พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปวารณาขันธกะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  12 มี.ค. 2565
หมายเลข  42812
อ่าน  1,060

[เล่มที่ 6] พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑

พระวินัยปิฎก มหาวรรค

เล่มที่ ๔ ภาคที่ ๑

ปวารณาขันธกะ

เรื่องภิกษุหลายรูป 224/568

ธรรมเนียมเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า 225/569

พุทธประเพณี 570

ทรงติเตียน 226/572

ทรงห้ามมูควัตร ติตถิยสมาทาน 572

พระพุทธานุญาตปวารณา 572

วิธีปวารณา 573

สัพพสังคาหิกญัตติ 573

เตวาจิกาปวารณา 573

พระพุทธานุญาตให้นั่งกระโหย่งปวารณา 227/574

วันปวารณามี ๒ 228/575

อาการที่ทําปวารณามี ๔ 575

พระพุทธานุญาตให้นําปวารณาของภิกษุอาพาธมา 229/576

วิธีมอบปวารณา 577

หมู่ญาติเป็นต้นจับภิกษุ 230/579

สงฆ์ปวารณาพระ ๕ รูป 231/580

คณะปวารณาพระ ๔ รูป 580

วิธีทําคณะปวารณา 581

คําปวารณา 581

คณะปวารณาพระ ๓ รูป 582

วิธีทําคณะปวารณา 583

คําปวารณา 583

คณะปวารณาพระ ๒ รูป 584

วิธีทําคณะปวารณา 585

คําปวารณา 585

อธิษฐานปวารณา 586

แสดงอาบัติก่อนปวารณา 232/587

สงฆ์ต้องสภาคาบัติ 588

ปวารณาไม่ต้องอาบัติ ๑๕ ข้อ 233/590

ปวารณาเป็นหมู่สําคัญว่าพร้อมกัน ๑๕ ข้อ 234/594

มีความสงสัยปวารณา ๑๕ ข้อ 235/595

ฝืนใจทําปวารณา ๑๕ ข้อ 236/597

มุ่งความแตกร้าวปวารณา ๑๕ ข้อ 237/598

เปยยาลมุข ๗๐๐ ติกะ 238/600

ภิกษุเจ้าถิ่นกับภิกษุอาคันตุกะนับวันปวารณาต่างกัน 239/601

ปวารณาของภิกษุที่สงสัยเป็นต้น 240/602

ภิกษุสมานสังวาสเป็นต้นปวารณา 241/605

ไม่ควรไปไหนในวันปวารณา 242/606

บุคคลที่ควรเว้นในวันปวารณา 243/609

พระพุทธานุญาตเตวาจิกาปวารณา 611

สัญจรภัยในปวารณา 244/611

ราตรีจวนสว่าง 612

ฝนกําลังตั้งเค้า 613

อันตราย ๑๐ ประการ 614

ภิกษุมีอาบัติห้ามปวารณา 245/615

วิธีงดปวารณา 615

ลักษณะปวารณาที่ไม่เป็นอันงด 246/616

ลักษณะปวารณาเป็นอันงด 616

ภิกษุผู้งดปวารณา 247/617

ฟังคําปฏิญาณของโจทก์และจําเลย 620

มีความเห็นไม่ตรงกันในอาบัติที่ต้อง 248/621

วัตถุและบุคคลปรากฏ 249/623

ภิกษุก่อความบาดหมางเป็นต้น 250/624

พวกที่พร้อมเพรียงกันเป็นต้นเลื่อนปวารณา 251/628

พระพุทธานุญาตให้เลื่อนปวารณา 628

วิธีเลื่อนปวารณา 629

กรรมวาจาเลื่อนปวารณา 629

ไม่เป็นใหญ่ในปวารณา 630

หัวข้อประจําขันธกะ 252/631

อรรถกถาปวารณาขันธกะ 632


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 6]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 568

ปวารณาขันธกะ

เรื่องภิกษุหลายรูป

[๒๒๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ซึ่งเคยเห็นร่วมคบหากันมา จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่งในโกศลชนบท ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ปรึกษากันว่า ด้วยวิธีอย่างไรหนอ พวกเราจึงพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจะไม่ต้องลำบากด้วยบิณฑบาต ครั้นแล้วได้ปรึกษากันต่อไปว่า หากพวกเราจะไม่พึงทักทาย จะไม่พึงปราศรัยซึ่งกันและกัน รูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้านก่อน รูปนั้นพึงปูอาสนะ จัดหาน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ ล้างภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาตเตรียมตั้งไว้ จัดตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ รูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้านทีหลัง หากอาหารที่รูปก่อนฉันแล้วยังมีเหลือ ถ้าต้องการ พึงฉัน ถ้าไม่ต้องการ ก็พึงเททิ้งเสียในสถานอันปราศจากของสีเขียวสด หรือเทล้างเสียในน้ำที่ปราศจากตัวสัตว์ รูปนั้นพึงรื้ออาสนะ พึงเก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาตเก็บไว้ เก็บน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดหอฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หม้อน้ำชำระว่างเปล่า รูปนั้นพึงจัดหาไว้ หากภิกษุนั้นไม่สามารถ พึงกวักมือเรียกเพื่อนมาช่วยเหลือกัน แต่ไม่พึงเปล่งวาจาเพราะเหตุนั้นเลย ด้วยวิธีอย่างนี้แล พวกเราจึงจะพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก. และจะไม่ต้องลำบากด้วยบิณฑบาต ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นไม่ทักทายไม่ปราศรัย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 569

ต่อกันและกัน ภิกษุรูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้านก่อน ภิกษุรูปนั้นปูอาสนะ จัดหาน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ ล้างภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาต เตรียมตั้งไว้ จัดตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ ภิกษุรูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้านทีหลัง หากอาหารที่รูปก่อนฉันแล้ว ยังมีเหลือ ถ้าต้องการ ก็ฉัน ถ้าไม่ต้องการ ก็เททิ้งเสียในสถานที่อันปราศจากของเขียวสด หรือเทล้างเสียในน้ำอันปราศจากตัวสัตว์ ภิกษุนั้นรื้ออาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาตเก็บไว้ เก็บน้ำฉันน้ำใช้ กวาดหอฉัน ภิกษุรูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า ภิกษุรูปนั้น ก็จัดหาไว้ หากภิกษุนั้นไม่สามารถ ก็กวักมือเรียกเพื่อนภิกษุมาช่วยเหลือกัน แต่ไม่เปล่งวาจา เพราะเหตุนั้นเลย.

ธรรมเนียมเข้าเฝ้า

[๒๒๕] ก็การที่ภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้ว เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเป็นประเพณี ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาโดยล่วงไตรมาสแล้ว เก็บงำเสนาสนะ ถือบาตรจีวร หลีกไปโดยมรรคา อันจะไปสู่พระนครสาวัตถี ถึงพระนครสาวัตถี และพระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี โดยลำดับแล้ว เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

อนึ่งการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ร่างกายของพวกเธอยังพอทนได้หรือ ยังพอให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ?

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 570

ภิกษุเหล่านี้นั้นกราบทูลว่า ยังพอทนได้ พระพุทธเจ้าข้า ยังพอให้เป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า.

พุทธประเพณี

พระตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่ ย่อมไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระองค์ทรงกำจัดด้วยข้อปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษา เป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต ด้วยวิธีการอย่างไร?

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระพุทธเจ้า บรรดาที่นั่งเฝ้า ณ ที่นี้เป็นภิกษุซึ่งเคยเห็นคบหากันมาจำนวนมากด้วยกันได้ จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่งในโกศลชนบท พวกข้าพระพุทธเจ้าเหล่านั้นได้ปรึกษากันว่า ด้วยวิธีอย่างไรหนอ พวกเราจึงจะพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจะไม่ต้องลำบากด้วยบิณฑบาต พวกข้าพระพุทธเจ้านั้นได้ปรึกษากันต่อไปว่า หากพวกเราจะไม่พึงทักทาย จะ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 571

ไม่พึงปราศรัยซึ่งกันและกัน รูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้านก่อน รูปนั้นพึงปูอาสนะ จัดหาน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ ล้างภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาตเตรียมตั้งไว้ จัดตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ รูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้านทีหลัง หากอาหารที่รูปก่อนฉันแล้วยังมีเหลือ ถ้าต้องการ พึงฉัน ถ้าไม่ต้องการ ก็พึงเททิ้งเสียในสถานอันปราศจากของเขียวสด หรือเทล้างเสียในน้ำที่ปราศจากตัวสัตว์ รูปนั้นพึงรื้ออาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาตเก็บไว้ เก็บน้ำฉันน้ำใช้ กวาดหอฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หมอน้ำใช้ หม้อน้ำชำระว่างเปล่า รูปนั้นพึงจัดหาไว้ หากภิกษุนั้นไม่สามารถ พึงกวักมือเรียกเพื่อนมาช่วยเหลือกัน แต่ไม่พึงเปล่งวาจาเพราะเหตุนั้นเลย ด้วยวิธีอย่างนี้แล พวกข้าพระพุทธเจ้าจึงจะพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจะไม่ต้องลำบากด้วยบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า. ครั้นแล้วพวกข้าพระพุทธเจ้าจึงไม่ทักทาย ไม่ปราศรัยต่อกันและกัน ภิกษุรูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้านก่อน ภิกษุรูปนั้นย่อมปูอาสนะไว้ จัดหาน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ ล้างภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาต เตรียมตั่งไว้ จัดตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ ภิกษุรูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้านทีหลัง หากอาหารที่รูปก่อนฉันแล้วยังมีเหลือ ถ้าต้องการ ก็ฉัน ถ้าไม่ต้องการ ก็เททิ้งเสียในสถานอันปราศจากของเขียวสด หรือเทล้างเสียในน้ำอันปราศจากตัวสัตว์ ภิกษุรูปนั้นย่อมรื้ออาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาตเก็บไว้ เก็บน้ำฉันน้ำใช้ กวาดหอฉัน ภิกษุรูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่าภิกษุ รูปนั้นก็จัดหาไว้ หากภิกษุรูปนั้นไม่สามารถก็กวักมือเรียกเพื่อนมาช่วยเหลือกัน แต่ไม่พึงเปล่งวาจาเพราะเหตุนั้นเลย ด้วยวิธีอย่างนี้แล พวกข้าพระพุทธเจ้าจึง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 572

เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ต้องลำบากด้วยบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

[๒๒๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า โมฆบุรุษพวกนี้เป็นผู้อยู่จำพรรษาไม่ผาสุกเลย ยังยืนยันว่าอยู่จำพรรษาเป็นผาสุก ข่าวว่า โมฆบุรุษพวกนี้เป็นผู้อยู่จำพรรษาอย่างปสุสัตว์อยู่ร่วมกันแท้ๆ ยังยืนยันว่าอยู่จำพรรษาเป็นผาสุก ข่าวว่า โมฆบุรุษพวกนี้เป็นผู้อยู่จำพรรษาอย่างแพะอยู่ร่วมกันแท้ๆ ยังยืนยันว่าอยู่ จำพรรษาเป็นผาสุก ข่าวว่า โมฆบุรุษพวกนี้เป็นผู้อยู่จำพรรษาอย่างคนประมาทอยู่ร่วมกันแท้ๆ ยังยืนยันว่าอยู่จำพรรษาเป็นผาสุก.

ทรงห้ามมูควัตร ติตถิยสมาทาน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุไฉน โมฆบุรุษพวกนี้จึงได้ถือมูควัตร ซึ่งพวกเดียรถีย์ถือกัน การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั่งหลาย ภิกษุไม่พึงสมาทานมูควัตรที่พวกเดียรถีย์สมาทานกัน รูปใดสมาทาน ต้องอาบัติทุกกฎ.

พระพุทธนุญาตปวารณา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายอยู่จำพรรษา แล้วปวารณาด้วยเหตุ ๓ สถานคือ ด้วยได้เห็น ๑ ด้วยได้ฟัง ๑ ด้วยสงสัย ๑ การปวารณานั้นจักเป็นวิธีเหมาะสมเพื่อว่ากล่าวกันและกัน และเป็นวิธีออกจากอาบัติ เป็นวิธีเคารพพระวินัยของพวกเธอ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 573

วิธีปวารณา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงปวารณา อย่างนี้:-

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สมารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

สัพพสังคาหิกาญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา.

ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวปวารณาอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

เตวาจิกาปวารณา

เธอทั้งหลาย ฉันปวารณาต่อสงฆ์ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

เธอทั้งหลาย แม้ครั้งที่สอง ฉันปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

เธอทั้งหลาย แม้ครั้งที่สาม ฉันปวารณาต่อสงฆ์ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 574

ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวปวารณาอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าปวารณาต่อสงฆ์ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

ท่านเจ้าข้า แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

ท่านเจ้าข้า แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

พระพุทธานุญาตให้นั่งกระโหย่งปวารณา

[๒๒๗] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายนั่งกระโหย่งปวารณาอยู่ ยังนั่งอยู่บนอาสนะ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายนั่งกระโหย่งปวารณาอยู่ จึงได้นั่งอยู่บนอาสนะเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพระฉัพพัคคีย์ เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายนั่งกระโหย่งปวารณาอยู่ ยังนั่งบนอาสนะจริงหรือ?

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 575

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษพวกนั้น เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายนั่งกระโหย่งปวารณาอยู่ จึงได้นั่งอยู่บนอาสนะเล่า การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั่งหลาย เมื่อบรรดาภิกษุผู้เถระนั่งกระโหย่งปวารณาอยู่ ภิกษุไม่พึงนั่งบนอาสนะ รูปใดนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทุกรูปนั่งกระโหย่งปวารณา.

สมัยต่อมา พระเถระรูปหนึ่งชราทุพพลภาพ นั่งกระโหย่งรอคอยอยู่ จนกว่าภิกษุทั้งหลายจะปวารณาเสร็จทุกรูป ได้เป็นลมล้มลง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่งกระโหย่งในระหว่างที่ยังปวารณา และอนุญาตให้ภิกษุปวารณาแล้วนั่งบนอาสนะ.

วันปวารณามี ๒

[๒๒๘] ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายสงสัยว่า วันปวารณามีกี่วัน จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันปวารณานี้มี ๒ คือ วัน ๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันปวารณามี ๒ เท่านี้แล.

อาการที่ทำปวารณามี ๔

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายสงสัยว่า อาการที่ทำปวารณามีเท่าไรหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 576

ทั้งหลายอาการที่ทำปวารณานี้มี ๔ คือ การทำปวารณาเป็นวรรคโดยอธรรม ๑ การทำปวารณาพร้อมเพรียงกันโดยอธรรม ๑ การทำปวารณาเป็นวรรคโดยธรรม ๑ การทำปวารณาพร้อมเพรียงกันโดยธรรม ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในการทำปวารณา ๔ นั้น การทำปวารณานี้ใดเป็นวรรคโดยอธรรม การทำปวารณาเห็นปานนั้น ไม่ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต.

การทำปวารณานี้ใดที่พร้อมเพรียงกันโดยอธรรม การทำปวารณาเห็นปานนั้น ไม่ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต.

การทำปวารณานี้ใดที่เป็นวรรคโดยธรรม การทำปวารณาเห็นปานนั้น ไม่ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต.

การทำปวารณานี้ใดที่พร้อมเพรียงกันโดยธรรม การทำปวารณาเห็นปานนั้น ควรทำ และเราก็อนุญาต.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอพึงทำในใจว่า จักทำปวารณากรรมชนิดที่พร้อมเพรียงกันโดยธรรม ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.

พระพุทธานุญาตให้นำปวารณาของภิกษุอาพาธมา

[๒๒๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับส่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงประชุมกัน สงฆ์จักปวารณา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ยังมีภิกษุอาพาธอยู่ เธอมาไม่ได้พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุอาพาธมอบปวารณา.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 577

วิธีมอบปวารณา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงมอบอย่างนี้:-

ภิกษุอาพาธนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลีแล้ว กล่าวคำมอบปวารณาอย่างนี้ว่า:-

ข้าพเจ้าขอนอบปวารณา ขอท่านจงนำปวารณาของข้าพเจ้าไป ขอท่านจงปวารณาแทนข้าพเจ้า.

ภิกษุรับด้วยกาย รับด้วยวาจา รับด้วยกายด้วยวาจาก็ได้ เป็นอันภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว ไม่รับด้วยกาย ไม่รับด้วยวาจา ไม่รับด้วยกายด้วยวาจา ไม่เป็นอันภิกษุ อาพาธมอบปวารณา หากได้ภิกษุผู้รับอย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายพึงใช้เตียงหรือตั่งหามภิกษุอาพาธนั้นมาในท่ามกลางสงฆ์แล้วปวารณา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากพวกภิกษุผู้พยาบาลไข้ มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า หากพวกเราจักย้ายภิกษุอาพาธ อาพาธจักกำเริบหนัก หรือมิฉะนั้นจักถึงมรณภาพดังนี้ ไม่พึงย้ายภิกษุอาพาธ สงฆ์พึงไปปวารณาในสำนักภิกษุอาพาธนั้น แต่สงฆ์เป็นวรรคไม่พึงปวารณา หากขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว หากภิกษุผู้นำปวารณาหลบไปเสียจากที่นั่นแล ภิกษุอาพาธพึงมอบปวารณาแก่รูปอื่น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว หากภิกษุผู้นำปวารณาสึกเสีย ณ ที่นั้นแหละ ... ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็นสามเณร ปฏิญาณเป็นผู้บอกลาสิกขา ปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริต ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืน

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 578

อาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละคืนทิฏฐิอันลามก ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญาณเป็นไถยสังวาส ปฏิญาณเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญาณเป็นดิรัจฉาน ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่ามารดา ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าบิดา ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ ปฏิญาณเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญาณเป็นผู้ทำลายสงฆ์ ปฏิญาณเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก ภิกษุอาพาธจึงมอบปวารณาแก่รูปอื่น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว หากภิกษุผู้นำปวารณาหลบไปเสียในระหว่างทาง ปวารณาไม่เป็นอันนำมา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว หากภิกษุผู้นำปวารณาสึกเสียในระหว่างทาง ถึงมรณภาพ ... ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก ปวารณาไม่เป็นอันนำมา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว หากภิกษุผู้นำปวารณาเข้าประชุมสงฆ์แล้ว หลบไปเสีย ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว หากภิกษุผู้นำปวารณาเข้าประชุมสงฆ์แล้วสึกเสีย ถึงมรณภาพ ... ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว หากภิกษุผู้นำปวารณาเข้าประชุมสงฆ์แล้ว หลับเสียมิได้บอก ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว ภิกษุผู้นำปวารณา ไม่ต้องอาบัติ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว หากภิกษุผู้นำปวารณาเข้าประชุมสงฆ์แล้ว เข้าสมาบัติมิได้บอก ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว ภิกษุผู้นำปวารณา ไม่ต้องอาบัติ.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 579

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว หากภิกษุผู้นำปวารณาเข้าประชุมสงฆ์แล้ว เผลอไปไม่ได้บอก ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว ภิกษุผู้นำปวารณา ไม่ต้องอาบัติ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว หากภิกษุผู้นำปวารณาเข้าประชุมสงฆ์แล้ว แกล้งไม่บอก ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว แต่ภิกษุผู้นำปวารณา ต้องอาบัติทุกกฎ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณา เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มอบปวารณา มอบฉันทะด้วย เผื่อสงฆ์จะมีกรณียกิจ.

หมู่ญาติเป็นต้นจับภิกษุ

[๒๓๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ถึงวันปวารณา หมู่ญาติได้จับภิกษุรูปหนึ่งไว้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในวันปวารณา พวกญาติจับภิกษุในศาสนานี้ไว้ หมู่ญาติเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ขอพวกท่านกรุณาปล่อยภิกษุรูปนี้สักครู่หนึ่ง พอภิกษุรูปนี้ปวารณาเสร็จ หากได้การขอร้องอย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่ได้ หมู่ญาติเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลาย พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายขอพวกท่านกรุณารออยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งสักครู่ก่อน พอภิกษุรูปนี้มอบปวารณาเสร็จ หากได้การขอร้องอย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่ได้พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ขอพวกท่านกรุณานำภิกษุนี้ไปนอกสีมาสักครู่หนึ่ง พอสงฆ์ปวารณาเสร็จ ถ้าได้การขอร้องอย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่ได้ สงฆ์เป็นวรรคไม่พึงปวารณา หากขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 580

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในวันปวารณา พระราชาทั้งหลายได้จับภิกษุในศาสนานี้ไว้ ... พวกโจรได้จับ ... พวกนักเลงได้จับ ... พวกภิกษุที่เป็นข้าศึกได้จับภิกษุในศาสนานี้ไว้ พวกนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายขอพวกท่านกรุณาปล่อยภิกษุนี้สักครู่หนึ่ง พอภิกษุรูปนี้ปวารณาเสร็จ หากได้การขอร้องอย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่ได้ พวกนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายขอพวกท่านกรุณารออยู่ ณ ที่ควร ณ ส่วนข้างหนึ่งสักครู่ก่อน พอภิกษุนี้มอบปวารณาเสร็จ หากได้การขอร้องอย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่ได้พวกนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ขอพวกท่านกรุณาพาภิกษุรูปนี้ไปนอกสีมาสักครู่หนึ่ง พอสงฆ์ปวารณาเสร็จ หากได้การขอร้องอย่างนั้น นั่นเป็นการดี หากไม่ได้ สงฆ์เป็นวรรคไม่พึงปวารณา หากขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

สงฆ์ปวารณาพระ ๕ รูป

[๒๓๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๕ รูป ภิกษุเหล่านั้นจึงได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า พึงปวารณาเป็นการสงฆ์ ก็พวกเรามีอยู่เพียง ๕ รูป จะพึงปวารณากันอย่างไรหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๕ รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์.

คณะปวารณาพระ ๔ รูป

สมัยต่อมา ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณามีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๔ รูป ภิกษุเหล่านั้นจึงได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 581

ภิกษุ ๕ รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์ ก็พวกเรามีอยู่เพียง ๔ รูป จะพึงปวารณากันอย่างไรหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๔ รูป ปวารณาต่อกัน.

วิธีทำคณะปวารณา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุทั้งหลายพึงปวารณาอย่างนี้:-

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า:-

ญัตติกรรมวาจา

ขอท่านทั้งหลายจงพึงข้าพเจ้า วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว เราทั้งหลายพึงปวารณากันเถิด.

ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำปวารณาต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า:-

คำปวารณา

เธอ ฉันปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

เธอ ฉันปวารณาต่อท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่สอง ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 582

เธอ ฉันปวารณาต่อท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่สาม ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำปวารณาต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า:-

ท่านเจ้าข้า ผมปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวผม ผมเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

ท่านเจ้าข้า ผมปวารณาต่อท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่สอง ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวผม ผมเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

ท่านเจ้าข้า ผมปวารณาต่อท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่สาม ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวผม ผมเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

คณะปวารณาพระ ๓ รูป

สมัยต่อมา ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณามีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๓ รูป ภิกษุเหล่านั้นจึงได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๕ รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์ ให้ภิกษุ ๔ รูป ปวารณาต่อกัน ก็พวกเรามีอยู่ด้วยกัน ๓ รูป จะพึงปวารณากันอย่างไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๓ รูป ปวารณาต่อกัน.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 583

วิธีทำคณะปวารณา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุทั้งหลายพึงปวารณาอย่างนี้:-

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบด้วยญัตติกรรมวาจา:-

ญัตติกรรมวาจา

ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว พวกเราพึงปวารณากันเถิด.

ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำปวารณาต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

คำปวารณา

เธอ ฉันปวารณาต่อเธอทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

เธอ ฉันปวารณาต่อเธอทั้งหลาย แม้ครั้งที่สอง ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

เธอ ฉันปวารณาต่อเธอทั้งหลาย แม้ครั้งที่สาม ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 584

ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลีแล้ว กล่าวคำปวารณาต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า:-

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าปวารณาต่อท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่สอง ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าปวารณาต่อท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่สาม ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

คณะปวารณา พระ ๒ รูป

สมัยต่อมา ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๒ รูป จึงภิกษุทั้งสองนั้นได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๕ รูปปวารณาเป็นการสงฆ์ ให้ภิกษุ ๔ รูปปวารณาต่อกัน ให้ภิกษุ ๓ รูปปวารณาต่อกัน ก็เรามีอยู่ด้วยกัน ๒ รูป จะพึงปวารณากันอย่างไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๒ รูปปวารณาต่อกัน.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 585

วิธีทำคณะปวารณา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุทั้งสองพึงปวารณาอย่างนี้:-

ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำปวารณาต่อภิกษุผู้นวกะอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

เธอ ฉันปวารณาต่อเธอ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่ จักทำคืนเสีย.

เธอ ฉันปวารณาต่อเธอ แม้ครั้งที่สอง ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่ จักทำคืนเสีย.

เธอ ฉันปวารณาต่อเธอ แม้ครั้งที่สาม ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่ จักทำคืนเสีย.

ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำปวารณาต่อภิกษุผู้เถระอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

ท่าน ผมปวารณาต่อท่าน ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวผม ผมเห็นอยู่ จักทำคืนเสีย.

ท่าน ผมปวารณาต่อท่าน แม้ครั้งที่สอง ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวผม ผมเห็นอยู่ จักทำคืนเสีย.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 586

ท่าน ผมปวารณาต่อท่าน แม้ครั้งที่สาม ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวผม ผมเห็นอยู่ จักทำคืนเสีย.

อธิษฐานปวารณา

สมัยต่อมา ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันปวารณา มีภิกษุอยู่รูปเดียว จึงภิกษุนั้นได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๕ รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์ ให้ภิกษุ ๔ รูป ปวารณาต่อกัน ให้ภิกษุ ๓ รูปปวารณาต่อกัน ให้ภิกษุ ๒ รูปปวารณาต่อกัน ก็เราอยู่รูปเดียว จะพึงปวารณาได้อย่างไรหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุในศาสนานี้อยู่รูปเดียว ภิกษุนั้นพึงกวาดสถานที่เป็นที่ไปมาแห่งภิกษุ ทั้งหลาย คือ จะเป็นโรงฉัน มณฑปหรือโคนต้นไม้ก็ตาม แล้วจัดตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ ปูอาสนะ ตามประทีป แล้วนั่งรออยู่ หากมีภิกษุเหล่าอื่นมา พึงปวารณาร่วมกับพวกเธอ หากไม่มีมา พึงอธิฐานว่า ปวารณาของเราวันนี้ หากไม่อธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๕ รูป จะนำปวารณาของภิกษุรูปหนึ่งมาแล้ว ๔ รูปปวารณาเป็นการสงฆ์ไม่ได้ หากขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๔ รูป จะนำปวารณาของภิกษุรูปหนึ่งมา แล้ว ๓ รูปปวารณาต่อกันไม่ได้ หากขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 587

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๓ รูป จะนำปวารณาของภิกษุรูปหนึ่งมาแล้ว ๒ รูปปวารณาต่อกันไม่ได้ หากขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๒ รูป จะนำปวารณาของภิกษุรูปหนึ่งมาแล้ว อีกรูปหนึ่งอธิษฐานไม่ได้ หากขืนอธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ.

แสดงอาบัติก่อนปวารณา

[๒๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติในวันปวารณา เธอได้คิดสงสัยในขณะนั้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุมีอาบัติติดตัวไม่พึงปวารณา ดังนี้ ก็เราเป็นผู้ต้องอาบัติแล้ว จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ ต้องอาบัติในวันปวารณา ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า:-

ท่าน ผมต้องอาบัติมีชื่อนี้ ผมแสดงคืนอาบัตินั้น.

ภิกษุผู้รับพึงถามว่า ท่านเห็นหรือ?

ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า ครับ ผมเห็น.

ภิกษุผู้รับพึงบอกว่า ท่านพึงสำรวมต่อไป.

สงสัยในอาบัติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้มีความสงสัยในอาบัติ เธอพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า:-

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 588

ท่าน ผมมีความสงสัยในอาบัติมีชื่อนี้ จักหมดสงสัยเมื่อใด จักทำคืนอาบัตินั้นเมื่อนั้น ครั้นแล้วพึงปวารณา แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่ปวารณา เพราะข้อที่สงสัยนั้นเป็นปัจจัย.

กำลังปวารณาระลึกอาบัติได้

ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งกำลังปวารณา ระลึกอาบัติได้ ภิกษุนั้นจึงได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุมีอาบัติติดตัว ไม่พึงปวารณา ดังนี้ ก็เราเป็นผู้ต้องอาบัติแล้ว จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้กำลังปวารณา ระลึกอาบัติได้ เธอพึงบอกภิกษุใกล้เคียงอย่างนี้ว่า:-

อาวุโส ผมต้องอาบัติมีชื่อนี้ ลุกจากที่นี้แล้ว จักทำคืนอาบัตินั้น ครั้นแล้วพึงปวารณา แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่ปวารณา เพราะข้อที่ระลึกอาบัติได้นั้นเป็นปัจจัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ กำลังปวารณา มีความสงสัยในอาบัติ เธอพึงบอกภิกษุใกล้เคียงอย่างนี้ว่า:-

อาวุโส ผมมีความสงสัยในอาบัติมีชื่อนี้ จักหมดสงสัยเมื่อใด จักทำคืนอาบัตินั้นเมื่อนั้น ครั้นแล้ว พึงปวารณา แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่ปวารณา เพราะข้อที่มีความสงสัยนั้นเป็นปัจจัย.

สงฆ์ต้องสภาคาบัติ

ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันปวารณา สงฆ์ทั้งหมดต้องสภาคาบัติ ภิกษุเหล่านั้นจึงได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 589

ไว้ว่า ภิกษุจะแสดงสภาคาบัติไม่ได้ จะรับแสดงสภาคาบัติก็ไม่ได้ ก็สงฆ์หมู่นี้ทั้งหมดต้องสภาคาบัติ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันปวารณา สงฆ์ทั้งหมดในศาสนานี้ต้องสภาคาบัติ พวกเธอพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปสู่อาวาสใกล้เคียงพอจะกลับมาทันในวันนั้น ด้วยสั่งว่า อาวุโส คุณจงไปทำคืนอาบัตินั้นแล้วมา พวกเราจักทำคืนอาบัตินั้นในสำนักคุณ ถ้าได้ภิกษุเช่นนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่ได้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ญัตติกรรมวาจา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งหมดนี้ต้องสกาคาบัติ เมื่อใดพบภิกษุรูปอื่นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ เมื่อนั้นสงฆ์จักทำคืนอาบัตินั้นในสำนักภิกษุรูปนั้น.

ครั้นแล้วพึงปวารณา แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่ปวารณา เพราะข้อที่ต้องสภาคาบัตินั้นเป็นปัจจัย.

สงสัยในสภาคาบัติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันปวารณา สงฆ์ทั้งหมดในศาสนานี้มีความสงสัยในสภาคาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 590

ญัตติกรรมวาจา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งหมดนี้มีความสงสัยในสภาคาบัติ จักหมดความสงสัยเมื่อใด จักทำคืนอาบัตินั้นเมื่อนั้น.

ครั้นแล้วพึงปวารณา แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่ปวารณา เพราะข้อที่มีความสงสัยนั้นเป็นปัจจัย.

ปฐมภาณวาร จบ

ปวารณาไม่ต้องอาบัติ ๑๕ ข้อ

[๒๓๓] ก็โดยสมัยนั้นแล โนอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุเจ้าถิ่นมากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวกเธอไม่ทราบว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่าเป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน ปวารณา เมื่อพวกเธอกำลังปวารณา ขณะนั้นมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมีจำนวนมากกว่า ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้:-

๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวกเธอไม่ทราบว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่าเป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน ปวารณา เมื่อพวกเธอกำลังปวารณา ขณะนั้นมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมีจำนวนมากกว่า พวกเธอต้องปวารณาใหม่ ภิกษุที่ปวารณาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 591

๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวกเธอไม่ทราบว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่าเป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน ปวารณา เมื่อพวกเธอกำลังปวารณา ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมีจำนวนเท่ากัน ภิกษุพวกที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกที่เหลือ พึงปวารณาต่อไป พวกที่ปวารณาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวกเธอไม่ทราบว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่าเป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน ปวารณา เมื่อพวกเธอกำลังปวารณา ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมีจำนวนน้อยกว่า ภิกษุพวกที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกที่เหลือ พึงปวารณาต่อไป พวกที่ปวารณาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวกเธอไม่ทราบว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่าเป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน ปวารณา เมื่อพวกเธอปวารณาเสร็จพอดี ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องปวารณาใหม่ ภิกษุที่ปวารณาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 592

๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมีจำนวนเท่ากัน ภิกษุพวกที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ภิกษุพวกที่มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักพวกเธอ พวกที่ปวารณาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมีจำนวนน้อยกว่า ภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ภิกษุพวกที่มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักพวกเธอ พวกที่ปวารณาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวกเธอไม่ทราบว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่าเป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน ปวารณา เมื่อพวกเธอปวารณาเสร็จพอดี แต่บริษัทยังไม่ทันลุกไป ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องปวารณาใหม่ ภิกษุพวกที่ปวารณาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ...

๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ภิกษุพวกปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกที่มาทีหลัง พึงปวารณาในสำนักพวกเธอ พวกที่ปวารณาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

๑๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวกเธอไม่ทราบว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่าเป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 593

ปวารณา เมื่อพวกเธอปวารณาเสร็จ บริษัทบางพวกลุกไปแล้ว ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องปวารณาใหม่ พวกที่ปวารณาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

๑๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ...

๑๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ภิกษุพวกปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกที่มาทีหลัง พึงปวารณาในสำนักพวกเธอ พวกที่ปวารณาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

๑๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวกเธอไม่ทราบว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่าเป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน ปวารณา เมื่อพวกเธอปวารณาเสร็จ บริษัทลุกไปหมดแล้ว ขณะนั้นมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องปวารณาใหม่ พวกที่ปวารณาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

๑๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ...

๑๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ภิกษุพวกที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกที่มาทีหลัง พึงปวารณาในสำนักพวกเธอ พวกที่ปวารณาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

ปวารณาไม่ต้องอาบัติ ๑๕ ข้อ จบ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 594

ปวารณาเป็นหมู่สำคัญว่าพร้อมกัน ๑๕ ข้อ

[๒๓๔] ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวกเธอรู้อยู่ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่าเป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกันปวารณา เมื่อพวกเธอกำลังปวารณา ขณะนั้นมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่าภิกษุเหล่านั้นต้องปวารณาใหม่ พวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

๒ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ...

๓ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ภิกษุพวกที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว นอกนั้นพึงปวารณาต่อไป พวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ.

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มี ภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวกเธอรู้อยู่ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอความสำคัญว่าเป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกันปวารณา เมื่อพวกเธอปวารณาเสร็จพอดี ขณะนั้นมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมา ถึงมีจำนวนมากกว่า ...

๕ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ...

๖ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ...

๗ ... เมื่อพวกเธอปวารณาเสร็จพอดี บริษัทยังไม่ทันลุกไป ขณะนั้นมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ...

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 595

๘ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ...

๙ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ...

๑๐ ... เมื่อพวกเธอปวารณาเสร็จ บริษัทบางพวกลุกไปแล้ว ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ...

๑๑ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ...

๑๒ ... ขณะนั้น ภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ...

๑๓ ... .เมื่อพวกเธอปวารณาเสร็จ บริษัทลุกไปหมดแล้ว ขณะนั้นมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ...

๑๔ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ...

๑๕ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ภิกษุพวกที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกที่มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักพวกเธอ พวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ.

ปวารณาเป็นหมู่สำคัญว่าพร้อมกัน ๑๕ ข้อ จบ

มีความสงสัยปวารณา ๑๕ ข้อ

[๒๓๕] ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวกเธอรู้อยู่ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสงสัยว่า พวกเราปวารณากันจะสมควรหรือไม่สมควรหนอ ดังนี้ แล้วยังขืนปวารณา เมื่อพวกเธอกำลังปวารณา ขณะนั้นภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องปวารณาใหม่ พวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ.

๒ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ...

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 596

๓ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ภิกษุพวกที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกที่เหลือพึงปวารณาต่อไป พวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ.

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวกเธอรู้อยู่ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสงสัยว่า พวกเราปวารณากันจะสมควรหรือไม่สมควรหนอ ดังนี้ แล้วยังขืนปวารณา พอพวกเธอปวารณาเสร็จ ขณะนั้นมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ...

๕ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ...

๖ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ...

๗ ... บริษัทยังไม่ทันลุกไป ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ...

๘ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ...

๙ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ...

๑๐ ... บริษัทบางพวกลุกไปแล้ว ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ...

๑๑ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ...

๑๒ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ...

๑๓ ... บริษัทลุกไปหมดแล้ว ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ...

๑๔ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ...

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 597

๑๕ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ภิกษุพวกที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกที่มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักพวกเธอ พวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ.

มีความสงสัยปวารณา ๑๕ ข้อ จบ

ฝืนใจทำปวารณา ๑๕ ข้อ

[๒๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวกเธอรู้อยู่ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา แต่ฝืนใจทำปวารณา ด้วยเข้าใจว่า พวกเราปวารณากันสมควรแท้ จะไม่สมควรก็หามิได้ เมื่อพวกเธอกำลังปวารณา ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องปวารณาใหม่ พวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ.

๒ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ...

๓ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ภิกษุพวกที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกที่เหลือพึงปวารณาต่อไป พวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ.

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวกเธอรู้อยู่ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา แต่ฝืนใจทำปวารณา ด้วยเข้าใจว่าพวกเราปวารณากันสมควรแท้ จะไม่สมควรก็หามิได้ พอพวกเธอปวารณาเสร็จ ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ...

๕ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ...

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 598

๖ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ...

๗ ... บริษัทยังไม่ทันลุกไป ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ...

๘ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ...

๙ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ...

๑๐ ... บริษัทบางพวกลุกไป ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ...

๑๑ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ...

๑๒ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ...

๑๓ ... บริษัทลุกไปหมดแล้ว ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมา ถึงมีจำนวนมากกว่า ...

๑๔ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ...

๑๕ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ภิกษุพวกที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกที่มาทีหลัง พึงปวารณา ในสำนักพวกเธอ พวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ.

ฝืนใจทำปวารณา ๑๕ ข้อ จบ

มุ่งความแตกร้าวปวารณา ๑๕ ข้อ

[๒๓๗] ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวกเธอรู้อยู่ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา และมุ่งความแตกร้าวว่า ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ ขอภิกษุเหล่านั้นจงพินาศ จะประโยชน์

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 599

อะไรด้วยภิกษุเหล่านั้น ดังนี้ จึงปวารณา เมื่อพวกเธอกำลังปวารณา ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องปวารณาใหม่ พวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

๒ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ...

๓ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ภิกษุพวกที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกที่เหลือพึงปวารณาต่อไป พวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติถุลลัจจัย

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวกเธอรู้อยู่ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา และมุ่งความแตกร้าวว่า ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ ขอภิกษุเหล่านั้นจงพินาศ จะประโยชน์อะไรด้วยภิกษุเหล่านั้น ดังนี้ จึงปวารณา พวกเธอปวารณา พวกเธอปวารณาเสร็จ ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมีจำนวนมากกว่า ...

๕ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ...

๖ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ...

๗ ... บริษัทยังไม่ทันลุกไป ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ...

๘ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ...

๙ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ...

๑๐ ... บริษัทบางพวกลุกไปแล้ว ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ...

๑๑ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ...

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 600

๑๒ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ...

๑๓ ... บริษัทลุกไปหมดแล้ว ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องปวารณาใหม่ พวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

๑๔ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ...

๑๕ ... ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ภิกษุพวกที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกที่มาทีหลังพึงปวารณาในสำนักพวกเธอ พวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

มุ่งความแตกร้าวปวารณา ๑๕ ข้อจบ

เปยยาลมุข ๗๐๐ ติกะ

[๒๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวกเธอไม่ทราบว่า มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นกำลังเข้ามาภายในสีมา ...

... พวกเธอไม่ทราบว่า มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นเข้ามาในสีมาแล้ว ...

... พวกเธอไม่เห็นภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่กำลังเข้ามาในสีมา ...

... พวกเธอไม่เห็นภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นเข้ามาภายในสีมาแล้ว ...

... พวกเธอไม่ได้ยินว่า มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นกำลังเข้ามาภายในสีมา ...

... พวกเธอไม่ได้ยินว่า มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นเข้ามาภายในสีมาแล้ว ...

โดยนัย ๑๗๕ ติกะ ภิกษุเจ้าถิ่นกับภิกษุเจ้าถิ่น ภิกษุอาคันตุกะกับภิกษุเจ้าถิ่น ภิกษุเจ้าถิ่นกับภิกษุอาคันตุกะ ภิกษุอาคันตุกะกับภิกษุอาคันตุกะ รวมเป็น ๗๐๐ ติกะ โดยเปยยาลมุข.

เปยยาลมุข ๗๐๐ ติกะ จบ

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 601

ภิกษุเจ้าถิ่นกับภิกษุอาคันตุกะนับวันปวารณาต่างกัน

[๒๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วันปวารณาของพวกภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้เป็น ๑๔ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะเป็น ๑๕ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุเจ้าถิ่น มีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะพึงอนุวัตรพวกภิกษุเจ้าถิ่น ถ้ามีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุอาคันตุกะพึงอนุวัตรพวกภิกษุเจ้าถิ่น ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะมีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุเจ้าถิ่นพึงอนุวัตรพวกภิกษุอาคันตุกะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง วันปวารณาของพวกภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้เป็น ๑๕ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะเป็น ๑๔ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุเจ้าถิ่นมีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะพึงอนุวัตรพวกภิกษุเจ้าถิ่น ถ้าจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุอาคันตุกะพึงอนุวัตรพวกภิกษุเจ้าถิ่น ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะมีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุเจ้าถิ่นพึงอนุวัตรพวกภิกษุอาคันตุกะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง วันปวารณาของพวกภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้เป็นวัน ๑ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะเป็น ๑๕ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุเจ้าถิ่นมีจำนวนมากว่า พวกภิกษุเจ้าถิ่นไม่ปรารถนาก็ไม่ไห้ความสามัคคีแก่พวกภิกษุอาคันตุกะ. พวกภิกษุอาคันตุกะพึงไปปวารณานอกสีมาเถิด ถ้าจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุเจ้าถิ่นไม่ปรารถนาก็ไม่ต้องให้ความสามัคคีแก่พวกภิกษุอาคันตุกะ พวกภิกษุอาคันตุกะพึงไปปวารณานอกสีมาเถิด ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะมีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุเจ้าถิ่นพึงให้ความสามัคคีแก่พวกภิกษุอาคันตุกะ หรือพึงไปเสียนอกสีมา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง วันปวารณาของพวกภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้เป็น ๑๕ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะเป็น ๑ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุเจ้าถิ่นมีจำนวนมากว่า พวกภิกษุอาคันตุกะพึงให้ความสามัคคีแก่พวกภิกษุเจ้าถิ่น หรือพึง

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 602

ไปเสียนอกสีมา ถ้ามีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุอาคันตุกะพึงให้ความสามัคคีแก่พวกภิกษุเจ้าถิ่น หรือพึงไปเสียนอกสีมา ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะมีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะไม่ปรารถนาก็ไม่ต้องให้ความสามัคคีแก่พวกภิกษุเจ้าถิ่น พวกภิกษุเจ้าถิ่นพึงไปปวารณานอกสีมาเถิด.

ปวารณาของภิกษุที่สงสัยเป็นต้น

[๒๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พวกภิกษุอาคันตุกะในศาสนานี้ ได้เห็นอาการเจ้าถิ่น ลักษณะเจ้าถิ่น เครื่องหมายเจ้าถิ่น สีที่แสดงเจ้าถิ่น ของพวกภิกษุเจ้าถิ่น เตียง ตั่ง ฟูก หมอน จัดไว้ได้ระเบียบ น้ำฉันน้ำใช้จัดหาไว้เป็นอันดี บริเวณกวาดสะอาดสะอ้าน ครั้นแล้ว มีความสงสัยว่า พวกภิกษุเจ้าถิ่นมีหรือไม่มีหนอ พวกเธอมีความสงสัยแต่ไม่เที่ยวค้นหา ครั้นแล้ว ขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฎ.

... พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหาแล้วแต่ไม่พบ จึงปวารณา ไม่ต้องอาบัติ.

... พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหาแล้วพบ จึงปวารณาร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ.

... พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหาแล้วพบ ครั้นแล้ว แยกกันปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหาแล้วพบ ครั้นแล้ว มุ่งความแตกร้าวว่า ขอภิกษุพวกนั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ จะประโยชน์อะไรด้วยภิกษุพวกนั้น ดังนี้ จึงปวารณา ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกภิกษุอาคันตุกะในศาสนานี้ได้ยินอาการเจ้าถิ่น ลักษณะเจ้าถิ่น เครื่องหมายเจ้าถิ่น ที่แสดงเจ้าถิ่น ของพวกภิกษุเจ้าถิ่น

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 603

ได้ยินเสียงเท้าของพวกภิกษุเจ้าถิ่นกำลังเดินจงกรม ได้ยินเสียงท่องสาธยาย เสียงไอ เสียงจาม ครั้นแล้วมีความสงสัยว่า พวกภิกษุเจ้าถิ่นยังมีหรือไม่มีหนอ พวกเธอมีความสงสัยแต่ไม่ค้นหา ครั้นแล้วขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

... พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้วไม่พบ ครั้นแล้วจึงปวารณา ไม่ต้องอาบัติ.

... พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้วจึงพบ ครั้นพบแล้วจึงปวารณาร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ.

... พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้วจึงพบ ครั้นพบแล้ว จึงแยกกันปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

... พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้วจึงพบ ครั้นพบแล้ว มุ่งความแตกร้าวว่า ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ จะประโยชน์อะไรด้วยภิกษุเหล่านั้น ดังนี้ จึงปวารณา ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้ ได้เห็นอาการอาคันตุกะ ลักษณะอาคันตุกะ เครื่องหมายอาคันตุกะ สิ่งที่แสดงอาคันตุกะ ของพวกภิกษุอาคันตุกะ ได้เห็น บาตร จีวร ผ้านิสีทนะ อันเป็นของภิกษุพวกอื่น ได้เห็นรอยน้ำล้างเท้า ครั้นแล้วมีความสงสัยว่า พวกภิกษุอาคันตุกะยังมีหรือไม่มีหนอ.

... พวกเธอมีความสงสัยแต่ไม่ค้นหา ครั้นแล้วขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

... พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้วไม่พบ ครั้นแล้วจึงปวารณา ไม่ต้องอาบัติ.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 604

... พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้วจึงพบ ครั้นพบแล้ว จึงปวารณาร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ.

... พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้วจึงพบ ครั้นพบแล้ว ได้แยกกันปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

... พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้วจึงพบ ครั้นพบแล้ว มุ่งความแตกร้าวว่า ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ จะประโยชน์อะไรด้วยภิกษุเหล่านั้น ดังนี้ จึงปวารณา ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้ได้ยินอาการอาคันตุกะ ลักษณะอาคันตุกะ เครื่องหมายอาคันตุกะ สิ่งที่แสดงอาคันตุกะ ของพวกภิกษุอาคันตุกะ ได้ยินเสียงเท้าของพวกภิกษุอาคันตุกะกำลังเดินมา ได้ยินเสียงรองเท้ากระทบ ได้ยินเสียงไอ เสียงจาม ครั้นแล้วมีความสงสัยว่า พวกภิกษุอาคันตุกะยังมีหรือไม่มีหนอ พวกเธอมีความสงสัยแต่ไม่ค้นหา ครั้นแล้วขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

... พวกเธอมีความสงสัย ได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้วไม่พบ ครั้นแล้วจึงปวารณา ไม่ต้องอาบัติ.

... พวกเธอมีความสงสัย ได้ค้นหา ครั้นค้นหาจึงพบ ครั้นพบแล้ว ได้ปวารณาร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ.

... พวกเธอมีความสงสัย ได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้วจึงพบ ครั้นพบแล้ว ได้แยกกันปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

... พวกเธอมีความสงสัย ได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้วจึงพบ ครั้นพบแล้วมุ่งความแตกร้าวว่า ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ จะประโยชน์อะไรด้วยภิกษุเหล่านั้น ดังนี้ จึงปวารณา ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 605

ภิกษุสมานสังวาสเป็นต้นปวารณา

[๒๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พวกภิกษุอาคันตุกะในศาสนานี้ได้เห็นพวกภิกษุเจ้าถิ่นซึ่งเป็นนานาสังวาส พวกเธอกลับได้ความเห็นว่าเป็นสมานสังวาส ครั้นแล้วก็ไม่ไต่ถาม ครั้นแล้วจึงปวารณาร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ.

... พวกเธอได้ไต่ถาม ครั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ ครั้นแล้วปวารณาร่วมกัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

... พวกเธอได้ไต่ถาม ครั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ ครั้นแล้วแยกกันปวารณา ไม่ต้องอาบัติ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกภิกษุอาคันตุกะในศาสนานี้ได้เห็นพวกภิกษุเจ้าถิ่นซึ่งเป็นสมานสังวาส พวกเธอกลับได้ความเห็นว่าเป็นนานาสังวาส ครั้นแล้วก็ไม่ได้ถาม ครั้นแล้วปวารณาร่วมกัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

... พวกเธอได้ไต่ถาม ครั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ ครั้นแล้วแยกกันปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

... พวกเธอได้ไต่ถาม ครั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ ครั้นแล้วปวารณาร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ.

... พวกเธอได้ไต่ถาม ครั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ ครั้นแล้วแยกกันปวารณา ไม่ต้องอาบัติ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้ได้เห็นพวกภิกษุอาคันตุกะซึ่งเป็นนานาสังวาส พวกเธอกลับได้ความเห็นว่าเป็นสมานสังวาส ครั้นแล้วก็ไม่ได้ถาม ครั้นแล้วปวารณาร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ.

... พวกเธอได้ไต่ถาม ครั้นไต่ถามแล้ว ไม่รังเกียจ ครั้นแล้วปวารณาร่วมกัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 606

... พวกเธอได้ไต่ถาม ครั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ ครั้นแล้วแยกกันปวารณา ไม่ต้องอาบัติ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้เห็นพวกภิกษุอาคันตุกะซึ่งเป็นสมานสังวาส พวกเธอกลับได้ความเห็นว่าเป็นนานาสังวาส ครั้นแล้วก็ไม่ไต่ถาม ครั้นแล้วปวารณาร่วมกัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

... พวกเธอได้ไต่ถาม ครั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ ครั้นแล้วแยกกันปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

... พวกเธอได้ไต่ถาม ครั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ ครั้นแล้วปวารณาร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ.

ไม่ควรไปไหนในวันปวารณา

[๒๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ภิกษุไม่พึงไปจากอาวาสที่มีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสที่มีภิกษุไม่ครบจำนวน นอกจากไปเป็นคณะสงฆ์ นอกจากมีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากอาวาสที่มีภิกษุครบจำนวน สู่ถิ่นที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุไม่ครบจำนวน นอกจากไปเป็นคณะสงฆ์ นอกจากมีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากอาวาสที่มีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุไม่ครบจำนวน นอกจากไปเป็นคณะสงฆ์ นอกจากมีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสที่มีภิกษุไม่ครบจำนวน นอกจากไปเป็นคณะสงฆ์ นอกจากมีอันตราย.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 607

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่ถิ่นที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุไม่ครบจำนวน นอกจากไปเป็นคณะสงฆ์ นอกจากมีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากถิ่นที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุไม่ครบจำนวน นอกจากไปเป็นคณะสงฆ์ นอกจากมีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสซึ่งมีภิกษุไม่ครบจำนวน นอกจากไปเป็นคณะสงฆ์ นอกจากมีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากอาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุไม่ครบจำนวน นอกจากไปเป็นคณะสงฆ์ นอกจากมีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากอาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุไม่ครบจำนวน นอกจากไปเป็นคณะสงฆ์ นอกจากมีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากอาวาสซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสมีภิกษุซึ่งครบจำนวน ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส นอกจากไปเป็นคณะสงฆ์ นอกจากมีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากอาวาสซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่ถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวนซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส นอกจากไปเป็นคณะสงฆ์ นอกจากมีอันตราย.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 608

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากอาวาสซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส นอกจากไปเป็นคณะสงฆ์ นอกจากมีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสซึ่งมีภิกษุครบจำนวน ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส นอกจากไปเป็นคณะสงฆ์ นอกจากมีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากอาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสซึ่งมีภิกษุครบจำนวน ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากอาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่ถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากอาวาส หรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน ซึ่งเป็นที่อยู่ของภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส นอกจากไปเป็นคณะสงฆ์ นอกจากมีอันตราย.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 609

สถานที่ควรไปในวันปวารณา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ภิกษุพึงไปจากอาวาสที่มีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสที่มีภิกษุครบจำนวน ...

... สู่ถิ่นที่มิใช่อาวาส ...

... สู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นสมานสังวาส ที่รู้ว่าเราสามารถจะไปถึงในวันนี้แหละ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา พึงไปจากถิ่นที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสที่มีภิกษุครบจำนวน ...

... สู่ถิ่นที่มิใช่อาวาส ...

... สู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส อันเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นสมานสังวาส ที่รู้ว่าเราสามารถจะไปถึงในวันนี้แหละ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา พึงไปจากอาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสที่มีภิกษุครบจำนวน ...

... สู่ถิ่นที่มิใช่อาวาส ... สู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส อันเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็น สมานสังวาส ที่รู้ว่าจะสามารถไปถึงในวันนี้แหละ.

บุคคลที่ควรเว้นในปวารณา

[๒๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุณีนั่งอยู่ด้วย รูปใดปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีสิกขมานานั่งอยู่ด้วย ...

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 610

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีสามเณรนั่งอยู่ด้วย ...

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีสามเณรีนั่งอยู่ด้วย ...

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุผู้บอกลาสิกขาแล้วนั่งอยู่ด้วย ...

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุนั่งอยู่ด้วย รูปใดปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัตินั่งอยู่ด้วย รูปใดปวารณา พึงปรับอาบัติตามธรรม.

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัตินั่งอยู่ด้วย ...

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละคืนทิฏฐิอันลามกนั่งอยู่ด้วย รูปใดปวารณา พึงปรับอาบัติตามธรรม.

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีบัณเฑาะก์นั่งอยู่ด้วย รูปใดปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีคนลักเพศนั่งอยู่ด้วย ...

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุผู้เข้ารีตเดียรถีย์นั่งอยู่ด้วย ...

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีคนคล้ายดิรัจฉานนั่งอยู่ด้วย ...

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีคนฆ่ามารดานั่งอยู่ด้วย ...

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีคนฆ่าบิดานั่งอยู่ด้วย ...

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีคนฆ่าพระอรหันต์นั่งอยู่ด้วย ...

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีคนประทุษร้ายภิกษุณีนั่งอยู่ด้วย ...

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุทำลายสงฆ์นั่งอยู่ด้วย ...

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 611

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีคนทำร้ายพระศาสดาถึงห้อพระโลหิตนั่งอยู่ด้วย ...

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีอุภโตพยัญชนกนั่งอยู่ด้วย รูปใดปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงปวารณา ด้วยการให้ปวารณาค้างคราว นอกจากบริษัทยังไม่ลุกไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุไม่พึงปวารณาในดิถีมิใช่วันปวารณา นอกจากวันสังฆสามัคคี.

ภาณวารที่ ๒ จบ

พระพุทธานุญาตเตวาจิกาปวารณา

สัญจรภัยในปวารณา

[๒๔๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ณ อาวาสแห่งหนึ่งในโกศลชนบท คนชาวดงได้มาพลุกพล่านในวันปวารณา ภิกษุทั้งหลายไม่อาจปวารณา ๓ หน จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปวารณา ๒ หน คนชาวดงได้มาพลุกพล่านมากขึ้น ภิกษุทั้งหลายไม่อาจปวารณา ๒ หน จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปวารณาหนเดียว คนชาวดงได้มาพลุกพล่านหนักขึ้นอีก ภิกษุทั้งหลายไม่อาจปวารณาหนเดียว จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ปวารณามีพรรษาเท่ากัน.

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 612

ราตรีจวนสว่าง

ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา ชาวบ้านมัวให้ทานอยู่จนราตรีจวนสว่าง จึงภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันว่า คนเหล่านี้มัวให้ทานอยู่จนราตรีจวนสว่าง ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หน สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณาทั่วกัน ราตรีนี้ก็จักสว่างเสียก่อน พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแค่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันปวารณา ชาวบ้านในตำบลนี้มัวให้ทานอยู่จนราตรีจวนสว่าง หากภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้นมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ชาวบ้านพากันให้ทานอยู่จนราตรีจวนสว่าง ถ้าสงฆ์จะปวารณา ๓ หน สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณาทั่วกัน ราตรีนี้ก็จักสว่างเสียก่อน ดังนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่าดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า พระสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ชาวบ้านมัวให้ทานอยู่จนราตรีจวนสว่าง ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หน สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณาทั่วกัน ราตรีจักสว่างเสียก่อน ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา ๒ หน ... หนเดียว ... มีพรรษาเท่ากัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันปวารณา ภิกษุทั้งหลายกล่าวธรรมกัน ... ภิกษุที่เชี่ยวชาญในพระสูตร สังคายนาพระสูตรกัน ... พระวินัยธรตัดสินพระวินัยกัน ... พระธรรมกถึกสนทนาธรรมกัน ... ภิกษุทั้งหลายทะเลาะกันจนราตรีจวนสว่าง หากภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้นมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายทะเลาะกันจนราตรีจวนสว่าง ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หน สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณาทั่วกัน ราตรีจักสว่างเสียก่อน ดังนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 613

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายมัวทะเลาะกันจนราตรีจวนสว่าง ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ ทน สงฆ์จักไม่ทันปวารณาทั่วกัน ราตรีจักสว่างเสียก่อน ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา ๒ หน ... หนเดียว ... มีพรรษาเท่ากัน.

ฝนกำลังตั้งเค้า

ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่งในโกศลชนบท ถึงวันปวารณา ภิกษุสงฆ์มาประชุมกันมาก สถานที่ประชุมคับแคบ คุ้มฝนไม่ได้ และฝนกำลังตั้งเค้ามาใหญ่ จึงภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันว่า ภิกษุสงฆ์นี้มาประชุมกันมาก สถานที่ประชุมคับแคบ คุ้มฝนไม่ได้และฝนกำลังตั้งเค้ามาใหญ่ ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หน สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณาทั่วกัน ฝนนี้ก็จักตกเสียก่อน พวกเราจะพึงปฏิบัติสถานไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้มาประชุมกันมาก สถานที่ประชุมคับแคบ คุ้มฝนไม่ ได้ และฝนก็กำลังตั้งเค้ามาใหญ่ ถ้าภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้นมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ภิกษุสงฆ์มาประชุมกันมาก สถานที่ประชุมคับแคบ คุ้มฝนไม่ได้ และฝนก็กำลังตั้งเค้ามาใหญ่ ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หน สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณาทั่วกัน ฝนนี้ก็จักตกหนักเสียก่อน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสงฆ์นี้ประชุมกันมาก สถานที่ประชุมคับแคบ คุ้มฝนไม่ได้ และฝนก็กำลังตั้งเค้ามาใหญ่ ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หน สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณาทั่วกัน

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 614

ฝนนั้นก็จักตกเสียก่อน ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา ๒ หน ... หนเดียว ... มีพรรษาเท่ากัน.

อันตราย ๑๐ ประการ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่งในตำบลนี้ ถึงวันปวารณา มีอันตรายเกิดขึ้น คือ:-

๑. พระราชาเสด็จมา ...

๒. โจรปล้น ...

๓. ไฟไหม้ ...

๔. น้ำหลากมา ...

๕. คนมามาก ...

๖. ผีเข้าสิงภิกษุ ...

๗. สัตว์ร้ายเขามา ...

๘. งูร้ายเลื้อยเข้ามา ...

๙. ภิกษุจะถึงเสียชีวิต ...

๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์เกิดขึ้น

ในข้อนั้น หากภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้นมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เหตุฉุกเฉินนี้แหละ คือ อันตรายแก่พรหมจรรย์ ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หน สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณาทั่วถึงกัน อันตรายแก่พรหมจรรย์นี้ก็จักเกิดเสียก่อน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เหตุฉุกเฉินนี้คืออันตรายแก่พรหมจรรย์ ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หน สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณา

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 615

ทั่วถึงกัน อันตรายแก่พรหมจรรย์นี้จักเกิดเสียก่อน ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา ๒ หน ... หนเดียว ... มี พรรษาเท่ากัน.

ภิกษุมีอาบัติห้ามปวารณา

[๒๔๕] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์มีอาบัติติดตัวได้ปวารณา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีอาบัติติดตัวไม่พึงปวารณา รูปใดปวารณา ต้องอาบัติทุกกุฏ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีอาบัติติดตัวปวารณา รูปนั้นทำโอกาส โจทด้วยอาบัติ.

สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์อันสงฆ์ให้ทำโอกาส ก็ไม่ปรารถนาจะทำโอกาส ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้งดปวารณาของภิกษุผู้ไม่ยอมทำโอกาส.

วิธีงดปวารณา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงงดปวารณาอย่างนี้:-

เมื่อถึงวันปวารณา ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ว่าดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้ มีอาบัติติดตัวปวารณา ข้าพเจ้าของดปวารณาของเธอเสีย เมื่อเธอยังอยู่พร้อมหน้า สงฆ์ไม่พึงปวารณา.

เท่านี้ เป็นอันงดปวารณาแล้ว.

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 616

สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์หารือกันว่า ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก งดปวารณาของพวกเราก่อน ดังนี้ จึงรีบงดปวารณาของภิกษุที่บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติเสียก่อน เพราะเรื่องอันไม่สมควร เพราะเหตุอันไม่สมควร แม้ปวารณาของภิกษุที่ปวารณาแล้ว ก็งดด้วย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงงดปวารณาของภิกษุผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่องอันไม่สมควร เพราะเหตุอันสมควร รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง แม้ปวารณาของภิกษุที่ปวารณาแล้ว ก็ไม่พึงงด รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ.

ลักษณะปวารณาที่ไม่เป็นอันงด

[๒๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ปวารณาเป็นอันงด อย่างนี้ไม่เป็นอันงด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปวารณาไม่เป็นอันงดอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อปวารณา ๓ หน อันภิกษุกล่าวว่าจบแล้ว จึงงดปวารณา ปวารณาไม่เป็นอันงด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อปวารณา ๒ หน ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อปวารณาหนเดียว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อปวารณามีพรรษาเท่ากัน อันภิกษุกล่าวว่าจบแล้วจึงงดปวารณา ปวารณาไม่เป็นอันงด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ปวารณาไม่เป็นอันงด.

ลักษณะปวารณาเป็นอันงด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปวารณาเป็นอันงดอย่างไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อปวารณา ๓ หน อันภิกษุกล่าวว่ายังไม่ทันจบจึงงดปวารณา ปวารณาเป็นอันงด.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 617

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อปวารณา ๒ หน ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อปวารณาหนเดียว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อปวารณามีพรรษาเท่ากัน อันภิกษุกล่าวว่ายังไม่ทันจบจึงงดปวารณา ปวารณาเป็นอันงด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ปวารณาเป็นอันงด.

ภิกษุผู้งดปวารณา

[๒๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้งดปวารณาของภิกษุเสีย ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุรูปนั้นว่า ท่านองค์นี้แลมีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูกซักถาม ไม่อาจให้คำตอบข้อที่ซักถาม สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า อย่าเลย ภิกษุ อยู่ทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย ดังนี้ แล้วจึงปวารณา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อถึงวันปวารณา ภิกษุนี้ศาสนานี้งดปวารณาของภิกษุเสีย ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุรูปนั้นว่า ท่านองค์นี้แลมีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ แต่มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูกชักถาม ก็ไม่อาจให้คำตอบข้อที่ซักถาม สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า อย่าเลย ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย ดังนี้ แล้วจึงปวารณา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้งดปวารณาของภิกษุเสีย ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุรูปนั้นว่า ท่านองค์นี้แลมีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ แต่มีอาชีวะไม่

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 618

บริสุทธิ์ เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูกชักถาม ก็ไม่อาจให้คำตอบข้อที่ชักถาม สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า อย่าเลย ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย ดังนี้ แล้วจึงปวารณา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้งดปวารณาของภิกษุเสีย ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุรูปนั้นว่า ท่านองค์นี้แลมีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ มีอาชีวะบริสุทธิ์ แต่เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูกซักถามก็ไม่อาจให้คำตอบข้อที่ชักถาม สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า อย่าเลย ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย ดังนี้ แล้วจึงปวารณา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้งดปวารณาของภิกษุเสีย ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุรูปนั้นว่า ท่านองค์นี้แลมีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ มีอาชีวะบริสุทธิ์ เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา เมื่อถูกชักถาม สามารถให้คำตอบข้อที่ชักถามได้ ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส คุณงดปวารณาของภิกษุรูปนี้เพราะอะไร งดเพราะศีลวิบัติหรือ งดเพราะอาจารวิบัติหรือ งด เพราะทิฏฐิวิบัติหรือ หากเธอจะพึงตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้างดเพราะศีลวิบัติ ข้าพเจ้างดเพราะอาจารวิบัติ ข้าพเจ้างดเพราะทิฏฐิวิบัติ เธออันสงฆ์พึงถามอย่างนี้ว่า คุณรู้จักศีลวิบัติ รู้จักอาจารวิบัติ รู้จักทิฏฐิวิบัติหรือ? หากเธอจะพึงตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้จักศีลวิบัติ รู้จักอาจารวิบัติ รู้จักทิฏฐิวิบัติ เธออันสงฆ์พึงถามอย่างนี้ว่า อาวุโส ก็ศีลวิบัติเป็นอย่างไร อาจารวิบัติเป็นอย่างไร ทิฏฐิวิบัติเป็นอย่างไร หากเธอจะพึงตอบอย่างนี้ ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ นี้ชื่อว่าศีลวิบัติ ถุลลัจจัย ปาจิตทิยะ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 619

ทุพภาสิต นี้ชื่อว่าอาจารวิบัติ มิจฉาทิฏฐิ อันตคาหิกทิฏฐิ นี้ชี่อว่าทิฏฐิวิบัติ เธออันสงฆ์พึงถามอย่างนี้ว่า อาวุโส คุณงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยเหตุอะไร งดด้วยได้เห็นหรือ งดด้วยได้ฟังหรือ งดด้วยสงสัยหรือ หากเธอจะพึงตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้างดด้วยได้เห็นก็ดี ข้าพเจ้างดด้วยได้ฟังก็ดี ข้าพเจ้างดด้วยสงสัยก็ดี เธออันสงฆ์พึงถามอย่างนี้ว่า อาวุโส คุณงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยได้เห็นอย่างไร คุณเห็นอะไร คุณเห็นว่าอย่างไร คุณเห็นเมื่อไร คุณเห็นที่ไหน ภิกษุนี้ต้องอาบัติปาราชิก คุณเห็นหรือ ภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส คุณเห็น หรือ ภิกษุนี้ต้องอาบัติถุลลัจจัย ... อาบัติปาจิตติยะ ... อาบัติปาฏิเทสนียะ ... อาบัติทุกกฏ ... อาบัติทุพภาสิต คุณเห็นหรือ คุณอยู่ที่ไหน และภิกษุนี้อยู่ที่ไหน คุณทำอะไรบ้าง ภิกษุนี้ทำอะไรบ้าง หากเธอจะพึงตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ข้าพเจ้ามิได้งดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยได้เห็น แต่งดปวารณาด้วยได้ฟังต่างหาก เธออันสงฆ์พึงถามอย่างนี้ว่า อาวุโส คุณงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยได้ฟังมาอย่างไร คุณได้ฟังเรื่องอะไร คุณได้ฟังมาว่าอย่างไร คุณ ได้ฟังมาเมื่อไร คุณได้ฟังที่ไหน คุณได้ฟังว่า ภิกษุนี้ต้องอาบัติปาราชิกหรือ ได้ฟังว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ ได้ฟังว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติถุลลัจจัย ... อาบัติปาจิตติยะ ... อาบัติปาฏิเทสนียะ ... อาบัติทุกกฏ ... อาบัติทุพภาสิตหรือ ได้ฟังมาจากภิกษุหรือ ได้ฟังมาจากภิกษุณีหรือ ได้ฟังมาจากสิกขมานาหรือ ได้ฟังมาจากสามเณรหรือ ได้ฟังมาจากสามเณรีหรือ ได้ฟังมาจากอุบาสกหรือ ได้ฟังมาจากอุบาสิกาหรือ ได้ฟังมาจากพระราชาหรือ ได้ฟังมาจากราชมหาอำมาตย์หรือ ได้ฟังมาจากพวกเดียรถีย์หรือ ได้ฟังมาจากพวกสาวกเดียรถีย์หรือ หากเธอจะพึงตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ข้าพเจ้ามิได้งดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยได้ฟัง แต่ข้าพเจ้างดปวารณาด้วยสงสัยต่างหาก เธออันสงฆ์พึงถามอย่าง

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 620

นี้ว่า อาวุโส คุณงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยสงสัยอย่างไร คุณสงสัยอะไร สงสัยว่าอย่างไร สงสัยเมื่อไร สงสัยที่ไหน คุณสงสัยว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติปาราชิกหรือ สงสัยว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ สงสัยว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติถุลลัจจัย ... อาบัติปาจิตติยะ ... อาบัติปาฏิเทสนียะ ... อาบัติทุกกฏ ... อาบัติทุพภาสิตหรือ คุณฟังมาจากภิกษุแล้วสงสัยหรือ คุณฟังมาจากภิกษุณีแล้วสงสัยหรือ คุณฟังมาจากสิกขมานาแล้วสงสัยหรือ คุณฟังมาจากสามเณรแล้วสงสัยหรือ คุณฟังมาจากสามเณรีแล้วสงสัยหรือ คุณฟังมาจากอุบาสกแล้วสงสัยหรือ คุณฟังมาจากอุบาสิกาแล้วสงสัยหรือ คุณฟังมาจากพระราชาแล้วสงสัยหรือ คุณฟังมาจากราชมหาอำมาตย์แล้วสงสัยหรือ คุณฟังมาจากพวกเดียรถีย์แล้วสงสัยหรือ คุณฟังมาจากพวกสาวกเดียรถีย์แล้วสงสัยหรือ หากเธอจะพึงตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ข้าพเจ้ามิได้งดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยสงสัย ความจริงแม้ข้าพเจ้าเองก็ไม่ทราบว่า เรางดปวารณาของภิกษุนี้เสียด้วยเหตุไรเล่า.

ฟังคำปฏิญาณของโจทก์และจำเลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุโจทก์นั้นตอบข้อซักถามไม่เป็นที่พอใจ ของสพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย สงฆ์ควรบอกว่า คุณไม่ควรฟ้องภิกษุจำเลย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุโจทก์นั้นตอบข้อชักถามเป็นที่พอใจของสพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย สงฆ์ควรบอกว่า คุณควรฟ้องภิกษุจำเลย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุโจทก์นั้นปฏิญาณว่า ตนตามกำจัดด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล สงฆ์พึงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแล้วจึงปวารณา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุโจทก์นั้นปฏิญาณว่า ตนตามกำจัดด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล สงฆ์พึงปรับอาบัติตามธรรมแล้วจึงปวารณา.

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 621

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุโจทก์นั้นปฏิญาณว่า ตนตามกำจัดด้วยอาบัติถุลลัจจัยไม่มีมูล ... ด้วยอาบัติปฏิปาจิตติยะ ... ด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ ... ด้วยอาบัติทุกกฏ ... ด้วยอาบัติทุพภาสิตไม่มีมูล สงฆ์พึงปรับอาบัติตามธรรม แล้วจึงปวารณา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุจำเลยนั้นปฏิญาณว่า ตนต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์พึงนาสนะเสีย แล้วจึงปวารณา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุจำเลยนั้นปฏิญาณว่า ตนต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์พึงปรับอาบัติสังฆาทิเสส แล้วจึงปวารณา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุจำเลยนั้นปฏิญาณว่า ตนต้องอาบัติถุลลัจจัย ... อาบัติปาจิตติยะ ... อาบัติปาฏิเทสนียะ ... อาบัติทุกกฏ ... อาบัติทุพภาสิต สงฆ์พึงปรับอาบัติตามธรรม แล้วปวารณาเถิด.

มีความเห็นไม่ตรงกันในอาบัติที่ต้อง

[๒๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ต้องอาบัติถุลลัจจัย ในวันปวารณา ภิกษุบางพวกมีความเห็นว่า ต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกมีความเห็นว่า ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่มีความเห็นว่า ต้องอาบัติถุลลัจจัย พึงนำภิกษุรูปนั้นออกไปในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ปรับอาบัติตามธรรม แล้วเข้าไปหาสงฆ์กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติใดแล อาบัตินั้น เธอทำคืนตามธรรมแล้ว ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ในวันปวารณา ภิกษุบางพวกมีความเห็นว่า ต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกมีความ

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 622

เห็นว่าต้องอาบัติปาจิตทิยะ บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุกกฏ บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่มีความเห็นว่าต้องอาบัติถุลลัจจัย พึงนำภิกษุรูปนั้นออกไป ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ปรับอาบัติตามธรรมแล้ว เข้าไปหาสงฆ์กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติใดแล อาบัตินั้นเธอทำคืนตามธรรมแล้ว ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ต้องอาบัติปาจิตติยะ ... ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ... ต้องอาบัติทุกกฏ ... ต้องอาบัติทุพภาสิต ในวันปวารณาภิกษุบางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต บางพวกมีความเห็นว่า ต้องอาบัติสังฆทิเสส.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่มีความเห็นว่า ต้องอาบัติทุพภาสิต พึงนำภิกษุรูปนั้นออกไปในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ปรับอาบัติตามธรรมแล้ว เข้าไปหาสงฆ์กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติใดแล อาบัตินั้น เธอทำคืนตามธรรมแล้ว ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ ต้องอาบัติทุพภาสิต ในวันปวารณา ภิกษุบางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติปาจิตติยะ บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 623

บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่มีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต พึงนำภิกษุรูปนั้นออกไปในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ปรับอาบัติตามธรรม แล้วเข้าไปหาสงฆ์กล่าวอย่างนั้นว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติใดแล อาบัตินั้นเธอทำคืนตามธรรมแล้ว ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา.

วัตถุและบุคคลปรากฏ

[๒๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ในวันปวารณาว่า:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุนี้ปรากฏ บุคคลไม่ปรากฏ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงงดวัตถุ แล้วปวารณาเถิด.

ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติปวารณาไว้สำหรับภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ ถ้าวัตถุปรากฏ บุคคลไม่ปรากฏ เธอจงระบุบุคคลนั้นมาเดี๋ยวนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ในวันปวารณาว่า:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลนี้ปรากฏ วัตถุไม่ปรากฏ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงงดบุคคล แล้วปวารณาเถิด.

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 624

ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติปวารณาไว้สำหรับภิกษุทั้งหลายผู้พร้อมเพรียงกัน ถ้าบุคคลปรากฏ วัตถุไม่ปรากฏ เธอจงระบุวัตถุนั้นมาเดี๋ยวนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ในวันปวารณาว่า:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุและบุคคลนี้ปรากฏ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงงดวัตถุและบุคคล แล้วปวารณาเถิด.

ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติปวารณาไว้ สำหรับภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ และพร้อมเพรียงกัน ถ้าวัตถุและบุคคลปรากฏ เธอจงระบุวัตถุและบุคคลนั้นมาเดียวนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากวัตถุปรากฏก่อนปวารณา ภายหลังบุคคลจึงปรากฏ ควรพูดขึ้น หากบุคคลปรากฏก่อนปวารณา ภายหลังวัตถุจึงปรากฏ ก็ควรพูดขึ้น หากวัตถุและบุคคลปรากฏก่อนปวารณา ถ้าเมื่อทำปวารณาแล้ว ฟื้นเรื่องนั้นขึ้นเป็นปาจิตติยะ เพราะฟื้นเรื่องขึ้น.

ภิกษุก่อความบาดหมางเป็นต้น

[๒๕๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกันที่เคยเห็นร่วมคบหากันมา จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในโกศลชนบท ณ สถานที่ใกล้เคียงของภิกษุเหล่านั้น มีภิกษุเหล่าอื่นที่ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ จำพรรษาอยู่ด้วยประสงค์ว่า

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 625

ในวันปวารณาพวกเราจักงดปวารณาของภิกษุที่อยู่จำพรรษาเหล่านั้นเสีย ภิกษุเหล่านั้น ได้ทราบข่าวว่า ณ สถานที่ใกล้เคียงของพวกเรา มีภิกษุเหล่าอื่นที่ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ จำพรรษาอยู่ด้วยมุ่งหมายว่า ในวันปวารณา พวกเราจักงดปวารณาของภิกษุที่อยู่จำพรรษาเหล่านั้นเสีย ดังนี้ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้:-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน ซึ่งเคยเห็นร่วมคบหากันมา จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง ณ สถานที่ใกล้เคียงของภิกษุเหล่านั้น มีภิกษุเหล่าอื่นที่ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ จำพรรษาอยู่ด้วยมุ่งหมายว่า ในวันปวารณา พวกเราจักงดปวารณาของพวกภิกษุที่อยู่จำพรรษาเหล่านั้นเสีย ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเหล่านั้นทำอุโบสถ ๒ คือ ที่ ๓ ที่ ๔ หรือ ๓ อุโบสถ คือ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ให้เป็นอุโบสถ ๑๔ ค่ำ ด้วยประสงค์ว่า ไฉนพวกเราพึงปวารณาก่อนภิกษุเหล่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุพวกที่ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้น มาสู่อาวาส ภิกษุพวกเจ้าถิ่นเหล่านั้นพึงรีบประชุมปวารณาเสียโดยเร็ว ครั้นแล้วพึงแจ้งว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกเราปวารณากันเสร็จแล้ว ท่านทั้งหลายจะสำคัญสถานใด ก็จงทำสถานนั้นเถิด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุพวกที่ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้น ไม่แจ้ง

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 626

ให้ทราบก่อนมาสู่อาวาสนั้น พวกภิกษุเจ้าถิ่นเหล่านั้นพึงปูอาสนะ จัดหาน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นแล้วรับบาตรจีวร พึงต้อนรับด้วยน้ำดื่ม พึงเสแสร้งกล่าวแก่ภิกษุเหล่านั้น แล้วไปปวารณานอกสีมา ครั้นแล้วพึงแจ้งว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกเราปวารณากันเสร็จแล้ว ท่านทั้งหลายจะสำคัญสถานใด ก็จงทำสถานนั้นเถิด ถ้าได้วิธีการนั้นอย่างนี้ การได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่ได้ ภิกษุเจ้าถิ่นผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายทราบว่า:-

ขอท่านเจ้าถิ่นทั้งหลาย จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว พวกเราพึงทำอุโบสถ พึงสวดปาติโมกข์ในบัดนี้ พึงปวารณาในวันกาฬปักษ์ที่จะมาถึงเถิด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุพวกที่ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้น จะพึงกล่าวกะภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดีแล้ว อาวุโสทั้งหลาย ขอพวกท่านจงปวารณาต่อพวกเราในบัดนี้เถิด พวกเธออันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านไม่เป็นใหญ่ในปวารณาของพวกเรา พวกเราจะยังไม่ปวารณาก่อนละ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุพวกที่ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้น จะพึงอยู่คอยไปถึงวันกาฬปักษ์นั้น ภิกษุเจ้าถิ่นผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้พวกภิกษุเจ้าถิ่นทราบว่า:-

ขอท่านเจ้าถิ่นทั้งหลาย จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว พวกเราพึงทำอุโบสถ พึงสวดปาติโมกข์ในบัดนี้เถิด พวกเราพึงปวารณาในวันกาฬปักษ์ที่จะมาถึงเถิด.

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 627

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุพวกที่ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้น จะพึงกล่าวกะภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดีแล้ว อาวุโสทั้งหลาย ขอพวกท่านจงปวารณาต่อพวกเราในบัดนี้เถิด พวกเธออันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านไม่เป็นใหญ่ในปวารณาของพวกเรา พวกเราจะยังไม่ปวารณาก่อนละ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุพวกที่ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้น จะพึงอยู่คอยไปถึงวันชุณหปักษ์แม้นั้น ภิกษุเหล่านั้นทุกรูปไม่ปวารณา ก็ต้องปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นที่ครบ ๔ เดือนที่จะมาถึง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณากัน ภิกษุอาพาธงดปวารณาของภิกษุผู้ไม่อาพาธ ภิกษุอาพาธนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านกำลังอาพาธ อันผู้อาพาธ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ไม่สู้จะอดทนต่อการซักถาม อาวุโส ขอท่านจงรออยู่จนกว่าจะหายอาพาธ หายอาพาธแล้ว เมื่อจำนงจึงค่อยโจท หากภิกษุอาพาธถูกว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังขืนโจท เป็นปาจิตติยะ เพราะไม่เอื้อเฟื้อ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณากัน ภิกษุผู้ไม่อาพาธงดปวารณาของภิกษุผู้อาพาธ ภิกษุผู้ไม่อาพาธนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ภิกษุรูปนี้แลกำลังอาพาธ อันผู้อาพาธ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ไม่สู้จะอดทนต่อการซักถาม อาวุโส ขอท่านจงรออยู่จนกว่าภิกษุรูปนี้หายอาพาธ ภิกษุนั้นหายอาพาธแล้ว เมื่อจำนงจึงค่อยโจท หากภิกษุผู้ไม่อาพาธถูกว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังขืนโจท เป็นปาจิตติยะ เพราะไม่เอื้อเฟื้อ.

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 628

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณาอยู่ ภิกษุอาพาธงดปวารณาของภิกษุอาพาธ ภิกษุอาพาธนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายกำลังอาพาธ อันผู้อาพาธ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ไม่สู้จะอดทนต่อการซักถาม โปรดรออยู่ก่อนจนกว่าจะหายอาพาธด้วยกัน หายอาพาธด้วยกันแล้ว เมื่อจำนงจึงค่อยโจท หากภิกษุผู้อาพาธนั้นถูกว่ากล่าวอย่างนี้ ยังขืนโจท เป็นปาจิตติยะ เพราะไม่เอื้อเฟื้อ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณากัน ภิกษุผู้ไม่อาพาธงดปวารณาของภิกษุผู้ไม่อาพาธ ทั้งสองฝ่าย สงฆ์พึงสอบสวนสืบสวนเป็นการสงฆ์ ปรับอาบัติตามธรรม แล้วจึงปวารณาเถิด.

พวกที่พร้อมเพียงกันเป็นต้นเลื่อนปวารณา

[๒๕๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกันซึ่งเคยเห็นร่วมคบหากันมา จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในโกศลชนบท เมื่อพวกเธอพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกันอยู่ ย่อมบรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงพวกเธอได้มีความปริวิตกว่า เมื่อพวกเราพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่ได้บรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ถ้าพวกเราก็จักปวารณากันเสียในบัดนี้ บางทีพวกภิกษุปวารณากันแล้วจะพึงหลีกไปสู่จาริกก็จะมีบ้าง เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเราก็จักเหินห่างจากผาสุวิหารธรรมนี้ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระพุทธานุญาตให้เลื่อนปวารณา

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่าดังนี้:-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้มากรูปด้วยกันซึ่งเคยเห็นร่วมคบหากันมา จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง เมื่อพวกเธอพร้อมเพรียงกัน

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 629

ปรองดองกัน ไม่วิวาทกันอยู่ ย่อมบรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง หากภิกษุทั้งหลายในสังฆสันนิบาตนั้นคิดกันอย่างนี้ว่า พวกเราพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกันอยู่ ได้บรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ถ้าพวกเราจักปวารณากันเสียในบัดนี้ บางทีพวกภิกษุปวารณากันแล้วจะพึงหลีกไปสู่จาริกก็จะมีบ้าง เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเราก็จักเหินห่างจากผาสุวิหารธรรมนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเหล่านั้น ทำการเลื่อนปวารณาออกไป.

วิธีเลื่อนปวารณา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์ทำการเลื่อนปวารณาอย่างนี้

ภิกษุทุกๆ รูปต้องประชุมพร้อมกัน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาเลื่อนปวารณา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเราพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกันอยู่ ได้บรรลุผาสุวิหารกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว หากพวกเราจักปวารณาเสียในบัดนี้ บางทีภิกษุทั้งหลายปวารณากันแล้ว พึงหลีกไปสู่จาริกก็จะมีบ้าง เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเราก็จักเหินห่างจากผาสุวิหารธรรมนี้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำการเลื่อนปวารณาออกไป บัดนี้พึงทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ พึงปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นที่ครบ ๔ เดือนที่จะมาถึง นี่เป็นญัตติ.

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 630

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเราพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกันอยู่ ได้บรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว หากพวกเราจักปวารณาเสียในบัดนี้ บางทีภิกษุทั้งหลายปวารณากันแล้ว พึงหลีกไปสู่จาริกก็จะมีบ้าง เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเราก็จักเหินห่างจากผาสุวิหารธรรมนี้ สงฆ์ทำการเลื่อนปวารณาออกไป บัดนี้สงฆ์จักทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ จักปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นที่ครบ ๔ เดือนที่จะมาถึง การกระทำซึ่งการเลื่อนปวารณาออกไป เดี๋ยวนี้สงฆ์จักทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ จัก ปวารณาในเดือน ๑๒ เป็นที่ครบ ๔ เดือนที่จะมาถึง ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

การเลื่อนปวารณาอันสงฆ์ทำแล้ว บัดนี้สงฆ์จักทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ จักปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๒ เป็นที่ครบ ๔ เดือนที่จะมาถึง ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

ไม่เป็นใหญ่ในปวารณา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเหล่านั้นทำการเลื่อนปวารณาออกไปแล้ว หากจะมีภิกษุสักรูปหนึ่งพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมปรารถนาจะหลีกไปสู่จาริกตามชนบท เพราะผมมีกิจจำเป็นที่ชนบท ภิกษุรูปนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดีแล้ว อาวุโส ท่านปวารณาแล้วจึงค่อยไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุรูปนั้นอันสงฆ์ปวารณาอยู่ งดปวารณาของภิกษุรูปหนึ่งเสีย ภิกษุผู้งดปวารณา อันภิกษุผู้ถูกห้ามปวารณาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ท่านไม่เป็นใหญ่ในการปวารณาของผม ผมจักยังไม่ปวารณาก่อน. ดูก่อนภิกษุ

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 631

ทั้งหลาย เมื่อภิกษุนั้นปวารณาอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งห้ามปวารณาของภิกษุรูปนั้น สงฆ์พึงสอบสวนสืบสวนทั้ง ๒ ฝ่าย แล้วปรับอาบัติตามธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุรูปนั้นทำกรณียกิจนั้นในชนบทเสร็จแล้ว กลับมาสู่อาวาสนั้นภายในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นที่ครบ ๔ เดือน หากเมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ภิกษุอีกรูปหนึ่งงดปวารณาของภิกษุรูปนั้น ภิกษุผู้งดปวารณา อันภิกษุผู้ถูกงดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ท่านไม่เป็นใหญ่ในปวารณาของผม เพราะผมปวารณาเสร็จแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากเมื่อภิกษุเหล่านั้นปวารณาอยู่ ภิกษุนั้นงดปวารณาของภิกษุอีกรูปหนึ่ง ทั้ง ๒ ฝ่าย สงฆ์พึงสอบสวนสืบสวนเป็นการสงฆ์ ปรับอาบัติตามธรรม แล้วจึงปวารณาเถิด.

ปวารณาขันธกะที่ ๔ จบ

เรื่องในขันธกะนี้มี ๔๖ เรื่อง

หัวข้อประจำขันธกะ

[๒๕๒] ๑. เรื่องภิกษุจำพรรษาในโกศลชนบท มาเฝ้าพระศาสดา ๒. เรื่องจำพรรษาไม่ผาสุกเหมือนปสุสัตว์อยู่ร่วมกัน ๓. เรื่องการปวารณาที่เหมาะสมเพื่อว่ากล่าวกัน ๔. เรื่องพระฉัพพัคคีย์นั่งราบบนอาสนะปวารณา ๕. เรื่องวันปวารณามี ๒ วัน ๖. เรื่องอาการที่ทำปวารณา ๗. เรื่องให้ภิกษุอาพาธมอบปวารณา ๘. เรื่องภิกษุถูกพวกญาติคุมตัวไว้ ๙. เรื่องภิกษุถูกพระราชาคุมตัวไว้ ๑๐. เรื่องภิกษุถูกพวกโจรจับไว้ ๑๑. เรื่องภิกษุถูกพวกนักเลงจับไว้ ๑๒. เรื่องภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นข้าศึกจับไว้ ๑๓. เรื่องสงฆ์ปวารณา ๕ รูป ๑๔. เรื่องคณะปวารณา ๔ รูป ๑๕. เรื่องคณะปวารณา ๓ รูป ๑๖. เรื่องคณะปวารณา ๒ รูป ๑๗. เรื่องภิกษุรูปเดียวอธิษฐานปวารณา ๑๘.

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 632

เรื่องภิกษุต้องอาบัติปวารณา ๑๙. เรื่องภิกษุสงสัยในอาบัติปวารณา ๒๐. เรื่องภิกษุระลึกอาบัติ ๒๑. เรื่องสงฆ์ทั้งหมดต้องสภาคาบัติ ๒๒. เรื่องสงฆ์ทั้งหมดสงสัยในสภาคาบัติ ๒๓. เรื่องภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมามากกว่า ๒๔. เรื่องภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาเท่ากัน ๒๕. เรื่องภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาน้อยกว่า ๒๖. เรื่องวันปวารณาของเจ้าถิ่นเป็น ๑๔ ค่ำ ๒๗. เรื่องลักษณะเจ้าถิ่น ๒๘. เรื่องภิกษุสมานสังวาสปวารณา ๒๙. เรื่องไม่ควรไป ๓๐. เรื่องไม่ควรปวารณาในบริษัทมีภิกษุณีเป็นต้นนั่งอยู่ด้วย ๓๑. เรื่องให้ฉันทะ ๓๒. เรื่องห้ามปวารณาในวันมิใช่วันปวารณา ๓๓. เรื่องคนชาวดง ๓๔. เรื่องราตรีจวนสว่าง ๓๕. เรื่องฝน ๓๖. เรื่องมีอันตราย ๓๗. เรื่องภิกษุมีอาบัติปวารณา ๓๘. เรื่องไม่ยอมทำโอกาส ๓๙. เรื่องงดปวารณาของพวกเราก่อน ๔๐. เรื่องไม่เป็นอันงดปวารณา ๔๑. เรื่องงดปวารณาของภิกษุ งดเพราะเรื่องอะไรเป็นต้น เป็นอย่างไร งดด้วยได้เห็น ได้ยิน หรือรังเกียจโจทก์และจำเลย ๔๒. เรื่องภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย ๔๓. เรื่องวัตถุปรากฏ ๔๔. เรื่องก่อความบาดหมาง ๔๕. เรื่องเลื่อนปวารณา ๔๖. เรื่องไม่เป็นใหญ่ในปวารณา.

หัวข้อประจำขันธกะ จบ

อรรถกถาปวารณาขันธกะ

วินิจฉัยในปวารณาขันธกะ. วินิจฉัยในข้อว่า เนว อาลเปยฺยาม น สลฺลเปยฺยาม นี้ พึงทราบดังนี้:-

คำแรกชื่อว่าคำทัก คำหลังๆ ชื่อว่า คำปราศรัย.

บทว่า หตฺถวิลงฺฆเกน ได้แก่ด้วยการช่วยกันใช้มือยก.

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 633

บทว่า ปสุสํวาสํ คือการอยู่ร่วมกันดังการอยู่ร่วมของเหล่าปศุสัตว์. จริงอยู่ แม้เหล่าปศุสัตว์ย่อมไม่บอกความสุขและทุกข์ที่เกิดขึ้นแก่ตนแก่กันและกัน ไม่ทำการปฏิสันถารฉันใด แม้ภิกษุเหล่านั้นก็ได้ทำฉันนั้น. เพราะเหตุนั้นความอยู่ร่วมกันของภิกษุเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นการอยู่ร่วมกันดังการอยู่ร่วมของเหล่าปศุสัตว์ นัยในบททั้งปวงเหมือนกัน.

ข้อว่า น ภิกฺขเว มูควตฺตํ ติตฺถิยสมาทานํ เป็นต้น มีความว่า ภิกษุไม่พึงกระทำการสมาทานวัตรเช่นนี้ว่า เราทั้งหลายไม่พึงพูดกันตลอดไตรมาสนี้. เพราะว่านั่นเป็นกติกาที่ไม่ชอบธรรม.

ข้อที่ภิกษุมาผ่อนผันพูดกะกันและกัน ชื่อว่า อญฺญมญฺญานุโลมตา. จริงอยู่ ภิกษุย่อมเป็นผู้อาจว่ากล่าวอะไรๆ กะภิกษุผู้สั่งไว้ว่า ขอท่านผู้มีอายุ จงว่ากล่าวข้าพเจ้าเถิด, แต่หาอาจว่ากล่าวภิกษุนอกจากนี้ไม่ ความยังกันและกันให้ออกจากอาบัติทั้งหลาย ชื่ออาปัตติวุฏฐานตา, ความที่ภิกษุมาตั้งพระวินัยไว้เป็นหลักประพฤติ ชื่อว่าวินยปุเรกขารตา.

จริงอยู่ ภิกษุผู้กล่าวอยู่ว่า ขอท่านผู้มีอายุจงว่ากล่าวข้าพเจ้าเถิด ดังนี้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอจักออกจากอาบัติ และเธอย่อมตั้งพระวินัยไว้เป็นหลักอยู่

ปวารณาวิธี

ญัตติอันได้นามว่า สัพพสังคาหิกานี้ว่า สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ, อชฺช ปวารณา, ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ, สงฺโข ปวาเรยฺย แปลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าว่าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา ดังนี้ ก็เมื่อสวดประกาศอย่างนี้แล้ว สงฆ์จะปวารณา ๓ ครั้ง ๒ ครั้ง และครั้งเดียวก็ควร แต่จะปวารณาให้

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 634

ภิกษุมีพรรษาเท่ากัน ปวารณาพร้อมกันเท่านั้นไม่ควร. อนึ่ง เมื่อสวดประกาศว่า เตวาจิกํ ปวาเรยฺย แปลว่า สงฆ์พึงปวารณา ๓ ครั้ง ดังนี้ ต้องปวารณา ๓ ครั้งเท่านั้นจึงควร จะปวารณาอย่างอื่น หาควรไม่. เมื่อสวดประกาศว่า เทฺววาจิกํ ปวาเรยฺย แปลว่า สงฆ์พึงปวารณา ๒ ครั้ง ดังนี้จะปวารณา ๒ ครั้งหรือ ๓ ครั้งก็ควร แต่จะปวารณาเพียงครั้งเดียว และปวารณามีพรรษาเท่ากันหาควรไม่. ก็เมื่อสวดประกาศว่า เอกวาจิกํ ปวาเรยฺย แปล ว่า สงฆ์พึงปวารณาครั้งเดียว ดังนี้ จะปวารณาครั้งเดียว ๒ ครั้ง หรือ ๓ ครั้ง ก็ควร แต่จะปวารณามีพรรษาเท่ากันเท่านั้นหาควรไม่. เมื่อสวดประกาศว่า สมานวสฺสกํ ปวาเรยฺย แปลว่า พึงปวารณามีพรรษาเท่ากัน ดังนี้ ย่อมควรทุกวิธี.

บทว่า อจฺฉนฺติ คือ เป็นผู้นั่งอยู่นั่นเอง หาลุกขึ้นไม่.

บทว่า ตทนนฺตรา คือตลอดกาลระหว่างปวารณานั้น อธิบายว่า ตลอดกาลเท่าที่ตนจะปวารณานั้น.

วินิจฉัยในข้อว่า จาตุทฺทสิกา จ ปณฺณรสิกา จ นี้ พึงทราบ ดังนี้:-

ในดิถีที่ ๑๔ พึงทำบุรพกิจอย่างนี้ว่า อชฺช ปวารณา จาตุทฺทสี แปลว่า ปวารณาวันนี้ ๑๔ ค่ำ ในดิถีที่ ๑๕ พึงทำบุรพกิจอย่างนี้ว่า อชฺช ปวารณา ปณฺณรสี แปลว่า ปวารณาวันนี้ ๑๕ ค่ำ.

ปวารณากรรม

วินิจฉัยในปวารณากรรม พึงทราบดังนี้:-

ถ้าว่า เมื่อภิกษุ ๕ รูปอยู่ในวัดเดียวกัน ๔ รูปนำปวารณาของรูปหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 635

มาแล้วทั้งคณญัตติ ปวารณา, เมื่อ ๔ รูป หรือ ๓ รูปอยู่ในวัดเดียวกัน, ๓ รูป หรือ ๒ รูปนำปวารณาของรูปหนึ่งมา ตั้งสังฆญัตติแล้ว ปวารณา, นี้จัดว่าปวารณากรรมเป็นวรรคโดยอธรรมทั้งหมด. ก็ถ้าว่า ภิกษุ ๕ รูปประชุมพร้อมกันแม้ทั้งหมด ตั้งคณญัตติแล้ว ปวารณา; เมื่ออยู่ด้วยกัน ๔ รูป หรือ ๓ รูป หรือ ๒ รูปประชุมพร้อมกันทั้งสังฆญัตติแล้วปวารณา; นี้จัดว่าปวารณากรรมพร้อมเพรียงโดยอธรรมทั้งหมด. ถ้าว่า เมื่ออยู่ด้วยกัน ๕ รูป ๔ รูปนำ ปวารณาของรูปหนึ่งมา ตั้งสังฆญัตติแล้ว ปวารณา; เมื่ออยู่ด้วยกัน ๔ รูป หรือ ๓ รูป, ๓ รูป หรือ ๒ รูปนำปวารณาของรูปหนึ่งมา ตั้งคณญัตติแล้ว ปวารณา; นี้จัดว่าปวารณากรรมเป็นวรรคโดยธรรมทั้งหมด. แต่ถ้าว่าภิกษุ ๕ รูปประชุมพร้อมกันแม้ทั้งหมด ตั้งสังฆญัตติแล้ว ปวารณา ๔ รูป หรือ ๓ รูป ประชุมพร้อมกันตั้งคณญัตติแล้ว ปวารณา ๒ รูปปวารณากะกันและกัน อยู่รูปเดียว ทำอธิษฐานปวารณา นี้จัดว่าปวารณากรรมพร้อมเพรียงโดยธรรมทั้งหมด.

มอบปวารณา

วินิจฉัยในข้อว่า ทินฺนา โหติ ปวารณา นี้ พึงทราบดังนี้:-

เมื่อภิกษุผู้อาพาธมอบปวารณาอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้นำปวารณามาพึงเข้าไปหาสงฆ์ปวารณาอย่างนี้ว่า ติสฺโส ภนฺเต ภิกฺขุ สงฺฆํ ปวาเรติ ทิฏฺเน วา สุเตน วา ปริสงฺกาย วา, วทตุ ตํ ภนฺเต สงฺโฆ อนุกมฺปิ อุปาทาย, ปสฺสนฺโต ปฏิกฺกริสฺสติ. ทุติยมฺปิ ภนฺเต ฯเปฯ ตติยมฺปิ ภนฺเต ติสฺโส ภิกฺขุ สงฺฆํ ปวาเรติ ฯเปฯ ปสฺสนฺโต ปฏิกฺกริสฺสติ. แปลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุชื่อติสสะปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 636

ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอสงฆ์จงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวเธอ เธอเห็นอยู่จักทำคืนเสีย. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุชื่อติสสะปวารณาต่อสงฆ์ ฯลฯ เธอเห็นอยู่จักทำคืนเสีย. แต่ถ้าภิกษุผู้มอบปวารณาเป็นผู้แก่กว่า ภิกษุผู้นำพึงกล่าวว่า อายสฺมา ภนฺเต ติสฺโส แปลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญท่านติสสะ ดังนี้. ด้วยอาการอย่างนี้แล เป็นอันภิกษุผู้นำปวารณา ได้ปวารณาแล้ว เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุผู้มอบปวารณานั้น.

มอบฉันทะ

วินิจฉัยในข้อ ปวารณํ เทนฺเตน ฉนฺทํปิ ทาตุํ นี้ พึงทราบดังนี้:-

การมอบฉันทะพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในอุโบสถขันธกะเถิด. และแม้ในปวารณาขันธกะนี้การมอบฉันทะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่สังฆกรรมที่เหลือ เพราะฉะนั้น ถ้าว่า เมื่อมอบปวารณา ย่อมมอบฉันทะด้วย เมื่อปวารณาได้นำมาแล้วบอกแล้วตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล ทั้งภิกษุนั้น ทั้งสงฆ์ ย่อมเป็นอันได้ปวารณาแล้วทีเดียว. ถ้าภิกษุผู้ลงไม่ได้ มอบแต่ปวารณาเท่านั้น หาได้มอบฉันทะไม่ เมื่อปวารณาของเธอได้บอกแล้ว และสงฆ์ได้ปวารณาเสร็จแล้ว ย่อมเป็นอันภิกษุทั้งปวงปวารณาดีแล้ว แต่กรรมอย่างอี่นย่อมกำเริบ. แต่ถ้าภิกษุผู้ลงไม่ได้ มอบแต่ฉันทะเท่านั้น ไม่มอบปวารณา ปวารณาและกรรมที่เหลือของสงฆ์หากำเริบไม่ ส่วนภิกษุนั้นไม่จัดว่าได้ปวารณา. ก็ในวันปวารณา แม้ภิกษุผู้อธิษฐานปวารณาในภายนอกสีมาแล้วจึงมา ก็ควรให้ฉันทะ ปวารณากรรมของสงฆ์จึงจะไม่กำเริบเพราะเธอ.

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 637

อธิษฐานปวารณา

วินิจฉัยในข้อว่า อชฺช เม ปวารณา นี้ พึงทราบดังนี้:-

ถ้าวันปวารณาเป็น ๑๔ ค่ำ ภิกษุผู้อยู่รูปเดียวพึงอธิษฐานอย่างนี้ว่า อชฺช เม ปวารณา จาตุทฺทสี แปลว่า ปวารณาของเราวันนี้ ๑๔ ค่ำ, ถ้าเป็นวัน ๑๕ ค่ำ พึงอธิษฐานอย่างนี้ว่า อชฺช เม ปวารณา ปณฺณรสี แปลว่า ปวารณาของเราวันนี้ ๑๕ ค่ำ.

คำว่า ตทหุปวารณาย อาปตฺตึ เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

ข้อว่า ปุน ปวาเรตพฺพํ มีความว่า พึงทำบุพกิจแล้วตั้งญัตติปวารณาตั้งแต่พระสังฆเถระลงมาอีก. คำที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในอุโบสถขันธกวรรณนาเถิด.

อติเรกานุวัตติกถา

วินิจฉัยในข้อว่า อาคนฺตุเกหิ อาวาสิกานํ อนุวตฺติตพฺพํ พึงทราบดังนี้:-

พวกภิกษุผู้เจ้าถิ่นพึงทำบุพกิจว่า อชฺช ปวารณา จาตุทฺทสี นั้นแล. แม้ในปวารณาวัน ๑๕ ค่ำก็มีนัยเช่นเดียวกัน.

ในบทที่สุดแห่งพระบาลีนั้นว่า อาวาสิเกหิ นิสฺสีมํ คนฺตฺวา ปวาเรตพฺพํ มีวินิจฉัยนอกบาลี ดังนี้:-

ถ้าว่าภิกษุ ๕ รูปจำพรรษาในวัสสูปนายิกาต้น, อีก ๕ รูป จำพรรษาในวัสสูปนายิกาหลัง เมี่อภิกษุพวกแรกตั้งญัตติปวารณาแล้ว ภิกษุพวกหลังพึงทำปาริสุทธิอุโบสถในสำนักของเธอ อย่าพึงตั้งญัตติ ๒ อย่างในโรงอุโบสถเดียวกัน. แม้ถ้าว่ามีภิกษุ ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป หรือรูปเดียวก็ตาม จำพรรษา

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 638

ในวัสสูปนายิกาหลัง มีนัยเช่นเดียวกัน. หากว่าภิกษุผู้จำพรรษาต้น ๔ รูป, แม้วันเข้าพรรษาหลังจะ ๔ รูป ๓ รูป หรือรูปเดียวก็ตาม มีนัยเหมือนกัน. ถึงแม้ว่าในวันเข้าพรรษาต้นมี ๓ รูป แม้ในวันเข้าพรรษาหลังมี ๓ รูป ๒ รูป หรือรูปเดียวก็ตาม มีนัยเหมือนกัน.

ก็นี้เป็นลักษณะในปวารณาธิการนี้:-

ถ้าว่า ภิกษุผู้จำพรรษาในวันเข้าพรรษาหลังน้อยกว่าภิกษุผู้จำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น หรือเท่าๆ กันและให้ครบคณะสังฆปวารณาได้ พึงตั้งญัตติด้วยอำนาจสังฆปวารณา อนึ่ง ถ้าในวัสสูปนายิกาต้นมีภิกษุ ๓ รูป. ในวัสสูปนายิกาหลังมีเพียงรูปเดียว รวมกันเข้าเป็น ๔ รูป ภิกษุ ๔ รูปจะตั้งญัตติเป็นการสงฆ์แล้วปวารณา หาควรไม่. แต่ภิกษุผู้จำพรรษาหลังนั้น เป็นคณะปูรกะของคณะญัตติได้อยู่. เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้จำพรรษาต้น ๓ รูป พึง ตั้งญัตติแล้วปวารณาเป็นการคณะ ภิกษุนอกนั้นพึงทำปาริสุทธิอุโบสถในสำนักของภิกษุเหล่านั้น. ในวัสสูปนายิกานี้มี ๒ รูป ในวัสสูปนายิกาหลังมี ๒ หรือรูปเดียว ก็มีนัยเหมือนกัน. ในวัสสูปนายิกาต้นมีรูปเดียว ในวัสสูปนายิกาหลังก็มีรูปเดียว รูปหนึ่งพึงปวารณาในสำนักของอีกรูปหนึ่ง ฝ่ายอีกรูปหนึ่งพึงทำปาริสุทธิอุโบสถ. ถ้าว่า ภิกษุผู้เข้าพรรษาหลังมีมากกว่าภิกษุผู้เข้าพรรษาต้นแม้เพียงรูปเดียว ฝ่ายภิกษุพวกข้างน้อยกว่า พึงสวดปาติโมกข์ก่อน แล้วปวารณาในสำนักของภิกษุฝ่ายข้างมากกว่าต่อภายหลัง. ส่วนในวันปวารณาที่ครบ ๔ เดือนในเดือน ๑๒ ถ้าว่าภิกษุผู้เข้าพรรษาหลังมากกว่าภิกษุผู้จำพรรษา ต้นซึ่งได้ปวารณาแล้วในวันมหาปวารณา หรือมีจำนวนเท่าๆ กัน พวกภิกษุผู้จำพรรษาหลัง พึงตั้งปวารณาญัตติแล้วปวารณา. เมื่อพวกเธอได้ปวารณากันเสร็จแล้ว, ฝ่ายพวกภิกษุผู้จำพรรษาต้น พึงทำปาริสุทธิอุโบสถในสำนักของ

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 639

พวกเธอในภายหลัง. ถ้าภิกษุผู้ปวารณาแล้ว ในวันมหาปวารณามีมาก ภิกษุผู้จำพรรษาหลังมีน้อยหรือมีรูปเดียว เมื่อพวกภิกษุผู้จำพรรษาต้นสวดปาติโมกข์เสร็จแล้ว ภิกษุผู้จำพรรษาหลังนั้น พึงปวารณาในสำนักของพวกเธอ.

สามัคคีปวารณา

วินิจฉัยในข้อว่า น จ ภิกฺขเว อปฺปวารณาย ปวาเรตพฺพํ อญฺตฺร สงฺฆสามคฺคิยา นี้ พึงทราบดังนี้:-

ความพร้อมเพรียงพึงทราบว่า เป็นเช่นกับความพร้อมเพรียงของภิกษุชาวเมืองโกสัมพีเถิด. ก็แลพึงทำบุพกิจในกาลแห่งสามัคคีปวารณานี้ อย่างนี้ว่า อชฺช ปวารณา สามคฺคี แปลว่า ปวารณาวันนี้ เป็นคราวปรองดองกัน. ฝ่ายภิกษุเหล่าใดงดปวารณาเสียเพราะเหตุเล็กน้อย ซึ่งไม่สำคัญอะไร แล้วเป็นผู้พร้อมเพรียงกันเข้าได้, ภิกษุเหล่านั้นพึงทำปวารณา ในวันปวารณาเท่านั้น. ฝ่ายภิกษุทั้งหลายผู้จะทำสามัคคีปวารณา พึงงดวันปฐมปวารณาเสีย พึงทำในระหว่างนี้ คือตั้งแต่แรมค่ำหนึ่ง ไปจนถึงกลางเดือน ๑๒ ซึ่งเป็นวันครบ ๔ เดือน จะทำภายหลังหรือก่อนกำหนดนั้นไม่ควร.

ญัตติวิธาน

วินิจฉัยในข้อว่า เทฺววาจิกํ ปวาเรตุํ นี้ พึงทราบดังนี้:-

เฉพาะภิกษุผู้ตั้งญัตติ พึงกล่าวว่า ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ, สงฺโฆ เทฺววาจิกํ ปวาเรยฺย แปลว่า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา ๒ หน.

ในการปวารณาหนเดียว พึงกล่าวว่า เอกวาจิกํ ปวาเรยฺย แปลว่า พึงปวารณาหนเดียว.

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 640

เฉพาะในการปวารณามีพรรษาเท่ากัน พึงกล่าวว่า สมานวสฺสิกํ ปวาเรยฺย แปลว่า พึงปวารณามีพรรษาเท่ากัน ก็แลในการปวารณามีพรรษาเท่ากันนี้ ภิกษุผู้มีพรรษาเท่ากันแม้มากรูป ย่อมได้เพื่อปวารณาพร้อมกัน.

การงดปวารณา

วินิจฉัยในข้อว่า กาสิตาย ลปิตาย อปริโยสิตาย นี้ พึงทราบดังนี้:-

การงดปวารณา ๒ อย่าง คือ งดรอบไปอย่างหนึ่ง งดเป็นส่วนบุคคลอย่างหนึ่ง.

การงดปวารณามี ๒ อย่างนั้น ในการงดรอบทั่วไป มีวินิจฉัยว่า กรรมวาจาที่สวดว่าเรื่อยไปตั้งแต่ สุ อักษร จนถึง เร อักษร ว่า สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ, ฯเปฯ สงฺโฆ เตวาจิกํ ปวาเร ดังนี้ ปวารณายังไม่จัดว่าจบก่อน.

ในระหว่างนี้ เมื่อภิกษุงดไว้แม้ในบทหนึ่ง ปวารณาเป็นอันงด. ต่อเมื่อถึง อักษรแล้ว ปวารณาเป็นอันจบ เพราะเหตุนั้น เมื่อภิกษุงดไว้ทั้งแต่ อักษรนั้นไป ปวารณาไม่จัดว่าได้งด.

ส่วนในการงดเป็นส่วนบุคคล มีวินิจฉัยว่า คำปวารณาอันภิกษุกล่าวว่าเรื่อยไปทั้งแต่ สํ อักษร จนถึง ฏิ อักษร อันเป็นตัวท้ายแห่งอักษรทั้งปวงนี้ว่า สงฺฆํ ภนฺเต ปวาเรมิ ฯเปฯ ทุติยมฺปิ ฯเปฯ ตติยมฺปิ ภนฺเต สงฺฆํ ปวาเรมิ ทิฏฺเน วา สุเตน วา ปริสงฺกาย วา ฯเปฯ ปสฺสนฺโต ปฏิ ดังนี้, ปวารณายังไม่จัดว่าจบก่อน. ในระหว่างนี้ เมื่อภิกษุงดไว้แม้นี้ในบทอันหนึ่ง ปวารณาย่อมเป็นอันงด. ต่อเมื่อกล่าวบทว่า กริสฺสามิ

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 641

แล้ว ปวารณาเป็นอันจบแล้วแท้, ก็เพราะเหตุใด เมื่อกล่าวบทว่า กริสฺสามิ แล้วปวารณาจึงชื่อว่าเป็นอันจบแล้วแท้ เพราะเหตุนั้น เมื่อถึงบทอันหนึ่งว่า กริสฺสามิ แล้ว ปวารณาอันภิกษุงดไว้ ไม่จัดว่าเป็นอันงดเลยด้วยประการฉะนี้.

ใน เทฺววาจิกา เอกวาจิกา และ สมานวสฺสิกา มีนัยเหมือนกัน. จริงอยู่ อักษรมี ฏิ เป็นที่สุด จำเติมแต่ สํ มาทีเดียว ย่อมเป็นเขตแห่งการงดในปวารณาแม้เหล่านั้น ฉะนั้นแล.

บทว่า อนุยุญฺชิยมาโน มีความว่า ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายทำการไต่สวนถามอยู่ ตามนัยที่ตรัสไว้ข้างหน้าว่า ท่านงดปวารณานั้น เพราะเหตุไร?

บทว่า โอมทฺทิตฺวา มีความว่า สงฆ์พึงกล่าวคำเหล่านั้นว่า อย่าเลยภิกษุ เธออย่าทำความบาดหมางเลย ดังนี้ เป็นอาทิ ห้ามปรามเสียแล้วจึงปวารณา. จริงอยู่ การห้ามปรามด้วยถ้อยคำ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์แล้วว่า โอมทฺทนา ในบทว่า โอมทฺทิตฺวา นี้.

สองบทว่า อนุทฺธํสิตํ ปฏิชานาติ มีความว่า ภิกษุผู้โจทก์นั้น ปฏิญญาอย่างนี้ว่า ภิกษุนี้ข้าพเจ้าตามกำจัด คือโจทแล้ว ด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล.

บทว่า ยถาธมฺมํ มีความว่า สงฆ์พึงให้ปรับปาจิตตีย์ เพราะตามกำจัดด้วยสังฆาทิเสส พึงให้ปรับทุกกฏ เพราะตามกำจัดด้วยวีติกกมะนอกจากนี้.

บทว่า นาเสตฺวา มีความว่า สงฆ์พึงนาสนาภิกษุผู้จำเลยเสียด้วยลิงคนาสนา. ภิกษุผู้จำเลยนั้น อันสงฆ์พึงสั่งเพียงเท่านี้ว่า อาบัตินั้น พึงเป็นโทษอันเธอทำคืนตามธรรม แล้วพึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงปวารณาเถิด

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 642

แต่อย่าพึงกล่าวคำนี้ว่า อาบัติชื่อโน้น เพราะว่าคำนั้นย่อมเป็นทางแห่งความทะเลาะ.

วินิจฉัยในข้อว่า อิทํ วตฺถุํ ปญฺายติ น ปุคฺคโล นี้ พึงทราบดังนี้:-

ได้ยินว่า พวกโจรจับปลาทั้งหลายจากสระโบกขรณี ในวัดป่าปิ้งกินแล้วไป ภิกษุนั้นเห็นประการแปลกนั้น กำหนดหมายเอาว่า กรรมนี้พึงเป็นของภิกษุ จึงกล่าวอย่างนั้น.

ในข้อว่า วตฺถุํ เปตฺวา สงฺโฆ ปวาเรยฺย นี้ มีเนื้อความดังนี้ว่า เราทั้งหลายจักรู้จักตัวบุคคลนั้นในเวลาใด จักโจทบุคคลนั้นในเวลานั้น แต่บัดนี้สงฆ์จงปวารณาเถิด.

ข้อว่า อิทาเนว นํ วเทหิ มีความว่า หากท่านรังเกียจบุคคลบางคนด้วยวัตถุนี้. ท่านจงระบุตัวบุคคลนั้นในบัดนี้แล. หากเธอระบุ สงฆ์พึงไต่สวนบุคคลนั้นแล้ว จึงปวารณา; หากเธอไม่ระบุ สงฆ์พึงกล่าวว่า เราจักพิจารณาแล้วจักรู้ ดังนี้ ปวารณาเถิด.

วินิจฉัยในข้อว่า อยํ ปุคฺคโล ปญฺายติ น วตฺถุํ นี้ พึงทราบดังนี้:-

ภิกษุรูปหนึ่ง บูชาพระเจดีย์ด้วยระเบียบของหอมและเครื่องชะโลมทาก็ดี, ฉันยาดองอริฏฐระก็ดี, กลิ่นตัวของเธอเป็นของคล้ายกับสิ่งเหล่านั้น ภิกษุนั้นหมายเอากลิ่นนั้น เมื่อประกาศวัตถุว่า กลิ่นของภิกษุนี้ จึงกล่าวอย่างนั้น.

ข้อว่า ปุคฺคลํ เปตฺวา สงฺโฆ ปวาเรยฺย มีความว่า สงฆ์จงเว้นบุคคลนั้นเสีย ปวารณาเถิด.

ข้อว่า อิทาเนว นํ วเทหิ มีความว่า ท่านจงเว้นบุคคลใด จงกล่าวโทษของบุคคลนั้นในบัดนี้แล. หากภิกษุนั้นกล่าวว่า โทษของบุคคลนั้นเป็นอย่างนี้ สงฆ์พึงชำระบุคคลนั้นให้เรียบร้อยแล้ว จึงปวารณา; แต่ถ้าเธอกล่าว

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 643

ว่า ข้าพเจ้าไม่ทราบ สงฆ์พึงกล่าวว่าเราจักพิจารณาแล้วจักรู้ ดังนี้ ปวารณาเถิด.

ข้อว่า อิทํ วตฺถุญฺจ ปุคฺคโล จ ปญฺายติ มีความว่า ภิกษุนั้นได้เห็นที่ซึ่งพวกโจรจับปลาปิ้งกิน และสถานที่อาบด้วยของหอมเป็นต้น ตามนัยก่อนนั่นเอง เมื่อสำคัญว่า นี่คงเป็นกรรมของบรรพชิตจึงกล่าวอย่างนั้น.

ข้อว่า อิทาเนว นํ วเทหิ มีความว่า ท่านจะบอกตัวบุคคลที่ท่านรังเกียจด้วยวัตถุนั้นในบัดนี้แล. ก็แลจำเติมแต่กาลที่ได้เห็นแล้ว เพราะเห็นวัตถุและบุคคลครบทั้งสองนี้ สงฆ์ต้องวินิจฉัยก่อน จึงปวารณาได้.

สองบทว่า กลฺลํ วจนาย มีความว่า สมควรโจท ด้วยคำโจทที่สมควร (๑) .

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะวัตถุยังมิได้วินิจฉัยก่อนแต่ปวารณา และเพราะบุคคลซึ่งได้เห็นแล้ว ถูกโจทภายหลังแต่ปวารณา.

ข้อว่า อุกฺโกถฏนกํ ปาจิตฺติยํ มีความว่า จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลายเห็นวัตถุและบุคคลครบทั้งสองนี้แล้ว วินิจฉัยเสร็จก่อนแต่ปวารณาแล้ว จึงปวารณา เพราะฉะนั้น จึงเป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้รื้อปวารณานั้นอีก.

วินิจฉัยในข้อว่า เทฺว ตโย อุโปสเถ จาตุทฺทสิเก กาตุํ นี้พึง ทราบดังนี้:-

๒ อุโบสถ คือ ที่ ๔ กับที่ ๕ เป็นจาตุททสี. อนึ่ง อุโบสถที่ ๓ แม้ตามปกติย่อมเป็นจาตุททสีเหมือนกันฉะนี้แล. เพราะเหตุนั้น ๒ อุโบสถ


๑. ปาฐะในอรรถกถาเป็น กลฺลโจเทตุํ วฏฺฏติ แต่น่าจะเป็น กลฺลํ โจทนาย โจเทตุํ วฏฺฏติ แปลว่า สมควรเพื่อการโจท คือ ควรที่จะโจท.

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 644

คือ ที่ ๓ กับที่ ๔ หรือ ๓ อุโบสถ คือ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ควรทำให้เป็นจาตุททสี หากว่าเมื่อทำอุโบสถที่ ๔ ซึ่งเป็นปัณณรสีอุโบสถ ภิกษุผู้ก่อความบาดหมางนั้นฟังด้วยไซร้ พึงทำอุโบสถที่ ๕ ให้เป็นจาตุททสี. ๒ อุโบสถย่อมเป็นจาตุททสี แม้ด้วยประการอย่างนี้. เมื่อทำอย่างนั้น ภิกษุเจ้าถิ่นเหล่านั้นจักปวารณาสำหรับปัณณรสีปวารณาในวัน ๑๓ ค่ำ หรือ ๑๔ ค่ำ ของภิกษุผู้ก่อความบาดหมางกัน. ก็แลเมื่อจะปวารณาอย่างนั้น พึงวางเหล่าสามเณรไว้ภายนอกสีมา ได้ฟังว่า ภิกษุก่อความบาดหมางกันเหล่านั้นพากันมา พึงรีบประชุมกันปวารณาเสียเร็วๆ เพื่อแสดงความข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าภิกษุทั้งหลายผู้ก่อความบาดหมางกัน ทำความทะเลาะกัน ก่อการวิวาทกัน ทำความอื้อ ฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ พากันสู่อาวาส, ภิกษุผู้เจ้าถิ่นเหล่านั้นพึงประชุมปวารณากันเสียเร็วๆ ครั้นปวารณาเสร็จแล้ว พึงพูดกะพวกเธอว่า ผู้มีอายุ พวกเราปวารณาแล้วแล พวกท่านสำคัญอย่างใด จงกระทำอย่างนั้นเถิด.

บทว่า อสํวิหิตา มีความว่า ผู้มิได้จัดแจง คือมิได้ทำการตระเตรียม เพื่อต้องการจะให้ทราบการมา อธิบายว่า เป็นผู้อันพวกเจ้าถิ่นหาทันรู้ไม่.

สองบทว่า เตสํ วิกฺขิตฺวา มีความว่า พวกภิกษุผู้เจ้าถิ่นพึงทำให้ตายใจเสีย โดยนัยเป็นต้นว่า พวกท่านเป็นผู้เหน็ดเหนื่อยมา จงพักเสียสักครู่เถิด. แล้วลอบออกไปปวารณาเสียนอกสีมา.

บทว่า โน เจ ลเภถ มีความว่า หากว่าไม่พึงได้เพื่อออกไปนอกสีมาไซร้. เป็นผู้ถูกพวกสามเณรและภิกษุหนุ่มของเหล่าภิกษุผู้ก่อความบาดหมางกัน คอยตามติดไปมิได้ขาดเลย.

สองบทว่า อาคเม ชุณฺเห มีความว่า ภิกษุทั้งหลายหมายเอาชุณหปักษ์ที่จะมาถึงใด ตั้งญัตติว่า เราทั้งหลายพึงปวารณาในชุณหปักษ์ที่จะมาถึง ดังนี้ ในชุณหปักษ์ที่จะมาถึงนั้น.

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 645

ข้อว่า โกมุทิยา จาตุมฺมาสินิยา อกามา ปวาเรตพฺพํ มีความว่า ภิกษุผู้เจ้าถิ่นเหล่านั้น ต้องปวารณาแน่แท้ จะล่วงเลยวันเพ็ญที่ครบ ๔ เดือน ปวารณาย่อมไม่ได้เลย.

หลายบทว่า เตหิ เจ ภิกฺขเว ภิกฺขูหิ ปวาริยมาเน มีความว่า เมื่อสงฆ์อันภิกษุเหล่านั้น ปวารณาอยู่ ในวันเพ็ญที่ครบ ๔ เดือน อย่างนั้น.

ปวารณาสงเคราะห์

สองบทว่า อญฺตโร ผาสุวิหาโร ได้แก่ สมถะอย่างอ่อนหรือวิปัสสนาอย่างอ่อน.

ข้อว่า ปริพาหิรา ภวิสฺสาม มีความว่า เราทั้งหลาย เมื่อไม่สามารถให้ภาวนานุโยคพร้อมมูลได้ เพราะความแตกแยกกันไปแห่งที่พักกลางคืนและที่พักกลางวันเป็นต้น ซึ่งไม่ประจำที่ จักเป็นผู้เหินห่างจากธรรมเครื่องอยู่สำราญนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามการมอบฉันทะด้วยคำนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายต้องประชุมในที่เดียวกันทั้งหมดทีเดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า เตหิ เจ ภิกฺขเว เป็นอาทิ ก็เพื่อแสดงว่า จริงอยู่ การมอบฉันทะย่อมไม่ควรในฐานะเหล่านี้คือ ในคราวที่ทำความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์ผู้แตกกันหนึ่ง ในคราวระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกวินัย ๑ ในปวารณาสังคหะนี้ ๑.

ก็ขึ้นชื่อว่าปวารณาสังคหะนี้ ไม่ควรให้แก่ภิกษุผู้ละทิ้งกัมมัฏฐานพวกหนึ่ง ภิกษุผู้มีสมถะและวิปัสสนาแก่กล้าแล้วพวกหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นอริยบุคคลมีโสดาบันเป็นต้นพวกหนึ่ง ก็ภิกษุผู้ได้สมถะอย่างอ่อนและวิปัสสนาอย่างอ่อน จะมีทั้งหมดหรือมีครึ่งจำนวนหรือมีบุคคลเดียวก็ตามที ปวารณาสังคหะนั้น

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 646

ควรให้แท้ด้วยอำนาจแห่งภิกษุแม้รูปเดียว เมื่อสงฆ์ให้ปวารณาสังคหะแล้ว มีบริหารตลอดภายในกาลฝนเดียว ภิกษุอาคันตุกะย่อมไม่ได้เพื่อถือเสนาสนะของภิกษุเหล่านั้น ทั้งภิกษุเหล่านั้นไม่พึงเป็นผู้ขาดพรรษาด้วย ก็แลครั้นปวารณาแล้ว ย่อมได้เพื่อหลีกไปสู่ที่จาริกในระหว่างด้วย. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงตื้นทั้งนั้น ฉะนั้นแล.

อรรถกถาปวารณาขันธกะ จบ