พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปัตตวรรค - นิสสัคคิยกัณฑ์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  12 มี.ค. 2565
หมายเลข  42790
อ่าน  635

[เล่มที่ 5] พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓

พระวินัยปิฎก เล่ม ๓

ภิกขุนีวิภังค์

นิสสัคคิยกัณฑ์

ปัตตวรรค

สิกขาบทที่ ๑ 93/112

พระบัญญัติ ๒๖.๑ 113

เสียสละแก่สงฆ์ 95/114

เสียสละแก่คณะ 96/114

เสียสละแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง 97/115

อรรถกถาติงสกัณฑ์

อรรถกถานิสสัคคิยปาจิตตีย์

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๑ 118

สิกขาบทที่ ๒ 102/119

พระบัญญัติ ๒๗.๒ 120

เสียสละแก่สงฆ์แก่คณะแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง 121

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๒ 123

สิกขาบทที่ ๓ 106/124

พระบัญญัติ ๒๘.๓ 125

เสียสละแก่สงฆ์แก่คณะแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง 126

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๓ 128

สิกขาบทที่ ๔ 110/129

พระบัญญัติ ๒๙.๔ 130

เสียสละแก่สงฆ์แก่คณะแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง 131

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๔ 133

สิกขาบทที่ ๕ 114/134

พระบัญญัติ ๓๐.๕ 136

เสียสละแก่สงฆ์แก่คณะแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง 136

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๕ 138

สิกขาบทที่ ๖ 118/139

พระบัญญั ๓๑.๖ 140

เสียสละแก่สงฆ์แก่คณะแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง 141

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๖ 143

สิกขาบทที่ ๗ 122/145

พระบัญญัติ ๓๒.๗ 146

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๗ 149

สิกขาบทที่ ๘ 126/150

พระบัญญัติ ๓๓.๘ 151

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๘ 154

สิกขาบทที่ ๙ 130/155

พระบัญญัติ ๓๔.๙ 156

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๙ 159

สิกขาบทที่ ๑๐ 134/160

พระบัญญัติ ๓๕.๑๐ 161

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๑๐ 164


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 5]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 112

นิสสัคคิยกัณฑ์

แม่เจ้าทั้งหลาย อนึ่ง ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทเหล่านี้ แลมาสู่อุเทศ.

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์

[๙๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ พากันสั่งสมบาตรไว้มากมาย ประชาชนเดินเที่ยวชมวิหารเห็นเข้าแล้ว พากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้สั่งสมบาตรไว้มาก มาย ท่านจักทำการขยายบาตร หรือจักออกร้านค้าเครื่องภาชนะ.

ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวก ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงพากันทำการสั่งสมบาตรเล่า ครั้นแล้วได้แจ้งเรื่องนั้นแด่ ภิกษุทั้งหลายๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ทำการสั่งสมบาตร จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 113

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้พากันทำการสั่งสมบาตรเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๒๖. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด พึงทำการสั่งสมบาตร เป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๙๔] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า บาตร มีสองชนิด คือบาตรเหล็ก ๑ บาตรดินเผา ๑.

ขนาดของบาตร

บาตรมี ๓ ขนาด คือ บาตรขนาดใหญ่ ๑ บาตรขนาดกลาง ๑ บาตร ขนาดเล็ก ๑.

บาตรที่ชื่อว่าขนาดใหญ่ จุข้าวสุกแห่งข้าวสารกึ่งอาฬหกะ ของเคี้ยว เท่าส่วนที่สี่แห่งข้าวสุก และกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น.

บาตรที่ชื่อว่าขนาดกลาง จุข้าวสุกแห่งข้าวสารหนึ่งนาฬี ของเคี้ยวเท่า ส่วนที่สี่แห่งข้าวสุก และกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 114

บาตรที่ชื่อว่า ขนาดเล็ก จุข้าวสุกแห่งข้าวสารหนึ่งปัตถะ ของเคี้ยว เท่าส่วนที่สี่แห่งข้าวสุก และกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น.

ใหญ่กว่านั้นไม่ใช่บาตร เล็กกว่านั้นก็ไม่ใช่บาตร.

บทว่า พึงทำการสั่งสม คือ ไม่ได้อธิษฐาน ไม่ได้วิกัป.

บาตรเป็นนิสสัคคิยะ คือ เป็นนิสสัคคีย์พร้อมกับเวลาอรุณขึ้น จำต้อง เสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือภิกษุณีรูปหนึ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลบาตรเป็นนิสสัคคีย์นั้น ภิกษุณีพึงเสียสละ อย่างนี้.

วิธีเสียสละ

เสียสละแก่สงฆ์

[๙๕] ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษากว่าทั้งหลาย แล้วนั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าว อย่างนี้ว่าแม่เจ้า เจ้าข้า บาตรใบนี้ของข้าพเจ้าล่วงราตรีแล้ว เป็นของจำจะ สละ ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่สงฆ์ ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุณีผู้ ฉลาด ผู้สามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า แม่เจ้าเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บาตรใบนี้ของภิกษุณีมีชื่อนี้ เป็นของจำ จะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ บาตรใบนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.

เสียสละแก่คณะ

[๙๖] ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ห่มผ้าอุตตราสงค์ เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษากว่าทั้งหลาย แล้วนั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 115

แม่เจ้า เจ้าข้า บาตรใบนี้ของข้าพเจ้า ล่วงราตรีแล้ว เป็นของจำจะ จะสละ ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่แม่เจ้าทั้งหลาย.

ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุณีผู้ฉลาดผู้สามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า ขอแม่เจ้าทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า บาตรใบนี้ของภิกษุณีมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่แม่เจ้าทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของแม่เจ้าทั้งหลายถึงที่แล้ว แม่เจ้าทั้งหลายพึงให้บาตรใบนี้ แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.

เสียสละแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง

[๙๗] ภิกษุณีรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตตราสงค์ เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า เจ้าข้า บาตรใบนี้ ของดิฉันล่วงราตรีแล้ว เป็นของจำจะสละ ดิฉันสละบาตรใบนี้แก่แม่เจ้า ครั้น สละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุณีผู้รับเสียสละนั้นพึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่เสีย สสะให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้บาตรใบนี้แก่แม่เจ้า ดังนี้.

บทภาชนีย์

นิสสัคคิยปาจิตตีย์

[๙๘] บาตรล่วงราตรีแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่า ล่วงแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บาตรล่วงราตรีแล้ว ภิกษุณีสงสัย เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. บาตรล่วงราตรีแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่า ยังไม่ล่วง เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

บาตรยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุณีสำคัญว่า อธิษฐานแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 116

บาตรยังไม่ได้วิกัป ภิกษุณีสำคัญว่าวิกัปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

บาตรยังไม่ได้สละให้ไป ภิกษุณีสำคัญว่า สละให้ไปแล้ว เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บาตรยังไม่สูญ ภิกษุณีสำคัญว่า สูญแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

บาตรไม่หาย ภิกษุณีสำคัญว่า หายแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

บาตรไม่แตก ภิกษุณีสำคัญว่า แตกแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

บาตรไม่ถูกลักไป ภิกษุณีสำคัญว่า ถูกลักไปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกะทุกกฏ

[๙๙] บาตรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุณียังไม่ได้สละ ใช้สอย ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

บาตรยังไม่ล่วงราตรี ภิกษุณีสำคัญว่า ล่วงแล้ว ใช้สอย ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

บาตรยังไม่ล่วงราตรี ภิกษุณีสงสัย ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

บาตรยังไม่ล่วงราตรี ภิกษุณีสำคัญว่า ยังไม่ล่วง ใช้สอย ไม่ต้อง อาบัติ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 117

อนาปัตติวาร

[๑๐๐] ภายในอรุณขึ้น ภิกษุณีอธิษฐาน ๑ วิกัป ๑ สละให้ไป ๑ สูญ ๑ หาย ๑ แตก ๑ ถูกขโมยแย่งชิงเอาไป ๑ เพื่อนถือวิสาสะเอาไป ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

เรื่องไม่ยอมคืนบาตรให้

[๑๐๑] สมัยต่อมา ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ไม่ยอมคืนบาตรที่เสียสละให้ ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย บาตรที่ภิกษุณีเสียสละแล้วจะไม่คืนให้ไม่ได้ รูปใดไม่ยอมคืนให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 118

อรรถกถาติงสกกัณฑ์

ธรรมเหล่าใดชื่อว่านิสสัคคีย์ ๓๐ ที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศไว้แล้ว แก่ พวกภิกษุณี บัดนี้ จะมีวรรณนานุกรมติงสนิสสัคคิยธรรมเหล่านั้น ดังต่อไปนี้.

อรรถกถานิสสัคคิยปาจิตตีย์

อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑

จำพวกภาชนะ เรียกว่า อามัตตา ในคำว่า อามตฺติกาปณํ นี้. พวกชนผู้ขายภาชนะเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า อามัตติกา. ร้านค้าของชนเหล่า นั้น ชื่อว่า อามัตติกาปณะ. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ออกร้านค้าขาย ภาชนะนั้น.

สองบทว่า ปตฺตสนฺนิจฺจํ กเรยฺย คือ พึงกระทำการสั่งสมบาตร ความว่า เก็บบาตรไว้ไม่อธิษฐาน หรือไม่วิกัปตลอดวันหนึ่ง. คำทีเหลือ บัณฑิตพึงทราบ โดยนัยดังที่ตรัสไว้แล้วในมหาวิภังค์นั่นแล. แต่มีความแปลก กันเพียงเท่านี้ คือ ในมหาวิภังค์นั้น ได้บริหาร ๑๐ วัน ในสิกขาบทนี้ (บริหาร) แม้วันเดียวก็ไม่มี. คำที่เหลือเป็นเช่นเดียวกันนั่นแล.

แม้สิกขาบทนี้ ก็มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติ- วัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.

อรรถกกาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 119

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

[๑๐๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี หลายรูปด้วยกัน จำพรรษาอยู่ในอาวาสใกล้หมู่บ้านแห่งหนึ่ง เป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยวัตรและอิริยาบถ แต่มีผ้าเก่า มีจีวรเศร้าหมอง ได้พากันไปสู่พระนคร สาวัตถี พวกอุบาสกอุบาสิกาเห็นภิกษุณีเหล่านั้นแล้วคิดว่า ภิกษุณีเหล่านี้เป็น ผู้ถึงพร้อมด้วยวัตรและอิริยาบถ แต่มีผ้าเก่า มีจีวรเศร้าหมอง ท่านเหล่านี้ เห็นจักถูกผู้ร้ายแย่งชิง แล้วได้ถวายอกาลจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์ ภิกษุณีถุลลนันทา อธิษฐานว่า กฐินพวกเรากรานแล้ว ผ้านี้เป็นกาลจีวร แล้วให้แจกกันเอง.

อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายพบเห็นภิกษุณีเหล่านั้นแล้วได้ถามว่า แม่เจ้า ทั้งหลายได้จีวรแล้วหรือ.

ภิกษุณีเหล่านั้นตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกดิฉันไม่ได้จีวร เพราะ แม่เจ้าถุลลนันทาอธิษฐานว่า กฐินพวกเรากรานแล้ว ผ้านี้เป็นกาลจีวร แล้ว ให้แจกกันเอง.

อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน แม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้อธิษฐานผ้าอกาลจีวร ว่าเป็นกาลจีวร แล้วให้แจกกัน เองเล่า ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินอุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้น พากันเพ่งโทษติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้อธิษฐานผ้าอกาลจีวร ว่าเป็นกาลจีวร แล้วให้

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 120

แจกกันเองเล่า ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาอธิษฐานผ้าอกาลจีวร ว่าเป็นกาลจีวร แล้วให้แจก กันเอง จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้อธิษฐานผ้าอกาลจีวร ว่าเป็นกาลจีวร แล้วให้แจกกัน เองเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๒๗. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด อธิษฐานผ้าอกาลจีวร ว่าเป็น กาลจีวร แล้วแจกกัน เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๐๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 121

ที่ชื่อว่า อกาลจีวร คือ เมื่อไม่ได้กรานกฐิน จีวรเกิดได้ถึง ๑๑ เดือน เมื่อได้กรานกฐินแล้ว จีวรเกิดได้ตลอด ๗ เดือน จีวรที่เขาเจาะจงถวายแม้ใน กาล นี้ก็ชื่อว่าอกาลจีวร.

ภิกษุณีอธิษฐานว่าเป็นกาลจีวร แล้วให้แจกกัน เป็นทุกกฏในประโยค เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้จีวรมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือภิกษุณีรูปหนึ่ง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลจีวรเป็นนิสสัคคีย์นั้น ภิกษุณีพึงเสียสละ อย่างนี้.

วิธีเสียสละ

เสียสละแก่สงฆ์

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ... แม่เจ้าๆ ข้า อกาลจีวรผืนนี้ของ ข้าพเจ้า อธิษฐานว่าเป็นกาลจีวร แล้วแจกกัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละ อกาลจีวรผืนนี้แก่สงฆ์ ... สงฆ์พึงให้อกาลจีวรผืนนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.

เสียสละแก่คณะ

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ... แม่เจ้าทั้งหลายพึงให้ อกาลจีวรผืนนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.

เสียสละแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ... ข้าพเจ้าให้อกาลจีวรผืน นี้แก่แม่เจ้า ดังนี้.

บทภาชนีย์

ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์

[๑๐๔] อกาลจีวร ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอกาลจีวร อธิษฐานเป็น กาลจีวรแล้วแจกกัน เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 122

อกาลจีวร ภิกษุณีสงสัย อธิษฐานเป็นกาลจีวร แล้วแจกกัน เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อกาลจีวร ภิกษุณีสำคัญว่ากาลจีวร อธิษฐานว่าเป็นกาลจีวร แล้ว แจกกัน เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

กาลจีวร ภิกษุณีสำคัญว่า เป็นอกาลจีวร ต้องอาบัติทุกกฏ.

กาลจีวร ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

กาลจีวร ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกาลจีวร ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๑๐๕] สำคัญอกาลจีวรว่าเป็นอกาลจีวร ให้แจกกัน ๑ สำคัญกาลจีวรว่าเป็นกาลจีวร ให้แจกกัน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติ

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 123

อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๒ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า ทุจฺโจลา แปลว่า มีผ้าผิดสี ความว่า มีผ้าเก่า.

บทว่า อปยฺยาหิ ตัดบทว่า อปิ อยฺยาหิ แปลว่า แม่เจ้าทั้งหลาย (ได้จีวรแล้ว) หรือ?

สองบทว่า อาทิสฺสํ ทินฺนํ มีความว่า จีวรที่เขากล่าวถวายว่า พวกภิกษุณีผู้มาถึงแล้ว จงแบ่งกันเถิด ดังนี้บ้าง หรือกล่าวถวายว่า ข้าพเจ้า ถวายผ้านี้แก่คณะ ถวายผ้านี้แก่ท่านทั้งหลาย ดังนี้บ้าง หรือถวายวางไว้ใกล้ เท้า เพราะความต้องการจะถวายบ้าง ชื่อว่าเป็นจีวรที่เขาถวายเจาะจง จีวร นั่นจัดเป็นอกาลจีวรแม้ทั้งหมด. แต่จีวรที่ได้แล้วอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ แม่เจ้า พึงน้อมไปตามที่เขาถวายนั่นแหละ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.

อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 124

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

[๑๐๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ถุลลนันทากับภิกษุณีรูปหนึ่ง ได้เปลี่ยนจีวรกันห่ม ส่วนภิกษุณีรูปนั้นพับจีวร ที่เปลี่ยนกันนั้น แล้วเก็บไว้ ภิกษุณีถุลลนันทาได้ถามภิกษุณีรูปนั้นดังนี้ว่า แม่เจ้า จีวรที่เธอเปลี่ยนกันกับดิฉันนั้นอยู่ที่ไหน จึงภิกษุณีรูปนั้นนำจีวรผืน นั้นออกมาแสดงแก่ภิกษุณีถุลลนันทาๆ จึงพูดกะภิกษุณีรูปนั้นดังนี้ว่า แม่เจ้า เธอจงรับจีวรของเธอไป จงนำจีวรของดิฉันผืนนั้นมา นี้จีวรของเธอ ก็ต้อง เป็นของเธอ นั่นจีวรของดิฉัน ก็ต้องเป็นของดิฉัน เธอจงนำจีวรผืนนั้นของ ดิฉันมา จงนำจีวรของเธอกลับไป ดังนี้ แล้วได้ชิงเอาคืนมา จึงภิกษุณีรป นั้นได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาเปลี่ยนจีวรกันกับภิกษุณีแล้ว จึงได้ชิงเอาคืนมาเล่า ครั้น แล้วได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาเปลี่ยนจีวรกันกับภิกษุณีแล้วชิงเอาคืนมา จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 125

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี ถุลลนันทาเปลี่ยนจีวรกันกับภิกษุณีแล้ว ไฉนจึงได้ชิงเอาคืนมาเล่า การกระทำ ของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๒๘. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด เปลี่ยนจีวรกันกับภิกษุณีแล้ว นางพูดขึ้นในภายหลังอย่างนี้ว่า แม่เจ้า เธอจงรับจีวรของเธอไป จงนำจีวรของดิฉันผืนนั้นมา นี่จีวรของเธอก็ต้องเป็นของเธอ นั่น จีวรของดิฉันก็ต้องเป็นของดิฉัน เธอจงนำจีวรผืนนั้นของดิฉันมา จงนำจีวรของเธอกลับไป ดังนี้ ชิงเอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี เป็น นิสสัคคียปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๐๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า กับภิกษุณี คือ กับภิกษุณีรูปอื่น.

ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ ผ้า ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์ กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัปเป็นอย่างต่ำ.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 126

บทว่า เปลี่ยน คือ เปลี่ยนจีวรเนื้อไม่ดีกับจีวรเนื้อดี หรือจีวร เนื้อดีกับจีวรเนื้อไม่ดี.

บทว่า ชิงเอามา คือ ชิงเอามาเอง เป็นนิสสัคคีย์.

บทว่า ให้ชิงเอามา คือ ใช้คนอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ สั่งครั้งเดียว ชิงเอามาแม้มากครั้ง ก็เป็นนิสสัคคีย์ ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือภิกษุณี รูปหนึ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลจีวรนั้น ภิกษุณีพึงเสียสละอย่างนี้.

วิธีเสียสละ

เสียสละแก่สงฆ์

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ... แม่เจ้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าเปลี่ยน กันกับภิกษุณีแล้วชิงเอาคืนมา เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ สงฆ์ ... สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้ แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.

เสียสละแก่คณะ

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ... แม่เจ้าทั้งหลาย พึงให้ จีวรผืนนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.

เสียสละแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ... ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ แม่เจ้า ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 127

บทภาชนีย์

ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์

[๑๐๘] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่า อุปสัมบัน เปลี่ยนจีวรกันแล้ว ชิงเอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย เปลี่ยนจีวรกันแล้ว ชิงเอามาก็ดี ให้ชิง เอามาก็ดี เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่า อนุปสัมบัน เปลี่ยนจีวรกันแล้ว ชิง เอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ปัญจกะทุกกฏ

ภิกษุณีเปลี่ยนบริขารอย่างอื่น แล้วชิงเอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี ต้อง อาบัติทุกกฏ.

ภิกษุณีเปลี่ยนจีวรก็ดี บริขารอย่างอื่นก็ดี กับอนุปสัมบัน แล้วชิง เอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่า อุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่า อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๑๐๙] ภิกษุณีผู้รับเปลี่ยนนั้นคืนให้เอง หรือถือวิสาสะต่อภิกษุณีผู้ รับเปลี่ยนนั้น ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 128

อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า หนฺท แปลว่า เชิญท่านรับไป.

สองบทว่า สยํ อจฺฉินฺทติ มีความว่า เมื่อภิกษุณีให้จีวรผืนเดียว แล้วชิงมาผืนเดียว เป็นนิสสัคคีย์ตัวเดียว ในจีวรมากผืน ก็เป็นนิสสัคคีย์ มากตัว. ถ้าว่า ชิงเอาจีวรหลายผืนที่เขาพับเก็บไว้รวมกัน เป็นอาบัติตาม จำนวนวัตถุ. แต่ในจีวรหลายผืนที่เขาห่อรวมกันไว้เป็นอาบัติเดียวเท่านั้น. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ฉะนี้แล.

อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 129

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

[๑๑๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ถุลลนันทาอาพาธ มีอุบาสกคนหนึ่งเข้าไปเยี่ยมภิกษุณีถุลลนันทาถึงสำนัก แล้ว ได้ถามนางดังนี้ว่า ข้าแต่แม่เจ้า ท่านไม่สบายหรือ จงกรุณาใช้ข้าพเจ้าให้นำ ของสิ่งไรมาถวาย.

นางตอบว่า อาวุโส ฉันต้องการเนยใส.

อุบาสกนั้น จึงได้ไปนำเนยใสราคาหนึ่งกหาปณะ จากร้านของชาวตลาด คนหนึ่ง มาถวายภิกษุณีถุลลนันทา.

นางกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ความต้องการของฉันไม่ใช่เนยใส ฉัน ต้องการน้ำมัน.

อุบาสกนั้น จึงได้เดินกลับเข้าไปหาชาวตลาดคนนั้นแล้วบอกกะเขาดังนี้ ว่า แม่เจ้าไม่ต้องการเนยใสจ้ะ ต้องการน้ำมัน ขอท่านจงรับคืนเนยใสของ ท่าน โปรดให้น้ำมันแก่ข้าพเจ้า.

ชาวตลาดตอบว่า นี่นาย ถ้าพวกข้าพเจ้าจักรับสิ่งของที่ขายไปแล้วคืน มาอีก เมื่อไรสินค้าของพวกข้าพเจ้าจึงจักขายหมดไป เนยใสท่านซื้อไปด้วย ราคาเนยใสแล้ว จงนำราคาค่าน้ำมันมา จึงจักนำน้ำมันไปได้.

อุบาสกผู้นั้นจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาขึ้นในทันใดนั้นแลว่า แม่เจ้าถุลลนันทาออกปากขอของอย่างหนึ่งแล้ว ไฉนจึงได้ออกปากขอของอย่าง อื่นอีกเล่า.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 130

ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินอุบาสกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้า ถุลลนันทาออกปากขอของอย่างหนึ่งได้แล้ว จึงได้ออกปากขอของอย่างอื่นอีก เล่า แล้วได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาออกปากขอของอย่างหนึ่งได้แล้ว ออกปากขอของ อย่างอื่นอีก จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนีนทาออกปากขอของอย่างหนึ่งได้แล้ว จึงได้ออกปากขอของอย่าง อื่นอีกเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๒๙. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด ออกปากขอของอย่างหนึ่งได้แล้ว พึงออกปากขอของอย่างอื่นอีก เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 131

สิกขาบทวิภังค์

[๑๑๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ออกปากขอของอย่างหนึ่งได้แล้ว คือ ขอของสิ่งใดสิ่ง หนึ่งได้แล้ว.

บทว่า พึงออกปากขอของอย่างอื่นอีก ความว่า เว้นของอย่างใด อย่างหนึ่งที่ขอแล้วนั้น ขอของอย่างอื่นอีก เป็นทุกกฏในประโยค เป็นนิสสัคคีย์ ด้วยได้ของมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือภิกษุณีรูปหนึ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลของที่ขอได้มานั้น ภิกษุณีพึงเสียสละอย่างนี้.

วิธีเสียสละ

เสียสละแก่สงฆ์

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ... แม่เจ้า ของอย่างอื่นอีก สิ่งนี้ของ ข้าพเจ้าๆ ขอของอย่างหนึ่งได้แล้ว จึงขอได้มา เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้า สละของอย่างอื่นอีก สิ่งนี้แก่สงฆ์ ... สงฆ์พึงให้ของอย่างอื่นอีก สิ่งนี้แก่ภิกษุณี มีชื่อนี้ ดังนี้.

เสียสละแก่คณะ

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ... แม่เจ้าทั้งหลาย พึงให้ ของอย่างอื่นอีก สิ่งนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 132

เสียสละแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ... ข้าพเจ้าให้ของอย่างอื่น อีกสิ่งนี้แก่แม่เจ้า ดังนี้.

บทภาชนีย์

ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์

[๑๑๒] ของอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่า ของอย่างหนึ่ง ขอของอย่าง อื่นอีก เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ของอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสงสัย ขอของอย่างอื่นอีก เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ของอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่า มิใช่ของอย่างหนึ่ง ขอของอย่างอื่นอีก เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

มิใช่ของอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่า ของอย่างหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ มิใช่ของอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

มิใช่ของอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่า มิใช่ของอย่างหนึ่ง ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๑๑๓] ขอของสิ่งหนึ่งนั้น และขอแถมของอื่นอีกอย่างรวมกัน ๑ แสดงอานิสงส์แล้วขอ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 133

อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า กเยน แปลว่า ด้วยราคา. ได้ยินว่า ภิกษุณีชื่อถุลลนันทานั้น เข้าใจอยู่ว่า อุบาสกนั้นคืนเนยใสที่ซื้อมาแล้ว จักนำแม้น้ำมันมาได้ จึงได้กล่าว คำนี้ว่า อาวุโส! ฉันไม่มีความต้องการด้วยเนยใส ฉันต้องการน้ำมัน.

บทว่า วิญฺาเปตฺวา ได้แก่ บอกให้รู้แล้ว หรือออกปากขอ แล้วว่า ท่านจงนำของชื่อนี้มา.

สองบทว่า ตญฺเจว วิญฺาเปติ มีความว่า สิ่งใดที่ตนขอก่อน สิ่งนั้นน้อยไปไม่เพียงพอ เพราะฉะนั้น จึงขอของนั้นนั่นแลเพิ่ม.

สองบทว่า อญฺญฺจ วิญฺาเปติ มีความว่า ถ้าว่าตนขอเนยใส ไว้ก่อน แต่เพราะหมอพูดว่า จะต้องเจียวคู่กัน (เจียวรวมเข้าด้วยกัน) จึงมี ความต้องการด้วยน้ำมัน เพราะฉะนั้น จึงขอแถมแม้ของอื่นอย่างนี้ว่า เรามี ความต้องการน้ำมันด้วย.

ข้อว่า อานิสํสํ ทสฺเสตฺวา วิญฺาเปติ มีความว่า ถ้าหากว่า เนยใสที่เขานำมามีราคาถึงกหาปณะ ภิกษุณีแสดงอานิสงส์แล้ว ขออย่างนี้ว่า ด้วยราคาเท่านี้ จะได้น้ำมัน ๒ เท่า และกิจนี้จะสำเร็จได้ตลอดไป แม้ด้วย น้ำมันนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจงนำน้ำมันมาเถิด. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.

อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 134

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

[๑๑๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ถุลลนันทาอาพาธ จึงอุบาสกคนหนึ่งเข้าไปเยี่ยมภิกษุณีถุลลนันทาถึงสำนัก แล้ว ได้ถามนางดังนี้ว่า ข้าแต่แม่เจ้า ร่างกายยังพอทนได้อยู่หรือ ยังพอให้อัตภาพ เป็นไปได้อยู่หรือ.

นางตอบว่า อาวุโส ฉันทนไม่ไหว ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้.

อุบาสกนั้นปวารณาว่า ข้าแต่แม่เจ้า ข้าพเจ้าจะฝากกหาปณะไว้ที่ร้าน ของชาวตลาดชื่อโน้น ท่านต้องการสิ่งใด พึงใช้ให้ใครๆ ไปนำสิ่งนั้นมา จากร้านนั้น.

ภิกษุณีถุลลนันทาใช้สิกขมานารูปหนึ่งไปด้วยสั่งว่า แม่สิกขมานา เธอ จงไปนำน้ำมันราคาหนึ่งกหาปณะ จากร้านของชาวตลาดชื่อโน้น.

นางสิกขมานานั้น จึงได้ไปนำน้ำมันราคาหนึ่งกหาปณะ จากร้านของ ชาวตลาดนั้นมาถวายแก่ภิกษุณีถุลลนันทา.

ภิกษุณีถุลลนันทาพูดอย่างนี้ว่า แม่สิกขมานา ความต้องการของฉัน ไม่ใช่น้ำมัน ฉันต้องการเนยใส.

นางสิกขมานานั้น จึงได้เดินกลับเข้าไปหาชาวตลาดนั้น แล้วบอกกะเขา ดังนี้ว่า ไม่ถูกความประสงค์จ้ะ แม่เจ้าไม่ใช่ต้องการน้ำมัน ต้องการเนยใส ขอท่านจงรับคืนน้ำมันของท่าน โปรดให้เนยใสแก่ดิฉัน.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 135

ชาวตลาดตอบว่า นี่แน่ะแม่คุณ ถ้าพวกฉันจักรับคืนสิ่งของที่ขายไป แล้วมาอีก เมื่อไรสินค้าของพวกฉันจึงจักขายได้ น้ำมันท่านซื้อไปด้วยราคา น้ำมัน แล้วจงนำราคาค่าเนยใสมา จึงจักนำเนยใสไปได้.

ขณะนั้นแล นางสิกขมานาได้ยืนร้องไห้.

ภิกษุณีทั้งหลาย ได้ถามนางสิกขมานานั้น ดังนี้ว่า แน่ะ แม่สิกขมานา เธอร้องไห้เพราะเหตุไร.

นางสิกขมานานั้น จึงได้แจ้งเรื่องนั้นให้ทราบ.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาสั่งให้จ่ายของอย่างหนึ่งได้แล้ว จึงได้สั่งให้จ่ายของอย่าง อื่นอีกเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาสั่งให้จ่ายของอย่างหนึ่งได้แล้วสั่งไห้จ่ายของอย่างอื่นอีก จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทาสั่งให้จ่ายของอย่างหนึ่งได้แล้ว จึงได้สั่งให้จ่ายของอย่างอื่น อีกเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 136

พระบัญญัติ

๓๐. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด สั่งให้จ่ายของอย่างหนึ่งแล้ว สั่งให้จ่ายของอย่างอื่นอีก เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๑๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. บทว่า สั่งจ่ายของอย่างหนึ่งแล้ว คือ สั่งให้จ่ายของอย่างใดอย่าง หนึ่งแล้ว.

บทว่า สั่งให้จ่ายของอย่างอื่นอีก ความว่า เว้นของอย่างใดอย่าง หนึ่งที่สั่งให้จ่ายนั้น สั่งให้จ่ายของสิ่งอื่นอีก เป็นทุกกฏในประโยค เป็นนิสสัคคีย์ ด้วยได้ของนั้นมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือภิกษุณีรูปหนึ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลของอย่างอื่นอีกที่ขอได้มานั้น อันภิกษุณีพึง เสียสละอย่างนี้.

วิธีเสียสละ

เสียสละแก่สงฆ์

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ... แม่เจ้า ของอย่างอื่นอีก สิ่งนี้ของ ข้าพเจ้า สั่งให้จ่ายของสิ่งหนึ่งแล้ว สั่งให้จ่ายได้มา เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้า สละของอย่างอื่นอีก สิ่งนี้แก่สงฆ์ ... สงฆ์พึงให้ของอย่างอื่นอีก สิ่งนี้แก่ ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 137

เสียสละแก่คณะ

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ... แม่เจ้าทั้งหลาย พึงให้ ของอย่างอื่นอีก สิ่งนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.

เสียสละแก่ภิกษุรูปหนึ่ง

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ... ข้าพเจ้าให้ของอย่างอื่น อีก สิ่งนี้แก่แม่เจ้า ดังนี้.

บทภาชนีย์

ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์

[๑๑๖] ของอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าของอย่างหนึ่ง สั่งให้จ่ายของ อย่างอื่นอีก เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ของอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสงสัย สั่งให้จ่ายของอย่างอื่นอีก เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ของอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่า มิใช่ของอย่างหนึ่ง สั่งให้จ่ายของ อย่างอื่นอีก เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

มิใช่ของอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่า ของอย่างหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.

มิใช่ของอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

มิใช่ของอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่า มิใช่ของอย่างหนึ่ง ไม่ต้องอาบัติ.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 138

อนาปัตติวาร

[๑๑๗] สั่งให้จ่ายของสิ่งหนึ่งนั้น และสั่งให้จ่ายของสิ่งอื่นอีกอย่าง รวมกัน ๑ แสดงอานิสงส์แล้วสั่งให้จ่าย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ ต้องอาบัติแล.

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้:-

ได้ยินว่า ภิกษุณีถุลลนันทานั้นสำคัญว่า กุลธิดานี้เป็นผู้มั่งคั่งเราบอก อย่างนี้แล้ว จักเก็บน้ำมันนี้ไว้ นำแม้เนยใสจากเรือนแห่งตระกูลของตนมา ถวายเรา จึงได้กล่าวคำว่า สิกฺขมาเน เป็นต้นนี้.

บทว่า เจตาเปตฺวา มีใจความเพียงว่า สั่งให้เข้าใจแล้วเท่านั้น. คำที่เหลือทั้งหมดเป็นเช่นกับสิกขาบทที่ ๔ ทั้งนั้นแล.

อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 139

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๑๑๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พวกอุบาสก อุบาสิกาพากันรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ที่เขาเต็มใจทำบุญเพื่อเป็นมูลค่าจีวร สำหรับภิกษุณีสงฆ์ ฝากไว้ที่ร้านพ่อค้าผ้าคนหนึ่ง แล้วได้เข้าไปหาภิกษุณี ทั้งหลายกล่าวคำนี้ว่า แม่เจ้าทั้งหลาย เจ้าข้า กัปปิยภัณฑ์เพื่อประโยชน์แก่ จีวร พวกข้าพเจ้าได้ฝากไว้ที่ร้านพ่อค้าผ้าชื่อโน้น ขอท่านทั้งหลายกรุณาให้ ไวยาวัจกรไปนำจีวรจากร้านพ่อค้าผู้นั้นมาแจกกันเถิด เจ้าข้า.

ภิกษุณีทั้งหลายให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์นั้นเป็นเภสัช แล้วบริโภคเป็น ส่วนตัว.

พวกอุบาสกอุบาสิการู้เรื่องแล้วพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลาย จึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์แก่ ปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ เป็นปัจจัยอย่างอื่น ไปเล่า ...

ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินอุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลาย จึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์แก่ ปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่งซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ เป็นปัจจัยอย่างอื่นไป เล่า ...

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 140

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีทั้งหลายให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัย อย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ เป็นปัจจัยอย่างอื่นไป จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีทั้งหลาย จึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัย อย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ เป็นปัจจัยอย่างอื่นไปเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๓๑. ๖. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้เปลี่ยนซึ่งปัจจัยอย่างอื่น ด้วย กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าแก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้ อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 141

สิกขาบทวิภังค์

[๑๑๙] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

คำว่า ด้วยกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่าง หนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง คือที่เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างอื่น.

บทว่า ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ คือ เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ ไม่ใช่ แก่คณะ ไม่ใช่แก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง.

บทว่า ให้เปลี่ยนซึ่งปัจจัยอย่างอื่น ความว่า ทายกถวายกัปปิยภัณฑ์ไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยใด เว้นปัจจัยนั้น ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น เป็นทุกกฏในประโยค เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้ปัจจัยนั้นมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะหรือภิกษุณีรูปหนึ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลปัจจัยอย่างอื่นที่ได้มานั้น อันภิกษุณีพึง เสียสละอย่างนี้.

วิธีเสียสละ

เสียสละแก่สงฆ์

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ... แม่เจ้า ปัจจัยอย่างอื่นนี้ ของข้าพเจ้า ให้เปลี่ยนมาด้วยกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละปัจจัย อย่างอื่นนี้แก่สงฆ์ ... สงฆ์พึงให้ปัจจัยอย่างอื่นนี้ แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 142

เสียสละแก่คณะ

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ... แม่เจ้าทั้งหลาย พึงให้ ปัจจัยอย่างอื่นนี้ แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.

เสียสละแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ... ข้าพเจ้าให้ปัจจัยอย่าง อื่นนี้ แก่แม่เจ้า ดังนี้.

บทภาชนีย์

ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์

[๑๒๐] กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี สำคัญว่า เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสงสัย ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญ ว่าเขามิได้ถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ได้ปัจจัยที่เสียสละแล้วคืนมา พึงน้อมไปในปัจจัยตามที่เขาถวายไว้ เดิม.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 143

ทุกะทุกกฏ

มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี สำคัญว่าเขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี สงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี สำคัญว่า เขาไม่ได้ถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๑๒๑] น้อมกัปปิยภัณฑ์ที่เหลือไป ๑ ขออนุญาตจากเจ้าของ แล้ว น้อมไป ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๖ พึงทราบดังนี้:-

คำว่า ฉนฺทกํ นี้ เป็นชื่อแห่งบริขาร (สิ่งของเครื่องใช้) ที่เขา ถวายอันก่อให้เกิดความพอใจ และความชอบใจแก่คนเหล่าอื่น แล้วถือเอา อย่างนี้ว่า พวกเราจักทำกิจชอบธรรม (บุญกรรม) ชื่อนี้ท่านทั้งหลายจงให้ สิ่งของที่พวกท่านอาจจะให้ได้.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 144

บทว่า อญฺทตฺถิเกน คือ ที่เขาถวายไว้เพื่อต้องการเป็นมูลค่าแก่ ปัจจัยอย่างหนึ่ง.

บทว่า อญฺญุทฺทิสิเกน คือ ที่เขาถวายเจาะจงไว้อย่างหนึ่ง.

บทว่า สงฺฆิเกน คือ ที่เขาตั้งใจถวายแก่สงฆ์.

สองบทว่า เสสกํ อุปเนติ มีความว่า สั่งให้จ่ายปัจจัยที่เขาถวาย กัปปิยภัณฑ์ไว้เป็นมูลค่า แล้วน้อมของที่เหลือไปเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอื่น.

สองบทว่า สามิเก อปโลเกตฺวา มีความว่า ขออนุญาตจากเจ้า ของแล้วน้อมไปอย่างนี้ว่า พวกท่านถวายกัปปิยภัณฑ์ไว้เพื่อเป็นมูลค่าแห่งจีวร และจีวรของพวกเรามีอยู่ แต่มีความต้องการด้วยน้ำมันเป็นต้น.

บทว่า อาปทาสุ มีความว่า เพราะอันตรายเช่นนั้น พวกภิกษุณี พากันทิ้งวัดอพยพหนี ในอันตรายมีรูปเห็นปานนั้น จะแลกเปลี่ยนสิ่งใดสิ่ง หนึ่ง ควรอยู่. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.

อรรถกถาปัตตวรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 145

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๗

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๑๒๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พวก อุบาสกอุบาสิกาพากันรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ที่เขาเต็มใจทำบุญเพื่อเป็นมูลค่า จีวรสำหรับภิกษุณีสงฆ์ ฝากไว้ที่ร้านพ่อค้าคนหนึ่ง แล้วได้เข้าไปหาภิกษุณี ทั้งหลายกล่าวคำนี้ว่า แม่เจ้าทั้งหลาย เจ้าข้า กัปปิยภัณฑ์เพื่อเป็นมูลค่าจีวร พวกข้าพเจ้าฝากไว้ที่ร้านพ่อค้าผ้าชื่อโน้น ขอท่านทั้งหลายกรุณาให้ไวยาวัจกร ไปนำจีวรจากร้านพ่อค้าผ้าผู้นั้นมาแจกกันเถิด เจ้าข้า.

ภิกษุณีทั้งหลายได้ขอให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์นั้นแหละเป็นเภสัชไปบริ- โภคเป็นส่วนตัว.

อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายทราบเรื่องแล้วพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็น มูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ ไปเป็นปัจจัย อย่างอื่น ทั้งขอมาเป็นส่วนตัวด้วยเล่า.

ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินอุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่าง หนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ ไม่เป็นปัจจัยอย่างอื่น ทั้ง ขอมาเป็นส่วนตัวด้วยเล่า ...

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 146

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีทั้งหลายได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่า ปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ ไปเป็นปัจจัยอย่าง อื่น ทั้งขอมาเป็นส่วนตัวด้วย จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีทั้งหลาย จึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัย อย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ ไปเป็นปัจจัยอย่างอื่น ทั้งขอมาเป็นส่วนตัวด้วยเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๓๒. ๗. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้เปลี่ยนซึ่งปัจจัยอย่างอื่น ด้วย กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายเพื่อไว้เป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่าง หนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ แต่ขอมาเป็นส่วนตัว เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 147

สิกขาบทวิภังค์

[๑๒๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

คำว่า ด้วยกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่าง หนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง คือ เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง

บทว่า ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ คือ เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ ไม่ใช่ แก่คณะ ไม่ใช่แก่ภิกษุณีรูปเดียว.

บทว่า ขอมาเป็นส่วนตัว คือ ขอร้องเขาเอง.

บทว่า ให้เปลี่ยนซึ่งปัจจัยอย่างอื่น ความว่า ทายกถวายกัปปิยภัณฑ์ไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยใด เว้นปัจจัยนั้น ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น เป็นทุกกฏในประโยค เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้ปัจจัยนั้นมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะหรือภิกษุณีรูปหนึ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลปัจจัยที่ได้มานั้น อันภิกษุณีพึงเสียสละ อย่างนี้.

วิธีเสียสละ

เสียสละแก่สงฆ์

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ... แม่เจ้า ปัจจัยอื่นสิ่งนี้ของข้าพเจ้า ให้เปลี่ยนมาด้วยกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศ ไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายสงฆ์ แต่ขอมาเป็นส่วนตัว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละปัจจัยอื่นสิ่งนี้แก่สงฆ์ ... สงฆ์พึงให้ปัจจัยอื่นสิ่งนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 148

เสียสละแก่คณะ

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไป่หาภิกษุณีหลายรูป ... แม่เจ้าทั้งหลายพึงให้ ปัจจัยอื่นสิ่งนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.

เสียสละแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ... ข้าพเจ้าให้ปัจจัยอื่นสิ่ง นี้แก่แม่เจ้า ดังนี้.

บทภาชนีย์

ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์

[๑๒๔] กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี สำคัญว่า เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่าง อื่น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสงสัย ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญ ว่า เขามิได้ถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ได้ปัจจัยที่เสียสละแล้วคืนมา พึงน้อมเข้าไปในปัจจัยตามที่ทายกถวาย ไว้เดิม.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 149

ทุกะทุกกฏ

มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี สำคัญว่า เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ. มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี สงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี สำคัญว่า เขามิได้ถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๑๒๕] น้อมกัปปิยภัณฑ์ที่เหลือไป ๑ ขออนุญาติจากเจ้าของแล้ว น้อมไป ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๗

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๗ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า สญฺญาจิเกน คือ ที่ตนขอมาเป็นส่วนตัวเอง. บทนี้แหละ ทำให้ต่างกันในสิกขาบทที่ ๗ นี้. บทที่เหลือเป็นเช่นกับสิกขาบทที่ ๖. ทั้ง นั้นแล.

อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 150

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๑๒๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ทั้งหลาย ผู้อาศัยอยู่ในบริเวณหาหมู่บ้านตำบลหนึ่งอัตคัดด้วยข้าวยาคู จึงชาวบ้าน ตำบลนั้นได้รวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ที่เขาเต็มใจทำบุญเพื่อประสงค์เป็นมูลค่า ข้าวยาคู สำหรับภิกษุณีทั้งหลาย ฝากไว้ที่ร้านชาวตลาดคนหนึ่ง แล้วได้เข้า ไปหาภิกษุณีทั้งหลาย กล่าวคํานี้ว่า แม่เจ้าทั้งหลาย เจ้าข้า กัปปิยภัณฑ์เพื่อ เป็นมูลค่าข้าวยาคู พวกข้าพเจ้าได้ฝากไว้ที่ร้านของชาวตลาดชื่อโน้น ขอท่าน ทั้งหลายจงให้ไวยาวัจกรไปนำข้าวสารจากร้านชาวตลาดผู้นั้นมาหุงตัมฉันเถิด.

ภิกษุณีทั้งหลายได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์นั้นเป็นเภสัชไปบริโภค.

ชาวบ้านตำบลนั้นทราบเรื่องแล้ว พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัย อย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มาก เป็นปัจจัย อย่างอื่นไปเล่า.

ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินเขาเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่ เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลาย จึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้ อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มาก มาเป็นปัจจัยอย่างอื่นไปเล่า ...

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 151

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีทั้งหลายได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่า ปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มาก มา เป็นปัจจัยอย่างอื่นไป จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีจึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มาก มาเป็นปัจจัยอย่างอื่นไป เล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๓๓. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้เปลี่ยนซึ่งปัจจัยอย่างอื่น ด้วย กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทศไว้อย่าง หนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจจะถวายแก่ภิกษุณีหมู่มาก เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 152

สิกขาบทวิภังค์

[๑๒๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

คำว่า ด้วยกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่าง หนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง คือ เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง.

บทว่า ซึ่งเขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มาก คือ เพื่อประโยชน์ แก่คณะไม่ใช่สงฆ์ ไม่ใช่ภิกษุณีรูปเดียว. บทว่า ให้เปลี่ยนซึ่งปัจจัยอย่างอื่น ความว่า ทายกถวายกัปปิยภัณฑ์ไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยใด เว้นปัจจัยนั้น ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น เป็นทุกกฏในประโยค เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้ปัจจัยนั้นมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ ภิกษุณีรูปหนึ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลปัจจัยอย่างอื่นที่ได้มานั้น อันภิกษุณีพึงเสีย สละอย่างนี้.

วิธีเสียสละ

เสียสละแก่สงฆ์

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ... แม่เจ้า ปัจจัยอย่างอื่นนี้ของข้าพเจ้า ให้เปลี่ยนมาด้วยกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศ ไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มาก เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้า สละปัจจัยอย่างอื่นนี้แก่สงฆ์ ... สงฆ์พึงให้ปัจจัยอย่างอื่นนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 153

เสียสละแก่คณะ

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ... แม่เจ้าทั้งหลายพึงให้ ปัจจัยอย่างอื่นนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.

เสียสละแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ... ข้าพเจ้าให้ปัจจัยอย่างอื่น นี้แก่แม่เจ้า ดังนี้.

บทภาชนีย์

ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์

[๑๒๘] กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่า เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัย อย่างอื่นเป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสงสัย ... ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญ ว่าเขามิได้ถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ได้ปัจจัยที่เสียสละแล้วคืนมา พึงน้อมไปในปัจจัยตามที่ทายกถวายไว้ เดิม.

ทุกะทุกกฏ

มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี สำคัญว่า เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 154

มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี สงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี สำคัญว่า เขามิได้ถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๑๒๙] น้อมกัปปิยภัณฑ์ที่เหลือไป ๑ ขออนุญาตต่อเจ้าของแล้วน้อม ไป ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๘ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า มหาชนิเกน คือ ที่เขาตั้งใจถวายแก่คณะ (แก่ภิกษุณีหมู่มาก) บทว่า ที่เขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มากนี้แหละทำให้ต่างกันในสิกขาบทนี้.

อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 155

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๙

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๑๓๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลาย ผู้อาศัยอยู่ในบริเวณบ้านตำบลหนึ่ง อัตคัดด้วยข้าวยาคู ชาวบ้านตำบลนั้นจึง ได้รวบรวมเครื่องใช้สอยที่เขาเต็มใจทำบุญเพื่อเป็นมูลค่าข้าวยาคูสำหรับภิกษุณี ทั้งหลายฝากไว้ที่ร้านชาวตลาดคนหนึ่ง แล้วได้เข้าไปหาภิกษุณีทั้งหลายกล่าว คำนี้ว่า แม่เจ้าทั้งหลาย เจ้าข้า กัปปิยภัณฑ์เพื่อเป็นมูลค่าข้าวยาคู พวกข้าพเจ้า ฝากไว้ที่ร้านชาวตลาดชื่อโน้น ขอท่านทั้งหลายจงให้ไวยาวัจกรไปนำข้าวสาร จากร้านชาวตลาดนั้นมาหุงต้มฉันเถิด.

ภิกษุณีทั้งหลายได้ขอให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์นั้นแหละเป็นเภสัชไป บริโภคเป็นส่วนตัว.

ชาวบ้านตำบลนั้นทราบเรื่องแล้ว พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ให้ เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็น มูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มาก ไปเป็นปัจจัยอย่างอื่น ทั้งขอมาเป็นส่วนตัวด้วยเล่า.

ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินชาวบ้านตำบลนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ให้เปลี่ยน กัปปิยภัณฑ์ที่เขาบริจาค ไว้เพื่อเป็น มูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่งอุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มาก ไป เป็นปัจจัยอย่างอื่น ทั้งขอมาเป็นส่วนตัวด้วยเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า.

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 156

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลายให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็น มูลค่าปัจจัย อย่างหนึ่งอุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มากไปเป็นปัจจัย ทั้งขอมาเป็นส่วนตัวด้วย จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีทั้งหลาย จึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพึ่อเป็นมูลค่าปัจจัย อย่างหนี่งอุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มากไปเป็นปัจจัย อย่างอื่น ทั้งขอมาเป็นส่วนตัวด้วยเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็น ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัต

๓๔. ๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้เปลี่ยนซึ่งปัจจัยอย่างอื่น ด้วย กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่าง หนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายภิกษุณีหมู่มาก แต่ขอมาเป็นส่วนตัว เป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 157

สิกขาบทวิภังค์

[๑๓๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ด้วยกัปปิยภัณฑ์ ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัย อย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง นั้น คือ เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัย อย่างหนึ่ง.

บทว่า ซึ่งเขาตั้งใจถวายภิกษุณีหมู่มาก คือ เพื่อประโยชน์แก่ คณะไม่ใช่สงฆ์ ไม่ใช่ภิกษุณีรูปเดียว.

บทว่า ขอมาเป็นส่วนตัว คือ ขอร้องเขาเอง.

บทว่า ให้เปลี่ยนซึ่งปัจจัยอย่างอื่น ความว่า ทายกถวายกัปปิยภัณฑ์ไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยใด เว้นปัจจัยนั้น ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่าง อื่น เป็นทุกกฏในประโยค เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้ปัจจัยนั้นมา ต้องเสียสละแก่ สงฆ์ คณะ หรือภิกษุณีรูปหนึ่ง.

ดูก่อนภิกษุณีทั้งหลาย ก็แลปัจจัยอื่นที่ได้มานั้น อันภิกษุณีพึงเสีย สละอย่างนี้.

วิธีเสียสละ

เสียสละแก่สงฆ์

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ... แม่เจ้า ปัจจัยอย่างอื่นนี้ของข้าพเจ้า ให้เปลี่ยนมาด้วยกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศ ไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มาก แต่ขอมาเป็นส่วนตัว เป็น

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 158

ของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละปัจจัยอย่างอื่นนี้แก่สงฆ์ ... สงฆ์พึงให้ปัจจัยอย่าง อื่นนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.

เสียสละแก่คณะ

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ... แม่เจ้าทั้งหลายพึงให้ ปัจจัยอย่างอื่นนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.

เสียสละแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ... ข้าพเจ้าให้ปัจจัยอย่าง อื่นนี้แก่แม่เจ้า ดังนี้.

บทภาชนีย์

ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์

[๑๓๒] กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี สำคัญว่า เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่าง อื่น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสงสัย ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญ ว่า เขามิได้ถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ได้ปัจจัยที่เสียสละแล้วคืนมา พึงน้อมเข้าไปในปัจจัยตามที่ทายกถวาย ไว้เดิม.

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 159

ทุกะทุกกฏ

มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี สำคัญว่า เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.

มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี สงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี สำคัญว่า เขามิได้ถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๑๓๓] ภิกษุณีน้อมกัปปิยภัณฑ์ที่เหลือไป ๑ ขออนุญาตต่อเจ้าของ แล้วน้อมไป ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๙

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๙ พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า สญฺาจิเกน (ขอมาเป็นส่วนตัว) นี้ เกินกว่า บทว่า มหาชนิเกน (ที่เขาตั้งใจถวายแก่ภิกษุณีหมู่มาก) นี้ไป.

อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 160

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

[๑๓๔] ่ โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ถุลลนันทาเป็นพหูสูต ช่างพูด องอาจ สามารถกล่าวถ้อยคำมีหลักฐาน คน เป็นอันมากต่างพากันเข้าไปสนทนาปราศรัยด้วย ประจวบเวลานั้นบริเวณของ ภิกษุณีถุลลนันทาชำรุด ชาวบ้านจึงถามภิกษุณีถุลลนันทาว่า แม่เจ้า เพราะ เหตุไรแม่เจ้าจึงปล่อยให้บริเวณชำรุด.

นางตอบว่า เพราะคนให้ไม่มี คนทำก็ไม่มี.

จึงชาวบ้านพวกนั้นได้รวบรวมสิ่งของเครื่องใช้สอยที่เขาเต็มใจทำบุญ เพื่อเป็นมูลค่าบริเวณ แล้วถวายเป็นกัปปิยภัณฑ์ไว้แก่ภิกษุณีถุลลนันทา ภิกษุณี ถุลลนันทาได้ขอให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์นั้นแหละ เป็นเภสัช แล้วบริโภคเป็น ส่วนตัว.

ชาวบ้านเหล่านั้นทราบเรื่องแล้ว พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่า ปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาทั้งใจถวายบุคคล มาเป็นปัจจัยอย่าง อื่นไป ทั้งขอมาเป็นส่วนตัวด้วยเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่า

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 161

ปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายบุคคล มาเป็นปัจจัย อย่างอื่นไป ทั้งขอมาเป็นส่วนตัวด้วย จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทา จึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัย อย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายบุคคล มาเป็นปัจจัยอย่างอื่น ไป ทั้งขอมาเป็นส่วนตัวด้วยเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๓๕. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้เปลี่ยนซึ่งปัจจัยอย่างอื่น ด้วย กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่าง หนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายบุคคล แต่ขอมาเป็นส่วนตัว เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๓๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 162

บทว่า ด้วยกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่าง หนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง คือ เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง

บทว่า เขาตั้งใจถวายบุคคล คือ เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุณีรูปเดียว ไม่ใช่สงฆ์ ไม่ใช่คณะ.

บทว่า ขอมาเป็นส่วนตัว คือ ขอร้องเขาเอง.

บทว่า ให้เปลี่ยนซึ่งปัจจัยอย่างอื่น ความว่า ทายกถวายกัปปิยภัณฑ์ไว้เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยใด เว้นปัจจัยนั้น ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่น เป็นทุกกฏในประโยค เป็นนิสสัคคีย์ ด้วยได้ปัจจัยนั้นมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือภิกษุณีรูปหนึ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลปัจจัยอย่างอื่นที่ได้มานั้น อันภิกษุณีพึง เสียสละอย่างนี้.

วิธีเสียสละ

เสียสละแก่สงฆ์

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ... แม่เจ้า ปัจจัยอย่างอื่นนี้ของข้าพเจ้า ให้เปลี่ยนมาด้วยกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศ ไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายบุคคล แต่ขอมาเป็นส่วนตัว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละปัจจัยอย่างอื่นนี้แก่สงฆ์ ... สงฆ์พึงให้ปัจจัยอย่างอื่นนี้แก่ภิกษุณีมี ชื่อนี้ ดังนี้.

เสียสละแก่คณะ

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ... แม่เจ้าทั้งหลายพึงให้ ปัจจัยอย่างอื่นนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 163

เสียสละแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง

ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ... ข้าพเจ้าให้ปัจจัยอย่าง อื่นนี้แก่แม่เจ้า ดังนี้.

บทภาชนีย์

ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์

[๑๓๖] กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี สำคัญว่า เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่าง อื่นอีก เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสงสัย ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่างอื่นอีก เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญ ว่า เขามิได้ถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้เปลี่ยนเป็นปัจจัยอย่าง อื่นอีก เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ได้ปัจจัยที่เสียสละแล้วคืนมา พึงน้อมเข้าไปในปัจจัยตามที่ทายกถวาย ไว้เดิม.

ทุกะทุกกฏ

มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้ เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี สำคัญว่า เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.

มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี สงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 164

ไม่ต้องอาบัติ

มิใช่กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้ เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณี สำคัญว่า เขามิได้ถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๑๓๗] น้อมกัปปิยภัณฑ์ที่เหลือไป ๑ ขออนุญาตจากเจ้าของแล้ว น้อมไป ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๐ พึงทราบดังนี้ :-

สองบทว่า ปริเวณํ อุทฺทฺริยติ ได้แก่ บริเวณทรุดโทรม. ความว่า กำลังจะพังลง. ก็คำนี้ว่า ที่เขาตั้งใจถวายบุคคล แต่ขอมาเป็นส่วนตัว เพียง เท่านี้แหละทำให้ต่างกัน. บทที่เหลือก็เป็นเช่นกับบทต้นๆ ทั้งนั้นแล.

อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ