ปาฏิเทสนียกัณฑ์
[เล่มที่ 5] พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓
พระวินัยปิฎก เล่ม ๓
ภิกขุนีวิภังค์
ปาฏิเทสนียกัณฑ์
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 5]
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 506
ปาฏิเทสนียกัณฑ์
แม่เจ้าทั้งหลาย อนึ่ง ธรรม คือปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบทเหล่านี้แล มาสู่อุเทศ.
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๑
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๔๘๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ฉัพพัคคีย์ขอเนยใสเขามาฉัน คนทั้งหลายพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอเนยใสเขามาฉันเล่า อาหารที่พร้อมมูล ใคร จะไม่พอใจ อาหารที่อร่อย ใครจะไม่ชอบ.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวก ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอเนยใสเขามาฉันเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอเนยใสเขามาฉัน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 507
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอเนยใสเขามาฉันเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๒๒. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอเนยใสมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึง แสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควร จะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ ภิกษุณีทั้งหลายด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุณีอาพาธ
[๔๘๕] ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ พวกภิกษุณีผู้ พยาบาลไข้ได้ถามภิกษุณีผู้อาพาธทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพอทนอยู่หรือ ยังพอ ให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ.
ภิกษุณีอาพาธทั้งหลายตอบว่า แม่เจ้า เมื่อก่อนพวกดิฉันขอเนยใส เขามาฉันได้ ด้วยเหตุที่ฉันเนยใสนั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้ พวกดิฉันรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามเสียแล้ว จึงไม่กล้าขอ เพราะเหตุที่ไม่ได้ฉันเนยใสนั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน.
ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 508
ทรงอนุญาตเนยใส
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ ภิกษุณีผู้อาพาธขอเนยใสเขามาฉันได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๒๒๒. ๑. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอเนยใสมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็น สัปปายะควรแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๘๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น ผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือเว้นเนยใสก็มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ เว้นเนยใสแล้วไม่มีความผาสุก
ที่ชื่อว่า เนยใส ได้แก่ เนยใสที่เกิดจากโคก็ดี ที่เกิดจากแพะก็ดี ที่เกิดจากกระบือก็ดี หรือเนยใสแห่งสัตว์ที่มีมังสะเป็นกัปปิยะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอมาเพื่อประโยชน์ตน เป็นทุกกฏในประโยค ได้ มารับประเคนไว้ ด้วยหมายใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติ ปาฏิเทสนียะทุกๆ คำกลืน.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 509
บทภาชนีย์
ติกะปาฏิเทสนียะ
[๔๘๗] ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ขอเนยใสมาฉัน ต้อง อาบัติปาฏิเทสนียะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ มีความสงสัย ขอเนยใสมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิ- เทสนียะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ขอเนยใสมาฉัน ต้องอาบัติ ปาฏิเทสนียะ.
ทุกะทุกกฏ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีเป็นไข้ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๔๘๘] อาพาธ ๑ อาพาธขอได้มา หายอาพาธแล้วจึงฉัน ๑ ฉัน เนยใสที่เหลือของภิกษุณีผู้อาพาธ ๑ ฉันเนยใสของญาติ ๑ ฉันเนยใสของคน ปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 510
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๒
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๔๘๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ฉัพพัคคีย์ขอน้ำมันเขามาฉัน คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอน้ำมันเขามาฉันเล่า อาหารที่พร้อมมูล ใคร จะไม่พอใจ อาหารที่อร่อยใครจะไม่ชอบ.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี ฉัพพัคคีย์จึงได้ขอน้ำมันเขามาฉันเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอน้ำมันเขามาฉัน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอน้ำมันเขามาฉันเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 511
พระบัญญัติ
๒๒๓. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอน้ำมันมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึง แสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควร จะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณี ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุณีอาพาธ
[๔๙๐] ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ เหล่าภิกษุณีผู้ พยาบาลไข้ได้ถามภิกษุณีผู้อาพาธทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพออดทนอยู่หรือ ยัง พอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ.
ภิกษุณีผู้อาพาธทั้งหลายตอบว่า แม่เจ้า เมื่อก่อนพวกดิฉันขอน้ำมัน เขามาฉันได้ ด้วยเหตุที่ฉันน้ำมันได้นั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้ พวกดิฉันรังเกียจอยู่วา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามเสียแล้ว จึงไม่กล้าขอ เพราะเหตุที่ไม่ได้ฉันน้ำมันนั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน.
ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...
ทรงอนุญาตน้ำมัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ภิกษุณีผู้อาพาธขอน้ำมันเขามาฉันได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 512
พระอนุบัญญัติ
๒๒๓. ๒. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอน้ำมันมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็น สัปปายะควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๙๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ เว้นน้ำมันก็มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ เว้นน้ำมันแล้วไม่มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า น้ำมัน ได้แก่ น้ำมันที่สกัดจากงา น้ำมันที่สกัดจากเมล็ด พันธุ์ผักกาด น้ำมันที่สกัดจากมะซาง น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดละหุ่ง น้ำมันที่ สกัดจากเปลวสัตว์.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอมาเพื่อประโยชน์ตนเป็นทุกกฏในประโยค ได้ มารับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติ ปาฏิเทสนียะทุกๆ คำกลืน.
บทภาชนีย์
ติกะปาฏิเทสนียะ
[๔๙๒] ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ขอน้ำมันมาฉัน ต้อง อาบัติปาฏิเทสนียะ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 513
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ มีความสงสัย ขอน้ำมันมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ. ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ขอน้ำมันมาฉัน ต้องอาบัติ ปาฏิเทสนียะ.
ทุกะทุกกฏ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีเป็นไข้ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๔๙๓] อาพาธ ๑ อาพาธขอได้มา หายอาพาธแล้วจึงฉัน ๑ ฉัน น้ำมันที่เหลือของภิกษุณีผู้อาพาธ ๑ ฉันน้ำมันของญาติ ๑ ฉันน้ำมันของคน ปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 514
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๓
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ขอน้ำผึ้งเขามาฉัน คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอน้ำผึ้งเขามาฉันเล่า อาหารที่พร้อมมูล ใครจะไม่พอใจ อาหารที่อร่อย ใครจะไม่ชอบ.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา อยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอน้ำผึ้งเขามาฉันเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอน้ำผึ้งเขามาฉัน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอน้ำผึ้งเขามาฉันเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 515
พระบัญญัติ
๒๒๔. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอน้ำผึ้งเขามาฉัน ภิกษุณีนั้น พึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควร จะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณี ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุณีอาพาธ
ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ เหล่าภิกษุณีผู้พยาบาลไข้ ได้ถามภิกษุณีผู้อาพาธทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพออดทนอยู่หรือ ยังพอให้อัตภาพ เป็นไปได้หรือ.
ภิกษุณีผู้อาพาธทั้งหลายตอบว่า แม่เจ้า เจ้าข้า เมื่อก่อนพวกดิฉัน ขอน้ำผึ้งเขามาฉันได้ ด้วยเหตุที่ฉันน้ำผึ้งนั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่ บัดนี้ พวกดิฉันรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามเสียแล้ว จึงไม่ กล้าขอ เพราะเหตุที่ไม่ได้ฉันน้ำผึ้งนั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน.
ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...
ทรงอนุญาตน้ำผึ้ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ภิกษุณีผู้อาพาธ ขอน้ำผึ้งมาฉันได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 516
พระอนุบัญญัติ
๒๒๔. ๓. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอน้ำผึ้งมา ฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่ เป็นสัปปายะ ควรแสดงคืน ดิฉันแสดงธรรมคืนนั้น.
เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ
สิกขาบทวิภังค์
บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ เว้นน้ำผึ้งก็มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ เว้นน้ำผึ้งแล้วไม่มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า น้ำผึ้ง ได้แก่ น้ำหวานที่สำเร็จจากแมลงผึ้ง.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอเขามาเพื่อประโยชน์ตน เป็นทุกกฏในประโยค ได้มารับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติ ปาฏิเทสนียะทุกๆ คำกลืน.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ขอน้ำผึ้งมาฉัน ต้องอาบัติ ปาฏิเทสนียะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ มีความสงสัย ขอน้ำผึ้งมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 517
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ขอน้ำผึ้งมาฉัน ต้องอาบัติ ปาฏิเทสนียะ.
ทุกะทุกกฏ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีเป็นไข้ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
อาพาธ ๑ อาพาธขอได้มา หายอาพาธแล้วจึงฉัน ๑ ฉันน้ำผึ้งที่ เหลือของภิกษุณีผู้อาพาธ ๑ ฉันน้ำผึ้งของญาติ ๑ ฉันน้ำผึ้งของคนปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 518
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเขตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอ น้ำอ้อยเขามาฉัน คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอน้ำอ้อยเขามาฉันเล่า อาหารที่พร้อมมูล ใครจะไม่พอใจ อาหารที่อร่อยใครจะไม่ชอบ.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา อยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอน้ำอ้อยเขามาฉันเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอน้ำอ้อยเขามาฉัน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอน้ำอ้อยเขามาฉันเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส,.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้;-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 519
พระบัญญัติ
๒๒๕. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอน้ำอ้อยมาฉัน ภิกษุณีนั้น พึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควร จะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ ภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุณีอาพาธ
ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ เหล่าภิกษุณีผู้พยาบาลไข้ ได้ถามภิกษุณีผู้อาพาธทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพออดทนอยู่หรือ ยังพอให้อัตภาพ เป็นไปได้หรือ.
ภิกษุณีผู้อาพาธทั้งหลายตอบว่า แม่เจ้า เจ้าข้า เมื่อก่อนพวกดิฉัน ขอน้ำอ้อยเขามาฉันได้ ด้วยเหตุที่ฉันน้ำอ้อยนั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้พวกดิฉันรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามเสียแล้ว จึงไม่ กล้าขอ เพราะเหตุที่ไม่ได้ฉันน้ำอ้อยนั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน.
ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงอนุญาตน้ำอ้อย
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ภิกษุณี ผู้อาพาธขอน้ำอ้อยเขามาฉันได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง นี้ ว่าดังนี้;-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 520
พระอนุบัญญัติ
๒๒๕. ๔. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอน้ำอ้อยมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็น สัปปายะ ควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ
สิกขาบทวิภังค์
บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อนี้ ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ เว้นน้ำอ้อยก็มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือเว้นน้าอ้อยแล้วไม่มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า น้ำอ้อย ได้แก่ น้ำหวานที่เกิดจากอ้อย.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอเขามาเพื่อประโยชน์ตน เป็นทุกกฏในประโยค ได้มา รับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติ ปาฏิเทสนียะทุกๆ คำกลืน.
บทภาชนีย์
ติกะปาฏิเทสนียะ
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญไม่เป็นไข้ ขอน้ำอ้อยมาฉัน ต้องอาบัติ ปาฏิเทสนียะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ มีความสงสัย ขอน้ำอ้อยมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิ- เทสนียะ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 521
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ขอน้ำอ้อยมาฉัน ต้องอาบัติ ปาฏิเทสนียะ.
ทุกะทุกกฏ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีเป็นไข้ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
อาพาธ ๑ อาพาธขอได้มา หายอาพาธแล้วจึงฉัน ๑ ฉันน้ำอ้อย ที่เหลือของภิกษุณีผู้อาพาธ ๑ ฉันน้ำอ้อยของญาติ ๑ ฉันน้ำอ้อยของคนปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 522
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๕
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ขอปลาเขามาฉัน คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอปลาเขามาฉันเล่า อาหารที่พร้อมมูล ใครจะไม่พอใจ อาหารที่อร่อย ใครจะไม่ชอบ.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา อยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอปลาเขามาฉันเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอปลาเขามาฉัน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอปลาเขามาฉันเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็น ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้;-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 523
พระบัญญัติ
๒๒๖. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอปลามาฉัน ภิกษุณีนั้นพึง แสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควรจะ แสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ ภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุณีอาพาธ
ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ เหล่าภิกษุณีผู้พยาบาลไข้ ได้ถามภิกษุณีอาพาธทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพออดทนอยู่หรือ ยังพอให้อัตภาพ เป็นไปได้หรือ.
ภิกษุณีอาพาธตอบว่า แม่เจ้า เมื่อก่อนพวกดิฉันขอปลาเขามาฉันได้ ด้วยเหตุที่ฉันปลานั้น พวกดิฉันมีความผาสุก แต่บัดนี้ พวกดิฉันรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามเสียแล้ว จึงไม่กล้าขอ เพราะเหตุที่ไม่ได้ฉันปลา นั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน.
ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...
ทรงอนุญาตปลา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ภิกษุณีผู้อาพาธขอปลาเขามาฉันได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้;-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 524
พระอนุบัญญัติ
๒๒๖. ๕. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอปลามาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็น สัปปายะ ควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ
สิกขาบทวิภังค์
บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ เว้นปลาก็มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ เว้นปลาแล้วไม่มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า ปลา ได้แก่ สัตว์ที่เขาเรียกว่าเกิดในน้ำ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอเขามาเพื่อประโยชน์ตน เป็นทุกกฏในประโยค ได้มารับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฎิ- เทสนียะทุกๆ คำกลืน.
บทภาชนีย์
ติกะปาฏิเทสนียะ
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ขอปลามาฉัน ต้องอาบัติ ปาฏิเทสนียะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ มีความสงสัย ขอปลามาฉัน ต้องอาบัติปาฎิ- เทสนียะ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 525
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ขอปลามาฉัน ต้องอาบัติปาฏิ- เทสนียะ.
ทุกะทุกกฏ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีเป็นไข้ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
อาพาธ ๑ อาพาธขอได้มา หายอาพาธแล้วจึงฉัน ๑ ฉันปลาที่เหลือ ของภิกษุณีผู้อาพาธ ๑ ฉันปลาของญาติ ๑ ฉันปลาของคนปวารณา ๑ ขอเพื่อ ประโยชน์ผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ ต้องอาบัติแล.
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 526
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๖
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ขอเนื้อเขามาฉัน คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี ฉัพพัคคีย์จึงได้ขอเนื้อเขามาฉันเล่า อาหารที่พร้อมมูล ใครจะไม่พอใจ อาหาร ที่อร่อย ใครจะไม่ชอบ.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี ฉัพพัคคีย์จึงได้ขอเนื้อเขามาฉันเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอเนื้อเขามาฉัน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก ฉัพพัคคีย์จึงได้ขอเนื้อเขามาฉันเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 527
พระบัญญัติ
๒๒๗. ๖. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอเนื้อมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึง แสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควรจะ แสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณี ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุณีอาพาธ
ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ เหล่าภิกษุณีผู้พยาบาลไข้ ได้ถามภิกษุณีอาพาธทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพออดทนอยู่หรือ ยังพอให้อัตภาพ เป็นไปได้หรือ.
ภิกษุณีอาพาธตอบว่า แม่เจ้า เมื่อก่อนพวกดิฉันขอเนื้อเขามาฉันได้ ด้วยเหตุที่ฉันเนื้อได้นั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้ พวกดิฉันรังเกียจ อยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามเสียแล้ว จึงไม่กล้าขอ เพราะเหตุที่ไม่ได้ ฉันเนื้อนั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน.
ภิกษุทั้งหลายได้ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...
ทรงอนุญาตเนื้อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ภิกษุณีผู้อาพาธขอเนื้อเขามาฉันได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีข้างหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 528
พระอนุบัญญัติ
๒๒๗. ๖. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอเนื้อมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็น สัปปายะ ควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ เว้นเนื้อก็มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ เว้นเนื้อแล้วไม่มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า เนื้อ ได้แก่ เนื้อสัตว์ที่มีมังสะเป็นกัปปิยะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอเขามาเพื่อประโยชน์ตน เป็นทุกกฏในประโยค ได้ มา รับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิ- เสนียะทุกๆ คำกลืน.
บทภาชนีย์
ติกะปาฏิเทสนียะ
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ขอเนื้อมาฉัน ต้องอาบัติปาฎิ- เทสนียะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ มีความสงสัย ขอเนื้อมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 529
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ขอเนื้อมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิ- เทสนียะ.
ทุกะทุกกฏ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีเป็นไข้ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
อาพาธ ๑ อาพาธขอได้มา หายอาพาธแล้วจึงฉัน ๑ ฉันเนื้อที่เหลือ ของภิกษุณีผู้อาพาธ ๑ ฉันเนื้อของญาติ ๑ ฉันเนื้อของคนปวารณา ๑ ขอเพื่อ ประโยชน์ผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้ายทรัพย์ของตน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ ต้องอาบัติแล.
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๖ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 530
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๗
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอ นมสดเขามาฉัน คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี ฉัพพัคคีย์จึงได้ขอนมสดเขามาฉันเล่า อาหารที่พร้อมมูล ใครจะไม่พอใจ อาหารที่อร่อย ใครจะไม่ชอบ.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี ฉัพพัคคีย์จึงได้ขอนมสดเขามาฉันเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอนมสดเขามาฉัน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอนมสดเขามาฉันเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 531
พระบัญญัติ
๒๒๘. ๗. อนึ่ง ภิกษุใด ขอนมสดมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึง แสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควร แสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณี ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุณีอาพาธ
ต่อจากลมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ เหล่าภิกษุณีผู้พยาบาลไข้ ได้ถามภิกษุณีผู้อาพาธทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพออดทนอยู่หรือ ยังพอให้อัตภาพ เป็นไปได้หรือ.
ภิกษุณีอาพาธตอบว่า แม่เจ้า เจ้าข้า เมื่อก่อนพวกดิฉันขอนมสดเขา มาฉันได้ ด้วยเหตุที่ได้ฉันนมสดนั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้ พวกดิฉันรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามเสียแล้ว จึงไม่กล้าขอ เพราะเหตุที่ไม่ได้ฉันนมสดนั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน.
ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...
ทรงอนุญาตนมสด
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ภิกษุณีผู้อาพาธขอนมสดเขามาฉันได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 532
พระอนุบัญญัติ
๒๒๘. ๗. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอนมสดมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็น สัปปายะ ควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ
สิกขาบทวิภังค์
บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ เว้นนมสด ก็มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ เว้นจากนนสดแล้วไม่มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า นมสด ได้แก่ น้ำนมโค น้ำนมแพะ น้ำนมกระบือ หรือน้ำนมสัตว์ที่มีมังสะเป็นกัปปิยะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอเขามาเพื่อประโยชน์ตน เป็นทุกกฏในประโยค ได้มารับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติ ปาฎิเทสนียะ ทุกๆ คำกลืน.
บทภาชนีย์
ติกะปาฏิเทสนียะ
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ขอนมสดมาฉัน ต้องอาบัติ ปาฏิเทสนียะ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 533
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ มีความสงสัย ขอนมสดมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิ- เทสนียะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ขอนมสดมาฉัน ต้องอาบัติ ปาฎิเทสนียะ.
ทุกะทุกกฏ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีเป็นไข้ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
อาพาธ ๑ อาพาธขอได้มา หายอำพาธแล้วจึงฉัน ๑ ฉันนมสดที่ เหลือของภิกษุณีผู้อาพาธ ๑ ฉันนมสดของญาติ ๑ ฉันนมสดของคนปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล. ๒
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 534
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๘
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ขอนมส้มเขามาฉัน คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอนมส้มเขามาฉันเล่า อาหารที่พร้อมมูล ใครจะไม่พอใจ อาหารที่อร่อย ใครจะไม่ชอบ.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี ฉัพพัคคีย์จึงได้ขอนมส้มเขามาฉันเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอนมส้มเขามาฉัน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอนมส้มเขามาฉันเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจะยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 535
พระบัญญัติ
๒๒๙. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอนมส้มมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึง แสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควรจะ แสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณี ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุณีอาพาธ
ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ เหล่าภิกษุณีผู้พยาบาลไข้ ได้ถามภิกษุณีผู้อาพาธทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพออดทนอยู่หรือ ยังพอให้อัตภาพ เป็นไปได้หรือ.
ภิกษุณีผู้อาพาธตอบว่า แม่เจ้า เมื่อก่อนพวกดิฉันขอนมส้มเขามาฉัน ได้ ด้วยเหตุที่ฉันนมส้มได้นั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้ พวกดิฉัน รังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามเสียแล้วจึงไม่กล้าขอ เพราะเหตุที่ ไม่ได้ฉันนมส้มนั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน.
ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...
ทรงอนุญาตนมส้ม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ภิกษุณีผู้อาพาธขอนมส้มเขามาฉันได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ ;-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 536
พระอนุบัญญัต
๒๒๙. ๘. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอนมส้มมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็น สัปปายะควรแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ
สิกขาบทวิภังค์
บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ เว้นนมส้มก็มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ เว้นนมส้มแล้วไม่มีความผาสุก.
ที่ชื่อว่า นมส้ม ได้แก่ นมส้มของสัตว์มีโคเป็นต้น เหล่านั้นแล.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอเขามาเพื่อประโยชน์ตน เป็นทุกกฏในประโยค ได้มา รับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติ ปาฏิเทสนียะทุกๆ คำกลืน.
บทภาชนีย์
ติกะปาฏิเทสนียะ
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ขอนมส้มมาฉัน ต้องอาบัติ ปาฏิเทสนียะ.
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ มีความสงสัย ขอนมส้มมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ภิกษุณีไม่เป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ขอนมส้มมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิ- เทสนียะ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 537
ทุกะทุกกฏ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีเป็นไข้ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีเป็นไข้ สำคัญว่าเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
อาพาธ ๑ อาพาธขอได้มา หายอาพาธแล้วจึงฉัน ๑ ฉันนมส้ม ที่เหลือของภิกษุณีผู้อาพาธ ๑ ฉันนมส้มของญาติ ๑ ฉันนมส้มของคนปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิ- กัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๘ จบ
บทสรุป
[๔๙๔] แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบท ข้าพเจ้า ยกขึ้นแสดงแล้วแล ข้าพเจ้าขอถามแม่เจ้าทั้งหลายในธรรม คือ ปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบทนั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้ง ที่ ๒ ว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่ ๓ ว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือปาฏิ- เทสนียะทั้ง ๘ สิกขาเหล่านี้ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วย อย่างนี้.
ปาฏิเทสนียกัณฑ์ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 538
ปาฏิเทสนียวรรณนา
ธรรม ๘ เหล่าใด ชื่อ ปาฏิเทสนียะ ที่ขึ้นสู่สังคหะ เพียงแต่โดยสังเขป ถัดลำดับพวกขุททกะมา, วรรณนาธรรมเหล่านั้น แต่โดยสังเขปเท่านั้น จะดำเนินต่อไปนี้.
ก็ปณีตโภชนะ มีเนยใสและน้ำมันเป็นต้นใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้แล้วในบาลีในพวกปาฏิเทสนียะนี้ เมื่อภิกษุณีออกปากขอปณีต โภชนะ มีเนยใสและน้ำมันเป็นต้นนั้นนั่นแลมาฉัน เป็นปาฏิเทสนียะ. แต่ใน เนยใสเป็นต้นนอกพระบาลีทุกๆ อย่าง เป็นทุกกฏ. คำที่เหลือในปาฏิเทสนียะ เหล่านี้ ง่ายทั้งนั้น. ก็ปาฏิเทสนียะทั้ง ๘ สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๔ เกิดขึ้น ทางกาย ๑ วาจา ๑ ทางกายกับวาจา ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
ปาฏิเทสนียวรรณนา จบ