พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อันธการวรรคที่ ๒ - ปาจิตติยกัณฑ์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  12 มี.ค. 2565
หมายเลข  42793
อ่าน  444

[เล่มที่ 5] พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓

พระวินัยปิฎก เล่ม ๓

ภิกขุนีวิภังค์

ปาจิตติยกัณฑ์

อันธการวรรคที่ ๒

สิกขาบทที่ ๑ 185/217

พระบัญญัติ ๖๖.๑ 218

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๑ 219

สิกขาบทที่ ๒ 188/220

พระบัญญัติ ๖๗.๒ 221

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๒ 222

สิกขาบทที่ ๓ 191/223

พระบัญญัติ ๖๘.๓ 224

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๓ 225

สิกขาบทที่ ๔ 194/226

พระบัญญัติ ๖๙.๔ 227

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๔ 229

สิกขาบทที่ ๕ 197/230

พระบัญญัติ ๗๐.๕ 231

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๕ 233

สิกขาบทที่ ๖ 201/234

พระบัญญัติ ๗๑.๖ 235

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๖ 237

สิกขาบทที่ ๗ 205/238

พระบัญญัติ ๗๒.๗ 239

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๗ 241

สิกขาบทที่ ๘ 209/242

พระบัญญัติ ๗๓.๘ 243

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๘ 244

สิกขาบทที่ ๙ 213/245

พระบัญญัติ ๗๔.๙ 246

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๙ 248

สิกขาบทที่ ๑๐ 217/249

พระบัญญัติ ๗๕.๑๐ 249

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๑๐ 250


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 5]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 217

อันธการวรรคที่ ๒

สิกขาบทที่ ๑

เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททากาปิลานีเถรี

[๑๘๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ญาติผู้ชาย ของภิกษุณีอันเตวาสินีแห่งภัททากาปิลานีเถรี ได้จากบ้านไปสู่พระนครสาวัตถี ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ฝ่ายภิกษุณีนั้นกับญาติผู้ชายนั้นหนึ่งต่อหนึ่ง ยืนร่วม บ้าง เจรจาร่วมบ้าง ในเวลาค่ำมืดไม่มีแสงสว่าง.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กับบุรุษในเวลาค่ำมืดที่ไม่มี แสงสว่างหนึ่งต่อหนึ่งเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีกับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง ในเวลาค่ำมืด ที่ไม่มีแสงสว่าง จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีกับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง จึงได้ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง ในเวลาค่ำมืด ที่ไม่มีแสงสว่างเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 218

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๖๖. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ยืนร่วมก็ดี เจรจาร่วมก็ดี ในเวลาค่ำคืนไม่มีประทีป เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททากาปิลานีเถรี จบ

สิกขาบทวิภงค์

[๑๘๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ในเวลาค่ำมืด ได้แก่ เวลาพระอาทิตย์ตกดินแล้ว.

บทว่า ไม่มีประทีป คือ ไม่มีแสงสว่าง.

ที่ชื่อว่า บุรุษ ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย มิใช่ยักษ์ผู้ชาย มิใช่เปรตผู้ชาย มิใช่ สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นบุคคลผู้รู้ความ เป็นผู้สามารถจะยืนร่วม เจรจาร่วมได้.

บทว่า กับ คือ ด้วยกัน.

บทว่า หนึ่งต่อหนึ่ง คือบุรุษหนึ่ง และภิกษุณีรูปหนึ่ง.

บทว่า ยืนร่วมก็ดี คือ ยืนอยู่ในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า เจรจาร่วมก็ดี คือ เจรจาอยู่ในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ยืนร่วม หรือเจรจาร่วม พ้นระยะช่วงแขน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม กับยักษ์ผู้ชาย เปรตผู้ชาย บัณเฑาะก์หรือ สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้มีร่างกายคล้ายมนุษย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 219

อนาปัตติวาร

[๑๘๗] มีสตรีผู้รู้ความคนใดคนหนึ่งอยู่เป็นเพื่อน ๑ ไม่เพ่งที่ลับ ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม ๑ ส่งใจไปอื่น ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๑

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑ แห่งอันธการวรรค พึงทราบดังนี้:-

บทว่า อปฺปทีเป คือในที่ไม่มีแสงสว่าง ด้วยบรรดาแสงสว่างมี ประทีป ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และไฟเป็นต้น แม้อย่างหนึ่ง. ด้วยเหตุนั้น นั่นแล ในบทภาชนะแห่ง บทว่า อปฺปทีเป นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส ว่า อนาโลเก.

บทว่า สลฺลปยฺย วา ได้แก่ กล่าวถ้อยคำเกี่ยวด้วยการครองเรือน

สองบทว่า อรโหเปกฺขา อญฺาวิหิตา มีความว่า ไม่เพ่งความ ยินดีในที่ลับ เป็นผู้ส่งใจไปอื่น จากความยินดีในที่ลับ ไต่ถามถึงญาติ หรือ เชื้อเชิญเขาในการถวายทานก็ดี ในการบูชาก็ดี. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจไถยสัตถสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๒ แล.

อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 220

อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๒

เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททากาปิลานีเถรี

[๑๘๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ญาติผู้ชาย ของภิกษุณีอันเตวาสินีแห่งภัททากาปิลานเถรี ได้จากบ้านไปสู่พระนครสาวัตถี ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ฝ่ายภิกษุณีนั้นทราบแล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง ห้ามการยืนร่วมเจรจามาร่วม กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ในเวลาค่ำมืด ไม่มีประทีป จึงยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กับบุรุษผู้นั้นและหนึ่งต่อหนึ่ง ในสถานที่กำบัง.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กับบุรุษหนึ่งต่อ หนึ่ง ในสถานที่กำบังเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณียืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ในสถานที่ กำบัง จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุ- ณีจึงได้ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ในสถานที่กำบังเล่า การทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 221

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๖๗. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ยืนร่วมก็ดี เจรจาร่วมก็ดี ในสถานที่กำบัง เป็นปาจิตตีย์

เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททากาปิลานีเถรี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๘๙] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่าผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า สถานที่กำบัง ได้แก่ สถานที่ที่เขาบังด้วยฝา บานประตู ลำแพน ม่าน ต้นไม้ เสา หรือฉางข้าว อย่างใดอย่างหนึ่ง.

ที่ชื่อว่า บุรุษ ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย มิใช่ยักษ์ผู้ชาย มิใช่เปรตผู้ชาย มิใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นบุคคลผู้รู้ความ เป็นผู้สามารถ จะยืนร่วม เจรจา ร่วมได้.

บทว่า กับ คือ ด้วยกัน.

คำว่า หนึ่งต่อหนึ่ง คือ บุรุษผู้หนึ่ง และภิกษุณีรูปหนึ่ง.

บทว่า ยินร่วมก็ดี คือ ยืนอยู่ในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้องอาบัติ- ปาจิตตีย์.

บทว่า เจรจาร่วมก็ดี คือ เจรจาอยู่ในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 222

ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม พ้นช่วงระยะแขน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ยืนร่วมหรือเจรจาร่วมกับยักษ์ผู้ชาย เปรตผู้ชาย บัณเฑาะก์ หรือ สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้มีร่างกายคล้ายมนุษย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๑๙๐] มีสตรีผู้รู้ความคนใดคนหนึ่งอยู่เป็นเพื่อน ๑ ไม่เพ่งที่ลับยืน ร่วมหรือเจรจาร่วม ๑ ส่งใจไปอื่น ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๒

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๒ พึงทราบดังนี้ :-

เฉพาะคำว่า ปฏิจฺฉนฺเน โอกาเส (สถานที่กำบัง) นี้เท่านั้น ต่างกัน. บทที่เหลือทั้งหมด เป็นอันเดียวกับสิกขาบทก่อนนั่นแล.

อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 223

อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๓

เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททากาปิลานีเถรี

[๑๙๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ญาติผู้ชาย ของภิกษุณีอันเตวาสินีแห่งพระภัททากาปิลานีเถรี ได้จากบ้านไปสู่พระนคร สาวัตถีด้วยกรณียกิจบางอย่าง ฝ่ายภิกษุณีนั้นทราบแล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงห้ามการยืนร่วม เจรจาร่วม กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ในสถานที่กำบัง จึง ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กับบุรุษคนนั้นแหละหนึ่งต่อหนึ่ง ในสถานที่แจ้ง

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ในสถานที่แจ้งเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณียืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ในสถานที่ แจ้ง จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีจึงได้ยืนร่วมบ้าง เจรจาบ้าง กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ในสถานที่แจ้งเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 224

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๖๘. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ยินร่วมก็ดี เจรจาร่วมก็ดี ในสถานที่แจ้ง เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททากาปิลานีเถรี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๙๒า บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า สถานที่แจ้ง ได้แก่ สถานที่อันมิได้กำบังด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คือ ฝา บานประตู ลำแพน ม่าน ต้นไม้ เสา หรือฉางข้าว.

ที่ชื่อว่า บุรุษ ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย มิใช่ยักษ์ผู้ชาย มิใช่เปรตผู้ชาย มิใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นบุคคลผู้รู้ความ เป็นผู้สามารถจะยืนร่วม เจรจา ร่วมได้.

บทว่า กับ คือ ด้วยกัน.

บทว่า หนึ่งต่อหนึ่ง คือ บุรุษผู้หนึ่ง และภิกษุณีรูปหนึ่ง.

บทว่า ยินร่วมก็ดี คือ ยืนอยู่ในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

บทว่า เจรจาร่วมก็ดี คือ เจรจาอยู่ในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 225

ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม พ้นระยะช่วงแขน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม กับยักษ์ผู้ชาย เปรตผู้ชาย บัณเฑาะก์ หรือ สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้มีร่างกายคล้ายมนุษย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๑๙๓] มีสตรีผู้รู้ความคนใดคนหนึ่งอยู่เป็นเพื่อน ๑ ไม่เพ่งที่ลับ ยืน ร่วมหรือเจรจาร่วม ๑ ส่งใจไปอื่น ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๓

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้ :-

คำว่า อชฺโฌกาเส (ในสถานที่แจ้ง) ต่างกัน. คำที่เหลือทั้งหมด เป็นเช่นนั้นนั่นแล.

อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 226

อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๔

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

[๑๙๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ถุลลนันทา ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กระซิบใกล้หูบ้าง กับบุรุษ หนึ่งต่อ หนึ่ง ในถนนบ้าง ในตรอกตันบ้าง ในทางสามแพร่งบ้าง ส่งภิกษุณีเป็นเพื่อน กลับไปบ้าง.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาได้ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กระซิบใกล้หู บ้าง กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ในถนนบ้าง ในตรอกตันบ้าง ในทางสามแพร่ง บ้าง ส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไปบ้างเล่า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทายืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กระซิบใกล้หูบ้าง กับบุรุษ หนึ่งต่อหนึ่ง ในถนนบ้าง ในตรอกตันบ้าง ในทางสามแพร่งบ้าง ส่งภิกษุณี ผู้เป็นเพื่อนกลับไปบ้าง จริงหรือ.

ภิกษุณีทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กระซิบใกล้หูบ้าง กับบุรุษ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 227

หนึ่งต่อหนึ่ง ในถนนบ้าง ในตรอกตันบ้าง ในทางสามแพร่งบ้าง ส่งภิกษุณี ผู้เป็นเพื่อนกลับไปบ้างเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๖๙. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยินร่วมก็ดี เจรจาร่วมก็ดี กระซิบ ใกล้หูก็ดี กับบุรุษ หนึ่งต่อหนึ่ง ในถนนก็ดี ในตรอกตันก็ดี ใน ทางสามแพร่งก็ดี ส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไปก็ดี เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๙๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า ถนน ได้แก่ ทางเดิน.

ที่ชื่อว่า ตรอกตัน ได้แก่ ทางที่เข้าทางใดออกทางนั้น.

ที่ชื่อว่า ทางสามแพร่ง ได้แก่ชุมทางที่เที่ยวเตร่.

ที่ชื่อว่า บุรุษ ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย มิใช่ยักษ์ผู้ชาย มิใช่เปรตผู้ชาย มิใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นบุคคลผู้รู้ความ เป็นผู้สามารถจะยืนร่วม เจรจา ร่วมได้.

บทว่า กับ คือด้วยกัน.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 228

บทว่า หนึ่งต่อหนึ่ง คือ บุรุษผู้หนึ่ง และภิกษุณีอีกรูปหนึ่ง.

บทว่า ยินร่วมก็ดี คือ ยืนร่วมในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า เจรจาร่วมก็ดี คือ เจรจาอยู่ในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า กระซิบใกล้หูก็ดี คือ บอกเนื้อความใกล้หูของบุรุษ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

พากย์ว่า ภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไปก็ดี คือ ประสงค์จะประพฤติ อนาจาร จึงส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไป ต้องอาบัติทุกกฏ, เมื่อภิกษุณีผู้เป็น เพื่อนละไปใกล้จะพ้นสายตา หรือสุดเสียงสั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อภิกษุณี ผู้เป็นเพื่อนพ้นไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ยืนร่วม หรือเจรจาร่วม พ้นระยะช่วงแขน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ยืนร่วม หรือเจรจาร่วม กับยักษ์ผู้ชาย เปรตผู้ชาย บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้มีร่างกายคล้ายมนุษย์ ต้องอาบัติทุกกฎ.

อนาปัตติวาร

[๑๙๖] มีสตรีผู้รู้ความคนใดคนหนึ่งอยู่เป็นเพื่อน ๑ ไม่เพ่งที่ลับ ยืน ร่วมหรือเจรจาร่วม ๑ ส่งใจไปอื่น ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม ๑ ไม่ประสงค์จะ ประพฤติอนาจาร มีกิจจำเป็นจึงส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 229

อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๔

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้:-

ที่ใกล้หู ท่านเรียกว่า นิกกัณณิกะ. มีคำอธิบายว่า กระซิบที่ใกล้หู

สองบทว่า สติ กรณีเย มีความว่า มีกิจจำเป็นเพื่อต้องการจะนำ สลากภัตเป็นต้นมา หรือเพื่อต้องการจะเก็บงำของที่วางไว้ไม่ดีในวัด. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น. สมุฏฐานเป็นต้น เป็นเช่นเดียวกันกับสิกขาบทก่อนทั้งนั้นแล.

อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 230

อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๕

เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง

[๑๙๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี รูปหนึ่งเป็นกุลุปิกาของสกุลแห่งหนึ่ง รับภัตตาหารเป็นประจำ ภิกษุณีนั้น ครั้นเวลาเช้า จึงครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวร เดินผ่านเข้าไปทางสกุลนั้น ครั้นถึงจึงนั่งบนอาสนะแล้วไม่บอกลาเจ้าของบ้านกลับไป ทาสีแห่งสกุลนั้นมัว สาละวนเก็บกวาดเรือน ได้เก็บอาสนะนั้นลงในกระโถน คนในบ้านไม่เห็น อาสนะ จึงถามภิกษุณีนั้นว่า ข้าแต่แม่เจ้า อาสนะนั้นอยู่ที่ไหน.

ภิกษุณีนั้นปฏิเสธว่า อาวุโส ดิฉันไม่เห็นอาสนะนั้น.

คนเหล่านั้นกล่าวคาดคั้นว่า ข้าแต่แม่เจ้า ขอท่านจงให้อาสนะนั้น ดังนี้แล้ว ได้บอกเลิกถวายภัตตาหารประจำ ภายหลังเขาชำระเรือนพบอาสนะ นั้นอยู่ในกระโถน จึงขอขมาโทษภิกษุณีนั้น แล้วได้เริ่มต้นถวายภัตตาหาร ประจำต่อไป.

ส่วนภิกษุณีนั้นได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีที่เป็น ผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีเข้าสู่สกุลใน เวลาก่อนอาหารนั่งบนอาสนะแล้ว จึงไม่บอกลาเจ้าของบ้านก่อนกลับเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีเข้าสู่สกุลในเวลาก่อนอาหาร นั่งบนอาสนะแล้ว ไม่บอกลา เจ้าของบ้านก่อนกลับ จริงหรือ?

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 231

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีเข้าสู่สกุลในเวลาก่อนอาหาร นั่งบนอาสนะแล้ว จึงได้ไม่บอกลาเจ้าของ บ้านก่อนกลับเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดง อย่างนี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๗๐. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด เข้าไปสู่สกุลทั้งหลาย ในเวลา ก่อนอาหาร นั่งบนอาสนะแล้ว ไม่บอกลาเจ้าของบ้าน หลีกไป เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๙๘] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า เวลาก่อนอาหาร คือเวลาอรุณขึ้นทราบเท่าเที่ยงวัน.

ที่ชื่อว่า สกุล ได้แก่สกุล ๔ คือ สกุลกษัตริย์ สกุลพราหมณ์ สกุล แพศย์ สกุลศูทร.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 232

บทว่า เข้าไป คือ ไปในสกุลนั้น.

ที่ชื่อว่า อาสนะ ได้แก่ เอกเทสที่เขาเรียกกันว่าที่สำหรับนั่งพับ แพนงเชิง.

บทว่า นั่ง คือ นั่งบนอาสนะนั้น.

คำว่า ไม่บอกลาเจ้าของบ้าน หลีกไป ความว่า ไม่อำลาคนใน สกุลนั้นซึ่งเป็นเจ้าของถวาย.

เดินพ้นชายคา ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในที่แจ้ง เดินล่วงอุปจาร ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกะปาจิตตีย์

[๑๙๙] ยังมิได้บอกลา ภิกษุณีสำคัญว่า ยังมิได้บอกลา หลีกไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ยังมิได้บอกลา ภิกษุณีสงสัย หลีกไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ยังมิได้บอกลา ภิกษุณีสำคัญว่า บอกลาแล้ว หลีกไป ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

ติกะทุกกฏ

ไม่ใช่สถานที่สำหรับนั่งพับแพนงเชิง ต้องอาบัติทุกกฏ.

บอกลาแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่า ยังมิได้บอกลา ต้องอาบัติทุกกฏ.

บอกลาแล้ว ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

บอกลาแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าบอกลาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 233

อนาปัตติวาร

[๒๐๐] บอกลาแล้วไป ๑ อาสนะเคลื่อนที่ไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มี อันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๕

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า ฆรํ โสเธนฺตา มีความว่า ได้ยินว่า ชนเหล่านั้นได้มี ความปริวิตกนี้ว่า การล่วงละเมิดทางกายทางวาจาบางอย่างของพระเถรีไม่ ปรากฏ. พวกเราจงช่วยกันชำระเรือนดูบ้างก่อนเถิด เพราะฉะนั้น พวกเจ้า ของบ้าน เมื่อชำระเรือนจึงได้พบอาสนะ.

สองบทว่า อโนวสฺสิกํ อติกฺกมนฺติยา มีความว่า ภิกษุณีเมื่อให้ เท้าแรกก้าวเลยไป เป็นทุกกฏ. เมื่อให้เท้าที่ ๒ ก้าวเลยไปเป็นปาจิตตีย์. แม้ ในการก้าวล่วงอุปจาร ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.

บทว่า คิลานาย คือ ไม่อาจจะบอกลา เพราะอาพาธเช่นนั้น.

บทว่า อาปาทาสุ มีความว่า ที่เรือนเกิดไฟไหม้ขึ้น หรือถูกพวก โจรปล้น ในอันตรายเห็นปานนี้ ไม่บอกลาหลีกไปเสีย ไม่เป็นอาบัติ. คำที่ เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.

อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 234

อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๖

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

[๒๐๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ถุลลนันทาเข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังอาหาร แล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง บนอาสนะ ไม่บอกกล่าวเจ้าของบ้าน คนในบ้านกระดากภิกษุณีถุลลนันทา ไม่กล้านั่ง ไม่ กล้านอน บนอาสนะ เขาจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน แม่เจ้า ถุลลนันทา จึงได้เข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังอาหาร แล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง บน อาสนะ ไม่บอกกล่าวเจ้าของบ้านเล่า.

ภิกษุณี ทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้น พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้เข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังอาหาร แล้วนั่งบ้าง นอน บ้าง บนอาสนะ ไม่บอกกล่าวเจ้าของบ้านเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาเข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังอาหาร แล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง บนอาสนะไม่บอกกล่าวเจ้าของบ้าน จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 235

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้เข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังอาหาร แล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง บนอาสนะ ไม่บอกกล่าวเจ้าของบ้านเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดง อย่างนี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๓๑. ๖ อนึ่ง ภิกษุณีใด เข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังอาหาร ไม่บอกกล่าวพวกเจ้าของบ้าน นั่งก็ดี นอนก็ดี บนอาสนะ เป็น ปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๐๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า เวลาหลังอาหาร ได้แก่ เวลาเที่ยงล่วงไปแล้ว ตราบเท่า พระอาทิตย์อัสดงคต.

ที่ชื่อว่า สกุล ได้แก่ สกุล ๔ คือ สกุลกษัตริย์ สกุลพราหมณ์ สกุลแพศย์ สกุลศูทร.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 236

บทว่า เข้าไป คือ ไปในสกุลนั้น.

คำว่า ไม่บอกกล่าวพวกเจ้าของบ้าน คือ ไม่บอกคนในสกุลนั้น ซึ่งเป็นเจ้าของถวาย.

ที่ชื่อว่า อาสนะ ได้แก่ สถานที่เขาเรียกกันว่าแท่นหรือเตียงอันว่าง

บทว่า นั่ง คือ นั่งลงบนอาสนะนั้น ต้องอาบัติปาจิตตียะ.

บทว่า นอน คือ นอนลงบนอาสนะนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกะปาจิตตีย์

[๒๐๓] มิได้บอกกล่าว ภิกษุณีสำคัญว่ามิได้บอกกล่าว นั่งก็ดี นอน ก็ดี บนอาสนะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

มิได้บอกกล่าว ภิกษุณีสงสัย นั่งก็ดี นอนก็ดี บนอาสนะ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

มิได้บอกกล่าว ภิกษุณีสำคัญว่าบอกกล่าวแล้ว นั่งก็ดี นอนก็ดี บนอาสนะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกะทุกกฏ

นั่ง ณ สถานอันมิใช่แท่นหรือเตียง ต้องอาบัติทุกกฏ.

บอกกล่าวแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่ายังมิได้บอกกล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ.

บอกกล่าวแล้ว ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

บอกกล่าวแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าบอกกล่าวแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 237

อานาปัตติวาร

[๒๐๔] บอกแล้ว นั่งก็ดี นอนก็ดี บนอาสนะ ๑ บนอาสนะที่เขา ปูไว้เป็นประจำ ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ ต้องอาบัติแล.

อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๖

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๖ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า อภินีสีเทยฺย แปลว่า พึงนิ่ง. เมื่อนั่งแล้วลุกไป เป็นอาบัติ ตัวเดียว. เมื่อไม่นั่ง นอนแล้วไป เป็นอาบัติตัวเดียว. เมื่อนั่งแล้วนอน เป็นอาบัติ ๒ ตัว.

บทว่า ธุวปญฺตฺเต ได้แก่ อาสนะที่เขาปูไว้เป็นประจำ เพื่อ ประโยชน์แก่ภิกษุณีทั้งหลาย. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนกับกฐินสิกขาบท ฯลฯ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.

อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 238

อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๗

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๒๐๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี หลายรูปพากันไปสู่พระนครสาวัตถีในโกศลชนบท พอเข้าถึงบ้านหมู่หนึ่งใน เวลาเย็นได้เข้าสู่สกุลพราหมณ์สกุลหนึ่ง ขอที่พักแรม พราหมณีจึงได้กล่าว คำนี้กะภิกษุณีเหล่านั้นว่า แม่เจ้าทั้งหลาย ขอได้โปรดรอจนกว่าท่านพราหมณ์ จะมา.

ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า จนกว่าท่านพราหมณ์จะมา ดังนี้ แล้วได้จัด ปูลาดเครื่องสำหรับนอนแล้ว บางพวกนั่ง บางพวกนอน.

ตกค่ำพราหมณ์มาเห็นแล้วได้ถามพราหมณีนั้นว่า สตรีเหล่านั้นคือใคร กัน พราหมณีตอบว่า ภิกษุณีเจ้าค่ะ.

พราหมณ์กล่าวว่า จงขับไล่ไป สตรีศีรษะโล้นเหล่านี้เป็นหญิงเสเพล ดังนี้ แล้วให้ขับไล่ออกจากเรือนไป.

ครั้นภิกษุณีเหล่านั้นไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่ ภิกษุณีทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้เข้าสู่สกุลในเวลาวิกาล แล้วไม่บอก เจ้าของบ้าน ปูลาดเองบ้างให้ผู้อื่นปูลาดบ้าง ซึ่งเครื่องนอน แล้วนั่งบ้าง นอนบ้างเล่า ...

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 239

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลายเข้าสู่สกุลในเวลาวิกาล แล้วไม่บอกพวกเจ้าของบ้าน ปูลาดเองบ้าง ให้ผู้อื่นปูลาดบ้าง ซึ่งเครื่องนอน แล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง จริง หรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้เข้าสู่สกุลในเวลาวิกาล แล้วไม่บอกพวกเจ้าของบ้าน ลาด เองบ้าง ให้ผู้อื่นลาดบ้าง ซึ่งเครื่องนอน แล้วนั่งบ้าง นอนบ้างเล่า การ กระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๗๒. ๗. อนึ่ง ภิกษุณีใด เข้าไปสู่สกุลทั้งหลาย ในเวลา วิกาลไม่บอกพวกเจ้าของบ้าน ลาดก็ดี ให้ลาดก็ดี ซึ่งเครื่องนอน แล้ว นั่งก็ดี นอนก็ดี เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๐๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 240

ที่ชื่อว่า เวลาวิกาล ได้แก่ เวลาตั้งแต่อาทิตย์อัศดงคตตราบเท่าถึง อรุณขึ้น.

ที่ชื่อว่า สกุล ได้แก่ สกุล ๔ คือ สกุลกษัตริย์ สกุลพราหมณ์ สกุล แพศย์ สกุลศูทร.

บทว่า เข้าไป คือ ไปในสกุลนั้น.

คำว่า ไม่บอกพวกเจ้าของบ้าน คือ ไม่บอกคนในสกุลนั้นซึ่งเป็น เจ้าของถวาย.

ที่ชื่อว่า เครื่องนอน ได้แก่ เครื่องปูลาด โดยที่สุดแม้เครื่องลาด ที่ทำด้วยใบไม้.

บทว่า ลาด คือ ลาดเอง.

บทว่า ให้ลาด คือ ใช้คนอื่นลาด.

บทว่า นั่ง คือ นั่งบนเครื่องนอนที่ลาดนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า นอน คือ นอนบนเครื่องนอนที่ลาดนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์

ติกะปาจิตตีย์

[๒๐๗] มิได้บอกเจ้าของ ภิกษุณีสำคัญว่ามิได้บอก ลาดก็ดี ให้ลาด ก็ดี ซึ่งเครื่องนอน แล้วนั่งหรือนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

มิได้บอกเจ้าของ ภิกษุณีสงสัย ลาดก็ดี ให้ลาดก็ดี ซึ่งเครื่องนอน แล้วนั่งหรือนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

มิได้บอกเจ้าของ ภิกษุณีสำคัญว่าบอกแล้ว ลาดก็ดี ให้ลาดก็ดี ซึ่ง เครื่องนอน แล้วนั่งหรือนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 241

ทุกะทุกกฏ

บอกเจ้าของแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่ามิได้บอก ต้องอาบัติทุกกฏ.

บอกเจ้าของแล้ว ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

บอกเจ้าของแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าบอกแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๒๐๘] ภิกษุณีบอกเจ้าของแล้ว ลาดก็ดี ให้ลาดก็ดี ซึ่งเครื่องนอน แล้วนั่งหรือนอน ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.

อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๗

แม้ในสิกขาบทที่ ๗ บัณฑิตพึงทราบคำทั้งหมด โดยนัยดังได้กล่าว แล้วในสิกขาบทที่ ๖ นั่นแล.

อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 242

อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๘

เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททากาปิลานีเถรี

[๒๐๙] โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี อันเตวาสินีของพระภัททากาปิลานีเถรี ย่อมตั้งใจปฏิบัติพระภัททากาปิลานีเถรีๆ จึงได้กล่าวคำนี้กะภิกษุณีทั้งหลายว่า แม่เจ้าทั้งหลาย ภิกษุณีรูปนี้ปฏิบัติข้าพเจ้า โดยเคารพ ข้าพเจ้าจักให้จีวรแก่ภิกษุณีรูปนี้ แต่ภิกษุณีรูปนั้นให้ภิกษุณีอื่น โพนทะนาโดยให้เชื่อถือผิด เข้าใจผิดว่า แม่เจ้า ข่าวว่า ดิฉันมิได้ปฏิบัติ แม่เจ้าโดยเคารพ ข่าวว่า แม่เจ้าจักไม่ให้จีวรแก่ดิฉัน ดังนี้.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ให้ภิกษุณีอื่นโพนทะนาโดยให้เชื่อถือผิด เข้าใจผิด เล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีให้ภิกษุณีอื่นโพนทะนา โดยให้เชื่อถือผิด เข้าใจผิด จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีจึงได้ให้ภิกษุณีอื่นโพนทะนาโดยให้เชื่อถือผิด เข้าใจผิดเล่า การกระทำ ของนางนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 243

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๗๓. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้คนอื่นโพนทะนา โดยให้เชื่อ ผิด เข้าใจผิด เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททากาปิลานีเถรี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๑๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น ผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า โดยให้เชื่อผิด คือ โดยให้เชื่อเป็นอย่างอื่น.

บทว่า เข้าใจผิด คือ ให้เข้าใจเป็นอย่างอื่น.

บทว่า คนอื่น ได้แก่ อุปสัมบัน ให้อุปสัมบันโพนทะนา ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกะปาจิตตีย์

[๒๑๑] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน ให้โพนทะนา ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ให้โพนทะนา ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่า อนุปสัมบัน ให้โพนทะนา ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 244

จตุกกะทุกกฏ

ภิกษุณีให้อนุปสัมบันโพนทะนา ต้องอาบัติทุกปาจิตตีย์.

อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๒๑๒] วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อยอาบัติแล. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๘

คำทั้งหมดในสิกขาบทที่ ๘ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็น กิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนาแล.

อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 245

อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๙

เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี

[๒๑๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ทั้งหลายหาบวิขารของตนไม่พบ ต่างก็ถามภิกษุณีจัณฑกาลีดังนี้ว่า แม่เจ้า ท่านเห็นบริขารของพวกดิฉันบ้างไหม.

ภิกษุณีจัณฑกาลีเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ข้าพเจ้าคนเดียวเป็น โจรแน่ละ ข้าพเจ้าคนเดียวเป็นคนไม่ละอายแน่ละ เพราะแม่เจ้าพวกที่หา บริขารของตนไม่พบ ต่างก็มากล่าวอย่างนี้กะข้าพเจ้าว่า แม่เจ้า ท่านเห็น บริขารของพวกดิฉันบ้างไหม แม่เจ้าทั้งหลาย ถ้าข้าพเจ้าถือเอาบริขารของ พวกท่านไป ข้าพเจ้าก็มิใช่สมณะ ย่อมเคลื่อนจากพรหมจรรย์ ต้องตกนรก แม้แม่เจ้าที่กล่าวอย่างนั้นกะข้าพเจ้าด้วยคำไม่จริง ก็ขอให้เป็นไม่ใช่สมณะ ต้องเคลื่อนจากพรหมจรรย์ ต้องตกนรก.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าจัณฑกาลีจึงได้แช่งตนและคนอื่นด้วยนรกบ้าง ด้วย พรหมจรรย์บ้างเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีจัณฑกาลีแช่งตนและคนอื่น ด้วยนรกบ้าง ด้วยพรหมจรรย์บ้าง จริงหรือ.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 246

ภิกษุณีทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีจัณฑกาลีจึงได้แช่งตนและคนอื่น ด้วยนรกบ้าง ด้วยพรหมจรรย์บ้าง เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๗๔. ๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด แช่งตนก็ดี คนอื่นก็ดี ด้วยนรก หรือด้วยพรหมจรรย์ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๑๔] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ตน คือ ตัวของตัวเอง.

บทว่า คนอื่น ได้แก่ อุปสัมบัน แช่ง ด้วยคำว่านรกก็ดี ด้วย คำว่าพรหมจรรย์ก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 247

บทภาชนีย์

ติกะปาจิตตีย์

[๒๑๕] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน แช่งด้วยนรกก็ดี ด้วย พรหมจรรย์ก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย แช่งด้วยนรกก็ดี ด้วยพรหมจรรย์ก็ดี ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน แช่งด้วยนรกก็ดี ด้วย พรหมจรรย์ก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ปัญจกะทุกกฏ

ภิกษุณีแช่งด้วยคำว่ากำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็ดี ด้วยคำว่าเปรตวิสัยก็ดี ด้วยคำว่าเป็นคนโชคร้ายก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ. แช่งอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๒๑๖] มุ่งอรรถ ๑ มุ่งธรรม ๑ มุ่งสั่งสอน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิ- กัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 248

อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๙

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๙ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า อภิสเปยฺย ได้แก่ พึงทำการสบถ. อธิบายว่า ที่ชื่อว่าแช่ง ด้วยนรก ได้แก่ ด่าทอ ปริภาษ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ขอให้เราเกิดใน นรก เกิดในอเวจีเถิด ขอให้ผู้ขโมย จงเกิดในนรก เกิดในอเวจีเถิด. ที่ชื่อ ว่า แช่งด้วยพรหมจรรย์ ได้แก่ ด่าทอ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ขอให้เราจง เป็นคฤหัสถ์ เป็นผู้นุ่งผ้าขาว เป็นปริพาชิกาเถิด. หรือภิกษุณีนอกนี้ จงเป็น เช่นนี้เถิด. เป็นปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด แต่เมื่อด่าโดยนัยเป็นต้นว่า ขอให้เรา เป็นนางสุนัข เป็นนางสุกร เป็นคนตาบอด เป็นคนง่อยเถิด. เว้นนรกและ และพรหมจรรย์เสีย เป็นทุกกฏทุกๆ คำพูด.

บทว่า อตฺถปุเรกฺขาราย คือ ผู้กล่าวอรรถกถา.

บทว่า ธมฺมปุเรกฺขาราย คือ ผู้สอนบอกบาลี.

บทว่า อนุสาสนีปุเรกฺขาราย มีความว่า เมื่อตั้งอยู่ในอนุสาสนี กล่าวสอนอย่างนี้ว่า แม้บัดนี้ ท่านยังเป็นเช่นนี้ ดีละท่านจงงดเว้น ถ้าท่าน ไม่งดเว้น จักทำกรรมเห็นปานนี้อีก ก็จักเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจ- ฉานแน่นอน ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนาแล.

อรรกกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 249

อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี

[๒๑๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี จัณฑกาลี ทะเลาะกับภิกษุณีทั้งหลาย แล้วร้องไห้ประหารตนเอง.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าจัณฑกาลีจึงได้พร่ำตีตนแล้วร้องไห้เล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีจัณฑกาลีพร่ำตีตนแล้วร้องไห้ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีจัณฑกาลีจึงได้พร่ำตีตนแล้วร้องไห้เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็น ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๗๕. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด พร่ำตีตนแล้วร้องให้ เป็นปาจิตตีย์

เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 250

สิกขาบทวิภังค์

[๒๑๘] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ตน คือ ร่างกายของตน.

พร่ำตี แล้วร้องไห้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ดี ไม่ร้องไห้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ร้องไห้ ไม่ตี ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๒๑๙] อันความเสื่อมแห่งญาติ อันความวอดวายแห่งโภคะ หรือ อันความเบียนแห่งโรคกระทบกระทั่ง จึงร้องไห้ ไม่ตีตน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

อันธการวรรคที่ ๒ จบ

อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

คำทั้งหมดในสิกขาบทที่ ๑๐ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระ เป็นสมุฏฐาน เกิดทางกายวาจาและจิต เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนาแล.

อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

อรรถกถาอันธการวรรคที่ ๒ จบ