พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

วัตตขันธกะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 มี.ค. 2565
หมายเลข  42842
อ่าน  900
  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 337

วัตตขันธกะ

เรื่องพระอาคันตุกะ

[๔๑๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระอาคันตุกะ สวมรองเท้าเข้าไปสู่อารามก็มี กั้นร่มเข้าไปสู่อารามก็มี คลุม ศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี พาดจีวรบนศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี ล้างเท้าด้วยน้ำ ฉันก็มี ไม่ไหว้ภิกษุเจ้าถิ่นผู้แก่พรรษากว่าก็มี ไม่ถามเสนาสนะก็มี มีพระอาคันตุกะรูปหนึ่ง ถอดลิ่มแล้วผลักบานประตูเข้าไปสู่วิหารที่ไม่มีใครอยู่โดย พลัน งูตกจากเบื้องบนลงมาที่คอของเธอ เธอกลัวร้องขึ้นสุดเสียง ภิกษุทั้ง หลายรีบเข้าไปถามว่า ท่านร้องสุดเสียงทำไม เธอจึงบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุ ทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉน พระอาคันตุกะจึงสวมรองเท้าเข้าไปสู่อารามก็มี กั้นร่มเข้าไปสู่อาราม ก็มี คลุมศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี พาดจีวรบนศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี ล้างเท้า ด้วยน้ำฉันก็มี ไม่ไหว้ภิกษุเจ้าถิ่นผู้แก่พรรษากว่าก็มี ไม่ถามเสนาสนะก็มี แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกขุอาคันตุกะสวมรองเท้าเข้าไปสู่อารามก็มี กั้นร่มเข้าไปสู่อารามก็มี คลุม ศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี พาดจีวรบนศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี ล้างเท้าด้วยน้ำฉัน ก็มี ไม่ไหว้ภิกษุเจ้าถิ่นผู้แก่พรรษากว่าก็มี ไม่ถามเสนาสนะก็มี จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 338

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุอาคันตุกะจึงได้สวมรองเท้าเข้าไปสู่อารามก็มี กั้นร่มเข้าไปสู่อารามก็มี คลุมศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี พาดจีวรบนศรีษะเข้าไปสู่อารามก็มี ล้างเท้าด้วย น้ำฉันก็มี ไม่ไหว้ภิกษุเจ้าถิ่นผู้แก่พรรษากว่าก็มี ไม่ถามเสนาสนะก็มี ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุเหล่านั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุอาคันตุกะ ทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายจะพึงประพฤติเรียบร้อย.

อาคันตุกวัตร

[๔๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาคันตุกะคิดว่า จักเข้าไปสู่อาราม เดี๋ยวนี้พึงถอดรองเท้าเคาะ แล้วถือไปต่ำๆ ลดร่ม เปิดศีรษะ ลดจีวรบน ศีรษะลงไว้ที่บ่า ไม่ต้องรีบร้อน พึงเข้าไปสู่อารามตามปกติ เมื่อเข้าไปสู่ อารามพึงสังเกตว่า ภิกษุเจ้าถิ่นประชุมกันที่ไหน ภิกษุเจ้าถิ่นประชุมกันที่ใด คือ ที่โรงฉัน มณฑป หรือโคนไม้ พึงไปที่นั้น วางบาตรไว้ที่แห่งหนึ่ง วางจีวรไว้ที่แห่งหนึ่ง พึงถืออาสนะที่สมควรนั่ง พึงถามถึงน้ำฉัน พึงถามถึง น้ำใช้ว่า ไหนน้ำฉัน ไหนน้ำใช้ ถ้าต้องการน้ำฉัน พึงตักน้ำฉันมาดื่ม ถ้า ต้องการน้ำใช้ พึงตักน้ำใช้มาล้างเท้า เมื่อล้างเท้า พึงรดน้ำด้วยมือข้างหนึ่ง พึงล้างเท้าด้วยมือข้างหนึ่ง รดน้ำด้วยมือใด ไม่พึงล้างเท้าด้วยมือนั้น พึงถาม ถึงผ้าเช็ดรองเท้าแล้วจึงเช็ดรองเท้า เมื่อจะเช็ดรองเท้า พึงใช้ผ้าแห้งเช็ดก่อน ใช้ผ้าเปียกเช็ดทีหลัง พึงซักผ้าเช็ดรองเท้าบิดแล้วผึ่งไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง ถ้าภิกษุ เจ้าถิ่นแก่พรรษากว่า พึงอภิวาท ถ้าอ่อนพรรษกว่า พึงให้เธออภิวาท พึง ถามถึงเสนาสนะว่า เสนาสนะไหนถึงแก่ผม พึงถามถึงเสนาสนะที่มีภิกษุอยู่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 339

หรือที่ไม่มีภิกษุอยู่ พึงถามถึงโคจรคาม พึงถามถึงอโคจรคาม พึงถามถึงสกุล ทั้งหลายที่ได้รับสมมติว่าเป็นเสกขะ พึงถามถึงที่ถ่ายอุจจาระ พึงถามถึงที่ถ่าย ปัสสาวะ พึงถามถึงน้ำฉัน พึงถามถึงน้ำใช้ พึงถามถึงไม้เท้า พึงถามถึงกติกาสงฆ์ ที่ตั้งไว้ว่า ควรเข้าเวลาเท่าไร ควรออกเวลาเท่าไร ถ้าวิหารไม่มีภิกษุอยู่ พึงเคาะ ประตูรออยู่สักครู่หนึ่งแล้วถอดลิ่มผลักบานประตู ยืนอยู่ข้างนอกแลดูให้ทั่ว ถ้า วิหารรก หรือเตียงซ้อนอยู่บนเตียงหรือตั่งซ้อนอยู่บนตั่ง เสนาสนะมีละอองจับ อยู่เบื้องบน ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงชำระเสีย เมื่อจะชำระวิหาร พึงขนเครื่องลาดพื้น ออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่งก่อน พึงขนเขียงรองเท้าเตียงออกไปวางไว้ที่ควร แห่งหนึ่ง พึงขนฟูกและหมอนออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง พึงขนผ้านิสีทนะ และผ้าปูนอนออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง เตียง ตั่ง อันภิกษุพึงยกต่ำๆ ทำให้ เรียบร้อย อย่าให้ครูดสี กระทบบานและกรอบประตู ขนไปวางไว้ที่ควรแห่ง หนึ่ง กระโถนพึงขนออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง พนักอิงพึงขนออกไปวางไว้ที่ ควรแห่งหนึ่งถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน พึงเช็ดกรอบ หน้าต่าง ประตูและมุมห้อง ถ้าฝาทาน้ำมันขึ้นรา พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด ถ้า พื้นทาสีดำขึ้นรา พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด ถ้าพื้นไม่ได้ทา พึงเอาน้ำพรม แล้วกวาด ด้วยคิดว่าอย่าให้ฝุ่นกลบวิหาร พึงเก็บกวาดหยากเยื่อไปทิ้งเสีย ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง เครื่องลาดพื้น พึงผึ่งแดดชำระเคาะปัด แล้วขนกลับไปปูไว้ ตามเดิม เขียงรองเท้าเตียง พึงผึ่งแดด ขัด เช็ดแล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ขัดสีเคาะ ยกตำๆ ทำให้ดี อย่าให้ครูดสี กระทบ บานและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูกและหมอนตากแห้งแล้ว สลัด ปัดให้สะอาด ขนกลับวางไว้ตามเดิม ผ้าปูนั่งและผ้าปูนอนตากแห้งแล้ว สลัด ให้สะอาด ขนกลับปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักอิง ตากแล้ว พึงเช็ด ขน กลับไปทั้งไว้ตามเดิม พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 340

จับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วเก็บบาตร แต่อย่าเก็บ บาตรบนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวรเอา มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง พึงทำชายไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างใน เก็บจีวร ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้าน ตะวันออก ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้าน ตะวันตก ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้ ถ้าฤดูหนาว กลางวันพึงเปิดหน้าต่าง กลางคืนพึงปิด ถ้าฤดูร้อน กลางวันพึงปิดหน้าต่าง กลางคืนพึงเปิด ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎีรก พึงปัดกวาด เสีย ถ้าน้ำฉัน น้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักน้ำ มาไว้ในหม้อชำระ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัตรของภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายซึ่ง ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อย.

อาวาสิกวัตร

[๔๑๖] สมัยนั้น ภิกษุเจ้าถิ่นเห็นพระอาคันตุกะแล้ว ไม่ปูอาสนะ ไม่ตั้งน้ำล้างเท้า ไม่ตั้งตั่งรองเท้า ไม่ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าไว้ ไม่ลุกรับบาตร จีวร ไม่ถามด้วยน้ำฉัน ไม่ถามด้วยน้ำใช้ ไม่ไหว้พระอาคันตุกะแม้ผู้แก่กว่า ไม่จัดเสนาสนะให้ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุเจ้าถิ่น เห็นพระอาคันตุกะแล้ว จึงไม่ปูอาสนะ ไม่ตั้งน้ำล้างเท้า ไม่ตั้งตั่งรองเท้า ไม่ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ลุกรับบาตร จีวร ไม่ถามด้วยน้ำฉัน ไม่ถามด้วยน้ำใช้ ไม่ไหว้พระอาคันตุกะผู้แก่กว่า ไม่ จัดเสนาสนะให้ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 341

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ... จริงหรือ.

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตร แก่ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายจะพึงประพฤติ เรียบร้อย.

[๔๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าถิ่นเห็นภิกษุอาคันตุกะผู้แก่กว่า แล้วพึงปูอาสนะ พึงตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า พึงลุกรับ บาตร จีวร พึงถามด้วยน้ำฉัน พึงถามด้วยน้ำใช้ ถ้าอุตสาหะ พึงเช็ดรองเท้า เมื่อจะเช็ดรองเท้า พึงใช้ผ้าแห้งเช็ดก่อนใช้ผ้าเปียกเช็ดทีหลัง พึงซักผ้าเช็ด รองเท้าบิดแล้วผึ่งไว้ ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง พึงอภิวาทภิกษุอาคันตุกะผู้แก่กว่า พึงจัดเสนาสนะถวายว่า เสนาสนะนั่นถึงแก่ท่าน พึงบอกเสนาสนะที่มีภิกษุอยู่ หรือไม่มีภิกษุอยู่ พึงบอกโคจรคาม พึงบอกอโคจรคาม พึงบอกสกุลที่เป็น เสกขสมมติ พึงบอกที่ถ่ายอุจจาระ พึงบอกที่ถ่ายปัสสาวะ พึงบอกน้ำฉัน พึงบอกน้ำใช้ พึงบอกไม้เท้า พึงบอกกติกาสงฆ์ที่ตั้งใจว่า เวลานี้ควรเข้า เวลา นี้ควรออก ถ้าภิกษุอาคันตุกะอ่อนพรรษากว่า พึงนั่งบอกว่า ท่านจงวางบาตร ที่นั่น จงวางจีวรที่นั่น จงนั่งอาสนะนี้ พึงบอกน้ำฉัน พึงบอกน้ำใช้ พึงบอก ผ้าเช็ดรองเท้า พึงแนะนำภิกษุอาคันตุกะให้อภิวาท พึงบอกเสนาสนะว่า เสนาสนะนั่นถึงแก่ท่าน พึงบอกเสนาสนะที่มีภิกษุอยู่ หรือไม่มีภิกษุอยู่ พึง บอกโคจรคาม พึงบอกอโคจรคาม พึงบอกสกุลที่เป็นเสกขสมมติ พึงบอก ที่ถ่ายอุจจาระ พึงบอกที่ถ่ายปัสสาวะ พึงบอกน้ำฉัน พึงบอกน้ำใช้ พึงบอก ไม้เท้า พึงบอกกติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า เวลานี้ควรเข้า เวลานี้ควรออก.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 342

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัตรของภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายซึ่งภิกษุ เจ้าถิ่นทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อย.

คมิกวัตร

[๔๑๘] สมัยนั้น ภิกษุผู้เตรียมจะไปไม่เก็บเครื่องไม้ เครื่องดิน เปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้ ไม่มอบหมายเสนาสนะ แล้วหลีกไป เครื่องไม้ เครื่องดิน เสียหาย เสนาสนะไม่มีใครรักษา บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุผู้เตรียมจะไป จึงไม่เก็บ เครื่องไม้ เครื่องดิน เปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้ ไม่มอบหมายเสนาสนะ แล้ว หลีกไป เครื่องไม้ เครื่องดินเสียหาย เสนาสนะไม่มีใครรักษา จึงกราบทูล เรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ... จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริงพระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้เตรียม จะไป โดยประการที่ภิกษุเตรียมจะไปพึงประพฤติเรียบร้อย.

[๔๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เตรียมจะไปพึงเก็บเครื่องไม้ เครื่องดิน ปิดประตูหน้าต่าง มอบหมายเสนาสนะ ถ้าภิกษุไม่มี พึงมอบหมาย สามเณร ถ้าสามเณรไม่มี พึงมอบหมายคนวัด ถ้าคนวัดไม่มี พึงมอบหมาย อุบาสก ถ้าไม่มีภิกษุสามเณร คนวัดหรืออุบาสก พึงยกเตียงขึ้น วางไว้บน ศิลา ๔ แผ่น แล้วพึงยกเตียงซ้อนเตียง ยกตั่งซ้อนตั่ง แล้วกองเครื่องเสนาสนะ ไว้ข้างบน เก็บเครื่องไม้ เครื่องดิน ปิดประตูหน้าต่าง แล้วจึงหลีกไป ถ้า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 343

วิหารฝนรั่ว ถ้าอุตสาหะอยู่พึงมุง หรือพึงทำความขวนขวายว่า จะมุงวิหารได้ อย่างไร ถ้าได้ตามความขวนขวายอย่างนี้ นั่นเป็นความดี ถ้าไม่ได้ ที่ใดฝน ไม่รั่ว พึงยกเตียงขึ้นวางบนศิลา ๔ แผ่น ในที่นั้น แล้วพึงยกเตียงซ้อนเตียง ยกตั่งซ้อนตั่ง แล้วกองเครื่องเสนาสนะไว้ข้างบน เก็บเครื่องไม้ เครื่องดิน ปิดประตูหน้าต่างแล้วจึงหลีกไป ถ้าวิหารฝนรั่วทุกแห่ง ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงขน เครื่องเสนาสนะเข้าบ้าน หรือพึงทำความขวนขวายว่า จะขนเครื่องเสนาสนะ เข้าบ้านอย่างไร ถ้าได้ตามความขวนขวายอย่างนี้ นั่นเป็นความดี ถ้าไม่ได้ พึงยกเตียงขึ้นวางบนก้อนศิลา ๔ แผ่นในที่แจ้ง แล้วพึงยกเตียงซ้อนเตียง ยก ตั่งซ้อนตั่ง กองเครื่องเสนาสนะไว้ข้างบน เก็บเครื่องไม้ เครื่องดิน แล้ว คลุมด้วยหญ้าหรือใบไม้ แล้วจึงหลีกไปด้วยคิดว่า อย่างไรเสีย ส่วนของเตียงตั่ง คงเหลืออยู่บ้าง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัตรของภิกษุผู้เตรียมจะไป ซึ่งภิกษุ ผู้เตรียมจะไปพึงประพฤติเรียบร้อย.

ภัตตานุโมทนา

[๔๒๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่อนุโมทนาในโรงฉัน คนทั้งหลาย จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึง ได้ไม่อนุโมทนาในโรงฉัน ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อนุโมทนาในโรงฉัน.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 344

[๔๒๑] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่า ใครหนอพึงอนุโมทนาใน โรงฉัน แล้วจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระอนุโมทนาโนโรงฉัน.

[๔๒๒] สมัยนั้น ประชาชนหมู่หนึ่งถวายภัตรแก่พระสงฆ์ ท่าน พระสารีบุตรเป็นสังฆเถระ ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต ให้ภิกษุผู้เถระอนุโมทนาในโรงฉัน จึงเหลือท่านพระสารีบุตรไว้รูปเดียว แล้ว พากันกลับไป.

ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรแสดงความยินดีกะคนเหล่านั้น แล้วได้ ไปทีหลังรูปเดียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระสารีบุตรเดินมาแต่- ไกลรูปเดียว จึงรับสั่งถามว่า ดูก่อนสารีบุตร ภัตรมีมากมายกระมัง. ท่านพระสารีบุตรทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ภัตรมีมากมาย แต่ภิกษุ ทั้งหลายละข้าพระพุทธเจ้าไว้ผู้เดียว แล้วพากันกลับไป.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเถรานุเถระ ๔ - ๕ รูปรออยู่ในโรงฉัน.

[๘๒๓] สมัยต่อมา พระเถระรูปหนึ่งปวดอุจจาระรออยู่ในโรงฉัน เธอกลั้นอุจจาระอยู่จนสลบล้มลง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีกรณียกิจ เราอนุญาตให้ บอกลาภิกษุผู้นั่งอยู่ในลำดับ แล้วไปได้.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 345

ภัตตัคควัตร

[๔๒๔] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์นุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมรรยาท ไปสู่โรงฉัน เดินแซงไปข้างหน้าพระเถระทั้งหลายบ้าง นั่งเบียดเสียดพระเถระ บ้าง เกียดกันพวกภิกษุใหม่ด้วยอาสนะบ้าง นั่งทับสังฆาฏิในละแวกบ้านบ้าง บรรดาภิกษุผู้ที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์จึงได้นุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมรรยาทไปสู่โรงฉัน เดินแซงไป ข้างหน้าพระเถระทั้งหลายบ้าง นั่งเบียดเสียดพระเถระบ้าง เกียดกันพวกภิกษุ ใหม่ด้วยอาสนะบ้าง นั่งทับสังฆาฏิในละแวกบ้านบ้าง จึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์นุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมรรยาทไปสู่โรงฉัน เดินแซงไปข้างหน้า พระเถระทั้งหลายบ้าง นั่งเบียดเสียดพระเถระบ้าง เกียดกันพวกภิกษุใหม่ด้วย อาสนะบ้าง นั่งทับสังฆาฏิในละแวกบ้านบ้าง จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรในโรงฉันแก่ ภิกษุทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุทั้งหลาย พึงประพฤติเรียบร้อยในโรงฉัน.

[๔๒๕] ถ้าภัตตุเทสก์บอกภัตกาลในอาราม ภิกษุเมื่อปกปิดมณฑล ๓ พึงนุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประคดเอว ห่มผ้าซ้อน ๒ ชั้นกลัดลูกดุม ล้างบาตร แล้วถือเข้าบ้านโดยเรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน ไม่พึงเดินแซงไปข้างหน้าพระเถระทั้งหลาย พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีไปใน ละแวกบ้าน พึงมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน อย่าเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน อย่า หัวเลาะลั่นไปในละแวกบ้าน พึงมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน อย่าโยกกายไป

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 346

ในละแวกบ้าน อย่าไกวแขนไปในละแวกบ้าน อย่าโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน อย่าค้ำกายไปในละแวกบ้าน อย่าคลุมศรีษะไปในละแวกบ้าน อย่าเดินกระโหย่ง ไปในละแวกบ้าน พึงปกปิดกายด้วยดีนั่งในละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีนั่งใน ละแวกบ้าน พึงมีตาทอดลงนั่งในละแวกบ้าน อย่าเวิกผ้านั่งในละแวกบ้าน อย่าหัวเราะลั่นนั่งในละแวกบ้าน พึงมีเสียงน้อยนั่งในละแวกบ้าน อย่าโยกกาย นั่งในละแวกบ้าน อย่าไกวแขนนั่งในละแวกบ้าน อย่าโคลงศีรษะนั่งในละแวก บ้าน อย่าค้ำกายนั่งในละแวกบ้าน อย่าคลุมศีรษะนั่ง ในละแวกบ้าน อย่านั่ง รัดเข่าในละแวกบ้าน อย่านั่งเบียดเสียดพระเถระ อย่าเกียดกันภิกษุใหม่ด้วย อาสนะ อย่านั่งทับสังฆาฏิในละแวกบ้าน เมื่อเขาถวายน้ำ พึงใช้มือทั้งสอง ประคองบาตรรับน้ำ พึงล้างบาตรถือต่ำๆ ให้ดี อย่าให้ครูดสี ถ้ากระโถนมี พึงค่อยๆ เทน้ำลงในกระโถน ด้วยคิดว่า กระโถนอย่าเลอะเทอะด้วยน้ำ ภิกษุ ใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเซ็น ผ้าสังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น ถ้ากระโถนไม่มี พึงค่อยๆ เทน้ำลงที่พื้นดิน. ด้วยคิดว่า ภิกษุใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเซ็น ผ้าสังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น เมื่อเขาถวายข้าวสุก พึงใช้มือทั้งสองประคองบาตร รับข้าวสุก พึงเว้นเนื้อที่ไว้สำหรับแกง ถ้ามีเนยใส น้ำมัน หรือแกงอ่อม พระเถระควรบอกว่า จงจัดถวายภิกษุทั้งหลายเท่าๆ กันทุกรูป พึงรับบิณฑบาต โดยเคารพ พึงมีความสำคัญในบาตรรับบิณฑบาต พึงรับบิณฑบาตพอสม กับแกง พึงรับบิณฑบาตพอเสมอขอบปากบาตร พระเถระไม่พึงฉันก่อนจน กว่าข้าวสุกจะทั่วถึงภิกษุทุกรูป พึงฉันบิณฑบาตโดยเคารพ พึงมีความสำคัญ ในบาตรฉันบิณฑบาต พึงฉันบิณฑบาตตามลำดับ พึงฉันบิณฑบาตพอสม กับแกง ไม่พึงฉันบิณฑบาตขยุ้มแต่ยอดลงไป ไม่พึงกลบแกง หรือกับข้าว ด้วยข้าวสุก เพราะอยากได้มาก ไม่อาพาธ ไม่พึงขอแกง หรือข้าวสุกเพื่อ ประโยชน์แก่ตนมาฉัน ไม่พึงแลดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่นด้วยหมายจะยกโทษ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 347

ไม่พึงทำคำข้าวให้ใหญ่นัก พึงทำคำข้าวให้กลมกล่อม เมื่อคำข้าวยังไม่ถึงปาก ไม่พึงอ้าปาก กำลังฉันไม่พึงสอดมือทั้งหมดเข้าในปาก ปากยังมีคำข้าวไม่พึงพูด ไม่พึงฉันเดาะคำข้าว ไม่พึงฉันกัดคำข้าว ไม่พึงฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย ไม่ พึงฉันสลัดมือ ไม่พึงฉันทำเมล็ดข้าวตก ไม่พึงฉันแลบลิ้น ไม่พึงฉันทำเสียง ดังจั๊บๆ ไม่พึงฉันทำเสียงซู๊ดๆ ไม่พึงฉันเลียมือ ไม่พึงฉันขอดบาตร ไม่ พึงฉันเลียริมฝีปาก ไม่พึงรับโอน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส พระเถระไม่พึงรับน้ำ ก่อนจนกว่าภิกษุทั้งหมดฉันเสร็จ เมื่อเขาถวายน้ำ พึงใช้มือทั้งสองประคอง บาตรรับน้ำ พึงค่อยๆ ล้างบาตร ถือต่ำๆ ให้ดี อย่าให้ครูดสี ถ้ากระโถนมี พึงค่อยๆ เทน้ำลงในกระโถน ด้วยคิดว่า กระโถนอย่าเลอะเทอะด้วยน้ำ ภิกษุใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเซ็น ผู้สังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น ถ้ากระโถนไม่มี พึงค่อยๆ เทน้ำลงบนพื้นดิน ด้วยคิดว่า ภิกษุใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเช็น ผ้าสังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น ไม่พึงเทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน เมื่อกลับ ภิกษุใหม่พึงกลับก่อน พระเถระพึงกลับทีหลัง พึงปกปิดกายด้วยดี ไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงมีตาทอดลงไปใน ละแวกบ้าน ไม่พึ่งเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ไม่พึงหัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน พึงมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน ไม่พึงโยกกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงไกวแขน ไปในละแวกบ้าน ไม่พึงโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงค้ำกายไปใน ละแวกบ้าน ไม่พึงคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินกระโหย่งไปใน ละแวกบ้าน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล วัตรในโรงฉันของภิกษุทั้งหลาย ซึ่งภิกษุ ทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อยในโรงฉัน.

ปฐมภาณวาร จบ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 348

ปิณฑจาริกวัตร

[๔๒๖] สมัยนั้น ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรนุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมรรยาทเที่ยวบิณฑบาต ไม่กำหนดเข้าไปสู่นิเวศน์บ้าง ไม่กำหนดออกไป บ้าง รีบร้อนเข้าไปบ้าง รีบร้อนออกไปบ้าง ยืนไกลเกินไปบ้าง ยืนใกล้ เกินไปบ้าง ยืนนานเกินไปบ้าง กลับเร็วเกินไปบ้าง ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต เป็นวัตรรูปหนึ่ง ไม่กำหนดเข้าไปสู่นิเวศน์ เธอเข้าใจว่าประตูเข้าไปสู่ห้องน้อย แห่งหนึ่ง ในห้องน้อยนั้นมีหญิงเปลือยกายนอนหงายอยู่ เธอได้เห็นหญิงนั้น แล้ว รู้ว่านี้ไม่ใช่ประตู นี้เป็นห้องน้อย จึงออกจากห้องน้อยนั้นไป สามีของ หญิงนั้นได้เห็นหญิงนั้นเปลือยกายนอนหงายก็สำคัญว่า ภิกษุนี้ประทุษร้าย ภรรยาของเรา จึงจับภิกษุนั้นทุบตี ในทันใด หญิงนั้นตื่นขึ้น เพราะเสียงนั้น จึงถามสามีว่า นายท่านทุบตีภิกษุนี้ทำไม เขาตอบว่า เพราะภิกษุนี้ประทุษร้าย เธอ นางตอบว่า นาย ภิกษุนี้ไม่ได้ประทุษร้ายฉันเลย ท่านไม่ได้ทำอะไร แล้วให้ปล่อยภิกษุนั้น ภิกษุนั้นไปอารามบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย บรรดา ภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุผู้ เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรจึงนุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมรรยาทเที่ยวบิณฑบาต ไม่ กำหนดเข้าไปสู่นิเวศน์บ้าง ไม่กำหนดออกไปบ้าง รีบร้อนเข้าไปบ้าง รีบร้อน ออกไปบ้าง ยืนไกลเกินไปบ้าง ยืนใกล้เกินไปบ้าง ยืนนานเกินไปบ้าง กลับเร็วเกินไปบ้าง จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ... จริงหรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 349

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้ง หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้เที่ยว บิณฑบาตเป็นวัตร โดยประการที่ภิกษุผู้เทียวบิณฑบาตเป็นวัตร พึงประพฤติ เรียบร้อย.

[๔๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คิดว่า จักเข้าบ้านในบัดนี้ เมื่อปกปิดมณฑลสาม พึงนุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประ คดเอวห่มผ้าซ้อน ๒ ชั้น กลัดลูกดุม ล้างบาตรแล้ว ถือเข้าบ้านโดยเรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีไปในละ แวกบ้าน พึงมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน อย่าเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน อย่า หัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน พึงมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน อย่าโยกกายไป ในละแวกบ้าน อย่าไกวแขนไปในละแวกบ้าน อย่าโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน อย่าค้ำกายไปในละแวกบ้าน อย่าคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน อย่าเดินกระโหย่ง ไปในละแวกบ้าน เมื่อเข้านิเวศน์พึงกำหนดว่า จักเข้าทางนี้ จักออกทางนี้ อย่า รีบร้อนเข้าไป อย่ารีบร้อนออกเร็วนัก อย่ายืนไกลนัก อย่ายืนใกล้นัก อย่ายืน นานนัก อย่ากลับเร็วนัก พึงยืนกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายภิกษา หรือไม่ ประสงค์จะถวาย ถ้าเขาพักการงาน ลุกจากที่นั่งจับทัพพี หรือจับภาชนะ หรือตั้ง ไว้พึงยืนด้วยคิดว่า เขาประสงค์จะถวาย เมื่อเขาถวายภิกษา พึงแหวกผ้าซ้อนด้วย มือซ้าย พึงน้อมบาตรเข้าไปด้วยมือขวา แล้วพึงใช้มือทั้งสองประคองบาตรรับ ภิกษา และไม่พึงมองดูหน้าผู้ถวายภิกษา พึงกำหนดว่าเขาประสงค์จะถวายแกง หรือไม่ประสงค์จะถวาย ถ้าเขาจับทัพพี จับภาชนะ หรือตั้งไว้ พึงยืนอยู่ด้วย คิดว่า เขาประสงค์จะถวาย เมื่อเขาถวายภิกษาแล้ว พึงคลุมบาตรด้วยผ้าซ้อน แล้วกลับโดยเรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน พึงปกปิดกายด้วยดี ไปในละแวกบ้าน

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 350

พึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเวิก ผ้าไปในละแวกบ้าน ไม่พึงหัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน พึงมีเสียงน้อยไปใน ละแวกบ้าน ไม่พึงโยกกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงไกวแขนไปในละแวก บ้าน ไม่พึงโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงค้ำกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึง คลุมศรีษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดกลับ บิณฑบาตจากบ้านก่อน ภิกษุนั้น พึงปูอาสนะไว้ พึงจัดตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า พึงล้างภาชนะรองของฉันตั้งไว้ พึงตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ ภิกษุใด กลับบิณฑบาตจากบ้านทีหลัง ถ้าอาหารที่ฉันแล้วยังเหลืออยู่ ถ้าจำนงก็พึงฉัน ถ้าไม้จำนงก็พึงเททิ้ง ในที่ปราศจากของเขียวสด หรือพึงเทลงในน้ำที่ไม่มีตัว สัตว์ ภิกษุนั้นพึงรื้อขนอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า พึง ล้างภาชนะรองของฉัน เก็บไว้ พึงเก็บน้ำฉัน น้ำใช้ พึงกวาดโรงฉัน ภิกษุ ใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า ภิกษุนั้นพึงจัดหาไป ตั้งไว้ ถ้าเป็นการสุดวิสัย พึงกวักมือเรียกเพื่อนมา ให้ช่วยกันจัดตั้งไว้ แต่ ไม่พึงเปล่งวาจาเพราะข้อนั้นเป็นเหตุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นวัตรของภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ซึ่งภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร พึงประพฤติเรียบร้อย.

อารัญญกวัตร

[๔๒๘] สมัยนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน อยู่ในป่า พวกเธอไม่ตั้งน้ำฉัน ไม่ตั้งน้ำใช้ไว้ ไม่ติดไฟไว้ ไม่เตรียมไม้สีไฟไว้ ไม่รู้ทางนักษัตร ไม่รู้ทิศาภาค พวกโจรพากันไปที่นั้น ได้ถามภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย มีน้ำดื่ม หรือ

ภ. ไม่มี ท่านทั้งหลาย

จ. มีน้ำใช้หรือไม่

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 351

ภ. ไม่มี ท่านทั้งหลาย

จ. มีไฟหรือไม่

ภ. ไม่มี ท่านทั้งหลาย

จ. มีไม้สีไฟหรือไม่

ภ. ไม่มี ท่านทั้งหลาย

จ. วันนี้ประกอบด้วยฤกษ์อะไร

ภ. พวกเราไม่รู้เลย ท่านทั้งหลาย

จ. นี้ทิศอะไร

ภ. พวกเราไม่รู้เลย ท่านทั้งหลาย.

ลำดับนั้น โจรเหล่านั้นคิดกันว่า พวกนี้น้ำดื่มก็ไม่มี น้ำใช้ก็ไม่มี ไฟก็ไม่มี ไม้สีไฟก็ไม่มี ทางนักษัตรก็ไม่รู้ ทิศาภาคก็ไม่รู้ พวกนี้เป็นโจร พวกนี้ไม่ใช่ภิกษุ จึงทุบตีแล้วหลีกไป จึงภิกษุเหล่านั้น แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น แล เราจักบัญญัติวัตรแก่พวกภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร โดย ประการที่ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร พึงประพฤติเรียบร้อย.

[๔๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร พึงลุกขึ้นแต่เช้า ตรู่ พึงสวมถุงบาตร คล้องบ่า พาดจีวรบนไหล่ สวมรองเท้า เก็บเครื่องไม้ เครื่องดินปิดประตูหน้าต่าง แล้วออกจากเสนาสนะ กำหนดรู้ว่าจักเข้าบ้านเดี่ยว นี้ พึงถอดรองเท้า เคาะต่ำๆ แล้วใส่ถุง คล้องบ่า เมื่อปกปิดมณฑลสาม พึงนุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประคดเอว ห่มผ้าซ้อน ๒ ชั้น กลัดลูกดุม ล้าง บาตรแล้วถือเข้าบ้านโดยเรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน พึงปกปิดกายด้วยดีไปใน

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 352

ละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน ... อย่าเดินกระโหย่งไปในละแวก บ้าน เมื่อเข้าสู่นิเวศน์พึงกำหนดว่า จักเข้าทางนี้ จักออกทางนี้ อย่ารีบร้อนเข้า ไป อย่ารีบร้อนออกมา อย่ายืนไกลนัก อย่ายืนใกล้นัก อย่ายืนนานนัก อย่ากลับ เร็วนัก ยืนอยู่พึงกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายภิกษา หรือไม่ประสงค์จะถวาย เขาพักการงาน ลุกจากที่นั่ง จับทัพพี จับภาชนะ หรือตั้งไว้ พึงยืนอยู่ด้วย คิดว่า เขาประสงค์จะถวายเมื่อเขาถวายภิกษา พึงแหวกผ้าซ้อนด้วยมือซ้าย พึง น้อมบาตรเข้าไปด้วยมือขวา พึงใช้มือทั้งสองประคองบาตรรับภิกษา และไม่พึง มองดูหน้าผู้ถวายภิกษา พึงกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายแกง หรือไม่ประสงค์จะถวาย ถ้าเขาจับทัพพี จับภาชนะหรือตั้งไว้ พึงยืนอยู่ด้วยคิดว่าเขา ประสงค์จะถวาย เมื่อเขาถวายภิกษาแล้ว พึงคลุมบาตรด้วยผ้าซ้อนแล้วกลับ โดยเรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน ... ไม่พึง เดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน ออกจากบ้านแล้ว เข้าถุงบาตร คล้องบ่า พับ จีวร วางศีรษะ สวมรองเท้าเดินไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร พึงตั้งน้ำฉัน พึงตั้งน้ำใช้ พึงติดไฟไว้ พึงเริ่มไม้สีไฟไว้ พึงเตรียมไม้เท้าไว้ พึงเรียนทางนักษัตรพึงสิ้น หรือนางส่วนไว้ พึงเป็นผู้ฉลาดในทิศ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัตรของภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ซึ่งภิกษุ ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร พึงประพฤติเรียบร้อย.

เสนาสนวัตร

[๔๓๐] สมัยนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกันทำจีวรกรรมในที่แจ้ง พระ ฉัพพัคคีย์เคาะเสนาสนะบนที่สูงเหนือลม ภิกษุทั้งหลายถูกธุลีกลบ บรรดาภิกษุ ที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุฉัพพัคคีย์

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 353

จึงได้เคาะเสนาสนะที่สูงเหนือลม ภิกษุทั้งหลายถูกธุลีกลบ จึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์เคาะเสนาสนะบนที่สูงเหนือลม ภิกษุทั้งหลายถูกธุลีกลบ จริง หรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ครั้น แล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้ง หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติเสนาสนวัตรแก่ ภิกษุทั้งหลายโดยประการที่ภิกษุทั้งหลาย พึงประพฤติเรียบร้อยในเสนาสนะ.

[๔๓๑] ภิกษุอยู่ในวิหารใด ถ้าวิหารนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงชำระ เมื่อจะชำระวิหาร พึงขนบาตร จีวร ออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่งก่อน พึง ขนผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน วางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง พึงขนฟูกหมอน ออกไปวางไว้ ที่ควรแห่งหนึ่ง เตียงพึงยกต่ำๆ ขนออกไปให้ดี อย่าให้ครูดสี กระทบกระแทกบานและกรอบประตู แล้วตั้งไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง ตั่งพึงยกต่ำๆ ขนออกไป ให้ดี อย่าให้ครูดสีกระทบกระแตกบานและกรอบประตู แล้วตั้งไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง เขียงรองเท้าเตียง พึงขนออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง พนักอิงพึงขนออกไป วางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง เครื่องลาดพื้นพึงกำหนดที่ปูไว้เดิม แล้วขนออกไปวาง ไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง ถ้าในวิหารมีหยากไย่ พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน พึงเช็ด กรอบหน้าต่าง ประตูและมุมห้อง ถ้าฝาทาน้ำมันขึ้นรา พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดแล้ว เช็ด ถ้าพื้นทาสีดำขึ้นรา พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด ถ้าพื้นไม่ได้ทำ พึงเอา น้ำพรมแล้วกวาดด้วยคิดว่า อย่าให้ฝุ่นกลบวิหาร พึงกวาดหยากเยื่อไปทิ้งเสีย ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง ไม่พึงเคาะเสนาสนะในที่ใกล้ภิกษุ ไม่พึงเคาะเสนาสนะใน

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 354

ที่ใกล้วิหาร ไม่พึงเคาะเสนาสนะในที่ใกล้น้ำฉัน ไม่พึงเคาะเสนาสนะในที่ใกล้ น้ำใช้ ไม่พึงเคาะเสนาสนะบนที่สูงเหนือลม พึงเคาะเสนาสนะในที่ใต้ลม เครื่องลาดพื้นพึงผึ่งแดดในที่ควรแห่งหนึ่ง ชำระ เคาะ ปัด แล้วขนกลับไป ปูไว้ตามเดิม เขียงรองเท้า เตียง พึงผึ่งแดดไว้ในที่ควรแห่งหนึ่ง เช็ดแล้ว ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดดไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง ขัดสี เคาะ ยก ต่ำๆ ทำให้ดี อย่าให้ครูดสีกระทบบานและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูกและหมอน พึงตากไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง เคาะ ปัดให้สะอาดแล้วขนกลับตั้ง ไว้ตามเดิม ผ้าปูนั่งและผ้าปูนอน พึงตากไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง สลัดให้สะอาด แล้วขนไปปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักอิง พึงตากไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง เช็ด แล้วขนไปตั้งไว้ตามเดิม พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่ง จับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่งแล้วเก็บบาตร แต่อย่าเก็บ บาตรบนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง เมื่อจะเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร หรือสายระเดียง พึงทำชายไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้าง ใน เก็บจีวร ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่าง ด้านตะวันออก ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศทะวันตก พึงปิดหน้าต่าง ด้านตะวันตก ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้าน เหนือ ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้ ถ้าฤดู หนาว กลางวันพึงเปิดหน้าต่าง กลางคืนพึงปิด ถ้าฤดูร้อน กลางวัน พึง ปิดหน้าต่าง กลางคืนพึงเปิด ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎีรก พึงปัดกวาดเสีย ถ้าน้ำฉัน น้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำในชำระไม่มี พึง ตักน้ำมาไว้ในชำระ ถ้าอยู่ในวิหารหลังเดียวกับภิกษุผู้แก่กว่า ยังไม่อาปุจฉา ภิกษุผู้แก่กว่า ไม่พึงให้อุเทศ ไม่พึงให้ปริปุจฉา ไม่พึงทำการสาธยาย ไม่พึง

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 355

แสดงธรรม ไม่พึงตามประทีป ไม่พึงเปิดหน้าต่าง ไม่พึงปิดหน้าต่าง ถ้าเดิน จงกรมในที่จงกรมเดียวกับภิกษุผู้แก่กว่า พึงเดินคล้ายตามภิกษุผู้แก่กว่า และ ไม่พึงกระทบกระทั่งภิกษุผู้แก่กว่า ด้วยชายผ้าสังฆาฏิ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นเสนาสนวัตรของภิกษุทั้งหลาย ซึ่ง ภิกษุทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อยในเสนาสนะ.

ชันตาฆรวัตร

[๔๓๒] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ถูกพระเถระทั้งหลายในเรือนไฟห้าม อยู่ อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ใส่ฟืนมาก ติดไฟ ปิดประตูแล้วนั่งที่ประตู ส่วน พระเถระทั้งหลายถูกความร้อนแผดเผา ออกประตูไม่ได้ สลบล้มลง บรรดา ภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์อันพระเถระทั้งหลายในเรือนไฟห้ามอยู่ จึงอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ใส่ ฟืนมาก ติดไฟปิดประตูแล้วนั่งที่ประตู ส่วนพระเถระทั้งหลายถูกความร้อน แผดเผา ออกประตูไม่ได้ สลบล้มลง จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์อันพระเถระทั้งหลายในเรือนไฟห้ามอยู่ อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ใส่ฟืนมาก ติดไฟ ปิดประตู แล้วนั่งที่ประตู ภิกษุทั้งหลายถูกความร้อนแผด เผา ออกประตูไม่ได้ สลบล้มลง จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 356

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอันพระเถระในเรือนไฟห้ามอยู่ ไม่พึงอาศัยความ ไม่เอื้อเฟื้อ ใส่ฟืนมาก ติดไฟ รูปใดติดไฟต้องอาบัติทุกกฏ.

อนึ่ง ภิกษุไม่พึงปิดประตู แล้วนั่งขวางประตู รูปใดนั่ง ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรในเรือนไฟ แก่ภิกษุทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุทั้งหลาย พึงประพฤติเรียบร้อยในเรือนไฟ.

[๔๓๓] ภิกษุใดไปสู่เรือนไฟก่อน ถ้ามีเถ้ามาก พึงเทเถ้าทิ้งเสีย ถ้า เรือนไฟรก พึงกวาดเสีย ถ้าชานภายนอกรก พึงกวาดเสีย ถ้าบริเวณ ซุ้ม ประตู ศาลา เรือนไฟรก พึงกวาดเสีย พึงบดจุณไว้ พึงแช่ดินเหนียว พึงตัก น้ำไว้ในรางน้ำ เมื่อจะเข้าไปสู่เรือนไฟ พึงเอาดินเหนียวทาหน้า ปิดทั้งข้าง หน้าข้างหลัง แล้วจึงเข้าไปสู่เรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดเสียดพระเถระ ไม่พึง เกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงทำบริกรรมแก่พระเถระในเรือน ไฟ เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วปิดทั้งข้างหน้าข้างหลัง ออกจากเรือนไป ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงทำบริกรรม แก่พระเถระแม้ในน้ำ ไม่พึง อาบน้ำข้างหน้าพระเถระ แม้เหนือน้ำก็ไม่พึงอาบ อาบแล้วเมื่อจะขึ้น พึงให้ ทางแก่พระเถระผู้จะลง ภิกษุใดออกจากเรือนไฟภายหลัง ถ้าเรือนไฟเปรอะเปื้อน พึงล้างให้สะอาด พึงล้างรางแช่ดิน เก็บตั่งสำหรับเรือนไฟ ดับไฟ ปิดประตู แล้วจึงหลีกไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัตรในเรือนไฟของภิกษุทั้งหลาย ซึ่ง ภิกษุทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อยในเรือนไฟ.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 357

มูลเหตุวัจจกุฏีวัตร

[๔๓๔] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นชาติพราหมณ์ ถ่ายอุจจาระแล้ว ไม่ปรารถนาจะชำระด้วยรังเกียจว่า ใครจักจับต้องของเลว มีกลิ่นเหม็นนี้ได้ ในวัจจมรรคของเธอ มีหมู่หนอนมั่วสุมอยู่ ต่อมาเธอได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุ ทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลายถามว่า ก็ท่านถ่ายอุจจาระแล้ว ไม่ชำระ หรือ ขอรับ

ภิกษุนั้นตอบว่า อย่างนั้น ขอรบ

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุถ่ายอุจจาระแล้ว จึงไม่ชำระ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า เธอ ถ่ายอุจาระแล้วไม่ชำระ จริงหรือ.

ภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถ่ายอุจจาระแล้ว เมื่อน้ำมีอยู่ จะไม่ชำระไม่ได้ รูปใดไม่ชำระ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๔๓๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลาย ถ่ายอุจจาระในวัจจกุฎีตามลำดับผู้ แก่กว่า นวกภิกษุทั้งหลายมาถึงก่อน ปวดอุจจาระก็ต้องรอ พวกเธอกลั้น อุจจาระจนสลบล้มลง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุทั้งหลายถ่ายอุจจาระในวัจจกุฎี ... ตามลำดับผู้แก่กว่า นวกภิกษุทั้งหลาย มาถึงก่อน ปวดอุจจาระก็ต้องรอ พวกเธอกลั้นอุจจาระจนสลบล้มลง จริงหรือ.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 358

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงถ่ายอุจจาระในวัจจกุฎี ตามลำดับผู้แก่กว่า รูปใดถ่ายต้องอาบัติทุกกฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายอุจจาระตามลำดับของผู้มาถึง

[๔๓๖] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์เข้าวัจจกุฎีเร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้าเข้า ไปบ้าง ถอนหายใจพลางถ่ายอุจจาระบ้าง เคี้ยวไม้ชำระฟันพลางถ่ายอุจจาระ บ้าง ถ่ายอุจจาระนอกรางอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะนวกรางบ้าง บ้วนเขฬะลง ในรางปัสสาวะบ้าง ชำระด้วยไม้หยาบบ้าง ทั้งไม้ชำระลงในช่องถ่ายอุจจาระ บ้าง ออกมาเร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้าออกมาบ้าง ชำระมีเสียงดังจะปุจะปุบ้าง เหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระบ้าง บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้เข้าวัจจกุฏีเร็วเกินไป เวิกผ้า เข้าไปบ้าง ถอนหายใจใหญ่พลางถ่ายอุจจาระบ้าง เคี้ยวไม้ชำระฟันพลางถ่าย อุจจาระบ้าง ถ่ายอุจจาระนอกรางอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะนอกรางปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะลงในรางปัสสาวะบ้าง ชำระด้วยไม่หยาบบ้าง ทิ้งไม่ชำระลงในช่อง ถ่ายอุจจาระบ้าง ออกมาเร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้าออกมาบ้าง ชำระมีเสียงดัง จะปุจะปุบ้าง เหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระบ้าง แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้- มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ... จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัจจกุฏีวัตรแก่ภิกษุ ทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อยในวัจจกุฏี.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 359

วัจจกุฏีวัตร

[๔๓๗] ภิกษุใดไปวัจจกุฎี ภิกษุนั้นยืนอยู่ข้างนอก พึงกระแอมขึ้น แม้ภิกษุผู้นั่งอยู่ข้างในก็พึงกระแอมรับ พึงพาดจีวรไว้บนราวจีวร หรือบนสาย ระเดียง แล้วเข้าวัจจกุฎี ทำให้เรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน ไม่พึงเข้าไปเร็วนัก ไม่พึงเวิกผ้าเข้าไป ยืนบนเขียงถ่ายอุจจาาระ แล้วจึงค่อยเวิกผ้า ไม่พึงถอน หายใจใหญ่พลางถ่ายอุจจาระ ไม่พึงเคี้ยวไม้ชำระฟันพลางถ่ายอุจจาระ ไม่พึง ถ่ายอุจจาระนอกรางอุจจาระ ไม่พึงถ่ายปัสสาวะนอกรางปัสสาวะ ไม่พึงบ้วน เขฬะลงในรางปัสสาวะ ไม่พึงชำระด้วยไม้หยาบ ไม่พึงทิ้งไม้ชำระลงในช่อง ถ่ายอุจจาระ ยืนบนเขียงถ่ายแล้วพึงปิดผ้า ไม่พึงออกมาเร็วนัก ไม่พึงเวิกผ้า ออกมา ยืนบนเขียงชำระแล้วพึงเวิกผ้า ไม่พึงชำระให้มีเสียงดังจะปุจะปุ ไม่ พึงเหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระ ยืนบนเขียงชำระแล้วพึงปิดผ้า ถ้าวัจจกุฎีอัน ภิกษุถ่ายไว้เลอะเทอะ ต้องล้างเสีย ถ้าตะกร้าใส่ไม้ชำระเต็ม พึงเทไม้ชำระ ถ้าวัจจกุฎีรก พึงกวาดวัจจกุฎี ถ้าชานภายนอก บริเวณ ซุ้มประตูรก พึง กวาดเสีย ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักน้ำมาไว้ในหม้อชำระ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัจจกุฎีวัตรของภิกษุทั้งหลาย ซึ่ง ภิกษุทั้งหลาย พึงประพฤติเรียบร้อยในวัจจกุฎี.

มูลเหตุอุปัชฌายวัตร

[๔๓๘] สมัยนั้น สัทธิวิหาริกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในพระอุปัชฌายะ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉน สัทธิวิหาริกทั้งหลายจึงไม่ประพฤติชอบในพระอุปัชฌายะ แล้วกราบ ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 360

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า สัทธิวิหาริกทั้งหลาย ไม่ประพฤติชอบในพระอุปัชฌายะ จริงหรือ

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน สัทธิวิหาริกทั้งหลายจึงได้ไม่ประพฤติชอบในพระอุปัชฌายะ ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติอุปัชฌายวัตรแก่สัทธิวิหาริกทั้งหลาย โดยประการที่สัทธิวิหาริกทั้งหลาย พึงประพฤติเรียบร้อยในอุปัชฌายะ

อุปัชฌายวัตร

[๔๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกพึงประพฤติชอบในอุปัชฌายะ วิธีประพฤติชอบในอุปัชฌายะนั้น ดังต่อไปนี้

สัทธิวิหาริกพึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ถอดรองเท้า ห่มผ้าเฉวียงบ่า แล้ว ถวายไม้ชำระฟัน ถวายน้ำล้างหน้า ปูอาสนะไว้ ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะ แล้วน้อมยาคูเข้าไป เมื่ออุปัชฌายะดื่มยาคูแล้ว พึงถวายน้ำ รับภาชนะมา ถือ ต่ำๆ ล้างให้เรียบร้อย อย่าให้กระทบ แล้วเก็บไว้ เมื่ออุปัชฌายะลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย

ถ้าอุปัชฌายะประสงค์จะเข้าบ้าน พึงถวายผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา พึงถวายประคดเอว พึงซ้อนผ้าห่มสองชั้นถวาย พึงล้างบาตรแล้ว ถวายพร้อม ทั้งน้ำ ถ้าอุปัชฌายะปรารถนาให้เป็นปัจฉาสมณะ พึงปกปิดกายให้มีมณฑลสาม นุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประคดเอว ซ้อนผ้าห่มสองชั้นห่มคลุมกลัดลูกดุม ล้างบาตรแล้วถือไป เป็นปัจฉาสมณะของอุปัชฌายะ ไม่พึงเดินให้ห่างนัก ให้

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 361

ชิดนัก พึงรับวัตถุที่เนื่องในบาตร เมื่ออุปัชฌายะกำลังพูด ไม่พึงพูดสอดขึ้น ในระหว่างๆ เมื่ออุปัชฌายะกล่าวถ้อยคำใกล้ต่ออาบัติ พึงห้ามเสีย เมื่อกลับ พึงกลับมาก่อนแล้ว ปูอาสนะไว้ พึงวางน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ด เท้าไว ้ใกล้ๆ พึงรับบาตร จีวร พึงถวายผ้านุ่งผลัด พึงรับผ้านุ่งมา ถ้าจีวร ชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงพับจีวร เมื่อจะ พับจีวร พึงพับจีวรให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ด้วยตั้งใจมิให้มีรอยพับตรงกลาง พึงสอดประคดเอวไว้ในขนดจีวร

ถ้าบิณฑบาตมี และอุปัชฌายะประสงค์จะฉัน พึงถวายน้ำ แล้วน้อม บิณฑบาตเข้าไป พึงถามอุปัชฌายะถึงน้ำฉัน เมื่ออุปัชฌายะฉันแล้ว พึงถวาย น้ำรับบาตรมา ถือต่ำๆ ล้างให้เรียบร้อยอย่าให้กระทบ ล้างเช็ดให้หมดน้ำ แล้วพึงผึ่งไว้ที่แดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อ เก็บบาตรพึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วเก็บบาตร แต่อย่าเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร หรือสายระเดียง แล้ว ทำชายจีวรไว้ข้างนอกขนดไว้ข้างใน แล้วเก็บจีวร เมื่ออุปัชฌายะลุกขึ้นแล้ว พึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึง กวาดที่นั้นเสีย

ถ้าอุปัชฌายะใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าต้องการน้ำเย็น พึงจัดน้ำเย็นถวาย ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนถวาย ถ้าอุปัชฌายะใคร่ จะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วเดินตามหลัง อุปัชฌายะไปถวายตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วรับจีวรมาวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่ง พึงถวายจุณ ถวายดิน ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้าปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ อย่านั่งเบียดภิกษุ

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 362

ผู้เถระ อย่าเกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ พึงทำบริกรรมแก่อุปัชฌายะในเรือนไฟ เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลัง ออกจากเรือนไฟ พึงทำบริกรรมอุปัชฌายะแม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้ว พึงขึ้นมา ก่อน ทำตัวของตนให้แห้งน้ำ นุ่งผ้าแล้วพึงเช็ดน้ำจากตัวของอุปัชฌายะ พึง ถวายผ้านุ่ง ผ้าสังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ พึง วางน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ใกล้ๆ พึงถามอุปัชฌายะด้วย น้ำดื่ม

ถ้าประสงค์จะเรียนบาลี พึงขอให้อุปัชฌายะแสดงบาลีขึ้น ถ้าประสงค์ จะสอบถามอรรถกถา พึงสอบถาม อุปัชฌายะอยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่ง นั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงปัดกวาดเสีย เมื่อปัดกวาดวิหาร พึงขนบาตร จีวร ออกก่อนแล้ววางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงขนผ้าปูนั่ง และผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เตียงตั่ง สัทธิวิหาริกพึงยกต่ำๆ ทำให้ดี อย่าให้ครูดสี กระทบกระแทกบานและกรอบประตู ทั้งไว้ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง เขียงรองเท้าเตียง กระโถน พนักอิง พึงขนออกไปตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เครื่องปูพื้นพึงสังเกตที่ปูไว้เดิม แล้วขนออกไปวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ถ้าโนวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดแค่เพคานล่ งมาก่อน กรอบ หน้าต่างและมุมห้องพึงเช็ดเสีย ถ้าฝาเขาทำบริกรรมด้วยน้ำมัน หรือพื้นเขา ทาสีดำขึ้นรา พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ดเสีย ถ้าพื้นเขามิได้ทำ พึงเอาน้ำ ประพรมแล้วเช็ดเสียด้วยคิดว่า อย่าให้ฝุ่นกลบวิหารดังนี้ พึงกวาดหยากเยื่อ ทิ้งเสีย ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เครื่องปูพื้นพึงผึ่งแดด ชำระ เคาะ ปัด แล้ว ขนกลับปูไว้ดังเดิม เขียงรองเท้า เตียงพึงผึ่งแดด ปัด เช็ด แล้วขนกลับไป ไว้ที่เดิม เตียงตั่งพึงผึ่งแดดขัดสีเคาะยกต่ำๆ ทำให้ดี อย่าให้ครูดสี กระทบ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 363

กระแทกบานและกรอบประตู ขนกลับทั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน กระโถน พนักอิง พึงผึ่งแดด ชำระล้าง เคาะ ปัดเสีย แล้วขน กลับตั้งไว้ตามเดิม พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับ บาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียง หรือใต้ตั่งแล้วเก็บบาตร แต่อย่าเก็บ บาตรบนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง เมื่อเก็บจีวรพึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอา มือข้างหนึ่งลูบราวจีวร หรือสายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างใน เก็บจีวร ถ้าลมเจือด้วยผงคลีผลัดมาแต่ทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้าน ตะวันออก ถ้าลมเจือผงคลีพัดมาแต่ทิศทะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก ถ้าลมเจือผงคาลีพัดมาแต่ทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ ถ้าลมเจือผงคลีพัด มาแต่ทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้ ถ้าฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน กลางคืนพึงปิดเสีย ถ้าฤดูร้อน กลางวันพึงปิด กลางคืนพึงเปิด ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วีจจกุฏีรก พึงปัดกวาดเสีย ถ้าน้ำฉัน น้ำใช้ไม่มี พึงจัดทิ้งไว้ ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักมาไว้ในหม้อชำระ

ถ้าความกระสันบังเกิดขึ้นแก่อุปัชฌายะ สัทธิวิหาริกพึงช่วยระงับ หรือ พึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อุปัชฌายะนั้น ถ้าความ รำคาญบังเกิดแก่อุปัชฌายะ สัทธิวิหาจริกพึงช่วยบรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ ช่วยบรรเทา หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อุปัชฌายะ ถ้าทิฏฐิบังเกิดแก่อุปัชฌายะ สัทธิวิหาริกพึงให้สละเสีย หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือพึงแสดงธรรมกถา แก่อปัชฌายะนั้น

ถ้าอุปัชฌายะต้องอาบัติหนัก ควรแก่ปริวาส สัทธิวิหาริก พึงทำความ ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อุปัชฌายะ ถ้า อุปัชฌายะผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม สัทธิวิหาริกพึงทำความขวนขวายว่า

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 364

ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักอุปัชฌายะเข้าหาอาบัติเดิม ถ้าอุปัชฌายะผู้ ควรแก่มานัต สัทธิวิหาริกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ พึงให้มานัตแก่อุปัชฌายะ. ถ้าอุปัชฌายะควรอัพภาน สัทธิวิหาริกพึงทำความ ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานอุปัชฌายะ ถ้าสงฆ์ใคร่ กระทำกรรมแก่อุปัชฌายะ คือตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม สัทธิวิหาริกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่อุปัชฌายะ หรือสงฆ์พึงน้อมไป เพื่อกรรมเบา หรืออุปัชฌายะนั้น ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว สัทธิวิหาริก พึงทำ ความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ อุปัชฌายะพึงประพฤติชอบ หาย เย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย

ถ้าจีวรของอุปัชฌายะจะต้องซัก สัทธิวิหาริกพึงซัก หรือพึงทำความ ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงซักจีวรของอุปัชฌายะ ถ้าจีวร ของอุปัชฌายะจะต้องทำ สัทธิวิหาริกพึงทำ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วย อุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงทำจีวรของอุปัชฌายะ ถ้าน้ำย้อมของอุปัชฌายะ จะต้องต้มสัทธิวิหาริกพึงต้มเอง หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่าง ไรหนอ ใครๆ พึงต้มน้ำย้อมของอุปัชฌายะ ถ้าจีวรของอุปัชฌายะจะต้องย้อม สัทธิวิหาริกพึงย้อม หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงย้อมจีวรของอุปัชฌายะ เมื่อย้อมจีวร พึงย้อมพลิกกลับไปกลับมา ให้ดี เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย อย่าหลีกไปเสีย

สัทธิวิหาริกไม่บอกอุปัชฌายะก่อน อย่าให้บาตรแก่ภิกษุบางรูป อย่า รับบาตร อย่าให้จีวร อย่ารับจีวร อย่าให้บริขาร อย่ารับบริขารของภิกษุ

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 365

บางรูป อย่าปลงผมให้แก่ภิกษุบางรูป อย่าให้ภิกษุบางรูปปลงผมให้ อย่าทำ บริกรรมแก่ภิกษุบางรูป อย่าให้ภิกษุบางรูปทำบริกรรมให้ อย่าทำความขวนขวายแก่ภิกษุบางรูป อย่าสั่งให้ภิกษุบางรูปทำความขวนขวาย อย่าเป็นปัจฉาสมณะของภิกษุบางรูป อย่าพาภิกษุบางรูปไปเป็นปัจฉาสมณะ อย่านำบิณฑบาต ไปให้แก่ภิกษุบางรูป อย่าให้ภิกษุบางรูปนำบิณฑบาตมาให้

ไม่บอกลาอุปัชฌายะก่อน อย่าเข้าบ้าน อย่าไปป่าช้า อย่าหลีกไปสู่ ทิศ ถ้าอุปัชฌายะอาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นอุปัชฌายวัตรของสัทธิวิหาริกทั้งหลาย ซึ่งสัทธิวิหาริกพึงประพฤติชอบในพระอุปัชฌายะ.

มูลเหตุสัทธิวิหาริกวัตร

[๔๔๐] สมัยนั้น พระอุปัชฌายะทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในสัทธิ- วิหาริก บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระอุปัชฌายะทั้งหลาย จึงไม่ประพฤติชอบในสัทธิวิหาริก แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า อุปัชฌายะทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในสัทธิวิหาริก จริงหรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสัทธิวิหาริกวัตร แก่อุปัชฌายะทั้งหลาย โดยประการที่อุปัชฌายะทั้งหลายพึงประพฤติชอบใน สัทธิวิหาริก.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 366

สัทธิวิหาริกวัตร

[๔๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะพึงประพฤติชอบในสัทธิ- วิหาริก วิธีประพฤติชอบในสัทธิวิหาริกนั้น ดังต่อไปนี้:-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะพึงสงเคราะห์ อนุเคราะห์สัทธิวิหาริก ด้วยอุเทศ ปริปุจฉา โอวาท อนุศาสนี ถ้าอุปัชฌายะมีบาตร สัทธิวิหาริก ไม่มี อุปัชฌายะพึงให้แก่สัทธิวิหาริก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย อย่างไรหนอ บาตรพึงบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก ถ้าอุปัชฌายะมีจีวร สัทธิวิหาริก ไม่มี อุปัชฌายะพึงให้แก่สัทธิวิหาริก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย อย่างไรหนอ จีวรพึงบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก ถ้าอุปัชฌายะมีบริขาร สัทธิวิหาริก ไม่มี อุปัชฌายะพึงให้แก่สัทธิวิหาริก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย อย่างไรหนอ บริขารพึงบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก ถ้าสัทธิวิหาริกอาพาธ อุปัชฌายะ พึงลุกแต่เช้าตรู่ แล้วให้ไม้ชำระฟัน ให้น้ำล้างหน้า ปูอาสนะ ถ้ายาคูมี พึง ล้างภาชนะเสียก่อน แล้วนำยาคูเข้าไปให้ เมื่อสัทธิวิหาริกดื่มยาคูแล้ว พึงให้น้ำ รับภาชนะมา ถือต่ำๆ ล้างให้เรียบร้อย อย่าให้กระทบแล้วเก็บไว้ เมื่อ สัทธิวิหาริกลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย ถ้าสัทธิ- วิหาริกประสงค์จะเข้าบ้าน พึงให้ผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา พึงให้ประคดเอว พึงซ้อนผ้าห่ม ๒ ชั้นให้ พึงล้างบาตรให้พร้อมทั้งน้ำ พึงปูอาสนะไว้ด้วยคิดว่า เพียงเวลาเท่านี้ สัทธิวิหาริกจักกลับมา พึงวางน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ใกล้ๆ พึงลุกรับบาตรจีวร พึงให้ผ้านุ่งผลัด พึงรับผ้านุ่งมา ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งที่แดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงพับจีวร เมื่อพับจีวร พึงพับให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ด้วยตั้งใจมิให้มีรอยพับตรงกลาง พึงสอดประคดเอวไว้ในขนดจีวร.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 367

ถ้าบิณฑบาตมี และสัทธิวิหาริกก็ประสงค์จะฉัน พึงให้น้ำแล้วนำ บิณฑบาตเข้าไป พึงถามสัทธิวิหาริกถึงน้ำฉัน เมื่อสัทธิวิหาริกฉันแล้ว พึง ให้น้ำ รับบาตรมา ถือต่ำๆ ล้างให้ดี อย่าให้ครูดสี เช็ดให้หมดน้ำ ผึ่งไว้ ที่แดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงเก็บบาตร จีวร เมือเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียง หรือใต้ตั่งแล้ว เก็บบาตร แต่อย่าเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง เมื่อเก็บจีวร พึง เอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร หรือสายระเดียง แล้วทำชาย ไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างใน แล้วเก็บ เมื่อสัทธิวิหาริกลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.

ถ้าสัทธิวิหาริกใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงให้ ถ้าต้องการน้ำเย็น พึงจัดน้ำเย็นให้ ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนให้ ถ้าสัทธิวิหาริกจะใคร่ เข้าเรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือนไฟไปให้ แล้วรับจีวรมา วางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงให้จุณ ให้ดิน ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้า ปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ อย่านั่งเบียดภิกษุผู้เถระ อย่าเกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ พึงทำบริกรรมแก่ สัทธิวิหาริกในเรือนไฟ เมื่อเข้าเรือนไฟ เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่ง สำหรับเรือนไฟ แล้วปิดทั้งข้างหน้าและข้างหลังออกจากเรือนไฟ พึงทำ บริกรรมแก่สัทธิวิหาริกแม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้ว พึงขึ้นมาก่อนทำตัวของตน ให้แห้งน้ำ นุ่งผ้า แล้วพึงเช็ดน้ำจากตัวสัทธิวิหาริกพึงให้ผ้านุ่ง ผ้าสังฆาฏิ ถือ ตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ จัดตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ใกล้ๆ พึงถามสัทธิวิหาริกด้วยน้ำฉัน.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 368

สัทธิวิหาริกอยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุปัชฌายะ อุตสาหะอยู่ พึงปัดกวาดให้สะอาด เมื่อปัดกวาดวิหาร พึงขนบาตร จีวร ออกก่อน แล้ววางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ... ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึง ตักมาไว้ในหม้อชำระ.

ถ้าความกระสันบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก อุปัชฌายะพึงระงับ หรือพึง วานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่สัทธิวิหาริกนั้น ถ้าความ รำคาญบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก อุปัชฌายะพึงบรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ ช่วยบรรเทา หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่สัทธิวิหาริกนั้น ถ้าทิฏฐิบังเกิดแก่ สัทธิวิหาริก อุปัชฌายะพึงให้สละเสีย หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือพึง แสดงธรรมกถาแก่สัทธิวิหาริกนั้น.

ถ้าสัทธิวิหาริกต้องอาบัติหนัก ควรแก่ปริวาส อุปัชฌายะพึงทำความ ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่สัทธิวิหาริก ถ้า สัทธิวิหาริกควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม อุปัชฌายะพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักสัทธิวิหาริกเข้าหาอาบัติเดิม ถ้าสัทธิวิหาริก ควรแก่มานัต อุปัชฌายะพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ พึงให้มานัตแก่สัทธิวิหาริก ถ้าสัทธิวิหาริกควรอัพภาน อุปัชฌายะพึงทำความ ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานสัทธิวิหาริก ถ้าสงฆ์ใคร่ จะทำกรรมแก่สัทธิวิหาริก คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม อุปัชฌายะพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่สัทธิวิหาริก หรือสงฆ์พึงน้อมไป เพื่อกรรมเบา หรือสัทธิวิหาริกนั้นถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว อุปัชฌายะพึง

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 369

ทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สัทธิวิหาริกพึงประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ สงฆ์พึงระงับ กรรมนั้นเสีย.

ถ้าจีวรของลัทธิวิหาริกจะต้องซัก อุปัชฌายะพึงสั่งว่า ท่านพึงซัก อย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงซัก จีวรของสัทธิวิหาริก ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องทำ อุปัชฌายะพึงสั่งว่า ท่านพึงทำอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงทำจีวรของสัทธิวิหาริก ถ้าน้ำย้อมของสัทธิวิหาริกจะต้องต้ม อุปัชฌายะพึง สั่งว่า ท่านพึงต้มอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงต้มน้ำย้อมของสัทธิวิหาริก ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องย้อม อุปัชฌายะพึงสั่งว่า ท่านพึงย้อมอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วย อุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงย้อมจีวรของสัทธิวิหาริก เมื่อย้อมจีวร พึงย้อม พลิกกลับไปกลับมาให้ดี เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย ไม่พึงหลีกไปเสีย. ถ้าสัทธิวิหาริกอาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นสัทธิวิหาริกวัตรของอุปัชฌายะทั้งหลาย ซึ่งอุปัชฌายะทั้งหลายพึงประพฤติชอบในสัทธิวิหาริก.

ทุติยภาณวาร จบ

มูลเหตุอาจริยวัตร

[๔๔๒] สมัยนั้น อันเตวาสิกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในพระอาจารย์ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน อันเตวาสิกทั้งหลาย จึงไม่ประพฤติชอบในพระอาจารย์ แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 370

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า อันเตวาสิกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในอาจารย์ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติอาจริยวัตรแก่ภิกษุ อันเตวาสิกทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุอันเตวาสิกทั้งหลายพึงประพฤติชอบใน อาจารย์.

อาจริยวัตร

[๔๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกพึงประพฤติชอบในอาจารย์ วิธีประพฤติชอบในอาจารย์นั้น ดังต่อไปนี้ :-

อันเตวาสิกพึงลุกแต่เช้าตรู่ ถอดรองเท้า ห่มผ้าเฉวียงบ่าแล้ว ถวาย ไม้ชำระฟัน ถวายน้ำล้างหน้า ปูอาสนะไว้ ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะเสียก่อน แล้วน้อมยาคูเข้าไป เมื่ออาจารย์ดื่มยาคูแล้ว พึงถวายน้ำ รับภาชนะมา ถือ ต่ำๆ ล้างให้เรียบร้อย อย่าให้กระทบแล้วเก็บไว้ เมื่ออาจารย์ลุกแล้ว พึงเก็บ อาสนะ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.

ถ้าอาจารย์ประสงค์จะเข้าบ้าน พึงถวายผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา พึง ถวายประคดเอว พึงซ้อนผ้าห่มสองชั้นถวาย พึงล้างบาตรแล้วถวายพร้อมทั้งน้ำ ถ้าอาจารย์ปรารถนาจะให้เป็นปัจฉาสมณะ พึงปกปิดกายให้มีมณฑลสาม นุ่ง ให้เป็นปริมณฑลคาดประคดเอว ซ้อนผ้าห่มสองชั้น ห่มคลุม กลัดลูกดุม ล้างบาตรแล้วถือไป เป็นปัจฉาสมณะของอาจารย์ ไม่พึงเดินให้ห่างนัก ให้ ชิดนัก พึงรับวัตถุที่เนื่องในบาตร เมื่ออาจารย์กำลังพูด ไม่พึงพูดสอดขึ้นใน ระหว่างๆ อาจารย์กล่าวถ้อยคำใกล้ต่ออาบัติ พึงห้ามเสีย เมื่อกลับ พึงกลับ

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 371

มาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ พึงวางน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ ใกล้ๆ พึงลุกรับบาตร จีวร พึงถวายผ้านุ่งผลัด พึงรับผ้านุ่งมา ถ้าจีวร ชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงพับจีวร เมื่อจะ พับจีวร พึงพับให้เหลื่อมมุมกันสี่นิ้ว ด้วยตั้งใจมิให้มีรอยพับตรงกลาง พึง สอดประคดเอวไว้ในขนดจีวร.

ถ้าบิณฑบาตมี และอาจารย์ประสงค์จะฉัน พึงถวายน้ำ แล้วน้อม บิณฑบาตเข้าไป พึงถามอาจารย์ถึงน้ำฉัน เมื่ออาจารย์ฉันแล้ว พึงถวายน้ำ รับบาตรมา ถือต่ำๆ ล้างให้เรียบร้อย อย่าให้กระทบ ล้างเช็ดให้หมดน้ำ แล้วพึงผึ่งไว้ที่แดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อ เก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียง หรือ ใต้ตั่งแล้วเก็บบาตร แต่อย่าเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง เมื่อ เก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างใน แล้วเก็บเถิด เมื่ออาจารย์ลุกแล้ว พึง เก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึง กวาดที่นั้นเสีย.

ถ้าอาจารย์ใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าต้องการน้ำเย็น พึง จัดน้ำเย็นถวาย ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนถวาย ถ้าอาจารย์ใคร่จะเข้า เรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วเดินตามหลังอาจารย์ ไป ถวายตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วรับจีวรมาวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึง ถวายจุณ ถวายดิน ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อเข้าเรือนไฟ พึงเอา ดินทาหน้า ปกปิดทั่งข้างหน้าทั้งข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ อย่านั่งเบียดภิกษุ ผู้เถระ อย่าเกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ พึงทำบริกรรมแก่อาจารย์ในเรือนไฟ เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วปกปิดทั้งข้างหน้าทั้ง

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 372

ข้างหลัง ออกจากเรือนไฟ พึงทำบริกรรมแก่อาจารย์แม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้ว พึงขึ้นมาก่อน ทำตัวของตนให้แห้งน้ำ นุ่งผ้าแล้วพึงเช็ดน้ำจากตัวของอาจารย์ พึงถวายผ้านุ่ง ผ้าสังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อนแล้วปูอาสนะไว้ พึง วางน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ใกล้ๆ พึงถามอาจารย์ด้วยน้ำดื่ม.

ถ้าประสงค์จะเรียนบาลี พึงขอให้อาจารย์แสดงบาลีขึ้น ถ้าประสงค์จะ สอบถามอรรถกถา พึงสอบถาม อาจารย์อยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้น รก ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงปัดกวาดวิหาร พึงขนบาตร จีวร ออกก่อนแล้ววางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงขนผ้าปูนั่งและผ้าปูนอน ขนฟูก หมอนออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เตียง ตั่ง อันเตวาสิกพึงยกต่ำๆ ทำให้เรียบร้อย อย่า ให้ครูดสีกระทบกระแทกบานและกรอบประตู ตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เขียงรองเท้าเตียง กระโถน พนักอิง พึงขนออกไปวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่ง เครื่องปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม แล้วขนออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่ง ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึ่งกวาดแต่เพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและ มุมห้อง พึงเช็ดเสีย ถ้าฝาเขาทำบริกรรมด้วยน้ำมัน หรือพื้นทาสีดำขึ้นรา พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดเช็ดเสีย ถ้าพื้นเขามิได้ทำ พึงเอาน้ำประพรมแล้ว เช็ดเสีย ระวังอย่าให้ฝุ่นฟุ้ง พึงกวาดหยากเยื่อทิ้งเสีย ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เครื่องปู พื้น พึงผึ่งแดดชำระเคาะปัด แล้วขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเท้าเตียง พึง ผึ่งแดดขัดเช็ด แล้วขนกลับไปตั้งไว้ ณ ที่เดิม เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ขัดสี เคาะ ยกต่ำๆ ทำให้ดี อย่าให้ครูดสีกระทบกระแตกบานและกรอบประตู ขน กลับจัดตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนอน กระโถน พนักอิง พึงผึ่งแดด ชำระล้าง ตบ ปัดเสีย แล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อ จะเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียง หรือ

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 373

ใต้ตั่งแล้วเก็บบาตร แต่อย่าเก็บบาตรบนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร หรือสายระเดียง แล้วทำ ชายไว้ข้างนอกขนดไว้ข้างใน เก็บจีวรเถิด ถ้าลมเจือด้วยผงคลีพัดมาแต่ทิศ ตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก ถ้าพัดมาแต่ทิศตะวันตก พึงปิดหน้า ต่างด้านตะวันตก ถ้าพัดมาแต่ทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ ถ้าพัดมา แต่ทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้ ถ้าฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน กลาง คืนพึงปิดเสีย ถ้าฤดูร้อนกลางวันพึงปิด กลางคืนพึงเปิด ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎีรกพึงปิดกวาดเสีย ถ้าน้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำ ในหม้อชำระไม่มีพึงตักมาไว้ในหม้อชำระ

ถ้าความกระสันบังเกิดแก่อาจารย์ อันเตวาสิก พึงช่วยระงับ หรือพึง วานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงทำธรรมกถาแก่อาจารย์นั้น ถ้าความรำคาญ บังเกิดแก่อาจารย์ อันเตวาสิกพึงช่วยบรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย บรรเทา หรือพึงทำธรรมกถาแก่อาจารย์นั้น ถ้าทิฏฐิบังเกิดแก่อาจารย์ อัน เตวาสิกพึงให้สละเสียหรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือพึงทำธรรมกถาแก่ อาจารย์นั้น

ถ้าอาจารย์ต้องอาบัติหนัก ควรแก่ปริวาส อันเตวาสิก พึงทำความ ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อาจารย์ ถ้าอาจารย์ควร แก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่าง ไรหนอ สงฆ์พึงชักอาจารย์เข้าในอาบัติเดิม ถ้าอาจารย์ควรแก่มานัต อันเตวาสิก พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่อาจารย์ ถ้าอาจารย์ควรอัพภาน อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไร หนอ สงฆ์พึงอัพภานอาจารย์ ถ้าสงฆ์ใคร่จะทำกรรมแก่อาจารย์ คือ ตัชชนีย-

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 374

กรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฎิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรม แก่อาจารย์หรือสงฆ์พึงน้อมไป เพื่อกรรมเบา หรืออาจารย์นั้นถูกสงฆ์ลง ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย อย่างไรหนอ อาจารย์พึงประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ สงฆ์ พึงระงับกรรมนั้นเสีย

ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องซัก อันเตวาสิกพึงซัก หรือพึงทำความขวน ขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงซักจีวรของอาจารย์ ถ้าจีวรของ อาจารย์จะต้องทำ อันเตวาสิกพึงทำ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย อย่างไรหนอ ใครๆ พึงทำจีวรของอาจารย์ ถ้าน้ำย้อมของอาจารย์จะต้องต้ม อันเตวาสิก พึงต้มเอง หรือพึงทำควานขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงต้มน้ำย้อมของอาจารย์ ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องย้อม อันเตวาสิก พึงย้อม หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงย้อม จีวรของอาจารย์ เมื่อย้อมจีวรพึงย้อมพลิกกลับไปกลับมาให้ดี เมื่อหยาดน้ำย้อม ยังหยดไม่ขาดสาย อย่าพึงหลีกไปเสีย

อันเตวาสิกไม่บอกอาจารย์ก่อน อย่าให้บาตรแก่ภิกษุบางรูป อย่ารับ บาตร อย่าให้จีวร อย่ารับจีวร อย่าให้บริขาร อย่ารับบริขารของภิกษุบางรูป อย่าปลงผมให้แก่ภิกษุบางรูป อย่าให้ภิกษุบางรูปปลงผมให้ อย่าทำบริกรรม แก่ภิกษุบางรูป อย่าให้ภิกษุบางรูปทำบริกรรมให้ อย่าทำความขวนขวายแก่ ภิกษุบางรูป อย่าให้ภิกษุบางรูปทำความขวนขวาย อย่าเป็นปัจฉาสมณะของ ภิกษุบางรูป อย่าพาภิกษุบางรูปไปเป็นปัจฉาสมณะ อย่านำบิณฑบาตไปให้แก่ ภิกษุบางรูป อย่าให้ภิกษุบางรูปนำบิณฑบาตมาให้

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 375

อันเตวาสิกไม่บอกลาอาจารย์ก่อน อย่าเข้าบ้าน อย่าไปป่าช้า อย่า หลีกไปสู่ทิศ ถ้าอาจารย์อาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิตหรือจนกว่าจะหาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นอาจาริยวัตรของอันเตวาสิกทั้งหลาย ซึ่งอันเตวาสิกทั้งหลายพึงประพฤติชอบในอาจารย์.

มูลเหตุอันเตวาสิกวัตร

[๔๔๔] ก็สมัยนั้น อาจารย์ทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในอันเตวาสิก บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน อาจารย์ทั้งหลายจึงได้ไม่ประพฤติชอบในอันเตวาสิก แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า อาจารย์ทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในอันเตวาสิก จริงหรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ครั้น แล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติอันเตวาสิกวัตรแก่ อาจารย์ทั้งหลาย โดยประการที่อาจารย์ทั้งหลายพึงประพฤติชอบในอันเตวาสิก.

อันเตวาสิกวัตร

[๔๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงประพฤติชอบในอันเตวาสิก วิธีประพฤติชอบในอันเตวาสิกนั้น ดังต่อไปนี้ :-

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 376

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงสงเคราะห์ อนุเคราะห์ อันเตวาสิก ด้วยอุเทศ ปริปุจฉา โอวาท อนุศาสนี ถ้าอาจารย์มีบาตร อันเตวาสิกไม่มี อาจารย์พึงให้แก่อันเตวาสิก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไร หนอ บาตรพึงบังเกิดแก่อันเตวาสิก ถ้าอาจารย์มีจีวร อันเตวาสิกไม่มี อาจารย์พึงให้แก่อันเตวาสิก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไร หนอ จีวรพึงบังเกิดแก่อันเตวาสิก ถ้าอาจารย์มีบริขาร อันเตวาสิกไม่มี อาจารย์พึงให้แก่อันเตวาสิกหรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บริขารพึงบังเกิดแก่อันเตวาสิก ถ้าอันเตวาสิกอาพาธ อาจารย์พึงลุกแต่เช้าตรู่ แล้วให้ไม้ชำระฟัน ให้น้ำล้างหน้าปูอาสนะ ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะเสียก่อน แล้วนำยาคูเข้าไปให้ เมื่ออันเตวาสิกาดื่มยาคูแล้ว พึงให้น้ำ รับภาชนะมา ถือ ต่ำๆ ล้างให้เรียบร้อย อย่าให้กระทบแล้วเก็บไว้ เมื่ออันเตวาสิกลุกแล้ว พึง เก็บอาสนะ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย ถ้าอันเตวาสิกประสงค์จะเข้าบ้าน พึงให้ผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา พึงให้ประคดเอว พึงซ้อนผ้าห่มสองชั้นให้ พึงล้างบาตรให้พร้อมทั้งน้ำ พึงปูอาสนะไว้ด้วยเข้าใจว่า เพียงเวลาเท่านี้ อันเตวาสิกจักกลับมา พึงวางน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้ากระเบื้องเช็ดเท้าไว้ใกล้ๆ พึงลุกรับบาตร จีวร พึงให้ผ้านุ่งผลัด พึงรับผ้านุ่งมา ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึง ผึ่งแดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงพับจีวร เมื่อพับจีวร พึงพับ ให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ด้วยตั้งใจมิให้มีรอยพับตรงกลาง พึงสอดประคดเอว ไว้ในขนดจีวร

ถ้าบิณฑบาตมี และอันเตวาสิกก็ประสงค์จะฉัน พึงให้น้ำ แล้วนำ บิณฑบาตเข้าไป พึงถามอันเตวาสิกถึงน้ำฉัน เมื่ออันเตวาสิกฉันแล้ว พึงให้ น้ำ รับบาตรมาถือต่ำๆ ล้างให้ดี อย่าให้ครูดสีเช็ดให้หมดน้ำ ผึ่งไว้ที่แดด

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 377

สักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อเก็บบาตร ... เมื่อ เก็บจีวร ... ทำชายจีวรไว้ข้างใน แล้วเก็บ เมื่ออันเตวาสิกลุกแล้ว พึงเก็บ อาสนะ น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้น เสีย

ถ้าอันเตวาสิกใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงให้ ถ้าต้องการน้ำเย็น พึง จัดน้ำเย็นให้ ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนให้ ถ้าอันเตวาสิกใคร่จะเข้า เรือนไฟพึงบดจุณ แช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือนไฟไปให้ แล้วรับจีวรไปวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงให้จุณ ให้ดิน ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าไปสู่เรือนไฟ เมื่อเข้าไปสู่เรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้า ปกปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลัง แล้วเข้า ไปสู่เรือนไฟอย่านั่งเบียดภิกษุผู้เถระ อย่าเกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ พึงทำบริ- กรรมแก่อันเตวาสิกในเรือนไฟ เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้ว ปกปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลัง ออกจากเรือนไฟ พึงทำบริกรรมแก่อันเตวาสิกแม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้วพึงขึ้นมาก่อนทำด้วยของตนให้หมดน้ำ นุ่งผ้า แล้วพึงเช็ดน้ำจากตัวของอันเตวาสิก พึงให้ผ้านุ่ง ผ้าสังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับ เรือนไฟมาก่อนแล้วปูอาสนะไว้ จัดตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ไว้ไกล้ๆ พึงถามอันเตวาสิกด้วยน้ำฉัน อันเตวาสิกอยู่ในวิหารแห่งใด ถ้า วิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงปัดกวาดให้สะอาด เมื่อปัดกวาดวิหาร พึง ขนบาตร จีวรออกก่อนแล้ววางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ... ถ้าน้ำในหม้อ ชำระ ไม่มี พึงตักมาไว้ในหม้อชำระ

ถ้าความกระสันบังเกิดขึ้นแก่อันเตวาสิก อาจารย์พึงช่วยระงับ หรือ พึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อันเตวาสิกนั้น ถ้าความ รำคาญบังเกิดแก่อันเตวาสิก อาจารย์พึงบรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย บรรเทาหรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อันเตวาสิกนั้น.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 378

ถ้าอันเตวาสิกต้องอาบัติหนัก ควรแก่ปริวาส อาจารย์พึงทำความขวน ขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อันเตวาสิก ถ้าอันเตวาสิก ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอะไร หนอ สงฆ์พึงชักอันเตวาสิกเข้าหาอาบัติเดิม ถ้าอันเตวาสิกควรมานัต อาจารย์ พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่อันเตวาสิก ถ้าอันเตวาสิกควรอัพภาน อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไร หนอ สงฆ์พึงอัพภานอันเตวาสิก ถ้าสงฆ์ใคร่จะทำกรรมแก่อันเตวาสิก คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึง ทำกรรมแก่อันเตวาสิก หรือสงฆ์พึงน้อมไปเพื่อกรรมเบา หรือว่าอันเตวาสิก นั้นถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารนียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไร หนอ อันเตวาสิกพึงประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ สงฆ์พึง ระงับกรรมนั้นเสีย.

ถ้าจีวรของอันเตวาสิกจะต้องซัก อาจารย์พึงสั่งว่า ท่านพึงซักอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงซักจีวรของ อันเตวาสิก ถ้ำน้ำย้อมของอันเตวาสิกจะต้องต้ม อาจารย์พึงสั่งว่า ท่านพึงต้ม อย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงต้ม น้ำย้อมของอันเตวาสิก ถ้าจีวรของอันเตวาสิกจะต้องย้อม อาจารย์พึงสั่งว่า ท่านพึงย้อมอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงย้อมจีวรของอันเตวาสิก เมื่อย้อมจีวร พึงย้อมพลิกกลับไปกลับมาให้ดี และเมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย ไม่พึงหลีกไปเสีย.

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 379

ถ้าอันเตวาสิกอาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นอันเตวาสิกวัตรของอาจารย์ทั้งหลาย ซึ่งอาจารย์ทั้งหลายพึงประพฤติชอบในอันเตวาสิก

วัตตขันธกะ ที่ ๘ จบ

ในขันธกะนี้มี ๑๙ เรื่อง ๑๔ วัตร

หัวข้อประจำขันธกะ

[๔๔๖] เรื่องพระอาคันตุกะ สวมรองเท้า กั้นร่ม คลุมศีรษะ พาด จีวรบนศีรษะ เข้าไปสู่อาราม ล้างเท้าด้วยน้ำฉัน ไม่ไหว้ภิกษุเจ้าถิ่นผู้แก่กว่า ไม่ถามถึงเสนาสนะ งูตกลงมา ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักพากันโพนทะนา พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงบัญญัติว่า ภิกษุอาคันตุกะจะเข้าอาราม พึงถอดรองเท้า ลดร่ม ห่มลดไหล่ เข้าอารามไม่ต้องรีบร้อน พึงสังเกตว่า เจ้าถิ่นประชุมกันที่ไหน พึงวางบาตรจีวรไว้ที่แห่งหนึ่ง ถืออาสนะที่สมควร ถามถึงน้ำฉันน้ำใช้ พึง ล้างเท้า พึงเช็ดรองเท้า ด้วยผ้าแห้งก่อน ด้วยผ้าเปียกทีหลัง พึงไหว้ภิกษุ เจ้าถิ่นผู้แก่กว่า พึงให้ภิกษุเจ้าถิ่นผู้อ่อนกว่าไหว้ พึงถามเสนาสนะ ทั้งที่มีภิกษุ อยู่ หรือไม่มีภิกษุอยู่ พึงถามถึงโคจรคาม และอโคจรคาม สกุลที่ได้รับ สมมติว่าเป็นเสกขะ ที่ถ่ายอุจจาระ ที่ถ่ายปัสสาวะ น้ำฉัน น้ำใช้ ไม้เท้า กติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่าควรเข้าเวลาเท่าไร พึงรอสักครู่หนึ่ง วิหารมีหยากเยื่อ ต้องชำระ ก่อนชำระ ต้องขนเครื่องลาดพื้น เขียงรองเท้าเตียง ฟูก หมอน เตียง ตั่ง กระโถน พนักอิง พึงกวาดหยากเยื่อแต่เพดานลงมาก่อน พึงเช็ด กรอบหน้าต่าง ประตู และมุมห้อง ฝาทาน้ำมันขึ้นรา พื้นทาสีดำ พึงเอาผ้า ชุบน้ำเช็ด พื้นไม่ได้ทำ พึงเอาน้ำพรมแล้วกวาดเสีย พึงกวาดหยากเยื่อทิ้ง

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 380

เครื่องลาดพื้น เขียงรองเท้าเตียง เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน กระโถน พนักอิง ผึ่งแดดแล้วเก็บไว้ที่เดิม พึงเก็บบาตร จีวร อย่าวางบน พื้นที่ปราศจากเครื่องรอง พึงเก็บจีวรให้ชายอยู่ด้านนอก ขนดอยู่ด้านใน มี ลมพัดมาทางทิศตะวันออก ทะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้ พึงปิดหน้าต่าง ทางทิศนั้นๆ ฤดูหนาว กลางวันพึงเปิดหน้าต่าง กลางคืนพึงปิด ฤดูร้อน กลางวันพึงปิดหน้าต่าง กลางคืนพึงเปิด พึงกวาดบริเวณ ซุ่มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ และวัจจกุฏี พึงตักน้ำฉัน น้ำใช้ และน้ำในหม้อชำระ อาคันตุกวัตร ดังกล่าวมานี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระคุณหาที่เปรียบมิได้ ทรงบัญญัติ แล้ว.

เรื่องภิกษุเจ้าถิ่น ไม่ปูอาสนะ ไม่ตั้งน้ำล้างเท้า ไม่ลุกรับ ไม่ถาม ด้วยน้ำฉัน น้ำใช้ ไม่ไหว้ ไม่จัดเสนาสนะให้ บรรดาภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก พากันโพนทะนา ภิกษุเจ้าถิ่นเห็นอาคันตุกะผู้แก่กว่า พึงปูอาสนะ ตั้งน้ำ ลุก รับ ถามด้วยน้ำฉัน น้ำใช้ เช็ดรองเท้าผึ่งไว้ ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง พึงไหว้ พระอาคันตุกะผู้แก่กว่า พึงจัดเสนาสนะถวาย พึงบอกเสนาสนะที่มีภิกษุอยู่ หรือไม่มีภิกษุอยู่ พึงบอกโคจรคาม และอโคจรคาม สกุลที่เป็นเสกขสมมติ ฐาน น้ำฉัน น้ำใช้ ไม้เท้า และพึงบอกกติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า เวลานี้ควรเข้า ควรออก พระอาคันตุกะอ่อนพรรษากว่าพึงนั่งบอก พึงแนะนำพระอาคันตุกะ ผู้อ่อนพรรษาให้อภิวาท พึงบอกเสนาสนะ นอกนั้นเหมือนนัยหนหลัง อาวาสิกวตรดังกล่าวมานี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงนำหมู่ ทรงแสดงแล้ว.

เรื่องภิกษุผู้เตรียมจะไป ไม่เก็บเครื่องไม้ เครื่องดิน เปิดประตู หน้าต่างทิ้งไว้ ไม่มอบหมายเสนาสนะ เครื่องไม้ เครื่องดินเสียหาย เสนาสนะไม่มีใครรักษา บรรดาภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักพากันโพนทะนา.

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 381

ภิกษุผู้เตรียมจะไป พึงเก็บเครื่องไม้ เครื่องดิน ปิดประตู หน้าต่าง มอบหมายเสนาสนะแล้วจึงหลีกไป พึงมอบหมาย ภิกษุสามเณร คนวัด หรือ อุบาสกก็ได้ พึงยกเตียงขึ้นวางไว้บนศิลากองเครื่องเสนาสนะไว้ข้างบน เก็บ เครื่องไม้ เครื่องดิน ปิดประตู หน้าต่าง ถ้าวิหารฝนรั่ว ภิกษุผู้เตรียมจะไป อุตสาหะอยู่ พึงมุงหรือพึงทำความขวนขวาย ในวิหารที่ฝนไม่รั่วก็เหมือนกัน ถ้าวิหารฝนรั่วทุกแห่ง พึงขนเครื่องเสนาสนะเข้าบ้าน ในที่แจ้งก็เหมือนกัน ด้วยคิดว่า อย่างไรเสีย ส่วนของเตียง ตั่งก็คงเหลืออยู่บ้าง นี้เป็นวัตรอันภิกษุ ผู้เตรียมจะไปพึงประพฤติ.

เรื่องภิกษุทั้งหลายไม่อนุโมทนา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้ พระเถระอนุโมทนา ภิกษุทั้งหลายเหลือพระเถระไว้รูปเดียว พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตให้พระเถรานุเถระรออยู่ ๔ - ๕ รูป พระเถระรูปหนึ่งปวดอุจจาระ กลั้นจนสลบลง นี้เป็นวัตรในการอนุโมทนา.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์นุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมรรยาท เดินแซง นั่ง เบียดเสียดพระเถระ เกลียดกันอาสนะภิกษุใหม่ นั่งทับสังฆาฏิ ภิกษุผู้มีศีล เป็นที่รักพากันโพนทะนา ภิกษุพึงนุ่งห่มปกปิดมณฑลสาม คาดประคดเอว ห่มผ้า ๒ ชั้น กลัดลูกดุม ไม่เดินแซง พึงปกปิดกายด้วยดี สำรวมด้วยดี มีตาทอดลง ไม่เวิกผ้า ไม่หัวเราะลั่น พึงมีเสียงน้อย ไม่โยกกาย ไม่ไกวแขน ไม่โคลงศีรษะ ไม่ค้ำกาย ไม่คลุมศีรษะ ไม่เดินกระโหย่ง ปกปิดกายด้วยดี สำรวมด้วยดี มีตาทอดลง ไม่เวิกผ้า ไม่หัวเราะลั่น มีเสียงน้อย ไม่โยกกาย ไม่ไกวแขน ไม่โคลงศีรษะ ไม่ค้ำกาย ไม่คลุมศีรษะ ไม่นั่งรัดเข่า ไม่นั่ง เบียดเสียดพระเถระ ไม่เกลียดกันอาสนะภิกษุใหม่ ไม่นั่งทับสังฆาฏิ เมื่อเขา ถวายน้ำ พึงรับไปล้างบาตรถือต่ำๆ พึงค่อยๆ เทน้ำลงในกระโถน ด้วย คิดว่า กระโถนอย่าเลอะเทอะ ภิกษุใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเซ็น เมื่อเขาถวาย

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 382

ข้าวสุก พึงประคองบาตรรับ พึงไว้โอกาสสำหรับแกง ถ้ามีเนยใส น้ำมัน หรือแกงอ่อม พระเถระพึงบอกว่า จงถวายภิกษุทุกรูปเท่าๆ กัน พึงรับ บิณฑบาตโดยเคารพ พึงมีความสำคัญในบาตร พึงรับบิณฑบาตพอสมกับแกง พอเสมอขอบปากบาตร พระเถระไม่พึงฉันก่อนในเมื่อข้าวสุกยังไม่ทั่วถึงภิกษุ ทุกรูป พึงฉันบิณฑบาตโดยเคารพ พึงมีความสำคัญในบาตรฉัน พึงฉัน บิณฑบาตตามลำดับ พึงฉันพอสมกับแกง ไม่พึงฉันขยุ้มแต่ยอดลงไป ไม่พึง ฉันกลบแกงหรือกับข้าว ไม่พึงขอแกง หรือกับข้าวมาฉัน ไม่พึงแลดูบาตรของ ภิกษุอื่นด้วยมุ่งจะยกโทษ ไม่พึงทำคำข้าวให้ใหญ่ พึงทำคำข้าวให้กลมกล่อม ไม่พึงอ้าปากไว้คอยท่า ไม่พึงสอดมือทั้งหมดเข้าปาก ไม่พึงพูดทั้งคำข้าวยัง อยู่ในปาก ไม่พึงฉันโยนคำข้าว ไม่พึงฉันกัดคำข้าว ไม่พึงฉันทำแก้มให้ตุ่ย ไม่พึงฉันสลัดมือ ไม่พึงฉันทำเมล็ดข้าวตก ไม่พึงฉันแลบลิ้น ไม่ทำเสียงดัง จั๊บๆ ไม่พึงฉันทำเสียงซู๊ดๆ ไม่พึงฉันเลียมือ ไม่พึงฉันขอดบาตร ไม่พึง ฉันเลียริมฝีปาก ไม่พึงรับขันน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส พระเถระไม่พึงรับน้ำก่อน ที่ภิกษุทั้งหมดยังฉันไม่เสร็จ พึงค่อยๆ ล้างบาตร พึงค่อยๆ เทน้ำลงใน กระโถน อย่าให้กระโถนเลอะเทอะ อย่าให้กระเซ็นถูกภิกษุใกล้เคียง อย่าให้ กระเซ็นถูกสังฆาฏิ พึงค่อยๆ เทน้ำลงบนพื้นดิน ไม่พึงเทน้ำล้างบาตรมี เมล็ดข้าว เมื่อกลับ ภิกษุใหม่พึงกลับก่อน พระเถระพึงกลับทีหลัง พึงปกปิด กายด้วยดี ไม่พึงเดินกระโหย่ง ภัตตัคควัตร ดังกล่าวมานี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นธรรมราชาทรงบัญญัติไว้แล้ว.

เรื่องภิกษุถือเที่ยวบิณฑบาตนุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมารยาทเข้าบ้าน ออกจากบ้านไม่กำหนด เข้าออกรีบร้อนเกินไป ยืนไกลเกินไป ใกล้เกินไป นานเกินไป กลับเร็วเกินไป ภิกษุถือเที่ยวบิณฑบาตอีกรูปหนึ่งก็เป็นเช่นนั้น

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 383

ภิกษุถือเที่ยวบิณฑบาต จะเข้าบ้านพึงปกปิดกายด้วยดี สำรวมด้วยดี มีตาทอด ลง ไม่เวิกผ้า ไม่หัวเราะลั่น มีเสียงน้อย ไม่โยกกาย ไม่ไกวแขน ไม่โคลง ศีรษะ ไม่ค้ำกาย ไม่คลุมศีรษะ ไม่เดินกระโหย่ง พึงสังเกตก่อน อย่ารีบ ร้อนเข้าออก อย่ายืนไกลนัก ใกล้นัก นานนัก อย่ากลับเร็วนัก พึงยืน กำหนดว่า เขาพักการงาน ลุกจากที่นั่ง จับทัพพี จับภาชนะตั้งไว้หรือไม่ พึงแหวกผ้าซ้อนประคองบาตรรับภิกษา ขณะรับไม่พึงนองดูหน้าผู้ถวาย แม้ใน แกงก็พึงกำหนดเช่นนั้นเหมือนกัน เมื่อเขาถวายภิกษาแล้ว ภิกษุพึงคลุมบาตร ด้วยผ้าซ้อนกลับไป พึงปกปิดกายด้วยดีเดินไป พึงสำรวมด้วยดี มีตาทอดลง ไม่เวิกผ้า ไม่หัวเราะลั่น มีเสียงน้อย ไม่โยกกาย ไม่ไกวแขน ไม่โคลงศีรษะ ไม่ค้ำกาย ไม่คลุมศีรษะ ไม่เดินกระโหย่ง รูปใดกลับก่อนพึงปูอาสนะไว้ จัด กระโถนไว้ เตรียมน้ำฉันน้ำใช้ไว้ รูปใดกลับทีหลังประสงค์จะฉันก็พึงฉัน ถ้า ไม่ประสงค์ก็พึงเททิ้ง พึงเก็บอาสนะน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า เก็บน้ำฉันน้ำใช้ กวาดโรงฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน น้ำใช้ หม้อน้ำชำระว่าง เปล่า พึงจัดตั้งไว้ ถ้าเป็นการสุดวิสัยพึงกวักมือเรียกเพื่อนมาช่วย แต่ไม่พึง เปล่งวาจา นี้เป็นบิณฑปาติกวัตร

เรื่องภิกษุอยู่ป่า ไม่เตรียมน้ำฉัน น้ำใช้ ไฟ ไม้สีไฟ ไม่รู้นักษัตร ไม่รู้ทิศ พวกโจรถามก็ตอบว่า ไม่มี ไม่รู้ทุกอย่าง จึงถูกทุบตี ภิกษุ ที่อยู่ป่า พึงเข้าถุงบาตรคล้องบ่า พาดจีวรบนไหล่ ครั้นจะเข้าบ้าน พึงถอดรองเท้าใส่ ถุงคล้องบ่าปกปิดมณฑลสาม นุ่งห่มให้เป็นปริมณฑล แม้ในอารัญญกวัตร ก็มีนัยเหมือนบิณฑจาริกวัตรออกจากบ้านแล้ว พึงเข้าถุงบาตรคล้องบ่า พับ จีวรวางบนศีรษะ สวมรองเท้าเดินไป พึงเตรียมน้ำฉัน น้ำใช้ ไฟ ไม้สีไฟ ไม้เท้า เรียนนักษัตร ทั้งสิ้นหรือบางส่วน พึงเป็นผู้ฉลาดในทิศ อารัญญกวัตร ดังกล่าวมานี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สูงสุดกว่าหมู่สัตว์ทรงบัญญัติแล้ว

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 384

เรื่องภิกษุมากรูปทำจีวรในที่แจ้ง ถูกธุลีกลบ ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก พากันโพนทะนา ถ้าวิหารรก เมื่อจะชำระ ชั้นต้นพึงขนบาตรจีวรออก ขน ฟูก หมอน เตียง ตั่ง กระโถน พนักอิง ออกไป พึงกวาดหยากเยื่อลงจาก เพดาน พึงเช็ดกรอบประตู หน้าต่าง และมุมห้อง ฝาทาน้ำมันขึ้นรา พื้นทา สีดำ พื้นไม่ได้ทำ พึงเช็ดทำให้สะอาด พึงกวาดหยากเยื่อทิ้งเสีย ไม่พึงเคาะ เสนาสนะใกล้ภิกษุ วิหาร น้ำฉัน น้ำใช้ ไม่พึงเคาะเสนาสนะในที่สูง เหนือ ลม ใต้ลม เครื่องลาดพื้น เขียงรองเท้า เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ผ้านิสีทนะ กระโถน พนักอิง พึงตากชำระ เก็บไว้ตามเดิม เก็บบาตร จีวร บาตรอย่า วางบนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง จีวรต้องพาดชายไว้ด้านนอก ขนดไว้ด้านใน ลมทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ฤดูหนาว กลางวันเปิด หน้าต่าง กลางคืนปิด ฤดูร้อน กลางวันปิดหน้าต่าง กลางคืนเปิด กวาด บริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎี ตักน้ำฉัน น้ำใช้มาตั้งไว้ ตักน้ำมา ใส่หม้อน้ำชำระไว้ อยู่กับภิกษุผู้แก่กว่า ยังไม่ได้บอกกล่าว อย่าให้อุเทศ ปริปุจฉา อย่าสาธยาย อย่ากล่าวธรรม อย่าตามประทีป อย่าเปิดหน้าต่าง อย่าปิดหน้าต่าง พึงเดินตามภิกษุผู้แก่กว่า อย่ากระทบแม้ด้วยชายผ้า พระผู้ มีพระภาคเจ้าผู้มหาวีระ ทรงบัญญัติเสนาสนะวัตรนั้นไว้แล้ว

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ถูกพระเถระห้าม ปิดประตู พระเถระสลบ ภิกษุผู้มี ศีลเป็นที่รักพากันโพนทะนา ภิกษุพึงเทเถ้าทิ้งเสีย กวาดเรือนไฟ ชานภายนอกบริเวณ ซุ้มประตู ศาลาเรือนไฟ บดจุณแช่ดิน ตักน้ำไว้ในรางน้ำ เอา ดินเหนียวทาหน้า ปิดทั้งข้างหน้า ทั้งข้างหลัง ไม่นั่งเบียดเสียดพระเถระ ไม่ เกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ ถ้าอุตสาหะ พึงทำบริกรรมแก่พระเถระในเรือนไฟ อย่าอาบน้ำ น้ำข้างหน้า เหนือน้ำ ให้หนทาง เรือนไฟเปรอะเปื้อน รางแช่ดิน เก็บตั่ง ดับไฟ เปิดประตู นี้ชันตาฆรวัตร

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 385

เรื่องภิกษุถ่ายอุจจาระแล้วไม่ชำระ ถ่ายอุจจาระตามลำดับผู้แก่กว่า ทรงอนุญาตให้ถ่ายตามลำดับผู้มาถึง พระฉัพพัคคีย์เข้าวัจจกุฎีเร็วบ้าง เวิกผ้า นุ่งเข้าไปบ้าง ถอนหายใจใหญ่พลางถ่ายอุจจาระบ้าง เคี้ยวไม่ชำระฟันบ้าง ถ่ายอุจจาระปัสสาวะออกนอกรางบ้าง บ้วนเขฬะลงในรางบ้าง ใช้ไม้ชำระหยาบ บ้าง ทิ้งใช้ชำระลงในช่องถ่ายอุจจาระบ้าง ออกมาเร็วเกินบ้าง เวิกผ้าออกมา บ้าง ชำระมีเสียงดังจะปุจะปูบ้าง เหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระบ้าง ภิกษุยืนอยู่ ข้างนอกพึงกระแอม ภิกษุอยู่ข้างในพึงกระแอมรับ พึงพาดจีวรไว้บนราว สายระเดียง อย่ารีบด่วนเข้าไป อย่าเวิกผ้าเข้าไป พึงยืนบนเขียง อย่าถอนหายใจใหญ่ อย่าเคี้ยวไม้ชำระฟัน อย่าถ่ายอุจจาระปัสสาวะนอกราง อย่าบ้วน เขฬะลงในราง อย่าใช้ไม้ชำระหยาบ อย่าทิ้งไม้ชำระลงในช่องถ่าย พึงยืนบน เขียงถ่าย ปิดผ้า อย่าออกมาให้เร็วนัก อย่าเวิกผ้าออกมา ยืนบนเขียงถ่าย แล้วจึงปิด อย่าชำระให้มีเสียงดังจะปุจะปุ อย่าเหลือน้ำชำระไว้ ยืนบนเขียง ถ่ายแล้วจึงเวิกผ้า วัจจกุฎีเปรอะเปื้อน ต้องชำระให้สะอาด ตะกร้าไม้ชำระ เต็มพึงเทเสีย วัจจกุฎี ชานภายนอก บริเวณ ซุ้มประตู พึงตักน้ำใส่ในหม้อ ชำระ นี้วัจจกุฎีวัตร

เรื่องสัทธิวิหาริก ถอดรองเท้า ถวายไม้ชำระฟัน น้ำล้างหน้า ปู อาสนะ ถวายยาคู น้ำล้างภาชนะ เก็บอาสนะ ที่รก เข้าบ้าน ถวายผ้านุ่ง ประคดเอวผ้าซ้อนสองชั้น บาตรพร้อมทั้งน้ำ ปัจฉาสมณะ ปิดมณฑลสาม นุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประคดเอวซ้อนผ้าสองชั้น ล้างบาตร เป็นปัจฉาสมณะ เดินไม่ไกลไม่ชิดนัก รับของในบาตร พระอุปัชฌายะกำลังพูด กล่าว ถ้อยคำล่อแหลมต่ออาบัติ กลับมาก่อน ปูอาสนะไว้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ลุกไปรับ ถวายผ้านุ่งผลัด ผึ่งที่แดด อย่าผึ่งทิ้งไว้ รอยพับ

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 386

สอดประคดเอวไว้ในขนด อุปัชฌายะจะฉันพึงน้อมบิณฑบาตถวาย ถามถึงน้ำ ฉัน ถวายน้ำ รับบาตรมาถือต่ำๆ ผึ้งแดดไว้ครู่หนึ่ง อย่าผึ่งทิ้งไว้ อย่าเก็บ มาตรไว้บนพื้นที่ปราศจากเครื่องรองพาดชายไว้ข้างนอก ขนดไว้ช้างใน เก็บ อาสนะ เก็บน้ำล้างเท้ากวาดที่รก พระอุปัชฌายะจะสรงน้ำ ถวายน้ำเย็น น้ำ ร้อน เรือนไฟ บดจุณ แช่ดิน ตามหลังเข้าไปถวายตั่ง รับจีวร ถวายจุณ ถวายดิน ถ้าอุตสาหะ ทาหน้า ปิดข้างหน้าข้างหลัง ไม่นั่งเบียดพระเถระ ไม่ เกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ ทำบริกรรม ออกจากเรือนไฟ ปิดข้างหน้าข้างหลัง ทำบริกรรมในน้ำ อาบน้ำแล้วพึงขึ้นก่อน นุ่งผ้า เช็ดตัว อุปัชฌายะถวายผ้า นุ่ง ผ้าสังฆาฏิ ถือตั่งเรือนไฟ ปูอาสนะไว้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ ถามถึงน้ำฉัน เรียนบาลีอรรถกถา ถ้าอุตสาหะ พึงปัดกวาด วิหารที่รก ก่อนปัดกวาดพึงขนบาตรจีวร ผ้าปูนั่ง ปูนอน ฟูก หมอน เตียง ตั่งเขียงรองเท้าเตียง กระโถน พนักอิง เครื่องลาดพื้นออกไป พึงกวาดหยาก ไย่แต่เพดานลงมา เช็ดกรอบประตูหน้าต่าง ฝาทาน้ำมัน พื้นทาสีดำ พื้นไม่ ได้ทำ พึงเก็บเครื่องลาดพื้น เขียงรองเท้าเตียง เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ผ้า ปูนั่ง ปูนอน กระโถน พนักอิง เก็บบาตรจีวร ลมทิศตะวันออก ทิศตะวัน ตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ฤดูหนาว ฤดูร้อน กลางวัน กลางคืน บริเวณ ซุ่ม น้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎีตักน้ำฉัน น้ำใช้ น้ำชำระ พระอุปัชฌายะกระสัน รำคาญ เห็นผิด ต้องครุกาบัติ ควรมูลายปฏิกัสสนา นานัต อัพภาน ถ้าถูก ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฎิสารณียกรรม และ อุกเขปนียกรรม จีวรของพระอุปัชฌายะควรซัก ทำ ย้อม พึงซัก ทำ ย้อม ให้พลิกกลับไปกลับมา รับบาตร จีวร และบริขารโกนผม ทำบริกรรม ทำ ความขวนขวายเป็นปัจฉาสมณะ ให้บิณฑบาต เข้าบ้านอย่าไปป่าช้า อย่าไปสู่

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 387

ทิศ พระอุปัชฌายะอาพาธต้องพยาบาลตลอดชีวิต วัตรดังกล่าวทานี้เป็นอุปัชฌายวัตร อันสัทธิวิหาริกพึงประพฤติชอบ

เรื่องอุปัชฌายะสงเคราะห์ด้วยโอวาท อนุศาสนี อุเทศ ปริปุจฉา บาตร จีวร และบริขาร ความอาพาธ ไม่พึงเป็นปัจฉาขาสมณะ อุปัชฌายวัตรฉันใด แม้อาจริยวัตรก็ฉันนั้น สิทธิวิหาริกวัตรฉันใด อันเตวาสิกวัตรก็ฉันนั้น อาคันตุกวัตรฉันใด อาวาสิกวัตรก็ฉันนั้น คมิกวัตร อนุโมทนาวัตร ภัตตัคควัตร บิณฑปาติกวัตร อารัญญกวัตร เสนาสนวัตร ชันตาฆรวัตร วัจจกุฎีวัตร อุปัชฌายวัตร สัทธิวิหาริกวัตร อาจริยวัตร อันเตวาสิกวัตร เหมือนกันใน ขันธกะนี้ มี้ ๑๙ เรื่อง ๑๔ วัตร ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญวัตร ชื่อว่าไม่บำเพ็ญศีล ผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ทรามปัญญาย่อมไม่ประสบเอกัคคตาจิต ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน มี อารมณ์มาก ย่อมไม่เห็นธรรมโดยชอบ เมื่อไม่เห็นพระสัทธรรม ย่อมไม่พ้น จากทุกข์ ภิกษุบำเพ็ญวัตร ชื่อว่าบำเพ็ญศีล ผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญา ย่อม ประสบเอกัคคตาจิต ผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีอารมณ์อย่างเดียว ย่อมเห็นธรรม โดยชอบ เมื่อเห็นพระสัทธรรมย่อมพ้นจากทุกข์ได้ เพราะเหตุนั้น แล โอรส ของพระชินเจ้า ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ พึงบำเพ็ญวัตร อันเป็นพระโอวาท ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ แต่นั้นจักถึงพระนิพพาน ดังนี้แล.

หัวข้อประจำขันธกะ จบ