กัมมขันธกะ - ปฏิสารณียกรรมที่ ๔
[เล่มที่ 8] พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑
พระวินัยปิฏก เล่ม ๖
จุลวรรค ปฐมภาค
กัมมขันธกะ
ปฏิสารณียกรรมที่ ๔
จิตตคหบดีต้อนรับพระอาคันตุกะ 130/80
พระสุธรรมเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า 133/83
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด 135/86
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด 147/89
วัตร ๑๘ ข้อในปฏิสารณียกรรม 163/95
ขอขมาสําเร็จและสงฆ์ระงับกรรม 166/98
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด 167/99
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ 170/101
วิธีระงับปฏิสารณียกรรม 173/102
กรรมวาจาระงับปฏิสารณียกรรม 103
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 8]
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 79
ปฏิสารณียกรรม ที่ ๔
เรื่องพระสุธรรม
[๑๒๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระสุธรรมเป็นเจ้าอาวาส เป็น ช่างก่อสร้าง รับภัตรประจำของจิตตคหบดี ในเมืองมัจฉิกาสณฑ์ ใน คราวที่จิตตคหบดีประสงค์จะนิมนต์สงฆ์ คณะ หรือบุคคล จะไม่บอก ท่านพระสุธรรมก่อน นิมนต์สงฆ์ คณะ หรือบุคคล ไม่เคยมี
สมัยต่อมา พระเถระหลายรูปด้วยกัน คือ ท่านพระสารีบุตร ท่าน พระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัจจานะ ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ท่าน พระมหากัปปีนะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอุบาลี ท่านพระอานนท์ และท่านพระราหุล ได้เที่ยวจาริกไป ในแคว้นกาสี เดินทางไปถึงเมืองมัจฉิกาสณฑ์
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 80
จิตตคหบดีต้อนรับพระอาคันตุกะ
[๑๓๐] จิตตคหบดีได้ทราบข่าวแน่ชัดว่า พระเถระหลายรูปมาถึง เมืองมัจฉิกาสณฑ์แล้วโดยลำดับ จึงเข้าไปในสำนักของพระเถระ ครั้นแล้ว จึงอภิวาทพระเถระทั้งหลายแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร ได้ชี้แจงให้จิตตคหบดีผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว ให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้นจิตตคหบดีอันท่านพระสารีบุตรชี้แจง ให้ เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กล่าวคำ อาราธนานี้แก่พระเถระทั้งหลายว่า ขอพระเถระทั้งหลายจงกรุณารับ อาคันตุกะภัตรของข้าพเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศลและปีติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ ด้วยเถิด เจ้าข้า พระเถระทั้งนั้นรับอาราธนาด้วยอาการดุษณีภาพ.
[๑๓๑] ครั้นจิตตคหบดี ทราบการรับอาราธนาของพระเถระ ทั้งหลายแล้ว ลุกจากที่นั่งไหว้พระเถระทั้งหลาย ทำประทักษิณแล้วเข้าไป หาท่านพระสุธรรมถึงสำนัก นมัสการแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบเรียนอาราธนาท่านพระสุธรรม ดังนี้ว่า ขอพระคุณเจ้า สุธรรม จงกรุณารับภัตตาหารของข้าพเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศลปิติและ ปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ พร้อมกับพระเถระทั้งหลายด้วยเถิด เจ้าข้า
ครั้งนั้น ท่านพระสุธรรมคิดว่า ครั้งก่อนๆ จิตตคหบดีนี้ประสงค์ จะนิมนต์สงฆ์ คณะ หรือบุคคล คราวใด จะไม่บอกเราก่อนแล้วนิมนต์ สงฆ์ คณะ หรือบุคคลไม่เคยมี แต่เดี๋ยวนี้ เขาไม่บอกเราก่อน แล้ว นิมนต์พระเถระทั้งหลาย เดี๋ยวนี้จิตตคหบดีนี้ ลบหลู่เมินเฉย ไม่ยินดี เราเสียแล้ว จึงได้กล่าวคำนี้แก่จิตตคหบดีว่า อย่าเลย คหบดี อาตมา ไม่รับนิมนต์
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 81
จิตตคหบดี ได้กราบเรียนอาราธนาท่านพระสุธรรมเป็นคำรบสอง ว่าขอพระคุณเจ้าสุธรรม จงกรุณารับภัตตาหารของข้าพเจ้า เพื่อเจริญบุญ กุศลปีติและปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ พร้อมกับพระเถระทั้งหลายด้วยเถิด เจ้าข้า.
ท่านพระสุธรรมตอบว่า อย่าเลย คหบดี อาตมาไม่รับนิมนต์.
จิตตคหบดี ได้กราบเรียนอาราธนาท่านพระสุธรรมเป็นคำรบสาม ว่า ขอพระคุณเจ้าสุธรรม จงกรุณารับภัตตาหารของข้าพเจ้า เพื่อเจริญ บุญกุศลปีติและปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ พร้อมกับพระเถระทั้งหลายด้วยเถิด เจ้าข้า.
ท่านพระสุธรรมตอบว่า อย่าเลย คหบดี อาตมาไม่รับนิมนต์.
ครั้งนั้น จิตตคหบดีคิดว่า จักทำอะไรแก่เรา เมื่อพระคุณเจ้าสุธรรม รับนิมนต์ หรือไม่รับนิมนต์ แล้วไหว้ท่านพระสุธรรมทำประทักษิณกลับ ไป.
วิวาทกับคหบดี
[๑๓๒] ครั้งนั้น จิตตคหบดีสั่งให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหารอัน ประณีต ถวายพระเถระทั้งหลายโดยผ่านราตรีนั้น ท่านพระสุธรรมจึงคิดว่า ถ้ากระไร เราพึงตรวจดูขาทนียโภชนียาหารที่จิตตคหบดีตกแต่งถวายพระ เถระทั้งหลาย ครั้นถึงเวลาเช้า นุ่งอันตรราสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่ นิเวศน์ของจิตตคหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย.
ที่นั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาท่านพระสุธรรม นมัสการแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 82
ท่านพระสุธรรมได้กล่าวคำนี้แก่จิตตคหบดี ผู้นั่งเรียบร้อยแล้วว่า ท่านคหบดี ขาทนียโภชนียาหารนี้ ท่านตกแต่งไว้มากนัก แต่ของสิ่งหนึ่ง ที่เขาเรียกว่า ขนมแดกงา ไม่มีในจำนวนนี้.
จิตตคหบดีกล่าวความตำหนิว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อพระพุทธพจน์มาก มายมีอยู่. แต่พระคุณเจ้าสุธรรมมากล่าวว่า ขนมแดกงา ซึ่งเป็นคำเล็กน้อย.
ท่านเจ้าข้า เรื่องเคยมีมาแล้ว พ่อค้าชาวทักษิณาบถ ได้ไปสู่ชนบท แถบตะวันออก พวกเขานำแม่ไก่มาแต่ที่นั้น ต่อมาแม่ไก่นั้นสมสู่อยู่ด้วย พ่อกาก็ออกลูกมา คราวใดลูกไก่นั้นปรารถนาจะร้องอย่างกา คราวนั้น ย่อมร้องเสียงการะคนไก่ คราวใดปรารถนาจะขันอย่างไก่ คราวนั้นย่อม ขันเสียงไก่ระคนกา ฉันใด เมื่อพระพุทธพจน์มากมายมีอยู่ พระคุณเจ้า สุธรรมมากล่าวว่า ขนมแดกงา ซึ่งเป็นคำเล็กน้อย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
สุ. คหบดี ท่านด่าอาตมา คหบดี ท่านบริภาษอาตมา คหบดี นั่น อาวาสของท่าน อาตมาจักหลีกไปจากอาวาสนั้น.
จิ. ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ามิได้ด่ามิได้บริภาษพระคุณเจ้าสุธรรม ขอ อาราธนาพระคุณเจ้าสุธรรม จงอยู่ในวิหารอัมพาฏกวัน อันเป็นสถาน รื่นรมย์ เขตเมืองมัจฉิกาสณฑ์ ข้าพเจ้าจักทำการขวนขวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แก่พระคุณเจ้าสุธรรม.
ท่านพระสุธรรม ได้กล่าวคำนี้แก่จิตตคหบดีเป็นคำรบสองว่า คหบดี ท่านด่าอาตมา คหบดี ท่านบริภาษอาตมา คหบดี นั่นอาวาส ของท่าน อาตมาจักหลีกไปจากอาวาสนั้น.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 83
จิ. ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ามิได้ด่า มิได้บริภาษพระคุณเจ้าสุธรรม ขอ อาราธนาพระคุณเจ้าสุธรรม จงอยู่ในวิหารอัมพาฏกวัน อันเป็นสถานรื่น รมย์ เขตเมืองมัจฉิกาสณฑ์ ข้าพเจ้าจักทำการขวนขวาย จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แก่พระคุณเจ้าสุธรรม.
ท่านพระสุธรรม ได้กล่าวคำนี้แก่จิตตคหบดีเป็นคำรบสามว่า คหบดี ท่านด่าอาตมา คหบดี ท่านบริภาษอาตมา คหบดี นั่นอาวาสของท่าน อาตมาจักหลีกไปจากอาวาสนั้น.
จิ. พระคุณเจ้าสุธรรมจักไปที่ไหน เจ้าข้า.
สุ. คหบดี อาตมาจักไปพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
จิ. ท่านเจ้าข้า ถ้าเช่นนั้น ถ้อยคำอันใดที่พระคุณเจ้าได้กล่าวแล้ว และถ้อยคำอันใดที่ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ขอท่านจงกราบทูลถ้อยคำอันนั้น ทั้งมวลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ข้อที่พระคุณเจ้าสุธรรมจะพึงกลับมาเมือง มัจฉิกาสณฑ์อีกนั้น ไม่อัศจรรย์เลย เจ้าข้า.
พระสุธรรมเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
[๑๓๓] ครั้งนั้น ท่านพระสุธรรมเก็บเสนาสนะแล้ว ถือบาตรจีวร เดินไปทางพระนครสาวัตถี ถึงพระนครสาวัตถี พระเชตวันอารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี โดยลำดับ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วกราบทูลถ้อยคำที่คนกับคหบดีโต้ตอบ กัน ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบทุกประการ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 84
ทรงติเตียน
[๑๓๔] พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ ไม่ได้ ไม่ควรทำ จิตตคหบดีผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นทายก กัปปิยการก บำรุงสงฆ์ ไฉนเธอจึงได้พูดกด พูดข่ม ด้วยถ้อยคำอันเลวเล่า ดูก่อน โมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส ... .ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม คือ ให้เธอขอขมาจิตตคหบดี.
วิธีทำปฏิสารณียกรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีทำปฏิสารณียกรรมพึงทำอย่างนี้ พึง โจทภิกษุสุธรรมก่อน ครั้นแล้วพึงให้เธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้น แล้วภิกษุ ผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาทำปฏิสารณียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ พูดกด พูดข่ม จิตตคหบดี ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นทายก กัปปิยการก ผู้บำรุงสงฆ์ ด้วยถ้อยคำอันเลว ถ้าความ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 85
พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำปฏิสารณียกรรม แก่ภิกษุสุธรรม คือให้เธอขอขมาจิตตคหบดี นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ พูดกด พูดข่ม จิตตคหบดี ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็น ทายก กัปปิยการก ผู้บำรุงสงฆ์ ด้วยถ้อยคำอันเลว สงฆ์ ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม คือ ให้เธอขอขมา จิตตคหบดี การทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม คือ ให้เธอขอขมาจิตตคหบดี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ...
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอ สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ พูดกด พูดข่ม จิตต คหบดี ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสเป็นทายก กัปปิยการก ผู้บำรุง สงฆ์ ด้วยถ้อยคำอันเลว สงฆ์ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ สุธรรม คือให้เธอขอขมาจิตตคหบดี การทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม คือให้เธอขอขมาจิตตคหบดี ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ปฏิสารณียกรรมอันสงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุสุธรรม คือ ให้เธอขอขมาจิตตคหบดี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 86
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำไม่ตามปฏิญาณ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๒
[๑๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะ อาบัติที่แสดงแล้ว ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๓
[๑๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ปรับอาบัติแล้ว ทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 87
หมวดที่ ๔
[๑๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๕
[๑๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๖
[๑๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำไม่ตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๗
[๑๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 88
ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๘
[๑๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็น วรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
หมวดที่ ๙
[๑๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๑๐
[๑๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 89
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๑๑
[๑๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรค ทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๑๒
[๑๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด ในปฏิสารณียกรรม จบ
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำตามปฏิญาณ ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 90
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๒
[๑๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำ เพราะต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติยัง มิได้แสดง ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว
หมวดที่ ๓
[๑๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจท ก่อนแล้วทำ ๑ ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๔
[๑๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อ หน้า ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับแล้ว.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 91
หมวดที่ ๕
[๑๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ สอบถาม ก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๖
[๑๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำตาม ปฏิญาณ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๗
[๑๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ ต้องอาบัติ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๘
[๑๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 92
อาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๙
[๑๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ อาบัติ ยังมิได้แสดง ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๑๐
[๑๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจท ก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๑๑
[๑๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ให้ จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 93
หมวดที่ ๑๒
[๑๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ปรับ อาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๒ หมวด ในปฏิสารณียกรรม จบ
ข้อที่สงฆ์จำนง ๔ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อสงฆ์ จำนงพึงลงปฏิสารณียกรรม คือ :-
๑. ขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแห่งพวกคฤหัสถ์
๒. ขวนขวายเพื่อมิใช่ประโยชน์แห่งพวกคฤหัสถ์
๓. ขวนขวายเพื่ออยู่มิได้แห่งพวกคฤหัสถ์
๔. คำว่าเปรียบเปรยพวกคฤหัสถ์
๕. ยุยงพวกคฤหัสถ์กับพวกคฤหัสถ์ให้แตกกัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงปฏิสารณียกรรม.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 94
หมวดที่ ๒
[๑๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปฏิสารณียกรรม คือ :-
๑. พูดติเตียนพระพุทธเจ้าแก่พวกคฤหัสถ์ ๒. พูดติเตียนพระธรรมแก่พวกคฤหัสถ์
๓. พูดติเตียนพระสงฆ์แก่พวกคฤหัสถ์
๔. พูดกด พูดข่ม พวกคฤหัสถ์ด้วยถ้อยคำอันเลว
๕. รับคำอันเป็นธรรมแก่พวกคฤหัสถ์ แล้วไม่ทำจริง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงปฏิสารณียกรรม.
หมวดที่ ๓
[๑๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงปฏิสารณียกรรม แก่ภิกษุ ๕ รูป คือ รูปหนึ่งขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแห่งพวกคฤหัสถ์ ๑ รูป หนึ่งขวนขวายเพื่อมิใช่ประโยชน์แห่งพวกคฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่งขวนขวายเพื่อยู่ มิได้แห่งพวกคฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่งด่าว่าเปรียบเปรยพวกคฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่ง ยุยงพวกคฤหัสถ์กับพวกคฤหัสถ์ให้แตกกัน ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ๕ รูปนี้แล.
หมวดที่ ๔
[๑๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเมื่อสงฆ์จำนงพึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ ภิกษุอีก ๕ รูปแม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งพูดติเตียนพระพุทธเจ้าแก่พวก คฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่งพูดติเตียนพระธรรมแก่พวกคฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่งพูด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 95
ติเตียนพระสงฆ์แก่พวกคฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่งพูดกด พูดข่มพวกคฤหัสถ์ด้วย ถ้อยคำอันเลว ๑ รูปหนึ่งรับคำอันเป็นธรรมแก่พวกคฤหัสถ์แล้ว ไม่ทำ จริง ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ๕ รูปนี้แล.
ข้อที่สงฆ์จำนง ๔ หมวด จบ
วัตร ๑๘ ข้อ ในปฏิสารณียกรรม
[๑๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ต้องประพฤติชอบ
วิธีประพฤติชอบในปฏิสารณียกรรมนั้น ดังต่อไปนี้:-
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงติกรรม
๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั่งหลายผู้ทำกรรม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 96
๑๑. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๑๒. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน
๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๑๘. ไม่พึงช่วยภิกษุต่อภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.
วัตร ๑๘ ข้อ ในปฏิสารณียกรรม จบ
ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม
[๑๖๔] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม คือ ให้เธอขอขมาจิตตะคหบดี เธอถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้วไปเมือง มัจฉิกาสณฑ์ เป็นผู้เก้อ ไม่อาจขอขมาจิตตคหบดีได้ จึงกลับมายังพระนครสาวัตถีอีก
ภิกษุทั้งหลายถามอย่างนี้ว่า คุณสุธรรม คุณขอขมาจิตตคหบดีแล้ว หรือ?
ท่านพระสุธรรมตอบว่า ท่านทั้งหลาย ในเรื่องนี้ ผมได้ไปเมือง มัจฉิกาสณฑ์แล้ว เป็นผู้เก้อ ไม่อาจขอขมาจิตตคหบดีได้
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ รับสั่งว่า
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 97
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงให้อนุทูตแก่ภิกษุสุธรรมเพื่อขอ ขมาจิตตคหบดี.
วิธีให้อนุทูต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล อนุทูตพึงให้อย่างนี้ พึงขอให้ภิกษุรับ ก่อน ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
ญัตติทุติยกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อม พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ภิกษุมีชื่อนี้เป็นอนุทูต แก่ภิกษุสุธรรมเพื่อขอขมาจิตตคหบดี นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ให้ภิกษุมี ชื่อนี้เป็นอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรม เพื่อขอขมาจิตตคหบดี การให้ภิกษุมีชื่อนี้เป็นอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรม เพื่อขอขมา จิตตคหบดี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุมีชื่อนี้ อันสงฆ์ให้เป็นอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรม แล้ว เพื่อขอขมาจิตตคหบดี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงควานนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 98
วิธีขอขมาของพระสุธรรม
ท [๑๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสุธรรมนั้นพึงไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์กับภิกษุอนุทูต แล้วขอขมาจิตตคหบดีว่า คหบดีขอท่านจงอดโทษ อาตมาจะให้ท่านเลื่อมใส ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้ เขาอดโทษ ข้อนั้นเป็นการ ดีหากเขาไม่อดโทษ ภิกษุอนุทูตพึงช่วยพูดว่า คหบดี ขอท่านจงอดโทษ แก่ภิกษุนี้ ภิกษุนี้จะให้ท่านเลื่อมใส ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้ เขาอดโทษ ข้อ นั้นเป็นการดี หากเขาไม่อดโทษ ภิกษุอนุทูตพึงช่วยพูดว่า คหบดี ขอ ท่านจงอดโทษแก่ภิกษุนี้ อาตมาจะให้ท่านเลื่อมใส ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้ เขาอดโทษ ข้อนั้นเป็นการดี หากเขาไม่อดโทษ ภิกษุอนุทูตพึงช่วยพูด ว่าคหบดี ขอท่านจงอดโทษแก่ภิกษุนี้ตามคำสั่งของสงฆ์ ถ้าเมื่อกล่าว อย่างนี้เขาอดโทษ ข้อนั้นเป็นการดี หากเขาไม่อดโทษ ภิกษุอนุทูตพึง ให้ภิกษุสุธรรมห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้ว ให้แสดงอาบัตินั้น ไม่ละทัสสนูปจาร ไม่ละสวนูปจาร.
ขอขมาสำเร็จ และสงฆ์ระงับกรรม
[๑๖๖] ครั้งนั้น ท่านพระสุธรรมไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์กับภิกษุ อนุทูต แล้วขอขมาจิตตคหบดี ท่านพระสุธรรมนั้นประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วกล่าวอย่างนี้ ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ได้ประพฤติโดย ชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ผมจะพึงปฏิบัติอย่างไรต่อไป ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า:-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 99
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ ภิกษุสุธรรม.
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่ พึงระงับปฏิสารณียกรรม คือ :-
๑. ให้อุปสมบท
๒. ให้นิสัย
๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้วก็สั่งสอนภิกษุณี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับปฏิสารณียกรรม.
หมวดที่ ๒
[๑๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรม คือ :-
๑. สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม เพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น
๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 100
๔. ติกรรม
๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับปฏิสารณียกรรม.
หมวดที่ ๓
[๑๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ สงฆ์ไม่พึง ระงับปฏิสารณียกรรม คือ :-
๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน
๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับปฏิสารณียกรรม.
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ในปฏิสารณียกรรม จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 101
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ
หมวดที่ ๑
[๑๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึง ระงับปฏิสารณียกรรม คือ :-
๑. ไม่ให้อุปสมบท
๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ ปฏิสารณียกรรม.
หมวดที่ ๒
[๑๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรม คือ:-
๑. สงฆ์ทำปฏิสารณียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น
๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ไม่ติกรรม
๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ ปฏิสารณียกรรม.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 102
หมวดที่ ๓
[๑๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ สงฆ์พึง ระงับปฏิสารณียกรรม คือ:-
๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน
๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ ปฏิสารณียกรรม.
วัตรที่ควรระงับ ๘ ข้อ ในปฏิสารณียกรรม จบ
วิธีระงับปฏิสารณียกรรม
[๑๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีระงับปฏิสารณียกรรมพึง ระงับอย่างนี้ คือ ภิกษุสุธรรมนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียง บ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าว คำขอระงับกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 103
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอ ระงับปฏิสารณียกรรม
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
กรรมวาจาระงับปฏิสารณียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หาย เย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง ระงับปฏิสารณียกรรม แก่ภิกษุสุธรรม นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หาย เย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณียกรรมสงฆ์ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม การระงับ ปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้ นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 104
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้าขอ สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับ ปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม การระงับปฏิสารณียกรรม แก่ภิกษุสุธรรม ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอ สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียธรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับปฏิ- สารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม การระงับปฏิสารณียกรรมแก่ ภิกษุสุธรรม ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่งไม่ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ปฏิสารณียกรรม อันสงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุสุธรรม ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วย อย่างนี้.
ปฏิสารณียกรรม ที่ ๔ จบ