พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ภิกขุนีขันธกะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 มี.ค. 2565
หมายเลข  42846
อ่าน  779

[เล่มที่ 9] พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก

เล่ม ๗

จุลวรรค ทุติยภาค

ภิกขุนีขันธกะ

เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี 513/441

ปาฏิโมกขัฏฐปนักขันธกวรรณนา 433

วินิจฉัยในปาฏิโมกขัฏฐปนักขันธกะ 433

ว่าด้วยการงดปาฏิโมกข์ 434

ว่าด้วยองค์แห่งการฉวยอธิกรณ์ 436

ว่าด้วยธรรมที่โจทก์พึงตรวจดูในตน 437

ว่าด้วยธรรมที่โจทก์พึงต้งในตน ั 438

ว่าด้วยธรรมที่โจทก์พึงพิจารณาในตน 439

ว่าด้วยธรรมของจําเลย 440

ภิกขุนีขันธกะ 441

เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี 513/441

ครุธรรม ๘ ประการ 516/444

พรหมจรรย์ไม่ตั้งอยู่นาน 518/447

พุทธานุญาตให้อุปสมบทภิกษุณี 519/448

ทูลขอพร 521/449

ทูลถามถึงสิกขาบท 522/450

ลักษณะวินิจฉัยพระธรรมวินัย 523/451

พุทธานุญาตให้แสดงปาติโมกข์ 524/452

พุทธานุญาตให้รับอาบัติ 526/552

รับแสดงอาบัติ 527/453

พุทธานุญาตให้ทํากรรม 528/453

ภิกษุแสดงอวัยวะมีกายเป็นต้นอวดภิกษุณี 534/456

ภิกษุณีแสดงอวัยวะมีกายเป็นต้นอวดภิกษุ 536/457

เรื่องงดโอวาท 538/458

วิธีรับโอวาท 459

รัดสีข้าง 554/462

แต่งกาย 555/463

ทาหน้าเป็นต้น 556/463

ใช้จีวรสีครามล้วนเป็นต้น 558/464

พินัยกรรม 559/465

ภิกษณีประหารภิกษุ 560/466

นําทารกไปด้วยบาตร 561/466

แสดงก้นบาตร 562/467

เพ่งดูนิมิตบุรุษ 563/467

เรื่องให้อามิส 564/468

พุทธานุญาตเสนาสนะอาศัยชั่วคราว 570/469

พุทธานุญาตผ้าสําหรับนุ่งในที่พัก 571/469

อันตรายิกธรรมของภิกษุณี 573/470

วิธีถามอันตรายิกธรรม 471

วิธีสอนซ้อม 472

วิธีสมมติตน 576/473

ญัตติกรรมวาจาสมมติตน 474

วิธีสมมติผู้อื่น 577/474

ญัตติกรรมวาจาสมมติผู้อื่น 474

คําสอนซ้อม 578/474

ญัตติกรรมวาจา 476

คําขออุปสมบท 476

ญัตติกรรมวาจา 477

คําถามอันตรายิกธรรม 477

ญัตติจตุตถกรรมวาจา 477

คําขออุปสมบท 478

ญัตติจตุตถกรรมวาจา 479

วัดเงาแดดเป็นต้น 581/480

เรื่องปวารณา 584/481

ปวารณาด้วยตนเอง 585/481

ปวารณาพร้อมกัน 586/481

ปวารณาก่อนภัตร 587/482

ปวารณาท้งหมด ั 588/282

วิธีสมมติญัตติกรรมวาจา 482

คําปวารณา งดอุโบสถเป็นต้น 590/484

เรื่องไปด้วยญาณ 592/485

เรื่องหญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสี 595/485

ญัตติจตุตถกรรมวาจาให้อุปสมบทด้วยทูต 596/487

ภิกษุณีอยู่ป่า 597/488

พุทธานุญาตสมมติภิกษุณีเป็นเพื่อน 599/489

วิธีสมมติ 489

กรรมวาจาให้สมมติ 490

วิธีสมมติ 491

กรรมวาจาให้สมมติ 491

เรื่องภิกษุณีไม่บอกลาสิกขา 601/491

เข้ารีตเดียรถีย์ 602/492

นั่งขัดสมาธิ 604/492

เรื่องถ่ายอุจาระ 606/492

เรื่องอาบน้ํา 607/493

หัวข้อประจําขันธกะ 613/494


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 9]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 441

ภิกขุนีขันธกะ

เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี

[๕๑๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอประทานวโรกาส พระพุทธเจ้าข้า ขอสตรีพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต ประกาศแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า อย่าเลย โคตมี เธออย่าชอบใจ การที่ สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย.

แม้ครั้งที่สอง ...

แม้ครั้งที่สาม พระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอประทานวโรกาส พระพุทธเจ้าข้า ขอสตรีพึงได้ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า อย่าเลย โคตมี เธออย่าชอบใจ การ ที่สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย.

ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงน้อยพระทัยว่า พระผู้มี พระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรนวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วย น้ำพระเนตร ทรงกันแสง พลางถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณ เสด็จกลับไป.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 442

[๕๑๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์ ตาม พระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จหลีกจาริกทางพระนครเวสาลี เสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงพระนครเวสาลี ข่าวว่า พระองค์ประทับอยู่ที่กูฏาคารสาลาป่ามหาวัน เขต พระนครเวสาลีนั้น.

ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีให้ปลงพระเกสา ทรงพระภูษา ย้อมฝาด พร้อมด้วยนางสากิยานีมากด้วยกัน เสด็จหลีกไปทางพระนครเวสาลี เสด็จถึงเมืองเวสาลี กูฏาคารสาลาป่ามหาวัน โดยลำดับ เวลานั้นพระนางมี พระบาททั้งสองพอง มีพระวรกายเกลือกกลั้วด้วยธุลี มีทุกข์ เสียพระทัย มี พระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ได้ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มพระทวาร ภายนอก.

ท่านพระอานนท์ได้เห็นพระนางมหาปชาบดีโคตมี มีพระบาททั้งสอง พอง มีพระวรกายเกลือกกลั้วด้วยธุลี มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นอง ด้วยน้ำพระเนตร ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มพระทวารภายนอก ครั้นแล้วได้ ถามว่า ดูก่อนโคตมี เพราะเหตุไร พระนางจึงมีพระบาททั้งสองพอง มี พระวรกายเกลือกกลั้วด้วยธุลี มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์ชุ่มด้วยน้ำ พระเนตร ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มพระทวารภายนอก.

พระนางตอบว่า พระอานนท์เจ้าข้า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรง อนุญาตให้สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระคถาคต ประกาศแล้ว.

พระอานนท์กล่าวว่า ดูก่อนโคตมี ถ้าเช่นนั้น พระนางจงรออยู่ที่นี่ แหละสักครู่หนึ่ง จนกว่าอาตมาจะทูลขอพระผู้มีพระภาคเจ้าให้สตรีออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 443

[๕๑๕] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวาย บังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระนาง มหาปชาบดีโคตมีนั้น มีพระบาททั้งสองพอง มีพระวรกายเกลือกกลั้วด้วยธุลี มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ประทับยืนกันแสงอยู่ ที่ซุ้มพระทวารภายนอก ด้วยน้อยพระทัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาต ให้สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศ แล้ว ขอประทานวโรกาส ขอสตรีพึงได้การออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ใน พระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า อย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจ การ ที่สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย

แม้ครั้งที่สอง ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอ ประทานวโรกาส ขอสตรีพึงได้การออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า อย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจ การ ที่สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย.

แม้ครั้งที่สาม ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอ ประทานวโรกาส ขอสตรีพึงได้การออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระ ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า อย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจ การ ที่สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย.

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาต ให้สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 444

แล้ว ไฉนหนอ เราพึงทูลขอพระผู้มีพระภาคเจ้าให้สตรีออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว โดยปริยายสักอย่างหนึ่ง จึงทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระ ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ควรหรือไม่เพื่อทำให้แจ้งแม้ซึ่งโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล.

พ. ดูก่อนอานนท์ สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรม วินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ควรเพื่อทำให้แจ้งแม้ซึ่งโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล.

อ. พระพุทธเจ้าข้า ถ้าสตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ใน พระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ควรเพื่อทำให้แจ้งแม้ซึ่งโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผลได้ พระพุทธเจ้าข้า พระนางมหาปชาบดี โคตมี พระมาตุจฉาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีอุปการะมาก ทรงประคับ ประคอง เลี้ยงดู ทรงถวายขีรธารา เมื่อพระชนนีสวรรคต ได้ให้พระผู้มี พระภาคเจ้าเสวยขีรธารา ขอประทานวโรกาส ขอสตรีพึงได้การออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว พระพุทธเจ้าข้า

ครุธรรม ๘ ประการ

[๕๑๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าพระนาง มหาปชาบดีโคตมี ยอมรับครุธรรม ๘ ประการ ข้อนั้นแหละ จงเป็นอุปสัมปทา ของพระนาง คือ:-

๑. ภิกษุณีอุปสมบทแล้ว ๑๐๐ ปี ต้องกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี กรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุที่อุปสมบทในวันนั้น ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้อง สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 445

๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณี ต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๓. ภิกษุณีต้องหวังธรรม ๒ ประการ คือ ถามวันอุโบสถ ๑ เข้า ไปฟังคำสั่งสอน ๑ จากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๔. ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในสงฆ์สองฝ่าย โดยสถาน ทั้ง ๓ คือ โดยได้เห็น โดยได้ยิน หรือโดยรังเกียจ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณี ต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๕. ภิกษุณีต้องธรรมที่หนักแล้ว ต้องประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิด ตลอดชีวิต.

๖. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย เพื่อสิกขมานาผู้มี สิกขาอันศึกษาแล้วในธรรม ๖ ประการครบ ๒ ปีแล้ว ธรรมแม้นี้ ภิกษุณี ต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า บริภาษภิกษุ โดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ปิดทางไม่ให้ภิกษุณีทั้งหลายสอนภิกษุ เปิดทางให้ภิกษุทั้งหลายสอนภิกษุณี ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

ดูก่อนอานนท์ ก็ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี ยอมรับครุธรรม ๘ ประการนี้ ข้อนั้นแหละจงเป็นอุปสัมปทาของพระนาง.

[๕๑๗] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เรียนครุธรรม ๘ ประการ ใน สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเข้าไปหาพระนางมหาปชาบดีโคตมี ชี้แจงว่า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 446

พระนางโคตมี ถ้าพระนางยอมรับครุธรรม ๘ ประการ ข้อนั้นแหละจักเป็น อุปสัมปทาของพระนาง คือ:-

๑. ภิกษุณีอุปสมบทแล้ว ๑๐๐ ปี ต้องกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี กรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุที่อุปสมบทในวันนั้น ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้อง สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณี ต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๓. ภิกษุณีต้องหวังธรรม ๒ ประการ คือ ถามวันอุโบสถ ๑ เข้า ไปฟังคำสั่งสอน ๑ จากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๔. ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย โดยสถาน ทั้ง ๓ คือ โดยได้เห็น โดยได้ยิน หรือโดยรังเกียจ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณี ต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๕. ภิกษุณีต้องธรรมทำหนักแล้ว ต้องประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิด ตลอดชีวิต.

๖. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย เพื่อสิกขมานาผู้มี สิกขาอันศึกษาแล้วในธรรม ๖ ประการ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า บริภาษ ภิกษุโดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 447

๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ปิดทางไม่ให้ภิกษุณีทั้งหลายสอนภิกษุ เปิดทางให้ภิกษุทั้งหลายสอนภิกษุณี ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

พระนางโคตมี ถ้าพระนางยอมรับครุธรรม ๘ ประการนี้ ข้อนั้นแหละ จักเป็นอุปสัมปทาของพระนาง.

พระนางมหาปชาบดีโคตมีกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ดิฉันยอม รับครุธรรม ๘ ประการนี้ ไม่ละเมิดตลอดชีวิต เปรียบเหมือนหญิงสาว หรือ ชายหนุ่มที่ชอบแต่งกาย อาบน้ำสระเกล้าแล้ว ได้พวงอุบล พวงมะลิ หรือ พวงลำดวนแล้ว พึงประคองรับด้วยมือทั้งสอง ตั้งไว้เหนือเศียรเกล้าฉะนั้น.

พรหมจรรย์ไม่ตั้งอยู่นาน

[๕๑๘] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวาย บังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระนาง มหาปชาบดีโคตมี ยอมรับครุธรรม ๘ ประการแล้ว พระมาตุจฉาของพระผู้มี พระภาคเจ้า อุปสมบทแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ก็ถ้าสตรีจักไม่ได้ออกจาก เรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว พรหมจรรย์จัก ตั้งอยู่ได้นาน สัทธรรมจะพึงตั้งอยู่ได้ตลอดพันปี ก็เพราะสตรีออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว บัดนี้ พรหมจรรย์จักไม่ตั้งอยู่ ได้นาน สัทธรรมจักตั้งอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น ดูก่อนอานนท์ สตรีได้ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยใด ธรรมวินัยนั้นเป็นพรหมจรรย์ ไม่ตั้งอยู่ได้นาน เปรียบเหมือนตระกูลเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีหญิงมาก มีชายน้อย ตระกูลเหล่านั้นถูกพวกโจรผู้ลักทรัพย์กำจัดได้ง่าย อีกประการหนึ่ง เปรียบ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 448

เหมือนหนอนขยอกที่ลงในนาข้าวสาลีที่สมบูรณ์ นาข้าวสาลีนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนเพลี้ยที่ลงในไร่อ้อยที่สมบูรณ์ ไร่อ้อยนั้นไม่ ตั้งอยู่ได้นาน ดูก่อนอานนท์ บุรุษกั้นทำนบแห่งสระใหญ่ไว้ก่อน เพื่อไม่ให้ น้ำไหลไป แม้ฉันใด เราบัญญัติครุธรรม ๘ ประการแก่ภิกษุณี เพื่อไม่ให้ ภิกษุณีละเมิดตลอดชีวิต ฉันนั้นเหมือนกัน

ครุธรรม ๘ ประการของภิกษุณี จบ

พุทธานุญาตให้อุปสมบทภิกษุณี

[๕๑๙] ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า หม่อมฉันจะปฏิบัติในนางสากิยานีพวกนี้อย่างไร.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้พระนางมหาปชาบดีโคตมี เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ทีนั้นพระนางปชาบดีโคตมีผู้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณ กลับไป.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูล นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทภิกษุณี.

[๕๒๐] ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นได้กล่าวกะพระมหาปชาบดีโคตมีว่า พระแม่เจ้ายังไม่ได้อุปสมบท แต่พวกดิฉันอุปสมบทแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงให้อุปสมบทภิกษุณี ลำดับนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ อภิวาทแล้วได้ยืน ณ ที่ควร

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 449

ส่วนข้างหนึ่ง แล้วกล่าวว่า ท่านพระอานนท์ ภิกษุณีเหล่านั้นพูดกะดิฉัน อย่างนี้ว่า พระแม่เจ้ายังไม่ได้อุปสมบท แต่พวกดิฉันอุปสมบทแล้ว เพราะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงให้อุปสมบทภิกษุณี ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระมหาปชาบดีโคตมี กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพระอานนท์ ภิกษุณีพวกนี้พูดกะดิฉันอย่างนี้ว่า พระแม่- เจ้ายังไม่ได้อุปสมบท แต่พวกดิฉันอุปสมบทแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงให้อุปสมบทภิกษุณี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ พระมหาปชาบดีโคตมี รับครุธรรม ๘ ประการ แล้วในกาลใด พระนางชื่อว่าอุปสมบทแล้วในกาลนั้นทีเดียว.

ทูลขอพร

[๕๒๑] ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมี เข้าไปหาท่านพระอานนท์ อภิวาท ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกล่าวว่า ท่านพระอานนท์ ดิฉันจะ ทูลขอพรอย่างหนึ่งกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอประทานพระวโรกาส พระพุทธ เจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า พึงทรงอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ การทำ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุและภิกษุณี ตามลำดับผู้แก่

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระมหาปชาบดีโคตมีกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพระอานนท์ ดิฉันจะขอพรอย่างหนึ่งกะพระผู้มี พระภาคเจ้าว่า ขอประทานพระวโรกาส พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุ และภิกษุณี ตามลำดับผู้แก่.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 450

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ข้อที่ตถาคตจะอนุญาตการ กราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่มาตุคามนั้น มิใช่ ฐานะ มิใช่โอกาส เพราะพวกอัญญเดียรถีย์ที่มีธรรมอันกล่าวไม่ดีแล้วเหล่านี้ ยังไม่กระทำการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่มาตุคาม ก็ไฉนเล่าตถาคตจักอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่มาตุคาม.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทำการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลี กรรม สามีจิกรรม แก่มาตุคาม รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ทูลถามถึงสิกขาบท

[๕๒๒] ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบทของภิกษุณีเหล่านั้นใด ที่ทั่วถึงภิกษุ พวกหม่อมฉันจะปฏิบัติใน สิกขาบทเหล่านั้นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโคตมี สิกขาบทของภิกษุณีเหล่านั้น ใด ที่ทั่วถึงภิกษุ พวกเธอจงศึกษาในสิกขาบทเหล่านั้น ดุจภิกษุทั้งหลาย ศึกษาอยู่ ฉะนั้น.

ม. พระพุทธเจ้าข้า ก็สิกขาบทของภิกษุณีเหล่านั้นใด ที่ไม่ทั่วถึง ภิกษุ พวกหม่อมฉันจะปฏิบัติในสิกขาบทเหล่านั้น อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนโคตมี สิกขาบทของภิกษุณีเหล่านั้นใด ที่ไม่ทั่วถึงภิกษุ พวกเธอจงศึกษาในสิกขาบทเหล่านั้น ตามที่เราบัญญัติไว้แล้ว.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 451

ลักษณะวินิจฉัยพระธรรมวินัย

[๕๒๓] ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า ขอประทานวโรกาส พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมโดยย่อ ที่หม่อมฉัน ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เป็นผู้เดียวจะพึงหลีกออก ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโคตมี เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นไปเหลือความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อคลายความกำหนัด เป็นไป เพื่อความประกอบ ไม่ใช่เพื่อความพราก เป็นไปเพื่อความสะสม ไม่ใช่เพื่อ ความไม่สะสม เป็นไปเพื่อความมักมาก ไม่ใช่ความมักน้อย เป็นไปเพื่อความ ไม่สันโดษ ไม่ใช่เพื่อความสันโดษ เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ใช่ เพื่อความสงัด เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่ใช่เพื่อความเพียร เป็นไปเพื่อ ความเลี้ยงยาก ไม่ใช่เพื่อความเลี้ยงง่าย ดูก่อนโคตมี เธอพึงทรงจำธรรม เหล่านั้น ไว้โดยส่วนเดียวว่า นั่นไม่ใช่ธรรม นั่นไม่ใช่วินัย นั่นไม่ใช่สัตถุศาสน์.

ดูก่อนโคตมี อนึ่ง เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไป เพื่อความคลายกำหนัด ไม่ใช่เพื่อมีความกำหนัด เป็นไปเพื่อความพราก ไม่ใช่ เพื่อความประกอบ เป็นไปเพื่อความไม่สะสม ไม่ใช่เพื่อความสะสม เป็นไป เพื่อความมักน้อย ไม่ใช่เพื่อความมักมาก เป็นไปเพื่อความสันโดษ ไม่ใช่ เพื่อความไม่สันโดษ เป็นไปเพื่อความสงัด ไม่ใช่เพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่ เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ไม่ใช่ความเกียจคร้าน เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย ไม่ใช่เพื่อความเลี้ยงยาก ดูก่อนโคตมี เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านั้นไว้โดยส่วน เดียวว่า นั่นเป็นธรรม นั่นเป็นวินัย นั่นเป็นสัตถุศาสน์.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 452

พุทธานุญาตให้แสดงปาติโมกข์

[๕๒๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่แสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุณี ... ภิกษุ เหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้แสดงปาติโมกข์ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ลำดับนั้น ภิกษุ ทั้งหลายคิดว่า ใครหนอ ควรแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้ภิกษุแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุณีทั้งหลาย.

[๕๒๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าไปถึงสำนักภิกษุณี แล้วแสดง ปาติโมกข์แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ประชาชน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุณีเหล่านี้เป็นเมียของภิกษุพวกนี้ ภิกษุณีเหล่านี้เป็นชู้ของภิกษุพวกนี้ บัดนี้ ภิกษุเหล่านี้จักอภิรมย์กับภิกษุณีเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัส ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุณี รูปใดแสดง ต้อง อาบัติทุกกฏ เราอนุญาตให้ภิกษุณีแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุณีด้วยกัน ภิกษุณี ทั้งหลายไม่รู้ว่าจะพึงแสดงปาติโมกข์อย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ บอกภิกษุณีทั้งหลายว่า พวกเธอพึงแสดงปาติโมกข์อย่างนี้.

พุทธานุญาตให้รับอาบัติ

[๕๒๖] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่กระทำคืนอาบัติ ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี จะไม่ทำคืนอาบัติไม่ได้ รูปใดไม่ทำคืน ต้องอาบัติทุกกฎ ภิกษุณีทั้งหลายไม่รู้

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 453

จะพึงทำคืนอาบัติแม้อย่างนี้ ... ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีทั้งหลายว่า พวก เธอพึงทำคืนอาบัติอย่างนี้

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่า ใครหนอจะพึงรับอาบัติของภิกษุณีทั้ง หลาย ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ.. ตรัสว่า ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุรับอาบัติของภิกษุณีทั้งหลาย.

รับแสดงอาบัติ

[๕๒๗] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายพบภิกษุที่ถนนก็ดี ที่ตรอกก็ดี ที่ ทางสามแพร่งก็ดี วางบาตรไว้ที่พื้น ห่มผ้าเฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคอง อัญชลี ทำคืนอาบัติ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า ภิกษุณีเหล่านี้เป็น เมียของภิกษุพวกนี้ ภิกษุณีเหล่านี้เป็นชู้ของภิกษุพวกนี้ ภิกษุณีเหล่านี้ ล่วงเกิน ในราตรี บัดนี้มาขอขมา ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงรับอาบัติของภิกษุณีทั้งหลาย รูปใดรับ ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตให้ภิกษุณีรับอาบัติของภิกษุณีด้วยกัน ภิกษุณีทั้ง หลายไม่รู้ว่าจะพึงรับอาบัติแม้อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุบอกภิกษุณี ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายพึงรับอาบัติอย่างนี้.

พุทธานุญาตให้ทำกรรม

[๕๒๘] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ทำกรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุ เหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย เราอนุญาตให้ทำกรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่า

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 454

ใครหนอพึงทำกรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทำกรรมแก่ภิกษุณี ทั้งหลาย.

[๕๒๙] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายที่ถูกทำกรรมแล้ว พบภิกษุที่ถนน ก็ดี ที่ตรอกก็ดี ที่ทางสามแพร่งก็ดี วางบาตรไว้ที่พื้น ห่มผ้าเฉวียงบ่า นั่งกระ โหย่งประคองอัญชลี ให้ภิกษุอดโทษพลางตั้งใจว่า จะไม่ทำอย่างนั้นอีก ชาว บ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุณีเหล่านี้เป็นเมียของภิกษุพวก นี้ ภิกษุณีเหล่านี้ เป็นชู้ของภิกษุพวกนี้ ภิกษุณีเหล่านี้ล่วงเกินในราตรี บัดนี้ มาขอขมา ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุไม่พึงทำกรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย รูปใดทำ ต้อง อาบัติทุกกฏ

เราอนุญาตให้ภิกษุณีทำกรรมแก่ภิกษุณีด้วย ภิกษุณีทั้งหลายไม่รู้ว่า จะพึงทำกรรมแม้อย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุบอกภิกษุณีทั้งหลายว่า พวกเธอพึงทำกรรมอย่างนี้.

[๕๓๐] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายเกิดความบาดหมาง เกิดความ ทะเลาะถึงวิวาทกัน ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากในท่ามกลางสงฆ์อยู่ ไม่ อาจระงับอธิกรณ์นั้นได้ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุระงับอธิกรณ์ของภิกษุณี ทั้งหลาย.

[๕๓๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายระงับอธิกรณ์ของภิกษุณีทั้งหลาย ก็ เมื่อภิกษุวินิจฉัยอธิกรณ์นั้นอยู่ปรากฏว่า ภิกษุณีทั้งหลายเข้ากรรมบ้าง ต้อง

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 455

อาบัติบ้าง ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า ดีแล้ว ท่านเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้าจง ทำกรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ขอพระคุณเจ้าจงรับอาบัติของภิกษุณีทั้งหลาย เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุพึงระงับอธิกรณ์ของ ภิกษุณีทั้งหลายภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุยกกรรมของพวกภิกษุณีมอบให้แก่พวก ภิกษุณีเพื่อให้พวกภิกษุณีทำกรรมแก่พวกภิกษุณี เพื่อให้ภิกษุยกอาบัติของพวก ภิกษุณีมอบให้แก่พวกภิกษุณี เพื่อให้พวกภิกษุณีรับอาบัติของพวกภิกษุณี.

[๕๓๒] สมัยนั้น ภิกษุณีอันเตวาสินีของภิกษุณีอุบลวรรณาติดตาม พระผู้มีพระภาคเจ้าเรียนวินัยอยู่ ๗ ปี นางมีสติฟั่นเฟือน วินัยที่เรียนไว้ เรียน ไว้ ก็เลอะเลือน นางได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประสงค์จะเสด็จกรุง สาวัตถี จึงคิดว่า เราติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าเรียนวินัยอยู่ ๗ ปี เรานั้นมี สติฟั่นเฟือน วินัยที่เรียนไว้ เรียนไว้เลอะเลือน ก็การที่มาตุคามจะติดตาม พระศาสดาไปตลอดชีวิตทำได้ยาก เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ จึงแจ้งเรื่อง นั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลายๆ แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นจึงกราบ - ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้ภิกษุสอนวินัยแก่พวกภิกษุณี.

ปฐมภาณวาร จบ

[๕๓๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครเวสาลีตาม พุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกทางพระนครสาวัตถี เสร็จจาริกโดยลำดับถึงพระนครสาวัตถี ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่พระเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถีนั้น

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 456

ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ใช้น้ำโคลนรดภิกษุณีด้วยหวังว่า แม้ไฉน ภิกษุณีพึงรักใคร่ในพวกเรา ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้น้ำโคลนรดนางภิกษุณี รูปใดรด ต้องอาบัติทุกกฏ

เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่ภิกษุนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเรา จะพึงลงทัณฑกรรมอย่างไร แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ. ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงทำภิกษุนั้นให้เป็นผู้ไม่ควรไหว้.

ภิกษุแสดงอวัยวะมีกายเป็นต้นอวดภิกษุณี

[๕๓๔] สมัยนั้น ภิกษุฉัพพัคคีย์เปิดกายอวดภิกษุณี เปิดขาอ่อนอวด ภิกษุณี เปิดองก์กำเนิดอวดภิกษุณี พูดเกี้ยวภิกษุณี ชักจูงบุรุษให้สมสู่กับ ภิกษุณีด้วยหวังว่า แม้ไฉน ภิกษุณีพึงรักใคร่ในพวกเรา ... ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเปิดกายอวดภิกษุณี ไม่พึงเปิดขาอ่อนอวดภิกษุณี ไม่พึงเปิดองค์ กำเนิดอวดภิกษุณี ไม่พึงพูดเกี้ยวภิกษุณี ไม่พึงชักจูงบุรุษให้สมสู่กับภิกษุณี รูปใดชักจูง ต้องอาบัติทุกกฏ

เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่ภิกษุนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเราพึง ลงทัณฑกรรมอย่างไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์ พึงทำภิกษุนั้นให้เป็นผู้ไม่ควรไหว้.

[๕๓๕] สมัยนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้น้ำโคลนรดภิกษุ ด้วยหวังว่าแม้ ไฉน ภิกษุพึงรักใคร่ในพวกเรา ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้น้ำโคลนรด ภิกษุ รูปใดรด ต้องอาบัติทุกกฏ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 457

เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่ภิกษุณีนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวก เราพึงลงทัณฑกรรมอย่างไร แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำการห้าม ปราม เมื่อภิกษุห้ามปรามแล้วภิกษุณีทั้งหลายไม่เชื่อฟัง ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้งดโอวาท.

ภิกษุณีแสดงอวัยวะมีกายเป็นต้นอวดภิกษุ

[๕๓๖] สมัยต่อมา ภิกษุณีฉัพพัคคีย์เปิดกายอวดภิกษุ เปิดถันอวด ภิกษุ เปิดขาอ่อนอวดภิกษุ เปิดองค์กำเนิดอวดภิกษุ พูดเกี้ยวภิกษุ ชักจูงสตรี ให้สมสู่กับภิกษุด้วยหวังว่า แม้ไฉนภิกษุพึงรักใคร่ในพวกเราะ..ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงเปิดกายอวดภิกษุ ไม่พึงเปิดถันอวดภิกษุ ไม่พึงเปิดขาอ่อนอวด ภิกษุ ไม่พึงเปิดองค์กำเนิดอวดภิกษุ ไม่พึงพูดเกี้ยวภิกษุ ไม่พึงชักจูงสตรีให้ สมสู่กับภิกษุ รูปใดชักจูง ต้องอาบัติทุกกฏ

เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่ภิกษุณีนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวก เราพึงลงทัณฑกรรมอย่างไรหนอ และกราบทูลเรื่องแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำการห้ามปราม เมื่อภิกษุทำการห้ามปรามแล้ว ภิกษุณีทั้งหลายไม่เชื่อฟัง ... ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้งดโอวาท.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 458

[๕๓๗] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่า การทำอุโบสถร่วมกับภิกษุณี ที่ถูกงดโอวาทแล้ว ควรหรือไม่ควรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทำอุโบสถร่วมกับภิกษุณี ที่ถูกงดโอวาทแล้วจนกว่าอธิกรณ์นั้นจะระงับ.

เรื่องงดโอวาท

[๕๓๘] สมัยนั้น ท่านพระอุทายีงดโอวาทแล้วหลีกไปสู่จาริก ภิกษุณี ทั้งหลายเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้าอุทายีงดโอวาทแล้ว จึงได้หลีกไปสู่จาริกเสียเล่า ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุงดโอวาทแล้วไม่พึงหลีกไปสู่ จาริก รูปใดหลีกไป ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๓๙] สมัยนั้น ภิกษุผู้เขลา ไม่ฉลาด งดโอวาท ... ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเขลา ไม่ฉลาด ไม่พึงงดโอวาท รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฎ.

[๕๔๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายงดโอวาทในเพราะเรื่องไม่สมควร ใน เพราะเหตุไม่สมควร ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงงดโอวาท ในเพราะเรื่องไม่สมควร ในเพราะเหตุไม่สมควร รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๔๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายงดโอวาทแล้ว ไม่ให้คำวินิจฉัย ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย ภิกษุงดโอวาทแล้ว จะไม่ให้คำวินิจฉัยไม่ได้ รูปใดไม่ให้ ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 459

[๕๔๒] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่ไปรับโอวาท ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี จะไม่ไปรับโอวาทไม่ได้ รูปใดไม่ไป พึงปรับตามธรรม.

[๕๔๓] สมัยนั้น ภิกษุณีสงฆ์พากันไปรับโอวาททั้งหมด ชาวบ้าน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุณีเหล่านี้เป็นเมียของภิกษุพวกนี้ ภิกษุณี เหล่านี้ เป็นชู้ของภิกษุพวกนี้ บัดนี้ภิกษุเหล่านี้จักชื่นชมกับภิกษุณีเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไปรับโอวาททั้งหมด ถ้าไป ไม่ต้องทุกกฏ เรา อนุญาตให้ภิกษุณี ๔ - ๕ รูป ไปรับโอวาท.

[๕๔๔] สมัยนั้น ภิกษุณี ๔ - ๕ รูป ไปรับโอวาท ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุณีเหล่านี้เป็นเมียของภิกษุพวกนี้ ภิกษุณีเหล่านี้ เป็นชู้ของภิกษุพวกนี้ บัดนี้ ภิกษุพวกนี้จักชื่นชมกับภิกษุณีเหล่านี้ ภิกษุทั้ง หลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงไปรับโอวาท ถึง ๔ - ๕ รูป ถ้าไป ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาต ให้ภิกษุณี ๒ - ๓ รูป ปรับโอวาท

วิธีรับโอวาท

ภิกษุณีเหล่านั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่า ไหว้เท้า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า ภิกษุณี สงฆ์ไหว้เท้าภิกษุสงฆ์และขอเข้ารับโอวาท นัยว่า ภิกษุณีสงฆ์จงได้เข้ารับ โอวาท ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้แสดงปาติโมกข์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน เจ้าข้า ภิกษุณีสงฆ์ไหว้เท้าภิกษุสงฆ์ และขอเข้ารับโอวาท นัยว่า ภิกษุณี สงฆ์จงได้เข้ารับโอวาท ภิกษุผู้แสดงปาติโมกข์พึงถามว่า ภิกษุบางรูปที่สงฆ์

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 460

สมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณีมีอยู่หรือ ถ้ามีภิกษุบางรูปที่สงฆ์สมมติให้เป็นผู้สอน ภิกษุณี อันภิกษุผู้แสดงปาติโมกข์พึงกล่าวว่า ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็น ผู้สอนภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จงเข้าไปหาเธอ ถ้าไม่มีภิกษุบางรูปที่สงฆ์สมมติให้ เป็นผู้สอนภิกษุณี ภิกษุผู้แสดงปาติโมกข์พึงถามว่า ท่านรูปใดอาจสอนภิกษุณี ได้ ถ้าภิกษุบางรูปอาจสอนภิกษุณีได้ และภิกษุนั้น เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ อันภิกษุผู้แสดงปาติโมกข์นั้น พึงสมมติแล้วแจ้งให้ทราบว่า ภิกษุมีชื่อนี้สงฆ์ สมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จงเข้าไปหาเธอ ถ้าไม่มีใครๆ อาจสอน ภิกษุณีได้ ภิกษุผู้แสดงปาติโมกข์พึงกล่าวว่า ไม่มีภิกษุรูปใดที่สงฆ์สมมติได้ เป็นผู้สอนภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จงยังอาการอันน่าเลื่อมใสให้ถึงพร้อมเถิด.

[๕๔๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่รับให้โอวาท ... ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ จะไม่รับให้โอวาทไม่ได้ รูปใดไม่รับ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๔๖] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้เขลา ภิกษุณีทั้งหลายเข้าไปหา เธอแล้วกล่าวว่า พระคุณเจ้าข้า ขอท่านจงรับให้โอวาท ภิกษุนั้นบอกว่า น้อง หญิง ฉันเป็นผู้เขลา จะรับให้โอวาทได้อย่างไร ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า ขอ ท่านจงรับให้โอวาทเถิดเจ้าข้า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงรับให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เว้นภิกษุเขลาเสีย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายนอกนั้นรับให้โอวาท.

[๕๔๗] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุณีทั้งหลายเข้าไปหา เธอแล้วกล่าวว่า พระคุณเจ้าข้า ขอท่านจงรับให้โอวาท ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดู ก่อนน้องหญิง ฉันอาพาธ จะรับให้โอวาทได้อย่างไร ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 461

ขอท่านจงรับให้โอวาทเถิดเจ้าข้า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้อย่าง นี้ว่า เว้นภิกษุเขลาเสียภิกษุนอกนั้นต้องรับให้โอวาท ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เว้นภิกษุเขลา เว้นภิกษุอาพาธ เราอนุญาตให้ภิกษุนอกนั้นรับให้โอวาท.

[๕๔๘] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งเตรียมจะไป ภิกษุณีทั้งหลายเข้าไป หาเธอ แล้วกล่าวว่า พระคุณเจ้าข้า ขอท่านจงรับให้โอวาท ภิกษุนั้นกล่าว ว่า ดูก่อนน้องหญิง ฉันเตรียมจะไป จะรับให้โอวาทได้อย่างไร ภิกษุณีทั้ง หลายกล่าวว่า ขอท่านจงรับให้โอวาทเถิดเจ้าข้า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง บัญญัติไว้อย่างนี้ว่า เว้นภิกษุเขลา เว้นภิกษุอาพาธ ภิกษุนอกนั้นต้องรับให้ โอวาท ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย เว้นภิกษุเขลา เว้นภิกษุอาพาธ เว้นภิกษุเตรียมจะไป เรา อนุญาตให้ภิกษุนอกนั้นรับให้โอวาท.

[๕๔๙] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในป่า ภิกษุณีทั้งหลายได้เข้าไป หาเธอแล้วกล่าวว่า พระคุณเจ้าข้า ขอท่านจงรับให้โอวาท ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดูก่อนน้องหญิง ฉันอยู่ในป่า จะรับให้โอวาทได้อย่างไร ภิกษุณีทั้งหลายกล่าว ว่า ขอท่านจงรับให้โอวาทเถิดเจ้าข้า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ อย่างนี้ว่า เว้นภิกษุเขลา เว้นภิกษุอาพาธ เว้นภิกษุเตรียมจะไป ภิกษุนอก นั้นต้องรับให้โอวาท ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ารับให้โอวาท และทำ การนัดหมายว่า เราจักกลับในที่นั้น.

[๕๕๐] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายรับให้โอวาทแล้ว ไม่บอกภิกษุผู้ แสดงปาติโมกข์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ...

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 462

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจะไม่บอกการให้โอวาทไม่ได้ รูปใดไม่บอก ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๕๑] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายรับให้โอวาทแล้วไม่กลับมาบอก ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุจะไม่กลับมาบอกการให้โอวาทไม่ได้ รูปใดไม่กลับมาบอก ต้อง อาบัติทุกกฏ.

[๕๕๒] สมัยต่อมา ภิกษุณีทั้งหลายไม่ไปสู่ที่นัดหมาย ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีจะไม่ไปที่นัดหมายไม่ได้ รูปใดไม่ไป ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๕๓] สมัยต่อมา ภิกษุณีทั้งหลายใช้ผ้ากายพันธน์ยาวรัดสีข้างด้วย ผ้าเหล่านั้น ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกหญิง คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้ผ้ากายพันธน์ยาว รูปใดใช้ ต้อง อาบัติทุกกฏ

เราอนุญาตผ้ากายพันธน์ที่รัดได้รอบเดียวแก่ภิกษุณี แต่อย่ารัดสีข้าง ด้วยผ้านั้น รูปใดรัด ต้องอาบัติทุกกฏ.

รัดสีข้าง

[๕๕๔] สมัยต่อมา ภิกษุณีทั้งหลายรัดสีข้างด้วยแผ่นไม้สาน ด้วย แผ่นหนัง ด้วยแผ่นผ้าขาว ด้วยช้องผ้า ด้วยเกลียวผ้า ด้วยผ้าผืนน้อย ด้วย ช้องผ้าผืนน้อย ด้วยเกลียวผ้าผืนน้อย ด้วยช้องถักด้วยด้าย ด้วยเกลียวด้าย ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภค กาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อน

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 463

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงรัดสีข้างด้วยแผ่นไม้สาน ด้วยแผ่นหนัง ด้วยแผ่น ผ้าขาว ด้วยช้องผ้า ด้วยเกลียวผ้า ด้วยผ้าผืนน้อย ด้วยข้องผ้าผืนน้อย ด้วย เกลียวผ้าผืนน้อย ด้วยช้องถักด้วยด้าย ด้วยเกลียวด้าย รูปใดรัด ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

แต่งกาย

[๕๕๕] สมัยต่อมาภิกษุณีทั้งหลายให้สีตะโพกด้วยกระดูกแข้งโค ให้ นวดตะโพก มือ หลังมือ เท้า หลังเท้า ขาอ่อน หน้า ริมฝีปาก ด้วยไม้ มีสัณฐานดุจคางโค ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวก หญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค เจ้าๆ ... ตรัส ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงให้สีตะโพกด้วยกระดูก แข้งโค ไม่พึงให้นวดตะโพก ไม่พึงให้นวดมือ ไม่พึงให้นวดหลังมือ ไม่พึง ให้นวดเท้า ไม่พึงให้นวดหลังเท้า ไม่พึงให้นวดขาอ่อน ไม่พึงให้นวดหน้า ไม่พึงให้นวดริมฝีปาก ด้วยไม้มีสัณฐานดุจคางโค รูปใดให้นวด ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

ทาหน้าเป็นต้น

[๕๕๖] สมัยต่อมา ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ทาหน้า ถูหน้า ผัดหน้า เจิม หน้าด้วยมโนศิลา ย้อมตัว ย้อมหน้า ย้อมทั้งตัวทั้งหน้า ชาวบ้าน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงทาหน้า ไม่พึงถูหน้า ไม่พึงผัดหน้า ไม่พึงเจิมหน้าด้วยมโนศิลา ไม่พึงย้อมตัว ไม่พึงย้อมหน้า ไม่พึงย้อมทั้งตัวทั้งหน้า รูปใดทำ ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 464

[๕๕๗] สมัยนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์แต้มหน้า ทาแก้ม เยี่ยมหน้าต่าง ยืนแอบประตู ให้ผู้อื่นทำการฟ้อนรำ ตั้งสำนักหญิงแพศยา ตั้งร้านขายสุรา ขายเนื้อ ออกร้านขายของเบ็ดเตล็ด ประกอบการหากำไร ประกอบการค้าขาย ใช้ทาสให้บำรุง ใช้ทาสีให้บำรุง ใช้กรรมกรชายให้บำรุง ใช้กรรมกรหญิงให้ บำรุง ใช้สัตว์เดียรัจฉานให้บำรุง ขายของสดและของสุก ใช้สันถัตขนเจียมหล่อ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภค กาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงแต้มหน้า ไม่พึงทาแก้ม ไม่พึงเยี่ยมหน้าต่าง ไม่ พึงยืนแอบประตู ไม่พึงให้ผู้อื่นทำการฟ้อนรำ ไม่พึงตั้งสำนักหญิงแพศยา ไม่ พึงตั้งร้านขายสุรา ไม่พึงออกร้านขายของเบ็ดเตล็ด ไม่พึงประกอบการหากำไร ไม่พึงประกอบการค้าขาย ไม่พึงใช้ทาสให้บำรุง ไม่พึงใช้ทาสีให้บำรุง ไม่พึง ใช้กรรมกรชายให้บำรุง ไม่พึงใช้กรรมกรหญิงให้บำรุง ไม่พึงใช้สัตว์เดียรัจฉาน ให้บำรุง ไม่พึงขายของสดและของสุก ไม่พึงใช้สันถัตขนเจียมหล่อ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ใช้จีวรสีครามล้วนเป็นต้น

[๕๕๘] สมัยนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้จีวรสีความล้วน ใช้จีวร สีเหลืองล้วน ใช้จีวรสีแดงล้วน ใช้จีวรสีบานเย็นล้วน ใช้จีวรสีดำล้วน ใช้ จีวรสีแสดล้วน ใช้จีวรสีชมพูล้วน ใช้จีวรไม่ตัดชาย ใช้จีวรมีชายยาว ใช้ จีวรมีชายเป็นลายดอกไม้ ใช้จีวรมีชายเป็นลายผลไม้ สวมเสื้อ สวมหมวก ประชาชนเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกหญิงคฤหัสถ์ผู้ บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้จีวรสีความล้วน ไม่พึงใช้จีวรสีเหลืองล้วน

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 465

ไม่พึงใช้จีวรสีแดงล้วน ไม่พึงใช้จีวรสีบานเย็นล้วน ไม่พึงใช้จีวรสีดำล้วน ไม่พึงใช้จีวรสีแสดล้วน ไม่พึงใช้จีวรสีชมภูล้วน ไม่พึงใช้จีวรไม่ตัดชาย ไม่ พึงใช้จีวรมีชายยาว ไม่พึงใช้จีวรมีชายเป็นลายดอกไม้ ไม่พึงใช้จีวรมีชาย เป็นลายผลไม้ ไม่พึงสวมเสื้อ ไม่พึงสวมหมวก รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

พินัยกรรม

[๕๕๙] ่ สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่ง เมื่อจะถึงมรณภาพ พูดอย่างนี้ว่า เมื่อฉันลวงไปแล้ว บริขารของฉันจงเป็นของสงฆ์ บรรดาสหธรรมิกเหล่านั้น ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายโต้เถียงกันว่า บริขารเป็นของพวกเรา บริขารเป็น ของพวกเรา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุณีเมื่อจะถึงมรณภาพพูดอย่างนี้ว่า เมื่อฉันล่วงไป แล้ว บริขารของฉันจงเป็นของสงฆ์ ภิกษุสงฆ์ไม่เป็นใหญ่ในบริขารนั้น บริขารนั้นเป็นของภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสิกขมานา ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสามเณรี เมื่อจะถึงมรณภาพพูดอย่างนี้ว่า เมื่อฉันล่วงไปแล้ว บริขารของฉันจงเป็นของสงฆ์ ภิภษุสงฆ์ไม่เป็นใหญ่ใน บริขารนั้น บริขารนั้นเป็นของภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเมื่อจะถึงมรณภาพพูดอย่างนี้ว่า เมื่อฉัน ล่วงไปแล้ว บริขารของฉันจงเป็นของสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ไม่เป็นใหญ่ในบริขาร นั้น บริขารนั้นเป็นของภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสามเณร ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอุบาสก ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอุบาสิกา ...

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 466

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าใครคนอื่นเมื่อจะตายพูดอย่างนี้ว่า เมื่อฉัน ล่วงไปแล้ว บริขารของฉันจงเป็นของสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ไม่เป็นใหญ่ในบริขาร นั้น บริขารนั้นเป็นของภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียว.

ภิกษุณีประหารภิกษุ

[๕๖๐] สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งเป็นภรรยาของนักมวยมาก่อน บวช ในสำนักภิกษุณี นางเห็นภิกษุทุพพลภาพที่ถนน แล้วให้ประหารด้วยไหล่ให้ เซไป ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ให้ ประหารแก่ภิกษุเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงให้ประหารแก่ภิกษุ รูปใดให้ประหาร ต้อง อาบัติทุกกฏ เราอนุญาตให้ภิกษุณีเห็นภิกษุแล้ว หลีกทางให้แต่ไกลเทียว.

นำทารกไปด้วยบาตร

[๕๖๑] สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งผัวหย่าร้างจึงมีครรภ์กับชายชู้ นาง รีดครรภ์แล้วกล่าววานภิกษุณีผู้กุลุปกะว่า วานทีเถิดเจ้าข้า ขอท่านจงนำทารก นี้ไปด้วยบาตร ภิกษุณีนั้นจึงวางเด็กลงในบาตรปิดด้วยผ้าสังฆาฏิเดินไป.

สมัยนั้น ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตรูปหนึ่งทำการสมาทานว่า เราไม่ให้ ภิกษาที่ได้แก่ภิกษุ หรือภิกษุณีก่อนแล้วจักไม่ฉัน.

ครั้งนั้น เธอพบภิกษุณีนั้นแล้วได้กล่าวว่า น้องหญิง เชิญรับภิกษา.

นางปฏิเสธว่า อย่าเลย เจ้าข้า.

แม้ครั้งที่สอง ภิกษุนั้นได้กล่าวกะภิกษุณีนั้นว่า น้องหญิงเชิญรับภิกษา.

นางปฏิเสธว่า อย่าเลย เจ้าข้า.

แม้ครั้งที่สาม ภิกษุนั้นได้กล่าวกะภิกษุณีนั้นว่า น้องหญิงเชิญรับภิกษา.

นางปฏิเสธว่า อย่าเลย เจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 467

ภิกษุนั้นชี้แจงว่า. น้องหญิง ฉันสมาทานไว้ว่า ฉันไม่ให้ภิกษาที่ได้ แก่ภิกษุ หรือภิกษุณีก่อนแล้วจักไม่ฉัน น้องหญิงเชิญรับภิกษา.

ครั้นนางถูกภิกษุนั้นแค่นไค้อยู่ จึงนำบาตรออกแสดงกล่าวว่า พระคุณเจ้าข้า ท่านจงดูทารกในบาตร ท่านอย่าบอกใคร ภิกษุนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงนำทารกไปด้วยบาตรแล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุ ทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้นำทารกไปด้วยบาตร แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงนำทารกไปด้วยบาตร รูปใดนำไป ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตให้ภิกษุณีพบภิกษุแล้วนำบาตร ออกแสดง.

แสดงก้นบาตร

[๕๖๒] สมัยนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์พบภิกษุแล้ว พลิกกลับแสดง ก้นบาตร ภิกษุเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีฉัพพัคคีย์ พบภิกษุแล้ว จึงได้พลิกกลับแสดงก้นบาตร แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีพบภิกษุแล้ว ไม่พึง พลิกกลับแสดงก้นบาตร รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตให้ภิกษุณี พบภิกษุแล้ว หงายบาตรแสดง และอามิสใดมีในบาตร พึงนิมนต์ภิกษุด้วย อามิสนั้น.

เพ่งดูนิมิตบุรุษ

[๕๖๓] สมัยนั้น นิมิตบุรุษเขาทิ้งไว้ที่ถนนในพระนครสาวัตถี ภิกษุณี ทั้งหลายตั้งใจเพ่งดูนิมิตบุรุษนั้น ชาวบ้านพากันโห่ ภิกษุณีเหล่านั้นเก้อ จึง

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 468

ไปสู่สำนักแล้ว บอกเรื่องนั้น แก่ภิกษุณีทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้เพ่งดูนิมิต บุรุษเล่า แล้วได้บอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงเพ่ง ดูนิมิตบุรุษ รูปใดเพ่งดู ต้องอาบัติทุกกฏ.

เรื่องให้อามิส

[๕๖๔] สมัยนั้น ประชาชนถวายอามิสแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ให้อามิสแก่พวกภิกษุณี ประชาชนเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระคุณเจ้าทั้งหลาย จึงได้ให้อามิสที่เขาถวายแก่ตนเพื่อประโยชน์บริโภคแก่ ผู้อื่นเล่า ก็พวกเราไม่รู้จักให้ทานหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้อานิสที่ เขาถวายแก่ตนเพื่อประโยชน์บริโภคแก่ผู้อื่น รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๖๕] สมัยนั้น อามิสของภิกษุทั้งหลายมีมาก ภิกษุทั้งหลายกราบ ทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต เพื่อให้แก่สงฆ์ อามิสมีมากเหลือเฟือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อให้เป็นส่วนบุคคล.

[๕๖๖] สมัยนั้น อามิสที่ภิกษุทำการสั่งสมไว้มีมาก ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้ภิกษุยังภิกษุณีให้รับอามิสที่เป็นสันนิธิของภิกษุแล้วฉันได้.

[๕๖๗] สมัยนั้น ประชาชนถวายอามิสแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณี ทั้งหลายถวายแก่ภิกษุ คนทั้งหลายเพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี ทั้งหลายจงถวายอามิสที่เขาถวายแก่ตน เพื่อประโยชน์บริโภคแก่ผู้อื่น ก็พวก

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 469

เราไม่รู้จักให้ทานหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงให้อามิสที่เขาถวายแก่ตน เพื่อ ประโยชน์บริโภคแก่ผู้อื่น รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๖๘] สมัยนั้น อามิสของภิกษุทั้งหลายมีมาก ภิกษุทั้งหลายกราบ ทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ถวายแก่สงฆ์ อามิสมีมากเหลือเฟือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อให้แม้เป็น ส่วนบุคคล.

[๕๖๙] สมัยนั้น อามิสที่ภิกษุณีทำการสั่งสมมีมาก ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้ภิกษุณียังภิกษุให้รับอามิสที่เป็นสันนิธิของภิกษุณีแล้วฉันได้.

พุทธานุญาตเสนาสนะอาศัยชั่วคราว

[๕๗๐] สมัยนั้น เสนาสนะของภิกษุทั้งหลายมีมาก เสนาสนะของ พวกภิกษุณีไม่มี ภิกษุณีทั้งหลายส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ดีละ เจ้าข้า ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายจงให้เสนาสนะแก่พวกดิฉันอาศัยชั่วคราว ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตเพื่อให้เสนาสนะแก่ภิกษุณีทั้งหลายอาศัยชั่วคราว.

พุทธานุญาตผ้าสำหรับนุ่งในที่พัก

[๕๗๑] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายมีระดู ขึ้นนั่งบ้าง ขึ้นนอนบ้าง บนเตียงที่บุ บนตั่งที่บุ เสนาสนะเปื้อนโลหิต ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงขึ้นนั่ง

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 470

ไม่พึงขึ้นนอนบนเตียงที่บุ บนตั่งที่บุ รูปใดขึ้นนั่ง หรือขึ้นนอน ต้องอาบัติ ทุกกฏ เราอนุญาตผ้าในที่พัก ผ้าในที่พักเปื้อนโลหิต ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ผ้าซับใน ผ้าซับในหลุด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้เชือกผูก แล้วผูกไว้ที่ขาอ่อน เชือกขาด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกฟั่นผูกสะเอว.

[๕๗๒] สมัยนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้เชือกผูกสะเอวตลอดกาล คน ทั้งหลายเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภค กาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้เชือกผูกเอวตลอดกาล รูปใดใช้ ต้องอาบัติ ทุกกฏ เราอนุญาตเชือกผูกสะเอว เมื่อมีระดู.

ทุติยภาณวาร จบ

อันตรายิกธรรมของภิกษุณี

[๕๗๓] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายที่อุปสมบทแล้วปรากฏว่าไม่มีนิมิต บ้าง มีสักแต่ว่านิมิตบ้าง ไม่มีโลหิตบ้าง มีโลหิตเสมอบ้าง มีผ้าซับในเสมอ บ้าง มีน้ำมูตรกะปริบกะปรอยบ้าง มีเดือยบ้าง เป็นหญิงบัณเฑาะก์บ้าง เป็น หญิงคล้ายชายบ้าง เป็นหญิงมีมรรคระคนกันบ้าง เป็นหญิง ๒ เพศบ้าง ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถามอันตรายิกธรรม ๒๔ ประการ แก่ภิกษุณีผู้จะ อุปสมบท.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 471

วิธีถามอันตรายิกธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงถามอย่างนี้ :-

เธอมิใช่ผู้มีนิมิต หรือ

มิใช่ผู้มีสักแต่ว่านิมิต หรือ

มิใช่ผู้ไม่มีโลหิต หรือ

มิใช่ผู้มีโลหิตเสมอ หรือ

มิใช่ผู้มีผ้าซับในเสมอ หรือ

มิใช่ผู้มีน้ำมูตรกะปริบกะปรอย หรือ

มิใช่ผู้มีเดือย หรือ

มิใช่เป็นหญิงบัณเฑาะก์ หรือ

มิใช่เป็นหญิงคล้ายชาย หรือ

มิใช่ผู้เป็นหญิงมีมรรคระคนกัน หรือ

มิใช่เป็นหญิง ๒ เพศ หรือ

อาพาธเหมือนอย่างนี้ ของเธอ มีหรือ คือ โรคเรื้อน ฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู

เธอเป็นมนุษย์ หรือ

เป็นหญิง หรือ

เป็นไทย หรือ

ไม่มีหนี้สิน หรือ

ไม่เป็นราชภัฏ หรือ

มารดาบิดา สามี อนุญาตแล้ว หรือ

มีอายุครบ ๒๐ ปีแล้ว หรือ

บาตร จีวรของเธอครบแล้ว หรือ

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 472

เธอ ชื่ออะไร

ปวัตตินีของเธอ ชื่ออะไร.

[๕๗๔] สมัยนั้น ภิกษุถามอันตรายิกธรรมของภิกษุณี หญิงผู้อุปสัมปทาเปกขะย่อมกระดาก เก้อเขิน ไม่อาจตอบได้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นาง อุปสัมปทาเปกขะอุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ แล้ว อุปสมบทในภิกษุสงฆ์.

[๕๗๕] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายถามอันตรายิกธรรมกะนางอุปสัมปทาเปกขะผู้ยังไม่ได้สอนซ้อม นางอุปสัมปทาเปกขะย่อมกระดาก เก้อเขิน ไม่อาจตอบได้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อมก่อน แล้วถามอันตรายิกธรรมต่อ ภายหลัง ภิกษุณีทั้งหลายสอนซ้อมในท่ามกลางสงฆ์นั่นเอง นางอุปสัมปทาเปกขะ ยังกระดาก เก้อเขิน ไม่อาจตอบได้เหมือนอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอน ซ้อม ณ สถานที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วถามอันตรายิกธรรมในท่ามกลางสงฆ์.

วิธีสอนซ้อม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสอนซ้อมอย่างนี้ พึงให้ถืออุปัชฌายะ ก่อนครั้นแล้วพึงบอกบาตรจีวรว่า

นี้ บาตรของเธอ

นี้ ผ้าสังฆาฏิ

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 473

นี้ ผ้าอุตราสงค์

นี้ ผ้าอันตรวาสก

นี้ ผ้ารัดอก

นี้ ผ้าอาบน้ำ

เธอจงไปยืนอยู่ ณ โอกาสโน้น.

ภิกษุณีผู้เขลา ไม่ฉลาด สอนซ้อม นางอุปสัมปทาเปกขะผู้ถูกสอน ซ้อมไม่ดี ย่อมกระดาก เก้อเขิน ไม่อาจตอบได้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่พึงสอนซ้อม รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุณีมิได้รับสมมติสอนซ้อม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีมิได้รับสมมติไม่พึง สอนซ้อม รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้ได้รับสมมติ แล้วสอนซ้อม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติอย่างนี้ ตนเองพึงสมมติตน หรือผู้อื่นพึงสมมติผู้อื่น.

วิธีสมมติตน

[๕๗๖] ก็ตนเองพึงสมมติตน อย่างไร.

ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 474

ญัตติกรรมวาจาสมมติตน

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน นางชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ดิฉัน พึงสอนซ้อมนางชื่อนี้.

อย่างนี้ชื่อว่าตนเองสมมติตน.

วิธีสมมติผู้อื่น

[๕๗๗] ก็ผู้อื่นพึงสมมติผู้อื่น อย่างไร.

ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ญัตติกรรมวาจาสมมติผู้อื่น

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน นางชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ภิกษุณี ชื่อนี้ พึงสอนซ้อมนางชื่อนี้.

อย่างนี้ชื่อว่าผู้อื่นสมมติผู้อื่น.

คำสอนซ้อม

[๕๗๘] ภิกษุณีผู้ได้รับสมมติแล้วนั้น พึงเข้าไปหานางอุปสัมปทา - เปกขะแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

นางชื่อนี้ เธอจงฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริง ของเธอ เมื่อถูกถาม ในท่ามกลางสงฆ์ ถึงสิ่งอันเกิดแล้ว มีอยู่ พึงบอกว่ามี ไม่มี พึงบอกว่าไม่มี เธออย่ากระดาก เธออย่าเก้อเขิน ภิกษุณีทั้งหลายจักถามเธอ อย่างนี้ :-

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 475

เธอมิใช่ผู้ไม่มีนิมิต หรือ

มิใช่ผู้มีสักแต่ว่านิมิต หรือ

มิใช่ผู้ไม่มีโลหิต หรือ

มิใช่ผู้มีโลหิตเสมอ หรือ

มิใช่ผู้มีผ้าซับในเสมอ หรือ

มิใช่ผู้มีน้ำมูตรกระปริบกระปรอย หรือ

มิใช่ผู้มีเดือยหรือ.

มิใช่เป็นหญิงบัณเฑาะก์ หรือ

มิใช่เป็นหญิงคล้ายชาย หรือ

มิใช่เป็นหญิงมีมรรคระคนกัน หรือ

มิใช่เป็นหญิง ๒ เพศ หรือ

อาพาธเหมือนอย่างนี้ ของเธอ มีหรือ คือ

โรคเรื้อน ฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู

เธอเป็นมนุษย์ หรือ

เป็นหญิง หรือ

เป็นไทย หรือ

ไม่มีหนี้สิน หรือ

ไม่เป็นราชภัฏ หรือ

มารดาบิดา สามี อนุญาตแล้ว หรือ

มีอายุครบ ๒๐ ปีแล้ว หรือ

มีบาตรจีวรครบแล้ว หรือ

เธอ ชื่ออะไร

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 476

ปวัตตินีของเธอ ชื่ออะไร.

ภิกษุณีผู้สอนซ้อม กับนางอุปสัมปทาเปกขะมาพร้อมกัน ... ไม่พึงมา พร้อมกัน ภิกษุณีผู้สอนซ้อมพึงมาก่อนแล้วประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ- กรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

ญัตติกรรมวาจา

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน นางชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ นางอันดิฉันสอนซ้อมแล้ว ถ้าความพร้อม พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว นางชื่อนี้พึงมา.

ภิกษุณีนั้นพึงกล่าวว่า เธอจงมา พึงให้นางอุปสัมปทาเปกขะห่มผ้า เฉวียงบ่า ให้ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลาย ให้นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี ขออุปสมบท ว่าดังนี้ :-

คำขออุปสมบท

แม่เจ้า เจ้าข้า ดิฉันขออุปสมบทต่อสงฆ์ ขอสงฆ์โปรดเอ็นดูยกดิฉัน ขึ้นเถิด เจ้าข้า.

แม่เจ้า เจ้าข้า ดิฉันขออุปสมบทกะสงฆ์ เป็นครั้งที่สอง ขอสงฆ์ โปรดเอ็นดูยกดิฉันขึ้นเถิด เจ้าข้า.

แม่เจ้า เจ้าข้า ดิฉันขออุปสมบทกะสงฆ์ เป็นครั้งที่สาม ขอสงฆ์ โปรดเอ็นดูยกดิฉันขึ้นเถิด เจ้าข้า.

ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 477

ญัตติกรรมวาจา

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ ความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว ดิฉันพึงถามอันตรายิกธรรมกะนางชื่อนี้

คำถามอันตรายิกธรรม

แน่ะนางชื่อนี้ เธอจงฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริง ของเธอ ฉัน ถามถึงสิ่งที่เกิดแล้ว มีอยู่ เธอพึงบอกว่ามี ไม่มี เธอพึงบอกว่า ไม่มี

เธอมิใช่ผู้ไม่มีนิมิต หรือ

มิใช่ผู้มีสักแต่ว่านิมิต หรือ ...

เธอ ชื่ออะไร

ปวัตตินีของเธอ ชื่ออะไร

ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

ญัตติจตุตถกรรมวาจา

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน นางชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ บริสุทธิ์แล้วจากอันตรายิกธรรมทั้ง หลาย บาตรจีวรของเธอครบแล้ว นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่ เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง ให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี นี้เป็นญัตติ

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ บริสุทธิ์แล้วจากอันตรายิกธรรมทั้ง

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 478

หลาย บาตรจีวรของเธอครบแล้ว นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่ เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็น ปวัตตินี การอุปสมบทของนางนี้ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด

ดิฉันกล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง ...

ดิฉันกล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จง ฟังดิฉัน นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ บริ- สุทธิ์แล้วจากอันตรายกธรรมทั้งหลาย บาตร จีวรของเธอครบแล้ว นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นาง ชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี การอุปสมบทนางชื่อนี้ มี แม่เจ้า อันเป็นปวัตตินี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

นางชื่อนี้อันสงฆ์อุปสมบทแล้ว มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ดิฉันทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

[๕๗๙] ขณะนั้นเอง ภิกษุณีทั้งหลาย พึงพานางเข้าไปหาภิกษุสงฆ์ ให้ห่มผ้าเฉวียงบ่า ให้ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลาย ให้นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี ขออุปสมบท ว่าดังนี้:-

คำขออุปสมบท

พระคุณเจ้าข้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ ดิฉันขออุปสมบทกะ สงฆ์ ขอสงฆ์โปรดเอ็นดู ยกดิฉันขึ้นเถิด เจ้าข้า

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 479

พระคุณเจ้าข้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ ดิฉันขออุปสมบทกะ สงฆ์ แม้ครั้งที่สอง ขอสงฆ์โปรดเอ็นดูยกดิฉันขึ้นเถิด เจ้าข้า

พระคุณเจ้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ ดิฉันขออุปสมบทกะ สงฆ์ แม้ครั้งที่สาม ขอสงฆ์โปรดเอ็นดูยกดิฉันขึ้นเถิด เจ้าข้า.

[๕๘๐] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ- จตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

ญัตติจตุตถกรรมวาจา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางมีช่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริ- สุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้ เป็นปวัตตินี้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้นาง ชื่อนี้อุปสมบท มีแม้เจ้าชื่อนี้เป็นวัตตินี นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขุของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุสงฆ์ นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้า ชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี การอุปสมบทของนางชื่อนี้ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง ...

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 480

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จง ฟังข้าพเจ้า นางมีชื่ออันผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางชื่อนี้ ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี การอุปสมบทของนางชื่อนี้ มีแม่ เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

นางชื่อนี้อันสงฆ์อุปสมบทแล้ว มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบ แก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

วัดเงาแดดเป็นต้น

[๕๘๑] ทันใดนั้น พึงวัดเงาแดด พึงบอกประมาณแห่งฤดู พึงบอก ส่วนแห่งวัน พึงบอกข้อเบ็ดเสร็จ พึงสั่งภิกษุทั้งหลายว่า พวกเธอจงบอก นิสัย ๓ อกรณียกิจ ๘ แก่ภิกษุณีนี้.

[๕๘๒] โดยสมัยนั้น แลภิกษุณีทั้งหลายยึดถืออาสนะในโรงภัตร ยับ ยั้งอยู่ตลอดกาล ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุยาตภิกษุณี ๘ รูป ตามลำดับพรรษา ภิกษุณีนอกนั้นตามลำดับที่มา.

[๕๘๓] โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายปรึกษากันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุยาตภิกษุณี ๘ รูปตามลำดับพรรษา ภิกษุณีนอกนั้นตามลำดับที่ มาในที่ทุกแห่ง ภิกษุณี ๘ รูปเท่านั้น ห้ามตามลำดับพรรษา นอกนั้นตามลำดับ ที่มา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 481

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโรงภัตร เรา อนุญาตภิกษุณี ๖ รูป ตามลำดับพรรษา นอกนั้นตามลำดับที่มา ในที่อื่นไม่ พึงห้ามตามลำดับพรรษา รูปใดห้าม ต้องอาบัติทุกกฏ.

เรื่องปวารณา

[๕๘๔] โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายไม่ปวารณา ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี จะไม่ปวารณาไม่ได้ รูปใดไม่ปวารณา พึงปรับตามธรรม.

ปวารณาด้วยตนเอง

[๕๘๕] โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีปวารณาด้วยตนเอง ไม่ปวารณาต่อ สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีปวารณาด้วย ตนเองไม่ปวารณาต่อสงฆ์ไม่ได้ รูปใดไม่ปวารณา พึงปรับตามธรรม.

ปวารณาพร้อมกับภิกษุ

[๕๘๖] โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายปวารณาพร้อมกับภิกษุทั้ง หลาย ได้ทำความโกลาหล ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงปวารณา พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย รูปใดปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 482

ปวารณาก่อนภัตร

[๕๘๗] โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายปวารณาในกาลก่อนภัตร ยัง กาลให้ล่วงไป ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีปวารณาในกาล หลังภัตร ภิกษุณีทั้งหลายแม้ปวารณาในกาลหลังภัตร เวลาพลบค่ำลง ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณี ปวารณาต่อภิกษุณีสงฆ์ในวันนี้ แล้วปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น

ปวารณาทั้งหมด

[๕๘๘] โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีสงฆ์ทั้งหมดปวารณาอยู่ ได้ทำความ โกลาหล ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถรูปหนึ่งให้ ปวารณาต่อสงฆ์แทนภิกษุณีสงฆ์

วิธีสมมติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุณีก่อน ครั้นแล้วภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

ญัตติกรรมวาจา

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ แทนภิกษุณีสงฆ์ นี้เป็นญัตติ

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 483

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน สงฆ์สมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ แทนภิกษุณีสงฆ์ การสมมติภิกษุณีชื่อนี้ให้ ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด

ภิกษุณีชื่อนี้ สงฆ์สมมติแล้วให้ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ แทน ภิกษุณีสงฆ์ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ดิฉันทรงความนี้ไว้ด้วย อย่างนี้.

คำปวารณา

พระคุณเจ้า เจ้าข้า ภิกษุณีสงฆ์ ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ ด้วยได้เห็น ก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยรังเกียจก็ดี ของภิกษุสงฆ์จงอาศัยความกรุณาว่ากล่าว ภิกษุณี สงฆ์ภิกษุณีสงฆ์เห็นอยู่จักทำคืน

พระคุณเจ้า เจ้าข้า แม้ครั้งที่สอง ...

พระคุณเจ้า เจ้าข้า แม้ครั้งที่สาม ภิกษุณีสงฆ์ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยรังเกียจก็ดี ขอภิกษุสงฆ์จงอาศัยความกรุณา ว่ากล่าวภิกษุณีสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์เห็นอยู่จักทำคืน.

งดอุโบสถเป็นต้น

[๕๙๐] โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายงดอุโบสถ งดปวารณา ทำ การไต่สวน เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ให้ทำโอกาส โจท สืบพยานแก่ภิกษุทั้งหลาย ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงงดอุโบสถแก่ภิกษุ แม้งดก็ไม่เป็นอันงด ภิกษุณีผู้งด ต้องอาบัติทุกกฏ

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 484

ภิกษุณีไม่พึงงดปวารณาแก่ภิกษุ แม้งดก็ไม่เป็นอันงด ภิกษุณีผู้งด ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุณีไม่พึงทำการสืบสวนภิกษุ แม้ทำก็ไม่เป็นอันทำ ภิกษุณีผู้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุณีไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์แก่ภิกษุ แม้เริ่มก็ไม่เป็นอันเริ่ม ภิกษุณีผู้เริ่ม ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุณีไม่พึงให้ภิกษุทำโอกาส แม้ให้ทำก็ไม่เป็นอันให้ทำ ภิกษุณีผู้ ให้ทำต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุณีไม่พึงโจทภิกษุ แม้โจทภิกษุ ก็ไม่เป็นอันโจท ภิกษุณีผู้โจท ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุณีไม่พึงสืบพยานภิกษุ แม้สืบก็ไม่เป็นอันสืบ ภิกษุณีผู้สืบพยาน ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๙๑] โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายงดอุโบสถ งดปวารณา ทำ การสืบสวน เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ให้ทำโอกาส โจท สืบพยานแก่ภิกษุณีทั้ง หลาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุงดอุโบสถแก่ภิกษุณี แม้งดแล้วเป็นอันงด ด้วยดี ภิกษุผู้งดไม่ต้องอาบัติ ให้งดปวารณาแก่ภิกษุณี แม้งดแล้วเป็นอันงด ด้วยดี ภิกษุผู้งดไม่ต้องอาบัติให้ทำการสืบสวนภิกษุณี แม้ทำแล้วเป็นอันทำ ด้วยดี ภิกษุผู้ทำให้ต้องอาบัติ ให้ทำเริ่มอนุวาทาธิกรณ์ แม้เริ่มแล้วเป็นอัน เริ่มด้วยดี ภิกษุผู้เริ่มไม่ต้องอาบัติ ให้ภิกษุณีทำโอกาส แม้ให้ทำแล้วเป็นอัน ให้ทำด้วยดี ภิกษุผู้ให้ทำไม่ต้องอาบัติ ให้โจทภิกษุณี แม้โจทแล้วเป็นอันโจท ด้วยดี ภิกษุผู้โจทก์ไม่ต้องอาบัติ ให้สืบพยานแก่ภิกษุณี แม้สืบแล้วเป็นอัน สืบด้วยดี ภิกษุผู้ให้สืบไม่ต้องอาบัติ

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 485

เรื่องไปด้วยยาน

[๕๙๒] โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขี่ยานที่เทียมด้วยโคตัวเมีย มีบุรุษเป็นสารถีบ้าง เทียมด้วยโคด้วยผู้ มีสตรีเป็นสารถีบ้าง ประชาชนเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนชายหนุ่มหญิงสาวไปเล่นน้ำในแม่น้ำ คงคา และแม่น้ำมหี ภิกษุทั้งหลายทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงไปด้วย ยาน รูปใดไป พึงปรับตามธรรม.

[๕๙๓] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งอาพาธ ไม่อาจไปด้วยเท้าได้ ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้อาพาธไปด้วยยานได้ ลำดับนั้น ภิกษุณีทั้งหลายคิดว่า ยานนั้นเทียมด้วยโคตัวเมียหรือเทียมด้วยโคตัวผู้ ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานที่ เทียมด้วยโคตัวเมีย ยานที่เทียมด้วยโคตัวผู้ และยานที่ลากด้วยมือ.

[๕๙๔] สมัยต่อมา ความไม่สบายอย่างแรงกล้าได้มีแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง เพราะความกระเทือนแห่งยาน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตคานหาม มีตั่งนั่งเปลผ้าที่เขาผูกติดกับไม้คาน.

เรื่องหญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสี

[๕๙๕] โดยสมัยนั้นแล หญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสี บวชในสำนัก ภิกษุณี ก็นางปรารถนาจะไปเมืองสาวัตถีด้วยตั้งใจว่า จักอุปสมบทในสำนัก

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 486

พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกนักเลงได้ทราบข่าวว่า หญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสี ปรารถนาจะไปเมืองสาวัตถี จึงแอบซุ่มอยู่ใกล้หนทาง นางได้ทราบข่าวว่า พวกนักเลงแอบชุ่มอยู่ใกล้หนทาง จึงส่งทูตไปในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า หม่อมฉันปรารถนาจะอุปสมบท หม่อมฉันจะพึงปฏิบัติอย่างไร

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีอุปสมบท แม้โดยทูต

ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยภิกษุเป็นทูต ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ไม่พึงให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยภิกษุเป็นทูต รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยสิกขมานาเป็นทูต ...

ให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยสามเณรเป็นทูต ...

ให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยสามเณรีเป็นทูต ...

ให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยภิกษุณีผู้เขลา ไม่ฉลาดเป็นทูต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุณิอุปสมบทโดยภิกษุณี เขลา ไม่ฉลาดเป็นทูต รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถเป็นทูต ภิกษุณีผู้เป็นทูตนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์แล้วห่มผ้าเฉวียงบ่า ไหว้ เท้าภิกษุทั้งหลาย นั่งกระโหย่งประคองอัญชลีกล่าวอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระคุณเจ้า เจ้าข้า นางชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางมาไม่ได้เพราะ อันตรายบางอย่าง นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ ขอสงฆ์โปรดเอ็นดูยกนางขึ้น เถิดเจ้าขา.

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 487

พระคุณเจ้า เจ้าข้า นางชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางมาไม่ได้เพราะ อันตรายบางอย่าง แม้ครั้งที่สอง นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ ขอสงฆ์โปรด เอ็นดูยกนางขึ้นเถิดเจ้าข้า

พระคุณเจ้า เจ้าข้า นางชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางมาไม่ได้เพราะ อันตรายบางอย่าง แม้ครั้งที่สาม นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ ขอสงฆ์โปรด เอ็นดูยกนางขึ้นเถิด เจ้าข้า.

ญัตติจตุตถกรรมวาจาให้อุปสามบทด้วยทูต

[๕๙๖] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ- จตุตถกรรมวาจา :-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้ว ในภิกษุณีสงฆ์ นางมาไม่ได้เพราะอันตรายบางอย่าง นางชื่อนี้ขอ อุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางชื่อนี้เป็นอุปสัมปทา เปกขะ ของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางมาไม่ได้เพราะอันตรายบางอย่าง นางชื่อนี้ ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุป-

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 488

สมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี การอุปสมบทของนางชื่อนี้ มีแม่เจ้า ชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง ...

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จง ฟังข้าพเจ้า นางชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบท แล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางมาไม่ได้เพราะ อันตรายบางอย่าง นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็น ปวัตตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี การ อุปสมบทของนางชื่อนี้ มีแม้เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

นางชื่อนี้ อันสงฆ์อุปสมบทแล้ว มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้

ทันใดนั้น พึงวัดเงาแดด พึงบอกประมาณแห่งฤดู พึงบอกส่วนแห่ง วัน พึงบอกข้อเบ็ดเสร็จ พึงสั่งภิกษุณีทั้งหลายว่า พอกเธอจงบอกนิสัย ๓ อกรณียกิจ ๘ แก่ภิกษุณีนั้น.

ภิกษุณีอยู่ป่า

[๕๙๗] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายอยู่ในป่า พวกนักลงประทุษร้าย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย ภิกษุณีไม่พึงอยู่ในป่า รูปใดอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๙๘] สมัยนั้นแล อุบาสกคนหนึ่งถวายโรงเก็บของ แก่ภิกษุณีสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 489

หลาย เราอนุญาตโรงเก็บของ โรงเก็บของไม่พอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตที่อยู่ ที่ อยู่ไม่พอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตนวกรรม นวกรรมไม่พอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ ทำแม้เป็นส่วนบุคคล.

พุทธานุญาตสมมติภิกษุณีเป็นเพื่อน

[๕๙๙] สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งตั้งครรภ์แล้วบวชในสำนักภิกษุณี เมื่อ นางบวชแล้วเด็กจึงคลอด ครั้งนั้น นางคิดว่า เราจะพึงปฏิบัติในเด็กชายนี้ อย่างไรหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เลี้ยงดู จนกว่าเด็กนั้นจะรู้เดียงสา นางคิด ว่า เราจะอยู่แต่ตามลำพังไม่ได้ และภิกษุณีอื่นจะอยู่ร่วมกับเด็กชายอื่นก็ไม่ได้ เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค เจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุณีรูปหนึ่ง ให้ เป็นเพื่อนของภิกษุณีนั้น

วิธีสมมติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุณีก่อน ครั้นแล้วภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม วาจา ว่าดังนี้ :-

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 490

กรรมวาจาให้สมมติ

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณี ชื่อนี้ นี้เป็นบัญญัติ

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน สงฆ์สมมติภิกษุณีชื่อนี้ให้ เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้ การสมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้เป็นเพื่อนของ ภิกษุณีชื่อนี้ ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ แก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด

สงฆ์สมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้เป็นเพื่อนของภิกษุชื่อนี้แล้ว ชอบ แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ดิฉัน ทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้

ครั้งนั้น ภิกษุณีเพื่อนของนางคิดว่า เราจะพึงปฏิบัติในเด็กชายนี้อย่าง ไรหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปฏิบัติในเด็กชายนั้นเหมือนปฏิบัติในบุรุษอื่น เว้นการนอนร่วมเรือนเดียวกัน.

[๖๐๐] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งต้องอาบัติหนักแล้ว กำลังประพฤติ มานัต นางคิดว่า เราอยู่แต่ลำพังผู้เดียว และภิกษุณีอื่นจะอยู่ร่วมกับ เราก็ไม่ ได้ เราพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุณีรูปหนึ่งให้ เป็นเพื่อนของภิกษุณีนั้น

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 491

วิธีสมมติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุณีก่อน ครั้นแล้ว ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาให้สมมติ

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณี ชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน สงฆ์สมมติภิกษุณีชื่อนี้ให้ เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้ การสมมติภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของ ภิกษุณีชื่อนี้ ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด

สงฆ์สมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ดิฉันทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

เรื่องภิกษุณีไม่บอกสิกขา

[๖๐๑] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งไม่ได้บอกลาสิกขาสึกไปแล้ว นาง กลับมาขออุปสมบทกะภิกษุณีทั้งหลายอีก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่ต้องบอกลาสิกขา นางสึกแล้วเมื่อใด ไม่เป็นภิกษุณีเมื่อนั้น.

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 492

เข้ารีตเดียรถีย์

[๖๐๒] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งครองผ้ากาสาวะ ไปเข้ารีตเดียรถีย์ นางกลันมาขออุปสมบทกะภิกษุณีทั้งหลายอีก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีรูปใด ครองผ้า กาสาวะไปเข้ารีตเดียรถีย์ นางนั้นมาแล้ว ไม่พึงให้อุปสมบท.

[๖๐๓] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายรังเกียจ ไม่ยินดีการอภิวาท การ ปลงผม การตัดเล็บ การรักษาแผล จากบุรุษทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบ ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ยินดี.

นั่งขัดสมาธิ

[๖๐๔] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายนั่งขัดสมาธิ ยินดีสัมผัสเซ่นเท้า ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงนั่งขัดสมาธิ รูปใดนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๖๐๕] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งอาพาธ นางเว้นขัดสมาธิไม่สบาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีนั่งพับเพียบได้.

เรื่องถ่ายอุจจาระ

[๖๐๖] สมันนั้น ภิกษุณีทั้งหลายถ่ายอุจจาระในวัจจกุฎี ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ยังครรภ์ให้ตกในวัจจกุฎีนั้นเอง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงถ่ายอุจจาระใน วัจจกุฎี รูปใดถ่าย ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตให้ถ่ายอุจจาระในที่ซึ่งเปิดข้าง ล่างปิดข้างบน.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 493

เรื่องอาบน้ำ

[๖๐๗] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลาย อาบน้ำด้วยจุณ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี ไม่พึงอาบน้ำด้วยจุณ รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฎ เราอนุญาต รำ ดินเหนียว.

[๖๐๘] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายอาบน้ำด้วยดินเหนียวที่อบกลิ่น ชาว บ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอาบน้ำด้วยดินเหนียวที่อบกลิ่น รูปใดอาบ ต้องอาบัติ ทุกกฏ เราอนุญาตดินเหนียวธรรมดา.

[๖๐๙] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายอาบน้ำในเรือนไฟ ทำโกลาหล ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอาบน้ำในเรือนไฟ รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๖๑๐] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายอาบน้ำทวนกระแส ยินดีสัมผัสแห่ง สายน้ำ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอาบน้ำทวนกระแส รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๖๑๑] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายอาบน้ำในที่มิใช่ท่าอาบน้ำ พวก นักเลงลอบประทุษร้าย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอาบน้ำในที่มิใช่ท่าอานน้ำ รูปใด อาบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๖๐๒] สมัยนั้น ภิกษุณีอาบน้ำที่ท่าสำหรับชายอาบ ชาวบ้านเพ่ง โทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ... ภิกษุ

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 494

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอาบน้ำที่ท่าสำหรับชายอาบ รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ เรา อนุญาตให้อาบน้ำที่ท่าสำหรับหญิงอาบ.

ตติยภารวาร จบ

ภิกขุนีขันธกะ ที่ ๑๐ จบ

ในขันธกะนี้ มี ๑๐๙ เรื่อง

หัวข้อประจำขันธกะ

[๖๑๓] เรื่องพระนางโคตมีทูลของบรรพชา พระตถาคตไม่ทรง อนุญาต เรื่องพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ฝึกเวไนยเสด็จไปพระนครเวสาลี จากกรุง กบิลพัสดุ์ เรื่องพระนางโคตมีมีพระวรกายเกลือกกลั้วด้วยธุลี ได้ชี้แจงแก่ พระอานนท์ที่ซุ้มประตู เรื่องพระอานนท์ทูลขอโดยนัยว่า มาตุคามเป็นภัพบุคคล พระนางโคตมีเป็นพระมาตุจฉา เป็นผู้เลี้ยงดู เรื่องครุธรรม ๘ ที่ภิกษุณี พึงประพฤติตลอดชีวิต คือ ภิกษุณีบวชตั้งร้อยปีต้องกราบไหว้ภิกษุแม้บวชใน วันนั้น ๑ ไม่พึงจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ๑ หวังธรรม ๒ อย่าง ๑ ปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ๑ ต้องอาบัติหนัก ๑ พึงแสวงหาอุปสมบทเพื่อ สิกขมานาผู้ศึกษาครบ ๒ ปีแล้ว ๑ ไม่ด่าภิกษุ ๑ เปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าว ๑ เรื่องการรับครุธรรม ข้อนั้นเป็นอุปสัมปทาของพระนางโคตมี เรื่องพรหมจรรย์ อันจะตั้งอยู่ถึง ๑,๐๐๐ ปี และตั้งอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปี ความเสื่อมแห่งสัทธรรม เปรียบด้วยโจรลักทรัพย์ ขยอก เพลี้ย อีกอย่างหนึ่ง ความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม เปรียบด้วยกั้นทำนบ เรื่องให้อุปสมบทภิกษุณี เรื่องแม่เจ้าเป็นอนุปสัมบัน

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 495

เรื่องภิวาทตามลำดับผู้แก่ เรื่องไม่ทำอภิวาท เรื่องสิกขาบทที่ทั่วไปและไม่ ทั่วไป จักกระทำอย่างไร เรื่องโอวาท เรื่องปาติโมกข์ เรื่องใครแสดงปาติโมกข์ เรื่องเข้าไปแสดงถึงสำนักภิกษุณี เรื่องไม่รู้ เรื่องบอก เรื่องไม่ทำคืน เรื่อง ภิกษุรับอาบัติ เรื่องให้ภิกษุบอกให้ภิกษุณีรับอาบัติ เรื่องชาวบ้านติเตียน เรื่องให้ภิกษุบอกให้ทำกรรม เรื่องทะเลาะ เรื่องยกมอบ เรื่องอันเตวาสินี ของนางอุบลวรรณา เรื่องรดน้ำโคลนในเมืองสาวัตถี เรื่องไม่ควรไหว้ เรื่องเปิดกาย เปิดขาอ่อน เปิดองค์กำเนิด เรื่องภิกษุพูดเกี้ยว เรื่องพระฉัพพัคคีย์ชักจูง เรื่องไม่ควรไหว้ เรื่องทัณฑกรรม ฝ่ายภิกษุณีก็เหมือนกัน เรื่องห้าม เรื่องงดโอวาท เรื่องควรหรือไม่ เรื่องหลีกไป เรื่องภิกษุเขลา เรื่องไม่เป็นเรื่อง เรื่องไม่ให้คำวินิจฉัย เรื่องภิกษุณีสงฆ์ไม่ไปรับโอวาท เรื่อง ภิกษุณี ๔ รูปรับโอวาท เรื่องภิกษุณี ๒ - ๓ รูปไปรับโอวาทแทน เรื่องภิกษุณี ไม่รับโอวาท เรื่องภิกษุเขลา เรื่องภิกษุอาพาธ เรื่องภิกษุเตรียมจะไป เรื่อง ภิกษุอยู่ป่า เรื่องไม่บอก เรื่องไม่นำกลับมาบอก เรื่องผ้ากายพันธ์ยาว เรื่อง แผ่นไม้สาน แผ่นหนัง ผ้าขาว ช้องผ้า เกลียวผ้า ผ้าผืนน้อย ช้องผ้าผืนน้อย เกลียวผ้าน้อย ช้องถักด้วยด้าย เกลียวด้าย เรื่องกระดูกแข้งโค เรื่องนวด หลังมือ หลังเท้า ขาอ่อน หน้า ริมฝีปาก ด้วยไม่มีสัณฐานดุจคางโค เรื่อง ทาหน้า ถูหน้า ผัดหน้า เจิมหน้า ย้อมตัว ย้อนหน้า ย้อมทั้งตัวทั้งหน้า ทั้งสองอย่าง เรื่องแต้มหน้าทาแก้ม เยี่ยมหน้าต่าง ยืนแอบประตู ให้ผู้อื่น ทำการฟ้อนรำ ตั้งสำนักหญิงแพศยา ตั้งร้านชายสุรา ขายเนื้อ ออกร้านขาย ของเบ็ดเตล็ด ประกอบการหากำไร ประกอบการค้าขาย ใช้ทาส ทาสี กรรมกรชาย กรรมกรหญิง ให้บำรุง ให้สัตว์เดียรัจฉานบำรุง ขายของสด และของสุก ใช้สันถัตขนเจียมหล่อ เรื่องใช้จีวรสีคราม สีเหลือง สีแดง

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 496

สีบานเย็น สีดำ สีแสด สีชมพู ไม่ตัดชาย มีชายเป็นลายดอกไม้ มีชายเป็นลายผลไม้ สวมเสื้อ สวมหมวก เรื่องเมื่อภิกษุณี สิกขนานา สามเณรี ถึงมรณภาพ ภิกษุณีเป็นใหญ่ในบริขารที่ภิกษุณีเป็นต้นมอบถวาย เมื่อภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา และใครอื่นปลงบริขารให้ ภิกษุเป็นใหญ่ เรื่อง ภิกษุณีเคยเป็นภรรยานักมวย เรื่องครรภ์ เรื่องก้นบาตร เรื่องนิมิต เรื่อง. อามิสมากมาย อามิสเหลือเฟือยิ่ง อามิสที่ทำสันนิธิ อามิสเช่นใดของภิกษุ ทั้งหลายในหนหลัง ของภิกษุณีทั้งหลายก็เช่นนั้น เรื่องเสนาสนะเปื้อนระดู เรื่องผ้า เรื่องเชือกขาด เรื่องใช้เชือกผูกสะเอวตลอดกาล เรื่องภิกษุณีปรากฏ ว่าไม่มีนิมิตบ้าง มีสักแต่ว่านิมิตบ้าง ไม่มีโลหิตบ้าง มีโลหิตเสมอบ้าง เป็น ซับในเสมอและมีน้ำมูตรกะปริบกะปรอย มีเดือยเป็นหญิงบัณเฑาะก์บาง เป็น หญิงคล้ายชายบ้าง เป็นหญิงมีมรรคระคนกันบ้าง เป็นหญิง ๒ เพศบ้าง เรื่อง ถามอันตรายิกธรรม ตั้งแต่คำว่าหานิมิตมิได้ จนถึงอุภโตพยัญชนก หลังจาก เปยยาลไปถามดังนี้ โรคเรื้อน ฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู เป็น มนุษย์หรือ เป็นหญิงหรือ เป็นไทยหรือ ไม่มีหน้าสิ้นหรือ ไม่ใช่ราชภัฏหรือ. มารดา บิดา สามี อนุญาตแล้วหรือ มีอายุครบ ๒๐ ปีแล้วหรือ มีบาตร จีวรครบแล้วหรือ ชื่ออะไร ปวัตตินีของเธอชื่ออะไร รวม ๒๔ อย่าง แล้ว ให้อุปสมบท เรื่องอุปสัมปทาเปกขะยังไม่ได้สอนซ้อมกระดากในท่ามกลางสงฆ์ ก็เหมือนกัน เรื่องถืออุปัชฌายะ เรื่องบอกสังฆาฏิ อุตราสงค์ อันตรวาสก ผ้ารัด ผ้าอาบน้ำ แล้วส่งไป เรื่องภิกษุณีเขลา เรื่องภิกษุณีไม่ได้รับสมมติ ขอร้องถามอันตรายิกธรรม เรื่องอุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว ต้องอุปสมบทใน ภิกษุสงฆ์อีก เรื่องบอกฉายา ฤดู วัน ข้อเบ็ดเสร็จ นิสัย ๓ อกรณียกิจ ๘ เรื่องกาล เรื่องภิกษุณี ๘ รูปในที่ทุกแห่ง เรื่องภิกษุณีไม่ปวารณา และไม่

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 497

ปวารณากะภิกษุสงฆ์ เรื่องโกลาหล เรื่องปวารณาก่อนภัตร เรื่องปวารณา เวลาพลบค่ำ เรื่องภิกษุณีสงฆ์โกลาหล เรื่องพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณ อันใหญ่ ทรงห้ามไม่ให้ภิกษุณีงดอุโบสถ ปวารณา กระทำการไต่สวน เริ่ม อนุวาทาธิกรณ์ ทำโอกาส สืบพยาน โจท และให้การ แต่ทรงอนุญาตให้ ภิกษุทำอย่างนั้นแก่ภิกษุณีได้ เรื่องยาน เรื่องภิกษุอาพาธ เรื่องยานที่ลาก เรื่องการกระทบกระทั่งแห่งยาน เรื่องนางอัฑฒกาสี เรื่องภิกษุ สิกขมานา สามเณร สามเณรี เป็นทูต เรื่องทูตเขลา เรื่องภิกษุณีอยู่ป่า เรื่องอุบาสก ถวายโรงเก็บของ เรื่องที่อยู่นวกรรม ไม่พอ เรื่องภิกษุณีตั้งครรภ์อยู่แต่ลำพัง ไม่ได้ เรื่องร่วมเรือน เรื่องอาบัติหนัก เรื่องไม่บอกลาสิกขา เรื่องเข้ารีต เดียรถีย์ เรื่องไม่ยินดีอภิวาท ปลงผม ตัดเล็บ รักษาแผล เรื่องภิกษุณี นั่งขัดสมาธิ เรื่องภิกษุณีอาพาธ เรื่องถ่ายอุจจาระ เรื่องอาบด้วยจุณ เรื่อง ดินอบ เรื่องอาบน้ำในเรือนไฟ เรื่องอาบน้ำทวนกระแส เรื่องอาบน้ำในที่ มิใช่ท่า เรื่องอาบน้ำที่ท่าสำหรับชายอาบ พระนางมหาโคตมีและพระอานนท์ ทูลขอโดยแยบคาย บริษัทบรรพชาในศาสนาของพระชินเจ้าครบ ๔ เหล่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงขันธกะนี้ไว้ เพื่อประโยชน์ให้เกิดความสังเวชและความ เจริญแห่งพระสัทธรรม เหมือนเภสัชสำหรับระงับความกระวนกระวาย ฉะนั้น แม้มาตุคามเหล่าอื่นที่ทรงฝึกแล้วในพระสัทธรรมอย่างนี้ พวกเขาย่อมไปสู่ สถานอันไม่จุติ ซึ่งไปแล้วไม่เศร้าโศกแล.

หัวข้อประจำขันธกะ จบ