พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

กุมารีภูตวรรคที่ ๘ - ปาจิตติยกัณฑ์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  12 มี.ค. 2565
หมายเลข  42799
อ่าน  351

[เล่มที่ 5] พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓

พระวินัยปิฎก เล่ม ๓

ภิกขุนีวิภังค์

ปาจิตติยกัณฑ์

กุมารีภูตวรรคที่ ๘

สิกขาบทที่ ๑ 401/423

พระบัญญัติ ๑๒๖.๑. 424

สิกขาบทที่ ๒ 405/426

กรรมวาจา 427

พระบัญญัติ ๑๒๗.๒. 429

สิกขาบทที่ ๓ 409/431

วิธีการให้สมมติอุปสมบท 432

กรรมวาจา 433

พระบัญญัติ ๑๒๘.๓. 434

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๑ , ๒, ๓ 436

สิกขาบทที่ ๔ 413/437

พระบัญญัติ ๑๒๙.๔. 438

สิกขาบทที่ ๕ 416/439

กรรมวาจา 440

พระบัญญัติ ๑๓๐.๕. 441

สิกขาบทที่ ๖ 420/443

พระบัญญัติ ๑๓๑.๖. 444

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๔, ๕, ๖ 445

สิกขาบทที่ ๗ 423/446

พระบัญญัติ ๑๓๒.๗. 447

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๗ 448

สิกขาบทที่ ๘ 426/449

พระบัญญัติ ๑๓๓.๘. 450

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๘ 451

สิกขาบทที่ ๙ 429/452

พระบัญญัติ ๑๓๔.๙. 453

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๙ 454

สิกขาบทที่ ๑๐ 432/455

พระบัญญัติ ๑๓๕.๑๐. 456

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๑๐ 457

สิกขาบทที่ ๑๑ 435/458

พระบัญญัติ ๑๓๖.๑๑. 459

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๑๑ 460

สิกขาบทที่ ๑๒ 438/462

พระบัญญัติ ๑๓๗.๑๒. 463

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๑๒ 464

สิกขาบทที่ ๑๓ 441/465

พระบัญญัติ ๑๓๘.๑๓. 466

อรรถกถาสิกขาบทที่ ๑๓ 467


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 5]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 423

ปาจิตตีย์ กุมารีภูตวรรคที่ ๘

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๔๐๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ทั้งหลายให้สามเณรีมีอายุหย่อน ๒๐ ฝน อุปสมบท เธอเหล่านั้นอดทนไม่ได้ ต่อความหนาว ความร้อน ความหิว กระกระหาย ไม่อดทนต่อสัมผัสแห่ง เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน มักไม่อดกลั้นต่อถ้อยคำที่เขา กล่าวร้าย หยาบคาบ มีปรกติไม่อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดในสรีระอย่างแรง กล้า หยาบช้า เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ อันอาจพร่าชีวิตเสีย.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ให้สามเณรีมีอายุหย่อน ๒๐ ฝน อุปสมบทเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีให้สามเณรี มีอายุหย่อน ๒๐ ฝน อุปสมบท จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ให้สามเณรี มีอายุหย่อน ๒๐ ฝน อุปสมบทเล่า เพราะ สามเณรีมีอายุหย่อน ๒๐ ฝน เป็นผู้อดทนไม่ได้ต่อความหนาว ความร้อน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 424

ความหิว ความระหาย ไม่อดทนต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ สัตว์เสือกคลาน มักไม่อดกลั้นต่อถ้อยคำที่เขากล่าวร้าย หยาบคาย มีปรกติ ไม่อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดในสรีระอย่างแรงกล้า หยาบช้า เผ็ดร้อน ไม่ น่ายินดี ไม่น่าพอใจ อันอาจพร่าชีวิตเสีย การกระทำของพวกนางนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๒๖. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสตรีผู้เป็นกุมารี มีอายุหย่อน ๒๐ ปี ให้บวช เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๐๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น ผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า มีอายุหย่อน ๒๐ ปี คือ มีอายุยังไม่ถึง ๒๐ ฝน.

ที่ชื่อว่า สตรีผู้ยังเป็นกุมารี ได้แก่ สตรีที่เรียกกันว่าสามเณรี.

บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท. ตั้งใจว่าจักให้อุปสมบท แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบ กรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้ อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 425

บทภาชนีย์

[๔๐๓] สามเณรีมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ภิกษุณีสำคัญว่ามีอายุหย่อน ๒๐ ปี ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

สามเณรีมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.

สามเณรีมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ภิกษุณีสำคัญว่ามีอายุครบแล้ว ให้บวช ไม่ต้องอาบัติ.

สามเณรีมีอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุณีสำคัญว่า มีอายุหย่อน ๒๐ ปี ต้อง อาบัติทุกกฏ.

สามเณรีมีอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

สามเณรีมีอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุณีสำคัญว่ามีอายุครบแล้ว ไม่ต้อง อาบัติ.

อนาปัตติวาร

[๔๐๔] บวชกุมารีผู้มีอายุหย่อน ๒๐ ฝน สำคัญว่ามีอายุครบแล้ว ๑ บวชกุมารีผู้มีอายุครบ ๒๐ ฝนแล้ว สำคัญว่ามีอายุครบแล้ว ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 426

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๒

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๔๐๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ทั้งหลายพากันบวชสามเณรีมีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี เธอเหล่านั้นจึงเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควร หรือไม่ควร.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้พากันบวชสามเณรีมีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ยังมิได้ ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี เล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลายพากันบวชสามเณรีมีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขา ในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้พากันบวชสามเณรีมีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขา ในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงกระทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 427

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี แก่สามเณรีผู้ยังเป็นกุมารี มีอายุ ๑๘ ปี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสิกขาสมมตินั้น อันภิกษุณีพึงให้อย่างนี้:-

วิธีให้สิกขาสมมติแก่สามเณรีอายุ ๑๘ ปี

อันสามเณรีผู้มีอายุ ๑๘ ปีนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์ เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลายแล้ว นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี กล่าว อย่างนี้ว่า.

แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นสามเณรีของแม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุ ๑๘ ปี ขอ สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี ต่อสงฆ์.

พึงขอแม้ครั้งที่สอง. พึงขอแม้ครั้งที่สาม.

ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม วาจา ว่าดังนี้;-

กรรมวาจา

แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรีนี้ชื่อนี้ ของแม่เจ้า ชื่อนี้ มีอายุ ๑๘ ปี ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี ต่อสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สิกขา สมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี แก่สามเณรชื่อนี้ ผู้มีอายุ ๑๘ ปี นี่เป็นญัตติ.

แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรีนี้ชื่อนี้ ของแม่เจ้า ชื่อนี้ มีอายุ ๑๘ ปี ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี ต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี แก่ สามเณรี ชื่อนี้ ผู้มีอายุ ๑๘ ปี การให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 428

ตลอด ๒ ปี แก่สามเณรีชื่อนี้ มีอายุ ๑๘ ปี ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงนิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.

สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี สงฆ์ให้แล้วแก่ สามเณรชื่อนี้ ผู้มีอายุ ๑๘ ปี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า ทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถนั้น พึงกล่าวกะสามเณรีผู้มีอายุ ๑๘ ปีนั้น ว่าเธอจงกล่าวอย่างนี้ แล้วพึงกล่าวว่า ดังนี้;-

๑. ข้าพเจ้าสมาทานสิกขา คือ เว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป มั่น ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี.

๒. ข้าพเจ้าสมาทานสิกขา คือ เว้นจากถือเอาพัสดุอันเจ้าของมิได้ให้ มั่น ไม่ละเมิดตลอด ๒ ปี.

๓. ข้าพเจ้าสมาทานสิกขา คือ เว้นจากประพฤติผิดมิใช่กิจพรหมจรรย์ มั่น ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี.

๔. ข้าพเจ้าสมาทานสิกขา คือ เว้นจากพูดเท็จ มั่น ไม่ล่วงละเมิด ตลอด ๒ ปี.

๕. ข้าพเจ้าสมาทานสิกขา คือ เว้นจากน้ำเมาคือสุราเมรัย อันเป็น ฐานแห่งความประมาท มั่น ไม่ล่วงละเมิด ตลอด ๒ ปี.

๖. ข้าพเจ้าสมาทานสิกขา คือเว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล มั่น ไม่ล่วงละเมิด ตลอด ๒ ปี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุณีเหล่านั้น โดยอเนกปริยายดังนี้ แล้วตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 429

พระบัญญัติ

๑๒๗. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสตรีผู้เป็นกุมารี มีอายุครบ ๒๐ ปีแล้ว ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ฝน ให้บวช เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๐๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น ผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า มีอายุครบ ๒๐ ปีแล้ว คือ มีอายุถึง ๒๐ ฝนแล้ว.

ที่ชื่อว่า สตรีผู้เป็นกุมารี ได้แก่ สตรีที่เรียกกันว่าสามเณรี.

บทว่า ตลอด ๒ ฝน คือ ตลอด ๒ ปี.

ที่ชื่อว่า ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขา คือ สงฆ์ยังไม่ได้ให้สิกขา หรือ ให้แล้วแต่เธอทำขาดเสีย.

บทว่า ให้บวช คือ อุปสมบท.

ตั้งใจว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวร ก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา สองครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏสองตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 430

บทภาชนีย์

ติกะปาจิตตีย์

[๔๐๗] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ให้บวช ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

ติกะทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๔๐๘] บวชสามเณรีมีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 431

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๓

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๔๐๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ทั้งหลายพากันบวชสามเณรีผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ.

ภิกษุณีทั้งหลายพากันกล่าวอย่างนี้ว่า มานี่ สิกขมานา เธอจงรู้วัตถุ นี้ จงประเคนวัตถุนี้ จงนำวัตถุนี้มา ฉันต้องการวัตถุนี้ เธอจงทำวัตถุนี้ให้ เป็นกัปปิยะ.

เธอเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า พวกดิฉันไม่ใช่สิกขมานา พวก ดิฉันเป็นภิกษุณี.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่าไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้บวชสามเณรี ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขา ในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุณีพากันบวชสามเณรีผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาใน ธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 432

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก ภิกษุณีจึงได้บวชสามเณรีผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้ว ทรงกระทำ ธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์สมมติการอุปสมบทแก่สามเณรี ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลวิธีการให้สมมติการอุปสมบทนั้น อันสงฆ์ พึงให้อย่างนี้:-

วิธีการให้สมมติอุปสมบท

อันสามเณรีผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้วนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์ เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุณีทั้งหลายแล้ว นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี กล่าวอย่างนี้ว่า.

แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นสามเณรีของแม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๒๐ ปี ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว ขอสมมติการอุปสมบท ต่อสงฆ์.

พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.

ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 433

กรรมวาจา

แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรชื่อนี้ผู้นี้ ของแม่เจ้า ชื่อนี้ มีอายุครบ ๒๐ ปี ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว ขอสมมติการอุปสมบทต่อสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงไห้สมมติการอุปลมบทแก่สามเณรีชื่อนี้ ผู้มี อายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี แล้ว นี้เป็นญัตติ.

แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรีชื่อนี้ผู้นี้ ของแม่เจ้า ชื่อนี้มีอายุครบ ๒ ปี ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว ขอสมมติการอุปสมบทต่อสงฆ์ สงฆ์สมมติการอุปสมบทแก่ สามเณรีชื่อนี้ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว การให้สมมติการอุปสมบทแก่สามเณรีชื่อนี้ มี อายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี แล้ว ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้า ผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.

สมมติการอุปสมบท อันสงฆ์ให้แล้วแก่สามเณรีชื่อนี้ ผู้มี อายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุณีเหล่านั้น โดยอเนกปริยายดังนี้ แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 434

พระบัญญัติ

๑๒๘. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสตรีผู้เป็นกุมารี มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ฝนแล้ว อัน สงฆ์ยังมิได้สมมติ ให้บวช เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๑๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า มีอายุครบ ๒๐ ปี คือ มีอายุถึง ๒๐ ฝนแล้ว.

ที่ชื่อว่า สตรีผู้เป็นกุมารี ได้แก่ สตรีที่เรียกกันว่าสามเณรี.

บทว่า ตลอด ๒ ฝน คือ ตลอด ๒ ปี.

ที่ชื่อว่า ผู้ได้ศึกษาสิกขา คือ ผู้มีสิกขาในธรรม ๖ ประการอัน ได้ศึกษาแล้ว.

ที่ชื่อว่า ยังมิได้สมมติ คือ สงฆ์ยังมิได้ให้สมมติการอุปสมบทด้วย ญัตติทุติยกรรม.

บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.

ตั้งใจว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวร ก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรม วาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์ต้องอาบัติปาจิตตีย์ และคณะอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 435

บทภาชนีย์

ติกะปาจิตตีย์

[๔๑๑] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์

กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ให้บวช ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

ติกะทุกกฏ

กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๔๑๒] บวชสามเณรีผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว อันสงฆ์สมมติแล้ว ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 436

อรรถกถากุมารีภูตวรรคที่ ๘

อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑ - ๒ - ๓

สิกขาบทที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ แห่งกุมารีภูควรรค เช่นเดียวกับคิหิคต สิกขาบททั้ง ๓ นั่นเอง. ก็มหาสิกขมานา ๒ รูปก่อนเขาทั้งหมดบัณฑิตพึงทราบ ว่า มีอายุล่วง ๒๐ ปีแล้ว มหาสิกขมานาเหล่านั้นจะเป็นสตรีคฤหัสถ์ (เคยมี สามีแล้ว) หรือมิใช่สตรีคฤหัสถ์ก็ตามที สงฆ์ควรเรียกว่า สิกขมานา เหมือนกัน ในสมมติกรรมเป็นต้น ไม่ควรเรียกว่า ติหิคตา หรือว่า กุมารีภูตา. ภิกษุณี สงฆ์พึงให้สิกขาสมมติแก่สตรีคฤหัสถ์ในเวลามีอายุ ๑๐ ปี แล้วทำการอุปสมบท ในเวลามีอายุ ๑๒ ปี. ให้ในเวลามีอายุ ๑๑ ปี แล้วทำอุปสมบทในเวลามีอายุ ๑๓ ปี. ให้สมมติในเวลามีอายุ ๑๒ ปี ๑๓ ปี ๑๔ ปี ๑๕ ปี ๑๖ ปี ๑๗ ปี และ ๑๘ ปี แล้วพึงกระทำการอุปสมบทในเวลามี ๑๔ - ๑๕ - ๑๖ - ๑๗ - ๑๘ - ๑๙ - ๒๐ ปี. ก็แล ตั้งแต่เวลามีอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป สตรีคฤหัสถ์นี้ จะเรียกว่า คิหิคตา บ้าง ว่า กุมารีภูตาบ้าง ก็ได้. แต่สตรีผู้เป็นกุมารีภูตา ไม่ควรเรียกว่า คิหิคตา ควรเรียกว่า กุมารีภูตาเท่านั้น. ฝ่ายมหาสิกขมานา จะเรียกว่า คิหิคตาบ้าง ก็ไม่ควร. จะเรียกว่ากุมารีภูตาบ้าง ก็ไม่ควร. แม้ทั้ง ๓ นาง ควรเรียกว่า สิกขมานาด้วยอำนาจการให้สิกขาสมมติ.

อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑ - ๒ - ๓ จบ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 437

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๔

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๔๑๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พวก ภิกษุณีผู้มีพรรษาหย่อน ๑๒ พากันบวชกุลธิดา ภิกษุณีผู้อุปัชฌายะเหล่านั้น เป็นคนเขลาไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร แม้สัทธิวิหารินีทั้งหลายก็เป็น คนเขลาไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายมีพรรษาหย่อน ๑๒ จึงได้บวชกุลธิดาเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลายมีพรรษาหย่อน ๑๒ บวชกุลธิดา จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี ทั้งหลาย มีพรรษาหย่อน ๑๒ จึงได้บวชกุลธิดาเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง นี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 438

พระบัญญัติ

๑๒๙. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด มีพรรษาหย่อน ๑๒ ยังกุลธิกา ให้บวช เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๑๔] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น ผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ชื่อว่า มีพรรษาหย่อน ๑๒ คือ มีพรรษายังไม่ถึง ๑๒.

บทว่า ยังกุลธิดาให้บวช คือ ให้กุลธิดาอุปสมบท.

ตั้งใจว่า จักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบ กรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณี ผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๔๑๕] มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว ยังกุลธิดาให้บวช ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

กุมารีภูตวรรคสิกขาบทที่ ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 439

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๕

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๔๑๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ ได้พากันบวชกุลธิดา ภิกษุณี อุปัชฌายะเหล่านั้น เป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร แม้ สัทธิวิหารินี ก็เป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ จึงได้พากัน บวชกุลธิดาเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ ได้พากัน บวชกุลธิดา จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน พวกภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ จึงได้พากันบวช กุลธิดาเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้ว ทรงกระทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 440

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์สมมติการอุปสมบทแก่ภิกษุณี ผู้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลวิธีการสมมติให้อุปสมบทนั้นอันสงฆ์พึงให้ อย่างนี้:-

วิธีให้สมมติการให้อุปสมบทแก่ภิกษุณีผู้มีพรรษาครบ ๑๒

อันภิกษุณีผู้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้วนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้า อุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษากว่าแล้ว นั่งกระโหย่งประคอง อัญชลี กล่าวอย่างนี้ว่า.

แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้ มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว ขอสมมติการให้อุปสมบท ต่อสงฆ์.

พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.

ภิกษุณีนั้นอันสงฆ์พึงกำหนดว่า ภิกษุณีนี้เป็นคนฉลาด มีความละอาย ถ้าเธอเป็นคนเขลา และไม่มีความละอาย ก็ไม่ควรให้ ถ้าเป็นคนเขลา แต่มี ความละอาย ก็ไม่ควรให้ ถ้าเป็นคนฉลาด แต่ไม่มีความละอาย ก็ไม่ควร ให้ ถ้าเป็นคนฉลาดด้วย มีความละอายด้วย จึงควรให้.

ครั้นแล้ว สงฆ์พึงให้สมมติการให้อุปสมบทนั้นอย่างนี้:-

ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจา

แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีชื่อนี้ผู้นี้ มีพรรษา ครบ ๑๒ แล้ว ขอสมมติการให้อุปสมบทต่อสงฆ์ ถ้าความพร้อม พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สมมติการให้อุปสมบทแก่ภิกษุณี ชื่อนี้ ผู้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว นี้เป็นญัตติ.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 441

แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีชื่อนี้ผู้นี้ มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว ขอสมมติการให้อุปสมบทต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สมมติการให้ อุปสมบทแก่ภิกษุณีชื่อนี้ ผู้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว การให้สมมติ การให้อุปสมบทแก่ภิกษุณีชื่อนี้ ผู้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว ชอบแก่ แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ่าผู้ใด แม่เจ้า ผู้นั้นพึงพูด.

การให้สมมติการให้อุปสมบท อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุณีชื่อ นี้ ผู้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า ทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุณีเหล่านั้น โดยอเนกปริยาย ดังนี้ แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๓๐. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว อัน สงฆ์ยังมิได้สมมติ ยังกุลธิดาให้บวช เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๑๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว คือ มีพรรษาถึง ๑๒ แล้ว.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 442

ที่ชื่อว่า ยังมิได้สมมติ คือ สงฆ์ยังมิได้ให้สมมติการให้อุปสมบท ด้วยญัตติทุติยกรรม.

บทว่า ยังกุลธิดาให้บวช คือ ให้กุลธิดาอุปสมบท.

ตั้งใจว่าจักให้บวช แสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา สองครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏสองตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.

บทภาชนีย์ ติกะปาจิตตีย์

[๔๑๘] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ให้บวช ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

ติกะทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๔๑๙] มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว อันสงฆ์สมมติแล้ว ยังกุลธิดาให้ บวช ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 443

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๖

เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี

[๔๒๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี จัณฑกาลีเข้าไปหาภิกษุณีสงฆ์ ขอสมมติการให้อุปสมบท ภิกษุณีสงฆ์พิจารณา ดูภิกษุณีจัณฑกาลีในขณะนั้นแล้ว กล่าวว่า ดูก่อนแม่เจ้า เธอยังไม่คนควร ให้กุลธิดาบวชก่อน แล้วมิได้ให้สมมติการให้อุปสมบท ภิกษุณีจัณฑกาลีรับ คำว่า ดีแล้ว.

ครั้นสมัยต่อมา ภิกษุณีสงฆ์สมมติการให้อุปสมบทแก่ภิกษุณีเหล่าอื่น ภิกษุณีจัณฑกาลีจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ดิฉันคนเดียวเป็นคนเขลา ดิฉันคนเดียวเป็นคนไม่มีความละอาย เพราะสงฆ์ให้สมมติการให้อุปสมบทแก่ ภิกษุณีเหล่าอื่น ไม่ให้กะดิฉันคนเดียว.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนแม่เจ้าจัณฑกาลี อันภิกษุณีสงฆ์กล่าวอยู่ว่า ดูก่อนแม่เจ้า เธอยังไม่ สมควรให้กุลธิดาบวชก่อน ดังนี้ รับคำว่า ดีแล้ว ภายหลังจึงได้ถึงการบ่น ว่าเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีจัณฑกาลีอันสงฆ์กล่าวอยู่ว่า ดูก่อนแม่เจ้า เธอยังไม่สมควร ให้กุลธิดาบวชก่อน ดังนี้ รับคำว่า ดีแล้ว ภายหลังได้ถึงการบ่นว่า จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 444

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีจัณฑกาลีอันภิกษุณีสงฆ์กล่าวอยู่ว่า ดูก่อนแม่เจ้า เธอยังไม่สมควรให้ กุลธิดาบวชก่อน ดังนี้ รับคำว่า ดีแล้ว ภายหลังจึงได้ถึงการบ่นว่าเล่า การ กระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ ...

พระบัญญัติ

๑๓๑. ๖. อนึ่ง ภิกษุณีใด อันภิกษุณีสงฆ์กล่าวอยู่ว่า ดู ก่อนแม่เจ้า เธอยังไม่สมควรให้กุลธิดาบวชก่อน ดังนี้ รับคำว่า ดีแล้ว ภายหลังถึงธรรมคือบ่นว่า เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๒๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

คำว่า ดูก่อนแม่เจ้า เธอยังไม่สมควรให้กุลธิดาบวชก่อน ความว่า ดูก่อนแม่เจ้า เธอยังไม่ควรก่อน ที่จะเป็นผู้ให้กุลธิดาอุปสมบท.

คำว่า รับคำว่า ดีแล้ว ความว่า ถึงธรรมคือบ่นว่าในภายหลัง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 445

อนาปัตติวาร

[๔๒๒] บ่นว่าภิกษุณีสงฆ์ผู้ทำ เพราะฉันทาคติ เพราะโทสาคติ เพราะโมหาคติ เพราะภยาคติ โดยปกติ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ ต้องอาบัติแล.

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๔ - ๕ - ๖

คำทั้งหมดในสิกขาบทที่ ๔ ที่ ๕ และที่ ๖ ตื้นทั้งนั้น. ทุกสิกขาบท มีสมุฏฐาน ๓. สิกขาบทที่ ๔ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติ- วัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.

สิกขาบทที่ ๕ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล. ส่วนว่า คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสิกขาบทที่ ๕ นี้ว่า สงฺเฆน ปริจฺฉินฺ- ทิตพฺพา มีใจความว่า อันสงฆ์พึงพิจารณาดู.

สิกขาบทที่ ๖ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนาแล. แต่คำที่ตรัสไว้ใน สิกขาบทที่ ๖ นี้ว่า ปริจฺฉินฺทิตฺวา มีใจความว่า ได้พิจารณาดูแล้ว.

อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๔ - ๕ - ๖ จบ

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 446

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๗

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

[๔๒๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น สิกขมานารูปหนึ่ง เข้าไปหาภิกษุณีถุลลนันทาขออุปสมบท ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวกะ สิกขมานารูปนั้นว่า ดูก่อนแม่เจ้า ถ้าเธอจักให้จีวรแก่เรา เมื่อได้เช่นนี้ เรา จึงจะให้เธออุปสมบทแล้วไม่ให้นางอุปสมบท ไม่ขวนขวายเพื่อให้นางอุปสมบท สิกขมานารูปนั้น จึงได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้กล่าวกะสิกขมานาว่า ดูก่อนแม่เจ้า ถ้าเธอจัก ให้จีวรแก่เรา เมื่อได้เช่นนี้ เราจึงจะให้เธออุปสมบท แล้วไม่ให้นางอุปสมบท ไม่ขวนขวายเพื่อให้นางอุปสมบทเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวกะสิกขมานาว่า ดูก่อนแม่เจ้า ถ้าเธอจักให้ จีวรแก่เรา เมื่อได้เช่นนี้ เราจึงจะให้เธออุปสมบท แล้วไม่ให้นางอุปสมบท ไม่ขวนขวายเพื่อให้นางอุปสมบท จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้กล่าวกะสิกขมานาว่า ดูก่อนแม่เจ้า ถ้าเธอจักให้จีวรแก่

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 447

เรา เมื่อได้เช่นนี้ เราจึงจะให้เธออุปสมบท แล้วไม่ให้นางอุปสมบท ไม่ขวนขวายเพื่อให้นางอุปสมบทเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ ...

พระบัญญัติ

๑๓๒. ๗. อนึ่ง ภิกษุณีใด กล่าวกะสิกขมานาว่า ดูก่อน แม่เจ้าถ้าเธอจักให้จีวรแก่เรา เมื่อได้เช่นนี้ เราจึงจะให้เธออุปสมบท ดังนี้แล้ว นางไม่มีอันตรายในภายหลัง ไม่ให้อุปสมบท ไม่ทำการ ขวนขวายเพื่อให้อุปสมบท เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๒๔] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สตรีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว.

คำว่า ดูก่อนแม่เจ้า ถ้าเธอจักให้จีวรแก่เรา เมื่อได้เช่นนี้ เราจึงจะให้เธออุปสมบท ความว่า เมื่อเราได้จีวรแล้ว เราจึงจะให้เธอ อุปสมบท.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 448

คำว่า นางไม่มีอันตรายในภายหลัง คือ ในเมื่ออันตรายไม่มี.

บทว่า ไม่ให้อุปสมบท คือ ไม่บวชให้ด้วยตนเอง.

บทว่า ไม่ทำการขวนขวายเพื่อให้อุปสมบท คือ ไม่มอบหมาย ภิกษุณีรูปอื่นจัดการแทน.

พอทอดธุระว่า จักไม่ให้อุปสมบท จักไม่ขวนขวายเพื่อให้อุปสมบท ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร

[๔๒๕] ในเมื่ออันตรายมี ๑ แสวงหาแล้วไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มี เหตุขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๗

คำทั้งหมดในสิกขาบทที่ ๗ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระ เป็นสมุฏฐาน เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.

อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 449

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๘

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

[๔๒๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น สิกขมานา รูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุณีถุลลนันทาขออุปสมบท ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวกะ สิกขมานารูปนั้นว่า ดูก่อนแม่เจ้า ถ้าเธอจักติดตามเราตลอด ๒ ปี เมื่อได้ดังนี้ เราจึงจะให้เธออุปสมบท แล้วไม่ให้นางอุปสมบท ไม่ขวนขวายเพื่อให้นาง อุปสมบท สิกขมานารูปนั้นจึงได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่าไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้กล่าวกะสิกขมานาว่า ดูก่อนแม่เจ้า ถ้าเธอจัก ติดตามเราตลอด ๒ ปี เมื่อได้ดังนี้ เราจึงจะให้เธออุปสมบท แล้วไม่ให้นาง อุปสมบท ไม่ขวนขวายเพื่อให้นางอุปสมบทเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวกะสิกขมานาว่า ดูก่อนแม่เจ้า ถ้าเธอจักติดตาม เราตลอด ๒ ปี เมื่อได้ดังนี้ เราจึงจะให้เธออุปสมบท แล้วไม่ให้นางอุปสมบท ไม่ขวนขวายเพื่อให้นางอุปสมบท จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้กล่าวกะสิกขมานาว่า ดูก่อนแม่เจ้า ถ้าเธอจักติดตามเรา

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 450

ตลอด ๒ ปี เมื่อได้ดังนี้ เราจะให้เธออุปสมบท แล้วไม่ให้นางอุปสมบท ไม่ขวนขวายเพื่อให้นางอุปสมบทเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ ...

พระบัญญัติ

๑๓๓. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด กล่าวกะสิกขมานาว่า ดูก่อนแม่เจ้า ถ้าเธอจักติดตามเราตลอด ๒ ปี เมื่อได้เช่นนี้ เราจึงจะให้เธออุปสมบท ดังนี้แล้ว นางไม่มีอันตรายในภายหลัง ไม่ให้อุปสมบท ไม่ทำการ ขวนขวายเพื่อให้อุปสมบท เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันนทา จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๒๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สตรีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว.

คำว่า ดูก่อนแม่เจ้า ถ้าเธอจักติดตามเราตลอด ๒ ปี ความว่า เธอจักอุปัฏฐากตลอด ๒ ปี.

คำว่า เมื่อได้เช่นนี้ เราจึงจะให้เธออุปสมบท ความว่า. เมื่อ เธอทำได้เช่นนี้ เราจึงจะให้เธออุปสมบท.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 451

คำว่า นางไม่มีอันตรายในภายหลัง คือ ในเมื่ออันตรายไม่มี.

บทว่า ไม่ให้อุปสมบท คือ ไม่บวชให้ด้วยตนเอง.

บทว่า ไม่ทำการขวนขวายเพื่อให้อุปสมบท คือ ไม่มอบหมาย ภิกษุณีรูปอื่นให้จัดการแทน.

พอทอดธุระว่า จักไม่ให้อุปสมบท จักไม่ขวนขวายเพื่อให้อุปสมบท ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร

[๔๒๘] ในเมื่อมีอันตราย ๑ แสวงหาแล้วไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มี เหตุขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๘

คำทั้งหมดแม้ในสิกขาบทที่ ๘ ก็ตื้นทั้งนั้น. สมุฏฐานเป็นต้นก็เป็น เช่นเดียวกับสิกขาบทถัดไปแล.

อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 452

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๙

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

[๔๒๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ถุลลนันทาบวชสิกขมานาชื่อจัณฑกาลี ผู้เกี่ยวข้องด้วยบุรุษ ผู้คลุกคลีกับ เด็กหนุ่ม ผู้ดุร้าย ผู้ยังชายให้ระทมโศก.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทา จึงได้บวชสิกขมานาชื่อจัณฑกาลี ผู้เกี่ยวข้องด้วย บุรุษ ผู้คลุกคลีกับเด็กหนุ่ม ผู้ดุร้าย ผู้ยังชายให้ระทมโศกเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาบวชสิกขมานาชื่อจัณฑกาลี ผู้เกี่ยวข้องกับบุรุษ ผู้ คลุกคลีกับเด็กหนุ่ม ผู้ดุร้าย ผู้ยังชายให้ระทมโศก จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้บวชสิกขมานาชื่อจัณฑกาลี ผู้เกี่ยวข้องด้วยบุรุษ ผู้คลุกคลีกับเด็กหนุ่ม ผู้ดุร้าย ผู้ยังชายให้ระทมโศกเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 453

พระบัญญัติ

๑๓๔. ๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสิกขมานาผู้เกี่ยวข้องด้วยบุรุษ ผู้คลุกคลีกับเด็กหนุ่ม ผู้ดุร้าย ผู้ยังชายให้ระทมโศก ให้บวช ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

เรื่องภิภษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๓๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า บุรุษ ได้แก่ ชายผู้มีอายุถึง ๒๐ ปี.

ที่ชื่อว่า เด็กหนุ่ม ได้แก่ ชายผู้มีอายุยังไม่ถึง ๒๐ ปี.

ที่ชื่อว่า ผู้เกี่ยวข้องหรือคลุกคลี คือ สังสรรค์กันด้วยความเกี่ยว ข้องกันทางกายและวาจาอันไม่สมควร.

ที่ชื่อว่า ผู้ดุร้าย ได้แก่ ที่เรียกกันว่า ผู้มักโกรธ.

ที่ชื่อว่า ผู้ยังชายให้ระทมโศก คือ ผู้ก่อทุกข์ นำความโศกมา ให้แก่ชายอื่น.

ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สตรีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว.

บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.

ตั้งใจว่า จักให้อุปสมบท แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตร ก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณี ผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 454

อนาปัตติวาร

[๔๓๑] ไม่รู้ ให้อุปสมบท ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๙

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๙ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า โสกวสํ มีความว่า นางสิกขมานาใด ทำการนัดหมายแล้ว (ไม่ไปตามนัด) ยังความโศกให้เข้าไปภายในใจของพวกบุรุษ เพราะฉะนั้น สิกขมานานั้น จึงชื่อว่า ผู้ยังชายให้ระทมโศก. บวชให้สิกขมานาผู้ยังชายให้ ระทมโศกนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า ที่ชื่อว่า ผู้ยัง ชายให้ระทมโศก คือ ก่อทุกข์ให้เกิดแก่ชายอื่น.

อีกอย่างหนึ่ง นางสิกขมานาแม้นี้ เมื่อไม่ได้สมาคมกับบุรุษย่อมเข้าสู่ ความโศกเศร้าเสียเอง ดุจหญิงเจ้าของเรื่องเข้าสู่เรือนฉะนั้น. นางสิกขมานา เข้าสู่ความโศกใด ด้วยอาการอย่างนี้ ความโศกนั้นเป็นที่อยู่แห่งสิกขมานานั้น เหตุนั้น สิกขมานานั้น จึงชื่อว่า มีความโศกเป็นที่อยู่. ด้วยเหตุนั้น พระผู้- มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ย่อมนำความโศกมา.

บทว่า อชานนฺตี ได้แก่ ไม่รู้ว่า ผู้นี้ เป็นเช่นนี้. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.

อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 455

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

[๔๓๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ถุลลนันทาบวชสิกขมานาผู้อันมารดาบิดาบ้าง อันสามีบ้าง ยังมิได้อนุญาต มารดาบิดาบ้าง สามีบ้าง จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้า ถุลลนันทาจึงได้บวชสิกขมานาที่พวกเรายังมิได้อนุญาตเล่า.

ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินมารดาบิดาบ้าง สามีบ้าง เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่าไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้บวชสิกขมานาผู้อันมารดาบิดาบ้าง อันสามีบ้าง ยัง มิได้อนุญาตเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาบวชสิกขมานาผู้อันมารดาบิดาบ้าง สามีบ้าง ยังมิได้ อนุญาต จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้บวชสิกขมานาผู้อันมารดาบิดาบ้าง อันสามีบ้าง ยังมิได้ อนุญาตเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส ...

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 456

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๓๕. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใดยังสิกขมานาผู้อันมารดาบิดา หรือสามียังมิได้อนุญาต ให้บวช เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๓๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า มารดาบิดา ได้แก่ ที่เรียกกันว่าผู้ให้กำเนิด.

ที่ชื่อว่า สามี ได้แก่บุรุษผู้หวงแหน.

บทว่า ยังมิได้อนุญาต คือ ยังมิได้บอกลามารดาบิดาหรือสามี.

ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สตรีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว.

บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.

ตั้งใจว่า จักให้อุปสมบท แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตร ก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบ กรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณี ผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๔๓๔] ไม่รู้ ให้อุปสมบท ๑ อนุญาตแล้วจึงให้บวช ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 457

อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๐ พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า อนาปุจฺฉา แปลว่า ไม่บอกกล่าว. พวกภิกษุณีควรบอก กล่าว ๒ ครั้ง คือ ในคราวบรรพชาครั้ง ๑ ในคราวอุปสมบทครั้ง ๑. แต่พวก ภิกษุแม้เมื่อบอกกล่าวคราวเดียว ก็ควร.

บทว่า อชานนฺตี ได้แก่ ไม่รู้ว่ามารดาเป็นต้น ยังมีอยู่. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานที่สำคัญไม่ซ้ำก่อน ๔ สมุฏฐาน เกิดขึ้นทาง วาจา ๑ ทางกายกับวาจา ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑. คือ อย่างไร คือภิกษุณีนั่งในขัณฑสีมา ด้วยกิจที่ควรทำบางอย่างนั่นแล ในกรรม มีอัพภานกรรมเป็นต้น กล่าวว่า พวกท่านจงเรียกสิกขมานามา พวกเราจัก ให้เธออุปสมบท ในขัณฑสีมานี้แหละ แล้วอุปสมบทให้ อย่างนี้ชื่อว่า เกิด ขึ้นทางวาจา ๑. เมื่อภิกษุณีกล่าวตั้งแต่สำนักที่อยู่ว่า เราจักให้อุปสมบท แล้ว เดินไปยังขัณฑสีมา ชื่อว่า เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑. เมื่อภิกษุณีไม่รู้เลยว่า เป็นข้อที่ทรงบัญญัติห้ามไว้ ทำการล่วงละเมิด ในฐานะทั้ง ๒ ชื่อว่า เกิดขึ้น ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑. เป็นทั้งกิริยา ทั้งอกิริยา เพราะไม่ ให้ขออนุญาตดูก่อนแล้วให้อุปสมบท เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติ- วัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.

อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 458

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

[๔๓๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ถุลลนันทานิมนต์พระเถระทั้งหลายมาประชุมกัน ด้วยกล่าวว่า ดิฉันจักบวช สิกขมานา ครั้นเห็นอาหารของเคี้ยวของฉันมากมาย จึงส่งพระเถระทั้งหลาย กลับด้วยกล่าวว่า ดิฉันจักยังไม่บวชสิกขมานาก่อน แล้วนิมนต์พระเทวทัต พระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสกะ แสะพระสมุทททัตตะ ผู้โอรสของพระนาง ขัณฑเทวี มาประชุมกันบวชสิกขมานา.

บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้บวชสิกขมานาด้วยให้ฉันทะค้างเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาบวชสิกขมานาด้วยให้ฉันทะค้าง จริงหรือ,

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้บวชสิกขมานาด้วยให้ฉันทะค้างเล่า การกระทำของนาง นั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 459

พระบัญญัติ

๑๓๖. ๑๑. อนึ่ง ภิกษุณี ยังสิกขมานาให้บวช ด้วยให้ ฉันทะค้าง เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๓๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ด้วยให้ฉันทะค้าง คือ เมื่อที่ประชุมเลิกไปแล้ว.

ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สตรีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว.

บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.

ตั้งใจว่า จักให้อุปสมบท แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตร ก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฎ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณี ผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๔๓๗] ใหัอุปสมบทในเมื่อที่ประชุมยังไม่เลิก ๑ วิกลจริต ๑ อาทิ- กัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ จบ

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 460

อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๑ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า ปริวาสิยฉนฺททาเนน คือ โดยให้ฉันทะค้าง. ในคำว่า การให้ฉันทะค้างนั้น การค้างมี ๔ อย่างคือ ค้างโดยที่ประชุม ๑ ค้างโดย ราตรี ๑ ค้างโดยฉันทะ ๑ ค้างโดยอัธยาศัย ๑.

ที่ชื่อว่า ค้างโดยที่ประชุม คือ พวกภิกษุกำลังประชุมกันด้วยกรณียกิจบางอย่าง. คราวนั้น เมฆฝนตั้งเค้าขึ้นก็ดี ถูกเขาทำการขับไล่ก็ดี พวก ชาวบ้านมามุงดูกันก็ดี ภิกษุทั้งหลาย ยังไม่ทันสละฉันทะเลย พากันลุกไป โดยอ้างว่า ไม่ใช่โอกาส พวกเราจงไปที่อื่นเถอะ. นี้ชื่อว่า ค้างโดยที่ประชุม. ก็การค้างโดยที่ประชุม ควรจะทำกรรมได้ เพราะภิกษุทั้งหลาย ยังไม่ได้สละ ฉันทะ แม้ก็จริง ถีงอย่างนั้น ตกกลางคืนพวกภิกษุประชุมกันอีก ด้วยตั้งใจ ว่า พวกเราจักทำกรรม มีอุโบสถเป็นต้น จึงเชื้อเชิญภิกษุรูปหนึ่ง ด้วย ตั้งใจว่า จักฟังธรรมจนกว่าภิกษุจะมาประชุมกันทั้งหมด. เมื่อภิกษุนั้นกำลัง แสดงธรรมกถาอยู่นั่นแหละ อรุณขึ้นเสีย. ถ้าพวกภิกษุนั่งประชุมกันด้วยตั้ง ใจว่า จักทำจาตุทสีอุโบสถ แล้วทำด้วยตกลงกันว่า ปัณณรสีอุโบสถ ก็ได้. ถ้านั่งประชุมกันเพื่อทำปัณณรสีอุโบสถ วันแรมค่ำ ๑ ไม่ใช่วันอุโบสถ จะ ทำอุโบสถ ไม่ควร แต่จะทำสังฆกิจอย่างอื่น ควรอยู่. นี้ชื่อว่า ค้างโดย ราตรี.

พวกภิกษุประชุมกันอีก ด้วยตั้งใจว่า จักทำสังฆกรรม มีอัพภาน เป็นต้นบางอย่างนั่นแล. ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นนักโหราศาสตร์ กล่าวอย่างนี้ว่า วันนี้ฤกษ์ร้าย (ฤกษ์ทารุณ) พวกท่านจงอย่าทำกรรม

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 461

นี้. ภิกษุพวกนั้นสละฉันทะตามคำของภิกษุนั้นแล้ว ยังนั่งประชุมกันอยู่อย่าง นั้นแหละ. ทีนั้น ภิกษุรูปอื่นมาพูดขึ้นว่า ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนโง่ที่มัว ถือฤกษ์ยามอยู่ แล้วกล่าวว่า พวกท่านจะทำอะไรด้วยดาวฤกษ์. นี้ชื่อว่า ค้างโดยฉันทะ และค้างโดยอัธยาศัย. ในการค้างนั่น จะไม่นำฉันทะและ ปาริสุทธิมาใหม่ทำกรรม ย่อมไม่ควร.

สองบทว่า วุฏฺิตาย ปริสาย ความว่า เมื่อที่ประชุมสละฉันทะ แล้วเลิกประชุมไปด้วยกายก็ดี ด้วยอาการเพียงสละฉันทะเท่านั้นก็ดี.

ข้อว่า อนาปตฺติ อวุฏฺิตาย ปรสาย มีความว่า เมื่อที่ประชุม ยังไม่สละฉันทะ ยังไม่เลิกประชุม ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.

อรรถถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ จบ

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 462

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๒

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๔๓๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ทั้งหลายบวชสิกขมานาทุกปี ที่สำนักอาศัยไม่เพียงพอ คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้บวชสิกขมานาทุกปีเล่า ที่ สำนักอาศัยจึงไม่เพียงพอกัน.

ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี ทั้งหลายจึงได้บวชสิกขมานาทุกปีเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุณีบวชสิกขมานาทุกปี จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน พวกภิกษุณีจึงได้บวชสิกขมานาทุกปีเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็น ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 463

พระบัญญัติ

๑๓๗. ๑๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสิกขมานาให้บวชทุกๆ ฝน เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๓๙] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ทุกๆ ฝน คือ ทุกๆ ปี.

บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.

ตั้งใจว่า จักให้อุปสมบท แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตร ก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณี ผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๔๘๐] ให้อุปสมบท เว้นระยะ ๑ ปี ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๒ จบ

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 464

อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๒

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๒ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า อุปสฺสโย น สมฺมติ ได้แก่ สำนักที่อยู่ไม่เพียงพอกัน. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น. สมุฏฐานเป็นต้น ก็เป็นเช่นเดียวกับสิกขาบทถัดไป นั้นแล.

อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๒ จบ

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 465

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๓

เรื่องภิกษุณีหลายรูป

[๔๔๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ทั้งหลายบวชสิกขมานาสองรูปต่อ ๑ ปี ที่สำนักอาศัยก็ไม่พอดังเดิม คนทั้งหลาย จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา เหมือนอย่างนั้นว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ บวชสิกขมานาสองรูปต่อ ๑ ปีเล่า ที่อาศัยจึงไม่พอดังเดิม

ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี ทั้งหลายจึงได้บวชสิกขมานาสองรูปต่อ ๑ ปีเล่า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีบวชสิกขมานาสองรูปต่อ ๑ ปี จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้บวชสิกขมานาสองรูปต่อ ๑ ปีเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 466

พระบัญญัติ

๑๓๘. ๑๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด ฝนหนึ่งยังสิกขมานา ๒ รูปให้ บวช เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๔๔๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

บทว่า ฝนหนึ่ง คือ ปีหนึ่ง.

บทว่า ยังสิกขมานา ๒ รูปให้บวช คือ ยังสิกขมานา ๒ รูป ให้ อุปสมบท.

ตั้งใจว่า จักยังสิกขมานา ๒ รูป ให้อุปสมบท แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๔๔๓] เว้นระยะปีหนึ่ง บวชสิกขามานารูปเดียว ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๓ จบ

กุมารีภูตวรรคที่ ๘ จบ

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 467

อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๓

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๓ พึงทราบดังนี้:-

สามบทว่า เอกํ วสฺสํ เทฺว ได้แก่ ให้สิกขมานาบวชปีละ ๒ รูป เว้นระยะ ๑ ปี. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น. แม้สมุฏฐานเป็นต้น ก็เป็นเช่นเดียว กับที่กล่าวแล้วนั่นแล.

อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๓ จบ

อรรถกถากุมารีภูตวรรคที่ ๘ จบ