พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ตุวัฏฏวรรคที่ ๔ - ปาจิตติยกัณฑ์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  12 มี.ค. 2565
หมายเลข  42795
อ่าน  337

[เล่มที่ 5] พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓

พระวินัยปิฎก เล่ม ๓

ภิกขุนีวิภังค์

ปาจิตติยกัณฑ์

ตุวัฏฏวรรคที่ ๔

สิกขาบทที่ ๑ 258/284

พระบัญญัติ ๘๖.๑ 285

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๑ 286

สิกขาบทที่ ๒ 261/286

พระบัญญัติ ๘๗.๒ 288

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๒ 289

สิกขาบทที่ ๓ 265/290

พระบัญญัติ ๘๘.๓ 291

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๓ 293

สิกขาบทที่ ๔ 269/294

พระบัญญัติ ๘๙.๔ 295

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๔ 296

สิกขาบทที่ ๕ 272/297

พระบัญญัติ ๙๐.๕ 298

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๕ 301

สิกขาบทที่ ๖ 276/302

พระบัญญัติ ๙๑.๖ 303

กรรมวาจาสมนุภาส 304

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๖ 306

สิกขาบทที่ ๗ 283/307

พระบัญญัติ ๙๒.๗ 308

สิกขาบทที่ ๘ 286/309

พระบัญญัติ ๙๓.๘ 310

สิกขาบทที่ ๙ 289/311

พระบัญญัติ ๙๔.๙ 312

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๗, ๘ และ ๙ 313

สิกขาบทที่ ๑๐ 292/314

พระบัญญัติ ๙๕.๑๐ 315

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๑๐ 316


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 5]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 284

ตุวัฏฏวรรคที่ ๔

สิกขาบทที่ ๑

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๒๕๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี สองรูปจำวัดร่วมเตียงกัน คนทั้งหลายเที่ยวเดินชมวิหาร พบเห็นแล้วพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้นอนร่วมเตียงกัน สองรูป เหมือนหญิงชาวบ้านเล่า.

ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี ทั้งหลาย จึงได้จำวัดบนเตียงเดียวกันสองรูปเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีจำวัดร่วมเตียงกันสองรูป จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก ภิกษุณีจึงได้จำวัดร่วมเตียงเดียวกันสองรูปเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 285

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๘๖. ๑. อนึ่ง เหล่าภิกษุณีใด สองรูปนอนในเตียงเดียวกัน เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๕๙] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

ที่ชื่อว่า เหล่าภิกษุณี ได้แก่ เหล่าสตรีทีเรียกกันว่า ภิกษุณีอุปสัมบัน.

พากย์ว่า สองรูปนอนในเตียงเดียวกัน คือ เมื่อรูปหนึ่งนอนแล้ว อีกรูปหนึ่งจึงนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือนอนทั้งสองรูป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ลุกขึ้นแล้วนอนต่ออีก ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร

[๒๖๐] รูปหนึ่งนอน อีกรูปหนึ่งนั่ง หรือนั่งทั้งคู่ ๑ วิกลจริตทั้งคู่ ๑ อาทิกัมมิกาทั้งคู่ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 286

ตุวัฏฏวรรคที่ ๔

อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑ แห่งตุวัฏฏวรรค พึงทราบดังนี้:-

บทว่า ตุวฏฺเฎยฺย แปลว่า พึงนอน. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.

ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 287

ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๒

เรื่องภิกษุณี ๒ รูป

[๒๖๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
สองรูปจำวัดมีผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกัน คนทั้งหลายเที่ยวชมวิหารพบเห็น
แล้วพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีสองรูปจึงได้จำวัดมี
ผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกันดุจหญิงชาวบ้านเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
สองรูปจึงได้จำวัดมีผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกันเล่า . . .

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ข่าวว่าภิกษุณีสองรูปนอนมีผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกัน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีสองรูป จึงได้นอนมีผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกันเล่า การกระทำของ
พวกนางนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง
นี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 288

พระบัญญัติ

๘๗. ๒. อนึ่ง เหล่าภิกษุณีใด สองรูป มีผ้าลาดและผ้าห่มผืน เดียวกันนอน เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณี ๒ รูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๖๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

ที่ชื่อว่า เหล่าภิกษุณี ได้แก่ เหล่าภิกษุณีที่เรียกกันว่าภิกษุณีอุปสัมบัน.

พากย์ว่า สองรูปมีผ้าลาดและผ้าห่มผินเดียวกันนอน นั้น คือ ลาดก็ผืนนั้น ห่มก็ผืนนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกะปาจิตตีย์

[๒๖๓] ผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกันภิกษุณีสำคัญว่า ผ้าลาดและ ผ้าห่มผืนเดียวกันนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกัน ภิกษุณีสงสัย นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกัน ภิกษุณีสำคัญว่า ผ้าลาดและผ้าห่มต่าง ผืนกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

จตุกกะทุกกฏ

ผ้าลาดผืนเดียวกัน ผ้าห่มต่างผืน๑ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ผ้าลาดต่างผืน ผ้าห่มผืนเดียวกัน๒ ต้องอาบัติทุกกฏ.


๑. ยุ ม. ผ้าลาดผืนเดียวกัน สำคัญว่าเป็นผ้าห่มต่างผืนกัน

๒. ยุ ม. ผ้าลาดต่างผืน สำคัญว่าเป็นผ้าห่มผืนเดียวกัน.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 289

ผ้าลาดและผ้าห่มต่างผืนกัน สำคัญว่าผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ผ้าลาดและผ้าห่มต่างผืนกัน สงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ผ้าลาดและผ้าห่มต่างผืนกัน สำคัญว่าผ้าลาดและผ้าห่มต่างผืนกัน ไม่ ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๒๖๔] ดูผ้าแล้วนอน๑ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติ แล.

ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๒

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๒ พึงทราบดังนี้:-

ผ้าปูที่นอนและผ้าห่มของภิกษุณี ๒ รูปนี้ ผืนเดียวกัน; เพราะฉะนั้น เธอทั้ง ๒ จึงชื่อว่า ผู้มีผ้าปูนอนและผ้าห่มผืนเดียวกัน. คำว่า เอกตฺถรณปาปุรณา นี้ เป็นชื่อแห่งภิกษุณีทั้ง ๒ ผู้ปูชายข้างหนึ่งแห่งผ้าปาวารผ้าปูนอน และเสื่อลำแพนเป็นต้นอันเคลื่อนที่ได้ แล้วนอนห่มชายข้างหนึ่ง.

สองบทว่า ววฏฺฐานํ ทสฺเสตฺวา มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุณี ทั้ง ๒ รูปผู้นอนวางผ้ากาสายะ หรือไม้เท้าคนแก่ ชั้นที่สุดแม้ประคดเอวไว้ ในท่ามกลาง. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.

อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ


๑. ยุ วัตถุอันเป็นเครื่องกำหนด.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 290

ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๓

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

[๒๖๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ถุลลนันทาเป็นคนคงแก่เรียน เป็นคนช่างพูด เป็นคนองอาจ สามารถกล่าว ถ้อยคำมีหลักฐาน แม้ภิกษุณีภัททากาปิลานีก็เป็นคนคงแก่เรียน เป็นคนช่างพูด เป็นคนองอาจสามารถกล่าวถ้อยคำมีหลักฐาน เป็นผู้ได้รับการสรรเสริญว่าเป็น เยี่ยมกว่า จึงพากันเข้าไปหาภิกษุณีภัททากาปิลานีก่อน แล้วจึงเข้าไปหาภิกษุณี ถุลลนันทาต่อภายหลัง ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นคนมักริษยา รู้ได้ดีว่า ธรรมดา ภิกษุณีผู้สาละวนอยู่ด้วยการอภิปรายที่จะให้คนอื่นรู้เข้าใจเนื้อความแจ่มแจ้ง ย่อมเป็นผู้มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ดังนั้น จึงจงกรม บ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง สำเร็จการนอนบ้าง บรรยายเองบ้าง ให้ผู้อื่นบรรยาย บ้าง ท่องบ่นบ้าง เบื้องหน้าภิกษุณีภัททากาปิลานี.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนนาทะว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้แกล้งก่อความไม่สำราญให้แก่แม่เจ้าภัททา กาปิลานีเล่า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาแกล้งก่อความไม่สำราญให้แก่ภิกษุณีภัททากาปิลานี จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 291

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้แกล้งก่อความไม่สำราญให้แก่ภิกษุณีภัททากาปิลานีเล่า การ กระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๘๘. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด แกล้งก่อความไม่สำราญให้แก่ ภิกษุณี เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๖๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า แก่ภิกษุณี คือ แก่ภิกษุณีรูปอื่น.

บทว่า แกล้ง คือ รู้ รู้ดี จงใจ ตั้งใจละเมิด.

บทว่า ก่อความไม่สำราญให้ คือ คิดว่าด้วยวิธีนี้ความไม่ผาสุก จักมีแก่ภิกษุณีรูปนี้ แล้วไม่ขอโอกาส จงกรมก็ดี ยืนก็ดี นั่งก็ดี สำเร็จการ นอนก็ดี บรรยายเองก็ดี ให้ผู้อื่นบรรยายก็ดี ท่องบ่นก็ดี ในเบื้องหน้า ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 292

บทภาชนีย์

ติกะปาจิตตีย์

[๒๖๗] อุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบันภิกษุณีแกล้ง ก่อความไม่สำราญให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสงสัย แกล้งก่อความไม่สำราญให้ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบันภิกษุณี แกล้งก่อความไม่ สำราญให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกะทุกกฏ

อนุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบันภิกษุณี ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบันภิกษุณี ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๒๖๘] ไม่ประสงค์จะก่อความไม่สำราญให้ ขอโอกาสแล้ว จึงจงกรม ก็ดี ยืนก็ดี นั่งก็ดี สำเร็จการนอนก็ดี บรรยายเองก็ดี ให้ผู้อื่นบรรยายก็ดี ท่องบ่นก็ดี ในเบื้องหน้า ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 293

อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๓

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า อุฬารสมฺภาวิตา มีความว่า อันคนทั้งหลายยกย่องว่าเป็น ผู้เยี่ยมกว่า เพราะเป็นผู้บวชจากตระกูลสูง และเพราะเป็นผู้เยี่ยมกว่าโดยคุณ ทั้งหลาย.

บทว่า อิสฺสาปกตา มีความว่า ผู้ถูกความริษยาย่ำยี คือครอบงำแล้ว. ภิกษุณีเหล่านี้ มีการอภิปรายมากมาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ สาละวนอยู่ด้วยการอภิปรายให้คนอื่นเข้าใจ. อธิบายว่า ชี้แจงให้มหาชนเข้าใจ ตลอดทั้งวัน.

ภิกษุณีเหล่านี้ มีการชี้แจงอรรถให้แจ่มแจ้งมากมาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้สาละวนอยู่ด้วยการชี้แจงอรรถให้แจ่มแจ้ง.

พึงทราบว่า วิญฺิตติ ได้แก่ การชี้แจงอรรถให้แจ่มแจ้ง โดยนัย ต่างๆ มีเหตุและอุทาหรณ์เป็นต้น. ไม่พึงเข้าใจว่า การออกปากขอ. พึงทราบ ว่า เป็นอาบัติมากตัว โดยนับการเดินกลับไปมา ในการจงกรม ในคำว่า ติฏฺติ วา เป็นต้น พึงทราบว่า เป็นอาบัติมากตัว โดย นับประโยค.

ในคำว่า อุทฺทิสติ วา เป็นต้น พึงทราบว่า เป็นอาบัติมากตัว โดย การนับบทเป็นต้น คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.

อรรถกถาตุวีฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 294

ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๔

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

[๒๖๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ถุลลนันทาไม่ช่วยเหลือสหชีวินีผู้ได้รับความลำบาก ทั้งไม่ขวนขวายให้ผู้อื่น ช่วยเหลือ.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงไม่ช่วยเหลือสหชีวินีผู้ได้รับความลำบาก ทั้งไม่ขวน ขวายให้ผู้อื่นช่วยเหลือเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาไม่ช่วยเหลือสหชีวินีผู้ได้รับความลำบาก ทั้งไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นช่วยเหลือ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทา จึงได้ไม่ช่วยเหลือสหชีวินีผู้ได้รับความลำบาก ทั้งไม่ขวน ขวายให้ผู้อื่นช่วยเหลือเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 295

พระบัญญัติ

๘๙. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่ช่วยเหลือ ไม่ขวนขวายเพื่อให้ ผู้อื่นช่วยเหลือ ซึ่งสหชีวินีผู้ได้รับความลำบาก เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๗๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า ผู้ได้รับความลำบาก ได้แก่ ที่เรียกกันว่าผู้ป่วยใข้.

ที่ชื่อว่า สหชีวินี ได้แก่ ภิกษุณีที่เรียกกันว่าสัทธิวิหารินี.

บทว่า ไม่ช่วยเหลือ คือ ไม่ดูแลด้วยตนเอง.

บทว่า ไม่ขวนขวายเพื่อให้ผู้อื่นช่วยเหลือ คือ ไม่ใช้ผู้อื่น.

พอทอดธุระว่าจักไม่ช่วยเหลือ จักไม่ขวนขวายเพื่อให้ผู้อื่นช่วยเหลือ ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ไม่ช่วยเหลือ ไม่ขวนขวายเพื่อให้ผู้อื่นช่วยเหลือ ซึ่งอันเตวาสินีก็ดี อนุปสัมบันก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๒๗๑] ในเมื่ออันตรายมี ๑ แสวงหาแล้วไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มีเหตุ ขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 296

อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๔

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า สติ อนฺตราเย คือ เมื่อมีอันตราย ๑๐ อย่าง.

สองบทว่า ปริเยสิตฺวา น ลภติ คือ ไม่ได้ภิกษุณีอื่นผู้ช่วยเหลือ.

บทว่า คิลานาย คือ อาพาธเสียเอง.

บทว่า อาปทาสุ ได้แก่ เมื่อมีอันตรายเห็นปานนั้น ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.

อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 297

ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๕

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

[๒๗๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ภัททากาปิลานีจำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกต เธอมีกิจจำเป็นบางอย่าง จึงสื่อสาร ไปในสำนักภิกษุณีถุลลนันทาว่า ถ้าแม่เจ้าถุลลนันทาให้ห้องพักแก่ดิฉันๆ จะ ไปกรุงสาวัตถี.

ภิกษุณีถุลลนันทาตอบไปอย่างนี้ว่า มาเถิด ดิฉันจักให้.

ดังนั้นภิกษุณีภัททากาปิลานีจึงเดินทางจากเมืองสาเกต ไปถึงกรุง สาวัตถี ภิกษุณีถุลลนันทา ก็ได้ให้ห้องพักแก่นาง.

ก็สมัยนั้นแล ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นพหูสูต เป็นคนช่างพูด เป็นคน องอาจ สามารถเจรจาถ้อยคำมีหลักฐาน แม้ภิกษุณีภัททากาปิลานีก็เป็นพหูสูต เป็นคนช่างพูด เป็นคนองอาจ สามารถเจรจาถ้อยคำมีหลักฐาน ทั้งได้รับการ สรรเสริญยิ่งกว่า คนทั้งหลายลงความเห็นกันว่า แม่เจ้าภัททากาปิลานีเป็น พหูสูต เป็นคนช่างพูด องอาจ สามารถเจรจาถ้อยคำมีหลักฐาน มีคนนิยม ยิ่งกว่า จึงพากันเข้าไปหาเธอก่อน แล้วจึงพากันไปหาภิกษุณีถุลลนันทาภาย หลัง ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นคนมักริษยา รู้ได้ดีว่า ธรรมดาภิกษุณีผู้สาละวน อยู่ด้วยการอภิปรายที่จะให้คนอื่นรู้ เข้าใจเนื้อความแจ่มแจ้งเหล่านั้น ย่อมเป็น ผู้มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ดังนี้ จึงโกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าภิกษุณีภัททากาปิลานีออกจากห้องพัก.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 298

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาให้ที่พักแก่แม่เจ้าภัททากาปิลานีแล้ว จึงได้โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าเธอออกไปเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาให้ที่พักแก่ภิกษุณีภัททากาปิลานีแล้ว โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าเธอออกไป จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทาให้ที่พักแก่ภิกษุณีภัททากาปิลานีแล้ว จึงได้โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าเธอออกไปเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๙๐. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้ห้องพักแก่ภิกษุณีแล้ว โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 299

สิกขาบทวิภังค์

[๒๗๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า แก่ภิกษุณี คือภิกษุณีรูปอื่น.

ที่ชื่อว่า ห้องพัก ได้แก่ อาคารที่เรียกว่าติดบานประตู.

บทว่า ให้ คือให้ด้วยตนเอง.

บทว่า โกรธ ขัดใจ คือ ไม่พอใจ แค้นใจ เจ็บใจ.

บทว่า ฉุดคร่าเอง ความว่า จับในห้องแล้วคร่าออกมาหน้ามุข ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ จับที่หน้ามุขแล้วคร่าออกมาข้างนอก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ จับ ฉุดมาครั้งเดียวให้ก้าวพ้นประตูแม้มาก ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า ให้ฉุดคร่า คือ สั่งผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ สั่งครั้งเดียว ผู้รับสั่งให้ก้าวพ้นประตูแม้มาก ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกะปาจิตตีย์

[๒๗๔] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน ให้ห้องพัก แล้ว โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าเองก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ให้ห้องพักแล้ว โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่า เองก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน ให้ห้องพักแล้ว โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าเองก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 300

อัฏฐกะทุกกฏ

ขนเองก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของเขา ต้องอาบัติทุกกฏ.

ฉุดคร่าเองก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี จากสถานที่ไม่มีบานประตู ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

ขนเองก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของเขา ต้องอาบัติทุกกฏ.

ฉุดคร่าเองก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ซึ่งอนุปสัมบัน จากสถานที่มีบานประตู หรือจากสถานที่ไม่มีบานประตู ต้องอาบัติทุกกฏ.

ขนเองก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของเขา ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๒๗๕] ฉุดคร่าเองหรือใช้ผู้อื่นฉุดคร่าซึ่งภิกษุณีอลัชชี ขนเองหรือ ใช้ผู้อื่นขนซึ่งบริขารของเขา ๑ ฉุดคร่าเองหรือใช้ผู้อื่นฉุดคร่าซึ่งภิกษุณีวิกลจริต ขนเองหรือใช้ผู้อื่นขนซึ่งบริขารของเขา ๑ ... ซึ่งภิกษุณีผู้ก่อความ บาดหมาง ... ๑ ... ซึ่งภิกษุณีผู้ก่อการทะเลาะ ... ๑ ... ซึ่งภิกษุณีผู้ก่อการ วิวาท ... ๑ ... ซึ่งภิกษุณีผู้ก่อการอื้อฉาว ... ๑ ... ซึ่งภิกษุณีผู้ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์ ... ๑ ... ซึ่งอันเตวาสินีหรือสัทธิวิหารินีผู้ประพฤติไม่ชอบ ... ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 301

อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๕

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้ :-

ในคำว่า อญฺญํ อาณาเปติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ถ้าภิกษุณีผู้ได้ รับสั่งว่า เธอจงฉุดออกไป ฉุดคร่าให้เลยประตูแม้มากออกไป โดยประโยค เดียว ก็เป็นอาบัติตัวเดียว. ถ้าได้รับสั่งอย่างนี้ว่า จงฉุดให้เลยประตูนี้และนี้ ออกไป ฉุดให้เลยออกไป เป็นอาบัติหลายตัว โดยการนับประตู คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.

อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 302

ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๖

เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี

[๒๗๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี จัณฑกาลีอยู่คลุกคลีกับคหบดีบ้าง กับบุตรคหบดีบ้าง บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้ มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าจัณฑกาลี จึง ได้อยู่คลุกคลีกับคหบดีบ้าง กับบุตรคหบดีบ้างเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีจัณฑกาลี อยู่คลุกคลีกับคหบดีบ้าง กับบุตรคหบดีบ้าง จริง หรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีจัณฑกาลี จึงได้อยู่คลุกคลีกับคหบดีบ้าง กับบุตรคหบดีบ้างเล่า การ กระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 303

พระบัญญัติ

๙๑. ๖. อนึ่ง ภิกษุณี อยู่คลุกคลีกับคหบดีก็ดี กับบุตร คหบดีก็ดี ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า อย่าได้อยู่คลุกคลีกับคหบดีหรือบุตรคหบดี แม่เจ้าขอจงแยกออก สงฆ์ย่อมสรรเสริญความแยกออกอย่างเดียวแก่พี่น้องหญิง แลภิกษุณี นั้น อันภิกษุณีทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนี้เที่ยว ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลาย พึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบ ๓ จบ เพื่อให้สละการกระทำนั้น หากเธอถูกสวดสมนุกาสกว่าจะครบ ๓ จบ อยู่ สละการกระทำนั้นได้ การสละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หาก ไม่สละ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ

สิกขาบทวิภงค์

[๒๗๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า คลุกคลี คือ คลุกคลีด้วยการคลุกคลีทางกายและทางวาจา อันไม่สมควร.

ที่ชื่อว่า คหบดี ได้แก่ บุรุษผู้ครองเรือนคนใดคนหนึ่ง.

ที่ชื่อว่า บุตรคหบดี ได้แก่ บุตรหรือพี่น้องชายคนใดคนหนึ่ง.

[๒๗๘] บทว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีรูปที่คลุกคลี.

บทว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุณีพวกอื่น.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 304

ภิกษุณีผู้คลุกคลีนั้น อันภิกษุณีผู้ที่ได้เห็นได้ทราบ พึงว่ากล่าวดังนี้ แม่เจ้าอย่าอยู่คลุกคลีกับคหบดีหรือกับบุตรคหบดี แม่เจ้าขอจงปลีกตัวออก สงฆ์ย่อมสรรเสริญความปลีกตัวออกอย่างเดียวแก่พี่น้องหญิง พึงว่ากล่าวแม้ ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากสละได้ การสละได้อย่างนี้ นั่นเป็น การดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุณีผู้ทราบเรื่องแล้วไม่ว่ากล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงคุมตัวไป ณ ท่ามกลางสงฆ์ แล้วว่า กล่าว ดังนี้ แม่เจ้าอย่าอยู่คลุกคลีกับคหบดีหรือกับบุตรคหบดี ขอจงปลีกตัว อยู่ต่างหาก สงฆ์ย่อมสรรเสริญความแยกออกอย่างเดียวแก่พี่น้องหญิง พึงว่า กล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากสละได้ การสละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ.

วิธีสวดสมนุภาส

[๒๗๙] ภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาส ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ก็แลสมนุภาสนั้นพึงสวดอย่างนี้.

อันภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติ จตุตถกรรมวาจาว่าดังนี้:-

กรรมวาจาสมนุภาส

แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ อยู่คลุกคลี กับคหบดีบ้าง กับบุตรคหบดีบ้าง เธอยังไม่สละวัตถุนั้น ถ้าความ พรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น นี่เป็นญัตติ.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 305

แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ อยู่คลุกคลี กับคหบดีบ้าง กับบุตรคหบดีบ้าง เธอยังไม่สละวัตถุนั้น สงฆ์สวด สมนุภาสภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น การสวดสมนุภาสภิกษุณี มีชื่อนี้เพื่อให้สละวัตถุนั้น ชอบแก่แม่เจ้ารูปใด แม่เจ้ารูปนั้นพึง เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้ารูปใด แม่เจ้ารูปนั้นพึงพูด.

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ...

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ...

ภิกษุณีมีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว เพื่อให้สละวัตถุ นั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

[๒๘๐] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้อง อาบัติทุกกฏสองตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกะปาจิตตีย์

[๒๘๑] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

ติกะทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 306

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๒๘๒] ไม่ถูกสวดสมนุภาส ๑ สละได้ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๖

ในสิกขาบทที่ ๖ บททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้ มีการสวด สมนุภาสเป็นสมุฏฐาน เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.

อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 307

ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๗

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๒๘๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ทั้งหลายไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อน พากันเที่ยวจาริกไปในสถานที่ซึ่งรู้กันอยู่ว่า มีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า ณ ภายในรัฐ เหล่านักเลงพากันประทุษร้าย.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า. ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อน เที่ยวจาริกไปในสถานที่ ซึ่งรู้กันอยู่ว่ารังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า ณ ภายในรัฐเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลายไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อน เที่ยวจาริกไปในสถานที่ซึ่งรู้ กันอยู่ว่ามีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า ณ ภายในรัฐ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน พวกภิกษุณีจึงได้ไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อน เที่ยวจาริกไปในสถานที่ซึ่งรู้กันอยู่ ว่ามีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า ณ ภายในรัฐเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้;

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 308

พระบัญญัติ

๙๒. ๗. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อน เที่ยว จาริกไปในสถานที่ซึ่งรู้กันอยู่ว่ามีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า ณ ภายใน รัฐ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๘๔] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ณ ภายในรัฐ คือ ในบ้านเมืองของพระเจ้าแผ่นดินที่ตนอยู่

ที่ชื่อว่า มีรังเกียจ คือ มีสถานที่พวกโจรซ่องสุม บริโภค ยืน นั่ง นอน ปรากฏอยู่ในหนทางนั้น.

ที่ชื่อว่า มีภัยเฉพาะหน้า คือ มีคนถูกพวกโจรฆ่า ปล้น ทุบตี ปรากฏอยู่ในหนทางนั้น.

ที่ชื่อว่า ไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อน คือ เว้นพวกเกวียน

บทว่า เที่ยวจาริกไป คือ ในหมู่บ้าน กำหนดระยะชั่วไก่บินตก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ ระยะบ้าน ในป่าที่ไม่มีบ้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ ระยะกึ่งโยชน์.

อนาปัตติวาร

[๒๘๕] ไปกับพวกเกวียน ๑ ไปในสถานที่ปลอดภัย คือ ไม่มีภัยเกิด ขึ้นเฉพาะหน้า ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 309

ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๘

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๒๘๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ทั้งหลายไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อนพากันเที่ยวจาริกไปในสถานที่ซึ่งรู้กันอยู่ว่ามี รังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า ภายนอกรัฐ ถูกพวกนักเลงประทุษร้าย

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อน เที่ยวจาริกไปในสถานที่ซึ่งรู้กันอยู่ว่า มีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า ภายนอกรัฐเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อน เที่ยวจาริกไปในสถานที่ซึ่งรู้กัน อยู่ว่ามีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า ภายนอกรัฐ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก ภิกษุณีจึงได้ไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อน เที่ยวจาริกไปในสถานที่ซึ่งรู้กันอยู่ว่ามี รังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้าภายนอกรัฐเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็น ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง นี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 310

พระบัญญัติ

๙๓. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อน เที่ยว จาริกไปในสถานที่ซึ่งรู้กันอยู่ว่ามีรังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า ภายนอก รัฐ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๘๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ภายนอกรัฐ คือ ในบ้านเมืองของพระเจ้าแผ่นดินอื่น นอก รัฐที่ตนอยู่.

ที่ชื่อว่า มีรังเกียจ คือ มีสถานที่พวกโจรซ่องสุม บริโภค ยืน นั่ง นอน ปรากฏอยู่ในหนทางนั้น.

ที่ชื่อว่า มีภัยเฉพาะหน้า คือ มีคนถูกพวกโจรฆ่า ปล้น ทุบตี ปรากฏอยู่ในหนทางนั้น.

ที่ชื่อว่า ไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อน คือ เว้นพวกเกวียน.

บทว่า เที่ยวจาริกไป คือ ในหมู่บ้าน กำหนดระยะชั่วไก่บินตก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ ระยะบ้าน ในป่าที่ไม่มีบ้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ ระยะกึ่งโยชน์.

อนาปัติวาร

[๒๘๘] ไปกับพวกเกวียน ๑ ไปในสถานที่ปลอดภัย คือไม่มีภัยเกิด ขึ้นเฉพาะหน้า ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 311

ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๙

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๒๘๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายพากันเที่ยวจาริกไปในภายในพรรษา คน ทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุณีจึงได้เที่ยว จาริกไปในภายในพรรษา เหยียบย่ำหญ้าเขียวสด เบียดเบียนอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีชีวะ ทำสัตว์เล็กๆ เป็นจำนวนมาก ให้ประสพการประหาร.

ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี ทั้งหลายจึงได้เที่ยวจาริกไปในภายในพรรษาเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุณีเที่ยวจาริกไปในภายในพรรษา จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน พวกภิกษุณีจึงได้เที่ยวจาริกไปในภายในพรรษาเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 312

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง นี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๙๔. ๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด เที่ยวจาริกไปในภายในพรรษา เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๑๒๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ในภายในพรรษา คือ ไม่อยู่ตลอดไตรมาสต้น หรือ ไตรมาสหลัง.

บทว่า เที่ยวจาริกไป คือ ในหมู่บ้าน กำหนดระยะชั่วไก่บินตก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ ระยะบ้าน ในป่าไม่มีบ้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ ระยะกึ่งโยชน์

อนาปัตติวาร

[๒๙๑] ไปด้วยสัตตาหกรณียะ ๑ ถูกใครๆ รบกวนจึงไป ๑ มี อันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 313

อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๗ - ๘ - ๙

ในสิกขาบทที่ ๗ - ๘ - ๙ ทุกๆ บท ตื้นทั้งนั้น. ทุกๆ สิกขาบท มี สมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.

อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๗ - ๘ - ๙ จบ

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 314

ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๒๙๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายอยู่ในพระนครราชคฤห์นั้นนั่นแหละ ตลอด ฤดูฝน ตลอดฤดูหนาว ตลอดฤดูร้อน คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ทิศทั้งหลายคับแคบเป็นดุจมืดมนแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ทิศทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่ภิกษุณีเหล่านี้ ดังนี้.

ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงเล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ ภิกษุณีทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดี แห่งสงฆ์ ๑ ... เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง นี้ ว่าดังนี้ :-

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 315

พระบัญญัติ

๙๕. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด อยู่จำตลอดฤดูฝนแล้ว ไม่หลีก ไปสู่จาริก โดยที่สุดแม้สิ้นหนทาง ๕ - ๖ โยชน์ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๒๙๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า อยู่จำตลอดฤดูฝนแล้ว คือ อยู่จำตลอดฤดูฝนสามเดือน ต้น หรือสามเดือนหลังแล้ว พอทอดธุระว่าจักไม่หลีกไปสู่จาริก สิ้นหนทาง อย่างต่ำ ๕- ๖ โยชน์ ดังนี้เท่านั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร

[๒๙๔] ในเมื่ออันตรายมี ๑ แสวงหาภิกษุณีเป็นเพื่อนแล้วไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

ตุวัฏฏวรรคที่ ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 316

อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๐ พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า อาหุนฺทริกา แปลว่า คับแคบ.

สองบทว่า ธุรํ นิกฺขิตฺตมตฺเต มีความว่า ถ้าแม้นว่า ภิกษุณี ทอดธุระแล้ว ภายหลังจึงหลีกไป เป็นอาบัติเหมือนกัน. แม้เมื่อปวารณาแล้ว ไปสิ้น ๕ โยชน์ ไม่เป็นอาบัติ. ใน ๖ โยชน์ ไม่มีคำที่จะพึงกล่าวถึงเลย. ก็ถ้าว่า ภิกษุณีไปได้ ๓ โยชน์ แล้วย้อนกลับมาโดยทางเดิมนั่นแล ไม่ควร. จะมาโดยทางอื่น ควรอยู่.

บทว่า อนฺตราเย คือ มีอันตราย ๑๐ อย่าง. ภิกษุณีออกไปด้วย คิดว่า เราจักไปละ แต่ห้วงน้ำหลากมาเต็มแม่น้ำ หรือมีพวกโจรดักซุ่มอยู่ ใกล้ทาง หรือเมฆตั้งเค้ามา จะกลับมา ก็ควร. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปฐมปาราชก เป็นอกิริยา สญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.

อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

อรรถกถาตุวัฏฏวรรค ที่ ๔ จบ