คัพภินีวรรคที่ ๗ - ปาจิตติยกัณฑ์
[เล่มที่ 5] พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓
พระวินัยปิฎก เล่ม ๓
ภิกขุนีวิภังค์
ปาจิตติยกัณฑ์
คัพภินีวรรคที่ ๗
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 5]
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 384
ปาจิตตีย์ คัพภินีวรรคที่ ๗
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๖๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ทั้งหลายพากันบวชสตรีมีครรภ์ นางบวชแล้วเที่ยวไปบิณฑบาต คนทั้งหลาย พูดกันอย่างนี้ว่า ขอท่านทั้งหลายจงถวายภิกษาแก่แม่เจ้า เพราะแม่เจ้ามีครรภ์ แก่ แล้วพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ให้สตรีมี ครรภ์บวชเล่า
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี ทั้งหลายจึงได้บวชสตรีมีครรภ์เล่า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีให้สตรีมีครรภ์บวช จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน พวกภิกษุณีจึงได้ให้สตรีมีครรภ์บวชเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็น ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 385
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง นี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๑๖. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสตรีมีครรภ์ให้บวช เป็น ปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๖๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า สตรีมีครรภ์ ได้แก่ หญิงที่เรียกกันว่ามีบุตรมาเกิด.
บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
ตั้งใจว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวร ก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกฏ จบญัตติต้องอาบัติทุกกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ
บทภาชนีย์
[๓๖๖] สตรีมีครรภ์ ภิกษุณีสำคัญว่ามีครรภ์ ให้บวช ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 386
สตรีมีครรภ์ ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.
สตรีมีครรภ์ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีครรภ์ ให้บวช ไม่ต้องอาบัติ.
สตรีไม่มีครรภ์ ภิกษุณีสำคัญว่ามีครรภ์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
สตรีไม่มีครรภ์ ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
สตรีไม่มีครรภ์ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีครรภ์ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๓๖๗] สตรีมีครรค์ สำคัญว่าไม่มีครรภ์ ให้บวช ๑ สตรีไม่มีครรภ์ สำคัญว่าไม่มีครรภ์ ให้บวช ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
อรรถกถาคัพภินีวรรคที่ ๗
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑ แห่งคัพภินีวรรค พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อาปนฺนสตฺตา ได้แก่ สตรีผู้มีบุตรเข้ามาเกิดยังท้อง.
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 387
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๖๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ทั้งหลายพากันบวชสตรีแม่ลูกอ่อน นางบวชแล้ว เที่ยวไปบิณฑบาต คน ทั้งหลายพูดกันอย่างนี้ว่า ขอท่านทั้งหลายจงถวายภิกษาแก่แม่เจ้า เพราะแม่เจ้า มีลูก แล้วพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ให้ สตรีมีลูกอ่อนบวชเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ให้สตรีแม่ลูกอ่อนบวชเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลายให้สตรีแม่ลูกอ่อนบวช จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี ทั้งหลายจึงได้ให้สตรีแม่ลูกอ่อนบวชเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็น ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 388
พระบัญญัติ
๑๑๒. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสตรีมีลูกอ่อนให้บวช เป็น ปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๖๙] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า สตรีมีลูกอ่อน ได้แก่ หญิงที่เป็นมารดา หรือเป็นแม่นม
บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
ตั้งใจว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวร ก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรม วาจาสองครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
บทภาชนีย์
[๓๗๐] สตรีมีลูกอ่อน ภิกษุณีสำคัญว่ามีลูกอ่อน ให้บวช ต้องอาบัติ- ปาจิตตีย์
สตรีมีลูกอ่อน ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.
สตรีมีลูกอ่อน ภิกษุณีสำคัญว่า ไม่ใช่มีลูกอ่อน ให้บวช ไม่ต้อง อาบัติ.
มิใช่สตรีมีลูกอ่อน ภิกษุณีสำคัญว่ามีลูกอ่อน ต้องอาบัติทุกกฏ.
มิใช่สตรีมีลูกอ่อน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
มิใช่สตรีมีลูกอ่อน ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่มีลูกอ่อน ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 389
อนาปัตติวาร
[๓๗๑] สตรีมีลูกอ่อน สำคัญว่าไม่มีลูกอ่อน ให้บวช ๑ มิใช่สตรี มีลูกอ่อน สำคัญว่าไม่มีลูกอ่อน ให้บวช ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ ต้องอาบัติแล.
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๒
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๒ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า ปายนฺตึ ได้แก่ สตรีผู้ยังทารกให้ดื่มน้ำนมอยู่.
สองบทว่า มาตา วา โหติ มีความว่า เป็นมารดาก็ดี เป็นนางนม ก็ดี แห่งทารกผู้ซึ่งยังดื่มน้ำนม. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น. แม้ทั้ง ๒ สิกขาบท นี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 390
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๗๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลาย พากันบวชสิกขมานาผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี สิกขมานาพวกนั้นจึงเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้บวชสิกขมานา ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลายบวชสิกขมานา ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้บวชสิกขมานาผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงกระทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี แก่สิกขมานา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้สิกขาสมมตินั้นอย่างนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 391
วิธีให้สิกขาสมมติ
สิกขมานานั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุณีทั้งหลาย แล้วนั่งโกระหย่งประคองอัญชลี กล่าวอย่างนี้ ว่าดังนี้.
แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้เป็นสิกขมานาของแม่เจ้าชื่อนี้ ขอสิกขาสมมติใน ธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี ต่อสงฆ์.
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ... พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ...
ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุตยกรรมวาจาว่าดังนี้
กรรมวาจา
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางนี้มีชื่อนี้เป็นสิกขมานา ของแม่เจ้าชื่อนี้ ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี ต่อ สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สิกขาสมมติ ในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี แก่สิกขมานามีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ.
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางนี้มีชื่อนี้เป็นสิกขมานา ของแม่เจ้าชื่อนี้ ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี ต่อสงฆ์ๆ ให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี แก่ สิกขมานาชื่อนี้ การให้สิกขาสมมตในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี แก่สิกขมานาชื่อนี้ ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.
สงฆ์ให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี แก่ สิกขมานาชื่อนี้แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความ นี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 392
พึงบอกสิกขมานาผู้นั้นว่า เธอจงว่าอย่างนี้.
๑. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป มั่น ไม่ละเมิดตลอด ๒ ปี.
๒. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากการถือเอาพัสดุ อันเจ้าของเขามิได้ ให้ มั่น ไม่ละเมิดตลอด ๒ ปี.
๓. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากการประพฤติผิด มิใช่กิจพรหมจรรย์ มั่น ไม่ละเมิดตลอด ๒ ปี.
๔. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากการพูดเท็จ มั่น ไม่ละเมิดตลอด ๒ ปี.
๕. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นฐานประมาท มั่น ไม่ละเมิดตลอด ๒ ปี.
๖. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล มั่น ไม่ละเมิดตลอด ๒ ปี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุณีเหล่านั้น โดยอเนกปริยายดังนี้แล แล้วตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๑๑๘. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสิกขมานาผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขา ในธรรม ๖ ประการ ตลอดสองฝน ให้บวช เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 393
สิกขาบทวิภังค์
[๓๗๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า สองฝน คือ สองปี.
ที่ชื่อว่า ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขา คือ สิกขาอันภิกษุณียังมิได้ให้หรือ ให้แล้วแต่สิกขมานาทำขาดเสีย.
บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
ตั้งใจว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวร ก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรม วาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๓๗๔] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ให้บวช ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 394
ติกะทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๓๗๕] บวชสิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้ :-
สองบทว่า สิกฺขาสมฺมตึ ทาตุํ มีความว่า ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงประทานให้สงฆ์ ให้สิกขาสมมติ.
แก้ว่า ทรงทำในพระหฤทัยว่า ธรรมดามาตุคาม เป็นคนโลเล ยัง ไม่ได้ศึกษาในธรรม ๖ ข้อ ถึง ๒ ปี จะบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ได้ลำบาก แต่ ครั้นได้ศึกษาแล้ว จักไม่ลำบากในภายหลัง คือ จักช่วยตัวได้ (จักยิ่งสิกขาบท ๖ ข้อให้สำเร็จได้) จึงได้ทรงประทานให้สงฆ์ ให้สิกขาสมมติ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 395
ข้อว่า ปาณาติปาตา เวรมณี เทฺว วสฺสานิ อวีติกฺกมสมาทานํ สมาทิยามิ มีความว่า สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป นั้นใด ข้าพเจ้าขอ สมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง ไปนั้น ให้เป็นการสมาทานมั่น ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี. ในสิกขาบททั้งปวง ก็นัยนี้ สิกขาบททั้ง ๖ ข้อนี้ ภิกษุณีสงฆ์พึงให้เหมือนกันแก่สตรี (สามเณรี) ผู้บวชมาแล้วถึง ๖๐ พรรษา. นางสิกขมานาผู้ยังไม่ได้ศึกษาในสิกขา ๖ ข้อนี้ ไม่พึงให้อุปสมบท.
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 396
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๗๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ทั้งหลายพากันบวชสิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการครบ ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า มานี่ สิกขมานา เธอ จงรู้สิ่งนี้ จงให้สิ่งนี้ จงนำสิ่งนี้มา เราต้องการสิ่งนี้ จงทำสิ่งนี้ให้เป็นกัปปิยะ.
นางเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่แม่เจ้า ดิฉันไม่ใช่สิกขมานา พวก ดิฉันเป็นภิกษุณี.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้บวชสิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีทั้งหลายบวชสิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการครบ ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้บวชสิกขมานา ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการครบ ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไป
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 397
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงกระทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์สมมติการ อุปสมบทแก่สิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้สมมติการอุปสมบทนั้น อย่างนี้;-
วิธีให้สมมติการอุปสมบท
สิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้วนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลายแล้ว นั่ง กระหย่งประคองอัญชลี กล่าวอย่างนี้ว่า.
แม่เจ้า ดิฉันมีชื่อนี้ เป็นสิกขมานาของแม่เจ้าชื่อนี้ ได้ศึกษาสิกขา ในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้ว ขอสมมติการอุปสมบทต่อสงฆ์.
พึงขอแม้ครั้งที่สอง. พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :
กรรมวาจา
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานาชื่อนี้ผู้นี้ของแม่เจ้า ชื่อนี้ ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการครบ ๒ ปีแล้ว ขอสมมติ การอุปสมบทต่อสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง สมมติการอุปสมบทแก่สิกขมานาชื่อนี้ ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการครบ ๒ ปีแล้ว นี้เป็นญัตติ.
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานาชื่อนี้ผู้นี้ของแม่เจ้า ชื่อนี้ ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้ว ขอสมมติ การอุปสมบทต่อสงฆ์ๆ ให้สมมติการอุปสมบทแก่สิกขมานาชื่อนี้ ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้ว.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 398
การให้สมมติการอุปสมบทแก่สิกขมานาชื่อนี้ ผู้ได้ศึกษา สิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้ว ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้า ผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.
สมมติการอุปสมบทอันสงฆ์ให้แล้วแก่สิกขมานาชื่อนี้ผู้ได้ ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุ- นั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นโดยอเนกปริยายดังนี้แล แล้วตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๑๙. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสิกขมานาผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอดสองฝนแล้ว อันสงฆ์ยังมิได้สมมติ ให้บวช เป็น ปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๗๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ตลอดสองฝน คือ ตลอด ๒ ปี.
ที่ชื่อว่า ผู้ศึกษาสิกขา ... แล้ว คือ มีสิกขาในธรรม ๖ ประการ อันได้ศึกษาแล้ว.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 399
ที่ชื่อว่า อันสงฆ์ยังมิได้สมมติ คือ อันสงฆ์ยังไม่ได้ให้สมมติการ อุปสมบทด้วยญัตติทุติยกรรม.
บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
ตั้งใจว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวร ก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา สองครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏสองตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๓๗๘] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ให้บวช ต้อง อาบัติปาจิตตีย์
ติกะทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 400
อนาปัตติวาร
[๓๗๙] บวชสิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปี ที่สงฆ์สมมติแล้ว ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๔
คำทั้งหมดในสิกขาบทที่ ๔ ตื้นทั้งนั้น. แต่ถ้าว่า สิกขาสมมติเป็น อันภิกษุณีสงฆ์ยังไม่ได้ให้มาก่อน พึงให้แม้ในโรงอุปสมบทนั่นแล. สิกขมานา ทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่า มหาสิกขมานา.
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 401
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๘๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ทั้งหลายพากันบวชเด็กหญิงชาวบ้านผู้มีอายุยังไม่ครบ ๑๒ ปี เด็กหญิงเหล่านั้น อดทนไม่ได้ต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ไม่อดทนต่อ สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน มักไม่อดกลั้นต่อ ถ้อยคำที่เขากล่าวร้าย หยาบคาย มีปรกติไม่อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดโนสรีระ อย่างแรงกล้า หยาบช้า เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ อันอาจพร่าชีวิต เสีย.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้บวชเด็กหญิงชาวบ้าน ผู้มีอายุยังไม่ครบ ๑๒ ปี เล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีทั้งหลายพากันบวชเด็กหญิงชาวบ้านผู้มีอายุยังไม่ครบ ๑๒ ปี จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้พากันบวชเด็กหญิงชาวบ้านที่มีอายุยังไม่ครบ ๑๒ ปีเล่า
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 402
เพราะเด็กหญิงที่มีอายุยังไม่ครบ ๑๒ ปี เป็นผู้อดทนไม่ได้ต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ไม่อดทนต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน มักไม่อดกลั้นต่อถ้อยคำที่เขากล่าวร้าย หยาบคาย มีปรกติไม่อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดในสรีระอย่างแรงกล้า หยาบช้า เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ อันอาจพร่าชีวิตเสีย ส่วนเด็กหญิงที่มีอายุครบ ๑๒ ปี เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย อดทนต่อ สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน มีปรกติอดกลั้นต่อ ถ้อยคำที่เขากล่าวร้าย หยาบคาย มักอดทนต่อทุกข์เวทนาที่เกิดในสรีระอย่าง แรงกล้า หยาบช้า เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ อันพร่าชีวิตเสีย การ กระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ ;-
พระบัญญัติ
๑๒๐. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังเด็กหญิงชาวบ้านผู้มีอายุหย่อน ๑๒ ฝนให้บวช เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๘๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า มีอายุหย่อน ๑๒ ฝน คือ มีอายุไม่ครบ ๑๒ ปี.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 403
ที่ชื่อว่า เด็กหญิงชาวบ้าน ได้แก่ เด็กหญิงที่เขากล่าวกันว่าอาจมี สามีได้.
บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
ตั้งใจว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวร ก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา สองครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
บทภาชนีย์
[๓๘๒] เด็กหญิงมีอายุหย่อน ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่ามีอายุหย่อน ๑๒ ปี ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เด็กหญิงมีอายุหย่อน ๑๒ ปี ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.
เด็กหญิงมีอายุหย่อน ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าครบ ให้บวช ไม่ต้อง อาบัติ.
เด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่ามีอายุหย่อน ๑๒ ปี ต้อง อาบัติทุกกฏ.
เด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
เด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าครบ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๓๘๓] บวชเด็กหญิงมีอายุหย่อน ๑๒ ปี สำคัญว่ามีอายุครบ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 404
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๕
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้ :-
เมื่อภิกษุณียังสิกขมานาผู้มีอายุหย่อนกว่า ๑๒ ปี ให้บวช ด้วยความ สำคัญว่ามีอายุครบ ไม่เป็นอาบัติ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น สิกขมานานั้นก็ไม่ เป็นอุปสัมบันเลย. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๕
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 405
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๖
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๘๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ทั้งหลายพากันบวชเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี เธอเหล่านั้นเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้จักสิ่งที่ควรหรือ ไม่ควร.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้พากันบวชเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ยังมิได้ศึกษา สิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุณีพากันบวชเด็กหญิงอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาใน ธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก ภิกษุณีจึงได้พากันบวชเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงกระทำธรรมีกถารับสั่งกะ ภิกษุทั้งหลายว่า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 406
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี แก่เด็กหญิงผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี.
วิธีให้สิกขาสมมติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้สิกขาสมมตินั้น อย่างนี้:- อันเด็กหญิงผู้มีอายุครบ ๑๒ ปีนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์ เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลายแล้ว นั่งกระโหย่งประคองอัญชลีกล่าวอย่างนี้ ว่า.
แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นเด็กหญิงของแม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๑๒ ปี ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีต่อสงฆ์.
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจา
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เด็กหญิงนี้ชื่อนี้ของแม่เจ้าชื่อ นี้ผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี ต่อสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สิกขา สมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี แก่เด็กหญิงชื่อนี้ ผู้มีอายุ ครบ ๑๒ ปี นี่เป็นญัตติ.
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เด็กหญิงนี้ชื่อนี้ ของแม่เจ้า ชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี ต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 407
แก่เด็กหญิงชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี การให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี แก่เด็กหญิงชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี ชอบแก่ แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้า ผู้นั้นพึงพูด.
สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๖ ปี อันสงฆ์ให้แล้ว แก่เด็กหญิงชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถนั้น พึงกล่าวกะเด็กหญิงผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี นั้นว่าเธอจงกล่าวอย่างนี้ แล้วพึงกล่าวว่า ดังนี้:-
๑. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป มั่น ไม่ ละเมิดตลอด ๒ ปี ...
๖. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล มั่น ไม่ละเมิดตลอด ๒ ปี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นโดยอเนกปริยายดังนี้ แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๒๑.๖. อนึ่ง ภิกษุณี ภิกษุณีเหล่าใด ยังเด็กหญิงมีอายุ ๑๒ ปีบริบูรณ์ ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอดสองฝนให้บวช เป็น ปาจิตตีย์.
ภิกษุณีหลายรูป จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 408
สิกขาบทวิภังค์
[๓๘๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า มีอายุ ๑๒ ปีบริบูรณ์ คือ มีอายุครบ ๑๒ ฝนแล้ว.
ที่ชื่อว่า เด็กหญิง ได้แก่ เด็กหญิงที่เขากล่าวกันว่าอาจมีสามีได้.
บทว่า ตลอดสองฝน คือ ตลอด ๒ ปี.
ที่ชื่อว่า ยังมิได้ศึกษาสิกขา คือ สงฆ์ยังมิได้ให้สิกขา หรือให้ แล้วแต่เธอทำขาดเสีย.
บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
ตั้งใจว่า จักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบ กรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้ อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๓๘๖] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 409
ติกะทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๓๘๗] บวชเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอดสองปี ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๖
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๖ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุณีสงฆ์ จะให้สิกขาสมมติแก่หญิงคฤหัสถ์ ผู้มีอายุ ๑๐ ปี แล้ว ให้เธอผู้มีอายุครบ ๑๒ ปีบริบูรณ์อุปสมบท ควรอยู่.
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 410
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๘๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ทั้งหลายพากันบวชเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า มานี่ สิกขมานา เธอจงรู้วัตถุนี้ จงประเคนวัตถุนี้ จงนำวัตถุนี้มา ฉันต้องการวัตถุนี้ เธอจงทำวัตถุนี้ให้เป็นกัปปิยะ
เธอเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า พวกดิฉันไม่ใช่สิกขมานา พวก ดิฉันเป็นภิกษุณี.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงพากันบวชเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ศึกษาสิกขาใน ธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีพากันบวชเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 411
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้พากันบวชเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ศึกษาสิกขาใน ธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติเล่า การกระทำของ พวกนางนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้ว ทรงกระทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์สมมติการอุปสมบทแก่เด็กหญิง อายุครบ ๑๒ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลวิธีการให้สมมติการอุปสมบทนั้นอันสงฆ์พึง ให้อย่างนี้:-
วิธีการให้สมมติการอุปสมบท
อันเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้วนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท่าภิกษุณี ทั้งหลายแล้ว นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี กล่าวอย่างนี้ว่า.
แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นเด็กหญิงของแม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๑๒ ปี ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว ขอสมมติการอุปสมบท ต่อสงฆ์.
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม. ภิกษุณี ผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติ- ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 412
กรรมวาจา
แม่เจ้าเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เด็กหญิงชื่อนี้ผู้นี้ ของ แม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๑๒ ปี ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว ขอสมมติการอุปสมบทต่อสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สมมติการอุปสมบทแก่เด็กหญิงชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว นี่เป็นญัตติ.
แม่เจ้าเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เด็กหญิงชื่อนี้ผู้นี้ ของ แม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว ขอสมมติการอุปสมบทต่อสงฆ์ๆ ให้สมมติการ อุปสมบทแก่เด็กหญิงชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาใน ธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว การให้สมมติการอุปสมบทแก่ เด็กหญิงชื่อนี้ผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.
สมมติการอุปสมบท อันสงฆ์ให้แล้วแก่เด็กหญิงชื่น ผู้มี อายุครบ ๑๒ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นโดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 413
พระบัญญัติ
๑๒๒. ๗. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอดสองฝนแล้ว อันสงฆ์ ยังมิได้สมมติ ให้บวช เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๘๙] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า มีอายุครบ ๑๒ ปี คือ มีอายุถึง ๑๒ ฝนแล้ว.
ที่ชื่อว่า เด็กหญิง ได้แก่ สตรีที่เขากล่าวว่าอาจมีสามีได้.
บทว่า ตลอดสองฝน คือ ตลอดสองปี.
ที่ชื่อว่า ผู้ศึกษาสิกขา คือ มีสิกขาในธรรม ๖ ประการอันได้ ศึกษาแล้ว.
ที่ชื่อว่า ยังมิได้สมมติ คือ สงฆ์ยังไม่ได้ให้สมมติการอุปสมบท ด้วยญัตติทุติยกรรม.
บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
ตั้งใจว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวร ก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรม วาจาสองครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 414
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๓๙๐] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ให้บวช ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
ติกะทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๓๙๑] บวชเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว อันสงฆ์สมมติแล้ว ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๗
คำทั้งหมด ในสิกขาบทที่ ๗ ตื้นทั้งนั้น. แม้สมุฏฐานเป็นต้น ใน ทุกสิกขาบท มีสิกขาบทที่ ๓ เป็นต้น ก็เป็นเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในสิกขาบท ที่ ๒ นั่นแล. แต่มีความแปลกกันอย่างนี้:- ในสิกขาบทใดมีสมมติ ใน สิกขาบทนั้น เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา.
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 415
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๓๙๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ถุลลนันทาบวชสหชีวินีแล้ว ไม่อนุเคราะห์เอง ไม่ให้ผู้อื่นอนุเคราะห์ ตลอด ๒ ปี สหชีวินีเหล่านั้นจึงเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้จักสิ่งที่ควรหรือไม่ควร.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาบวชสหชีวินีแล้ว จึงไม่อนุเคราะห์เอง ไม่ให้ ผู้อื่นอนุเคราะห์ตลอด ๒ ปีเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาบวชสหชีวินีแล้ว ไม่อนุเคราะห์เอง ไม่ให้ผู้อื่น อนุเคราะห์ตลอด ๒ ปี จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี ถุลลนันทาบวชสหชีวินีแล้ว จึงได้ไม่อนุเคราะห์เอง ไม่ให้ผู้อื่นอนุเคราะห์ ตลอด ๒ ปีเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 416
พระบัญญัติ
๑๒๓. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสหชีวินีให้บวชแล้ว ไม่อนุ- เคราะห์ ไม่ยังผู้อื่นให้อนุเคราะห์ สิ้นสองฝน เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๙๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า สหชีวินี ได้แก่ ภิกษุณีที่เรียกกันว่าสัทธิวิหารินี.
บทว่า ให้บวชแล้ว คือ ให้อุปสมบทแล้ว.
บทว่า สิ้นสองฝน คือ ตลอด ๒ ปี.
บทว่า ไม่อนุเคราะห์ คือ ไม่อนุเคราะห์เอง ด้วยอุเทศ ปริปุจฉา โอวาท อนุศาสนี.
บทว่า ไม่ให้ผู้อื่นอนุเคราะห์ คือ ไม่บังคับภิกษุณีอื่น. พอทอดธุระว่า จักไม่อนุเคราะห์เอง จักไม่ให้ผู้อื่นอนุเคราะห์ ๒ ปี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๓๙๔] มีอันตราย ๑ แสวงหาแล้วไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มีเหตุขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 417
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๘
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๘ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า น อนุคฺคณฺหาเปยฺย มีความว่า ไม่ยังผู้อื่นให้อนุเคราะห์ ด้วยอุเทศเป็นต้นอย่างนี้ว่า แม่เจ้า! ท่านจงให้อุเทศเป็นต้นแก่ภิกษุณีนี้.
บทว่า ปริเยสิตฺวา ได้แก่ แสวงหาภิกษุณีอื่นแล้วไม่ได้. เป็นผู้ อาพาธเสียเอง ไม่สามารถจะให้อุเทสเป็นต้นได้ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุณีนั้น. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนาแล.
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 418
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๙๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ทั้งหลายไม่ติดตามปวัตตินีผู้ให้บวชถึง ๒ ปี เธอจึงเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้จักสิ่งที่ควรหรือไม่ควร
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลาย จึงไม่ติดตามปวัตตนีผู้ให้บวชตลอด ๒ ปีเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลายไม่ติดตามปวัตตีนีผู้ให้บวชถึง ๒ ปี จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ไม่ติดตามปวัตตินีผู้ให้บวชถึง ๒ ปีเล่า การกระทำของ พวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๒๔. ๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่ติดตามปวัตตินีผู้ให้บวชสิ้น สองฝน เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 419
สิกขาบทวิภังค์
[๓๙๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น ผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ผู้ให้บวช คือ ผู้ให้อุปสมบท.
ที่ชื่อว่า ปวัตตินี ได้แก่ ภิกษุณีที่เขาเรียกกัน ว่าอุปัชฌาย์.
บทว่า สิ้นสองฝน คือ ตลอด ๒ ปี.
บทว่า ไม่ติดตาม คือ ไม่อุปัฏฐาก. พอทอดธุระว่า จักไม่ติดตามตลอด ๒ ปี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๓๙๗] อุปัชฌาย์เป็นคนเขลา หรือ เป็นคนไม่ละอาย ๑ อาพาธ ๑ มีเหตุขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๙
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๙ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า น อุปฏฺเหยฺย มีความว่า ไม่บำรุงด้วยกิจที่ควรทำนั้นๆ อย่างนี้ คือ ด้วยจุณ ด้วยดินเหนียว ด้วยไม้สีฟัน ด้วยน้ำล้างหน้า. คำที่ เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปฐมปาราชิกสิกขาบท เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลกรรม เป็นทุกขเวทนา แล.
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 420
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๓๙๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ถุลลนันทาบวชสหชีวินีไว้แล้ว ไม่พาไปด้วย ไม่ให้ผู้อื่นพาไปด้วย นายได้ จับตัวไป.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาบวชสหชีวินีไว้แล้ว จึงไม่พาไปด้วย ไม่ให้ผู้อื่นพา ไปด้วยเล่า นายได้จับตัวไป ถ้าภิกษุณีนี้ พึงไปด้วย นายก็จะไม่พึงจับตัวไป ได้ ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาบวชสหชีวินีไว้แล้ว ไม่พาไปเอง ไม่ให้ผู้อื่นพาไป นายได้จับตัวไปแล้ว จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทาบวชสหชีวินีไว้แล้ว จึงได้ไม่พาไป ไม่ให้ผู้อื่นพาไป นาย จึงได้จับตัวไป การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส ...
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 421
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๒๕. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสหชีวินีให้บวชแล้ว ไม่พา หลีกไป ไม่ให้พาหลีกไป โดยที่สุดแม้สั้นระยะทาง ๕- ๖ โยชน์ เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๙๙] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า สหชีวินี ได้แก่ ภิกษุณีที่เขาเรียกกันว่าสัทธิวิหารินี.
บทว่า ให้บวชแล้ว คือ ให้อุปสมบทแล้ว.
บทว่า ไม่พาหลีกไป คือ ตนเองไม่พาหลีกไป.
บทว่า ไม่ให้พาหลีกไป คือ ไม่สั่งผู้อื่น.
พอทอดธุระว่า จักไม่พาหลีกไป จักไม่ให้พาหลีกไป โดยที่สุดแม้ สิ้นระยะทาง ๕ - ๖ โยชน์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๔๐๐] มีอันตราย ๑ แสวงหาแล้วไม่ได้ภิกษุณีผู้สหาย ๑ มีเหตุขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
คัพภินีวรรคที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 422
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๐ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า เนว วูปกาเสยฺย ได้แก่ ไม่พาเอาสหชีวินีไป.
บทว่า น วูปกาสาเปยฺย ได้แก่ ไม่สั่งภิกษุณีอื่นว่า แม่เจ้า! ขอจงพาภิกษุณีนี้ไป. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.
อรรถกถาคัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
อรรถกถาคัพภินีวรรคที่ ๗ จบ