พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

จัมเปยยขันธกะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  12 มี.ค. 2565
หมายเลข  42818
อ่าน  460

[เล่มที่ 7] พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก

เล่มที่ ๕

มหาวรรค ภาคที่ ๒

จัมเปยยขันธกะ

เรื่องพระกัสสปโคตร 174/374

พุทธประเพณี 375

พุทธประเพณี 378

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติห้าม 379

อุกเขปนียกรรม 175/380

กรรมที่ใช้ได้และใช้ไม่ได้ 176/380

กรรม ๔ ประเภท 177/381

อธิบายกรรม ๔ ประเภท 382

พระฉัพพัคคีย์ทํากรรมหลายอย่าง 178/382

กรรมที่ใช้ไม่ได้ 179/383

กรรม ๖ ประเภท 180/384

อธิบายกรรมไม่เป็นธรรม 181/384

อธิบายกรรมเป็นวรรค 182/385

อธิบายกรรมพร้อมเพรียง 183/386

อธิบายกรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม 184/387

อธิบายกรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม 185/388

อธิบายกรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม 186/388

สงฆ์ ๕ ประเภท 187/389

กรรมที่สงฆ์จตุวรรคทํา 188/390

กรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคทํา 189/390

กรรมที่สงฆ์ทสวรรคทํา 190/391

กรรมที่สงฆ์วีสติวรรคทํา 191/392

กรรมที่สงฆ์จตุวรรคเป็นต้นทํา 192/393

ปฏิโกสนา ๒ อย่าง 193/394

นิสสรณา ๒ อย่าง 194/395

โอสารณา ๒ อย่าง 195/396

อุกเขปนียกรรมที่ไม่เป็นธรรม 196/399

อุกเขปนียกรรมที่เป็นธรรม 198/402

พระอุบาลีทูลถามปัพพาชนียกรรมเป็นต้น 199/403

ตัชชนียกรรม 204/411

นิยสกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรมเป็นต้น 209/416

ปัพพาชนียกรรม 210/416

ปฏิสารณียกรรม 211/417

อุกเขปนียกรรม 212/417

ขอระงับตัชชนียกรรม 213/418

ขอระงับนิยสกรรม 214/420

ขอระงับปัพพาชนียกรรม 215/421

ขอระงับปฏิสารณียกรรม 216/421

ขอระงับอุกเขปนียกรรม 217/422

ตัชชนียกรรม 218/423

นิยสกรรม 223/426

ปัพพาชนียกรรม 224/427

ปฏิสารณียกรรม 225/428

อุกเขปนีกรรม 226/428

ขอระงับตัชชนียกรรม 227/430

ขอระงับนิยสกรรม 232/434

ขอระงับปัพพาชนียกรรม 233/434

ขอระงับปฏิสารณียกรรม 234/435

ขอระงับอุกเขปนียกรรม 235/436

หัวข้อประจําขันธกะ 237/439

อรรถกถา 443

วินิจฉัยในจัมเปยยขันธกะ 443

กรรม ๖ 444

นิสสารณา 446

โอสารณา 446


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 7]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 374

จัมเปยยขันธกะ

เรื่องพระกัสสปโคตร

[๑๗๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ริมฝั่งสระ โบกขรณีชื่อคัคครา เขตจัมปานคร ครั้งนั้น บ้านวาสภคามตั้งอยู่ในกาสี ชนบท พระชื่อกัสสปโคตรเป็นเจ้าอาวาส ในวาสภคามนั้นฝักใฝ่ในการก่อสร้าง ถึงความขวนขวายว่า ทำไฉน ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ที่ยังไม่มา พึงมา ที่มาแล้ว พึงอยู่เป็นผาสุก และอาวาสนี้พึงถึงความเจริญรุ่งเรืองไพบูลย์ สมัยต่อมา ภิกษุหลายรูป เที่ยวจาริกในกาสีชนบท ได้ไปถึงวาสภคาม พระกัสสปโคตร ได้เห็นภิกษุเหล่านั้นมาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วจึงปูอาสนะ ดังน้ำล้างเท้า ตั่ง รองเท้า กระเบื้องเช็คเท้า ลุกไปรับบาตรจีวร นิมนต์ให้ฉันน้ำ ได้จัดแจง การสรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร พระอาคันตุกะ เหล่านั้น จงได้หารือกันดังนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเจ้าอาวาสรูปนี้ดีมาก ได้จัดแจการสรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร ผิฉะนั้น พวกเราจงพักอยู่ในวาสภคามนี้แหล่ะ ครั้นแล้วได้พักอยู่ในวาสภคามนั้นนั่นเอง พระกัสสปโคตรจึงได้มีความปริวิตกว่า ความลำบากโดยฐานเป็นอาคันตุกะ ของพระอาคันตุกะเหล่านี้ สงบหายแล้ว พระอาคันตุกะที่ไม่ชำนาญในที่โคจร เหล่านี้ บัดนี้ชำนาญในที่โคจรแล้ว อันการทำความขวนขวายในสกุลคนอื่น จนตลอดชีวิต ทำได้ยากมาก และการขอก็ไม่เป็นที่พอใจของคนทั้งหลาย ถ้า กระไรเราพึงเลิกทำความขวนขวายในยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร ดังนี้แล้ว ได้เลิกทำความขวนขวายในยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 375

พระอาคันตุกะเหล่านั้นจึงได้หารือกันดังนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เมื่อ ก่อนแล พระเจ้าอาวาสรูปนี้ จัดแจงการสรงน้ำ จัดแจงกระทั่งยาคู ของควร เคี้ยว ภัตตาหาร บัดนี้เธอเลิกทำความขวนขวายในยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร อาวุโสทั้งหลาย เดี๋ยวนี้พระเจ้าอาวาสรูปนี้ชั่วเสียแล้ว ผิฉะนั้น พวกเราจงยกพระเจ้าอาวาสนี้เสีย ต่อมาพระอาคันตุกะเหล่านั้นประชุมกันแล้ว ได้กล่าวคำนี้ต่อพระกัสสปโคตรว่า อาวุโส เมื่อก่อนแล ท่านได้จัดแจงการ สรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร บัดนี้ ท่านนั้นเลิกจัด แจงยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหารเสียแล้ว ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านเห็น อาบัตินั้นไหม

พระกัสสปโคตรกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะพึงเห็น

พระอาคันตุกะเหล่านั้น จึงได้ยกพระกัสสปโคตรเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ทันที พระกัสสปโคตรจึงได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เราไม่รู้ข้อนั้นว่า นั่นอาบัติ หรือมิใช่อาบัติ เราต้องอาบัติแล้วหรือไม่ต้อง ถูกยกเสียแล้วหรือไม่ถูกยกเสีย โดยธรรมหรือไม่เป็นธรรม กำเริบหรือไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะหรือไม่ควร แก่ฐานะ ถ้ากระไรเราพึงไปจัมปานครแล้วทูลถามเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วเก็บเสนาสนะถือบาตรจีวรเดินทางไปจัมปานคร บทจรไป โดยลำดับถึงจัมปานครเข้าไปในพระพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พุทธประเพณี

ก็การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 376

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสปฏิสันถารต่อพระกัสสปโคตรว่า ภิกษุเธอยังพอทนได้หรือ ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ เธอเดินทางมามี ความลำบากน้อยหรือ และเธอมาจากไหน?

พระกัสสปโคตรกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้ายังพอทนอยู่ได้ ยังพอให้ อัตภาพเป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า และข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาไม่สู้ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า วาสภคามตั้งอยู่ในกาสีชนบท ข้าพระพุทธเจ้าเป็นเจ้าอาวาส ในวาสภคามนั้น ฝักใฝ่ในการก่อสร้าง ถึงความขวนขวายว่า ทำไฉน ภิกษุ ผู้มีศีลเป็นที่รัก ที่ยังไม่มา พึงมา ที่มาแล้วพึงอยู่เป็นผาสุก และอาวาสนี้พึง ถึงความเจริญรุ่งเรืองไพบูลย์

ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเที่ยวจาริกในกาสีชนบทได้ไปถึงวาสภคาม ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็นภิกษุเหล่านั้นกำลังมาแต่ไกลเทียว จึงปูอาสนะตั้งน้ำล้าง เท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ได้ลุกไปรับบาตรจีวร นิมนต์ให้ฉันน้ำ ได้จัดแจงการสรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร พระอาคันตุกะเหล่านั้นจึงได้หารือกันดังนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเจ้าอาวาสรูปนี้ดีมาก ได้จัดแจงการสรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่งยาคูของควรเคี้ยว ภัตตาหาร ผิฉะนั้น พวกเราจงพักอยู่ในวาสภคามนี้แหละ. ครั้นแล้วได้พักอยู่ในวาสภคามนั้นนั่นเอง ข้าพระพุทธเจ้านั้นได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า ความลำบากโดยฐานะเป็นอาคันตุกะ ของพระอาคันตุกะเหล่านี้ สงบหายแล้ว ท่านพระอาคันคุกะที่ไม่ชำนาญในที่ โคจรเหล่านี้ บัดนี้เป็นผู้ชำนาญในที่โคจรแล้ว อันการทำความขวนขวายใน สกุลคนอื่นจนตลอดชีวิต ทำได้ยากมาก และการขอก็ไม่เป็นที่พอใจของคน ทั่งหาย ถ้ากระไร เราพึงเลิกทำความขวนขวายในยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร ข้าพระพุทธเจ้านั้นได้เลิกทำความขวนขวายในยาคูของควรเคี้ยว ภัตตาหารแล้ว.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 377

พระอาคันตุกะเหล่านั้น จึงได้หารือกันดังนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เมื่อ ก่อนแลพระเจ้าอาวาสรูปนี้จัดแจงการสรงน้ำ จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร บัดนี้ เธอเลิกจัดแจงยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร อาวุโสทั้ง หลาย เดี๋ยวนี้พระเจ้าอาวาสรูปนี้ชั่วเสียแล้ว ผิฉะนั้น พวกเราจงยกพระเจ้า อาวาสรูปนี้เสีย ต่อมาจึงประชุมกัน ได้กล่าวคำนี้กะข้าพระพุทธเจ้าว่า เมื่อ ก่อนแล ท่านได้จัดแจงการสรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร บัดนี้ ท่านนั้นเลิกจัดแจงยาคู องควรเคี้ยว ภัตตาหารเสียแล้ว อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้น ไหม ข้าพระพุทธเจ้าตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะพึงเห็น พระอาคันตุกะเหล่านั้น จึงยกข้าพระพุทธเจ้าเสียฐานไม่เห็นอาบัติทันที ข้าพระพุทธเจ้าได้มีความปริวิตกว่า เราไม่ รู้ข้อนั้นว่า นั่นอาบัติ หรือมิใช่อาบัติ เราต้องอาบัติแล้วหรือไม่ต้อง ถูกยก เสียแล้วหรือไม่ถูกยก โดยธรรมหรือไม่เป็นธรรม กำเริบหรือไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะหรือไม่ควรแก่ฐานะ ถ้ากระไร เราพึงไปจัมปานคร แล้วทูลถาม เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้ามาจากวาสภคามนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุ นั้นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหา มิได้ เธอไม่ต้องอาบัติ เธอต้องอาบัติหามิได้ เธอไม่ถูกยกเสีย เธอถูกยกเสีย หามิได้ เธอถูกยกเสียโดยกรรมไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ไปเกิด ภิกษุ เธอจงอาศัยอยู่ในวาสภคามนั้นแหละ.

พระกัสสปโคตรทูลรับสนองพระพุทธดำรัสว่า เป็นอย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า แล้วลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้ว กลับไปวาสภคาม.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 378

ครั้งนั้น ความรำคาญ ความเดือดร้อน ได้มีแก่พระอาคันตุกะเหล่า นั้น ว่า มิใช่ลาภของพวกเราหนอ ลาภของพวกเราไม่มีหนอ พวกเราได้ชั่ว แล้วหนอ พวกเราไม่ได้ดีแล้วหนอ เพราะพวกเรายกภิกษุผู้บริสุทธิ์หาอาบัติ มิได้เสีย เพราะเรื่องไม่ควร เพราะเหตุไม่ควร อาวุโสทั้งหลาย ผิฉะนั้น พวกเราจงไปจัมปานครแล้วแสดงโทษที่ล่วงเกิน โดยความเป็นโทษล่วงเกิน ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่อมาพระอาคันตุกะเหล่านั้น เก็บงำเสนาสนะ ถือบาตรจีวรเดินไปทางจัมปานครบทจรไปโดยลำดับ ถึงจัมปานคร เข้าไปใน พระพุทธสำนักถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พุทธประเพณี

ก็การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสปฏิสันถารแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอยังพอทนได้หรือ ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ พวก เธอเดินทางมามีความลำบากน้อยหรือ และพวกเธอมาแต่ไหน?

อา. พวกข้าพระพุทธเจ้ายังพอทนได้ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้ พระ พุทธเจ้าข้า และพวกข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาไม่สู้ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า วาสภคามตั้งอยู่ในกาสีชนบท พวกข้าพระพุทธเจ้ามาแต่วาสภคามนั้น พระ พุทธเจ้าข้า.

ภ. ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอใช่ไหมที่ยกภิกษุเจ้าอาวาสเสีย?

อา. ใช่ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอยกภิกษุเจ้าอาวาสเสีย เพราะเรื่องอะไร เพราะเหตุอะไร?

อา. เพราะเรื่องไม่สมควร เพราะเหตุไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 379

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติห้าม

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของ พวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่สมควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ ควรทำ ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนพวกเธอจึงได้ยกภิกษุผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติเสีย เพราะเรื่องไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควรเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้น แล้วทรงทำ ธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่บริสุทธิ์ไม่มี อาบัติ อันภิกษุไม่พึงยกเสีย เพราะเรื่องไม่สมควร เพราะเหตุไรสมควร รูป ใดยกเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ทันใดภิกษุเหล่านั้นลุกจากที่นั่ง ทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าซบเศียรลงที่ พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลคำนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า พระพุทธเจ้าข้า โทษที่ล่วงเกินได้ล่วงพวกข้าพระพุทธเจ้าผู้เขลา ผู้หลง ไม่ฉลาด เพราะพวกข้าพระพุทธเจ้าได้ยกโทษภิกษุที่บริสุทธิ์ หาอาบัติมิได้เสีย เพราะเรื่องไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงพระกรุณารับโทษที่ล่วงเกินของข้าพระพุทธเจ้าเหล่านั้น โดยความเป็นโทษล่วงเกิน เพื่อความสำรวมต่อไป พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เอาเถิด โทษที่ล่วง เกินได้ล่วงพวกเธอผู้เขลา ผู้หลง ไม่ฉลาด เพราะพวกเธอได้ยกภิกษุที่บริสุทธิ์ หาอาบัติมิได้เสีย เพราะเรื่องไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร แต่เพราะพวก เธอเห็นโทษล่วงเกิน โดยความเป็นโทษล่วงเกิน แล้วทำคืนตามธรรม เรา รับโทษนั้นของพวกเธอละ แท้จริง ข้อที่ภิกษุเห็นโทษล่วงเกิน โดยความ เป็นโทษล่วงเกิน แล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป นั่นเป็นความ เจริญในอารยะวินัย.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 380

อุกเขปนียกรรม

[๑๗๕] ก็สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายในเมืองจัมปา ทำกรรมเห็นปานนี้ คือ ทำกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ทำกรรมพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม ทำกรรมเป็นวรรคโดยธรรม ทำกรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม ทำกรรม พร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง รูป เดียวยกภิกษุ ๒ รูปเสียบ้าง รูปเดียวยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง รูปเดียวยกสงฆ์ เสียบ้าง ๒ รูปยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง ๒ รูปยกภิกษุ ๒ รูปเสียบ้าง ๒ รูปยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง ๒ รูปยกสงฆ์เสียบ้าง หลายรูปยกภิกษุรูปเดียว เสียบ้าง หลายรูปยกภิกษุ ๒ รูปเสียบ้าง หลายรูปยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง หลายรูปยกสงฆ์เสียบ้าง สงฆ์ต่อสงฆ์ยกกันเสียบ้าง บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มัก น้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายในเมืองจัมปา จึงได้กระทำกรรมเห็นปานนี้เล่า คือ ทำกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ... สงฆ์ต่อสงฆ์ยกกันเสียบ้าง แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุทั้งหลายในเมืองจัมปาทำกรรมเห็นปานนี้ คือทำกรรมเป็นวรรคโดย ไม่เป็นธรรม สงฆ์ต่อสงฆ์ยกกันเสียบ้าง จริงหรือ?

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ... ครั้นแล้ว ทรงธรรมีกถารับสั่ง ก็ภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้:-

กรรมที่ใช้ได้และใช้ไม่ได้

[๑๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยธรรมใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 381

ถ้ากรรมพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ถ้ากรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุ ๒ รูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ภิกษุรูปเดียวยกสงฆ์เสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ภิกษุ ๒ รูปกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ..

ภิกษุ ๒ รูปยกภิกษุ ๒ รูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ภิกษุ ๒ รูปยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ภิกษุ ๒ รูปยกสงฆ์เสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ภิกษุหลายรูปยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ภิกษุหลายรูปยกภิกษุ ๒ รูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ภิกษุหลายรูปยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ภิกษุหลายรูปยกสงฆ์เสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

สงฆ์ต่อสงฆ์ยกกันเสียบ้าง ก็ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

กรรม ๔ ประเภท

[๑๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมนี้มี ๔ ประเภท คือกรรมเป็น วรรคโดยไม่เป็นธรรม ๑ กรรมพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม ๑ กรรมเป็น วรรคโดยธรรม ๑ กรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม ๑.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 382

อธิบายกรรม ๔ ประเภท

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่เป็นวรรคโดย ไม่เป็นธรรมนี้ ชื่อว่ากำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ เพราะไม่เป็นธรรม เพราะ เป็นวรรค กรรมเห็นปานนี้ ไม่ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่พร้อมเพรียง โดยไม่เป็นธรรมนี้ ชื่อว่ากำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ เพราะไม่เป็นธรรม กรรม เห็นปานนี้ ไม่ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่เป็นวรรคโดย ธรรมนี้ ชื่อว่ากำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ เพราะเป็นวรรค กรรมเห็นปานนี้ ไม่ ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่พร้อมเพรียง โดยธรรมนี้ ชื่อว่าไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ เพราะเป็นธรรม เพราะพร้อม เพรียง กรรมเห็นปานนี้ควรทำ และเราก่อนุญาต.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุดังกล่าวนั้นแล พวกเธอพึงสำเหนียก อย่างนี้แหละว่า พวกเราจักทำกรรมที่พร้อมเพรียงโดยธรรม.

พระฉัพพัคคีย์ทำกรรมหลายอย่าง

[๑๗๘] โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ทำกรรมเห็นปานนี้ คือ ทำ กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ทำกรรมพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม ทำ กรรมเป็นวรรคโดยธรรม ทำกรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม ทำกรรมพร้อม เพรียงโดยเทียมธรรม ทำกรรมบกพร่องด้วยญัตติแต่สมบูรณ์ด้วยอนุสาวนา บ้าง ทำกรรมบกพร่องด้วยอนุสาวนาแต่สมบูรณ์ด้วยญัตติบ้าง ทำกรรมบกพร่อง

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 383

ทั้งญัตติบกพร่องทั้งอนุสาวนาบ้าง ทำกรรมเว้นจากกรรมบ้าง ทำกรรมเว้น จากวินัยบ้าง ทำกรรมเว้นจากสัตถุศาสน์บ้าง ทำกรรมที่ถูกด้านแล้วและขืน ทำ ไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะบ้าง.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ จึงได้ทำกรรมเห็นปานนี้ คือ ทำกรรมเป็นวรรคโดยไม่ เป็นธรรม ... ทำกรรมที่ถูกคัดค้านแล้วและขืนทำ ไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควร แก่ฐานะบ้างเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุฉัพพัคคีย์ทำกรรมเห็นปานนี้ คือ ทำกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็น ธรรม ... ทำกรรมที่ถูกคัดค้านแล้วและขืนทำ ไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควร แก่ฐานะบ้างจริงหรือ?

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ... ครั้นแล้ ทรงทำธรรมีกถารับสั่ง กะภิกษุทั้งหลายว่าดังนี้:-

กรรมที่ใช้ไม่ได้

[๑๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ถ้ากรรมพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ถ้ากรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 384

ถ้ากรรมบกพร่องด้วยญัตติ สนบูรณ์ด้วยอนุสาวนา ใช้ไม่ได้ และ ไม่ควรทำ.

ถ้ากรรมบกพร่องด้วยอนุสาวนา สมบูรณ์ด้วยญัตติ ใช้ไม่ได้ และไม่ ควรทำ.

ถ้ากรรมบกพร่องทั้งญัตติ บกพร่องทั้งอนุสาวนา ใช้ไม่ได้ และไม่ ควรทำ.

กรรมแม้แผกจากธรรม ก็ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

กรรมแม้แผกจากวินัย ก็ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

กรรมแม้แผกจากสัตถุศาสน์ ก็ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ถ้ากรรมที่ถูกคัดค้านแล้ว และขืนทำ ไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควร แก่ฐานะ ก็ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

กรรม ๖ ประเภท

[๑๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมนี้มี ๖ ประเภทคือ กรรมไม่เป็น ธรรม ๑ กรรมเป็นวรรค ๑ กรรมพร้อมเพรียง ๑ กรรมเป็นวรรคโดยเทียม ธรรม ๑ กรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม ๑ กรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม ๑.

อธิบายกรรมไม่เป็นธรรม

[๑๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกรรมไม่เป็นธรรม เป็นไฉน?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ภิกษุทำกรรมด้วยตั้งญัตติอย่าง เดียว และไม่สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.

ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยญัตติ ๒ ครั้ง และไม่สวด กรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 385

ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยสวดกรรมวาจาอย่างเดียว และ ไม่ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.

ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยสวดกรรมวาจา ๒ ครั้ง และ ไม่ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.

ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยตั้งญัตติอย่างเดียว และไม่ สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.

ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยตั้งญัตติ ๒ ครั้ง ด้วยตั้ง ญัตติ ๓ ครั้ง ด้วยตั้งญัตติ ๔ ครั้ง และไม่สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่ เป็นธรรม.

ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยสวดกรรมวาจาอย่างเดียว และไม่ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.

ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยสวดกรรมวาจา ๒ ครั้ง ด้วย สวดกรรมวาจา ๓ ครั้ง ด้วยสวดกรรมวาจา ครั้ง และไม่ตั้งญัตติ ชื่อว่า กรรมไม่เป็นธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมไม่เป็นธรรม.

อธิบายกรรมเป็นวรรค

[๑๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง กรรมเป็นวรรค เป็นไฉน?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวน เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นไม่มาประชุม ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่ พร้อมหน้ากันคัดค้าน ซึ่งว่ากรรมเป็นวรรค.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 386

ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้น มาประชุม แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้าหน้าคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรค.

ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้น มาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อ ว่ากรรมเป็นวรรค.

ในญัตติจตุตถกรรม ภิกษุเข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้น ไม่ มาประชุม ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรค

ในญัตติจตุตถกรรมถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้น มาประชุม แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุที่ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรค.

ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้น มาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรค.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมเป็นวรรค.

อธิบายกรรมพร้อมเพรียง

[๑๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง กรรมพร้อมเพรียง เป็นไฉน?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวน เท่าใด ภิกษุเหล่านั้น มาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อม หน้ากันไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียง.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 387

ในญัตติจตุตถกรรม ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้น มาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน ชื่อว่า กรรมพร้อมเพรียง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมพร้อมเพรียง.

อธิบายกรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม

[๑๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งกรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม เป็นไฉน?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นไม่มาประชุม ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็น วรรคโดยเทียมธรรม.

ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง ภิกษุ ผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุ ผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากัน คัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม.

ในญัตติทุติยกรรมถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง ภิกษุ ผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควร ฉันทะมา แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม

ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง ภิกษุ ผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นไม่มาประชุม ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควร ฉันทะมา แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม.

ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นไม่มาประชุม ไม่นำฉันทะของ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 388

ภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียม ธรรม.

ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง ภิกษุ ผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควร ฉันทะมา แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม.

อธิบายกรรนพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม

[๑๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง กรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม เป็นไฉน?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้น มาประชุม นำ ฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรมพร้อม เพรียงโดยเทียมธรรม.

ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง ภิกษุ ผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควร ฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า กรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม

อธิบายกรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม

[๑๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง กรรมพร้อมเพรียงโดยธรรมเป็น ไฉน?

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 389

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุตั้งญัตติก่อน ทำ กรรมด้วยสวดกรรมวาจาหนเดียวภายหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุ เหล่านั้นมาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันไม่ คัดค้าน ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุตั้งญัตติก่อน ทำ กรรมด้วยสวดกรรมวาจา ๓ ครั้งภายหลัง ภิกษุเข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุ เหล่านั้นมาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันไม่ คัดค้าน ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม.

สงฆ์ ๕ ประเภท

[๑๘๗] สงฆ์มี ๕ คือ ภิกษุสงฆ์จตุวรรค ๑. ภิกษุสงฆ์ปัญจวรรค ๑ ภิกษุสงฆ์ทสวรรค ๑. ภิกษุสงฆ์วีสติวรรค ๑. และภิกษุสงฆ์อติเรกวีสติวรรค ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในภิกษุสงฆ์เหล่านั้น ภิกษุสงฆ์จตุวรรคพร้อม เพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ในกรรมทุกอย่าง เว้นกรรม ๓ อย่าง คือ อุปสมบท ปวารณา อัพภาน.

ภิกษุสงฆ์ปัญจวรรค พร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ในกรรม ทุกอย่าง เว้น กรรม ๒ อย่าง คือ อุปสมบทในมัชฌิมชนบท และอัพภาน.

ภิกษุสงฆ์ทสวรรค พร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ในกรรม ทุกอย่าง เว้นอัพภานกรรมอย่างเดียว.

ภิกษุสงฆ์วีสติวรรค พร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ในกรรม ทุกอย่าง.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 390

ภิกษุสงฆ์อดิเรกวีสติวรรค พร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ ในกรรมทุกอย่าง.

กรรมที่สงฆ์จตุวรรคทำ

[๑๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์จตุวรรคจะทำ สงฆ์ มีภิกษุณีเป็นที่ ๔ ทำกรรม กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ถ้ากรรมที่สงฆ์จตุวรรคจะทำ สงฆ์มีสิกขมานาเป็นที่ ๔ ... มีสามเณร เป็นที่ ๔ ... มีสามเณรีเป็นที่ ๔ ... มีภิกษุผู้บอกลาสิกขาเป็นที่ ๔ ... มีภิกษุ ผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ ๔ ... มีภิกษุถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติเป็นที่ ๔ ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติเป็นที่ ๔ ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสีย ฐานไม่สละทิฏฐิบาปเป็นที่ ๔ ... มีบัณเฑาะก์เป็นที่ ๔ ... มีภิกษุลักเพศเป็น ที่ ๔ ... มีภิกษุผู้เข้ารีตเดียรถีย์เป็นที่ ๔ ... มีสัตว์ดิรัจฉานเป็นที่ ๔ ... มี ภิกษุผู้ทำมาตุฆาตเป็นที่ ๔ ... มีภิกษุผู้ทำปิตุฆาตเป็นที่ ๔ ... มีภิกษุผู้ทำ อรหันตฆาตเป็นที่ ๔ ... มีภิกษุผู้ประทุษร้ายภิกษุณีเป็นที่ ๔ ... มีภิกษุผู้ทำ สังฆเภทเป็นที่ ๔ ... มีภิกษุผู้ทำโลหิตุปบาทเป็นที่ ๔ ... มีอุภโตพยัญชนกเป็นที่ ๔ ... มีภิกษุนานาสังวาสเป็นที่ ๔ ... มีภิกษุผู้อยู่ในสีมาต่างกันเป็นที่ ๔ ... มีภิกษุอยู่ในเวหาสด้วยฤทธิ์เป็นที่ ๔ ... สงฆ์ทำกรรมแก่ผู้ใด มีผู้นั้นเป็นที่. ทำกรรม กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

กรรมที่สงฆ์จตุวรรคทำ จบ

กรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคทำ

[๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคทำ สงฆ์มี ภิกษุณีเป็นที่ ๕ ทำกรรม กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 391

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคทำ สงฆ์มีสิกขมานาเป็น ที่ ๕ ... มีสามเณรเป็นที่ ๕ ... มีสามเณรีเป็นที่ ๕ ... มีภิกษุผู้บอกลาสิกขา เป็นที่ ๕ ... มีภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ ๕ ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ เห็นอาบัติเป็นที่ ๕ ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติเป็นที่ ๕ ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละทิฏฐิบาปเป็นที่ ๕ ... มีบัณเฑาะก์เป็นที ๕ ... มีภิกษุลักเพศเป็นที่ ๕ ... มีภิกษุผู้เข้ารีตเดียรถีย์เป็นที่ ๕ ... มีสัตว์ดิรัจฉาน เป็นที่ ๕ ... มีภิกษุผู้ทำมาตุฆาตเป็นที ๕ ... มีภิกษุผู้ทำปิตุฆาตเป็นที่ ๕ ... มีภิกษุผู้ทำอรหันตฆาเป็นที่ ๕ ... มีภิกษุผู้ประทุษร้ายภิกษุณีเป็นที่ ๕ ... มี ภิกษุผู้ทำสังฆเภทเป็นที่ ๕ ... มีภิกษุผู้ทำโลหิตุปบาทเป็นที่ ๕ ... มีอุภโต พยัญชนกเป็นที่ ๕ ... มีภิกษุนานาสังวาสเป็นที่ ๕ ... มีภิกษุอยู่ในสีมาต่างกัน เป็นที่ ๕ ... มีภิกษุผู้อยู่ในเวหาสด้วยฤทธิ์เป็นที่ ๕ ... สงฆ์ทำกรรมแก่ผู้ใด มีผู้นั้นเป็นที่ ๕ ทำกรรม กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

กรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคทำ จบ

กรรมที่สงฆ์ทสวรรคทำ

[๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ทสวรรคทำ สงฆ์มี ภิกษุณีเป็นที่ ๑๐ ทำกรรม กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ทสวรรคทำ สงฆ์มีสิกขมานาเป็น ที่ ๑๐ ... .มีสามเณรเป็นที ๑๐.. มีสามเณรีเป็นที่ ๑๐ ... มีภิกษุผู้บอกลาสิกขา เป็นที่ ๑๐ ... มีภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ ๑๐ ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสีย ฐานไม่เห็นอาบัติเป็นที่ ๑๐ ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติเป็น ที่ ๑๐ ... มีภิกษุผู้ถกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละทิฎฐิบาปเป็นที่ ๑ ... มีบัณเฑาะก์ เป็นที่ ๑๐ ... มีภิกษุลักเพศเป็นที่ ๑๐ มีภิกษุผู้เข้ารีตเดียรถีย์เป็นที่ ๑๐ ... .มี

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 392

สัตว์ดิรัจฉานเป็นที่ ๑๐ ... มีภิกษุผู้ทำมาตุฆาตเป็นที่ ๑๐ ... มีภิกษุผู้ทำ ปิตุฆาตเป็นที่ ๑๐ ... มีภิกษุผู้ทำอรหันตฆาตเป็นที่ ๑๐ ... มีภิกษุผู้ประทุษร้าย ภิกษุณีเป็นที่ ๑๐ ... มีภิกษุผู้ทำสังฆเภทเป็นที่ ๑๐ ... มีภิกษุผู้ทำโลหิตุปบาท เป็นที่ ๑๐ ... มีอุภโตพยัญชนกเป็นที่ ๑๐ ... มีภิกษุนานาสังวาสเป็นที่ ๑๐ ... มีภิกษุอยู่ในสีมาต่างกันเป็นที่ ๑๐ ... มีภิกษุผู้อยู่ในเวหาสด้วยฤทธิ์เป็นที่ ๑๐ ... สงฆ์ทำกรรมแก่ผู้ใด มีผู้นั้น เป็นที่ ๑๐ ทำกรรม กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และ ไม่ควรทำ.

กรรมที่สงฆ์ทสวรรคทำ จบ

กรรมที่สงฆ์วีสติวรรคทำ

[๑๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์วีสติวรรคทำ สงฆ์มี ภิกษุณี เป็นที่ ๒๐ ทำกรรม กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์วีสติวรรคทำ สงฆ์มีสิกขมานาเป็น ที่ ๒๐ ... มีสามเณรเป็นที่ ๒๐ ... มีสามเณรีเป็นที่ ๒๐ ... มีภิกษุผู้บอก ลาสิกขาเป็นที่ ๒๐ ... มีภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ ๒๐ ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ ยกเสียฐานไม่เห็นยาบัติเป็นที่ ๑๐ ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ เป็นที่ ๒๐ ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละทิฏฐิบาปเป็นที่ ๒๐ ... มี บัณเฑาะก์เป็นที่ ๒๐ ... มีภิกษุลักเพศเป็นที่ ๒๐ ... มีภิกษุผู้เข้ารีตเดียรถีย์ เป็นที่ ๒๐ ... มีสัตว์ดิรัจฉานเป็นที่ ๒๐ ... มีภิกษุผู้ทำมาตุฆาตเป็นที่ ๒๐ ... มีภิกษุผู้ทำปิตุฆาตเป็นที่ ๒๐ ... มีภิกษุผู้ทำอรหันตฆาตเป็นที่ ๒๐ ... มี ภิกษุผู้ประทุษร้ายภิกษุณีเป็นที่ ๒๐ ... มีภิกษุผู้ทำสังฆเภทเป็นที่ ๒๐ ... มี ภิกษุผู้ทำโลหิตุปบาทเป็นที่ ๒๐ ... มีอุภโตพยัญชนกเป็นที่ ๒๐ ... มีภิกษุ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 393

นานาสังวาสเป็นที่ ๒๐ ... มีภิกษุอยู่ในสีมาต่างกันเป็นที่ ๒๐ ... [๑] สงฆ์ทำ กรรมแก่ผู้ใด ผู้นั้นเป็นที่ ๒๐ ทำกรรม กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

กรรมที่สงฆ์วิสติวรรคทำ จบ

กรรมที่สงฆ์จตุวรรคเป็นต้นทำ

[๑๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นที่ ๔ พึง ให้ปริวาส พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นเป็นที่ ๒๐ พึงอัพภาน กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต มีภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติ เดิมนั้นเป็นที่ ๒๐ พึงอัพภาน กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรมานัตเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต มีภิกษุผู้ควรมานัตนั้นเป็นที่ ๒๐ พึง อัพภาน กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ประพฤติมานัตเป็นที่๔ พึงให้ ปริวาส พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต มีภิกษุผู้ประพฤติมานัตเป็นที่ ๒๐ พึงอัพภาน กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรอัพภานเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส พึงชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงให้มานัต มีภิกษุผู้ควรอัพภานนั้นเป็นที่ ๒๐ พึง อัพภาน กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.


๑. โบราณ,พม่า เพิ่มมีภิกษุผู้อยู่ในเวหาสด้วยฤทธิ์เป็นที่ ๒๐.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 394

ปฏิโกสนา ๒ อย่าง

[๑๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนคัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ขึ้น บางคนคัดค้านไม่ขึ้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใครเล่าค้านในท่ามกลางสงฆ์ไม่ขึ้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี คัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ไม่ขึ้น.

สิกขมานา ...

สามเณร ...

สามเณรี ...

ภิกษุผู้บอกลาสิกขา ...

ภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุ ...

ภิกษุวิกลจริต ...

ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน ...

ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ...

ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ...

ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ ...

ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละทิฏฐิบาป ...

บัณเฑาะก์ ...

ภิกษุลักเพศ ...

ภิกษุเข้ารีตเดียรถีย์ ...

สัตว์ดิรัจฉาน ...

ภิกษุผู้ฆ่ามารดา ...

ภิกษุผู้ฆ่าบิดา ...

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 395

ภิกษุผู้ฆ่าพระอรหันต์ ...

ภิกษุผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ...

ภิกษุผู้ทำสังฆเภท ...

ภิกษุผู้ทำโลหิตุปบาท ...

อุภโตพยัญชนก ...

ภิกษุนานาสังวาส ...

ภิกษุผู้อยู่ในสีมาต่างกัน ...

ภิกษุผู้อยู่ในเวหาสด้วยฤทธิ์ ...

สงฆ์ทำกรรมแก่ผู้ใด ผู้นั้นคัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ไม่ขึ้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้แล คัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ไม่ขึ้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใครเล่าคัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ขึ้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุปกตัตตะมีลังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมาเดียวกัน.

โดยที่สุดแม้ภิกษุผู้นั่งอยู่บนอาสนะติดกันบอกให้รู้ คัดค้านในท่าม กลางสงฆ์ขึ้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้แล คัดด้านในท่ามกลางสงฆ์ขึ้น.

นิสสรณา ๒ อย่าง

[๑๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิสสรณาการขับออกนี้มี ๒ อย่าง คือ มีบุคคลที่ยังไม่ถึงการขับออก ถ้าสงฆ์ขับเธอออก บางคนเป็นอันสงฆ์ขับออก ดีแล้ว บางคนเป็นอันสงฆ์ขับออกไม่ดี.

๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลชนิดไรที่ยังไม่ถึงการขับออก ถ้า สงฆ์ขับเธอออก เป็นอันขับออกไม่ดี.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 396

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ ถ้าสงฆ์ขับเธอออก เป็นอันขับออกไม่ดี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เรากล่าวว่ายังไม่ถึงการขับออก ถ้าสงฆ์ ขับเธอออกเป็นอันขับออกไม่ดี.

๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลชนิดไรที่ยังไม่ถึงการขับออก ถ้า สงฆ์ขับเธอออก เป็นอันขับออกดีแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพาล ไม่ฉลาด มี อาบัติมาก มีมารยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับพวกคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลี อันไม่สมควร ถ้าสงฆ์ขับเธอออก เป็นอันขับออกดีแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เรากล่าวว่ายังไม่ถึงการขับออก ถ้า สงฆ์ขับเธอออก เป็นอันขับออกดีแล้ว.

โอสารณา ๒ อย่าง

[๑๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โอสารณาการรับเข้าหมู่นี้มี ๒ อย่าง คือมีบุคคลที่ยังไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับเธอเข้าหมู่ บางคนเป็นอันรับเข้าดี บางคนเป็นอันรับเข้าไม่ดี.

๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลชนิดไรที่ยังไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้า สงฆ์รับเธอเข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าไม่ดี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณเฑาะก์ยิ่งไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับเธอ เข้าหมู่เป็นอันรับ เข้าไม่ดี.

คนลักเพศ ...

คนเข้ารีตเดียรถีย์ ...

สัตว์ดิรัจฉาน ...

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 397

คนผู้ฆ่ามารดา ...

คนผู้ฆ่าบิดา ...

คนผู้ฆ่าพระอรหันต์ ...

คนผู้ประทุษร้ายภิกษุณี

คนผู้ทำสังฆเภท ...

คนผู้ทำโลหิตุปบาท ...

อุภโตพยัญชนก ยังไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับเธอเข้าหมู่ เป็น อันรับเข้าไม่ดี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่ายังไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้า สงฆ์รับเธอเข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าไม่ดี.

๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง บุคคลชนิดไรที่ยังไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับเธอเข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าดีแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนมือด้วน ยังไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับ เธอเข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าดีแล้ว.

คนเท้าด้วน ...

คนทั้งมือและเท้าด้วน ...

คนหูขาด ...

คนจมูกแหว่ง ...

คนทั้งหูขาดจมูกแหว่ง ...

คนนิ้วมือนิ้วเท้าขาด ...

คนมีง่ามมือง่ามเท้าขาด ...

คนเอ็นขาด

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 398

คนมือเป็นแผ่น ...

คนค่อม ...

คนเตี้ย ...

คนคอพอก ...

คนมีเครื่องหมายติดตัว ...

คนมีรอยเฆี่ยนด้วยหวาย ...

คนถูกประกาศให้จับ ...

คนเท้าปุก ...

คนมีโรคเรื้อรัง ...

คนแปลกเพื่อน ...

คนตาบอดข้างเดียว ...

คนง่อย ...

คนกระจอก ...

คนเป็นโรคอัมพาต ...

คนมีอิริยาบถขาด ...

คนชราทุพพลภาพ ...

คนตาบอดสองข้าง ...

คนใบ้ ...

คนหูหนวก ...

คนทั้งบอดและใบ้ ...

คนทั้งบอดและหนวก ...

คนทั้งใบ้และหนวก ...

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 399

คนทั้งบอด ใบ้ และหนวกยังไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์ร้บเธอเข้าหมู่ เป็นอันรับ เข้าดีแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เรากล่าวว่ายังไม่ถึงการรับเข้าหมู่ ถ้า สงฆ์รับเธอเข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าดีแล้ว.

วาสภคามภาณวาร ที่ ๑ จบ

อุกเขปนียกรรมที่ไม่เป็นธรรม

[๑๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เห็น อาบัติ สงฆ์หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้อง อาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม?

เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลายผมไม่มีอาบัติที่จะเห็น สงฆ์ยกเธอเสีย ฐานไม่เห็นอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ทำคืนอาบัติ สงฆ์ หรือภิกษุ หลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว จงทำคืน อาบัตินั้นเสียเธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะทำคืน สงฆ์ ยกเธอเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม. อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่สละทิฏฐิลามก สงฆ์หรือภิกษุ หลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละทิฏฐิลามก นั้นเสีย เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีทิฏฐิลามกที่จะสละ สงฆ์ยก เธอเสียฐานไม่สละทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เห็นอาบัติ และไม่ทำคืนอาบัติ สงฆ์หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 400

ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น เสียเธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะเห็น ไม่มีอาบัติที่จะทำคืน สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่เห็นอาบัติ และฐานไม่ทำคืน ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เห็นอาบัติ และไม่สละทิฏฐิลามก สงฆ์หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม ท่านมีทิฏฐิลามก จงละทิฏฐิลามกนั้นเสีย เธอพูดอย่างนี้ ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะเห็น ไม่มีทิฏฐิลามกที่จะสละ สงฆ์ยกเธอ เสียฐานไม่เห็นอาบัติ และฐานไม่สละทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ทำคืนอาบัติ และไม่สละทิฏฐิ- ลามก สงฆ์ หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้อง อาบัติแล้ว จงทำคืนอาบัตินั้นเสีย ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละทิฏฐิลามกนั้นเสีย เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะทำคืน ไม่มีทิฏฐิลามกที่ จะสละ สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ และฐานไม่สละทิฏฐิลามก ชื่อว่า กรรมไม่เป็นธรรม.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เห็นอาบัติ ไม่ทำคืนอาบัติ ไม่ สละทิฏฐิลามก สงฆ์ หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่าน ต้องอาบัติแล้วท่านเห็นอาบัตินั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น เสีย ท่านมีทิฏฐิ- ลามก จงสละทิฏฐิลามกนั้นเสีย เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติ ที่จะเห็น ไม่มีอาบัติที่จะทำคืน ไม่มีทิฏฐิลามกที่จะสละ สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่ เห็นอาบัติ ฐานไม่ทำคืนอาบัติ และฐานไม่สละทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมไม่เป็น ธรรม.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 401

[๑๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เห็น อาบัติ สงฆ์ หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้อง อาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม เธอกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผม เห็นขอรับ สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม. อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำคืนอาบัติ สงฆ์ หรือภิกษุหลาย รูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว จงทำคืนอาบัติ นั้นเสีย เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมจักทำคืนขอรับ สงฆ์ยกเธอ เสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สละทิฏฐิลามก สงฆ์ หรือภิกษุ หลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละทิฏฐิ ลามกนั้นเสีย เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมจักสละ ขอรับ สงฆ์ยก เธอเสียฐานไม่สละทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เห็นอาบัติ และทำคืนอาบัติ ...

เป็นผู้เห็นอาบัติ และสละทิฏฐิลามก ...

เป็นผู้ทำคืนอาบัติ และสละทิฏฐิลามก ...

เป็นผู้เห็นอาบัติ ทำคืนอาบัติ และสละทิฏฐิลามก สงฆ์ หรือภิกษุ หลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านเห็น อาบัตินั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละทิฏฐิลามกนั้นเสีย เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมเห็นขอรับ ผมจักทำคืนขอรับ ผมจัก สละขอรับ สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ฐานไม่ทำคืนอาบัติ และฐานไม่ สละทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 402

อุกเขปนียกรรมที่เป็นธรรม

[๑๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เห็นอาบัติ สงฆ์ หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติ แล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้น ไหม เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติ ที่จะเห็น สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำคืนอาบัติ สงฆ์ หรือภิกษุหลาย รูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว จงทำคืนอาบัติ นั้น เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะทำคืน สงฆ์ยกเธอ เสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สละทิฏฐิลามก สงฆ์ หรือภิกษุ หลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละทิฏฐิ ลามกนั้น เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีทิฏฐิลามกที่จะสละ สงฆ์ ยกเธอเสียฐานไม่สละทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เห็นอาบัติ ทำคืนอาบัติ ...

เป็นผู้เห็นอาบัติ และสละทิฏฐิลามก ...

เป็นผู้ทำคืนอาบัติ และสละทิฏฐิลามก ...

เป็นผู้เห็นอาบัติ ทำคืนอาบัติ และสละทิฏฐิลามก สงฆ์ หรือ ภิกษุ หลายรูป หรือรูปเดียว โจทเธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านเห็น อาบัตินั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละทิฏฐิลามกนั้น เธอ พูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะเห็น ไม่มีอาบัติที่จะทำคืน ไม่มีทิฏฐิลามกที่จะสละ สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ฐานไม่คืนอาบัติ และฐานไม่สละคืนทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 403

พระอุบาลีทูลถามปัพพาชนียกรรมเป็นต้น

[๑๙๙] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลคำ นี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า กรรมที่ควรทำในที่พร้อมหน้า แต่สงฆ์ผู้พร้อม เพรียงกันกลับทำในที่ลับหลัง การกระทำนั้น ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย หรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า?

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมไม่เป็น ธรรมไม่เป็นวินัย.

อุ. สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ทำกรรมที่ควรสอบถาม แต่ทำโดยไม่สอบ ถาม ... ทำกรรมที่ควรทำตามปฏิญาณ โดยมิได้ปฏิญาณ ... ให้อมูฬหวินัย แก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยกากรรม ... ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ ควรตัชชนียกรรม ... ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ... ทำ ปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ... ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ ควรปฏิสารณียกรรม ... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ... ชักภิกษุ ผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ... อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต ... ให้ภิกษุผู้ควรอัพภาน ให้อุปสมบทกุลบุตร การ กระทำนั้น ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัยหรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า

ภ. อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย กรรมที่ควรทำในที่พร้อมหน้า แต่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันกลับทำเสียในที่ลับหลัง อย่างนี้แลอุบาลี ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 404

อุบาลี สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำกรรมที่ควรสอบถาม แต่ทำโดยไม่ สอบถาม ... ทำกรรมที่ควรทำตามปฏิญาณ โดยมิได้ปฏิญาณ ... ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรตัชชนียกรรม ... ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ... ทำ ปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ... ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรปฏิสารณียกรรม ... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ... ชัก ภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติ เดิม ... อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต ... ให้ภิกษุผู้ควรอัพภานให้อุปสมบทกุลบุตร อย่างนี้แลอุบาลี ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ.

[๒๐๐] อุ. กรรมที่ควรทำในที่พร้อมหน้า สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำในที่พร้อมหน้า การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมเป็นธรรมเป็นวินัยหรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า?

ภ. อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย.

อุ. สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำกรรมที่ควรสอบถามแล้วทำโดยการ สอบถาม ... ทำกรรมที่ควรทำตามปฏิญาณ โดยการปฏิญาณ ... ให้สติวินัย แก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ให้อมูฬหวินัย แก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ทำ ตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ทำตัชชนียกรรมแก่ ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ... ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ... ทำ ปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ... ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรปฏิสารณียกรรม ... ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ...

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 405

ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส ... ชักเข้าหาอาบัติเดิมซึ่งภิกษุผู้ควรชักเข้าหา อาบัติเดิม ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรมานัต ... อัพภานภิกษุผู้ควรอัพภาน ... อุปสมบทกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย หรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า?

ภ. อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย กรรม ที่ควรทำในที่พร้อมหน้า สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันทำในที่พร้อมหน้า อย่างนี้แล อุบาลี ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมไม่ มีโทษ.

อุบาลี สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันทำกรรมที่ควรสอบถามแล้วทำโดยสอบ ถาม ... ทำกรรมที่ควรทำตามปฏิญาณ โดยการปฏิญาณ ... ให้สติวินัยแก่ ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร ตัชชนียกรรม ... ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ... ทำปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ... ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณีย กรรม ... ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ... ให้ปริวาสแก่ ภิกษุผู้ควรปริวาส ... ชักเข้าหาอาบัติเดิมซึ่งภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรมานัต ... อัพภานภิกษุผู้ควรอัพภาน ... อุปสมบท กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท อย่างนี้แล อุบาลี ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมไม่มีโทษ.

[๒๐๑] อุ. สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้อมูฬิหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติ วินัย ... ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ครองอมูฬหวินัย การกระทำนั้น ชื่อว่า กรรม เป็นธรรม เป็นวินัยหรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า?

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 406

ภ. อุบายลี ถารกระทำนั้นชื่อว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย.

อุ. สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกาธรรม ... ทำตัชชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุควร ตัชชนียกรรม ... ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ... ทำตัชชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ... ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ... ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ... ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ ควรปัพพาชนียกรรม ... ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ... ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ปฎิสารณียกรรม ... ทำปฎิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ ควรอุกเขปนียกรรม ... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ... ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส ... ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติ ... ให้ ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหา อาบัติเดิม ... ชักภิกษุผู้ควรมานัตเข้าหาอาบัติเดิม ... อัพภานภิกษุผู้ควร มานัต ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรอัพภาน ... ให้ภิกษุผู้ควรอัพภานให้อุปสมบทกุลบุตร ... อัพภานกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท การกระทำนั้นชื่อว่ากรรมเป็น ธรรม เป็นวินัยหรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า?

ภ. อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย อุบาลี สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ให้สติวินัยแก่ภิกษุ ผู้ควรอมูฬหวินัย อย่างนี้แล อุบาลี ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ.

สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรอมูฬห วินัย ... ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ทำตัชชนียกรรมแก่

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 407

ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนีย กรรม ... ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ... ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรนิยสกรรม ... ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ... ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ... ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพา ชนียกรรม ... ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ... ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ... ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ ควรอุกเขปนียกรรม ... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ... ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส ... ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติ ... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชัก เข้าหาอาบัติเดิม ... ชักภิกษุผู้ควรมานัตเข้าหาอาบัติเดิม ... อัพภานภิกษุผู้ ควรมานัต ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรอัพภาน ... ให้ภิกษุผู้ควรอัพภานอุปสมบทกุลบุตร ... อัพภานกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท อย่างนี้แลอุบาลีชื่อว่ากรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ.

[๒๐๒] อุ. สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย การกระทำนั้น ชื่อว่ากรรมเป็น ธรรม เป็นวินัย หรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า?

ภ. อุบาลี การกระทำนั้น ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย.

อุ สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ทำตัชชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ... ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ... ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ... ทำปฏิสารณียกรรมแก่ ภิกษุผู้ควรปฎิสารณียกรรม ... ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส ... ชักเข้าหาอาบัติเดิมซึ่งภิกษุผู้ควรชัก

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 408

เข้าหาอาบัติเดิม ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรมานัต ... อัพภานภิกษุผู้ควร อัพภาน ... อุปสมบทกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท การกระทำนั้นชื่อว่ากรรม เป็นธรรม เป็นวินัย หรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า?

ภ. อุบาลี การกระทำนั้น ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย อุบาลี สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ให้อมูฬหวินัยแก่ ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย อย่างนี้แล อุบาลี ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมไม่มีโทษ.

สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ทำตัชชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ... ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ... ทำ ปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ... ทำปฏิสารณียกรรมแก่ ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ... ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนีย กรรม ... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส ... ชักเข้าหาอาบัติเดิมซึ่งภิกษุผู้ ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรมานัต ... อัพภานภิกษุผู้ ควรอัพภาน ... อุปสมบทกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท อย่างนี้แลอุบาลี ชื่อว่า กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมไม่มีโทษ.

[๒๐๓] ครั้งนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ารับ สั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย อย่างนี้แลภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการ กระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมม่โทษ.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 409

สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย.. ท่านิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร สติวินัย ... ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ ควรสติวินัย ... ชักภิกษุผู้ควรสติวินัยเข้าหาอาบัติเดิม ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควร สติวินัย ... อัพภานภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ให้ภิกษุผู้ควรสติวินัยให้อุปสมบท กุลบุตร อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ.

สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัยอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการ กระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ.

สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร อมูฬหวินัย ... ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ชักภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัยเข้าหาอาบัติเดิม ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... อัพภานภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ให้ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัยให้อุปสมบทกุลบุตร ... ใหัสติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลายชื่อ ว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ.

สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 410

ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกา กรรม ... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ให้สติวินัยแก่ภิกษุ ผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรจตัสสปาปิยสิกากรรม อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระ ทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ.

สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ... ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ... ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร ปัพพาชนียกรรม ... ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุควรปฏิสารณียกรรม ... ให้ ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ... ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ... อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต ... ให้ภิกษุผู้ควรอัพภานให้อุปสมบทกุลบุตร ... ให้สติวินัยแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท ... ให้อมูฬหวินัยแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท ... ทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท ... ทำตัชชนียกรรมแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท ... ทำนิยสกรรมแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท ... ทำปัพพาชนียกรรมแก่กุลบุตรผู้ควร อุปสมบท ... ทำปฏิสารณียกรรมแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท ... ทำอุกเขปนียกรรมแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท ... ให้ปริวาสแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท ... ชักกุลบุตรผู้ควรอุปสมบทเข้าหาอาบัติเติม ... ให้มานัตแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท ... อัพภานกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ

อุบาลีปุจฉาภาณวาร ที่ ๒ จบ

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 411

ตัชชนียกรรม

[๒๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อความ บาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ในเรื่องนั้นถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ รูปนี้แล ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น วรรคโดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น ภิกษุรูปนั้น ไปจากอาวาสนั้น สู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ไปปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้น ไปจากอาวาสนั้น สู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้นภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรมลง ตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรค โดยธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาส แม้อื่น แม้นอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรค โดยธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนีกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยเทียมธรรมลง ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวก เราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรมลง ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 412

[๒๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อ ความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้ง หลาย ภิกษุรูปนี้แล ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำ ความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ ได้ปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์พร้อม เพรียงกันโดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรม แก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุ รูปนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้นภิกษุทั้งหลายก็ได้ ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดย ธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้ว ได้เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไป จากอาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลาย ก็ได้ปรึกษาตก ลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยเทียม ธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้ว ได้พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้น ไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้นภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลง กันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลายภิกษุรูปนี้แลถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยเทียม ธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้ว ได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 413

[๒๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อ ความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้ง หลาย ภิกษุรูปนี้แล เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้น ไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษา ตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แลถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยธรรม ลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น วรรคโดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาส นั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียง กันโดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่ อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดย ไม่เป็นธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่ อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียง กันโดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 414

[๒๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อ ความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ใน สงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความ อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้น ไปจาก อาวาสนั้น สู่อาวาสแม้อื้น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ลงตัชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้ พร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไป จากอาวาสนั้น สู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้นภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลง กันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยเทียม ธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้ว ได้เป็นธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้น ไปจากอาวาสนั้นสู่ อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียง กันโดยไม่เป็นธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาส นั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้นภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรมลง ตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอดังนี้ แล้วได้เป็นวรรค โดยธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 415

[๒๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อ ความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ใน สงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้ง หลาย ภิกษุรูปนี้แล เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้น ไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์พร้อมเพรียง กันโดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูป นั้น ไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้นภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษา ตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยไม่ เป็นธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุ รูปนั้น ไปจากอาวาสนั้น สู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์พร้อมเพรียง กันโดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจงลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้น ไปจากอาวาสนั้น สู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตก ลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยธรรมลง ตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอดังนี้ แล้วได้เป็นวรรค โดยเทียมธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น.

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 416

นิยสกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรมเป็นต้น

[๒๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เขลา ไม่ ฉลาด มีอาบัติมาก มีมารยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลี อันไม่สมควร ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมารยาท ไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร เอาล่ะ พวก เราจะลงนิยสกรรมแก่เธอดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรมลงนิยสกรรม แก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้น ไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลาย ก็ได้ปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูก สงฆ์เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรมลงนิยสกรรม เอาละ พวกเราจะลงนิยสกรรม แก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรมลงนิยสกรรมแก่ภิกษุรูป นั้น ... เป็นวรรคโดยธรรม ... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ... พร้อมเพรียง กันโดยเทียมธรรม ... พึงแต่งจักรเหมือนหนหลัง.

ปัพพาชนียกรรม

[๒๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประทุษร้าย ตระกูลมีมารยาทเลวทรามในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล เป็นผู้ประทุษร้ายตระกูล มีมารยาท เลวทราม เอาละพวกเราจะลงปัพพาชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรมลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาสนั้น สู่อาวาสแม้อื่น แม้ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรมลงปัพพาชนีย-

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 417

กรรม เอาละ พวกเราจะลงปัพพาชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียง กันโดยไม่เป็นธรรมลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... เป็นวรรคโดยธรรม เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ... พร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรม ... พึงแต่ง จักรเหมือนหนหลัง.

ปฏิสารณียกรรม

[๒๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมด่า ย่อม บริภาษพวกคฤหัสถ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ย่อมด่า ย่อมบริภาษพวกคฤหัสถ์ เอาละ พวก เราจะลงปฏิสารณียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลง ปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม ... เป็น วรรคโดยธรรม ... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ... พร้อมเพรียงกัน โดยเทียม ธรรม.. พึงแต่งจักรเหมือนหนหลัง.

อุกเขปนียกรรม

[๒๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติและ ไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกัน อย่าง นี้ว่าอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ เอาละ พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้ เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงอุกเขปนียถรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม ... เป็นวรรคโดยธรรม ... เป็นวรรค โดยเทียมธรรม ... พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม ... พึงแต่งจักรเหมือน หนหลัง.

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 418

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติแล้ว ไม่ ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่าง นี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะทำคืน อาบัติ เอาละ พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่ ภิกษุรูปนั้น ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม ... เป็นวรรคโดยธรรม ... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ... พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม ... พึงแต่งจักร เหมือนหนหลัง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ปรารถนาจะสละ ทิฏฐิบาปในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้ง หลาย ภิกษุรูปนี้แล ไม่ปรารถนาจะสละทิฏฐิบาป เอาละ พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาปแก่เธอดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุรูปนั้น ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ เป็นธรรม ... เป็นวรรคโดยธรรม ... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ... พร้อมเพรียง กันโดยเทียมธรรม ... พึงแต่งจักรเหมือนหนหลัง.

ขอระงับตัชชนียกรรม

[๒๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลง ตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดย ชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 419

พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยเป็นธรรมระงับ ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสแม้อื่น แม้ ในอาวาสนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย สงฆ์เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรมระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนี้แล้ว เอาละ พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่เธอดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยเป็นธรรม ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... เป็นวรรคโดยธรรม ... เป็นวรรคโดย เทียมธรรมะ ... พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับ ตัชชนียกรรมในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หาย เย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะ ระงับตัชชนียกรรมแก่เธอดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม ระงับ ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... เป็นวรรคโดยธรรมะ ... เป็นวรรคโดยเทียม ธรรม ... พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม ... เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับ ตัชชนียกรรมในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่า อาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หาย เย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาล่ะ พวกเราจะ ระงับตัชชนียกรรมแก่เธอดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยธรรมระงับตัชชนียกรรม แก่ภิกษุรูปนั้น ... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ... พร้อมเพรียงถันโดยเทียมธรรม ... เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม ...

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 420

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม แล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับตัชชนียกรรมในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะระงับ ตัชชนียกรรมแก่เธอดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ระงับตัชชนียกรรม แก่ภิกษุรูปนั้น ... จึงพร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรม ... เป็นวรรคโดยไม่เป็น ธรรม ... พร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม ... เป็นวรรคโดยธรรม ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับนียกรรม เอาละ พวกเราจะงับตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงก้นโดยเทียมธรรม ระงับตัชชนียกรรม แก่ภิกษุรูปนั้น ... เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ เป็นธรรม ... เป็นวรรคโดยธรรม ... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ...

ขอระงับนิยสกรรม

[๒๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับนิยส กรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับนิยสกรรม เอาละ พวกเราจะระงับนิยสกรรมแก่เธอ

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 421

ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับนิสยกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... พร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม ... เป็นวรรคโดยธรรม ... เป็นวรรคโดย เทียมธรรม ... พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม ... พึงแต่งจักรเหมือนหนหลัง.

ขอระงับปัพพาชนียกรรม

[๒๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลง ปัพพาชนียกรรม แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึง ขอระงับปัพพาชนียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่าง นี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปัพพาชนียกรรม เอาละ พวกเราจะระงับปัพพาชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดย ไม่เป็นธรรม ระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ เป็นธรรม ... เป็นวรรคโดยธรรม ... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ... พร้อม เพรียงกันโดยเทียมธรรม ... พึงแต่งจักรเหมือนหนหลัง

ขอระงับปฏิสารณียกรรม

[๒๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอ ระงับปฏิสารณียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม เอาละ พวกเราจะระงับปฏิสารณียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่ เป็นธรรม ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 422

เป็นธรรม ... เป็นวรรคโดยธรรม ... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ... พร้อม เพรียงกัน โดยเทียมธรรม ... พึงแต่งจักรเหมือนหนหลัง.

ขอระงับอุกเขปนียกรรม

[๒๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อ หยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติ เอา ละ พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น วรรคโดยธรรมระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น ... พร้อม เพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม ... เป็นวรรคโดยธรรม ... เป็นวรรคโดยเทียม ธรรม ... พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม ... พึงแต่งจักรเหมือนหนหลัง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ ตัวได้ จึงขอระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุ ทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเชปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ เอาละ พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น วรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูป

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 423

นั้น ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม ... เป็นวรรคโดยธรรม ... เป็น วรรคโดยเทียมธรรม ... พร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรม ... พึงแต่งจักร เหมือนหนหลัง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาปแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ ตัวได้ จึงขอระงับ อุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาป ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุ ทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาปแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระรับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาป เอาละ พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาปแก่เธอ ดังนี้ แล้ว ได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิแก่ภิกษุรูป นั้น ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม ... เป็นวรรคโดยธรรม ... เป็น วรรคโดยเทียมธรรม ... พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม ... พึงแต่งจักร เหมือนหนหลัง.

ตัชชนียกรรม

[๒๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อความ บาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ รูปนี้แล ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้ เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ ประชุมนั้นกล่าวดัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียง

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 424

กันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้อง ทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่าง นี้ว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่ เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.

[๒๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อ ความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่านี้ว่า อาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำ ความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น กล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็น วรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอัน ทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดา ภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็น ธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.

[๒๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อ ความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ใน สงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 425

ภิกษุรูปนี้แล ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ ประชุมนั้น กล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อม. เพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดย เทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรม เป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมเป็นวรรคโดยธรรม และพวกที่กล่าว อย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.

[๒๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อ ความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียง กันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวก ที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุ ในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 426

[๒๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อ ความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อถารวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ใน ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ รูปนี้แล ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อม เพรียงกันโดยเทียมธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุม นั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในทีประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าว อย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.

นิยสกรรม

[๒๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นคนเขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการ คลุกคลีอันไม่สมควร ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แลเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาท ไม่สมควรอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร เอาละ พวกเรา จะลงนิยสกรรมแก่เธอ ดังนี้แล้ว เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงนิยสกรรมแก่ ภิกษุรูปนั้น ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม ... เป็นวรรคโดยธรรม ... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ... พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม ... สงฆ์ผู้อยู่ใน

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 427

ที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรค โดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุใน ที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรม ต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาทีฯ ๕ วาระนี้ ท่านย่อไว้.

ปัพพาชนียกรรม

[๒๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมประทุษร้าย สกุล มีความประพฤติเลวทราม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติ เลวทราม เอาละ พวกเราจะลงปัพพาชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... พร้อมเพรียงกัน โดย ไม่เป็นธรรม ... เป็นวรรคโดยธรรม ... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ... พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม ... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม กรรม เป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน โดย เทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรม พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 428

กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สอง พวกนี้เป็นธรรมวาทีฯ ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.

ปฏิสารณียกรรม

[๒๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมด่า ย่อม บริภาษพวกคฤหัสถ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ย่อมด่า ย่อมบริภาษพวกคฤหัสถ์ เอาล่ะ พวก เราจะลงปฏิสารณียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม. ลง ปฎิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม ... เป็นวรรคโดยธรรม ... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ... พร้อมเพรียงกันโดย เทียมธรรม ... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น กล่าวดัดค้านว่ากรรมเป็นวรรคโดย ไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรม กรรม ไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดย เทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำ ไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรม วาทีฯ ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.

อุกเขปนียกรรม

[๒อ๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ ในเรื่องนั้นถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ เอาละ

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 429

พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น วรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม ... เป็นวรรคโดยธรรม ... เป็นวรรคโดย เทียมธรรม ... พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม ... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น กล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน โดย ไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรม พร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่ กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดา ภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาทีฯ ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัย ต้องอาบัติแล้วไม่ ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ ... เอาละ พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่เรา ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม ... เป็นวรรคโดยธรรม ... เป็นวรรคโดยเทียม ธรรม ... พร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรม ... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าว คัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็น ธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรม พร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 430

กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่ กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอัน ทำกรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุใน ที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาทีฯ ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ปรารถนาจะสละ ทิฏฐิบาปในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ไม่ปรารถนาจะสละทิฏฐิบาป เอาละ พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาปแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุรูปนั้น ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็น ธรรม ... เป็นวรรคโดยธรรม ... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ... พร้อมเพียงกัน โดยเทียมธรรม ... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวดัดค้านว่า กรรมเป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดย ธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียง กันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็น อันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็น ธรรมวาทีฯ ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.

ขอระงับตัชชนียกรรม

[๒๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลง ตัชชนียกรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้วตัวได้ จึงขอ

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 431

ระงับตัชชนียกรรมในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแ ก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาล่ะ พวก เราจะระงับตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับ ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น กล่าวดัดค้านว่า กรรม เป็นวรรคโดยไม่เป็นกรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็น วรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดย เทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่ากรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สอง พวกนี้เป็นธรรมวาที.

[๒๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลง ตัชชนียกรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอ ระงับตัชชนียกรรมในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวก เราจะระงับตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรม เป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำ

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 432

ใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ ว่า กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่ เป็นอันทำ กรรมไม่เป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.

[๒๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอ ระงับ ตัชชนียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวก เราจะระงับตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยธรรม ระงับ ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรม เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็น เป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดย เทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่ากรรม เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้นสอง พวกนี้เป็นธรรมวาที.

[๒๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอ ระงับตัชชนียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม แล้วประพฤติโดยชอบ

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 433

หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวก เราจะระงับตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ระงับ ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรม เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็น วรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดย เทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรม เป็นวรรคโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรม เป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้ เป็นธรรมวาที.

[๒๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอ ระงับตัชชนียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวก เราจะระงับตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงถันโดยเทียมธรรม ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรม เป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้อองทำ ใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็น

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 434

อันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุม นั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที

ขอระงับนิยสกรรม

[๒๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้ง หลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรม แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับนิยสกรรม เอาละ พวกเราจะระงับ นิยสกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับนิยสกรรม แก่ภิกษุรูปนั้น ... พร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม ... เป็นวรรคโดยธรรม ... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ... พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม ... สงฆ์ ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรม พร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรค โดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรม เป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และ พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอัน ทำไม่ชอบ กรรมต้อง กำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นเป็นธรรมวาทีฯ ๕ วาระนี้ ท่านย่อไว้.

ขอระงับปัพพชนียกรรม

[๒๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรม แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวไป จึงขอ

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 435

ระงับปัพพาชนียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรม แล้วประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปัพพาชนียกรรม เอาละ พวกเราจะระงับปัพพาชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดย ไม่เป็นธรรม ระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... พร้อมเพรียงกันโดย ไม่เป็นธรรม เป็นวรรคโดยธรรม ... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ... พร้อม เพรียงกันโดยเทียมธรรม ... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น กล่าวคัดค้านว่า กรรม เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็น วรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียม ธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อม เพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรม เป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้ เป็นธรรมวาทีฯ ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.

ขอระงับปฏิสารณียกรรม

[๒๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงปฏิ- สารณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอ ระงับปฎิสารณียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงปฎิสารณียกรรม แล้วประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฎิสารณียกรรม เอาละ พวกเราจะระงับปฏิสารณียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดย ไม่เป็นธรรม ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... พร้อมเพรียงกันโดย

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 436

ไม่เป็นธรรม ... เป็นวรรคโดยธรรม ... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ... พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม ... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น กล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม กรรม เป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน โดย เทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมไม่เป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรม พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอัน ทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาทีฯ ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.

ขอระงับอุกเขปนียกรรม

[๒๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติ แก้ตัวได้ จึงขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุ ทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ เอาละ พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น วรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม ... เป็นวรรคโดยธรรม ... เป็นวรรค โดยเทียมธรรม ... พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม ... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุม นั้น กล่าวีคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 437

กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าว อย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาทีฯ ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ ตัวได้ จึงขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุ ทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ เอาละ พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น วรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น พร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม ... เป็นวรรคโดยธรรม ... พร้อมเพรียง กันโดยเทียมธรรม ... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม การพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดย ธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม การพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียง กันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็น อันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้ เป็นธรรมวาทีฯ ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 438

[๒๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาป แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาปในเรื่องนั้น ถ้า ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาป แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาป เอาละ พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาปแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น วรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุรูป นั้น ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม ... เป็นวรรคโดยธรรม ... เป็น วรรคโดยเทียมธรรม ... พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม ... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียง กันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าว อย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้ เป็นธรรมวาทีฯ ๕ วาระแม้นี้ท่านย่อไว้.

จัมเบปยยขันธกะ ที่ ๙ จบ

ในขันธกะนี้มี ๓๖ เรื่อง

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 439

หัวข้อประจำขันธกะ

[๒๓๗] ๑. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระนครจัมปา ภิกษุ ผู้อยู่ในวาสภคามได้ทำความขวนขวายในสิ่งจำปรารถนาแก่พวกพระอาคันตุกะ ครั้นทราบว่าพวกท่านชำนาญในสถานที่โคจรดีแล้ว จึงเลิกทำความขวนขวายใน กาลนั้น แต่ต้องถูกพวกพระอาคันตุกะยกเสียเพราะเหตุที่ไม่ทำ จึงได้ไปเฝ้าพระ ชินเจ้า ๒. ภิกษุทั้งหลายในนครจัมปาทำกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม พร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม เป็นวรรคโดยธรรม เป็นวรรคโดยเทียมธรรม พร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุรูปเดียว ภิกษุรูปเดียวยก ภิกษุ ๒ รูป หลายรูปที่เป็นสงฆ์ก็มี ภิกษุ ๒ รูป ภิกษุหลายรูปยกกันก็มี และสงฆ์ต่อสงฆ์ยกกันก็มี ๓. พระสัพพัญญูผู้ประเสริฐทรงทราบแล้ว ตรัสห้ามว่าไม่เป็นธรรม ๔. กรรมใดวิบัติโดยญัตติ อนุสาวนาสมบูรณ์ วิบัติโดยอนุสาวนาสมบูรณ์ด้วยญัตติ วิบัติทั้งสองอย่าง ทำกรรมแผกจากธรรม แผกจากวินัย แผกจากสัตถุศาสน์ กรรมที่ถูกคัดค้านกำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ๕. กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม พร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม เป็นวรรค โดยเทียมธรรม พร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม พระตถาคตทรงอนุญาตกรรม พร้อมเพรียงโดยธรรมเท่านั้น ๖. สงฆ์มี ๕ ประเภท คือสงฆ์จตุวรรค สงฆ์ปัญจวรรค สงฆ์ทสวรรค สงฆ์วีสติวรรค และสงฆ์อดิเรกวีสติวรรค ๗. ยกอุปสมบทกรรม ปวารณากรรม กับอัพภานกรรม นอกนั้น สงฆ์ จตุวรรคทำได้ ๘. ยกกรรม ๒ อย่าง คือ อุปสมบทในมัชฌิมประเทศและ อัพภานกรรม นอกนั้นสงฆ์ปัญจวรรคทำได้ทั่งสิ้น ๙. ยกอัพภานกรรม อย่างเดียวนอกนั้นสงฆ์ทสวรรคทำได้ ๑๐. กรรมทุกอย่าง สงฆ์วีสติวรรค ทำได้ทั้งสิ้น ๑๑. ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี ภิกษุผู้บอกลาสิกขา ภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุ ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกฐานไม่เห็นอาบัติ ฐานไม้ทำคืนอาบัติ ฐานไม้สละทิฏฐิอันเป็นบาป บัณเฑาะก์ คนลักเพศ ภิกษุเข้ารีตเดียรถีย์

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 440

สัตว์ดิรัจฉาน คนฆ่ามารดา คนฆ่าบิดา คนฆ่าพระอรหันต์ คนประทุษร้ายภิกษุณี คนทำลายสงฆ์ คนทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้องพระโลหิต อุภโตพยัญชนก ภิกษุนานาสังวาส ภิกษุอยู่ต่างสีมากัน ภิกษุอยู่ในเวหาสด้วยฤทธิ์ สงฆ์ทำกรรม แก่ผู้ใด มีผู้นั้นเป็นที่ครบจำนวนสงฆ์ รวม ๒๔ จำพวก พระสัมมาสัมพุทธ เจ้าทรงห้าม เพราะพวกนั้น เป็นคณะปูรกะไม่ได้ ๑๒. สงฆ์มีปาริวาสิกภิกษุ เป็นที่ ให้ปริวาสชักเข้าหาอาบัติเติม ให้มานัต หรือพึงอัพภาน เป็นกรรมใช้ ไม่ได้ และไม่ควรทำ มีมูลายปฏิกัสสนารหภิกษุเป็นที่ ๔ มีมานัตตารหภิกษุ เป็นที่ ๔ มี มานัตจาริกภิกษุเป็นที่ ๔ มีอัพภานารหภิกษุเป็นที่ ๔ รวม ๕ จำพวก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศว่าทำสังฆกรรมใช้ไม่ได้ ๑๓. ภิกษุณี สิกขมานา สามแร สามเณรี ภิกษุผู้บอกลาสิกขา ภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุ วิกลจริต ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ภิกษุถูกยกเพราะ ไม่เห็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ เพราะไม่สละทิฏฐิอัน เป็นบาป บัณเฑาะก์ คนลักเพศ ภิกษุเข้ารีตเดียรถีย์ สัตว์ดิรัจฉาน คนฆ่ามารดา คนฆ่าบิดา คน ฆ่าพระอรหันต์ คนประทุษร้ายภิกษุณี ภิกษุผู้ทำสังฆเภท คนทำโลหตุปบาท อุภโตพยัญชนก ภิกษุนานาสังวาสะ ภิกษุผู้อยู่ต่างสีมากัน ภิกษุอยู่ในเวหาสด้วย ฤทธิ์ และภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงกรรม รวม ๒๗ จำพวกนี้ค้านไม้ขึ้น ๑๔. ภิกษุ ผู้เป็นปกตัตตะค้านขึ้น ๑๕. ภิกษุผู้บริสุทธิ์ถ้าสงฆ์ไล่ออก เป็นอันไล่ออก ไม่ดี ๑๖. ภิกษุพาล ถ้าสงฆ์ไล่ออก เป็นอัน ไล่ออกดี ๑๗. บัฬเฑาะก์ คนลักเพศ ภิกษุเข้ารีตเดียระถีย์ สัตว์ดิรัจฉาน คนฆ่ามารดา คนฆ่าบิดา คนฆ่า พระอรหันต์ คนประทุษร้ายภิกษุณี ภิกษุทำสังฆเภท คนทำโลหิตุปบาท อุภโตพยัญชนกรวม ๑๑ จำพวกนี้รับเข้าหมู่ไม่ควร ๑๘. คนมือด้วน คนเท้าด้วน คนทั้งมือและเท้าด้วนทั้งสอง คนหูขาด คนจมูกแหว่ง คนทั้งหูขาดและจมูก แหว่งทั้งสอง คนนิ้วมือนิ้วเท้าขาด คนมีง่ามมือ ง่ามเท้าขาด คนเอ็นขาด

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 441

คนมือเป็นแผ่น คนค่อม คนเตี้ย คนคอพอก คนมีเครื่องหมายตดตัว คนมี รอยเฆี่ยนด้วยหวาย คนถูกหมายประกาศจับตัว คนเท้าปุก คนมีโรคเรื้อรัง คนแปลกเพื่อน คนตาบอดข้างเดียว คนง่อย คนกระจอก คนเป็นโรคอัมพา คนมีอิริยาบถขาด คนชราทุพพลภาพ คนตาบอด ๒ ข้าง คนใบ้ คนหูหนวก คนทั้งบอดและใบ้ คนทั้งบอดและหนวก คนทั้งใบ้และหนวก คนทั้งบอดใบ้ และหนวก เหล่านี้ รวม ๒๓ จำพวกพอดี รับคนเหล่านั้น เข้าหมู่ได้ พระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงประกาศไว้แล้ว ๑๙. กรรม ๗ อย่าง คือการยกภิกษุผู้ไม่ เห็นอาบัติ ไม่ทำคืนอาบัติ ๑ ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ๑ ไม่เห็นไม่ทำคืน อาบัติ ๑ ไม่เห็นอาบัติ ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ๑ ไม่ทำคืนอาบัติ ไม่สละทิฎฐิ อันเป็นบาป ๑ ไม่เห็น ไม่ทำคืน ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ๑ เป็นกรรม ไม่ เป็นธรรม ๒๐. กรรม ๗ อย่างนั้น แม้ที่อนุวัตรตามภิกษุผู้ต้องอาบัติ ก็เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ๒๑. กรรมอีก ๗ อย่าง ที่อนุวัตรตามภิกษุผู้ต้อง อาบัติ เป็นกรรมที่ชอบธรรม ๒๒. กรรมที่ควรทำต่อหน้ากลับทำลับหลัง ๑ กรรมที่ควรทำด้วยซักถาม กลับทำโดยไม่ซักถาม ๑ กรรมที่ควรทำตามปฏิญาณ กลับทำโดยไม่ปฏิญาณ ๑ ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ๑ ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ๑ ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผ้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ๑ ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ๑ ลงปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ๑ ลงปฎิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ๑ ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ๑ ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควร อุกเขปนียกรรม ๑ ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม ๑ ให้มานัตแก่ภิกษุ ผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ๑ อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต ๑ ให้ภิกษุผู้ควรอัพภาน ให้อุปสมบทกุลบุตร ๑ ทำกรรมอย่างอื่นแก่ภิกษุอื่น ๑ รวม ๑๖ อย่างนี้ เป็น กรรมใช้ไม่ได้ ๒๓. ทำกรรมนั้นๆ แก่ภิกษุนั้นๆ รวม ๑๖ อย่างนี้ เป็น

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 442

กรรมใช้ได้ ๒๔. ภิกษุอื่นยกภิกษุอื่นเสียรวม ๑๖ อย่างนี้เป็นกรรมใช้ไม่ได้ ๒๕. ทำกรรมมีมูลอย่างละ ๒ แก่ภิกษุนั้น รวม ๑๖ อย่างแม้เหล่านั้นเป็น กรรมใช้ได้ ๒๖. จักรมีมูลอย่างละหนึ่ง พระชินเจ้าตรัสว่า ใช้ไม่ได้ ๒๗. ภิกษุก่อความบาดหมางสงฆ์เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ได้ลงตัชชนียกรรม ๒๘. ภิกษุนั้นไปอารามอื่นภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้นได้พร้อมเพรียง โดยไม่เป็นธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ๒๙. ภิกษุทั้งหลายในอาวาส อื่นเป็นวรรคโดยธรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรมก็มี พร้อมเพรียงโดยเทียม ธรรมก็มี ไม่ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น ๓๐. บทเหล่านั้น คือ พร้อมเพรียง โดยไม่เป็นธรรม เป็นวรรคโดยธรรม เป็นวรรคโดยเทียมธรรม และพร้อม เพรียงโดยเทียมธรรม ปราชญ์ผู้มีปัญญาพึงผูกให้เป็นจักรทำให้มีมูลอย่างละ หนึ่ง ๓๑. สงฆ์ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้พาล ไม่ฉลาด ๓๒. สงฆ์ลง ปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล ๓๓. สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม แก่ภิกษุผู้ด่าคฤหัสถ์ ๓๔.. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำหมู่ทรงภาษิตอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ไม่เห็นอาบัติ ไม่ทำคืนอาบัติ และไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ๓๕. ภิกษุมีปัญญาพึงทำตัชชนียกรรมให้ถูกต้องตามระเบียบวินัย ภิกษุประพฤติ เรียบร้อยอนุวัตรตามระเบียบวินัยเหล่านั้นแหละ ขอระงับกรรมเหล่านั้นโดยนัย แห่งกรรมในหนหลัง ๓๖. ในกรรมนั้นๆ แล สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น กล่าวคัดค้านว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำ ใหม่ และเมื่อกรรมระงับ ภิกษุเหล่านั้นเป็นธรรมวาที พระมหามุนีทรงเห็น ภิกษุพวกเข้ากรรมได้รับความลำบากโดยกรรมวิบัติ จึงทรงชี้วิธีระงับไว้ ดุจ นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ชี้บอกตัวยาไว้ ฉะนั้น.

หัวข้อประจำขันธกะ จบ

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 443

อรรถกถาจัมเปยยขันธกะ

วินิจฉัยในจัมเปยยขันธกะ

วินิจฉัยในจัมเปยยขันธกะ พึงทราบดังนี้:-

หลายบทว่า คคฺคราย โปกฺขรณิยา ตีเร คือที่ฝั่งแห่งสระโบกรณี ซึ่งหญิงมีชื่อว่าคัคคราสร้าง.

บทว่า ตนฺติพทฺโธ มีความว่า ชื่อผู้เนื่องเฉพาะในความขวนขวาย เพราะข้อที่ความขวนขวายเป็นกิจอันเธอพึงทำในอาวาสนั้น.

วินิจฉัยในข้อว่า อุสฺสุกฺกมฺปิ อกาสิ ยาคุยา เป็นอาทิ พึงทราบ ดังนี้:-

สมควรทำความขวนขวายแต่ในที่ซึ่งชนทั้งหลายสั่งไว้ว่า เมื่อภิกษุ อาคันตุกะมา ท่านพึงบอก, ไม่สมควรทำในที่ซึ่งเขาไม่ได้สั่งไว้.

ข้อว่า คจฺฉ ตวํ ภิกฺขุ มีความว่า พระศาสดาได้ทรงเห็นว่า เสนาสนะในอาวาสนั้นนั่นแลของภิกษุนั้น เป็นที่สบาย, ด้วยเหตุนั้นแล จึง ตรัสว่า เธอจงสำเร็จการอยู่ในวาสภคามนั้นแล.

ความกระทำต่างแห่งคำว่า อธมฺเมน วคฺคกมฺมํ ถโรนฺติ เป็น อาทิ จักมาในบาลีข้างหน้าเป็นแท้.

ข้อว่า อญฺตราปิ ธมฺมา กมฺมํ กโรนฺติ มีความว่า ภิกษุ ฉัพพัคคีย์ ทำกรรม เว้นจากธรรมบ้าง; อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะนี้เองเป็นบาลี; กรรมที่ทำด้วยวัตถุเป็นจริง จัดเป็นกรรมที่ทำตามธรรม; ความว่า ภิกษุ ฉัพพัคคีย์ ไม่ทำอย่างนั้น.

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 444

แม้ในข้อว่า อญฺตฺราปิ วินยา กมฺมํ อฌฺตฺราปิ สตฺถุ- สาสนา กมฺมํ ก็นัยนี้แล. ก็ในวินัยและสัตถุศาสนานี้ การโจทและการประกาศ ชื่อวินัย. ญัตติสัมปทาและอนุสาวนสัมปทา ชื่อสัตถุศาสนา, ความว่า ภิกษุ ฉัพพัคคีย์ทำกรรมเว้นจากการโจท การประกาศญัตติสัมปทา และอนุสาวน สัมปทาเหล่านั้น.

บทว่า ปฏิกฺกฏฺกตํ ได้แก่ กรรมที่ถูกคัดค้านและอันเธอขืนทำ. กรรมใด อันภิกษุขืนทำในเมื่อภิกษุเหล่าอื่นคัดค้านอยู่, กรรมนั้นจัดเป็น กรรม ที่ถูกคัดค้านและอันภิกษุขืนทำ; ความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ทำกรรมเช่นนั้นบ้าง.

กรรมหก

ก็ในคำว่า ฉยิมานิ ภิกฺขเว กมฺมานิ อธมฺมกมฺมํ เป็นอาทิ คำว่า ธรรม เป็นชื่อแห่งบาลี. เพราะเหตุนั้น กรรมใดสงฆ์ไม่ทำโดยบาลี ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้. กรรมนั้น พึงทราบว่า กรรมไม่เป็นธรรม. ความสังเขปในฉกัมมาธิการนี้ เท่านี้. ส่วนความพิสดารมาแล้วในบาลีนั่นแล.

ก็ความพิสดารนั้นแล มาแล้วด้วยอำนาจแห่งญัตติทุติยกรรมและญัตติ จตุตถกรรมเท่านั้น. อันในญัตติกรรมไม่มีความลดหย่อนหรือความทำโดย ประการอย่างอื่น เหมือนในญัตติทุติยกรรมและญัตติจตุตถกรรม, ส่วนอปโลกนกรรมอันภิกษุย่อมทำเพียงสวดประกาศ; เพราะฉะนั้นญัตติกรรมและ อปโลกนกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงแสดงไว้ในบาลี. ข้าพเจ้า จักพรรณนาวินิจฉัยแห่งกรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมดข้างหน้า.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า ปญฺจ สงฺฆา เป็นอาทิ เพื่อ แสดงประเภทแห่งสงฆ์ทั้งหลาย ผู้จะพึงทำกรรมที่พร้อมเพรียงโดยธรรม ซึ่ง เป็นที่หก.

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 445

บทว่า กมฺมปฺปตฺโต คือ ผู้เข้ากรรม ได้แก่ผู้ประกอบในกรรมคือ ผู้ควรกรรม ความว่า ไม่ควรเพื่อทำกรรมใดๆ หามิได้.

คำว่า จตุวคฺคกรณญฺเจ ภิกฺขเว กมฺมํ ภิกฺขุนีจตุตฺโถ เป็น อาทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เพื่อแสดงวิบัติแห่งกรรมโดยบริษัท.

ในคำนั้น บุคคลผู้มีสังวาสต่างกันเพราะกรรม พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเอา ด้วยอุกขิตตกศัพท์. บุคคลผู้มีสังวาสต่างกันเพราะลัทธิ ทรงถือ เอาด้วยนานาสังวาสกศัพท์.

สองบทว่า นานาสีมาย ิตจตุตฺโถ มีความว่า เป็นจตุวรรคกับ ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในหัตถบาสที่สีมันตริกหรือภายนอกสีมา.

คำว่า ปาริวาสิกจตุตฺโถ เป็นอาทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เพื่อ แสดงวิบัติโดยบริษัทแห่งปริวาสกรรมเป็นต้นเท่านั้น. ข้าพเจ้าจักพรรณนา วินิจฉัยแห่งกรรม เหล่านั้น ข้างหน้า.

เพื่อแสดงข้อที่กรรมถูกคัดค้านแล้วและขืนทำ เป็นกรรมกำเริบและ ไม่กำเริบ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า เอกจฺจสฺส ภิกฺขเว สงฺฆสฺส มชฺเฌ ปฏิกฺโกสนา รูหติ เป็นต้น.

บทว่า ปกตตฺตสฺส ได้แก่ ผู้มีศีลไม่วิบัติ คือ ผู้ไม่ต้องปาราชิก.

บทว่า อนนฺตริกสฺส ได้แก่ ผู้นั่งเป็นลำดับแห่งตน. เพื่อแสดง ข้อที่กรรมทั้งหลายเป็นของกำเริบและไม่กำเริบ โดยวัตถุพระผู้มีพระภาคเจ้าจึง ตรัสคำว่า เทฺว มา ภิกฺขเว นิสฺสารณา เป็นต้น. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อปฺปตฺโต นิสฺสารณํ, ตญฺเจ สงฺโฆ นิสฺสาเรติ, สุนิสฺสาริโต นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาปัพพาชนียกรรม. จริงอยู่ สงฆ์ย่อมขับ

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 446

ให้ออกจากวัด ด้วยปัพพาชนียกรรม, เพราะฉะนั้น ปัพพาชนียกรรมนั้น ท่าน จึงเรียกว่า นิสสารณา. ก็เพราะเหตุที่ไม่เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล. บุคคลนั้น จึงไม่ถึงปัพพาชนียกรรมนั้น. ด้วยลักษณะแผนกหนึ่ง. แต่ว่า เพราะเหตุที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สงฆ์หวังอยู่พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่บุคคลนั้น ดังนี้ บุคคลนั้น จึงจัดว่า เป็นผู้อันสงฆ์ขับออกด้วยดีแล้ว.

นิสสารณา

ข้อว่า ตญฺเจ สงฺโฆ นิสฺสาเรติ มีความว่า หากสงฆ์ขับออก ด้วยอำนาจแห่งตัชชนียกรรมเป็นต้นไซร้ บุคคลนั้น ชื่อว่า ถูกขับออกด้วย ดี เพราะเหตุที่ในวินัยว่าด้วยตัชชนียกรรมเป็นต้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตนิสสารณาด้วยองค์แม้อันหนึ่งอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์จำนง อยู่พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ พวก คือ เป็นผู้ทำความบาดหมาง เป็นผู้ ทำการทะเลาะ เป็นผู้ทำการวิวาท เป็นผู้ทำการอื้อฉาว เป็นผู้ก่ออธิกรณ์ใน สงฆ์ พวกหนึ่ง, เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร พวก หนึ่ง, อยู่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอัน ไม่สมควร พวกหนึ่ง.

โอสารณา

กิริยาที่เรียกเข้าหมู่ ชื่อโอสารณา.

ในเรื่องโอสารณานั้น ข้อว่า ตญฺเจ สงฺโฆ โอสาเรติ ได้แก่ เรียกเข้าหมู่ ด้วยอำนาจอุปสมบทกรรม.

บทว่า โทสาริโต มีความว่า บุคคลนั้น สงฆ์ให้อุปสมบทแล้วแม้ ตั้งพันครั้ง ก็คงเป็นอนุปสัมบันนั่นเอง. ฝ่ายอาจารย์และอุปัชฌาย์ย่อมมีโทษ การกสงฆ์ที่เหลือก็เหมือนกัน, ใครๆ ไม่พ้นจากอาบัติ. อภัพพบุคคล ๑๑

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 447

จำพวกเหล่านี้ สงฆ์เรียกเข้าหมู่ใช้ไม่ได้เลย ด้วยประการฉะนี้. ส่วนบุคคล ๓๒ จำพวก มีตนมือด้วนเป็นต้น เรียกเข้าหมู่โดยชอบ, สงฆ์ให้อุปสมบท แล้ว ย่อมเป็นอุปสัมบันแท้, บุคคลเหล่านั้น ใครๆ จะว่ากล่าวอะไรๆ ไม่ได้. แต่อาจารย์กับอุปัชฌาย์และการกสงฆ์ย่อมไม่มีโทษ ใครๆ ไม่พ้น จากอาบัติ.

เพื่อแสดงกรรมไม่เป็นธรรมด้วยอำนาจวัตถุไม่เป็นจริง และกรรมเป็น ธรรมด้วยอำนาจวัตถุเป็นจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า อธิ ปน ภิกฺขเว ภิกฺขุสฺส น โหติ อาปตฺติ ทฏฺพฺพา เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏินิสฺสชฺเชตา คือ ทิฏฐิลามกอันจะ พึงสละเสีย. กรรมเป็นธรรมและไม่เป็นธรรม ด้วยอำนาจวัตถุนั้นแล พระผู้- มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ ในอุบาลีปัญหาก็มี. ในอุบาลีปัญหานั้น มีนัย ๒ คือ นัยมีมูลอันเดียว ๑ นัยมีมูลสอง ๑ นัยมีมูลอันเดียวชัดเจนแล้ว. ในนัย มีมูลสอง สติวินัยกับอมูฬหวินัย ท่านทำ ให้เป็นคำถามอันเดียวกัน ฉันใด, แม้อมูฬหวินัยเป็นต้น กับตัสสปาปิยสิกาเป็นต้น ก็พึงทำให้เป็นคำถามอันเดียว กันฉันนั้น. ส่วนในข้อสุดท้าย คำว่า อุปสมฺปทรหํ อุปสมฺปาเทติ ย่อม เป็นบทอันเดียวกันแท้. ข้างหน้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบบทที่เหลือ ทั้งหลายกับบทอันหนึ่งๆ ทำสติวินัยแม้แห่งภิกษุให้เป็นต้น.

เพื่อแสดงวิบัติในกรรม ๗ อย่าง มีตัชชนียกรรมเป็นต้น พร้อมทั้ง กิริยาที่ระงับ จัดเป็นหมวด ด้วยอำนาจบทเหล่านั้น คือ อธมฺเมน วคฺค อธมฺเมน สมคฺคํ ธมฺเมน วคฺคํ ธมฺมปฏิรูปเกน วคฺคํ ธมฺมปฏิรูปเกน สมคฺคํ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิธ ปน ภิกฺขเว ภิกฺขุ ภณฺฑการโก เป็นอาทิ.

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 448

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนปาทาโน ได้แก่ ผู้เว้นจากมรรยาท, อาการเป็นเครื่องกำหนด เรียกว่ามรรยาท. ความว่า ผู้เว้นจากความกำหนด อาบัติ. เบื้องหน้าแต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบาลีนั้นเอง เทียบเตียงกับ บทว่า อกตํ กมฺมํ เป็นต้น เพื่อแสดงประเภท แห่งกรรมที่ถูกคัดค้านแล้ว และขืนทำ. ในบาลีนั้น ใครๆ ไม่สามารถจะทราบคำใดๆ โดยท่านองแห่ง บาลีหามิได้, เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่พรรณนาให้พิสดาร ฉะนั้นแล.

อรรถกถาจัมเปยยขันธกะ จบ

 
หัวข้อถัดไป
หัวข้อก่อนหน้า

หน้าบัญชีเรื่อง