สังฆเภทขันธกวรรณนา
[เล่มที่ 9] พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒
พระวินัยปิฎก
เล่ม ๗
จุลวรรค ทุติยภาค
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 9]
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 326
สังฆเภทักขันธกวรรณนา
วินิจฉัยในสัฆเภทักขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า อภิฺาตา อภิญฺาตา มีความว่า อมาตย์ ๑๐ คน มีกาฬุทายีอมาตย์เป็นต้น พร้อมด้วยพวกบริวารและชนเป็นอันมากเหล่าอื่น ชื่อศากยกุมารผู้ปรากฏแล้วๆ.
บทว่า อมฺหากํ คือในเราทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง มีคำอธิบายว่า จากสกุลของเราทั้งหลาย.
สองบทว่า ฆราวาสตฺถํ อนุสิสฺสามิ มีความว่า กิจอันใดเธอพึง ทำในฆราวาส พี่จักให้ทราบกิจนั้น.
บทว่า อติเนตพฺพํ คือ พึงไขน้ำเข้า.
บทว่า นินฺเนตพฺพํ มีความว่า น้ำจะเป็นของเสมอกันในที่ทั้งปวง โดยประการใด พึงให้โดยประการนั้น.
บทว่า นิทฺทาเปตพฺพํ คือ พึงดายหญ้า.
สองบทว่า ภุสิกา อุทฺธราเปตพฺพา มีความว่า ธัญชาติที่ปน กับฟางละเอียด พึงคัดออกแม้จากฟาง.
บทว่า โอผุนาเปตพฺพํ มีความว่า พึงยังลมให้ถือเอา (พึงให้ลม พัด) เพื่อฝัคโปรยหญ้าและฟางละเอียดออก.
ข้อว่า เตนหิ ตฺวญฺเว ฆราวาสตฺเถน อุปชานาหิ มีความ ว่า ท่านนั่นแลพึงทราบเพื่อการครองเรือน.
ในคำว่า อหํ ตยา ยถาสุขํ ปพฺพชาหิ นี้ พึงทราบเนื้อความ ดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 327
อนุรุทธศากยะเป็นผู้ใคร่เพื่อจะกล่าวโดยเร็ว ด้วยความรักในพระ - สหายว่า เรากับท่านจักบวช เป็นผู้มีหฤทัยอันความโลภสิริราชสมบัติที่เหนี่ยว รั้งไว้อีก กล่าวได้แต่เพียงว่า เรากับท่าน เท่านั้นแล้วไม่สามารถกล่าวคำที่เหลือ.
บทว่า นิปฺปาติตา มีความว่า กุมารทั้งหลาย อันอุบาลีนี้ให้ออก ไปแล้ว.
บทว่า มานสิสิโน มีความว่า พวกหม่อนฉัน เป็นคนอันมานะ อาศัยอยู่, มีคำอธิบายว่า พวกหม่อมฉันเป็นคนเจ้ามานะ.
ในบทว่า ปรทตฺตวุโต นี้มีความว่า ชื่อผู้เป็นไปด้วยปัจจัยอันชน อื่นให้ เพราะเป็นผู้เลี้ยงชีพด้วยปัจจัยอันผู้อื่นให้.
บาทแห่งคาถาว่า ยสฺสนฺตรโต น สนฺติ โกปา มีความว่า กิเลส เครื่องยังจิตให้กำเริบทั้งหลาย ชื่อว่าไม่มีในจิตของผู้ใด เพราะเหตุว่า ความ โกรธนั้น เป็นกิเลสอันมรรคที่ ๓ ถอนเสียแล้ว.
ก็เพราะสมบัติชื่อว่าภวะ, วิบัติชื่อว่าวิภวะ, อนึ่ง ความเจริญชื่อว่าภวะ ความเสื่อมชื่อว่าวิภวะ. ความเที่ยงชื่อว่าภวะ ความขาดสูญชื่อว่าวิภวะ. บุญ ชื่อว่าภวะ, บาปชื่อว่าวิภวะ. คำว่า วิภวะ และ อภวะ นี้ เป็นอันเดียว กันโดยใจความแท้; เหตุนั้นในบาทแห่งคาถาว่า อิติ ภวาภวตญฺจ วีติวตฺโต นี้ พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้แลว่า ความมีและความไม่มี มีประการอย่างนั้น คือ มีประการหลากหลายนั่นใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจสมบัติ และวิบัติ, ความเจริญและความเสื่อม, ความเที่ยงและความขาดสูญ, บุญและ บาป ผู้นั้นก้าวล่วงความมีและความไม่มี มีประการอย่างนั้นๆ โดยนัยนั้น ตามสมควรแก่เหตุ ด้วยมรรคแม้ ๔.
บทว่า นานุภวนฺติ มีความว่า ย่อมไม่สามารถ, อธิบายว่า การ เห็นบุคคลนั้น แม้เทวดาทั้งหลาย ก็ได้ด้วยยาก.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 328
บทว่า อหิเมขลิกาย คือ พันงูไว้ที่สะเอว.
บทว่า อุจฺฉงฺเค ได้แก่ ที่อวัยวะทั้งหลาย.
บทว่า สมฺมนฺนติ ได้แก่ นับถือ.
หลายบทว่า ยํ ตุโม กริสฺสติ มีความว่า เขาจักกระทำซึ่งกรรมใด.
ในคำว่า เขฬสโก นี้ มีความว่า เทวทัต อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ผู้กินน้ำลาย เพราะคำอธิบายว่า ปัจจัยที่เกิดขึ้นด้วยมิจฉาชีพ อัน พระอริยทั้งหลายพึงคายเสีย เป็นเช่นกับน้ำลาย, เทวทัตนี้ ย่อมกลืนกินซึ่ง ปัจจัยเห็นปานนั้น.
สองบทว่า ปตฺถทฺเธน กาเยน มีความว่า มีกายแข็งทื่อคล้ายใบ ลาน. เทวทัต เมื่อจะยกตนเองโดยสภาพที่เป็นพระญาติของพระราชาว่า พระราชาทรงรู้จักเรา จึงกล่าวว่า มยํ โข ภเณ ราชญาตกา นาม.
บทว่า ปหฏฺกณฺณวาโล มีความว่า ช้างนาฬาคีรีกระทำหูทั้ง ๒ ให้หยุดนิ่ง.
บทคาถาว่า ทุกฺขํ หิ กุญฺชร นาคมาสโท มีความว่า กุญชร ผู้เจริญ ชื่อว่าการเข้าใกล้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้ไม่ยินดีด้วยจิตคิดฆ่า เป็นทุกข์.
บทว่า นาคหตสฺส มีความว่า สุคติของบุคคลผู้ฆ่าพระพุทธเจ้าผู้ ประเสริฐ ย่อมไม่มี.
สองบทว่า ปฏิกุฏิโต ปฏิสกฺกิ มีความว่า ช้างนาฬาคิรี บ่ายหน้า ไปหาพระตถาคตแล้ว ย่อลงด้วย ๒ เท้าหน้า.
ในบทว่า อลกฺขิโก นี้ มีความว่า เทวทัตนี้ย่อมไม่กำหนด. อธิบาย ว่า ย่อมไม่รู้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่กำหนดเทวทัตย่อมไม่รู้ว่า เราทำ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 329
กรรมลามกอยู่. เทวทัตนั้น อันใครๆ ไม่พึงกำหนดหมายได้ อธิบายว่า อัน ใครๆ ไม่พึงเห็น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้อันใครๆ กำหนดไม่ได้ (ว่า ลามกเพียงไร).
ในบทว่า ติกโภชนํ นี้ มีความว่า โภชนะอันชน ๓ คนพึงบริโภค.
สองบทว่า ตํ ปณฺาเปสฺสามิ มีความว่า เราจักอนุญาตติกโภชนะ นั้น. แต่ในคณโภชนะ ภิกษุต้องทำตามธรรม.
บทว่า กปฺปํ ได้แก่ อายุกัลป์หนึ่ง.
บทว่า พฺรหฺมปุญฺํ ได้แก่ บุญอันประเสริฐที่สุด.
สองบทว่า กปฺปํ สคฺคมฺหิ ได้แก่ อายุกัลป์ หนึ่งนั่นเอง.
หลายบทว่า อถ โข เทวทตฺโต สงฺฆํ ภินฺทิตฺวา มีความว่า ได้ยินว่า เทวทัตนั้น ครั้นให้จับสลากอย่างนั้นแล้ว ทำอุโบสถแผนกหนึ่ง ใน กรุงราชคฤห์นั้นนั่นแลแล้วจึงไป ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวคำนี้ว่า อถ โข เทวทตฺโต เป็นอาทิ.
หลายบทว่า ปีฏฺิ เม อาคิลายติ มีความว่า หลังของเรา ย่อม เมื่อย เพราะมีเวทนากล้า ด้วยการนั่งนาน.
หลายบทว่า ตมหํ อายมิสฺสามิ มีความว่า เราจักเหยียดหลังนั้น.
ความรู้จิตของผู้อื่นอย่างนี้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่าน เป็นอย่างนั้นบ้าง ดังนี้ แล้วแสดงธรรมพอเหมาะเจาะแก่จิตของผู้อื่นนั้น ชื่อ ว่า การพร่ำสอนมีการดักใจเป็นอัศจรรย์.
บทว่า มมานุกุพฺพํ มีความว่า เมื่อทำกิริยาเลียนเรา.
บทว่า กปโณ ความว่า ถึงทุกข์แล้ว.
บทว่า มหาวราหสฺส ความว่า เมื่อพญาช้าง.
บทว่า มหึ วิกุพฺพโต ความว่า ทำลายแผ่นดิน.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 330
สองบทว่า ภึสํ ฆสานสฺส ความว่า เคี้ยวกินเหง้า (บัว).
ในคำว่า นทีสุ ชคฺคโต นี้ มีเนื้อความว่า ได้ยินว่า พญาช้าง นั้น เมือลงสู่สระโบกขรณี อันมีนามว่า นที นั้น เล่นอยู่ในเวลาเย็น ชื่อ ว่ายังราตรีทั้งปวงให้ผ่านไป คือทำความเป็นผู้ตื่น.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เล่นอยู่ในน้ำ.
[ว่าด้วยองค์แห่งทูตเป็นต้น]
บทว่า สุตา ได้แก่ ผู้ฟัง.
บาทคาถาว่า อสนฺทิทฺโธ จ อกฺขาติ มีความว่า เป็นผู้ไม่มีความ สงสัยบอกเล่า คือผู้บอกประกอบด้วยอำนาจแห่งถ้อยคำอันสืบต่อกันตามลำดับ. เทวทัตจะเกิดในอบาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นชาวอบาย. เธอเป็นชาวนรก ก็เหมือนกัน. เทวทัตจักตั้งอยู่ตลอดกัป (ในนรก) เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัป.
บัดนี้ เทวทัต แม้พระพุทธเจ้าตั้งพันองค์ ก็ไม่อาจแก้ไขได้ เพราะ ฉะนั้น เธอจึงชื่อว่า อเตกิจฺโฉ ผู้อันพระพุทธเจ้าเยียวยาไม่ได้.
หลายบทว่า มา ชาตุ โกจิ โลกสฺมึ มีความว่า แม้ในกาล ไหนๆ สัตว์ไรๆ อย่า (เกิด) ในโลกเลย.
บทว่า อุปปชฺชถ ได้แก่ เกิด.
บาทคาถาว่า ชลํว ยสสา อฏฺา มีความว่า เทวทัตตั้งอยู่ประหนึ่ง ผู้รุ่งเรืองด้วยยศ.
บาทคาถาว่า ทวทตฺโตติ เม สุตํ มีความว่า แม้คำที่พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงสดับแล้วว่า เทวทัตเป็นเช่นนี้ ก็มีอยู่, คำว่า เทวทัตตั้งอยู่ ประหนึ่งผู้รุ่งเรืองด้วยยศ นี้ พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าว หมายเอาคำที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับแล้วนั่นแล.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 331
ในคำว่า โส ปมาทํ อนุจิณฺโณ นี้ มีความว่า เทวทัตนั้นย่อม สร้างสมความประมาท เพราะฉะนั้น เธอจึงชื่อว่าผู้สร้างสมเนืองๆ อธิบายว่า ความประมาทอันเธอไม่ละเสีย.
สองบทว่า อาสชฺช นํ มีความว่า ถึงหรือว่าเบียดเบียนพระตถาคต นั่น ด้วยจิตลามก.
ส่วนคำว่า อวีจินิรยํ ปตฺโต นี้ เป็นคำกล่าวเนื้อความที่ล่วงไป แล้ว เป็นไปในความหวัง.
บทว่า เภสฺมา คือนำภัยมา.
[ว่าด้วยสังฆราชี]
ข้อว่า เอกโต อุปาลิ เอโถ มีความว่า ในฝ่ายธรรมวาทีมีรูป เดียว.
ข้อว่า เอกโต เทฺว ความว่า ในฝ่ายอธรรมวาที มี ๒ รูป.
ข้อว่า จตุตฺโถ อนุสาเวติ สลากํ คาเหติ มีความว่า อธรรมวาทีเป็นรูปที่ ๔ คิดว่า เราจักทำลายสงฆ์.
บทว่า อนุสาเวติ ความว่า ประกาศให้ผู้อื่นพลอยรับรู้. อธิบายว่า เธอประกาศเภทกรวัตถุ ๑๘ ประการอย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดง ธรรมว่า ธรรม ดังนี้ โดยนัยเป็นต้นว่า ทั้งพวกท่าน ทั้งพวกเรา ไม่มี ความกลัวต่อนรกเลย ทางแห่งอเวจี แม้พวกเราก็ไม่ได้ปิดไว้ พวกเราไม่ กลัวต่ออกุศล ก็ถ้าว่า ข้อนี้ พึงเป็นสภาพมิใช่ธรรม หรือข้อนี้ พึงเป็นสภาพ มิใช่วินัย หรือว่า ข้อนี้ไม่พึงเป็นคำสั่งสอนของพระศาสดาไซร้; เราทั้งหลาย ไม่พึงถือเอา.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 332
ข้อว่า สลากํ คาเหติ มีความว่า ก็แลครั้นประกาศอย่างนี้แล้ว จึงบอกให้จับสลากว่า ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้, ท่านทั้งหลายจงชอบใจ สลากนี้.
แม้ในบททั้งหลายว่า เอกโต อุปาลิ เทฺว โหนิติ เป็นอาทิ ก็ มีนัยเหมือนกัน.
ข้อว่า เอวํ โข อุปาลิ สงฺฆราชิ เจว โหติ สงฺฆเภโท จ มีความว่า ความร้าวรานแห่งสงฆ์ด้วย ความแตกแห่งสงฆ์ด้วย ย่อมมี ด้วย เหตุเพียงให้จับสลากอย่างนี้, ก็แต่ว่า สงฆ์จะเป็นผู้แตกกันแล้ว ด้วยเหตุเพียง เท่านี้ก็หาไม่.
ในคำนี้ว่า อุบาลี ภิกษุแล ผู้ปกตัตต์ มีสังวาสเสมอกันตั้งอยู่ใน สีมาเสมอกัน. จึงทำลายสงฆ์ได้ ดังนี้ พึงมีคำถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น พระเทวทัต ชื่อว่า ปกตัตต์อย่างไร พระเทวทัตไม่ใช่ผู้ปกตัตต์ก่อน เพราะ เธอให้ฆ่าพระราชา และเพราะเธอทำโลหิตุปบาทอย่างไรเล่า?
ข้าพเจ้าขอกล่าวในคำถามนี้ว่า การให้ฆ่าพระราชา ชื่อว่าไม่มี เพราะ คำสั่งบังคับคลาดเสียก่อน, จริงอยู่ คำสั่งบังคับของพระเทวทัตนั้นอย่างนี้ว่า กุมาร ถ้ากระนั้น ท่านจงฆ่าพระบิดาแล้ว เป็นพระราชาเถิด เราจักฆ่าพระผู้- มีพระภาคเจ้าแล้ว เป็นพระพุทธเจ้า, แต่กุมารเป็นพระราชาแล้ว จึงยังพระบิดา ให้สิ้นชีพในภายหลัง; การให้ฆ่าพระราชา ชื่อว่าไม่มี เพราะคำสั่งบังคับคลาด เสียก่อน ด้วยประการฉะนี้.
ส่วนความเป็นอภัพบุคคล ซึ่งมีโลหิตุปบาทเป็นปัจจัย พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสแล้ว ในเมื่อโลหิตุปบาท พอพระเทวทัตทำแล้ว เท่านั้น. อันข้อที่พระเทวทัตนั้นเป็นอภัพบุคคล เว้นคำของพระผู้มีพระภาคเจ้าเสียแล้ว ใครๆ ก็ไม่สามารถจะยกขึ้นได้. ส่วนคำว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ยังโลหิต
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 333
ให้ห้อขึ้น เป็นอนุปสัมบันไม่พึงให้อุปสมบท เป็นอุปสันบัน พึงให้ฉิบหาย เสีย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสภายหลังแต่สังฆเภท; เพราะเหตุนั้น สงฆ์ชื่อ ว่าอันพระเทวทัตผู้ปกตัตต์ทำลายแล้ว.
[ว่าด้วยสังฆเภท]
วินิจฉัยในเภทกรวัตถุ ๑๘ ประการ มีข้อว่า แสดงอธรรมว่าธรรม เป็นต้น.
โดยสุตตันตปริยายก่อน. กุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่าธรรม. อกุศลกรรม บถ ๑๐ ชื่อว่าอธรรม.
อนึ่ง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ชื่อว่า ธรรม. ข้อนี้ คือ สติปัฏฐาน ๓ สัมมัปปธาน ๓ อิทธิบาท ๓ อินทรีย์ ๖ พละ ๖ โพชฌงค์ ๘ มรรคมีองค์ ๙ ชื่อว่าธรรม.
อนึ่ง ข้อนี้ คือ อุปาทาน ๔ นีวรณ์ ๕ อนุสัย ๗ มิจฉัตตะ ๘ ชื่อว่าอธรรม. ข้อนี้ คือ อุปาทาน ๓ นีวรณ์ ๔ อนุสัย ๖ มิจฉัตตะ ๗ ชื่อ ว่าอธรรม.
บรรดาธรรมและอธรรมนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้ถือเอาส่วนคืออธรรมอัน หนึ่ง บางข้อบางอย่าง กล่าวอยู่ซึ่งอธรรมนั้นว่า นี้เป็นธรรม ด้วยทำในใจ ว่า เราจักทำอธรรมนี้ว่าธรรม ด้วยประการอย่างนี้ สกุลแห่งอาจารย์ของพวก เราจักยอดเยี่ยม, และพวกเราจักเป็นคนมีหน้ามีตาในโลก ชื่อว่าแสดงอธรรม ว่า ธรรม
เมื่อถือเอาส่วนอันหนึ่ง ในส่วนแห่งธรรมทั้งหลายกล่าวอยู่ว่า นี้เป็น อธรรม อย่างนั้นนั่นแล ชื่อว่าแสดงธรรมว่า มิใช่ธรรม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 334
โดยวินัยปริยาย ส่วนกรรมที่พึงโจทแล้วให้ๆ การแล้วทำตาม ปฏิญญา ด้วยวัตถุที่เป็นจริง ชื่อว่าธรรม. กรรมที่ไม่โจท ไม่ให้ๆ การ ทำด้วยไม่ปฏิญญา ด้วยวัตถุไม่เป็นจริง ชื่อว่าอธรรม
โดยสุตตันตปริยาย ข้อนี้ คือ ราควินัย โทสวินัย โมหวินัย สังวร ปหานะ การพิจารณา ชื่อว่าวินัย. ข้อนี้ คือ ความไม่กำจัดกิเลสมีราคะเป็น ต้น ความไม่สำรวม ความไม่ละ การไม่พิจารณา ชื่อว่าอวินัย.
โดยวินัยปริยาย ข้อนี้ คือ วัตถุสมบัติ ญัตติสมบัติ อนุสาวนา สมบัติ สีมาสมบัติ ปริสสมบัติ ชื่อว่าวินัย. ข้อนี้ คือ วัตถุวิบัติ ฯลฯ ปริสวิบัติ ชื่อว่าอวินัย.
โดยสุตตันตปริยาย คำนี้ว่า สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ ชื่อว่าอันพระตถาคตทรงภาษิตแล้ว ตรัสแล้ว. คำนี้ว่า สติปัฎฐาน ๓ ฯลฯ มรรคมีองค์ ๙ ชื่อว่าอันพระตถาคตไม่ทรงภาษิตแล้ว ไม่ตรัสแล้ว.
โดยวินัยปริยาย คำนี้ว่า ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ชื่อว่าอัน พระตถาคตทรงภาษิตแล้ว. ตรัสแล้ว คำนี้ว่า ปาราชิก ๓ สังฆาทิเสส ๑๔ อนิยต ๓ นิสสิคคิยปาจิตตีย์ ๓๑ ชื่อว่าอันพระตถาคตไม่ทรงภาษิตแล้ว ไม่ตรัสแล้ว.
โดยสุตตันตปริยาย ข้อนี้ คือ การเข้าผลสมาบัติ การเข้ามหากรุณา สมาบัติ การเล็งดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุทุกวัน การแสดงสุตตันตะ การตรัส ชาดกเนื่องด้วยความเกิดเรื่องขึ้น ชื่อว่าอันพระตถาคตทรงประพฤติเสมอ. ข้อ นี้ คือ การไม่เข้าผลสมาบัติทุกวัน ฯลฯ การไม่ตรัสชาดก ชื่อว่าอันพระตถาคตไม่ทรงประพฤติเลย.
โดยวินัยปริยาย ข้อนี้ คือ การอยู่จำพรรษาแล้ว บอกลาแล้ว จึง หลีกไปสู่ที่จาริก ของภิกษุผู้รับนิมนต์แล้ว การปวารณาแล้วจึงหลีกไปสู่ที่จาริก ความทำการต้อนรับก่อนกับภิกษุอาคันตุกะ ชื่อว่าอันพระตถาคตทรงประพฤติ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 335
เสมอ ความไม่กระทำกิจมีไม่บอกลาก่อนเที่ยวไปสู่ที่จาริกนั้นนั่นแล ชื่อว่า อันพระตถาคตไม่ทรงประพฤติและ
โดยสุตตันตปริยาย ข้อนี้ คือ สติปัฎฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ ชื่อว่าอันพระตถาคตทรงบัญญัติแล้ว. ข้อนี้ คือ สติปัฏฐาน ๓ ฯลฯ มรรค มีองค์ ๙ ชื่อว่าอันพระตถาคตไม่ทรงบัญญัติแล้ว.
โดยวินัยปริยาย ข้อนี้ คือ ปาราชิก ๔ ฯลฯ นิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ ๓๐ ชื่อว่าอันพระตถาคตทรงบัญญัติแล้ว. ข้อนี้ คือ ปาราชิก ๓ ฯลฯ นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๑ ชื่อว่าอันพระตถาคตไม่ทรงบัญญัติแล้ว.
อนาบัติที่พระตถาคตตรัสแล้วในสิกขาบทนั้นๆ ว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ ภิกษุผู้ไม่รู้ ผู้ไม่มีไถยจิต ผู้ไม่ประสงค์จะให้ตาย ผู้ไม่ประสงค์จะอวด ผู้ ไม่ประสงค์จะปล่อย ชื่อว่าอนาบัติ อาบัติที่พระตถาคตตรัสแล้วโดยนัยเป็นต้น ว่า เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้รู้อยู่ ผู้มีไถยจิต ชื่อว่าอาบัติ. อาบัติ ๕ กอง ชื่อว่า อาบัติเบา. อาบัติ ๒ กอง ชื่อว่าอาบัติหนัก. อาบัติ ๖ กอง ชื่อว่าอาบัติมี ส่วนเหลือ. กองอาบัติปาราชิกกองเดียว ชื่อว่าอาบัติไม่มีส่วนเหลือ. อาบัติ ๒ กอง ชื่อว่าอาบัติชั่วหยาบ. อาบัติ ๕ กอง ชื่อว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ.
ก็ในธรรมและอธรรมเป็นต้น ที่กล่าวแล้วโดยวินัยปริยายนี้ ภิกษุผู้ กล่าวอยู่ซึ่งธรรมมีประการดังกล่าวแล้วว่า นี้ไม่ใช่ธรรม โดยนัยก่อนนั่นแล ชื่อว่าแสดงธรรมว่า มิใช่ธรรม.
เมื่อกล่าวอยู่ซึ่งข้อที่มิใช่วินัยว่า นี้เป็นวินัย ชื่อว่า แสดงข้อที่มิใช่ วินัยว่า วินัย ฯลฯ เมื่อกล่าวอยู่ซึ่งอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ.
ครั้นแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม ฯลฯ หรือครั้นแสดงอาบัติไม่ชั่ว หยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ อย่างนั้นแล้ว ได้พวกแล้วกระทำสังฆกรรม ๔
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 336
อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นแผนก ในสีมาเดียวกัน สงฆ์ชื่อว่าเป็นอันภิกษุเหล่านั้น ทำลายแล้ว.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมแตกไปเพราะเภทกรวัตถุ ๑๘ ประการนี้ เป็นอาทิ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปกสฺสนฺติ มีความว่า ย่อมแย่ง คือ ย่อมแบ่งซึ่งบริษัท ได้แก่ย่อมคัดบริษัทให้ลุกไปนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
บทว่า อวปกาสนฺติ มีความว่า ย่อมยุยงอย่างยิ่ง คือ ภิกษุทั้งหลาย จะเป็นผู้ไม่ปรองดองกันโดยประการใด ย่อมกระทำโดยประการนั้น.
บทว่า อาเวณิกํ คือ แผนกหนึ่ง.
ข้อว่า เอตฺตาวตา โข อุปาลิ สงฺโฆ ภินฺโน โหติ มีความ ว่า ครั้นเมื่อภิกษุทั้งหลาย แสดงวัตถุอันใดอันหนึ่งแม้วัตถุอันเดียว ใน เภทกรวัตถุ ๑๘ แล้ว ให้ภิกษุทั้งหลายหมายรู้ด้วยเหตุนั้นๆ ว่า ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ ท่านจงชอบใจสลากนี้ ดังนี้ ให้จับสลากแล้ว ทำสังฆกรรม แผนกหนึ่ง อย่างนั้นแล้ว สงฆ์ย่อมเป็นอันแตกกัน. ส่วนในคัมภีร์บริวาร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อุบาลี สงฆ์ย่อมแตกกันด้วยอาการ (๑) ๕ เป็นอาทิ. คำนั้นกับลักษณะแห่งสังฆเภทนี้ ที่ตรัสในสังฆเภทักขันธกะนี้ โดยใจความไม่ มีความแตกต่างกัน. และข้าพเจ้าจักประกาศข้อแตกต่างกันแห่งคำนั้น ในคัมภีร์ บริวารนั้นแล.
คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนั้นแล.
สังฆเภทักขันธกวรรณนา จบ
(๑) ปริวาร. ๔๙๕.