๒๐๓. ๕๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่ บุคคลไม้ใช่ผู้เจ็บไข้มีไม้พลองในมือ.
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ไม้พลอง ได้แก่ ไม้พลองยาวสี่ศอกของมัชฌิมบุรุษ ยาว กว่านั้น ไม่ใช่ไม้พลอง สั้นกว่านั้น ก็ไม่ใช่ไม้พลอง.
อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ถือไม้พลอง ภิกษุใดอาศัย ความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้ถือไม้พลอง ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ด้วย ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๙
[๘๖๐] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคล ผู้ถือศัสตรา ...
พระอนุบัญญัติ
๒๐๔. ๕๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรม แก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีศสัตราในมือ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 930
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ศัสตรา ได้แก่ วัตถุเครื่องประหารมีคมข้างเดียว มีคม สองข้าง
อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรม แก่บุคคลผู้ไม่เป็นไข้ผู้ถือศัสตรา ภิกษุใด อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้ไม่เป็นไข้ ผู้ถือศัสตรา ต้อง อาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
[๘๖๑] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคล ผู้ถืออาวุธ ...
พระอนุบัญญัติ
๒๐๕. ๖๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรม แก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีอาวุธในมือ.
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า อาวุธ ได้แก่ ปืน เกาทัณฑ์.
อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้ถืออาวุธ ภิกษุใดอาศัย ความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ มีมือถืออาวุธ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 931
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
วรรคที่ ๖ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 932
วรรคที่ ๗ ปาทุกาวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๘๖๒] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้นพระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคล ผู้สวมเขียงเท้า..
พระอนุบัญญัติ
๒๐๖. ๖๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่ บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ สวมเขียงเท้า.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้สวมเขียงเท้า ภิกษุใด อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้เหยียบเขียงเท้าก็ดี ผู้ สวมเขียงเท้าก็ดี ผู้สวมเขียงเท้าหุ้มส้นก็ดี ต้องอาบัติทุกกฎ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๒
[๘๖๓] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคล ผู้สวมรองเท้า ...
พระอนุบัญญัติ
๒๐๗. ๖๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรม แก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ สวมรองเท้า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 933
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้สวมรองเท้า ภิกษุใด อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้เหยียบรองเท้าก็ดี ผู้สวม รองเท้าก็ดี ผู้สวมรองเท้าหุ้มส้นก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๓
[๘๖๔] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคล ผู้นั่งในยาน ...
พระอนุบัญญัติ
๒๐๘. ๖๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจัก ไม่แสดงธรรม แก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ไปในยาน.
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่ คานหาม รถ เกวียน เตียงหาม วอ เปลหาม.
อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งไปในยาน ภิกษุใด อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่งไปในยาน ต้อง อาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 934
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๔
[๘๖๕] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคล ผู้อยู่บนที่นอน ...
พระอนุบัญญัติ
๒๐๙. ๖๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจัก ไม่แสดงธรรม แก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ ผู้อยู่บนที่นอน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้อยู่บนที่นอน ภิกษุใด อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นอนอยู่ โดยที่สุดแม้บน พื้นดิน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๕
[๘๖๖] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคล ผู้นั่งรัดเข่า ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 935
พระอนุบัญญัติ
๒๑๐. ๖๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรม แก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้นั่งรัดเข่า.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งรัดเข่า ภิกษุใดอาศัย ความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งรัดเข่าด้วยมือก็ดี ผู้นังรัดเข่า ด้วยผ้าก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๖
[๘๖๗] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคล ผู้โพกผ้าพันศีรษะ ...
พระอนุบัญญัติ
๒๑๑. ๖๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรม แก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้พันศีรษะ.
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า พันศีรษะ คือ พันไม่ให้เห็นปลายผม.
อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้โพกผ้าพันศีรษะ ภิกษุใด อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้โพกผ้าพันศีรษะ ต้อง อาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 936
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ให้เขาเปิดปลายผมจุกแล้ว แสดง ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๗
[๘๖๘] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคล ผู้ห่มผ้าคลุมศีรษะ ...
พระอนุบัญญัติ
๒๑๒. ๖๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรม แก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้คลุมศีรษะ.
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า คลุมศีรษะ คือ ที่เขาเรียกกันว่าคลุมตลอดศีรษะ.
อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้คลุมศีรษะ ภิกษุใดอาศัย ความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้คลุมศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ให้เขาเปิดผ้าคลุมศีรษะ แล้วแสดง ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๘
[๘๖๙] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งอยู่ที่พื้นดินแสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งอยู่บนอาสนะ ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 937
พระอนุบัญญัติ
๒๑๓. ๖๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรานั่งอยู่ที่พื้นดิน จัก ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งบนอาสนะ.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุนั่งอยู่บนพื้น ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่บน อาสนะ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งอยู่ที่พื้นดิน แสดงธรรมแก่คนไม่. เป็นไข้ผู้นั่งอยู่บนอาสนะ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๙
[๘๗๐] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นังอยู่บนอาสนะต่ำ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งอยู่บนอาสนะสูง บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่าง ก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์นั่งอยู่บนอาสนะต่ำ จึงได้ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งอยู่บนอาสนะสูงเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระมีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอนั่งบนอาสนะต่ำ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งอยู่บนอาสนะสูง จริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 938
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอนั่งอยู่บนอาสนะต่ำจึงได้แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งอยู่บนอาสนะสูงเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ครั้นแล้วทรง ทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายดังต่อไปนี้:-
เรื่องภรรยาของบุรุษจัณฑาล
[๘๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ภรรยาของบุรุษ จัณฑาลคนหนึ่งในพระนครพาราณสีได้ทั้งครรภ์ นางได้บอกแก่สามีว่า นาย ดิฉัน กำลังตั้งครรภ์ ดิฉันอยากรับประทานมะม่วง.
สามีตอบว่า มะม่วงไม่มี เพราะไม่ใช่หน้ามะม่วง.
นางกล่าวว่า ถ้าไม่ได้รับประทาน ดิฉันจักตาย.
สมัยนั้น ต้นมะม่วงของหลวงมีผลไม่วาย มีอยู่ต้นหนึ่ง บุรุษจัณฑาล นั้นเดินเข้าไปที่ต้นมะม่วงนั้น ครั้นแล้วได้ขึ้นไปแฝงอยู่บนต้นมะม่วงนั้น พอดี พระเจ้าแผ่นดินได้เสด็จไปถึงต้นมะม่วงนั้น ครั้นแล้วประทับนั่งบนพระราช - อาสน์สูงทรงเรียนมนต์กับพราหมณ์ปุโรหิต บุรุษจัณฑาลคิดว่า พระเจ้าแผ่นดิน พระองค์นี้ประทับนั่งบนพระราชอาสน์สูงเรียนมนต์ ชื่อว่าไม่เคารพธรรม และ พราหมณ์คนนี้นั่งบนอาสนะต่ำ สอนมนต์แก่พระเจ้าแผ่นดินผู้ประทับนั่งบน พระราชอาสน์สูงก็ชื่อว่าไม่เคารพธรรม ส่วนเราผู้ลักมะม่วงของหลวง เพราะ เหตุแห่งสตรีก็ชื่อว่าไม่เคารพธรรมเหมือนกัน แท้จริง การกระทำทั้งนี้ล้วน ต่ำทรามทั้งนั้น ดังนี้แล้วไต่ลงมา ณ ระหว่างพระเจ้าแผ่นดินและพราหมณ์ ทั้งสองนั้นแล แล้วกล่าวคาถาขึ้นว่าดังนี้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 939
ทั้งสองไม่รู้อรรถ ทั้งสองไม่เห็น ธรรม คือพราหมณ์ผู้สอนมนต์โดยไม่เคารพ ธรรม และพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงเรียนมนต์ โดยไม่เคารพธรรม.
พราหมณ์นั้นกล่าวคาถาว่าดังนี้:-
เพราะข้าวสุกแห่งข้าวสาลีอันขาว ผสมกับแกงเนื้อ ข้าพเจ้าบริโภคแล้ว ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงมิได้ประพฤติอยู่ในธรรม ที่เหล่า พระอริยะสรรเสริญแล้ว.
บุรุษจัณฑาลนั้นได้กล่าวสองคาถาว่าดังนี้:-
ท่านพราหมณ์ เราติเตียนการได้ ทรัพย์และการได้ยศ เพราะนั่นเป็นการเลี้ยง ชีพโดยความเป็นเหตุให้ตกต่ำและเป็นการ เลี้ยงชีพโดยทางที่ไม่ชอบธรรม จะประโยชน์ อันใดด้วยการเลี้ยงชีพเช่นนั้น ท่านจงรีบ ออกไปเสียเถิด ท่านมหาพราหมณ์ แม้สัตว์ ที่มีชีวิตเหล่าอื่นก็ยังหุงหากินได้ ความ อาธรรมที่ท่านได้ประพฤติมาแล้ว อย่าได้ ทำลายท่านดุจก้อนหินทำลายหม้อน้ำฉะนั้น.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
[๘๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลครั้งนั้น พราหมณ์นั่งบน อาสนะต่ำสอนมนต์แก่พระเจ้าแผ่นดินผู้ประทับนั่งบนพระราชอาสน์สูง ยังไม่ เป็นที่พอใจของเรา ไฉนในกาลบัดนี้ จักพอใจที่ภิกษุนั่งบนอาสนะต่ำแล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 940
แสดงธรรมแก่คนนั่งบนอาสนะสูงเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๒๑๔. ๖๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรานั่งบนอาสนะต่ำ จัก ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งบนอาสนะสูง
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้นั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่ บนอาสนะสูง ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งบนอาสนะต่ำแสดงธรรมแก่คน ไม่เป็นไข้ ผู้นั่งบนอาสนะสูง ต้องอาบัติทุกกฎ
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
[๘๗๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ยืนแสดงธรรมแก่ บุคคลผู้นั่งอยู่ ...
พระอนุบัญญัติ
๒๑๕. ๗๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรายืนอยู่จักไม่แสดง ธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ผู้นั่งอยู่.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 941
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ยืนอยู่ ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่ ภิกษุใด อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ยืนแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่ ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๑
[๘๗๔] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินไปข้างหลัง แสดง ธรรมแก่บุคคลผู้เดินไปข้างหน้า ...
พระอนุบัญญัติ
๒๑๖. ๗๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราเดินไปข้างหลัง จัก ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้เดินไปข้างหน้า.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้เดินไปข้างหลัง ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้เดินไป ข้างหน้า ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อเดินไปข้างหลัง แสดงธรรมแก่คนไม่ เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 942
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ จบ
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๒
[๘๗๕] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินไปนอกทาง แสดงธรรมแก่บุคคลผู้เดินไปในทาง ...
พระอนุบัญญัติ
๒๑๗. ๗๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราเดินไปนอกทาง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้ไปอยู่ในทาง.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้เดินไปนอกทาง ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้เดินไป ในทาง ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อเดินไปนอกทาง แสดงธรรมแก่คนไม่ เป็นไข้ผู้เดินไปในทาง ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๒ จบ
ธรรมเทศนาปฏิสังยุตต์ ๑๖ สิกขาบท จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 943
ปกิณกะ ๓ สิกขาบท
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๓
[๘๗๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ยืนถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง ...
พระอนุบัญญัติ
๒๑๘. ๗๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ ยินถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ยืนอยู่ มิใช่ผู้อาพาธ ไม่พึงถ่ายอุจจาระ หรือถ่ายปัสสาวะ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อมิใช่ผู้อาพาธ ยืนถ่ายอุจจาระก็ดี ยืนถ่ายปัสสาวะ ก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๓ จบ
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๔
[๘๗๗] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่าย ปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงบนของสดเขียว ...
พระอนุบัญญัติ
๒๑๙. ๗๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ บนของสดเขียว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 944
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุมิใช่ผู้อาพาธ ไม่พึงถ่ายอุจจาระ หรือถ่ายปัสสาวะ หรือบ้วน เขฬะลงบนของสดเขียว ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ มิใช่ผู้อาพาธ ถ่าย อุจจาระก็ดี ถ่ายปัสสาวะก็ดี บ้วนเขฬะก็ดี ลงบนของสดเขียว ต้องอาบัติ ทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ของที่ถ่ายลงในที่ปราศจาก ของสดเขียว แล้วไหลไปรดของสดเขียว ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๔ จบ
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๕
[๘๗๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ ฉัพพัคคีย์ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ ชาว บ้านพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ เหมือนพวก คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านพวกนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียนโพทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนา ว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 945
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ จริงหรือ
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ เล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใสหรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๒๐. ๗๕. ก. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ในน้ำ.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประกาฉะนี้.
[๘๗๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุอาพาธทั้งหลาย รังเกียจอยู่ที่จะถ่าย อุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า เราอนุญาตให้ภิกษุ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 946
ผู้อาพาธ ถ่ายอุจจาระก็ดี ถ่ายปัสสาวะก็ดี บ้วนเขฬะก็ดี ลงในน้ำได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า ดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๒๒๐. ๗๕. ข. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ในน้ำ.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุมิใช่ผู้อาพาธ ไม่พึงถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ลงในน้ำ ภิกษุใดอาศัยความไม่เฟื้อ มิใช่ผู้อาพาธ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือ บ้วนเขฬะ ลงในน้ำ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ของที่ถ่ายไว้บนบกแล้วไหล ลงสู่น้ำ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๕ จบ
วรรคที่ ๗ จบ
ปกิณกะ ๓ สิกขาบท จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 947
บทสรุป
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือเสขิยะ ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล ข้าพเจ้า ขอถามท่านทั้งหลาย ในธรรมคือเสขิยะเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์ แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สองว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าชื่อถามแม้ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ท่านทั้ง หลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ในธรรมคือเสขิยะเหล่านี้ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง ความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้แล.
เสขิยกัณฑ์ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 948
ธรรมคืออธิกรณสมถะ
[๘๘๐] ท่านทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์ ๗ ประการ เหล่านี้แล มาสู่อุเทศ
คือ พึงให้ระเบียบอันพึงทำในที่พร้อมหน้า ๑ พึงให้ระเบียบที่ยกสติ ขึ้นเป็นหลัก ๑ พึงให้ระเบียบที่ให้แก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว ๑ ทำตามสารภาพ ๑ วินิจฉัยอาศัยความเห็นข้างมาก ๑ กิริยาที่ลงโทษแก่ผู้ผิด ๑ ระเบียบดังกลบไว้ ด้วยหญ้า ๑ เพื่อสงบระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นๆ แล้ว.
บทสรุป
ท่านทั้งหลาย ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ ประการ ข้าพเจ้ายกขึ้น แสดงแล้วแล ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลาย ในธรรมคืออธิกรณสมถะเหล่านั้น ว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สองว่า ท่าน ทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลาย เป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วในธรรมคืออธิกรณสมถะ เหล่านี้ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้แล.
ธรรมคืออธิกรณสมถะ จบ
คำนิคม
[๘๘๑] ท่านทั้งหลาย นิทานข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรมคือปาราชิก ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรมคือสังฆาทิเลส ๑๓ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรมคืออนิยต ๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 949
ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรมคือปาฎิเทสนียะ ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรมคือเสขิยะทั้งหลาย ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ ประการ ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล.
สิกขาบทของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีเท่านี้ มาในพระปาติ- โมกข์นับเนื่องในพระปาติโมกข์ มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน
พวกเราทั้งหมดนี้แล พึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกันไม่วิวาทกัน ศึกษาในพระปาติโมกข์นั้น เทอญ
มหาวิภังค์ จบ
พระวินัยปิฏกเล่ม ๒ จบ
เสขิยกัณฑวรรณนา
สิกขาบทเหล่าใด ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้คงที่มิสิกขาที่ทรงศึกษามา ตรัส เรียกว่า เสขิยะ บัดนี้จะมีลำดับการพรรณนา เสขิยะแม้เหล่านั้นดังต่อไปนี้.
วินิจฉัย ในเสขิยะเหล่านั้น พึงทราบดังต่อไปนี้:-
วรรคที่ ๑
บทว่า ปริมณฺฑลํ แปลว่า เป็นมณฑลโดยรอบ.
สองบทว่า นาภิมณฺฑลํ ชานุมณฺฑลํ มีความว่า ภิกษุนุ่งปิด เหนือมณฑลสะดือ ใต้มณฑลเข่า ให้ผ้านุ่งห้อยลงภายใต้มณฑลเข่าตั้งแต่กระ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 950
ดูกแข้งไปประมาณ ๘ นิ้ว. ท่านปรับเอาเป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้นุ่งให้ห้อยล้ำลง มากกว่านั้น. ในมหาปัจจรีท่านกล่าวว่า สำหรับภิกษุผู้นั่งจะปกปิดภายใต้ มณฑลเข่าประมาณ ๔ องคุลี. แต่ผ้านุ่งของภิกษุผู้นุ่งอย่างนี้ได้ประมาณจึงควร.
ผ้านุ่งนั้นมีประมาณดังต่อไปนี้:- ด้านยาว ๕ ศอกกำ ด้านกว้าง ๒ ศอกคืบ. แต่เพราะไม่ได้ผ้านุ่งมีประมาณเช่นนั้น แม้ผ้านุ่งขนาดกว้าง ๒ ศอก ก็ควร เพื่อจะปิดมณฑลเข่าได้, แต่อาจเพื่อจะปิดมณฑลสะดือได้แม้ด้วยจีวร แล. บรรดาจีวรชั้นเดียว และ ๒ ชั้นนั้น จีวรชั้นเดียวแม้ที่ภิกษุนุ่งแล้วอย่าง นี้ ย่อมไม่ตั้งอยู่ในที่ได้, แต่จีวร ๒ ชั้น จึงจะตั้งอยู่ได้.
ในคำว่า โอลมฺพนฺโต นิวาเสติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นี้ มี วินิจฉัยดังนี้:- จะเป็นทุกกฏ แก่ภิกษุผู้นุ่งเลื้อยข้างหลังอย่างเดียวเท่านั้นก็หา ไม่ แต่ยังเป็นทุกกฏเหมือนกัน แม้แก่ภิกษุผู้นุ่งทำนองการนุ่งที่โทษแม้อย่าง อื่น ที่ตรัสไว้ในขันธกะโดยนัยเป็นต้นว่า ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ นุ่งผ้าอย่างคฤหัสถ์นุ่งผ้ามีชายดุจงวงช้าง นุ่งผ้าดุจหางปลา นุ่งผ้าไว้ ๔ มุมแฉก นุ่งผ้าดุจขั้วตาล นุ่งผ้ามีกลีบทั้งร้อย * ดังนี้, โทษการนุ่งทั้งหมดนั้น ย่อมไม่ มีแก่ภิกษุผู้นุ่งเป็นปริมณฑล โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. นี้ความสังเขปใน สิกขาบทนี้. ส่วนความพิสดาร จักมีแจ้งในขันธกะนั้นนั่นแล.
บทว่า อสญฺจิจฺจ มีความว่า ภิกษุผู้ไม่แกล้งนุ่งอย่างนี้ว่า เราจัก นุ่งให้เลื้อยข้างหน้า หรือข้างหลัง ที่แท้ตั้งใจว่า จักนุ่งให้เป็นปริมณฑลนั่น แหละ แต่นุ่งผิดไปไม่ได้ปริมณฑล ไม่เป็นอาบัติ.
บทว่า อสติยา ได้แก่ แม้ภิกษุผู้ส่งใจไปทางอื่น นุ่งอยู่อย่างนั้น ก็ไม่เป็นอาบัติ.
(๑) วิ จุลฺล. ๗/ ๖๖.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 951
ในคำว่า อชานนฺตสฺส นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุผู้ไม่รู้ธรรมเนียม การนุ่งก็ไม่พ้นอาบัติ. อันที่จริงภิกษุพึงเรียนเอาธรรมเนียมการนุ่งให้ดี. การ ไม่เรียนเอาธรรมเนียมการนุ่งนั้นนั่นเอง จัดเป็นความไม่เอื้อเฟื้อนั้น ควรแก่ ภิกษุผู้แกล้งไม่เรียนเท่านั้น. เพราะฉะนั้น ภิกษุใดแม้เรียนเอาธรรมเนียม แล้ว ยังไม่รู้จักว่า ผ้านุ่งเลื้อยขึ้น หรือเลื้อยลง, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น. แต่ในกุรุนที ท่านกล่าวว่า ภิกษุผู้ไม่รู้เพื่อจะนุ่งให้เป็นปริมณฑล ก็ไม่เป็น อาบัติ ส่วนภิกษุผู้แข้งลีบก็ดี มีปั้นเนื้อปลี แข็งใหญ่ก็ดี จะนุ่งให้เลื้อยลงจาก มณฑลเข่าเกินกว่า ๘ องคุลี เพื่อต้องการให้เหมาะสม ก็ควร.
บทว่า คิลานสฺส มีความว่า ภิกษุมีแผลเป็นที่แข้งหรือที่เท้าจะนุ่ง ให้เลื้อยขึ้น หรือให้เลื้อยลง ควรอยู่.
บทว่า อาปทาสุ มีความว่า เนื้อร้ายก็ดี พวกโจรก็ดี ไล่ติดตาม มา, ในอันตรายเห็นปานนี้ ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้ง นั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจปฐมปาราชิก เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต ทุกขเวทนา ดังนี้แล.
พระปุสสเทวเถระ กล่าวว่า เป็นสจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะมีเวทนา ๓ ฝ่ายพระอุปติสสเถระกล่าวว่า เป็นโลกวัชชะ อกุศลจิต ทุกขเวทนา เพราะ ท่านอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อกล่าวไว้.
สองบทว่า ปริมณฺฑลํ ปารุปิตพฺพํ มีความว่า ภิกษุไม่ห่มอย่าง คฤหัสถ์ มีประการมากอย่างนี้ว่า ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ห่ม อย่างคฤหัสถ์ เป็นต้น พึงทำมุมทั้ง ๒ ของจีวรให้เสมอกัน ห่มให้เป็นปริ- มณฑลถูกธรรมเนียมการห่มโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในสิกขาบทนี้นั้นแล. ก็
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 952
สิกขาบททั้ง ๒ นี้ตรัสไว้โดยไม่แปลกกัน. เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงนุ่งและพึงห่ม ให้เป็นปริมณฑลนั่นแหละ ทั้งในวัดทั้งในละแวกบ้าน ฉะนี้แล. สมุฏฐาน เป็นต้น พร้อมทั้งเถรวาท บัณฑิตพึงทราบ โดยนัยดังได้กล่าวแล้ว ใน สิกขาบทก่อนนั่นแล.
สองบทว่า กายํ วิวริตฺวา คือ เปิดเข่าบ้าง อกบ้าง.
บทว่า สุปฏิจฺฉนฺเนน มีความว่า ไม่ใช่ว่าห่มคลุมศีรษะ, ตาม ความจริง ภิกษุพึงห่มกลัดลูกดุมแล้ว เอาชายอนุวาตทั้ง ๒ ข้างปิดคอจัดมุม ทั้ง ๒ (แห่งจีวร) ให้เสมอกัน ม้วนเข้ามาปิดจนถึงข้อมือแล้ว จึงไปในละแวก บ้าน.
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบว่า:- ภิกษุพึงนั่งเปิดศีรษะตั้งแต่ หลุมคอ เปิดมือทั้ง ๒ ตั้งแต่ข้อมือ เปิดเท้าทั้ง ๒ ทั้งแต่เนื้อปลีแข้ง (ใน ละแวกบ้าน).
บทว่า วาสูปคตสฺส มีความว่า ภิกษุผู้เข้าไปเพื่อต้องการอยู่พักถึง จะนั่งเปิดกายในกลางวัน หรือกลางคืน ก็ไม่เป็นอาบัติ.
บทว่า สุสํวุโต ได้แก่ ไม่คะนองมือ หรือเท้า ความว่า เป็นผู้ เรียบร้อย (ฝึกหัดมาดี).
บทว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ คือ เป็นผู้มีจักขุทอดลงเบื้องต่ำ.
สองบทว่า ยุคมตฺตํ เปกฺขนฺเตน มีความว่า ม้าอาชาไนยตัวฝึก หัดแล้ว อัน เขาเทียมไว้ที่แอก ย่อมมองดูชั่วแอก คือ แลดูภาคพื้นไปข้าง หน้าประมาณ ๔ ศอก. ภิกษุแม้นี้ ก็พึงเดินแลดูชั่วระยะประมาณเท่านี้.
ข้อว่า โย อนาทริยํ ปฏิจฺจ ตหํ ตหํ โอโลเกนฺโต มีความ ว่า ภิกษุใดเดินแลดูทิศาภาค ปราสาท เรือนยอด ถนนนั้นๆ ไปพลาง,
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 953
ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ. แต่เพียงจะหยุดยืนในที่แห่งหนึ่ง ตรวจดูว่า ไม่มี อันตรายจากช้าง ม้าเป็นต้น ควรอยู่. แม้ภิกษุผู้จะนั่ง ก็ควรนั่งมีจักษุทอด ลงเหมือนกัน.
บทว่า อุกฺขิตฺตกาย คือ มีการเวิกขึ้น. คำนี้เป็นตติยาวิภัตติ ลง ในลักษณะแห่งอิตถัมภูต. อธิบายว่า เป็นผู้มีจีวรเวิกขึ้นข้างเดียว หรือทั้ง ๒ ข้าง. อันภิกษุอย่าพึงเดินไปอย่างนั้น ตั้งแต่ภายในเสาเขื่อน (ภายในธรณี ประตู). ในเวลานั่งแล้ว แม้เมื่อจะนำธมกรกออก อย่าเวิกจีวรขึ้นก่อนแล้ว จึงนำออก ฉะนี้แล.
วรรคที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 954
วรรคที่ ๒
บทว่า อุชฺชคฺฆิกาย คือ หัวเราะลั่นอยู่. ในบทว่า อุชฺชคฺฆิกาย นี้ เป็นตติยาวิภัตติ โดยนัยดังได้กล่าวแล้วเหมือนกัน.
ในคำว่า อปฺปสทฺโท อนฺตรฆเร นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- จัดว่า เป็นผู้มีเสียงน้อยโดยประมาณขนาดไหน? บรรดาพระเถระทั้งหลายผู้นั่งใน เรือนขนาด ๑๒ ศอกอย่างนี้ คือ พระสังฆเถระนั่งข้างต้น พระเถระรูปที่ ๒ นั่งท่ามกลาง พระเถระรูปที่ ๓ นั่งข้างท้าย, พระสังฆเถระปรึกษากับพระเถระ ที่ ๒. พระเถระรูปที่ ๒ ฟังเสียงและกำหนดถ้อยคำของพระสังฆเถระนั้นได้. ส่วนพระเถระรูปที่ ๓ ได้ยินเสียงกำหนดถ้อยคำไม่ได้. ด้วยขนาดเพียงเท่านี้จัด เป็นผู้มีเสียงน้อย. แต่ถ้าว่าพระเถระรูปที่ ๓ กำหนดถ้อยคำได้ ชื่อว่า เป็นผู้ มีเสียงดังแล.
สองบทว่า กายํ ปคฺคเหตฺวา มีความว่า ภิกษุพึงเดินและพึงนั่ง ไม่โยกโคลง คือ ด้วยกายตรง ด้วยอิริยาบถเรียบร้อย.
สองบทว่า พาหุํ ปคฺคเหตฺวา คือ ทำแขนให้นิ่งๆ.
สองบทว่า สีลํ ปคฺคเหตฺวา คือ ตั้งศีรษะไม่เอียงไปเอียงมา ได้แก่ ให้ตรง (ไม่นั่งคอพับ).
วรรคที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 955
วรรคที่ ๓
การยกมือวางบนสะเอวทำความค้ำ ชื่อว่า ทำความค้ำ.
บทว่า โอคุณฺิโต แปลว่า คลุมศีรษะ.
กิริยาที่ภิกษุยกส้นเท้าทั้ง ๒ จดพื้นดินด้วยเพียงปลายเท้าทั้ง ๒ หรือ เขย่งปลายเท้าทั้ง ๒ จดพื้นดินด้วยเพียงส้นเท้าทั้ง ๒ เดินไป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เดินเขย่งเท้าในคำว่า อุกฺกุฏิกาย นี้ ก็ตติยาวิภัตติ ในคำว่า อุกฺกุฏิกาย นี้ มีลักษณะดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. แม้การรัดเข่าด้วยสายโยก ก็ชื่อว่าการรัดเข่าด้วยผ้าเหมือนกัน ในคำว่า ทุสฺสปลฺลตฺถิกาย นี้.
บทว่า อากีรนฺเตปิ คือ แม้เมื่อเขากำลังถวายบิณฑบาต.
บทว่า สกฺกจฺจํ คือ ตั้งสติไว้.
บทว่า ปตฺตสญฺี คือ กระทำความสำคัญในบาตร. บิณฑบาตซึ่งมี กับข้าวประมาณเท่าส่วนที่ ๔ แห่งข้าวสวย ชื่อว่าบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน.
และในมหาปัจจรีท่านกล่าวไว้ว่า แม้แกงที่ปรุงด้วยถั่วพูเป็นต้น ก็ถึง การสงเคราะห์เข้าในคำว่า มุคฺคสูโป มาสสูโป นี้. กับข้าวมีรสชวนให้ยิน ดี (๑) แกงผักดอง รสปลาและรสเนื้อเป็นต้นที่เหลือ เว้นกับข้าว ๒ อย่างเสีย
(๑) สารัตถทีปนี ๓/๓๘๖ แก้ว่า โอโลณีติ เอกา พฺพญฺชนวิกติ โย โกจิ สุทฺโธ กญฺชิกตกฺ- กาทิรโสติ เกจิ. แปลว่า กับข้าวชนิดหนึ่งชื่อว่าโอโลณี. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ได้แก่ รส น้ำข้าวและเปรียงเป็นต้นล้วนๆ ชนิดใดชนิดหนึ่ง. วิมติ : แก้เหมือนกันว่า โอโลณีติ เอกา พฺพญฺชนวิกติ. กญฺชิกตกุกาทิรโสติ เกจิ.
อตฺถโยชนา ๒/๑๒๔ แก้ว่า อวลิยติ สาทิยตีติ โอโลณิ ลิ สาทเน ณปฺปจฺจโย. แปลว่า กับข้าวที่ชื่อว่า โอโลณะ ด้วยอรรถว่า น่าอร่อย น่ายินดี ลิธาตุ ลงในอรรถว่า น่า ยินดีลง ณ ปัจจัย. ผู้ชำระ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 956
พึงทราบว่ารสรส (กับข้าวต่างอย่าง) ในคำว่า รสรเส นี้. ไม่เป็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้รับกับข้าวต่างอย่างนั้นแม้มาก.
บทว่า สมติตฺติกํ แปลว่า เต็มเสมอ คือเพียบเสมอ.
ในคำว่า ถูปีกตํ ปิณฺฑปาตํ ปฏิคฺคณฺหาติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นี้ ความว่า บิณฑบาต ที่ภิกษุทำให้ล้นรอยขอบภายในปากบาตรขึ้นมา ชื่อ ว่า ทำให้พูนล้นบาตร คือ เพิ่มเติม แต่งเสริมให้เต็มแปล้ในบาตร. ภิกษุไม่ รับบิณฑบาตที่ทำอย่างนั้น พึงรับพอประมาณเสมอรอยภายในขอบปากบาตร.
ในคำว่า ถูปีกตํ นั้น พระอภัยเถระกล่าวว่า ที่ชื่อว่าทำให้ล้นบาตร ได้แก่ทำ (ให้ล้นบาตร) ด้วยโภชนะทั้ง ๕. แต่พระจูฬนาคเถระผู้ทรงไตร ปิฏกกล่าวสูตรนี้ว่า ยาคูก็ดี ภัตก็ดี ขาทนียะก็ดี ก้อนแป้งก็ดี ไม้ชำระฟัน ก็ดี ด้ายชายผ้าก็ดี ชื่อว่าบิณฑบาต แล้วกล่าวว่า แม้ด้ายชายผ้าทำให้พูนเป็น ยอดดุจสถูป ก็ไม่ควร.
พวกภิกษุฟังคำของพระเถระเหล่านั้นแล้ว ไปยังโรหณชนบทเรียน ถามพระจูฬสุนนเถระว่า ท่านขอรับ บิณฑบาตล้นบาตร กำหนด้วยอะไร? และได้เรียนบอกให้ทราบวาทะของพระเถระเหล่านั้น.
พระเถระได้ฟังแล้วกล่าวว่า จบละ! พระจูฬนาค ได้พลาดจาก ศาสนา, โอ! พระจูฬนาคนั้น ได้ให้ช่องทางแก่ภิกษุเป็นอันมาก, เราสอน วินัยให้แก่พระจูฬนาคนี้ถึง ๗ ครั้ง ก็ไม่ได้กล่าวอย่างนี้สักครั้ง, พระจูฬนาค นี้ได้มาจากไหน จึงกล่าวอย่างนี้.
พวกภิกษุขอร้องพระเถระว่า โปรดบอกในบัดนี้เถิด ขอรับ! (บิณฑบาตล้นบาตร) กำหนดด้วยอะไร? พระเถระกล่าวว่า กำหนดด้วยยาวกาลิก ผู้มีอายุ! เพราะฉะนั้น ยาคูก็ดี ภัตก็ดี ผลาผลก็ดี ที่เป็นอามิสอย่างใดอย่างหนึ่ง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 957
ภิกษุพึงรับเสมอ (ขอบบาตร) เท่านั้น. ก็แลยาคูและภัต หรือผลาผลนั้น พึงรับเสมอ (ขอบบาตร) ด้วยบาตรที่ควรอธิษฐาน, แต่ด้วยบาตรนอกนี้รับ ให้ล้นขึ้นมาแม้เป็นเหมือนยอดสถูปก็ควร. ส่วนยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ ยาวชีวิก รับให้ล้นเหมือนยอดสถูปแม้ด้วยบาตรควรอธิษฐานก็ได้. ภิกษุรับ ภัตตาหารด้วยบาตร ๒ ใบ บรรจุให้เต็มใบหนึ่งแล้วส่งไปยังวิหาร ควรอยู่. แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ของกินมีขนม ลำอ้อย ผลไม้น้อยใหญ่เป็นต้นที่เขา บรรจุลงในบาตรพร่องอยู่แต่ข้างล่าง ไม่ชื่อว่าทำให้ล้นบาตร.
พวกชาวบ้านถวายบิณฑบาต วางกระทงขนมไว้ (ข้างบน) จัดว่า รับล้นบาตรเหมือนกัน. แต่พวงดอกไม้ และพวงผลกระวานผลเผ็ดร้อน (พริก) เป็นต้น ที่เขาถวายวางไว้ (ข้างบน) ไม่จัดว่ารับล้นบาตร. ภิกษุรับเต็มแล้ววาง ถาด หรือใบไม้ข้างบนข้าวสวย ไม่ชื่อว่ารับล้นบาตร. แม้ในกุรุนทีก็กล่าวไว้ ว่า พวกทายกใส่ข้าวสวยลงบนถาดหรือบนใบไม้แล้ว วางถวายถาดหรือใบไม้ แล้ว วางถวายถาดหรือใบไม้นั้นบนที่สุดบาตร (บนฝาบาตร) , ภาชนะแยกกัน ควรอยู่. ภิกษุอาพาธไม่มีมาในอนาปัตติวารในสิกขาบทนี้. เพราะฉะนั้น โภชนะที่ทำให้เป็นยอดดุจสถูป (ที่รับล้นบาตร) ไม่ควรแม้แก่ภิกษุอาพาธ. จะรับประเคนพร่ำเพรื่อในภาชนะทั่วไป ก็ไม่ควร. แต่โภชนะที่รับประเคนไว้ แล้ว จะรับประเคนใหม่ให้เรียบร้อยก่อนแล้วจึงฉัน ควรอยู่ฉะนี้แล.
วรรคที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 958
วรรคที่ ๔
แม้ในคำว่า สกฺกจฺจํ นี้ ก็เป็นอาบัติ เพราะรับโดยไม่ได้เอื้อเฟื้อ เหมือนกัน. แต่ของที่รับ ไว้เป็นอันรับประเคนแล้วแล.
บทว่า สกฺกจฺจํ และบทว่า ปตฺตสญฺี ทั้ง ๒ มีนัยดังกล่าวแล้ว นั่นแหละ.
บทว่า สปทานํ ได้แก่ ตามลำดับไม่ทำให้ลักลั่นในบิณฑบาตนั้นๆ. คำที่ควรจะกล่าวในบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน
บทว่า ถูปโต คือ แต่ยอด. ความว่า แต่ท่ามกลาง.
สองบทว่า ปฏิจฺฉาเทตฺวา เทนฺติ มีความว่า พวกเจ้าของหมก กับข้าวไว้ถวายในสมัยห้ามฆ่าสัตว์เป็นต้น. ในเรื่องวิญญัตติไม่มีคำที่จะพึง กล่าว แม้ในอุชฌานสัญญีสิกขาบทนี้ ภิกษุอาพาธก็ไม่พ้น
สองบทว่า นาติมหนฺโต กวโฬ มีความว่า ฟองไข่นกยงใหญ่เกิน ไป ฟองไข่ไก่ ก็เล็กเกินไป, คำข้าวมีประมาณขนาดกลางระหว่างฟองไข่นก ยูงและไข่ไก่นั้น (ชื่อว่าคำข้าวไม่ใหญ่เกินไป).
บัณฑิตพึงถือเอาขาทนียะทุกอย่างมีมูลขาทนียะเป็นต้น ในคำว่า ขชฺชเก นี้.
วรรคที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 959
วรรคที่ ๕
บทว่า อนาหเฏ คือ ยังนำมาไม่ถึง. ความว่า ยังไม่ทันถึงช่องปาก.
สองบทว่า สพฺพํ หตฺถํ ได้แก่ นิ้วมือทุกนิ้ว.
ในบทว่า สกวเฬน นี้ มีวินิจฉัย ดังนี้:- ภิกษุกำลังแสดงธรรมใส่ สมอ หรือชะเอมเครือเข้าปาก แสดงธรรมไปพลาง, คำพูดจะไม่ขาดหายไป ด้วยชิ้นสมอแป็นต้นเท่าใด, เมื่อชิ้นสมอเป็นต้นเท่านั้นยังมีอยู่ในปาก จะพูด ก็ควร.
บทว่า ปิณฺฑุกฺเขปกํ คือ ฉันเดาะคำข้าวๆ.
บทว่า กวฬาวจฺเฉทกํ คือ ฉันกัดคำข้าวๆ.
บทว่า อวคณฺฑการกํ ได้แก่ ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ยดุจลิง.
บทว่า หตฺถนิทฺธูนกํ คือ ฉันสลัดมือๆ.
บทว่า สิตฺถาวการกํ คือ ฉันโปรยเม็ดข้าวๆ.
บทว่า ชิวฺหานิจฺฉารกํ คือ ฉันแลบลิ้นๆ.
บทว่า จปุจปุการกํ ได้แก่ ฉันทำเสียงดังอย่างนี้คือ จับๆ.
วรรคที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 960
วรรคที่ ๖
บทว่า สุรุสุรุการกํ ได้แก่ ฉันทำเสียงดังอย่างนี้ คือ ซูดๆ.
บทว่า ทโว คือ คำตลกคะนอง. อธิบายว่า ภิกษุไม่พึงเปล่งคำพูด ตลกคะนองนั้น ปรารภพระรัตนตรัยโดยปริยายไรๆ โดยนัยเป็นต้นว่า พระ พุทธหิน พระพุทธปลอม, พระธรรมอะไร? พระธรรมโค พระธรรมแพะ พระสงฆ์อะไร? หมู่เนื้อ หมู่ปศุสัตว์ เป็น.
บทว่า หตฺถนิลฺเลหกํ คือ ฉันเลียมือๆ. จริงอยู่ ภิกษุผู้กำลังฉัน จะเลียแม้เพียงนิ้วมือ ก็ไม่ควร. แต่ภิกษุจะเอานิ้วมือทั้งหลายหยิบยาคูแข้น น้ำอ้อยงบ และข้าวปายาสเป็นต้น แล้วสอดนิ้วมือเข้าในปากฉัน ควรอยู่. แม้ในการฉันขอดบาตรเลียริมฝีปากเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. เพราะฉะนั้น ภิกษุไม่ควรเอานิ้วมือ แม้นิ้วเดียวขอดบาตร. แม้ริมฝีปากข้างหนึ่ง ก็ไม่ควร เอาลิ้นเลีย. แต่จะเอาเฉพาะเนื้อริมฝีปากทั้ง ๒ ข้างคาบแล้วขยับ ให้เข้าไปภาย ในปากควรอยู่.
บทว่า โกกนุเท คือ ในปราสาทมีชื่ออย่างนี้. ดอกบัว เรียกกันว่า โกกนุท. ก็ปราสาทนั้น อันนายช่างทำให้มีสัณฐานคล้ายดอกบัว. ด้วยเหตุ นั้น ชนทั้งหลายจึงตั้งชื่อให้ปราสาทนั้นว่า โกกนุท นั่นเทียว.
คำว่า ไม่รับโอน้ำด้วยมือ ที่เปื้อนอามิส นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ห้ามด้วยอำนาจแห่งความน่าเกลียด. เพราะฉะนั้น สังข์ก็ดี ขันน้ำก็ดี ภาชนะ ก็ดี เป็นของสงฆ์ก็ตาม เป็นของบุคคลก็ตาม เป็นของคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นของ ส่วนตัวก็ตาม ไม่ควรเอามือเปื้อนอามิสจับทั้งนั้น. เมื่อจับ เป็นทุกกฏ แต่ ถ้าว่า บางส่วนของมือ ไม่ได้เปื้อนอามิส, จะจับโดยส่วนนั้น ควรอยู่.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 961
บทว่า อุทฺธริตฺวา วา ได้แก่ ซาวเมล็ดข้าวสุกขึ้นจากน้ำแล้วกอง ไว้ในที่แห่งหนึ่ง จึงเทน้ำทิ้ง.
บทว่า ภินฺทิตฺวา วา ได้แก่ ขยี้เมล็ดข้าวสุกให้มีคติเหมือนน้ำแล้ว เททิ้งไป.
บทว่า ปฏิคฺคเห วา ได้แก่ เอากระโถนรับไว้ ทิ้งเมล็ดข้าวสุกนั้น ลงกระโถน.
บทว่า นีหริตฺวา ได้แก่ นำออกไปเทในภายนอก ไม่เป็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้เททิ้งอย่างนี้.
บทว่า เสตจฺฉตฺตํ แปลว่า ร่มขาวที่หุ้มด้วยผ้า.
บทว่า กิลฺญฺชจฺฉตฺตํ แปลว่า ร่มสานด้วยตอกไม้ไผ่.
บทว่า ปณฺณจฺฉตฺตํ แปลว่า ร่มที่ทำด้วยใบไม้อย่างหนึ่ง มีใบตาล เป็นต้น.
ก็คำว่า มณฺฑลพทฺธํ สลากพทฺธํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อทรงแสดงโครงร่มทั้ง ๓ ชนิด. ก็ร่มทั้ง ๓ ชนิดนั้น เป็นร่มที่เย็บเป็นวง กลม และผูกติดกับซี่. ถึงแม้ร่มใบไม้ใบเดียว อันเขาทำด้วยคันซึ่งเกิดที่ต้น. ตาลเป็นต้น ก็ชื่อว่าร่มเหมือนกัน. บรรดาร่มเหล่านี้ ร่มชนิดใดชนิดหนึ่งที่ มีอยู่ในมือของบุคคลนั้น ; เหตุนั้นบุคคลนั้น ชื่อว่า มีร่มในมือ. บุคคลนั้น กั้นร่มอยู่ก็ดี แบกไว้บนบ่าก็ดี วางไว้บนตักก็ดี ยังไม่ปล่อยมือคราบใด จะ แสดงธรรมแก่เขาไม่ควรตราบนั้น เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้แสดง โดยนัยดังที่ กล่าวแล้วนั่นแล. แต่ถ้าว่า ผู้อื่นกางร่มให้เขาหรือร่มนั้นตั้งอยู่บนที่รองร่ม พอแต่ร่มพ้นจากมือ ก็ไม่เชื่อว่า ผู้มีร่มในมือ, จะแสดงธรรมแก่บุคคลนั้น ควรอยู่. ก็การกำหนดธรรมในสิกขาบทนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยดังกล่าว แล้วในปทโสธรรมสิกขาบทนั่นแล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 962
ไม้พลองยาว ๔ ศอกของมัชฌิมบุรุษ ชื่อว่า ไม้พลองในคำว่า ทณฺฑ- ปาณิสฺส นี้. ก็บัณฑิตพึงทราบความที่บุคคลนั้นมีไม้พลองในมือ โดยนัย ดังได้กล่าวแล้วในบุคคลผู้มีร่มในมือนั่นแล. แม้ในบุคคลผู้มีศัสตราในมือ ก็ นัยนี้เหมือนกัน. เพราะว่า แม้บุคคลผู้ยืนผูกสอดดาบ ยังไม่ถึงการนับว่าเป็น ผู้มีศัสตราในมือ.
ในคำว่า อาวุธปาณิสฺส นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า ที่ชื่อว่า อาวุธ ได้แก่ ปืน เกาทัณฑ์ ดังนี้ แม้โดยแท้. ถึงอย่างนั้น ธนูแม้ทุก ชนิด พร้อมด้วยลูกศรชนิดแปลกๆ ผู้ศึกษาก็พึงทราบว่า อาวุธ เพราะฉะนั้น ภิกษุจะแสดงธรรมแก่บุคคลผู้ไม่เจ็บไข้ ซึ่งยืน หรือนั่งถือธนูกับลกศรก็ดี ถือ แต่ลูกศรล้วนก็ดี ถือแต่ธนูมีสายก็ดี ถือแต่ธนูไม่มีสายก็ดี ย่อมไม่สมควร. แต่ถ้าธนูสวมคล้องไว้แม้ที่คอของเขา, ภิกษุจะแสดงธรรมแก่เขา ตลอดเวลา ที่เขายังไม่เอามือจับ (ธนู) ควรทีเดียวแล.
วรรคที่ ๖ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 963
วรรคที่ ๗
บทว่า อกฺกนฺตสฺส ได้แก่ ผู้ยืนเหยียบเขียงเท้าอย่างเดียว ไม่ได้ สอดระหว่างนิ้วเท้าเข้าไปในสายเขียงเท้าคล้ายคันร่ม.
บทว่า ปฏิมุกฺกสฺส คือ ผู้ยืนสวมเขียงเท้าอยู่. แม้ในรองเท้า ก็ นัยนั่นแล. ก็ในคำว่า โอมุกฺโก นี้ ตรัสเรียกบุคคลผู้ยืนสวมรองเท้าหุ้มส้น. ในคำว่า ยานคตสฺส นี้ ถ้าแม้นว่า คนที่ถูกชน ๒ คนหามไปด้วยมือประสาน กันก็ดี คนที่เขาวางไว้บนผ้า แล้วใช้บ่าแบกไปก็ดี คนผู้นั่งบนยานที่ไม่ได้เทียม มีคานหามเป็นต้นก็ดี ผู้นั่งบนยานที่เขารื้อออกวางไว้ แม้มีแต่เพียงล้อก็ดี ย่อม ถึงการนับว่า ผู้ไปในยาน ทั้งนั้น. แต่ถ้าคนแม้ทั้งสอง ๒ ฝ่าย นั่งไปบน ยานเดียวกัน จะแสดงธรรมแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ควรอยู่. แม้ใน ๒ คนผู้นั่งแยก กัน ฝ่ายผู้นั่งอยู่บนยานสูง จะแสดงธรรมแก่ฝ่ายผู้นั่งอยู่บนยานต่ำ ควร. จะ แสดงแก่ผู้นั่ง แม้บนยานที่เสมอกัน ก็ควร. ภิกษุผู้นั่งอยู่บนยานข้างหน้า จะ แสดงธรรมแก่ผู้นั่งบนยานข้างหลังควร. แต่ภิกษุผู้นั่งบนยานข้างหลังแม้สูงกว่า จะแสดงธรรมแก่ผู้นั่งบนยานข้างหน้า (ซึ่งไม่เจ็บไข้) ไม่ควร.
บทว่า สยนคตสฺส มีความว่า ภิกษุผู้ยืน หรือนั่งบนเตียงก็ดี บน ตั่งก็ดี บนภูมิประเทศก็ดี แม้สูง จะแสดงธรรมแก่ (คนไม่เป็นไข้) ผู้นอน อยู่ ชั้นที่สุดบนเสื่อลำแพนก็ดี บนพื้นตามปกติก็ดี ไม่ควร. แต่ภิกษุผู้อยู่ บนที่นอน จะนอนบนที่นอนสูงกว่า หรือมีประมาณเสมอกัน แสดงธรรมแก่ ผู้ไม่เป็นไข้อยู่บนที่นอน ควรอยู่. ภิกษุผู้นอนจะแสดงธรรมแก่คนผู้ไม่เป็น ไข้ ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี ควรอยู่. แม้ภิกษุนั่งจะแสดงธรรมแก่คนผู้ยืน หรือ ว่านั่ง ก็ควร. ภิกษุยืน จะแสดงธรรมแก่ผู้ยืนเหมือนกัน ก็ได้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 964
บทว่า ปลฺลตฺถิกาย มีความว่า อันภิกษุจะแสดงธรรมแก่ผู้ไม่เจ็บไข้ นั่งรัดเข่าอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นเครื่องรัดเข่าคือสายโยกก็ตาม เครื่องรัดเข่า คือมือก็ตาม เครื่องรัดเข่าคือผ้าก็ตามไม่ควร.
บทว่า เวฏฺิตสีสสฺส มีความว่า แก่ผู้โพกศีรษะด้วยผ้าสำหรับโพก หรือด้วยพวงดอกไม้เป็นต้น มิดจนริมผมไม่ปรากฎให้เห็น.
บทว่า โอคุณฺิตสีสสฺส คือ ผู้ห่มคลุมทั้งศีรษะ.
สองบทว่า ฉมายํ นิสินฺเนน คือ ผู้นั่งบนพื้นดิน.
สองบทว่า อาสเน นิสินฺนสฺส คือ ชั้นที่สุด ได้แก่ผู้ปูผ้า หรือ หญ้านั่ง.
บทว่า ฉวกสฺส ได้แก่ คนจัณฑาล.
บทว่า ฉวกา ได้แก่ หญิงจัณฑาล.
บทว่า นิลีโน คือเป็นผู้หลบซ่อนอยู่.
บทว่า ยตฺร หิ นาม คือ โย หิ นาม แปลว่า บุคคลใดเล่า
ข้อว่า สพฺพมิทํ จ ปริคตนฺติ ตตฺเถว ปริปติ มีความว่า คน จัณฑาลนั้นกล่าวถ้อยคำอย่างนี้ว่า โลกนี้ทั้งหมด ถึงความยุ่งเหยิงไม่มีเขตแดน แล้วไต่ลงมาจากต้นไม้ ในระหว่างชนทั้ง ๒ นั้น ในที่นั้นนั่นเทียว. ก็แล ครั้นไต่ลงมาแล้ว ยืนอยู่ข้างหน้าแห่งชนแม้ทั้ง ๒ แล้วกล่าวคาถานี้ว่า อุโภ อตฺถํ น ชานนฺติฯ เปฯ อสฺมา กุมภมิวากิทา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บาทคาถาว่า อุโภ ยตฺถํ น ชานนฺติ ความว่า ชนแม้ทั้ง ๒ ย่อมไม่รู้อรรถแห่งบาลี
ข้อว่า ธมฺมํ น ปสฺสเร ความว่า ชนทั้ง ๒ ย่อมไม่เห็นบาลี.
ถามว่า ชนทั้ง ๒ นั้นเหล่าไหน?.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 965
แก้ว่า ชนทั้ง ๒ คือ พราหมณ์ผู้สอนมนต์ โดยไม่เคารพธรรม และพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงเรียนมนต์ โดยไม่เคารพธรรม. อธิบายว่า คน จัณฑาลตั้งคนทั้ง ๒ คือ พราหมณ์และพระเจ้าแผ่นดินไว้ในความเป็นผู้ไม่ ประพฤติธรรม.
ต่อจากนั้น พราหมณ์จึงได้กล่าวคาถาว่า สาลีนํ เป็นต้น. คาถานั้น มีใจความว่า พ่อมหาจำเริญ! เราก็รู้อยู่ว่า นี้ไม่เป็นธรรม, อนึ่งแล เรากับ บุตรภรรยาและบริวารชน บริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลีอันเป็นของในหลวงมา นานแล้ว.
บาทคาถาว่า สุจิมํสูปเสจโน มีวิเคราะห์ว่า การผสมด้วยแกงเนื้อ อันสะอาดที่เขาปรุงด้วยชนิดแห่งเครื่องปรุงมีประการต่างๆ คือ การทำให้ ระคนกับอามิส มีอยู่แก่ข้าวสุกแห่งข้าวสาลีนั้น; เหตุนั้น ข้าวสุกแห่งข้าวสาลี นั้นจึงชื่อว่า ผสมกับแกงเนื้ออันสะอาด.
บาทคาถาว่า ตสฺมา ธมฺเม น วตฺตามิ มีความว่า เพราะเรา บริโภคข้าวสุกของในหลวง และได้รับพระราชทานลาภอื่นๆ เป็นอันมาก อย่างนี้; ฉะนั้น เราจึงไม่ประพฤติอยู่ในธรรม เป็นผู้ติดอยู่ในท้อง (เห็น แก่ท้อง) ไม่ใช่ไม่รู้ธรรม เรารู้อยู่ว่า ความจริงธรรมนี้ พระอริยเจ้าทั้งหลาย ยกย่องสรรเสริญ ชมเชย.
ลำดับนั้น คนจัณฑาลนั้น จึงกล่าวย้ำกะพราหมณ์นั้น ด้วย ๒ คาถา ว่า ธิรตฺถุ เป็นต้น. ๒ คาถานั้นมีใจความว่า ลาภคือทรัพย์ และลาภคือยศ อันใดที่ท่านได้แล้ว, เราติเตียนลาภ คือทรัพย์และลาภคือ ยศอันนั้น ท่าน พราหมณ์!. เพราะเหตุไรเล่า? เพราะลาภที่ท่านได้นี้ เป็นเหตุให้ประจวบ กับเหตุอันให้ตกไปในพวกอุบายต่อไป และชื่อว่าเป็นการดำเนินชีวิตโดย ประพฤติไม่เป็นธรรม. ก็การดำเนินชีวิตมีรูปเห็นปานนี้อันใด จะสำเร็จได้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 966
โดยเป็นเหตุให้ตกต่ำต่อไป หรือโดยเป็นเหตุให้ประพฤติไม่เป็นธรรมในโลกนี้, จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการดำเนินชีวิตนั้น. ด้วยเหตุนั้น คนจัณฑาลนั้น จึงได้กล่าวว่า
ท่านพราหมณ์! เราติเตียนการได้ ทรัพย์และการได้ยศ เพราะนั่นเป็นการ เลี้ยงชีพโดยความเป็นเหตุให้ตกต่ำ และเป็น การเลี้ยงชีพโดยทางที่ไม่ชอบธรรม.
บาทคาถาว่า ปริพฺพช มหาพฺรเหฺม มีความว่า ข้าแต่ท่าน มหาพราหมณ์! ท่านจงรีบออกไปเสียจากประเทศนี้.
บาทคาถาว่า ปจนฺตญฺเปิ ปาณิโน มีความว่า สัตว์แม้เหล่าอื่น ก็ยังหุงต้ม และยังบริโภค (ยังหุงหากิน) , มิใช่แต่ท่านกับพระราชาเท่านั้น.
กึ่งคาถาว่า มา ตํ อธมฺโม อาจริโต อสฺมา กุมฺภมิวาภิทา มีความว่า เพราะถ้าว่า ท่านไม่หลีกหนีไปจากที่นี้ จักประพฤติอธรรมนี้ยิ่งขึ้น. แต่นั้น อธรรมที่ท่านประพฤติยิ่งขึ้นนั้น จะทำลายท่านเองเหมือนก้อนหิน ทำลายหม้อน้ำ ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น เราทั้งหลายจึงกล่าวว่า
ข้าแต่ท่านพราหมณ์! ท่านจงรีบ ออกไปเถิด, แม้สัตว์ที่มีชีวิตเหล่าอื่นก็ยังหุง ต้มกินอยู่, ความอธรรมที่ท่านได้ประพฤติ มาแล้ว อย่าได้ทำลายท่าน ดุจก้อนหิน ทำลายหม้อน้ำ ฉะนั้น.
สองบทว่า อุจฺเจ อาสเน มีความว่า จะแสดงธรรมแก่ผู้ไม่เจ็บไข้ ซึ่งนั่งอยู่บนอาสนะ ชั้นที่สุด แม้บนภูมิประเทศที่สูงกว่า ก็ไม่ควร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 967
สองบทว่า น ิเตน นิสินฺนสฺส มีความว่า ถ้าแม้นว่า พระมหาเถระนั่งบนอาสนะ ถามปัญหากะภิกษุหนุ่มผู้มายังที่บำรุงของพระเถระแล้ว ยืนอยู่, เธอไม่ควรกล่าว. แต่ด้วยความเคารพ เธอก็ไม่อาจกล่าวกะพระเถระ ว่า นิมนต์ท่านลุกขึ้นถามเถิด. จะกล่าวด้วยตั้งใจว่า เราจักกล่าวแก่ภิกษุผู้ยืน อยู่ข้างๆ ควรอยู่.
ในคำว่า น ปจฺฉโต คจฺฉนฺเตน นี้ มีวินิจฉัยว่า ถ้าคนผู้เดิน ไปข้างหน้า ถามปัญหากะภิกษุผู้เดินไปข้างหลัง, เธอไม่ควรตอบ. จะกล่าว ด้วยใส่ใจว่า เราจะกล่าวแก่ภิกษุผู้อยู่ข้างหลัง สมควร. จะสาธยายธรรมที่ตน เรียนร่วมกัน ควรอยู่. จะกล่าวแก่บุคคลผู้เดินคู่เตียงกันไป ก็ควร.
แม้ในคำว่า น อุปเถน นี้ ก็มีวินิจฉัยว่า แม้ชนทั้ง ๒ เดินคู่เตียง กันไปในทางเกวียนตามทางล้อเกวียนคนละข้าง หรือออกนอกทางไป, จะกล่าว ก็ควร.
บทว่า อสญฺจิจฺจ มีความว่า เมื่อภิกษุกำลังไปยังที่กำบังอุจจาระ หรือ ปัสสาวะพลันเล็ดออก (พลันทะลักออกมา) ชื่อว่า ไม่แกล้งถ่าย ไม่เป็นอาบัติ.
ในคำว่า น หริเต นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- แม้รากของต้นไม้ที่ยังเป็น ชอนไปบนพื้นดินปรากฏให้เห็นก็ดี กิ่งไม้ที่เลื้อยระไปบนพื้นดินก็ดี ทั้งหมด เรียกว่า ของสดเขียวทั้งนั้น. ภิกษุจะนั่งบนขอนไม้ถ่ายให้ตกลงไปในที่ปราศจาก ของเขียวสด ควรอยู่. เมื่อยังกำลังมองหาที่ปราศจากของสดเขียวอยู่นั่นแหละ อุจจาระหรือปัสสาวะพลันทะลักออกมา จัดว่าตั้งอยู่ในฐานเป็นผู้อาพาธ ควรอยู่.
สองบทว่า อปหริเต กโต มีความว่า เมื่อภิกษุไม่ได้ที่ปราศจาก ของสดเขียว แม้วางเทริดหญ้า หรือเทริดฟางไว้แล้ว ทำการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะทับของเขียวในภายหลัง ก็ควรเหมือนกัน. ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรี ว่า ถึงแม้น้ำมูก ก็สงเคราะห์เข้ากับน้ำลายในสิกขาบทนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 968
คำว่า น อุทเก นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงน้ำบริโภค เท่านั้น. แต่ในน้ำที่วัจจกุฎีและในน้ำทะเลเป็นต้น ไม่ใช่ของบริโภค ไม่เป็น อาบัติ. เมื่อฝนตก ห้วงน้ำมีอยู่ทั่วไป. เมื่อภิกษุกำลังมองหาที่ไม่มีน้ำอยู่ นั่นแหละ อุจจาระหรือปัสสาวะเล็ดออกมา ควรอยู่. แต่ในมหาปัจจรี ท่าน กล่าวว่า ในเวลาเช่นนั้น ภิกษุไม่ได้ที่ไม่มีน้ำ จะทำการถ่าย ควรอยู่. คำที่ เหลือในสิกขาบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น.
วรรคที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 969
ปกิณกะในเสขิยวรรณนา
ก็เพื่อต้องการแสดงสมุฏฐานเป็นต้นในอธิการแห่งเสขิยวรรณนานี้ จึง มีข้อเบ็ดเตล็ดดังต่อไปนี้:- สิกขาบท ๑๐ เหล่านี้ คือ ๔ สิกขาบท ที่เกี่ยว ด้วยการหัวเราะ และเสียงดัง สิกขาบทที่พูดทั้งปากยังมีคำข้าว ๑, ๕ สิกขาบท ที่เกี่ยวด้วยการนั่งบนพื้น ๑ ที่นั่งต่ำ ๑ การยืนแสดงธรรม ๑ การเดินไป ข้างหลัง ๑ การเดินไปนอกทาง ๑ มีสมุฎฐานดุจสมนุภาสนสิกขาบท เกิดขึ้น ทางกายวาจาและจิต เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนาแล.
สูโปทนวิญญัตติสิกขาบท มีสมุฎฐานดุจไถยสัตถสิกขาบท เกิดขึ้น ทางกายกับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วีจกรรม อกุศลจิต ทุกขเวทนาแล. ๑๑ สิกขาบท ที่มีชื่อว่า ฉัตตปาณิสิกขาบท ๑ ทัณฑปาณิสิกขาบท ๑ สัตถปาณิสิกขาบท ๑ อาวุธปาณิสิกขาบท ๑ ปาทุกสิกขาบท ๑ อุปาหนสิกขาบท ๑ ยานสิกขาบท ๑ สยนสิกขาบท ๑ ปัลลัตถิกสิกขาบท ๑ เวฐิต สิกขาบท ๑ โอคุณฐิตสิกขาบท ๑ มีสมุฎฐานดุจธรรมเทสนาสิกขาบท เกิดขึ้น ทางวาจากับจิต เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนาแล. ที่เหลืออีก ๕๓ สิกขาบท มีสมุฏฐาน ดุจปฐมปาราชิกแล.
ในเสขิยสิกขาบททั้งหมด ไม่เป็นอาบัติ เพราะอาพาธเป็นปัจจัย. ใน ๓ สิกขาบท คือ ถูปีกตปิณฑปาตสิกขาบท ๑ สูปพยัญชนปฏิจฉาทนสิกขาบท ๑ อุชฌานสัญญีสิกขาบท ๑ ไม่มี (กล่าวถึง) ภิกษุอาพาธแล.
เสขิยวรรณนา จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 970
อธิกรณสมถวรรณนา
วินิจฉัย ในอธิกรณสมถะทั้งหลาย พึงทราบดังนี้:-
คำว่า สตฺต (๗) เป็นเครื่องกำหนดนับธรรมเหล่านั้น. ธรรม ๗ นั้น ชื่อว่า อธิกรณสมถะ เพราะอรรถว่า ยังอธิกรณ์ ๕ อย่างให้สงบ คือ ให้ ระงับไป. ความพิสดารแห่งอธิกรณสมถะเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ แล้วในขันธกะ และในปริวาร. พวกเราจักพรรณนาอรรถแห่งคำพิสดารนั้น ในขันธกะและปริวารนั่นแล. คำที่เหลือในสิกขาบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
ภิกขุวิภังควรรณนาในอรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ
คาถาแผ่เมตตาของท่านผู้รจนา
วรรณนานี้จบลงแล้ว โดยหาอันตราย มิได้ ฉันใด ขอสัตว์ทั้งหลายจงถึงสันติ โดยปราศจากอันตรายฉันนั้น แล.