พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สัตตรสกัณฑ์ สังฆาทิเสส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  12 มี.ค. 2565
หมายเลข  42788
อ่าน  820

[เล่มที่ 5] พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓

พระวินัยปิฎก

เล่ม ๓

ภิกขุนีวิภังค์

สัตตรสกัณฑ์

สังฆาทิเสส

สังฆาทิเสสสิกขาบที่ ๑ 31/39

พระบัญญัติ ๙.๑ 41

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ 43

สังฆาทิเสสสิกขาบที่ ๒ 35/49

พระบัญญัติ ๑๐.๒ 51

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒ 54

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓ 40/55

พระบัญญัติ ๑๑.๓ 56

พระอนุบัญญัติ ๑.๑๑.๓ ก. 59

พระอนุบัญญัติ ๒.๑๑.๓ ข. 60

พระอนุบัญญัติ ๓.๑๑.๓ ค. 61

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓ 63

สังฆาทิเสสสิกขาที่ ๔ 47/68

พระบัญญัติ ๑๒.๔ 70

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔ 72

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕ 52/73

พระบัญญัติ ๑๓.๕ 74

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕ 76

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖ 57/77

พระบัญญัติ ๑๔.๖ 78

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖ 81

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗ 61/82

พระบัญญัติ ๑๘.๗ 84

กรรมวาจาสมนุภาส 86

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗ 88

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘ 69/89

พระบัญญัติ ๑๙.๘ 90

กรรมวาจาสมนุภาส 92

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘ 94

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙ 77/95

พระบัญญัติ ๒๐.๙ 96

กรรมวาจาสมนุภาส 98

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙ 100

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐ 85/101

พระบัญญัติ ๒๑.๑๐ 103

กรรมวาจาสมนุภาส 106

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐ 109

บทสรุป 92/110

อรรถกถาสรุปสังฆาทิเสส ๑๗ 111


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 5]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 39

สัตตรสกัณฑ์

แม่เจ้าทั้งหลาย ก็ธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบทนี้แล มาสู่อุเทศ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑

เรื่องอุบาสกกับภิกษุณีถุลลนันทา

[๓๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น อุบาสกคนหนึ่ง ถวายโรงเก็บของแก่ภิกษุณีสงฆ์แล้วถึงอนิจกรรม เขามีบุตรอยู่ ๒ คนๆ หนึ่ง เป็นคนไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส อีกคนหนึ่งเป็นคนมีศรัทธา เลื่อมใส บุตร ทั้งสองนั้นแบ่งสมบัติของบิดาแล้ว. ต่อมาบุตรคนที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส จึงได้พูดกับบุตรคนที่มีศรัทธาเลื่อมใสว่า โรงเก็บของๆ เรายังมีอยู่ เรามา แบ่งกันเถิด เมื่อเขาพูดอย่างนั้นแล้ว บุตรคนที่ศรัทธาเลื่อมใสพูดห้ามว่า เจ้า อย่าได้พูดอย่างนี้ โรงเก็บของนั้น บิดาของเราได้ถวายภิกษุณีสงฆ์แล้ว.

แม้ครั้งที่สอง บุตรคนที่ไม่มีศรัทธาไม่เลื่อมใส ก็พูดว่า โรงเก็บของๆ เรา เราจะแบ่งกัน บุตรคนที่มีศรัทธาเลื่อมใสก็พูดห้ามว่า เจ้าอย่าได้พูดอย่าง นี้ โรงเก็บของนั้น บิดาของเราได้ถวายแก่ภิกษุณีสงฆ์แล้ว.

แม้ครั้งที่สาม บุตรคนที่ไม่มีศรัทธาไม่เลื่อมใส ก็พูดว่า โรงเก็บของๆ เรา เราจะแบ่งกัน บุตรคนที่มีศรัทธาเลื่อมใสจึงคิดว่า ถ้าโรงเก็บของนั้นจัก เป็นของเรา เราก็จักถวายแก่ภิกษุณีสงฆ์ แล้วกล่าวว่า เราจงแบ่งกันเถิด บังเอิญโรงเก็บของที่เขาทั้งสองแบ่งกันนั้น ได้ตกแก่บุตรคนที่ไม่มีศรัทธา ไม่ เลื่อมใส.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 40

จึงบุตรคนที่ไม่มีศรัทธาไม่เลื่อมใสได้เข้าไปหาภิกษุณีทั้งหลาย แล้ว บอกว่า เชิญแม่เจ้าทั้งหลายออกไปเถิดเจ้าข้า เพราะโรงเก็บของเป็นของข้าพเจ้า.

เมื่อเขาบอกอย่างนั้นแล้ว ภิกษุณีถุลลนันทาได้พูดว่า นายอย่าพูด อย่างนี้ บิดาของพวกนายได้ถวายแก่ภิกษุณีสงฆ์แล้ว.

ต่างเถียงกันอยู่ว่า ถวายแล้ว ไม่ได้ถวาย แล้วฟ้องมหาอำมาตย์ผู้ พิพากษาๆ ถามว่า แม่เจ้า ใครเล่าจะทราบว่าได้ถวายแล้วแก่ภิกษุณีสงฆ์.

เมื่อเขาถามอย่างนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาย้อนถามว่า พวกท่านได้เห็น หรือได้ยินไหมว่า ทานที่เขาถวายกันต้องตั้งพยานด้วย.

จึงมหาอำมาตย์เหล่านั้นพูดว่า แม่เจ้าพูดจริงแท้ แล้วได้ตัดสินโรง เก็บของนั้นให้แก่ภิกษุณีสงฆ์.

ครั้นบุรุษนั้นแพ้คดีแล้ว จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุณี โล้นเหล่านี้ไม่เป็นสมณะ เป็นหญิงฉ้อโกง ไฉนจึงได้ไห้ผู้พิพากษาริบโรงเก็บ ของๆ เราเสียเล่า.

ภิกษุณีถุลลนันทาได้แจ้งความเรื่องนั้นแก่มหาอำมาตย์ๆ ได้ให้ปรับ ไหมบุรุษนั้น.

ครั้นบุรุษนั้นถูกปรับไหมแล้ว ได้ให้สร้างที่พักอาชีวกไว้ใกล้ๆ สำนัก ภิกษุณี แล้วส่งพวกอาชีวกไปอยู่ด้วยสั่งว่า จงช่วยกันกล่าวล่วงเกินภิกษุณี พวกนั้น.

ภิกษุณีถุลลนันทาได้แจ้งความนั้นแก่มหาอำมาตย์ๆ ได้ให้จองจำเขา แล้ว พวกชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ครั้งแรกพวกภิกษุณี ได้ให้เจ้าหน้าที่ริบโรงเก็บของ ครั้งที่สองให้ปรับไหม ครั้งที่สามให้จองจำ คราวนี้เห็นที่จะให้ประหารชีวิต. พวกภิกษุณีได้ยินชาวบ้านพวกนั้นเพ่งโทษ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 41

ติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่าไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ชอบเป็นคนกล่าวหาเรื่องเล่า แล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่ ภิกษุทั้งหลายๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาชอบกล่าวหาเรื่อง จริงหรือ.

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทา จึงได้ชอบกล่าวหาเรื่องเล่า การกระทำของนางนั่นไม่เป็น ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๙.๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด ชอบกล่าวหาเรื่องกับคหบดีก็ดี บุตร คหบดีก็ดี ทาสก็ดี กรรมกรก็ดี โดยที่สุด แม้สมณะปริพาชก ภิกษุณี นี้ต้องธรรมคือสังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติขณะ แรกทำ.

เรื่องอุบาสกกับภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ประสงค์ในอรรถนี้.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 42

ที่ชื่อว่า กล่าวหาเรื่อง ได้แก่ ที่เขาเรียกว่าผู้ก่อคดี.

ที่ชื่อว่า คหบดี ได้แก่ บุรุษผู้ครอบครองเรือนคนใดคนหนึ่ง.

ที่ชื่อว่า บุตรคหบดี ได้แก่ บุตรหรือพี่น้องชายคนใดคนหนึ่ง.

ที่ชื่อว่า ทาส ได้แก่ ทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย ทาสสินไถ่ ทาสเชลย.

ที่ชื่อว่า กรรมกร ได้แก่ งานรับจ้าง คนที่ถูกเกณฑ์มา.

ที่ชื่อว่า สมณะปริพาชก ได้แก่บุรุษคนใดคนหนึ่งผู้เข้าบวชเป็น ปริพาชก เว้นภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร และสามเณรี.

ภิกษุณีแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ด้วยตั้งใจว่า จักก่อคดี ต้องอาบัติ ทุกกฏ บอกแจ้งเรื่องของคนหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ แจ้งเรื่องของคนที่ ๒ ต้องอาบัติถุลลัจจัย คดีถึงที่สุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

[๓๓] บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ ความว่า ต้อง อาบัติพร้อมกับล่วงวัตถุ โดยไม่ต้องสวดสมนุภาส.

ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ขับออกจากหมู่.

บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้น ให้มานัตเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติเดิม เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่ภิกษุณีรูป เดียวเพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่าสังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือ เป็นชื่อ ของอาบัตินิกายนั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส

อนาปัตติวาร

[๓๔] ภิกษุณีถูกมนุษย์เกาะตัวไป ๑ ขออารักขา ๑ บอกไม่เจาะตัว ๑ วิกลจริต ๑ ภิกษุณีอาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สังฆทิเสสสิกขาบทที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 43

อรรถกถาสัตตรสกัณฑ์

บัดนี้ จักมีการพรรณนาอรรถที่ยังไม่ กระจ่าง แห่งสังฆาทิเสสกัณฑ์ อันเป็น ลำดับถัดจากปาราชิกมา ดังต่อไปนี้.

สัตตรสสังหาทิเสสสิกขาบทที่ ๑

ว่าด้วยเรื่องภิกษุณีเป็นโจทก์ฟ้องคดีในโรงศาล

บทว่า อุทฺโทสิตํ แปลว่า โรงเก็บของ.

คำว่า มายฺโย เอวํ อวจ แปลว่า นาย! อย่าได้พูดอย่างนั้น.

บทว่า อปินฺวยฺยา ตัดบทเป็น อปิ นุ อยฺยา แปลว่าพ่อคุณ ... บ้างไหม?

บทว่า อุจฺจาวทถ แปลว่า พวกท่านจงกล่าวล่วงเกิน มีคำอธิบายว่า จงด่า.

บทว่า อุสูยวาทกา ได้แก่ เป็นผู้ชอบกล่าวหาเรื่องด้วยอำนาจความ ริษยา เพราะมานะ ด้วยอำนาจความริษยา เพราะความโกรธ. แต่เพราะ ถูลนันทาภิกษุณีนั้น เป็นผู้ชอบก่อคดีโดยสภาพ ฉะนั้น จึงได้ตรัสไว้ในบท ภาชนะว่า ที่ชื่อว่าชอบกล่าวหาเรื่อง ได้แก่ ที่ท่านเรียกว่า ชอบก่อคดี.

ก็ในคำว่า อฏฺฏการิกา นี้ การวินิจฉัยของพวกตุลาการ ท่านเรียกว่า คดี ซึ่งทางฝ่ายบรรพชิตเรียกว่า อธิกรณ์ บ้างก็มี.

สองบทว่า ทุติยํ วา ปริเยสติ มีความว่า ภิกษุณีผู้ก่อคดีแสวง หาพยาน หรือเพื่อน เป็นทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 44

บทว่า คจฺฉตุ วา มีความว่า จะเป็นสำนัก หรือทางเที่ยวภิกษาจาร ก็ตามที ภิกษุณีเดินไปยังสำนักงานของพวกตุลาการจากที่ที่ตนยืนอยู่ แล้วเกิด ความคิดขึ้นว่า เราจักดำเนินคดี เป็นทุกกฏทุกๆ ย่างเท้า.

สองบทว่า เอกสฺส อาโรเจติ มีความว่า บรรดาชน ๒ คน คนใด คนหนึ่ง แจ้งถ้อยคำของคนใดคนหนึ่ง คือ ของอีกฝ่ายหนึ่ง แก่พวกตุลาการ แม้ในคำว่า ทุติยสฺส อาโรเจติ นี้ ก็นัยนี้นั่นแล.

ส่วนวิตถารกถา เพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟันเฝือ ในคำว่า เอกสฺส อาโรเจติ นี้ ดังต่อไปนี้ :-

ภิกษุณีเห็นพวกตุลาการ ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง โดยที่สุด แม้ผู้มาสู่ สำนักแห่งภิกษุณีแล้วให้การถ้อยคำของตน เป็นทุกกฏแก่ภิกษุณี. อุบาสกให้ การถ้อยคำของตน เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุณี. อุบาสกให้การถ้อยคำของตนก่อน เป็นทุกกฏแก่ภิกษุณี. ถ้าภิกษุณีนั้นให้การถ้อยคำของตน ภิกษุณีเป็นถุลลัจจัย.

ภิกษุณีพูดกะอุบาสกว่า ท่านนั้นแหละจงแถลงถ้อยคำ (จงให้การปาก คำ) ของฉันและของท่าน. อุบาสกนั้นให้การถ้อยคำของตนก่อน หรือจงให้ ถ้อยคำของภิกษุณีก่อนก็ตามที เป็นทุกกฏในเพราะให้การครั้งแรก เป็นถุลลัจจัย ในเพราะให้การครั้งที่ ๒. แม้ในคำว่า อุบาสกพูดกะภิกษุณีว่า ท่านนั่นแหละ จงให้การถ้อยคำของผมและของท่าน นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ภิกษุณีใช้กัปปิยการกให้แถลง. บรรดากัปปิยการกแล ะอุบาสกนั้น กัปปิยการกจงให้การถ้อยคำของภิกษุณีก่อนก็ตาม อุบาสกนอกนี้ให้การถ้อยคำ ของตนก่อนก็ตาม กัปปิยการกจงให้การถ้อยคำของคนทั้ง ๒ ก็ตาม อุบาสก นอกนี้จงให้การถ้อยคำแม้ของคนทั้ง ๒ ก็ตามที เมื่อชนทั้ง ๒ แถลงบอกอยู่ โดยประการใดประการหนึ่ง เป็นทุกกฏแก่ภิกษุณีผู้แถลงให้การครั้งแรก เป็น ถุลลัจจัยในการแถลงให้การครั้งที่ ๒.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 45

แต่เมื่อพวกตุลาการ ฟังถ้อยแถลงของคนทั้ง ๒ ฝ่ายที่แถลงให้การไป โดยประการอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำการตัดสินแล้ว คดีเป็นอันถึงที่สุด. ในคดี ที่ถึงที่สุดนั้น ภิกษุณีจะชนะคดีก็ตาม แพ้ก็ตาม เป็นสังฆาทิเสส.

แต่ถ้าว่า อธิกรณ์ที่ดำเนินเป็นคดีกันแล้ว เป็นเรื่องที่พวกตุลาการเคย ได้ทราบมาก่อน ถ้าพวกตุลาการเหล่านั้น พอเห็นภิกษุณีและผู้ก่อคดี จึง กล่าวว่า ไม่มีกิจที่จะต้องสอบสวนพวกท่าน พวกเรารู้เรื่องนี้ แล้วจึงตัดสิน ให้เสียเองทีเดียว. แม้ในคดีถึงที่สุดเห็นปานนี้ก็ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุณี.

สังฆาทิเสสนี้ มีการต้องแต่แรกทำ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปฐมาปัตตกะ. ความว่า พึงต้องในขณะที่ล่วงละเมิดนั่นเอง. ซึ่งสังฆาทิเสสนั้น มีอัน อาบัติขณะแรกทำ. แต่ในบทภาชนะ เพื่อแสดงแต่เพียงความประสงค์ พระผู้มี พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ต้องอาบัติพร้อมกับการล่วงวัตถุ โดยไม่ต้องสวดสมนุ- ภาส.

ก็ในคำนี้ มีใจความดังต่อไปนี้ :- ภิกษุณีต้องอาบัติพร้อมกับการ ล่วงละเมิดวัตถุ ไม่ใช่ในเวลาสวดสมนุภาสครั้งที่ ๓ สังฆาทิเสสนี้ชื่อว่า ปฐมาปัตติกะ เพราะจะพึงต้องพร้อมกับการล่วงละเมิดวัตถุ ตั้งแต่แรก ทีเดียวแล.

สังฆาทิเสสนี้ ชื่อว่า นิสสารณียะ เพราะอรรถว่า ขับออกจากหมู่ ภิกษุณี. ซึ่งสังฆาทิเสสมีการขับออกจากหมู่นั้น. แต่ในบทภาชนะ เพื่อแสดง แต่เพียงความประสงค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สงฺฆมฺหา นิสฺสารียติ. ในบทว่า นิสฺสารณียํ นั้น บัณฑิตพึงเห็นใจความอย่างนี้ว่า ภิกษุณีต้อง สังฆาทิเสสใด ถูกขับไล่ออกจากหมู่ สังฆาทิเสสนั้นชื่อว่า นิสสารณียะ. จริงอยู่ ธรรม คือ อาบัตินั้นใครจะขับออกจากหมู่ไม่ได้เลย แต่ภิกษุณีถูก ธรรมนั้นขับออกไป เพราะฉะนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า นิสสารณียะ ด้วย อรรถว่า ขับออก.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 46

สองบทว่า อากฑฺฒียมานา คจฺฉติ มีความว่า ภิกษุณีถูกพวก ชาวบ้านผู้ก่อคดีมาด้วยตนเองหรือส่งทูตมา เรียกตัวไปยังสำนักงานของพวก ตุลาการ. ต่อจากนั้นผู้ก่อคดีจะแถลงถ้อยคำของตนก่อน หรือถ้อยคำของภิกษุณี ก่อนก็ตามที ในการแถลงครั้งแรก ก็ไม่เป็นทุกกฏเลย ในการแถลงให้การ ครั้งที่ ๒ ก็ไม่เป็นถุลลัจจัย. แม้ในคดีที่พวกอำมาตย์ทำการวินิจฉัยถึงที่สุด ลงแล้ว ก็ไม่เป็นอาบัติเช่นกัน. ถ้าแม้ว่า ผู้ก่อคดีกล่าวกะภิกษุณีว่า ขอให้ ท่านนั่นแหละจงแถลงถ้อยคำของผมและของท่าน. ถึงแม้เมื่อภิกษุณีแถลง พวกอำมาตย์ได้พึงถ้อยคำแล้ว ทำคดีให้ถึงที่สุด ก็ไม่เป็นอาบัติเหมือนกัน.

ว่าด้วยการขออารักขาจากทางบ้านเมือง

สองบทว่า อารกฺขํ ยาจติ ได้แก่ ขออารักขาอันเป็นธรรมไม่เป็น อาบัติ. บัดนี้ เพื่อแสดงวิธีขออารักขาที่เป็นธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง ตรัสว่า บอกไม่เจาะตัว.

ในคำว่า อนุทฺทิสฺส อาจิกฺขติ นั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ปรารภอดีต บอกเจาะตัวก็มี บอกไม่เจาะตัวก็มี แม้ปรารภอนาคตบอกเจาะตัวก็มี บอก ไม่เจาะตัวก็มี.

ปรารภอดีตบอกเจาะตัวเป็นอย่างไร? คือ ที่สำนักของภิกษุณี พวก เด็กชาวบ้าน หรือคนอันธพาลมีนักเลงเป็นต้น พวกใดพวกหนึ่งประพฤติ อนาจารก็ดี ตัดต้นไม้ก็ดี ขโมยผลไม้น้อยใหญ่ก็ดี แย่งชิงเอาบริขารก็ดี. ภิกษุณีเข้าไปหาพวกเจ้าหน้าที่รักษากฎหมายบอกว่า ที่สำนักของพวกเราถูกทำ ประทุษกรรมชื่อนี้ เมื่อเขาถามว่า ใครทำ บอกว่า คนโน้นและคนโน้น. ด้วยอาการอย่างนี้ จัดเป็นการบอกเจาะตัวปรารภอดีต. การบอกเจาะตัวนั้น ไม่ควร. ถ้าพวกเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายเหล่านั้น ฟังคำนั้นแล้วทำการปรับ ไหมแก่ชนเหล่านั้น ทรัพย์ทั้งหมดที่ถูกปรับไหม เป็นสินใช้แก่ภิกษุณี. แม้

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 47

เมื่อมีความประสงค์ว่า เราจักรับเอาสินไหม ก็เป็นสินใช้เหมือนกัน. แต่ถ้า ภิกษุณีกล่าวว่า ขอให้ท่านปรับไหมผู้นั้น เมื่อเจ้าหน้าที่ปรับเอาสินไหมประมาณ ๕ มาสก เป็นปาราชิก (แก่ภิกษุณี).

แต่เมื่อเขาถามว่า ใครทำ ภิกษุณีควรกล่าวว่า การที่จะพูดว่า คน ชื่อโน้น ไม่สมควรแก่เรา ท่านรู้เอาเองเถิด เพราะพวกเราเพียงแต่ขออารักขา อย่างเดียว ท่านโปรดให้อารักขานั้นแก่พวกเรา และให้นำของที่ถูกลักไปกลับ คืนมา. การขออารักขาไม่เจาะตัวย่อมเป็นอย่างนี้. การขออารักขาไม่เจาะตัว นั้น ควรอยู่.

เมื่อภิกษุณีกล่าวอย่างนั้นแล้ว ถ้าแม้พวกเจ้าหน้าที่รักษากฎหมาย เหล่านั้น สืบสวนหาตัวผู้ทำแล้ว ทำการปรับไหมแก่คนผู้ทำเหล่านั้น. แม้ สมบัติทุกอย่างที่ถูกเจ้าหน้าที่ปรับไหม ไม่เป็นสินใช้ทั้งไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุณี เลย. แม้เห็นพวกขโมยลักบริขารไปจะกล่าวว่า ขโมยๆ เพราะต้องการความ พินาศแก่ขโมยเหล่านั้นก็ไม่ควร. จริงอยู่ แม้เมื่อภิกษุณีกล่าวอย่างนั้น ทรัพย์ สมบัติที่เจ้าหน้าที่ทำการปรับไหมแก่ขโมยเหล่านั้น แม้ทั้งหมด เป็นสินใช้แก่ ภิกษุณี. แต่จะกล่าวกะผู้เชื่อฟังคำของตนว่า ผู้นี้ลักเอาบริขารของเราไป จง ให้นำบริขารนั้นกลับคืนมา และอย่าลงโทษเขา ดังนี้ ควรอยู่.

พวกภิกษุณีทำการฟ้องร้องคดี เพื่อประโยชน์แก่ทาสชาย ทาสหญิง และหนองบึงเป็นต้น. คดีนี้ ชื่อว่า อกัปปิยคดี ไม่สมควร.

การบอกเจาะตัวปรารภอนาคตเป็นอย่างไร? คือ เมื่อชนเหล่าอื่นทำ อนาจารเป็นต้น โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ ภิกษุณีพูดกะพวกเจ้าหน้าที่ผู้ รักษากฎหมายอย่างนี้ว่า พวกชาวบ้านทำกรรมนี้และกรรมนี้ ในสำนักของพวก เรา ขอจงให้อารักขาแก่พวกเราเพื่อต้องการไม่ให้ทำต่อไป เมื่อเขาถามว่า ใครทำอย่างนี้ บอกว่า คนโน้นและคนโน้น อย่างนี้ จัดเป็นการบอกเจาะตัว

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 48

ปรารภอนาคต. แม้การบอกเจาะตัวนั้น ก็ไม่ควร. เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ที่ รักษากฎหมายทำการปรับไหมแก่ชนเหล่านั้น ทรัพย์ที่ถูกปรับทั้งหมดเป็นสิน ใช้แก่ภิกษุณี โดยนัยก่อนเหมือนกัน. คำที่เหลือเป็นเช่นกับคำก่อนๆ นั่นแล.

แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย ให้ตีกลองป่าวประกาศว่า จะทำโทษ ชื่อนี้ แก่พวกคนผู้ทำอนาจารเห็นปานนี้ ในสำนักของภิกษุณี แล้วสืบเสาะหา ผู้ไม่ตั้งอยู่ในข้อบังคับมาลงโทษ ไม่เป็นสินใช้ ทั้งไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุณีเลย. และแม้พวกภิกษุณี ก็มีแนวดำเนินการ ดังแนวดำเนินการที่กล่าวไว้สำหรับ พวกภิกษุณีนี้เหมือนกัน.

จริงอยู่ การบอกเจาะตัว ไม่สมควรแม้แก่ภิกษุ. เมื่อภิกษุบอกเจาะ ตัวอย่างนั้น ทรัพย์ที่ถูกเจ้าหน้าที่ทำการปรับไหม เป็นภาคหลวงทั้งหมด เป็น สินใช้ (แก่ภิกษุ). เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้ให้เจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายปรับ สินไหม โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ฝ่ายภิกษุใด บอกไม่เจาะตัวทั้งที่รู้อยู่ว่า เจ้าหน้าที่เขาจะทำโทษ. และเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายเหล่านั้น สืบหาตัวมา ลงโทษจนได้. ไม่มีโทษแก่ภิกษุนั้น.

การที่ภิกษุจะเอามีดและขวานเป็นต้นของพวกชาวบ้านผู้ลอบตัดต้นไม้ เป็นต้น ในเขตแดนวัดมาแล้ว เอาก้อนหินทุบ ไม่ควร. ถ้าคมบิ่นไป ภิกษุ พึงให้ซ่อมแล้วคืนให้. พวกภิกษุวิ่งเข้ามายึดเอาบริขารของคนเหล่านั้นไว้. แม้ การยึดเอาบริขารนั้นไว้ ก็ไม่ควรทำ. เพราะจิตเป็นธรรมชาติกลับกลอกเร็ว เมื่อเกิดไถยจิต จะพึงถึงความเป็นผู้ขาดมูลก็ได้. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

สิกขาบทที่ ๑ ในสัตตรสกสังฆาทิเสส จบ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 49

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒

เรื่องชายาเจ้าลิจฉวีกับภิกษุณีถุลลนันทา

[๓๕] โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ชายา ของเจ้าลิจฉวีองค์หนึ่งในพระนครเวสาลีประพฤตินอกใจ จึงเจ้าลิจฉวีองค์นั้น รับสั่งกะนางว่า เจ้างดเว้นได้เป็นการดี เราจักทำความพินาศให้แก่เจ้า แม้ นางถูกว่ากล่าวอย่างนี้ ก็ไม่เชื่อฟัง สมัยนั้น คณะเจ้าลิจฉวีแห่งพระนครเวสาลี กำลังประชุมกันด้วยกรณียะบางอย่าง จึงเจ้าลิจฉวีองค์นั้นได้กล่าวกะเจ้าลิจฉวี เหล่านั้นว่า ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย ขอจงโปรดอนุญาตสตรีผู้หนึ่งให้แก่ข้าพเจ้า.

คณะถามว่า สตรีผู้นั้นคือใคร.

เจ้าชายสามีของนางตอบว่า คือ ภรรยาของข้าพเจ้า ประพฤตินอกใจ ข้าพเจ้าจักฆ่านาง.

คณะกล่าวว่า จงเข้าใจเอาเอง รู้เอาเองเถิด.

สตรีผู้นั้นทราบข่าวว่า สามีใคร่จักฆ่าเรา จึงเก็บสิ่งของที่ดีๆ หนีไป ยังพระนครสาวัตถี เข้าหาเหล่าเดียรถีย์ขอบวช พวกเดียรถีย์ไม่ปรารถนาจะ ให้นางบวช นางจึงเข้าไปหาภิกษุณี ขอบวช แม้ภิกษุณีทั้งหลายก็ไม่ปรารถนา จะให้นางบวช จึงเข้าไปหาภิกษุณีถุลลนันทา แสดงห่อของแล้วขอบวช ภิกษุณี ถุลลนันทารับห่อของ แล้วให้นางบวช.

ครั้นเจ้าลิจฉวินั้นทรงสืบหาสตรีนั้นไปถึงพระนครสาวัตถี พบนางบวช อยู่ในสำนักภิกษุณี จึงเข้าเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ขอเดชะ ชายา

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 50

ของหม่อมฉันลักของมีค่ามาสู่พระนครสาวัตถี ขอพระองค์จงทรงอนุญาตชายา ของหม่อมฉันผู้นั้นเถิด พระพุทธเจ้าข้า.

พระราชารับสั่งว่า พนาย ถ้าเช่นนั้น เชิญท่านค้นหา พบแล้วมา บอก.

เจ้าลิจฉวีกราบทูลว่า หม่อมฉันเห็นนางบวชอยู่ในสำนักภิกษุณี พระพุทธเจ้าข้า.

พระราชาตรัสว่า ถ้านางบวชอยู่ในสำนักภิกษุณี เราก็ทำอะไรนางไม่ ได้ เพราะพระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ขอนางจงประพฤติ- พรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.

จึงเจ้าลิจฉวีนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนเหล่าภิกษุณีจึง ได้ให้หญิงโจรบวชเล่า.

ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินเจ้าลิจฉวีนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้า ถุลลนันทาจึงได้ให้หญิงโจรบวชเล่า แล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ...

ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาให้หญิงโจรบวช จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุณีทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทา จึงได้ให้หญิงโจรบวชเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็น ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 51

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๑๐. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด รู้อยู่ว่าหญิงเป็นโจร ผู้ปรากฏ เป็น นักโทษประหาร ไม่บอกกล่าวพระราชา หมู่ คณะ นายหมวดหรือ นายกอง รับให้บวช เว้นแต่บวชมาแล้ว ภิกษุณีแม้นี้ก็ต้องธรรมคือ สังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ.

เรื่องชายาเจ้าลิจฉวีกับภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า รู้ คือ รู้เองก็ตาม คนอื่นบอกแก่นางก็ตาม เจ้าตัวบอก ก็ตาม.

ที่ชื่อว่า โจร ความว่า สตรีใดถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ อัน เป็นส่วนแห่งขโมย ได้ราคาห้ามาสกก็ดี เกินกว่าห้ามาสกก็ดี สตรีนั้นชื่อว่า เป็นโจร.

ที่ชื่อว่า ถูกประหาร ได้แก่ ผู้ทำกรรมถึงถูกฆ่า.

ที่ชื่อว่า ผู้ปรากฏ คือ ผู้ที่คนอื่นรู้กันแล้วว่า นางนี้จะต้องถูก ประหาร.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 52

บทว่า ไม่บอกกล่าว คือ ไม่ขออนุญาต.

ที่ชื่อว่า พระราชา ความว่า พระราชาทรงปกครองในถิ่นใด ต้อง ขอพระบรมราชานุญาตในถิ่นนั้น.

ที่ชื่อว่า หมู่ ตรัสหมายหมู่ภิกษุณี ต้องบอกหมู่ภิกษุณี.

ที่ชื่อว่า คณะ ความว่า คณะปกครองในถิ่นใด ต้องบอกคณะใน ถิ่นนั้น.

ที่ชื่อว่า นายหมวด ความว่า นายหมวดปกครองในถิ่นใด ต้อง บอกนายหมวดในถิ่นนั้น.

ที่ชื่อว่า นายกอง ความว่า นายกองปกครองในถิ่นใด ต้องบอก นายกองในถิ่นนั้น.

บทว่า เว้นแต่บวชมาแล้ว ความว่า เว้นสตรีที่บวชมาแล้ว.

ที่ชื่อว่า บวชมาแล้ว มีสอง คือ บวชมาแล้วในสำนักเดียรถีย์ ๑ บวชมาแล้วในสำนักภิกษุณีเหล่าอื่น ๑

เว้นแต่สตรีที่บวชมาแล้ว ภิกษุณีรับว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะ ก็ดี อาจารินีก็ดี บาตรก็ดี จีวรก็ดี หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบ ญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย จบกรรม วาจาครั้งสุด อุปัชฌายา ต้องอาบัติสังฆาทิเสส คณะและอาจารินี ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

[๓๗] บทว่า ภิกษุณีแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเทียบเคียงภิกษุณี รูปก่อนๆ.

บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ คือ ต้องอาบัติพร้อมกับ ล่วงวัตถุโดยไม่ต้องสวดสมนุภาส.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 53

ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ขับออกจากหมู่.

บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้น ให้มานัตเพื่ออาบัติ นั้น ... แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

บทภาชนีย์

[๓๘] หญิงโจร ภิกษุณีสำคัญว่าหญิงโจร รับให้บวช เว้นแต่บวช มาแล้วต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

หญิงโจร ภิกษุณีสงสัย รับให้บวช เว้นแต่บวชมาแล้ว ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

หญิงโจร ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่หญิงโจร รับให้บวช เว้นแต่บวช มาแล้วไม่ต้องอาบัติ.

ไม่ใช่หญิงโจร ภิกษุณีสำคัญว่าโจร รับให้บวช เว้นแต่บวชมาแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่หญิงโจร ภิกษุณีสงสัย รับให้บวช เว้นแต่บวชมาแล้ว ต้อง อาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่หญิงโจร ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่หญิงโจร รับให้บวช เว้นแต่ บวชมาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๓๙] ไม่รู้ รับให้บวช ๑ ขออนุญาตแล้ว รับให้บวช ๑ บวชมา ในฝ่ายอื่นแล้ว รับให้อยู่ในสำนัก ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติ แล.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒ จบ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 54

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒

ในสิกขาบทที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

แก้อรรถบางปาฐะ เรื่องภิกษุณีให้บวชหญิงโจร

บทว่า วรภณฺฑํ ได้แก่ ภัณฑะที่มีค่ามาก เช่น แก้วมุกดา แก้วมณี และแก้วไพฑูรย์เป็นต้น. บทว่า อปโลเกตฺวา แปลว่า ไม่บอกกล่าว.

บทว่า คณํ วา ได้แก่ คณะ มีมัลลคณะและภัททิปุตตคณะ๑ เป็นต้น.

บทว่า ปูคํ ได้แก่ ธรรมคณะ๒.

บทว่า เสนึ ได้แก่ หมู่ชนผู้เป็นช่างทำของหอมและหมู่ชนผู้เป็น ช่างหูกเป็นต้น.

จริงอยู่ พระราชาทั้งหลาย ย่อมพระราชทานมอบบ้านและนิคมแก่ หมู่ชนมีคณะเป็นต้น ในสถานที่ใดๆ ว่า พวกท่านเท่านั้น จงปกครองใน บ้านและนิคมนี้. ชนพวกนั้นนั่นแหละ ย่อมเป็นใหญ่ในบ้านและนิคมนั้นๆ. เพราะเหตุนั้น คำว่า คณํ วา เป็นต้นนี้ตรัสหมายเอาชนพวกนั้น.

ก็บรรดาอิสรชนมีพระราชาเป็นต้น นี้ ภิกษุณีแม้ทูลขอพระบรมราชานุญาต หรือบอกกล่าวพวกชนมีคณะเป็นต้นแล้ว ต้องบอกกล่าวภิกษุณี สงฆ์ด้วย.


(๑) - (๒) สารตฺถทีปนี ๓/๔๐๑ ให้อรรถาธิบายว่า คณะผู้บำเพ็ญบุญกรรม มีจัดตั้งน้ำดื่มและขุด สระน้ำเป็นต้นไว้ในที่นั้นๆ ซึ่งเป็นผู้มีความภักดี (นับถือ) พระนารายณ์ ชื่อว่ามัลลคณะ. คณะ ผู้มีความภักดี (นับถือ) พระกุมาร (พระบุตร) ชื่อว่า ภัททิปุตตคณะ. คณะผู้บำเพ็ญบุญกรรม มีประการต่างๆ ซึ่งมีความภักดีต่อพระศาลนา เรียกว่าธรรมคณะ. ว

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 55

สองบทว่า เปตฺวา กปฺปํ มีความว่า เว้นหญิงผู้ได้ข้ออ้างเคย บวชแล้วในหมู่เดียรถีย์ หรือในหมู่ภิกษุณีอื่น. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีการให้หญิงโจรบวชเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นทางวาจากับ จิต สำหรับภิกษุณีผู้เมื่อพวกภิกษุณีหลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง ไม่ไปยัง ขัณฑสีมา ให้หญิงโจรบวชกับบริษัทผู้เป็นนิสิตของตน ในสถานที่ตามที่ตน นั่งอยู่นั่นแล เกิดขึ้นทางกายวาจากับจิต สำหรับภิกษุณีผู้ไปยังขัณฑสีมา หรือ แม่น้ำแล้วให้บวช เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยาด้วยอำนาจการไม่บอกกล่าวการ ให้บวชเป็นสัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๒ จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓

เรื่องอันเตวาสิกของพระเถรีภัททกาปิลานี

[๔๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นภิกษุณีอันเตวาสินี ของพระเถรีภัททากาปิลานี ทะเลาะกับภิกษุณีทั้งหลายแล้วหนีไปสกุลญาติใน หมู่บ้านตำบลหนึ่ง พระเถรีภัททากาปิลานีไม่เห็นนาง จึงถามภิกษุณีทั้งหลาย ว่า ภิกษุณีมีชื่อนี้หายไป.

ภิกษุณีทั้งหลายตอบว่า เธอทะเลาะกับภิกษุณีทั้งหลาย แล้วก็หายไป เจ้าค่ะ.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 56

พระเถรีขอร้องว่า สกุลญาติของเธออยู่ที่ตำบลบ้านโน้น ขอแม่เจ้า ช่วยโปรดไปสืบถามดูที่บ้านนั้นที.

ภิกษุณีทั้งหลายไปที่บ้านนั้น พบเธอแล้วถามว่า แม่เจ้า ทำไมเธอ จึงมาคนเดียวเล่า ไม่ถูกคนรังแกบ้างหรือ.

ภิกษุณีนั้นตอบว่า ไม่ถูกเจ้าข้า.

บรรดาภิกษุณีทั้งหลายที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ไปในละแวกบ้านคนเดียวเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีผู้เดียวไปในละแวกบ้าน จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเข้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี ผู้เดียวจึงได้ไปในละแวกบ้านเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขานี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๑๑. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด ผู้เดียวไปสู่ละแวกบ้าน ภิกษุณี แม้นี้ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติ ขณะแรกทำ.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 57

ก็สิกขาบทนี้ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณี ทั้งหลายด้วยประการฉะนี้.

เรื่องอันเตวาสินีของพระเถรีภัททากาปิลานี จบ

พระอนุบัญญัติ ๑

เรื่องภิกษุสองรูป

[๔๑] สมัยต่อมา ภิกษุณีสองรูปเดินทางจากเมืองสาเกตไปพระนคร สาวัตถี ในระหว่างทางต้องข้ามแม่น้ำ จึงภิกษุณีสองรูปนั้นเข้าไปหาพวกคนพาย เรือแล้ววิงวอนว่า ขอท่านได้โปรดสงเคราะห์ให้พวกข้าพเจ้าข้ามฟากสักหน่อย.

พวกคนเรือกล่าวว่า แม่เจ้าทั้งหลาย พวกข้าพเจ้าไม่สามารถให้ข้ามแม่ น้ำคราวเดียวสองรูปได้ แล้วคนเรือคนหนึ่งยังภิกษุณีรูปหนึ่งให้ข้ามฟาก เขา ข้ามถึงฝั่งแล้วได้ข่มขืนใจภิกษุณีรูปที่ข้ามฟาก คนเรือที่ยังไม่ข้ามฟากมาก็ข่ม ขืนใจภิกษุณีรูปที่ยังไม่ข้ามฟากมา.

เธอทั้งสองนั้นภายหลังพบกันแล้วถามกันขึ้นว่า เธอไม่ถูกรังแกดอก หรือ.

รูปที่ถูกถามตอบว่า ดิฉันถูก เจ้าค่ะ ก็เธอไม่ถูกรังแกหรือ.

อีกรูปหนึ่งตอบว่า ดิฉันก็ถูก เจ้าค่ะ.

ครั้นภิกษุณีเหล่านั้นไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ ภิกษุณีทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีรูปเดียว จึงไปสู่ฝั่งแม่น้ำ แล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุ ทั้งหลายๆ กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้พระภาคเจ้า.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 58

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีรูปเดียวไปสู่ฝั่งแม่น้ำ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีรูปเดียว จึงได้ไปสู่ฝั่งแม่น้ำเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระอนุบัญญัติ ๑

๑๑. ๓. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ผู้เดียวไปสู่ละแวกบ้านก็ดี ผู้ เดียวไปสู่ฝั่งแม่น้ำก็ดี ภิกษุณีแม้นี้ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสส ชื่อ นิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ.

ก็แลสิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ ภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องภิกษุณีสองรูป จบ

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๔๒] สมัยต่อมา ภิกษุณีหลายรูปได้พากันไปสู่พระนครสาวัตถีใน โกศลชนบท เข้าถึงบ้านตำบลหนึ่งในเวลาเย็น ในบรรดาภิกษุณีเหล่านั้นรูป

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 59

หนึ่งทรงโฉมวิไลน่าพิศพึงชม บุรุษผู้หนึ่งพอได้เห็นนางก็มีจิตปฏิพัทธ์ จึงเมื่อ เขาตกแต่งที่พักแรมถวายภิกษุณีเหล่านั้น ได้จัดที่พักแรมสำหรับภิกษุณีสวยนั้น ไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง คราวนั้นนางกำหนดรู้ได้ทันทีว่า บุรุษผู้นี้ถูกราคะกลุ้ม รุมแล้ว ถ้ากลางคืนเขาจักเข้าหา ความเสียหายจักมีแก่เรา แล้วไม่บอกลา ภิกษุณีทั้งหลายหนีไปพักแรมในสกุลอื่น ครั้นเวลาราตรีบุรุษนั้นมาค้นหา ภิกษุณีสวยนั้น ได้กระทบถึงภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายไม่เห็นภิกษุณีสวย นั้น จึงพูดกันอย่างนี้ว่า นางตามผู้ชายไปแล้วเป็นแน่.

ครั้นราตรีนั้นผ่านไป ภิกษุณีสาวก็เข้าไปหาภิกษุณีทั้งหลายๆ ถามนาง ว่า เธอเดินออกไปกับผู้ชายอื่นหรือ.

นางปฏิเสธว่า ไม่ได้เดินออกไปกับผู้ชาย เจ้าค่ะ แล้วเล่าเรื่องนั้น แก่ภิกษุณีทั้งหลาย.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนในราตรี ภิกษุณีจึงได้อยู่แต่ลำพังปราศจากพวกเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี ข่าวว่าภิกษุณีผู้เดียวอยู่ปราศจากพวกในราตรี จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี ผู้เดียว จึงได้อยู่ปราศจากพวกในราตรีเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็น ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ชุนชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 60

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระอนุบัญญัติ ๒

๑๑. ๓. ข. อนึ่ง ภิกษุณีใด ผู้เดียวไปสู่ละแวกบ้านก็ดี ผู้เดียว ไปสู่ฝั่งแม่น้ำก็ดี ผู้เดียวอยู่ปราศจากพวกในราตรีก็ดี ภิกษุณีแม้นี้ ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติขณะ แรกทำ.

สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณี ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๔๓] สมัยต่อมา ภิกษุณีหลายรูปเดินทางไกลไปพระนครสาวัตถี ในโกศลชนบท ภิกษุณีรูปหนึ่งในจำนวนนั้นปวดอุจจาระจึงได้เดินล้าหลังไป แต่ผู้เดียว พวกชาวบ้านพบนางแล้ว ได้ข่มขืนใจ ต่อมานางเข้าไปหาภิกษุณี พวกนั้นๆ ได้ถามว่า ทำไมเธอจึงเดินล้าหลังแต่ผู้เดียวเล่า ไม่ถูกคนรังแก ดอกหรือ.

นางตอบว่า ถูกรังแกมาแล้ว.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนภิกษุณีจึงเดินปลีกไปจากคณะแต่ผู้เดียวเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 61

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีเดินปลีกไปจากคณะแต่ผู้เดียว จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีผู้เดียวจึงได้เดินปลีกไปจากคณะเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระอนุบัญญัติ ๓

๑๑. ๓. ค. อนึ่ง ภิกษุณีใด ผู้เดียวไปสู่ละแวกบ้านก็ดี ผู้ เดียวไปสู่ฝั่งแม่น้ำก็ดี ผู้เดียวอยู่ปราศจากพวกในราตรก็ดี ผู้เดียว เดินปลีกไปจากคณะก็ดี ภิกษุณีแม้นี้ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสส ชื่อ นิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๔] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 62

บทว่า ผู้เดียวเดินไปสู่ละแวกบ้านก็ดี ความว่า บ้านที่มีเครื่อง ล้อม ย่างเท้าล่วงเขตล้อมก้าวที่หนึ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ก้าวที่สอง ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส บ้านที่ไม่มีเครื่องล้อม ย่างเท้าอุปจารก้าวที่หนึ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ก้าวที่สอง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

บทว่า ผู้เดียวเดินไปสู่ฝั่งแม่น้ำก็ดี ความว่า สถานที่ที่นางภิกษุณี ครองผ้าปกปิดมณฑลสามเดินข้ามน้ำในที่ใดที่หนึ่ง ผ้าอันตรวาสกเปียก ชื่อว่า แม่น้ำ ย่างเท้าก้าวข้ามที่หนึ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ย่างเท้าข้ามก้าวที่สอง ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส.

บทว่า ผู้เดียวอยู่ปราศจากพวกในราตรีก็ดี ความว่า จวนจะ ละหัตถบาทเพื่อนภิกษุณีพร้อมกับอรุณขึ้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย ละแล้ว ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส.

บทว่า ผู้เดียวเดินหลีกไปจากคณะก็ดี ความว่า ในป่าไม่มีหมู่ บ้านจวนจะละอุปจารแห่งการมองเห็น หรือได้ยินเสียงเพื่อนภิกษุณี ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ละแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

[๔๕] บทว่า ภิกษุณีแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียง ภิกษุณีรูปก่อน

บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ ความว่า ต้องอาบัติพร้อม กับการล่วงวัตถุ โดยไม่ต้องสวดสมนุภาส

ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ แปลว่า ถูกขับออกจากหมู่

บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้มานัต ... แม้เพราะ เหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 63

อนาปัตติวาร

[๔๖] มีเพื่อนภิกษุณีตามไปด้วยก็ดี ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓ จบ

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓

ในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :-

ว่าด้วยเขตย่างเท้าทำให้ภิกษุณีต้องอาบัติ

ในคำว่า อติกฺกาเมนฺติยา นี้ มีวินิจฉัยว่า เมื่อภิกษุณียกเท้าข้าง หนึ่งก้าวไป เป็นถุลลัจจัย, พอเมื่อก้าวเท้าที่ ๒ ล่วงไป เป็นสังฆาทิเสส. ในคำว่า อปริกฺขิตฺตสฺส คามสฺส อุปจารํ นี้ มีวินิจฉัยว่า ภิกษุณี เดินเลยที่ควรล้อมไปด้วยเท้าข้างหนึ่ง เป็นถุลลัจจัย, พอเมื่อก้าวเดินไปด้วย เท้าข้างที่ ๒ เป็นสังฆาทิเสส. อีกนัยหนึ่ง ในคำว่า ปริกฺเขปํ อติกฺกาเมนฺติยา เป็นต้นนี้ บัณฑิตพึงทราบคำพิสดารว่า ภิกษุณีออกจากบ้านของตนไป ไม่ เป็นอาบัติ เพราะละแวกบ้านเป็นปัจจัย. แต่ครั้นออกไปแล้วไปยังละแวกบ้าน (อื่น) เป็นทุกกฏทุกๆ ย่างเท้า. แต่เมื่อล่วงเลยเครื่องล้อม หรืออุปจารของ บ้านอีกบ้านหนึ่ง ไปด้วยเท้าข้างหนึ่ง เป็นถุลลัจจัย, พอก้าวเลยไปด้วยเท้า ที่ ๒ เป็นสังฆาทิเสส. แม้ภิกษุณีผู้ออกจากละแวกบ้านนั้นไปแล้วกลับเข้ามา ยังบ้านของตน ก็นัยนี้เหมือนกัน.

แต่ถ้าภิกษุณีอาจจะเข้าไปยังฟื้นที่ของวัดนั่นแลได้ทางกำแพงพัง หรือ ทางช่องรั้ว, เมื่อเข้าไปอย่างนี้ จัดว่าเป็นผู้เข้าไปยังกัปปิยภูมิ เพราะเหตุนั้น

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 64

จึงสมควร. ถ้าแม้นว่า ภิกษุณีจะเข้าไปด้วยพาหนะมีหลังช้างเป็นต้น หรือ ด้วยฤทธิ์ ก็ควรเหมือนกัน. เพราะว่า การเดินไปด้วยเท้าเท่านั้น ท่านประสงค์ เอาในสิกขาบทนี้. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ปมํ ปาทํ อติกฺกาเมนฺติยา เป็นต้น.

บ้าน ๒ บ้านมีรั้วติดกันกับวัดของภิกษุณี. วัดของภิกษุณีอยู่ใกล้บ้าน ใด ภิกษุณีจะเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านนั้นแล้ว กลับเข้าสู่วัด เดินไปตามทาง ของอีกบ้านหนึ่ง ซึ่งถ้ามีทางผ่านท่ามกลางวัดไป ก็ควร. แต่ควรจะกลับมา จากบ้านนั้นโดยทางนั้นเหมือนกัน. ถ้าภิกษุณีออกมาทางประตูบ้าน. พึงทราบ ชนิดแห่งอาบัติโดยนัยก่อนนั่นแหละ.

เมื่อภิกษุณีออกจากบ้านของตน พร้อมกับพวกภิกษุณี ด้วยกรณียะ บางอย่าง ในเวลากลับเข้ามา ช้างหลุดมาก็ดี มีการขับไล่ให้หลีกไปก็ดี พวก ภิกษุณีนอกนี้รีบเข้าไปยังบ้าน, พึงยืนคอยนอกประตูจนกว่าภิกษุณีอื่นจะมา. ถ้ายังไม่มา, ภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนชื่อว่าหลีกไปแล้ว, จะเข้าไป ก็ควร.

เมื่อก่อนบ้านเป็นบ้านใหญ่ซึ่งมีวัดภิกษุณีอยู่ท่ามกลาง. ภายหลังคน ๔ คนได้ (ครอบครอง) บ้านนั้นแล้วแบ่งกันใช้สอย กั้นรั้วล้อมไว้เป็นสัด ส่วน. ภิกษุณีจะไปยังบ้านใดบ้านหนึ่ง จากวัด ควรอยู่. จะเข้าไปยังบ้านอีก บ้านหนึ่งจากบ้านที่ไปแล้วนั้น ทางประตูบ้าน หรือทางช่องรั้ว ไม่ควร. ควรย้อนกลับมายังวัดก่อน. เพราะเหตุไร? เพราะวัดเป็นที่สาธารณะแก่บ้าน ทั้ง ๔.

ว่าด้วยลักษณะแม่น้ำและภิกษุณีผู้ไปยังฝั่งแม่น้ำ

สองบทว่า อนฺตรวาสโก เตมียติ มีความว่า สถานที่ซึ่งภิกษุณี ครองผ้าโดยอาการปิดมณฑล ๓ ลุยข้ามไป ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ทางท่า หรือ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 65

มิใช่ท่าในหน้าฝน อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) เปียกแม้เพียงนิ้วหรือ ๒ นิ้ว (ชื่อ ว่าแม่น้ำ). ลักษณะแห่งแม่น้ำที่เหลือ จักมีแจ้งในนที่นิมิตตกถา. ในเวลาที่ ภิกษุณีลุยข้ามแม่น้ำมีรูปเห็นปานนี้ ทางท่าของแม่น้ำ หรือมิใช่ท่า เมื่อยก เท้าที่ ๑ ขึ้นวางบนฝั่ง เป็นถุลลัจจัย ในการยกเท้าที่ ๒ เป็นสังฆาทิเสส. เดินไปตามสะพาน ไม่เป็นอาบัติ. ในเวลาลุยข้ามด้วยเท้า ไม่เป็นอาบัติแม้ แก่ภิกษุณีผู้เหนี่ยวสะพานข้ามไป. แต่ในเวลาข้ามไปทางสะพาน เมื่อเดินไป เป็นอาบัติเหมือนกัน. แม้ในการไปทางยาน ทางเรือ และทางอากาศเป็นต้น ก็มีนัยนี้นั่นแล.

เมื่อภิกษุณี (กระโดด) จากฝั่งนี้เหยียบฝั่งโน้นเลย ไม่เป็นอาบัติ. พวกภิกษุณีไปเพื่อทำการย้อมจีวร ๒ - ๓ รูปเที่ยวไปแทบฝั่งทั้งสอง ด้วยกิจมี การรวบรวมพืนมาเป็นต้น ควรอยู่. แต่ถ้าว่า บรรดาภิกษุณีเหล่านี้ บางรูป ก่อการทะเลาะกันแล้ว ไปยังอีกฝั่งหนึ่ง เป็นอาบัติสองรูปข้ามมาไปด้วยกัน, รูปหนึ่งทำการทะเลาะกัน ในกลางแม่น้ำ กลับมาสู่ฝั่งนี้อีก ก็เป็นอาบัติ. แต่ภิกษุณีรูปนี้เป็นผู้ตั้งอยู่ในฐานะแห่งภิกษุณีมีเพื่อนหลีกไปของภิกษุณีอีกรูป หนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุณีผู้ไปสู่ฝั่งโน้น. ภิกษุณีผู้ลง สู่แม่น้ำเพื่ออาบ หรือเพื่อดื่มน้ำ แล้วกลับขึ้นสู่ฝั่งเดิมนั่นแหละ ไม่เป็นอาบัติ.

ในคำว่า สห อรุณุคฺคมนา นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ถ้าภิกษุณีทำการ สาธยายก็ดี ความเพียรก็ดี กรรมอะไรๆ อย่างอื่นก็ดี ทำความคำนึงว่า เราจักไปยังสำนักแห่งเพื่อนภิกษุณี ก่อนอรุณขึ้นนั่นแล. แต่เมื่อเธอยังไม่ทัน รู้นั่นแล อรุณขึ้นเสียก่อน, ไม่เป็นอาบัติ. แต่ถ้าว่าเธอพักอยู่ในเอกเทศแห่ง วิหารโดยความคำนึง หรือโดยมิได้คำนึงว่า เราจักอยู่ในที่นี้แลจนถึงอรุณขึ้น. เธอไม่ย่างลงสู่หัตถบาสแห่งเพื่อนภิกษุณีในเวลาอรุณขึ้น เป็นสังฆาทิเสส.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 66

จริงอยู่ หัตถบาสเท่านั้น เป็นประมาณในสิกขาบทนี้. ในการล่วงเลยหัตถบาส ไป แม้ห้องเดียวกัน ก็คุ้มอาบัติไม่ได้.

ในคำว่า อคามเก อรูญฺเ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ที่ชื่อว่าป่า เฉพาะที่มีลักษณะดังที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า นอกเสาอินทขีลออกไป ที่ทั้งหมดนี้ ชื่อว่าป่า. ก็ป่านี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อคามกํ เพราะไม่มีบ้าน อย่างเดียว, ไม่ใช่เพราะเป็นเช่นกับป่าดงดิบ.

เมื่อภิกษุณียังเข้าป่าเช่นนั้น ละอุปจารแห่งการมองเห็นไปแล้ว ถ้า แม้อุปจารแห่งการได้ยิน ยังมีอยู่ ก็เป็นอาบัติ. ด้วยเหตุนั้น ในอรรถกถา ท่านจึงกล่าวว่า เมื่อพวกภิกษุณีเข้าไปสู่ลานมหาโพธิ์ ภิกษุณีรูปหนึ่งยืนอยู่ ข้างนอก เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุณีรูปนั้น. ในพวกภิกษุณีผู้เข้าไปยังโลหปราสาท ก็ดี ผู้เข้าไปยังบริเวณก็ดี ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ในการไหว้พระมหาเจดีย์เป็นต้น ภิกษุณีรูปหนึ่ง ออกไปทางประตู ด้านเหนือ เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุณีรูปนั้น. บรรดาภิกษุณีผู้เข้าไปยังถูปาราม รูปหนึ่งยืนอยู่ข้างนอก, แม้รูปนั้นก็เป็นอาบัติ. ก็บรรดาอุปจารแห่งการมอง เห็นและอุปจารแห่งการได้ยิน เพื่อนภิกษุณีเห็นภิกษุณีผู้ยืนอยู่ในที่ใด ที่ นั้นชื่อว่า อุปจารแห่งการมองเห็น.

แต่ถ้ามีแม้ม่านกั้นระหว่างอยู่ ภิกษุณี ชื่อว่าละอุปจารแห่งการมองเห็น. สถานที่ซึ่งเพื่อนภิกษุณียืนอยู่ ได้ยินเสียงของภิกษุณีผู้เปล่งเสียงว่า อยฺเย ด้วยเสียงดุจเสียงกู่แห่งคนหลงทาง และด้วยเสียงดุจเสียงร้องบอกให้ฟังธรรม ชื่อว่า อุปจารแห่งการได้ยิน ในโอกาสกลางแจ้ง ถึงไกล ก็จัดเป็นทัสสนูปจารได้. ทัสสนูปจารนั้น คุ้มไม่ได้ ในเมื่อภิกษุณีละสวนูปจารเห็นปานนั้นไป. พอละสวนูปจารเท่านั้น ก็ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 67

ภิกษุณีรูปหนึ่ง เดินทางล้าหลังเพื่อน, ถ้ายังเป็นผู้มีความอุตสาหะ เดินติดตามไปด้วยตั้งใจว่า เราจักตามให้ทันเดี๋ยวนี้ ไม่เป็นอาบัติ. ถ้าหาก ภิกษุณีพวกข้างหน้าไปเสียทางอื่น จัดว่าเป็นผู้มีเพื่อนภิกษุณีหลีกไป ไม่เป็น อาบัติเหมือนกัน.

บรรดาภิกษุณี ๒ รูปเดินทางไปด้วยกัน รูปหนึ่งไม่อาจตามทัน เดิน ล้าหลังด้วยคิดว่า เชิญแม่นี้ไปเถิด แม้อีกรูปหนึ่งก็เดินไปด้วยคิดว่า เชิญแม่ นี้ล้าหลังอยู่เถิด เป็นอาบัติทั้งสองรูป.

แต่ถ้าว่า ในภิกษุณี ๒ รูป ผู้กำลังเดินทาง รูปเดินหน้ายึดเอาทาง สายหนึ่งก็ดี รูปเดินหลังยืดเอาทางสายหนึ่งก็ดี, รูปหนึ่งตั้งอยู่ในฐานแห่งผู้มี เพื่อนหลีกไปของอีกรูปหนึ่ง จึงไม่เป็นอาบัติแม้ทั้งสองรูป.

บทว่า ปกฺขสงฺกนฺตา วา ได้แก่ ผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปฐมปาราชิก เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓ จบ

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 68

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔

เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี

[๔๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีจัณฑกาลี เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เมื่อสงฆ์จะลงทัณฑกรรมแก่นาง แต่ภิกษุณีถุลลนันทาค้าน ไว้ ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาได้ไปสู่ตำบลบ้านหนึ่งด้วยกิจจำเป็นบางอย่าง ครั้นภิกษุณีสงฆ์ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาหลีกไปแล้ว จึงยกภิกษุณีจัณฑกาลี เสียจากหมู่เพราะไม่เห็นอาบัติ ภิกษุณีถุลลนันทาเสร็จกรณียะนั้นในบ้านแล้ว กลับมาสู่พระนครสาวัตถีตามเดิม เมื่อนางมาถึง ภิกษุณีจัณฑกาลีไม่ปูอาสนะ ไม่เข้าไปจัดตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ลุกรับบาตรจีวร ไม่ต้อนรับด้วยน้ำดื่ม นางจึงถามภิกษุจัณฑกาลีว่า เหตุไฉนเมื่อเรามาถึงเธอจึง ไม่ปูอาสนะ ไม่จัดตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ลุกรับบาตร จีวร ไม่ต้อนรับด้วยน้ำดื่มเล่า.

ภิกษุณีจัณฑกาลีตอบว่า การที่เป็นเช่นนั้นนั่น เพราะดิฉันเป็นภิกษุณี ไม่มีที่พึ่ง เจ้าค่ะ.

ภิกษุณีถุลลนันทาถามว่า เหตุไฉนเล่า เธอจึงเป็นคนไม่มีที่พึ่ง

ภิกษุณีจัณฑกาลีชี้แจงว่า เพราะภิกษุณีเหล่านี้คงเข้าใจดิฉันว่า นางนี้ เป็นคนไม่มีที่พึ่ง ไม่มีใครรู้จัก กิจอันเป็นหน้าที่ของนางคนนี้ก็ไม่มีสักอย่าง จึงได้ยกดิฉันเสียจากหมู่ เพราะไม่เห็นอาบัติ เจ้าค่ะ.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 69

ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวว่า ภิกษุณีเหล่านั้นเป็นพาล ไม่ฉลาด ไม่รู้ จักกรรมหรือโทษของกรรม กรรมวิบัติ หรือกรรมสมบัติ เราเท่านั้นจึงจะรู้ จักกรรม โทษของกรรม กรรมวิบัติ และกรรมสมบัติ เราจะพึงทำกรรมที่ เราไม่ได้ร่วมทำ หรือจะพึงยังกรรมที่เขาทำแล้วให้กำเริบ แล้วให้ประชุม ภิกษุณีสงฆ์ด่วน เรียกภิกษุณีจัณฑกาลีให้เข้าหมู่.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทา ไม่บอกกล่าวการกสงฆ์ ไม่รู้ฉันทะของคณะ จึงได้เรียก ภิกษุณีผู้ซึ่งสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียจากหมู่ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสน์ แล้วให้เข้าหมู่เล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทา ไม่บอกกล่าวการกสงฆ์ ไม่รู้ฉันทะของคณะ เรียก ภิกษุณีผู้ซึ่งสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียจากหมู่ ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุ- ศาสน์แล้วให้เข้าหมู่ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทา ไม่บอกกล่าวการกสงฆ์ ไม่รู้ฉันทะของคณะ จึงได้เรียก ภิกษุณีผู้ซึ่งสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียจากหมู่ ตามธรรม ตามวินัย ตาม สัตถุศาสน์แล้วให้เข้าหมู่เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 70

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๑๒. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่บอกกล่าวการกสงฆ์ ไม่รู้ ฉันทะของคณะ เรียกภิกษุณีผู้ซึ่งสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียจากหมู่ ตามธรรม ตามวินัย อันเป็นสัตถุศาสน์แล้วให้เข้าหมู่ ภิกษุณีแม้นี้ ก็ต้องธรรมคือ สังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติขณะ แรกทำ.

เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๘] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

สงฆ์ที่ชื่อว่า พร้อมเพรียงกัน คือ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมา เดียวกัน.

ที่ชื่อว่า ยกเสียจากหมู่ คือ ถูกยกเสียจากหมู่ เพราะไม่เห็นอาบัติ หรือเพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละคืนทิฏฐิบาป.

บทว่า ตามธรรม ตามวินัย คือตามธรรมใด ตามวินัยใด.

บทว่า อันเป็นสัตถุศาสน์ ได้แก่ ธรรมนั้น วินัยนั้นเป็นคำสั่งสอน ของพระชินเจ้า คือ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 71

บทว่า ไม่บอกกล่าวการกสงฆ์ คือ ไม่บอกเล่าการกสงฆ์ผู้ทำ กรรมให้ทราบ.

บทว่า ไม่รู้ฉันทะของคณะ คือ ไม่รู้ความพอใจของคณะ.

ภิกษุณีประสงค์จะเรียกเข้าหมู่ แสวงหาคณะก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้อง อาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

[๔๙] บทว่า ภิกษุณีแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียง ภิกษุณีรูปก่อนๆ.

บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ ความว่า ต้องอาบัติพร้อม กับการล่วงวัตถุ โดยไม่ต้องสวดสมนุภาส.

ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ถูกขับออกจากหมู่สงฆ์.

บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้มานัต ... แม้เพราะ เหตุนั้นจึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

บทภาชนีย์

ติกะสังฆาทิเสส

[๕๐] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม เรียกเข้า หมู่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย เรียกเข้าหมู่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม เรียกเข้าหมู่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 72

ติกะทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ... ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ... ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๕๑] บอกกล่าวการกสงฆ์ผู้ทำกรรม แล้วเรียกเข้าหมู่ ๑ รู้ฉันทะของ คณะ แล้วเรียกเข้าหมู่ ๑ เรียกภิกษุณีผู้ประพฤติชอบแล้วเข้าหมู่ ๑ เรียกเข้า หมู่ในเมื่อการกสงฆ์ผู้ทำกรรมไม่มี ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔ จบ

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้ :-

ที่วางเท้าที่ล้างแล้ว ชื่อว่า ตั่งรองเท้า. ที่สำหรับรองเท้าที่ยังไม่ได้ล้าง

ชื่อว่า กระเบื้องเช็ดเท้า.

ข้อว่า อนญฺญาย คณสฺส ฉนฺทํ ได้แก่ ไม่รู้ฉันทะของคณะผู้ กระทำนั้นนั่นแล.

สองบทว่า วตฺเต วตฺตนฺตึ ได้แก่ ผู้ประพฤติชอบในเนตถารวัตร (วัตรเป็นเหตุสลัดออก) ๔๓ ประเภท. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 73

สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฎฐาน เกิดขึ้นทางกายวาจากับจิต เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔ จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕

เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา

[๕๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพุทธเจ้าประทับอยู่ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี สุนทรีนันทาเป็นผู้ทรงโฉมวิไล น่าพิศพึงชม คนทั้งหลายแลเห็นนางที่ในโรง ฉันแล้วมีความพึงพอใจ ต่างถวายโภชนาหารที่ดีๆ แก่นางผู้มีความพึงพอใจ นางฉันได้พอแก่ความประสงค์ ภิกษุณีรูปอื่นๆ ไม่ได้ฉันตามต้องการ.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนแม่เข้าสุนทรีนันทาจึงได้มีความยินดีรับของเคี้ยวของฉันด้วยมือของตนเอง จากมือของบุรุษบุคคลผู้มีความพึงพอใจ แล้วเคี้ยวฉันเล่า ... แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีสุนทรีนันทามีความยินดีรับของเคี้ยวของฉันด้วยมือของตนเอง จากมือของบุรุษบุคคลผู้มีความพึงพอใจ แล้วเคี้ยวฉัน จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 74

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณี สุนทรีนันทา จึงได้ยินดีรับของเคี้ยวของฉันด้วยมือของตนเองจากมือของบุรุษ บุคคลผู้มีความพึงพอใจแล้วเคี้ยวฉันเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๑๓. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด มีความพอใจ รับของเคี้ยวก็ดีของ ฉันก็ดี ด้วยมือของตนเอง จากมือของบุรุษบุคคลผู้มีความพึงพอใจ แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ภิกษุณีแม้นี้ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสส ชื่อ นิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ.

เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า มีความพึงพอใจ คือ มีความยินดียิ่งนัก มีความเพ่งเล็ง มีจิตปฏิพัทธ์.

ที่ชื่อว่า ผู้มีความพึงพอใจ คือ มีความยินดียิ่งนัก มีความเพ่งเล็ง มีจิตปฏิพัทธ์.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 75

ที่ชื่อว่า บุรุษบุคคล ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ผู้ชาย ไม่ใช่ เปรตผู้ชาย ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นผู้รู้ความ สามารถเพื่อจะยินดียิ่งนัก.

ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ อย่าง กับน้ำและไม้สีฟัน นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว.

ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่โภชนะทั้งห้า คือ ข้าวสุก ๑ ขนมสด ๑ ขนนแห้ง ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑.

ภิกษุณีรับประเคนด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติถุลลัจจัย กลืนกิน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำกลืน.

[๕๔] บทว่า ภิกษุณีแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียง ภิกษุณีรูปก่อนๆ.

บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ คือ ต้องอาบัติพร้อมกับ การล่วงวัตถุ โดยไม่ต้องสวดสมนุภาส.

ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ถูกขับออกจากหมู่สงฆ์.

บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้มานัต ... แม้เพราะ เหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

รับประเคนน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

บทภาชนีย์

[๕๕] ฝ่ายหนึ่งมีความพอใจ รับประเคนด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยวจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ กลืนกิน ต้องอาบัติถุลลัจจัยทุกๆ คำกลืน รับประเคนน้ำ และไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 76

ทั้งสองฝ่ายมีความพึงพอใจ รับประเคนจากมือยักษ์ผู้ชาย เปรตผู้ชาย บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ที่มีกายคล้ายมนุษย์ ด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ กลืนกิน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทุกๆ คำกลืน รับ ประเคนน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

เขามีความพึงพอใจฝ่ายเดียว รับประเคนด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ กลืนกิน ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ คำกลืน รับประเคนน้ำ และไม้ชำระฟันต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๕๖] ทั้งสองฝ่ายไม่มีความพึงพอใจ ๑ รู้อยู่ว่าเขาไม่มีความพึงพอใจ จึงรับประเคน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕ จบ

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้ :-

ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า ในคำว่า เอกโต อวสฺสุเต นี้บัณฑิต พึงเห็นว่า ภิกษุณีเป็นผู้มีความพึงพอใจ. แต่ในมหาอรรถกถาท่านไม่ได้กล่าว คำว่า ฝ่ายหนึ่งมีความพึงพอใจนี้ไว้. คำนั้นสมด้วยพระบาลี. คำที่เหลือตื้น ทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปฐมปาราชิก เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนาดังนี้แล.

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕ จบ

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 77

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖

เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา

[๕๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี สุนทรีนันทาเป็นผู้ทรงโฉมวิไลน่าพิศพึงชม คนทั้งหลายพบนางที่ในโรงฉัน แล้ว ต่างมีความพอใจ ถวายโภชนาหารที่ดีๆ แก่นางๆ รังเกียจไม่รับประเคน ภิกษุณีผู้นั่งรองลำดับจึงถามนางว่า แม่เจ้า เหตุไรแม่เจ้าจึงไม่รับประเคนเล่า เจ้าค่ะ.

นางตอบว่า เพราะเขามีความพอใจ เจ้าค่ะ.

ภิกษุณีนั้นถามว่า ก็แม่เจ้ามีความพอใจด้วยหรือ.

สุ. ไม่มี เจ้าค่ะ.

ภิ. แม่เจ้า บุรุษบุคคลนั่น มีความพอใจก็ตาม ไม่มีความพอใจก็ ตาม จักทำอะไรแก่แม่เจ้าได้ เพราะแม่เจ้าไม่มีความพอใจ นิมนต์เถิด เจ้าค่ะ บุรุษบุคคลนั้นจักถวายของสิ่งใด เป็นของเคี้ยว หรือของฉันก็ตาม แก่แม่เจ้าๆ จงรับประเคนของสิ่งนั้นด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวหรือฉันเถิด เจ้าค่ะ.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า บุรุษบุคคลนั่น มีความพอใจก็ ตาม ไม่มีความพอใจก็ตาม จักทำอะไรแก่แม่เจ้าได้ เพราะแม่เจ้าไม่มีความ พอใจ นิมนต์เถิด เจ้าค่ะ บุรุษบุคคลนั้นจะถวายของสิ่งใด เป็นของเคี้ยว. หรือของฉันก็ตาม แก่แม่เจ้า แม่เจ้าจงรับประเคนของสิ่งนั้นด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวหรือฉันเถิดดังนี้เล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 78

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีกล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า บุรุษบุคคลนั่นมีความพอใจก็ตาม ไม่มี ความพอใจ ก็ตาม จักทำอะไรแก่แม่เจ้าได้ เพราะแม่เจ้าไม่มีความพอใจ นิมนต์เถิด เจ้าค่ะ บุรุษบุคคลนั้นจะถวายของสิ่งใด เป็นของเคี้ยวก็ตาม ของ ฉันก็ตาม แก่แม่เจ้า แม่เจ้าจงรับประเคนของสิ่งนั้น ด้วยมือของตน แล้ว เคี้ยวหรือฉันเถิด ดังนี้จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า บุรุษบุคคลนั่น มีความพอใจก็ตาม ไม่มี ความพอใจก็ตาม จักทำอะไรแก่แม่เจ้าได้ เพราะแม่เจ้าไม่มีความพอใจ นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ บุรุษบุคคลนั้นจะถวายของสิ่งใด เป็นของเคี้ยวก็ตาม ของ ฉันก็ตาม แก่แม่เจ้า แม่เจ้าจงรับประเคนของสิ่งนั้น ด้วยมือของตน แล้ว เคี้ยวหรือฉันเถิด ดังนี้เล่า การกระทำของนางนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๑๔. ๖. อนึ่ง ภิกษุณีใด กล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า บุรุษบุคคล นั่น มีความพอใจก็ตาม ไม่มีความพอใจก็ตาม จักทำอะไรแก่แม่

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 79

เจ้าได้ เพราะแม่เจ้าไม่มีความพอใจ นิมนต์เถิด เจ้าค่ะ บุรุษบุคคล นั้นจะถวายของสิ่งใด เป็นของเคี้ยวหรือของฉันก็ตาม แก่แม่เจ้า ขอแม่เจ้าจงรับประเคนของสิ่งนั้นด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวหรือฉัน เถิด ดังนี้ ภิกษุณีแม้นี้ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสสชื่อ นิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ.

เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๕๘] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า กล่าวอย่างนี้ คือ พูดส่งเสริมว่า แม่เจ้า บุรุษบุคคลนั่น มีความพอใจก็ตาม ไม่มีความพอใจก็ตาม จักทำอะไรแก่แม่เจ้าได้ เพราะ แม่เจ้าไม่มีความพอใจ นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ บุรุษบุคคลนั้นจะถวายของสิ่งใด เป็นของเคี้ยว หรือของฉันก็ตาม แก่แม่เจ้า ขอแม่เจ้าจงรับประเคนของสิ่ง นั้นด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวหรือฉันเถิด ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุณีรับประเคนตามคำของภิกษุณีผู้พูดนั้น ด้วยประสงค์จะเคี้ยวจะ ฉัน ภิกษุณีผู้พูดนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุณีนั้นฉัน ภิกษุณีผู้พูด ต้องอาบัติถุลลัจจัยทุกๆ คำกลืน.

ภิกษุณีนั้นฉันอาหารเสร็จ ภิกษุณีผู้พูด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

บทว่า ภิกษุณีแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูป ก่อนๆ.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 80

บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ คือ ต้องอาบัติพร้อมกับ การล่วงวัตถุ โดยไม่ต้องสวดสมนุภาส.

ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ถูกขับออกจากหมู่.

บทว่า สังฆาทิเลส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้มานัต ... เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

ภิกษุณีพูดส่งเสริมว่า จงรับประเคนน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติ ทุกกฏ ภิกษุณีรับประเคนตามคำของภิกษุณีผู้พูดนั้น ด้วยประสงค์จะเคี้ยวจะ ฉัน ภิกษุณีผู้พูดนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

บทภาชนีย์

[๕๙] ฝ่ายหนึ่งมีความพอใจ ภิกษุณีพูดส่งเสริมว่า แม่เจ้า จงเคี้ยว ก็ตาม จงฉันก็ตาม ซึ่งของเคี้ยวก็ตาม ของฉันก็ตาม ที่รับจากมือของยักษ์ ก็ดี เปรตผู้ชายก็ดี บัณเฑาะก์ผู้ชายก็ดี สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้มีกายคล้ายมนุษย์ ก็ดี ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุณีรับประเคนตามคำของผู้พูดนั้น ด้วยประสงค์ว่าจะเคี้ยวจะฉัน ภิกษุณีผู้พูด ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีนั้นฉัน ภิกษุณีผู้พูด ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ คำกลืน ภิกษุณีนั้นฉันเสร็จ ภิกษุณีผู้พูด ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

พูดส่งเสริมว่า จงรับประเคนน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีรับประเคนตามคำของภิกษุณีนั้น ด้วยประสงค์ว่าจะเคี้ยวจะฉัน ภิกษุณี ผู้พูด ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 81

อนาปัตติวาร

[๖๐] รู้อยู่ว่าเขาไม่มีความพอใจ พูดส่งเสริม ๑ พูดส่งเสริมโดย เข้าใจว่าเขาโกรธกัน นางคงไม่รับประเคน ๑ พูดส่งเสริมโดยเข้าใจว่า นาง จักไม่รับประเคน เพราะความเอ็นดูแก่สกุล ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖ จบ

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๖ พึงทราบดังนี้ :-

สองบทว่า ยโต ตฺวํ ไขเป็น ยสฺมา ตฺวํ แปลว่า เพราะว่า แม่เจ้า.

ถามว่า อาบัติทั้งหลายมีอาทิว่า พูดส่งเสริม ต้องอาบัติทุกกฏ มี สังฆาทิเสสเป็นที่สุด จะมีแก่ใคร.

แก้ว่า มีแก่ภิกษุณีผู้พูดส่งเสริม. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แม้ในคัมภีร์ปริวารว่า

ภิกษุณีไม่ให้ ไม่รับประเคน การ รับไม่มี ด้วยเหตุนั้น, แต่ต้องอาบัติหนัก ไม่ใช่อาบัติเบา และการต้องนั้น เพราะ การบริโภคเป็นปัจจัย ปัญหาข้อนี้ท่านผู้ ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 82

จริงอยู่ คาถานี้ตรัสหมายเอาภิกษุณีผู้พูดส่งเสริมนี้. ส่วนความต่าง แห่งอาบัติของภิกษุณีผู้พูดส่งเสริมนอกนี้ ทรงจำแนกไว้แล้วในสิกขาบทที่ ๑ แล. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

อรรถกถาสังมาทิเสสสิกขาบทที่ ๖ จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗

เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี

[๖๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ เพระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี จัณฑกาลีทะเลาะกับภิกษุณีทั้งหลาย โกรธ ขัดใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า ขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระธรรม ข้าพเจ้าขอบอกคืน พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ขอสมณี จะมีเฉพาะสมณีเหล่า ศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจะไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสมณีเหล่านั้น ดังนี้.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนา ว่าไฉน แม่เจ้าจัณฑกาลี จึงได้โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอ บอกคืนพระพุทธเจ้า ... ข้าพเจ้าขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่าสมณี จะมี เฉพาะสมณีเหล่าศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มี

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 83

ความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ก็ยังมี ข้าพเจ้าจักประพฤติพรหมจรรย์ในสำนัก สมณีเหล่านั้น ดังนี้เล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีจัณฑกาลี โกรธ ขัดใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอก คืนพระพุทธเจ้า ... ข้าพเจ้าขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีชื่อว่าสมณี จะมีเฉพาะ สมณีเหล่าศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความ รังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจักไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนัก สมณีเหล่านั้น ดังนี้ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีจัณฑกาลีจึงโกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ... ข้าพเจ้าขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่าสมณี จะมีเฉพาะสมณี เหล่าศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจักไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสมณีเหล่านั้น ดังนี้เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 84

พระบัญญัติ

๑๘.๑๗. (๑) อนึ่ง ภิกษุณีใด โกรธ ขัดใจ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ขอบอกคืนพระธรรม ขอบอกคืน พระสงฆ์ ขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่าสมณี จะมีเฉพาะสมณี ศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นทีมีความละอาย มีความ รังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจักประพฤติพรหมจรรย์ใน สำนักสมณีเหล่านั้น ดังนั้น ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงกล่าว อย่างนี้ว่า แม่เจ้าอย่าได้โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอ บอกคืนพระพุทธเจ้า ขอบอกคืนพระธรรม ขอบอกคืนพระสงฆ์ ขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่าสมณี จะมีเฉพาะสมณีศากยธิดา เหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความรงเกียจ ใคร่ ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจักไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสมณี เหล่านั้น ดังนั้น ภิกษุณีทั้งหลายจึงกล่าวว่า แม่เจ้าจงยินดียิ่ง พระธรรมอันพระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด และภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายว่า กล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณี ทั้งหลาย พึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้น ถ้าเธอกำลังถูกสวดสมนุภาสกว่าจะครบสามจบอยู่สละกรรมนั้นเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากพวกเธอไม่สละ ภิกษุณีแม้นี้ก็ต้อง ธรรมคือสังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติในเมื่อสวด สมนุภาสครบสามจบ.


(๑) สิกขาบทที่ ๑๕ ๑๖ ๑๗ เป็นสาธารณบัญญัติ ฉะนั้นสิกขาบทที่ ๗ นี้ จึงเป็นที่ ๑๘.

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 85

สิกขาบทวิภังค์

[๖๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า โกรธ ขัดใจ คือไม่พอใจ แค้นใจ เจ็บใจ.

บทว่า กล่าวอย่างนี้ คือ กล่าวว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ... บอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่มีชื่อว่าสมณี จะมีเฉพาะสมณีเหล่าศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใครต่อสิกขา ก็ยังมี ข้าพเจ้า จะไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสมณีเหล่านั้น ดังนี้.

[๖๓] บทว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีผู้ที่พูดอย่างนั้น.

บทว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ภิกษุณีเหล่าอื่น คือ จำพวกที่ ได้เห็น ได้ยินเหล่านั้น พึงว่ากล่าวว่า แม่เจ้าอย่าได้โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่าง นี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ... ขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่า สมณี จะมีเฉพาะสมณีศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจะไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนัก สมณีเหล่านั้นดังนี้ พึงกล่าวว่า แม่เจ้าจงยินดียิ่ง พระธรรมอันพระพุทธเจ้า ตรัสไว้ดีแล้วจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด พึงว่ากล่าว แม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๓ หากนางสละเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็น การดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีทั้งหลายทราบข่าวแล้วไม่ว่ากล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงคุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ แล้ว ว่ากล่าวว่า แม่เจ้า อย่าโกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืน พระพุทธเจ้า ... ขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่าสมณี จะมีเฉพาะสมณีศากยธิดา

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 86

เหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ก็ยังมี ข้าพเจ้าจะไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักภิกษุณีเหล่านั้น ดังนี้ พึง กล่าวว่า แม่เจ้าจงยินดียิ่ง พระธรรมอันพระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติ พรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าว แม้ครั้งที่ ๓ ถ้าภิกษุณีนั้นสละเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ.

วิธีสวดสมนุภาส

[๖๔] ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีสงฆ์พึงสวดสมนุภาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสมนุภาสนั้น พึงสวดอย่างนี้ อันภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาสมนุภาส

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ขอบอกคืน พระธรรม ขอบอกคืนพระสงฆ์ ขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่า สมณี จะมีเฉพาะสมณีศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มี ความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจักไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสมณีเหล่านั้น ดังนี้ นางยังไม่สละวัตถุนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสภิกษุณีผู้ มีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น นี่เป็นญัตติ.

แม่เจ้า เจ้าข้าขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ขอบอกคืน

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 87

พระธรรม ขอบอกคืนพระสงฆ์ ขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีชื่อว่าสมณี จะมีเฉพาะสมณีศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความ ละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจักไปประพฤติ พรหมจรรย์ ในสำนักสมณีเหล่านั้น ดังนี้ นางยังไม่สละวัตถุนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น การสวด สมนุภาสภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้านั้นพึงนิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่ ๒ ...

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่ ๓ ...

ภิกษุณีมีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้ว เพื่อให้สละวัตถุ นั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

[๖๕] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้งต้องอาบัติ ถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏเพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัยเพราะกรรมวาจา ๒ ครั้ง ย่อมระงับ.

[๖๖] บทว่า แม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อน

บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติในเมื่อสวดสมนุภาสครบสามจบ คือ ต้องอาบัติเพราะสวดสมนุภาสจบครั้งที่ ๓ ไม่ใช่ต้องพร้อมกับการล่วงวัตถุ.

ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ถูกขับออกจากหมู่.

บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้มานัต ... แม้เพราะ เหตุนั้น จึงตรัสว่า สังฆาทิเสส.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 88

บทภาชนีย์

ติกะสังฆาทิเสส

[๖๗] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

ติกะทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๖๘] ภิกษุณีผู้ยังไม่ถูกสวดสมนุภาส ๑ ภิกษุณีผู้เสียสละได้ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗ จบ

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๗ พึงทราบดังนี้ :-

บัณฑิตพึงทราบอรรถแห่งบทว่า ยาวตติยกะ โดยนัยดังที่ข้าพเจ้า กล่าวไว้ในมหาวิภังค์นั่นแหละ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้นแล.

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 89

สิกขาบทนี้มีการสวดสมนุภาสเป็นสมุฏฐาน เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗ จบ.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘

เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี

[๖๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอานาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี จัณฑกาลี ถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่ง โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ดังนี้ บรรดา ภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้า จัณฑกาลีถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่งแล้ว โกรธ ขัดใจ จึงได้กล่าว อย่างนี้ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ ... และภยาคติ ดังนี้เล่า แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีจัณฑกาลีถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่งแล้ว โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ดังนี้ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้า.

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 90

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุไฉน ภิกษุณีจัณฑกาลีถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่งแล้วจึงได้โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ดังนี้เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังใม่ เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๑๙. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด ถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่อง หนึ่งแล้วโกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ดังนี้ ภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลาย พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้าถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่งแล้ว อย่าโกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ดังนี้ แม่เจ้าต่างหาก ถึงฉันทาคติบ้าง โทสาคติ บ้าง มหาคติบ้าง ภยาคติบ้าง และภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลาย ว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุณีนั้น อันภิกษุณี ทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้น หากเธอถูกสวดสมนุภาสกว่าจะครบสามจบอยู่ สละกรรมนั้นเสียได้ การสละได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละ ภิกษุณีแม้นี้ก็

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 91

ต้องธรรมคือสังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติในเมื่อ สวดสมนุภาสครบสามจบ.

เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า อธิกรณ์ ในบทว่า อธิกรณ์เรื่องหนึ่งนั้น ได้แก่ อธิกรณ์ ๔ คือ วิวาทาธิกรณ์ ๑ อนุวาทาธิกรณ์ ๑ อาปัตตาธิกรณ์ ๑ กิจจาธิกรณ์ ๑.

ที่ชื่อว่า ถูกตัดสินให้แพ้ ได้แก่ ที่เขาเรียกกันว่าผู้แพ้คดี.

สองบทว่า โกรธ ขัดใจ คือ ไม่พอใจ แค้นใจ เจ็บใจ.

บทว่า กล่าวอย่างนี้ คือ กล่าวว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ดังนี้.

[๗๑] บทว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีรูปที่กล่าวอย่างนั้น.

บทว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุณีพวกอื่น คือ พวกที่ ได้เห็นได้ทราบเหล่านั้น พึงว่ากล่าวว่า แม่เจ้าถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่อง หนึ่งแล้ว อย่าได้โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ แม่เจ้าต่างหากถึงฉันทาคติบ้าง โทสาคติบ้าง โมหาคติบ้าง ภยาคติบ้าง ดังนี้ พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้ง ที่สาม หากนางสละได้ การสละได้ดังนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ต้อง อาบัติทุกกฏ. ภิกษุณีทั้งหลายทราบข่าวแล้วไม่ว่ากล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณี

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 92

นั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงคุมตัวมาแม้สู่ท่ามกลางสงฆ์ แล้วว่ากล่าวว่า แม่เจ้า ถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่งแล้ว อย่าได้โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ดังนี้ แม่เจ้าต่าง หากถึงฉันทาคติบ้าง โทสาคติบ้าง โมหาคติบ้าง ภยาคติบ้าง พึงว่ากล่าวแม้ ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากภิกษุณีนั้นสละได้ การสละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ.

วิธีสวดสมนุภาส

[๗๒] ภิกษุณีนั้น อันภิกษุสงฆ์พึงสวดสมนุภาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสมนุภาสนั้นพึงสวดอย่างนี้ อันภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า

กรรมวาจาสมนุภาส

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อนี้ ผู้นี้ ถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่งแล้ว โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่าง นี้ว่า พวกภิกษุณีสงฆ์ถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ดังนี้ นางยังไม่สละวัตถุนั้น หากความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมนุภาสภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อสละวัตถุนั้น นี่เป็นญัตติ.

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อว่า ผู้นี้ ถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่งแล้ว โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่าง นี้ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ดังนี้ นางยังไม่สละวัตถุนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อ สละวัตถุนั้น การสวดสมนุภาสภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อสละวัตถุนั้น ชอบ

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 93

แก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้า ผู้นั้นพึงพูด.

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สอง ...

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สาม ...

ภิกษุณีมีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว เพื่อสละวัตถุนั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

[๗๓] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏเพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัยเพราะกรรมวาจาสองครั้ง ย่อม ระงับ.

[๗๔] บทว่า แม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูป ก่อน.

บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติในเมื่อสวดสมนุภาสครบสามจบ คือ ต้องอาบัติเพราะสวดสมนุภาสจบครั้งที่สาม ไม่ใช่ต้องพร้อมกับการล่วงวัตถุ.

ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ถูกขับออกจากหมู่.

บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้มานัต ... แม้เพราะ เหตุนั้น จึงตรัสว่า สังฆาทิเสส.

บทภาชนีย์

ติกะสังฆาทิเสส

[๗๕] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 94

กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส.

ติกะทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๗๖] ยังไม่ถูกสวดสมนุภาส ๑ ยอมสละ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘ จบ

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๘ พึงทราบดังนี้ :-

สองบทว่า กิสฺมิญฺจิเทว อธิกรเณ ได้แก่ ในบรรดาอธิกรณ์ ๔ อธิกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง. แต่ในบทภาชนะ เพื่อทรงแสดงการจำแนกอธิกรณ์ อย่างเดียว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้นว่า ที่ชื่อว่า อธิกรณ์ ได้แก่ อธิกรณ์ ๔ ดังนี้. คำที่เหลือพร้อมทั้งสมุฏฐานเป็นต้น ตื้นทั้งนั้นแล.

อรรถกถาสังฏาทิเสสสิกขาบทที่ ๘ จบ

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 95

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙

เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของภิกษุณีถุลลนันทา

[๗๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เหล่า ภิกษุณีอันเตวาสินีของภิกษุณีถุลลนันทา ชอบอยู่คลุกคลีปนเปกัน มีอาจาระ ทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกัน บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุณีจึงได้อยู่คลุกคลีกัน มี อาจาระทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกันเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแต่ พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุณีอยู่คลุกคลีกัน มีอาจาระทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มี อาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกัน จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน พวกภิกษุณีจึงได้ชอบอยู่คลุกคลีกัน มีอาจาระทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มี

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 96

อาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกัน เล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๒๐. ๙. อนึ่ง ภิกษุณีทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน มีอาจาระทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกัน ภิกษุณีเหล่านั้นอันภิกษุณีทั้งหลาย พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า พี่น้องหญิงทั้งหลายแลอยู่คลุกคลีกัน มีอาจาระ ทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกัน แม่เจ้าทั้งหลายจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญความสงัดอย่างเดียวแก่พี่น้องหญิงทั้งหลาย แล ภิกษุณีเหล่านั้น อันภิกษุณีทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่ อย่างนั้นเทียว ภิกษุณีเหล่านั้น อันภิกษุณีทั้งหลาย พึงสวดสมนุภาส กว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละวัตถุนั้น หากเธอเหล่านั้นถูกสวด สมนุกาสกว่าจะครบสามจบอยู่ สละวัตถุนั้นเสียได้ การสละได้อย่าง นี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ภิกษุณีแม้เหล่านี้ก็ต้องธรรมคือ สังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติในเมื่อสวดสมนุภาส ครบสามจบ.

เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของภิกษุณีถุลลนันทา จบ

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 97

สิกขาบทวิภังค์

[๗๘] บทว่า อนึ่ง ภิกษุณีทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส หมายสตรีผู้อุปสมบทแล้ว.

ที่ชื่อว่า อยู่คลุกคลีกัน คือ อยู่คลุกคลีด้วยการคลุกคลีทางกายและ วาจาอันไม่สมควร.

บทว่า มีอาจาระทราม คือ ประกอบด้วยความประพฤติที่เลว.

บทว่า มีเกียรติศัพท์ไม่งาม คือ อื้อฉาวด้วยเสียงเล่าลือที่เสียหาย.

บทว่า มีอาชีวะไม่ชอบ คือ เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพต่ำช้า.

บทว่า มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ คือ เมื่อสงฆ์ทำกรรมแก่เพื่อน กันย่อมคัดค้าน.

บทว่า ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกัน คือ ปกปิดความผิด ของกันและกัน.

[๗๙] บทว่า ภิกษุณีเหล่านั้น ได้แก่ ภิกษุณีพวกที่อยู่คลุกคลี ปะปนกัน.

บทว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุณีพวกอื่น คือพวกที่ได้ เห็นได้ทราบ เหล่านั้น พึงกล่าวว่า พี่น้องหญิงทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน มีอาจาระ ทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบ ปกปิดโทษของพรรคพวกกัน แม่เจ้าทั้งหลาย จงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อม สรรเสริญความสงัดอย่างเดียวแก่พี่น้องหญิงทั้งหลาย พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๓ หากภิกษุณีเหล่านั้นสละได้ การสละได้อย่างนี้นั่นเป็น การดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ พวกภิกษุณีทราบแล้วไม่ว่ากล่าว ก็ต้อง อาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 98

ภิกษุณีเหล่านั้น อันภิกษุณีทั้งหลายพึงคุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ แล้ว ว่ากล่าวว่า พี่น้องหญิงทั้งหลายแล อยู่คลุกคลีกัน มีอาจาระทราม มีเกียรติ- ศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษของ พรรคพวกกัน แม่เจ้าทั้งหลายจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญความสงัด อย่างเดียวแก่พี่น้องหญิงทั้งหลาย พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๓ หากภิกษุณีเหล่านั้นสละได้ การสละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ.

วิธีสวดสมนุภาส

[๘๐] ภิกษุณีเหล่านั้น อันภิกษุณีสงฆ์พึงสวดสมนุภาส ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ก็แลวิธีสวดสมนุภาสนั้นพึงสวดอย่างนี้ อันภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาสมนุภาส

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีทั้งหลายมีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้ด้วย อยู่คลุกคลีกัน มีอาจาระทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มี อาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษของพรรค พวกกัน เธอเหล่านั้นยังไม่สละวัตถุนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสภิกษุณีทั้งหลายมีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้ ด้วย เพื่อให้สละวัตถุนั้น นี่เป็นญัตติ.

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีทั้งหลายมีชื่อนี้ ด้วย มีชื่อนี้ด้วย อยู่คลุกคลีกัน มีอาจาระทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษของ

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 99

พรรคพวกกัน เธอเหล่านั้นยังไม่สละวัตถุนั้น สงฆ์สวดสมนุภาส ภิกษุณีทั้งหลาย มีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้ด้วย เพื่อให้สละวัตถุนั้น การ สวดสมนุภาสภิกษุณีทั้งหลายมีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้ด้วย เพื่อให้สละ วัตถุนั้น ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่ ๒ ...

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่ ๓ ...

ภิกษุณีทั้งหลายมีชื่อนี้ด้วย มีชื่อนี้ด้วย อันสงฆ์สวดสมนุภาส แล้ว เพื่อให้สละวัตถุนั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง ความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

[๘๑] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส แล้ว อาบัติทุกกฏเพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัยเพราะกรรมวาจา ๒ ครั้ง ย่อม ระงับ.

พึงสวดสมนุภาสภิกษุณี ๒ - ๓ รูป คราวเดียวกันได้ ไม่พึงสวด สมนุภาสภิกษุณีมากกว่านั้น.

[๘๒] บทว่า ภิกษุณีแม้เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียง ภิกษุณีรูปก่อน.

บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติเมื่อสวดสมนุภาสครบสามจบ คือ ต้องอาบัติเพราะสวดสมนุภาสจบครั้งที่ ๓ ไม่ใช่ต้องพร้อมกับการละเมิดวัตถุ.

ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ถูกขับออกจากหมู่สงฆ์.

บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้มานัต ... แม้เพราะ เหตุนั้นจึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 100

บทภาชนีย์

ติกสังฆาทิเสส

[๘๓] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส.

ติกทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๘๔] ยังไม่สวดสมนุภาส ๑ ยอมสละ ๑ วิกลจริต ๑ มีจิตฟุ้งซ่าน ๑ กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙ จบ

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๙ พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า สํสฏฺา คือ เป็นผู้คลุกคลีปนเปกัน.

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 101

บทว่า อนนุโลมิเกน คือ ไม่สมควรแก่พวกบรรพชิต.

สามบทว่า กายิเกน วาจสิเกน สํสฏฺา มีความว่า ผู้คลุกคลี ด้วยการคลุกคลีอันเป็นไปทางกาย มีการซ้อมข้าว หุงข้าว บดของหอม ร้อย พวงดอกไม้เป็นต้น เพื่อพวกคฤหัสถ์ และด้วยการคลุกคลีกันอันเป็นไปทาง วาจา มีการรับส่งข่าวสาสน์และข่าวสาสน์ตอบ และการชักสื่อเป็นต้น แก่พวก คฤหัสถ์. เกียรติศัพท์ของพวกภิกษุณีเหล่านี้เสียหาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีเกียรติศัพท์เสียหาย. ความเป็นอยู่ กล่าวคืออาชีพของพวกภิกษุณีเหล่านี้ เลวทราม เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้มีอาชีพเลวทราม. คำที่เหลือพร้อมทั้ง สมุฏฐานเป็นต้นตื้นทั้งนั้น.

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙ จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

[๘๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทา ถูกสงฆ์สวดสมนุภาสแล้วยังกล่าวกะภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้ว่า แม่เจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าต่างคนต่างอยู่เลย ภิกษุณีแม้เหล่าอื่น ที่มีอาจาระเช่นนี้ มีเกียรติศัพท์เช่นนี้ มีอาชีวะเช่นนี้ มักเบียดเบียนภิกษุณี สงฆ์เช่นนี้ ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกันเช่นนี้ ก็ยังมีในหมู่สงฆ์ ไม่เห็น สงฆ์ว่าอะไรภิกษุณีเหล่านั้น พวกท่านเท่านั้นถูกสงฆ์ว่ากล่าวด้วยความดูหมิ่น ด้วยความไม่สุภาพ ด้วยความไม่อดกลั้น ด้วยความขู่เข็ญ และเพราะความที่

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 102

พวกท่านเป็นคนอ่อนแออย่างนี้ว่า พี่น้องหญิงทั้งหลายแล อยู่คลุกคลีกัน มี อาจาระทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกัน แม่เจ้าทั้งหลายจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อม สรรเสริญความสงัดอย่างเดียวแก่พี่น้องหญิงทั้งหลาย ดังนี้.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาถูกสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว จึงยังกล่าวกะ ภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้ว่า แม่เจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าต่างคนต่างอยู่เลย ... แม่เจ้าทั้งหลายจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญ ความสงัดอย่างเดียวแก่พี่น้องหญิงทั้งหลาย ดังนี้เล่า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาถูกสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว ยังกล่าวกะภิกษุณีทั้งหลาย อย่างนี้ว่าแม่เจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าต่างคนต่าง อยู่เลย ... แม่เจ้าทั้งหลาย จงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญความสงัด อย่างเดียวแก่พี่น้องหญิงทั้งหลาย ดังนี้ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี ถุลลนันทาถูกสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว ไฉนจึงยังกล่าวกะภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้ว่า แม่เจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าต่างคนต่างอยู่เลย ... แม่เจ้าทั้งหลายจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญความสงัดอย่างเดียวแก่พี่-

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 103

น้องหญิงทั้งหลายดังนี้เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๒๑. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด กล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าต่างคนต่างอยู่เลย ภิกษุณีแม้ เหล่าอื่นที่มีอาจาระเช่นนี้ มีเกียรติศัพท์เช่นนี้ มีอาชีวะเช่นนี้ มัก เบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์เช่นนี้ ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกันเช่นนี้ ก็ยังมีในสงฆ์ สงฆ์ไม่ว่ากล่าวอะไรภิกษุณีพวกนั้น สงฆ์ว่ากล่าว เฉพาะพวกท่าน ด้วยความดูหมิ่น ด้วยความไม่สุกาพ ด้วยความไม่ อดกลั้น ด้วยความขู่เข็น แลเพราะความที่พวกท่านเป็นคนอ่อนแอ อย่างนี้ว่าพี่น้องหญิงทั้งหลายแล อยู่คลุกคลีกัน มีอาจาระทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกัน แม่เจ้าทั้งหลาย จงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญความสงัดอย่างเดียวแก่พี่น้องหญิงทั้งหลาย ดังนี้ ภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้าอย่าได้ กล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าต่างคนต่างอยู่เลย ภิกษุณีแม้เหล่าอื่นมีอาจาระเช่นนี้ มีเกียรติ- ศัพท์เช่นนี้ มีอาชีวะเช่นนี้ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์เช่นนี้ ชอบ ปกปิดโทษของพรรคพวกกันเช่นนี้ ก็ยังมีในสงฆ์ สงฆ์ไม่ว่ากล่าว อะไรภิกษุณีเหล่านั้น สงฆ์ว่ากล่าวเฉพาะพวกท่านด้วยความดูหมิ่น

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 104

ด้วยความไม่สุภาพ ด้วยความไม่อดกลั้น ด้วยความขู่เข็ญ แลเพราะ ความที่พวกท่านเป็นคนอ่อนแอ อย่างนี้ว่าพี่น้องหญิงทั้งหลายแล อยู่ คลุกคลีกัน มีอาจาระทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกัน แม่เจ้า ทั้งหลายจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญความสงัดอย่างเดียว แก่พี่น้องหญิงทั้งหลาย ดังนี้ แลภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายว่า กล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณี ทั้งหลายพึงสวดสมนุกาสกว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละวัตถุนั้น หากเธอถูกสวดสมนุกาสกว่าจะครบสามจบอยู่ สละวัตถุนั้นเสีย สละ ได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ภิกษุณีแม้นี้ก็ต้องธรรมคือ สังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติในเมื่อสวดสมนุภาส ครบสามจบ.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๘๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า กล่าวอย่างนี้ คือ กล่าวว่า แม่เจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าต่างคนต่างอยู่เลย ภิกษุณีแม้เหล่าอื่นที่มีอาจาระเช่นนี้ มีเกียรติศัพท์เช่นนี้ มีอาชีวะเช่นนี้ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์เช่นนี้ ชอบปกปิด โทษของพรรคพวกกันเช่นนี้ ก็ยังมีอยู่ในสงฆ์ สงฆ์ไม่ว่ากล่าวอะไรภิกษุณี พวกนั้น สงฆ์ว่ากล่าวเฉพาะพวกท่านเท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 105

บทว่า ด้วยความดูหมิ่น ได้แก่ การดูถูก.

บทว่า ด้วยความไม่สุภาพ ได้แก่ ความหยาบคาย.

บทว่า ด้วยความไม่อดกลั้น ได้แก่ การโกรธเคือง.

บทว่า ด้วยความขู่เข็ญ ได้แก่ ความไม่กำหราบ.

บทว่า เพราะความที่พวกท่านเป็นคนอ่อนแอ คือ มีพวกน้อย.

สงฆ์ว่ากล่าวอย่างนี้ว่า พี่น้องหญิงทั้งหลายแล อยู่คลุกคลีกัน มีอาจาระ ทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบ ปกปิดโทษของพรรคพวกกัน แม่เจ้าทั้งหลายจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อม สรรเสริญความสงัดอย่างเดียวแก่พี่น้องหญิงทั้งหลาย ดังนี้.

บทว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีรูปที่มักกล่าวเช่นนี้.

บทว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุณีพวกอื่น คือ จำพวก ที่ได้เห็นได้ทราบเหล่านั้นพึงกล่าวว่า แม่เจ้าอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ว่า แม่เจ้า ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าต่างคนต่างอยู่เลย ... แม่เจ้า ทั้งหลายจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญความสงัดอย่างเดียวแก่พี่น้องหญิง ทั้งหลาย ดังนี้ พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๓ หากนางสละได้ การสละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีทั้งหลาย ทราบแล้วไม่ว่ากล่าว ก็ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลาย พึงคุมตัวมาแม้สู่ท่ามกลางสงฆ์แล้ว กล่าวว่า แม่เจ้า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอยู่ คลุกคลีกันเถิด อย่าต่างคนต่างอยู่เลย ... แม่เจ้าทั้งหลายจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ ย่อมสรรเสริญความสงัดอย่างเดียวแก่พี่น้องหญิงทั้งหลาย ดังนี้ พึงว่ากล่าวแม้ ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ ๓ หากนางสละได้ การสละได้อย่างนี้ นั้น เป็นการดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 106

วิธีสวดสมนุภาส

[๘๗] ภิกษุณีนั้น อันสงฆ์พึงสวดสมนุภาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสมนุภาสนั้น พึงสวดอย่างนี้.

ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาสมนุภาส

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ ถูก สงฆ์สวดสมนุภาสแล้วยังกล่าวกะภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้ว่า แม่เจ้า ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าต่างคนต่างอยู่เลย ภิกษุณีแม้เหล่าอื่นที่มีอาจาระเช่นนี้ มีเกียรติศัพท์เช่นนี้ มีอาชีวะ เช่นนี้ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์เช่นนี้ ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกันเช่นนี้ ก็ยังมีในหมู่สงฆ์ สงฆ์ไม่ว่ากล่าวอะไรภิกษุณีพวก นั้น สงฆ์ว่ากล่าวเฉพาะพวกท่านด้วยความดูหมิ่น ด้วยความไม่สุภาพ ด้วยความไม่อดกลั้น ด้วยความขู่เข็ญ แลเพราะความที่พวกท่าน เป็นคนอ่อนแอ อย่างนี้ว่า พี่น้องหญิงทั้งหลายแล อยู่คลุกคลีกัน มีอาจาระทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียน ภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกัน แม่เจ้าทั้งหลายจง แยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญความสงัดอย่างเดียวแก่พี่น้องหญิง ทั้งหลาย ดังนี้ นางยังไม่สละวัตถุนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น นี่เป็นญัตติ.

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 107

แม่เจ้าทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ ถูก สงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว ยังกล่าวกะภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้ว่า แม่เจ้า ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าต่างคนต่างอยู่เลย ภิกษุณีแม้เหล่าอื่นที่มีอาจาระเช่นนี้ มีเกียรติศัพท์เช่นนี้ มีอาชีวะ เช่นนี้ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์เช่นนี้ ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกันเช่นนี้ ก็ยังมีอยู่ในหมู่สงฆ์ สงฆ์ไม่ว่ากล่าวอะไรภิกษุณี พวกนั้น สงฆ์ว่ากล่าวเฉพาะพวกท่านด้วยความดูหมิ่น ด้วยความ ไม่สุภาพ ด้วยความไม่อดกลั้น ด้วยความขู่เข็ญ แลเพราะความที่ พวกท่านเป็นคนอ่อนแอ อย่างนี้ว่า พี่น้องทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน มีอาจาระทราม มีเกียรติศัพท์ไม่งาม มีอาชีวะไม่ชอบ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษของพรรคพวกกัน แม่เจ้าทั้งหลาย จงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญความสงัดอย่างเดียว แก่พี่น้อง หญิงทั้งหลาย ดังนี้ นางยังไม่สละวัตถุนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสภิกษุณี มีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น การสวดสมนุภาสภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อ ให้สละวัดถุนั้น ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ...

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ...

ภิกษุณีมีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว เพื่อให้สละวัตถุ นั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

[๘๘] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อต้องอาบัติสังฆา-

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 108

ทิเสส อาบัติทุกกฏเพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัยเพราะกรรมวาจาสองครั้ง ย่อม ระงับ.

[๘๙] บทว่า แม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูป ก่อน.

บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติ. ในเมื่อสวดสมนุภาสครบสามจบ คือ ต้องอาบัติเพราะสวดสมนุภาสจบครั้งที่สาม ไม่ใช่ต้องพร้อมกับการละเมิดวัตถุ-

ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ถูกขับออกจากหมู่.

บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้มานัตเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติเดิมเรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่ภิกษุณีรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่าสังฆาทิเสสเป็นการขนานนาม คือ เป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่าสังฆาทิเสส.

บทภาชนีย์

ติกะสังฆาทิเสส

[๙๐] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส.

ติกะทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 109

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๙๑] ยังไม่ถูกสวดสมนุภาส ๑ ยอมสละ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐ จบ

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๑๐ พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า เอวาจารา คือ ผู้มีอาจาระอย่างนี้ ความว่า มีอาจาระเช่น อย่างอาจาระของพวกท่าน. ในบททั้งปวงก็มีนัยเช่นนี้.

บทว่า อญฺาย แปลว่า ด้วยความดูหมิ่น คือ ด้วยความรู้กดให้ต่ำ.

บทว่า ปริภเวน ได้แก่ ด้วยความรู้เหยียดหยามอย่างนี้ว่า แม่พวกนี้ จักกระทำอะไรได้?

บทว่า อกฺขนฺติยา คือ ด้วยความไม่อดกลั้น ความว่า ด้วยความ โกรธเคือง.

บทว่า เวภสฺสา คือ ด้วยความเป็นผู้มีเสียงขู่เข็ญ ความว่า ด้วย การขู่ให้หวาดกลัวด้วยประกาศกำลังของตนๆ.

บทว่า ทุพลฺยา คือ เพราะพวกท่านเป็นคนอ่อนแอ. บัณฑิตพึง เห็นอรรถสมุจจัยในบททั้งปวงอย่างนี้ว่า ด้วยความดูหมิ่น และด้วยความ เหยียดหยาม.

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 110

บทว่า วิวิจฺจถ แปลว่า พวกท่านจงแยกกันอยู่เถิด. คำที่เหลือ พร้อมทั้งสมุฏฐานเป็นต้น ตื้นทั้งนั้นแล.

อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบท ๑๐ จบ

บทสรุป

[๙๒] แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบท (๑) ข้าพเจ้า ยกขึ้นแสดงแล้วแล ๙ สิกขาบท ให้ต้องอาบัติเมื่อแรกทำ ๘ สิกขาบท ให้ ต้องอาบัติเมื่อสวดสมนุภาสครบสามจบ ภิกษุณีล่วงสิกขาบทใดสิกขาบทหนึ่ง แล้ว ภิกษุณีนั้นต้องประพฤติปักขมานัตในสงฆ์สองฝ่าย ภิกษุณีประพฤติมานัต แล้ว ภิกษุณีสงฆ์มีคณะ ๒๐ อยู่ในสีมาใด พึงเรียกภิกษุณีนั้นเข้าหมู่ในสีมา นั้น หากภิกษุณีสงฆ์มีคณะ ๒๐ หย่อนแม้รูปหนึ่ง พึงเรียกภิกษุณีนั้นเข้าหมู่ ภิกษุณีนั้นก็ไม่เป็นอันสงฆ์เรียกเข้าหมู่แล้ว และภิกษุณีเหล่านั้นควรถูกตำหนิ นี้เป็นความถูกต้องในกรรมนั้น.

ข้าพเจ้าขอถามแม่เจ้าทั้งหลายในธรรมคือสังฆาทิเสสเหล่านั้นว่า ท่าน ทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สองว่า ท่านทั้งหลาย เป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้ บริสุทธิ์แล้วหรือ แม่เจ้าทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วในธรรมคือสังฆาทิเสสเหล่า นี้ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้แล.

สัตตรสกัณฑ์ จบ


(๑) เติมยาวตติยกะในมหาวิภังค์อีก ๔ สิกขาบท คือ สิกขาบทที่ ๒๒ ๒๓ ๒๔ ๒๕ จึงเป็น ๑๗ สิกขาบท.

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 111

อรรถกถาสรูปสังฆาทิเสส ๑๗

ในคำว่า อุทฺทิฏฺา โข อยฺยาโย ลตฺตรส สงฺฆาทิเสสา นี้ บัณฑิตพึงทราบปฐมาปัตติกะ ๙ สิกขาบท เพิ่มจากมหาวิภังค์ ๓ สิกขาบทนี้ คือ สัญจริตตสิกขาบท ๑ ทุฏฐโทสะ ๒ สิกขาบท เข้าในลำดับแห่งปฐมาปัตติกะ ๖ สิกขาบท พึงทราบยาวตติยกะ ๘ สิกขาบท เพิ่มยาวตติยกะ ๔ สิกขาบท แม้จากมหาวิภังค์เข้าในลำดับแห่งยาวตติยกะ ๔ สิกขาบท.

บัณฑิต พึงเห็นใจความในคำว่า อุทฺทิฏฺฐา โข เป็นต้นนี้ อย่าง นี้ว่า ดูก่อนแม่เจ้าทั้งหลาย ธรรม คือ สังฆาทิเสส ๑๗ ทั้งหมด ข้าพเจ้า ยกขึ้นแสดงแล้วแล โดยมาตรว่า เป็นปาฎิโมกขุทเทส ด้วยประการอย่างนี้. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น เว้นแต่ปักขมานัต. ส่วนปักขมานัตนั้น พวกเราจัก พรรณนาโดยพิสดารในขันธกะแล.

สัตตรสกัณฑวรรณนาในภิกขุนีวิภังค์ ในอรรถกถาพระวินัย

ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ