พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปาราชิกกัณฑ์ (ภิกขุนีวิภังค์)

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 1

พระวินัยปิฎก

เล่ม ๓

ภิกขุนีวิภังค์

ปาราชิกกัณฑ์

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑

เรื่องภิกษุสุนทรีสุนทรี

[๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น นายสาฬหะ หลานของมิคารมาตา มีความประสงค์จะสร้างวิหารถวายภิกษุณีสงฆ์ จึงเข้าไป หานางภิกษุณีทั้งหลาย แจ้งความประสงค์ว่า แม่เจ้า กระผมอยากจะสร้างวิหาร ถวายภิกษุณีสงฆ์ ขอแม่เจ้าจงโปรดให้ภิกษุณีผู้อำนวยการก่อสร้างรูปหนึ่งแก่ กระผม ครั้งนั้นมีสาวสี่พี่น้อง ชื่อนันทา ๑ ชื่อนันทาวดี ๑ ชื่อสุนทรีนันทา ๑ ชื่อถุลลนันทา ๑ บวชอยู่ในสำนักภิกษุณี บรรดาภิกษุณีทั้งสี่นั้น ภิกษุณีสุนทรี นันทา เป็นบรรพชิตสาวทรงโฉมวิไล น่าพิศพึงชม เป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปรีชา ขยัน ไม่เกียจคร้าน กอปรด้วยปัญญาเลือกฟั้นอันเป็นทางดำเนินใน การงานนั้นๆ สามารถพอที่จะทำกิจการงานนั้นๆ ให้ลุล่วงไป จึงภิกษุณีสงฆ์ ได้สมมติภิกษุณีสุนทรีนันทาให้เป็นผู้อำนวยการก่อสร้างแก่นายสาฬหะ หลาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 2

มิคารมาตา ต่อมาภิกษุณีสุนทรีนันทา ไปสู่เรือนของนายสาฬหะ หลานมิคารมาตาเสมอ โดยแจ้งว่า จงให้มีด จงให้ขวาน จงให้ผึ่ง จงให้จอบ จงให้สิ่ว แม้นายสาฬหะ หลานมิคารมาตา ก็ไปสู่สำนักนางภิกษุณีเสมอ เพื่อทราบ กิจการที่ทำแล้ว ที่ยังมิได้ทำ เขาทั้งสองได้มีจิตปฏิพัทธ์ เพราะเห็นกันอยู่เสมอ ครั้นนายสาฬหะ หลานมิคารมาตา ไม่ได้โอกาสที่จะประทุษร้ายภิกษุณีสุนทรีนันทา จึงได้ตกแต่งภัตตาหารถวายภิกษุณีสงฆ์ เพื่อมุ่งจะประทุษร้ายภิกษุณี สุนทรีนันทานั้น แล้วให้ปูอาสนะในโรงฉัน จัดอาสนะสำหรับภิกษุณีทั้งหลาย ที่แก่กว่าภิกษุณีสุนทรีนันทาไว้ส่วนหนึ่ง สำหรับภิกษุณีทั้งหลายที่อ่อนกว่า ภิกษุณีสุนทรีนันทาไว้ส่วนหนึ่ง จัดอาสนะสำหรับภิกษุณีสุนทรีนันทาไว้ใน สถานที่อันกำบังนอกฝาเรือน ให้ภิกษุณีผู้เถระทั้งหลายพึงเข้าใจว่า นางนั่งใน สำนักพวกภิกษุณีผู้นวกะ แม้ภิกษุณีผู้นวกะทั้งหลายก็พึงเข้าใจว่า นางนั่งอยู่ใน สำนักพวกภิกษุณีผู้เถระ.

ครั้นจัดเสร็จแล้ว ได้ให้คนไปแจ้งภัตกาลแก่ภิกษุณีสงฆ์ ว่าได้เวลา อาหารแล้ว เจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว.

ภิกษุณีสุนทรีนันทาทราบได้ดีว่า นายสาฬหะ หลานมิคารมาตา ไม่ ได้ทำอะไรมากมาย ได้ตกแต่งภัตตาหารไว้ถวายภิกษุณีสงฆ์ ด้วยเธอมีความ ประสงค์จะประทุษร้ายเรา ถ้าเราไป ความอื้อฉาวจักมีแก่เรา จึงใช้ภิกษุณี อันเตวาสินีไปด้วยสั่งว่า เธอจงไปนำบิณฑบาตมาให้เรา และผู้ใดถามถึงเรา เธอจงบอกว่าอาพาธ.

ภิกษุณีอันเตวาสินีรับคำสั่งของภิกษุณีสุนทรีนันทาแล้ว.

สมัยนั้น นายสาฬหะ หลานมิคารมาตา ยืนคอยอยู่ที่ซุ้มประตูข้าง นอกถามถึงภิกษุณีสุนทรีนันทาว่า แม่เจ้าสุนทรีนันทาไปข้างไหน ขอรับ แม่ เจ้าสุนทรีนันทา ไปข้างไหน ขอรับ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 3

เมื่อเขาถามถึงอย่างนี้แล้ว ภิกษุณีอันเตวาสินีของภิกษุณีสุนทรีนันทา ตอบกะเขาดังนี้ว่า อาพาธค่ะ ดิฉันจักนำบิณฑบาตไปถวาย.

เขาคิดว่า การที่เราได้ตกแต่งอาหารถวายภิกษุณีสงฆ์ ก็เพราะเหตุแห่ง แม่เจ้าสุนทรีนันทา จึงสั่งคนให้เลี้ยงดูภิกษุณีสงฆ์แล้วเลี่ยงไปทางสำนักภิกษุณี สงฆ์.

ก็สมัยนั้น ภิกษุณีสุนทรีนันทายืนคอยมองนายสาฬหะ หลานมิคารมาตาอยู่ข้างนอกซุ้มประตูวัด นางเห็นเขาเดินมาแต่ไกลจึงหลบเข้าสู่สำนักนอน คลุมศีรษะอยู่บนเตียง.

ครั้นเขาเข้าไปหาแล้ว ได้ถามนางว่า แม่เจ้าไม่สบายหรือขอรับ ทำไมจึงจำวัดเสียเล่า.

นางตอบว่า นาย การที่สตรีรักใคร่กับคนที่เขาไม่รักตอบ ย่อมเป็น เช่นนี้แหละค่ะ.

เขากล่าวว่า ทำไมผมจะไม่รักแม่เจ้า ขอรับ แต่ผมหาโอกาสที่จะ ประทุษร้ายแม่เจ้าไม่ได้ แล้วมีความกำหนัด ได้ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับ ภิกษุณีสุนทรีนันทา ผู้มีความกำหนัด.

ก็สมัยนั้นแล ภิกษุณีรูปหนึ่งผู้ชราทุพพลภาพ เท้าเจ็บ นอนอยู่ไม่ ห่างจากภิกษุณีสุนทรีนันทา ได้แลเห็นสาฬหะ หลานมิคารมาตา ถึงความ เคล้าคลึงด้วยกายกับภิกษุณีสุนทรีนันทาผู้กำหนัด ครั้นแล้วจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าสุนทรีนันทา จึงได้มีความกำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกายของบุรุษบุคคลผู้กำหนัดเล่า แล้วได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย บรรดาภิกษุสีผู้มีความมักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ ต่อสิกขาต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน แม่เจ้าสุนทรีนันทา จึง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 4

ได้มีความกำหนัดยินดีการเคล้าคลึงด้วยกายของบุรุษบุคคลผู้กำหนัดเล่า แต่เจ้า เรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีสุนทรีนันทาจึงได้มีความกำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกายของ บุรุษบุคคลผู้มีความกำหนัดเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีสุนทรีนันทามีความกำหนัด ยินดี การเคล้าคลึงด้วยกายของบุรุษบุคคลผู้กำหนัด จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ กระทำของภิกษุณีสุนทรีนันทาไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุณีสุนทรีนันทาจึงได้มีความกำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกายของบุรุษบุคคลผู้กำหนัดเล่า การกระทำของนางนั่นไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่ เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของนางเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ครั้นพระองค์ทรงติเตียนภิกษุณีสุนทรีนันทาโดยอเนกปริยายแล้ว จึงตรัสโทษ แห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความ เป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็น

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 5

คนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความ ขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารถนาความ เพียร โดยอเนกปริยาย แล้วทรงทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั่นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ ภิกษุณีทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดี แห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มภิกษุณีผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่ สำราญแห่งภิกษุณีผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่น แห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกภิกษุณีจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๕.๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด มีความกำหนัด ยินดีการลูบก็ดี คลำก็ดี จับก็ดี ต้องก็ดี บีบเคล้นก็ดี ของบุรุษบุคคลผู้กำหนัด ใต้รากขวัญลงไป เหนือเข่าขึ้นมา แม้ภิกษุณีนี้ก็เป็นปาราชิก ชื่อ อุพภชานุมัณฑลิกา หาสังวาลมิได้.

เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา จบ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 6

สิกขาบทวิภังค์

[๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด มีการงาน อย่างใด มีชาติอย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ, ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร, ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะ อรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว, ชื่อว่า ภิกษุณี โดยสมญา, ชื่อว่า ภิกษุณี โดยปฏิญญา, ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกษุณี, ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะ อรรถว่าเป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์, ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ, ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ, ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะ อรรถว่าเป็นพระอเสขะ,ชื่อว่าภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์สองฝ่ายพร้อม เพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบควรแก่ฐานะ, บรรดา ภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีที่สงฆ์สองฝ่ายพร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติ- จตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า มีความกำหนัด ได้แก่หญิงหรือชายมีความกำหนัดมาก มี ความเพ่งเล็ง มีจิตปฏิพัทธ์.

ที่ชื่อว่า บุรุษบุคคล ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ผู้ชาย ไม่ใช่ เปรตผู้ชาย ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นคนรู้ความ เป็นผู้สามารถ เพื่อถึง ความเคล้าคลึงด้วยกาย.

บทว่า ใต้รากขวัญลงไป คือ เบื้องต่ำแห่งรากขวัญลงไป.

บทว่า เหนือเข่าขึ้นมา คือ เบื้องบนแห่งมณฑลเข่าขึ้นมา.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 7

ที่ชื่อว่า ลูบ คือ เพียงลูบไป.

ที่ชื่อว่า คลำ คือ จับเบาๆ ไปข้างโน้นข้างนี้

ที่ชื่อว่า จับ คือ เพียงจับตัว.

ที่ชื่อว่า ต้อง คือ เพียงถูกต้องตัว.

บทว่า ยินดี ... การบีบเคล้นก็ดี คือยินดีการรับต้องอวัยวะแล้ว บีบเคล้น

บทว่า แม้ภิกษุณีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเทียบเตียงภิกษุณีรูปก่อน.

อุปมาด้วยบุรุษถูกตัดศีรษะ

คำว่า เป็นปาราชิก อธิบายว่า บุรุษถูกตัดศีรษะแล้วไม่อาจมีสรีระ คุมกันนั้นเป็นอยู่ ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุณีก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความกำหนัด ยินดี การลูบก็ดี คลำก็ดี จับก็ดี ต้องก็ดี บีบเคล้นก็ดี ของบุรุษบุคคลผู้ กำหนัด ได้รากขวัญลงไป เหนือเข่าขึ้นมา ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นธิดา ของพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.

บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่าสังวาส ได้แก่กรรมที่พึง กระทำร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่า สังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุณีนั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า หาสังวาส มิได้.

บทภาชนีย์

[๓] เมื่อทั้งสองฝ่ายมีความกำหนัด ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกกายด้วยกาย ใต้รากขวัญลงไป เหนือเข่าขึ้นมา ภิกษุณีต้องอาบัติปาราชิก ถูกของที่เนื่อง ด้วยกาย ด้วยกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถูกกายด้วยของที่เนื่องด้วยกาย ต้อง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 8

อาบัติถุลลัจจัย ถูกของที่เนื่องด้วยกาย ด้วยของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ถูกกายด้วยของที่โยนให้ ต้องอาบัติทุกกฏ ถูกของที่เนื่องด้วยกาย ด้วยของที่ โยนให้ ต้องอาบัติทุกกฏ ถูกของที่โยนให้ ด้วยของที่โยนให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๔] กายต่อกายถูกกัน เหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้เข่าลงมา ภิกษุณี ต้องอาบัติถุลลัจจัย ของที่เนืองด้วยกายกับกายถูกกัน ต้องอาบัติทุกกฏ กายกับ ของที่เนื่องด้วยกายถูกกัน ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่เนื่องด้วยกาย กับของที่เนื่อง ด้วยกายถูกกัน ต้องอาบัติทุกกฏ โยนของไปถูกกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่ โยนไปถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่โยนไปถูกของที่โยนมา ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕] ฝ่ายหนึ่งมีความกำหนัด กายต่อกายถูกกัน ใต้รากขวัญลงไป เหนือเข่าขึ้นมา ภิกษุณีต้องอาบัติถุลลัจจัย กายถูกของที่เนืองด้วยกาย ต้อง อาบัติทุกกฏ ของที่เนื่องด้วยกายถูกกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่เนื่องด้วยกาย ถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่โยนไปถูกกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่โยนไปถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่โยนไปถูกของที่ โยนมา ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๖] กายถูกกาย เหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้เข่าลงมา ต้องอาบัติทุกกฎ กายถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฎ ของที่เนื่องด้วยกายถูกกาย ต้อง อาบัติทุกกฏ ของที่เนื่องด้วยกายถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ โยน ของถูกกาย ต้องอาบัติทุกกฏ โยนของถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่โยนไปถูกของที่โยนมา ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๗] เมื่อทั้งสองฝ่ายมีความกำหนัด จับต้องกายด้วยกาย ของยักษ์ ก็ดี เปรตก็ดี บัณเฑาะก์ก็ดี สัตว์ดิรัจฉานที่มีกายคล้ายมนุษย์ก็ดี ใต้รากขวัญ ลงมา เหนือเข่าขึ้นไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย กายถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้อง

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 9

อาบัติทุกกฏ ของที่เนื่องด้วยกายถูกกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่เนื่องด้วยกาย ถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ โยนของถูกกาย ต้องอาบัติทุกกฏ โยนของถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่โยนไป ถูกของที่โยนมา ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๘] ถูกกายด้วยกาย เหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้เข่าลงมา ต้องอาบัติ ทุกกฏ กายถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่เนื่องด้วยกายถูกกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่เนื่องด้วยกาย ถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ โยนของถูกกาย ด้วยอาบัติทุกกฏ โยนของถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติ- ทุกกฏ ของที่โยนไปถูกของที่โยนมา ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๙] ฝ่ายหนึ่งมีความกำหนัด ถูกกายด้วยกาย ใต้รากขวัญลงมา เหนือเข่าขึ้นไป ต้องอาบัติทุกกฏ กายถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฎ ของที่เนื่องด้วยกายถูกกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่เนื่องด้วยกายถูกของที่เนื่อง ด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ โยนของถูกกาย ต้องอาบัติทุกกฏ โยนของถูกของที่ เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ โยนของไปถูกของที่โยนมา ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๑๐] กายถูกกาย เหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้เข่าลงมา ต้องอาบัติทุกกฏ กายถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่เนื่องด้วยกายถูกกาย ต้อง อาบัติทุกกฏ ของที่เนื่องด้วยกายถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ โยน ของไปถูกกาย ต้องอาบัติทุกกฎ โยนของถูกของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติ ทุกกฏ ของที่โยนไปถูกของที่โยนมา ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๑๑] ภิกษุณีไม่ตั้งใจ ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ ไม่ยินดี ๑ วิกลจริต ๑ มีจิตฟุ้งซ่าน ๑ กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๑ ภิกษุณีอาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 10

สมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัยปิฎก

อรรถกถาปาราชิกกัณฑ์

ในภิกขุนีวิภังค์

เพราะมาถึงลำดับแห่งการสังวรรณนา ภิกขุนีวิภังค์ ของพวกภิกษุณี ที่พระธรรม สังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ได้ร้อยกรองไว้ใน ลำดับแห่งภิกขุวิภังค์ ฉะนั้น เพื่อทำการ พรรณนาบทที่ยังไม่เคยมีมาก่อน ในปาราชิก แห่งภิกขุนีวิภังค์นั้น จึงมีการสังวรรณนา เริ่มต้น ดังต่อไปนี้.

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑

แก้อรรถปฐมปาราชิกสิกขาบทของพวกภิกษุณี ในคำว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา สาวตฺถิยํ วิหรติฯ เปฯ สาฬฺโห มิคารนตฺตา นี้ คำว่า สาฬฺโห เป็นชื่อของมิคารนัดดานั้น เพราะเขาเป็นหลานของนางวิสาขามิคารมารดา. ด้วยเหตุนั้น พระธรรม สังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า มิคารนตฺตา.

บทว่า นวกมฺมิกํ แปลว่า ผู้อำนวยนวกรรม.

บทว่า ปณฺฑิตา แปลว่า ผู้ประกอบด้วยความเป็นบัณฑิต.

บทว่า พฺยตฺตา แปลว่า ประกอบด้วยความเป็นผู้เฉียบแหลม.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 11

บทว่า เมธาวินี ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยปัญญามีสติเป็นหลักในการ เรียนบาลี (และ) ด้วยสติปัญญาเป็นหลักในการเรียนอรรถกถา.

บทว่า ทกฺขา แปลว่า ผู้หลักแหลม ความว่า ผู้มีปกติ ทำงานที่ ควรทำได้รวดเร็ว ไม่ผิดพลาด.

บทว่า อนลสา แปลว่า ผู้ปราศจากความเกียจคร้าน.

บทว่า ตตฺรูปายาย แปลว่า เป็นทางดำเนินในการงานเหล่านั้น.

บทว่า วีมํสาย แปลว่า ด้วยปัญญาเลือกเฟ้นการงานที่ควรทำ.

บทว่า สมนฺนาคตา แปลว่า ประกอบพร้อม. สองบทว่า อลํ สํวิธาตุํ ได้แก่ เป็นผู้สามารถเพื่อทำการงานนั้น.

สองบทว่า อลํ สํวธาตุํ ได้แก่ เป็นผู้สามารถแม้จะจัดการอย่างนี้ ว่า การงานนี้จงเป็นอย่างนี้ และการงานนี้จงเป็นอย่างนั้น.

สองบทว่า กตากตํ ชานิตุํ คือ เพื่อรู้งานที่ทำแล้ว และยังมิได้ทำ.

บทว่า เต มีความว่า ชนทั้งสองนั้น คือ ภิกษุณีสุนทรีนันทากับ นายสาฬหะนั้น.

บทว่า ภตฺตคฺเค คือ ในสถานที่อังคาส.

บทว่า นิกฺกุฑฺเฑ คือ เป็นที่ลึกซ่อนเร้นอันแสดงให้เห็นคล้าย มุมฉาก.

สามบทว่า วิสฺสโร เม ภวิสฺสติ มีความว่า เสียงอื้อฉาวจักมีแก่ เรา คือ จักมีเสียงฉาวโฉ่ต่างๆ แก่เรา.

บทว่า ปฏิมาเนนฺตี แปลว่า คอยดูอยู่.

บทว่า กยาหํ ตัดบทเป็น กึ อหึ แปลว่า ทำไม ผม (จะไม่ รักแม่เจ้าเล่า ขอรับ)

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 12

บทว่า ชราทุพฺพลา คือ ทุพพลภาพเพราะชรา.

บทว่า จรณคิลานา คือ ประกอบด้วยโรคเท้าเจ็บ.

บทว่า อวสฺสุตา มีความว่า เป็นผู้มีความกำหนัด คือ เปียกชุ่ม อยู่ด้วยความกำหนัด ในการเคล้าคลึงกาย. แต่ในบทภาชนะแห่ง บทว่า อวสฺสุตา นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาราคะนั้นทีเดียวจึงตรัสคำว่า สารตฺตา เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สารตฺตา คือ ผู้มีความกำหนัดอย่าง หนักด้วยกายสังสัคคราคะ ดุจผ้าถูกย้อมด้วยสี ฉะนั้น.

บทว่า อเปกฺขวตี มีความว่า ผู้ประกอบด้วยความเพ่งเล็งที่เป็นไป ในบุรุษนั้น ด้วยอำนาจแห่งความกำหนัดนั้นนั่นแหละ.

บทว่า ปฏิพทธฺจิตฺตา ได้แก่ เป็นผู้มีจิตดุจถูกความกำหนัดนั้น ผูกพันไว้ในบุรุษนั้น. แม้ในวิภังค์แห่งบทที่ ๒ ก็มีนัยอย่างนี้.

บทว่า ปุริสปุคฺคลสฺส ได้แก่ บุคคลกล่าวคือบุรุษ.

บทว่า อธกฺขกํ คือ ใต้รากขวัญลงไป.

บทว่า อุพฺภชานุมณฺฑลํ คือ เหนือมณฑลเข่าทั้งสอง ขึ้นมา. แต่ ในบทภาชนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยลำดับแห่งบททีเดียวว่า เหฏฺกฺ- ขกํ อุปริชานุมณฺฑลํ ใต้รากขวัญเหนือมณฑลเข่า ดังนี้.

ก็ในบทว่า อุปริชานุมณฺฑลํ นี้ แม้เหนือศอกขึ้นมา ท่านก็ สงเคราะห์เข้าด้วยเหนือมณฑลเข่าขึ้นมาเหมือนกัน. คำที่เหลือบัณฑิตพึงทราบ โดยนัยดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในมหาวิภังค์นั่นแล.

สองบทว่า ปุริมาโย อุปาทาย มีความว่า ทรงเทียบเคียงภิกษุณี ๔ รูป ผู้ต้องอาบัติปาราชิกกับด้วยปาราชิกที่ทั่วไป (๔ มีเมถุนเป็นต้น).

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 13

ก็คำว่า อุพฺภชานุมณฺฑิกา นี้ เป็นเพียงชื่อแห่งอาบัติปาราชิกนี้; เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมิได้ทรงวิจารณ์ไว้ในบทภาชนะ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกสิกขาบทที่พระองค์ทรงแสดงไว้โดยลำดับ แห่งบทอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงชนิดแห่งอาบัติโดยความต่างกันแห่ง ความเป็นผู้มีความกำหนัดเป็นต้น จึงได้ตรัสคำว่า อุภโต อวสฺสุเต เป็นต้น.

ว่าด้วยทั้งสองฝ่ายมีความกำหนัดจับต้องกายเป็นต้น

ในคำว่า อุภโ ต อวสฺสุเต เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

คำว่า อุภโต อวสฺสุเต คือ เมื่อทั้งสองฝ่ายมีความกำหนัด. ความว่า เมื่อภิกษุณีและบุรุษเป็นผู้มีความกำหนัดด้วยกายสังสัคคราคะ.

สามบทว่า กาเยน กายํ อามสติ มีความว่า ภิกษุณีจับต้องกาย ของบุรุษส่วนใดส่วนหนึ่งด้วยกายตามที่กำหนดไว้ หรือว่า บุรุษจับต้องกาย ของภิกษุณีตามที่กำหนดไว้ ด้วยกาย (ของตน) ส่วนใดส่วนหนึ่ง. เป็นปาราชิก แก่ภิกษุณีแม้โดยประการทั้งสอง.

สองบทว่า กาเยน กายปฏิพทฺธํ คือ (ภิกษุณีถูกต้อง) ของเนื่อง ด้วยกายของบุรุษด้วยกายของตน มีประการดังกล่าวแล้วนั่นแล.

ในบทว่า อามสติ นี้ มีวินิจฉัยว่า ภิกษุณี จงจับต้องเองหรือจง ยินดีการจับต้องของบุรุษนั้นก็ตามที เป็นถุลลัจจัยเหมือนกัน.

สองบทว่า กายปฏิพทฺเธน กายํ ได้แก่ ภิกษุณีจับต้องกายของ บุรุษ ด้วยของเนื่องด้วยกายมีประการดังกล่าวแล้วของตน.

แม้ในบทว่า อามสติ นี้ ก็มีวินิจฉัยว่า ภิกษุณีจงจับต้องเองหรือ จงยินดีการจับต้องของบุรุษก็ตามที เป็นถุลลัจจัยทั้งนั้น. แม้ในบทที่เหลือ ก็ พึงทราบวินิจฉัยโดยนัยนี้แล. แต่ถ้าเป็นภิกษุกับภิกษุณีด้วยกัน ในภิกษุกับ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 14

ภิกษุณีนั้น ถ้าภิกษุณีจับต้อง ภิกษุเป็นผู้นิ่งไม่ไหวติงแต่ยินดีด้วยจิต พระวินัยธรไม่ควรปรับภิกษุด้วยอาบัติ. ถ้าภิกษุจับต้อง ภิกษุณีเป็นผู้นิ่งไม่ไหวติง แต่ยินดี (ยอมรับ) ด้วยจิตอย่างเดียว แม้ไม่ให้ส่วนแห่งกายไหว พระวินัยธร ก็พึงปรับด้วยปาราชิกในเขตแห่งปาราชิก ด้วยถุลลัจจัยในเขตแห่งถุลลัจจัย ด้วยทุกกฏในเขตทุกกฏ. เพราะเหตุไร? เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย. นี้เป็นวินิจฉัย ในอรรถกถาทั้งหลาย. ก็เมื่อมีวินิจฉัย อย่างนี้ ความที่สิกขาบทนี้มีการทำเป็นสมุฏฐาน ไม่ปรากฏให้เห็น เพราะเหตุ นั้นความที่สิกขาบทมีการทำเป็นสมุฏฐานนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พวกอาจารย์ กล่าวไว้โดยนัย คือความที่สิกขาบทนั้นมีการทำเป็นสมุฏฐานทั้งนั้นเป็นส่วน มาก.

บทว่า อุพฺภกฺขกํ แปลว่า เบื้องบนแห่งรากขวัญทั้งสอง.

บทว่า อโธชานุมณฺฑลํ แปลว่า ภายใต้แห่งมณฑลเข่าทั้งสอง. อนึ่ง แม้เหนือข้อศอกขึ้นมา ท่านก็สงเคราะห์เข้าด้วยเหนือมณฑลเข่าเหมือนกัน ใน

บทว่า อโรชานุมณฑลํ นี้.

ในคำ เอกโต อวสฺสุเต นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า เอกโต ไว้โดยไม่แปลกกัน แม้ก็จริง, ถึงอย่างนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เมื่อภิกษุณีมี ความกำหนัดเท่านั้น ความต่างแห่งอาบัตินี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้.

ในสิกขาบทนี้ มีวินิจฉัยตั้งแต่ต้นดังต่อไปนี้ :- ภิกษุณีกำหนัดด้วย ความกำหนัดในการเคล้าคลึงกาย ถึงบุรุษก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อมีความยิน ดีในการเคล้าคลึงกาย ในกายประเทศตั้งแต่รากขวัญลงมา เหนือมณฑลเข่าขึ้น ไป เป็นปาราชิกแก่ภิกษุณี. ภิกษุณีมีความกำหนัดในการเคล้าคลึงกาย. ฝ่าย บุรุษมีความกำหนัดไม่เมถุน หรือมีความรักอาศัยเรือน หรือมีจิตบริสุทธิ์ก็ตาม

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 15

ที เป็นถุลลัจจัย ทั้งนั้น. ภิกษุณีมีความกำหนัดในเมถุน, ฝ่ายบุรุษมีความ กำหนัดในการเคล้าคลึงกาย หรือมีความกำหนัดในเมถุนหรือมีความรักอาศัย เรือน หรือมีจิตบริสุทธิ์ก็ตามที เป็นทุกกฏ. ภิกษุณีมีความรักอาศัยเรือน, ฝ่ายบุรุษมีจิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ในฐานะ ๔ ที่กล่าวแล้วเป็นทุกกฏเหมือนกัน. ภิกษุณีมีจิตบริสุทธิ์, แต่บุรุษมีจิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ในฐานะ ๔ ที่กล่าวแล้ว ไม่เป็นอาบัติ. แต่ถ้าเป็นภิกษุ กับภิกษุณี ทั้งสองฝ่ายมีความกำหนัดในการ เคล้าคลึงกาย, ฝ่ายภิกษุเป็นสังฆาทิเสส, ภิกษุณีเป็นปาราชิก. ภิกษุณีมีความ กำหนัดในการเคล้าคลึงกาย, ฝ่ายภิกษุมีความกำหนัดในเมถุนก็ดี ความรัก อาศัยเรือนก็ดี เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุณี เป็นทุกกฏแก่ภิกษุ. ทั้งสองฝ่ายมีความ กำหนัดในเมถุนก็ดี มีความรักอาศัยเรือนก็ดี เป็นทุกกฏเหมือนกันแม้ทั้งสอง ฝ่าย. ฝ่ายใดมีจิตบริสุทธิ์ ในฐานะ (มีการจับต้องเป็นต้น) ใด, ฝ่ายนั้นไม่เป็น อาบัติในฐานะนั้น. แม้ทั้งสองฝ่ายมีจิตบริสุทธิ์ก็ไม่เป็นอาบัติแม้ทั้งสองฝ่าย.

ในบทว่า อนาปตฺติ อสญฺจิจฺจ เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า ภิกษุณี จับต้องผิดพลาดไปก็ดี ส่งใจไปทางอื่นก็ดี ไม่รู้ว่า ผู้นี้เป็นชาย หรือหญิงก็ ดี ถึงถูกบุรุษนั้นถูกต้องก็ไม่ยินดีผัสสะนั้นก็ดี แม้เมื่อมีการจับต้องก็ไม่เป็น อาบัติ. คำทีเหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปฐมปาราชิก (ของภิกษุ) เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๒ ดังนี้แล.

อรรถกถาปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 16

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒

เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา

[๑๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี สุนทรีนันทามีครรภ์กับนายสาฬหะ หลานมิคารมาตา ได้ปกปิดไว้จนมีครรภ์ อ่อนๆ เมื่อครรภ์แก่แล้ว จึงสึกออกมาตลอดบุตร ภิกษุณีทั้งหลายได้ถาม เรื่องนั้นกับภิกษุณีถุลลนันทาว่า แม่เจ้า นางสุนทรีนันทาสึกไม่นานนัก ก็ คลอดบุตร ชะรอยนางจะมีครรภ์ทั้งเป็นภิกษุณีกระมัง เจ้าข้า.

ถุล. อย่างนั้น เจ้าข้า.

ภิก. ก็แม่เจ้ารู้อยู่ว่าภิกษุณีล่วงอาบัติปาราชิก เหตุไฉนจึงไม่โจทด้วย ตน ไม่บอกแก่คณะเล่า.

ถุล. โทษอันใดของเธอ นั่นเป็นโทษของดิฉัน การเสื่อมเกียรติอันใด ของเธอ นั่นเป็นการเสื่อมเกียรติของดิฉัน การเสื่อมยศอันใดของเธอ นั่นเป็น การเสื่อมยศของดิฉัน การเสื่อมลาภอันใดของเธอ นั่นเป็นการเสื่อมลาภของ ดิฉัน ไฉนดิฉันจักบอกโทษของตน การเสื่อมเกียรติของตน การเสื่อมยศของ ตน การเสื่อมลาภของตน แก่คนเหล่าอื่นเล่า.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่าแม่เจ้าถุลลนันทารู้อยู่ซึ่งภิกษุณีล่วงอาบัติปาราชิก ไฉนจึงไม่โจทด้วยตน ไม่ บอกแก่คณะเล่า แล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูล ความเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 17

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น ทรงทำธรรมีกถา แล้วทรงสอบถาม ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทา รู้อยู่ว่าภิกษุณี ล่วงอาบัติปาราชิก ไม่โจทด้วยตน ไม่บอกแก่คณะ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี ถุลลนันทารู้อยู่ว่าภิกษุณีล่วงอาบัติปาราชิก ไฉนจึงไม่โจทด้วยตน ไม่บอกแก่ คณะ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การ กระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และ เพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกภิกษุณี จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง นี้ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๖. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด รู้อยู่ว่าภิกษุณีล่วงอาบัติปาราชิก ไม่ โจทด้วยตน ไม่บอกแก่คณะ ในเวลาที่ภิกษุณีนั้นยังดำรงเพศอยู่ก็ดี เคลื่อนไปแล้วก็ดี ถูกนาสนะแล้วก็ดี ไปเข้ารีตเดียรถีย์เสียก็ดี ภาย หลังนางจึงบอกอย่างนี้ว่า แม่เจ้า เจ้าข้า เมื่อก่อนดิฉันรู้จักภิกษุณี

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 18

นั่นได้ดีทีเดียวว่า นางเป็นพี่หญิง น้องหญิง มีความประพฤติเช่นนี้ และมีความประพฤติเช่นนั้น แต่ดิฉันไม่โจทด้วยตน ไม่บอกแก่คณะ แม้ภิกษุณีนี้ก็เป็นปาราชิก ชื่อวัชชปฏิจฉาทิกา หาสังวาสมิได้.

เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เองก็ดี คนอื่นบอกแก่เธอก็ดี เจ้าตัวบอกก็ดี.

คำว่า ล่วงอาบัติปาราชิก คือ ต้องอาบัติปาราชิกข้อใดข้อหนึ่ง ใน ปาราชิก ๘.

คำว่า ไม่โจทด้วยตน คือ ไม่โจทเอง.

คำว่า ไม่บอกแก่คณะ คือ ไม่บอกแก่ภิกษุณีอื่นๆ.

[๑๔] พากย์ว่า ในเวลาที่ภิกษุณีนั้น ยังดำรงเพศอยู่ก็ดี เป็น ต้น อธิบายว่า ภิกษุณีผู้ดำรงอยู่ในเพศของตน ตรัสเรียกว่า ผู้ยังดำรงเพศอยู่ ผู้ถึงมรณภาพ ตรัสเรียกว่า ผู้เคลื่อนไป ผู้สึกเองก็ตาม ถูกผู้อื่นนาสนะเสีย ก็ตาม ตรัสเรียกว่า ผู้ถูกนาสนะ เข้าไปสู่ลัทธิเดียรถีย์ ตรัสเรียกว่า เข้ารีต เดียรถีย์.

[๑๕] สองพากย์ว่า ภายหลังนางจึงบอกอย่างนี้ว่า แม่เจ้า เจ้าข้า เมื่อก่อนดิฉันรู้จักภิกษุณีนั่นได้ดีทีเดียวว่า นางเป็นพี่หญิง

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 19

น้องหญิง มีความประพฤติเช่นนี้ และมีความประพฤติเช่นนี้ แต่ ดิฉันไม่โจทด้วยตน นั้น คือ ไม่โจทเอง.

คำว่า ไม่บอกแก่คณะ คือ ไม่บอกแก่ภิกษุณีอื่นๆ.

[๑๖] บทว่า แม้ภิกษุณีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียงภิกษุณี รูปก่อน.

อุปมาด้วยใบไม้เหลือง

คำว่า เป็นปาราชิก มีอธิบายว่า ใบไม้เหลืองหลุดจากขั้วแล้วไม่ควร เพื่อจะเป็นของเขียวสดขึ้นได้ ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุณีก็ฉันนั้นแหละ รู้อยู่ว่า ภิกษุณีล่วงปาราชิกธรรมแล้ว เมื่อเธอทอดธุระว่าจักไม่โจทด้วยตน จักไม่บอก แก่คณะดังนี้เท่านั้น ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นธิดาของพระศากยบุตร เพราะ เหตุนั้นจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.

บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่กรรมที่ พึงทำร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่า สังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุณีนั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้.

อนาปัตติวาร

[๑๗] ภิกษุณีไม่บอกด้วยเกรงว่า ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท จักมีแก่สงฆ์ ๑ ไม่บอกด้วยเข้าใจว่า สงฆ์จักแตก กัน สงฆ์จักร้าวรานกัน ๑ ไม่บอกด้วยแน่ใจว่า ภิกษุณีนี้เป็นคนร้ายกาจ หยาบคาย จักทำอันตรายแก่ชีวิต หรือพรหมจรรย์ ๑ ไม่พบภิกษุณีอื่นๆ ที่ สมควรจะบอก จึงไม่บอก ๑ ไม่ประสงค์จะปกปิด แต่ยังมิได้บอก ๑ ไม่บอก ด้วยสำคัญว่า จักปรากฏด้วยการกระทำของเขาเอง ๑ ภิกษุณีวิกลจริต ๑ ภิกษุณี อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ จบ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 20

อรรถกถาปาราชิกสิกขาบทที่ ๒

วินิจฉัยในปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ พึงทราบดังนี้ :-

แก้อรรถปาฐะบางตอนในทุติยปาราชิก

บทว่า กจฺจิโน สา ตัดบทเป็น กจฺจิ นุ สา แปลว่า ชะรอย นาง (จะมีครรภ์ทั้งเป็นภิกษุณีกระมัง?)

บทว่า อวณฺโณ แปลว่า มิใช่คุณ.

บทว่า อกิตฺติ แปลว่า การตำหนิ.

บทว่า อยโส ได้แก่ ความเสียบริวาร, อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ การ ติเตียนลับหลัง.

คำว่า สา วา อาโรเจติ ได้แก่ นางภิกษุณีผู้ซึ่งต้องปาราชิกแล้ว ไม่บอกด้วยตนเองก็ดี.

ข้อว่า อฏฺนฺนํ ปาราชิกานํ อญฺตรํ ได้แก่ ปาราชิก ๔ ที่ สาธารณะกับภิกษุทั้งหลาย และเฉพาะปาราชิก ๔ ที่ไม่ทั่วไปอย่างใดอย่างหนึ่ง. และปาราชิกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติในภายหลัง เพราะฉะนั้น จึง ตรัสไว้ในวิภังค์ว่า อฏฺนฺนํ. แต่บัณฑิตพึงทราบว่า พระสังคีติกาจารย์ ทั้งหลายจัดตั้งปาราชิกนี้ไว้ในโอกาสนี้ ก็เพราะเป็นคู่กับสิกขาบทก่อน.

สองบทว่า ธุรํ นิกฺขิตฺตมตฺเต คือ พอเมื่อเธอทอดธุระเสีย ก็ กถาพิสดารในสิกขาบทนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยดังได้กล่าวแล้วในทุฏฐุลล-

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 21

สิกขาบท ในสัปปาณวรรคนั้นแล. แต่มีความแปลกกันเพียงเท่านี้ว่า จริงอยู่ ในทุฏฐุลลสิกขาบทนั้น เป็นปาจิตตีย์, ในบทนี้เป็นปาราชิก. คำที่เหลือเป็น เช่นเดียวกันทั้งนั้น.

แม้คำว่า วชฺชปฏิจฺฉาทิกา นี้ ก็เป็นเพียงชื่อแห่งปาราชิกนี้เท่านั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ทรงวิจารณ์ไว้ในบทภาชนะ. คำที่ เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นทางกายวาจากับจิต เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต ทุกขเวทนา ดังนี้แล.

อรรถกถาปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ จบ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 22

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

[๑๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ถุลลนันทาประพฤติตามพระอริฎฐะผู้เผ่าพรานแร้งที่ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันยก เสียแล้ว บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ประพฤติตามพระอริฏฐะผู้เผ่าพรานแร้ง ซึ่งถูกสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้วเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันนทาประพฤติตามอริฏฐภิกษุผู้เผ่าพรานแร้ง ซึ่งถูก สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทา จึงได้ประพฤติตามอริฏฐภิกษุผู้เผ่าพรานแร้ง ซึ่งถูกสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้วเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่า ดังนี้ :-

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 23

พระบัญญัติ

๗. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด พึงประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์พร้อม เพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสน์ ผู้ไม่ เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย ภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า ภิกษุ นั่นแล อันสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสน์ เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มี สังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย แม่เจ้าอย่าประพฤติตามภิกษุนั่นเลย แลภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่ อย่างนั้นเทียว ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสกว่าจะ ครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย หากนางถูกสวดสมนุภาส กว่าจะครบสามจบอยู่ สละกรรมนั้นเสีย การสละได้อย่างนี้ นั่น เป็นการดี หากนางไม่สละเสีย แม้ภิกษุณีนั้นก็เป็นปาราชิก ชื่อ อุกขิตตานุวัตติกา หาสังวาสมิได้.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๙] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

สงฆ์ที่ชื่อว่า พร้อมเพรียงกัน คือ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมา เดียวกัน.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 24

ที่ชื่อว่า ถูกยกเสียแล้ว คือ ถูกยกเสียในเพราะไม่เห็นอาบัติ ใน เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือในเพราะไม่สละทิฏฐิบาป.

สองบทว่า ตามธรรม ตามวินัย คือ โดยธรรมอันใด โดยวินัย อันใด.

บทว่า ตามสัตถุศาสน์ คือ ตามคำสั่งสอนของพระผู้ชำนะกิเลส ได้แก่ พระพุทธศาสนา.

ที่ชื่อว่า ไม่เอื้อเฟื้อ คือ ไม่เชื่อสงฆ์ บุคคล หรือกรรม.

ที่ชื่อว่า ไม่ทำคืนอาบัติ คือ ถูกสงฆ์ยกเสียแล้ว สงฆ์ยังไม่เรียก เข้าหมู่.

ที่ชื่อว่า มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย คือ ภิกษุ ทั้งหลายผู้มีสังวาสเสมอกัน ตรัสเรียกว่าภิกษุผู้สหาย ภิกษุนั้นไม่ร่วมกับภิกษุผู้ สหายเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็น สหาย.

บทว่า พึงประพฤติตามภิกษุนั้น ความว่า ภิกษุณีนั้นมีความเห็น อย่างใด มีความพอใจอย่างใด มีความชอบใจอย่างใด แม้ภิกษุณีนั้นก็มีความ เห็นอย่างนั้น มีความพอใจอย่างนั้น มีความชอบใจอย่างนั้น.

[๒๐] บทว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีผู้ประพฤติตามภิกษุ ผู้ ถูกสงฆ์ยกเสียแล้วนั้น

บทว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุณีเหล่าอื่น คือ ภิกษุณี ที่ได้เห็นได้ยินทั้งหลาย พึงว่ากล่าวดังนี้ว่า แม่เจ้า ภิกษุนั้นแล อันสงฆ์ผู้ พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสน์ เป็นผู้ไม่ เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย แม่เจ้า

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 25

อย่าประพฤติตามภิกษุนั่น พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากนางสละได้ การสละได้ดั่งนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีทั้งหลายทราบเรื่องแล้วไม่ว่ากล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีนั้นอัน ภิกษุณีทั้งหลายพึงคุมตัวไปสู่ท่ามกลางสงฆ์ แล้วว่ากล่าวว่า แม่เจ้า ภิกษุนั่น แลอันสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสน์ เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย แม่เจ้าอย่าประพฤติตามภิกษุนั่นเลย พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวแม้ ครั้งที่ ๓ หากเธอสละได้ การสละได้ดั่งนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ต้อง อาบัติทุกกฏ.

[๒๑] ภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาส ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสอย่างนี้.

ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตตุถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาสมนุภาส

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ประพฤติ ตามภิกษุผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสน์ ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาส เสมอกันให้เป็นสหาย นางยังไม่ยอมสละวัตถุนั้น ถ้าความพร้อม พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสภิกษุณีผู้มีชื่อนี้ เพื่อ ให้สละวัตถุนั้น นี้เป็นญัตติ.

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ประพฤติ ตามภิกษุผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 26

ตามสัตถุศาสน์ ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาส เสมอกันให้เป็นสหาย นางยังไม่ยอมสละวัตถุนั้น สงฆ์สวดสมนุภาส ภิกษุณีผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น การสวดสมนุภาสภิกษุณีผู้มี ชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็น ผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.

ดิฉันกล่าวความนี้เป็นครั้งที่สอง ...

ดิฉันกล่าวความนี้เป็นครั้งที่สาม ...

ภิกษุณีมีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว เพื่อให้สละวัตถุ นั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ดิฉันทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

[๒๒] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้อง อาบัติถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติปาราชิก.

[๒๓] บทว่า ภิกษุณีแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียง ภิกษุณีรูปก่อน.

ทรงอุปมาด้วยศิลาแตก

คำว่า เป็นปาราชิก มีอธิบายว่า ศิลาหนาแตกสองเสี่ยงแล้วเป็น ของกลับต่อกันสนิทไม่ได้ฉันใด ภิกษุณีก็ฉันนั้นแล อันสงฆ์สวดสมนุภาสอยู่ ถึงครั้งที่สาม ยังไม่สละ ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่ใช่ธิดาของพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.

บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่กรรมที่พึง ทำร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นั่นชื่อว่า สังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุนั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า หาสังวาส มิได้.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 27

บทภาชนีย์

ติกปาราชิก

[๒๔] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติปาราชิก.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติปาราชิก.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้อง อาบัติปาราชิก.

ติกทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ... ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ... ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๒๕] ยังไม่ถูกสวดสมนุภาส ๑ ยอมสละเสีย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิ- กัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ จบ

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 28

อรรถกถาปาราชิกสิกขาบทที่ ๓

วินิจฉัยในปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้ :-

แก้อรรถปาฐะบางตอนในปาราชิกสิกขาบทที่ ๓

บทว่า ธมฺเมน ได้แก่ ตามวัตถุที่เป็นจริง.

บทว่า วินเยน ได้แก่ โจทแล้วให้ๆ การ. ก็บทภาชนะแห่งสองบท ว่า ธมฺเมน วินเยน นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อทรงแสดงเพียง อธิบายนี้ว่า ผู้ที่ถูกสงฆ์ยกวัตรตามธรรมดาตามวินัย เป็นผู้ถูกยกวัตรชอบแล้ว.

บทว่า สตฺถุ สาสเนน ได้แก่ โดยญัตติสัมปทาและอนุสาวนาสัมปทา. แต่ในบทภาชนะแห่งบทว่า สตฺถุ สาสเนน นั้น ตรัสเพียงคำ ไวพจน์เท่านั้นว่า โดยชินศาสน์ คือ โดยพุทธศาสน์.

ในคำว่า สงฺฆํ วา คณํ วา เป็นต้น มีวินิฉัยดังนี้ :- ไม่เชื่อ คือ ไม่ประพฤติตามสงฆ์ผู้ซึ่งทำกรรม คณะ คือ บุคคลมากคน หรือบุคคลคน เดียวผู้นับเนื่องในสงฆ์นั้น หรือกรรมนั้น อธิบายว่า ไม่ยังความเอื้อเฟื้อให้ เกิดขึ้นในสงฆ์เป็นต้นนั้น.

ในคำว่า สมานสํวาสกา ภิกฺขู วุจฺจนฺติ สหายา โส เตหิ สทฺธึ นตฺถิ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ธรรมนี้ คือ กรรมอย่างเดียวกัน อุเทศอย่างเดียว กัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน ชื่อว่า สังวาสก่อน. สังวาสแห่งภิกษุเหล่า นั้นเสมอกัน; เหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงชื่อว่ามีสังวาสเสมอกัน. ภิกษุทั้งหลาย. เห็นปานนี้ ตรัสเรียกว่า สหาย เพราะมีภาวะที่เป็นไปร่วมกันในสังวาสนั้น แห่งภิกษุ.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 29

บัดนี้ สังวาสซึ่งเป็นเหตุให้ตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้น ว่า ผู้มีสังวาส เสมอกัน ไม่มีแก่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตรนั้น ร่วมกับภิกษุเหล่านั้น และเหล่า ภิกษุที่เธอไม่มีสังวาสนั้นร่วมด้วย เป็นอันเธอมิได้ทำให้เป็นสหายของตน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายผู้มีสังวาสเสมอ กัน เรียกว่า เป็นสหายกัน ภิกษุนั้นไม่ร่วมกับภิกษุสหายเหล่านั้น; เพราะ เหตุนั้น จึงเรียกว่า มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยดังได้กล่าวแล้วในสังฆเภทสิกขาบทเป็นต้น.

สิกขาบทนี้ มีการสวดสมนุภาสเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นทางกาย วาจา กับจิต เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต ทุกขเวทนา ดังนี้แล.

อรรถกถาปาราชกสิกขาบท ๓ จบ

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 30

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์

[๒๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ฉัพพัคคีย์มีความกำหนัด การที่บุรุษบุคคลผู้กำหนัดจับมือบ้าง จับชายผ้า สังฆาฏิบ้าง ยืนด้วยบ้าง สนทนาด้วยบ้าง ไปสู่ที่นัดแนะกันบ้าง ยินดีการที่บุรุษ มาหาตามนัดบ้าง เข้าไปสู่ที่มุงด้วยกันบ้าง ทอดกายเพื่อประโยชน์แก่บุรุษนั้น เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั้นบ้าง บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็ เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จึงได้มีความกำหนัด ยินดีการที่บุรุษบุคคลผู้กำหนัดจับมือบ้าง จับชายผ้าสังฆาฎิบ้าง ยืนด้วยบ้าง สนทนาด้วยบ้าง ไปสู่ที่นัดแนะกันบ้าง ยินดีการที่บุรุษมาหาตามนัดบ้าง เข้า ไปสู่ที่มุงด้วยกันบ้าง ทอดกายเพื่อประโยชน์แก่บุรุษนั้น เพื่อประสงค์จะเสพ อสัทธรรมนั้นบ้างเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีฉัพพัคคีย์มีความกำหนัด ยินดีการที่บุรุษบุคคลผู้กำหนัดจับมือ บ้าง จับชายผ้าสังฆาฏิบ้าง ยืนด้วยบ้าง สนทนาด้วยบ้าง ไปสู่ที่นัดแนะกัน บ้าง ยินดีการที่บุรุษมาหาตามนัดบ้าง เข้าไปสู่ที่มุงด้วยกันบ้าง ทอดกายเพื่อ ประโยชน์แก่บุรุษนั้น เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั้นบ้าง จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 31

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี ฉัพพัคคีย์จึงมีความกำหนัด ยินดีการที่บุรุษบุคคลผู้กำหนัดจับมือบ้าง จับ ชายผ้าสังฆาฏิบ้าง ยืนด้วยบ้าง สนทนาด้วยบ้าง ไปสู่ที่นัดแนะกันบ้าง ยินดี การที่บุรุษมาหาตามนัดบ้าง เข้าไปสู่ที่มุงด้วยกันบ้าง ทอดกายเพื่อประโยชน์ แก่บุรุษนั้น เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั้นบ้าง การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๘.๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด มีความกำหนัด ยินดีการที่บุรุษบุคคล ผู้กำหนัดจับมือก็ดี จับชายผ้าสังฆาฏิก็ดี ยินด้วยก็ดี สนทนาด้วย ก็ดี ไปสู่ที่นัดหมายกันก็ดี ยินดีการที่บุรุษมาหาตามนัดก็ดี เข้าไป สู่ที่มุงด้วยกันก็ดี ทอดกายเพื่อประโยชน์แก่บุรุษนั้น เพื่อประสงค์ จะเสพอสัทธรรมนั้นก็ดี แม่ภิกษุณีนี้ก็เป็นปาราชิก ชื่ออัฏฐวัตถุกา หาสังวาสมิได้. เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น ผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 32

ที่ชื่อว่า มีความกำหนัด คือ มีความยินดียิ่ง มีความเพ่งเล็ง มี จิตปฏิพัทธ์.

ที่ชื่อว่า ผู้กำหนัด คือ กำหนัดนักแล้ว มีความเพ่งเล็ง มีจิต ปฏิพัทธ์.

ที่ชื่อว่า บุรุษบุคคล ได้แก่มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ผู้ชาย ไม่ใช่ เปรตผู้ชาย ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นผู้รู้ความ เป็นผู้สามารถเพื่อถึงความ เคล้าคลึงด้วยกาย.

บทว่า ยินดีการจับมือก็ดี ความว่า ที่ชื่อว่า มือ กำหนดตั้งแต่ ข้อศอกถึงปลายเล็บ ภิกษุณียินดีการจับอวัยวะเหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้เข่าลง มา เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

บทว่า ยินดีการจับชายผ้าสังฆาฏิก็ดี คือ ยินดีการจับผ้านุ่งก็ดี ผ้าห่มก็ดี เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

บทว่า ยืนด้วยก็ดี ความว่า ยืนอยู่ในระยะช่วงมือของบุรุษ เพื่อ ประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

บทว่า สนทนาด้วยก็ดี ความว่า ยืนพูดอยู่ในระยะช่วงมือของ บุรุษ เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

บทว่า ไปสู่ที่นัดแนะกันก็ดี ความว่า บุรุษพูดนัดว่า โปรดมา สู่สถานที่ชื่อนี้ ดังนี้ ภิกษุณีไปเพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติ ทุกกฏทุกๆ ก้าว พอย่างเข้าระยะช่วงมือของบุรุษ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

บทว่า ยินดีการที่บุรุษมาหาตามนัดก็ดี ความว่า ยินดีการมา ตามนัดของบุรุษ เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติทุกกฏ พอ ย่างเข้าระยะช่วงมือ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 33

บทว่า เข้าไปสู่ที่มุงด้วยกันก็ดี ความว่า พอย่างเข้าสู่สถานที่อัน มุงไว้ด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย.

บทว่า ทอดกายเพื่อประโยชน์แก่บุรุษนั้นก็ดี ความว่า อยู่ใน ระยะช่วงมือของบุรุษ แล้วทอดกายเพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้อง อาบัติถุลลัจจัย.

[๒๘] บทว่า แม้ภิกษุณีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียง ภิกษุณีรูปก่อน.

อุปมาด้วยตาลยอดด้วน

บทว่า เป็นปาราชิก มีอธิบายว่า ต้นตาลมียอดด้วนแล้วไม่อาจงอก อีกได้ ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุณีก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำวัตถุถึงที่ ๘ ไม่ใช่สมณะ ไม่ใช่ธิดาของพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.

บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่าสังวาส ได้แก่กรรมที่พึงทำ ร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่าสังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุณีนั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้.

อนาปัตติวาร

[๒๙] ไม่จงใจ ๑ เผลอสติ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ ไม่ยินดี ๑ วิกลจริต ๑ มีจิต ฟุ้งซ่าน ๑ กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 34

[๓๐] แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือปาราชิก ๘ สิกขาบท๑ ดิฉันยกขึ้น แสดงแล้วแล ภิกษุณีต้องอาบัติปาราชิกอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมไม่ได้อยู่ร่วมกับ ภิกษุณีทั้งหลาย ในภายหลัง เหมือนในกาลก่อน เป็นปาราชิกหาสังวาสมิได้ ดิฉันขอถามแม่เจ้าทั้งหลายในอาบัติปาราชิกเหล่านั้นว่า แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์ แล้วหรือ ดิฉันขอถามแม้ครั้งที่สองว่า แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ ดิฉัน ขอถามแม้ครั้งที่สามว่า แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ แม่เจ้าทั้งหลายเป็นผู้ บริสุทธิ์ในอาบัติปาราชิกเหล่านี้แล้ว เหตุนั้น จึงนิ่ง ดิฉันทรงความนี้ไว้ด้วย อย่างนี้แล.

ปาราชิกกัณฑ์ จบ


๑. สิกขาบทที่ ๕ ถึง ๘ เหมือนของภิกษุ แต่ใช้สำนวนต่างโดยควรแก่เพศ ส่วนในอุภโตปาติ- โมกข นับส่วนหนึ่งที่เหมือนของภิกษุ ตั้งเป็นจำนวนครบ ๔ แล้ว จึงนับส่วนของภิกษุณีต่อจนครบ ๔.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 35

อรรถกถาปาราชิกสิกขาบทที่ ๔

วินิจฉัยในปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้ :-

แก้อรรถบางปาฐะและบางเรื่องในจตุตถปาราชิก

บทว่า อวสฺสุตา ได้แก่ ผู้กำหนัดด้วยกายสังสัคคราคะ ด้วยอำนาจ มิตตสันถวะ กล่าวคือ ความยินดีทางโลกีย์. แม้ในบทที่ ๒ ก็นัยนี้นั่นแล.

ก็ในคำว่า ปุริสปุคฺคลสฺส หตฺถคฺคหณํ วา เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า การจับมือที่บุคคลผู้ชายทำแล้ว ตรัสเรียกว่า การจับมือแห่งบุรุษบุคคล. แม้ ในการจับชายผ้าสังฆาฎิ ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่การจับมือ และการจับแม้อย่าง อื่นในเขตที่ไม่เป็นปาราชิก บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านรวมเข้าเป็นอันเดียวกัน เรียกว่าการจับมือ ในคำว่า หตฺถคฺคหณํ นี้. ด้วยเหตุนั้นแล ในบทภาชนะ แห่งบทว่า ทตฺถคฺคหณํ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สองบทว่า หตฺถคฺคหณํ วา สาทิเยยฺย มีความว่า ที่ชื่อว่ามือ กำหนดตั้งแต่ข้อศอกไป จนถึงปลายเล็บ, ภิกษุณียินดีการจับอวัยวะเหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้มณฑลเข่า ลงมา เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย. แต่ในบทว่า อสทฺธมฺโม นี้ การเคล้าคลึงกาย พึงทราบว่า อสัทธรรม ไม่ใช่เมถุนธรรม. แท้จริงถุลลัจจัยหาใกล้เคียงต่อเมถุนธรรมไม่. อนึ่ง แม้คำว่า เป็นผู้รู้ความ เป็นผู้สามารถเพื่อถึงความเคล้าคลึงกาย ก็เป็นเครื่องสาธกได้ ในบทว่า อสทฺ- ธมฺโมนี้.

หากผู้ท้วง จะพึงท้วงว่า คำที่ท่านกล่าวว่า การเคล้าคลึงกาย พึงทราบ ว่า อสัทธรรม ก็ผิดจากเสทโมจนคาถา ที่ตรัสไว้ในคัมภีร์ปริวารนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 36

ไม่เสพเมถุนธรรมนั้นในสตรี ๓ จำพวก ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ในบุรุษ ๓ จำพวก คนไม่ประเสริฐ ๓ จำพวก และ บัณเฑาะก์ ๓ จำพวก และไม่ประพฤติเมถุน ในอวัยวะเครื่องเพศ. แต่ความขาดย่อมมี เพราะเมถุนธรรมเป็นปัจจัย, ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว ดังนี้.

แก้ว่า ไม่ผิด เพราะกายสังสัคคะ เป็นบุรพภาคแห่งเมถุน. จริงอยู่ ในปริวารนั่นแหละ ได้ตรัสสิกขาบท ๕ มีสุกกวิสัฎฐิเป็นต้น ว่าเป็นบุรพภาค แห่งเมถุนธรรมอย่างนี้ว่า ข้อที่ว่า พึงทราบบุรพภาคแห่งเมถุนธรรม ได้แก่ สุกกวิสัฏฐิมีสี มีสีมาก กายสังสัคคะ ทุฎฐุลลวาจา วนมนุปปทานะ อัตตกาม ปาริจริยา (๑การมอบดอกไม้ใบไม้ การให้ของขวัญ) เพราะเหตุนั้น กายสังสัคคะ จึงชื่อว่า เป็นปัจจัย เพราะเป็นบุรพภาคแห่งเมถุนธรรม.

บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในคำว่า เฉชฺชํ สิยา เมถุนธมฺมปจฺจยา นี้ โดยปริยายนี้ ด้วยประการฉะนี้. บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในบททั้งปวงโดย อุบายนี้.

อีกนัยหนึ่ง ในบทภาชนะแห่งสองบทว่า สงฺเกตํ วา คจฺเฉยฺย นี้ สองบทว่า อิตฺถนฺนามํ อาคจฺฉ มีความว่า ท่านจงมาสู่สถานที่มีชื่อ อย่างนี้.


๑. วนมนุปฺปทานํ วิมติ; เป็น คมนุปฺปาทนนฺติ สญฺจริตฺตํ.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 37

ข้อว่า อฏฺฐมํ วตฺถุํ ปริปูเรนฺตี อสฺสมณี โหติ มีความว่า ภิกษุณีทำวัตถุที่ ๘ ให้เต็มบริบูรณ์ โดยนัยใดนัยหนึ่ง จะเป็นโดยอนุโลม หรือโดยปฏิโลม หรือโดยคั่นเป็นตอนก็ตาม เป็นผู้มิใช่สมณี. ส่วนภิกษุณีใด ทำวัตถุเดียว หรือ ๗ วัตถุให้เต็มแม้ตั้ง ๗ ครั้ง จะเป็นผู้ชื่อว่ามิใช่สมณีหามิได้ เลย, ภิกษุณีนั้นแสดงอาบัติที่ต้องแล้วย่อมพ้นได้. อีกนัยหนึ่ง ในสิกขาบทนี้ บัณฑิต. พึงทราบอาบัติที่ควรนับ. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อาบัติที่แสดงแล้วควรนับ (ว่าแสดงแล้ว) ก็มี อาบัติที่แสดงแล้วไม่ควรนับ (ว่าแสดงแล้ว) ก็มี.

ในคำว่า เทสิตา คณนูปิกา เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- อาบัติที่ภิกษุณีทำการทอดธุระ แสดงว่า บัดนี้เราจักไม่ต้อง จัดว่าควรนับ คือ ถึงการนับว่าได้แสดงแล้ว ไม่เป็นองค์แห่งปาราชิก. เพราะฉะนั้น ภิกษุณีใด ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ทำการทอดธุระ แสดงแล้ว กลับต้องอีกด้วยอำนาจแห่ง กิเลส, กลับแสดงอีก. ภิกษุณีนั้นแม้เมื่อทำวัตถุทั้ง ๘ ให้เต็มอย่างนี้ ก็ไม่ เป็นปาราชิก. ก็ภิกษุณีใดต้องแล้ว แสดงทั้งๆ ที่ยังมีความอุตสาหะว่า เรา จักต้องวัตถุอย่างอื่นแม้อีก, อาบัตินั้นของภิกษุณีนั้น ไม่ควรนับ, แม้เธอแสดง แล้วก็ไม่เป็นอันแสดงเลยคือ ยังไม่ถึงการนับว่าได้แสดงแล้ว ยังเป็นองค์แห่ง ปาราชิกอยู่ทีเดียว, พอเมื่อวัตถุที่ ๘ ครบบริบูรณ์ เธอก็เป็นปาราชิก. คำที่ เหลือ ตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้น ทางกายวาจากับจิต เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๒ ดังนี้แล.

อรรถกถาปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ จบบริบูรณ์

ตามวรรณนานุกรมแล.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 38

สรูปปาราชิก ๘

บัณฑิตพึงเห็นเนื้อความในคำว่า อุทฺทิฏา โข อยฺยาโย อฏฺ ปาราชิกา ธมฺมา นี้ อย่างนี้ว่า ข้าแต่แม่เจ้าทั้งหลาย! ธรรม คือ ปาราชิก ๘ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล โดยเพียงเป็นปาฎิโมกขุทเทสอย่างนี้ คือ ปาราชิก ๔ ที่ทั่วไป ซึ่งทรงปรารภพวกภิกษุบัญญัติไว้ และปาราชิก ๔ เหล่านี้. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวแล้วนมหาวิภังค์นั้นแล้ว.

อรรถกถาปาราชิกกัณฑ์ในภิกขุนีวิภังค์ในอรรถกถาพระวินัยปิฎก

ชื่อว่าสมันตปาสาทิกา จบ