พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

นัคควรรคที่ ๓ - ปาจิตติยกัณฑ์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  12 มี.ค. 2565
หมายเลข  42794
อ่าน  479

[เล่มที่ 5] พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓

พระวินัยปิฎก เล่ม ๓

ภิกขุนีวิภังค์

ปาจิตติยกัณฑ์

นัคควรรคที่ ๓

สิกขาบทที่ ๑ 220/251

พระบัญญัติ ๗๖.๑ 252

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๑ 252

สิกขาบทที่ ๒ 223/254

พระบัญญัติ ๗๗.๒ 255

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๒ 256

สิกขาบทที่ ๓ 227/257

พระบัญญัติ ๗๘.๓ 258

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๓ 260

สิกขาบทที่ ๔ 231/261

พระบัญญัติ ๗๙.๔ 262

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๔ 263

สิกขาบทที่ ๕ 235/264

พระบัญญัติ ๘๐.๕ 265

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๕ 266

สิกขาบทที่ ๖ 239/267

พระบัญญัติ ๘๑.๖ 268

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๖ 269

สิกขาบทที่ ๗ 242/270

พระบัญญัติ ๘๒.๗ 271

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๗ 272

สิกขาบทที่ ๘ 246/273

พระบัญญัติ ๘๓.๘ 274

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๘ 275

สิกขาบทที่ ๙ 249/276

พระบัญญัติ ๘๔.๙ 277

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๙ 279

สิกขาบทที่ ๑๐ 253/280

กรรมวาจา 280

พระบัญญัติ ๘๕.๑๐ 281

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๑๐ 283


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 5]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 251

ปาจิตตีย์ นัคควรรคที่ ๓

นัคควรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๒๒๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี หลายรูป เปลือยกายอาบน้ำในแม่น้ำอจิรวดีท่าเดียวกันกับพวกหญิงแพศยาๆ ได้พูดยั่วเย้าภิกษุณีเหล่านั้นว่า แม่เจ้าทั้งหลาย พวกท่านยังเป็นสาว จะประพฤติพรหมจรรย์ไปทำไมกัน ธรรมดาบุคคลต้องบริโภคกามมิใช่หรือ ต่อภาย แก่พวกท่านจึงค่อยประพฤติพรหมจรรย์เถิด อย่างนี้พวกท่านจักได้รับประโยชน์ทั้งสองประการ พวกภิกษุณีถูกพวกหญิงแพศยาพูดยั่วเย้าอยู่ ได้เป็นผู้ เก้อเขิน ครั้นกลับไปสู่สำนักแล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณี ทั้งหลายได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้า.

ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ ... เพื่อถือ ตามพระวินัย ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง. อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 252

พระบัญญัติ

๗๖. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด เปลือยกายอาบน้ำ เป็นปาจิตตีย์. เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๒๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น ผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า เปลือยกายอาบน้ำ คือ ไม่นุ่งผ้า หรือไม่ห่มผ้าอาบน้ำ เป็นทุกกฏในประโยค อาบเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร

[๒๒๒] มีจีวรถูกโจรชิงไป หรือจีวรหาย ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

นัคควรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

อรรถกถาปาจิตตีย์ นัคควรรคที่ ๓

สิกขาบทที่ ๑

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑ แห่งนัคควรรค พึงทราบดังนี้:-

บทว่า พฺรหมฺจริยํ จิณฺเณน คือ ด้วยพรหมจรรย์ที่พวกท่านประพฤติกัน. อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ หรือใน อรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติอย่างนี้ว่า ด้วยการประพฤติพรหมจรรย์.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 253

บทว่า อจฺฉินฺนจีวรกาย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาผ้า อาบน้ำ มิได้ทรงหมายเอาจีวรชนิดอื่น. เพราะเหตุนั้น ภิกษุณีเปลือยกาย อาบน้ำ เมื่อผ้าอาบน้ำถูกชิงไปก็ดี หายเสียก็ดี ไม่เป็นอาบัติ. ถ้าแม้นว่า จีวรคือผ้าอาบน้ำมีค่ามาก ภิกษุณีไม่อาจเพื่อจะนุ่งออกไปภายนอกได้ แม้อย่าง นี้ จะเปลือยกายอาบน้ำ ก็ควร. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.

อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 254

นัคควรรค สิกขาบทที่ ๒

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์

[๒๒๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุณีทั้งหลายแล้ว ภิกษุณีเหล่า ฉัพพัคคีย์ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าอาบน้ำฝนแล้ว จึงใช้ผ้า อาบน้ำไม่มีประมาณ เลื้อยข้างหน้าบ้าง เลื้อยข้างหลังบ้าง เที่ยวไป.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีเหล่าฉัพพัคคีย์ จึงได้ใช้ผ้าอาบน้ำไม่มีประมาณเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีเหล่าฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าอาบน้ำไม่มีประมาณ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จึงได้ใช้ผ้าอาบน้ำไม่มีประมาณเล่า การกระทำของพวกนาง นั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 255

พระบัญญัติ

๗๗. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด ผู้จะให้ทำผ้าอาบน้ำ พึงให้ทำให้ ได้ประมาณ นี้ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๔ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบ ด้วยคืบสุคต เธอทำให้ล่วงประมาณนั้น เป็นปาจิตตีย์ มีอันให้ตัด เสีย.

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๒๔] ที่ชื่อว่า ผ้าอาบน้ำ ได้แก่ ผ้าสำหรับนุ่งอาบน้ำ

บทว่า ผู้จะให้ทำ อธิบายว่า ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ต้องทำ ให้ได้ประมาณ ประมาณในคำนั้นดังนี้ คือ โดยยาว ๔ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบ ด้วยคืบสุคต ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็นทุกกฏใน ประโยค ได้มาพึงตัดเสีย แล้วแสดงอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

จตุกกะปาจิตตีย์

[๒๒๕] ผ้าอาบน้ำที่ตนทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

ผ้าอาบน้ำที่ตนทำค้างไว้ ให้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ผ้าอาบน้ำที่ผู้อื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ผ้าอาบน้ำที่ผู้อื่นทำค้างไว้ ใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 256

ทุกะทุกกฏ

ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ

ได้ผ้าอาบน้ำที่คนอื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๒๒๖] ทำให้ได้ประมาณ ๑ ทำหย่อนกว่าประมาณ ๑ ได้ผ้าอาบน้ำ ที่ผู้อื่นทำไว้เกินประมาณ ตัดให้ได้ประมาณแล้วใช้สอย ๑ ทำเป็นเพดาน ผ้า ลาดฟื้นม่าน ฟูก หรือหมอน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

นัคควรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๒

คำทั้งหมดในสิกขาบทที่ ๒ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖เป็น กิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มี จิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.

อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 257

นัคควรรค สิกขาบทที่ ๓

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

[๒๒๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี รูปหนึ่งเอาผ้าสำหรับทำจีวร ซึ่งมีราคามากมาทำจีวร เย็บจีวรให้เสียไป ภิกษุณี ถุลลนันทาได้กล่าวคำนี้กะภิกษุณีรูปนั้นว่า แม่เจ้า ผ้าสำหรับทำจีวรของท่าน ผืนนี้เนื้อดี แต่ทำจีวรไม่ดี เย็บไม่สวย.

ภิกษุณีรูปนั้นถามว่า แม่เจ้า ดิฉันจักเลาะออก ท่านจักเย็บให้หรือ.

ภิกษุณีถุลลนันทาตอบว่า จ้ะ ดิฉันจักเย็บให้.

ครั้นแล้วภิกษุณีรูปนั้นได้เลาะจีวรนั้นให้แก่ภิกษุณีถุลลนันทาๆ กล่าว ว่าดิฉันจักเย็บให้ ดิฉันจักเย็บให้ แล้วไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นเย็บ ดังนั้นภิกษุณีรูปนั้นจึงแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันนาให้เลาะจีวรของภิกษุณีแล้ว จึงไม่เย็บให้ ไม่ ขวนขวายให้ผู้อื่นเย็บให้เล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาให้เลาะจีวรของภิกษุณีแล้วไม่เย็บให้ ไม่ขวนขวายให้ ผู้อื่นเย็บให้ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 258

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทาให้เลาะจีวรของภิกษุณีแล้ว จึงได้ไม่เย็บให้ ไม่ขวนขวาย ให้ผู้อื่นเย็บให้เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๗๘. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งจีวรของ ภิกษุณีแล้ว เธอไม่มีอันตรายในภายหลัง ไม่เย็บ ไม่ทำการขวนขวายเพื่อให้เย็บ พ้น ๔ - ๕ วันไป เป็นปาจิตตีย์.

สิกขาบทวิภังค์

[๒๒๘] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น ผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ของภิกษุณี ได้แก่ ภิกษุณีรูปอื่น.

ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง.

บทว่า เลาะ คือ เลาะด้วยตนเอง.

บทว่า ให้เลาะ คือ ให้ผู้อื่นเลาะ.

คำว่า เธอไม่มีอันตรายในภายหลัง คือ ในเมื่ออันตรายไม่มี.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 259

บทว่า ไม่เย็บ คือ ไม่เย็บด้วยตนเอง.

บทว่า ไม่ทำการขวนขวายเพื่อให้เย็บ คือ ไม่บังคับผู้อื่น.

คำว่า พ้น ๔ - ๕ วันไป คือเก็บไว้ได้ ๔ - ๕ วัน พอทอดธุระว่าจัก ไม่เย็บ จักไม่ทำความขวนขวายเพื่อให้เย็บ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกะปาจิตตีย์

[๒๒๙] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งจีวร แล้วเธอไม่มีอันตรายในภายหลัง ไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ พ้น ๔- ๕ วันไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งจีวร แล้วเธอไม่ มีอันตรายในภายหลัง ไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ พ้น ๔ - ๕ วันไป ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งจีวร แล้วเธอไม่มีอันตรายในภายหลัง ไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ พ้น ๔ - ๕ วัน ไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ปัญจกะทุกกฏ

เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งบริขารอย่างอื่น แล้วเธอไม่มีอันตรายใน ภายหลังไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ พ้น ๔ - ๕ วันไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งจีวรก็ดี บริขารอย่างอื่นก็ดี ของอนุปสัมบัน แล้วเธอไม่มีอันตรายในภายหลัง ไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ พ้น ๔ - ๕ วัน ไป ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 260

อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ. อนาปัตติวาร

[๒๓๐] ในเมื่อเหตุจำเป็นมี ๑ แสวงหาแล้วไม่ได้ ๑ ทำอยู่เกิน ๔ - ๕ วัน ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

นัคควรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๓

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า อนนฺตรายิกินี ได้แก่ ผู้ไม่มีอันตราย ด้วยอันตรายแม้ อย่างหนึ่ง ในอันตราย ๑๐ อย่าง.

สองบทว่า ธุรํ นิกฺขิตฺตมตฺเต มีความว่า ภิกษุณีทอดธุระเสียแล้ว ถ้าแม้นภายหลังจึงเย็บ เป็นอาบัติเหมือนกัน. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนาแล.

อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 261

นัคควรรค สิกขาบทที่ ๔

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๒๓๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุ ณีพากันฝากผ้าจีวรไว้ในมือของภิกษุณีทั้งหลาย แล้วมีแต่ผ้าอันตรวาสกกับผ้าอุตราสงค์เที่ยวจาริกไปตามชนบท ผ้าจีวรเหล่านั้นถูกเก็บไว้นาน ก็ขึ้นรา ตกหนาว ภิกษุณีพวกที่รับฝาก จึงผึ่งผ้าจีวรเหล่านั้น ภิกษุณีทั้งหลายได้ถามภิกษุณีพวกที่รับฝากว่า แม่เจ้า ผ้าจีวรเหล่านี้ของใครทุกหนาว.

ภิกษุณีพวกที่รับฝากจึงได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุณีจึงได้ฝากผ้าจีวรไว้ในมือของภิกษุณีทั้งหลายแล้วมี แต่ผ้าอันตรสาวกกับผ้าอุตราสงค์ เที่ยวจาริกไปในชนบทเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีฝากผ้าจีวรไว้ในมือของภิกษุณีทั้งหลาย แล้วมีแต่ผ้าอันตรวาสกกับผ้าอุตราสงค์ เที่ยวจาริกไปในชนบท จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก ภิกษุณีจึงได้ฝากผ้าจีวรไว้ในมือของภิกษุณีทั้งหลาย แล้วมีแต่ผ้าอันตรวาสก กับผ้าอุตราสงค์ เที่ยวจาริกไปในชนบทเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 262

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๗๙. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังวาระผลัดเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิ อัน มีกำหนด ๕ วันให้เกินไป เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๓๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ยังวาระผลัดเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิอันมีกำหนด ๕ วัน ให้ เกินไป อธิบายว่า ไม่นุ่ง ไม่ห่ม ไม่ผึ่งผ้าจีวรทั้ง ๕ ผืน ในวันคำรบห้า ให้เลยวันคำรบห้าไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกะปาจิตตีย์

[๒๓๓] เลย ๕ วัน ภิกษุณีสำคัญว่าเลย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เลย ๕ วัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เลย ๕ วัน ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่เลย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ยังไม่เลย ๕ วัน ภิกษุณีสำคัญว่าเลย ต้องอาบัติทุกกฎ.

ยังไม่เลย ๕ วัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 263

ไม่ต้องอาบัติ

ยังไม่เลย ๕ วัน ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่เลย ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๒๓๔] นุ่ง ห่ม หรือผึ่ง จีวรทั้ง ๕ ผืนในวันคำรบห้า ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

นัคควรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๔

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้:-

วัน ๕ วัน ชื่อ ปัญจาหะ. ปัญจาหะนั้นเอง ชื่อว่า ปัญจาหิกะ วาระผลัดเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิทั้งหลาย ชื่อว่า สังฆาฎิวาระ. การผลัดเปลี่ยนจีวร ๕ ผืน ที่ได้ชื่อว่าสังฆาฎิ โดยอรรถว่า สับเปลี่ยนสลับกันไป ด้วยการบริโภค ใช้สอยบ้าง ด้วยอำนาจการผึ่งแดดบ้าง. เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสไว้ในบทภาชนะว่า ให้จีวร ๕ ผืนล่วงเลยวันคำรบ ๕ ไป.

ก็ในคำว่า อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ มีวินิจฉัยว่า ในจีวรผืนเดียว เป็นอาบัติตัวเดียว ในจีวร ๕ ผืน เป็นอาบัติ ๕ ตัว.

บทว่า อาปทาสุ มีความว่า จีวรมีราคาแพง เป็นขอที่ภิกษุณีไม่ อาจจะบริโภคใช้สอย เพราะอันตรายมีโจรภัยเป็นต้น ในอุปัทวะเห็นปานนี้ ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนกับกฐินสิกขาบท เป็นอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.

อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 264

นัคควรรค สิกขาบทที่ ๕

เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง

[๒๓๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี รูปหนึ่งไปบิณฑบาตกลับมาแล้ว แผ่ผึ่งจีวรที่เปียกชุ่มเหงื่อไว้แล้วเข้าสู่วิหาร ภิกษุณีรูปหนึ่งได้ห่มจีวรผืนที่แผ่ผึ่งไว้นั้นแล้ว เข้าบ้านไปบิณฑบาต ภิกษุณี เจ้าของออกมาถามภิกษุณีทั้งหลายว่า แม่เจ้าทั้งหลายเห็นจีวรของดิฉันบ้าไหม ภิกษุณีทั้งหลายแจ้งความนั้นแก่เธอๆ จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงไม่บอกกล่าวห่มจีวรของเราไปเล่า แล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณี ทั้งหลาย.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ไม่บอกกล่าวห่มจีวรของภิกษุณีเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีไม่บอกกล่าว ห่มจีวรของภิกษุณี จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณี จึงได้ไม่บอกกล่าว ห่มจีวรของภิกษุณีเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 265

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๘๐. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด ใช้จีวรสับเปลี่ยน เป็นปาจิตตีย์. เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๓๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า จีวรสับเปลี่ยน ได้แก่ จีวร ๕ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ของภิกษุณีผู้อุปสัมบัน.

ภิกษุณีนุ่งก็ดี ห่มก็ดี ซึ่งจีวรที่เจ้าของมิได้ให้เธอ หรือไม่บอกกล่าว เจ้าของ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกะปาจิตตีย์

[๒๓๗] ภิกษุณีอุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่า ภิกษุณีอุปสัมบัน ใช้ จีวรสับเปลี่ยน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ภิกษุณีอุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ใช้จีวรสับเปลี่ยน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ภิกษุณีอุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่า ภิกษุณีอนุปสัมบัน ใช้จีวร สับเปลี่ยน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 266

จตุกกะทุกกฏ

ภิกษุณีใช้จีวรสับเปลี่ยนของภิกษุณีอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุณีอนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าภิกษุณีอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุณีอนุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุณีอนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าภิกษุณีอนุปสัมบัน ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๒๓๘] เจ้าของให้ หรือบอกกล่าวเจ้าของก่อน นุ่งก็ดี ห่มก็ดี ซึ่ง จีวรนั้น ๑ ถูกชิงจีวรไป ๑ จีวรหาย ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิ- กัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

นัคควรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๕

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า จีวรสงฺกมนียํ คือ จีวรที่สับเปลี่ยนกัน ความว่า จีวรที่ เป็นของภิกษุณีรูปอื่น อันภิกษุณีไม่บอกกล่าวเจ้าของก่อนถือเอาไปจะต้อง กลับคืนให้.

บทว่า อาปทาสุ มีความว่า ถ้าพวกโจรลักเอาผ้าที่ยังไม่ได้ห่มหรือยัง ไม่ได้นุ่งไป. ในอันตรายเห็นปานนี้ นุ่งห่มไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนกฐินสิกขาบท เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.

อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 267

นัคควรรค สิกขาบทที่ ๖

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

[๒๓๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ตระกูล อุปฐากของภิกษุณีถุลลนันทาว่า แม่เจ้า พวกข้าพเจ้าจักถวายจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์.

ภิกษุณีถุลลนันทาได้ทำการขัดขวางว่า พวกท่านยังมีธุระมาก มีการ งานที่ยังจะต้องทำมาก.

ต่อมาเรือนแห่งตระกูลนั้นถูกไฟไหม้ พวกเขาจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ทำไทยธรรมของพวกเราให้เป็น อันตรายเล่า พวกเราเป็นคนคลาดจากประโยชน์ทั้งสอง คือโภคะและบุญ.

ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้า ถุลลนันทาจึงได้ทำลาภ คือ จีวรของหมู่ให้เป็นอันตรายเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทา ทำลาภ คือ จีวรของหมู่ให้เป็นอันตราย จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ทำลาภ คือ จีวรของหมู่ให้เป็นอันตรายเล่า การกระทำ ของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 268

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๘๑. ๖. อนึ่ง ภิกษุณีใด ทำลาภ คือ จีวรของหมู่ให้เป็น อันตราย เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๔๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น ผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า หมู่ ได้แก่ หมู่ที่เรียกกันว่าภิกษุณีสงฆ์.

ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์ กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัปเป็นอย่างต่ำ.

บทว่า ทำ ... ให้เป็นอันตราย คือ ทำการขัดขวางว่า เขาจะพึง ถวายจีวรนี้ได้ด้วยวิธีไร ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทำการขัดขวางบริขารอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ทำการขัดขวางจีวรหรือบริขารอย่างอื่น ของภิกษุณีหลายรูปก็ดี ของ ภิกษุณีรูปเดียวก็ดี ของอนุปสัมบันก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๒๔๑] แสดงคุณและโทษแล้วห้าม ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

นัคควรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 269

อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๖

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๖ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า อญฺํ ปริกฺขารํ ได้แก่ บริขารชนิดใดชนิดหนึ่ง คือ สิ่งของมีภาชนะเป็นต้น หรือเภสัชมีเนยใสและน้ำมันเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง.

บทว่า อานิสํสํ มีความว่า ภิกษุณีถามว่า พวกท่านมีความประสงค์ จะถวายผ้ามีราคาเท่าไร? พวกทายกตอบว่า มีราคาเท่านี้. ภิกษุณีพูดอย่างนี้ ว่า พวกท่านจงรอไปก่อน เวลานี้ผ้ามีราคาแพงต่อไปอีกสักหน่อย เมื่อฝ้ายมา ถึง จักมีราคาพอสมควร แล้วห้ามไว้ ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ แล.

อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 270

นัคควรรค สิกขาบทที่ ๗

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

[๒๔๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น มี อกาลจีวรบังเกิดแก่ภิกษุณีสงฆ์แล้ว ภิกษุณีสงฆ์จึงประชุมใคร่จะแจกกัน แต่ เวลานั้นพวกภิกษุณีอันเตวาสินีของภิกษุณีถุลลนันทาได้พากันหลีกไป ภิกษุณี ถุลลนันทาได้กล่าวคำนี้กะภิกษุณีทั้งหลายห้ามการแจกจีวรว่า แม่เจ้า ภิกษุณี ทั้งหลายหลีกไปแล้ว จักแจกจีวรกันยังไม่ได้ก่อน ดังนี้.

ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวกันว่า ยังไม่แจกจีวรก่อน แล้วพากันกลับไป เมื่อหมู่ภิกษุณีอันเตวาสินีกลับมาแล้ว ภิกษุณีถุลลนันทาจึงสั่งให้แจกจีวรนั้น.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนเจ้าแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ห้ามการแจกจีวรอันเป็นไปโดยชอบธรรมเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาห้ามการแจกจีวร อันเป็นไปโดยชอบธรรม จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี ถุลลนันทาจึงได้ห้ามการแจกจีวร อันเป็นไปโดยชอบธรรมเล่า การกระทำของ นางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 271

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๘๒. ๗. อนึ่ง ภิกษุณีใด ห้ามการแจกจีวรอันเป็นไปโดย ชอบธรรม เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๔๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

การแจกจีวร ที่ชื่อว่า เป็นไปโดยชอบธรรม คือ ภิกษุณีสงฆ์ ผู้ พร้อมเพรียงประชุมกันแจก.

บทว่า ห้าม คือห้ามว่า การแจกจีวรนี้ด้วยวิธีไร ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

[๒๔๔] การแจกเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นธรรม ห้าม ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

การแจกเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ห้าม ต้องอาบัติทุกกฏ.

การแจกเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นธรรม ห้าม ไม่ต้องอาบัติ.

การแจกไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.

การแจกไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

การแจกไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นธรรม ไม่ต้องอาบัติ.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 272

อนาปัตติวาร

[๒๔๕] แสดงอานิสงส์แล้วห้าม ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ ต้องอาบัติแล.

นัคควรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๗

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๗ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า วิปฺปกฺกมึสุ มีความว่า ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวกันว่า พวก ภิกษุณียังรอการมาของภิกษุณีแม้เหล่าอื่นได้ ก็จักรอพวกเรามาบ้างเป็นแน่ จึงได้พากันไปในที่จำเป็นต้องไปนั้น.

บทว่า ปฎิพาเหยฺย แปลว่า พึงห้ามไว้.

บทว่า อานิสํสํ มีความว่า แสดงอานิสงส์ห้ามอย่างนี้ว่า ผ้าผืน เดียวไม่เพียงพอสำหรับภิกษุณีรูปเดียว พวกท่านจงรอไปก่อน ต่อไปอีกหน่อย ผ้าจักเกิดขึ้น ต่อนั้นเราจักแบ่งกัน ดังนี้ ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.

อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 273

นัคควรรค สิกขาบทที่ ๘

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

[๒๔๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาให้สมณจีวรแก่พวกครูฟ้อนรำบ้าง พวกคนฟ้อนรำบ้าง พวกโดดไม้ สูงบ้าง พวกจำอวดบ้าง พวกเล่นกลองบ้าง ด้วยสั่งว่า พวกท่านจงกล่าวพรรณา คุณของฉันในที่ชุมชน พวกครูฟ้อนรำก็ดี พวกฟ้อนรำก็ดี พวกโดดไม้สูงก็ดี พวกจำอวดก็ดี พวกเล่นกลองก็ดี ย่อมกล่าวพรรณนาคุณของภิกษุณีถุลลนันทา ในที่ชุมชนว่า แม่เจ้าถุลลนันทาเป็นผู้คงแก่เรียน เป็นคนช่างพูด เป็นผู้ องอาจ เป็นผู้สามารถเจรจา ถ้อยคำมีหลักฐาน ท่านทั้งหลายจงถวายแก่แม่เจ้า จงทำแก่แม่เจ้า ดังนี้.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงให้สมณจีวรแก่ชาวบ้านเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาให้สมณจีวรแก่ชาวบ้าน จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี ถุลลนันทาจึงให้สมณจีวรแก่ชาวบ้านเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 274

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๘๓. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้สมณีจีวรแก่ชาวบ้านก็ดี ปริพาชกก็ดี ปริพาชิกาก็ดี เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๔๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น ผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า ชาวบ้าน ได้แก่ บุคคลผู้ยังครองเรือนอยู่.

ที่ชื่อว่า ปริพาชก ได้แก่ บุรุษคนใดคนหนึ่งผู้นับเนื่องในจำพวก นักบวชชาย. เว้นภิกษุและสามเณร.

ที่ชื่อว่า ปริพาชิกา ได้แก่ สตรีคนใดคนหนึ่งผู้นับเนื่องในจำพวก นักบวชหญิง เว้นภิกษุณี สิกขมานา และสามเณรี.

ที่ชื่อว่า สมณจีวร ได้แก่ ผ้าที่เรียกกันว่าทำกัปปะแล้ว ให้ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร

[๒๔๘] ให้แก่มารดาบิดา ๑ ให้ชั่วคราว ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

นัคควรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 275

อรรถกถานัคควรรค สิกขบทที่ ๘

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๘ พึงทราบดังนี้:-

พวกชนผู้ฝึกหัดนักฟ้อนรำ ชื่อว่า ครูนักฟ้อนรำ. เหล่าชนผู้ฟ้อนรำ ชื่อว่า พวกนักฟ้อนรำ. พวกชนผู้ทำการโดดบนราวและบนเชือกเป็นต้น ชื่อว่า พวกโดดไม้สูง. พวกชนผู้แสดงกล ชื่อว่า พวกจำอวด. พวกชนผู้เล่นด้วยกลอง ชื่อว่า พวกเล่นกลอง. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พวกบรรเลงปี่พาทย์ ก็มี.

ในคำว่า เทติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ บัณฑิตพึงทราบว่าเป็น อาบัติหลายตัวตามจำนวนจีวร. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทว่า มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.

อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 276

นัคควรรค สิกขาบทที่ ๙

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

[๒๔๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ตระกูล อุปัฎฐากของภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวคำนี้แก่ภิกษุณีถุลลนันทาว่า แม่เจ้า ถ้า พวกข้าพเจ้าสามารถก็จักถวายจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์ ครั้นภิกษุณีทั้งหลายจำพรรษา แล้วได้ประชุมกันประสงค์จะแจกจีวร ภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวคำนี้กะภิกษุณี เหล่านั้นว่า แม่เจ้า โปรดรอก่อน ภิกษุณีสงฆ์ยังมีหวังจะได้จีวร. ภิกษุณีทั้งหลายได้กล่าวคำนี้แก่ภิกษุณีถุลลนันทาว่า ขอเชิญแม่เจ้าไป สืบดูให้รู้เรื่องจีวรนั้น.

ภิกษุณีถุลลนันทาได้เข้าไปสู่ตระกูลนั้นแล้ว ได้กล่าวคำนี้กะเขาว่า อาวุโสทั้งหลาย จงถวายจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์เถิด.

คนในตระกูลตอบว่า แม่เจ้า พวกข้าพเจ้ายังไม่สามารถจะถวายจีวร แก่ภิกษุณีสงฆ์ได้.

ภิกษุณีถุลลนันทาได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีที่ เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทา จึงได้ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไปด้วยหวังว่าจะได้จีวรอันไม่แน่นอนเล่า ...

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 277

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาได้ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ด้วยหวังว่าจะได้จีวรอัน ไม่แน่นอนจริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ด้วยหวังว่าจะได้จีวรอันไม่ แน่นอนเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๘๔.๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ด้วย หวังว่าจะได้จีวรอันไม่แน่นอน เป็นปาจิตตีย์.

สิกขาบทวิภังค์

[๒๕๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 278

ที่ชื่อว่า หวังว่าจะได้จีวรอันไม่แน่นอน ได้แก่ วาจาที่เขาเปล่ง ออกมาว่า ถ้าพวกข้าพเจ้าสามารถ ก็จักถวาย จักทำ.

ที่ชื่อว่า สมัยจีวรกาล คือ เมื่อกฐินยังไม่ได้กราน มีกำหนดเดือน หนึ่งท้ายฤดูฝน เมื่อได้กรานกฐินแล้ว มีกำหนด ๕ เดือน.

บทว่า ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ความว่า เมื่อไม่ได้กรานกฐิน ยังวันที่กฐินเดาะให้ล่วงไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

[๒๕๑] จีวรไม่แน่นอน ภิกษุณีสำคัญว่าจีวรไม่แน่นอน ยังสมัย จีวรกาลให้ล่วงไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

จีวรไม่แน่นอน ภิกษุณีสงสัย ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

จีวรไม่แน่นอน ภิกษุณีสำคัญว่าแน่นอน ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ไม่ต้องอาบัติ.

จีวรแน่นอน ภิกษุสำคัญว่าจีวรไม่แน่นอน ต้องอาบัติทุกกฏ. จีวรแน่นอน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

จีวรแน่นอน ภิกษุณีสำคัญว่าจีวรแน่นอน ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๒๕๒] แสดงอานิสงส์แล้วห้าม ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ ต้องอาบัติแล.

นัคควรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 279

อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๙

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๙ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า ทุพฺพลจีวรปจฺจาสาย คือ ด้วยความหวังจะได้จีวรอันไม่ แน่นอน.

บทว่า อานิสํสํ มีความว่า ถึงแม้พวกชาวบ้านกล่าวว่า แม่เจ้า พวกข้าพเจ้ายังไม่อาจ ดังนี้ ก็จริง เมื่อภิกษุณีแสดงอานิสงส์ห้ามอย่างนี้ว่า เวลานี้ ฝ้ายจักมาถึงแก่ชาวบ้านนั้น บุรุษผู้มีศรัทธาเลื่อมใส จักมา จักถวาย แน่นอน ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น.

สิขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ แล.

อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 280

นัคควรรค สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องอุบาสกคนหนึ่ง

[๒๕๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น อุบาสกคน หนึ่งให้ช่างสร้างวิหารหลังหนึ่งอุทิศสงฆ์ ในงานฉลองวิหารนั้น เขามีความ ประสงค์จะถวายอกาลจีวรแก่สงฆ์ทั้งสองฝ่าย แต่สมัยนั้น สงฆ์ทั้งสองฝ่ายกราน กฐินแล้วอุบาสกจึงเข้าไปหาสงฆ์แล้วขอการเดาะกฐิน ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต เพื่อเดาะกฐิน แต่พึงเดาะอย่างนี้.

อันภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงเดาะกฐิน นี่เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ย่อมเดาะกฐิน การ เดาะกฐิน ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

กฐินอันสงฆ์เดาะแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า ทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 281

[๒๕๔] ครั้นแล้ว อุบาสกนั้นเข้าไปหาภิกษุณีสงฆ์ขอเดาะกฐิน ภิกษุณีถุลลนันทาห้ามการเดาะกฐินว่า จีวรจักมีแก่พวกข้าพเจ้า อุบาสกนั้น จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงไม่ให้การเดาะกฐิน แก่พวกเราเล่า.

ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินอุบาสกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้า ถุลลนันทา จึงได้ห้ามการเดาะกฐินอันเป็นไปแล้วโดยธรรมเล่า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาห้ามการเดาะกฐินอันเป็นไปแล้วโดยธรรม จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ห้ามการเดาะกฐินอันเป็นไปแล้วโดยธรรมเล่า การ กระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๘๕. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด ห้ามการเดาะกฐินอันเป็นไปแล้ว โดยธรรมเป็นปาจิตตีย์.

เรื่องอุบาสกคนหนึ่ง จบ

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 282

สิกขาบทวิภังค์

[๒๕๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

การเดาะกฐินที่ชื่อว่า เป็นไปแล้วโดยธรรม คือ ภิกษุณีสงฆ์พร้อม เพรียงประชุมกันเดาะ.

บทว่า ห้าม คือ ห้ามว่า กฐินนี้จะเดาะได้ด้วยวิธีไร ดังนี้ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

[๒๕๖] การเดาะเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นธรรม ห้าม ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

การเดาะเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

การเดาะเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นธรรม ไม่ต้องอาบัติ.

การเดาะไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.

การเดาะไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

การเดาะไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นธรรม ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๒๕๗] แสดงอานิสงส์แล้วห้าม ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ ต้องอาบัติแล.

นัคควรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

นัคควรรคที่ ๓ จบ

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 283

อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๑๐

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๐ พึงทราบดังนี้:-

ในคำว่า กินุทฺธารํ น ทสฺสนฺติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- การเดาะ กฐินเช่นไรสงฆ์ควรให้ เช่นไรไม่ควรให้ คือ การเดาะกฐิน เช่นอย่างที่มี อานิสงส์มาก มีการกรานเป็นมูล มีอานิสงส์น้อย มีการเดาะเป็นมูล ไม่ควร ให้. แต่การเดาะกฐินเช่นอย่างที่มีอานิสงส์น้อย มีการกรานเป็นมูล มีอานิ- สงส์มาก มีการเดาะเป็นมูล ควรให้. การเดาะกฐินแม้มีอานิสงส์เท่าๆ กัน. สงฆ์ก็ควรให้ทีเดียว เพื่อรักษาศรัทธาไว้.

บทว่า อานิสํสํ มีความว่า ภิกษุณีแสดงอานิสงส์เห็นปานนี้ว่า ภิกษุณีสงฆ์มีจีวรเก่า มีลาภมาก ซึ่งมีอานิสงส์แห่งกฐินเป็นมูล แล้วห้ามเสีย ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลก วัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ แล.

อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

อรรถกถานัคควรรคที่ ๓ จบ