พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

จัมมขันธกะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  12 มี.ค. 2565
หมายเลข  42814
อ่าน  886

[เล่มที่ 7] พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก

เล่มที่ ๕

มหาวรรค ภาคที่ ๒

จัมมขันธกะ

เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร 1/1

พระสาคตเถระแสดงอิทธิปาฏิหารย์ 2

เสด็จออกให้ประชาชนเข้าเฝ้า 3

ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจ 4

เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะออกบวช 2/5

ต้งความเพียรสม่ําเสมอเทียบเสียงพิณ 6

พระโสณะสําเร็จพระอรหัตตผล 8

พรรณาคุณของพระขีณาสพ 3/8

ขีนาสวคุณนิคมคาถา 4/12

ทรงอนุญาตรองเท้า 5/13

พระพุทธบัญญัติห้ามสวมรองเท้าสีต่างๆ 6/13

พระพุทธบัญญัติห้ามสวมร้องเท้ามีหูไม่สมควร 14

พระพุทธบัญญัติทรงห้ามสวมรองเท้าบางชนิด 14

พระพุทธบัญญัติทรงห้ามสวมรองเท้าขลิบหนัง 15

ทรงอนุญาตรองเท้าหลายชั้นที่ใช้แล้ว 7/16

ห้ามสวมรองเท้าในที่บางแห่ง 8/16

ภิกษุอาพาธเป็นหน่อที่เท้า 9/18

พระพุทธานุญาตให้สวมรองเท้าเป็นพิเศษ 10/18

พระพุทธบัญญัติห้ามสวมเขียงเท้าไม้ 19

พระพุทธบัญญัติห้ามสวมเขียงเท้าใบตาล 11/20

พระพุทธบัญญัติห้ามสวมเขียงเท้าไม้ไผ่ 21

พระพุทธบัญญัติห้ามสวมเขียงเท้าไม้ต่างชนิด 12/22

พระพุทธบัญญัติห้ามจับโค 13/24

เรื่องยาน 14/25

พระพุทธบัญญัติห้ามใช้ที่นั่งและที่นอนสูงใหญ่ 15/26

พระพุทธบัญญัติห้ามใช้หนังผืนใหญ่ 16/27

เรื่องภิกษุใจร้าย 17/28

พระพุทธบัญญัติห้ามใช้หนังโค 18/29

พระพุทธบัญญัติห้ามสวมรองเท้าเข้าบ้าน 19/30

พระพุทธานุญาตให้ภิกษุอาพาธสวมรองเท้าเข้าบ้าน 30

เรื่องพระโสณกุฏิกัณณะ 20/31

พระโสณะรําพึงแล้วอําลาเข้าเฝ้า 32

อาณัติกพจน์ของพระอุปัชฌายะ ๕ ประการ 33

พระโสณะเข้าเฝ้า 34

สวดพระสูตรในอัฏฐกวรรค 21/35

ทรงเปล่งพระอุทาน 36

กราบทูลอาณัติกพจน์ของพระอุปัชฌายะ ๕ ประการ 22/36

พระพุทธานุญาติพิเศษ 23/37

กําหนดเขตปัจจันตชนบทและมัชฌิมชนบท 38

หัวข้อประจําขันธกะ 24/49

อรรถกถาจัมมขันธกะ 41

เรื่องพระโสณโกลิวิสเถระ 41

ว่าด้วยรองเท้า 47

ว่าด้วยเขียงเท้า 49

ว่าด้วยยาน 50

ว่าด้วยอุจจาสยนะและมหาสหยะ 51

เรื่องพระโสณกุฏิกัณณะ 53

ว่าด้วยหนัง 56


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 7]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 1

พระวินัยปิฎก

เล่มที่ ๕

มหาวรรค ภาคที่ ๒

จัมมขันธกะ

เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร

[๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราซ เสวย ราชสมบัติเป็นอิสราธิบดี ในหมู่บ้านแปดหมื่นตำบล ก็สมัยนั้น ในเมืองจัมป มีเศรษฐีบุตรชื่อโสณโกฬิวิสโคตร เป็นสุขุมาลชาติ ที่ฝ่าเท้าทั้งสองของเขามี ขนงอกขึ้น คราวหนึ่ง พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ให้ราษฏรในตำบลแปดหมื่นนั้นประชุมกันแล้ว ทรงส่งทูตไป ในสำนักเศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะ ดุจมีพระราชกรณียกิจสักอย่างหนึ่ง ด้วย พระบรมราชโองการว่า เจ้าโสณะจงมา เราปรารถนาให้เจ้าโสณะมา มารดา บิดาของเศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะจึงได้พูดตักเตือนเศรษฐีบุตรนั้นว่า พ่อโสณะ พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรเท้าทั้งสองของเจ้า ระวังหน่อย พ่อโสณะ เจ้าอย่าเหยียดเท้าทั้งสองไปทางที่พระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ จงนั่งขัด สมาธิตรงพระพักตร์ของพระองค์ เมื่อเจ้านั่งแล้ว พระเจ้าอยู่หัว จักทอด พระเนตรเท้าทั้งสองได้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 2

ครั้งนั้น ชนบริวารทั้งหลายได้นำเศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะไปด้วย คานหาม ลำดับนั้น เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะได้เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร จอม เสนามาคธราช ถวายบังคมแล้วนั่งขัดสมาธิตรงพระพักตร์ของท้าวเธอๆ ได้ทอด พระเนตรเห็นโลมชาติที่ฝ่าเท้าทั้งสองของเขา แล้วทรงอนุศาสน์ประชาราษฎร ในตำบลแปดหมื่นนั้นในประโยชน์ปัจจุบัน ทรงส่งไปด้วยพระบรมราโชวาทว่า ดูก่อนพนาย เจ้าทั้งหลายอันเราสั่งสอนแล้วในประโยชน์ปัจจุบัน เจ้าทั้งหลาย จงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ของเราพระองค์นั้นจักทรงสั่งสอนเจ้าทั้งหลาย ในประโยชน์ภายหน้า ครั้งนั้นพวกเขาพากันไปทางภูเขาคิชฌกูฏ.

พระสาคตเถระแสดงอิทธิปาฏิหาริย์

ก็สมัยนั้น ท่านพระสาคตะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า พวก เขาจึงพากันเข้าไปหาท่านพระสาคตะ แล้วได้กราบเรียนว่า ท่านขอรับ ประชาชนชาวตำบลแปดหมื่นนี้ เข้ามาในที่นี้ เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอประทานโอกาสขอรับ ขอพวกข้าพเจ้าพึงได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่าน พระสาคตะบอกว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงอยู่ ณ ที่นี้สักครู่หนึ่งก่อน จนกว่า อาตมาจะกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบ ดังนี้ และเมื่อพวกเขากำลัง เพ่งมองอยู่ข้างหน้า ท่านพระสาคตะดำลงไปในแผ่นหินอัฒจันทร์ผุดขึ้นตรง พระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า พระพุทธเจ้าข้า ประชาชนชาวตำบลแปหมื่นนี้พากันเข้ามา ณ ที่นี้เพื่อ เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ย่อมทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้ พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนสาคตะะ ถ้ากระนั้นเธอจงปูลาดอาสนะ ณ ร่มเงาหลังวิหาร ท่านพระสาคตะทูลสนองพระพุทธดำรัสว่า ทราบเกล้าฯ แล้ว พระพุทธเจ้าข้า แล้วถือตั่งดำลงไปตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 3

ประชาชนชาวตำบลแปดหมื่นนั้นกำลังเพ่งมองอยู่ตรงหน้า จึงผุดจากแผ่นหิน อัฒจันทร์แล้วปูลาดอาสนะในร่มเงาหลังพระวิหาร.

เสด็จออกให้ประชาชนเข้าเฝ้า

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากพระวิหาร แล้วประทับนั่ง เหนือพระพุทธอาสน์ที่จัดไว้ ณ ร่มเงาหลังพระวิหาร ประชาชนชาวตำบลแปด หมื่นนั้นจึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่ง และพวกเขาพากันสนใจแต่ท่านพระสาคตะเท่านั้น หาได้สนใจต่อพระผู้ มีพระภาคเจ้าไม่ ทันทีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งใจ ของพวกเขาด้วยพระทัยแล้ว จึงตรัสเรียกท่านพระสาคตะมารับสั่งว่า ดูก่อน สาคตะ ถ้ากระนั้น เธอจงแสดงอิทธิปาฏิหารย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของ มนุษย์ให้ยิ่งขึ้นไปอีก.

ท่านพระสาคตะทูลรับสนองพระพุทธาณัติว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า แล้วเหาะขึ้นสู่เวหาส เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง สำเร็จการนอนบ้าง บังหวน ควันบ้าง โพลงไฟบ้าง หายตัวบ้าง ในอากาศกลางหาว ครั้นแสดงอิทธิ ปฏิหารย์ อันเป็นธรรมยวดยิ่งของมนุษย์หลายอย่าง ในอากาศกลางหาว แล้วลงมาซบศีรษะลงที่พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้กราบ ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระศาสดา ของข้าพระพุทธเจ้าๆ เป็นสาวก พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระศาสดาของข้าพระพุทธเจ้าๆ เป็นสาวกดังนี้.

ประชาชนตำบลแปดหมื่นนั้นจึงพูดสรรเสริญว่า ชาวเราผู้เจริญ อัศจรรย์นัก ประหลาดแท้ เพียงแต่พระสาวกยังมีฤทธิ์มากถึงเพียงนี้ ยังมี

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 4

อานุภาพมากถึงเพียงนี้ พระศาสดาต้องอัศจรรย์แน่ ดังนี้ แล้วพากัน สนใจต่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น หาสนใจต่อท่านพระสาคตะไม่.

ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจ

ลำดับนั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของพวก เขาด้วยพระทัย แล้วทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา ซึ่งโทษแห่งกามอันต่ำทรามอันเศร้าหมอง และ อานิสงส์ในการออกบรรพชา เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า พวกเขามีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรง ประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงคาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจาก มลทิน ได้เกิดแก่พวกเขา ณ ที่นั่งนั้นเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความคับเป็นธรรมดา ดุจผ้าที่สะอาด ปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้นพวกเขาได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรม แล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นใน คำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลคำนี้ ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ภาษิตของ พระองค์แจ่มแจ้งนัก พระพุทธเจ้าข้า ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธ เจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงาย ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้าเหล่านี้ขอถึงพระผู้มีตระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 5

จำพวกข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเติมแต่วันนี้เป็น ต้นไป

เศรษฐีบุตรโสณ - โกฬิวิสะออกบวช

[๒] ครั้งนั้น เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะได้มีความปริวิตก ดังนี้ ว่า ด้วยวิธีอย่างไรๆ เราจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ให้สมบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้ง่าย ไฉนหนอ เราพึง ปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ครั้น ประชาชนเหล่านั้นชื่นชมยินดี ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณหลีกไปแล้ว หลังจากประชาชน พวกนั้นหลีกไปแล้วไม่นานนัก เขาได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่นั้นแล ได้กราบทูลคำนี้แต่ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ด้วยวิธีอย่างไรๆ ข้าพระพุทธเจ้าจึง จะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้ง่าย ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะปลงผมและหนวดครองผ้า กาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดให้ ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิด พระพุทธเจ้าข้า เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะได้รับ บรรพชา อุปสมบทในพุทธสำนักแล้ว ก็แลท่านพระโสณะอุปสมบทแล้วไม่ นาน ได้พำนักอยู่ ณ ป่าสีตวัน ท่านปรารภความเพียรเกินขนาด เดินจงกรม จนเท้าทั้ง ๒ แตก สถานที่เดินจงกรมเปื้อนโลหิต ดุจสถานที่ฆ่าโค ฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 6

ครั้งนั้น ท่านพระโสณะไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตก แห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า บรรดาพระสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ปรารภ ความเพียรอยู่ เราก็เป็นรูปหนึ่ง แต่ไฉน จิตของเราจึงยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ ทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นเล่า สมบัติในตระกูลของเราก็ยังมีอยู่ เราอาจบริโภค สมบัติและบำเพ็ญกุศล ถ้ากระไร เราพึงสึกเป็นคฤหัสถ์แล้ว บริโภคสมบัติและ บำเพ็ญกุศล ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของ ท่านด้วยพระทัยแล้ว จึงทรงอันตรธานที่คิชฌกูฏบรรพต มาปรากฏพระองค์ ณ ป่าสีตวัน เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยีอด ฉะนั้น คราวนั้น พระองค์พร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก เสด็จเที่ยวจาริกตาม เสนาสนะ ได้เสด็จเข้าไปทางสถานที่เดินจงกรมของท่านพระโสณะ ได้ทอด พระเนตรเห็นสถานที่เดินจงกรมเปื้อนโลหิต ครั้นแล้วจึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย มารับสั่งถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สถานที่เดินจงกรมแห่งนี้ของใครหนอ เปื้อนโลหิต เหมือนสถานที่ฆ่าโค.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ท่านพระโสณะปรารภความเพียรเกินขนาด เดินจงกรมจนเท้าทั้ง ๒ แตก ถามที่เดินจงกรมแห่งนี้ของท่านจึงเปื้อนโลหิต ดุจสถานที่ฆ่าโค ฉะนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จเข้าไปทางที่อยู่ของท่านพระ โสณะ ครั้นแล้วประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่จัดไว้ถวาย แม้ท่านพระโสณะก็ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่งเฝ้าอยู่.

ตั้งความเพียรสม่ำเสมอเทียบเสียงพิณ

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระโสณะผู้นั่งเฝ้าอยู่ว่า ดูก่อน โสณะ เธอไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 7

บรรดาพระสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ปรารภความเพียรอยู่ เราก็เป็นรูป หนึ่ง แต่ไฉน จิตของเราจึงยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น เล่า สมบัติในตระกูลของเราก็ยังมีอยู่ เราอาจบริโภคสมบัติและบำเพ็ญกุศล ถ้ากระไร เราพึงสึกเป็นคฤหัสถ์แล้วบริโภคสมบัติและบำเพ็ญกุศล ดังนี้ มิใช่ หรือ?

ท่านพระโสณะทูลรับว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อครั้งเธอยัง เป็นคฤหัสถ์ เธอฉลาดในเสียงสายพิณ มิใช่หรือ?

โส. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คราวใดสายพิณ ของเธอตึงเกินไป คราวนั้นพิณของเธอมีเสียงหรือใช้การได้บ้างไหม?

โส. หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คราวใดสาย พิณของเธอหย่อนเกินไป คราวนั้นพิณของเธอมีเสียงหรือใช้การได้บ้างไหม?

โส. หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ ดูก่อนโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คราวใดสายพิณ ของเธอไม่ตึงนัก ไม่หย่อนนัก ตั้งอยู่ในคุณภาพสม่ำเสมอ คราวนั้น พิณของ เธอมีเสียงหรือใช้การได้บ้างไหม?

โส. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนโสณะ เหมือนกันนั่นแล ความเพียรที่ปรารภเกินไปนัก ย่อมเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ความเพียรที่ย่อหย่อนนัก ก็เป็นไปเพื่อเกียจ- คร้านเพราะเหตุนั้นแล เธอจงตั้งความเพียรแต่พอเหมาะจงทราบข้อที่อินทรีย์ ทั้งหลายเสมอกัน และจงถือนิมิตในความสม่ำเสมอนั้น.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 8

ท่านพระโสณะทูลรับสนองพระพุทธพจน์ว่า จะปฏิบัติตามพระพุทธโอวาทอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ครั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนท่านพระโสณะด้วยพระโอวาทข้อนี้แล้ว ทรงอันตรธานที่ป่าสีตวันต่อหน้าท่านพระโสณะ. แล้วมาปรากฏพระองค์ ณ คิชฌกูฏบรรพต เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียด แขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.

พระโสณะสำเร็จพระอรหัตตผล

ครั้นกาลต่อมา ท่านพระโสณะได้ตั้งความเพียรแต่พอเหมาะ ทราบ ข้อที่อินทรีย์ทั้งหลายเสมอกัน และได้ถือนิมิตในความสม่ำเสมอ ครั้นแล้วได้ หลีกออกอยู่แต่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไป ไม่นานเท่าไรนัก ได้ทำให้แจ้งซึ่งคุณพิเศษอันยอดเยี่ยม เป็นที่สุดพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องประสงค์ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตน เอง ในปัจจุบันนี้แหละ เข้าถึงอยู่แล้ว ได้รู้ชัดแล้วว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ เราได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิ ได้มี ก็แลบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านพระโสณะได้เป็นพระอรหันต์รูป หนึ่งแล้ว.

พรรณนาคุณของพระขีณาสพ

[๓] ครั้งนั้น ท่านพระโสณะบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้คิดว่า ถ้า กระไรเราพึงพยากรณ์อรหัตตผลในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วจึงเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมนั่งเฝ้าอยู่ ครั้นแล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 9

พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว มีประโยชน์ ของคนได้ถึงแล้วโดยลำดับ มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพหมดสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ ภิกษุนั้นย่อมน้อมใจ ไปสู่เหตุ ๖ สถาน คือ:-

๑. น้อมใจไปสู่บรรพชา.

๒. น้อมใจไปสู่ความเงียบสงัด.

๓. น้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน.

๔. น้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน.

๕. น้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหา และ.

๖. น้อมใจไปสู่ความไม่หลงใหล.

พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้สำคัญเห็นเช่น นี้ว่า ท่านผู้นี้อาศัยคุณแต่เพียงศรัทธาอย่างเดียวเป็นแน่ จึงน้อมใจไปสู่ บรรพชา ดังนี้พระพุทธเจ้าข้า ก็ข้อนี้ไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย ภิกษุขีณาสพผู้ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตนยังมีกิจที่จำ จะต้องทำ หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว จึงน้อมใจสู่บรรพชา โดย ที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ, จึงน้อมใจไปสู่บรรพชา โดยที่ตนปราศ จากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ, จึงน้อมใจไปสู่บรรพชา โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ.

พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัย สำคัญเห็น เช่นนี้ว่า ท่านผู้นี้ปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นแน่ จึงน้อมใจ ไปในความเงียบสงัด ดังนี้ พระพุทธเจ้าข้า ข้อนี้ก็ไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย ภิกษุ- ขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตนยัง มีกิจที่จำจะต้องทำ หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว จึงน้อมใจไปสู่ความ เงียบสงัด โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ, จึงน้อมใจไปสู่ความ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 10

เงียบสงัด โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ, จึงน้อมใจไปสู่ความ เงียบสงัด โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ.

พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัย สำคัญเห็น เช่นนี้ ว่า ท่านผู้นี้เชื่อถือสีลัพพตปรามาส โดยความเป็นแก่นสารเป็นแน่ จึง น้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน ดังนี้ พระพุทธเจ้าข้า ข้อนี้ก็ไม่พึงเห็นอย่าง นั้นเลย ภิกษุขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจทำควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตนยังมีกิจที่จำจะต้องทำ หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว จึง น้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสนราคะ, จึง น้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ, จึงน้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ.

... จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะ สิ้นราคะ, จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะ สิ้นโทสะ, จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะ สิ้นโมหะ.

... จึงน้อมใจไปสู่ควานสิ้นตัณหา โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะ สิ้นราคะ, จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหา โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้น โทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหา โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ,

... จึงน้อมใจไปสู่ความไม่หลงใหล โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะ สิ้นราคะ, จึงน้อมใจไปสู่ความไม่หลงใหล โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้น โทสะ, จึงน้อมใจไปสู่ความไม่หลงใหล โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้น โมหะ.

พระพุทธเจ้าข้า แม้หากรูปารมณ์ที่หยาบซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยจักษุ ผ่านมาสู่คลองจักษุ ของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำ จิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็น

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 11

ธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความ ดับของจิตนั้น.

แม้หากสัททารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยโสต ...

แม้หากคันธารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยฆานะ ...

แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยชิวหา ...

แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยกาย ...

แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน ผ่านมาสู่คลอง ใจของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้ เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติดังมั่นไม่ หวั่นไหวและภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความคับของจิตนั้น.

พระพุทธเจ้าข้า ภูเขาล้วนแล้วด้วยศิลา ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็น แต่งทึบอันเดียวกัน แม้หากฝนเจือลมอย่างแรง พัดมาแต่ทิศตะวันออก ก็ยัง ภูเขานั้นให้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านไม่ได้เลย.

แม้หากฝนเจือลมอย่างแรง พัดมาแต่ทิศตะวันตก ...

แม้หากฝนเจือลมอย่างแรง พัดมาแต่ทิศเหนือ ...

แม้หากฝนเจือลมอย่างแรง พัดมาแต่ทิศใต้ ก็ยังภูเขานั้นให้หวั่นไหว สะเทือนสะท้านไม่ได้เลย แม้ฉันใด.

พระพุทธเจ้าข้า แม้หากรูปารมณ์ที่หยาบซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยจักษุ ผ่านมาสู่คลองจักษุ ของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้น แล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ย่อมไม่ ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและ ความดับของจิตนั้น.

แม้หากสัททารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยโสต ...

แม้หากคันธารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยฆานะ ...

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 12

แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยชิวหา ...

แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยกาย ...

แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน ผ่านมาสู่คลอง ใจของภิกษุผู้มีจิตหลุดพนักแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้ เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่ หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น ฉัน นั้นเหมือนกันแล.

นิคมคาถา

[๔] ภิกษุผู้น้อมไปสู่บรรพชา ๑ ผู้ น้อมไปสู่ความเงียบสงัดแห่งใจ ๑ ผู้น้อมไป สู่ความไม่เบียดเบียน ๑ ผู้น้อมไปสู่ความสิ้น อุปาทาน ผู้น้อมไปสู่ความสิ้นตัณหา ๑ ผู้ น้อมไปสู่ความไม่หลงใหลแห่งใจ ย่อมมี จิตหลุดพ้นโดยชอบ เพราะเห็นความเกิด และความดับแห่งอายตนะ ภิกษุมีจิตหลุดพ้น แล้วโดยชอบ มีจิตสงบนั้น ไม่ต้องกลับ สะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว กิจที่จำจะต้องทำก็ ไม่มี เปรียบเหมือนภูเขาที่ล้วนแล้วด้วยศิลา เป็นแท่งทึบ อันเดียวกัน ย่อมไม่สะเทือน ด้วยลม ฉันใด รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และธรรมารมณ์ ทั้งที่น่าปรารถนา และไม่ น่าปรารถนาทั้งสิ้น ย่อมทำท่านผู้คงที่ให้ หวั่นไหวไม่ได้ ฉันนั้น จิตของท่านตั้งมั่น หลุดพ้นแล้ว ท่านย่อมพิจารณาเห็นคาวาม เกิด และความดับของจิตนั้นด้วย.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 13

ทรงอนุญาตรองเท้า

[๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ด้วย วิธีอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ที่พวกกุลบุตรพยากรณ์อรหัตกล่าวแต่เนื้อความ และไม่น้อมเข้าไปหาตน ก็แต่ว่าโมฆบุรุษบางจำพวกในธรรมวินัยนี้พยากรณ์ อรหัต ทำทีเหมือนเป็นของสนุก ภายหลังต้องทุกข์เดือดร้อน ดังนี้ ต่อแต่ นั้นพระองค์รับสั่งกะท่านพระโสณะว่า ดูก่อนโสณะ เธอเป็นสุขุมาลชาติ เรา อนุญาตตรองเท้าชั้นเดียวแก่เธอ.

ท่านพระโสณะกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าละเงินประมาณ ๘๐ เล่ม เกวียน และละกองพลกอปรด้วยช้าง ๗ เชือก ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต แล้ว จักมีผู้กล่าวแก่พระพุทธเจ้าว่า โสณโกฬิวิสะละเงินประมาณ ๘๐ เล่ม เกวียน และละกองพลกอปรด้วยช้าง ๗ เชือก ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต แล้ว เดี๋ยวนี้ยังข้องอยู่ในเรื่องรองเท้าชั้นเดียว ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจักได้ทรง อนุญาตแก่พระภิกษุสงฆ์ แม้ข้าพระพุทธเจ้าจักใช้สอย ถ้าจักไม่ทรงอนุญาต แก่พระภิกษุสงฆ์ แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็จักไม่ใช้สอย พระพุทธเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตรองเท้าชั้นเดียว ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้า ๒ ชั้น ไม่พึง สวมรองเท้า ๓ ชั้น ไม่พึงสวมรองเท้าหลายชั้น รูปใดสวม ต้อองอาบัติทุกกฏ

พระพุทธบัญญัติห้ามสวมรองเท้าสีต่างๆ

[๖] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์สวมรองเท้าสีเขียวล้วน.. สวม รองเท้าสีเหลืองล้วน ... สวมรองเท้าสีแดงล้วน ... สวมรองเท้าสีบานเย็นล้วน .. สวมรองเท้าสีดำล้วน ... สวมรองเท้าสีแสดล้วน ... สวมรองเท้าสีชมพูล้วน

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 14

ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงบัญญัติห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าสีเขียวล้วน ไม่พึงสวมรองเท้าสี เหลืองล้วน ไม่พึงสวมรองเท่าสีแดงล้วน ไม่พึงสวมรองเท้าสีบานเย็นล้วน ไม่พึงสวนรองเท้าสีดำล้วน ไม่พึงสวมรองเท้าสีแสดล้วน ไม่พึงสวมรองเท้า สีชมพูล้วน รูปใดสวน ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระพุทธบัญญัติห้ามสวมรองเท้ามีหูไม่สมควร

สมัยต่อมา พระฉัพพัคดีย์สวมรองเท้ามีหูสีเขียว ... สวมรองเท้ามีหูสี เหลือง ... สวมรองเท้ามีหูสีแดง ... สวมรองเท้ามีหูสีบานเย็น ... สวมรองเท้า มีหูสีดำ ... สวมรองเท้ามีหูสีแสด ... สวมรองเท้ามีหูสีชมพู ชาวบ้านพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงบัญญัติห้ามว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีเขียว ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีเหลือง ไม่ พึงสวมรองเท้ามีหูสีแดง ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีบานเย็น ไม่พึงส้วมรองเท้ามี หูสีดำ ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีแสด ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีชมพู รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระพุทธบัญญัติทรงห้ามสวมรองเท้าบางชนิด

สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์สวมรองเท้าติดแผ่นหนังหุ้มส้น ... สวมรอง เท้าหุ้มแข้ง ... สวมรองเท้าปกหลังเท้า ... สวมรองเท้ายัดนุ่น ... สวมรองเท้ามี หูลายคล้ายขนปีกนกกระทำ ... สวมรองเท้าที่ทำหูงอนมีสัณฐานดุจเขาเกาะ ... สวมรองเท้าที่ทำหูงอนมีสัณฐานดุจเขาแพะ ... สวมรองเท้าที่ทำประกอบหูงอน

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 15

ดุจหางแมลงป่อง ... สวมรองเท้าที่เย็บด้วยขนปีกนกยูง ... สวมรองเท้าอัน วิจิตร คนทั้งหลายเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้ บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรง บัญญัติห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าติดแผ่นหนังหุ้นส้น ไม่พึงสวนรองเท้าหุ้มแข้งไม่พึงสวมรองเท้าปกหลังเท้า ไม่พึงสวมรองเท้ายัดนุ่น ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูลายคล้ายขนปีกนกกระทำ ไม่พึงสวมรองเท้าที่ทำหูงอนมี สัณฐานดุจเขาแกะ ไม่พึงสวมรองเท้าที่ทำหูงอนมีสัณฐานดุจเขาแพะ ไม่พึง สวมรองเท้าที่ทำประกอบหูงอนดุจหางแมลงป่อง ไม่พึงสวมรองเท้าที่เย็บด้วย ขนปีกนกยูง ไม่พึงสวมรองเท้าอันวิจิตร รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระพุทธบัญญัติทรงห้ามสวนรองเท้าขลิบหนัง

สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์สวมรองเท้าขลิบด้วยหนังราชสีห์ ... สวม รองเท้าขลิบด้วยหนังเสือโคร่ง ... สวมรองเท้าขลิบด้วยหนังเสือเหลือง ... สวม รองเท้าขลิบด้วยหนังชะมด ... สวมรองเท้าขลิบด้วยหนังนาก ... สวมรองเท้า ขลิบด้วยหนังแมว ... สวมรองเท้าขลิบด้วยหนังค่าง ... สวมรองเท้าขลิบด้วย หนังนกเค้า คนทั้งหลายเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้ บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรง บัญญัติห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังราชสีห์ ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังเสือโคร่ง ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังเสือ เหลือง ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังชะมด ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนัง นาก ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังแมว ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังค่าง ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังนกเค้า รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 16

ทรงอนุญาตรองเท้าหลายชั้นที่ใช้แล้ว

[๗] ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรจีวร เสด็จพระพุทธดำเนินเข้าไปบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ มี ภิกษุรูปหนึ่งเป็นปัจฉาสมณะ แต่ภิกษุรูปนั้นเดินเขยกตามพระผู้มีพระภาคเจ้า ไปเบื้องพระปฤษฎางค์ อุบาสกคนหนึ่งสวมรองเท้าหลายชั้น ได้เห็นพระผู้มี พระภาคเจ้ากำลังเสด็จพระพุทธดำเนินมาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วจึงถอดรองเท้า เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น อภิวาทแล้ว จึงได้ถามว่า เพราะอะไร พระผู้เป็นเจ้าจึงเดินเขยก ขอรับ.

ภิกษุรูปนั้นตอบว่า เพราะเท้าทั้งสองของอาตมาแตก

อ. นิมนต์พระผู้เป็นเจ้ารับรองเท้า ขอรับ.

ภิ. อย่าเลย ท่าน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามรองเท้าหลายชั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า เธอรับรองเท้านั้นได้ ภิกษุ.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตรองเท้าหลายชั้นที่ใช้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รองเท้า หลายชั้นที่ใหม่ ภิกษุไม่พึงสวม รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.

ห้ามสวมรองเท้าในที่บางแห่ง

[๘] ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงฉลองพระบาท เสด็จพระพุทธดำเนินอยู่ในที่แจ้ง ภิกษุผู้เถระทั้งหลายทราบว่า พระศาสดามิได้ ทรงฉลองพระบาทเสด็จพระพุทธดำเนินอยู่ ดังนี้ จึงเดินไม่สวมรองเท้า เมื่อ พระศาสดาเสด็จพระพุทธดำเนินมิได้ทรงฉลองพระบาทแม้เมื่อภิกษุผู้เถระ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 17

ทั้งหลายเดินก็ไม่สวมรองเท้า แต่พระฉัพพัคคีย์เดินสวมรองเท้า บรรดาภิกษุที่ เป็นผู้มักน้อย ... เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จพระพุทธดำเนินมิได้ทรงฉลองพระบาท แม้เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายเดินก็ไม่สวมรอง เท้า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้เดินสวมรองเท้าเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าเมื่อเราผู้ศาสดาเดินมิได้สวมรองเท้า แม้เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายเดินก็ไม่ สวมรองเท้า แต่พระฉัพพัคคีย์เดินสวมรองเท้า จริงหรือ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรา ผู้ศาสดาเดินมิได้สวมรองเท้า แม้เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายเดินก็ไม่สวมรองเท้า แต่ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้เดินสวมรองเท้าเล่า อันคฤหัสถ์ชื่อเหล่านี้นุ่งห่ม ผ้าขาวยังมีความเคารพ มีความยำเกรง มีความประพฤติเสมอภาค ในอาจารย์ ทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งศิลปะซึ่งเป็นเครื่องเลี้ยงชีพอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พึงงามในธรรมวินัยนี้เป็นแน่ ถ้าพวกเธอบวชในธรรมวินัยอันเรากล่าวดีแล้ว อย่างนี้ จะพึงมีดวามเคารพ มีความยำเกรง มีความประพฤติเสมอภาค อยู่ใน อาจารย์ ในภิกษุปูนอาจารย์ ในอุปัชฌายะ ในภิกษุปูนอุปัชฌายะ การกระทำ ของเหล่าโมฆบุรุษนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ อาจารย์ ภิกษุปูนอาจารย์ อุปัชฌายะ ภิกษุปูนอุปัชฌายะ เดินมิได้สวมรอง เท้า ภิกษุไม่พึงเดินสวมรองเท้า รูปใดเดินสวมรองเท้า ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าภายในอาราม รูปใดสวม ต้อง อาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 18

ภิกษุอาพาธเป็นหน่อที่เท้า

[๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นหน่อที่เท้า ภิกษุ ทั้งหลายพยุงภิกษุรูปนั้นให้ถ่ายอุจจาระบ้าง ให้ถ่ายปัสสาวะบ้าง พระผู้มีพระภาค เจ้าเสด็จเที่ยวจาริกตานเสนาสนะ ได้ทอดพระเนตรเห็นพวกภิกษุกำลังพยุงภิกษุ รูปนั้นให้ถ่ายอุจจาระบ้าง ให้ถ่ายปัสสาวะบ้าง จึงเสด็จเข้าไปใกล้ภิกษุพวกนั้น แล้วได้ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้อาพาธเป็นอะไร ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลว่า ท่านรูปนี้อาพาธเป็นหน่อที่เท้า พวกข้าพระพุทธเจ้าต้อง พยุงท่านรูปนี้ให้ถ่ายอุจจาระบ้าง ให้ถ่ายปัสสาวะบ้าง พระพุทธเจ้าข้า.

พระพุทธานุญาตให้สวมรองเท้าเป็นพิเศษ

[๑๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีเท้าชอกช้ำ หรือมีเท้าแตก หรืออาพาธ มีหน่อที่เท้า สวมรองเท้าได้.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายมีเท้ามิได้ล้าง ขึ้นเตียงบ้างขึ้นตั่งบ้าง ทั้งจีวร ทั้งเสนาสนะ ย่อมเสียหาย พวกภิกษุจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวมรอง เท้าในขณะที่คิดว่าประเดี่ยวจักขึ้นเตียง หรือขึ้นตั่ง.

สมัยต่อมา เวลากลางคืน ภิกษุทั้งหลายเดินไปสู่โรงอุโบสถก็ดี สู่ที่ ประชุมก็ดี ย่อมเหยียบตอบบ้าง หนามบ้าง ในที่มืด เท้าทั้งสองได้รับบาดเจ็บ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 19

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย ภายในอาราม เราอนุญาตให้สวมรองเท้า และใช้คบเพลิง ประทีป ไม้เท้าได้.

พระพุทธบัญญัติห้ามสวมเขียงเท้าไม้

ครั้นต่อมา ถึงเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรี พระฉัพพัคคีย์ลุกขึ้นสวม เขียงเท้าที่ทำด้วยไม้ แล้วเดินอยู่กลางแจ้ง มีเสียงขฏะขฏะ ดังอึกทึก กล่าว ดิรัจฉานกถามีเรื่องต่างๆ คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องขุนพล เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเปิดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ เหยียบแมลงตายเสียบ้าง ยัง ภิกษุทั้งหลายให้เคลื่อนจากสมาธิบ้าง บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย.. ต่างก็เพ่ง โทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ เมื่อเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรี ได้ลุกขึ้นสวมเขียงเท้าที่ทำด้วยไม้แล้วเดินอยู่กลางแจ้ง มีเสียงขฏะขฎะ ดังอึกทึก กล่าวดิรัจฉานกถา มีเรื่องต่างๆ คือพูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร ... เรื่องความ เจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ เหยียบแมลงตายเสียบ้าง ยังภิกษุทั้งหลาย ให้เคลื่อนจากสมาธิ แล้วจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุฉัพพัคคีย์ เมื่อปัจจุสมัยแห่งราตรี ได้ลุกขึ้นสวมเขียงเท้าที่ทำด้วย ไม้ แล้ว เดินอยู่กลางแจ้ง มีเสียงขฏะขฏะ ดังอึกทึก กล่าวดิรัจฉานกถามีเรื่อง

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 20

ต่างๆ คือพูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร ... เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วย ประการนั้นๆ เหยียบแมลงตายเสียบ้าง ยังภิกษุทั้งหลายให้เคลื่อนจากสมาธิ บ้าง จริงหรือ?

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เขียงเท้าที่ทำด้วยไม้ อันภิกษุ ไม่พึงสวม รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระพุทธบัญญัติห้ามสวมเขียงเท้าใบตาล

[๑๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระนครราชคฤห์ ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่จาริกทางพระนครพาราณสี เสด็จพระพุทธดำเนินสู่จาริกโดยลำดับ ถึงพระนครพาราณสี ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ในป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสีนั้น.

ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม เขียงเท้าไม้ จึงให้ตัดต้นตาลเล็กๆ แล้วเอาใบตาลมาทำเขียงเท้าสวม ต้นตาล เล็กๆ นั้นถูกตัดแล้วย่อมเหี่ยวแห้ง ชาวบ้านจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร จึงได้ให้ตัดต้นตาลเล็กๆ แล้วเอาใบตาล มาทำเขียงเท้าสวมเล่า ต้นตาลเล็กๆ ถูกตัดแล้ว ย่อมเหี่ยวแห้ง พระสมณะเชื้อ สายศากยบุตรเบียดเบียนอินทรีย์อย่างหนึ่งซึ่งมีชีวะ ภิกษุทั้งหลายได้ยิน ชาวบ้านเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 21

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุฉัพพัคคีย์สั่งให้ตัดต้นตาลเล็กๆ แล้วเอาใบตาลมาทำเขียงเท้าสวม ต้นตาลเล็กๆ นั้นถูกตัดแล้ว ย่อมเหี่ยวแห้ง จริงหรือ?

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าจึงทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายไฉน โมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้ให้ตัดต้นตาลเล็กๆ แล้วเอาใบตาลทำเขียงเท้าสวมเล่า ต้นตาลเล็กๆ นั้นถูกตัดแล้ว ย่อมเหี่ยวแห้ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ ชาวบ้านมีความสำคัญในต้นไม้ว่ามีชีวะ การกระทำของเหล่าโมฆบุรุษนั้น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เขียงเท้าสานด้วยใบตาล อัน ภิกษุไม่พึงสวม รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระพุทธบัญญัติห้ามสวมเขียงเท้าไม้ไผ่

สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามเขียง เท้าสานด้วยใบตาล จึงได้ให้ตัดต้นไม้ไผ่เล็กๆ แล้ว เอาใบไผ่มาทำเขียงเท้า สวม ไม้ไผ่เล็กๆ นั้น ถูกตัดแล้ว ย่อมเหี่ยวแห้ง ชาวบ้านจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ให้จัดไม้ไผ่ เล็กๆ แล้วเอาใบไผ่มาทำเขียงเท้าสวมเล่า ไม้ไผ่เล็กๆ นั้นถูกตัดแล้วย่อม เหี่ยวแห้ง พระสมถะเชื้อสายศากยบุตรย่อมเบียดเบียนอินทรีย์อย่างหนึ่งซึ่งมี ชีวะ ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา อยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 22

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ... ครั้น แล้วรับ สั่งกะ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเขียงเท้าสานด้วยใบไผ่ อันภิกษุไม่พึง สวม รูปใดสวน ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระพุทธบัญญัติห้ามสวมเขียงเท้าต่างชนิด

[๑๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครพาราณสี ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินจาริกทางนครภัททิยะ เสด็จ พระพุทธดำเนินจาริกโดยลำดับถึงพระนครภัททิยะ ทราบว่า พระองค์ประทับ อยู่ในป่าชาติยาวัน เขตพระนครภัททิยะนั้น.

ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวพระนครภัททิยะ ตั้งหน้าพากเพียร ตกแต่งเขียงเท้าหลากหลายอยู่ คือ ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสาน ด้วยหญ้าทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย ทำเอง บ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้าปล้อง ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยใบเป้ง ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยแฝก ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ พวกเธอละเลยอุเทศ ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญาเสีย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่าง ก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนเล่าพวกภิกษุชาวพระนครภัททิยะ จึง ได้ทั้งหน้าพากเพียรตกแต่งเขียงเท้าหลากหลายอยู่ คือ ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้า ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียง เท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสาน ด้วยหญ้าปล้อง ได้ทำเองบ้าง ได้ส่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยใบเป้ง ได้เองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยแฝก ได้ทำเองบ้าง ได้สั่ง

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 23

ให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ ภิกษุเหล่านั้นได้ล่ะเลยอุเทศ ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญาเสีย แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุชาวพระนครภัททิยะตั้งหน้าพากเพียรตกแต่งเขียงเท้าหลากหลาย อยู่ คือ ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้า ทำเองบ้าง สั่ง ให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่ง เขียงเท้าสานด้วยหญ้าปล้อง ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วย ใบเป้ง ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยแฝก ทำเองบ้าง สั่ง ให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ ย่อมละเลยอุเทศ ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา จริงหรือ?

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน เล่าโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ตั้งหน้าพากเพียรตกแต่งเขียงเท้าหลากหลายอยู่ คือ ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้า ได้ทำเองบ้าง ได้ สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำ บ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้าปล้อง ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียง เท้าสานด้วยใบเป้ง ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยแฝก ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ โมฆบุรุษเหล่านั้น ได้ละเลยอุเทศ ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญาเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของเหล่าโมฆบุรุษนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ... ครั้น แล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมเขียงเท้าสานด้วยหญ้า เขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระ-

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 24

ต่าย เขียงเท้าสานด้วยหญ้าปล้อง เขียงเท้าสานด้วยใบเป้ง เขียงเท้าสานด้วย แฝก เขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ เขียงเท้าประดับด้วยทองคำ เขียงเท้าประดับ ด้วยเงิน เขียงเท้าประดับด้วยแก้วมณี เขียงเท้าประดับด้วยแก้วไพฑูรย์ เขียง เท้าประดับด้วยแก้วผลึก เขียงเท้าประกอบด้วยทองสัมฤทธิ์ เขียงเท้าประดับ ด้วยกระจก เขียงเท้าทำด้วยดีบุก เขียงเท้าทำด้วยสังกะสี เขียงเท้าทำด้วยทอง แดง รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฎ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เขียงเท้าบางชนิดที่สำหรับสวมเดิน อัน ภิกษุไม่พึงสวม รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียงเท้าที่ตรึงอยู่กับที่ ไม่ใช่สำหรับ ใช้สวมเดิน ๓ ชนิด คือ เขียงเท้าที่สำหรับเหยียบถ่ายอุจจาระ ๑ เขียงเท้าที่ สำหรับเหยียบถ่ายปัสสาวะ ๑ เขียงเท้าที่สำหรับเหยียบในที่ชำระ ๑.

พระพุทธบัญญัติห้ามจับโค

[๑๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ในพระนครภัททิยะ ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินจาริกทางพระนครสาวัตถี เสด็จ พระพุทธดำเนินจาริกโดยลำดับถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ในพระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถีนั้น.

ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์จับโคกำลังข้ามแม่น้ำอจิรวดี ที่เขา บ้าง ที่หูบ้าง ที่คอบ้าง ที่หางบ้าง ขึ้นขี่หลังบ้าง มีจิตกำหนัด ถูกต้ององค์ กำเนิดบ้าง กดลูกโคให้จมน้ำตายบ้าง ประชาชนทั้งหลาย พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้จับโคกำลัง ข้ามน้ำ ที่เขาบ้าง ที่หูบ้าง ที่คอบ้าง ที่หางบ้าง ขึ้นขี่หลังบ้าง มีจิตกำหนัด

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 25

ถูกต้ององค์กำเนิดบ้าง กดลูกโคให้จมน้ำตายบ้าง เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภค กาม ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจับเขาโค หูโค คอโค หางโค ไม่พึงขี่หลังโค รูปใด จับแลขึ้นขี่ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง องค์กำเนิดโค อันภิกษุมีจิตกำหนัด ไม่ พึงถูกต้อง รูปใดถูกต้อง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุไม่พึงฆ่าลูกโค รูปใดฆ่า พึงปรับอาบัติตามธรรม.

เรื่องยาน

[๑๔] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคียี์ขี่ยานซึ่งเทียมด้วยโคตัวเมีย มีบุรุษเป็นสารถีบ้าง เทียมด้วยโคตัวผู้ มีสตรีเป็นสารถีบ้าง ประชาชนจึง เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนชายหนุ่มหญิงสาวไปเล่นน้ำในแม่น้า คงคาและแม่น้ำมหี ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ ภาคเจ้าๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไปด้วยยาน รูปใดไปต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งไปพระนครสาวัตถีในโกศลชนบทเพื่อเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า แต่อาพาธเสียกลางทาง และได้หลีกจากทางนั่งอยู่ ณ โคนไม้แห่งหนึ่งประชาชนพบภิกษุนั้น จึงเรียนถามว่า พระคุณเจ้าจะไปไหน ขอรับ?

ภิกษุนั้นตอบว่า อาตมาจะไปพระนครสาวัตถุ เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค เจ้า.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 26

ป. นิมนต์มา ไปด้วยกันเถิด ขอรับ.

ภิ. อาตมาไม่อาจ เพราะกำลังอาพาธ.

ป. นิมนต์มาขึ้นยานเถิด ขอรับ.

ภิ. ไม่ได้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามยาน.

ภิกษุนั้นรังเกียจอยู่ ดังนั้นจึงไม่ยอมขึ้นยาน ครั้นไปถึงพระนครสาวัตถี แล้วจึงแจ้งเรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลายๆ กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตยานแก่ภิกษุผู้อาพาธ.

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้คิดกันว่า ยานที่ทรงอนุญาตนั้นเทียมด้วยโค ตัวเมีย หรือเทียมด้วยโคตัวผู้ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานที่เทียม ด้วยโคตัวผู้และยานที่ใช้มือลาก.

สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งไม่ผาสุกอย่างแรง เพราะความกระเทือนแห่ง ยาน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงอนุญาตเก่ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานหามมีตั่งนั่ง และเปลผ้า ที่เขาผูกติดกับไม้คาน.

พระพุทธบัญญัติห้ามใช้ที่นั่งและที่นอนสูงใหญ่

[๑๕] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ใช้ที่นั่งและที่นอนอันสูงใหญ่ คือ เตียงมีเท้าเกินประมาณ เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย ผ้าโกเชาว์ขนยาว เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย เครื่องลาดที่มีสัณฐานเป็นช่อ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 27

ดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีสีหะและ เสือเป็นต้น เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทองและเงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน เครื่องลาด ขนแกะจุนางฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาด ในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะมีขนอ่อนนุ่ม เครื่องลาดอย่างดี ทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้าง ชาวบ้านเที่ยวชม วิหารไปพบเข้า จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนเหล่าคฤหัสถ์ผู้ บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ที่นั่งและที่นอนอันสูงใหญ่ คือ เขียงมีเท้าสงเกินประมาณ เตียง มีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย ผ้าโกเชาว์ขนยาว เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะวิจิตร ลวดลายเครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดที่มีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีสีหะและเสือเป็น ต้น เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทอง และเงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน เครื่องลาดขนแกะจุนางฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะมีขนอ่อนนุ่ม เครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้าง รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระพุทธบัญญัติห้ามใช้หนังผืนใหญ่

[๑๖] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์รู้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง ห้ามที่นั่งและที่นอนอันสูงใหญ่ จึงใช้หนังผืนใหญ่ คือ หนังสีหะ หนังเสือโคร่ง หนังเสือเหลือง หนังเหล่านั้นตัดตามขนาดเตียงบ้าง ตัดตามขนาดตั่งบ้าง

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 28

ปูลาดไว้ภายในเตียงบ้าง ปูลาดไว้ภายนอกเตียงบ้าง ปูลาดไว้ภายในตั่งบ้าง ปูลาดไว้ภายนอกตั่งบ้าง ชาวบ้านเที่ยวชมวิหารไปพบเข้า จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ไม่พึงใช้หนังผืนใหญ่ คือ หนังสีหะ หนังเสือโคร่ง หนังเสือเหลือง รูปใด ใช้ต้องอาบัติทุกกฏ.

เรื่องภิกษุใจร้าย

[๑๗] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์รู้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง ห้ามหนังผืนใหญ่ จึงใช้หนังโค หนังเหล่านั้นตัดตามขนาดเตียงบ้าง ตัดตาม ขนาดตั่งบ้าง ปูลาดไว้ภายในเตียงบ้าง ปูลาดไว้ภายนอกเตียงบ้าง ปูลาดไว้ภาย ในตั่งบ้าง ปูลาดไว้ภายนอกตั่งบ้าง. มีภิกษุใจร้ายรูปหนึ่ง เป็นกุลุปกะของอุบาสกใจร้ายคนหนึ่ง ครั้นเวลา เช้าภิกษุใจร้ายรูปนั้นนุ่งอันตรวาสก ถือบาตรจีวรแล้วเดินเข้าไปในบ้านของ อุบาสกใจร้ายคนนั้น แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้ อุบาสกใจร้ายคนนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุใจร้ายรูปนั้น นมัสการแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ก็สมัย นั้นลูกโคของอุบาสกใจร้ายคนนั้น เป็นสัตว์กำลังรุ่น รูปร่างเข้าที น่าดูน่าชม งามคล้ายลูกเสือเหลือง ภิกษุใจร้ายรูปนั้น จึงจ้องมองดูมันด้วยความสนใจ ทีนั้น อุบาสกใจร้ายได้กล่าวคำนี้กะภิกษุใจร้ายว่า พระคุณเจ้าจ้องมองดูมัน ด้วยความ สนใจเพื่อประสงค์อะไรขอรับ ภิกษุใจร้ายรูปนั้น ตอบว่า อาวุโส อาตมา ต้องประสงค์หนังของมัน ทีนั้น อุบาสกใจร้ายจึงฆ่ามันแล้วได้ถลกหนังถวาย

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 29

แก่ภิกษุใจร้ายรูปนั้นๆ ได้เอาผ้าสังฆาฏิห่อหนังเดินไป ครั้งนั้น แม่โค มี ความรักลูก จึงเดินตามภิกษุใจร้ายรูปนั้นไปข้างหลังๆ ภิกษุทั้งหลายถามภิกษุ ใจร้ายรูปนั้นว่า อาวุโส ทำไมแม่โคตัวนี้จึงเดินตามท่านมาข้างหลังๆ ขอรับ ภิกษุใจร้ายรูปนั้น ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย แม้ผมเองก็ไม่ทราบว่า มันเดิน ตานผมมาข้างหลังๆ ด้วยเหตุอะไร ขณะนั้น ผ้าสังฆาฏิของภิกษุใจร้ายรูปนั้น เปื้อนเลือด ภิกษุทั้งหลาย จึงถามภิกษุใจร้ายรูปนั้นว่า อาวุโส ก็ผ้าสังฆาฏิ ผืนนี้ ท่านห่ออะไรไว้ ขอรับ ภิกษุใจร้ายรูปนั้นได้แจ้งความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโสก็ท่านชักชวนให้เขาฆ่าสัตว์หรือขอรับ ภิกษุใจร้าย ตอบว่า อย่างนั้นขอรับ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อยต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุจึงชักชวนให้เขาฆ่าสัตว์เล่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง ติเตียนการฆ่าสัตว์ ทรงสรรเสริญการงดจากการฆ่าสัตว์ โดยอเนกปริยายมิใช่ หรือ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระพุทธบัญญัติห้ามใช้หนังโค

[๑๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ใน เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุใจ ร้ายนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า เธอชักชวนให้เขาฆ่าสัตว์ จริงหรือ?

ภิกษุใจร้ายนั้นกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอ จึงได้ชักชวนให้เขาฆ่าสัตว์เล่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เราติเตียนการฆ่าสัตว์ สรรเสริญ การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ไว้ โดยอเนกปริยายมิใช่หรือ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้ว ทรงทำ

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 30

ธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงชักชวน ในการฆ่าสัตว์ รูปใด ชักชวน พึงปรับอาบัติตามธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง หนังโคอันภิกษุไม่พึงใช้ รูปใดใช้ ต้อง อาบัติทุกกฏ หนึ่งอะไรๆ ภิกษุไม่พึงใช้ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา เตียงก็ดี ตั่งก็ดี ของชาวบ้าน เขาหุ้มด้วยหนัง ถักด้วย หนัง ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่นั่งทับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ นั่งทับเตียงตั่งที่เป็นอย่างของคฤหัสถ์ แค่ไม่อนุญาตให้ นอนทับ.

สมัยต่อมา วิหารทั้งหลายเขาผูกรัดด้วยเชือกหนัง ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ ไม่นั่งพิง แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้นั่งพิงเฉพาะเชือก.

พระพุทธบัญญัติห้ามสวมรองเท้าเข้าบ้าน

[๑๙] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์สวมรองเท้าเข้าบ้าน คน ทั้งหลายเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนเหล่าคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึ่งสวมรองเท้าเข้าบ้าน รูปใดสวม เข้าไป ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระพุทธานุญาตให้ภิกษุอาพาธสวมรองเท้าเข้าบ้าน

สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเว้นรองเท้าเสียไม่อาจเข้าบ้านได้ ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุอาพาธสวมรองเท้าเข้าบ้านได้.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 31

เรื่องพระโสณกุฏิกัณณะ

[๒๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ปปาตะบรรพต เขตกุรรฆระนครในอวันตีชนบท ก็คราวนั้นอุบาสกชื่อโสณกุฏิกัณณะ เป็น อุปัฏฐากของท่านพระมหากัจจานะ ได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะ นมัสการ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง อุบาสกโสณกุฏิกัณณะนั่งอยู่ ณ ที่นั่นแล ได้ กราบเรียนคำนี้กะท่านพระมหากัจจานะว่า ท่านขอรับ ด้วยวิธีอย่างไรๆ กระผมจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระคุณเจ้าแสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้ง่าย กระผมปรารถนาจะปลงผมและหนวด ครองผ้า กาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอพระคุณเจ้ากรุณาโปรดให้กระผม บวชเถิด ขอรับ เมื่ออุบาสกโสณกุฏิกัณณะกราบเรียนเช่นนี้แล้ว ท่านมหา กัจจานะได้กล่าวคำนี้กะอุบาสกโสณกุฏิกัณณะว่า โสณะ การประพฤติพรหมจรรย์ ซึ่งต้องนอนผู้เดียว บริโภคอาหารหนเดียวจนตลอดชีพ ทำได้ยากนักแล เอา เถอะ โสณะ จงเป็นคฤหัสถ์อยู่ในจังหวัดนี้แหละ แล้วประกอบตามพระ พุทธศาสนา ประกอบตามพรหมจรรย์ ซึ่งต้องนอนผู้เดียว บริโภคอาหารหน เดียว ควรแก่กาลเถิด.

คราวนั้น ความตั้งใจบรรพชาซึ่งได้เกิดแก่อุบาสกโสณกุฏิกัณณะนั้น สงบลงแล้ว.

แม้ครั้งที่สองแล อุบาสกโสณกุฏิกัณณะ ...

แม้ครั้งที่สามแล อุบาสกโสณกุฏิกัณณะได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะนมัสการแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง อุบาสกโสณกุฏิกัณณะนั่งอยู่ ณ ที่นั้นแล ได้กราบเรียนคำนี้กะท่านพระมหากัจจานะว่า ท่านขอรับ ด้วยวิธี

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 32

อย่างไรๆ กระผมจึงจะรู้ตัวถึงธรรมที่พระคุณเจ้าแสดงแล้ว อันบุคคลที่ยัง ครองเรือนอยู่จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดย ส่วนเดียวดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้ง่าย กระผมปรารถนาจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอพระคุณเจ้ากรุณาโปรดให้ กระผมบวชเถิด ขอรับ.

ครั้งนั้น ท่านพระมหากัจจานะให้อุบาสกโสณกุฏิกัถณะบรรพชาแล้ว.

ก็สมัยนั้น อวันตีชนบทอันทั้งอยู่แถบใต้ มีภิกษุน้อยรูป ท่านพระ มหากัจจานะจัดหาพระภิกษุสงฆ์แต่ที่นั้นๆ ให้ครบองค์ประชุมทสวรรคได้ยาก ลำบากท่อล่วงไปถึง ๓ ปี จึงอุปสมบทให้ท่านพระโสณะได้.

พระโสณเถระรำพึงแล้วอำลาเข้าเฝ้า

ครั้งนั้น ท่านพระโสณะจำพรรษาแล้ว ไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้ มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เราได้ ยินมาอย่างชัดเจนว่า เป็นผู้เช่นนี้และเช่นนี้ แต่เรามิได้เฝ้าต่อพระพักตร์ เรา ควรไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น. หากพระ อุปัชฌายะจะพึงอนุญาตแก่เรา ครั้นเวลาสายัณห์ ท่านออกจากที่หลีกเร้นแล้ว จึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้ว กราบเรียนว่าท่านขอรับ กระผมไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ได้มีความ ปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เราได้ยินมา อย่างชัดเจนว่า เป็นผู้เช่นนี้และเช่นนี้ แต่เรามิได้เฝ้าต่อพระพักตร์ เราควร ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น หากพระอุปัชฌายะจะพึงอนุญาตแก่เรา ท่านขอรับ กระผมจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น หากท่านพระอุปัชฌายะจะอนุญาตแก่ กระผม.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 33

อาณัติกพจน์ของพระอุปัชฌายะ ๕ ประการ

ท่านพระมหากัจจานะ กล่าวว่าดีละ ดีละ โสณะ จงไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น จักเห็นพระองค์ผู้น่าเลื่อมใส ผู้เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส มีพระอินทรีย์สงบ มีพระทัยสงบ ทรงถึงความ ฝึกกายและความสงบจิตอันสูงสุด ทรงทรมานแล้ว คุ้มครองแล้ว มีอินทรีย์อัน สำรวมแล้ว ผู้ไม่ทำบาป โสณะ ถ้าเช่นนั้น จงถวายบังคมพระยุคลบาท ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้าตามที่เราสั่งว่า ท่านพระมหากัจจานะ อุปัชฌายะของข้าพระพุทธเจ้า ถวายบังคม พระยุคลบาทของพระผู้มีพระ ภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้ และจงกราบทูลอย่างนี้ว่า :-

๑. พระพุทธเจ้าข้า อวันตีทักขิณาบถ มีภิกษุน้อยรูป ข้าพระพุทธเจ้าได้จัดหาภิกษุสงฆ์แต่ที่นั้นๆ ให้ครบองค์ประชุมทสวรรคได้ยากลำบาก นับแต่วันข้าพระพุทธเจ้าบรรพชาล่วงไป ๓ ปี จึงได้อุปสมบท ถ้ากระไรเฉพาะ ในอวันตีทักขิณาบถ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า พึงทรงอนุญาตอุปสมบทด้วย คณะสงฆ์น้อยรูปกว่านี้ได้.

๒. พระพุทธเจ้าข้า พื้นดินในอวันตีทักชิณาบถ มีดินสีคำมาก ขรุขระ ดื่นดาษด้วยระแหงกีบโค ถ้ากระไร เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ขอ พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตตรองเท้าหลายชั้น.

๓. พระพุทธเจ้าข้า คนทั้งหลายในอวันตีทักขิณาบถนิยมการอาบน้ำ ถือว่าน่าทำให้บริสุทธิ์ ถ้ากระไร เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ขอพระผู้มี พระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตการอาบน้ำได้เป็นนิตย์.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 34

๔. พระพุทธเจ้าข้า ในอวันตีทักขิณาบถ มีหนังเครื่องลาด คือ หนัง แกะ หนังแพะ หนังมฤค ในมัชฌิมชนบท มีหญ้าตีนกา หญ้าหางนกยูง หญ้าหนวดแมว หญ้าหางช้าง แม้ฉันใด ในอวันตีทักขิณาบถก็มีหนังเครื่อง ลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ฉันนั้น เหมือนกันแล ถ้ากระไร เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตหนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค.

๕. พระพุทธเจ้า เดี๋ยวนี้คนทั้งหลายฝากถวายจีวรเพื่อหมู่ภิกษุผู้อยู่ นอกสีมา ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายขอถวายจีวรผืนนี้ แก่ท่านผู้มีชื่อนี้ ดังนี้ ภิกษุผู้รับฝากมาบอกว่า อาวุโส คนทั้งหลายมีชื่อนี้ ถวายจีวรแก่ท่านแล้ว พวก ภิกษุผู้รับคำบอกเล่า รังเกียจไม่ยินดีรับ ด้วยคิดว่า พวกเราต้องการของ เป็นนิสสัคคีย์ ถ้ากระไร ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสชี้แจงในเรื่องจีวร.

พระโสณเถระเข้าเฝ้า

ท่านพระโสณะรับคำของท่านพระมหากัจจานะแล้วลุกจากอาสนะ อภิ- วาทท่านพระมหากัจจานะทำประทักษิณแล้วเก็บเสนาสนะ ถือบาตรจีวรเดินไป ทางที่จะไปพระนครสาวัตถี ถึงพระนครสาวัตถี พระวิหารเชตวันอารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี โดยลำดับ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อน อานนท์ เธอจงจัดเสนาสนะต้อนรับภิกษุอาคันตุกะรูปนี้ ท่านพระอานนท์จึง คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระบัญชาใช้เราเพื่อภิกษุรูปใดว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงจัดเสนาสนะต้อนรับภิกษุอาคันตุกะรูปนี้ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อม ปรารถนาจะประทับอยู่ในพระวิหารแห่งเดียวกับภิกษุรูปนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 35

ปรารถนาจะประทับอยู่ในพระวิหารแห่งเดียวกับท่านพระโสณะเป็นแน่ ดังนี้ จึง จัดเสนาสนะต้อนรับท่านพระโสณะ ในพระวิหารอันเป็นที่ประทับของพระผู้มี พระภาคเจ้า.

ถวายเทศน์ในพระวิหาร

[๒๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่แจ้งจนดึกจึงเสด็จ เข้าพระวิหาร แม้ท่านพระโสณะก็ยับยั้งอยู่ในที่แจ้งจนดึกจึงเข้าพระวิหาร ครั้น เวลาปัจจุสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตื่นพระบรรทมแล้วทรง อัชเฌสนาท่านพระโสณะว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจงกล่าวธรรมตามถนัด ท่านพระ โสณะกราบทูลสนองพระพุทธบัญชาว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า แล้วได้ สวดพระสูตรทั้งหลาย อันมีอยู่ในอัฏฐกวรรค จนหมดสิ้นโดยสรภัญญะ ครั้น จบสรภัญญะของท่านพระโสณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระปราโมทย์โปรด ประทานสาธุการว่า ดีละ ดีละ ภิกษุ สูตรทั้งหลายที่มีในอัฏฐกวรรคเธอเรียน มาดีแล้ว ทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงจำได้แม่นยำดี เธอเป็นผู้ประกอบด้วยวาจา ไพเราะเพราะพริ้ง ไม่มีโทษ ให้เข้าใจรู้ความได้แจ่มชัด เธอมีพรรษาต่ำไร ภิกษุ?

ท่านพระโสณะกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้ามีพรรษาเดียว พระพุทธ เจ้าข้า.

ภ. เพราะเหตุไร เธอจึงมัวประพฤติชักช้าเช่นนั้นเล่า ภิกษุ?

โส. ข้าพระพุทธเจ้าเห็นโทษในกามทั้งหลายนานแล้ว แต่เพราะ ฆาราวาสคับแคบ มีกิจมาก มีกรณียมาก จึงได้ประพฤติชักช้าอยู่ พระพุทธ เจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 36

ทรงเปล่งพระอุทาน

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความข้อนี้แล้ว จึงทรงเปล่ง พระอุทานนี้ ในเวลานั้น ว่าดังนี้:-

อารยชนเห็นโทษในโลก ทราบธรรมที่ ปราศจากอุปธิแล้ว ฉะนั้น จึงไม่ยินดีในบาป เพราะคนสะอาดย่อมไม่ยินดีในบาป.

กราบทูลอาณัติกพจน์ของพระอุปัชฌายะ ๕ ประการ

[๒๒] ลำดับนั้น ท่านพระโสณะคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลัง โปรดปรานเรา เวลานี้ควรกราบทูลถ้อยคำที่พระอุปัชฌายะของเราสั่งมา ดังนี้ แล้วลุกจากที่นั่ง ห่มจีวรเฉวียงบ่า หมอบลงที่พระบาทยุคลของพระผู้มี พระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า แล้วได้กราบทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ท่านพระมหากัจจานะอุปัชฌายะของข้าพระพุทธเจ้า ขอถวายบังคม พระยุคลบาทของพระองค์ด้วยเศียรเกล้า และสั่งให้ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูล อย่างนี้ว่า:-

๑. พระพุทธเจ้าข้า อวันตีทุกขิณาบถ มีภิกษุน้อยรูป ข้าพระพุทธเจ้าได้จัดหาภิกษุสงฆ์แต่นั้นๆ ให้ครบองค์ประชุมทสวรรคได้ยากลำบากนับ แต่วันที่ข้าพระพุทธเจ้าบรรพชาล่วงไป ๓ ปี จึงได้อุปสมบท ถ้ากระไร เฉพาะ ในอวันตีทักขิณาบถ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตอุปสมบท ด้วยคณะ สงฆ์น้อยรูปกว่านี้ได้.

๒. พระพุทธเจ้าข้า พื้นดินในอวันตีทักขิณาบถ มีดินสีดำมาก ขรุขระ ดื่มดาษด้วยระแหงกีบโค ถ้ากระไร เฉพาะในอวันตีทักิขิณาบถ ขอ พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตครองเท้าหลายชั้น.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 37

๓. พระพุทธเจ้าข้า คนทั้งหลา ในอวันตีทักขิณาบถนิยมการอาบน้ำ ถือว่าน้ำทำให้บริสุทธิ์ ถ้ากระไร เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตอาบน้ำได้เป็นนิตย์.

๔. พระพุทธเจ้าข้า ในอวันตีทักขิณาบถ มีหนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนึ่งมฤค ในมัชฌิมชนบท มีหญ้าตีนกา หญ้าหางนกยูง หญ้าหนวดแมว หญ้าหางช้าง แม้ฉันใด ในอวันตีทักขิณาบถก็มี หนังเครื่อง ลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้ากระไร เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตหนังเครื่อง ลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค.

๕ พระพุทธเจ้าข้า เดี๋ยวนี้คนทั้งหลายฝากถวายจีวรแก่หมู่ภิกษุผู้อยู่ นอกสีมา ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายขอถวายจีวรผืนนี้แก่ท่านผู้มีชื่อนี้ ดังนี้ ภิกษุผู้รับฝากมาบอกว่า อาวุโส คนทั้งหลายมีชื่อนี้ถวายจีวรแก่ท่านแล้ว พวก ภิกษุผู้ได้รับคำบอกเล่า รังเกียจไม่ยินดีรับคำบอกเล่า รังเกียจไม่ยินดีบอก เล่า รังเกียจไม่ยินดีรับ ด้วยคิดว่า พวกเราไม่ต้องการของเป็นนิสสัคคีย์ ถ้า กระไร ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสชี้แจงในเรื่องจีวร.

ทรงพุทธานุญาตพิเศษ

[๒๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้.

๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวันตีทักขิณาบถ มีภิกษุน้อยรูปเรา อนุญาตการอุปสมบทด้วยคณะสงฆ์มีวินัยธรเป็นที่ ๕ ได้ ทั่วปัจจันต๑ ชนบท.


๑. จังหวัดภายในเป็นศูนย์กลางของประเทศ.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 38

กำหนดเขตปัจจันตชนบทและมัชณิมชนบท

บรรดาชนบทเหล่านั้น ปัจจัยนทชนบท มีกำหนดเขต ดังนี้ :-

ในทิศบูรพามีนิคมชื่อกชังคละ ถัดนิคมนั้นมาถึงมหาสาลนคร นอก นั้นออกไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิม๑ ชนบท.

ในทิศอาคเนย์ มีแม่น้ำชื่อสัลลวตี นอกแม่น้าสัลลวตีนั้นออกไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท.

ในทิศทักษิณ มีนิคมชื่อเสตกัณณิกะ นอกนิคมนั้นออกไปเป็นปัจจันต ชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท.

ในทิศปัจฉิม มีพราหมณคามชื่อถูนะ นอกนั้นออกไป เป็นปัจจันต ชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท.

ในทิศอุคร มีภูเขาชื่ออุสีรธชะ นอกนั้นออกไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการอุปสมบท ด้วยคณะสงฆ์มีวินัยธร เป็นที่ ๕ ได้ ทั่วปัจจันตชนบทเห็นปานนี้.

๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พื้นดินในอวันตีทักขิณาบถ มีดินสีดำมาก ดื่นดาษด้วยระแหงกีบโค เราอนุญาตรองเท้าหลายชั้น ทั่วปัจจันตชนบท.

๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนทั้งหลายในอวันตีทักขิณาบถ นิยมการ อาบน้ำถือว่าน้ำทำให้บริสุทธิ์ เราอนุญาตการอาบน้ำได้เป็นนิตย์ทั่วปัจจันตชนบท.

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอวันตีทักขิณาบถ มีหนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ในมัชฌิมชนบท มีหญ้าตีนกา หญ้าหางนกยูง หญ้าหนวดแมว หญ้าหางช้าง แม้ฉันใด ในอวันตีทักขิณาบถ ก็มีหนังเครื่อง


๑. จังหวัดภายในเป็นศูนย์กลางของประเทศ.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 39

ลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ฉันนั้นเหมือนกันแล เราอนุญาต หนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ทั่วปัจจันตชนบท.

๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง คนทั้งหลายในโลกนี้ฝากถวายจีวรเพื่อ หมู่ภิกษุอยู่นอกสีมา ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุผู้มีชื่อ นี้ ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ยินดีได้ จีวรนั่นยังไม่ควรนับ ราตรีตลอดเวลาที่ ยังไม่ถึงมือ.

จัมมขัมธกะ ที่ ๕ จบ

ในขันธกะนี้มี ๖๓ เรื่อง

หัวข้อประจำขันธกะ

[๒๔] พระเจ้าแผ่นดินมคธ ทรงปกครองพลเมือง ๘๐,๐๐๐ ตำบล รับสั่งให้โสณเศรษฐีเข้าเฝ้า ๑ พระสาคตเถระแสดงอิทธิปาฏิหาริย์อันเป็นธรรม ยวดยิ่งของมนุษย์มากมาย ณ คิชฌกูฎบรรพต ๑ โสณเศรษฐีบุตรออกบวช และ ปรารภความเพียรเกินขนาด เดินจงกรมจนเท้าแตก ๑ เปรียบเทียบความเพียร ด้วยสายพิณ ๑ ทรงอนุญาตรองเท้าชั้นเดียว ๑ ทรงห้ามรองเท้าสีเขียว ๑ รอง เท้าสีเหลือง ๑ รองเท้าสีแดง ๑รองเท้าสีบานเย็น ๑ รองเท้าสีดำ ๑ รองเท้าสีแสด ๑ รองเท้าสีชมพู ๑ รองเท้ามีหูวิจิตร ๑ รองเท้าหุ้มส้น ๑ รองเท้าหุ้มแข้ง ๑ รอง เท้าที่ยัดด้วยนุ่น ๑ รองเท้าที่มีลายคล้ายขนปีกนกกระทา ๑ รองเท้าที่ทำหูงอนมี สัณฐานดุจเขาแกะ ๑ รองเท้าที่หูงอนมีสัณฐานดุจเขาแพะ ๑ รองเท้าที่ทำประกอบ หูงอนดุจหางแมลงป่อง ๑ รองเท้าที่เย็บด้วยขนปีกนกยูง ๑ รองเท้าที่วิจิตร ๑ รอง เท้าที่ขลิบด้วยหนังราชสีห์ ๑ รองเท้าที่ขลิบด้วยหนังเสือโคร่ง ๑ รองเท้าที่ขลิบ ด้วยหนังเสือเหลือง ๑ รองเท้าที่ขลิบด้วยหนังชะมด ๑ รองเท้าที่ขลิบด้วยหนังนาก

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 40

๑ รองเท้าที่ขลิบด้วยหนังแมว ๑ รองเท้าที่ขลิบด้วยหนังค่าง ๑ รองเท้าที่ขลิบ ด้วยหนังนกเค้า ๑ เท้าแตก ๑ สวมรองเท้าในวัด ๑ เท้าเป็นหน่อ ล้างเท้า ตอ ไม้และสวมเขียงเท้าเดินเสียงดังขฏะ ขฏะ ๑ เขียงเท้าสานด้วยใบตาล ๑ เขียง เท้าสานด้วยใบไผ่ ๑ เขียงเท้าสานด้วยหญ้า ๑ เชียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย ๑ เขียงเท้าสานด้วยหญ้าปล้อง ๑ เขียงเท้าสานด้วยใบเป้ง ๑ เขียงเท้าสานด้วย แฝก ๑ เขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ ๑ เขียงเท้าประดับด้วยทองคำและเงิน ๑ เขียง เท้าประดับด้วยแก้วมณี ๑ เขียงเท้าประดับด้วยแก้วไพฑูรย์ ๑ เขียงเท้าประดับ ด้วยแก้วผลึก ๑ เขียงเท้าทำด้วยทองสัมฤทธิ์ ๑ เขียงเท้าประดับด้วยกระจก ๑ เขียงเท้าทำด้วยดีบุก ๑ เขียงเท้าทำด้วยสังกะสี ๑ เขียงเท้าทำด้วยทองแดง ๑ จับโค ๑ ขี่ยานและภิกษุอาพาธ ๑ ยานเทียมด้วยโคตัวผู้ ๑ คานหาม ๑ ที่นั่ง และที่นอน ๑ หนังผืนใหญ่ ๑ หนังโค ๑ ภิกษุ ใจร้าย ๑ เตียงตั่งของพวกคฤหัสถ์ ที่หุ้มหนัง ๑ สวมรองเท้าเข้าบ้าน และภิกษุอาพาธ ๑ พระมหากัจจานะ ๑ พระโสณะ สวดสูตรอันมีอยู่ในอัฏฐกวรรค โดยสรภัญญะและพระพุทธเจ้า ผู้เป็นนายกได้ทรงประทานพร ๕ อย่างนี้ แก่พระโสณะเถระ คือ อนุญาตสงฆ์ ปัญจวรรคทำการอุปสมบทได้ ๑ สวมรองเท้าหลายชั้นได้ ๑. อาบน้ำได้เป็น นิคย์ ๑ ใช้หนังเครื่องลาดได้ ๑ ทายกถวายจีวร เมื่อยังไม่ถึงมือภิกษุ ยังไม่ต้อง นับราตรี ๑.

หัวข้อประจำขันธกะ จบ

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 41

อรรถกถาจัมมขันธกะ

เรื่องพระโสณโกลิวิสเถระ

บทว่า อิสฺสราธิปจฺจํ ได้แก่ ประกอบด้วยอิสรภาพและความเป็น ใหญ่ยิ่ง.

บทว่า รชฺชํ ได้แก่ ความเป็นพระราชา หรือกิจที่พระราชาจะพึง ทรงทำ.

วินิจฉัยในข้อว่า โสโณ นาม โกลิวิโส นี้ พึงทราบดังนี้.

คำว่า โลณะ เป็นชื่อของเศรษฐีบุตรนั้น คำว่า โกลิวิสะ เป็นโคตร.

สองบทว่า ปาทตเลสุ โลมานิ มีความว่า ที่ฝ่าเท้าทั้งสองของ เศรษฐีบุตรนั้นแดง มีขนอันละเอียดมีสีคล้ายดอกอัญชัน งดงามดังนายช่าง ได้ตกแต่งแล้ว.

ได้ยินว่า ในกาลก่อน โสณเศรษฐีบุตรนั้น ได้เป็นหัวหน้าของบุรุษ แปดหมื่นคน พร้อมด้วยบุรุษเหล่านั้น ช่วยกันสร้างบรรณศาลาในสถานที่อยู่ ของพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้ววางผ้าปาวารขนสัตว์อย่างงามของคนทำให้เป็น ผ้าเช็ดเท้า ในสถานเป็นที่เหยียบด้วยเท้าของพระปัจเจกพุทธเจ้า. และทุกๆ คนได้อุปัฏฐากพระปัจเจกพุทธเจ้าตลอดไตรมาส นี้เป็นความประกอบ บุพกรรมของโสณเศรษฐีบุตรนั้นกับบุรุษแปดหมื่นคนเท่านั้น.

บทว่า คามิกสหสฺสานิ ได้แก่ กุลบุตรแปดหมื่น ซึ่งอยู่ในบ้าน เหล่านั้น.

สองบทว่า เกนจิเทว กรณีเยน มีความว่า คล้ายกับมีราชกิจอะไรๆ ที่ควรทำ. แต่ราชกิจเล็กน้อยที่ควรทำของท้าวเธอก็หามีไม่นอกจากเพื่อต้อง การทอดพระเนตรตัวเขา.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 42

ได้ยินว่า พระราชาเมื่อจะให้กุลบุตรทั้งแปดหมื่นนั้น ประชุมกัน ได้ให้ ประชุมกันแล้วด้วยทรงเห็นอุบายว่า ด้วยอุบายอย่างนี้ โสณะจะไม่ระแวง จักมา.

สองบทว่า ทิฏฺธมฺมิเก อตฺเถ มีความว่า พระเจ้าพิมพิสารทรง อนุศาสน์ประโยชน์ซึ่งเกื้อกูลในโลกนี้ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า การงานทั้งหลาย มีกสิกรรมและพาณิชยกรรมเป็นต้น ควรทำตามธรรม มารดาบิดาควรเลี้ยง ตามธรรม

สามบทว่า โส โน ภควา มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ทั้งหลายนั้น จักทรงพร่ำสอนท่านทั้งหลายในประโยชน์ซึ่งเป็นไปในสัมปราย ภพ.

สองบทว่า ภควนฺตํ ปฏิเวเทมิ มีความว่า เราจะทูลพระผู้มีพระ ภาคเจ้าให้ทรงทราบ.

สองบทว่า ปาฏิกาย นิมฺมุชฺชิตฺวา มีความว่า ดำลงในศิลาคล้าย อัฒจันทร์ในภายใต้แห่งบันได.

หลายบทว่า ยสฺสทานิ ภนฺเต ภควา กาลํ มฌฺติ มีความว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอยู่ซึ่งกาลแห่งประโยชน์ เพื่อทำความเกื้อกูล ไรเล่าแก่ชนชาวบ้านเหล่านั้น.

บทว่า วิหารปฺปจฺฉายายํ ได้แก่ ในร่มเงาที่ท้ายวิหาร.

บทว่า สมนฺนาหรนฺติ ได้แก่ ทำในใจบ่อยๆ ด้วยอำนาจความ เลื่อมใส.

สองบทว่า ภิยฺโยโส มตฺตาย มีความว่า ท่านจงแสดงอิทธิปาฏิ- หาริย์วิเศษกว่าอีก โดยประมาณยิ่งเถิด.

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 43

บทว่า อนฺตรธายติ ได้แก่ เป็นรูปที่มองไม่เห็น.

สองบทว่า โลหิเตน ผุฏฺโฐ ได้แก่ เป็นที่จงกรมซึ่งเปื้อนเลือด.

บทว่า ควาฆาตนํ มีความว่า เป็นเช่นกับสถานที่ฆ่าโคทั้งหลาย.

บทว่า กุสโล ได้แก่ ผู้ฉลาดในการดีดพิณ.

สองบทว่า วีณาย ตนฺติสฺสเร ได้แก่ เสียงแห่งสายพิณ.

บทว่า อจฺจายิกา ได้แก่ เป็นสายที่ขึงตึงนัก คือกวดเขม็งนัก

บทว่า สรวตี ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยเสียง.

บทว่า กมฺมุญฺา ได้แก่ ควรแก่การงาน.

บทว่า อติสิถิลา ได้แก่ เป็นสายที่หย่อนนัก.

สามบทว่า สเม คุเณ ปตฏฺฐิตา ได้แก่ ขึงกะให้เสียงเป็นกลางๆ.

สองบทว่า วิริยสมถํ อธิฏฺาฐาหิ มีความว่า ท่านจงอธิษฐานสมถะ อันสัมปยุตด้วยความเพียร, อธิษฐานว่า จงประกอบด้วยความสงบเนื่องด้วย ความเพียร.

สามบทว่า อินฺทฺริยานญฺจ สมตํ ปฏิวิชฺฌ มีความว่า จงทราบ ข้อที่อินทรีย์ทั้งหลายมีสัทธาเป็นต้น ต้องเป็นของเสมอๆ กัน คือเท่าๆ กัน คือจงเข้าใจข้อที่อินทรีย์ทั้งหลายที่คนประกอบอยู่ บรรดาอินทรีย์เหล่านั้น สัทธาและปัญญา และปัญญากับสัทธา ความเพียรกับสมาธิ และสมาธิกับ ความเพียร ต้องพอดีๆ กัน.

ข้อว่า ตตฺถ จ นิมิตฺตํ คณฺหาหิ มีความว่า เมื่อความสม่ำ เสมอกันนั้นมีอยู่, นิมิตเป็นราวกะเงาในกระจกพึงเกิดขึ้น ท่านจงถือเอา นิมิตนั้น คือ สมถนิมิต วิปัสสนานิมิต มรรคนิมิต ผลนิมิต ความว่า จง ให้นิมิตนั้นเกิด.

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 44

สองบทว่า อญฺํ พฺยากเรยฺยํ มีความว่า เราพึงให้พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบว่า เราเป็นอรหันต์.

บทว่า ฉฏฺฐานานิ ได้แก่เหตุ ๖ ประการ.

สองบทว่า อธิมุตฺโจ โหติ มีความว่า เป็นผู้ตรัสรู้ คือทำให้ ประจักษ์แล้วดำรงอยู่.

บททั้งปวงว่า เนกฺขมฺมาธิมุตฺโต เป็นต้น พระโสณโกลิวิสะกล่าว ด้วยอำนาจพระอรหัต. จริงอยู่ พระอรหัต เรียกว่าเนกขัมมะ เพราะออกจาก กิเลสทั้งปวง เรียกว่าวิเวก เพราะสงัดจากกิเลสเหล่านั้นเอง, เรียกว่าความไม่ เบียดเบียน เพราะไม่มีความเบียดเบียน, เรียกว่าความสิ้นตัณหา เพราะเกิด ขึ้นในที่สุดแห่งความสิ้นตัณหา, เรียกว่าความสิ้นอุปาทาน เพราะเกิดในที่สุด แห่งความสิ้นอุปาทาน, เรียกว่าความไม่หลงงมงาย เพราะไม่มีความหลงงมงาย.

สองบทว่า เกวลํ สทฺธามตฺตกํ มีความว่า ท่านผู้มีอายุนี้อาศัย คุณมาตรว่าศรัทธาล้วนๆ ปราศจากปฏิเวธ คือไม่เจือปนระคนด้วยปัญญา เครื่องตรัสรู้.

บทว่า ปฏิจยํ ได้แก่ เจริญด้วยทำซ้ำซาก.

บทว่า วีตราคตตา ได้แก่ เป็นผู้ตรัสรู้พระอรหัตกล่าวคือ เนกขัมมะ แล้วดำรงอยู่ เพราะราคะเป็นกิเลสไปปราศแล้วด้วยตรัสรู้มรรคนั่นเอง อธิบาย ว่า อยู่ด้วยธรรมสำหรับอยู่คือผลสมาบัติ คือเป็นผู้มีใจน้อมไปในผลสมบัตินั้น แม้ในบทที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า ลาภสกฺการสิโลกํ ได้แก่ ความได้ปัจจัยสี ๑ ความที่ ปัจจัยสี่เหล่านั้นและเขาทำดีต่อ ๑ ความกล่าวเยินยอ ๑.

บทว่า นิกามยมาโน ได้แก่ ต้องการ คือปรารถนา.

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 45

บทว่า ปวิเวกาธิมุตฺโต มีความว่า พยากรณ์อรหัตอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าน้อมไปในวิเวก.

บทว่า สีลพฺพตปรามาสํ ได้แก่ สักว่าความถือที่ถืออิงศีลและพรต.

บทว่า สารโต ปจฺจาคจฺฉนฺโต ได้แก่ ทราบอยู่โดยความเป็น แก่นสาร.

บทว่า อพฺยาปชฺฌาธิมุตฺโต มีความว่า พยากรณ์อรหัตซึ่งหาความ เบียดเบียนมิได้. เนื้อความในวาระทั้งปวง พึงทราบโดยนัยนี้.

บทว่า ภุสา ได้แก่ มีกำลัง.

หลายบทว่า เนวสฺสา จิตฺตํ ปริยาทิยนฺติ มีความว่า อารมณ์ เหล่านั้น ไม่สามารถจะยืดจิตของพระขีณาสพนั้นตั้งอยู่ได้.

บทว่า อมิสฺสีกตํ มีความว่า จิตของท่านอันอารมณ์ทำไห้เจือด้วย กิเลสไม่ได้. อธิบายว่า อารมณ์ทั้งหลาย่อมทำจิตให้เป็นธรรมชาติเจือกับ กิเลสทั้งหลาย เพราะไม่มีกิเลสเหล่านั้น จิตของท่านจึงชื่อว่าอันอารมณ์ทำให้ เจือด้วยกิเลสไม่ได้.

บทว่า ิตํ ได้แก่ ตั้งมัน.

บทว่า อเนญฺชปฺปตฺตํ ได้แก่ ถึงความไม่หวั่นไหว.

บทว่า วยญฺจสฺสานุปสฺสติ ได้แก่ เห็นทั้งควานเกิด ทั้งความดับ แห่งจิตนั้น.

สองบทว่า เนกฺขมฺมํ อธิมุตฺตสฺส ได้แก่ ตรัสรู้พระอรหัตทั้งอยู่. พระอรหัตนั่นเอง พระโสณโกลิวิสเถระ กล่าวแล้วแม้ด้วยบทที่เหลือทั้งหลาย.

บทว่า อุปาทานกฺขยสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในอรรถแห่งทุคติยาวิภัตติ.

สองบทว่า อสมฺโมหญฺจ เจตโส ได้แก่ และความไม่หลงงมงาย แห่งจิต. ภิกษุนั้นน้อมไปแล้วด้วย.

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 46

สองบทว่า ทิสฺวา อายตนุปฺปาทํ ได้แก่ เห็นความเกิดและความ ดับแห่งอายตนะทั้งหลาย.

หลายบทว่า สมฺมา จิตฺตํ วิมุจฺจติ มีความว่า จิตย่อมหลุดพ้น ด้วยอำนาจผลสมาบัติ เพราะข้อปฏิบัติเครื่องเห็นแจ้งนี้ โดยชอบคือตามเหตุ ตามนัย ได้แก่ น้อมไปในนิพพานเป็นอารมณ์.

บทว่า สนฺตจิตฺตสฺส ได้แก่ มีจิตเยือกเย็น.

บทว่า ตาทิโน คือจัดว่าผู้คงที่ เพราะไม่หวั่นไหว ด้วยความยินดี ยินร้าย ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์.

สองบทว่า อญฺํ พฺยากโรนฺติ ได้แก่ พยากรณ์อรหัต.

สองบทว่า อตฺโถ จ วุตฺโต มีความว่า ตนอันผู้อื่นจะทราบว่า เป็นอรหันต์ ด้วยเนื้อความใด เนื้อความนั้น อันกุลบุตรทั้งหลายกล่าวแล้ว. ส่วนเนื้อความแห่งสูตร พึงถือเอาจากวรรณนาแห่งสุตตันตะเถิด.

สองบทว่า อตฺตา จ อนุปนีโต มีความว่า ทั้งไม่น้อมตนเข้าไป ด้วยอำนาจพยัญชนะอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าเป็นอรหันต์.

หลายบทว่า อถ จ ปนิเธกจฺเจ โมฆปุริสา มีความว่า ฝ่ายบุรุษ เปล่าเหล่าอื่น ทำที่เหมือนสนุก พยากรณ์อรหัตตผลซึ่งไม่มีเลย ทำให้มีด้วยเหตุ สักว่าถ้อยคำ.

ว่าด้วยรองเท้า

บทว่า เอกปลาสิกํ ได้แก่ ชั้นเดียว.

วินิจฉัยในคำว่า อสีติสกฏวาเห นี้ พึงทราบดังนี้:-

สองเล่มเกวียน พึงทราบว่าเป็นหนึ่งวาหะ.

วินิจฉัยในคำว่า สตฺตหตฺถิกญฺจ อนีกํ นี้ พึงทราบดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 47

ปริมาณนี้คือ ช้างพัง ๖ เชือก กับช้างพลาย ๑ เชือก เป็นอนีกะหนึ่ง ๗ อนีกะเช่นนี้ ชื่อว่า สัตตหัตถิกอนีกะ.

บทว่า ทิคุณา ได้แก่ ๒ ชั้น.

บทว่า ติคุณา ได้แก่ ๓ ชั้น รองเท้ามีชั้นตั้งแต่ ๔ ชั้นขึ้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า รองเท้าหลายชั้น.

บทว่า สพฺพนีลกา ได้แก่ เขียวล้วนทีเดียว. แม้ในสีท่างๆ มี เหลืองล้วนเป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกัน. ก็บรรดารองเท้าสีเหล่านั้น รองเท้า เขียวคราม มีสีคล้ายสีดอกผักตบ รองเท้าเหลืองมีสีคล้ายดอกกรรณิการ์ รองเท้าแดง มีสีคล้ายดอกชบา รองเท้าแดงสำลาน คือแดงอ่อน มีสีคล้ายฝาง รองเท้าดำ มีสีคล้ายสีลูกประคำดีควาย รองเท้าแดงเข้ม มีสีคล้ายหลังตะขาบ รองเท้าแดงกลายๆ มีสีเจือกัน คล้ายสีใบไม้เหลือง, แต่ในกุรุนทีแก้ว่ามีสีคล้าย ดอกบัวหลวง. บรรดารองเท้าเหล่านี้ ภิกษุได้ชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว เอาผ้าเช็ค น้ำยาทำลายสีเสียแล้วสวม ควรอยู่. แม้ทำลายสีเสียเพียงเล็กน้อย ก็ควร เหมือนกัน.

บทว่า นีลวทฺธิกา ได้แก่ รองเท้าที่มีหูเท่านั้นเขียว. แม้ในสีทั้งปวง มีสีเหลืองเป็นต้น มีนัยเหมือนกัน. แม้รองเท้าที่มีหูเขียวเป็นต้น เหล่านั้น ก็พึงทำลายสีเสียแล้วจึงค่อยสวม.

บทว่า ขลฺลกพทฺธา ได้แก่ รองเท้าที่ทำติดแผ่นหนังที่พื้นขึ้นมา เพื่อปิดส้น. รองเท้าของชาวโยนกเรียกว่า รองเท้าหุ้มเป็นกระบอกได้แก่ รองเท้าที่ปิดเท้าทั้งหมดจนถึงแข้ง.

บทว่า ปาลิคุณฺิมา ได้แก่ รองเท้าที่หุ้มหลังเท้า ปิดแค่เพียงบน หลังเท่านั้น ไม่ปิดแข้ง.

บทว่า ตูลปุณฺณิกา ได้แก่ รองเท้าที่ทำยัดด้วยปุยนุ่น.

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 48

บทว่า ติตฺติรปตฺติกา ได้แก่รองเท้าที่มีหูงดงาม เช่นกับปีกนกกระทา.

บทว่า เมณฺฑวิสาณวทฺธิกา ได้แก่ รองเท้าที่ทำประกอบหูมี สัณฐานคล้ายเขาแกะ ที่ปลายเชิงงอน แม้ในรองเท้าที่มีหูดังเขาแพะเป็นต้น ก็ นัยนี้แล.

บทว่า วิจฺฉิกาฬิกา ได้แก่ รองเท้าที่ทำประกอบหูมีสัณฐานดังหาง แมลงป่อง ที่ปลายเชิงงอนนั้นเอง.

บทว่า โมรปิฺชปริสิพฺพิตา ได้แก่ รองเท้าที่เย็บที่ฟื้นก็ดี ที่หู ก็ดี ด้วยขนปีกนกยูงต่างด้าย. บทว่า จิตฺรา ได้แก่ รองเท้าที่งดงามต่างๆ. แม้ในรองเท้าเหล่านั้น ภิกษุได้ชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว ถ้าเป็นของที่อาจเอาสิ่งที่ไม่ควรเหล่านั้น เป็นต้น ว่า หนังหุ้มส้นออกเสียได้ พึงเอาออกเสียแล้วใช้เถิด. แต่เมื่อสิ่งที่ไม่ควร มีหนังหุ้มส้นเป็นต้นนั้น ยังมีอยู่ เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ใช้. รองเท้าที่ทำประกอบ หนังราชสีห์ที่ริมโดยรอบเหมือนติดอนุวาตในจีวร ชื่อว่า รองเท้าขลิบด้วย หนังราชสีห์.

บทว่า อุลูกจมฺมปริกฺขตา ได้แก่ รองเท้าที่ขลิบด้วยหนังนกเค้าแมว ถึงในรองเท้าเหล่านี้ ชนิคใดชนิดหนึ่ง พึงเอาหนังนั้นออกแล้วสวมเถิด.

บทว่า โอมุกฺกํ ได้แก่ สวมแล้วถอดออก.

บทว่า นวา ได้แก่ ยังมิได้ใช้.

บทว่า อภิชีวนิกสฺส มีความว่า คฤหัสถ์ทั้งหลาย ย่อมเป็นอยู่ เฉพาะ คือสำเร็จการเลี้ยงชีวิต ด้วยศิลปะใด มีความเคารพในอาจารย์เพราะ เหตุแห่งศิลปะนั้น.

ในคำว่า อิธ โข ตํ ภิกฺขเว นี้. บทว่า ตํ เป็นเพียงนิบาตความ ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ... พึงงามในธรรมวินัยนี้แล.

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 49

สองบทว่า ยํ ตุมฺเห ได้แก่ เย ตุมฺเห อีกอย่างหนึ่ง มีคำอธิบาย ว่า ยทิ ตุมฺเห จริงอยู่ นิบาต คือ ยํ ใช้ในอรรถแห่ง ยทิ ศัพท์.

วินิจฉัยในคำว่า อาจริเยสุ เป็นอาทิ เฉพาะอาจารย์ ๔ พวกนี้ คือ บรรพชาจารย์ อุปสัมปทาจารย์ นิสสยาจารย์ อุทเทสาจารย์ จัดเป็นอาจารย์ แท้ในบทว่า อาจริเยสุ นี้. ภิกษุมีพรรษา ๖ พอเป็นอาจารย์ของภิกษุผู้ ไม่มีพรรษาได้. ด้วยว่า ภิกษุผู้ไม่มีพรรษานั้นจักอาศัยเธออยู่ในกาลที่ตนมี พรรษา ๔, ด้วยประการอย่างนี้ แม้ภิกษุเหล่านี้ จัดว่าผู้พอเป็นอาจารย์ได้แท้ คือ ภิกษุผู้มีพรรษา ๗ พอเป็นอาจารย์ของภิกษุพรรษาเดียวได้, ผู้มีพรรษา ๘ พอเป็นอาจารย์ผู้มีพรรษา ๒ ได้, ผู้มีพรรษา ๙ พอเป็นอาจารย์ของผู้ มีพรรษา ๓ ได้ ผู้มีพรรษา ๑๐ พอเป็นอาจารย์ของผู้มีพรรษา ๔ ได้ผ่ายภิกษุ ผู้เป็นเพื่อนเห็น เพื่อนคบของอุปัชฌาย์ก็ดี, ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ ใหญ่กว่า ๑๐ พรรษาก็ดี ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่าผู้ปูนอุปัชฌาย์. เมื่อภิกษุ ทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ ไม่สวมรองเท้าก้าวเดินอยู่ ย่อมเป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้สวมรองเท้าก้าวเดิน. ที่ชื่อว่าอาพาธเป็นหน่อที่เท้าได้แก่เนื้อคล้ายเดือย เป็น ของยื่นออกจากพื้นเท้า.

ว่าด้วยเขียงเท้า

บทว่า ติณปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยหญ้าชนิดใดชนิดหนึ่ง.

บทว่า หินฺตาลปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยใบเป้ง เขียงเท้า ที่ทำแล้ว แม้ด้วยใบเต่าร้าง ไม่ควรเหมือนกัน.

บทว่า กมลปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยหญ้าที่ชื่อว่า กมลวรรณ พระอาจารย์บางพวกกล่าวว่า เขียงเท้าที่ทำด้วยแฝก ดังนี้ก็มี.

บทว่า กมฺพลปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยขนเจียม.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 50

บทว่า อสงฺกมนียาโย ได้แก่ เขียงเท้าที่ตั้งไว้เป็นอันดีบนพื้นไม่ คลอน เคลื่อนที่ไม่ได้.

ว่าด้วยยาน

สองบทว่า องฺคชาตํ ฉุปนฺติ ได้แก่ ถูกองคชาตด้วยองคชาตนั่น เอง.

สองบทว่า โอคาเหตฺวา มาเรนฺติ ได้แก่ ยึดไว้แน่นให้ตายภายใน น้ำ.

บทว่า อิตฺถียุตฺเตน ได้แก่ เทียมด้วยโคตัวเมีย.

บทว่า ปุริสนฺตเรน ได้แก่ มีบุรุษเป็นสารถี.

บทว่า ปุริสยุตฺเตน ได้แก เทียมด้วยโคผู้.

บทว่า อิตฺถนฺตเรน ได้แก่ มีสตรีเป็นสารถี.

บทว่า คงฺคามหิยาย ได้แก่ การกีฬาในแม่น้ำคงคาและแม่น้ามหี.

วินิจฉัยในข้อว่า ปุริสยุตฺตํ หตฺถวฏฺฏกํ นี้ พึงทราบดังนี้:- ยานที่เทียมด้วยโคผู้ จะมีสตรีเป็นสารถี หรือมีบุรุษเป็นสารถีก็ตาม, ควร. ส่วนยานที่ลากไปด้วยมือ สตรีลาก หรือบุรุษลากก็ตาม, ควรเหมือน กัน.

บทว่า ยานุคฺฆาเตน มีความว่า กายทั้งปวง ของภิกษุนั้นย่อม สั่นคลอน เพราะความเหวี่ยงไปแห่งยาน ความไม่สำราญ ย่อมเสียดแทงเพราะ ปัจจัยนั้น.

บทว่า สิวิกํ ได้แก่ คานหามมีตั่งนั่ง.

บทว่า ปาฏงฺกึ ได้แก่ เปลผ้าที่เขาผูกติดกับไม้คาน.

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 51

ว่าด้วยอุจจาสยนะและมหาสยนะ

วินิจฉัยในข้อว่า อุจฺจาสยนมหาสยนานิ นี้ พึงทราบดังนี้:-

ที่นอนสูงนั้น ได้แก่ เตียงที่เกินประมาณ; ที่นอนใหญ่นั้นได้แก่ เครื่องลาดเป็นอกัปปิยะ.

ในอาสันทิเป็นต้น อาสันทิ นั้น ได้แก่ ที่นั่งอันเกินประมาณ บัลลังก์ นั้น ได้แก่ ที่นั่งที่เขาทำรูปสัตว์ร้ายติดไว้ที่เท้า.

โคณกะ นั้น ได้แก่ ผ้าโกเชาว์ ผืนใหญ่มีขนยาว. ได้ยินว่าขนผ้า แห่งโกเชาว์นั้น ยาวเกินสี่นิ้ว.

จิตตกะ นั้น ได้แก่ เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะซึ่งวิจิตรด้วยรูป สัตว์ร้าย

ปฏิกา นั้น ได้แก่ เครื่องลาดขาว ทำด้วยขนแกะ.

ปฏลิกา นั้น ได้แก่ เครื่องลาดทำด้วยขนแกะ มีลายดอกไม้แน่น เนื่องกัน เรียกกันว่า ผ้าชาวโยนก ผ้าคนทมิฬ.

ตูลิกา นั้น ได้แก่ ฟูกที่ยัดนุ่นตามปกตินั่นเอง.

วิกติกา นั้น ได้แก่ เครื่องลาดทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยรูปราชสีห์ และเสือโคร่งเป็นต้น.

อุทฺธโลมี นั้น ได้แก่ เครื่องลาดทำด้วยขนแกะ มีขนขึ้นข้างเดียว ปาฐะว่า อุทฺธํโลมี ก็มี.

เอกันตโลมี นั้น ได้แก่ เครื่องลาดทำด้วยขนแกะ มีขนขึ้นทั้ง สองข้าง

กฏิสสะ นั้น ได้แก่ เครื่องปูนอนที่ทอด้วยด้ายทองแกมไหมขลิบ ด้วยทอง.

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 52

โกเสยยะ นั้น ได้แก่ ผ้าปูที่นอนที่ทอด้วยเส้นไหมขลิบด้วยทอง: แต่เป็นไหมล้วนใช้ได้.

กุตตกะ นั้น ได้แก่ เครื่องปูนอนที่ทำด้วยขนแกะ ใหญ่พอนางฟ้อน ๑๖ คนยืนรำได้.

หัตถัตถระ และ อัสสัตถระ ได้แก่ เครื่องลาดบนหลังช้างและ หลังม้านั้นเอง. และในรถัตถระ ก็มีนัยเหมือนกัน.

อชินปเวณิ นั้น ได้แก่ เครื่องลาดที่ทำเป็นชั้น ซึ่งเย็บซ้อนกัน ด้วยหนังเสือ โดยขนาดเท่าตัวเตียง.

กทลีมิคปวรปัจจัตถรณะ นั้น ได้แก่ เครื่องปูนอนอย่างดีที่สุด. ได้ยินว่า ชนทั้งหลายทาบหนังชะมดบนผ้าขาวแล้วเย็บติดกัน ทำเป็นเครื่อง ลาดนั้น.

สอุตตรัจฉทัง นั้น ได้แก่ ที่นอนที่มีเพดาน ข้างบนพร้อม อธิบายว่า ที่นอนที่พร้อมด้วยเพดานแดงซึ่งติดไว้ข้างบน. ถึงมีเพดานขาว เมื่อมีเครื่องลาดที่เป็นอกัปปิยะอยู่ข้างใต้ ย่อมไม่ควร แต่เมื่อไม่มี ควรอยู่.

อุภโตโลหิตกุปธานะ นั้น ได้แก่ ที่นอนมีหมอนแดงสองข้าง แห่งเตียง คือ หมอนศีรษะหนึ่ง หมอนหนุนเท้าหนึ่ง ที่นอนชนิดนี้ไม่ควร. แต่ว่า หมอนใดลูกเดียวเท่านั้น ที่หน้าสองข้างจะแดงก็ตาม มีสีดังดอกบัวหลวง ก็ตาม วิจิตรก็ตาม ถ้าประกอบด้วยประมาณ หมอนนั้น ย่อมควร. ส่วน หมอนใหญ่ทรงห้าม.

ทีปิจฉาปะ ได้แก่ ลูกเสือเหลือง.

บทว่า โอคุมฺผิยนฺติ มีความว่า ขนทั้งหลายใช้เชือกหนังร้อยผูกที่ พรึงรองฝาเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 53

บทว่า อภินิสีทิตํ มีความว่า (เราอนุญาต) เพื่อภิกษุนั่งทับ คือ พิงได้.

วินิจฉัยในข้อว่า คิลาเนน ภิกฺขุนา สอุปาหเนน นี้ พึงทราบ ดังนี้:-

ภิกษุใดจัดว่าผู้อาพาธไม่สวมรองเท้า ไม่สามารถจะเข้าบ้านได้.

เรื่องพระโสณกุฏิกัณณะ

บทว่า กุรรฆเร ได้แก่ ในเมืองมีชื่ออย่างนั้น, โคจรตามของพระมหากัจจายนะนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ กล่าวด้วยบทว่า กุรรฆเร นั้น.

สองบทว่า ปปาเต ปพฺพเต ได้แก่ ที่ภูเขาปปาต. สถานเป็นที่ อยู่ของท่าน พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวด้วยสองบทว่า ปปาเต ปพฺพเต นั้น.

คำว่า โสณะ เป็นชื่อของอุบาสกนั้น. ก็และอุบาสกนั้นทรงเครื่อง ประดับหูมีราคาโกฏิหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงเรียกกันว่า กุฏิกัณณะ ความว่า โกฏิกัณณะ.

บทว่า เอกเสยฺยํ ได้แก่ การนอนของบุคคลผู้เดียว ความว่า พรหมจรรย์ ประกอบด้วยการเป็นที่ประกอบความเพียรเนืองๆ.

บทว่า ปาสาทิกํ ได้แก่ ให้เกิดความเลื่อมใส.

บทว่า ปสาทนียํ นี้ เป็นคำกล่าวซ้ำเนื้อความของบทว่า ปาสาทิกํ นั้นแล.

บทว่า อุตฺตมทมถสมถํ ได้แก่ ความฝึกและความสงบคือปัญญาและ สมาธิอันอุดม, ความว่า ความสงบกายและสงบจิตดังนี้ ก็ได้.

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 54

บทว่า ทนฺตํ มีความว่า ชื่อว่าผู้ทรมานแล้ว เพราะกิเลสเครื่องดิ้นรน ซึ่งเป็นช้าศึกทั้งปวงเป็นของเด็ดขาดไปแล้ว, อธิบายว่า ผู้สิ้นกิเลสแล้ว.

บทว่า คุตฺตํ ได้แก่ ผู้คุ้มครองแล้วด้วยความป้องปก คือความ ระวัง.

บทว่า ยตินฺทฺริยํ ได้แก่ ทรงชนะอินทรีย์แล้ว.

บทว่า นาคํ ได้แก่ ผู้เว้นจากบาป, ความว่า ผู้ปราศจากกิเลส.

หลายบทว่า ตุณฺณํ เม วสฺสานํ อจฺจเยน มีความว่า ต่อล่วงไป สามเดือนจำเติมแต่วันบรรพชาของข้าพเจ้า.

สองบทว่า อุปสมฺปทํ อลตฺถํ ความว่า ข้าพเจ้าจึงได้อุปสมบท.บทว่า กณฺหุตฺตรา ได้แก่ มีดินดำยิ่งนัก, ความว่า มีดินดำเป็น ก้อนนูนขึ้น.

บทว่า โคกณฺฏกหตา คือ เป็นภาคพื้นที่ถูกทำให้เสียด้วยระแหง กีบโคซึ่งตั้งขึ้นจากพื้นที่ถูกกีบโคเหยียบ. ได้ยินว่า รองเท้าชั้นเดียวไม่อาจ กันระแหงกีบโคเหล่านั้นได้, พื้นแผ่นดินเป็นของแข็งขรุขระด้วยประการดังนี้.

ติณชาติมีอยู่ ๔ อย่างเหล่านี้ คือ เอรคุ คือหญ้าตีนกา ๑ โมรคุ คือหญ้า หางนกยูง ๑ มัชชารุ คือหญ้าหนวดแมว ๑ ชันตุ คือหญ้าหางช้าง ๑ ชนทั้ง หลายย่อมทำเสื่อลำแพนและเสื่ออ่อนด้วยหญ้าเหล่านี้.

บรรดาติณชาติ ๔ ชนิดนั้น หญ้าเอรคุนั้น ได้แก่หญ้าทราย; หญ้าทราย นั้นเป็นของหยาบ; หญ้าโมรคุมียอดสีแดงละเอียดอ่อน มีสัมผัสสบาย; เสื่อที่ ทำด้วยหญ้าโมรคุนั้น เมื่อนอนแล้วพอลุกขึ้นเป็นของฟูขึ้นอีกได้. ชนทั้งหลาย ย่อมทำแม้ซึ่งผ้าสาฎกด้วยหญ้ามัชชารุ; หญ้าชันตุมีสีคล้ายแก้วมณี.

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 55

สองบทว่า เสนาสนํ ปญฺาเปสิ มีความว่า พระอานนท์ผู้มีอายุ ได้ปูฟูกหรือเสื่อลำแพน. ก็แลครั้นปูแล้วจึงบอกแก่พระโสณะว่า ผู้มีอายุ พระ ศาสดามีพระประสงค์จะอยู่ในที่มุงที่บังอันเดียวกับท่าน, เสนาสนะสำหรับท่าน เราจัดไว้แล้ว ในพระคันธกุฏีนั่นเอง.

หลายบทว่า ปฏิกาตุ ตํ ภิกฺขุ ธมฺโม ภาสิตุ. มีความว่าธรรมจง รับหน้าที่ต่อญาณ กล่าวคือปฏิญาณ เพื่อสวด.

บทว่า อฏฺกวคฺคิกานิ๑ มีความว่า พระโสณะผู้มีอายุได้สวด พระสูตร ๑๖ สูตรมีกามสูตรเป็นต้น ที่ว่าเป็นอัฏฐกวัคคิกะ๒ เหล่านั้น.

บทว่า วิสฺสฏฺาย คือ มี อักขระอันสละสลวย.

บทว่า อเนลคลาย มีความว่า ความเป็นวาจาประกอบด้วยโทษ ย่อมไม่มี.

สองบาทคาถาว่า อริโ ย น รมตี ปาเป, ปาเป น รมติ สุจิ๓ มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คนสะอาดย่อมไม่ยินดีในบาป เพื่อ แสดงเนื้อความวิเศษว่า จริงอยู่ บุคคลใด ประกอบด้วยคุณธรรมเครื่องเป็น ผู้สะอาดทางกายวาจาและใจ, บุคคลนั้น ย่อมไม่ยินดีในบาป; เพราะฉะนั้น เฉพาะพระอริยเจ้า ชื่อว่าไม่ยินดีในบาป,

หลายบทว่า อยํ ขฺวสฺส กาโล ความว่า เวลานี้แลพึงเป็นกาล.

บทว่า ปริทสฺสิ ได้แก่ สั่งมาแล้ว.

ในคำนี้ว่า อยํ ขฺวสฺส กาโล ... ปริทสฺสิ มีคำอธิบายดังนี้ว่า อุปัชฌาย์ของเรา ให้เรารับทราบคำสั่งอันใดมาว่า เธอพึงทูลเรื่องนี้ด้วย เรื่อง นี้ด้วย, เวลานี้ พึงเป็นกาลแห่งคำสั่งนั้น, เอาเถิด เราจะทูลคำสั่งนั้นเดี๋ยวนี้.


๑. อฏฺกวคฺคิกานีติ : อฏฺกวคฺคภูตานิ กามสุตฺตาทีนิ โสฬสสุตฺตานีติ สารตฺถทีปนี.

๒. เป็นวรรคที่ ๔ แห่งสตตนิบาต ขททกนิกาย ๓๙๓. ๓ มหาวคฺค. ทุติย. ๓๔.

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 56

บทว่า วินยธรปญฺจเมน คือมีอาจารย์ผู้สวดประกาศเป็นที่ ๕.

วินิจฉัยในข้อว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว สพฺพปจฺจนฺติเมสุ ชนปเทสุ คณงฺคณุปาหนํ นี้ พึงทราบดังนี้:-

รองเท้าที่ทำด้วยหนังชนิดใดชนิดหนึ่ง เว้นหนังมนุษย์เสีย ย่อมควร แม้ในถุงรองเท้า ฝักมีดและฝักกุญแจ ก็นัยนี้แล.

ว่าด้วยหนัง

ก็แลวินิจฉัยในคำว่า จมฺมานิ อตฺถรณานิ นี้ พึงทราบดังนี้:-

ภิกษุจะปูหนังแกะและหนังแพะอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วนอนหรือนั่ง ก็ควร.

วินิจฉัยในหนังมฤค พึงทราบดังนี้:-

หนังแห่งมฤคชาติ คือเนื้อทราย เนื้อสมัน เนื้อฟาน กวาง เนื้อถึก ละมั่งเหล่านี้ เท่านั้นควร. ส่วนหนังแห่งสัตว์เหล่าอื่นไม่ควร.

ลิง ค่าง นางเห็น ชะมด และสัตว์ร้ายเหล่าใดเหล่าหนึ่งบรรดามี, หนังของสัตว์เหล่านั้นไม่ควร.

ในสัตว์เหล่านั้น ที่ชื่อว่าสัตว์ร้าย ได้แก่ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือ เหลือง หมี เสือดาว. แต่จะไม่ควรเฉพาะสัตว์เหล่านี้ พวกเดียวเท่านั้น หามิ ได้; อันหนังของสัตว์เหล่าใด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าไม่ควร เว้นสัตว์ เหล่านั้นเสีย สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ ชั้นที่สุด แม้โค กระบือ กระต่าย แมว เป็นต้น รวมทั้งหมด พึงทราบว่า สัตว์ร้ายเหมือนกันในอรรถนี้. จริงอยู่ หนังของสัตว์ทุกๆ ชนิดไม่ควร.

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 57

ข้อว่า น ตํ ตาว คณนูปคํ, ยาว น หตฺถํ คจฺฉติ มีความว่า จีวรซึ่งชนทั้งหลายนำมาแล้ว แต่ยังมิได้ถวายก็ดี. จีวรที่เขาฝากไปให้ แต่ยังมิได้ บอกว่า จีวรเกิดขึ้นแก่ท่านแล้ว ดังนี้ก็ดี เพียงใด; จีวรนี้ยังไม่ต้องนับ วัน, คือไม่ควรเพื่ออธิษฐาน, อธิบายว่า ยังไม่เข้าถึงความถือเอาที่ควรอธิษ- ฐานเพียงนั้น. แต่จีวรที่เขานำมาถวายแล้ว ก็ดี, จีวรที่เขาฝากไปให้และบอก แล้ว ก็ดี, จีวรที่ภิกษุได้ฟังว่า เกิดแล้ว ก็ดี ในกาลใด; จำเติมแต่กาลนั้น ไป ภิกษุย่อมได้บริหาร ๑๐ วันเท่านั้น ฉะนั้นแล.

อรรกถาจัมมขันธกะ จบ