โกสัมพิขันธกะ
[เล่มที่ 7] พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒
พระวินัยปิฎก
เล่มที่ ๕
มหาวรรค ภาคที่ ๒
โกสัมพิขันธกะ
ภิกษุรูปหนึ่งเข้าเฝ้ากราบทูลให้ทรงทราบ 239/450
แยกกันทําอุโบสถในสีมาเป็นต้น 240/455
เรื่องความบาดหมางกันเป็นต้น 241/456
พระเจ้าโกศลและพระมเหสีถูกจับ 244/462
พระราโชวาทของพระเจ้าทีฆีติโกศลราช 463
เรื่องช้างใหญ่ปาริไลยกะ 249/478
อุบาสกอุบาสิกาชาวพระนครโกสัมพีไม่อภิวาท 251/480
พระสารีบุตรเข้าเฝ้าทูลถามข้อปฏิบัติ 252/481
วัตถุสําหรับอธรรมวาที ๑๘ ประการ 481
วัตถุสําหรับธรรมวาที ๑๘ ประการ 482
พระเถรานุเถระเข้าเฝ้าทูลถามข้อปฏิบัติ 253/484
พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีเข้าเฝ้าทูลถามข้อปฏิบัติ 254/485
อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าเฝ้าทูลถามข้อปฏิบติ 255/486
นางวิสาขามิคารมาตาเข้าเฝ้าทูลถามข้อปฏิบัติ 256/486
รับภิกษุผู้ถูกยกเข้าหมู่ 258/488
พระพุทธานุญาตให้ทําสังฆสามัคคี 489
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 7]
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 449
โกสัมพิขันธกะ
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๒๓๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น ยังมีภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติแล้ว มี ความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ แต่ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่า ไม่เป็นอาบัติ สมัยต่อมา ภิกษุรูปนั้นกลับมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าไม่เป็น อาบัติ แต่ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ ภิกษุเหล่านั้นจึง ได้ถามภิกษุนั้นว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติ ท่านเห็นอาบัตินั้นหรือไม่ ภิกษุ รูปนั้น ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะพึงเห็น ภายหลังภิกษุเหล่า นั้นหาสมัครพรรคพวกได้ จึงยกภิกษุรูปนั้นเสียเพราะไม่เห็นอาบัติ.
แท้จริง ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้คงแก่เรียน ช่ำชองคัมภีร์ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา มีความละอาย รังเกียจ ผู้ใคร่ต่อ สิกขา ภิกษุรูปนั้นจึงเข้าไปหาบรรดาภิกษุที่เป็นเพื่อนเคยเห็น เคยคบกันมา แล้วได้กล่าวคำนี้ ว่า อาวุโสทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้องถูกยก ผมต้องถูกยกหามิได้ ผมถูกยกด้วยกรรมไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ขอท่านทั้งหลายจงกรุณาเป็นฝักฝ่ายของผมโดยธรรม โดยวินัย ด้วยเถิด ภิกษุรูปนั้น ได้ภิกษุที่เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมา เป็นฝักฝ่ายแล้ว ได้ส่งทูตไปในสำนักภิกษุชาวชนบทที่เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกัน มาว่า อาวุโส ทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้องอาบัติ ผมต้อองอาบัติ หามิได้ ผมไม่ต้องถูกยก ผมเป็นผู้ถูกยกหามิได้ ผมถูกยกด้วยกรรมไม่เป็น ธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ขอท่านทั้งหลายจงกรุณาเป็นฝักฝ่ายของผม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 450
โดยธรรม โดยวินัยด้วยเถิด ดังนี้ ได้พวกภิกษุชาวชนบทที่เป็นเพื่อนเคยเห็น เคยคบกันมา เป็นฝักฝ่าย.
ครั้งนั้น พวกภิกษุที่สนับสนุนผู้ถูกยกเหล่านั้น ได้เข้าไปหาภิกษุพวก ที่ยกแล้วได้กล่าวคำนี้แก่ภิกษุพวกที่ยกว่า อาวุโสทั้งหลาย นั้นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติ ภิกษุนั้นต้องอาบัติหามิได้ ภิกษุ นั้นไม่ต้องถูกยก ภิกษุนั้นเป็นผู้ถูกยกหามิได้ ภิกษุนั้นถูกยกด้วยกรรมไม่เป็น ธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ.
เมื่อภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยกกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุพวกยก ได้ กล่าวคำนี้แก่ภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยกว่า อาวุโสทั้งหลาย นั่นเป็นอาบัติ นั่น ไม่เป็นอาบัติหามิได้ ภิกษุนั้นต้องอาบัติ ไม่ต้องอาบัติหามิได้ ภิกษุนั้นต้อง ถูกยกแล้ว ไม่ต้องถูกยกหามิได้ ภิกษุนั้น ถูกยกแล้วด้วยกรรมเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ขอท่านทั้งหลายอย่าสนับสนุน อย่าตามห้อมล้อม ภิกษุผู้ถูกยกนั้นเลย. ภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยกเหล่านั้น อันภิกษุพวกยกว่ากล่าวอยู่แม้ อย่างนี้แล ก็ยังสนับสนุน ยังตามห้อมล้อมภิกษุผู้ถูกยกนั้นอย่างเดิมนั่น แหละ.
ภิกษุรูปหนึ่งเข้าเฝ้ากราบทูลให้ทรงทราบ
[๒๓๙] ครั้นต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นนั่งเฝ้าเรียบร้อย แล้ว ได้กราบทูลคำนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุรูปหนึ่ง ในวัดโฆสิตารามนี้ต้องอาบัติ ท่านมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ แต่ ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่า ไม่เป็นอาบัติ ครั้นต่อมา ท่านกลับมี
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 451
ความเห็นในอาบัตินั้นว่า ไม่เป็นอาบัติ แต่ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้น ว่าเป็นอาบัติ ภิกษุเหล่านั้นจึงได้กล่าวคำนี้แก่ท่านว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติ ท่านเห็นอาบัตินั้นหรือไม่ ท่านตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะพึง เห็น ภายหลังภิกษุเหล่านั้นหาสมัครพรรคพวกได้แล้ว จึงยกท่านเสีย เพราะ ไม่เห็นอาบัติ แท้จริง ท่านรูปนั้น เป็นผู้คงแก่เรียน ช่ำชองคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต ฉลาดมีปัญญา มีความละอาย รังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา จึงเข้าไปหาบรรดาภิกษุที่เป็นเพื่อนเคยเห็น เคยคบกันมา แล้ว ได้กล่าวคำนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย นั้นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ผม ไม่ต้องอาบัติ ผมต้องอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้องถูกยก ผมต้องถูกยกหามิได้ ผมถูกยกด้วยกรรมไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ขอท่านทั้งหลายจง กรุณาเป็นฝักฝ่ายของผมโดยธรรม โดยวินัยด้วยเถิด แล้วได้พวกภิกษุที่เป็น เพื่อนเคยเห็น เคยคบกันมาเป็นฝักฝ่าย และส่งทูตไปในสำนักภิกษุชาวชนบท ที่เป็นเพื่อนเคยเห็น เคยคบกันมาว่า อาวุโสทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่น เป็นอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้องอาบัติ ผมต้องอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้องถูกยก ผมต้องถูกยกหามิได้ ผมถูกยกด้วยกรรมไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ขอท่านทั้งหลายจงกรุณาเป็นฝักฝ่ายของผมโดยธรรม โดยวินัยด้วยเถิด แล้วได้ ภิกษุพวกชาวชนบทที่เป็นเพื่อนเคยเห็น เคยคบกันมา เป็นฝักฝ่าย.
ครั้งนั้น ภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยก เข้าไปหาภิกษุพวกยกแล้ว ได้ กล่าวคำนี้แก่ภิกษุพวกยกว่า อาวุโสทั้งหลาย นั้นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติ หามิได้ ภิกษุรูปนั้น ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุนั้นต้องอาบัติหามิได้ ภิกษุรูปนั้นไม่ ต้องถูกยก ภิกษุรูปนั้นต้องถูกยกหามิได้ ภิกษุรูปนั้นถูกยกด้วยกรรมไม่เป็น ธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 452
เมื่อภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยกกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุพวกยกได้กล่าว คำนี้ แก่ภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยกว่า อาวุโสทั้งหลาย นั่นเป็นอาบัติ นั่นไม่ เป็นอาบัติหามิได้ ภิกษุนั้น ต้องอาบัติ ไม่ต้องอาบัติหามิได้ ภิกษุนั้นต้องถูกยก ไม่ต้องถูกยกหามิได้ ภิกษุนั้นถูกยกด้วยกรรมเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ ฐานะ ขอท่านทั้งหลายอย่าสนับสนุน อย่าตามห้อมล้อมภิกษุผู้ถูกยกนั้นเลย.
เมื่อภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยกเหล่านั้น อันภิกษุพวกยกว่ากล่าวอยู่ แม้อย่างนี้ ก็ยังสนับสนุน ยังตามห้อมล้อมภิกษุผู้ถูกยกนั้นอย่างเดิมนั่นแหละ พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงประทานพระโอวาท
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ภิกษุสงฆ์แตกกันแล้ว ภิกษุ สงฆ์แตกกันแล้ว จึงทรงลุกจากที่ประทับ เสด็จเข้าไปทางภิกษุพวกยก ครั้นถึง แล้วประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย ครั้นพระองค์ประทับนั่งแล้วได้ตรัส ประทานพระพุทโธวาทแก่ภิกษุพวกยกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าสำคัญภิกษุอันตนพึงยกเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยนึกว่า พวกเราเฉลียวฉลาด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติแล้วมีความเห็น ในอาบัตินั้น ว่าไม่เป็นอาบัติ แก่ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ ถ้าพวกเธอรู้จักภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แลเป็นพหูสูต ... ผู้ใคร่ต่อสิกขา ถ้าพวกเราจักยกภิกษุรูปนี้ เพราะไม่เห็นอาบัติ จักทำอุโบสถร่วมกับภิกษุรูปนี้ ไม่ได้ จักต้องทำอุโบสถแยกจากภิกษุรูปนี้ ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแยกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การ กำหนดแห่งสงฆ์การกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ จักมีแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายผู้เกรงแค่ความแตกนั้น ไม่พึงยกภิกษุนั้น เพราะไม่เห็นอาบัติ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 453
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติแล้วมี ความเห็นในอาบัตินั้นว่าไม่เป็นอาบัติ แต่ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้น ว่าเป็นอาบัติ ถ้าพวกเธอรู้จักภิกษุรูปนั้น อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แลเป็นพหูสูต ... ผู้ใคร่ต่อสิกขา ถ้าพวกเราจักยกภิกษุรูปนี้ เพราะไม่เห็นอาบัติ. จักปวารณาร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ จักต้องปวารณาแยกจากภิกษุรูปนี้. จักทำสังฆกรรมร่วมกับภิกษุรูปนไม่ได้ จักต้องทำสังฆกรรมแยกจาก ภิกษุรูปนี้.
จักนั่งบนอาสนะร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ จักต้องนั่งบนอาสนะแยกจาก ภิกษุรูปนี้.
จักนั่งในสถานที่ดื่มยาคูร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ จักต้องนั่งในสถานที่ ดื่มยาคูแยกจากภิกษุรูปนี้.
จักนั่งในโรงภัตร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ จักต้องนั่งในโรงภัตแยกจาก ภิกษุรูปนี้.
จักอยู่ในที่มุงที่บังอันเดียวกัน ร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ จักต้องอยู่ในที่มุง ที่บังอันเดียวกันแยกจากภิกษุรูปนี้.
จักทำอภิวาท ต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรมตามลำดับ ผู้แก่พรรษา ร่วมกับ ภิกษุรูปนี้ไม่ได้ จักต้องทำอภิวาท ต้อนรับอัญชลีกรรม สามีจิกรรม ตามลำดับผู้แก่พรรษา แยกจากภิกษุรูปนี้.
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความ แตกแยกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานะแห่งสงฆ์ การกำหนดแห่งสงฆ์ การกระทำ ต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมีข้อนั้น เป็นเหตุ จักมีแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายผู้เกรงแต่ความ แตกกัน ไม่พึงยกภิกษุรูปนั้น เพราะไม่เห็นอาบัติ.
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสข้อความนั้น แก่ภิกษุพวกยกแล้ว ทรงลุก จากที่ประทับเสด็จพระพุทธเนินเข้าไปทางภิกษุพวกที่สนับสนุนผู้ถูกยก แล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 454
ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย ครั้นพระองค์ประทับนั่งแล้ว ได้ตรัส ประทานพระพุทโธวาทแก่ภิกษุพวกที่สนับสนุนผู้ถูกยกว่า ดูก่อนภิกษุทั่งหลาย พวกเธอต้องอาบัติแล้ว อย่าสำคัญอาบัติว่าไม่ต้องทำคืน ด้วยเข้าใจว่า พวก เราไม่ต้องอาบัติ พวกเราไม่ต้องอาบัติ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติแล้ว มีความ เห็นในอาบัตินั้นว่าไม่เป็นอาบัติ แต่ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่า เป็นอาบัติ ถ้าเธอรู้จักภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่าท่านเหล่านี้ แลเป็นพหูสูต ... ผู้ ใคร่ต่อสิกขา คงจะไม่ถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาติ ภยาคติ เพราะเหตุ แห่งเรา หรือเพราะเหตุแห่งภิกษุเหล่าอื่น ถ้าภิกษุเหล่านั้นจักยกเรา เพราะไม่ เห็นอาบัติ พวกเธอจักทำอุโบสถร่วมกับเราไม่ได้ จักต้องทำอุโบสถแยกจากเรา ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแยกแห่ง สงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความกำหนดแห่งสงฆ์ การกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่ง มีข้อนั้น เป็นเหตุ จักมีแก่สงฆ์ ภิกษุผู้เกรงแต่ความแตกกัน พึงยอมแสดงอาบัติ นั้นเสีย แม้ด้วยความเชื่อผู้อื่น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติแล้ว มี ความเห็นในอาบัตินั้นว่า ไม่เป็นอาบัติ แต่ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้น ว่า เป็นอาบัติ ถ้าเธอรู้จักภิกษุเหล่านั้น อย่างนี้ว่า ท่านเหล่านั้นแลเป็นพหูสูต ... ผู้ใคร่ต่อสิกขาคงจะไม่ถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ เพราะเหตุแห่ง เรา หรือเพราะเหตุแห่งภิกษุอื่น ถ้าภิกษุเหล่านี้จักยกเรา เพราะไม่เห็นอาบัติ.
จักปวารณาร่วมกับ เราไม่ได้ จักต้องปวารณาแยกจากเรา.
จักทำสังฆกรรมร่วมกับเราไม่ได้ จักต้องทำสังฆกรรมแยกจากเรา.
จักนั่งเหนืออาสนะร่วมกับเราไม่ได้ จักต้องนั่งเหนืออาสนะแยกจากเรา.
จักนั่งในสถานที่ดื่มยาคูร่วมกับเราไม่ได้ จักต้องนั่งในสถานที่ดื่มยาดู แยกจากเรา.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 455
จักนั่งในโรงภัตร่วมกับเราไม่ได้ จักต้องนั่งในโรงภัตแยกจากเรา.
จักอยู่ในที่มุงที่บังอันเดียวร่วมกับเราไม่ได้ จักต้องอยู่ในที่มุงที่บังอัน เดียวแยกจากเรา.
จักทำอภิวาท ต้อนรับอัญชลีกรรม สามีจิกรรม ตามลำดับผู้แก่พรรษา กับเราไม่ได้ จักต้องทำอภิวาท ต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม ตามลำดับ ผู้แก่พรรษาเว้นจากเรา.
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตก แยกแห่งสงฆ์ ความกำหนดแห่งสงฆ์ การกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมี ข้อนั้นเป็น เหตุจักมีแก่สงฆ์ ภิกษุผู้เกรงแค่ความแตกกัน พึงยอมแสดงอาบัตินั้น เสีย แม้ ด้วยความเชื่อผู้อื่น.
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสข้อความนั้นแก่ภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูก ยกแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ.
แยกกันทำอุโบสถในสีมาเป็นต้น
[๒๔๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุพวกที่สนับสนุนผู้ถูกยก ทำอุโบสถ ทำสังฆกรรม ภายในสีมานั้นเอง ส่วนภิกษุพวกยกไปทำอุโบสถ ทำสังฆกรรม นอกสีมา กาลต่อมา ภิกษุผู้ยกรูปหนึ่ง เข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคมพระ ผู้มีพระภาคเจ้านั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้น แล้วได้กราบทูลคำนี้แต่พระผู้มี พระภาคเจ้าว่าพระพุทธเจ้าข้า ภิกษุพวกสนับสนุนผู้ถูกยกนั่น ทำอุโบสถ ทำ สังฆกรรม ภายในสีมานั่งเอง ส่วนพวกข้าพระพุทธเจ้า เป็นภิกษุพวกยกต้อง ไปทำอุโบสถ ทำสังฆกรรมนอกสีมา พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุพวกที่สนับสนุนผู้ ถูกยกนั้น จักทำอุโบสถ ทำสังฆกรรม ภายในสีมานั้นเอง ถูกตามญัตติและ อนุสาวนา ที่เราบัญญัติไว้ กรรมของพวกเธอนั่น เป็นธรรม ไม่กำเริบ ควร แก่ฐานะ ถ้าพวกเธอเป็นภิกษุพวกยกจักทำอุโบสถ ทำสังฆกรรมภายในสีมา
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 456
นั่งเอง ถูกตามญัตติ และอนุสาวนา ที่เราบัญญัติไว้ แม้กรรมของพวกเธอ นั้น ก็เป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุ พวกนั้นมีสังวาสต่างจากพวกเธอ และพวกเธอก็มีสังวาสต่างจากภิกษุพวกนั้น.
นานาสังวาสภูมิ ๒ อย่าง
ดูก่อนภิกษุ ภูมิของภิกษุนานาสังวาสนี้มี ๒ อย่าง คือ ภิกษุทำตน เป็นนานาสังวาสด้วยตน ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันยกภิกษุนั้น เพราะไม่เห็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ๑.
ดูก่อนภิกษุ ภูมิของภิกษุนานาสังวาส ๒ อย่างนี้แล.
สมานสังวาสภูมิ ๒ อย่าง
ดูก่อนภิกษุ ภูมิของภิกษุสมานสังวาสนี้มี ๒ อย่าง คือ ภิกษุทำตน เป็นสมานสังวาสด้วยตน ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันรับภิกษุนั้น ผู้ถูกยกเพราะไม่ เห็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป เข้าหมู่ ๑.
ดูก่อนภิกษุ ภูมิของภิกษุสมานสังวาส ๒ อย่างนี้แล.
เรื่องความบาดหมางกันเป็นต้น
[๒๔๑] ก็โดยสมัยนั่นแล ภิกษุทั้งหลายเกิดความบาดหมางเกิดความ ทะเลาะ ถึงการวิวาทกัน ย่อมแสดงกายกรรม วจีกรรม อันไม่สมควรต่อกัน และกัน ทำปรามาสกันด้วยมือ ในโรงภัต ในละแวกบ้าน คนทั้งหลายเพ่ง โทษ ติเตียน โพนทนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรทั้งหลาย จึง ได้เกิดความหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงการวิวาท แสดงกายกรรม วจีกรรม อันไม่สมควรต่อกันและกัน ทำปรามาสกันด้วยมือ ในโรงภัต ใน ละแวกบ้านเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุ ทั้งหลาย จึงได้เกิดความบาดหมาง ... ทำปรามาสกันด้วยมือ ในโรงภัต ในละแวกบ้านเล่า แล้วได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 457
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุทั้งหลาย เกิดความบาดหมาง ... ทำปรามาสกันด้วยมือ ในโรงภัต ในละแวกบ้าน จริงหรือ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วทรงห้าม
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว แต่ยังทำ กิจอันไม่เป็นธรรม เมื่อถ้อยคำไม่ชวนให้ชื่นชมต่อกันเป็นไปอยู่ พวกเธอพึง นั่งเหนืออาสนะ โดยนึกในใจว่า ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พวกเราจักไม่แสดงกาย กรรม วจีกรรม อันไม่สมควรต่อกันและกัน จักไม่ทำปรามาสกันด้วยมือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว แต่ยังทำกิจที่เป็นธรรม เมื่อถ้อยคำ อันชวนให้ชื่นชมต่อกันเป็นไปอยู่ พวกเธอพึงนั่งในแถวมีอาสนะอันหนึ่งคั่นใน ระหว่าง.
[๒๔๒] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายเกิดความบาดหมาง เกิดความ ทะเลาะถึงการวิวาทกัน ย่อมทิ่มแทงกันด้วยหอกคือปาก ในท่ามกลางสงฆ์อยู่ ภิกษุเหล่านั้น ไม่อาจระงับอธิกรณ์นั้นได้.
ครั้งนั้น มีภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระ ภาคเจ้าแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ภิกษุรูปนั้น ยืนเฝ้าเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูล คำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายใน วัดโฆสิตารามนี้ เกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงการวิวาทกัน ย่อม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 458
ทิ่มแทงกันด้วยหอกคือปาก ในท่ามกลางสงฆ์อยู่ ภิกษุเหล่านั้น ไม่อาจระงับ อธิกรณ์นั้นได้ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงโปรดอาศัยความอนุเคราะห์เสด็จเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาด้วยอาการดุษณี ครั้นแล้วได้เสด็จ เข้าไปหาภิกษุนั้น ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย ประทับนั่งแล้วได้ ตรัสคำนี้แก่ภิกษุเหล่านั้นว่า อย่าเลย ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าบาดหมาง อย่าทะเลาะ อย่าแก่งแย่ง อย่าวิวาทกันเลย เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ แล้ว ภิกษุอธรรมวาทีรูปหนึ่งได้กราบทูลคำนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเจ้าของแห่งธรรม จงทรงพระกรุณารอก่อน ขอพระ ผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงมีความขวนขวายน้อย ประกอบสุขวิหารธรรมในปัจจุบัน อยู่เถิด พวกข้าพระพุทธเจ้าจักปรากฏ ด้วยความบาดหมาง ด้วยความทะเลาะ ด้วยความแก่งแย่ง ด้วยการวิวาทนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ แก่ภิกษุเหล่านั้นเป็นคำรบสองว่า อย่า เลยภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าบาดหมาง อย่าทะเลาะ อย่าแก่งแย่ง อย่าวิวาท กันเลย.
ภิกษุอธรรมวาที่นั้น ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นคำรบ สองว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเจ้าของแห่งธรรม จงทรงพระกรุณารอก่อน พระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงมีความขวนขวายน้อย ประกอบสุขวิหารธรรมใน ปัจจุบันอยู่เถิด พวกข้าพระองค์จักปรากฏ ด้วยความบาดหมาง ด้วยความทะเลาะ ด้วยความแก่งแย่ง ด้วยการวิวาทนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
[๒๔๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดัง นี้ :-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 459
เรื่องทีฆาวุกุมาร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนครพาราณสี ได้มี พระเจ้ากาสีพระนามว่าพรหมทัต ทรงเป็นกษัตริย์มั่งคั่ง มีพระราชทรัพย์มาก มีพระราชสมบัติมาก มีรี้พลมาก มีพระราชพาหนะมาก มีพระราชอาณาจักร ใหญ่ มีคลังศัสตราวุธยุทธภัณฑ์ และคลังธัญญาหารสมบูรณ์ ส่วนพระเจ้า โกศลพระนามทีฆีติ ทรงเป็นกษัตริย์ขัดสน มีพระราชทรัพย์น้อย มีพระราช. สมบัติน้อย มีรี้พลน้อย มีพระราชพาหนะน้อย มีพระราชอาณาจักรเล็ก มี คลังศัสตราวุธยุทธภัณฑ์และคลังธัญญาหารไม่สู้จะบริบูรณ์.
ครั้งนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช เสด็จกรีธาจาตุรงคเสนาไปโจมตี พระเจ้าทีฆีติโกศลราช พระเจ้าทีฆีติโกศลราชได้ทรงสดับข่าวว่า พระเจ้า พรหมทัตกาสิาราช เสด็จกรีธาจาคุรงคเสนามาโจมตีพระองค์ จึงทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชทรงเป็นกษัตริย์มั่งคั่ง มีพระราชทรัพย์มาก มีพระราชสมบัติมาก มีรี้พลมาก มีพระราชพาหนะมาก มีพระราชอาณาจักร ใหญ่ มีคลังศัสตราวุธยุทธภัณฑ์และคลังธัญญาหารบริบูรณ์ ส่วนเราเป็น กษัตริย์ขัดสน มีพระราชทรัพย์น้อย มีพระราชสมบัติน้อย มีรี้พลน้อย มี พระราชพาหนะน้อย มีพระราชอาณาจักรเล็ก มีคลังศัสคราวุธยุทธภัณฑ์แ ะ คลังธัญญาหารไม่สู้จะบริบูรณ์ เราไม่สามารถจะต่อยุทธกับพระเจ้าพรหมทัต-. กาสิกราช แม้แต่เพียงศึกเดียว ถ้ากะไร เราพึงรีบหนีออกจากพระนครไป เสียก่อนดีกว่า ครั้นแล้วได้ทรงพาพระมเหสีเสด็จหนีออกจากพระนครไปเสีย ก่อน ฝ่ายพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช ทรงยึดรู้พลพาหนะ ชนบท คลัง ศัสตราวุธยุทธภัณฑ์และคลังธัญญาหาร ของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชไว้ได้แล้ว เสด็จเข้าครอบครองแทน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 460
ครั้งนั้น พระเจ้าทีฆีติโกศลราช พร้อมกับพระมเหสีได้เสด็จหนีไป ทางพระนครพาราณสี เสด็จบทจรโดยลำดับบรรดาถึงพระนครพาราณสีแล้ว ข่าวว่าท้าวเธอพร้อมกับมเหสี ทรงปลอมแปลงพระองค์มิให้ใครรู้จัก ทรงนุ่ง ห่มเยี่ยงปริพาชกเสด็จอาศัยอยู่ในบ้านของช่างหม้อ ซึ่งตั้งอยู่ชายแดนแห่งหนึ่ง เขตพระนครพาราณสีนั้น ครั้นต่อมาไม่นานเท่าไรนัก พระมเหสีของพระเจ้า ทีฆีติโกศลทรงตั้งพระครรภ์ พระนางเธอนั้นทรงแพ้พระครรภ์เห็นปานนี้คือ เมื่อยามรุ่งอรุณ ทรงปรารถนาจะทอดพระเนตรจตุรงคเสนา ผู้ผูกสอดสรวม เกราะยืนอยู่ในสนามรบและจะทรงเสวยน้ำล้างพระแสงขรรค์ จึงได้กราบทูลคำ นี้แด่พระราชสามีในทันทีว่า ขอเดชะ หม่อมฉันมีครรภ์ ได้เกิดแพ้ครรภ์เห็น ปานนี้คือ เมื่อยามรุ่งอรุณ หม่อมฉันปรารถนาจะดูจตุรงคเสนา ผู้ผูกสอดสรวม เกราะยืนอยู่ในสนามรบ และจะดื่มน้ำล้างพระแสงขรรค์ พระพุทธเจ้าข้า. พระราชารับสั่งว่า แม่เทวี เราทั้งสองกำลังตกยาก จะได้จตุรงคเสนา ผู้ผูกสอดสรวมเกราะยืนอยู่ในสนามรบ และน้ำล้างพระขรรค์มาแต่ไหน.
พระราชเทวีกราบทูลว่า ถ้าหม่อมฉันไม่ได้ คงตายแน่ พระพุทธเจ้า ข้า.
ก็สมัยนั้น พราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชเป็นสหาย ของพระเจ้าทีฆีติโกศลราช พระเจ้าทีฆีติโกศลราชจึงเสด็จเข้าไปหาพราหมณ์ ปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช ครั้นถึงแล้วได้ตรัสดำนี้แก่ท่านพราหมณ์ ว่า เกลอเอ๋ย เพื่อนหญิงของเพื่อนมีครรภ์ นางแพ้ท้องมีอาการเห็นปานนี้คือ เมื่อยามรุ่งอรุณ นางปรารถนาจะดูจตุรงคเสนา ผู้ผูกสอดสรวมเกราะยืนอยู่ใน สนามรบ และจะดื่มน้ำล้างพระแสงขรรค์.
พราหมณ์ปุโรหิตกราบทูลว่า ขอเดชะ ถ้ากระนั้น หม่อมฉันจะขอ เฝ้าพระเทวีก่อน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 461
ลำดับนั้น พระมเหสีของพระเจ้าทีฆีติโกศลราช ได้เสด็จเข้าไปหา พราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช พราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้า พรหมทัตกาสิกราช ได้แลเห็นพระมเหสีของพระเจ้าทีฆีติโกศลราช กำลังเสด็จ มาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วลุกจากที่นั่งห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไปทางพระ มเหสีของพระเจ้าทีฆีติโกศลราช แล้วเปล่งอุทานขึ้น ๓ ครั้งว่า ท่านผู้เจริญ พระเจ้าโกศลประทับอยู่ในพระอุทรแน่แล้ว พระเจ้าโกศลประทับอยู่ในพระอุทร แน่แล้ว พระเจ้าโกศลประทับอยู่ในพระอุทรแน่แล้ว เพราะฉะนั้น พระเทวี อย่าได้เสียพระทัย เมื่อยามรุ่งอรุณ จักได้ทอดพระเนตรจตุรงคเสนา ผู้ผูกสอด สรวมเกราะยืนอยู่ในสนามรบ และจักได้ทรงเสวยน้ำล้างพระแสงขรรค์เป็นแน่
พราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช จึงเข้าไปในพระราชสำนัก ครั้นถึงแล้วได้กราบทูลพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชว่า ขอเดชะ นิมิตทั้ง หลายปรากฏตามกำหนดวิธีการ คือในเวลารุ่งอรุณพรุ่งนี้ จตุรงคเสนาจะผูก สอดสรวมเกราะยืนอยู่ในสนามรบ และเจ้าพนักงานจะเอาน้ำล้างพระแสงขรรค์ ด้วย พระพุทธเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชจึงมีพระบรมราชโองการสั่งเจ้า พนักงานทั้งหลายว่า ดูก่อนพนาย พราหมณ์ปุโรหิตสั่งการอย่างใด พวกเจ้า จงทำอย่างนั้น
พระมเหสีของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชได้ทอดพระเนตรจตุรงคเสนา ผู้ ผูกสอดสรวมเกราะยืนอยู่ในสนามรบ และได้เสวยน้ำล้างพระแสงขรรค์ในเวลา รุ่งอรุณ สมความปรารถนา ครั้นต่อมาทรงอาศัยความแก่แห่งพระครรภ์นั้น ได้ประสูติพระราชโอรส พระชนกชนนีได้ขนานพระนามพระราชโอรสนั้นว่า ทีฆาวุ และต่อมาไม่ช้านานเท่าไร ทีฆาวุราชกุมารก็ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา ครั้ง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 462
นั้น พระเจ้าทีฆีติโกศลราชดำริว่า พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชนี้ ก่อความ พินาศให้แก่พวกเรามากมาย ได้ช่วงชิงเอารี้พล พาหนะ ชนบท คลังศัสตราวุธยุทธภัณฑ์ และคลังธัญญาหาร ของพวกเราไป ถ้าท้าวเธอจักสืบทราบ ถึงพวกเรา คงสั่งให้ประหารชีวิตหมดทั้งสามคน ถ้ากระไร เราพึงให้พ่อทีฆาวุ- กุมารหลบอยู่นอกพระนคร ครั้นแล้วได้ให้ทีฆาวุราชกุมารหลบอยู่นอก พระนคร ครั้นทีฆาวุราชกุมารหลบอยู่นอกพระนคร ไม่นานเท่าไรนัก ก็ได้ ศึกษาศิลปะสำเร็จทุกสาขา.
พระเจ้าโกศลและพระมเหสีถูกจับ
[๒๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยนั้น นายช่างกัลบกของพระเจ้า ทีฆีติโกศลราชได้สวามิภักดิ์อยู่ในพระเจ้าพรหมทักาสิกราช เขาได้เห็นพระเจ้า ทีฆีติโกศลราช พร้อมมเหสีทรงปลอมแปลงพระกายมิให้ใครรู้จัก ทรงนุ่ง ห่มเยี่ยงปริพาชก เสด็จอาศัยอยู่ในบ้านของช่างหม้อ ซึ่งตั้งอยู่ ณ ชายแดนแห่ง หนึ่งเขตพระนครพาราณสี ครั้นแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชได้ กราบทูลว่า ขอเดชะ พระเจ้าทีฆีติโกศลราชพร้อมกับมเหสีทรงปลอมแปลง พระกายมิให้ใครรู้จัก ทรงนุ่งห่มเยี่ยงปริพาชก เสด็จอาศัยอยู่ในบ้านของช่าง หม้อ ซึ่งทั้งอยู่ ณ ชายแดนแห่งหนึ่ง เขตพระนครพาราณสี พระพุทธเจ้าข้า.
ครั้งนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช จึงมีพระบรมราชโองการสั่งเจ้า พนักงานทั้งหลายว่า ดูก่อนพนาย ถ้ากระนั้น พวกเจ้าจงไปจับพระเจ้าทีฆีติ โกศลราชพร้อมกับพระเมเหสี.
พวกเขาทูลรับ สนองพระบรมราชโองการว่า เป็นดังกระแสรับสั่ง พระ พุทธเจ้าข้า ดังนั้น แล้วไปจับพระเจ้าทีฆีติโกศลราชพร้อมกับพระมเหสีมา ถวาย.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 463
พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช จึงมีพระบรมราชโองการสั่งเจ้าพนักงาน ทั้งหลายว่า ดูก่อนพนาย ถ้ากระนั้น พวกเจ้าจงเอาเชือกที่เหนียวๆ มัดพระ เจ้าทีฆีติโกศลราชพร้อมกับ พระมเหสี มัดให้แน่น ให้มีพระพาหาไพล่หลัง กล้อนพระเกสา แล้วนำตระเวนไปตามถนน ตามตรอกทุกแห่ง ด้วยวัชฌเภรีมี สำเนียงอันคมคาย แล้วให้ออกไปทางประตูค้านทักษิณ บั่นตัวออกเป็น ๔ ท่อนวางเรียงไว้ในหลุม ๔ ทิศ ทางด้านทักษิณแห่งพระนคร.
พวกเขาทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า เป็นดังพระกระแสรับสั่ง พระพุทธเจ้าข้า ดังนั้นแล้ว ได้เอาเชือกอย่างเหนียวมัดพระเจ้าทีฆีติโกศลราช พร้อมกับมเหสี มัดให้แน่นให้มีพระพาหาไพล่หลัง กล้อนพระเกสาแล้วนำ ตระเวนไปตามถนน ตามตรอกทั่วทุกแห่งด้วยวัชฌเภรีมีสำเนียงอันคมคาย.
ครั้งนั้น ทีฆาวุราชกุมารได้ทรงดำริดังนี้ ว่า นานมาแล้วที่เราได้เยี่ยม พระชนกชนนี ถ้ากระไร เราพึงไปเฝ้าเยี่ยมพระชนกชนนี ครั้นแล้วเข้าไปสู่ พระนครพาราณสี ได้ทอดพระเนตรเห็นเจ้าพนักงานทั้งหลายเอาเชือกอย่าง เหนียวๆ มัดพระชนกชนนีจนแน่น ให้มีพระพาหาไพล่หลัง กล้อนพระเกสา แล้ว นำตระเวนไปตามถนนตามตรอก ด้วยวัชฌเภรีมีสำเนียงอันคมคาย ครั้น แล้วเสด็จพระดำเนินเข้าไปใกล้พระชนกชนนี
พระราโชวาทของพระเจ้าทีฆีติโกศลราช
พระเจ้าทีฆีติโกศลราช ได้ทอดพระเนตรเห็นทีฆาวุราชกุมารเสด็จพระดำเนินมาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้ตรัสพระบรมราโชวาทนี้แก่ทีฆาวุราชกุมาร ว่า พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น เวรทั้งหลายย่อม ไม่ระงับได้เพราะไม่จองเวรเลย แต่ย่อมระงับได้เพราะไม่จองเวร.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 464
เมื่อท้าวเธอตรัสอย่างนี้แล้ว เจ้าพนักงานเหล่านั้น ได้ทูลคำนี้แด่ท้าว เธอว่า พระเจ้าทีฆีติโกศลราชนี้เป็นผู้วิกลจริตจึงบ่นเพ้ออยู่ ที่ฆาวุของพระ องค์คือใคร พระองค์ตรัสอย่างนี้กะใครว่า พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว เจ้า อย่าเห็นแก่สั้น เวรทั้งหลายย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ย่อมระงับได้เพราะไม่ จองเวร
พระเจ้าทีฆีติโกศลราช ตรัสว่า พนาย เราไม่ได้เสียจริตบ่นเพ้ออยู่ แต่ ผู้ใดรู้เรื่อง ผู้นั้นจักเข้าใจ.
พระเจ้าทีฆีติโกศลราช ได้ตรัสพระบรมราโชวาทนี้แก่ทีฆาวุราชกุมาร เป็นคำรบสองว่า ...
พระเจ้าทีฆีติโกศราช ได้ตรัสพระบรมราโชวาทนี้แก่ทีฆาวุราชกุมาร เป็นคำรบสามว่า พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น เวรทั้ง หลายย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ย่อมระงับ ได้เพราะไม่จองเวร
เจ้าพนักงานเหล่านั้น ได้ทูลคำนี้แค่พระเจ้าทีฆีติโกศลราชเป็นคำรบ ๓ ว่า เจ้าทีฆีทิโกศลนี้เป็นผู้วิกลจริต จึงบ่นเพ้ออยู่ ทีฆาวุของพระองค์คือใคร พระองค์ตรัสกะใครอย่างนี้ว่า เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น เวรทั้ง หลายย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ย่อมระงับได้เพราะไม่จองเวร.
พระเจ้าทีฆีติโกศลราชตรัสว่า พนาย เราไม่ได้เสียจริตบ่นเพ้ออยู่ แต่ผู้ใดรู้เรื่อง ผู้นั้นจักเข้าใจ.
พนักงานเหล่านั้น จึงได้นำพระเจ้าทีฆีติโกศลราชพร้อมกับพระมเหสี ไปตามถนน ตามตรอกทั่วทุกแห่ง แล้วให้ออกไปทางประตูด้านทักษิณ บั่น พระกายเป็น ๔ ท่อน วางเรียงไว้ในหลุม ๔ ทิศ ด้านทักษิณแห่งพระนคร วางยามคอยระวังเหตุการณ์ไว้แล้วกลับไป ครั้งนั้น ทีฆาวุราชกุมาร เข้าไปสู่
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 465
พระนครพาราณสี นำสุรามาเลี้ยงพวกเจ้าหน้าที่อยู่ยาม เมื่อเวลาที่คนเหล่านั้นเมา ฟุบลง ทีฆาวุราชกุมารจึงจัดหาฟืนมาวางเรียงกันไว้ ยกพระบรมศพของพระชนกชนนีขึ้นสู่พระจิตกาธาร ถวายพระเพลิง แล้วประนมพระหัตถ์ทำประทักษิณพระจิตกาธาร ๓ รอบขณะนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช ประทับ อยู่ชั้นบนแห่งปราสาทอันประเสริฐได้ทอดพระเนตรเห็นทีฆาวุราชกุมาร กำลัง ทรงประนมพระหัตถูทำประทักษิณพระจิตการธาร ๓ รอง ครั้นแล้วได้ทรงพระดำริแน่ในพระทัยว่า เจ้าคนนั้นคงเป็นญาติหรือสายโลหิต ของพระเจ้าทีฆิติ- โกศลราชแน่นอน น่ากลัวจะก่อความฉิบหายแก่เรา ช่างไม่มีใครบอกเราเลย.
ครั้งนั้น ทีฆาวุราชกุมารเสด็จหลบเข้าป่าไป ทรงกันแสงร่ำไห้ จน พอแก่เหตุ ทรงซับน้ำพระเนตร แล้วเสด็จเข้าพระนครพาราณสี ไปถึงโรง ช้างใกล้พระบรมมหาราชวัง แล้วได้ตรัสคำนี้แก่นายหัตถาจารย์ว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าปรารถนาจะศึกษาศิลปะ.
นายหัคถาจารย์ตอบว่า ถ้ากระนั้น เชิญมาศึกษาเถิดพ่อหนุ่มน้อย อยู่มาวันหนึ่ง ทีฆาวุราชกุมาร ทรงตื่นบรรทมตอนปัจจุสมัยแห่งราตรีแล้ว ทรงขับร้อง และดีดพิณคลอเสียงเจื้อยแจ้วอยู่ที่โรงช้าง.
พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช ทรงตื่นบรรทมเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรี ได้ทรงสดับเสียงเพลงและเสียงพิณที่ดีดคลอเสียงอัน เจื้อยแจ้วดังแว่วมาทางโรง มงคลหัตถี จึงมีพระดำรัสถามพวกมหาดเล็กว่า แน่ะพนาย ใครตื่นในเวลาเช้า มืดแห่งราตรีแล้ว ขับร้องและดีดพิณแว่วมาทางโรงช้าง.
พวกมหาดเล็กกราบทูลว่า ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้า ปกกระหม่อม ชายหนุ่มศิษย์ของนายหัตถาจารย์ชื่อโน้น ตื่นในเวลาเข้ามืดแห่ง ราตรีแล้ว ขับร้องและดีดพิณคลอเสียงอันเจื้อยแจ้วดังที่โรงช้าง พระพุทธเจ้าข้า
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 466
พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชตรัส ว่า พนาย ถ้ากระนั้น จงพาชายหนุ่ม มาเฝ้า พวกเขาทูลรับ สนองพระบรมราชโองการแล้ว พาทีฆาวุราชกุมารมาเฝ้า พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชจึงได้ตรัสถามทีฆาวุราชกุมารว่า พ่อชายหนุ่ม เจ้า ตื่นในเวลาเช้าแห่งราตรีแล้ว ขับร้องและดีดพิณคลอเสียงอันเจื้อยแจ้วดังทาง โรงช้างหรือ?
ทีฆาวุราชกุมารทูลรับว่า เป็นดังพระกระแสรับสั่ง พระพุทธเจ้าข้า
พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชตรัสว่า พ่อชายหนุ่ม ถ้ากระนั้น เจ้าจง ขับร้องและดีดพิณไป.
ทีฆาวุราชกุมารทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า เป็นดังพระกระแส รับสั่ง พระพุทธเจ้าข้า ดังนั้น แล้วประสงค์จะให้ทรงโปรดปราน จึงขับร้อง และดีดพิณด้วยเสียงไพเราะ.
ทีนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชตรัสว่า พ่อชายหนุ่ม เจ้าจงอยู่รับ ใช้เราเถิด.
ทีฆาวุราชกุมารทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า เป็นดังพระกระแส รับสั่ง พระพุทธเจ้าข้า ดังนั้น แล้วจึงประพฤติทำนองตื่นก่อนนอนทีหลัง คอยเฝ้าฟังพระราชดำรัสใช้ ประพฤติให้ถูกพระอัธยาศัย เจรจาถ้อยคำไพเราะ ต่อพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช ครั้นต่อมาไม่นานนักท้าวเธอทรงแต่งตั้งทีฆาวุ ราชกุมาร ไว้ในตำแหน่งผู้ไว้วางพระราชหฤทัย ใกล้ชิดสนิทภายใน อยู่มา วันหนึ่ง ท้าวเธอได้ตรัสคำนี้แก่ทีฆาวุราชกุมารว่า พ่อชายหนุ่ม ถ้ากระนั้น เจ้าจงเทียมรถ พวกเราจักไปล่าเนื้อ.
ทีฆาวุราชกุมารทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า เป็นดังพระราช กระแสรับสั่ง พระพุทธเจ้าข้า แล้วจัดเทียมรถไว้เสร็จ ได้กราบทูลคำนี้แด่
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 467
พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชว่า ขอเดชะ รถพระที่นั่งเทียมเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ ขอจงทรงพระกรุณาโปรดทราบกาลอันควรเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช เสด็จขึ้นราชรถ ทีฆาวุ- ราชกุมารขับราชรถไป แต่ขับราชรถไปโดยวิธีที่หมู่เสนาได้แยกไปทางหนึ่ง ราชรถได้แยกไปทางหนึ่ง ครั้งนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชเสด็จไปไกล แล้วได้ตรัสคำนี้แก่ทีฆาวุราชกุมารว่า พ่อชายหนุ่ม ถ้ากระนั้น เจ้าจงจอดรถ เราเหนื่อยอ่อนจักนอนพัก.
ทีฆาวุราชกุมารทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า เป็นดังพระราช กระแสรับสั่ง พระพุทธเจ้าข้า ดังนั้นแล้วจอคราชรถนั่งขัดสมาธิอยู่ที่พื้นดิน พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช จึงทรงพาดพระเศียรบรรทมอยู่บนตักของทีฆาวุ ราชกุมาร เมื่อท้าวเธอทรงเหน็ดเหนื่อยมา เพียงครู่เดียวก็บรรทมหลับ.
ขณะนั้น ทีฆาวุราชกุมารคิดถึงความหลังว่า พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชนี้แล ทรงก่อความฉิบหายแก่พวกเรามากมาย ท้าวเธอทรงช่วงชิงรี้พล ราชพาหนะ ชนบท คลังศัสตราวุธยุทธภัณฑ์และคลังธัญญาหารของพวกเราไป และยังได้ปลงพระชนมชีพพระชนกชนนีของเราเสียด้วย เวลานี้เป็นเวลาที่เรา พบคู่เวร ดังนี้จึงชักพระแสงขรรค์ออกจากฝัก แต่เจ้าชายได้ทรงยั้งพระทัยไว้ได้ ในทันทีว่า พระชนกได้ทรงสั่งเราไว้เมื่อใกล้สวรรคตว่า พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่า เห็นแก่ยาว เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น เวรทั้งหลายย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ย่อม ระงับได้เพราะไม่จองเวร การที่เราจะละเมิดพระดำรัสสั่งของพระชนกนั้น ไม่ สมควรแก่เราเลย ดังนี้ แล้วสอดพระแสงขรรค์เข้าไว้ในฝัก.
ทีฆาวุราชกุมาร ได้ทรงคิดถึงความหลังเป็นคำรบสองว่า ...
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 468
ทีฆาวุราชกุมาร ได้ทรงคิดถึงความหลังเป็นคำรบสามว่า พระเจ้า พรหมทัตกาสิกราชนี้แล ทรงก่อความฉิบหายแก่พวกเรามากมาย ท้าวเธอทรง ช่วงชิงรี้พลราชพาหนะ ชนบท คลังศัสตราวุธยุทธภัณฑ์และคลังธัญญาหารของ พวกเราไป และยังได้ปลงพระชนมชีพพระชนกชนนีของเราเสียด้วย เวลานี้เป็น เวลาที่เราพบคู่เวรดังนี้ จึงชักพระแสงขรรค์ออกจากฝัก แต่ก็ทรงยั้งพระทัยไว้ ได้ทันที เป็นค้ำรบสามว่า พระชนกได้ตรัสสั่งไว้เมื่อใกล้สวรรคตว่า พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาวเจ้าอย่าเห็นแก่สั้น เวรทั้งหลายย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ ย่อมระงับ ได้เพราะไม่จองเวร การที่เราจะละเมิดพระดำรัสสั่งของพระชนกนั้น ไม่สมควรแก่เราเลยดังนี้ แล้วทรงสอดพระแสงขรรค์เข้าไว้ในฝักตามเติม
ขณะนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช ทรงกลัว หวั่นหวาด สะดุ้ง พระทัยรีบเสด็จลุกขึ้น ทีฆาวุราชกุมารได้กราบทูลคำนี้แด่พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชในทันทีว่าขอเดชะ เพราะอะไรหรือพระองค์จึงทรงกลัว หวั่นหวาด สะดุ้งพระทัย รีบเสด็จลุกขึ้น พระพุทธเจ้าข้า.
พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชตรัสตอบว่า พ่อชายหนุ่ม ฉันฝันว่า ทีฆาวุราชกุมาร โอรสของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชฟาดฟันฉันด้วยพระแสงขรรค์ ณ ที่นี้ เพราะเหตุนั้น ฉันจึงกลัว หวั่นหวาด ตกใจรีบลุกขึ้น
ทันใดนั้น ทีฆาวุราชกุมารจับพระเศียรของพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช ด้วยพระหัตถ์ซ้าย ชักพระแสงขรรค์ด้วยพระหัตถ์ขวา แล้วได้กล่าวคำขู่แก่ พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า คือ ทีฆาวุราชกุมาร โอรสของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชคนนั้น พระองค์ทรงก่อความฉิบหายแก่พวกข้าพระพุทธเจ้ามากมาย คือ ทรงช่วงชิงรี้พล ราชพาหนะ ชนบท คลังศัสตราวุธยุทธภัณฑ์ และคลังธัญญาหาร ของข้าพระพุทธเจ้าไป มิหนำ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 469
ซ้ำยังปลงพระชนกชีพพระชนกชนนีของข้าพระพุทธเจ้าเสียด้วย เวลานี้เป็นเวลา ที่ข้าพระพุทธเจ้าพบคู่เวรละ.
พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชจึงซบพระเศียรลงแทบยุคลบาทของทีฆาวุ- ราชกุมาร แล้วได้ตรัสคำวิงวอนแก่เจ้าชายว่า พ่อทีฆาวุ พ่อจงให้ชีวิต แก่ฉัน พ่อทีฆาวุ พ่อจงให้ชีวิตแก่ฉันด้วยเถิด.
เจ้าชายกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าหรือจะเอื้อมอาจทูลเกล้าถวายชีวิต แก่พระองค์ พระองค์ต่างหากควรพระราชทานชีวิตแก่ข้าพระพุทธเจ้า.
พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชตรัสว่า พ่อทีฆาวุ ถ้าเช่นนั้น พ่อจงให้ ชีวิตแก่ฉัน และฉันก็ให้ชีวิตแก่พ่อ.
ครั้งนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช และทีฆาวุราชกุมาร ต่างได้ให้ ชีวิตแก่กันและกัน ได้จับพระหัตถ์กัน และได้ทำการสบถ เพื่อไม่ทำร้ายกัน พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชจึงได้ตรัสดำนี้แก่ทีฆาวุราชกุมารว่า พ่อทีฆาวุ ถ้า กระนั้นพ่อจงเทียมรถไปกันเถอะ.
ทีฆาวุราชกุมารทูลรับสนองพระบรมราชโอองการว่า เป็นดังพระกระแส รับสั่ง พระพุทธเจ้าข้า ดังนั้น แล้วเทียมรถ ได้กราบทูลพระเจ้าพรหม. ทัตกาสิกราชว่า รถพระที่นั่งเทียมเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้า บัดนี้ ขอพระ องค์โปรดทรงทราบกาลอันควรเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชจึงเสด็จในรถทรงแล้ว ทีฆาวุราชกุมารขับ รถไป ได้ขับรถไปโดยวิธีไม่นานนักก็มาพบกองทหาร ครั้นพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชเสด็จเข้าสู่พระนครพาราณสีแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดให้เรียกประชุม หมู่อำมาตย์ราชบริพาร ได้ตรัสถามความเห็นข้อนี้ว่า พ่อนายทั้งหลาย ถ้าพวก ท่านพบทีฆาวุราชกุมารโอรสของพระเจ้าทีฆีติโกศลราช จะพึงทำอะไรแก่เขา.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 470
อำมาตย์บางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ พวกข้าพระพุทธเจ้า จะพึงตัดมือ จะพึงตัดเท้า จะพึ่งตัดทั้งมือและเท้า จะพึงตัดหู จะพึงตัดจมูก จะพึงตัดทั่งหูและจมูก จะพึงตัดศีรษะพระพุทธเจ้าข้า.
พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชตรัสว่า พ่อนายทั้งหลาย ชายหนุ่มผู้นี้แล คือ ทีฆาวุราชกุมารโอรสของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชคนนั้น ชายหนุ่มผู้นี้ใครๆ จะทำอะไรไม่ได้ เพราะชายหนุ่มผู้นี้ได้ให้ชีวิตแก่เรา และเราก็ได้ให้ชีวิตแก่ ชายหนุ่มผู้นี้ ครั้นแล้วได้ตรัสถามความข้อนี้แก่ทีฆาวุราชกุมารว่า พ่อทีฆาวุ พระชนกของเธอได้ตรัสคำใดไว้ เมื่อใกล้จะสวรรคตว่า พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่า เห็นแก่ยาว เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น เวรทั้งหลายย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่เวร ทั้งหลายย่อมระงับได้ เพราะไม่จองเวร ดังนี้ พระชนกของเธอได้ตรัสดำนั้น หมายความว่าอย่างไร?
ทีฆาวุราชกุมารกราบทูลว่า ขอเดชะ พระชนกของข้าพระพุทธเจ้าได้ ตรัสพระบรมราโชวาทอันใดแลไว้เมื่อใกล้จะสวรรคตว่า เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว ดัง นี้หมายความว่า เจ้าอย่าได้จองเวรให้ยืดเยื้อ เพราะฉะนั้น พระชนกของข้า พระพุทธเจ้า จึงได้ตรัสพระบรมราโชวาทอันนี้แลไว้เมื่อใกล้จะสวรรคตว่า เจ้า อย่าเห็นแก่ยาว พระชนกของข้าพระพุทธะเจ้า ได้ตรัสพระบรมราโชวาทอันใด แลไว้เมื่อใกล้จะสวรรคตว่า เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น ดังนี้ หมายความว่า เจ้าอย่า แตกร้าวจากมิตรเร็วนัก เพราะฉะนั้น พระชนกของข้าพระพุทธเจ้า จึงได้ตรัส พระบรมราโชวาทอันนี้แลไว้เมื่อใกล้จะสวรรคตว่า เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น พระชนก ของข้าพระพุทธเจ้าได้ตรัสพระบรมราโชวาทอันใดแลไว้ เมื่อใกล้จะสวรรคต ว่า พ่อทีฆาวุ เวรทั้งหลาย ย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ย่อมระงับได้เพราะ ไม่จองเวร ดังนี้ หมายความว่าพระชนกชนนีของข้าพระพุทธเจ้า ถูกพระองค์
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 471
ปลงพระชนมชีพเสีย ถ้าข้าพระพุทธเจ้า จะพึงปลงพระชนมชีพของพระองค์ เสียบ้าง คนเหล่าใดใคร่ความเจริญแก่พระองค์ คนเหล่านั้นจะพึงปลงชีวิตข้า พระพุทธเจ้า คนเหล่าใดใคร่ความเจริญแก่ข้าพระพุทธเจ้า คนเหล่านั้นจะพึง ปลงชีวิตคนเหล่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เวรนั้น ไม่พึงระงับเพราะเวร แต่มาบัด นี้ พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานชีวิตแก่ข้าพระพุทธเจ้า และข้า พระพุทธเจ้าก็ได้ทูลถวายพระชนมชีพแก่พระองค์ เป็นอันว่าเวรนั้นระงับแล้ว เพราะไม่จองเวร พระชนกของข้าพระพุทธเจ้า จึงได้ตรัสพระบรมราโชวาทอัน นี้แลไว้เมื่อใกล้จะสวรรคตว่า พ่อทีฆาวุ เวรทั้งหลายย่อมไม่งับเพราะเวรเลย แต่ย่อมระงับได้เพราะไม่จองเวร พระพุทธเจ้า.
ลำดับนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชตรัสว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีเลย ทีฆาวุราชกุมารนี้เป็นบัณฑิต จึงได้เข้าใจความ แห่งภาษิต อันพระชนกตรัสแล้วโดย่อได้โดยพิสดาร แล้วทรงพระกรุณาโปรด พระราชทานคืนรี้พล ราชพาหนะ ชนบท คลังศัสตราวุธยุทธภัณฑ์และคลัง ธัญญาหารอัน เป็นพระราชสมบัติของพระชนก และได้พระราชทานพระราชธิดา อภิเษกสมรสด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขันติ โสรัจจะ เห็นปานนี้ ได้มีแล้วแก่พระ ราชาเหล่านั้น ผู้ถืออาชญา ผู้ถือศัสตราวุธ ก็การที่พวกเธอบวชในธรรมวินัย อันเรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ จะพึงอดทนและสงบเสงี่ยมนั้น ก็จะพึงงามในธรรม วินัยนี้แน่.
[๒๔๕] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระโอวาทแก่ภิกษุเหล่านั้นเป็น คำรบสามว่า อย่าเลย ภิกษุทั้งหลาย อย่าบาดหมางกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย อธรรมวาทีภิกษุรูปนั้น ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระ-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 472
ภาคเจ้าเป็นคำรบสามว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเจ้าของ แห่งธรรมได้โปรดทรงยับยั้งเถิด ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรดทรงมีความ ขวนขวายน้อย ประกอบสุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด พวกข้าพระพุทธเจ้า จักปรากฏด้วยความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง การวิวาทนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงพระดำริว่า โมฆบุรุษเหล่านี้หัวดื้อนักแล เราจะให้ โมฆบุรุษเหล่านี้เข้าใจกัน ทำไม่ได้ง่ายเลย ดังนี้ แล้วเสด็จลุกจากพระพุทธอาสนะกลับไป.
ทีฆาวุภาณวาร ที่ ๑ จบ
[๒๔๖] ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรจีวรเสด็จเข้าพระนครโกสัมพีเพื่อบิณฑบาต เสด็จเที่ยวบิณฑบาต ที่พระนครโกสัมพีแล้ว ครั้นเวลาบ่าย เสด็จกลับจากบิณฑบาต ทรงเก็บเสนา สนะถือบาตรจีวร ประทับยืนท่ามกลางพระสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ ว่า ดังนี้:-
เวรุปสมคาถา
[๒๔๗] ภิกษุมีเสียงดังเป็นเสียงเดียว กัน จะได้สำคัญตัวว่า เป็นพาล ไม่มีเลย สักรูปเดียว ยิ่งเมื่อสงฆ์แตกกัน ก็ไม่ได้ สำคัญเหตุอื่น ภิกษุทั้งหลายลืมติ สำคัญ ตัวว่าเป็นบัณฑิต ช่างพูด เจ้าคาราม พูดไป ตามที่ตนปรารถนาจะยื่นปากพูด ไม่รู้สึก ว่าความทะเลาะเป็นเหตุชักพาไป.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 473
ก็คนเหล่าใดจองเวรไว้ว่า คนโน้น ด่าเรา ตีเรา ชนะเรา ได้ลักสิ่งของของเรา ไป เวรของคนเหล่านั้นย่อมไม่สงบ ส่วนคน เหล่าใดไม่จองเวรไว้ว่า ตนโน้น ด่าเรา ตีเรา ชนะเรา ได้ลักสิ่งของของเราไป เวรของ คนเหล่านั้นย่อมสงบ.
แต่ไหนแต่ไรมา เวรทั้งหลายในโลก นี้ย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ย่อมระงับ เพราะไม่จองเวร ธรรมนี้เป็นของเก่า.
ก็คนเหล่าอื่นไม่รู่สึกว่า พวกเรา กำลังยับเยิน ณ ท่ามกลางสงฆ์นี้ ส่วนคน เหล่าใด ในท่ามกลางสงฆ์นั้น รู้สึกเพราะ ความรู้สึกของคนเหล่านั้น ความหมายมั่น ย่อมระงับ.
คนเหล่าใดบั่นกระดูก ผลาญชีวิต ลักทรัพย์ คือ โคและม้า คนเหล่านั้นถึง ช่วงชิงแว่นแคว้นกัน ก็ยังคบทาสมาคมกัน เหตุไฉนพวกเธอจึงคบหาสมาคมกันไม่ได้ เล่า.
ถ้าบุคคลพึงได้สหายมีปัญญา เที่ยว ไปด้วยกัน เป็นนักปราชญ์คอยช่วยเหลือกัน เขาครอบงำอันตรายทั้งปวงเสียได้ พึงพอใจ มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น ถ้าไม่ได้สหายมี
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 474
ปัญญา เที่ยวไปด้วยกัน เป็นนักปราชญ์คอย ช่วยเหลือกัน พึงเที่ยวไปคนเดียว ดุจพระ ราชาทรงสละแว่นแคว้นคือราชอาณาจักร และดุจช้างมาตังคะ ละฝูงเที่ยวไปในป่า ฉะนั้น การเที่ยวไปคนเดียวดีกว่า เพราะคุณ เครื่องเป็นสหายไม่มีในคนพาล พึงเที่ยวไป คนเดียว และไม่พึงทำบาป ดุจช้างมาตังคะ มีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปในป่าแต่ลำพัง ฉะนั้น.
เสด็จพาลกโลณการกคาม
[๒๔๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังประทับอยู่ท่ามกลางสงฆ์ ตรัสพระคาถาเหล่านี้ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางพาลกโลณการกคาม ก็ สมัยนั้นท่านพระภคุพักอยู่ที่บ้านพาลกโลณการกคาม ได้แลเห็นพระผู้มี พระภาคเจ้ากำลังเสด็จพระพุทธดำเนินมาแค่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้จัดที่ประทับ ตั้งน้ำล้างพระบาท ตั่งรองพระบาท กระเบื้องเช็ดพระบาท ไปรับเสด็จรับบาตร จีวร พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนือพุทธอาสนะที่จัดไว้ ครั้นแล้วให้ล้าง พระยุคลบาท ฝ่ายท่านพระภคุถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้แก่ท่านพระภคุผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูก่อนภิกษุ เธอยังพอทนได้หรือ ยังพอให้อัตภาพ เป็นไปได้หรือ เธอไม่ลำบากด้วยอาหารบิณฑบาตหรือ?
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 475
ท่านพระภคุกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้า ยังพอทนได้ ยังพอให้ อัตภาพเป็นไปได้ และพระพุทธเจ้าก็ไม่ลำบากด้วยอาหารบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงชี้แจงให้ท่านพระภคุเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมมีกถา แล้วเสด็จลุกจากที่ประทับ เสด็จพุทธดำเนิน ไปทางปาจีนวังสทายวัน
ก็สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละ พักอยู่ที่ปราจีนวิ่งสทายวัน คนเฝ้าสวนได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จ มาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระ สมณะ พระองค์อย่าเสด็จเข้ามาสู่สวนนี้ เพราะในสวนนี้มีกุลบุตรอยู่ ๓ ท่าน ต่างกำลังมุ่งประโยชน์ของตนอยู่ พระองค์อย่าได้ทำความไม่สำราญแก่พวกนั้น เลย.
ท่านพระอนุรุทธะได้ยินเสียงคนเฝ้าสวน กำลังโต้ตอบอยู่กับพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้บอกคนเฝ้าสวนว่า นายทายบาล ท่านอย่าห้ามพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย พระองค์เป็นศาสดาของพวกเรา เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ ครั้นแล้วเข้าไปหาท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละ ได้แจ้งความข้อนี้ แก่ท่านทั้งสองว่า จงรีบออกไปเถิด พวกท่าน จงรีบออกไปเถิด พวกท่าน พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศาสดาของพวกเราเสด็จมาถึงแล้ว โดยลำดับ ท่านพระ อนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละ จึงพากันลุกไปรับเสด็จพระผู้มี พระภาคเจ้า รูปหนึ่งรับบาตรจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้า รูปหนึ่งปูอาสนะ รูปหนึ่งตั้งน้ำล้างพระบาทตั่งรอง พระบาท กระเบื้องเช็คพระบาท พระผู้มีพระ ภาคเจ้าประทับ นั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่จัดไว้ ครั้นแล้วให้ล้างพระยุคลบาท
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 476
ท่านเหล่านั้นก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า อนุรุทธะพวกเธอยังพอทนได้หรือ ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ ไม่ลำบาก ด้วยอาหารบิณฑบาตหรือ?
พวกท่านพระอนุรุทธะกราบทูลว่า พวกข้าพระพุทธเจ้า ยังพอทนได้ ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้ และพวกข้าพระพุทธเจ้า ไม่ลำบากด้วยอาหาร บิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนพวกอนุรุทธะ ก็พวกเธอยังพร้อมเพรียงกัน ยังปรองดอง กัน ไม่วิวาทกัน เป็นดุจน้ำนมสดกับน้ำ มองดูกันด้วยดวงตาอันเป็นที่รักอยู่ หรือ?
อ. ข้าพระพุทธเจ้าเหล่านั้นยังพร้อมเพรียงกัน ยังปรองดองกัน ไม่ วิวาทกัน เป็นดุจน้ำนมสดกับน้ำ มองดูกันด้วยดวงตาอันเป็นที่รักอยู่ โดยส่วน เดียว พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนพวกอนุรุทธะ พวกเธอพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่ วิวาทกัน เป็นดุจน้ำนมสดกับน้า มองดูกันด้วยดวงตาอันเป็นที่รักอยู่ ด้วย วิธีอย่างไรเล่า?
สมัคคีธรรม
อ. พระพุทธเจ้าข้า ในข้อนี้ข้าพระพุทธเจ้ามีความติดอย่างนี้ว่า เป็น ลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่เราได้อยู่ร่วมกับเพื่อนสพรหมจารีเห็น ปานนี้ ข้าพระพุทธเจ้านั้น ได้เข้าไปตั้งเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรมไว้ในท่านเหล่านี้ ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ ข้าพระพุทธเจ้านั้นมี ความติดอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ เราพึงวางจิตของตนให้เป็นไปตามอำนาจจิต
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 477
ของท่านเหล่านี้เท่านั้น ดังนี้แล้ววางจิตของตนให้เป็นไปตามอำนาจจิตของท่าน เหล่านี้แหละ กายของพวกข้าพระพุทธเจ้าต่างกัน ก็จริงแล แต่จิตเป็นเหมือน ดวงเดียวกัน พระพุทธเจ้า.
ฝ่ายท่านพระนันทิยะและท่านพระกิมพิละ ต่างได้กราบทูลคำนี้แด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็มีความติดอย่างนี้ว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่เราได้คืออยู่ร่วมกับเพื่อนสพรหมจารีเห็น ปานนี้ ข้าพระพุทธเจ้านั้น ได้เข้าไปตั้งเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรมไว้ในท่านเหล่านั้น ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ ข้าพระพุทธเจ้านั้นมีความ คิดอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ เราพึงวางจิตของตนให้เป็นไปตามอำนาจจิตของท่าน เหล่านี้เท่านั้น ดังนี้ แล้ววางจิตของตนให้เป็นไปตามอำนาจจิตของท่านเหล่านั้น แหละ กายของพวกข้าพระพุทธเจ้าต่างกันก็จริงแล แต่จิตเป็นเหมือนดวงเดียว กัน พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ยังปรองดอง กัน ไม่วิวาทกัน เป็นดุจน้ำนมสดกับน้ำ มองดูกันด้วยดวงตาอัน เป็นที่รักอยู่ ด้วยวิธีอย่างนี้แล พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนพวกอนุรุทธะ ก็พวกเธอเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร เผากิเลส มีตนส่งไปอยู่หรือ?
อ. พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มี ตนส่งไปอยู่โดยส่วนเดียว พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนพวกอนุรุทธะ พวกเธอเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผา กิเลส มีตนส่งไปอยู่ ด้วยวิธีอย่างไรเล่า ร
อ พระพุทธเจ้าข้า ในข้อนี้ บรรดาพวกข้าพระพุทธเจ้า รูปใด บิณฑบาตลับจากบ้านก่อน รูปนั้นก็ปูอาสนะตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 478
กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ ล้างสำรับกับข้าวแล้วตั้งไว้ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ รูปใด บิณฑบาตกลับจากบ้านทีหลัง ถ้ามีอาหารที่ฉันแล้วเหลืออยู่ ถ้าต้องการก็ฉัน ถ้าไม่ต้องการ ก็เททิ้งในที่ปราศจากของเขียวสด หรือล้างเสียในน้ำที่ไม่มีตัว สัตว์ รูปนั้นรื้ออาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กรเบื้องเช็ดเท้า ล้างสำรับ กับข้าวแล้วเก็บไว้เก็บน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดโรงฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อ น้ำใช้ หรือหม้อน้ำในวัจจกุฎีว่างเปล่า รูปนั้นก็ตักน้ำตั้งไว้ ถ้ารูปนั้นไม่ สามารถ พวกข้าพระพุทธเจ้าก็กวักมือเรียกเพื่อนมา แล้วช่วยกันตักยกเข้าไป ตั้งไว้ แต่พวกข้าพระพุทธเจ้ามิได้บ่นว่า เพราะข้อนั้น เป็นเหตุเลย และพวก ข้าพระพุทธเจ้า นั่งประชุมกัน ด้วยธรรมมีกถาตลอดคืนยังรุ่งทุกๆ ๕ วัน พวก ข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ไม่ประมาท มีตนส่งไปอยู่ ด้วยวิธีอย่างนี้แล พระพุทธเจ้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงชี้แจง ให้ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละ เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจากที่ประทับ เสด็จพระพุทธดำเนินไปทางตำบล บ้านปาริไลยกะ เสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงตำบลบ้านปาริไลยกะ ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ที่โคนไม้รังใหญ่ ในไพรสณฑ์รักขิตวัน เขตตำบลบ้าน ปาริไลยกะนั้น.
เรื่องช้างใหญ่ปาริไลยกะ
[๒๔๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปในที่สงัดทรงหลีกเร้น อยู่ ได้มีความปริวิตกแห่งพระทัยเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราวุ่นด้วยภิกษุ ชาวเมืองโกสัมพีที่ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความ อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้น อยู่ไม่สำราญเลย เดี๋ยวนี้ เราว่างเว้นจาก
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 479
ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีที่ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำ ความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้น อยู่คนเดียว ไม่มีเพื่อน เป็นสุข สำราญดี.
แม้ช้างใหญ่เชือกหนึ่งก็ยุ่งอยู่ด้วยช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ ลูกช้างเล็ก ได้กินแต่หญ้ายอดด้วน ส่วนกิ่งไม้ที่พระยาช้างนั้นหักลงมากยังไว้ ช้างเหล่านั้นก็กินหมด ได้ดื่มแต่น้ำขุ่นๆ เมื่อพระยาช้างนั้นลงและขึ้นจากท่า ช้างพังก็เดินเสียดสีกายไป ต่อมาพระยาช้างนั้นได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เรายุ่ง อยู่ด้วยช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ ลูกช้างเล็ก ได้กินแต่หญ้ายอดด้วน ส่วนกิ่งไม้ที่เราหักลงมากองไว้ ช้างเหล่านั้นก็กินหมด ได้ดื่มแต่น้าขุ่นๆ เมื่อเรา ลงและขึ้นจากท่า ช้างพังก็เดินเสียดสีกายไป ไฉนหนอ เราพึงหลีกออกจาก โขลงอยู่แต่ผู้เดียว ครั้นแล้ว ได้หลีกออกจากโขลงเดินไปทางบ้านปาริไลยกะ ไพรสณฑ์รักชิตวันควงไม้รังใหญ่ เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วใช้งวงตัก น้ำฉันน้ำใช้เข้าไปตั้งไว้เพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า และปราบสถานที่ให้ปราศจาก ของเขียวสด ครั้นกาลต่อมาพระยาช้างนั้นได้คำนึงว่า เมื่อก่อนเรายุ่งด้วยช้าง พลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ ลูกช้างเล็ก อยู่ไม่ผาสุกเลย ได้กินแต่หญ้ายอดด้วน ส่วนกิ่งไม้ที่เราหักลงมากองไว้ ช้างเหล่านั้นก็กินหมด ได้ดื่มแต่น้ำขุ่นๆ เมื่อ เราลงและขึ้นจากท่า ช้างพังก็เดินเสียดสีกายไป เดี๋ยวนี้ เราว่างเว้นจากช้าง พลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ ลูกช้างเล็ก อยู่แต่ผู้เดียว ไม่มีเพื่อน เป็นสุข สำราญดี.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความเงียบสงัดของพระองค์ และทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของพระยาช้างนั้นด้วยพระทัย จึงทรงเปล่ง อุทานนี้ขึ้นในเวลานั้น ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 480
จิตของพระยาช้างผู้มีงางามดจงอนรถนั้นเสมอด้วยจิตของ ท่านผู้ประเสริฐ เพราะเป็นผู้เดียวยินดีในป่าเทมือนกัน.
[๒๕๐] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ทีตำบลบ้านปาริไลยกะ ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางพระนครสาวัตถี เสด็จ จาริกโดยลำดับถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ที่พระเขตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถีนั้น.
อุบาสกอุบาสิกาชาวพระนครโกสัมพีไม่อภิวาท
[๒๕๑] ครั้งนั้น อุบาสกอุบาสิกาชาวพระนครโกสัมพีได้หารือกันดัง นี้ว่า พระคุณเจ้าเหล่าภิกษุชาวพระนครโกสัมพีนี้ ทำความพินาศใหญ่โตแก่พวก เรา พระผู้มีพระภาคเจ้าถูกท่านเหล่านี้รบกวน จึงเสด็จหลีกไปเสีย เอาละ พวก เราไม่ต้องอภิวาท ไม่ต้องลุกรับ ไม่ต้องทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรม ไม่ ต้องทำสักการะ ไม่ต้องเคารพ ไม่ต้องนับถือ ไม่ต้องบูชาซึ่งพระคุณเจ้าเหล่า ภิกษุชาวพระนครโกสัมพี แม้เข้ามาบิณฑบาต ก็ไม่ต้องถวายบิณฑบาต ท่าน เหล่านี้ ถูกพวกเราไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีสักการะ อย่างนี้ จักหลีกไปเสีย หรือจักสึก หรือจักให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโปรด ครั้นแล้วไม่อภิวาท ไม่ลุกรับ ไม่ทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ซึ่งพวกภิกษุชาวพระนครโกสัมพี แม้เข้ามา บิณฑบาตก็ไม่ถวายบิณฑบาต.
ครั้งนั้น พวกภิกษุชาวพระนครโกสัมพี ถูกอุบาสกอุบาสิกาชาวพระนครโกสัมพี ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีสักการะ จึงพูดกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย มิฉะนั้น พวกเราพึงไปพระนครสาวัตถี แล้วระงับอธิกรณ์นี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้ว เก็บงำเสนาสนะ ถือบาตรจีวร พากันเดินทางไปพระนครสาวัตถี.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 481
พระสารีบุตรเข้าเฝ้าทูลถามข้อปฏิบัติ
[๒๕๒] ท่านพระสารีบุตรได้สดับข่าวว่า ภิกษุชาวพระนครโกสัมพี ผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาสู่พระนครสาวัตถี จึงเข้าไปในพระพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามข้อปฏิบัตินี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธ เจ้าข้า ได้ข่าวมาว่า ภิกษุชาวพระนครโกสัมพีที่ก่อความบาดหมาง ก่อการ ทะเลา ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้น พากันมาสู่ พระนครสาวัตถี ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติในภิกษุเหล่านั้นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า?
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า สารีบุตร ถ้าเช่นนั้น เธอจงดำรงอยู่ตาม ธรรม.
สา. ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงทราบธรรมอย่างไร พระพุทธเข้า?
วัตถุสำหรับอธรรมวาที ๑๘ ประการ
พ. สารีบุตร เธอพึงทราบอธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ คือภิกษุในธรรมวินัยนี้:-
๑. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ว่าเป็นธรรมะ
๒. แสดงสิ่งที่เป็นธรรม ว่าไม่เป็นธรรม.
๓. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นวินัย ว่าเป็นวินัย.
๔. แสดงสิ่งที่เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย.
๕. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ มิได้ตรัส ไว้ ว่า พระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 482
๖. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้ ว่าพระตถาคตมิได้ ทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้.
๗. แสดงมรรยาทอันพระตถาคต มิได้ทรงประพฤติมา ว่าพระตถาคต ทรงประพฤติมา.
๘. แสดงมรรยาทอันพระตถาคตทรงประพฤติมาแล้ว ว่าพระตถาคต มิได้ทรงประพฤติมา.
๙. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ ว่าอันพระตถาคตทรง บัญญัติไว้.
๑๐. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ ว่าพระตถาคตมิได้ทรง บัญญัติไว้.
๑๑. แสดงสิ่งที่มิใช่อาบัติ ว่าเป็นอาบัติ.
๑๒. แสดงสิ่งที่เป็นอาบัติ ว่าเป็นสิ่งมิใช่อาบัติ.
๑๓. แสดงอาบัติเบา ว่าเป็นอาบัติหนัก.
๑๔. แสดงอาบัติหนัก ว่าเป็นอาบัติเบา.
๑๕. แสดงอาบัติมีส่วนเหลือ ว่าเป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้.
๑๖. แสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ.
๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ.
๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ สารีบุตร เธอพึงทราบอธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถี ๑๘ ประการนี้ แล.
วัตถุสำหรับธรรมวาที ๑๘ ประการ
สารีบุตร และพึงทราบธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 483
๑. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ว่าไม่เป็นธรรม.
๒. แสดงสิ่งที่เป็นธรรม ว่าเป็นธรรม.
๓. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย.
๔. แสดงสิ่งที่เป็นวินัย ว่าเป็นวินัย.
๕. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ มิได้ตรัส ไว้ ว่า พระตถาคตได้ทรงภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้.
๖. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้ ว่าพระตถาคตทรง ภาษิตไว้ ตรัสไว้.
๗. แสดงมรรยาทอันพระตถาคตมิได้ทรงประพฤติมา ว่าพระตถาคต มิได้ทรงประพฤติมา.
๘. แสดงมรรยาทอันพระตถาคตทรงประพฤติมา ว่าพระตถาคตทรง ประพฤติมา.
๙. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ ว่าพระตถาคตมิได้ทรง บัญญัติไว้.
๑๐. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ ว่าพระตถาคตทรงบัญญัติ ไว้.
๑๑. แสดงสิ่งมิใช่อาบัติ ว่าเป็นสิ่งมิใช่อาบัติ.
๑๒. แสดงสิ่งที่เป็นอาบัติ ว่าเป็นอาบัติ.
๑๓. แสดงอาบัติเบา ว่าเป็นอาบัติเบา.
๑๔. แสดงอาบัติหนัก ว่าเป็นอาบัติหนัก.
๑๕. แสดงอาบัติมีส่วนเหลือ ว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ.
๑๖. แสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ว่าเป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 484
๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ.
๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ.
สารีบุตร เธอพึงทราบธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้แล.
พระเถรานุเถระเข้าเฝ้าทูลถามข้อปฏิบัติ
[๒๕๓] ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้สดับข่าว ...
ท่านพระมหากสัสปะได้สดับข่าว ...
ท่านพระมหากัจจานะได้สดับข่าว ...
ท่านพระมหาโกฏฐิตะได้สดับข่าว ...
ท่านพระมหากัปปินะได้สดับข่าว ...
ท่านพระมหาจุนทะได้สดับข่าว ...
ท่านพระอนุรุทธะได้สดับข่าว ... ท่านพระเรวตะได้สดับข่าว ...
ท่านพระอุบาลีได้สดับข่าว ...
ท่านพระอานนท์ได้สดับข่าว ...
ท่านพระราหุลได้สดับข่าวว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีที่ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาสู่พระนครสาวัตถี จึงเข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระราหุลนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามข้อปฏิบัตินี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ได้ข่าวมาว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีที่ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำ ความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาสู่พระนครสาวัตถี ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติในภิกษุเหล่านั้นอย่างไรพระพุทธเจ้าข้า?
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 485
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ราหุล ถ้าเช่นนั้น เธอจงดำรงอยู่ตามธรรม.
ราหุล ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงทราบธรรมหรืออธรรมอย่างไร พระพุทธ. เจ้าข้า?
พ. ราหุล เธอพึงทราบ อธรรมวาที่ภิกษุด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ ...
ราหุล เธอพึงทราบอธรรมวาทีภิกษุด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้แล.
ราหุล และพึงทราบธรรมวาทีภิกษุด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ ...
ราหุล เธอพึงทราบธรรมวาทีภิกษุด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้แล.
พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีเข้าเฝ้าทูลถามข้าปฏิบัติ
[๒๕๔] พระเถรีมหาปชาบดีโคตมี ได้สดับข่าวว่า ภิกษุชาวเมือง โกสัมพีที่ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาสู่พระนครสาวัตถี จึงเข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ยืนเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระเถรีมหาปชาบดีโคตมียืนเฝ้าเรียบร้อยแล้ว ทูลถามข้อปฏิบัตินี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ได้ข่าวมาว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ที่ก่อความ บาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาสู่พระนครสาวัตถี หม่อมฉันจะปฏิบัติในภิกษุเหล่านั้นอย่างไร พระพุทธเจ้า?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โคตมี ถ้าเช่นนั้น เธอจงพึงธรรมภิกษุ สองฝ่าย ครั้นฟังธรรมในสองฝ่ายแล้ว ภิกษุเหล่าใดในสองฝ่ายนั้นเป็นธรรม วาที เธอจงพอใจความเห็น ความถูกใจ ความชอบใจ และความเชื่อถือ ของภิกษุฝ่ายธรรมวาทีนั้น อนึ่ง วัตรอย่างหนึ่งอย่างใดอันภิกษุณีสงฆ์พึงหวัง แต่ภิกษุสงฆ์ วัตรทั้งนั้นหมดอันเธอพึงหวังแต่ธรรมวาทีภิกษุฝ่ายเดียว.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 486
อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าทูลถามข้อปฏิบัติ
[๒๕๕] อนาถบิณฑิกคหบดีได้สดับข่าวว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีที่ ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาสู่พระนครสาวัตถี จึงเข้าไปในพุทธสำนัก ครั้น แล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง อนาถบิณฑิกคหบดีนั่งเฝ้าเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามข้อปฏิบัตินี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า พระพุทธเจ้าข้า ได้ยินข่าวมาว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีที่ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาสู่พระนครสาวัตถี ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติในภิกษุเหล่านั้นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คหบดี ถ้ากระนั้น ท่านจงถวายทานใน ภิกษุสองฝ่าย ครั้นถวายทานภิกษุในสองฝ่ายแล้ว จงพึงธรรมในสองฝ่ายครั้น ฟังธรรมในสองฝ่ายแล้ว ภิกษุเหล่าใดในสองฝ่ายนั้น เป็นธรรมวาที ท่านจง พอใจในความเห็น ความถูกใจ ความชอบใจ เละความเธอถือ ของภิกษุ ฝ่ายธรรมวาทีนั้น.
นางวิสาขามิคารมาตาเข้าเฝ้าทูลถามข้อปฏิบัติ
[๒๕๖] นางวิสาขามิคารมาตาได้สดับข่าวว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีที ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาสู่พระนครสาวัตถี จึงเข้าไปในพุทธสำนัก ครั้น แล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งเฝ้าอยู่ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง นางวิสาขามิคารมาตานั่งเฝ้าเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามข้อปฏิบัตินี้แด่พระผู้มีพระ ภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ได้ข่าวมาว่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ที่ก่อความ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 487
บาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาสู่พระนครสาวัตถี หม่อมฉันจะปฏิบัติในภิกษุเหล่านั้น อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า วิสาขา ถ้ากระนั้น เธอจงถวายทานใน ภิกษุสองฝ่าย ครั้นถวายทานในสองฝ่ายแล้ว จงฟังธรรมในสองฝ่าย ครั้นฟัง ธรรมในสองฝ่ายแล้ว ภิกษุเหล่าใดในสองฝ่ายนั้นเป็นธรรมวาที เธอจงพอใจ ในความเห็น ความถูกใจ ความชอบใจ และความเธอถือ ของภิกษุฝ่ายธรรม. วาทีนั้น.
[๒๕๗] ครั้งนั้น พวกภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ได้ไปถึงพระนคร สาวัตถี โดยลำดับ ท่านพระสารีบุตรจึงเข้าไปในพุทธสำนัก ครั้นแล้วถวาย บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้านั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลถามข้อ ปฏิบัตินี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ได้ข่าวมาว่า ภิกษุชาวเมือง โกสัมพี ที่ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาถึงพระนครสาวัตถีแล้วโดยลำดับ ข้าพระพุทธเจ้า จะพึงจัดเสนาสนะสำหรับภิกษุเหล่านั้นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สารีบุตร ถ้ากระนั้น เธอพึงให้เสนาสนะ ที่ว่าง.
สา. ก็ถ้าเสนาสนะว่างไม่มี จะพึงปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า?
พ. สารีบุตร ถ้ากระนั้น พึงทำเสนาสนะให้ว่างแล้วให้ แต่เราไม่ได้ กล่าวว่า พึงห้ามเสนาสนะแก่ภิกษุผู้แก่พรรษา โดยปริยายอะไรๆ หามิได้เลย รูปใดห้าม ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 488
สา. ในอามิสเล่า จะพึงปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.
พ. สารีบุตร พึงแบ่งอามิสให้ภิกษุทั้งหมดเท่าๆ กัน.
รับภิกษุผู้ถูกยกเข้าหมู่
[๒๕๘] ครั้งนั้น ภิกษุผู้ถูกยกรูปนั้น พิจารณาถึงธรรมและวินัยอยู่ ได้สำนึกข้อนี้ว่า นั้นเป็นอาบัติ นั่นไม่เป็นอาบัติหามิได้ เราเป็นผู้ต้องอาบัติ แล้ว ไม่เป็นผู้ต้องอาบัติหามิได้ เราเป็นผู้ถูกยกแล้ว ด้วยกรรมเป็นธรรม ไม่ กำเริบ ควรแก่ฐานะ ครั้นแล้วเข้าไปหาภิกษุพวกที่สนับสนุนภิกษุผู้ถูกยก แล้ว ได้กล่าวคำนี้แก่ภิกษุพวกนั้นว่า อาวุโสทั้งหลาย นั่นเป็นอาบัติ นั่นไม่เป็น อาบัติหามิได้ ผมเป็นผู้ต้องอาบัติ ไม่เป็นผู้ต้องอาบัติหามิได้ ผมเป็นผู้ถูกยก แล้ว ไม่เป็นผู้ถูกยกหามิได้ ผมถูกยกด้วยกรรมเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควร แก่ฐานะ มาเถิดท่านทั้งหลาย ขอได้กรุณารับผมเข้าหมู่ด้วยเถิด ขอรับ.
ลำดับนั้น ภิกษุพวกที่สนับสนุนภิกษุผู้ถูกยกเหล่านั้น พาภิกษุถูกยก รูปนั้น เข้าไปในพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้านั่ง เฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ถูกยกรูปนี้ กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย นั่นเป็น อาบัติ นั้นไม่เป็นอาบัติหามิได้ ผมเป็นผู้ต้องอาบัติแล้ว ไม่เป็นผู้ต้องอาบัติ หามิได้ ผมเป็นผู้ถูกยกแล้ว ไม่เป็นผู้ถูกยกหามิได้ ผมเป็นผู้ถูกยกแล้วด้วย กรรมเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ มาเถิด ท่านทั้งหลาย ขอได้กรุณา รับผมเข้าหมู่ด้วยเถิด ขอรับ ดังนี้ พวกข้าพระพุทธเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า?
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นเป็นอาบัติ นั่น ไม่เป็นอาบัติหามิได้ ภิกษุนั่นต้องอาบัติแล้ว ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติหามิได้
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 489
ภิกษุนั่นถูกยกแล้ว ภิกษุนั้นไม่ถูกยกหามิได้ ภิกษุนั่นถูกยกแล้วด้วยกรรมเป็น ธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ เพราะภิกษุนั้นต้องอาบัติ ถูกยกแล้ว และ เห็นอาบัติ ฉะนั้น พวกเธอจงรับภิกษุนั้นเข้าหมู่.
ภิกษุพวกที่สนับสนุนภิกษุผู้ถูกยกเหล่านั้น จึงรับภิกษุผู้ถูกยกรูปนั้น เข้าหมู่แล้ว เข้าไปหาภิกษุพวกยกถึงที่อยู่ ได้กล่าวคำนี้แก่ภิกษุพวกยกว่า อาวุโสทั้งหลาย ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง การวิวาทแห่ง สงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ได้มีแล้วเพราะเรื่องใด ภิกษุนั้นนั้น ต้องอาบัติแล้ว ถูกยกแล้ว เห็นอาบัติ และสงฆ์รับเข้าหมู่แล้ว เอาละ พวกเราจะทำสังฆสามัคคี เพื่อระงับเรื่องนั้น.
ภิกษุพวกยกเหล่านั้น จึงเข้าไปในพุทธสำนัก ครั้นแล้วถวายบังคม พระผู้มีพระภาคเจ้านั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระ ผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุพวกที่สนับสนุนภิกษุผู้ถูกยกเหล่านั้น กล่าวอย่างนี้ อาวุโสทั้งหลาย ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง การวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้านรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกัน แห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ได้มีแล้ว เพราะเรื่องใด ภิกษุนั้นนั้น ต้องอาบัติแล้ว ถูกยกแล้ว เห็นอาบัติแล้ว และสงฆ์รับเข้าหมู่แล้ว เอาละ พวกเราจะทำสังฆสามัคดี เพื่อระงับเรื่องนั้น ดังนี้ พวกข้าพระพุทธเจ้าจะ พึงปฏิบัติอย่างไรหนอ พระพุทธเจ้าข้า?
พระพพุทธานุญาตไห้ทำสังฆสามัคคี
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุนั้นต้อง อาบัติแล้ว ถูกยกแล้ว เห็นอาบัติแล้ว และสงฆ์รับเข้าหมู่แล้ว ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงทำสังฆสามัคคี เพื่อระงับ เรื่องนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 490
วิธีทำสังฆสามัคคี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสังฆสามัคคีพึงทำอย่างนี้ คือภิกษุทั้งหลาย ทั้งที่อาพาธ ทั้งที่ไม่อาพาธ พึงประชุมพร้อมกันทุกๆ รูป รูปไหนจะให้ฉันทะ ไม่ได้ ครั้นประชุมกันแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึ่งประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาทำสังฆสามัคคี
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ความบาดหมาง ความ ทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่ง สงฆ์ได้มีแล้วเพราะเรื่องใด ภิกษุนั่นนั้นต้องอาบัติแล้ว ลูกยกแล้ว เห็นอาบัติแล้ว และสงฆ์เรียกเข้าหมู่แล้ว ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำสังฆสามัคคีเพื่อระงับเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่ง สงฆ์ ได้มีแล้วเพราะเรื่องใด ภิกษุนั่นนั้นต้องอาบัติแล้ว ถูกยกแล้ว เห็นอาบัติแล้ว และสงฆ์เรียกเข้าหมู่แล้ว สงฆ์ทำสังฆสามัคคีเพื่อ ระงับเรื่องนั้น การทำสังฆสามัคคีเพื่อระงับเรื่องนั้น ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
สงฆ์ทำสังฆสามัคคีเพื่อระงับเรื่องนั้นแล้ว ความแตกแต่ง สงฆ์ถูกกำจัดแล้ว การถือต่างกันแห่งสงฆ์ ลูกกำจัดแล้ว การทำต่าง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 491
กันแห่งสงฆ์กำจัดแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง ความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
สงฆ์พึงทำอุโบสถ พึงสวดปาติโมกข์ ในขณะนั้นเทียว.
สังฆสามัคคี ๒ อย่าง
[๒๕๙] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลี เข้าไปในพุทธสำนัก ครั้นแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบ ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ความบาดหมาง ความ ทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความ ร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมี เพราะเรื่องใด สงฆ์ยังไม่ทัน วินิจฉัยเรื่องนั้น ยังไม่ทันสาวเข้าไปถึงมูลเหตุ จากมูลเหตู แล้วทำสังฆสามัคดี สังฆสามัคดีนั้น เป็นธรรมหรือหนอ พระ พุทธเจ้าข้า?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า อุบาลี ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่ง สงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์ยังไม่ทัน วินิจฉัยเรื่องนั้น ยังไม่ทันสาวเข้าไปถึงมูลเหตุ จากมูลเหตุ แล้ว ทำสังฆสามัคดี สังฆสามัคคีนั้น ไม่เป็นธรรม.
อุ. พระพุทธเจ้าข้า ก็ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่าง กันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์วินิจฉัยเรื่อง นั้นสาวเข้าไปถึงมูลเหตุ จากมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคี สังฆสามัคคีนั้น เป็นธรรมหรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า?
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 492
พ. อุบาลี ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความ วิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่ง สงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์วินิจฉัยเรื่องนั้น สาว เข้าไปถึงมูลเหตุ จากมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคี สังฆสามัคคีนั้นเป็นธรรม.
อ. สังฆสามัคคีมีเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า
พ. อุบาลี สังฆสามัคคีมี ๒ อย่าง คือ สังฆสามัคคีเสียอรรถแต่ได้ พยัญชนะ ๑ สังฆสามัคคีได้ทั้งอรรถได้ทั้งพยัญชนะ ๑.
๑. อุบาลี สังฆสามัคคีเสียอรรถ แต่ได้พยัญชนะเป็นไฉนเล่า?
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำ ต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์ยังไม่ทันวินิจฉัยเรื่องนั้น ยังไม่ ทันสาวเข้าไปถึงมูลเหตุ จากมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคี นี้เรียกว่าสังฆสามัคคี เสียอรรถแต่ได้พยัญชนะ.
๒. อุบาลี สังฆสามัคคี ได้ทั้งอรรถได้ทั้งพยัญชนะเป็นไฉนเล่า?
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำ ต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์วินิจฉัยเรื่องนั้น สาวเข้าไปถึง มูลเหตุจากมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคี นี้เรียกว่า สังฆสามัคคีที่ได้ทั้งอรรถ ได้ทั้งพยัญชนะ อุบาลี สังฆสามัคคี ๒ อย่างนี้แล.
ลำดับนั้น ท่านพระอุบาลีลุกจากอาสน์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย คาถา ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 493
อุบาลีคาคา
[๒๖๐] อุ. เมื่อกิจของสงฆ์ การ ปรึกษาวินัย การตีความวินัย และการวินิจฉัย ความแต่งวินัยเกิดขึ้นแล้ว ภิกษุในธรรมวินัย นี้ เป็นคนชนิดไร จึงมีอุปการะมาก เป็น คนชนิดไร จึงควรยกย่อง ในพระธรรมวินัยนี้.
พ. เบื้องต้น ภิกษุไม่ถูกตำหนิโดย ศีล หมั่นตรวจมรรยาท และสำรวม อันทรีย์เรียบร้อย ศัตรูเตียนไม่ได้โดยธรรม เพราะเธอไม่มีความผิดที่ฝ่ายศัตรูจะพึงล่าว ถึงเธอ ผู้เช่นนั้น ตั้งอยู่ในศีลวิสุทธิ์ เป็นผู้ แกล้วกล้า พูดจาฉาดฉาน เข้าที่ประชุมไม่ สะดุ้ง ไม่ประหม่า กล่าวล้อคำมีเหตุ ไม่ ไห้เสียความ ถึงถูกถามปัญหาในที่ประชุม ก็เช่นนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่นิ่งอั้น ไม่เก้อ เธอเป็นผู้เชี่ยวชาญ กล่าวถ้อยคำถูกกาล เหมาะแก่การพยากรณ์ ย่อมยังหมู่วิญญูชน ให้พอใจ มีความเคารพในภิกษุทั้งหลาย ที่ แก่พรรษากว่า เป็นผู้แกล้วกล้าในอาจริยวาทของตน สามารถเพื่อจะวิจารณ์ ชำนาญ ในถ้อยคำที่จะพึงกล่าว ฉลาดจับข้อพิรุธของ ฝ่ายศัตรู เป็นเหตุให้ฝ่ายศัตรูถึงความถูก
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 494
ปราบ และมหาชนก็ยินยอม อนึ่ง ภิกษุนี้ ย่อมไม่ลบล้างลัทธิเป็นที่เชื่อถือ คืออาจริยวาทของตน แก้ปัญหาได้ไม่คิดขัด สามารถ ในหน้าที่ทูต และยอมรับทำกิจของสงฆ์ ดุจ รับบิณฑบาตของที่เขานำมาบูชาฉะนั้น ถูก คณะภิกษุส่งไปให้ทำหน้าที่เจรจา ก็ไม่ทะนง ตัวว่า ตนทำได้ เพราะการทำหน้าที่เจรจา นั้น ภิกษุต้องอาบัติเพราะวัตถุมีประมาณ เท่าใด และการออกจากอาบัติย่อมมีด้วยวิธี ใด วิภังค์ทั้งสองนั้นมาแล้วด้วยแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้ฉลาดในวิธีการออกจากอาบัติ อนึ่งภิกษุทำกรรมมีก่อความบาดหมางเป็น ต้นเหล่าใด ย่อมถึงการขับออก และถูกขับ ออก ด้วยเรื่องเช่นใด เธอฉลาดในวิภังค์ ย่อมเข้าใจ วิธีการรับเข้าหมู่ แม่นั้น ที่ควร ทำแก่ภิกษุประพฤติวัตรนั้นเสร็จแล้ว มี ความเคารพในพระผู้เจริญกว่า คือที่เป็นผู้- ใหญ่ ปานกลาง และผู้ใหม่ เป็นบัณฑิต ประพฤติประโยชน์แก่มหาชนในโลกนี้ ภิกษุ ผู้เช่นนั้นนั่น จึงควรยกย่องในธรรมวินัยนี้แล.
โกสัมพิขันธกะที่ ๑๐ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 495
หัวข้อประจำขันธกะ
[๒๖๑] เรื่องสมเด็จพระชินวรประทับในพระนครโกสัมพีภิกษุวิวาท กันเพราะไม่เห็นอาบัติ และยกกันเพราะเหตุเล็กน้อย. เรื่องทรงแนะนำให้ ภิกษุแสดงอาบัติ. เรื่องภิกษุผู้สนับสนุนฝ่ายถูกยกทำอุโบสถภายในสีมานั้นเอง. เรื่องบ้านพาลกโลณการกคาม. เรื่องเสด็จพระพุทธดำเนินสู่ปาจีนวังสทายวัน. เรื่องเสด็จพระพุทธดำเนินสู่ป่าปาริไลยกะ. เรื่องเสด็จพระพุทธดำเนินสู่ พระนครสาวัตถี. เรื่องพระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระโกลิตะ พระมหากัสสปะ พระมหากัจจานะ พระมหาโกฏฐิตะ พระมหากัปปินะ พระมหาจุนทะ พระอนุรุทธะ พระเรวตะ พระอุบาลี พระอานนท์ พระราหุล พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี อนาถบิณฑิกคหบดี และนางวิสาขามิคารมาตา เข้าเฝ้าทูลถามข้อปฏิบัติ. เรื่องเสนาสนะว่าง. เรื่องจัดเสนาสนะให้ว่า. เรื่องแบ่งอามิสให้เท่าๆ กัน. เรื่องทำสังฆสามัคคี. ภิกษุรูปไรจะให้ ฉันทะไม่ได้. เรื่องพระอุบาลีเข้าเฝ้าทูลถามสังฆสามัคคีในศาสนาของพระ ชินเจ้า. เรื่องไม่ถูกตำหนิโดยศีล.
มหาวรรคภาคที่ ๒ จบ
อรรถกถาโกสัมพิขันธกะ
วินิจฉัยในโถสัมพิขันธกะ
วินิจฉัยในโกสัมพิขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
ในคำว่า ตํ ภิกฺขุํ อาปตฺติยา อทสฺสเน อุกฺขิปึสุ นี้ มีอันปุพพิกถา ดังต่อไปนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 496
ได้ยินว่า ภิกษุ ๒ รูป คือ พระวินัยธร ๑ พระสุตตันติกะ ๑ อยู่ใน อาวาสเดียวกัน. ในภิกษุ ๒ รูปนั้น วันหนึ่ง พระสุตตันติกภิกษุเข้าไปยังเว็จ- กุฏิ ค้างน้ำชำระที่เหลือไว้ในภาชนะแล้วออกไป. พระวินัยธรเข้าไปทีหลัง เห็นน้ำนั้น ออกไปแล้วจึงถามภิกษุนั้นว่า:-
ผู้มีอายุ ท่านเหลือน้ำนี้ไว้หรือ?
ขอรับ ผู้มีอายุ
ท่านไม่รู้ว่าเป็นอาบัติในเพราะเหลือน้ำไว้นี้หรือ?
ขอรับ ผมไม่รู้.
ผู้มีอายุ มีอาบัติเพราะเหตุนี้.
ถ้ามี, ผมจักแสดง.
ผู้มีอายุ แต่ถ้าท่านไม่แกล้ง ทำด้วยไม่มีสติ. ก็ไม่มีอาบัติ.
พระสุตตันติกะนั้น ได้เป็นผู้มีความเห็นอาบัตินั้นว่าไม่เป็นอาบัติ. ฝ่ายพระวินัยธร ได้บอกแก่เหล่านิสิตของตนว่า พระสุตตันติกะนี้ แม้ต้อง อาบัติอยู่ ก็ยังไม่รู้. นิสิตเหล่านั้น พบพวกนิสิตของพระสุตตันติกะนั้นเข้า จึงกล่าวว่า อุปัชฌาย์ของพวกท่าน แม้ต้องอาบัติแล้ว ก็ไม่รู้ว่าเป็นอาบัติ. นิสิตเหล่านั้นจึงมาบอกแก่อุปัชฌาย์. เธอจึงกล่าวอย่างนี้ว่า วินัยธรนี้ แต่ก่อน พูดว่า ไม่เป็นอาบัติ มาบัดนี้พูดว่า เป็นอาบัติ เธอพูดปด. นิสิตเหล่านั้น จึงไปก่อการทะเลาะกะกันและกันอย่างนี้ว่า อุปัชฌาย์ของพวกท่านพูดปด. ลำดับ นั้น พระวินัยธรได้โอกาส จึงได้ลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นอาบัติแก่ เธอ. ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์พึงกล่าวว่า ได้ยกวัตรภิกษุนั้น เพราะไม่เห็นอาบัติ.
วินิจฉัยในคำว่า ภินฺโน ภิกฺขุสงฺโฆ ภินฺโน ภิกฺขุสงฺโฆ นี้พึง ทราบดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 497
ภิกษุสงฆ์ยังไม่แตกกันก่อน, เช่นอย่างว่า เมื่อฝนตก ชนทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่า บัดนี้ข้าวกล้าสำเร็จแล้ว, จริงอยู่ ข้าวกล้านั้นจักสำเร็จเป็นแน่ ข้อนี้ฉันใด; ด้วยเหตุนี้ ต่อไป ภิกษุสงฆ์จักแตกกันแน่แท้ ข้อนี้ก็ฉันนั้น. จริงอยู่ ภิกษุสงฆ์นั้นแลจักแตกกันด้วยอำนาจความทะเลาะ, จักแตกกันด้วย อำนาจสังฆเภทหามิได้; เพระเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า แตกกัน แล้ว. ส่วนคำที่ตรัสซ้ำในข้อนี้ พึงทราบด้วยอำนาจเนื้อความที่ปรากฏ.
ข้อว่า เอตมตฺถํ ภาสิตฺวา อฏฺายาสนา ปกฺกามิ มีคำถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสอย่างนั้นแล้ว จึงเสด็จหลีกไปเสีย
ตอบว่า ก็ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสกะเหล่าภิกษุผู้ยกวัตร ว่า ภิกษุนั้น อันท่านทั้งหลายยกวัตรแล้ว โดยมิใช่เหตุ หรือจะพึงตรัสกะ เหล่าภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกยกวัตรว่า ท่านทั้งหลายต้องอาบัติ ภิกษุ เหล่านั้น จะพึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นฝักฝ่ายแห่งภิกษุเหล่านี้, พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นฝักฝ่ายแห่งภิกษุเหล่านี้, และผูกอาฆาต; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงตั้งเพียงแบบแผนเท่านั้น จึงทรงภาษิตเนื้อความนั้น แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไปเสีย.
ในข้อว่า อตฺตนา ว อตฺตานํ นี้ มีความว่า ภิกษุใด นั่งในฝ่าย แห่งเหล่าอธรรมวาที ผู้มีกรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรยกวัตร ถามว่า พวกท่านกล่าวอย่างไร ได้ฟังลัทธิของพวกเธอและของอีกฝ่ายหนึ่ง ยังจิต ให้เกิดขึ้นว่า ภิกษุเหล่านี้ เป็นอธรรมวาที, ภิกษุนอกจากนี้ เป็นธรรมวาที; ภิกษุนี้คงนั่งในท่ามกลางแห่งพวกภิกษุอธรรมวาทีนั้น ย่อมเป็นนานาสังวาสก์ ของพวกเธอ; ย่อมยังกรรมให้กำเริบ, ชื่อว่ายังกรรมของอีกฝ่ายหนึ่งให้กำเริบ ด้วย เพราะข้อที่เธอไม่มาเข้าหัตถบาส. ภิกษุย่อมทำคนให้เป็นนานาสังวาสก์ ด้วยตนเอง ด้วยประการอย่างนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 498
แม้ในข้อว่า สมานสํวาสกํ นี้ มีความว่า ภิกษุใด นั่งในฝ่าย อธรรมวาทีทราบว่า พวกนี้เป็นอธรรมวาที พวกนอกจากนี้เป็นธรรมวาที แล้วเข้าไปในท่ามกลางของพวกนั้น, นั่งแล้วในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถืออยู่ว่า พวก นี้เป็นธรรนวาที. ภิกษุนี้พึงทราบว่า ทำตนให้เป็นสมานสังวาสก์ด้วยตนเอง.
ในคำว่า กายกมฺมํ วจึกมฺมํ นี้ มีความว่า ภิกษุเหล่านั้น เมื่อ ประหารกันด้วยกาย พึงทราบว่า ยังกายกรรมให้เป็นไป เมื่อกล่าวคำหยาบ พึงทราบว่า ยังวจีกรรมให้เป็นไป.
สองบทว่า หตฺปรามสํ กโรนฺติ มีความว่า ภิกษุเหล่านั้นกระทำ การตีกันและกันด้วยมือ ด้วยอำนาจความโกรธ.
บทว่า อธมฺมิยมาเน ได้แก่ ผู้ทำอยู่ซึ่งกิจทั้งหลาย อันไม่สมควร แก่ธรรม.
สองบทว่า อสมฺโมทิกาย วตฺตมานาย คือ เมื่อถ้อยคำอันชวน ให้บันเทิง ไม่เป็นไปอยู่. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะนี้เองเป็นบาลี. ความว่า เมื่อ ถ้อยคำเป็นเครื่องบันเทิงพร้อม ไม่เป็นไปอยู่.
วินิจฉัยในข้อว่า เอตฺตาวตา น อญฺมญฺํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
พึงทำให้เป็น ๒ แถว นั่งเว้นอุปจารไว้. ส่วนในฝ่ายผู้กระทำกรรม สมควรแก่ธรรม เมื่อถ้อยคำอันชวนให้บันเทิงเป็นไปอยู่ พึงนั่งในแถวมีอาสนะ คั่นในระหว่าง คือ พึงนั่งเว้นอาสนะอันหนึ่งๆ ไว้ในระหว่าง.
ในบทว่า มา ภณฺฑนํ เป็นต้น พึงถือเอาปาฐะที่เหลือว่า อกตฺถ เห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้ทำความบาดหมางกัน.
บทว่า อธมฺมวาที ได้แก่ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ในพวกภิกษุผู้ ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกยกวัตร. อันภิกษุนี้ เป็นผู้ใคร่ประโยชน์แด่พระผู้มี-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 499
พระภาคเจ้า. ได้ยินว่า ความประสงค์ของภิกษุนี้ ดังนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ ถูก ความโกรธครอบงำ ย่อมไม่เธอฟังคำของพระศาสดา, พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่า ต้องทรงลำบากตักเตือนภิกษุเหล่านั้นเลย เพราะฉะนั้น เธอจึงทูลอย่างนั้น. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสด้วยทรงเอ็นดูแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเธอจักได้ความรู้สึกแล้วงดเว้นในภายหลังบ้าง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนตฺถโต ตัดบทว่า อนตฺโถ อโต. มีคำอธิบายว่า ความเสื่อมเสียจักมีแก่เราจากบุรุษนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อนตฺถโต ได้แก่ อนตฺถโท แปลว่า บุรุษ นั้นจักเป็นผู้ให้ความฉิบหาย. คำที่เหลือชัดเจนแล้ว.
ก็วินิจฉัยในคาถาว่า ปุถุสทฺโท เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-
ชนชื่อว่าผู้มีเสียงดัง เพราะเขามีเสียงมากคือใหญ่ ชนผู้เป็นเช่นเดียว กัน ชื่อว่าชนผู้สมกัน. มีคำอธิบายว่า จริงอยู่ ชนผู้ทำความบาดหมางกันนี้ ทั้งหมด เป็นผู้มีเสียงดังเพราะเปล่งเสียงรอบด้านและเป็นเช่นกัน.
บาทคาถาว่า น พาโล โกจิ มญฺถ มีความว่า ในชนนิกายนั้น ใครๆ แม้คนหนึ่ง (ไม่) สำนึกในเลยว่า เราเป็นพาล, ทุกๆ คนเป็นผู้มี ความสำคัญว่า เราเป็นบัณฑิตทั้งนั้น.
บาทคาถาว่า นาญฺํ ภิยฺโย อมญฺรุํ มีความว่า ใครๆ แม้ ผู้หนึ่ง ไม่สำนึกตนเลยว่า เราเป็นพาล, และยิ่งกว่านั้น เมื่อสงฆ์แตกกันอยู่ ไม่สำนึกถึงเหตุอันหนึ่งแม้คนอื่น คือ เหตุอันนี้ว่า สงฆ์แตกกันเพราะเราเป็น เหตุ.
บทว่า ปริมุฏฺา ได้แก่ ผู้หลงลืมสติ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 500
บาทคาถาว่า วาจาโคจรภาณิโน คือ ทำอาเทศ ร อักษรให้เป็น รัสสะ, ความว่า ผู้มีวาจาเป็นโคจร หาใช่ผู้มีสติปัฏฐานเป็นต้น เป็นโคจรไม่.
บทว่า ภาณิโน ได้แก่ ผู้มักกล่าวถ้อยคำ.
บาทคาถาว่า ยาวจฺฉนฺติ มุขายามํ มีความว่า ภิกษุเหล่านั้น ตน ปรารถนาจะต่อปากกันเพียงใด, ย่อมเป็นผู้มักกล่าวยืดไปเพียงนั้น, แม้รูปหนึ่ง ก็ไม่ทำความสยิ้วหน้าด้วยความเคารพต่อสงฆ์.
สองบทว่า เยน นีตา มีความว่า อันความทะเลาะใดนำไปสู่ความ เป็นผู้ไม่มีละอายนี้.
สองบทว่า น ตํ วิทู มีความว่า ภิกษุเหล่านั้น ไม่รู้ซึ่งความทะเลาะ นั้นว่า ความทะเลาะนี้ มีโทษอย่างนี้.
บาทคาถาว่า เย จ ตํ อุปนยฺหนฺติ มีความว่า ชนเหล่าใดเข้าไป ผูกอาการที่ว่า ผู้นี้ได้ด่าเรา, เป็นต้นนั้นไว้.
บทว่า สนนฺตโน คือ เป็นของเก่า.
บทว่า ปเร มีความว่า เว้นพวกบัณฑิตเสีย ชนเหล่าอื่นจากบัณฑิต นั้น คือ ผู้ก่อความบาดหมางกัน ชื่อว่าชนเหล่าอื่น. ชนเหล่าอื่นนั้น เมื่อทำ การทะเลาะอยู่ท่ามกลางสงฆ์นี้ ย่อมไม่รู้เสียเลยทีเดียวว่าเราทั้งหลายยุบยับ คือป่นปี้ ฉิบหาย ไปสู่ที่ใกล้ความตายเนืองๆ คือ สม่ำเสมอ.
บาทคาถาว่า เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ มีความว่า ฝ่ายชนเหล่า ใดเป็นบัณฑิตในท่ามกลางสงฆ์นั้น ทราบชัดว่า เราทั้งหลายไปสู่ที่ใกล้แห่ง ความตาย.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 501
บาทคาถาว่า ตโต สมฺนนฺติ เมธคา มีความว่า จริงอยู่ ชน เหล่านั้น เมื่อทราบอย่างนั้น ยังโยนิโสมนสิการให้เกิดขึ้น ย่อมปฏิบัติเพื่อ ความเข้าไปสงบแห่งความหมายมั่น คือความทะเลาะเสีย.
คาถาว่า อฏฺิจฺฉิทา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเจ้าพรหมทัต และทีฆาวุกุมาร. ความว่า ความพร้อมเพรียง แม้แห่งชนเหล่านั้น ยังมีได้, เหตุไร ความพร้อมเพรียงของท่านทั้งหลายจะมีไม่ได้เล่า? กระดูก ของมารดาบิดาอันพวกท่านเหล่าใด ก็หาได้ถูกดัดเสียไม่เลย, ชีวิตก็หาได้ถูก ผลาญเสียไม่, โค ม้าและทรัพย์ทั้งหลายก็หาได้ถูกลักไม่.
คาถาว่า สเจ ลเภถ เป็นอาทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เพื่อแสดง คุณแห่งสหายผู้เป็นบัณฑิตและโทษแห่งสหายผู้เป็นพาล.
บาทคาถาว่า อภิภุยฺย สพฺพานิ ปริสฺสยานิ มีความว่า พึงย่ำยี อันตรายที่ปรากฏ และอันตรายที่ซ่อนเร้นเสีย มีใจชื่นชมกับด้วยสหายนั้น มี สติเที่ยวไป.
หลายบทว่า ราชาว รฏฺํ วิชิตํ มีความว่า พระราชาทรง พระนามว่า มหาชนก และพระมหาราชาทรงพระนามว่า อรินทมะทรงละ แว่นแคว้น คือ ดินแดงเป็นที่ยินดีของพระองค์เสีย เที่ยวไปตามลำพัง ฉันใด, พึงเที่ยวไป ฉันนั้น.
สองบทว่า มาตงฺครญฺเว นาโค มีความว่า เหมือนช้างใหญ่ ละโขลง เที่ยวไปในป่า.
สัตว์มีงวงเรียกช้าง.
คำว่า นาค นี้ เป็นชื่อแห่งผู้เป็นใหญ่. มีคำอธิบายว่า เหมือนอย่างว่า ช้างใหญ่ผู้เลี้ยงมารดา เที่ยวไปในป่าแต่ลำพังทั้งไม่ได้ทำบาปทั้งหลาย ฉันใด;
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 502
อนึ่ง ช้างปาริเลยยกะ เที่ยวไปในป่าตามลำพัง, ทั้งไม่ได้ทำบาปทั้งหลาย ฉันใด: บุคคลพึงเที่ยวไปตามลำพัง ทั้งไม่พึงทำบาปทั้งหลายก็ฉันนั้น.
หลายบทว่า ปาริเลยฺยเก วิหรติ รกฺขิตวนสณฺเฑ มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าไปอาศัยบ้านชื่อปาริเลยยกะ. เสด็จอยู่ในรักขิต ไพรสณฑ์.
บทว่า หตฺถินาโค ได้แก่ ช้างใหญ่.
บทว่า หตฺถิกลเภหิ ได้แก่ ลูกช้าง.
บทว่า ทตฺถิจฺฉาเปหิ ได้แก่ ลูกช้างอ่อน ซึ่งยังดื่มนม.
บทว่า ฉินฺนคฺคานิ มีความว่า เคี้ยวกินหญ้า มียอดซึ่งช้างเหล่า นั้นไปข้างหน้าๆ ตะพ่วนเสีย คือ คล้ายตอซึ่งเหลือจากที่เคี้ยวกินแล้ว.
ข้อว่า โอภคฺโคภคฺคํ มีความว่า อันช้างใหญ่นั้นหักให้ตกลงจากที่ สูงแล้ว.
สองบทว่า อสฺส สาขาภงคํ ความว่า ช้างเหล่านั้นย่อมเคี้ยวกิน กิ่งไม้ที่พึงหัก ซึ่งเป็นของช้างใหญ่นั่น.
บทว่า อาวิลานิ มีความว่า ช้างใหญ่นั้น ย่อมดื่มน้ำเจือตม ซึ่ง ช้างเหล่านั้น เมื่อลงดื่มก่อนลุยเสียแล้ว.
บทว่า โอคาหา คือจากท่า. สองบทว่า นาคสฺส นาเคน คือ แห่งสัตว์ใหญ่ คือ ช้าง ด้วยผู้เป็น ใหญ่ คือ พระพุทธเจ้า.
บทว่า อีสาทนฺตสฺส คือ ผู้มีงาเช่นกับงอนรถ.
บาทคาถาว่า ยเทโก รมตี วเน มีความว่า สัตว์ใหญ่ คือ ช้าง แม้นี้ เป็นผู้เดียว คือเงียบสงัด รื่นรมย์ในป่า เหมือนผู้ประเสริฐ คือ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 503
พระพุทธเจ้า. เพราะฉะนั้น จิตของสัตว์ใหญ่นั้น ชื่อว่า เสมอด้วย ท่านผู้ ประเสริฐ คือเป็นเช่นเดียวกัน ด้วยความยินดีในความเป็นผู้เดียว.
พึงทราบความในคำว่า ยถารนฺตํ วิหริตฺวา นี้ว่า พระผู้มี พระภาคเจ้าเสด็จอยู่บ้านปาริเลยยกะนั้น ตลอดไตรมาส. คำที่พูดกัน ได้แพร่ หลายไปในที่ทั้งปวงว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า อันภิกษุชาวเมือง โกสัมพีเบียดเบียนด้วยเหตุเท่านี้ จึงเสด็จเข้าป่าอยู่ตลอดไตรมาส.
หลายบทว่า อถ โข โกสมฺพิกา อุปาสกา มีความว่า ครั้งนั้น แล พวกอุบาสกชาวเมืองโกสัมพี ได้พึงถ้อยคำที่เจรจากันนี้.
ข้าพเจ้าจักพรรณนาเภทกรวัตถุ ๑๘ มีคำว่า อธมฺมํ ธมฺโม เป็นต้น ในสังฆเภทขันธกะ.
บทว่า อาทายํ ได้แก่ ฝั่งแห่งลัทธิ.
บทว่า วิวิตฺตํ ได้แก่ ว่าง.
หลายบทว่า ตํ อุกฺขิตฺตกํ ภิกฺขุํ โอสาเรตฺวา มีความว่า พาภิกษุผู้ถูกยกวัตรนั้น ไปนอกสีมา ให้แสดงอาบัติแล้ว เรียกเข้าหมู่ด้วยกรรม วาจา.
สองบทว่า ตาวเทว อุโปสโถ มีความว่า พึงทำสามัคคีอุโบสถ ตามนัยที่กล่าวแล้วในอุโปสถขันธกะในวันนั้นทีเดียว.
หลายบทว่า อมูลา มูลํ คนฺตฺวา มีความว่า ไม่ออกจากมูลไป หามูล อธิบายว่า ไม่วินิจฉัยวัตถุนั้น.
ข้อว่า อยํ วุจฺจติ อุปาลี สงฺฆสามัคฺคี อตฺถาเปตา พฺยญฺชนุ- เปตา มีความว่า สังฆสามัคคีนี้ ปราศจากอรรถ แต่อาศัยเพียงพยัญชนะว่า สังฆสามัคคดี นี้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 504
อรรถแห่งคาถา
สองบทว่า สงฺฆสฺส กิจฺเจสุ มีความว่า เมื่อกิจทีจะพึงกระทำ เกิด ขึ้นแก่สงฆ์.
บทว่า มนฺตนาสุ ได้แก่ เมื่อการปรึกษาวินัย.
สองบทว่า อตฺเถสุ ชาเตสุ ได้แก่ เมื่อเนื้อความแห่งวินัยเกิดขึ้น.
บทว่า วินิจฺฉเยสุ ได้แก่ ครั้นวินิจฉัยอรรถเหล่านั้นแล.
บทว่า มหตฺถิโก ได้แก่ ผู้มีอุปการะมาก.
บทว่า ปคฺคหารโห ได้แก่ สมควรเพื่อยกย่อง.
บาทคาถาว่า อนานุวชฺโช ปเมน สีลโต มีความว่า ใน ชั้นต้น ทีเดียว ใครๆ ก็ติเตียนไม่ได้โดยศีลก่อน.
บทว่า อเวกฺขิตาจาโร คือ ผู้มีอาจาระอันคนพิจารณาแล้ว ได้แก่ ผู้มีอาจาระอันตนคอยตรวจตราแล้ว โดยนัยเป็นต้นว่า มีปกติ ทำความรู้สึก ตัว ในเมื่อมองดู ในเมื่อเหลียวแล.
ส่วนในอรรถกถาทั้งหลายแก้ว่า ผู้มีอาจาระไม่ปกปิด คือผู้ระวังตัวดี.
บทว่า วิสยฺห ได้แก่ องอาจ.
สองบทว่า อนุยฺยุตฺตํ ภณํ คือ เมื่อพูด ไม่นอกเหตุอันควรคือ ไม่เข้ากัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า จริงอยู่ บุคคลนั้น ย่อมพูดไม่นอก เหตุอันควร, คือไม่พูดปราศจากเหตุด้วยความริษยา หรือด้วยอำนาจความ ลำเอียง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ยังประโยชน์ให้เสีย. ฝ่ายบุคคลผู้พูดด้วย ความริษยา หรือด้วยอำนาจความลำเอียง ชื่อว่าย่อมยังประโยชน์ให้เสีย บุคคลนั้นไปในบริษัทย่อมประหม่าและสะทกสะท่าน, บุคคลใด ไม่เป็นผู้เช่น นี้, บุคคลนี้สมควรเพื่อยกย่อง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 505
คาถาว่า ตเถว ปญฺหํ พึงทราบให้ชัดอีกสักหน่อย, เนื้อความแห่ง คาถานั้น บุคคลผู้พูดไม่นอกเหตุอันสมควร ย่อมไม่ยังประโยชน์ให้เสียฉันใด เขาเป็นผู้ถูกถามปัญหา ในท่ามกลางบริษัท ย่อมไม่เป็นผู้เก้อ ก็ฉันนั้นนั่นแล.
จริงอยู่ ผู้ใด ไม่รู้อรรถ ผู้นั้น ย่อมนิ่งอัน, ผู้ใด ไม่อาจเพื่อตอบ ผู้นั้น ย่อมเป็นผู้เก้อ. ฝ่ายผู้ใด รู้อรรถด้วย อาจเพื่อตอบด้วย ผู้นั้น ย่อม ไม่นิ่งอัน ไม่เป็นผู้เก้อ.
บทว่า กาลาคตํ มีความว่า เหมาะในกาลที่สมควรกล่าว.
บทว่า พฺยากรณารหํ ความว่า ชื่อว่าเป็นพยากรณ์ที่สมควร เพราะ เข้ากับใจความแห่งปัญหา.
บทว่า วโจ ได้แก่ เมื่อพูด อธิบายว่า เมื่อกล่าวถ้อยคำเห็นปาน นั้น.
บทว่า รญฺเชติ ได้แก่ ย่อมให้พอใจ.
บทว่า วิญฺญูปริสํ ความว่า ยังบริษัทแห่งวิญญูชนทั้งหลาย.
สองบทว่า อาเจรกมฺหิ จ สเก มีความว่า เป็นผู้แกล้วกล้า ใน วาทะแห่งอาจารย์ของตน.
สองบทว่า อลํ ปเมตุํ มีความว่า เป็นผู้สามารถเพื่อพิจารณา คือ เพื่อชั่งดูเหตุนั้นๆ ด้วยปัญญา.
สองบทว่า ปคุโณ มีความว่า ผู้ได้ทำความสั่งสมไว้ คือ ได้ความ ช่องเสพจนคุ้น.
บทว่า กเถตเว ได้แก่ ในคำที่จะพึงกล่าว.
บทว่า วิรทฺธโกวิโท ได้แก่ ผู้ฉลาด คือรู้ทัน ในเหตุอันพิรุธ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 506
คาถาว่า ปจฺจตฺถิกา เยน วชนฺติ นี้ พระผู้มีพระภาคตรัส เพื่อ แสดงคำที่จะพึงกล่าว ซึ่งเป็นที่ชำนาญ. จริงอยู่ ในคาถามี้ มีเนื้อความดังนี้:-
ด้วยถ้อยคำเช่นใด อันตนกล่าวแล้ว ข้าศึกทั้งหลาย ย่อมถึงความถูก ปราบ, และมหาชนย่อมถึงความยินยอม, อธิบายว่า ถึงความตกลงตามคำ ประกาศ.
จริงอยู่บุคคลนี้ เมื่อกล่าว ชื่อว่าย่อมไม่ลบล้างลัทธิเป็นที่เชื่อถือของ ตน คือวาทะแห่งอาจารย์ตน.
อธิกรณ์เกิดขึ้น เพราะเรื่องใด, เมื่อแก้ปัญหา สมควรแก่เรื่องนั้น คือไม่ทำความขัดขวาง แก่เรื่องนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ชำนาญในคำที่จะพึงกล่าวเช่น นั้น.
สองบทว่า ทูเตยฺยกมฺเมสุ อลํ มีความว่า ชื่อว่าผู้สามารถในกรรม เนื่องด้วยทูตของสงฆ์เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยองค์แห่งทูต ๘ ประการ ชื่อ ว่าผู้ยอมรับ เพราะอรรถว่า รับด้วยดี คือ โดยง่าย.
มีคำอธิบายดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาอยู่อมรับด้วยดี ซึ่งสักการะอันเขาพึง นำมาคำนับคือบิณฑาหารอันชื่อว่า ขอคำนับ ชื่อฉันใด. บุคคลนี้ ย่อมเป็น ผู้ยอมรับในกิจทั้งหลายของสงฆ์ ด้วยน้ำใจอันมีปีติและโสมนัสเป็นแท้ ข้อนี้ก็ ฉันนั้น, ความว่า เป็นผู้รับช่วยกิจนั้น ในบรรดากิจของสงฆ์.
สองบทว่า กรํ วโจ มีความว่า เมื่อทำหน้าที่เจรจา.
สองบทว่า น เตน มญฺติ มีความว่า ย่อมไม่ประพฤติถือตัว. และเย่อหยิ่งว่า เราทำ. เราช่วยภาระสงฆ์ เพราะการทำหน้าที่เจรจาอันนั้น.
บทว่า อาปชฺชติ ยาวตเกสุ มีความว่า เมื่อจะต้องอาบัติย่อม ต้องในวัตถุมีประมาณเท่าใด.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 507
สามบทว่า โหติ ยถา จ วุฏฺิติ๑ มีความว่า และความออก อาบัตินั้น ย่อมมีด้วยประการใด.
สองบทว่า เอเต วิภงฺคา มีความว่า ย่อมต้องในวัตถุเหล่าใดและ ความออกย่อมมีด้วยประการใด, วิภังค์ทั้งสองเหล่านี้ของภิกษุนั้น ซึ่งส่องเนื้อ ความเหล่านี้ มาดีแล้ว คือมาถูกต้องแล้ว.
บาทคาถาว่า อปตฺติวุฏฺานปทสิส โกวิโท คือ ผู้ฉลาดในเหตุ แห่งการออกอาบัติ.
สองบทว่า ยานิ จาจรํ มีความ อนึ่ง เมื่อประพฤติซึ่งกรรมมี ความก่อความบาดหมางเป็นต้น เหล่าใด จึงถึงความถูกขับออกด้วยอำนาจ ตัชชนียกรรมเป็นอาทิ
บาทคาถาว่า โอสารณํ ตํ วุสิตสฺส ชนฺตุโน มีความว่า เมื่อ บุคคลอยู่จบพรตนั้นแล้ว, การเรียกเข้าหมู่อันใด สงฆ์พึงทำให้, ย่อมรู้การ เรียกเข้าหมู่แม้นั้น.
คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
อรรถกถาโกสัมพิขันธกะ จบ.
อรรถกถามหาวรรค ในอรรถกถา ชื่อสมันตปาสาทิกา
จบบริบูรณ์ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง วรรณนานี้ ไม่มีอุปัทวะ จบบริบูรณ์แล้วฉันใด ขอปวงชน จงถึงความสงบ หาอุปัทวะมิได้ ฉันนั้นแล.
๑. อิ. วุฏฺาติ