พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ลสุณวรรคที่ ๑ - ปาจิตติยกัณฑ์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  12 มี.ค. 2565
หมายเลข  42792
อ่าน  891

[เล่มที่ 5] พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓

พระวินัยปิฎก เล่ม ๓

ภิกขุนีวิภังค์

ปาจิตติยกัณฑ์

ลสุณวรรคที่ ๑

สิกขาบทที่ ๑ 147/176

พระบัญญัติ ๕๖.๑. 178

อรรถกถาขุททกกัณฑ์ปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๑ 180

สิกขาบทที่ ๒ 154/183

พระบัญญัติ ๕๗.๒ 184

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๒ 184

สิกขาบทที่ ๓ 157/186

พระบัญญัติ ๕๘.๓ 187

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๓ 187

สิกขาบทที่ ๔ 160/189

พระบัญญัติ ๕๙.๔ 190

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๔ 191

สิกขาบทที่ ๕ 163/192

พระบัญญัติ ๖๐.๕ 193

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๕ 195

สิกขาบทที่ ๖ 168/196

พระบัญญัติ ๖๑.๖ 197

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๖ 198

สิกขาบทที่ ๗ 172/200

พระบัญญัติ ๖๒.๗ 201

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๗ 202

สิกขาบทที่ ๘ 175/204

พระบัญญัติ ๖๓.๘ 205

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๘ 207

สิกขาบทที่ ๙ 178/208

พระบัญญัติ ๖๔.๙ 209

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๙ 211

สิกขาบทที่ ๑๐ 182/212

พระบัญญัติ ๖๕.๑๐ 213

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๑๐ 214


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 5]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 176

ปาจิตติยกัณฑ์

แม่เจ้าทั้งหลาย ก็ธรรมคือปาจิตตีย์ ๑๖๖ สิกขาบทเหล่านี้แล มาสู่ อุเทศ.

ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

[๑๔๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น อุบาสก คนหนึ่งได้ปวารณากระเทียมไว้แก่ภิกษุณีสงฆ์ว่า แม่เจ้าเหล่าใดต้องการกระเทียม กระผมขอปวารณา และยังได้สั่งคนเฝ้าไร่ไว้ด้วยว่า ถ้าภิกษุณีทั้งหลาย มาขอ จงถวายท่านไปรูปละ ๒ - ๓ กำ ก็สมัยนั้นแล ในเมืองสาวัตถีกำลังมี งานมหรสพ กระเทียมเท่าที่เขานำมาขายได้หมดขาดคราว ภิกษุณีทั้งหลายพา กันเข้าไปหาอุบาสกคนนั้น แล้วได้กล่าวคำนี้ว่า อาวุโส พวกอาตมาต้องการ กระเทียม.

อุบาสกกล่าวว่า ไม่มี เจ้าข้า กระเทียมเท่าที่นำมาแล้วหมดขาดคราว ขอท่านทั้งหลายได้โปรดไปที่ไร่.

ภิกษุณีถุลลนันทาได้ไปที่ไร่ ขนกระเทียมไปมาก ไม่รู้จักประมาณ คนเฝ้าไร่จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายไปถึงไร่แล้ว จึงไม่รู้จักประมาณ ขนกระเทียมไปมากมายเล่า.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 177

ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเฝ้าไร่เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดา ที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทา จึงไม่รู้จักประมาณ ขนกระเทียมเอาไปมากมายเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาไม่รู้จักประมาณ ขนกระเทียมไปมากมาย จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ไม่รู้จักประมาณ ขนกระเทียมเขาไปมากมาย การกระทำ ของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของนางนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่าง อื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.

[๑๔๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุณีถุลลนันทา โดยอเนก ปริยายดังนี้แล้ว ทรงกระทำธรรมีกถาอันสมควรแก่เรื่องนั้น อันเหมาะสมแก่ เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วตรัสเล่ากะภิกษุทั้งหลายว่า.

เรื่องหงส์ทอง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ภิกษุณีถุลลนันทาได้เคยเป็น ปชาบดีของพราหมณ์คนหนึ่ง มีธิดา ๓ คน ชื่อนันทา ๑ นันทวดี ๑ สุนทร-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 178

นันทา ๑ ครั้นพราหมณ์สามีทำลายขันธ์ไปบังเกิดในกำเนิดหงส์ตระกูลหนึ่ง มีขนเป็นทองทั้งตัว หงส์นั้นสลัดขนให้แก่สตรีเหล่านั้นคนละขน แต่ภิกษุณี ถุลลนันทาคิดว่า หงส์ตัวนี้สลัดขนให้แก่พวกเราคนละขนเท่านั้น แล้วได้จับ พระยาหงส์นั้นถอนขนจนเกลี้ยง ขนพระยาหงส์นั้นที่งอกใหม่ได้กลายเป็นสีขาว ไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นภิกษุณีถุลลนันทาได้เสื่อมจากทองเพราะ ความโลภจัด มาบัดนี้ เสื่อมจากกระเทียม.

[๑๔๙] ได้สิ่งใดแล้ว ควรยินดีด้วยสิ่งนั้น เพราะความโลภจัดเป็น เหตุให้เสื่อม เหมือนภิกษุณีถุลลนันทาจับพระยาหงส์ถอนขนแล้ว เสื่อมจาก ทองฉะนั้น.

[๑๕๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุณีถุลลนันทา โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ... ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๕๖. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด ฉันกระเทียม เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๕๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่าที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 179

ที่ชื่อว่า กระเทียม ได้แก่ กระเทียมที่เขาเรียกกันว่าเกิดในแคว้น มคธ.

ภิกษุณีรับประเคนด้วยหมายใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ กลืนกิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำกลืน.

บทภาชนีย์

ติกะปาจิตตีย์

[๑๕๒] กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่ากระเทียม ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กระเทียม ภิกษุณีสงสัย ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่กระเทียม ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่ากระเทียม ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่า ไม่ใช่กระเทียม ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๑๕๓] กระเทียมเหลือง ๑ กระเทียมแดง ๑ กระเทียมเขียว ๑ กระเทียมต้นไม่มีเยื่อ ๑ กระเทียมที่ปรุงลงในแกง ๑ กระเทียมที่ปรุงลงในเนื้อ ๑ กระเทียมเจียวน้ำมัน ๑ กระเทียมที่ปรุงลงในน้ำพุทรา ๑ กระเทียมที่ปรุงลง ในแกงอ่อม ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 180

อรรถกถาขุททกกัณฑ์

ธรรมเหล่าใด รวบรวมได้ ๖๖ ข้อ ที่พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายร้อยกรองไว้ ในลำดับแห่งติงสกกัณฑ์ บัดนี้จะ พรรณนาธรรมแม้เหล่านั้นดังต่อไปนี้.

ปาจิตตีย์

ลสุณวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๑

ในบรรดา ๙ วรรคนั้น พึงทราบวินิจฉัย ในสิขาบทที่ ๑ แห่ง ลสุณวรรคก่อน.

[ว่าด้วยเรื่องภิกษุณีฉันกระเทียม]

สามบทว่า เทฺว ตโย ภณฺฑกา ได้แก่ จุกกระเทียม ๒ - ๓ จุก

คำว่า โปฎฺฏลเก นี้ เป็นชื่อของกระเทียมมีเยื่อในสมบูรณ์.

สองบทว่า น มตฺตํ ชานิตฺวา มีความว่า (ภิกษุณีถุลลนันทานั้น) ไม่รู้จักประมาณ เมื่อคนเฝ้าไร่ห้ามปรามอยู่ ใช้ให้ (พวกภิกษุณี) ขนเอา กระเทียมมาเป็นอันมาก.

สองบทว่า อญฺญตรํ หํสโยนึ ได้แก่ กำเนิดหงส์ทอง.

สามบทว่า โส ตาสํ เอเกกํ มีความว่า หงส์นั้น เป็นสัตว์ ระลึกชาติได้. ดังนั้นจึงมาหาด้วยความรักในก่อน แล้วสลัดขนให้แก่สตรี เหล่านั้นคนละขน.ขนนั้นเป็นทองคำแท้ ควรแก่การหลอมการทุบและตัดได้.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 181

บทว่า มาคธิกํ แปลว่า เกิดแล้วในแคว้นมคธ. จริงอยู่ เฉพาะ กระเทียมที่เกิดในแคว้นมคธ ท่านประสงค์เอาว่า ลสุณํ ในสิกขาบทนี้. แม้ กระเทียมนั้นเป็นกระเทียมที่มีเยื่อในสมบูรณ์ ไม่ใช่กระเทียมที่มีเยื่อในเพียงกลีบ หรือ ๒ - ๓ กลีบ. แต่ในกุรุนทีท่านไม่กล่าวถึงประเทศที่เกิด กล่าวว่า กระเทียม มีเยื่อในสมบูรณ์ ชื่อว่า กระเทียมมคธ.

ในคำว่า อชฺโฌหาเร อชฺโฌหาเร นี้ มีวินิจฉัยดังนี้; ถ้า ภิกษุณีรวบรวมกระเทียม ๒ - ๓ จุกเข้าด้วยกันเคี้ยวกลืนกิน เป็นปาจิตตีย์ ตัวเดียว แต่เมื่อภิกษุณีบิออกกินทีละกลีบ เป็นปาจิตตีย์มากตัว ด้วยการนับ ประโยคแล.

บัณฑิตพึงทราบความแตกต่างกันแห่งกระเทียมเหลืองเป็นต้น โดยสี หรือโดยเยื่อใน. ว่าด้วยสีก่อน ชื่อว่า กระเทียมเหลือง ย่อมมีสีเหลือง กระเทียมแดง มีสีแดง กระเทียมเขียวมีใบสีเขียว.

แต่ว่าโดยเยื่อใน (หรือกลีบ) กระเทียมเหลืองมีเยื่อในชั้นเดียว. กระเทียมแดงมีเยื่อใน ๒ ชั้น. กระเทียมเขียวมีเยื่อใน ๓ ชั้น กระเทียมต้น ไม่มีเยื่อใน. จริงอยู่ กระเทียมนั้น เป็นเพียงหน่อเท่านั้น. แต่ในมหาปัจจรี เป็นต้นกล่าวไว้ว่า กระเทียมเหลืองมีเยื่อใน (มีกลีบ) ๓ ชั้น กระเทียมแดง มีเยื่อใน ๒ ชั้น กระเทียมเขียวมีเยื่อในชั้นเดียว. กระเทียมเหลืองเป็นต้นนั่น ย่อมควร โดยสภาพทีเดียว

แต่ในการต้มแกงเป็นต้น แม้กระเทียมมคธก็ควร. ความจริง จะใส่ กระเทียมมคธนั้นลง ในแกงถั่วเป็นต้นซึ่งกำลังแกงก็ดี ในกับข้าวชนิดที่ปรุง ด้วยปลาเนื้อก็ดี ในน้ำมันก็ดี ในน้ำปานะมีน้ำพุทราเป็นต้นก็ดี ในแกงผักดอง

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 182

ที่เปรี้ยวเป็นต้นก็ดี ในแกงอ่อมก็ดี ในแกงอย่างใดอย่างหนึ่ง ชั้นที่สุดแม้ใน ยาคูและภัตก็ควร. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.

อรรถกถาลสุณวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 183

ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๒

เรื่องภิกษุฌีฉัพพัคคีย์

[๑๕๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ฉัพพัคคีย์ ให้ถอนขนในที่แคบ แล้วเปลือยกายอาบน้ำท่าเดียวกันกับหญิง แพศยา ในแม่น้ำอจิรวดี พวกหญิงแพศยาพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลาย จึงได้ให้ถอนขนในที่แคบเหมือนพวกหญิงคฤหัสถ์ผู้ บริโภคกามเล่า ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินหญิงแพศยาพวกนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ให้ถอนขนในที่แคบ ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุณีทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีฉัพพัคคีย์ให้ถอนขนในที่แคบ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ให้ถอนขนในที่แคบเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 184

พระบัญญัติ

๕๗. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้ถอนขนในที่แคบ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๕๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่าผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า ที่แคบ ได้แก่ รักแร้ทั้งสอง บริเวณทวารเบา.

บทว่า ให้ถอน คือให้ถอนขนแม้เส้นเดียว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ให้ ถอนขนแม้หลายเส้น ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร

[๑๕๖] มีเหตุอาพาธ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล. ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๒

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๒ พึงทราบดังนี้;-

บทว่า สมฺพาเธ คือ โอกาสที่กำบัง. ก็เพื่อแสดงจำแนก โอกาส ที่กำบัง (ที่ลับ) นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อุโภ อุปกจฺฉกา มุตฺตกรณํ แปลว่า รักแร้ทั้ง ๒ บริเวณทวารเบา.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 185

สองบทว่า เอกมฺปิ โลมํ มีความว่า ภิกษุณีให้ถอนขนเส้นเดียวหรือ มากเส้น โดยประโยคเดียว ด้วยกรรไกรก็ดี ด้วยแหนบก็ดี ด้วยของคม อย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี เป็นปาจิตตีย์มากตัว โดยการนับประโยค ไม่ใช่โดยนับ เส้นขน.

บทว่า อาพาธปจฺจยา ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุณีผู้ให้ถอน เพราะอาพาธ มีฝีและหิดเป็นต้นเป็นปัจจัย. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๔ เกิดขึ้น ทางกาย ๑ ทางกายกับวาจา ๑ ทางกายกับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.

อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 186

ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๓

เรื่องภิกษุณี ๒ รูป

[๑๕๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ๒ รูป อันความกระสันบีบคั้นแล้ว เข้าห้องน้อยแล้วทำการสัมผัสบริเวณองค์ รหัสกัน ภิกษุณีทั้งหลายพรูกันเข้ามาตามเสียงสัมผัสนั้น แล้วได้ถามสองภิกษุณี นั้นดังนี้ว่า แม่เจ้าทั้งหลาย เหตุไฉนพวกท่านจึงทำมิดีมิร้ายกับบุรุษ.

แม่เจ้าทั้งหลาย พวกดิฉันมิได้ทำมิดีมิร้ายกับบุรุษ ภิกษุณีสองรูปนั้น ตอบแล้วได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ทำการสัมผัสบริเวณองค์รหัสกันเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีทำการสัมผัสบริเวณองค์ระหัสกัน จริงหรือ.

ภิกษุณีทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก ภิกษุณีจึงได้ทำการสัมผัสบริเวณองค์รหัสกันเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 187

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง นี้ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๕๘. ๓. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะสัมผัสบริเวณองค์รหัส.

เรื่องภิกษุณี ๒ รูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๕๘] ที่ชื่อว่า สัมผัสบริเวณองค์รหัส คือ ภิกษุณียินดีสัมผัส ให้ตบที่องค์รหัส โดยที่สุดแม้ด้วยกลีบบัว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร

[๑๕๙] มีเหตุอาพาธ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล. ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๓

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า ตลฆาฏเก คือ ในเพราะสัมผัสบริเวณองค์รหัส (ในเพราะ สัมผัสบริเวณทวารเบา).

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 188

ในคำว่า อนฺตมโส อุปฺปลปตฺเตนปิ นี้ มีวินิจฉัยว่า กลีบบัว ค่อนข้างจะโตไป. เมื่อให้ตบแม้ด้วยเกสรบัว ก็เป็นอาบัติเหมือนกัน.

บทว่า อาพาธปจฺจยา มีความว่า จะตบฝี หรือแผล ควรอยู่. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจปฐมปาราชิก เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๒ ฉะนี้แล.

อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 189

ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๔

เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง

[๑๖๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น มีพระ สนมเก่าคนหนึ่งบวชอยู่ในสำนักภิกษุณี ภิกษุณีรูปหนึ่งอันความกระสันบีบคั้น แล้ว ได้เข้าไปหาภิกษุณีพระสนมรูปนั้นถึงสำนักแล้วถามว่า แม่เจ้า พระราชา เสด็จไปหาแม่เจ้านานๆ ครั้ง แม่เจ้าดำรงอยู่ได้ด้วยอาการอย่างไร.

ภิกษุณีพระสนมตอบว่า ด้วยท่อนยางเกลี้ยงๆ จ๊ะ.

ภิกษุณีนั้นซักว่า ท่อนยางเกลี้ยงนั่นเป็นอย่างไร.

ภิกษุณีพระสนมนั้น จึงได้บอกท่อนยางเกลี้ยงแก่ภิกษุณีนั้นๆ ใช้ท่อน ยางเกลี้ยงแล้วลืมล้างวางทิ้งไว้ ณ ที่ข้างหนึ่ง ภิกษุณีทั้งหลายเห็นท่อนยางเกลี้ยง มีหมู่แมลงวันตอม จึงพูดเป็นเชิง ถามว่า นี่การกระทำของใคร.

ภิกษุณีนั้นกล่าวตอบอย่างนี้ว่า นี้เป็นการกระทำของดิฉัน.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ใช้ท่อนยางเกลี้องๆ เล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีใช้ท่อนยางเกลี้ยงๆ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 190

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีจึงได้ใช้ท่อนยางเกลี้ยงๆ เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๕๙. ๔. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะใช้ท่อนยางเกลี้ยงๆ. เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๖๑] ที่ชื่อว่า ท่อนยางเกลี้ยงๆ ได้แก่ วัตถุที่ทำขึ้นด้วยยาง ทำขึ้นด้วยไม้ ทำขึ้นด้วยแป้ง ทำขึ้นด้วยดิน.

ภิกษุณียินดีสัมผัส สอดวัตถุโดยที่สุดแม้กลีบอุบลเข้าไปสู่องค์รหัส ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร

[๑๖๒] มีเหตุอาพาธ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติ แล.

ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 191

อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๔

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้;-

บทว่า ปุราณราโชโรโธ ได้แก่ เป็นพระสนมของพระเจ้าแผ่นดิน ในกาลก่อน คือ ในคราวเป็นคฤหัสถ์.

สองบทว่า จิราจิรํ คจฺฉติ คือ นานๆ พระราชาจึงจะเสด็จมา.

บทว่า ธาเรถ คือ แม่เจ้าอาจ (ดำรงอยู่ได้อย่างไร?). เมื่อพวก ภิกษุณีถามว่า นี้กรรมของใคร? ภิกษุณีนั้นเข้าใจว่า แม้เมื่อเราไม่บอก ภิกษุณีเหล่านี้ก็จักทำความระแวงสงสัยในเรา จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า นี้เป็นการ กระทำของดิฉัน.

บทว่า ชตุมฏฺเก ได้แก่ ท่อนเกลี้ยงๆ ทำด้วยยาง. บทว่า ชตุมฏฺเก นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจแห่งเรื่องเท่านั้น. แต่เมื่อ สอดท่อนกลมๆ อย่างใดอย่างหนึ่งเข้าไปเป็นอาบัติทั้งนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสว่า ชั้นที่สุด สอดแม้กลีบอุบลเข้าไปสู่องค์รหัส และแม้กลีบอุบลนี้ ก็โตเกินไป แต่เมื่อสอดแม้เพียงเกสรเข้าไปก็อาบัติเหมือน กัน. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น. สมุฏฐานเป็นต้น ก็เป็นเช่นกับที่กล่าวแล้วใน ตลฆาฏกสิกขาบทนั้นแล.

อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 192

ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี

[๑๖๓] ํ โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ครั้งนั้นพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงพุทธสำนัก ถวายบังคมแล้วได้ยืนเฝ้าอยู่ ณ ที่ใต้ลม กราบทูลว่า มาตุคามมีกลิ่นเหม็น พระพุทธเจ้าข้า.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ภิกษุณีทั้งหลายจงใช้น้ำชำระ แล้ว ทรงยังพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ใ่ห้ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้น พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี อันพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดประทานให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้ว ถวายบังคมทำประทักษิณหลีกไปแล้ว พระองค์จึงทรงกระทำธรรมีกถาใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตน้ำชำระ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย.

เรื่องพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี จบ

เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง

[๑๖๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีรูปหนึ่งทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตน้ำชำระแล้ว จึงใช้น้ำชำระลึกเกินไป ได้ทำให้เกิดแผลขึ้นในองค์ รหัส ดังนั้นนางจึงได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้ มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ใช้น้ำ ชำระลึกเกินไปเล่า ...

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 193

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีใช้น้ำชำระลึกเกินไป จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีจึงได้ใช้น้ำชำระลึกเกินไปเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๖๐. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีผู้จะใช้น้ำชำระ พึงใช้ชำระลึก เพียงสองข้อองคุลีเป็นอย่างยิ่ง เกินกว่านั้น เป็นอาบัติปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๖๕] ที่ชื่อว่า น้ำชำระ ได้แก่ น้ำที่เขาเรียกว่าน้ำสำหรับชำระองค์ รหัส.

บทว่า ผู้จะใช้ คือ ผู้จะชะล้าง.

คำว่า พึงใช้ชำระลึกเพียงสองข้อองคุลีเป็นอย่างยิ่ง คือ พึง ใช้ชำระลึกเพียงสองข้อ ในสององคุลี เป็นอย่างยิ่ง

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 194

คำว่า เกินกว่านั้น ความว่า ภิกษุณียินดีสัมผัสให้ล่วงเลยเข้าไป โดยที่สุดแม้ชั่วปลายเส้นผม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกะปาจิตตีย์

[๑๖๖] เกินสองข้อองคุลี ภิกษุณีสำคัญว่าเกิน ใช้ชำระ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์

เกินสองข้อองคุลี ภิกษุณีสงสัย ใช้ชำระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. เกินสองข้อองคุลี ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ถึง ใช้ชำระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ไม่ถึงสองข้อองคุลี ภิกษุณีสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ. ไม่ถึงสองข้อองคุลี ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ไม่ถึงสองข้อองคุลี ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ถึง ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๑๖๗] ใช้ชำระลึกเพียงสองข้อองคุลี ๑ ใช้ชำระลึกไม่ถึงสองข้อ องคุลี ๑ เพราะเหตุอาพาธ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 195

อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๕

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้:-

ข้อว่า อติคมฺภีรํ อุทกสุทฺธิกํ อาทียติ ได้แก่ กระทำการชำระ ด้วยน้ำให้เข้าข้างในลึกเกินไป.

สองบทว่า เกสคฺคมตฺตํปิ อติกฺกาเมติ มีความว่า ภิกษุณีสอด นิ้วมือนิ้วที่ ๓ หรือนิ้วที่ ๔ เข้าไปตามทางยาว ให้เลยทางด้านลึกเกิน ๒ ข้อนิ้วมือไปแม้เพียงปลายเส้นผม เป็นปาจิตตีย์. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ใน มหาปัจจรีว่า ภิกษุณี ย่อมไม่ได้เพื่อจะใช้ข้อนิ้วมือ ๓ ข้อของบางนิ้วชำระ จะ ใช้นิ้วมือ ๓ หรือ ๔ นิ้ว แม้ข้อเดียวชำระก็ไม่ได้. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น. แม้สมุฎฐานเป็นต้น ก็เป็นเช่นกับที่กล่าวแล้ว ในตลฆาฏกสิกขาบทนั้นแล.

อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 196

ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๖

เรื่องภิกษุณีภรรยาเก่าของมหาอำมาตย์

[๑๖๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น มหาอำมาตย์ผู้หนึ่ง ชื่ออาโรหันตะ ได้บวชอยู่ในสำนักภิกษุ ภรรยาเก่าของ ท่านก็ได้บวชอยู่ในสำนักภิกษุณี ต่อมา ภิกษุนั้นทำภิตกิจในสำนักภิกษุณีนั้น เมื่อภิกษุนั้นกำลังฉันอยู่ ภิกษุณีนั้นได้ยืนปฏิบัติอยู่ใกล้ๆ ด้วยน้ำฉันและการ พัดวี แล้วกล่าวถ้อยคำเกี่ยวกับการครองเรือนยั่วยวนอยู่ ภิกษุนั้นจึงรุกราน นางว่า ดูก่อนน้องหญิง เธออย่าได้ทำเช่นนี้ ข้อนี้ไม่ควร.

เมื่อก่อนท่านได้กระทำอย่างนี้ๆ แก่ข้าพเจ้า บัดนี้ เพียงเท่านี้ก็ทน ไม่ได้ นางกล่าวดังนี้แล้วได้ครอบขันน้ำลงบนศีรษะ ประหารด้วยพัด บรรดา ภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี จึงได้ประหารแก่ภิกษุเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีให้ประหารแก่ภิกษุ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีจึงได้ให้ประหารแก่ภิกษุเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 197

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๖๑. ๖. อนึ่ง ภิกษุณีใด เมื่อภิกษุกำลังฉันอยู่ เข้าไป ปฏิบัติอยู่ใกล้ๆ ด้วยน้ำฉัน หรือด้วยการพัดวี เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีภรรยาเก่าของมหาอำมาตย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๖๙] บทว่า อนึ่ง ... ใด. ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า เมื่อภิกษุ ได้แก่ เมื่ออุปสัมบัน.

บทว่า กำลังฉันอยู่ คือ กำลังฉันโภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง อยู่.

ที่ชื่อว่า น้ำฉัน ได้แก่ น้ำชนิดหนึ่งสำหรับดื่ม.

ที่ชื่อว่า การพัดวี ได้แก่ เครื่องโบกแกว่งชนิดใดชนิดหนึ่งสำหรับวี.

บทว่า เข้าไปปฏิบัติอยู่ใกล้ๆ ความว่า อยู่ในหัตถบาส ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกะปาจิตตีย์

[๑๗๐] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน เข้าไปปฏิบัติอยู่ใกล้ๆ ด้วยน้ำฉัน หรือด้วยพัดวี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 198

อุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย เข้าไปปฏิบัติอยู่ใกล้ๆ ด้วยน้ำฉัน หรือ ด้วยการพัดวี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน เข้าไปปฏิบัติอยู่ใกล้ๆ ด้วย น้ำฉัน หรือด้วยการพัดวี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ฉักกะทุกกฏ

ปฏิบัติอยู่นอกหัตถบาส ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุฉันของเคี้ยว ภิกษุณีเข้าไปปฏิบัติ ต้องอาบัติทุกกฏ.

เข้าไปปฏิบัติอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกขุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๑๗๑] ภิกษุณีถวายเอง ๑ ให้คนอื่นถวาย ๑ สั่งอนุปสัมบันให้ ปฏิบัติ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๖

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๖ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า ภตฺตวิสฺสคฺคํ แปลว่า ภัตกิจ.

สามบทว่า ปานีเยน จ วิธูปเนน จ อุปติฏฺิตฺวา ความว่า ยืนเอามือข้างหนึ่งถือขันน้ำ เอามือข้างหนึ่งถือพัด พัควีอยู่ใกล้ๆ.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 199

บทว่า อจฺจาวทติ มีความว่า กล่าวถ้อยคำเกี่ยวกับการครองเรือน ละเมิดจารีตของบรรพชิตว่า แม้เมื่อก่อน ท่านก็บริโภคอยู่อย่างนี้ ดิฉันก็ทำ การปรนนิบัติท่านอย่างนี้.

สองบทว่า ยงฺกิญฺจิ ปานียํ มีความว่า น้ำสะอาด หรือน้ำเปรียง นมส้ม น้ำผึ้ง น้ำรส และนมสดเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามที.

สองบทว่า ยากาจิ วีชนี คือ ชั้นที่สุดแม้ชายจีวร ก็ชื่อว่าพัด.

ในคำว่า หตฺถปาเส ติฏฺติ อาปตฺติ ปาจิตติยสฺส นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรับปาจิตตีย์ เพราะการยืนเป็นปัจจัยเท่านั้น. แต่ เพราะการประหารเป็นปัจจัย ทรงบัญญัติทุกกฏไว้ในขันธกะ.

สองบทว่า เทติ ทาเปติ มีความว่า ภิกษุณีถวายน้ำดื่ม หรือแกง เป็นต้นว่า นิมนต์ท่านดื่มน้ำนี้ นิมนต์ท่านฉันกับแกงนี้เถิด. ถวายพัดใบตาล ว่า นิมนต์ท่านพัดด้วยพัดใบตาลนี้ ฉันเถิด หรือว่าสั่งให้ผู้อื่นถวายน้ำดื่มและ พัดให้แม้ทั้ง ๒ อย่าง ไม่เป็นอาบัติ.

สองบทว่า อนุปสมฺปนฺนํ อาณาเปติ คือ สั่งสามเณรีเพื่อให้ ปฏิบัติไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.

อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 200

ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๗

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๑๗๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เป็นฤดู เกี่ยวข้าวภิกษุณีทั้งหลายขอข้าวเปลือกสด แล้วนำเข้าไปในพระนคร ครั้นถึง ที่ประตูพระนครคนทั้งหลายพากันกั้นประตูพูดสัพยอกว่า ข้าแต่แม่เจ้าทั้งหลาย ขอท่านจงให้ส่วนแบ่งบ้าง ดังนี้ แล้วปล่อยไป ครั้นภิกษุณีเหล่านั้นกลับไป ถึงสำนักแล้วได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอข้าวเปลือก สดเขาเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีขอข้าวเปลือกสดเขา จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอข้าวเปลือกสดเขาเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 201

พระบัญญัติ

๖๒. ๗. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอก็ดี ให้ขอก็ดี คั่วก็ดี ให้ คั่วก็ดี ตำก็ดี ให้ตำก็ดี หุงก็ดี ให้หุงก็ดี ซึ่งข้าวเปลือกสด แล้ว ฉัน เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๗๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า ข้าวเปลือกสด ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง ลูกเดือย หญ้ากับแก้.

บทว่า ขอ คือ ขอเอง. บทว่า ให้ขอ คือ ให้ผู้อื่นขอแทน.

บทว่า คั่ว คือ คั่วเอง. บทว่า ให้คั่ว คือ ให้ผู้อื่นคั่ว.

บทว่า ตำ คือ ตำเอง. บทว่า ให้ตำ คือ ให้ผู้อื่นตำ.

บทว่า หุง คือ หุงเอง. บทว่า ให้หุง คือ ให้ผู้อื่นหุง.

ภิกษุณีรับประเคนไว้ด้วยหมายใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำกลืน.

อนาปัตติวาร

[๑๗๔] เพราะเหตุอาพาธ ๑ ขออปรัณชาติ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิ- กัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 202

อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๗

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๗ พึงทราบดังนี้ :-

ข้อว่า ภุญฺชิสฺสามีติ ปฏิคฺคณฺหาติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มี ความว่า ทุกกฏนี้ ชื่อว่า ปโยคทุกกฏ. เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เป็นทุกกฏ เพราะการรับประเคนอย่างเดียวเท่านั้น. ยังเป็นทุกกฏ ทุกๆ ประโยคอีก ใน การรับประเคนแล้วนำมาจากที่อื่นก็ดี ในการตากให้แห้งก็ดี ในการเตรียมเตา เพื่อต้องการคั่วกินในวันมีฝนตกพรำก็ดี ในการจัดแจงกระเบื้องก็ดี ในการ ตระเตรียมทัพพีก็ดี ในการนำฟืนมาก่อไฟก็ดี ในการใส่ข้าวเปลือกลงบน กระเบื้องก็ดี ในการคั่วด้วยทัพพีก็ดี ในการเตรียมครกและสากเป็นต้นเพื่อจะ ตำก็ดี ในกิจ มีการตำฝัดและซาว เป็นต้นก็ดี จนถึงเปิบเข้าปากแล้วบดเคี้ยว ด้วยฟันเพื่อจะกลืนกิน. ในเวลากลืนกิน เป็นปาจิตตีย์มากตัวตามจำนวนคำกลืน และในสิกขาบทนี้ การขอและการฉัน จัดเป็นประมาณ. เพราะฉะนั้นแม้ ภิกษุณีขอเองใช้ภิกษุณีอื่นให้ทำการคั่วการตำและการหุงต้มแล้วฉันก็เป็นอาบัติ ถึงใช้ภิกษุณีอื่นให้ขอแล้วกระทำการคั่วฉันเองเป็นต้นก็อาบัติแล.

แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าวว่า ภิกษุณีขอข้าวเปลือกสดธรรมดานี้ แม้ กะมารดามาฉัน ก็เป็นปาจิตตีย์เหมือนกัน ข้าวเปลือกสดที่ได้มาโดยมิได้ออก ปากขอ เมื่อทำการคั่วเป็นต้นเอง หรือใช้ผู้อื่นให้ทำแล้วฉัน เป็นทุกกฏ. ข้าวเปลือกสดที่ภิกษุณีอื่นได้มาด้วยการออกปากขอ แม้เมื่อทำการคั่วเป็นต้นเอง หรือใช้ให้ภิกษุณีนั้นทำ หรือใช้ให้ภิกษุณีอื่นทำแล้วฉัน ก็เป็นทุกกฏเหมือน กัน ท่านยังได้กล่าวไว้อีกว่า ข้าวเปลือกสดที่ภิกษุณีอื่นได้มาด้วยการออกปาก ขอ ถ้าภิกษุณีทำการคั่วเองเป็นต้นซึ่งข้าวเปลือกสดนั้นแล้วฉัน เป็นปาจิตตีย์

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 203

เหมือนกัน. แต่เมื่อให้ผู้อื่นทำการคั่วเป็นต้นแล้วฉัน เป็นทุกกฏ. คำในมหา ปัจจรีนั้น ผิดทั้งข้างต้นทั้งข้างปลาย. ที่จริงไม่มีความแปลกกันในการทำเอง หรือในการใช้ให้ทำ ซึ่งกิจมีการคั่วเป็นต้นนั้น. แต่ในมหาอรรถกถาท่านกล่าว ไว้โดยไม่แปลกกันว่า เป็นทุกกฏแก่ภิกษุณีผู้ฉันข้าวเปลือกสดที่ภิกษุณีอื่นออก ปากขอมา

บทว่า อาพาธปจฺจยา ความว่า ไม่เป็นอาบัติ เพราะออกปากขอ ข้าวเปลือก เพื่อต้องการทำการนึ่งตัวเป็นต้น (การเข้ากระโจม). ท่านกล่าวไว้ ในมหาปัจจรีว่า ก็การรับเอาข้าวเปลือกที่ได้มาด้วยการไม่ได้ออกปากขอ เพื่อ ประโยชน์แก่นวกรรม ควรอยู่.

สองบทว่า อปรณฺณํ วิญฺญาเปติ มีความว่า เว้นธัญญชาต ๗ ชนิดเสีย ภิกษุณีขออปรัณชาติ มีถั่วเขียวและถั่วเหลืองเป็นต้นก็ดี พืชผลมี น้ำเต้าและฟักเขียวเป็นต้นก็ดี วัตถุอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ในที่แห่งญาติและ คนปวารณา ไม่เป็นอาบัติ. แต่จะขอข้าวเปลือกสดแม้ในที่แห่งญาติและคน ปวารณาไม่ควร. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๔ เกิดขึ้นทางกาย ๑ ทางวาจา ๑ ทางกาย กับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.

อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 204

ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพรหมณ์คนหนึ่ง

[๑๗๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์ คนหนึ่งเป็นข้าราชการ ถูกปลดออกจากราชการแล้วคิดว่าจักทูลขอรับพระราชทานตำแหน่งเดิมคืน จึงสนานเกล้าแล้วเดินผ่านที่พำนักของภิกษุณีไปสู่ ราชตระกูล ภิกษุณีรูปหนึ่งถ่ายวัจจะลงในหม้อ แล้วเททิ้งออกนอกฝา ราดลง บนศีรษะของพราหมณ์นั้น ดังนั้น พราหมณ์จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ภิกษุณีโล้นเหล่านี้ไม่ใช่สมณะ ไม่มีสมบัติ ไฉนจึงได้เทหม้อคูถลงบน ศีรษะเล่า เราจักเผาที่พำนักของภิกษุณีเหล่านี้เสีย ดังนั้น จึงถือคบเพลิงเข้าไป สู่ที่พำนักภิกษุณี อุบาสกคนหนึ่งออกมาจากสำนักภิกษุณี เห็นพราหมณ์นั้น กำลังถือคบเพลิงผ่านเข้าไปสู่ที่พำนัก จึงถามพราหมณ์ว่า ท่านผู้เจริญ เหตุไร ท่านถือคบเพลิงเข้าไปสู่ที่พำนักภิกษุณี.

พราหมณ์ตอบว่า ท่านผู้เจริญ เพราะภิกษุณีโล้นเหล่านี้เป็นสตรีไม่มี สมบัติ เทหม้อคูถลงบนศีรษะของเราๆ จึงจักเผาสำนักของภิกษุณีเหล่านี้เสีย.

อุบาสกชี้แจงว่า ไปเถิด ท่านผู้เจริญ นั่นเป็นมงคล ท่านจักได้ ทรัพย์ ๑,๐๐๐ ตำลึง และตำแหน่งเดิมคืน.

ฝ่ายพราหมณ์นั้นสนานเกล้าแล้วไปสู่ราชตระกูล ได้ทรัพย์พระราชทาน ๑,๐๐๐ ตำลึง และตำแหน่งเดิมนั้นคืน อุบาสกนั้นจึงเข้าไปสู่ที่พำนักภิกษุณี แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลายแล้วขู่สำทับ.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 205

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้เทอุจจาระทิ้งออกภายนอกฝาที่พำนักเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีเทอุจจาระทิ้งออกภายนอกฝาที่พำนัก จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก ภิกษุณีจึงได้เทอุจจาระทิ้งออกภายนอกฝาที่พำนักเล่า การกระทำของพวกนาง นั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจะยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๖๓. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด เทหรือให้เท ซึ่งอุจจาระก็ดี ปัสสาวะก็ดี หยากเยื่อก็ดี ของเป็นเดนก็ดี ณ ภายนอกฝาที่พำนักก็ดี ณ ภายนอกกำแพงก็ดี เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพรามหณ์คนหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๗๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 206

ที่ชื่อว่า อุจจาระ ได้แก่ สิ่งที่เขาเรียกกันว่าคูถ.

ที่ชื่อว่า ปัสสาวะ ได้แก่ สิ่งที่เขาเรียกกันว่ามูตร.

ที่ชื่อว่า หยากเยื่อ ได้แก่ สิ่งที่เขาเรียกว่าขยะมูลฝอย.

ที่ชื่อว่า ของเป็นเดน ได้แก่ อามิสเป็นเดน หรือกระดูก หรือน้ำ ที่เป็นเดน.

ที่ชื่อว่า ฝา ได้แก่ฝา ๓ ชนิด คือ ฝาอิฐ ฝาศิลา ฝาไม้.

ที่ชื่อว่า กำแพง ได้แก่ กำแพง ๓ ชนิด คือ กำแพงอิฐ กำแพง ศิลา กำแพงไม้.

บทว่า ภายนอกฝา คือ ข้างนอกฝาที่อยู่.

บทว่า ภายนอกกำแพง คือ ข้างนอกกำแพง.

บทว่า เท ความว่า เทเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า ให้เท ความว่า ใช้คนอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้เขาครั้งเดียว เขาเทแม้หลายครั้ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร

[๑๗๗] มองดูก่อนแล้วจึงเท ๑ เทในที่ที่เขาไม่ใช้ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 207

อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๘

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๘ พึงทราบดังนี้:-

ราชภัฏ (พระราชทรัพย์) คือ ภาษี ส่วยสาอากรของหลวง พราหมณ์ นี้ยักยอกเอาไป เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้น จึงชื่อว่านิพพิฏฐราชภัฏ (ผู้ถูก ปลดออกจากราชการ). อธิบายว่า ผู้รับตำแหน่งอย่างหนึ่ง ทางด้านส่วยสาอากร ได้ยักยอกเบียดบังเอาผลกำไรจากตำแหน่งนั้น.

ข้อว่า ตํเยว ภฏปถํ ยาจิสฺสามิ ได้แก่ พราหมณ์นั้นคิดคำนึง อยู่ว่า เราถวายส่วยแก่นายหลวงแล้ว จักทูลขอพระราชทานรับตำแหน่งเดิมนั้น แหละคืน.

บทว่า ปริภาสิ ได้แก่ อุบาสกนั้นขู่สำทับภิกษุณีเหล่านั้นว่า พวก ท่านอย่าได้ทำอย่างนี้อีกต่อไปนะ.

บทว่า สยํ ฉฑฺเฑติ มีความว่า เมื่อเททิ้ง ๔ วัตถุทิ้ง ด้วย ประโยคเดียว เป็นอาบัติเพียงตัวเดียว. เมื่อทิ้งทีละอย่างๆ เป็นอาบัติมาก ตามจำนวนวัตถุ. แม้ในการสั่ง ก็นัยนี้นั่นแล. ถึงในการทิ้งไม้ชำระฟัน ก็ เป็นปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีเหมือนกัน. เป็นทุกกฏแก่ภิกษุในที่ทั้งปวง. บทที่ เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.

อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 208

ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๙

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๑๗๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์ คนหนึ่งมีนาข้าวเหนียวอยู่ใกล้ที่พำนักของภิกษุณี ภิกษุณีทั้งหลายเทอุจจาระ บ้าง ปัสสาวะบ้าง หยากเยื่อบ้าง ของเป็นเดนบ้าง ทิ้งลงในนา พราหมณ์ นั้นจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ทำนาข้าวเหนียว ของข้าพเจ้าให้เสียหายเล่า.

ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินพราหมณ์นั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี ทั้งหลายจึงได้เทอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง หยากเยื่อบ้าง ของเป็นเดนบ้าง ลงในของเขียวสดเล่า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีเทอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง หยากเยื่อบ้าง ของเป็นเดนบ้าง ลงในของเขียวสด จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้เทอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง หยากเยื่อบ้าง ของเป็น

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 209

เดนบ้าง ลงในของเขียวสดเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง นี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๖๔. ๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด เท หรือให้เท ซึ่งอุจจาระก็ดี ปัสสาวะก็ดี หยากเยื่อก็ดี ของเป็นเดนก็ดี ลงในของเขียวสด เป็น ปาจิตตีย์ .

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๗๙] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ...

นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า อุจจาระ ได้แก่ สิ่งที่เขาเรียกกันว่าคูถ.

ที่ชื่อว่า ปัสสาวะ ได้แก่ สิ่งที่เขาเรียกกันว่ามูตร.

ที่ชื่อว่า หยากเยื่อ ได้แก่ สิ่งที่เขาเรียกกันว่าขยะมูลฝอย.

ที่ชื่อว่า ของเป็นเดน ได้แก่ อามิสเป็นเดน หรือกระดูก หรือน้ำ ที่เป็นเดน.

ที่ชื่อว่า ของเขียวสด ได้แก่ บุพพัณชาติ อปรัณชาติ ที่ ประชาชนปลูกไว้สำหรับเป็นเครื่องอุปโภคและบริโภค.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 210

บทว่า เท ความว่า เทเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า ให้เท ความว่า ใช้คนอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้เขาครั้ง เดียว เขาเทแม้หลายครั้ง ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกะปาจิตตีย์

[๑๘๐] ของเขียวสด ภิกษุณีสำคัญว่าของเขียวสด เท หรือให้เท ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ของเขียวสด ภิกษุณีสงสัย เท หรือให้เท ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ของเขียวสด ภิกษุณีสำคัญว่า มิใช่ของเขียวสด เท หรือให้เท ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

มิใช่ของเขียวสด ภิกษุณีสำคัญว่า ของเขียวสด ต้องอาบัติทุกกฏ.

มิใช่ของเขียวสด ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

มิใช่ของเขียวสด ภิกษุณีสำคัญว่า มิใช่ของเขียวสด ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๑๘๑] มองดูก่อนแล้วจึงเท ๑ เทบนคันนา ๑ บอกขออนุญาตต่อ เจ้าของแล้วเท ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 211

อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๙

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๙ พึงทราบดังนี้:-

หลายบทว่า ยํ มนุสฺสานํ อุปโภคปริโภคํ โรปิตํ มีความว่า ไร่นาหรือสวนผลไม้มีมะพร้าวเป็นต้น ก็ตามที เมื่อเทวัตถุเหล่านั้นทิ้งในที่ซึ่ง เขาปลูกของเขียวสดไว้แห่งใดแห่งหนึ่ง พึงทราบความต่างแห่งอาบัติโดยนัย ก่อนนั่นแล.

ภิกษุณีนั่งฉันอยู่ที่ไร่นาหรือสวน เคี้ยวอ้อยเป็นต้น เมื่อจะไปเทน้ำ เป็นเดนและกระดูกเป็นต้นลงในของเขียวสด ชั้นที่สุด ทิ้งแม้มะพร้าวที่เฉาะ หัวดื่มน้ำแล้ว ก็เป็นปาจิตตีย์เหมือนกัน, เป็นทุกกฏแก่ภิกษุ. แต่ในพืชที่เขา หว่านไว้ในนาที่ไถแล้ว เป็นทุกกฏแก่ภิกษุและภิกษุณีทั้งหมด ตลอดเวลาที่ หน่อยังไม่งอก. จะเทลงในมุมนาเป็นต้น ที่เขายังไม่ได้หว่านพืชก็ดี ในคันนา เป็นต้นที่ปลูกพืชไม่ขึ้นก็ดี ควรอยู่. จะเทลงแม้ในที่ทิ้งขยะมูลฝอยของพวกชาว บ้าน ก็ควร.

บทว่า ฉฑฺฑิตกฺเขตฺเต มีความว่า เมื่อพวกชาวบ้านถอนข้าวกล้า ไปแล้ว ชื่อว่าเป็นนาร้าง. จะเทลงในนาร้างนั้นนั่นแล ควรอยู่. แต่ในไร่นา ที่พวกชาวบ้านยังเฝ้ารักษาอยู่ ด้วยเข้าใจว่า บุพพัณชาติเป็นต้นที่เกี่ยวแล้ว จักงอกขึ้นอีก เป็นอาบัติตามวัตถุเหมือนกัน. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นทั้งกิริยาและอกิริยาฯ ลฯ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.

อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 212

ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์

[๑๘๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน วิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นในพระนครราชคฤห์มีมหรสพบนยอดภูเขา เหล่าภิกษุณีฉัพพัคคีย์ได้ พากันไปดูมหรสพบนยอดภูเขา พวกชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้พากันไปดูการฟ้อนรำบ้าง การขับร้องบ้าง การประโคมดนตรีบ้าง เหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.

ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินชาวบ้านพวกนั้น พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้พากันไปดูการฟ้อนรำบ้าง การขับร้องบ้าง การ ประโคมดนตรีบ้างเล่า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีฉัพพัคคีย์พากันไปดูการฟ้อนรำบ้าง การขับร้องบ้าง การประโคม ดนตรีบ้าง จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี ฉัพพัคคีย์จึงได้พากันไปดูการฟ้อนรำบ้าง การขับร้องบ้าง การประโคมดนตรี

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 213

บ้างเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๖๕. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไปดูการฟ้อนรำก็ดี การขับร้อง ก็ดี การประโคมดนตรีก็ดี เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๘๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น ผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า การฟ้อนรำ ได้แก่ การฟ้อนรำอย่างใดอย่างหนึ่ง.

ที่ชื่อว่า การขับร้อง ได้แก่ เพลงขับร้องอย่างใดอย่างหนึ่ง.

ที่ชื่อว่า การประโคมดนตรี ได้แก่ เครื่องดีดสีตีเป่าอย่างใดอย่าง หนึ่ง.

ภิกษุณีเดินไปเพื่อจะดู ต้องอาบัติทุกกฏ ยืนอยู่ ณ ที่ใด ยังแลเห็น หรือได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ พ้นสายตาไปแล้ว กลับแลดูหรือฟังอีก ก็ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

ภิกษุณีเดินไปเพื่อจะดูเครื่องมหรสพเฉพาะอย่างๆ ต้องอาบัติทุกกฏ ยืนอยู่ ณ ที่ใด ยังแลเห็นหรือได้ยิน ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์ พ้นสายตาไปแล้ว กลับแลดูหรือฟังอีก ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 214

อนาปัตติวาร

[๑๘๔] ยืนอยู่ในอารามแลเห็นหรือได้ยิน ๑ เขาฟ้อนรำขับร้อง หรือประโคมผ่านมายังสถานที่ภิกษุณียืนอยู่ นั่งอยู่ หรือนอนอยู่ ๑ เดินสวน ทางไปแลเห็นหรือได้ยิน ๑ เมื่อมีกิจจำเป็นเดินผ่านไปแลเห็นหรือได้ยิน ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

ลสุณวรรที่ ๑ จบ

อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๐ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า ยงฺกิญฺจิ นจฺจํ มีความว่า พวกนักฟ้อนเป็นต้นหรือ พวกนักเลง จงฟ้อนรำก็ตามที โดยที่สุดแม้นกยูง นกแขกเต้าและลิงเป็นต้น ฟ้อนรำ ทั้งหมดนั่น จักเป็นการฟ้อนรำทั้งนั้น.

สองบทว่า ยงฺกิญฺจิ คีตํ มีความว่า การขับร้องของพวกนักฟ้อน เป็นต้น หรือการขับร้องกีฬาให้สำเร็จประโยชน์ ซึ่งประกอบด้วยการสรรเสริญ คุณพระรัตนตรัย ในเวลาที่พระอริยเจ้าทั้งหลายปรินิพพาน หรือการขับร้อง ทำนองสวดธรรมสรภัญญะของพวกภิกษุ ผู้ไม่สำรวมก็ตามที ทั้งหมดนี้จัดเป็น การขับร้องทั้งนั้น.

สองบทว่า ยงฺกิญฺจิ วาทิตํ มีความว่า เครื่องบรรเลงมีที่ขึ้นสาย เป็นต้น หรือการประโคมกลองเทียมก็ตามที ชั้นที่สุดแม้การตีอุทกเภรี (กลองน้ำ) ทั้งหมดนี้จัดเป็นการประโคมดนตรีทั้งนั้น.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 215

ข้อว่า ทสฺสนาย คจฺฉติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ได้แก่ ต้อง อาบัติทุกกฏ โดยนับวาระย่างเท้า.

คำว่า ยตฺถ ฐิตา ปสฺสติ วา สุณาติ วา มีความว่า ภิกษุณี เมื่อแลดูโดยประโยคเดียวเห็น ได้ฟังการขับร้อง การประโคมดนตรีของชน เหล่านั้นนั่นแหละ เป็นปาจิตตีย์เพียงตัวเดียว แต่ถ้าเหลียวดูทิศหนึ่งแล้วเห็น นักฟ้อน เหลียวไปดูทางอื่นอีก เห็นพวกคนขับร้อง มองไปทางอื่น เห็นพวก คนบรรเลง เป็นอาบัติและอย่างๆ หลายตัว. ภิกษุณีย่อมไม่ได้เพื่อจะฟ้อนรำ หรือขับร้อง หรือประโคมดนตรีแม้เอง. แม้จะบอกคนเหล่าอื่นว่า จงฟ้อนรำ จงขับร้อง จงบรรเลง ก็ไม่ได้. จะกล่าวว่า อุบาสก! พวกท่านจงให้การ บูชาพระเจดีย์ก็ดี จะรับคำว่า ดีละ ในเมื่อเขากล่าวว่า พวกข้าพเจ้าจะทำ การบำรุงพระเจดีย์ของพวกท่านก็ดี ย่อมไม่ได้. ท่านกล่าวไว้ในทุกๆ อรรถกถาว่า เป็นปาจิตตีย์ในฐานะทั้งปวง. เป็นทุกกฏแก่ภิกษุ. แต่เมื่อเขา กล่าวว่า พวกข้าพเจ้าจะทำการบำรุงพระเจดีย์ของพวกท่าน ภิกษุณีจะกล่าวว่า อุบาสก! ชื่อว่า การทำนุบำรุง เป็นการดี ควรอยู่.

สองบทว่า อาราเม ิตา มีความว่า ภิกษุณียืนอยู่ในอารามแลเห็น หรือได้ยินการฟ้อนรำเป็นต้น ภายในอารามก็ดี ภายนอกอารามก็ดี ไม่เป็น อาบัติ.

สองบทว่า สติ กรณีเย มีความว่า ภิกษุณีไปเพื่อประโยชน์แก่ สลากภัตเป็นต้น หรือด้วยกรณียะอื่นบางอย่าง เห็นอยู่ หรือได้ยินอยู่ในสถาน ที่ตนไป ไม่เป็นอาบัติ.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 216

บทวา อาปาทาสุ มีความว่า ภิกษุณีถูกอุปัทวะเช่นนั้นเบียดเบียน เข้าไปสู่สถานที่ดูมหรสพ เข้าไปแล้วอย่างนี้ เห็นอยู่ก็ดี ได้ยินอยู่ก็ดี ไม่เป็น อาบัติ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.

อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

ลสุณวรรค ที่ ๑ จบ