พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

เสนาสนขันธกวรรณา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 มี.ค. 2565
หมายเลข  42839
อ่าน  1,036

[เล่มที่ 9] พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก

เล่ม ๗

จุลวรรค ทุติยภาค

เสนาสนขันธกวรรณา

วินิจฉัยในเสนาสนักขันธกะ 177

ว่าด้วยวิหารทาน 177

ว่าด้วยสายยูเป้นต้น 179

ว่าด้วยเตียงและตั่ง 179

ว่าด้วยเครื่องลาดพ้นและน ื ุ่นเป็นต้น 180

ว่าด้วยหมอน 181

ว่าด้วยฟูก 182

ว่าด้วยบริกรรมพ้นื 184

ว่าด้วยห้องเป็นต้น 184

ว่าด้วยภาชนะน้ํา-ประตู 185

ว่าด้วยนวกรรม 188

ว่าด้วยจับจองเสนาสนะ 188

ว่าด้วยธรรมเนียมในโรงฉัน 189

ว่าด้วยเสนาสนะที่เหมาะแก่ภิกษุอาพาธ 190

ภิกษุผู้เสนาสนะคาหาปกะ 190

เสนาสนคาหวินิจฉัย 191

การถือเสนาสนะในฤดูกาล 193

ว่าด้วยการถือเสนาสนะในคราวจําพรรษา 195

ว่าด้วยการถือเสนาสนะระงับ 209

ว่าด้วยภิกษุผู้มีอาสนะเสมอกัน 210

ว่าด้วยคิหิวักัติ 210

ว่าด้วยครุภัณฑ์ 211

ปริวัตนนัย 213

ว่าด้วยนวกรรม 223

ว่าด้วยสิทธิแห่งนวกัมมิกะ 227

ว่าด้วยการใช้เสนาสนะ 228

ว่าด้วยสังฆภัต 230

ว่าด้วยอุทเทศภัต 231

นิมันตนภัต 243

สลากภัตตกถา 247

ปักขิกภัตเป็นต้น 255

อาคันตุกภัตเป็นต้น 257

ภัตอื่น ๓ ชนิด 260

ภัตอื่น ๔ อย่าง ในอรรถกถา 261

คิลานปัจจัยที่ควรแจก 262

ว่าด้วยหน้าที่ผูกแจก 265


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 9]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 177

เสนาสนักขันธกวรรณนา

[วินิจฉัยในเสนาสนักขันธกะ]

วินิจฉัยในเสนาสนักขันธกะ พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า เสนาสนะเป็นของยังมิได้ทรงบัญญัติ ได้แก่ เป็นของ ยังมิได้อนุญาต.

ที่อยู่ที่เหลือ พ้นจากเรือนมุงแถบเดียวเป็นต้นไป ชื่อวิหาร.

เรือนมุงแถบเดียวนั้น ได้แก่ เรือนที่โค้งดังปีกครุฑ.

ปราสาทนั้น ได้แก่ ปราสาทยาว.

เรือนโล้นนั้น ได้แก่ ปราสาทนั่งเอง แต่มีเรือนยอดตั้งอยู่บนพื้น บนอากาศ.

ถ้ำ นั้น ได้แก่ ถ้ำอิฐ ถ้ำศิลา ถ้ำไม้ ถ้ำดิน

คำว่า เพื่อสงฆ์ทั้ง ๔ ทิศที่มาแล้ว และยังไม่มา คือเพื่อสงฆ์ ผู้อยู่ใน ๔ ทิศ ทั้งที่มาแล้ว ทั้งที่ยังมิได้มา.

[ว่าด้วยวิหารทาน]

วินิจฉัยในอนุโมทนาคาถา พึงทราบดังนี้ :-

สองบทว่า เย็น ร้อน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าด้วยอำนาจฤดูผิด ส่วนกัน.

ลมเจือหยาดน้ำ ท่านเรียกว่า ลมในสิสิรฤดู ในคำนี้ว่า สิสิเร จาปิ วุฎิโย.

ฝนนั้น คือ ฝนที่เกิดแต่เมฆโดยตรงนั่นเอง.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 178

บทเหล่านี้ทั้งหมด พึงประกอบกับบทนี้เทียวว่า ปฏิหนติ.

บทว่า ปฏิหฺติ ได้แก่ ลมและแดดอันวิหารย่อมป้องกัน.

บทว่า เลณตถ คือ เพื่อหลีกเร้นอยู่.

บทว่า สุขตถํ คือ เพื่อความอยู่สบาย เพราะไม่มีอันตราย มีเย็น เป็นต้น.

สองบทนี้ว่า ฌายิตุญจ วิปสสิตุํ พึงประกอบกับบทนี้เทียวว่า สุขตถฺจ.

จริงอยู่ ท่านกล่าวคำอธิบายดังนี้ :-

การถวายวิหาร เพื่อความสุข. การถวายวิหารเพื่อความสุข เป็นไฉน? ความสุขใด มีเพื่อเพ่งพินิจ และเพื่อเห็นแจ้ง, การถวายวิหารเพื่อความสุขนั้น.

อีกประการหนึ่ง สองบทว่า ฌายิตุฺจ วิปสสิตุ นี้ พึงประกอบ กับบทหลังบ้างว่า ถวายวิหารเพื่อเพ่งพินิจ และเพื่อเห็นแจ้ง.

การถวายวิหารแก่สงฆ์ ของทายกผู้ถวายด้วยตั้งใจว่า ภิกษุทั้งหลาย จักเพ่งพินิจ จักเห็นแจ้ง ในกุฎีนี้ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย สรรเสริญว่าเลิศ. จริง อยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดำนี้ว่า ผู้ใดให้ที่อยู่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ครบทุกอย่าง.

จริงอยู่ การถวายวิหาร ท่านผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญว่าเลิศ เพราะเหตุ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงประพันธ์คาถาว่า ตสฺมา หิ ปณฑิโต โปโส.

คำว่า วาสเยตถ พหุสสุเต มีความว่า พึงนิมนต์ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นพหูสูตด้วยการเล่าเรียน และผู้เป็นพหูสูตด้วยความตรัสรู้ ให้อยู่ในวิหาร. นี้.

หลายบทว่า เตสํ อนฺนฺจ เป็นต้น มีความว่า ข้าว น้ำ ผ้า และเสนาสนะ มีเตียงตั่งเป็นต้น อันใด สมควรแก่ภิกษุเหล่านั้น, พึงมอบถวาย ปัจจัยทั้งปวงนั้น ในภิกษุเหล่านั้น ผู้ซื่อตรง คือมีจิตไม่คดโกง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 179

บทว่า ทเทยฺย คือ พึงมอบถวาย (หรือเพิ่มถวาย).

ก็แล พึงถวายปัจจัยนั้น ด้วยจิตอันเลื่อมใส ไม่ยังความเลื่อมใสแห่ง จิตให้คลายเสีย. จริงอยู่ ทายกนั้นจะรู้ทั่วถึงธรรมใดในพระศาสนานี้แล้ว เป็น ผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน ภิกษุผู้เป็นพหูสูตเหล่านั้น ย่อมแสดงธรรมนั้น ซึ่ง เป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวง แก่เขาผู้มีจิตผ่องใสอย่างนั้น ฉะนี้แล.

[ว่าด้วยลายยูเป็นต้น]

วินิจฉัยในคำว่า อาวิญฉนฉิททํ อาวิญฉนชฺชุํ นี้ มีความว่า ขึ้นชื่อว่าเชือก แม้ถ้าเป็นของที่ทำด้วยหางเสือ ควรแท้. เชือกบางอย่างไม่ ควรหามิได้.

ดาล ๓ ชนิดนั้น ได้แก่ กุญแจ ๓ อย่าง.

วินิจฉัยในคำว่า ยนตกํ สูจิกํ นี้ว่า ภิกษุควรทำกุญแจยนต์ที่ตน รู้จัก และลูกกุญแจสำหรับไขกุญแจยนต์นั้น.

ที่ชื่อว่าหน้าต่างสอบบน คล้ายเวทีแห่งเจดีย์

ที่ชื่อว่าหน้าต่างตาข่าย ได้แก่ หน้าต่างที่ขึงข่าย.

มีชื่อว่าหน้าต่างซี่ ได้แก่ หน้าต่างลูกรง.

ในคำว่า จกกลิกํ นี้ มีความว่า เราอนุญาตให้ผูกผ้าเล็กๆ คล้าย ผ้าเช็ดเท้า.

คำว่า วาตปานภิสิกํ มีความว่า เราอนุญาตให้ทำเสื่อ ได้ขนาด หน้าต่างผูกไว้.

[ว่าด้วยเตียงและตั่ง]

บทว่า มิฒึ ได้แก่ กระดานตั่ง

บทว่า วิทลมฺจํ ได้แก่ เตียงหวาย หรือเตียงที่สานด้วยดอกใม้ไผ่.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 180

ตั่ง ๔ เหลี่ยมจตุรัส เรียกว่า อาสันทิกะ.

จริงอยู่ ตั่งยาวด้านเดียวเท่านั้น มีเท้า ๘ นิ้ว จึงควร ส่วนตั่ง ๔ เหลี่ยมจตุรัส พึงทราบว่า แม้เกินประมาณก็ควร เพราะพระบาลีว่า เรา อนุญาตตั่ง ๔ เหลี่ยมจตุรัสแม้สูง.

เตียงที่ทำพนักพิง ๓ ด้าน ชื่อสัตตังคะ. แม้สัตตังคะนี้ ถึงเกิน ประมาณก็ควร.

ตั่งที่ทำเสร็จด้วยหวายล้วน เรียกว่า ภัททปีฐะ.

เฉพาะตั่งที่ขึงด้วยผ้าเก่า เรียกว่า ปีฐกา.

ตั่งที่คิดเท้าบนเขียงไม้ ทำคล้ายโต๊ะกินข้าว เรียกชื่อว่า ตั่งขาทราย.

ตั่งมีเท้ามากประกอบไว้ด้วยอาการดังผลมะขามป้อม ชื่อว่า ตั่งก้าม มะขามป้อม.

ตั่งที่มาในพระบาลี เท่านี้ก่อน, ส่วนตั่งไม้ควรทั้งหมด วินิจฉัยใน อธิการว่าด้วยตั่งนี้ เท่านี้.

ตั่งที่ถัดด้วยแฝก หรือถักด้วยหญ้าปล้อง หรือถักด้วยหญ้ามุงกระต่าย เรียกว่า เก้าอี้.

ในคำว่า อฏฺงฺคุลปรมํ มญจปฏิปาทกํ นี้ ว่า ๘ นิ้ว คือ นิ้ว ขนาดของพวกมนุษย์นั่น เอง.

[ว่าด้วยเครื่องลาดพื้นและนุ่นเป็นต้น]

เครื่องปูลาดเพื่อต้องการจะรักษาผิวแห่งพื้นที่ทำบริกรรม เรียกชื่อว่า. จิมิลิกา ผ้าคลุม.

นุ่นแห่งต้นไม้นั้น ได้แก่ นุ่นแห่งต้นไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีต้นงิ้ว เป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 181

นุ่นแห่งเครือวัลย์นั้น ได้แก่ นุ่นแห่งเถาวัลย์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มี เถาน้ำนมเป็นต้น.

นุ่นแห่งหญ้านั้น ได้แก่ นุ่นแห่งติณชาติเหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีหญ้า คมบางเป็นต้น โดยที่สุด แม้นุ่นแห่งอ้อยและไม้อ้อเป็นต้น.

ภูตคามทั้งปวง เป็นอัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรวมเข้าด้วยต้นไม้ เถาวัลย์และหญ้า ๓ ชนิดเหล่านี้.

จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า ภูตคามอื่น ซึ่งพ้น จากรุกขชาติ วัลลิชาติและ ติณชาติไป ย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น นุ่นแห่งภาคตามชนิดใดชนิดหนึ่ง ย่อม ควรในการทำหมอน.

แต่ครั้น มาถึงฟูกเข้า นุ่นนั้น แม้ทุกชนิด ท่านกล่าวว่า เป็นนุ่นที่ ไม่ควร. และจะควรในการทำหมอนเฉพาะนุ่นนั้นอย่างเดียวหามิได้, แม้ขน แห่งนกทุกชนิด มีหงส์และนกยูงเป็นต้น และแห่งสัตว์ ๔ เท้าทุกชนิด มีสีหะ เป็นต้น ก็ควร.

แค่ดอกไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีดอกประยงค์และดอกพิกุลเป็นต้น ไม่ ควร. เฉพาะใบเต่าร้างล้วนๆ ทีเดียว ไม่ควร, แต่ปน ควรอยู่ แม้นุ่นคือ ขนสัตว์เป็นต้น ๕ อย่าง ที่ทรงอนุญาตสำหรับฟูก ก็ควรในการทำหนอน.

[ว่าด้วยมอน]

ในกุรุนทีกล่าวว่า บทว่า อฑฺฒกายิกานิ มีความว่า ชนทั้งหลาย ย่อมทอดกายตั้งแต่บั้นเอวจนถึงศีรษะบนหมอนเหล่าใด หมอนเหล่านั้น ชื่อ มีประมาณกึ่งกาย.. หมอนที่จัดว่า ได้ขนาดกับ ศรีษะ คือ ด้านกว้าง เมื่อวัด ในระหว่างมุมทั้ง ๒ เว้น มุมหนึ่งเสียในบรรดา ๓ มุม ได้คืบ ๑ กับ ๔ นิ้ว ตรงกลางได้ศอกกำหนึ่ง ส่วนด้านยาว ยาวศอกคืบหรือ ๒ ศอก.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 182

นี้เป็นกำหนดอย่างสูงแห่งหมอนที่ได้ขนาดกับศรีษะ. กว้างเกินกว่า กำหนดนี้ขึ้นไปไม่ควร. ต่ำลงมาควร.

หนอน ๒ ชนิด คือ หมอนหนุนศีรษะ และหมอนหนุนเท้า ควร แก่ภิกษุผู้ไม่อาพาธแท้. ภิกษุผู้อาพาธจะวางหมอนหลายใบแล้วปูเครื่องลาดข้าง บนแล้วนอน ก็ควร.

อนึ่ง พรุปุสสเทวเถระกล่าวว่า นุ่นที่เป็นกัปปิยะะ ๕ อย่างเหล่าใด ที่ทรงอนุญาต สำหรับฟูกทั้งหลาย, หมอนที่ทำด้วยนุ่นเหล่านั้นแม้ใหญ่ก็ควร

ฝ่ายพระอุปติสสเถระผู้วินัยธรกล่าวว่า ประมาณนั่นแล ควรแก่ภิกษุ ผู้ยัดนุ่นเป็นกัปปิยะ หรือนุ่นที่เป็นอกัปปิยะ ด้วยคิดว่า จักทำหมอน.

[ว่าด้วยฟูก]

ฟูก ๕ อย่างนั้น ได้แก่ ฟูกที่ยัดด้วยของ ๕ อย่าง มีขนสัตว์เป็นต้น

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจำนวนแห่งฟูกเหล่านี้ ตามจำนวน แห่งนุ่น

บรรดานุ่นเหล่านั้น ขนแกะอย่างเดียวเท่านั้น มิได้ทรงถือเอาด้วย อุณณศัพท็, แต่ว่า เว้นขนมนุษย์เสียแล้ว ขนแห่งนกและสัตว์ ๔ เท้าซึ่งเป็น ชาติที่มีเนื้อเป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ ชนิดใดชนิดหนึ่ง บรรดามี ขนทั้งหมด นั้น ทรงถือเอาในอธิการว่าด้วยฟูกนี้ ด้วยอุณณศัพท์ทั่งนั้น.

เพราะฉะนั้น บรรดาจีวร ๖ ชนิด และอนุโลมจีวร ๖ ชนิด ภิกษุ ทำเปลือกฟูกด้วยชนิดหนึ่งแล้ว ยัดขนสัตว์ทุกอย่างนั้นทำเป็นฟูก ก็ควร.

อนึ่ง แม้ฟูกที่ภิกษุมิได้ขัดขนแกะ ใส่แต่ผ้ากัมพล ๔ ชั้นหรือ ๕ ชั้น ย่อมถึงความนับว่าฟูกขนสัตว์เหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 183

บรรดาฟูกทั้งหลายมีโจฬภิสิเป็นต้น ฟูกที่เขารวบรวมเศษผ้าใหม่ หรือ เศษผ้าเก่า อย่างใดอย่างหนึ่งซ้อนเข้า หรือยัดเข้าข้างใน ชื่อโจฬภิสิ ฟูกที่ ยัดเปลือกไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อวากภิสิ. ฟูกที่ยัดหญ้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อ ติณภิสิ. ฟูกที่ยัดใบไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง นอกจากใบเต่าร้างล้วน พึงทราบว่า ปัณณภิสิ.

ส่วนใบเต่าร้างเฉพาะที่ปนกับใบไม้เหล่าอื่น จึงควร. ใบเต่าร้างล้วน ไม่ควร

สำหรับฟูก ไม่มีจำกัดประมาณ พึงกะประมาณตามความพอใจของ ตน กำหนดดูพอสมควรแก่ฟูกเหล่านี้ คือ ฟูกเตียง ฟูกตั่ง ฟูกปูพื้น ฟูก ที่จงกรม ฟูกสำหรับเช็ดเท้า.

ส่วนในกุรุนทีแก้ว่า นุ่น ๕ อย่าง มีขนสัตว์เป็นต้น ซึ่งควรในฟูก ย่อมควรแม้ในฟูกหนัง. ด้วยคำที่กล่าวในอรรถกถากุรุนทีนั้น เป็นอันสำเร็จ สันนิษฐานว่า ภิกษุใช้สอยฟูกหนัง ย่อมควร.

ข้อว่า ลาดฟูกเตียงบนตั่ง ได้แก่ ปูลงบนตั่ง. แม้อรรถว่า นำ ไปเพื่อประโยชน์แก่การปู ดังนี้ก็เหมาะ.

สองบทว่า อุลฺโลกํ อกริตวา มีความว่า ไม่ปูผ้ารองไว้ข้างใต้.

สองบทว่า โผสิตุํ มีความว่า เราอนุญาตให้เอาน้ำย้อมหรือขมิ้น แต้มข้างบน.

บทว่า ภิตฺติกมฺมํ มีความ ว่า เราอนุญาต ให้ทำรอยเป็นทางๆ บน เปลือกฟูก.

บทว่า หตฺถภิตฺตึ มีความว่า เราอนุญาตให้เจิมหมายรอยด้วยนิ้ว ทั้ง ๕.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 184

[ว่าด้วยบริกรรมพื้น]

บทว่า อิกฺกาสํ ได้แก่ ยางไม้หรือยางผสม.

บทว่า ปิฏฺมทฺทํ ได้ เก่ แป้งเปียก.

บทว่า กุณฺฑกมตฺติกํ ได้แก่ ดินเหนียวปนรำ.

บทว่า สาสปกุฏํ ได้แก่ แป้งเมล็ดพรรณผักกาด.

บทว่า สิตฺถเตลกํ ได้แก่ ขี้ผึงเหลว.

สองบทว่า อจฺจุสฺสนฺนํ โหติ มีความว่า เป็นหยดๆ ติดอยู่.

บทว่า ปจฺจุทฺธริตุํ ได้แก่ เช็ด

บทว่า ลณฺฑมตฺติกํ ได้แก่ ดินเหนียว คือ ขุยไส้เดือน.

บทว่า กสาวํ ได้แก่ น้ำฝาดแห่งมะขามป้อมและสมอ.

วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว ปฏิภาณจิตฺตํ นี้ พึงทราบดังนี้ :-

รูปสตรีและบุรุษอย่างเดียวเท่านั้น อันภิกษุไม่ควรให้ทำ หามิได้ รูปสัตว์ดิรัจฉาน โดยที่สุดแม้รูปไส้เดือนภิกษุไม่ควรทำเองหรือสั่งว่า ท่านจงทำ ย่อมไม่ได้แม้เพื่อสั่งว่า อุบาสก ท่านจงทำคนเฝ้าประตู. แต่ยอมให้ใช้ผู้อื่น เขียนเรื่องทั้งหลายซึ่งน่าเลื่อมใส มีปกรณ์ชาดกแลอสติสทานเป็นต้น หรือซึ่ง ปฎิสังยุตด้วยความเบื่อหน่าย, ทั่งยอมให้ทำเองซึ่งมาลากรมเป็นต้น.

บทว่า อาฬกมนฺทา มีความว่า เป็นลาน อันเดียว คับคั่งด้วยมนุษย์.

[ว่าด้วยห้องเป็นต้น]

วินิจฉัยในบทว่า ตโย คพฺเภ นี้ พึงทราบดังนี้ :-

สิวิกาคัพภะนั้น ได้แก่ ห้อง ๔ เหลี่ยมจตุรัส.

นาฬิกาคัพภะนั้น ได้แก่ ห้องยาวกว่าด้านกว้าง ๒ เท่าหรือ ๓ เท่า

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 185

หัมมิยคพัภะนั้น ได้แก่ ห้องเรือนยอดชั้นอากาศ หรือห้องมีหลังคา โล้น

บทว่า กุลงฺกปาทกํ มีความว่า เราอนุญาตให้คงเชิงฝาซึ่งเลื่อนที่ ไม่ได้ เจาะไม้ตอกเดือยในไม้นน รองบนพื้นเพื่อหนุนเชิงฝาเก่า.

บทว่า ปริตฺตาณกิฏกํ มีความว่า เราอนุญาตให้ติดกันสาดเพื่อ ป้องกันฝน.

บทว่า อุทฺธาสุธํ ได้แก่ ดินเหนียวซึ่งเคล้ากับมูลโคและเถ้า.

หน้ามุขเรียกว่า เฉลียง. ขึ้นชื่อว่า ปฆนะ พึงทราบดังนี้ :-

ชนทั้งหลาย เมื่อออกและเข้า ย่อมกระทบประเทศใด. ด้วยเท้าทั้งหลาย คำว่า ปฆนะ นี้ เป็นชื่อ องประเทศนั้นที่ชักฝาออก ๒ ข้าง ทำไว้ที่ประตู กุฎี (ได้แก่ลับแล) ปฆนะ นั้น เรียกว่า ปฆานะ บ้าง.

ระเบียงรอบห้องกลาง เรียกว่า ปกุททะ ปาฐะว่า ปกุฏฺฏํ ก็มี.

โอสารกึ นั้น ได้แก่ หน้ามุขที่หลังคา ซึ่งติดคร่าวแล้วทอด ไม้ท่อนออกไปจากคร่าวนั้น ทำไว้ที่กุฎีที่ไม่มีระเบียง

กันสาดที่ติดห่วงกลมสำหรับเลื่อน ชื่อว่า แผงเลื่อน.

[ว่าด้วยภาชนะน้ำ-ประตู]

ภาชนะน้ำนั้น ได้แก่ ภาชนะสำหรับตักน้ำให้ดื่ม กระบวย และ ขันอนุโลมตามสังข์ตักน้ำ.

อเปสี นั้น ได้แก่ เครื่องกั้นประตู ที่ใส่เดือยเข้าในไม้ยาวแล้วผูก เรียวหนาม.

ปลิฆะ นั้น ได้แก่ เครื่องกันประตูที่ติดล้ออย่างที่ประตูบ้าน

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 186

[เรื่องอนาถบิณฑิกะ]

รถทั้งหลายเทียมด้วยแม่ม้าอัสดรทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อรถ เทียมแม่ม้าอัสดร.

บทว่า อามุตฺตมณิกุณฺฑลา ได้แก่ ผู้ประดับต่างหูแก้วมณี.

บทว่า ปรินิพฺพุโต มีความว่า เพราะไม่มีอุปธิคือกิเลส และอุปธิ คือขันธ์ ท่านจึงกล่าวว่า ผู้เย็นสนิท ไม่มีอุปธิ.

บาทคาถาว่า สพฺพา อาสตฺติโย เฉตฺวา มีความว่า ตัดความ ปรารถนาในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น หรือในภพทั้งปวง.

บาทคาถาว่า วิเนยฺย หทเย ทรํ ได้แก่ กำจัดความกระวนกระวาย คือกิเลส ในจิตเสีย.

ทรัพย์สำหรับใช้หมดไป เรียกว่า ทรัพย์อันควรหมด เปลือง.

บทว่า อาเทยฺยวาโจ มีความว่า ถ้อยคำของอนาถบิณฑิกคหบดีนั้น อันชนเป็นอันมากควรเชื่อถือ; อธิบายว่า คนเป็นอันมากย่อมสำคัญถ้อยคำของ คหบดีนั้น ว่า อันตนควรฟัง.

สองบทว่า อาราเม อกํสุ มีความว่า ชนเหล่าใดมีทรัพย์ ชน เหล่านั้นได้สร้างด้วยทรัพย์ของตน ชนเหล่าใดมีทรัพย์น้อย และไม่มีทรัพย์ คฤหบดีได้ให้ทรัพย์แก่ชนเหล่านั้น.

คฤหบดีนั้น ให้ทรัพย์แสนกหาปณะ และสิ่งของราคาแสนหนึ่งกระ ทำการสร้างวิหารไว้ในระยะโยชน์หนึ่ง ในหนทางไกล ๔๕ โยชน์แล้ว ได้ไป กรุงสาวัตถี ด้วยประการฉะนี้.

สองบทว่า โกฏิสนฺถรํ สนฺถราเปสิ มีความว่า ได้เรียงกหาปณะ. ให้ริมจดกัน ในที่บางแห่งหมายเอาประมาณแห่งเครื่องล้อมของต้นไม้หรือสระ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 187

ซึ่งมีในเชตวันนั้นเรียงให้ ขุมทรัพย์อันหนึ่ง ๑๘ โกฎิ ของคฤหบดีนั้น ได้ถึง ความสิ้นไป ด้วยประการฉะนี้.

สองบทว่า กุมารสฺส เอตทโหสิ มีความว่า ความรำพึงนี้ได้มีแก่ ราชกุมาร เพราะเห็นอาการอัน ผ่องใสแห่งหน้าของคฤหบดี ผู้แม้ต้องสละ ทรัพย์มากอย่างนั้น.

สองบทว่า โกฏฺกํ มาเปสิ มีความว่า ราชกุมารให้สร้างปราสาท มีซุ้มประตู ๗ ชั้น.

คำว่า อถ โข อนาถปิณฺฑิโก คหปติ เชตวเน วิหาเร การาเปสฯ เปฯ มณฺฑเป การาเปสิ มีความว่า อนาถบิณฑิกคฤหบดี สร้างวิหารเป็นต้นเหล่านี้ บนพื้นที่ประมาณ ๘ กรีส (๑) ด้วยทรัพย์แม้อื่นอีก ๑๘ โกฏิ.

จริงอยู่ คฤหบดีชื่อปุนัพพสุมิต ได้ซื้อพื้นที่ประมาณโยชน์หนึ่งด้วย ปูอิฐทองคำ (เต็มพื้นที่) สร้างวิหารถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี.

สิริวัฑฒคฤหบดี ได้ซื้อพื้นที่ประมาณ ๓ คาวุต (๒) ด้วยลาดไม้เส้า ทองคำ สร้างวิหารถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิขี.

โสตถิชคฤหบคี ได้ซื้อพื้นที่ประมาณกึ่งโยชน์ ด้วยลาดผาลทองคำ สร้างวิหารถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า เวสสภู.

อัจจุตคฤหบดี ได้ซื้อพื้นที่ประมาณคาวุตหนึ่ง ด้วยเรียงเท้าช้างทองคำ สร้างวิหารถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กกุสันธะ.


(๑) ๑ กรีส - ๑๒๕ ศอก. หรือ ๑ เส้น ๑๑ วา ๑ ศอก.

(๒) ๑ คาวุต=๑๐๐ เส้น.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 188

อุคคคฤหบดี ได้ซื้อพื้นที่ประมาณกึ่งคาวุต ด้วยเรียงอิฐทองคำสร้าง วิหารถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า โกนาคมนะ.

สุมังคลคฤหบดี ได้ซื้อพื้นที่ประมาณ ๒๐ อุสภะ (๑) ด้วยเรียงเต่าทองคำ สร้างวิหารถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ

สุทัตตคฤหบดี ได้ซื้อพื้นที่ประมาณ ๘ กรีส ด้วยเรียงกหาปณะสร้าง วิหารถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ฉะนั้นแล.

สมบัติทั้งหลายเสื่อมสิ้นไปโดยลำดับ ด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุนั้น สมควรแท้ที่จะเบื่อหน่ายในสมบัติทั้งปวง สนควรแท้ที่จะพ้น ไปเสีย ฉะนั้นแล.

[ว่าด้วยนวกรรม]

บทว่า ขณฺฑํ ได้แก่ โอกาสที่ร้าว.

บทว่า ผุลฺลํ ได้แก่ โอกาสที่แตกแยะ.

บทว่า ปฏิสงฺขริสฺสติ ได้แก่ จักทำให้คืนเป็นปกติ.

ในกุรุนทีแก้ว่า ก็ภิกษุผู้ได้นวกรรม ไม่ควรถือเอา เครื่องมือมีมีด ขวานและสีวเป็นต้น ลงมือทำเอง. ควรรู้ว่า เป็นอันทำแล้วหรือไม่เป็นอันทำ.

[ว่าด้วยการจับจองเสนาสนะ]

หลายบทว่า ปิฏฺิโต ปิฏฺิโต คนฺตฺวา มีความว่า ได้ยินว่า พระเถระมัวปรนนิบัติภิกษุไข้อยู่ มัวช่วยเหลือภิกษุผู้แก่ผู้เฒ่าอยู่ จึงมาข้างหลัง ภิกษุทั้งปวง. ข้อนี้เป็นจารีตของท่าน. ด้วยเหตุนั้นพระธรรมสังคาหกาจารย์จึง กล่าวว่า ไปล้าหลัง.

บทว่า อคฺคาสนํ ได้แก่ เถรอาสน์

บทว่า อคฺโคทกํ ได้แก่ ทักษิโณทก.

บทว่า อคฺคปิณฺฑํ ได้แก่ บิณฑบาตสำหรับเพระสังฆเถระ.


(๑) อุสภะ=๕๒ วา.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 189

บทว่า ปติฏฺาเปสิ ได้แก่ ทำการบริจาคทรัพย์ ๑๘ โกฏิสร้างไว้ อนาถบิณฑิกดฤหบดี บริจาคทั้งหมด ๕๔ โกฏิ ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยธรรมเนียมในโรงฉัน

บทว่า วิปฺปกตโภชเน มีความว่า ภิกษุกำลังฉันอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง ในละแวกบ้านก็ตาม ในวิหารก็ตาม ในป่าก็ตาม เมื่อการฉันยังไม่เสร็จไม่ควร ให้ลุก. ในละแวกบ้าน ภิกษุผู้มาที่หลังพึ่งรับภิกษาแล้วไปยังที่แห่งภิกษุผู้เป็น สภาคกัน. ถ้าชาวบ้านหรือภิกษุทั้งหลาย นิมนต์ว่า ท่านจงเข้าไป ควรบอก ว่า เมื่อเราเข้าไป ภิกษุทั้งหลายจักต้องลุกขึ้น. เธออัน เขากล่าวว่า ที่นี่ยังมี ที่นั่ง จึงควรเข้าไป. ถ้าใครๆ ไม่กล่าวคำนี้น้อยหนึ่ง พึงไปที่อาสนศาลาแล้ว เฉียดมายืนอยู่ในที่แห่งภิกษุผู้เป็นสภาคกัน ; เมื่อภิกษุทั้งหลายทำโอกาสแล้ว เธออันเขานิมนต์ว่า นิมนต์เข้ามาเถิด ดังนี้ พึงเข้าไป. แต่ถ้า ที่อาสนะซึ่ง จะถึงแก่เธอ มีภิกษุมิได้ฉันนั่งอยู่ จะให้ภิกษุนั้นลุกขึ้น ควรอยู่ ภิกษุผู้นั่ง ดื่มหรือขบฉันยาคู และของเคี้ยวเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว แม้มีมือว่างก็ ไม่ควรให้ลุก จนกว่าภิกษุอื่นจะมา เพราะว่าเธอนับว่าเป็นผู้ฉัน ค้างเหมือนกัน.

ข้อว่า สเจ วุฏฺาเปติ มีความว่า ถ้าแม้เธอแกล้งล่วงอาบัติให้ลุก ขึ้นจนได้.

ข้อว่า ปริวาริโต จ โหติ มีความว่า เธอจะให้ภิกษุใดลุก, ถ้า ภิกษุนี้ เป็น ผู้ห้ามโภชนะแล้ว, เธออันภิกษุนั้นพึงกล่าวว่า จงไปหาน้ำมา. จริง ข้อนี้แล เป็นสถานอันหนึ่ง ที่ภิกษุหนุ่มใช้ภิกษุแก่กว่าได้. ถ้าเธอไม่ หาน้ำมาให้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงแสดงหน้าที่ซึ่งภิกษุผู้อ่อน กว่าจะพึงกระทำ จึงตรัสดำเป็นต้น ว่า พึงกลืนเมล็ดข้าวให้เรียบร้อย.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 190

[ว่าด้วยเสนาสนะที่เหมาะแก่ ภิกษุอาพาธ]

วินิจฉัยในคำว่า คิลานสฺส ปฏิรูปํ เสยยํ นี้ พึงทราบดังนี้ :-

ภิกษุใดเป็นผู้อาพาธ ด้วยโรคหืดหรือโรคริดสีดวง และโรคลงแดง เป็นต้น, ภาชนะมีกระโถนและหม้ออุจจาระเป็นต้น เป็นของอันภิกษุนั้นควร เตรียมไว้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นโรคเรื้อน ย่อมทำเสนาสนะให้เสีย, ควรให้ ภายใต้ปราสาทมณฑปและศาลาเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเสนาสนะส่วน หนึ่ง แก่ภิกษุเห็นปานนั้น. เมื่อภิกษุผู้อาพาธรูปใดอยู่ จะไม่ทำเสนาสนะให้ เสียหาย. แม้ที่นอนประณีต ก็ควรให้แก่ภิกษุรูปนั้น แท้ ฝ่ายภิกษุใด ทำยา อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น ว่า ยาแดง ยาถ่าย และยานัตถุ์ ภิกษุนั้นทั้งหมด จัดว่าผู้อาพาธด้วย. พึงกำหนดให้เสนาสนะทำเหมาะแก่ภิกษุแม้นั้น.

บทว่า เลสกปฺเปน ได้แก่ สักว่าปวดศีรษะเป็นต้น เล็กน้อย.

[ว่าด้วยภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะ]

สองบทว่า ภิกฺขู คเณตฺวา ได้แก่ รู้จำนวนภิกษุทั้งหลายในวิหาร ว่า มีภิกษุเท่านี้.

ที่ตั้งเตียง เรียกว่า ที่นอน.

บทว่า เสยฺยคฺเคน ได้แก่ จำนวนที่นอน. ความว่า ในวันเข้า พรรษา เราอนุญาตให้ภิกษุรูปหนึ่ง ประกาศเวลาแล้วให้ถือเอาที่วางเตียงอัน หนึ่ง.

สองบทว่า เสยฺยคฺเคน คาเหนฺตา ได้แก่ เมื่อให้ถือเอาตาม จำนวนที่นอน.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 191

สองบทว่า เสยฺยา อุสฺสาทิยึสุ คือเมื่อให้ถือเอาอย่างนั้น ที่ตั้ง เตียงได้เหลือมาก. แม้ในจำนวนวิหารเป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกัน. วิหารนั้น ประสงค์ห้องมีอุปจาร.

บทว่า อนุภาคํ มีความว่า เราอนุญาตเพื่อให้ส่วนแม้อื่นอีก, จริง อยู่ เมื่อภิกษุมีน้อยนัก สมควรให้รูปละ ๒ - ๓ บริเวณ.

ข้อว่า น อกามา ทาตพฺโพ มีความว่า ส่วนเพิ่มนั้น ผู้แจกไม่ พึงให้ เพราะไม่ปรารถนาจะให้.

ในวันเข้าพรรษา ครั้นเมื่อส่วนเพิ่มอันภิกษุทั้งหลายถือเอาแล้ว ส่วน เพิ่มนั้น ไม่ควรให้ภิกษุผู้มาภายหลัง เพราะคน (คือผู้ถือเอาแล้ว) ไม่พอใจ. แต่ถ้าส่วนเพิ่มอันภิกษุใดไม่ถือแล้ว ภิกษุนั้นย่อมให้ส่วนเพิ่มนั้น หรือส่วน แรก ด้วยความพอใจของตน เช่นนี้ ควรอยู่.

สองบทว่า นิสฺสีเม ิตสฺส ได้แก่ ผู้ทั้งอยู่ภายนอกอุปจารสีมา. แต่ว่า แม้ภิกษุผู้ตั้งอยู่ไกล แต่เป็นภายในอุปจารสีมา ย่อมได้แท้.

สองบทว่า เสนาสนํ คเหตฺวา ได้แก่ ถือในวัน เข้าพรรษา.

สองบทว่า สพฺพกาลํ ปฏิพาหนฺติ ได้แก่ หวงแม้ในฤดูกาลใดย ล่วง ๔ เดือนไป.

[เสนาสนคาหวินิจฉัย]

บรรดาการถือเสนาสนะ ๓ อย่าง การถือ ๒ อย่าง เป็นการถือยั่งยืน คือ ถือในวันเข้าพรรษาแรก ๑ ถือในวัน เข้าพรรษาหลัง ๑.

การถือเสนาสนะที่เป็นอันตราามุตกะ คือพ้นจากนั้น มีวินิจฉัย ดังนี้ :-

ในวิหารหนึ่ง มีเสนาสนะซึ่งมีลาภมาก. เจ้าของเสนาสนะบำรุงภิกษุ ผู้จำพรรษา ด้วยปัจจัยทั้งปวงโดยเอื้อเฟื้อ ถวายสมณบริขารมากในเวลา ปวารณาแล้วจะไป.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 192

พระมหาเถระทั้งหลายมาแต่ไกล ในวันเข้าพรรษาถือเสนาสนะนั้นอยู่ สำราญ ครั้นจำพรรษาแล้วรับลาภหลีกไปเสีย.

พวกภิกษุผู้เจ้าวัด ไม่เหลียวแลเสนาสนะนั้น แม้ชำรุดทรุดโทรมอยู่ ด้วยคิดว่า พวกเราไม่ได้ลาภที่เกิดในเสนาสนะนี้, พระมหาเถระผู้อาคันตุกะแล ได้เป็นนิตย์, พวกท่านนั่นแล จักมาบำรุงเสนาสนะนั้น.

เพื่อให้บำรุงเสนาสนะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า พึงให้ถือ เสนาสนะเป็นอันตราวามุตกะ เพื่ออยู่จำพรรษาต่อไป ในวันมหาปวารณาซึ่งจะ ถึงข้างหน้า. เมื่อภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะ จะให้ถืออันตรามุตกเสนาสนะนั้น พึงบอกพระสังฆเถระว่า ท่านผู้เจริญ นิมนต์ถือเสนาสนะเป็นอันตรามุตกะเถิด. ถ้าท่านรับ พึงให้, ถ้าไม่รับ. พึงให้แก่ภิกษุผู้จะรับ ตั้งแต่พระอนุเถระเป็น ต้นไป โดยที่สุดแม้สามเณร ด้วยอุบายนี้แล. ฝ่ายผู้รับนั้น พึงบำรุงเสนาสนะ นั้น ๘ เดือน บรรดาหลังคาฝาและพื้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งชำรุดหรือพังไป, ควร ซ่อมแซมทั้งหมด. แม้จะให้กลางวันสิ้นไปด้วยอุทเทสและปริปุจฉาเป็นต้น กลางคืนจึงอยู่ในเสนาสนะนั้นก็ได้. กลางคืนจะอยู่ในบริเวณ กลางวันให้สิ้น ไปด้วยอยู่ในเสนาสนะนั้น ก็ได้ แม้จะอยู่ในเสนาสนะนั้นเอง ทั้งกลางคืน กลางวันก็ได้ ไม่ควรหวงห้ามภิกษุผู้แก่กว่าซึ่งมาในฤดูกาล. แต่เมื่อถึงวันเข้า พรรษาแล้ว พระสังฆเถระกล่าวว่า เธอจงให้เสนาสนะนี้แก่ฉัน ; เช่นนี้ไม่ได้.

ภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะ ไม่พึงให้ ต้องชี้แจงว่า ท่านผู้เจริญ เสนาสนะภิกษุรูปหนึ่ง ถือเอาเป็นอันตรามุตกะ ได้บำรุงมา ๘ เดือนแล้ว. เสนาสนะนั้นต้องให้ภิกษุผู้บำรุงมา ๘ เดือนนั่นแลจับจองได้.

ส่วนในเสนาสนะใด พวกเจ้าของถวายปัจจัยปีละ ๒ ครั้ง, เสนาสนะ นั้น ไม่ควรให้ถือเป็นอันตรามุตกะ ทุกคราวที่ล่วง ๖ เดือน. หรือว่าใน

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 193

เสนาสนะใด พวกเจ้าของถวายปัจจัยปีละ ๓ ครั้ง เสนาสนะนั้น ไม่ควรให้ ถือเป็นอันตรามุตกะ ทุกคราวที่ล่วง ๔ เดือน หรือให้เสนาสนะใด พวกเจ้า ของถวายปัจจัยปีละ ๔ ครั้ง, เสนาสนะนั้น ไม่ควรให้ถือเป็นอันตรามุตกะ ทุกคราวที่ล่วง ๓ เดือน. เพราะว่า เสนาสนะนั้น จักได้บำรุงด้วยปัจจัยแท้.

ส่วนในเสนาสนะใด พวกเจ้าของถวายปัจจัยมากมายเพียงปี ละครั้ง, เสนาสนะนั้นควรให้ถือเป็นอันตรามุตกะได้.

กถาว่าด้วยการถือเสนาสนะซึ่งมาในบาลี โดยวันเข้าพรรษาภายในฤดู ฝน เท่านี้ก่อน.

[การถือเสนาสนะในฤดูกาล]

ก็ขึ้นชื่อว่า การถือเสนาสนะนี้ ย่อมมี ๒ อย่าง คือ ถือในฤดูกาล ๑ ถือในวัลสาวาสกาล ๑.

ใน ๒ อย่างนั้น พึงทราบวินิจฉัยในฤดูกาลก่อน ภิกษุอาคันตุกะบาง พวกมาในเวลาเช้า, บางพวกมาในเวลาบ่าย, บางพวกมาในปฐมยาม, บาง พวกมาในมัชฌิมยาม, บางพวกมาในปัจฉิมยามก็มี, พวกใดมาในเวลาใด ภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะ พึงให้ภิกษุทั้งหลายลุกขึ้นแล้วให้เสนาสนะแก่พวกนั้น ในเวลานั้นเทียว, ขึ้นชื่อว่า สมัยที่มิใช่กาลย่อมไม่มี.

ฝ่ายภิกษุผู้แต่งตั้งเสนาสนะต้องเป็นผู้ฉลาด พึงเว้น ที่ตั้งเตียงไว้ ๑ หรือ ๒ ที่. ถ้าพระมหาเถระ รูป ๑ หรือ ๒ รูป มาในเวลาวิกาล (๑) พึงบอกท่านว่า ท่านผู้เจริญ ภิกษุแม้ทั้งหมด เมื่อผมให้ขึ้นตั้งแต่ต้น จักต้องพากันขนของ ออก, ขอท่านจงอยู่ในที่อยู่ของผมนี่แล. แต่เมื่อพระมหาเถระมากันมาก พึง ให้ภิกษุทั้งหลายลุกออกแล้วให้ลำดับ.


(๑) วิกาลในที่นี้ น่าจะได้แก่กลางคืน.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 194

ถ้าพอกันองค์ละบริเวณ พึงให้องค์ละบริเวณ; แม้สถานทั้งปวงเป็น ต้นว่า โรงไฟ โรงยาว และโรงกลมในบริเวณนั้น ย่อมถึงแก่ท่านด้วย เมื่อ แจกอย่างนั้นไม่พอกัน ควรให้ตามจำนวนปราสาท. (๑) เมื่อปราสาทไม่พอ ควร ให้ตามจำนวนห้องน้อย. เมื่อจำนวนห้องน้อยไม่พอกัน ควรให้ตามจำนวนที่ นอน. เมื่อที่ตั้งเตียงไม่พอกัน ควรให้เฉพาะที่ตั้งตั่งตัวหนึ่ง แต่ไม่ควรให้ถือ เอาที่เพียงโอกาสพอภิกษุยืนได้ เพราะที่เท่านั้น ไม่จัดเป็นเสนาสนะ. แต่เมื่อ ที่ตั้งตั่งไม่พอ พึงให้ที่ตั้งเตียงหรือที่ตั้งตั่งอันหนึ่ง แก่ภิกษุ ๓ รูป ด้วยกล่าว ว่า ท่านจงผลัดเปลี่ยนกันพักเถิด ท่านผู้เจริญ.

ในฤดูหนาว ใครๆ ไม่อาจเลยที่จะอยู่กลางแจ้งตลอดทั้งคืน, พระมหาเถระ ควรพักผ่อน. ตลอดปฐมยาม แล้วออกไปบอกพระเถระปีที่ ๒ ว่า ผู้ มีอายุ คุณจงเข้าไปในที่นี้ ถ้าพระมหาเถระเป็นคนขี้เซาไม่รู้เวลา, พระเถระที่ ๒ พึงกระแอมเคาะประตูบอกว่าได้เวลาแล้วขอรับ ความหมายกวนนัก ดังนี้. ท่านควรออกไปให้โอกาส. จะไม่ให้ไม่ได้.

ฝ่ายพระเถระที่ ๒ พักตลอดมัชฌิมยามแล้ว ก็ควรให้แก่ภิกษุนอกนี้ ตามนัยหนหลังเหมือนกัน พระเถระที่ ๒ เป็นคนขี้เซา ก็ควรปลุกตามนัยที่ กล่าวแล้วเหมือนกัน. ที่ตั้งเตียงอันหนึ่งพึงให้แก่ภิกษุ ๓ รูปตลอดคืนหนึ่ง อย่างนี้.

แต่ภิกษุบางพวกในชมพูทวีปเห็นว่า เสนาสนะหรือที่ตั้งเตียง แลตั่ง เฉพาะบางแห่ง ย่อมเป็นที่สบายสำหรับบางคน ไม่เป็นที่สบายสำหรับ บางคน ภิกษุทั้งหลายจะเป็นอาคันตุกะหรือหากไม่ใช่ก็ตาม ย่อมให้ถือเสนาสนะทุกวัน นี้ชื่อว่า การถือเสนาสนะในฤดูกาล.


(๑) ที่อยู่ที่ทำชั้นๆ ปราสาทในที่นี้น่าจะหมายว่าชั้นหนึ่งๆ.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 195

[การถือเสนาสนะในคราวจำพรรษา]

ส่วนในคราวจำพรรษา ย่อมมีอาคันตุกวัตร มีอาวาสิกวัตร. ใน อาคันตุกะและเจ้าถิ่นนั้น ภิกษุอาคันตุกะก่อนใคร่จะละถีนของคนไปอยู่ที่อื่น ไม่ควรไปในที่นั้นในวันเข้าพรรษา. เพราะว่าที่อยู่ในที่นั้นจะต้องเป็นที่คับแคบกัน, หรือภิกษุจารจะไม่ทั่วถึง. ด้วยเหตุนั้น เธอจะอยู่ไม่ผาสุก เพราะ ฉะนั้น พึงกะว่า ตั้งแต่บัดนี้ไปราวเดือนหนึ่งจักเข้าพรรษา แล้วเข้าไปสู่วิหาร นั้น.

เมื่ออยู่ในวิหารนั้น ราวเดือนหนึ่ง ถ้ามีความต้องการเรียนบาลีจัก กำหนดไว้ว่า การเรียนบาลีพร้อมมูล ถ้ามุ่งต่อกัมมัฏฐานจักกำหนดได้ด้วย กัมมัฏฐานเป็นที่สบาย ถ้ามีความต้องการปัจจัยจักกำหนดปัจจัยลาภไค้ จะอยู่ เป็นสุขภาพในพรรษา.

ก็แล เมื่อจะจากถิ่นของตนไปในที่นั้น ไม่ควรกระทบกระทั่งโคจร คาม, คืออยู่ว่ากล่าวชาวบ้านในที่นั้น ว่า สลากภัตเป็นต้นก็ดี ยาคูและของควร เคี้ยวก็ดี ผ้าจำนำพรรษาก็ดี ที่อาศัยพวกท่านย่อมไม่มี นี้บริขารของเจคีย์ นี้บริขารของโรงโบสถ นี้ดาลและกุญแจ ท่านจงรับที่อยู่ของท่าน. ที่ถูก ควร จัดแจงเสนาสนะเก็บภัณฑะไม่และภัณฑะดิน บำเพ็ญคมิยวัตรให้เต็มแล้ว จึงไป.

แม้เมื่อจะไปอย่างนั้น พึงให้ภิกษุหนุ่มหิ้วห่อบาตรและจีวรเป็นต้น ให้ ช่วยถือกระบอกน้ำมันและไม้เท้าเป็นต้น กางร่มอย่าเชิดตนไปทางประตู เลย, ควรไปตามข้างที่กำบัง เมื่อทางเข้าคงไม่มี ก็อย่าบุกพุ่มไม้เป็นต้นไป เลย

อนึ่ง พึงบำเพ็ญคมิยวัตรตัดวิตก มีจิตผุดผ่องไปด้วยธรรมเนียม แห่งการไปเท่านั้น

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 196

แต่ถ้าทางมีทางประตูบ้าน, และพวกชาวบ้านเห็นคนกับบริวารไปอยู่ จะวิ่งเข้ามาหาด้วยคิดว่า นั่นดูเหมือนพระเถระของพวกเราแล้ว จะปราศรัยว่า ท่านจะขนบริขารทั้งหมดไปไหน ขอรับ?

ถ้าในพวกเธอรูป ๑ กล่าวอย่างนี้ว่า นี่เป็นในเวลาจวนเข้าพรรษาแล้ว, ภิกษุทั้งหลายย่อมไปในที่ซึ่งตนจะได้ภิกษาจารเป็นนิตย์ และสิ่งของสำหรับปก ปิดภายในพรรษา.

ถ้าชาวบ้านเหล่านั้น ได้ฟังคำตอบของเธอแล้วกล่าวว่า ถึงในบ้านนี้ ชนย่อมบริโภค ย่อมนุ่ง (เหมือนกัน) ขอรับ ท่านอย่าไปในที่อื่นเลย ดังนี้ แล้วเรียกมิตรและอมาตย์ทั้งหลายมาแล้ว ทุกคนหารือพร้อมกัน ตั้งนิตยภัตและ ภัตต่างๆ มีสลากภัตเป็นต้นทั้งผ้าจำนำพรรษาด้วย ไว้สำหรับสำนัก แล้วช่วย กันอ้อนวอนว่า นิมนต์จำพรรษาในสำนักนี้แลขอรับ. ภิกษุสมควรยินดีทั้ง หมด, สิ่งทั้งปวงมีนิตยภัตเป็นต้น แม้นั้น เป็นของควรและหาโทษมิได้.

ส่วนในกุรุนทีแก้ว่า เมื่อเขาปราศรัยว่า ท่านจะไปไหน? พึงตอบว่า ที่โน้น ถูกเขาซักว่า เหตุไร จึงไปที่นั้น? พึงบอกเหตุ. และคำทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่าหาโทษมิได้ เพราะเธอเป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์แท้ นี้ชื่ออาคันตุกวัตร

ส่วนอาวาสิกวัตร พึงทราบดังนี้ :-

อันภิกษุทั้งหลายผู้เจ้าอาวาส พึงจัดแจงที่อยู่ก่อนทีเดียว พึงทำการ ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดหักพังและการตกแต่ง. พึงจัดแจงสถานทั้งปวง เหล่านี้ คือ ที่พักกลางคืน ที่พักกลางวัน เวจกุฎี และที่ถ่ายปัสสาวะ เรือน บำเพ็ญเพียรและทางแห่งที่อยู่.

พึงทำกิจทั้งปวงแม้นี้ คือ ฉาบปูนขาวที่พระเจดีย์ ทาน้ำมันชุกชีเล็ก และปัดเช็ดเตียงตั่ง ด้วยตั้งใจว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ประสงค์จะจำพรรษา มาแล้ว

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 197

เมื่อทำกิจมีอุทเทสปริปุจฉาและประกอบความเพียรในกัมมัฏฐานเป็นต้น จักอยู่ เป็นสุข.

ภิกษุผู้เจ้าอาวาสทำบริกรรมเสร็จแล้ว พึงถามถึงผ้าจำนำพรรษาจำเดิม แต่วันขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๘.

พึงถามในที่ไหน?

พึงถามในที่ซึ่งตนได้อยู่ตามปกติ แต่ไม่ควรจะถามชนทั้งหลายที่ไม่ เคยให้

เหตุไรจึงต้องถาม

ก็บางคราวชนทั้งหลายก็ถวาย, บางคราวพวกเขาถูกทุพภิกขภัยเป็นต้น เบียดเบียน ย่อมไม่ถวาย; ในชนเหล่านั้น พวกใดจักไม่ถวาย, เมื่อไม่ถาม พวกนั้นแล้ว ให้เขาจองผ้าจำนำพรรษาไป อันตรายแก่ลาภจะมีแก่เหล่าภิกษุ ซึ่งเขาจองไว้ ; เพราะเหตุนั้น ควรถามก่อนแล้ว จึงให้เขาจองเอาไป. เมื่อจะ ถาม พึงกล่าวว่า เวลาจองผ้าจำนำพรรษาของพวกท่าน ใกล้เข้ามาแล้ว

ถ้าเขากล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ตลอดปีนี้ พวกผมถูกฉาตกภัยเป็นต้น เบียดเบียน ไม่สามารถจะถวายได้ หรือว่า พวกผมจักถวายน้อยกว่าที่เคยถวาย หรือว่า บัดนี้ฝ้ายได้ดี ผมจักถวายให้มากกว่าที่เคยถวาย ดังนี้ ; ภิกษุพึง กำหนดคำนั้นไว้แล้ว ให้ภิกษุทั้งหลายรับผ้าจำนำพรรษาในเสนาสนะของชน เหล่านั้น ตามนัยซึ่งเหมาะแก่คำนั้น.

ถ้าเขากล่าวว่า ผ้าจำนำพรรษาของพวกผมถึงแก่พระผู้เป็นเจ้าองค์ใด, พระผู้เป็นเจ้าองค์นั้นจงตั้งน้ำฉันไว้ จงดูแลหนทางของที่อยู่ จงปัดกวาดลานเจดีย์และลานโพธิ์ จงรดน้ำที่ต้นโพธิ์ตลอดไทรมาส, ผ้าจำนำพรรษาของเขา ถึงแก่ภิกษุใด พึงบอกแก่ภิกษุนั้น.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 198

ส่วนบ้านใด ห่างออกไปอยู่ในระยะ ๑ โยชน์ หรือ ๒ โยชน์ ถ้าสกุล ทั้งหลายในบ้านนั้น มอบกัลปนาอันเป็นต้นทุนไว้เฉพาะถวายผ้าจำนำพรรษา ในที่อยู่. แม้ไม่ถามสกุลเหล่านั้น ก็ควรให้ภิกษุผู้ทำวัตรอยู่ในเสนาสนะของ สกุลเหล่านั้น รับผ้าจำนำพรรษา.

แต่ถ้าภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล อยู่ในเสนาสนะของสกุลเหล่านั้น, และเขา เห็นเธอมาแล้ว กล่าวว่า ผมถวายผ้าจำนำพรรษาแก่ท่าน. ภิกษุนั้นพึงบอก แก่สงฆ์.

ถ้าสกุลเหล่านั้น ไม่ปรารถนาจะถวายสงฆ์ กล่าวว่า พวกผมถวาย เฉพาะแก่พวกท่าน. ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลนั้น พึงสั่งภิกษุผู้เป็นสภาคกันว่า ท่านจงทำวัตรแล้วรับเอาไป, แต่ผ้าจำนำพรรษานั้น ไม่ควรแก่ภิกษุผู้ถือผ้า บังสกุล. พึงถามชนทั้งหลาย ผู้ถวายด้วยศรัทธาไทย ด้วยประการฉะนี้.

ส่วนในจีวรที่เกิดขึ้นในสำนักนั้น ควรถามกัปปิยการก. ถามอย่างไร?

ควรถามว่า ผู้มีอายุ ภัณฑะสำหรับปกปิด (คือผ้า) ของสงฆ์จักมี หรือ?

ถ้าเขากล่าวว่า จักมีขอรับ ผมจักถวายผ้ารูปละ ๙ ศอก ท่านทั้งหลาย. จงให้จองผ้าจำนำพรรษาเถิด ดังนี้ ; พึงให้ภิกษุถือเสนาสนะได้. แม้ถ้าเขา กล่าวว่า ผ้าไม่มี แต่วัตถุมี. ท่านจงให้จองเถิด, แม้เมื่อมีวัตถุ ก็ควรให้ถือ. เสนาสนะได้แท้, เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุบริโภคสิ่ง ที่เป็นกัปปิยะทั้งปวง จากวัตถุที่ทายกมอบไว้ในมือกัปปิยการก สั่งว่า ท่านจง ใช้สอยของที่ควรเถิด.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 199

ส่วนวัตถุใดทายกเจาะจงถวายภิกษุในสำนักนี้ เพื่อประโยชน์แก่บิณฑ- บาต หรือเพื่อประโยชน์แก่คิลานปัจจัย, วัตถุนั้น เมื่อภิกษุทั้งหลายจะโอน เข้าในจีวร พึงอปโลกน์ เพื่อความเห็นชอบของสงฆ์แล้วจึงค่อยโอน.

วัตถุที่เขาเจาะจงถวายเพื่อประโยชน์แก่เสนาสนะ ย่อมเป็นครุภัณฑ์. ส่วนวัตถุที่เขาถวายไว้เฉพาะค่าจีวร หรือเป็นค่าปัจจัย ๔ เมื่อจะโอนเข้าในจีวร ไม่มีกิจที่จะต้องทำด้วยอปโลกนกรรม. ก็แลเมื่อจะทำอปโลกนกรรม ควรทำให้เนื่องด้วยบุคคลเท่านั้น ไม่ ควรทำให้เนื่องด้วยสงฆ์ ไม่ควรทำอปโลกนกรรม แม้ด้วยเนื่องกับทองและ เงิน หรือด้วยเนื่องกับข้าวเปลือก. ควรทำแต่เนื่องด้วยอำนาจกัปปิยภัณฑ์ และด้วยอำนาจจีวรและข้าวสารเป็นต้นเท่านั้น.

ก็แลอปโลกนกรรมนั้น พึงทำอย่างนี้ว่า บัดนี้ ภิกษุหาง่าย บิณฑบาต ได้ง่าย, ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยจีวร, ภิกษุทั้งหลายพอใจจะโอนส่วนข้าวสาร เท่านี้ทำจีวร, คิลานปัจจัยหาได้ง่าย. อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้อาพาธก็ไม่มี, ภิกษุทั้งหลายพอใจจะโอนส่วนข้าวสารเท่านี้ทำเป็นจีวร. ครั้นกำหนดจีวรปัจจัย อย่างนี้ แล้ว พึงสมมติภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะ ในเมื่อกาลเป็นที่ให้ถือเสนาสนะ ได้ประกาศแล้ว สงฆ์ประชุมกันแล้ว.

พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า ก็แลเมื่อจะสมมติ ไม่ควรสมมติรูปเดียว พึงสมมติ ๒ รูป. ด้วยว่า เมื่อสมมติอย่างนั้น ภิกษุอ่อนจักให้ภิกษุแก่ถือ เสนาสนะ และภิกษุแก่จักให้ภิกษุอ่อนถือ ฉะนั้นแล. ส่วนในสำนักใหญ่ เช่น กับมหาวิหาร ควรสมมติไว้ ๓ - ๔ รูป.

แต่ในกุรุนทีแก้ว่า จะสมมติไว้ ๘ รูปบ้าง ๑๖ รูปบ้าง ก็ควร. การ สมมติภิกษุเหล่านั้น จะทำด้วยกรรมวาจาก็ได้ ด้วยอปโลกนกรรมก็ได้ ควร ทั้งนั้น ภิกษุผู้ได้รับสมมติแล้วเหล่านั้น พึงกำหนดเสนาสนะ.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 200

ก็เรือนเจดีย์ เรือนโพธิ์ เรือนพระปฏิมา ร้านไม้กวาด ร้านเก็บไม้ เวจกุฎี โรงอิฐ โรงช่างไม้ ซุ้มประตู โรงน้ำ ศาลาคร่อมทาง ศาลาริมสระ เหล่านี้ ไม่ใช่เสนาสนะ.

กุฎีที่อยู่ เรือนมุงแถบเดียว ปราสาท เรือนโล้น ถ้า มณฑป โคนไม้ กอไผ่ เหล่านี้ จัดเป็นเสนาสนะ. เพราะฉะนั้น ควรให้ถือเสนาสนะ. เหล่านั้น. และเมื่อจะให้ถือ พึงให้ถือตามนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน บาลีนี้ว่า เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะนับภิกษุก่อน ครั้นนับภิกษุ แล้ว ให้นับที่นอน.

ถ้าจีวรปัจจัยมี ๒ ชนิด คือ เป็นของสงฆ์ ๑ เป็นของทายกถวายด้วย ศรัทธา ๑. ใน ๒ ชนิดนั้น ภิกษุทั้งหลายปรารถนาจะถือชนิดใดก่อน พึงให้ ถือเอาชนิดนั้น แล้วพึงให้ถือเอาชนิดนอกนี้ตั้งต้นแต่ลำดับแห่งชนิดแม้นั้นไป.

พระมหาสุมเถระกล่าวว่า ถ้าเมื่อภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะจะให้ภิกษุถือ เสนาสนะด้วยจำนวนบริเวณ (๑) เพราะมีภิกษุน้อย บริเวณอันหนึ่ง มีลาภมาก, ภิกษุผู้อยู่ ได้ไตรจีวร ๑๐ หรือ ๑๒ สำรับ ; พึงแบ่งจีวรนั้น เฉลี่ยในอาวาส อื่นๆ ที่ไม่มีลาภ ให้ภิกษุทั่งหลายแม้เหล่าอื่นถือเอาก็ได้.

ฝ่ายพระมหาปทุมเถระกล่าวว่า ไม่ควรทำอย่างนั้น อันชนทั้งหลาย ถวายปัจจัยก็เพื่อประโยชน์แก่การบำรุงอาวาสของตน ; เพราะฉะนั้น ภิกษุ เหล่าอื่นพึงเข้าไปในบริเวณ ที่มีลาภมากนั้น. แต่ถ้าพระมหาเถระในบริเวณที่มี ลาภมากนั้น คัดค้านว่า ผู้มีอายุ ท่านจงอย่าให้ภิกษุทั้งหลาย ถือเอาอย่างนั้น, จงทำตามคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุศาสน์ไว้ ; จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะให้ภิกษุ


(๑) จุล. ทุติย. ๑๒๗.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 201

ทั้งหลายถือเสนาสนะด้วยจำนวนบริเวณ (๑) , ภิกษุผู้เสนาสนคาหปกะ ไม่ควร งดเพราะคำคัดค้านของพระมหาเถระนั้น พึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ภิกษุมีมาก ปัจจัยมีน้อย ควรจะทำความสงเคราะห์ ยังท่านให้ยินยอมแล้ว พึงให้ภิกษุ ทั้งหลายถือเอาทีเดียว.

ก็แล ภิกษุผู้ได้รับ สมมติแล้ว เนื้อจะให้ถือเอา พึงไปหาพระมหาเถระ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เสนาสนะถึงแก่ท่าน, ท่านจงถือเอาปัจจัย เถิด. ท่านกล่าวว่า ผู้มีอายุ ปัจจัยของสกุลโน้น และเสนาสนะโน้น ถึงแก่ เราหรือ? พึงกล่าวว่า ถึงขอรับ ท่านจงถือเอาเสนาสนะนั้น ท่านกล่าวว่า ผู้มีอายุ เราถือเอาละ. อย่างนี้ เสนาสนะเป็นอันท่านถือเอาแล้ว.

พระมหาสุมเถระกล่าวว่า แต่ถ้า เมื่อภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ เสนาสนะอันท่านถือเอาแล้วหรือ? พระมหาเถระกล่าวว่า เรา ถือเอาแล้ว หรือเมื่อภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านจักถือ เอาหรือ? พระมหาเถระตอบว่า เราจักถือเอา ดังนี้ เสนาสนะไม่เป็นอันถือ.

ฝ่ายพระมหาปทุมเถระแก้ว่า ถ้อยคำเป็นอดีตและอนาคต หรือถ้อยคำ เป็นปัจจุบันก็ตามที. อันที่จริง ถ้อยคำเพียงทำให้ได้สติ เพียงเป็นเครื่องทำ อาลัยเท่านั้น เป็นประมาณในการถือเสนาสนะนี้ ; เพราะเหตุนั้น เสนาสนะ เป็นอัน พระมหาเถระถือเอาแล้วแท้.

ฝ่ายภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลใด ถือเสนาสนะแล้ว สละปัจจัยเสีย. แม้ปัจจัย ที่ภิกษุนั้นสละแล้วนี้ ไม่พึงโอนไปในอาวาสอื่น; พึงคงไว้ในอาวาสนั้นแล. จะให้ภิกษุอื่นซึ่งอยู่ที่โรงเพลิง หรือที่ศาลายาว หรือที่โคนไม้ในบริเวณนั้น แล ถือเอาก็ควร.


(๑) จล. ทุติย. ๑๒๗.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 202

ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลรับว่า จะอยู่ แล้วจักบำรุงเสนาสนะ. ภิกษุนอกนี้ รับว่า จักถือเอาปัจจัย แล้วจักบำรุงเสนาสนะ. เสนาสนะจักเป็นอัน ได้รับ บำรุงเป็นอันดียิ่ง ด้วยเหตุ ๒ ประการ ด้วยประการฉะนี้.

แต่ในมหาปัจจรีแก้ว่า เมื่อภิกษุผู้ถือผ้าบังสกุล รับเสนาสนะเพื่อ ประโยชน์ แก่การอยู่ ภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะพึงกล่าวว่า ในเสนาสนะนี้มีปัจจัย นะขอรับ ปัจจัยนั้นสมควรทำอย่างไร? ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลนั้นพึงกล่าวว่า ภายหลังท่านจงให้ภิกษุอื่นถือเอาเถิด.

แต่ถ้าเธออยู่แต่ไม่พูดว่าอะไรเลย, และทายกทั้งหลายถวายผ้าวางไว้ แทบเท้าของเธอผู้จำพรรษาแล้วในเสนาสนะนั้น, ผ้านั้นควรแก่เธอ.

ถ้าพวกทายกกล่าวว่า ผมถวายผ้าจำนำพรรษา ผ้านั้นย่อมถึงแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ผู้จำพรรษาในเสนาสนะนั้น.

ส่วนทายกเหล่าใด ไม่มีเสนาสนะ, ถวายแต่ปัจจัยอย่างเดียว สมควร ให้ภิกษุผู้จำพรรษาในเสนาสนะที่ไม่มีผ้าจำนำพรรษารับปัจจัยของทายกเหล่านั้น.

ชนทั้งหลายสร้างสถูปแล้ว ให้ภิกษุรับผ้าจำนำพรรษา. ธรรมดาสถูป ไม่ใช่เสนาสนะ พึงโอนให้ภิกษุผู้จำพรรษาที่ต้นไม้หรือมณฑปซึ่งใกล้สถูปนั้น รับไป.

ภิกษุนั้นพึงปรนนิบัติเจดีย์. แม้ในต้นโพธิ์ เรือนโพธิ์ เรือนปฏิมา ร้านไม้กวาด ร้านเก็บไม้ เวจกุฎี ซุ้มประตู กุฎีน้ำ โรงน้ำ และโรงไม้สีไฟ ก็มีนัยเหมือนกัน.

ส่วนหอฉัน เป็นเสนาสนะแท้, เพราะเหตุนั้น สมควรกำหนดให้ ภิกษุรูปเดียว หรือหลายรูปถือหอฉันนั้น คำทั้งปวงนี้ท่านกล่าวพิสดารใน มหาปัจจรี.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 203

อันภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะ พึงให้ภิกษุทั้งหลายถือเสนาสนะ ตั้งแต่ อรุณแห่งวันปาฏิบท๑ไปจนถึงเพียงที่อรุณใหม่ยังไม่แตก.

จริงอยู่ ความกำหนดกาลนี้ เป็นเขตแห่งการถือเสนาสนะ.

หากว่า เมื่อให้ภิกษุทั้งหลายถือเสนาสนะแต่เช้า ภิกษุอื่นผู้มีใจลังเลมา ขอเสนาสนะ. ภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะพึงบอกว่า ท่านผู้เจริญ เสนาสนะถือกัน เสร็จแล้ว สงฆ์เข้าพรรษาแล้ว สำนักเป็นที่น่ารื่นรมย์ บรรดาที่ต่างๆ มีโคน ไม้เป็นต้น ท่านปรารถนาจะอยู่ในที่ใด จงอยู่ในที่นั้นเถิด.

ภิกษุทั้งหลายผู้เข้าพรรษา พึงบอกภิกษุทั้งหลาย ผู้ตั้งวัตรประจำ ภายในพรรษาแล้วจำพรรษาว่า ท่านทั้งหลายจงผูกไม้กวาดไว้. ถ้าด้ามและซี่ เป็นของหาได้ง่าย; ควรผูกไม้กวาดไว้รูปละ ๕ - ๖ อัน หรือผูกไม้กวาดด้ามไว้ รูปละ ๒ - ๓ อัน. ถ้าเป็นของหายาก พึงผูกไม้กวาดด้ามไว้รูปละอัน สามเณร ทั้งหลาย พึงตอกคบเพลิงไว้ ๕ - ๖ อัน. พึงทำการประพรมด้วยน้ำฝาดในสถาน ที่อยู่.

ก็แล เมื่อจะตั้งวัตร ไม่พึงตั้งวัตรที่ไม่เป็นธรรมเห็นปานนี้ว่า อย่า เรียนเอง อย่าให้ผู้อื่นเรียน อย่าทำการสาธยาย อย่าให้บรรพชา อย่าให้อุปสมบท อย่าให้นิสัย อย่าทำธัมมัสสวนะ เพราะว่า พวกเราทั้งหมดนี้ ยังเป็น ผู้มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า จักเป็นผู้ไม่มีธรรมเครื่องเนิ่นช้าทำสมณธรรมเท่านั้น หรือว่า ภิกษุทุกรูปจงสมาทานธุดงค์ ๑๓ อย่าสำเร็จการนอน จงให้คืนและ วันล่วงไปด้วยการยืนและจงกรม จงถือมูควัตร๒ แม้ต้องไปด้วยสัตตาหกรณียะ อย่าได้ภัณฑะที่สงฆ์ควรแจก.


(๑) วันแรม ๑ ค่ำแห่งเดือนนั้นๆ นับเป็นวันต้นเดือนของชาวมคธ เพราะนับวันเพ็ญเป็นวัน สิ้นเดือน.

(๒) ถือการนิ่งไม่พูดกัน คล้ายคนใบ้.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 204

แต่พึงกระทำอย่างนี้ คือ พึงทำวัตรเห็นปานนี้ว่า ธรรมดาปริยัติธรรม ย่อมยังสัทธรรมแม้ ๓ อย่างให้ตั้งมั่น เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายจงเรียนบาลี จงให้เรียนบาลีโดยเคารพ จงสาธยายโดยเคารพ อย่าเบียดเสียดภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่ในเรือนบำเพ็ญเพียร จงนั่งภายในสำนัก เรียนบาลี ให้เรียนบาลี ทำ การสาธยาย จงทำการฟังธรรมให้สำเร็จ เมื่อให้บรรพชา ต้องชำระให้เรียบร้อย แล้วจึงให้บรรพชา เมื่ออุปสมบท ต้องชำระให้เรียบร้อยแล้ว จึงให้อุปสมบท เมื่อให้นิสัย ต้องชำระให้เรียบร้อย แล้วจึงให้นิสัย ด้วยว่า กุลบุตรแม้ผู้เดียวได้ บรรพชาและอุปสมบทแล้ว จักดำรงพระศาสนาทั้งมวลไว้ได้ จงสมาทานธุดงค์ เท่าที่สามารถจะสมาทานได้ด้วยเรี่ยวแรงของตน. ขึ้นชื่อว่าตลอดภายในพรรษา นี้ ต้องเป็นผู้ไม่ประมาท ต้องปรารภความเพียร ตลอดทั้งวัน และใน ปฐมยามมัชฌิมยามและปัจฉิมยามแห่งราตรี, ถึงพระมหาเถระทั้งหลายแต่เก่า ก่อนก็ได้ตัดกังวลทุกอย่างเสีย บำเพ็ญวัตรคือกัมมัฏฐานภาวนาที่จะพึงประพฤติ ผู้เดียวในภายในพรรษา. สมควรรู้ประมาณในถ้อยคำที่จะพึงกล่าว กระทำกถา วัตถุ ๑๐ ประการ อสุภะ ๑๐ ประการ อนุสสติ ๑๐ ประการ และกถาปรารภ อารมณ์ ๓๘. สมควรทำวัตรแก่พวกภิกษุอาคันตุกะ สมควรอปโลกน์ให้แก่ ภิกษุทั้งหลายผู้ไปด้วยสัตตาหกรณียะ

อีกประการหนึ่ง พึงเดือนภิกษุทั้งหลายว่า อย่ากล่าวถ้อยคำแย้งกับคำ ส่อเสียดและคำหยาบ, ต้องนึกถึงศีลทุกๆ วัน อย่าให้อารักขกัมมัฏฐาน ๔ เสื่อมคล้าย จงเป็นผู้มากด้วยมนสิการอยู่.

พึงบอกธรรมเนียมเคี้ยวไม้สีฟัน พึงบอกวัตรคือมารยาท.

เมื่อกำลังไหว้พระเจดีย์หรือต้นโพธิ์ก็ดี เมื่อกำลังบูชาด้วยของหอมและ มาลัยก็ดี เมื่อกำลังเอาบาตรเข้าถลกก็ดี ไม่ควรบอก.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 205

พึงบอกธรรมเนียมเที่ยวบิณฑบาต อย่ากล่าวถ้อยคำพาดพิงถึงปัจจัย หรือถ้อยคำไม่ถูกส่วนกัน กับชนทั้งหลายภายในบ้าน.

พึงบอกนิยยานิกกถาแม้มากเห็นปานนี้บ้างว่า ต้องเป็นผู้ระวังอินทรีย์ ต้องบำเพ็ญขันธวัตรและเสขิยวัตร ฉะนี้แล.

อนึ่ง ในวันเข้าพรรษาหลัง และเมื่อประกาศเวลาสงฆ์ประชุมกันแล้ว ใครๆ นำผ้ายาว ๑๒ ศอกมาถวายเป็นผ้าจำนำพรรษา ถ้าว่าภิกษุอาคันตุกะ เป็นสังฆเถระ พึงถวายแก่ท่าน.

ถ้าเป็นนวกะ ภิกษุผู้ได้รับสมมติพึงเรียนพระสังเถระว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าท่านต้องการ ท่านจงสละส่วนที่ ๑ เสีย ถือเอาผ้านี้; ไม่พึงให้แก่ท่านผู้ ไม่ยอมสละ.

ก็ถ้าว่า ท่านยอมสละส่วนที่ให้ถือเอาก่อนแล้วถือเอาไซร้ พึงสับเปลี่ยน กัน จำเดิมแต่พระเถระที่ ๒ ไปโดยอุบายนี้แล แล้วให้แก่อาคันตุกะในที่ซึ่ง ถึงเข้า.

หากว่า ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาก่อนได้ๆ ผ้า ๒ ผืน หรือ ๓ ผืน หรือ ๔ ผืน หรือ ๕ ผืน. พึงให้เธอยอมสละผ้าที่ได้ไปแล้วๆ โดยอุบายนั้น แล้วจึงให้ภิกษุอาคันตุกะ จนกว่าจะเท่ากัน.

ก็แล เมื่อภิกษุอาคันตุกะนั้น ได้ส่วนเท่ากันแล้ว ส่วนย่อยที่ยังเหลือ พึงแถมให้ในเถรอาสน์.

สมควรจะทำกติกากัน ไว้ว่า เมื่อลาภเกิดขึ้นแล้ว จะเต็มใจ แจกกันตาม ลำดับ ที่มีอยู่.

ถ้าเป็นสมัยที่มีภิกษุฝืดเคือง ภิกษุทั้งหลายผู้เข้าพรรษาในวัสสูปนายิกาทั้ง ๒ ลำบากด้วยภิกษา จึงพูดกันว่า ผู้มีอายุ ก็พวกเราอยู่ในที่นี้ ย่อม

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 206

ลำบากด้วยกันทั้งหมด, ดีละ เราแบ่งกันเป็น ๒ ส่วน. ที่แห่งญาติและคน ปวารณา ของภิกษุเหล่าใดมีอยู่ ภิกษุเหล่านั้นจงอยู่ในที่แห่งญาติและคน ปวารณานั้นแล้ว จงมาปวารณาถือเอาผ้าจำนำพรรษาที่ถึงแก่ตน.

ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใด อยู่ในที่แห่งญาติและแก่ปวารณานั้น แล้วมาเพื่อปวารณา, พึงทำอปโลกนกรรมให้ผ้าจำนำพรรษาแก่ภิกษุเหล่านั้น.

จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้น แม้ยินดีอยู่ก็หาได้เป็นเจ้าของแห่งผ้าจำนำ พรรษาใน ฝ่ายพวกภิกษุ ผู้เจ้าถิ่นแม้บ่นอยู่ว่า จะไม่ให้ ย่อมไม่ได้เหมือนกัน.

แต่ในกุรุนทีแก้ว่า ภิกษุทั้งหลายจะพึงทำกติกาวัตรกันว่า หากว่า ยาคูและภัตรในที่นี้ จะไม่เพียงพอแก่พวกเราทั่วกันไซร้, ท่านทั้งหลายจงอยู่ ในที่แห่งภิกษุผู้ชอบพอกันแล้วจงมา, จักได้ผ้าจำนำพรรษาที่ถึงแก่พวกท่าน. ถ้าภิกษุรูปหนึ่ง ค้านกติกาวัตรนั้นไซร้เป็นอันคัดค้านชอบ. ถ้าไม่ค้าน กติกา เป็นอันทำชอบ; ภายหลังต้องอปโลกน์ให้แก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้อยู่ในที่แห่งญาติ และคนปวารณาแล้วมาแล้ว, ในเวลาอปโลกน์ไม่ยอมให้ค้าน.

ท่านกล่าวอีกว่า ก็ถ้าว่า เมื่อผ้าจำนำพรรษาไม่ถึงแก่ภิกษุบางพวก ในบรรดาภิกษุผู้จำพรรษา, ภิกษุทั้งหลายพึงทำกติกากันว่า สงฆ์ยินดีจะให้ผ้า จำนำพรรษาของภิกษุผู้ขาดพรรษา และผ้าจำนำพรรษาซึ่งเกิดขึ้นในบัดนี้ แก่ภิกษุเหล่านั้น เมื่อไค้ตั้งกติกาไว้อย่างนี้แล้ว ผ้าจำนำพรรษาย่อมเป็นเหมือน ได้ให้พวกเธอถือเอาแล้ว เหมือนกัน; ทั้งต้องให้ผ้าที่เกิดขึ้นแล้วๆ แก่พวกเธอ ด้วย.

ภิกษุผู้จัดตั้งน้ำฉันปัดกวาดทางไปวิหาร ลานเจคีย์ และลานโพธิ์ เป็นต้น รดน้ำที่ต้นโพธิ์ตลอดไตรมาสแล้วหลีกไปเสียก็ดี ลาสิกขาเสียก็ดี คงได้ผ้าจำนำพรรษาเหมือนกัน. เพราะผ้าจำนำพรรษานั้นอันภิกษุนั้น ได้แล้ว ดุจทำให้เป็นค่าจ้าง.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 207

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ส่วนผ้าจำนำพรรษาที่เป็นของสงฆ์ซึ่งทำ อุปโลกนกรรมแล้วแจกกัน แม้ภิกษุลาสิกขาภายในพรรษา ย่อมได้เหมือนกัน แต่ไม่ยอมให้ถือเอาด้วยอำนาจปัจจัย.

หากว่า ภิกษุผู้จำพรรษาเสร็จแล้ว เตรียมจะไปสู่ทิศ ไค้ถือเอากัปปิยภัณฑ์แต่บางสิ่งจากมือของภิกษุผู้อยู่ในอาวาสแล้วสั่งว่า ผ้าจำนำพรรษาของเรา มีในสกุลโน้น ท่านจงถือเอาผ้าจำนำพรรษานั้นที่ถึงแล้ว ดังนี้แล้ว ลาสิกขาบท เสียในที่ซึ่งตนไปแล้ว. ผ้าจำนำพรรษาย่อม เป็นของสงฆ์ แต่ถ้าภิกษุนั้น ให้ พาพวกชาวบ้านรับรองต่อหน้าแล้วจึงไป ภิกษุผู้อยู่อาวาสย่อมได้.

เมื่อทายกสั่งไว้ว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย ถวายผ้าจำนำพรรษานี้ แก่ภิกษุ ผู้จำพรรษาแล้ว ในเสนาสนะของพวกข้าพเจ้า, เสนาสนะนั้น อันเสนาสนะ คาหาปกะให้ภิกษุใดถือเอา, ย่อมเป็นของภิกษุนั้นแล.

ก็ถ้าว่า บุตรและธิดาเป็นต้นของเจ้าของเสนาสนะ นำผ้าเป็นอันมาก มากล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงให้ในเสนาสนะของพวกข้าพเจ้า ดังนี้ เพื่อต้อง การจะให้เป็นที่พอใจของเจ้าของเสนาสนะ สำหรับภิกษุผู้จำพรรษาในเสนาสนะ นั้น พึงให้ผืนเดียวเท่านั้น. ผ้าที่เหลือเป็นของสงฆ์, พึงให้ภิกษุทั้งหลายถือ ตามลำดับผ้าจำนำพรรษา. เมื่อลำดับไม่มี พึงให้ถือเอาตั้งแต่เถรอาสน์ลงมา.

แม้ในผ้าจำนำพรรษา ที่ทายกนำผ้าจำนวนมากมาด้วยจิตเลื่อมใสซึ่ง อาศัยภิกษุผู้จำพรรษาในเสนาสนะนั่นแลเกิดขึ้นแล้ว ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ เสนาสนะ ดังนี้ ก็มีนัยเหมือนกัน.

ก็ถ้าว่า ทายกวางไว้แทบเท้าแล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ภิกษุนั่น; ผ้าทั้งหมดย่อมเป็นของภิกษุนั้นเท่านั้น.

ในเรือนของทายกคนหนึ่ง มีผ้าจำนำพรรษา ๒ ผืน ส่วนที่ ๑ เป็น ของที่ให้สามเณรถือเอาแล้ว ส่วนที่ ๒ ต้องให้ในเถรอาสน์.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 208

ทายกนั้น ส่งผ้าสาฎก ๑๐ ศอกผืนหนึ่ง ๘ ศอกผืนหนึ่ง มาว่า ท่าน จงถวายผ้าจำนำพรรษาที่ถึงแล้ว แก่ภิกษุทั้งหลาย. พึงเลือกให้ส่วนดีแก่สามเณร แล้วให้ส่วนรองในเถรอาสน์.

แต่ถ้า เขานำไปเรือนทั้ง ๒ รูป ให้ฉัน แล้ว วางไว้แทบเท้าเองที เดียว ; ผืนใดเขาถวายแล้วแก่รูปใด ผืนนั้นแลย่อมเป็นของรูปนั้น ต่อแต่นี้ ไป เป็นนัยที่มาแล้วในมหาปัจจรี.

ผ้าจำนำพรรษาในเรือนแห่งทายกคนหนึ่ง ถึงแก่สามเณรหนุ่ม. ถ้า เขาถามว่า ผ้าจำนำพรรษาของข้าพเจ้าถึงแก่ใคร? อย่าบอกว่า ถึงแก่สามเณร พึงบอกว่า ท่านจักทราบในเวลาถวายแล้ว ในวันถวายพึงส่งพระมหาเถระรูป หนึ่งไปนำเอามา. (๑)

หากว่า ผ้าจำนำพรรษาถึงแก่ผู้ใด, ผู้นั้น ลาสิกขาเสีย หรือมรณภาพ เสียไซร้, และชาวบ้านเขาถามว่า ผ้าจำนำพรรษาของพวกข้าพเจ้าถึงแก่ใคร, พึงบอกแก่เขาตามเป็นจริง.

ถ้าว่า เขากล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ท่าน ; ผ้านั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุนั้น.

ถ้าเขาถวายแก่สงฆ์หรือแก่คณะ, ย่อมถึงแก่สงฆ์หรือแก่คณะ.

หากว่า ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษา เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลล้วนทั้งนั้น ; ผ้าจำนำพรรษาที่เขานำมาถวายแล้ว พึงทำให้เป็นเสนาสนบริขารเก็บไว้, หรือ พึงทำให้เป็นหมอนเป็นต้นเสีย ฉะนี้แล. นี้เป็นวัตรสำหรับผู้เจ้าถิ่น.

เสนาสนคาหวินิจฉัย จบ


(๑) ทำอย่างนี้ไม่เป็น อุชุปฎิปนฺโน กระมัง?

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 209

[ว่าด้วยการถือเสนาสนะระงับ]

วินิจฉัยในเรื่องพระอุปนันทะ. ในคำว่า ตตฺถ ตยา โมฆปุริส คหิตํ, อิธ มุกฺกํ, อิธ คหิตํ, ตตฺร มุกฺกํ นี้ พึงทราบดังนี้ :-

เสนาสนะใดในกรุงสาวัตถีนั้น อันเธอถือเอาแล้ว เสนาสนะนั้น ย่อม เป็นอันเธอผู้ถืออยู่นั่นแล สละเสียแล้วในคามกาวาสนี้.

อนึ่ง เมื่อเธอกล่าวอยู่ว่า ผู้มีอายุ บัดนี้เราสละเสนาสนะในคามกาวาสนี้ ดังนี้ เสนาสนะนั้น เป็นอันเธอสละแล้วแม้ในคามกาวาส นั้น ด้วย ประการอย่างนี้ เธอเป็นคนภายนอก ในอาวาสทั้ง ๒.

ส่วนวินิจฉัยในคำนี้ พึงทราบดังนี้ :-

การถือย่อมระงับเพราะการถือ. อาลัยย่อมระงับเพราะการถือ. การ ถือย่อมระงับเพราะอาลัย. อาลัยย่อมระงับเพราะอาลัย.

อย่างไร? ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ถือเสนาสนะในวัดหนึ่งแล้วไปสู่ วัดใกล้เคียง ถือเสนาสนะในวัดนั้นอีก ในวันเข้าพรรษา, การถือครั้งแรก ของภิกษุนั้น ย่อมระงับเพราะการถือ (ครั้งหลัง) นี้.

ภิกษุอีกรูปหนึ่งกระทำเพียงอาลัยว่า เราจักอยู่ในวัดนี้ แล้วไปสู่วัด ใกล้เคียง ถือเสนาสนะในวัคนั้นแล. อาลัยที่มีก่อนของภิกษุนั้น ย่อมระงับ เพราะการถือนี้.

รูปหนึ่งถือเสนาสนะหรือทำอาลัยว่า เราจักอยู่ในที่นี้ แล้วไปสู่วัดใกล้ เคียง ถือเสนาสนะในวัดนั้น หรือทำอาลัยว่า บัดนี้ เราจักอยู่ในที่นี้แล ; ด้วยประการอย่างนี้ การถือของเธอ ย่อมระงับ เพราะอาลัยบ้าง อาลัยของเธอ ย่อมระงับเพราะอาลัยบ้าง.

ภิกษุย่อมตั้งอยู่ในการถือหรือในอาลัยครั้งหลังๆ ในที่ทั้งปวง.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 210

อนึ่ง ภิกษุใด ถือเสนาสนะในวัดหนึ่งแล้ว ไปด้วยคิดว่า เราจักอยู่ ในวัดอื่น ; ในขณะที่ภิกษุนั้นก้าวล่วงอุปจารสีมาไป การถือเสนาสนะย่อมระงับ.

แต่หากว่า ภิกษุไปด้วยตั้งใจว่า ถ้าในวัดนั้นจักมีความสำราญ เราจัก อยู่, ถ้าไม่มี เราจักมา ดังนี้ ทราบว่าไม่มีความสำราญ จึงกลับมาในภาย หลัง เช่นนี้ สมควร.

[ว่าด้วยภิกษุผู้มีอาสนะเสมอกัน]

ภิกษุใดเป็นผู้ใหญ่กว่ากัน หรือเป็นเด็กกว่ากันเพียง ๒ พรรษา ภิกษุ นั้น ชื่อว่าผู้มีภายใน ๓ พรรษา ในคำว่า ติวสฺสนฺตเรน นี้.

ฝ่ายภิกษุใด เป็นผู้ใหญ่กว่ากัน หรือเป็นเด็กกว่าเพียงพรรษาเดียว ก็หรือว่า ภิกษุใดมีพรรษาเท่ากัน ไม่มีคำจะพึงกล่าวในภิกษุนั้นเลย. จริงอยู่ ภิกษุทั้งหมดนี้ ย่อมได้เพื่อนั่งเป็นคู่ๆ กันบนเตียงหรือบนตั่งอันเดียวกัน.

ที่นั่งใด พอแก่ ๓ คน, ที่นั่งนั้น จะเป็นของเคลื่อนที่ได้ หรือ เคลื่อนที่ไม่ได้ก็ตามที่ ; ย่อมได้เพื่อนั่งบนที่นั่งเห็นปานนั้น. ใช่แต่เท่านั้น บนแผ่นกระดาน จะนั่งร่วมแม้กับอนุปสัมบัน ก็ควร.

[ว่าด้วยคิหิวิกัติ]

บทว่า หตฺถินขกํ คือ ตั่งประดิษฐานอยู่บนกระพองเศียรแห่งช้าง ทั้งหลาย.

ได้ยินว่า คำว่า หัตถินขกะนี้ เป็นชื่อแห่งปราสาทที่ทำอย่างนั้น.

หลายบทว่า สพฺพํ ปาสาทํ ปริโภคํ มีความว่า บานหน้าต่าง เตียงตั่ง พัดใบตาล วิจิตรด้วยทองและเงินเป็นต้น ก็ดี หม้อน้ำ ขันน้ำทำด้วย ทองและเงินก็ดี หรือว่าเครื่องใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งจำหลักลวดลายงดงามก็ดี ควรทุกอย่าง.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 211

ชนทั้งหลายกล่าวว่า ข้าพเจ้าให้ทาส ทาสี นา สวน โค กระบือ แก่ปราสาท. ไม่มีกิจจะรับแผนกหนึ่ง เมื่อรับปราสาท ก็เป็นอันรับไว้ด้วยแท้. จะใช้สอยผ้าปูลาดโกเชาว์เป็นต้น บนเตียงและตั่ง ในกุฎีเป็นของส่วนตัวบุคคล ไม่ควร.

แต่ที่เขาปูลาดไว้บนธรรมาสน์ ย่อมได้เพื่อใช้สอยโดยทำนองคิหิวิกัติ. แม้บนธรรมาสน์นั้น ไม่ควรนอน.

[ว่าด้วยครุกัณฑ์]

บทว่า ปฺจิมานิ มีความว่า ครุภัณฑ์ทั้งหลาย ว่าด้วยอำนาจ หมวดมี ๕ หมวด. ก็ครุภัณฑ์เหล่านี้ ว่าด้วยอำนาจรวม ย่อมมีมากหลาย

บรรดาครุภัณฑ์เหล่านั้น สวนดอกไม้หรือสวนผลไม้ ชื่ออาราม. โอกาสที่เขากำหนดทั้งไว้ เพื่อประโยชน์แก่อารามเหล่านั้นเอง หรือเมื่ออาราม เหล่านั้นร้างไปแล้ว ภูมิภาคเก่แห่งอารามนั้น ชื่ออารามวัตถุ.

เสนาสนะมีปราสาทเป็นต้น ชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อวิหาร.

โอกาสเป็นที่ประดิษฐานเสนาสนะ มีปราสาทเป็นต้นนั้น ชื่อวิหาร วัตถุ.

บรรดาเตียง ๔ ชนิดที่กล่าวแล้วในหนหลังเหล่านี้ คือ เตียงมีแม่แคร่ สอดเข้าในขา, เตียงมีปลายเท้าร้อยด้วยไม่สลัก, เตียงมีขางอดังก้ามปู, เตียงมี ขาจดแม่แคร่, ชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่าเตียง.

บรรดาตั่ง ๔ ชนิด มีตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในขาเป็นต้น ชนิดใดชนิด หนึ่ง ชื่อว่าตั่ง.

บรรดาฟูก ๕ ชนิด มีฟูกที่ยัดด้วยขนสัตว์เป็นต้น ชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่าฟูก.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 212

บรรดาหมอนมีประการดังกล่าวแล้ว ชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่าหมอน.

หม้อที่ทำด้วยโลหะ ชนิดใดชนิดหนึ่ง เป็นเหล็กก็ตาม เป็นทองแดง ก็ตาม ชื่อว่าหม้อโลหะ. แม้ในอ่างโลหะเป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกัน. ก็ในอ่าง โลหะเป็นต้นนี้ ไหเรียกว่าอ่าง, หม้อน้ำเรียกว่าขวด. กระทะนั้นเองเรียกว่า กระทะ. ในเครื่องมือมีพร้าโต้เป็นต้น และในเครื่องใช้มีเถาวัลย์เป็นต้น ขึ้น ชื่อว่าสิ่งที่รู้จักยาก ย่อมไม่มี.

พระโลกนาถผู้มีจักษุปราศจากมลทิน ๕ ดวง ทรงประกาศครุภัณฑ์ ๒๕ อย่าง โดยหมวด ๕ อย่างนี้ คือ ๒ หมวดสงเคราะห์ครุภัณฑ์ หมวดละ ๒ สิ่ง, หมวดที่ ๓ นับครุภัณฑ์ได้ ๔ สิ่ง หมวดที่ ๔ มี ๙ สิ่ง, หมวดที่ ๕ จำแนกเป็น ๘ สิ่ง ด้วยประการฉะนี้.

วินิจฉัยกถาในครุภัณฑ์นั้น พึงทราบดังต่อไปนี้ :-

ก็ครุภัณฑ์แม้ทั้งปวงนี้ แม้ในเสนาสนักขันธกะนี้ ท่านกล่าวว่า ไม่ ควรแจก. ส่วนในคัมภีร์ปริวารมาแล้วว่า:

ครุภัณฑ์ ๕ หมวด พระพุทธเจ้าผู้แสวงคุณใหญ่ตรัสว่า ไม่ควรสละ ไม่ควรแจก. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้สละ ผู้ใช้สอย ; ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.

เพราะเหตุนั้น พึงทราบอธิบายินในคำนี้ อย่างนี้ว่า ครุภัณฑ์นี้ ที่ว่า ไม่ควรสละ ไม่ควรแจก ด้วยอำนาจขาดตัวนั้น แต่เมื่อภิกษุผู้สละและใช้สอย ด้วยอำนาจการแลกเปลี่ยน ไม่เป็นอาบัติ.

อนุปุพพีกถาในครุภัณฑ์นั้น ดังนี้: -

ไม่ควรน้อมครุภัณฑ์แม้ทั้ง ๕ ชนิดนี้เข้าไป เพื่อประโยชน์แก่จีวร บิณฑบาตและเภสัชก่อน. แต่จะเอาถาวรวัตถุแลกกับถาวรวัตถุและเอาครุภัณฑ์ แลกกับครุภัณฑ์ ควรอยู่.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 213

ส่วนในถาวรวัตถุ, ถาวรวัตถุเห็นปานนี้ คือ นา ที่นา บึงเหมือง ภิกษุจะจัดการหรือจะรับหรือจะอนุมัติแทนสงฆ์ ไม่ควร.

ถาวรวัตถุนั้น อันกัปปิยการกนั่นแลจัดการ, กัปปิยภัณฑ์ได้มาจาก ถาวรวัตถุเห็นปานนั้น ควรอยู่.

อนึ่ง จะเอาอารามแลกถาวรวัตถุทั้ง ๔ อย่างนี้ คือ อาราม อารามวัตถุ วิหาร วิหารวัตถุ ควรอยู่.

[ปริวัตนนัย]

ปริวัตนนัยในครุภัณฑ์ ๔ อย่างมีอารามเป็นต้น นั้น ดังนี้:-.

สวนมะพร้าวของสงฆ์อยู่ไกล, ทั้งพวกกัปปิยการกกินเสียมากกว่ามาก, แม้ที่ไม่ได้กินก็ต้องชักออกให้ค่าจ้างเกวียนเสีย นำมาถวายน้อย เต็มที.

ส่วนคนเหล่าอื่นที่อยู่ในบ้านซึ่งไม่ไกลสวนนั้น มีสวนอยู่ใกล้วัด. เขา เข้าไปหาสงฆ์ขอเอาสวนของตนแลกเอาสวนนั้น สงฆ์พึงอปโลกน์ว่า สงฆ์เห็น ชอบ แล้วรับเถิด.

ถึงแม้ว่า สวนของพวกภิกษุมีต้นไม้ตั้งพันต้น, สวนของชาวบ้าน มีต้นไม้ห้าร้อย ; (ถ้ามีผลมากกว่า) ก็ไม่ควรเกี่ยงว่า สวนของท่านเล็ก. เพราะ สวนนี้เล็กก็จริง, แต่ที่แท้ สวนนี้ย่อมให้ผลมากกว่าสวนนอกจากนี้.

ถึงแม้ว่า สวนนี้จะให้ผลเท่าๆ กัน, แม้อย่างนั้นจะยอมรับด้วยมุ่ง หมายว่า สามารถบริโภคได้ทุกขณะที่ต้องการ ก็ควร.

แต่ถ้า สวนของพวกชาวบ้านมีต้นไม้มากกว่า, พึงกล่าวว่า ต้นไม้ ของพวกท่านมีมากกว่ามิใช่หรือ? ถ้าเขาตอบว่า ส่วนที่เกินเลยไป จงเป็น บุญของพวกข้าพเจ้าๆ ถวายสงฆ์. สมควรให้ภิกษุสงฆ์ทราบแล้วจึงรับไว้.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 214

ต้นไม้ของพวกภิกษุมีผล. ต้นไม้ของพวกชาวบ้านยังไม่ทันเผล็ดผล, พึงยอมรับแท้ ด้วยเล็งเห็นว่า ต้นไม้ของพวกชาวบ้าน ยังไม่เผล็ดผลก็จริง แต่ไม่นานก็จักเผล็ดผล.

ต้นไม้ของพวกชาวบ้านมีผล, ต้นไม้ของพวกภิกษุยังไม่ทันเผล็ดผล พึงกล่าวว่า ต้นไม้ของพวกท่านมีผลมิใช่หรือ? ถ้าเขาถวายว่า รับเถิด ท่าน ผู้เจริญ จักเป็นบุญแก่พวกข้าพเจ้า. สมควรให้ภิกษุสงฆ์ทราบแล้วรับไว้. อารามกับอารามพึงแลกกันด้วยประการฉะนี้. อารามวัตถุก็ดี วิหารก็ดี วิหาร วัตถุก็ดี กับอารามพึงแลกกัน โดยนัยนี้ แล.

อนึ่ง อาราม อารามวัตถุ วิหาร และวิหารวัตถุ ก็พึงแลกกับอาราม วัตถุ ที่ใหญ่ก็ตาม เล็กก็ตาม โดยนัยนี้ เหมือนกันฉะนี้แล.

วิหารกับวิหารจะแลกกันอย่างไร เรือนของสงฆ์อยู่ภายในบ้าน ปราสาทของชาวบ้านอยู่กลางวัด ทั้ง ๒ อย่างว่าโดยราคาเป็นของเท่ากัน. หาก ว่า ชาวบ้านขอเอาปราสาทนั้นแลกเรือนนั้นสมควรรับ

เรือนของพวกภิกษุมีราคามากกว่า. และเมื่อภิกษุกล่าวว่า เรือนของ พวกเรามีราคามากกว่า, เขาตอบว่า เรือนของพวกท่านมีราคา มากกว่าก็จริง แต่ไม่สมควรแก่บรรพชิต บรรพชิตไม่สามารถอยู่ในเรือนนั้นได้; ส่วนเรือน นี้สมควร ขอท่านทั้งหลายจงรับเถิด; แม้อย่างนี้ ก็ควรรับ.

ถ้าเรือนของชาวบ้าน, มีราคามาก ภิกษุพึงกล่าวว่า เรือนของพวก ท่าน มีราคามากมิใช่หรือ แต่เมื่อเขาตอบว่า ช่างเถิดท่านผู้เจริญ, จักเป็น บุญแก่พวกข้าพเจ้า, โปรดรับเถิด ดังนี้สมควรรับ.

วิหารกับวิหาร พึงแลกกันอย่างนี้. วิหารวัตถุก็ดี อารามก็ดี อาราม วัตถุก็ดี พึงแลกกับวิหาร โดยนัยนี้แล.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 215

อนึ่ง วิหาร วิหารวัตถุ อารามและอารามวัตถุ ก็พึงแลกกับวิหารวัตถุ ที่มีราคามากก็ตาม มีราคาน้อยก็ตาม โดยนัยนี้เหมือนกันฉะนี้แล พึง ทราบการแลกถาวรวัตถุกับถาวรวัตถุอย่างนี้ก่อน.

ส่วนวินิจฉัยในการแลกครุภัณฑ์กับครุภัณฑ์ พึงทราบดังต่อไปนี้:-

เตียงตั่งจะใหญ่หรือเล็กก็ตาม โดยที่สุดมีเท้าเพียง ๔ นิ้ว แม้ที่พวกเด็ก ชาวบ้านซึ่งยังเล่นในโรงฝุ่นทำ ย่อมเป็นครุภัณฑ์ จำเดิม แต่เวลาที่ถวาย สงฆ์แล้ว.

แม้ถ้าพระราชาและราชมหาอมาตย์เป็นต้น ถวายเพียงคราวเดียวเท่า นั้น ทั้งร้อยเตียงหรือพันเตียง, เตียงที่เป็นกัปปิยะะทั้งหมดพึงรับไว้. ครั้นรับ แล้วพึงแจกตามลำดับผู้แก่ ว่า ท่านจงใช้สอยโดยเป็นเครื่องใช้ของสงฆ์. อย่า ให้เป็นส่วนตัวบุคคล. แม้จะตั้งเตียงที่เกินไว้ในเรือนคลังเป็นต้นแล้ว เก็บบาตร จีวร ก็ควร.

เตียงที่เขาถวายนอกสีมา ว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ดังนี้ พึงให้ไว้ใน สถานที่อยู่ของพระสังฆเถระ. ถ้าในสถานที่อยู่ของพระสังฆเถระนั้น มีเตียงมาก, ไม่มีการที่ต้องใช้เตียง ; ในสถานที่อยู่ของภิกษุใด มีการที่ต้องใช้เตียง, พึง ให้ไว้ในสถานที่อยู่ของภิกษุนั้นสั่งว่า ท่านจงใช้สอยเป็นเครื่องใช้สอยของสงฆ์.

เตียงมีราคามาก คือ ตีราคาตั้งร้อยหรือพันกหาปณะ จะแลกเตียงอื่น ย่อมได้ตั้งร้อยเตียง ควรแลกเอาไว้. มิใช่แต่เตียงเดียวเท่านั้น แม้อาราม อารามวัตถุ วิหาร วิหารวัตถุ ตั่ง ฟูกและหมอน ก็ควรแลก. แม้ในตั่งฟูกและ หมอนก็นัยนี้. แม้ในเตียงตั่งฟูกหมอนเหล่านี้ สิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

ในกัปปิยะและอกับบปิยะนั้น ที่เป็นอกัปปิยะไม่ควรใช้สอย. ที่เป็น กัปปิยะ พึงใช้สอยเป็นเครื่องใช้ของสงฆ์. ที่เป็นอกัปปิยะหรือที่เป็นกัปปิยะมี

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 216

ค่ามาก พึงแลกเอาวัตถุที่กล่าวแล้วไว้. ขึ้นชื่อว่าฟูกและหมอน ที่ไม่จัด เป็น ครุภัณฑ์ ย่อมไม่มี.

ครุภัณฑ์ ๓ อย่างนี้ คือ หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระทะโลหะจะใหญ่ หรือเล็กก็ตาม โดยที่สุดแม้จุน้ำเพียงฟายมือหนึ่ง ย่อมเป็นครุภัณฑ์เหมือนกัน.

ส่วนขวดโลหะที่ทำด้วยเหล็ก ทองแดง สำริด ทองเหลืองอย่างใด อย่างหนึ่ง จุน้ำได้บาทหนึ่ง ในเกาะสิงหล แจกกันได้.

ที่ชื่อว่าบาทหนึ่ง จุน้ำประมาณ ๕ ทะนานมคธ. ที่จุน้ำเกินกว่านั้น เป็นครุภัณฑ์, ภาชนะโลหะที่มาในบาลีเท่านี้ก่อน.

ส่วนน้ำเต้าทอง กระโถน กระบวย ทัพพี ช้อน ถาด จาน ชาม ผอบ อั้งโล่ และทัพพีตักควันเป็นต้น แม้มิได้มาในบาลี จะเล็กหรือใหญ่ก็ ตาม เป็นครุภัณฑ์หมดทุกอย่าง. แต่ภัณฑะเหล่านี้ คือ บาตรเล็ก ภาชนะ ทองแดง เป็นของควรแจกกันได้ ภาชนะกาววาวที่ทำด้วยสำริดหรือทองเหลือง ควรใช้สอยเป็นเครื่องใช้ของสงฆ์. หรือเป็นคิหิวิกัติ ไม่ควรใช้สอย เป็นเครื่อง ใช้ส่วนตัวบุคคล.

ในมหาปัจจรีแก้ว่า ภาชนะสำริดเป็นต้น ที่เขาถวายสงฆ์จะรักษาไว้ ใช้เองไม่ควร, พึงใช้สอยโดยทำนองคิหิวิกัติเท่านั้น ส่วนในสิ่งขอโลหะที่เป็น กัปปิยะแม้อื่น ยกเว้น ภาชนะกาววาวเสีย กล่องยาทา ไม้ป้ายยาตา ไม้ควักหู เข็ม เหล็กจาร มีดน้อย เหล็ก หมาด กุญแจ ลูกดาล ห่วงไม้เท้า กล้อง ยานัตถุ์ สว่าน รางโลหะ แผ่นโลหะ แท่งโลหะ สิ่งของโลหะที่ทำค้างไว้ แม้อย่างอื่น เป็นของควรแจกกันได้.

ส่วนกล้อง ยาสูบ ภาชนะโลหะ โคมมีด้าม โคมตั้ง โคมแขวน รูปสตรี รูปบุรุษ และรูปสัตว์เดียรัจฉานหรือสิ่งของโลหะเหล่าอื่น พึงติดไว้ตามฝาหรือ

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 217

หลังคาหรือบานประตูเป็นต้น, สิ่งของโลหะทั้งปวง โดยที่สุดจนกระทั่งตะปู ย่อมเป็นครุภัณฑ์เหมือนกัน แม้ตนเองได้มาก็ไม่ควรเก็บไว้ใช้อย่างเครื่องใช้ ส่วนตัวบุคคล. ควรใช้อย่างเครื่องใช้ของสงฆ์ หรือใช้เป็นคิหิวิกัติ.

แม้ในสิ่งของดีบุก ก็มีนัยเหมือนกัน. จานและขันเป็นต้นที่ทำด้วยหิน อ่อน เป็นครุภัณฑ์เหมือนกัน, ส่วนหม้อหรือภาชนะน้ำมันที่ใหญ่ เกินกว่าจุน้ำ มันบาทหนึ่งขึ้นไปเท่านั้น เป็นครุภัณฑ์.

ภาชนะทองคำ เงิน นาก และแก้ว ผลึก และเป็นคิหิวิกัติ ก็ไม่ควร, ไม่จำต้องกล่าวถึงใช้อย่างเครื่องใช้ของสงฆ์ หรืออย่างเครื่องใช้ส่วนตัวบุคคล. แต่ด้วยเครื่องใช้สำหรับเสนาสนะ สิ่งของทุกอย่างทั้งที่ควรจับต้อง ทั้งที่ไม่ ควรจับต้อง จะใช้สอยก็ควร.

ในมีดเป็นต้น มีดที่ไม่อาจใช้ทำการใหญ่อย่างอื่นได้ ยกการตัดไม้ สีฟัน หรือการปอกอ้อยเสีย เป็นของควรแจกกันได้. มีดที่ทำด้วยอาการอย่าง ใดอย่างหนึ่ง ซึ่งใหญ่กว่านั้น เป็นครุภัณฑ์.

ส่วนขวาน โดยที่สุดแม้เป็นขวานสำหรับตัดเอ็นของพวกแพทย์ย่อม เป็นครุภัณฑ์เหมือนกัน.

ในผึ่งมีวินิจฉัยเช่นขวานนั่นเอง. ส่วนผึ่งที่ทำโดยสังเขปว่า เป็นอาวุธ เป็นอนามาส.

จอบโดยที่สุด แม้ขนาด ๔ นิ้ว ย่อมเป็นครุภัณฑ์แท้.

สิ่ว มีปากเป็นเหลี่ยมก็ดี มีปากเป็นรางก็ดี โดยที่สุดแม้เหล็กเจาะ ด้ามไม้กวาด เป็นของเข้าด้ามไว้ เป็นครุภัณฑ์แท้. แต่เหล็กเจาะด้ามไม้กวาด ไม่มีด้าม มีแต่ตัวเท่านั้น เป็นของอาจใส่ฝักรักษาไว้ได้ เป็นของควรแจก. ึุแม้เหล็กแหลมก็สงเคราะห์ด้วยสิ่งนั้นเอง.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 218

มีดเป็นต้น เป็นของที่ชนเหล่าใดถวายไว้ในวิหาร, ถ้าชนเหล่านั้น เมื่อถูกไฟไหม้เรือน หรือถูกโจรปล้น จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญจงให้เครื่องมือ แก่พวกข้าพเจ้าเถิด, แล้วจักคืนให้อีก, ควรให้. ถ้าเขานำมาส่ง, อย่าพึงห้าม, แม้เขา. ไม่นำมาส่งก็ไม่พึงทวง.

เครื่องมือทำด้วยโลหะทุกอย่าง มีทั่ง ค้อน คีม และคันชั่งเป็น ต้น ของช่างไม้ ช่างกลึง ช่างสาน ช่างแก้ว และช่างบุบาตร เป็นครุภัณฑ์ จำเดิมแต่กาลที่ถวายสงฆ์แล้ว. แม้ในเครื่องมือของช่างดีบุก ช่างหนัง ก็มีนัย เหมือนกัน.

ส่วนความที่แปลกกันดังนี้:-

เครื่องมือเหล่านั้น คือ ในพวกเครื่องมือของช่างดีบุกเล่า มีดตัดดีบุก ในพวกเครื่องมือของช่างทอง มีดตัดทอง ในพวกเครื่องมือของช่างหนึ่ง มีด เล็กสำหรับตัดหนังที่ฟอกแล้ว เป็นสิ่งที่ควรแจก.

แม้ในเครื่องมือของกัลบกและช่างชุน เว้นกรรไกรใหญ่ แหนบใหญ่ และมีดใหญ่เสีย ควรแจกทุกอย่าง. กรรไกรใหญ่เป็นต้น เป็นครุภัณฑ์.

วินิจฉัยในเถาวัลย์เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-

เถาวัลย์ชนิดหนึ่ง มีหวายเป็นต้น ประมาณเพียงครึ่งแขน ที่เขา ถวายสงฆ์ก็ตาม ที่เกิดขึ้นในธรณีสงฆ์นั้นก็ตาม ซึ่งสงฆ์รักษาปกครองไว้ เป็น ครุภัณฑ์.

เถาวัลย์นั้น เมื่อการงานของสงฆ์และการงานที่เจดีย์ทำเสร็จแล้ว ถ้า เป็นของเหลือ, จะน้อมเข้าไปในการงานส่วนตัวบุคคลบ้าง ก็ควร. แต่เถาวัลย์ ที่สงฆ์ไม่รักษาไม่เป็นครุภัณฑ์เลย.

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 219

เชือกหรือพวนที่ทำเสร็จด้วยด้าย ปอ ป่าน เสี้ยนมะพร้าวและหนัง ก็ดี เชือกเกลียวเดียวหรือ ๒ เกลียว ที่เขาฟั่นป่านหรือเสี้ยนมะพร้าวทำก็ดี ย่อมเป็นครุภัณฑ์ จำเดิมแต่เวลาที่เขาถวายสงฆ์แล้ว.

ส่วนด้ายที่เขามิได้ฟั่นถวาย และปอป่านแลเสี้ยนมะพร้าวแจกกันได้.

อนึ่ง เชือกและพวนเป็นต้นเหล่านั้น เป็นของที่ชนเหล่าใดถวาย, ชนเหล่านั้นจะยืมไปด้วยกรณียกิจของตน ไม่ควรหวงห้าม.

ไม้ไผ่ชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยที่สุดแม้ขนาดเท่าเข็มไม้ (๑) ยาว ๘ นิ้ว ที่เขาถวายสงฆ์ หรือที่เกิดในธรณีสงฆ์นั้น ซึ่งสงฆ์รักษาปกครองไว้ เป็น ครุภัณฑ์.

เมื่อการงานของสงฆ์และการงานที่เจดีย์ทำเสร็จแล้ว แม้ไม้ไผ่นั้นยัง เหลือ จะใช้ในการงานเป็นส่วนตัวบุคคล ก็ควร.

ก็ในภัณฑะ คือ ไม้ไผ่นี้ ของเช่นนี้ คือ กระบอกน้ำมัน จุน้ำมันบาท หนึ่ง ไม้เท้า คานรองเท้า คันร่ม ซีร่ม เป็นของแจกกันได้.

พวกชาวบ้านผู้ถูกไฟไหม้เรือนฉวยเอาไป ไม่ควรห้าม. เมื่อภิกษุจะ ถือเอาไม้ไผ่ที่สงฆ์รักษาปกครอง ต้องทำถาวรวัตถุที่เท่ากัน หรือเกินกว่า โดยที่สุดทำผาติกรรม แม้ด้วยทรายซึ่งมีราคาเท่าไม้ไผ่นั้น แล้วจึงถือเอา. เมื่อจะไม่ทำผาติกรรมถือเอา ต้องใช้สอยในวัดนั้น เท่านั้น. ในเวลาที่จะไป ต้องเก็บไว้ในที่อยู่ของสงฆ์ก่อน จึงค่อยไป. ภิกษุผู้ถือเอาไปด้วยความหลงลืม ต้องส่งคืน. ไปสู่ประเทศอื่นแล้ว พึงเก็บไว้ในที่อยู่ของสงฆ์ในวัดที่ไปถึงเข้า.

หญ้านั้น คือ หญ้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่นอกจากหญ้ามุงกระต่ายและ หญ้าปล้อง. ก็ในที่ใด ไม่มีหญ้า ในที่นั้น เขามุงด้วยใบไม้ เพราะฉะนั้น แม้ใบไม้ก็สงเคราะห์ด้วยหญ้าเหมือนกัน.


(๑) สุจิทณฑก เข็มไม้ (สำหรับเย็บของใหญ่ เช่นใบเรือ) ไม้กลัด (?).

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 220

ในหญ้ามุงกระต่ายเป็นต้น หญ้าชนิดใดชนิดหนึ่ง แม้มีประมาณกำมือ หนึ่ง แม้ในใบไม้มีใบตาลเป็น แม้ใบเดียว ที่เขาถวายสงฆ์หรือที่เกิดใน ธรณีสงฆ์นั้น หรือเป็นหญ้าที่เกิดแต่สวนหญ้าของสงฆ์ภายนอกอาราม ซึ่งสงฆ์ รักษาปกครอง เป็นครุภัณฑ์.

เมื่อการงานของสงฆ์ หรือการงานที่เจดีย์ทำเสร็จแล้ว หญ้าแม้นั้นยัง เหลือ จะใช้ในการงานเป็นส่วนตัวบุคคล ก็ควร. พวกชาวบ้านผู้ถูกไฟไหม้ เรือนฉวยเอาไป ไม่ควรห้าม.

ในลานเปล่า แม้ขนาดเพียง ๘ นิ้ว ก็เป็นครุภัณฑ์เหมือนกัน,

ดินเหนียว จะเป็นดินธรรมดาหรือดิน ๕ สี หรือปูนขาวก็ตามที หรือบรรดายางสนและชันเป็นต้น ยางชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เขานำมาถวายในที่ ซึ่งหาได้ยากก็ดี ที่เกิดในธรณีสงฆ์นั้น ก็ดี ขนาดเท่าผลตาลสุก ซึ่งสงฆ์รักษา ปกครองไว้ เป็นครุภัณฑ์.

เมื่อการงานของสงฆ์ หรือการงานของเจดีย์ท่าเสร็จแล้ว ยางแม้นั้นที่ เหลือ จะใช้ในการงานเป็นส่วนตัวบุคคล ก็ควร.

ส่วนหิงคุ รง หรดาล มโนศิลา และแร่พลวง เป็นของควรแจกกัน.

วินิจฉัยในสิ่งของคือไม้ พึงทราบดังนี้:-

ในกุรุนทีแก้ว่า ภัณฑะไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง แม้ขนาดเท่าเข็มไม้ยาว ๘ นิ้ว เขาถวายสงฆ์ในที่ซึ่งหาได้ยาก หรือเกิดในธรณีสงฆ์นั้น ซึ่งสงฆ์รักษา คุ้มครอง นี้เป็นครุภัณฑ์.

ส่วนในมหาอรรถกถา สงเคราะห์ของแปลกที่ทำด้วยวัตถุเป็นต้น ว่า ไม้จริง ไม้ไผ่ หนัง และศิลา แม้ทุกอย่างด้วยภัณฑะไม้ แล้วกล่าววินิจฉัย แห่งภัณฑะไม้ จำเดิมแต่บาลีนี้ว่า เตน โข ปน สมเยน สงฺฆสฺส อาสนฺทิโก อุปฺปนฺโน โหติ.

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 221

ในมหาอรรถกถานั้น ไขความดังนี้ :-

ในของเหล่านั้นก่อน คือ ตั่ง ๔ เหลี่ยมจตุรัส ตั่งมีพนัก ๓ ด้าน ตั่งหวาย ตั่งสามัญ ตั่งขาทราย ตั่งก้านมะขามป้อม ตั่งมีพนักด้านเดียว ตั้งกระดาน เก้าอี้ คงยัดฟาง ชนิดใดชนิดหนึ่ง เล็กหรือใหญ่ก็ตาม ที่เขาถวายสงฆ์แล้ว เป็นครุภัณฑ์.

อนึ่ง แม้ตั่งที่ยัดด้วยใบตองเป็นต้น สงเคราะห์ในตั่งเหล่านั้นด้วยตั่ง ยัดฟาง.

เก้าอี้ที่หุ้มด้วยหนังเสือโคร่งก็ดี บุด้วยรูปสัตว์ร้ายก็ดี ขลิบด้วยรัตนะ ก็ดี เป็นครุภัณฑ์เหมือนกัน.

ในของเหล่านั้น คือ กระดานจงกรม กระดานยาว กระดานซักจีวร กระดานรองทุบ ตลุมพุกสำหรับทุบ เขียงรองตัดไม้สีฟัน ไม้ค้อน ถังไม้ รางย้อม กระโถน สมุกไม้จริง หรือสมุกงา หรือสมุกไม้ไผ่ มีเท้าก็ตาม ไม่มีเท้าก็ตาม หีบ ขวดมีขนาดไม่เกินจุน้ำ บาทหนึ่ง รางน้ำ ไหน้ำ กระบวย ทัพพี ขันน้ำ สังข์ตักน้ำ ชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ถวายสงฆ์แล้ว เป็น ครุภัณฑ์, ส่วนภานะที่ทำด้วยสังข์แจกกันได้. หม้อน้ำที่ทำด้วยไม้ ก็เหมือน กัน.

เสวียนเช็ดเท้า จะทำด้วยไม้หรือทำด้วยใบตาลเป็นต้น ก็ตามที เป็น ครุภัณฑ์ทั้งหมด.

ในของเหล่านี้ คือ เชิงบาตร ฝาบาตร พัดใบตาล พัดวีชนี ผอบ กระเช้า ไม้กวาดด้ามยาว ไม้กวาดด้ามสั้น อย่างใดอย่างหนึ่ง จะเล็กหรือใหญ่ ก็ตาม ทำด้วยของอย่างใดอย่างหนึ่ง มีไม้จริง ไม้ไผ่ ใบไม้และหนังเป็นต้น เป็นครุภัณฑ์เหมือนกัน.. ่

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 222

บรรดาเครื่องเรือนมีเสา ชื่อ บันได และกระดานเป็นต้น เครื่องเรือน อย่างใด อย่างหนึ่ง ซึ่งทำด้วยไม้ก็ตาม ทำด้วยศิลาก็ตาม เสื่อลำแพนชนิดใด ชนิดหนึ่ง ที่เขาถวายสงฆ์แล้ว เป็นครุภัณฑ์สมควรทำให้เป็นเครื่องลาดฟัน.

ส่วนหนังแพะ ซึ่งแม้มีคติอย่างเครื่องปูลาด ก็เป็นครุภัณฑ์เหมือนกัน. หนังที่เป็นกัปปิยะ เป็นของควรแจกกันได้.

แต่ในกุรุนที่แก้ว่า หนังทุกชนิดมีขนาดเท่าเตียง เป็นครุภัณฑ์. ครก สาก กระดัง หินบด ลูกหินบด รางศิลา อ่างศิลา ภัณฑะของช่างหูกเป็น อาทิทุกอย่าง มีกระสวย ฟืม และกระทอเป็นต้น เครื่องทำนาทุกอย่าง ล้อเลื่อนทุกอย่าง เป็นครุภัณฑ์ทั่งนั้น.

เท้าเตียง แม่แคร่เตียง เท้าตั่ง แม่แคร่ตั่ง ด้ามมีดและสว่านเป็นต้น ในของเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งถากข้างไว้ยังไม่ทันเสร็จ แจกกันได้ แต่ ที่ถากเกลี้ยงเกลาแล้ว เป็นครุภัณฑ์.

อนึ่ง ของเช่นนี้ คือ ด้ามมีดที่ทรงอนุญาต ด้ามและปีกกลด ไม้เท้า รองเท้า ไม้สีไฟ กระบอกกรอง กระติกน้ำทรงมะขามป้อม หม้อน้ำทรง มะขามป้อม กระติกน้ำลูกน้ำเต้า หม้อน้ำหนัง หม้อน้ำทรงน้ำเต้า กระติกน้ำ ทำด้วยเขา จุน้ำไม่เกินบาทหนึ่ง แจกกันได้ทุกอย่าง เขื่องกว่านั้นเป็นครุภัณฑ์.

งาช้างหรือเขาชนิดใดชนิดหนึ่ง ยังมิได้เกลา คงอยู่อย่างเดิม แจก กันได้.

ในเท้าเตียงเป็นต้น ที่ทำด้วยงาช้างและเขาเหล่านั้น มีวินิจฉัยเช่นกับ ที่มีมาแล้วในหนหลังนั่นเอง.

ของเช่นนี้ คือ กลักใส่หิงคุ กลักใส่ยาตา แม้ถากเกลาเสร็จแล้ว ลูกดุม รังดุม แท่นยาตา ด้ามยาตา กราดกวาดน้ำ ทุกอย่างแจกกันได้ทั้งนั้น.

วินิจฉัยในของที่ทำด้วยดิน พึงทราบดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 223

เครื่องอุปโภค และบริโภคของมนุษย์ทั้งปวง คือภาชนะดิน มีหม้อ ฝาละมีเป็นต้น กระถางสำหรับระบมบาตร เชิงกราน ปล่องควัน โคมมีด้าม โคมตั้ง อิฐสำหรับก่อ กระเบื้องสำหรับมุง กระเบื้องหลบ เป็นครุภัณฑ์ จำเดิมแต่เวลาที่ถวายสงฆ์แล้ว.

ก็ในของที่ทำด้วยดิน ของเช่นนี้ คือ หม้อ บาตร ภาชนะ คนโทปากกว้าง คนโทสามัญ ขนาดเขื่องไม่เกินกว่าจุน้ำบาทหนึ่ง เป็นของที่แจก กันได้. อนึ่ง แม้ในของโลหะ พึงทราบวินิจฉัยเหมือนในของดิน. คนโทน้ำ บวกเข้ากับส่วนที่แจกกันได้เหมือนกัน. อนุปุพพีกถาในครุภัณฑ์นี้ เท่านี้.

[ว่าด้วยนวกรรม]

บทว่า ภณฺฑิกาธานมตฺเตน มีความว่า ภิกษุชาวเมืองอาฬวีย่อม ให้นวกรรม (คือสร้างใหม่) ด้วยเพียงประกอบสิ่งที่ปิดที่อาศัยอยู่แห่งนกพิราบ ซึ่งทำเหนือบานประตู.

บทว่า ปริภณฺฑถรณมตฺเตน คือ ด้วยเพียงทำการฉาบทาด้วย โคมัยและชโลมด้วยน้ำฝาด.

บทว่า ธูมกาลิกํ มีความว่า ภิกษุชาวเมืองอาฬวี ย่อมอปโลกน์ ให้ที่อยู่ที่สร้างทำแล้วนี้ ในเวลาแห่งควันอย่างนี้ว่า ควันแห่งจิตรกรรม ของที่อยู่นั้น ยังไม่ปรากฏเพียงใด, ที่อยู่นี้จงเป็นของภิกษุนั้นเพียงนั้น.

วินิจฉัยในบทว่า วิปฺปกตํ นี้ พึงทราบดังนี้ :-

กลอนทั้งหลาย ยิ่งมิได้เอาขึ้นเพียงใด ที่อยู่ชื่อว่าทำค้างเพียงนั้น. แต่ครั้นเมื่อกลอนทั้งหลายได้เอาขึ้นแล้ว ที่อยู่ชื่อว่าทำแล้วโดยมาก, เพราะ ฉะนั้น จำเดิมแต่เวลาที่เอากลอนขึ้นแล้วไปนั้น ไม่ควรให้ทำใหม่. เจ้าของ จักขอแรงภิกษุ ให้ช่วยสร้างอีกนิดหน่อยเท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 224

ข้อว่า ขุทฺทเก วิหาเร กมฺมํ โอโลเกตฺวา ฉปฺปณฺจวสฺสิกํ มีความว่า ภิกษุพึงตรวจดูงานแล้วให้นวกรรม ๔ ปี สำหรับที่อยู่ขนาด ๔ ศอก, ๕ ปี สำหรับที่อยู่ ๕ ศอก, ๖ ปี สำหรับที่อยู่ ๖ ศอก, ส่วนอัฑฒโยคะ (คือ เพิง) เป็นของมีขนาด ๗- ๘ ศอก เพราะฉะนั้น ในเพิงนี้ พระผู้มี พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ๗ - ๘ ปี. ก็ถ้าเพิงนั้นมีขนาด ๙ ศอก, พึงให้นวกรรม ๙ ปีก็ได้.

อนึ่ง พึงให้นวกรรม ๑๐ ปี หรือ ๑๑ ปี สำหรับที่อยู่หรือปราสาทเก่า มีขนาด ๑๐ ศอกหรือ ๑๑ ศอก. แต่พึงให้นวกรรม ๑๒ ปีเท่านั้น สำหรับที่อยู่ หรือปราสาทมีขนาด ๑๒ ศอก หรือแม้เช่นโลหะปราสาท ซึ่งเขื่องเกินกว่า นั้น, ไม่พึงให้นวกรรมให้ยิ่งกว่า ๑๒ ปีนั้นไป.

นวกัมมิกภิกษุได้ที่อยู่นั้นภายในกาลฝน, ไม่ได้เพื่อจะห้ามหวงใน อุตุกาล.

ถ้าที่อยู่นั้นชำรุด, พึงบอกแก่เจ้าของอาวาสหรือแก่ใครๆ ผู้เกิดใน วงศ์ของเขาว่า ที่อยู่ของพวกท่านทรุดโทรม ท่านจงซ่อมแซมที่อยู่นั้น.

ถ้าว่าเขาไม่สามารถ ภิกษุทั้งหลายพึงชักชวนญาติหรืออุปัฏฐากช่วย ซ่อมแซม. ถ้าแม้ญาติและอุปัฏฐากเหล่านั้น ก็ไม่ สามารถ พึงซ่อมแซมด้วย ปัจจัยของสงฆ์ แม้เมื่อปัจจัยของสงฆ์นั้นไม่มี ก็พึงจำหน่ายอาวาส * หลังหนึ่ง เสีย ซ่อมแซมอาวาสที่เหลือไว้. แม้จำหน่ายอาวาสเป็นอันมากเสีย ซ่อมแซม อาวาสหลังหนึ่งไว้ก็ควรเหมือนกัน.

ในคราวทุพภิกขภัย เมื่อภิกษุทั้งหลายพากันหลีกไปเสีย อาวาสทั้งปวง จะทรุดโทรม เพราะฉะนั้น พึงจำหน่ายอาวาสเสียหลังหนึ่ง หรือ ๒ หลัง


* กุฎิ (?)

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 225

หรือ ๓ หลังแล้ว บริโภคยาคูภัตและจีวรเป็นต้น จากอาวาสที่จำหน่ายเสียนั้น รักษาอาวาสที่ยังเหลือไว้เถิด.

ส่วนในกุรุนทีแก้ว่า เมื่อปัจจัยของสงฆ์ไม่มี พึงสั่งภิกษุรูปหนึ่งว่า ท่านจงถือเอาที่พอเตียงอันหนึ่ง สำหรับท่านซ่อมแซมเถิด.

หากว่า ภิกษุนั้นต้องการมากกว่านั้น พึงให้ส่วนที่ ๓ (ใน ๔ ส่วน) หรือกึ่งหนึ่งก็ได้ ให้ซ่อมแซมเถิด.

หากว่า เธอไม่ปรารถนาด้วยเห็นว่า ในที่อยู่นี้ เหลือแต่เพียงเสาเท่านั้น การที่จะต้องทำมาก พึงบอกให้เธอซ่อมแซมว่า ท่านจงซ่อมแซมเป็นส่วนตัว ของท่านเท่านั้นเถิด เพราะว่า แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จักยังมีที่เก็บของสงฆ์ด้วย จักมีสถานเป็นที่อยู่ของภิกษุใหม่ทั้งหลายด้วย. ก็แล อาวาสอันภิกษุทั้งหลาย ซ่อมแซมแล้วอย่างนั้น ย่อมเป็นของส่วนตัวบุคคล ในเมื่อภิกษุนั้นยังมีชีวิต อยู่, เมื่อภิกษุนั้นมรณภาพแล้ว ย่อมตกเป็นของสงฆ์แท้.

หากว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ประสงค์จะให้ (เป็นที่อยู่) แก่สัทธิวิหาริก ทั้งหลาย. สงฆ์พึงตรวจดูการงานแล้วพึงยกส่วนที่ ๓ หรือกึ่งหนึ่ง ให้เธอ ซ่อมแซมเป็นส่วนตัว.

จริงอยู่ เธอย่อมได้เพื่อให้ส่วนนั้นแก่สัทธิวิหาริกทั้งหลาย. ก็เมื่อผู้ ซ่อมแซมอย่างนั้น ไม่มี, พึงให้ซ่อมแซมตามนัยที่ว่า พึงจำหน่ายอาวาสหลัง หนึ่งเสีย ดังนี้เป็นต้น. คำแม้นี้ด้วย คำอื่นด้วยท่านกล่าวไว้ในกุรุนทีนั้นแล.

ภิกษุ ๒ รูป ถือเอาพื้นที่ของสงฆ์ แผ้วถางแล้วสร้างเสนาสนะเป็น ของสงฆ์ พื้นที่นั้นภิกษุใดจองก่อน, ภิกษุนั้นเป็นเจ้าของ. แม้เธอทั้ง ๒ รูป สร้างเป็นส่วนตัวบุคคล ภิกษุผู้จองก่อนนั่นแลเป็นเจ้าของ.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 226

ภิกษุผู้จองพื้นที่ก่อนนั้นสร้างเป็นของสงฆ์ อีกรูปหนึ่งสร้างเป็นส่วนตัว บุคคล. หากว่า ที่สร้างเสนาสนะอื่นๆ ยังมีมาก แม้เธอสร้างเป็นส่วนตัว บุคคล ก็ไม่ควรห้าม. แต่เมื่อที่อันเหมาะเช่นนั้นแห่งอื่นไม่มี อันภิกษุผู้สร้าง เป็นของสงฆ์นั้นแล พึงห้ามเธอเสียแล้วสร้างเถิด.

ก็เครื่องใช้ มีทัพสัมภาระเป็นต้น ที่จะต้องใช้สอยหมดไปในสถาน เป็นที่สร้างอาวาสของสงฆ์นั้น ของภิกษุนั้น สงฆ์พึงยอมให้แก่เธอ.

อนึ่ง ถ้าว่าในอาวาสที่สร้างเสร็จแล้วก็ดี ในสถานที่จะสร้างอาวาสก็ดี มีต้นไม้ที่อาศัยร่มได้และมีผล, พึงอปโลกน์ให้โค่นเสียเถิด. ถ้าต้นไม้เหล่านั้น เป็นของบุคคล, พึงบอกแก่เจ้าของ. ถ้าเจ้าของไม่ยอมให้, พึงบอกเพียงครั้ง ที่ ๓ แล้วให้โค่นเสีย ด้วยยอมรับว่า พวกเราจักให้มูลค่าราคาต้นไม้.

ฝ่ายภิกษุใด ไม่ถือเอาเครื่องใช้แม้มาตรว่าเถาวัลย์ของสงฆ์ให้สร้าง ที่อยู่เป็นส่วนตัว ในพื้นที่ของสงฆ์ ด้วยเครื่องอุปกรณ์ทำตนหามา, เป็นของ สงฆ์กึ่งหนึ่ง เป็นของบุคคลกึ่งหนึ่ง. ถ้าเป็นปราสาท, * ปราสาทชั้นล่างเป็น ของสงฆ์ ชั้นบนเป็นของบุคคล. ถ้าภิกษุใด ต้องการปราสาทชั้นล่าง, ปราสาท ชั้นล่างย่อมเป็นของภิกษุนั้น. ถ้าเธอต้องการทั้งชั้นล่างทั้งชั้นบน ย่อมได้ ชั้นละกึ่งหนึ่งทั้ง ๒ ชั้น.

ภิกษุให้สร้างเสนาสนะ ๒ แห่ง เป็นของสงฆ์แห่งหนึ่ง, เป็นของ บุคคลแห่งหนึ่ง. หากว่าภิกษุให้สร้างด้วยทัพสัมภาระเป็นของสงฆ์ซึ่งเกิดขึ้น ในวัด, เธอย่อมได้ส่วนที่ ๓. หากว่า ภิกษุทำการก่อต่อขึ้นใหม่ในที่ซึ่งไม่ได้ ทำไว้ก็ดี ต่อหน้ามุขขึ้นภายนอกฝาก็ดี,กึ่งหนึ่งเป็นของสงฆ์ กึ่งหนึ่งเป็นของ


(๑) ปราสาท หมายความว่า เรือนชั้นตั้งแต่ ๒ ชั้นขึ้นไป ไม่ได้หมายว่า ปราสาทราชมณเฑียร อย่างความไทย.

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 227

เธอ. ถ้าว่าสถานที่ใหญ่ไม่เสมอ เป็นที่ซึ่งภิกษุพูนให้เสมอ แสดงทางเดินใน ที่ซึ่งมิใช่ทาง สงฆ์ไม่เป็นใหญ่ในที่นั้น.

[ว่าด้วยสิทธิแห่งนวกัมมิกะ]

ในข้อว่า เอกํ วรเสยฺยํ นี้ มีความว่า ในสถานที่ให้นวกรรมก็ดี ในสถานที่ถึงตามลำดับพรรษาก็ดี ภิกษุผู้ซ่อมแซมปรารถนาเสนาสนะใด ย่อม ได้เสนาสนะนั้น, เราอนุญาต ให้ถือเอาเสนาสนะที่ดีแห่งหนึ่ง.

ข้อว่า ปรโยสิเต ปกฺกมติ ตสฺเสว ตํ มีความว่า เมื่อภิกษุนั้น กลับมาจำพรรษาอีก เสนาสนะนั้น เป็นของเธอเท่านั้น ตลอดภายในพรรษา แต่เมื่อเธอไม่มา สัทธิวิหาริกเป็นต้น จะถือเอาไม่ได้. บทว่า นาภิหรนฺตํ มีความว่า ภิกษุทั้งหลายไม่กล้านำ (เสนาสนะ) ไปใช้ในที่อื่น.

บทว่า คุตฺตตฺถาย มีความว่า เราอนุญาตให้ขนเสนาสนะ. มีเตียง และตั่งเป็นต้น ในที่อยู่นั้นไปในที่อื่น เพื่อประโยชน์แก่ความคุ้มครองเสนาสนะ นั้น. เพราะเหตุนั้น เมื่อภิกษุนำไปในที่อื่นแล้วใช้สอยเป็นสังฆบริโภค เสนาสนะนั้นเสียหายไป ก็เป็นอันเสียหายไปด้วยดี เก่าไป ก็เป็นอันเก่าไป ด้วยดี ถ้าเสนาสนะนั้น ยังไม่เสียหาย พึงเก็บงำไว้ตามเดิมอีก ในเมื่อที่อยู่ นั้นได้ปฏิสังขรณ์เสร็จแล้ว. เมื่อภิกษุใช้สอยเป็นเครื่องใช้ส่วนตัว เสนาสนะ นั้น เสียหายไปก็ดี เก่าไปก็ดี เป็นสินใช้. เมื่อที่อยู่นั้น ได้ปฏิสังขรณ์เสร็จ แล้ว ต้องใช้ให้ทีเดียว.

หากว่า ภิกษุถือเอาทัพสัมภาระทั้งหลายมีกลอนเป็นต้น จากสังฆิ- กาวาสนั้น ประกอบในสังฆิกาวาสอื่น ที่ประกอบแล้ว ก็เป็นอันประกอบด้วยดี. แต่ภิกษุผู้ประกอบในอาวาสส่วนตัว ต้องให้ราคาหรือต้องเอากลับคืนไว้ตามเดิม

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 228

ภิกษุมีเถยยจิตถือเอาเตียงและตั่งเป็นต้น จากที่อยู่ที่ถูกละทิ้ง พระ วินัยธรพึงปรับด้วยราคาภัณฑะ ในขณะที่ยกขึ้นทีเดียว.

เมื่อภิกษุถือเอาใช้สอยเป็นสังฆบริโภค ด้วยตั้งใจว่า จักคืนให้ในเวลา ที่ภิกษุผู้เจ้าถิ่นมาอีก เสียหายไป ก็เป็นอันเสียหายไปด้วยดี เก่าไป ก็เป็นอัน เก่าไปด้วยดี, ถ้าไม่เสียหาย พึงคืนไว้ตามเดิม, เมื่อภิกษุใช้สอยเป็นเครื่อง ใช้ส่วนตัว เสียหายไป เป็นสินใช้. ทัพสัมภาระมีประตูหน้าต่างเป็นต้น ที่ ภิกษุถือเอาจากที่อยู่ที่ถูกละทิ้งนั้น ไปประสมใช้ในสังฆิกาวาส หรือในอาวาส ส่วนตัว ต้องคืนให้แท้.

บทว่า ผาติกมฺมตฺถาย คือ เพื่อประโยชน์แก่การทำให้เพิ่มขึ้น. ก็เสนาสนะมีเตียงและตั้งเป็นต้นนั้นเอง ที่มีราคาเท่ากัน หรือมากกว่า เป็น ผาติกรรม ย่อมควรในคำว่า เพื่อประโยชน์แก่ผาติกรรม นี้.

[ว่าด้วยการใช้เสนาสนะ]

เครื่องเช็ดเท้า มีสัณฐานคล้ายลูกล้อ ซึ่งทำหุ้มด้วยผ้ากัมพลเป็นต้น ชื่อว่า จักกลี.

ข้อว่า อลฺเลหิ ปาเทหิ มีความว่า น้ำย่อมปรากฏในที่ซึ่งเท้า เช่นใดเหยียบแล้ว, พื้นก็ดี เสนาสนะก็ดี ที่ทำด้วยการโบกฉาบ อันภิกษุ ไม่พึงเหยียบด้วยเท้าเช่นนั้น. แต่ถ้าว่า ปรากฏแค่เพียงรอยน้ำจางๆ เท่านั้น น้ำหาปรากฏไม่ ควรจะเหยียบได้. อนึ่ง จะเหยียบผ้าเช็ดเท้า แม้ด้วยเท้าอัน เบียกชุ่ม ก็ควรเหมือนกัน.

ภิกษุผู้สวมรองเท้า ไม่ควรเหยียบในที่ซึ่งจะพึงเหยียบด้วยเท้าที่ล้าง แล้วทีเดียว.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 229

ข้อว่า โจฬเกน ปลิเวเตุํ มีความว่า ที่ฟันปูนขาวหรือที่พื้นที่ โบกฉาบ ถ้าไม่มีเสื่ออ่อนหรือเสื่อลำแพน, พึงเอาผ้าพันเท้า (เตียงและตั่ง) เสีย. เมื่อผ้านั้นไม่มี แม้ใบไม้ก็ควรลาด. และเป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่ลาด อะไรๆ เลย วางลงไป.

ก็ถ้าว่า ภิกษุผู้เจ้าถิ่นในอาวาสนั้น วางบนพื้นแม้ลาดแล้ว แต่ใช้สอย ทั้งที่มีเท้ามิได้ล้าง, จะใช้สอยอย่างนั้นบ้าง ก็ควร.

ข้อว่า น ภิกฺขเว ปริกมฺมกตา ภิตฺติ มีความว่า ฝาที่ทาขาว หรือฝาที่ทำจิตรกรรมก็ตาม ไม่ควรพิง, และจะไม่ควรพิงแต่ฝาอย่างเดียว เท่านั้น หามิได้, แม้ประตูก็ดี หน้าต่างก็ดี พนักอิงก็ดี เสาศิลาก็ดี เสาไม้ ก็ดีภิกษุไม่รองด้วยจีวรหรือของบางอย่างแล้ว ย่อมไม่ได้เพื่อจะพิงเหมือนกัน.

ข้อว่า โธตปาทถา มีความว่า ภิกษุเป็นผู้มีเท้าล้างแล้ว ย่อม รังเกียจที่จะนอน ในที่ซึ่งจะพึงเหยียบด้วยเท้าที่ล้างแล้ว. ปาฐะว่า โธตปาทเก บ้างก็มี.

คำว่า โธตปาทเก นั้น เป็นชื่อของที่จะพึงเหยียบด้วยเท้าที่ล้าง แล้ว.

ข้อว่า ปจฺจตฺถริตฺวา มีความว่า พื้นที่โบกฉาบก็ดี เสนาสนะมี เครื่องรองพื้นก็ดี เตียงตั่งของสงฆ์ก็ดี ต้องเอาเครื่องปูลาดของตนลาดรอง เสียก่อน จึงค่อยนอน.

ถ้าแม้เมื่อภิกษุกำลังหลับ เครื่องปูลาดถลกเลิกไป อวัยวะแห่งสรีระ บางส่วนถูกเตียงหรือตั่งเข้า, เป็นอาบัติเหมือนกัน. แต่เมื่อขนถูกเป็นอาบัติ ตามจำนวนขน. (๑) แม้เมื่อพิงด้วยมุ่งใช้สอยเป็นใหญ่ก็มีนัยเหมือนกัน. แต่จะถูก


(๑) ถ้าปรับอาบัติเพียงจำนวนครั้ง จักพอดีกระมัง? เพราะในการปรับอาบัติอื่น ท่านไม่ปรับด้วย เส้นขนอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 230

หรือเหยียบด้วยฝ่ามือฝาเท้า ควรอยู่. เตียงตั่งกระทบกายของภิกษุผู้กำลังขนไป ไม่เป็นอาบัติ.

[ว่าด้วยสังภัต]

ข้อว่า น สกฺโกนติ สงฺฆภตฺตํ กาตุํ มีความว่า ก็แลชนทั้งหลาย ไม่สามารถทำภัต เพื่อสงฆ์ทั้งมวลได้.

วินิจฉัยในคำว่า อิจฺฉนฺติ อุท เทสภตฺตํ เป็นต้น พึงทราบ ดังนี้:-

ชนทั้งหลายปรารถนาจะทำภัต เพื่อภิกุที่ตนได้ ด้วยการเจาะจง อย่างนี้ว่า ขอท่านจงให้ภิกษุรูป ๑ หรือ ๒ รูป ฯลฯ หรือ ๑๐ รูปเจาะจง จากสงฆ์.

ชนอีกพวกหนึ่ง ปรารถนาจะกำหนดจำนวนภิกษุอย่างนั้นเหมือนกัน นิมนต์แล้วทำภัตเพื่อภิกษุเหล่านั้น.

อีกพวกหนึ่ง ปรารถนาจะกำหนดสลาก นิมนต์แล้วทำภัตเพื่อภิกษุ เหล่านั้น.

อีกพวกหนึ่ง ปรารถนาจะทำภัตเพื่อภิกษุรูป ๑ หรือ ๒ รูป ฯลฯ หรือ ๑๐ รูป กะไว้อย่างนี้ว่า ปักขิกภัต อุโปสถิกภัต ปาฏิปทิกภัต ภัตมี ประมาณเท่านี้ ได้โวหารนี้ว่า อุทเทสภัต นิมันตนภัต ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง แม้หากว่าชนเหล่านั้น ไม่สามารถจะทำสังฆภัตได้ในคราว ทุพภิกขภัย, แต่จักสามารถทำสังฆภัตได้อีกในคราวมีภิกษาหาได้ง่าย ; เพราะ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงรวมแม้ซึ่งสังฆภัตนั้น ไว้ในจำนวนด้วย ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสังฆภัต อุทเทสภัต ดังนี้เป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 231

บรรดาภัตเหล่านั้น ในสังฆภัตไม่มีลำดับเป็นธรรมดา, เพราะฉะนั้น ในสังฆภัตนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ควรกล่าวอย่างนี้ว่า ๑๐ วัน หรือ ๑๒ วัน ทั้งวันนี้แล้ว เฉพาะที่พวกเราฉัน, บัดนี้ท่านจงนิมนต์ภิกษุมาจากที่อื่นเถิด. ทั้งไม่ได้เพื่อจะกล่าวอย่างนี้ว่า ในวันก่อนๆ พวกเราไม่ได้เลย, บัดนี้ท่านจง ให้พวกเรารับสังฆภัตนั้นบ้าง ดังนี้. เพราะว่า สังฆภัตนั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุ ผู้มาแล้วๆ เท่านั้น.

[ว่าด้วยอุทเทสภัต]

ส่วนในอุทเทสภัตเป็นต้น มีนัยดังนี้ :-

เมื่อพระราชาหรือมหาอมาตย์ของพระราชา ส่งคนไปนิมนต์ว่า ท่าน จงเจาะจงสงฆ์ นิมนต์มาเท่านี้รูป ดังนี้ พระภัตตุทเทสก์ พึงแจ้งเวลาถามหา ลำดับ, ถ้าลำดับมี พึงให้รับตั้งแต่ลำดับนั้น, ถ้าไม่มีพึงให้รับทั้งแต่เถรอาสน์ ลงมา, พระภัตตุทเทสก์อย่าพึงข้ามลำดับ แม้แห่งภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเสีย. อันภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเหล่านั้น เมื่อจะรักษาธุดงค์ จักให้ข้ามเสียเอง.

เมื่อให้รับอยู่โดยวิธีอย่างนี้ พระมหาเถระผู้มีปกติเฉื่อยชา มาภายหลัง, อย่ากล่าวกะท่านว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ากำลังให้ภิกษุ ๒๐ พรรษารับ, ลำดับ ของท่านเลยไปเสียแล้ว. พึงเว้นลำดับไว้ ให้พระมหาเถระเหล่านั้นรับเสร็จ แล้วจึงให้รับตามลำดับในภายหลัง.

ภิกษุทั้งหลายได้ฟังข่าวว่า ที่สำนักโน้น อุทเทสภัตเกิดขึ้นมาก จึง พากันมาแม้จากสำนักซึ่งมีระยะคั่นกันโยชน์หนึ่ง พึงให้ภิกษุเหล่านั้นรับ จำเดิมแต่สถานที่พวกเธอมาทันแล้วๆ ยืนอยู่. เมื่ออันเตวาสิกเป็นต้น จะรับแทนอาจารย์และอุปัชฌาย์แม้ผู้มาไม่ทัน แต่เข้าอุปจารสีมาแล้ว พึงให้รับเถิด.

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 232

พวกเธอกล่าวว่า ท่านจงให้รับแทนภิกษุทั้งหลายผู้ตั้งอยู่นอกอุปจาร สีมา, อย่าให้รับ. แต่ถ้าว่า ภิกษุผู้อยู่ที่ประตูสำนักหรือที่ภายในสำนักของตน เป็นผู้เนื่องเป็นอันเดียวกันกับภิกษุทั้งหลายผู้เข้าอุปจารสีมาแล้ว. สีมาจัดว่า ขยายออกด้วยอำนาจบริษัท เพราะฉะนั้น พึงให้รับ.

แม้ให้แก่สังฆนวกะแล้ว ก็ควรให้ภิกษุทั้งหลายผู้มาภายหลังรับ เหมือนกัน. แต่เมื่อส่วนที่ ๒ ได้ยกขึ้นสู่เถรอาสน์แล้ว ส่วนที่ ๑ ย่อมไม่ถึง แก่ภิกษุผู้มาทีหลัง. พึงให้รับตามลำดับพรรษาตั้งแต่ส่วนที่ ๒ ไป.

ในสำนักหนึ่ง อุทเทสภัตที่ทายกกำหนดสถานที่แจกภัตไว้แห่งหนึ่งแล้ว บอกในที่ใดที่หนึ่งในอุปจารสีมาแม้มีประมาณคาวุตหนึ่ง ต้องให้รับในสถานที่ แจกภัตนั้นแล.

ทายกผู้หนึ่ง ส่งข่าวแก่ภิกษุรูปหนึ่งว่า เฉพาะพรุ่งนี้ ขอท่านเจาะจง สงฆ์ส่งภิกษุไป ๑๐ รูป. ภิกษุนั้น พึงบอกเนื้อความนั้นแก่พระภัตตุทเทสก์ ถ้าวันนั้นลืมเสีย, รุ่งขึ้นต้องบอกแต่เช้า. ถ้าลืมเสียแล้วจะเข้าไปบิณฑบาต จึงระลึกได้, สงฆ์ยังไม่ก้าวล่วงอุปจารสีมาเพียงใด, พึงให้รับเนื่องด้วยลำดับ ตามปกติในโรงฉันเพียงนั้น.

แม้ถ้าภิกษุทั้งหลาย ผู้ก้าวล่วงอุปจารสีมาไปแล้ว เป็นผู้เนื่องเป็นแถว เดียวกันกับภิกษุทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ในอุปจารสีมา คือเดินไปไม่ทิ้งระยะกันและกัน ๑๒ ศอก. พึงให้รับเนื่องด้วยลำดับตามปกติ แต่เมื่อความเนื่องเป็นแถวเดียวกัน เช่นนั้นของภิกษุทั้งหลายไม่มี, ตนระลึกได้ในที่ใดภายนอกอุปจารสีมา, พึงจัด ลำดับใหม่ให้ถือเอาในที่นั้น. เมื่อระลึกได้ที่โรงฉันภายในบ้าน พึงให้ถือเอา ตานลำดับในโรงฉัน. ระลึกได้ในที่ใดที่หนึ่งก็พึงให้ถือเอาแท้ จะไม่ให้ถือเอา ไม่ควร. เพราะว่าในวันที่ ๒ จะไม่ได้ภัตนั้น.

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 233

หากว่า ทายกบางคนเห็นภิกษุทั้งหลายออกจากที่อยู่ของตนไปสู่สำนัก อื่น จึงขอให้แจกอุทเทสภัต.

ภิกษุทั้งหลายในภายในที่ใกล้เคียงกับภิกษุทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ในอุปจารสีมา เป็นผู้เนื่องเป็นแถวเดียวกัน ตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นเองเพียงใด, พึงให้ถือเอา ด้วยอำนาจลำดับในที่อยู่ของคนนั่นแลเพียงนั้น.

ส่วนอุทเทสภัต ที่ทายกถวายภิกษุทั้งหลายผู้ตั้งอยู่นอกอุปจาร เมื่อเขา กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงแสดงภิกษุเพียงเท่านี้รูปจากสงฆ์ ดังนี้ พึงให้ ถือเอาตามลำดับแห่งภิกษุผู้มาทัน.

แม้ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในที่ไกล โดยนัยคือเนื่องเป็นแถวเดียวกัน ไม่ทิ้ง ระยะกัน ๑๒ ศอกนอกอุปจารนั้นนั่นแล พึงทราบว่า ผู้มาทันเหมือนกัน.

ถ้าภิกษุทั้งหลายไปสู่สำนักใด, เขาบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้เข้าไปใน สำนักนั้นแล้ว; พึงถือเอาด้วยอำนาจลำดับแห่งสำนักนั้น.

แม้ถ้าทายกคนใดคนหนึ่ง พบภิกษุที่ประตูบ้าน หรือที่ถนน หรือที่ ทาง ๔ แพร่ง หรือในละแวกบ้าน จึงบอกภัตที่จะพึงแสดงจากสงฆ์ ให้ภิกษุ ทั้งหลายผู้อยู่ภายในอุปจารในที่นั้นถือเอา.

ก็บรรดาอุปจารแห่งประตูบ้านเป็นต้นนี้ อุปจารเรือน พึงทราบด้วย อำนาจแห่งเรือนเหล่านี้ คือ:-

เรือนหลังเดียว มีอุปจารเดียว, เรือนหลังเดียว ต่างอุปจารกัน. เรือนต่างหลังกัน มีอุปจารเดียวกัน, เรือนต่างหลังกัน ต่างอุปจารกัน.

ในเรือนเหล่านั้น เรือนใดของสกุลหนึ่ง เป็นที่พึงใช้สอย (แต่ออก โดยประตูเดียวกัน) เรือนนั้น ชื่อว่ามีอุปจารเดียวในร่วมในแห่งแดนกำหนด ชั่วกระด้งตก.

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 234

อุทเทสลาภที่เกิดขึ้นในเรือนนั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งปวงผู้ยืนอยู่ แม้ ด้วยภิกขาจารวัตรในอุปจารนั้น นี้ชื่อว่าเรือนหลังเดียวมีอุปจารเดียว.

ส่วนเรือนใดหลังเดียว เขากั้นฝาตรงกลาง เพื่อต้องการอยู่สบาย สำหรับภรรยา ๒ คน ทำประตูสำหรับใช้สอยคนละทาง, อุทเทสลาภที่เกิดขึ้น ในเรือนนั้น ไม่ถึงแก่ภิกษุผู้อยู่ภายในห้องฝาด้านหนึ่ง ถึงแก่ภิกษุผู้นั่ง อยู่ใน ที่นั้นเท่านั้น นี้ชื่อว่าเรือนหลังเดียว ต่างอุปจารกัน.

ส่วนในเรือนใด เขานิมนต์ภิกษุเป็นอันมากให้นั่งเนื่องเป็นกระบวน เดียวกัน ตั้งแต่ภายในเรือนจนเต็มหลามไปถึงเรือนเพื่อนบ้านผู้คุ้นเคย. อุทเทสลาภที่เกิดขึ้นในเรือนนั้น ถึงแก่ภิกษุทั่วทุกรูป.

เรือนแม้ใดของต่างสกุล เขาไม่ทำฝากันกลางใช้สอยทางประตูเดียวกัน นั่นเอง, แม้ในเรือนนั้น ก็มีนัยนี้แล. นี้ชื่อว่าต่างเรือนมีอุปจารเดียวกัน.

ก็อุทเทสลาภใด เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายผู้นั่งในเรือนต่างสกุล, ภิกษุ ทั้งหลายย่อมเห็นกันทางช่องฝาก็จริง, ถึงกระนั้น อุทเทสลาภนั้น ย่อมถึงแก่ ภิกษุทั้งหลายผู้นั่งในเรือนนั้นๆ เท่านั้น. นี้ชื่อว่าต่างเรือนต่างอุปจารกัน.

อนึ่ง ภิกษุใดได้อุทเทสภัตที่ประตูบ้าน ถนน และทาง ๔ แพร่ง สถานใดสถานหนึ่ง, เมื่อภิกษุอื่นไม่มี จึงให้ถึงแก่ตนเสียแล้ว จะได้อุทเทสภัตอื่นในที่นั้นนั่นเอง แม้ในวันรุ่งขึ้น. ภิกษุนั้นเห็นภิกษุอื่นใดเป็นนวกะหรือ แก่ก็ตาม พึงให้ภิกษุนั้นรับ. ถ้าว่า ไม่มีใครๆ เลย, ถึงแก่ตนแล้วฉันเถิด.

หากว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายนั่งคอยเวลาอยู่ที่โรงฉัน อุบาสกบางคนมา กล่าวว่า ท่านจงให้บาตรที่เจาะจงจากสงฆ์ ท่านจงให้บาตรเฉพาะจากสงฆ์ ท่านจงให้บาตรของสงฆ์. อุทเทสบาตรควรให้ภิกษุรับตามลำดับ แล้วให้ไปเถิด.

แม้ในคำที่เขากล่าวว่า ท่านจงให้ภิกษุเจาะจงจากสงฆ์ ท่านจงให้ภิกษุ เฉพาะจากสงฆ์ ท่านจงให้ภิกษุเป็นของสงฆ์ ก็มีนัยเหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 235

ก็ในเรื่องอุทเทสภัตนี้ จำต้องปรารถนาพระภัตตุทเทสก์ ผู้มีศีลเป็น ที่รัก มีความละอาย มีความฉลาด. ภิกษุผู้ภัตตุทเทสก์นั้น พึงถามถึงลำดับ ๓ ครั้ง ถ้าไม่มีใครๆ ทราบลำดับ พึงให้ถือเอาที่เถรอาสน์. แต่ถ้าภิกษุบางรูป กล่าวว่า ข้าพเจ้าทราบภิกษุ ๑๐ พรรษาได้ พึงถามว่า ผู้มีอายุ ๑๐ พรรษา มีไหม? ถ้าภิกษุได้ฟังคำของเธอจึงบอกว่า เรา ๑๐ พรรษา เรา ๑๐ พรรษา แล้วมากันมาก. อย่าพึงกล่าวว่า ถึงแก่ท่าน ถึงแก่ท่าน พึงสั่งว่า พวกท่าน จงเงียบเสียงทั้งหมด แล้ว จัดตามลำดับ.

ครั้นจัดแล้ว พึงถามอุบาสกว่า ท่านต้องการภิกษุเท่าไร?

เมื่อเขาตอบว่า เท่านี้เจ้าข้า แล้วอย่าพึงกล่าวว่า ถึงแก่ท่าน ถึงแก่ ท่าน พึงถามถึงจำนวนพรรษา ฤดู ส่วนแห่งวันและเงาของภิกษุผู้มาใหม่กว่า ทุกรูป.

ถ้าเมื่อกำลังถามถึงเงาอยู่ ภิกษุผู้แก่กว่ารูปอื่นมาถึง, พึงให้แก่เธอ ถ้าเมื่อถามถึงเงาเสร็จแล้ว สั่งว่า ถึงท่านด้วย ดังนี้ ภิกษุผู้แก่กว่ามาถึง ก็หา ได้ไม่.

จริงอยู่ เมื่อภิกษุผู้แก่กว่า นั่งด้วยความชักช้าแห่งถ้อยคำก็ดี หลับ เสียก็ดี อุทเทสภัตที่ให้ภิกษุผู้ใหม่กว่า ถือเอาแล้ว ก็เป็นอันให้ถือเอาเสียแล้ว ด้วยดี, ข้ามเลยไปเสีย ก็เป็นอันข้ามเลยไปด้วยดี เพราะว่า ธรรมดาของที่ ควรแจกกันนั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุผู้มาทันเท่านั้น, ความเป็นผู้มาทันในที่นั้น พึงกำหนดด้วยอุปจา.

ก็แล ภายในโรงฉัน เครื่องล้อมเป็นอุปจาร. ลาภย่อมถึงแก่ภิกษุผู้ อยู่ในอุปจารนั้น ฉะนี้แล.

ทายกบางคน ใช้คนให้นำอุทเทสบาตร ๘ บาตรมาจากโรงฉัน บรรจุโภชนะประณีตเต็ม ๗ บาตร ใส่น้ำเสียบาตรหนึ่ง ส่งไปยังโรงฉันคนถือมา

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 236

ไม่พูดว่ากระไร ประเคนไว้ในมือภิกษุทั้งหลายแล้วหลีกไป. ภัตใดภิกษุใดได้ แล้ว ภัตนั้น ย่อมเป็นของภิกษุนั้นนั่นแล.

ส่วนน้ำภิกษุใดได้ พึงงดลำดับแม้ที่ข้ามเลยไปแล้วของภิกษุนั้นเสีย ให้เธอถือเอาอุทเทสภัตส่วนอื่น.

ก็แล เธอได้อุทเทสภัตส่วนนั้น จะทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม มี ไตรจีวรเป็นบริวารก็ตาม ภัตนั้น ย่อมเป็นของเธอทั้งนั้น.

จริงอยู่ ลาภเช่นนี้เป็นบุญพิเศษของเธอ, แค่เพราะน้ำไม่ใช่อามิส เพราะฉะนั้น เธอจึงต้องได้อุทเทสภัตอื่น

แต่ถ้าชนผู้ถือมานั้นกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ภัตทั้งปวงนี้ ท่านจะแบ่งกันฉันเองเถิด ดังนี้ แล้วจึงไป. น้ำอันภิกษุทั้งปวงพึงแบ่งกันดื่ม.

แต่เมื่อทายกกล่าวว่า ท่านเจาะจงเฉพาะสงฆ์ให้พระมหาเถระ ๘ รูป, ให้ภิกษุปูนกลาง, ให้ภิกษุใหม่, ให้สามเณรผู้มีปีครบ. ให้ภิกษุผู้กล่าวมัชญิมนิกายเป็นต้น จงให้ภิกษุผู้เป็นญาติของข้าพเจ้า.

ภิกษุผู้ภัตตุทเทสก์พึงชี้แจงว่า อุบาสก ท่านพูดอย่างนี้, แต่ลำดับของ ท่านเหล่านั้นยังไม่ถึง ดังนี้แล้ว พึงให้เนื่องด้วยลำดับนั้นเอง.

อนึ่ง เมื่อภิกษุหนุ่มและสามเณรได้อุทเทสภัตกันแล้ว. ถ้าในเรือน ของพวกทายก มีการมงคล, พึงสั่งว่า พวกเธอจงนิมนต์อาจารย์และอุปัชฌาย์ ของเธอมาเถิด.

ก็ในอุทเทสภัตใด ส่วนที่ ๑ ถึงแก่สามเณร ส่วนรองถึงแก่พระมหาเถระทั้งหลาย. ในอุทเทสภัตนั้น สามเณรย่อม. ไม่ได้เพื่อจะไปข้างหน้าด้วยทำในใจว่า เราทั้งหลายได้ส่วนที่ ๑ พึงไปตามลำดับเดินนั่นแล.

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 237

เมื่อทายกกล่าวว่า ท่านจงเจาะจงจากสงฆ์มาเองเถิด ดังนี้ ภิกษุพึง กล่าวว่า สำหรับเรา ท่านจักทราบได้โดยประการอื่นบ้าง แต่ลำดับย่อมถึง อย่างนี้ แล้วพึงให้ถือเอาด้วยอำนาจแห่งลำดับนั่นแล.

หากว่า เขากล่าวว่า ท่านจงให้บาตรที่อุทิศจากสงฆ์ ดังนี้ เมื่อ บาตรอันพระภัตตุทเทสก์ยังไม่ทันสั่งให้ถือ ก็ฉวยเอาบาตรของภิกษุรูปใดรูป หนึ่งบรรจุเต็มนำมา. แม้อุทเทสภัตที่เขานำมาแล้ว พึงให้ถือเอาตามลำดับ เหมือนกัน.

ชนผู้หนึ่ง ซึ่งเขาใช้ไปว่า ท่านจงนำบาตรเจาะจงสงฆ์มา ดังนี้ กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ท่านจงมอบบาตรใบหนึ่ง เราจักนำนิมันตนภัตมาถวาย ถ้าชนนั้น ภิกษุทั้งหลายทราบว่า ผู้นี้มาจากเรือนอุทเทสภัต จึงถามว่า ท่าน มาจากเรือนโน้น มิใช่หรือ? จึงตอบว่า ถูกแล้ว ท่านผู้เจริญ ไม่ใช่นิมันตนภัต เป็นอุทเทสภัต, พึงให้ถือเอาตามลำดับ.

ฝ่ายชนใด ซึ่งสั่งเขาว่า จงนำบาตรลูกหนึ่งมา จึงย้อนถามว่า จะนำ บาตรอะไรมา ได้รับตอบว่า จงนำมาตามใจชอบของท่าน ดังนี้ แล้วมา; ชนนี้ ชื่อ วิสสฏัฐทูต (คือทูตที่เขายอมตามใจ) เขาต้องการบาตรเฉพาะสงฆ์ หรือบาตรตามสำดับ หรือบาตรส่วนตัวบุคคล อันใด พึงให้บาตรนั้นแก่เขา.

ผู้หนึ่งเป็นคนโง่ไม่ฉลาด ซึ่งเขาใช้ไปว่า จงนำบาตรเฉพาะสงฆ์มา ดังนี้ ไม่เข้าใจที่จะพูด จึงยืนนิ่งอยู่ ภิกษุไม่ควรถามเขาว่า ท่านมาหาใคร หรือว่า ท่านจักนำบาตรของใครไป เพราะว่า เขาถูกถามอย่างนั้น แล้ว จะ พึงตอบเลียนคำถามว่า มาหาท่าน หรือว่า จักนำบาตรของท่านไป. เพราะ เหตุที่กล่าวนั้น ภิกษุเหล่าอื่นจะพากันชัง ไม่พึงแลดูภิกษุนั้นก็ได้. ที่เหมาะ ควรถามว่า ท่านจะไปไหน? หรือว่า ท่านเที่ยวทำอะไร.

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 238

เมื่อเขาตอบว่า มาเพื่อต้องการบาตรเฉพาะสงฆ์ ดังนี้ พึงให้ภิกษุ ถือเอาแล้ว ให้บาตรไป.

ที่จัดว่า ลำดับโกงมีอยู่ชนิดหนึ่ง. จริงอยู่ ในพระราชนิเวศน์หรือ ในเรือนของราชมหาอำมาตย์ ถวายอุทเทสภัตอย่างประณีตยิ่ง ๘ ที่เป็นนิตย์ ภิกษุทั้งหลายจัดอุทเทสภัตเหล่านั้น ให้เป็นภัตที่จะพึงถึงแก่ภิกษุรูปละครั้ง ฉัน ตามลำดับแผนกหนึ่ง.

ภิกษุบางพวกคอยกำหนดลำดับของตนว่า พรุ่งนี้แล จักถึงแก่พวกเรา ดังนี้ แล้วไป.

ครั้นเมื่อภิกษุเหล่านั้น ยังมิทันจะมา ภิกษุอาคันตุกะเหล่าอื่นมานั่งที่ โรงฉัน. ในขณะนั้นเอง ราชบุรุษพากันกล่าวว่า ท่านจงให้บาตรสำหรับ ปณีตภัต พวกภิกษุอาคันตุกะไม่ทราบลำดับ จะให้ภิกษุทั้งหลายถือเอา. ใน ขณะนั้นเอง ภิกษุผู้ทราบลำดับก็พากันมา จึงถามว่า ท่านให้ถือเอาอะไร.

ภิกษุอาคันตุกะตอบว่า ปณีตภัตในพระราชนิเวศน์ ตั้งแต่พรรษา เท่าไรไป? ตั้งแต่พรรษาเท่านี้ไป.

พวกภิกษุผู้ทราบลำดับ พึงห้ามว่า อย่าพึงให้ถือ แล้วให้ถือเอาตาม ลำดับ.

ภิกษุทั้งหลายผู้ทราบลำดับมาแล้ว ในเมื่อภิกษุอาคันตุกะให้ภิกษุ ทั้งหลายถือเอาแล้ว ก็ดี, มาแล้วในเวลาที่จะให้บาตรก็ดี, มาแล้วในเวลาที่ให้ ไปแล้วก็ดี, มาแล้วใน เวลาที่ราชบุรุษยังบาตรให้เต็มนำมาจากพระราชนิเวศน์ ก็ดี, มาแล้วในเวลาที่ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายถือบิณฑบาต ซึ่งพระราชาทรง ใช้ราชบุรุษไปว่า วันนี้ ภิกษุทั้งหลายจงมาเองเถิด ดังนี้แล้ว ทรงประเคน บิณฑบาตในมือของภิกษุทั้งหลายนั่นแล มาแล้วก็ดี พึงห้ามว่า อย่าฉัน แล้วพึงให้ภิกษุทั้งหลายถือเอาตามลำดับ เถิด.

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 239

หากว่า พระราชาทรงนิมนต์ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้น ฉันแล้ว ยัง บาตรของพวกเธอให้เต็มแล้ว ถวายด้วย. ภัตที่เธอนำมา พึงให้ถือเอาตามลำดับ แต่ถ้ามีภัตเพียงเล็กน้อยที่เขาใส่ในบาตร ด้วยคิดว่า ภิกษุทั้งหลายอย่าไปมือ เปล่า. ภัต ไม่พึงให้ถือเอา.

พระมาหาสุมัตเถระกล่าวว่า ถ้าฉันเสร็จแล้ว มีบาตรเปล่ากลับมา ภัต ที่พวกเธอฉันแล้ว ย่อมเป็นสินใช้แก่พวกเธอ.

ฝ่ายพระมหาปทุมัตเถระกล่าวว่า ในการฉันปณีตภัตนี้ ไม่มีกิจเนื่อง ด้วยสินใช้. ภิกษุผู้ไม่ทราบลำดับ พึงนั่งรอจนกว่าภิกษุผู้ทราบจะมา, แม้เมื่อ เป็นเช่นนี้ ภัตที่ฉันแล้ว เป็นอันฉัน แล้วด้วยดี, แต่ไม่พึงให้เธอถือเอาภัตอื่น ในที่ๆ ถึงเข้าในบัดนี้. บิณฑบาตหนึ่งมีราคาหนึ่งร้อย มีไตรจีวรเป็นบริวาร ถึงแก่ภิกษุไม่มีพรรษา. และภิกษุในวิหารจดไว้ว่า บิณฑบาตเห็นปานนี้ ถึง แก่ภิกษุไม่มีพรรษา ถ้าว่า ต่อล่วงไป ๖๐ ปี บิณฑบาตเห็นปานนั้นอื่น จึง เกิดขึ้นอีกไซร้.

ถามว่า บิณฑบาตนี้ จะพึงให้ถือเอาตามลำดับภิกษุผู้ไม่มีพรรษา หรือว่า จะพึงให้ถือเอาตามลำดับภิกษุผู้มีพรรษา ๖๐?

ตอบว่า ในอรรถกถาทั้งหลายท่านกล่าวว่า พึงให้ถือเอาตามลำดับ ภิกษุผู้มีพรรษา ๖๐ เพราะว่า ภิกษุนี้รับลำดับแล้วก็แก่ไปเอง.

ภิกษุรูปหนึ่งฉันอุทเทสภัตแล้ว (ลาสิกขา) เป็นสามเณร ย่อมได้ เพื่อถือเอาภัตนั้น อันถึงตามลำดับแห่งสามเณรอีก. ได้ยินว่า ภิกษุนี้ชื่อว่า ผู้ตกเสียในระหว่าง.

ฝ่ายสารเณรรูปใด มีปีบริบูรณ์ จักได้อุทเทสภัตในวันพรุ่ง แต่เธอ อุปสมบทเสียในวันนี้ ลำดับของสามเณรรูปนั้น เป็นอันเลยไป.

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 240

อุทเทสภัตถึงแก่ภิกษุรูปหนึ่ง, แต่บาตรของเธอไม่เปล่า, เธอจึงให้ มอบบาตรของภิกษุอื่นซึ่งนั่งใกล้กันไปแทน.

ถ้าว่า ชนเหล่านั้นนำบาตรนั้นไปเสียด้วยความเป็นขโมย, เป็นสินใช้ แก่เธอ. แต่ถ้าว่า ภิกษุนั้นยอมให้ไปเองว่า เราให้บาตรของเราแทนท่าน นี้ไม่เป็นสินใช้.

แม้ถ้าว่า ภิกษุนั้น เป็นผู้ไม่มีความต้องการด้วยภัตนั้น จึงบอกกะ ภิกษุอื่นว่า ภัตของเราพอแล้ว, เราให้ภัตนั้นแก่ท่าน ท่านจงส่งบาตรไปให้ นำมาเถิด สิ่งใดเขานำมาจากที่นั้น, สิ่งนั้นทั้งหมด ย่อมเป็นของภิกษุผู้เจ้าของ บาตร.

หากว่า คนที่นำบาตรไปเลยลักไปเสีย, ก็เป็นอันลักไปด้วยดี, ไม่เป็น สินใช้ เพราะเธอได้ให้ภัตแก่เจ้าของบาตร.

ในสำนักมีภิกษุ ๑๐ รูป ใน ๑๐ รูปนั้น เป็นผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์เสีย ๙ รูป รูป ๑ รับ * เมื่อทายกกล่าวว่า ท่านจะบอกบาตรสำหรับอุทเทสภัต ๑๐ บาตร ภิกษุผู้ถือบิณฑปาติกธุดงค์ ไม่สามารถจะให้ถือเอา ภิกษุนอกนี้รับ ด้วยคิดว่า อุทเทสภัตทั้งหมดถึงแก่เรา ดังนี้ ลำดับไม่มี.

หากว่า เธอรับเอาให้ถึงที่ละส่วนๆ ลำดับย่อมคงอยู่. ภิกษุนั้น ครั้นรับแล้วอย่างนั้น ให้เขานำมาทั้ง ๑๐ บาตรแล้ว ถวาย ๙ บาตรแก่ภิกษุ ผู้ถือบิณฑปาติกธุดงค์ว่า ขอท่านผู้เจริญ จงทำความสงค์เคราะห์แก่ข้าพเจ้า ภัตเช่นนี้ จัดเป็นภัตที่ภิกษุถวาย ภิกษุผู้ถือบิณฑปาติกธุดงค์สมควรรับ.

หากว่า อุบาสกนั้น นิมนต์ว่า ท่านผู้เจริญพึงไปเรือน และภิกษุนั้น ชวนภิกษุเหล่านั้นว่า มาเถิดท่านผู้เจริญ จงเป็นเพื่อนข้าพเจ้า ดังนี้แล้ว ไป


(๑) สาทิยนโก(ส+อาทิยนโก).

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 241

ยังเรือนของอุบาสกนั้น เธอได้สิ่งใดที่ในเรือนนั้น สิ่งนั้นทั้งหมด ย่อมเป็น ของเธอเท่านั้น ภิกษุนอกนี้ย่อมได้ของที่เธอถวาย.

หากว่า อุบาสกนั้นนิมนต์ให้นั่งในเรือนแล้วและถวายน้ำทักษิโณทก แล้วถวายยาคูและของขบเคี้ยวเป็นต้นแก่ภิกษุเหล่านั้น ยาคูเป็นต้นนั้น ย่อมควร แก่ภิกษุผู้ถือบิณฑปาติกธุดงค์นอกนี้ เฉพาะด้วยถ้อยคำของภิกษุนั้นที่ว่า ท่าน ผู้เจริญ ชนทั้งหลายถวายสิ่งใด ท่านจงถือเอาสิ่งนั้นเถิด ดังนี้.

พวกทายกบรรจุภัตลงในบาตรจนเต็มแล้ว ถวายเพื่อต้องการให้ถือ เอาไป ภัตทั้งหมดย่อมเป็นของภิกษุนั่นเท่านั้น ภัตที่ภิกษุนั้นให้ จึงควรแก่ พวกภิกษุนอกนี้.

แต่ถ้าว่า ภิกษุผู้ถือบิณฑปาติกธุดงค์เหล่านั้น อันภิกษุนั้นเผดียงไว้ แต่ในสำนักว่า ท่านผู้เจริญ จงรับภิกษุของข้าพเจ้า และสมควรทำตามถ้อย คำของพวกชาวบ้าน ดังนี้ จึงไปไซร้ พวกเธอฉันภัตใดในที่นั้น และนำภัต ใดในที่นั้นไป ภัตนั้นทั้งหมดเป็นของพวกเธอเท่านั้น.

แม้ถ้าว่า พวกเธออ้อนภิกษุนั้นมิได้เผดียงว่า ท่านจงรับภิกษาของ ข้าพเจ้า แต่ได้รับเผดียงว่า สมควรทำตามคำของพวกชาวบ้าน ดังนี้ จึงไป. หากว่า พวกชาวบ้านฟังภิกษุรูปหนึ่งในภิกษุเหล่านั้น ผู้ทำอนุโมทนาด้วยเสียง อันไพเราะ และเลื่อมใสในอาการอันสงบระงับของพระเถระทั้งหลาย จงถวาย สมณบริขารเป็นอันมาก ลาภนี้ เกิดขึ้นเพราะความเลื่อมใสในเหล่าพระเถระ จัดเป็นส่วนพิเศษ เพราะฉะนั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุทั่วกัน.

ทายกผู้หนึ่ง นำบาตรที่ให้เฉพาะสงฆ์แล้ว ให้ถือเอาตามลำดับไป บรรจุบาตรเต็มด้วยขาทนียะและโภนียะอันประณีตนำมาถวายว่า ท่านเจ้าข้า สงฆ์ทั้งปวงจงบริโภคภัตนี้ ภิกษุทั้งปวงพึงแบ่งกันฉัน แต่ต้องงดลำดับ แม้ที่ ล่วงไปแล้วของภิกษุผู้เจ้าของบาตรเสีย ให้อุทเทสภัตอื่น.

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 242

หากว่า ทายกกล่าวว่า ขอท่านจงมอบบาตรเป็นของเฉพาะสงฆ์ทั้งปวง ให้ก่อนทีเดียว พึงมอบให้บาตรเป็นของภิกษุลัชชีรูปหนึ่ง และเมื่อเขานำมา แล้วกล่าวว่า สงฆ์ทั้งปวงจงบริโภค ดังนี้พึงแบ่งกันฉัน.

อนึ่ง ทายกผู้นำภัตมาด้วยถาดหนึ่งถวายว่า ข้าพเจ้าขอถวายภัตเฉพาะ สงฆ์ อย่าให้รูปละคำ พึงให้กะให้พอยังอัตภาพให้เป็นไปแก่ภิกษุรูปหนึ่งตาม ลำดับ.

หากว่า เขานำภัตมาแล้ว ไม่ทราบว่าจะพูดอย่างไรจึงเป็นผู้นิ่งอยู่, อย่าถามเขาว่า ท่านนำมาเพื่อใคร? ท่านประสงค์จะถวายใคร? เพราะว่า เขาจะพึงตอบเลียนคำถามว่า นำมาเพื่อท่าน ประสงค์จะถวายท่าน. เพราะ เช่นนั้น ภิกษุเหล่าอื่นจะพากันชังภิกษุนั้น จะไม่พึงเอาใจใส่เธอ แม้ซึ่งเป็น ผู้ควรเอี้ยวคอแลดู.

แต่ถ้าภิกษุถามว่า ท่านจะไปไหน ท่านเที่ยวทำอะไร? ดังนี้ เขา จะตอบว่า ข้าพเจ้าถือเอาอุทเทสภัตมา ภิกษุลัชชีรูปหนึ่งพึงให้ถือเอาตามลำดับ.

ถ้าภัตที่เขานำมามีมาก และพอแก่ภิกษุทั้งปวง ไม่ต้องให้ถือเอาตาม ลำดับ. พึงถวายเต็มบาตรตั้งแต่เถรอาสน์ลงมา.

เมื่อทายกกล่าวว่า ขอท่านจงมอบบาตรที่เฉพาะสงฆ์ให้ อย่าถามว่า ท่านจะนำอะไรมา? พึงให้ถือเอาตามลำดับปกตินั่นแล.

ส่วนข้าวปายาสหรือบิณฑบาตมีรสอันใด สงฆ์ได้อยู่เป็นนิตย์, สำหรับ โภชนะประณีตเช่นนั้น พึงจัดลำดับไว้แผนกหนึ่ง. ยาคูพร้อมทั้งของบริวารก็ดี ผลไม้ที่มีราคามากก็ดี ของขบเคี้ยวที่ประณีตก็ดี ควรจัดลำดับไว้แผนกหนึ่ง เหมือนกัน. แต่ภัตยาคูผลไม้และของขบเคี้ยวตามปกติ ควรจัดลำดับเป็นอัน เดียวกันเสีย.

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 243

เมื่อทายกกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักนำเนยใสมา สำหรับเนยใสทั้งปวง ควร เป็นลำดับเดียวกัน. น้ำมันทั้งปวงก็เหมือนกัน

อนึ่ง เมื่อเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าจักนำน้ำผึ้งมา สำหรับน้ำผึ้งควรเป็น ลำดับอันเดียวกัน. น้ำอ้อยและเภสัชมีชะเอมเป็นต้นก็เหมือนกัน.

ถามว่า ถ้าพวกทายกถวายของหอมและระเบียบเฉพาะสงฆ์, จะควร แก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์หรือไม่ควร?

พระอาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ควร เพราะท่านห้ามแต่อามิสเท่านั้น แต่ไม่ควรถือเอาเพราะเขาถวายเฉพาะสงฆ์.

อุทเทสภัตตกถา จบ

[นิมันตนภัต]

นิมันตนภัต ถ้าเป็นของส่วนบุคคล, ผู้รับเองนั้นแลเป็นใหญ่ ส่วน ที่เป็นของสงฆ์ พึงให้ถือเอาตามนัยที่กล่าวแล้วในอุทเทสภัตนั่นแล.

แต่ในนิมันตนภัตนี้ ถ้าเป็นทูตผู้ฉลาด เขาไม่กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านทั้งหลายจงรับภัตสำหรับภิกษุสงฆ์ในพระราชนิเวศน์ กล่าวว่า ขอท่าน ทั้งหลายจงรับภิกษา ดังนี้ไซร้ ภัตนั้น ย่อมควรแม้แก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.

ถ้าทูตไม่ฉลาดกล่าวว่า ขอท่านทั้งหลายจงรับภัต ดังนี้. พระภัตตุทเทสก์เป็นผู้ฉลาด ไม่ออกชื่อว่า ภัต กล่าวแต่ว่า ท่านจงไป ท่านจงไป ดังนี้ แม้อย่างนี้ ภัตนั้น ย่อมควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.

แต่เมื่อพระภัตตุทเทสก์กล่าวว่า ภัตถึงแก่พวกท่านตามลำดับ ดังนี้ ไม่ควรแก่ภิกษุถือปิณฑปาติกธุดงค์.

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 244

ถ้าคนทั้งหลาย ผู้มาเพื่อจะนิมนต์ เข้าไปยังโรงฉัน แล้วกล่าวว่า ท่าน จงให้ภิกษุ ๘ รูป หรือว่า ท่านจงให้บาตร ๘ บาตร แม้อย่างนี้ ก็ควรแก่ ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์. พระภัตตุทเทสก์พึงกล่าวว่า ท่านด้วย นิมนต์ไป.

แต่เขากล่าวว่า ท่านจงให้ภิกษุ ๘ รูป ท่านทั้งหลายจงรับภัต หรือ ท่านจงให้บาตร ๘ บาตร ท่านทั้งหลายจงรับภัตดังนี้ พระภัตตุทเทสก์พึงให้ ภิกษุทั้งหลายถือเอาตามลำดับ. และเมื่อจะให้ถือเอา ตัดบทเสียไม่ออกชื่อว่า ภัต พูดแต่ว่า ท่านด้วย ท่านด้วยนิมนต์ไป ดังนี้ ควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑ- ปาติกธุดงค์.

แต่เมื่อเขากล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ท่านจงให้บาตรของพวกท่าน นิมนต์ ท่านมา ดังนี้ พึงรับว่า ดีละ อุบาสก แล้วไปเถิด.

เมื่อเขากล่าวว่า ท่านทั้งหลายเจาะจงเฉพาะจากสงฆ์มาเถิด ดังนี้ พึง ให้ถือเอาตามลำดับ.

อนึ่ง เมื่อเขามาจากเรือนนิมันตนภัต เพื่อต้องการบาตร พึงให้บาตร ตามลำดับ โดยนัยที่กล่าวแล้วในอุทเทสภัตนั้นแล.

ทายผู้หนึ่งไม่กล่าวว่า จงให้บาตรตามลำดับจากสงฆ์ กล่าวแค่เพียงว่า ท่านจงให้บาตรใบหนึ่ง ดังนี้ เมื่อยังไม่ทันให้ถือเอาบาตร ก็ฉวยเอาบาตร ของภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไปบรรจุเต็มนำมา ภัตนั้น เป็นของภิกษุผู้เจ้าของบาตร เท่านั้น อย่าให้ถือเอาตามลำดับเหมือนในอุทเทสภัต.

แม้ในนิมันตนภัตนี้ ทายกใดมาแล้วยืนนิ่งอยู่ ทายกนั้นอันภิกษุไม่ พึงถามว่า ท่านมาหาใคร หรือว่า ท่านจักนำบาตรของใครไป? เพราะว่า เขาจะพึงตอบเลียนคำถามว่า ข้าพเจ้ามาหาท่าน จักนำบาตรของท่านไป เพราะ เช่นนั้น ภิกษุนั้นจะพึงถูกภิกษุทั้งหลายเกลียดชัง.

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 245

แต่ครั้นเมื่อภิกษุถามว่า ท่านจะไปไหน ท่านเที่ยวทำอะไร? เมื่อ เขาตอบว่า มาเพื่อต้องการบาตร ดังนี้ พึงถือเอาบาตรตามลำดับเรียงตัวกัน เหมือนกัน.

ถ้าเขานำมาแล้วกล่าวว่า ขอพระสงฆ์ทั้งปวงจงฉัน พึงแบ่งกันฉัน

ต้องงดลำดับแม้ที่ล่วงไปแล้ว ของภิกษุผู้เจ้าของบาตรเสียให้เธอถือเอา ภัตเนื่องในลำดับอื่นใหม่.

ทายกผู้หนึ่ง นำภัตมาด้วยถาดแล้ว กล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายสงฆ์ พึง แบ่งกัน โดยสังเขปเป็นคำๆ ตั้งต้นแต่ลำดับแห่งอาโลปภัตไป.

อนึ่ง ถ้าเขานิ่งอยู่ ภิกษุอย่าถามเขาว่า ท่านนำมาเพื่อใคร ท่าน ประสงค์จะถวายใคร? และถ้าเมื่อภิกษุถามว่า ท่านจะไปไหน? ท่านเที่ยว ทำอะไร? เขาจึงตอบว่า ข้าพเจ้านำภัตมาเพื่อสงฆ์ ข้าพเจ้านำภัตมาเพื่อ พระเถระ ดังนี้ พึงรับแล้วแบ่งให้ตามลำดับแห่งอาโลปภัต.

ก็ถ้าว่า ภัตที่เขานำมาอย่างนั้น มีมาก พอแก่สงฆ์ทั้งสิ้น นี้ชื่อว่า อภิหฏภิกฺขา (ภาษาที่เขานำมาพอ) ย่อมควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์ ไม่มีกิจที่จะต้องถามถึงลำดับ. พึงถวายเต็มบาตรตั้งแต่เถรอาสน์ลงมา.

อุบาสกส่งข่าวไปถึงพระสังฆเถระก็ดี ภิกษุผู้มีชื่อเสียงเนื่องด้วยคันถธุระและธุดงค์ก็ดี พระภัตตุทเทสก์ก็ดี ว่า ท่านจงพาภิกษุมา ๘ รูป เพื่อ ประโยชน์แก่การรับภัตของข้าพเจ้า.

แม้หากว่า ข่าวนั้นจะเป็นข่าวที่ญาติและอุปัฏฐากส่งไปก็ดี ภิกษุ ๓ รูป (มีพระสังฆเถระเป็นต้น) นี้ ย่อมไม่ได้เพื่อจะสอบถามเขา. ลำดับเป็นอันยก ขึ้นทีเดียว. พึงให้นิมนต์ภิกษุ ๘ รูปจากสงฆ์ มีตนเป็นที่ ๙ ไปเถิด เพราะ เหตุไร? เพราะว่าลาภอาศัยภิกษุเหล่านั้น จึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุสงฆ์.

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 246

ส่วนภิกษุเจ้าของถิ่น ซึ่งไม่มีชื่อเสียงทางคันถธุระและธุดงค์เป็นต้น จะถามก็ได้. เพราะฉะนั้น เธอพึงถามเขาว่า ข้าพเจ้าจะนิมนต์จากสงฆ์ หรือ ว่าจะมากับภิกษุทั้งหลายที่ข้าพเจ้ารู้จัก? ดังนี้แล้ว จึงจัดเข้าลำดับปฏิบัติตามที่ ทายกเขาสั่ง.

ก็เมื่อเขาสั่งว่า ท่านจงพานิสิตของท่าน หรือภิกษุที่ท่านรู้จักมาเถิด ดังนี้ จะไปกับภิกษุที่ตนปรารถนาจะนิมนต์ก็ได้.

ถ้าเขาส่งข่าวมาว่า ท่านจงส่งภิกษุมา ๘ รูป พึงส่งไปจากสงฆ์เท่านั้น. ถ้าตนเป็นผู้อาจจะได้ภิกษาในบ้านอื่น พึงไปบ้านอื่น หากว่า เป็นผู้ไม่อาจจะ ได้ ก็พึงเข้าไปบิณฑบาตที่บ้านนั้นแล.

ภิกษุทั้งหลายที่รับนิมนต์ นั่งอยู่ในโรงฉัน ถ้าคนมาที่โรงฉันนั้น บอกว่า ขอท่านทั้งหลายจงให้บาตร ภิกษุผู้มิได้รับนิมนต์อย่าให้ พึงบอกว่า นี่ ภิกษุที่ท่านนิมนต์ไว้. แต่เมื่อเขาตอบว่า ท่านจงให้ด้วย ดังนี้ ควรให้.

ในคราวมีมหรสพเป็นต้น ชนทั้งหลายไปสู่บริเวณและเรือนบำเพ็ญเพียร นิมนต์ภิกษุผู้ทรงไตรปิฏกและพระธรรมกถึก กับภิกษุร้อยรูปเองทีเดียว.

ในกาลนั้น ภิกษุผู้ทรงไตรปิฎกและธรรมกถึกเหล่านั้น จะพาภิกษุ ทั้งหลายที่ทราบไป ก็ควร. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่าชนทั้งหลาย มี ความต้องการด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ จึงไปยังบริเวณและเรือนบำเพ็ญเพียรหา มิได้. แต่เขานิมนต์ภิกษุทั้งหลายตามสติตามกำลังไป จากที่ชุมชนแห่งภิกษุ ทั้งหลาย.

ก็ถ้าว่า พระสังฆเถระหรือภิกษุผู้มีชื่อเสียงทางคันถธุระและธุดงค์ หรือพระภัตตุทเทสก์ก็ดี จำพรรษาในที่อื่น หรือไปในที่บางแห่ง กลับมาสู่ สถานของตนอีก. ชนทั้งหลายจึงทำสักการะสำหรับอาคันตุกะ พึงพาภิกษุ

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 247

ทั้งหลายที่รู้จักไปวาระ ๑. จำเดิมแต่กาลที่ติดเนื่องกันไป เมื่อเริ่มวาระที่ ๒ พึงนิมนต์ไปจากสงฆ์เท่านั้น.

อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นอาคันตุกะผู้มาใหม่ๆ ไปด้วยทั้งใจว่า จัก เยี่ยมญาติหรืออุปัฏฐาก นั้น ญาติและอุปัฏฐากทั้งหลายของภิกษุอาคันตุกะเหล่า นั้นกระทำสักการะ.

ก็แลในอาวาสนั้น ภิกษุเหล่าใดทราบ พึงนิมนต์ภิกษุ เหล่านั้นไป, ฝ่ายภิกษุใด เป็นผู้มีลาภเหลือเฟือ ฐานะของเธอและฐานะของอาคันตุกะเป็น เช่นเดียวกัน, ชนทั้งหลายในที่ทั้งปวงตระเตรียมสังฆภัตเสร็จแล้วอยู่. ภิกษุนั้น พึงนิมนต์ภิกษุไปจากสงฆ์เท่านั้น, นี้เป็นความแปลกกันในนิมันตนภัต.

ปัญหาทั้งปวงที่ยังเหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในอุทเทสภัตนั่นแล.

ส่วนในกุรุนที่แก้ว่า เมื่อเขากล่าวว่า ท่านจงให้พระมหาเถระ ๘ รูป. พึงให้พระมหาเถระเท่านั้น ๘ รูป. ในภิกษุทั้งหลายมีภิกษุปูนกลางเป็นต้น ก็ นัยนี้แล.

แต่ถ้าเขากล่าวมิให้แปลกกันว่า ท่านจงให้ภิกษุ ๘ รูป ดังนี้พึงนิมนต์ ให้ไปจากสงฆ์ ดังนี้แล.

นิมันตนภัตตกถา จบ

[สลากภัตตกกา]

อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในสลากภัต, เพราะพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จดชื่อในสลาก หรือในแผ่นป้ายแล้ว รวมกันเข้าแจกกัน (๑) ดังนี้ พระภัตตุเทสก์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงเขียนอักษรลงในสลากไม้แก่น หรือ ในแผ่นป้ายที่ทำด้วยตอกไม้ไผ่และใบตาลเป็นต้น อย่างนี้ว่า สลากภัตของทายก


(๑) จุลฺลวคฺค. ทุติย. ๗๑๔๗

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 248

ชื่อโน้น แล้วรวมสลากทั้งหมดใส่ในกระเช้า หรือในขนดจีวร แล้วคนกลับ ไปกลับมาจนทั่งถึงทั้งข้างล่างข้างบนทีเดียว ถ้าลำดับมี พึงแจกสลากจำเดิมแต่ ลำดับไป, ถ้าไม่มี พึงแจกตั้งแต่ที่เถรอาสน์ลงมา.

ภิกษุผู้มาภายหลังก็ดี ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในที่ไกล ด้วยอำนาจเนื่องถึงกันก็ ดี พึงให้ตามนัยที่กล่าวแล้วในอุทเทสภัตนั่นแล.

หากว่า โดยรอบสำนักมีโคจรคามมาก, ส่วนภิกษุมีไม่มาก สลาก ทั้งหลายย่อมถึงแม้ด้วยอำนาจแห่งบ้าน พึงแจกสลากด้วยอำนาจแห่งบ้านทีเดียว ว่าสลากภัตทั้งหลาย ในบ้านโน้น ถึงแก่พวกท่าน, สลากภัตทั้งหลาย ในบ้าน โน้น ถึงแก่พวกท่าน.

เมื่อพระภัตตุทเทสก์ให้ถือเอาอย่างนั้น แม้หากว่า ในบ้านตำบลหนึ่งๆ มีสลากภัต ๖๐ ที่ มีประการต่างๆ กัน สลากภัตทั้งหมดเป็นอันเธอให้ถือเอา เสร็จสิ้นไปแล้ว.

ในบ้านใกล้เคียงกับบ้านที่ถึงแก่ภิกษุ ยังมีสลากภัตอื่นอีก ๒- ๓ ที่, แม้ สลากภัตเหล่านั้น ก็ควรให้แก่เธอเสียด้วย. เพราะว่าพระภัตตุทเทสก์ไม่สามารถ จะส่งภิกษุอื่นไป เพราะเหตุแห่งสลากภัตเหล่านั้นได้ ฉะนี้แล.

ถ้าว่า ในบางบ้านมีสลากภัตมาก พึงกำหนดให้แก่ภิกษุ ๗ รูปบ้าง, ๘ รูปบ้าง แต่เมื่อจะให้ต้องมัดสลากรวมกันให้แก่ภิกษุ ๔ - ๕ รูปผู้จะไป.

ถ้าว่า ถัดบ้านนั้นไป มีบ้านอื่น, และในบ้านั้นมีสลากภัตเพียงที เดียว. และเขาถวายสลากภัตนั้นแต่เช้าเทียว. สลากภัตแม้นั้น พึงให้ด้วยบังคับ แก่ภิกษุรูปหนึ่งในภิกษุเหล่านั้น แล้วสั่งเธอว่า ท่านจงรับสลากภัตนั้นเสียแต่ เช้า ภายหลังจึงค่อยรับภัตนอกนี้ที่บ้านใกล้.

ในกุรุนทีกล่าวนัยดังนี้ว่า ถ้าว่า เมื่อสลากภัตทั้งหลายในบ้านใกล้ ยัง มิได้แจกจ่ายกันเลย ภิกษุนั้น ไปเสีย ด้วยสำคัญว่าได้แจกกันเสร็จแล้ว, ครั้น

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 249

ให้ถือ เอาสลากภัตในบ้านไกลแล้ว ต้องกลับมาวิหารอีก รับแจกสลากภัตนอก นั้น แล้วจึงค่อยไปบ้านใกล้ เพราะว่าลาภสงฆ์จะแจกกันภายนอกสีมา ย่อม ไม่ได้.

แต่ถ้าภิกษุมีมาก. สลากด้วยอำนาจแห่งบ้านไม่พอกัน ; พึงให้ถือ เอาด้วยอำนาจถนนหนึ่ง หรือด้วยอำนาจฟากหนึ่งในถนนหรือด้วยอำนาจสกุล หนึ่งก็ได้

ก็แล ในถนนเป็นต้น ในที่ใดมีภัตรมาก, ในที่นั้น พึงให้ภิกษุมาก รูปถือเอง ตามนัยที่กล่าวในบ้านนั่นแล. เมื่อสลากไม่มี พึงเจาะจงให้ถือเอาก็ ได้. อันภิกษุผู้ให้สลากต้องรู้จักวัตร.

จริงอยู่ ภิกษุผู้ให้สลากนั้น พึงลุกขึ้นแต่เช้า ถือบาตรและจีวรไปสู่ หอฉัน กวาดสถานที่ซึ่งยังมิได้กวาด จัดตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้กะเวลาว่า บัดนี้ วัตรจักเป็นอันภิกษุทั้งหลายทำเสร็จแล้ว จึงตีระฆัง เมื่อภิกษุทั้งหลายประชุม กันแล้ว พึงให้ถือสลากภัตที่บ้านเวรเสียก่อน คือพึงกล่าวว่า สลากที่บ้านเวร ชื่อโน้น ถึงแก่ท่าน ท่านจงไปที่บ้านนั้น.

ถ้าว่า บ้านอยู่ในระยะทางเกินกว่า ๑ คาวุต, ภิกษุผู้ไปในวันนั้นย่อม เหน็ดเหนื่อย, พึงให้เอาเสียแค่ในวันนี้ทีเดียวว่า พรุ่งนี้สลากที่บ้านเวรถึงแก่ ท่าน.

ภิกษุใด ถูกส่งไปบ้านเวร ไม่ยอมไป จะเลือกเอาสลากอื่นอย่าพึงให้ แก่ภิกษุนั้น. เพราะว่า จะเสื่อมบุญของพวกชนผู้มีศรัทธาและจะขาดลาภสงฆ์ ; เพราะฉะนั้น แม้ในวันที่ ๒ ที่ ๓ ก็อย่าพึงให้สลากอื่นแก่เธอ. พึงบอกเธอว่า ท่านจงไปยังสถานที่ถึงแก่ตนแล้วฉัน เถิด. แต่เมื่อเธอไม่ยอมไปครบ ๓ วัน พึง ให้เธอถือเอาสลากที่บ้านในแต่บ้านเวรเขามา.

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 250

หากว่า เธอยอมรับสลากนั้นไซร้, จำเดิมแค่นั้น ไป ไม่สมควรให้ สลากอื่นแก่เธอ.

ส่วนทัณฑกรรมต้องลงให้หนัก คือ พึงลงทัณฑกรรมให้ตักน้ำ อย่า ให้น้อยกว่า ๖๐ หรือ ๕๐ หม้อ หรือให้ขนฟืนอย่าให้น้อยกว่า ๖๐ หรือ ๕๐ มัด หรือให้ขนทรายอย่าให้หย่อนกว่า ๖๐ หรือ ๕๐ บาตร.

ครั้นให้รับสลากที่บ้านเวรแล้ว พึงให้รับวาระเฝ้าสำนัก. พึงบอกเธอ ว่า วาระเฝ้าสำนักถึงแก่ท่าน. พึงให้สลากยาคู ๒ - ๓ ที่ และสลากภัต ๓ หรือ ๔ ที่ แก่ภิกษุผู้รับวาระเผาสำนัก, แต่อย่าให้เป็นประจำ. เพราะว่า ทายกผู้ ถวายยาคูและภัต จะพึงถึงความเสียใจว่า พวกภิกษุผู้เผาสำนักเท่านั้น ฉันยาคู และภัตของพวกเรา เพราะฉะนั้น จึงควรให้สลากในสกุลอื่นๆ.

หากว่า พวกภิกษุผู้ชอบพอกันของภิกษุผู้รับวาระเฝ้าสำนัก นำมาถวาย เอง. อย่างนั้นนั่น เป็นการดี ; ถ้าว่า พวกเธอไม่นำมาถวาย, พึงให้รับวาระ แทน. ให้นำยาคูและภัตมาให้ แก่ภิกษุผู้รับวาระเฝ้าสำนักเหล่านั้น. และสลาก เหล่านั้นของพวกภิกษุผู้รับวาระเฝ้าสำนักนั้นย่อมเป็นส่วนเพิ่มแท้ ทั้งเธอทั้ง หลายย่อมเป็นส่วนเพิ่มแท้ ทั้งเธอทั้งหลายย่อมได้เพื่อถือเอาสลากภัตประณีต แม้อื่น ในที่ซึ่งถึงตามลำดับพรรษาด้วย, พึงแจกสลากจัดลำดับไว้แผนกหนึ่ง สำหรับเอกวาริยภัต ที่มีเครื่องปิ้งจี่เหลือเฟือ.

ถ้าว่า สลากอันภิกษุใดได้แล้ว, แต่ภิกษุนั้นไม่ได้ภัตนั้นในวันนั้น พึงให้เธอรับในรุ่งขึ้น.

ภิกษุใดได้แต่ภัต ไม่ได้เครื่องปิ้งจี่, แม้อย่างนี้ ก็พึงให้รับใหม่. แม้ในสลากภัตมีนมสด ก็นัยนี้แล.

แต่ถ้าว่า ได้แต่นมสด ไม่ได้ภัต, อย่าพึงให้รับซ้ำอีก จำเดิมแต่ได้ นมสดไปแล้ว. เอกวาริยภัต ๒ - ๓ ที่ ถึงแก่ภิกษุรูปเดียวเท่านั้น. ในทุพภิกข-

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 251

สมัย พึงเฉลี่ยให้ถือเป็นแผนกๆ ในเวลาที่สังฆนวกะได้แล้ว. สลากภัตตาม ปกติ แม้ภิกษุที่ยังไม่ได้ ก็พึงให้รับในวันรุ่งขึ้น.

ถ้าเป็นสำนักเล็ก, ภิกษุทั้งปวงฉันรวมกัน, เมื่อจะให้ถือเอาสลากอ้อย จะให้ถึงแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งอยู่ตรงหน้าแล้วปอกถวายพระมหาเถระเป็น ต้นในกาล ก็ควร.

สลากน้ำอ้อย ครั้นแจกกันแล้ว แม้ภายหลังภัต พึงกรองหรือให้ทำ เป็นผาณิตแล้ว ถวายแม้แก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์เป็นต้น, ต้องรู้ว่า ภิกษุ อาคันตุกะมาแล้วหรือยังไม่มาก่อน จึงให้ถือเอาสลาก.

ในอาวาสใหญ่ ต้องจัดลำดับให้ถือเอา. สลากเปรียง (๑) เล่า จะให้ถึงใน ที่แห่งภิกษุผู้เป็นสภาคกัน หรือจะให้อุ่น หรือจะให้เจียวถวายพระเถระทั้งหลาย ก็ควร. พึงปฏิบัติตามนัยที่กล่าวแล้วในอาวาสใหญ่นั่นแล.

แม้สลากผลไม้ สลากขนมและสลากเภสัชของหอมและระเบียบเป็นต้น พึงให้ถือเอาตามลำดับเป็นแผนกๆ.

ก็แล ในสลากเหล่านี้ สลากเภสัชเป็นต้น ย่อมควรแก่ภิกษุผู้ถือ ปิณฑปาติกธุดงค์ก็ไม่พึงยินดี เพราะเป็นปัจจัยที่ให้ถือเอาเนื่องด้วยสลาก.

ทายกถวายสลากภัต แม้มีแต่สักว่าภิกษาเลิศ, พึงถามถึงลำดับแล้วให้ ถือเอา. เมื่อไม่มีลำดับ พึงให้ตั้งแต่เถรอาสน์ลงมา. หากว่า ภัตเช่นนั้นมีมาก พึงให้แก่ภิกษุรูปละ ๒ - ๓ ที่. ถ้ามีไม่มาก, พึงให้รูปละที่เท่านั้น เมื่อลำดับ หมดแล้วตามลำดับ พึงให้แต่ที่เถระอาสน์ลงมาอีก. ถ้าขาดลงเสียกลางคัน, พึง จำลำดับไว้ แต่ถ้าภัตเช่นนั้น เป็นของมีเป็นประจำทีเดียว. ภัตนั้นถึงแก่ภิกษุ พึงบอกภิกษุนั้นว่า ท่านได้แล้วก็ตาม ยังไม่ได้ก็ตาม แม้พรุ่งนี้ก็พึงรับ.


(๑) ฆต เรียกตามฮินดูว่า ฆิ (ghee) เขมรว่า เปรง แปลว่าน้ำมัน เราเรียกเพี้ยนไป.

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 252

ภัตรายหนึ่ง เป็นของที่เขามิได้ให้เป็นนิตย์ แต่ในวันที่ได้ย่อมได้พอ ฉัน. วันที่ไม่ได้มีมากกว่า. ภัตนั้น ไม่ถึงแก่ภิกษุใด, พึงสั่งภิกษุนั้น ว่า ท่าน ไม่ได้ พึงรับในพรุ่งนี้ เถิด.

เมื่อให้จับสลากแล้ว ภิกษุใดมาภายหลัง, สลากของภิกษุนั้น เป็นอัน เลยไปแล้ว อย่าพึงจัดแจงให้เลย.

จำเดิมแต่ตีระฆังไป ภิกษุผู้มายื่นมือแล ย่อมได้ลาภคือสลากเป็นแท้.

เมื่อภิกษุอื่น แม้มายืนอยู่ในที่ใกล้ สลากก็เป็นอัน เลยไปแล้ว แต่ถ้า ภิกษุอื่น ผู้จะรับแทนภิกษุนั้นมีอยู่, ภิกษุนั้นแม้ไม่มาเอง ย่อมได้.

ในฐานะที่เป็นผู้ชอบพอกัน ภิกษุผู้แจกทราบว่า ภิกษุโน้น ยังไม่มา จะเก็บไว้ให้ด้วยตั้งใจว่า นี่สลากของภิกษุนั้น ดังนี้ก็ควร.

ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลายทำกติกาไว้ว่า ไม่พึงให้ แม้แก่ภิกษุผู้ไม่มา, กติกานั้น ไม่เป็นธรรม. เพราะว่า ภัณฑะที่จะพึงแจกกันย่อมถึงแก่ภิกษุผู้ตั้ง อยู่ภายในอุปจาร. และถ้าว่า ภิกษุทั้งหลายทำเสียงอื้ออึงว่า ท่านจงให้แก่ภิกษุ ผู้ไม่มา พึงเริ่มตั้งทัณฑกรรมพึงสั่งว่า จงมารับเอาเองเถิด

สลากหายไป ๕ - ๖ ที่, พระภัตตุทเทสก์นึกชื่อทายกไม่ได้ ถ้าว่าพระภัตตุทเทสก์นั้น ให้สลากที่หายถึงแก่พระมหาเถระหรือแก่ตนแล้ว พึงสั่งภิกษุ ทั้งหลายว่า สลากภัตที่บ้านโน้น เราให้ถึงแก่ตัวเรา ท่านทั้งหลายพึงฉัน สลากภัต ที่ได้ในบ้านนั้นเถิด ดังนี้ สมควร

แต่ไม่มอบถวายในสำนัก ได้ภัตนั้นที่โรงฉัน แล้วจะแจกกันฉัน ที่ โรงฉันนั้นเอง หาควรไม่.

เมื่อทายกกล่าวว่า ตั้งแต่วันนี้ไป ท่านทั้งหลายจงรับสลากภัต ของ ข้าพเจ้า ดังนี้ จะให้ถือเอาที่โรงฉันในที่นั้น ไม่ควร. ต้องนำมายังสำนักแล้ว จึงให้ถือเอา.

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 253

อนึ่ง เมื่อทายกกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงรับสลากภัตของข้าพเจ้า ตั้ง แต่พรุ่งนี้ไป ดังนี้ พึงบอกแก่พระภัตตุเทสก์ว่าสกุลชื่อโน้น ถวายสลากภัต ตั้งแต่พรุ่งนี้ไป, ท่านพึงนึกในเวลาให้จับสลาก.

ในคราวทุพภิกขภัย ชนทั้งหลายงดสลากภัตเสีย เมื่อถึงคราวหาภิกษา ได้ง่าย พบภิกษุบางรูปแล้ว เริ่มตั้งไว้อีกว่า ท่านทั้งหลายจงรับสลากภัตของพวก ข้าพเจ้า ตั้งแต่วันนี้ไป. อย่าแจกกันภายในบ้าน ต้องนำมาสำนักก่อน จึงค่อย แจกกัน. เพราะว่าธรรมดาสลากภัตนี้ ไม่เป็นเหมือนอุทเทสภัต, ทายกย่อม หมายเฉพาะสำนักถวาย ; เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรแจกกันนอกอุปจาร.

อนึ่ง เมื่อทายกบอกว่า ท่านทั้งหลายจงรับสลากภัตของข้าพเจ้า ดัง แต่พรุ่งนี้ไป ดังนี้ ต้องแจกกันในสำนักเหมือนกัน.

คมิกภิกษุประสงค์จะไปสู่ทิศาภาคใด, สลากที่บ้านเวรในทิศาภาคนั้น เป็นของอันภิกษุอื่นได้แล้ว, คมิกภิกษุจะถือเอาสลากนั้น แล้วสั่งภิกษุนอกนี้ ว่า ท่านจงถือสลากที่ถึงแก่เรา ดังนี้ แล้วไป ก็ควร. แก่ภิกษุนั้น ต้องถือ เอาสลากของคมิกภิกษุนั้นเสีย ในเมื่อเธอยังมิทันก้าวล่วงอุปจารสีมาไปทีเดียว.

ชนทั้งหลายอยู่ในสำนักร้าง จัดตั้งสลากภัตไว้ ด้วยคิคว่า ภิกษุทั้งหลาย ปรนนิบัติต้นโพธิ์ และเจดีย์เป็นต้น แล้ว จงฉัน เถิด ดังนี้. ภิกษุทั้งหลายค้าง อยู่ในที่ภิกษุผู้ชอบพอกันแล้ว ไปแต่เช้ามืด กระทำวัตรในสำนักร้างนั้นแล้ว ฉันภัตนั้น ควรอยู่.

หากว่า เมื่อภิกษุเหล่านั้น ให้ถึงแก่ตนเพื่อจะได้ฉันในพรุ่งนี้ แล้ว พากันไป ภิกษุอาคันตุกะอยู่ในสำนักร้าง กระทำวัตรแต่เช้าทีเดียว ตีระฆัง แล้วให้สลากภัตถึงแก่ตนแล้วไปสู่โรงฉัน. ภิกษุอาคันตุกะนั้นแล เป็นใหญ่ แห่งภัตนั้น.

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 254

ฝ่ายภิกษุใด เมื่อภิกษุทั้งหลายกำลังทำวัตรอยู่เทียว กวาดที่แผ่นดิน ๒ - ๓ ที่แล้ว ตีระฆังแล้ว ไปด้วยทำในใจว่า สลากภัตที่บ้านไกลถึงแก่เรา. สลากภัตนั้น ย่อมไม่ถึงภิกษุนั้น เพราะเธอถือเอาด้วยอาการลอบชิง, ย่อม เป็นของภิกษุผู้กระทำวัตรเสร็จแล้วให้ถึงแก่ตนมาภายหลังเท่านั้น.

บ้านหนึ่งอยู่ไกลนัก, ภิกษุทั้งหลายไม่ปรารถนาจะไปเป็นนิตย์. ชน ทั้งหลายจึงกล่าวว่า พวกข้าพเจ้าเป็นผู้เหินห่างบุญ. พึงสั่งภิกษุทั้งหลายที่ชอบ พอกันในสำนักใกล้บ้านนั้นว่า ในวันที่ภิกษุเหล่านี้ไม่มา พวกท่านจงฉันแทน.

อนึ่ง สลากต้องให้จับทุกวัน. ก็และสลากเหล่านั้นแล ไม่เป็นอัน พระภัตตุทเทสก์นั้นให้จับแล้ว ด้วยอาการสักว่าตีระฆัง หรือสักว่าคนกระเช้า.

แต่ต้องจับกระเช้าเกลี่ยสลากลงในตะกร้า และอย่าจับกระเช้าที่ขอบ ปาก. เพราะถ้าว่า ในกระเช้านั้นมีงูหรือแมลงป่อง มันจะก่อทุกข์ให้ เพราะ ฉะนั้น ต้องจับข้างใต้ หันปากกระเช้าออกนอก และครั้นจับกระเช้าแล้วพึง เกลี่ยสลากลง.

ถ้าแม้จักมีงู, มันจักหนีไปข้างโน้นเทียว เพราะฉะนั้น จึงต้องเกลี่ย สลากอย่างนั้น. สลากพึงให้จับเนื่องด้วยบ้านเป็นต้น ตามนัยที่กล่าวแล้วใน ก่อนนั่นแล

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้แจกสลากนั้น ให้สลากหนึ่งถึงแก่พระมหาเถระ แล้ว จึงให้ถึงแก่ตนว่า สลากที่เหลือ ย่อมถึงแก่เรา ดังนี้ ทำวัตรไหว้เจดีย์ แล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ที่โรงระงับวิตกถามว่า ผู้มีอายุ สลากให้จับเสร็จ แล้วหรือ? พึงตอบว่า ท่านผู้เจริญ ท่านจงรับสลากภัตที่บ้านซึ่งพวกท่านไป แล้วๆ เถิด.

จริงอยู่ สลากแม้ที่ให้ถึงแล้วอย่างนี้ จัดว่าให้ถึงแล้วด้วยดีเหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 255

ภิกษุทั้งหลายจะไปสู่สำนักอื่น เพื่อฟังธรรมตลอดทั้งคืน จึงสั่งว่า เรา ทั้งหลายไม่รับทานในที่นั้นละ จักเที่ยวบิณฑบาตที่โคจรตามของเราแล้วจักมา ดังนี้ ไม่รับสลากแล้วไปเสีย. ภิกษุเหล่านั้นจะมาเพื่อฉันสลากภัตที่ถึงแก่พระ เถระในสำนักเช่นนี้ก็ควร.

ถ้าว่า แม้พระมหาเถระก็ไปกับภิกษุเหล่านั้น ด้วยคิดว่า เราจะทำ อะไรอยู่ที่นี่ ภิกษุเหล่านั้น ไม่ได้ฉัน ที่สำนักซึ่งตนไป เที่ยวไปสู่โคจรคามตาม ลำดับ อย่าพึงให้บาตร ในเมื่อทายกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ จงมอบบาตรให้ เถิด, ข้าพเจ้าจักนำสลากยาคูเป็นต้นมาถวาย.

เมื่อเขาถามว่า เหตุไรจึงไม่ให้เล่า ท่านผู้เจริญ? พึงตอบเขาว่า ภัตที่เจาะจงสำนัก ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในสำนัก เราทั้งหลายอยู่ในสำนัก อื่น.

ก็เมื่อเขากล่าวว่า โปรดให้เถิด ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าหาได้ถวาย แก่สีมาแห่งสำนักไม่, ข้าพเจ้าถวายแก่ท่าน, ขอท่านจงรับภิกษาของข้าพเจ้า เถิด ดังนี้ สมควรให้บาตรไปได้.

สลากภัตตกถา จบ

[ปักขิกภัตเป็นต้น]

ก็วินิจฉัยในปักขิกภัตเป็นต้น พึงทราบดังนี้ :-

ภัตใด อันชนทั้งหลายผู้ขวนขวายในการงาน ถวายในวันปักษ์ (ที่ บัณฑิตกำหนดไว้) เหล่านี้ คือ วัน ๑๔ ค่ำ, วัน ๑๕ ค่ำ วัน ๗ ค่ำ วัน ๘ ค่ำ, เพื่อต้องการเตือนสติ สำหรับทำอุโบสถภัตนั้นชื่อาปักขิกภัต. ปักขิกภัตนั้น มีคติอย่างสลากภัตนั่นเอง พึงให้ภิกษุทั้งหลายรับไปฉัน.

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 256

ถ้าว่า สลากภัตก็ดี ปักขิกภัตก็ดี มีมากทั่วถึง แก่ภิกษุทั้งปวง, พระภัตตุทเทสก์พึงให้ถือเอาภัตแม้ทั้ง ๒ เป็นแผนกๆ.

หากว่า ภิกษุสงฆ์มีมาก, พึงให้ถือเอาปักขิกภัตแล้ว จึงให้ถือเอา สลากภัตต่อลำดับแห่งปักขิกภัตนั้นก็ได้ หรือพึงให้ถือเอาสลากภัตแล้ว จึงให้ ถือเอาปักขิกภัต ต่อลำดับแห่งสลากภัตนั้นก็ได้.

ภัต ๒ นั้น ยังไม่ถึงแก่ภิกษุเหล่าใด ภิกษุเหล่านั้น จักเที่ยว บิณฑบาต

แม้ถ้าว่า ภัตทั้ง ๒ มีมาก, ภิกษุมีน้อย. ภิกษุย่อมได้สลากภัตทุกวัน. เพราะฉะนั้น พึงงดสลากนั้นเสีย ให้ถือเอาแต่ปักขิกภัตเท่านั้นว่า ผู้มีอายุท่าน จงฉันปักขิกภัตเถิด ดังนี้.

พวกทายกถวายปักขิกภัตประณีต, พึงจัดลำดับไว้ต่างหาก. ไม่พึงให้ ถือเอาปักขิกภัตแต่ในวันนี้ว่า พรุ่งนี้ เป็นวันปักษ์.

ก็แล ถ้าทายกทั้งหลายกล่าวว่า พรุ่งนี้แล ในเรือนของพวกข้าพเจ้า จักมีภัตเศร้าหมอง ขอท่านจงแจกปักขิกภัตเสียแต่ในวันนี้ทีเดียว. อย่างนี้ควร ให้ถือเอาในวันนี้ได้.

ที่ชื่ออุโปสถิกภัตนั้น พึงทราบดังนี้ :-

บุคคลสมาทานองค์อุโบสถ ในวันอุโบสถทุกกึ่งเดือนแล้ว ตนเอง บริโภคภัตใด, ภัตนั้นแลอันเขาย่อมให้.

ที่ชื่อปาฏิปทิกภัตนั้น ได้แก่ ทานที่ทายกให้ในวันปาฏิบทด้วยกำหนด หมายว่า ในวันอุโบสถ ชนเป็นอันมากผู้ ศรัทธาเลื่อมใสย่อมสักการะแก่ภิกษุ ทั้งหลาย, ส่วนในวันปาฏิบท ภิกษุทั้งหลายย่อมลำบาก, ทานที่ถวายในวัน ปาฏิบท ย่อมเป็นกุศลมีผลใหญ่คล้ายทุพภิกขาทา, หรือทานที่ถวายในวันที่

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 257

๒ แก่ภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์เพราะอุโบสถกรรม ย่อมเป็นกุศลมีผลใหญ่ ดังนี้. ภัตทั้ง ๒ แม้นั้น มีคติอย่างสลากภัตเหมือนกัน.

ภัตทั้ง ๗ อย่างนั้น ไม่ควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์ ย่อมกระทำ ความทำลายแห่งธุดงค์เป็นแท้ ด้วยประการฉะนี้.

[อาคันตุกภัตเป็นต้น]

ภัตแม้เหล่าอื่นอีก ๔ ที่ นางวิสาขาขอประทานพรถวายในจีวรขันธกะ (๑) คือ อาคันตุกภัต คมิกภัต คิลานภัต คิลานุปัฎฐากภัตมาแล้วในบาลีเหมือน กัน.

บรรดาภัตทั้ง ๔ นั้น ภัตที่ถวายแก่ภิกษุผู้เป็นอาคันตุกะ ชื่ออาคันตุกภัต. ในภัต ๓ อย่างที่เหลือ มีนัยเช่นเดียวกัน.

ก็ถ้าว่า ในภัตทั้ง ๔ อย่างนี้ ทั้งอาคันตุกภัต ทั้งอาคันตุกภิกษุมีมาก, พึงให้ภิกษุทั้งปวงถือเอารูปละส่วนๆ เมื่อภัตไม่พอพึงให้เอาตามลำดับ.

ภิกษุอาคันตุกะรูปหนึ่ง มาก่อนทีเดียว ให้ถือเอาคันตุกภัตทั้งหมดเพื่อ ตนแล้วนั่งอยู่, อาคันตุกภัตทั้งปวง ย่อมเป็นของเธอเท่านั้น ภิกษุอาคันตุกะ ทั้งหลายผู้มาทีหลัง พึงฉันที่เธอให้แล้ว.

แม้เธอก็พึงถือเอาเพื่อคนส่วนหนึ่งแล้ว พึงให้ส่วนที่เหลือ. นี้เป็น ความชอบยิ่ง.

แต่ถ้าว่า ภิกษุอาคันตุกะนั้น แม้มาก่อน แต่ไม่ถือเอาเพื่อตนนั่งเฉย อยู่. ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายผู้นาทีหลัง พึงถือเอาตามลำดับพร้อมกับเธอ.

ถ้าว่า ภิกษุอาคันตุกะมาเป็นนิตย์ พึงฉันอาคันตุกภัตเฉพาะในวันที่ มาเท่านี้, ถ้าว่า มาในระหว่างๆ , พึงฉัน รูปละ ๒ - ๓ วัน


(๑) มหาวคฺค. ทุติย. ๒๑๐

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 258

ส่วนในมหาปัจจรีแก้ว่า ควรฉันได้ ๗ วัน. ภิกษุผู้เจ้าถิ่นไปไหนๆ มาก็ดี, แม้เธอก็พึงฉันอาคันตุกภัต.

อนึ่ง ถ้าว่า อาคันตุกภัตนั้น เป็นของที่เขาให้เนื่องในสำนักต้องให้ ถือเอาในสำนัก. ถ้าสำนักอยู่ไกล เขาจึงให้เนื่องในโรงฉัน ต้องให้ถือเอาใน โรงฉัน.

ก็ถ้าว่า ครั้นเมื่อภิกษุอาคันตุกะไม่มี ทายกจึงสั่งว่า แม้ภิกษุผู้เจ้าถิ่น ก็ฉันได้ ดังนี้, สมควรที่ภิกษุผู้เจ้าถิ่นจะฉัน. เมื่อเขาไม่สั่ง ไม่ควร.

ทางของเรื่อง แม้ในคมิกภัตก็ เหมือนกันนี้. ส่วนเนื้อความที่แปลก ดังนี้ :-

อาคันตุกภิกษุ ย่อมได้แต่อาคันตุกภัตเท่านั้น.

คมิกภิกษุ ย่อมได้ทั้งอาคันตุกภัต ทั้งคมิกภัต. แม้ภิกษุผู้เจ้าถิ่น ผู้จำนงจะหลีกไป ย่อมกลายเป็นคมิกภิกษุ ย่อมได้คมิกภัต. เหมือนอย่างว่า อาคันตุกภัต อันอาคันตุกภิกษุย่อมได้ฉันใด คมิกภัตนี้ อันคมิกภิกษุ ย่อม ได้ตั้ง ๒ - ๓ วัน หรือ ๗ วัน ฉันนั้นหามิได้.

ภิกษุผู้ฉันด้วยตั้งใจว่าเราจักไป ตลอดวันนั้นไปไม่ได้ เพราะกรณียะ อะไรๆ ก็ตาม, แม้ในวันรุ่งขึ้นจะฉันก็ควร เพราะยังมีอุตสาหะ (ที่จะไป).

ในมหาปัจจรีแก้ว่า เมื่อภิกษุตั้งใจว่า จักไป ฉันเสร็จแล้ว พวกโจร ดักทางเสียก็ดี, น้ำหลากมาก็ดี, ฝนตกก็ดี, หมู่เกวียนยังไม่ไปก็ดี, เธอผู้ยัง มีอุตสาหะ พึงฉัน.

อันภิกษุผู้รอดอุปัทวะเหล่านั้นอยู่ จะฉัน ๒- ๓ วันก็ควร แต่ภิกษุ ผู้อ้างเลศว่า จักไป จักไป ย่อมไม่ได้เพื่อฉัน.

คิลานภัตเล่า ถ้ามีพอแก่ภิกษุผู้อาพาธทั่วกัน ก็พึงให้ๆ ทั่วกัน หาก ว่าไม่พอ ก็พึงจัดลำดับให้ถือเอา.

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 259

ภิกษุอาพาธรูปหนึ่ง ท่วงทีเหมือนคนไม่มีโรค ยังอาจไปภายในบ้าน ได้, รูปหนึ่งไม่อาจ รูปนี้ชื่อผู้อาพาธหนัก. พึงให้คิลานภัตแก่เธอแท้.

ภิกษุผู้อาพาธหนัก ๒ รูป, รูปหนึ่งรวยลาภ เป็นผู้มีชื่อเสียงได้ ขาทนียโภชนียะมาก, รูปหนึ่งอนาถา ต้องเข้าไปภายในบ้านเพราะมีลาภอัตคัค, พึงให้คิลานภัตแก่รูปหลังนั้น.

ในคิลานภัต ไม่มีกำหนดวัน, ภิกษุผู้อาพาธพึงฉันตลอดเวลาที่โรค ยังไม่สงบ เมื่อไม่ฉันโภชนะที่สบาย จะยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้.

แต่ในกาลใด เมื่อภิกษุผู้อาพาธนั้น แม้ฉันยาคูที่ระคน หรือภัตที่ ระคน โรคก็ไม่กำเริบ, จำเดิมแต่กาลนั้นไป ไม่พึงฉันคิลานภัต.

คิลานุปัฏฐากภัตเล่า มีพอแก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ทั่วถึงกัน พึงให้ๆ ทั่ว ถึงกัน, หากว่าไม่พอ พึงจัดลำดับให้ถือเอา.

แม้คิลานุปัฏฐากภัตนี้ ก็พึงแจกให้แก่ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุที่อาพาธนัก ในบรรดาภิกษุผู้อาพาธ ๒ รูป.

สกุลใด ถวายทั้งคิลานภัต ทั้งคิลานุปัฏฐากภัต แก่ภิกษุผู้พยาบาล ภิกษุอาพาธที่อนาถา ในบรรดาภิกษุผู้อาพาธหนัก ๒ รูป ภัตในสกุลนั้น ถึง แก่ภิกษุผู้อาพาธรูปใด แม้ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุที่อาพาธรูปนั้น ก็พึงให้ถือเอา ในสกุลนั้นแล.

แม้ในคิลานุปัฏฐานภัต ก็ไม่มีกำหนดวัน. ภิกษุผู้อาพาธยังได้อยู่เพียง ใด, แม้ผู้พยาบาลของเธอยู่ย่อมได้เพียงนั้น, เพราะเหตุนั้น ภัต ๔ อย่างนี้ ถ้า เป็นของที่เขาถวายอย่างนี้ว่า ภิกษุอาคันตุกะ, ภิกษุผู้เตรียมตัวไป, ภิกษุผู้ อาพาธ. และภิกษุผู้พยาบาลภิกษุผู้อาพาธ, จงรับภิกษาของข้าพเจ้า ย่อมควร แม้แก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์. แต่ถ้าเป็นของที่เขาถวายอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 260

จัดภัตไว้ให้เป็นประจำ เพื่อภิกษุอาคันตุกะเป็นต้น. ภิกษุอาคันตุกะเป็นต้นจง รับภัตของข้าพเจ้า ไม่ควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.

[ภัตอีก ๓ ชนิด]

ภัตอื่นอีก ๓ ชนิดเหล่านี้ คือ ธุวภัต กุฏิภัต วารกภัติ. ในภัต ๓ ชนิดนั้น นิตยภัต เรียกว่า ธุวภัต. ธุวภัตนั้น มี ๒ อย่าง คือ ของสงฆ์ ของเฉพาะบุคคล ๑.

ใน ๒ อย่างนั้น ธุวภัตใด อันทายกถวายให้เป็นประจำว่า ข้าพเจ้า ถวายธุวภัตแก่สงฆ์ ดังนี้ ธุวภัตนั้น มีคติอย่างสลากภัตเหมือนกัน. ก็แล ธุวภัตนั้น อันทายกบอกถวายว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จงรับภิกษาประจำของ ข้าพเจ้า ดังนี้ ย่อมควรแม้แก่ภิกษุทั้งหลายถือปิณฑปาติกธุดงค์.

แม้ครั้นเมื่อธุวภัตเป็นของเฉพาะบุคคล อันทายกกล่าวว่า ข้าพเจ้า ถวายธุวภัต แก่ท่านทั้งหลาย ดังนี้ ธุวภัตนั้น ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ถือ ปิณฑปาติกธุดงค์เท่านั้น. แต่เมื่อเขากล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงรับภิกษาประจำ ของข้าพเจ้า ดังนี้ ควรอยู่, ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์พึงยินดี.

แม้ถ้าว่าภายหลัง เมื่อล่วงไปแล้ว ๒- ๓ วัน เขากล่าวว่า ท่านทั้งหลาย จงรับธุวภัต ภัตนั้นควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์ เพราะเป็นของที่เธอรับ ไว้ดีแล้วในวัน แรก.

ที่ชื่อกุฏิภัต คือภัตที่ทายกสร้างที่อยู่ถวายสงฆ์แล้ว ถวายให้เป็นประจำ อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้อยู่ในเสนาสนะของพวกข้าพเจ้า จงรับภัต ของพวกข้าพเจ้าเท่านั้น ดังนี้ กุฏิภัตนั้น มีคติอย่างสลากภัตเหมือนกัน. พึง ให้ภิกษุทั้งหลายรับมาฉัน.

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 261

ก็เมื่อทายกกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้อยู่ในเสนาสนะของพวก ข้าพเจ้า จงรับภิกษาของพวกข้าพเจ้าเท่านั้น ดังนี้ กุฏิภัตนั้น ย่อมควรแม้แก่ ภิกษุทั้งหลายผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์ ส่วนกุฏิภัตใด อันทายกเลื่อมใสในบุคคล แล้วสร้างที่อยู่เพื่อบุคคลนั้น ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ท่าน ดังนี้ กุฏิภัตนั้น ย่อมเป็นของบุคคลนั้นเท่านั้น ครั้นเมื่อบุคคลนั้น ไปในที่ไหนๆ เสีย พวก นิสิตพึงฉันแทน.

ที่ชื่อวารกภัต คือภัตที่ทายกถวายจำเดิมแค่เรือนใกล้ไปว่า พวก ข้าพเจ้าจักเปลี่ยนวาระกันบำรุงภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่ภิกษาหายาก, แม้วารก ภัตนั้น ที่ทายกถวายออกชื่อภิกษา ก็ควรแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์ แต่เมื่อทายกกล่าวว่า ถวายวารกภัต ดังนี้ วารกภัตนั้น มีคติอย่างสลากภัต.

ก็ถ้าว่า พวกทายกส่งข้าวสารเป็นต้น ไปให้ว่า สามเณรทั้งหลายจง หุงต้มถวาย ดังนี้, ภัตนั้น ควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.

ภัตเหล่านี้ ๓ กับภัตอีก ๔ มีอาคันตุกภัตเป็นต้น รวมเป็น ๗ ภัต ๗ นั้น รวมกับภัตอีก ๗ มีสังฆภัตเป็นต้น จึงเป็นภัต ๑๔ อย่าง ด้วยประการ ฉะนี้.

[ภัตอื่น ๔ อย่างในอรรถกถา]

อนึ่ง ในอรรถกถากล่าวภัต ๔ อย่างแม้อื่น คือ วิหารภัต อฏัฐภัต จตุกภัต คุฬกภัต. ใน ๔ อย่างนั้น ที่ชื่อวิหารภัต ได้แก่ภัตที่เกิดแต่กัลปนา สงฆ์ในสำนักนั้น. สำนักภัตนั้น สงเคราะห์ด้วยสังฆภัต.

อนึ่ง วิหารภัตนั้น ย่อมควรแม้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์ ในฐานะทั้งหลายเช่นนั้น เพราะเป็นภัตที่พระขีณาสพผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ใน ติสสมหาวิหารและจิตตลบรรพตเป็นต้น (เคย) รับ แล้ว อย่างที่เป็นภัตอันภิกษุ

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 262

แม้ถือปิณฑปาติกธุดงค์ก็สามารถฉันได้. ส่วนภัตที่ทายกถวายอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า ถวายแก่ภิกษุ ๘ รูป, ข้าพเจ้าถวายแก่ภิกษุ ๔ รูป ดังนี้ ชื่ออัฎฐกภัต และ ชื่อจตุกภัต.

อัฏฐกภัตและจตุกภัตแม้นั้น ที่ทายกถวายออกชื่อภิกษา ควรแก่ภิกษุ ผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.

ภัตที่ทายกหมายบาตรไว้ ด้วยขนมมีรสอร่อยยิ่ง มีเครื่องปรุงมาก แล้วถวาย ชื่อคุฬกภัต. ภัต ๓ อย่างนี้ มีคติอย่างสลากภัตเหมือนกัน.

แม้ภัตอื่นอีกที่ชื่อ คุฬกภัต ก็ยังมี (คือ) คนทั้งหลายบางพวกในโลกนี้ ให้ทำการฟังธรรมเป็นการใหญ่ และการบูชาในสำนักแล้วกล่าวว่า พวกข้าพเจ้า ไม่สามารถถวายแก่พระสงฆ์ทั้งสิ้นได้, ภิกษุ ๒ - ๓ ร้อย จงรับภิกษาของพวก ข้าพเจ้า ดังนี้, แล้วถวายน้ำอ้อยงบ เพื่อทราบจำนวนภิกษุ. คุฬกภัตนี้ ย่อมควรแม้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.

จีวรที่ควรแจก ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในจีวรขันธกะ ส่วนเสนาสนะที่ ควรแจก และบิณฑบาตที่ควรแจก ข้าพเจ้าได้กล่าวในเสนาสนักขันธกะนี้ ด้วยประการฉะนี้.

[คิลานปัจจัยที่ควรแจก]

ส่วนคิลานปัจจัยที่ควรแจก พึงทราบอย่างนี้ :-

บรรดาเภสัชมีเนยใสเป็นต้น พระราชาหรือราชมหาอมาตย์ ส่งเนยใส ร้อยหม้อก็ดี พันหม้อก็ดี ไปสู่สำนักก่อน. พระภัตตุทเทสก์พึงตีระฆัง ให้ๆ เต็มภาชนะที่ถือมา จำเดิมแต่เถรอาสน์ลงมา. เนยใสนั้น ย่อมควรแม้แก่ภิกษุ ทั้งหลายผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 263

ถ้าว่า พระมหาเถระทั้งหลายเป็นผู้มักล่าช้า มาภายหลัง อย่าพึงกล่าว กะท่านว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ากำลังแจกแก่ภิกษุผู้มีพรรษา ๒๐, ลำดับของ พวกท่านเลยไปเสียแล้ว, พึงพักลำดับไว้ ถวายแก่พระมหาเถระเหล่านั้นแล้ว จึงถวายตามลำดับในภายหลัง.

ภิกษุทั้งหลายได้ฟัง (ข่าว) ว่า ที่สำนักโน้น มีเนยใสเกิดขึ้นมาก จึง พากันมาแม้จากสำนักในระยะโยชน์หนึ่ง. พึงให้ตั้งแต่สถานที่เธอทั้งหลายมา ทันๆ กันยืนอยู่.

เมื่อพวกนิสิตมีอันเตวาสิกเป็นต้น จะรับแทนภิกษุทั้งหลายแม้ผู้มา ไม่ทัน แต่เข้าอุปจารสีมาแล้ว ก็ควรให้แท้.

พวกนิสิตเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านจงให้แก่อุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ผู้ตั้งอยู่ภายนอกอุปจารสีมา ดังนี้ ไม่พึงให้.

ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้เนื่องเป็นอันเดียวกันกับภิกษุผู้เข้าสู่อุปจารสีมาแล้ว มีที่ประตูสำนักของตนก็ดี ที่ภายในแห่งสำนักทีเดียวก็ดี, สีมาชื่อว่า ขยายออกด้วยอำนาจบริษัท; เพราะฉะนั้น พึงให้. แม้เมื่อให้ส่วนแก่สังฆนวกะ เสร็จแล้ว ก็พึงให้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้มาภายหลังเหมือนกัน.

แต่ว่า เมื่อส่วนที่ ๒ ได้ยกขึ้นสู่เถรอาสน์แล้ว ส่วนที่ ๑ ย่อมไม่ถึง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้มาทีหลังอีก, พึงให้ตามลำดับพรรษาตั้งแต่ส่วนที่ ๒ ไป เนยใสเป็นของที่ทายกเข้าไปสู่อุปจารสีมาแล้วให้ในที่ใดที่หนึ่ง, เนยใสทั้งหมด พึงแจกในที่ประชุมเท่านั้น.

ในสำนักใด มีภิกษุ ๑๐ รูป และหม้อเนยใสเป็นต้น อันทายกถวาย ๑๐ หม้อเหมือนกัน, ในสำนักนั้น พึงแจกกันรูปละหม้อ.

เนยใสมีหม้อเดียว, ภิกษุมี ๑๐ รูป, พึงแบ่งออกแล้วให้ถือเอา.

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 264

ถ้าว่า ภิกษุเหล่านั้นถือเอาว่า เนยใสทั้งหม้อตามที่ตั้งอยู่นั่นแล ย่อม ถึงแก่พวกเรา ดังนี้, เนยใสนั้น เป็นอันถือเอาไม่ชอบ, ย่อมเป็นของสงฆ์ ในที่ซึ่งตนไปแล้วๆ ทีเดียว.

แต่ว่า ภิกษุเอียงหม้อ เทเนยใสลงในภาชนะหน่อยหนึ่งแล้วกล่าวว่า นี่ถึงแก่พระมหาเถระ, ที่เหลือถึงแก่พวกเรา ดังนี้แล้ว กลับใส่เนยใสนั้นลง ในหม้อนั่นเอง ถือเอาไปตามต้องการ ควรอยู่.

ถ้าว่า เนยเป็นแท่ง แม้ขีดเป็นรอยถือเอาด้วยคิดว่า. ส่วนอื่นจากรอย ที่ขีด ย่อมถึงแก่พระมหาเถระ, ส่วนที่เหลือถึงแก่พวกเรา ดังนี้ ย่อมเป็นอัน ถือเอาชอบ.

ในภิกษุและหม้อเนยใส แม้หย่อนหรือเกินกว่ากำหนดดังกล่าวแล้ว ก็พึงแบ่งกันโดยอุบายนั้นแล. ก็ถ้าว่า ภิกษุมีอยู่รูปเดียว เนยใสก็มีอยู่หม้อเดียว ภิกษุนั้นจะตีระฆังแล้วถือเอาด้วยคิดว่า นี้ถึงแก่เรา ดังนี้ก็ดี ควรอยู่. แม้จะ ให้ถึง (แก่ตน) ทีละน้อยๆ อย่างนี้ว่า นี้ส่วนที่ ๑ ถึงแก่เรา นี้ส่วนที่ ๒ ดังนี้ก็ควร. แม้ในเภสัชที่เหลือมีเนยข้นเป็นต้น ก็นัยนี้.

แต่ว่า รอยขีดไม่คงอยู่ในน้ำมันงาเป็นต้นที่ใสใด, น้ำมันงาเป็นต้น นั้น พึงตักแจกแท้.

เภสัชมีขิงสดและพริกเป็นต้นก็ดี, สมณบริขารมีบาตรและภาชนะที่ เหลือเป็นต้นก็ดี, ทั้งหมดพึงกำหนดให้ดีแล้วแจกตามนัยอันสมควรแก่อธิบาย ดังกล่าวแล้วนั่นแล.

ภิกษุผู้เฉียวฉลาด พึงพิจารณาบาลีและอรรถกถาแล้วอย่าประมาท แจกปัจจัยของสงฆ์อย่างนั้นเถิด.

กถาว่าด้วยปัจจัยที่ควรแจกโดยอาการทั้งปวง จบแล้วด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 265

[ว่าด้วยหน้าที่ผู้แจก]

ภิกษุเจ้าหน้าที่ มีเจ้าหน้าที่แจกยาคูเป็นต้น ที่สงฆ์สมมติตั้งไว้ไม่ ต้องถาม (สงฆ์) ก่อนก็ได้ พึงให้ชนทั้งหลายผู้มาสู่สถานที่แจกคนละกึ่งส่วน แต่ว่า ภิกษุที่มิได้รับสมมติต้องอปโลกน์ให้.

เจ้าหน้าที่ผู้แจกของเล็กน้อย พึงให้เข็ม ๒ เล่ม คือ ยาวเล่มหนึ่ง สั้นเล่มหนึ่ง แก่ภิกษุผู้ทำจีวรกรรมซึ่งกล่าวอยู่ว่า ท่านจงให้เข็ม ดังนี้. ไม่มี กิจที่จะต้องถามเพราะเกิดความรังเกียจว่า ภัณฑะของสงฆ์ไม่ควรแจก.

พึงให้มีดเล็กเล่มหนึ่ง แก่ภิกษุผู้มีความต้องการด้วยมีดเล็ก.

พึงให้รองเท้าคู่หนึ่ง แก่ภิกษุผู้ประสงค์จะเดินทางกันดาร.

พึงให้ประคดเอว แก่ภิกษุผู้มีความต้องการด้วยประคดเอว.

พึงให้อังสะ แก่ภิกษุผู้มา (ขอ) ว่า อังสะของข้าพเจ้าเก่าแล้ว. พึงให้ผ้ากรองน้ำ แก่ภิกษุผู้มีความต้องการด้วยผ้ากรองน้ำ.

พึงให้กระบอกกรอง แก่ภิกษุผู้มีความต้องการด้วยกระบอกกรอง ถ้า ไม่มีผ้า พึงให้กระบอกกรองพร้อมทั้งผ้า. เมื่อภิกษุขออยู่ว่า ข้าพเจ้าจักเพิ่มแผ่นผ้าดาม พึงให้ๆ พอแก่กุสิและ อัฑฒกุสิ.

เมื่อภิกษุมา (บอก) ว่า ผ้ามณฑลไม่พอ พึงให้ผ้ามณฑลผืนหนึ่ง, พึงให้ผ้าอัฑฒมณฑล ๒ ผืน. เมื่อเธอขอผ้ามณฑล ๒ ผืน ไม่พึงให้ ๒ ผืน.

พึงให้ผ้าที่พอแก่จีวรตัวหนึ่ง แก่ภิกษุผู้มีความต้องการด้วยผ้าอนุวาต ด้านรีและด้านสกัด.

ตวงเภสัชได้ประมาณทะนานหนึ่ง พึงให้ส่วนที่ ๓ จากทะนานหนึ่งนั้น แก่ภิกษุผู้อาพาธ ซึ่งมีความต้องการด้วยเภสัชมีเนยใสและเนยข้นเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 266

ครั้นให้ ๓ วันอย่างนั้น ครบทะนานหนึ่งแล้ว ตั้งแต่วันที่ ๔ ไป ต้องเรียนสงฆ์แล้วจึงให้.

ในน้ำอ้อยงบเล่า พึงให้ส่วนที่ ๓ ในวันหนึ่ง. เมื่อเต็มงบโดยครบ ๓ วันอย่างนั้นแล้ว ต่อแต่นั้นไป ต้องเรียนสงฆ์แล้วจึงให้. คำที่เหลือทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

เสนาสนักขันธก วรรณนา จบ

 
หัวข้อถัดไป
หัวข้อก่อนหน้า

หน้าบัญชีเรื่อง