พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อารามวรรคที่ ๖ - ปาจิตติยกัณฑ์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  12 มี.ค. 2565
หมายเลข  42797
อ่าน  399

[เล่มที่ 5] พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓

พระวินัยปิฎก เล่ม ๓

ภิกขุนีวิภังค์

ปาจิตติยกัณฑ์

อารามวรรคที่ ๖

สิกขาบทที่ ๑ 328/350

พระบัญญัติ ๑๐๖.๑. 351

พระอนุบัญญัติ ๑. ๑๐๖.๑. ก. 352

พระอนุบัญญัติ ๒. ๑๐๖.๑. ข. 352

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๑ 354

สิกขาบทที่ ๒ 334/355

พระบัญญัติ ๑๐๗.๒. 356

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๒ 358

สิกขาบทที่ ๓ 338/359

พระบัญญัติ ๑๐๘.๓. 360

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๓ 361

สิกขาบทที่ ๔ 342/362

พระบัญญัติ ๑๐๙.๔. 363

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๔ 365

สิกขาบทที่ ๕ 346/366

พระบัญญัติ ๑๑๐.๕. 367

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๕ 368

สิกขาบทที่ ๖ 349/369

พระบัญญัติ ๑๑๑.๖. 370

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๖ 371

สิกขาบทที่ ๗ 352/372

พระบัญญัติ ๑๑๒.๗. 373

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๗ 374

สิกขาบทที่ ๘ 355/375

พระบัญญัติ ๑๑๓.๘. 376

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๘ 377

สิกขาบทที่ ๙ 358/378

พระบัญญัติ ๑๔๔.๙. 378

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๙ 379

สิกขาบทที่ ๑๐ 361/380

พระบัญญัติ ๑๑๕.๑๐. 381

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๑๐ 382


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 5]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 350

ปาจิตตีย์ อารามวรรคที่ ๖

อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๓๒๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี หลายรูปมีจีวรผืนเดียว กำลังทำจีวรกรรมกันอยู่ในอาวาสใกล้หมู่บ้านแห่งหนึ่ง พวกภิกษุณีไม่บอกก่อนเข้าสู่อาราม แล้วพากันเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุ ทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ ไม่บอกกล่าวก่อนเข้าไปสู่อารามเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีไม่บอกกล่าวก่อนเข้าไปสู่อาราม จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก ภิกษุณีจึงไม่บอกกล่าวก่อนเข้าไปสู่อารามเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 351

พระบัญญัติ

๑๐๖. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่บอกกล่าวก่อน เข้าสู่อาราม เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณี ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๓๒๙] ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นหลีกไปแล้วจากอาวาสนั้น พวกภิกษุณีทราบว่าพระคุณเจ้าทั้งหลายหลีกไปแล้ว จึงไม่มาสู่อาราม ครั้น ภิกษุเหล่านั้นกลับมายังอาวาสนั้นดั่งเดิม ภิกษุณีทั้งหลายทราบว่า พวกพระคุณเจ้ากลับมาแล้วจึงบอกกล่าวก่อนเข้าสู่อาราม เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น กราบไหว้ แล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวคำนี้กะภิกษุณีเหล่านั้นว่า น้องหญิงทั้งหลาย เหตุไฉนพวกเธอจึงไม่กวาดอาราม ไม่จัดน้ำฉัน น้ำใช้ไข้เล่า.

ภิกษุณีเหล่านั้นชี้แจงว่าเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้วเจ้าข้า ว่าภิกษุณีไม่บอกกล่าวก่อน ไม่พึงเข้าสู่อาราม ฉะนั้น พวก ดิฉันจึงไม่ได้มา.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงอนุญาต ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกกล่าวภิกษุที่มีอยู่ก่อนเข้าสู่อาราม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 352

พระอนุบัญญัติ ๑

๑๐๖. ๑. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่บอกกล่าวภิกษุที่มีอยู่ก่อน เข้าสู่อาราม เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณี ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

[๓๓๐] ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นหลีกไปจากอาวาสนั้น แล้ว กลับไปสู่อาวาสนั้นตามเดิม ภิกษุณีทั้งหลายเข้าใจว่าพระผู้เป็นเจ้าหลีกไปแล้ว จึงไม่บอกกล่าว เข้าสู่อาราม แล้วได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ภิกษุณีไม่บอกกล่าวภิกษุที่มีอยู่ ไม่พึงเข้าไปสู่อาราม ก็พวกเรามิได้บอกกล่าวภิกษุที่มีอยู่ ได้พากันเข้ามาสู่อาราม พวกเราต้องอาบัติ ปาจิตตีย์แล้วกระมังหนอ ดังนี้ แล้วได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงบัญญัติ อนุบัญญัติ ๒ ว่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๒

๑๐๖. ๑. ข. อนึ่ง ภิกษุณีใด รู้อยู่ไม่บอกกล่าว เข้าไปสู่ อารามที่มีภิกษุ เป็นปาจิตตีย์.

สิกขาบทวิภังค์

[๓๓๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 353

ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือรู้เอง หรือคนอื่นบอกแก่นาง หรือภิกษุเหล่านั้นบอก.

อารามที่ชื่อว่า มีภิกษุ คือ มีภิกษุอยู่แม้ที่ใต้ต้นไม้.

บทว่า ไม่บอกกล่าวเข้าไปสู่อาราม คือ ไม่บอกกล่าวภิกษุ สามเณรหรือคนวัด ก้าวล่วงเขตอารามที่มีเครื่องล้อม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อารามที่ไม่มีเครื่องล้อม เมื่อก้าวลงสู่อุปจาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

[๓๓๒] อารามมีภิกษุ ภิกษุณีสำคัญว่ามีภิกษุ ไม่บอกกล่าวภิกษุที่มี อยู่เข้าไปสู่อาราม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อารามมีภิกษุ ภิกษุณีสงสัย ไม่บอกกล่าวภิกษุที่มีอยู่ เข้าไปสู่อาราม ต้องอาบัติทุกกฏ.

อารามมีภิกษุ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีภิกษุ ไม่บอกกล่าวภิกษุที่มีอยู่ เข้าไปสู่อาราม ไม่ต้องอาบัติ.

อารามไม่มีภิกษุ ภิกษุณีสำคัญว่ามีภิกษุ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อารามไม่มีภิกษุ ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อารามไม่มีภิกษุ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีภิกษุ ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๓๓๓] ภิกษุมีอยู่ บอกกล่าวแล้วเข้าไป ๑ ภิกษุไม่มี ไม่บอกกล่าว เข้าไป ๑ เดินมองดูศีรษะภิกษุณีผู้เข้าไปก่อน ๑ ไป ณ สถานที่มีพวกภิกษุณี ประชุมกัน ๑ หนทางมีผ่านไปทางอาราม ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 354

อรรถกถาอารามวรรคที่ ๖

อรรถกถาอามวรรค สิกขาบทที่ ๑

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑ แห่งอารามวรรค พึงทราบดังนี้:-

ในคำว่า ปริกฺเชปํ อติกฺกมนฺติยา อุปจารํ โอกฺกมนฺติยา นี้ พึงทราบว่า เป็นทุกกฏในย่างเท้าที่ ๑ เป็นปาจิตตีย์ในย่างเท้าที่ ๒.

บทว่า สีสานุโลกิกา มีความว่า ภิกษุณีตามเข้าไปคอยดูศีรษะแห่ง พวกภิกษุณีผู้เข่าไปก่อน ไม่เป็นอาบัติ. พวกภิกษุณีเข้าไปในที่ใดก่อน กระทำ กิจมีการสาธยายและไหว้พระเจดีย์เป็นต้น จะเข้าไปด้วยตั้งใจว่า เราจะไปสู่ สำนักแห่งภิกษุณีพวกนั้น ในที่นั้น ควรอยู่.

บทว่า อาปทาสุ มีความว่า ภิกษุณีถูกอันตรายบางอย่างเบียดเบียน ในอันตรายเห็นปานนี้ จะเข้าไป ก็ควร คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา สัญญา วิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.

อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 355

อารามวรรค สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระกัปปิตกะเถระ

[๓๓๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้น ท่านพระกัปปิตกะ อุปัชฌายะ ของท่านพระอุบาลี ยับยั้งอยู่ในสุสานประเทศ ครั้งนั้น มีภิกษุณีรูปหนึ่งผู้แก่ กว่าพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ถึงมรณภาพลง ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ช่วยกันนำศพออก ไปเผาแล้วก่อสถูปไว้ใกล้ๆ ที่อยู่ของท่านพระกัปปิตกะ แล้วพากันไปร้องไห้ ณ สถูปนั้น จึงท่านพระกัปปิตกะรำคาญเสียงร้องไห้นั้น แล้วได้ทำลายสถูปนั้น พังกระจาย ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ปรึกษากันเป็นความลับว่า พระกัปปิตกะนี้ทำลาย สถูปแม่เจ้าของพวกเรา มาพวกเราช่วยกันฆ่าท่านเสียเถิด ภิกษุณีรูปหนึ่งได้แจ้ง ข้อปรึกษากันนั้นแก่ท่านพระอุบาลีๆ ได้กราบเรียนเรื่องนั้นให้ท่านพระกัปปิตกะทราบ ท่านพระกัปปิตกะได้ออกจากวิหารไปหลบซ่อนอยู่.

ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ได้เดินผ่านเข้าไปทางวิหารของท่านพระกัปปิตกะแล้วช่วยกันขนก้อนหินและก้อนดินทับถมวิหารของท่าน แล้วหลีกไป ด้วยเข้าใจว่าท่านถึงมรณภาพแล้ว ครั้นราตรีนั้นผ่านไป ท่านครองอันตรวาสก แล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตในเมืองเวสาลีแต่เช้า ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ได้ เห็นท่านยังเดินเที่ยวบิณฑบาตอยู่ ครั้นแล้วได้พูดกันอย่างนี้ว่า พระกัปปิตกะ นี้ยังมีชีวิตอยู่ ใครหนอนำเอาความลับของเราไปบอก ครั้นได้ทราบข่าวว่า พระคุณเจ้าอุบาลีนำไป จึงพากันด่าท่านพระอุบาลีว่า ท่านนี้เป็นคนสำหรับ คอยรับใช้เมื่อเวลาอาบน้ำ เป็นคนคอยชำระของเปรอะเปื้อน เป็นคนมีสกุลต่ำ ไฉนจึงได้ลอบนำความลับของเราไปเที่ยวบอกเขาเล่า.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 356

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ด่าพระคุณเจ้าอุบาลีเล่า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีฉัพพัคคีย์พากันด่าภิกษุอุบาลี จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีเหล่าฉัพพัคคีย์จึงได้ด่าภิกษุอุบาลีเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๑๐๗. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด ด่าก็ดี กล่าวขู่ก็ดี ซึ่งภิกษุณี เป็น ปาจิตตีย์.

เรื่องพระกัปปิตกเถระ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๓๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ภิกษุ ได้แก่ อุปสัมบัน.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 357

บทว่า ด่าก็ดี คือ ด่าด้วยวัตถุสำหรับด่าทั้ง ๑๐ อย่าง หรือด้วย อย่างใดอย่างหนึ่งในทั้ง ๑๐ นั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า กล่าวขู่ก็ดี คือ แสดงเรื่องหรืออาการที่น่ากลัว ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์

ติกะปาจิตตีย์

[๓๓๖] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน ด่าก็ดี กล่าวขู่ก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ด่าก็ดี กล่าวขู่ก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุสัมบัน ด่าก็ดี กล่าวขู่ก็ดี ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

จตุกกะทุกกฏ

ด่าก็ดี กล่าวขู่ก็ดี ซึ่งอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๓๓๗] มุ่งอรรถ ๑ มุ่งธรรม ๑ มุ่งสั่งสอน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อารามวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 358

อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๒

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๒ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า อายสมา กปฺปิตโก คือ ท่านผู้มีอายุนี้ เป็นพระเถระ อยู่ภายในจำนวนภิกษุชฏิลพันรูป.

บทว่า สํหริ คือ ให้แพร่งพรายแล้ว (ได้นำไปบอก).

บทว่า สํหโต คือ ท่านพระอุบาลีให้แพร่งพรายแล้ว (นำไปบอก).

บทว่า กสาวโฏ แปลว่า ช่างกัลบก. พวกภิกษุณีกล่าวหมายเอา ผู้ที่นุ่งผ้าย้อมน้ำฝาด กระทำการงาน. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลก วัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.

อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 359

อารามวรรค สิกขาบทที่ ๓

เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี

[๓๓๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี จัณฑกาลีเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความ อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เมื่อภิกษุณีสงฆ์ทำกรรมแก่นาง ภิกษุณีถุลลนันทา ค้าน.

[๓๓๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีถุลลนันทาได้ไปสู่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ด้วยกรณียะบางอย่าง ครั้นภิกษุณีสงฆ์ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาหลีกไปแล้ว จึงยกวัตรภิกษุณีจัณฑกาลี ในเพราะไม่เห็นอาบัติ ภิกษุณีถุลลนันทาเสร็จ กรณียกิจในหมู่บ้านนั้นแล้ว กลับมาสู่นครสาวัตถีดังเดิม เมื่อนางมาถึง ภิกษุณี จัณฑกาลีไม่ปูอาสนะรับ ไม่จัดตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ลุกไปรับบาตรจีวร ไม่ไต่ถามด้วยน้ำฉัน ภิกษุณีถุลลนันนทาได้กล่าวคำนี้กะ ภิกษุณีจัณฑกาลีว่า ทำไม เมื่อฉันมาถึง เธอจึงไม่ปูอาสนะรับ ไม่จัดตั้งน้ำล้าง เท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ลุกมารับบาตรจีวร ไม่ได้ถามด้วยน้ำฉัน.

ภิกษุณีจัณฑกาลีตอบว่า การที่เป็นดั่งนี้นั้น เพราะดิฉันเป็นดั่งสตรี ผู้ไร้ที่พึ่ง เจ้าข้า.

ภิกษุณีถุลลนันทาซักว่า เพราะเหตุไร เธอจึงเป็นดั่งสตรีผู้ไร้ที่พึ่งเล่า

ภิกษุณีจัณฑกาลีแถลงว่า เพราะภิกษุณีเหล่านี้ยกวัตรดิฉันในเพราะ ไม่เห็นอาบัติ ด้วยเข้าใจว่านางผู้นี้ไร้ที่พึ่ง ไม่สู้จะมีชื่อเสียง ไม่มีใครซึ่งจะ เป็นผู้ยำเกรงนางผู้นี้.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 360

ภิกษุณีถุลลนันทาขึ้นเคียดกล่าวติคณะว่า ภิกษุณีเหล่านี้เขลา ภิกษุณี เหล่านี้ไม่ฉลาด ภิกษุณีเหล่านี้ไม่รู้จักกรรม โทษอันสมควรแก่กรรม กรรม วิบัติหรือกรรมสมบัติ.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ขึ้งเคียดกล่าวติคณะเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาขึ้งเคียดกล่าวติคณะ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ขึ้งเคียดกล่าวติคณะเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๐๘. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขึ้นเคียดกล่าวติคณะ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๔๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คื ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรคว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 361

ที่ชื่อว่า ขึ้งเคียด ได้แก่ กิริยาที่เขาเรียกกันว่าโกรธ.

ที่ชื่อว่า คณะ ได้แก่ หมู่ที่เรียกกันว่าภิกษุณีสงฆ์.

บทว่า กล่าวติ คือ ติโทษว่า ภิกษุณีเหล่านี้ไม่ฉลาด ภิกษุณี เหล่านี้ไม่รู้จักกรรม โทษอันสมควรแก่กรรม กรรมวิบัติ หรือกรรมสมบัติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กล่าวติภิกษุณีหลายรูป ภิกษุณีรูปเดียว หรืออนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๓๔๑] มุ่งอรรถ ๑ มุ่งธรรม ๑ มุ่งสั่งสอน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อรรถกถาวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๓

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า อนุสาสนีปุเรกฺขาย มีความว่า ภิกษุณีดำรงอยู่ในฝ่ายแห่ง การพร่ำสอนกล่าวโดยนัยเป็นต้นว่า แม้เดี่ยวนี้ เธอก็เป็นคนโง่ไม่ฉลาด ไม่ เป็นอาบัติ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น. สมุฏฐานเป็นต้นก็เป็นเช่นกับสิกขาบทถัด ไปนั้นแล.

อรรถกถาอารามวรรค สิขาบทที่ ๓ จบ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 362

อารามวรรค สิกขาบทที่ ๔

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๓๔๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์ คนหนึ่งได้นิมนต์ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายฉันเสร็จห้ามภัตแล้ว ไปเยี่ยม ตระกูลญาติ บางพวกก็ฉันอีก บางพวกได้นำบิณฑบาตไป.

เมื่อเสร็จการเลี้ยงภิกษุณีทั้งหลายแล้ว พราหมณ์ได้กล่าวเชื้อเชิญชาว เพื่อนบ้านว่า คุณๆ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าเลี้ยงดูภิกษุณีทั้งหลายให้อิ่มหนำแล้ว เชิญมาเถิด ข้าพเจ้าจักเลี้ยงพวกท่านให้อิ่มหนำบ้าง.

พวกเพื่อนบ้านเล่านั้นพากันกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านจักเลี้ยงพวกข้าพเจ้า ให้อิ่มหนำได้อย่างไร แม้พวกภิกษุณีที่ท่านนิมนต์มาฉันเหล่านั้น ไปถึงเรือน ของพวกข้าพเจ้าแล้ว บางพวกก็ฉันอีก บางพวกก็นำบิณฑบาตไป.

พราหมณ์นั้นจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลาย ฉันอาหารที่เรือนของพวกเราแล้ว จึงได้ไปฉันในที่อื่นอีกเล่า เราไม่มีกำลังพอ ที่จะถวายให้พอแก่ความต้องการหรือ.

ภิกษุทั้งหลายได้ยินพราหมณ์นั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี ทั้งหลายฉันเสร็จห้ามภัตแล้ว จึงได้ฉันในที่อื่นอีกเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสยบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลายฉันเสร็จห้ามภัตแล้ว ยังฉันในที่อื่นอีก จริงหรือ.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 363

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายฉันเสร็จห้ามภัตแล้ว จึงได้ฉันในที่อื่นอีกเล่า การกระทำของ นางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๐๙. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด อันทายกนิมนต์แล้ว หรือห้าม ภัตแล้ว เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยว หรือของฉัน เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๔๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด. ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพระอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า อันทายกนิมนต์แล้ว คือ นิมนต์ด้วยโภชนะ ๕ อย่างๆ ใดอย่างหนึ่ง.

ที่ชื่อว่า ห้ามภัตแล้ว คือ อาสนะปรากฏ โภชนะปรากฏ ตนอยู่ ในหัตถบาส ทายกนำของเข้าไปถวาย การห้ามปรากฏ.

ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ เว้นโภชนะ ๕ ยาคู ยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 364

ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ๑ ขนมสด ๑ ขนม แห้ง ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑.

รับประเคนไว้ด้วยหมายใจว่าจักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำกลืน.

บทภาชนีย์

ติกะปาจิตตีย์

[๓๔๔] ทายกนิมนต์แล้ว ภิกษุณีสำคัญว่านิมนต์แล้ว เคี้ยวก็ดี ฉัน ก็ดี ซึ่งของเคี้ยว หรือของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทายกนิมนต์แล้ว ภิกษุณีสงสัย เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยว หรือ ของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทายกนิมนต์แล้ว ภิกษุณีสำคัญว่ามิได้นิมนต์ เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่ง ของเคี้ยว หรือของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

รับประเคนยามกะลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ไว้เพื่อประสงค์เป็น อาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ คำกลืน.

อนาปัตติวาร

[๓๔๕] ทายกไม่ได้นิมนต์ ๑ ไม่ได้ห้ามภัต ๑ ดื่มยาคู ๑ บอกเจ้า ของแล้วฉัน ๑ เมื่อเหตุจำเป็นมี ฉันยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อารามวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 365

อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๔

คำทั้งหมดในสิกขาบทที่ ๔ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๔ เกิดขึ้นทางกาย ๑ ทางกายกับวาจา ๑ ทางกายกับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา เพราะเป็นอาบัติแก่ภิกษุณีผู้รับนิมนต์แล้ว ไม่บอก กล่าวก่อนฉันก็มี เป็นกิริยา เพราะเป็นอาบัติ แก่ภิกษุณีผู้ห้ามภัตแล้ว ให้ ทำโภชนะให้เป็นกัปปิยะบ้าง ไม่ให้ทำบ้าง ฉันก็มี เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีจรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.

อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 366

อารามวรรค สิกขาบทที่ ๕

เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง

[๓๔๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี รูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตไปในตรอกแห่งหนึ่ง ในพระนครสาวัตถี ผ่านเข้าไปสู่ สกุลแห่งหนึ่ง ครั้นแล้วได้นั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้นเขานิมนต์ภิกษุณี รูปนั้นให้ฉันแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า แม่เจ้า แม้ภิกษุณีรูปอื่นๆ ก็จงมา.

ทันทีนั้น นางคิดว่า ทำไฉนภิกษุณีรูปอื่นๆ จึงจะไม่มา แล้วได้ เข้าไปหาภิกษุณีทั้งหลายกล่าวคำนี้ว่า. แม่เจ้า ณ สถานที่โน้นสุนัขดุ โคเปลี่ยวดุ สถานที่ลื่น ท่านทั้งหลายอย่าได้ไปสถานที่นั้นเลย.

แม้ภิกษุณีอีกรูปหนึ่งก็ได้เที่ยวบิณฑบาตไปในตรอกนั้น เดินผ่านเข้า ไปถึงสกุลนั้น ครั้นแล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย ครั้นคนพวกนั้นนิมนต์ให้ นางฉันแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า แม่เจ้า ทำไมภิกษุณีทั้งหลายจึงไม่ค่อยมา.

ภิกษุณีรูปนั้นจึงได้เล่าเรื่องนั้นแก่เขาเหล่านั้น พวกเขาจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้หวงตระกูลเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีหวงตระกูล จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 367

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีจึงได้หวงตระกูลเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๑๐. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด เป็นคนตระหนี่ตระกูล เป็น ปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๔๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า ตระกูล ได้แก่ ตระกูลทั้ง ๔ คือ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูล พราหมณ์ ตระกูลแพทย์ ตระกูลศูทร.

บทว่า เป็นคนตระหนี่ตระกูล คือคิดว่า ทำไฉนภิกษุณีทั้งหลาย จะไม่พึงมา แล้วกล่าวโทษของพวกพ้องในสำนักภิกษุณีทั้งหลาย ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ หรือกล่าวโทษของภิกษุณีทั้งหลายในสำนักของพวกพ้อง ก็ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 368

อนาปัตติวาร

[๓๔๘] ไม่หวงตระกูล บอกโทษเท่าที่มีอยู่ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิ- กัมมิกา ๑ไม่ต้องอาบัติแล.

อารามวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๕

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้:-

ความหวงแหนตระกูล ชื่อว่า ความตระหนี่ตระกูล. ความตระหนี่ ตระกูลมีแก่ภิกษุณีนั้น เหตุนั้น ภิกษุณีนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีความตระหนี่ตระกูล อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเป็นคนตระหนี่ตระกูล เพราะอรรถว่าประพฤติตัวเป็นคน หวงแหนสกุล.

สองบทว่า กุลสฺส อวณฺณํ ได้แก่ กล่าวโทษว่า ตระกูลนั้น ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส.

สองบทว่า ภิกฺขุนีนํ อวณฺณํ ได้แก่ กล่าวโทษของพวกภิกษุณี ว่า พวกภิกษุณี เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก.

สองบทว่า สนฺตํเยว อาทีนวํ ได้แก่ บอกโทษมิใช่คุณที่มีอยู่ ของตระกูล หรือของพวกภิกษุณี. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.

อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 369

อารามวรรค สิกขาบทที่ ๖

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๓๔๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี หลายรูปจำพรรษาอยู่ในอาวาสใกล้หมู่บ้าน แล้วได้พากันไปสู่พระนครสาวัตถี ภิกษุณีทั้งหลายได้รุมกันถามภิกษุณีพวกนั้นว่า แม่เจ้าทั้งหลายจำพรรษาอยู่ ณ ที่ไหน โอวาทการกล่าวสอนได้มีสมณบูรณ์แล้วหรือ.

ภิกษุณีเหล่านั้นตอบว่า แม่เจ้า ในอาวาสที่พวกดิฉันจำพรรษาอยู่นั้น ไม่มีภิกษุเลย การกล่าวสอนจักสมบูรณ์ได้จากไหน.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้จำพรรษาอยู่ในอาวาสที่ไม่มีภิกษุเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีทั้งหลายจำพรรษาอยู่ในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้จำพรรษาอยู่ในอาวาสที่ไม่มีภิกษุเล่า การกระทำของพวก นางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 370

พระบัญญัติ

๑๑๑. ๖. อนึ่ง ภิกษุณีใด จำพรรษาอยู่ในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๕๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

อาวาสที่ชื่อว่า ไม่มีภิกษุ ได้แก่ อาวาสที่ภิกษุณีไม่สามารถจะไป เพื่อรับครุธรรมอันเป็นโอวาท หรือเพื่อประสงค์จะถามอุโบสถและปวารณาได้

ตั้งใจว่าจักอยู่จำพรรษา แล้วจัดแจงเสนาสนะ จัดตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ ต้องอาบัติทุกกฏ พออรุณขึ้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร

[๓๕๑] มีภิกษุที่อยู่จำพรรษา หลีกไป สึก มรณภาพ หรือไปเข้า รีดเดียรถีย์ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล

อารามวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 371

อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๖

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๖ พึงทราบดังนี้;-

บทว่า โอวาทาย คือ เพื่อประโยชน์แก่ครุธรรม.

บทว่า สํวาสาย คือ เพื่อประโยชน์แก่การถามอุโบสถและปวารณา. นี้ความย่อในสิกขาบทนี้. ส่วนความพิสดาร ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในวรรณนา แห่งภิกษุโนวาทกสิกขาบทนี้นั่นแล.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญา วิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.

อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 372

อารามวรรค สิกขาบทที่ ๗

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๓๕๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี หลายรูปจำพรรษาอยู่ในอาวาสใกล้หมู่บ้าน แล้วได้พากันไปสู่พระนครสาวัตถี ภิกษุณีทั้งหลายได้พากัน ถามภิกษุณีพวกนั้นว่า เจ้าแม่ทั้งหลายจำพรรษาอยู่ ณ ที่ไหนได้ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์แล้วหรือ.

ภิกษุณีเหล่านั้นตอบว่า พวกดิฉันยังมิได้ปวารณาตัวต่อภิกษุสงฆ์เจ้าข้า

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายอยู่จำพรรษาแล้ว จึงได้ไม่ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์เล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีทั้งหลายจำพรรษาแล้วไม่ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีจำพรรษาแล้วจึงได้ไม่ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์เล่า การกระทำของพวกนาง นั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง นี้ ว่าดังนี้ :-

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 373

พระบัญญัติ

๑๑๒. ๗. อนึ่ง ภิกษุณีใด จำพรรษาแล้ว ไม่ปวารณาต่อ สงฆ์สองฝ่าย ด้วยสถาน ๓ คือ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วย รังเกียจก็ดี เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๕๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า จำพรรษาแล้ว คือ อยู่ตลอดไตรมาสต้น หรือไตรมาส หลัง.

พอทอดธุระว่า จักไม่ปวารณาต่อสงฆ์สองฝ่าย ด้วยสถาน ๓ คือ ด้วย ได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยรังเกียจก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร

[๓๕๔] ในเมื่ออันตรายมี ๑ แสวงหาแล้วไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มีเหตุ ขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อารามวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 374

อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๗

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๗ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า ปริเยสิตฺวา น ลภติ คือ (แสวงหาแล้ว) ไม่ได้ภิกษุณี คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น. ความพิสดารแห่งสิกขาบทแม้นี้ ก็ได้กล่าวไว้แล้วในภิกขุโนวาทกสิกขาบทเหมือนกัน.

สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.

อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 375

อารามวรรค สิกขาบทที่ ๘

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์

[๓๕๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ นิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ครั้งนั้น ภิกษุฉัพพัคคีย์ เข้าไปสู่สำนักของภิกษุณีแล้ว จะกล่าวสอนภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ภิกษุณีทั้งหลาย ได้กล่าวชวนภิกษุณีฉัพพัคคีย์ว่า มาเถิดแม่เจ้า ไปรับโอวาทกันเถิดเจ้าข้า.

ภิกษุณีฉัพพัคคีย์กล่าวว่า แม่เจ้าทั้งหลาย พวกเราจะชวนกันไป แม้ เพราะเหตุแห่งโอวาทอันใด พระคุณเจ้าฉัพพัคคีย์ ก็จะมากล่าวสอนพวกเราด้วย โอวาทนั้น ณ สถานที่นี้แล้ว.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ไม่ไปรับโอวาทเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีไม่ไปรับโอวาท จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ไม่ไปรับโอวาทเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 376

พระบัญญัติ

๑๑๓. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่ไปเพื่อโอวาทก็ดี เพื่อธรรม เป็นเหตุอยู่ร่วมก็ดี เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๕๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า โอวาท ได้แก่ ครุธรรม ๘.

ที่ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วม ได้แก่ กรรมที่พึงทำร่วมกัน อุเทศ ที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน.

พอทอดธุระว่า จักไม่ไปเพื่อโอวาทก็ดี เพื่อธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วมก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร

[๓๕๗] ในเมื่ออันตรายมี ๑ แสวงหาภิกษุณีเป็นเพื่อนไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มีเหตุขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อารามวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 377

อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๘

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๘ พึงทราบดังนี้:-

ด้วยคำว่า เอกฺกมฺมํ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงอุโบสถ และปวารณาเท่านั้น. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น. ความพิสดารแห่งสิกขาบทแม้นี้ ก็ได้กล่าวไว้แล้ว ในภิกขุโนวาทกสิกขาบทเหมือนกัน.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปฐมปาราชิกสิกขาบท เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.

อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 378

อารามวรรค สิกขาบทที่ ๙

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๓๕๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ทั้งหลายไม่ถามอุโบสถก็มี ไม่ขอโอวาทก็มี ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ไม่ถามอุโบสถและไม่ขอโอวาท เล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลายไม่ถามอุโบสถและไม่ขอโอวาท จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ไม่ถามอุโบสถ ไม่ขอโอวาท การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๑๔. ๙. อนึ่ง ทุกๆ ระยะกึ่งเดือน ภิกษุณีพึงหวังเฉพาะ ธรรม ๒ ประการ จากภิกษุสงฆ์ คือการถามอุโบสถ ๑ การเข้าไป ขอโอวาท ๑ เมื่อฝ่าฝืนธรรม ๒ อย่างนั้น เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 379

สิกขาบทวิภังค์

[๓๕๙] บทว่า ทุกระยะกึ่งเดือน คือ ทุกๆ วันที่มีอุโบสถ.

ที่ชื่อว่า อุโบสถ ได้แก่ อุโบสถ ๒ อย่าง คือ อุโบสถมีในวัน ๑๔ ค่ำ ๑ อุโบสถมีในวัน ๑๕ ค่ำ ๑.

ที่ชื่อว่า โอวาท ได้แก่ ครุธรรม ๘.

พอทอดธุระว่า จักไม่ถามอุโบสถก็ดี จักไม่ขอโอวาทก็ดี ดังนี้ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร

[๓๖๐] ในเมื่ออันตรายมี ๑ แสวงหาภิกษุณีเป็นเพื่อนไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มีเหตุขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

อารามวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๙

คำทั้งหมดในสิกขาบทที่ ๙ ตื้นทั้งนั้น. ความพิสดารแห่งสิกขาบทแม้ นี้ก็ได้กล่าวไว้แล้ว ในภิกขุโนวาทกสิกขาบทเหมือนกัน. สิกขาบทนี้ มีการ ทอกธุระเป็นสมุฏฐาน เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.

อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 380

อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง

[๓๖๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี รูปหนึ่งกับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ให้บ่งฝีอันเกิดในร่มผ้า ครั้นแล้วบุรุษนั้นได้ พยายามประทุษร้ายภิกษุณีรูปนั้น นางได้ส่งเสียงขึ้น ภิกษุณีทั้งหลายได้พากัน วิ่งเข้าไปถามภิกษุณีนั้นว่า แม่เจ้าส่งเสียงอะไรกัน เมื่อถูกถาม นางได้เล่า เรื่องนั้นแก่เหล่าภิกษุณี.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนภิกษุณีกับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง จึงได้ให้บ่งฝีอันเกิดในร่มผ้าเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีกับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่งให้บ่งฝีอันเกิดในร่มผ้า จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้พระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง จึงได้ให้บ่งฝีอันเกิดในร่มผ้าเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้;-

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 381

พระบัญญัติ

๑๑๕. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่บอกกล่าวสงฆ์หรือคณะ กับ บุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ให้บ่งก็ดี ผ่าก็ดี ชะก็ดี ทาก็ดี พันก็ดี แกะก็ดี ซึ่งฝีหรือบาดแผลอันเกิดในร่มผ้า เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๓๖๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า ร่มผ้า ได้แก่ อวัยวะใต้นาภีลงไป เหนือเข่าขึ้นมา.

บทว่า เกิด คือ เกิดขึ้นในบริเวณนั้น.

ที่ชื่อว่า ฝี ได้แก่ ฝีชนิดใดชนิดหนึ่ง.

ที่ชื่อว่า แผล ได้แก่ แผลชนิดใดชนิดหนึ่ง.

บทว่า ไม่บอกกล่าว คือ ไม่แจ้งให้ทราบ.

ที่ชื่อว่า สงฆ์ ได้แก่ หมู่ที่เรียกกันว่าภิกษุณีสงฆ์.

ที่ชื่อว่า คณะ ได้แก่ หมู่ที่เรียกกันว่าภิกษุณีหลายรูป.

ที่ชื่อว่า บุรุษ ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ผู้ชาย ไม่ใช่เปรต ผู้ชาย ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้สามารถเพื่อประทุษร้ายได้.

บทว่า กับ คือ ด้วยกัน.

บทว่า หนึ่งต่อหนึ่ง คือ บุรุษผู้หนึ่ง ภิกษุณีรูปหนึ่ง.

สั่งว่า จงบ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อบ่งเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

สั่งว่า จงผ่า ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อผ่าเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 382

สั่งว่า จงชะ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อชะเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

สั่งว่า จงทา ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อทาเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

สั่งว่า จงพัน ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อพันเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

สั่งว่า จงแกะ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อแกะเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร

[๓๖๓] บอกกล่าวแล้ว ให้บ่ง ให้ผ่า ให้ชะ ให้ทาพัน ให้ หรือ ให้แกะ ๑ มีสตรีผู้รู้ความอยู่เป็นเพื่อน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.

อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

อารามวรรคที่ ๖ จบ

อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๐ พึงทราบดังนี้;-

บทว่า ปสาเข ได้แก่ ในกายท่อนล่าง. จริงอยู่ กายท่อนล่างท่าน เรียกว่า ปสาขะ เพระเหตุว่า ต้นขาทั้ง ๒ แยกออกไปจากกายท่อนล่างนั้น ดุจกิ่งแห้งต้นไม้แยกจากต้นไม้ ฉะนั้น.

ในบทว่า ภินฺท เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:- ถ้าภิกษุณีสั่งทุกอย่างว่า จงบ่ง จงผ่า และอุบาสกนั้นทำตามสั่งอย่างนั้น ภิกษุณีต้องอาณัตติทุกกฏ (ทุกกฏเพราะสั่ง) ๖ ตัว และปาจิตตีย์ ๖ ตัว. ถ้าแม้นว่า ภิกษุณีสั่งอย่านี้ว่า อุบาสก! กิจอย่างใดอย่างหนึ่งที่ควรทำในกายท่อนล่างนี้ ท่านจงกระทำกิจนั้น ทั้งหมด และอุบาสกนั้น ทำกิจมีการบ่งเป็นต้น แม้ทั้งหมด. เป็นอาบัติ ๑๒

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 383

ตัว คือ เป็นทุกกฏ ๖ ตัว ปาจิตตีย์ ๖ ตัว เพราะคำพูดคำเดียว. แต่ถ้า ภิกษุณีพูดเพียงอย่างเดียว ในบรรดากิจมีการบ่งเป็นต้นแล้ว สั่งว่า จงทำกิจนี้ และอุบาสกนั้น ทำกิจทั้งหมด เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะการทำกิจที่สั่งเท่านั้น ในกิจที่เหลือไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มี เวทนา ๓ แล.

อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

อรรถกถาอารามวรรคที่ ๖ จบ