พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปัญจสติกขันธกะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 มี.ค. 2565
หมายเลข  42848
อ่าน  1,215

[เล่มที่ 9] พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก

เล่ม ๗

จุลวรรค ทุติยภาค

ปัญจสติกขันธกะ

เรื่องพระมหากัสสปเถระ (ทําสังคายนา) 614/509

สมมติภิกษุ ๕๐๐ รูป 615/510

ญัตติทุติยกรรมวาจา 511

เรื่องปฏิสังขรณ์เสนาสนะชํารุด 616/511

พระอานนท์สําเร็จพระอรหัต 617/512

พระอุบาลีวิสัชนาพระวินัย 618/512

ญัตติกรรมวาจา 512

พระอานนท์วิสัชนาพระธรรม 619/514

ญัตติกรรมวาจา 515

เรื่องสิกขาบทเล็กน้อย 620/516

เรื่องไม่บัญญัติและไม่ถอนพระบัญญัติ 621/517

ญัตติทุติยกรรมวาจา 517

ปรับอาบัติทุกกฏแก่พระอานนท์ 622/518

เรื่องพระปุราณเถระ 623/520

เรื่องพระเจ้าอุเทน 625/522

ลงพรหมทัณฑ์ 627/524

หัวข้อประจําขันธกะ 629/526


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 9]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 509

ปัญจสติกขันธกะ

เรื่องพระมหากัสสปเถระ

สังคายนาปรารภคำของพระสุภัททวุฑฒบรรพชิต

[๖๑๔] ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปชี้แจงแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ท่าน ทั้งหลาย ครั้งหนึ่ง เราออกจากเมืองปาวาเดินทางไกล ไปเมืองกุสินารากับ ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ครั้งนั้น เราแวะจากทาง นั่งพักอยู่ที่ โคนไม้แห่งหนึ่ง อาชีวกผู้หนึ่ง ถือดอกมณฑารพในเมืองกุสินาราเดินทางไกล มาสู่เมืองปาวา เราได้เห็นอาชีวกนั้นเดินมาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้ถามอาชีวก นั้นว่า ท่านทราบข่าวพระศากของเราบ้างหรือ อาชีวกตอบว่า ท่านขอรับ ผมทราบ พระสมณโคดมปรินิพพานได้ ๗ วันทั้งวันนี้แล้ว ดอกมณฑารพนี้ ผมถือมาจากที่ปรินิพพานนั้น บรรดาภิกษุเหล่านั้น ท่านที่ยังไม่ปราศจากราคะ บางพวกประคองแขนคร่ำครวญดุจมีเท้าขาดล้มลงกลิ้งเกลือกไปมารำพันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานเร็วนัก พระสุคตเสด็จปรินิพพานเร็วนัก ดวงตาหายไปจากโลกเร็วนัก ส่วนพวกที่ปราศจากราคะแล้ว มีสติสัมปชัญญะ ย่อมอดกลั้นได้ ด้วยคิดว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สิ่งที่เที่ยงนั้น จะได้ใน สังขารนี้แต่ไหนเล่า ท่านทั้งหลาย ครั้งนั้น เราได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า อย่าเลยท่านทั้งหลาย อย่าโศกเศร้าร่ำไรเลย นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส บอกไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือว่า ความนั้นต่าง ความเว้น ความเป็นอย่างอื่น จากสัตว์และสังขารที่รักที่ชอบใจทั้งปวงทีเดียวย่อมมี สิ่งที่เพียงนั้นจะได้ใน สังขารนั้นแค่ไหน สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว เป็นปัจจัยปรุงแต่งแล้วต้องมีความ แตกสลายเป็นธรรมดา ข้อที่จะปรารถนาว่า สิ่งนั้นอย่าได้สายเลย นี้ไม่เป็น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 510

ฐานะที่มีได้ ครั้งนั้น พระสุภัททวุฑฒบรรพชิต นั่งอยู่ในบริษัทนั่น เธอได้ กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า พอเถิด ท่านทั้งหลาย อย่าโศกเศร้าร่ำไรไปเลย พวก เราพ้นไปดีแล้วจากพระมหาสมณะนั้น ด้วยว่าพวกเราถูกเบียดเบียนว่า สิ่งนี้ ควรแก่พวกเธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่พวกเธอ ก็บัดนี้ พวกเราปรารถนาจะทำสิ่งใด ก็ทำสิ่งนั้นได้ ไม่ปรารถนานำจักทำสิ่งใด ก็ไม่ทำสิ่งนั้น เอาเถิด ท่านทั้งหลาย พวกเราจงสังคายนาพระธรรมและพระวินัยเถิด ในภายหน้าสภาวะมิใช่ธรรมจัก รุ่งเรือง ธรรมจักเสื่อมถอย สภาวะมิใช่วินัยจักรุ่งเรือง วินัยจักเสื่อมถอย ภายหน้าอธรรมวาทีบุคคลจะมีกำลัง ธรรมวาทีบุคคลจักเสื่อม อวินยวาที บุคคลจักมีกำลัง วินัยวาทีบุคคลจักเสื่อมกำลัง.

สมมติภิกษุ ๕๐๐ รูป

[๖๑๕] ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ถ้ากระนั้น ขอพระเถระ จงคัดเลือก ภิกษุทั้งหลายเถิดขอรับ ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสป จึงคัดเลือกพระอรหันต์ ได้ ๕๐๐ รูป หย่อนอยู่องค์หนึ่ง ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกะท่านพระมหากัสสป ว่า ท่านเจ้าข้า ท่านพระอานนท์นี้ยังเป็นเสกขบุคคลอยู่ก็จริง แต่ไม่ลุอำนาจ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติและท่านได้เรียนพระธรรมและพระวินัย เป็นอันมากในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุนั้น ขอพระเถระจงคัดเลือก ท่านพระอานนท์เข้าด้วยเถิด ลำดับนั้นพระมหากัสสปจึงคัดเลือกท่านพระอานนท์เข้าด้วย จึงพระเถระทั้งหลายปรึกษากันว่า พวกเราจักสังคายนาพระ - ธรรมและพระวินัยที่ไหนดีหนอ ครั้นแล้วเห็นพร้อมกันว่า พระนครราชคฤห์ มี โคตรคามมาก มีเสนาสนะเพียงพอ สมควรแท้ที่พวกเราจะอยู่จำพรรษาใน พระนครราชคฤห์ สังคายนาพระธรรมและพระวินัย ภิกษุพวกอื่นไม่ควรเข้า จำพรรษาในพระนครราชคฤห์

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 511

ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม วาจา ว่าดังนี้ :-

ญัตติทุติยกรรมวาจา

ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์งที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ให้จำพรรษาในพระ - นครราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมและพระวินัย ภิกษุพวกอื่นไม่ พึงจำพรรษาในพระนครราชคฤห์ นี้เป็นต้น

ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ให้จำพรรษาในพระนครราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรม และพระวินัย ภิกษุพวกอื่นไม่พึงจำพรรษาในพระนครราชคฤห์ การ สมมติภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ให้จำพรรษาในพระนครราชคฤห์ เพื่อ สังคายนาพระธรรมและพระวินัย ภิกษุพวกอื่นไม่พึงจำพรรษาใน พระนครราชคฤห์ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

สงฆ์สมมติภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ให้จำพรรษาในพระนครราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมและพระวินัย ภิกษุพวกอื่นไม่พึงจำพรรษา ในพระนครราชคฤห์ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง ความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

เรื่องปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรม

[๖๑๖] ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลายได้ไปพระนครราชคฤห์ เพื่อ สังคายนาพระธรรมและพระวินัย แล้วปรึกษากันว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มี

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 512

พระภาคเจ้าทรงสรรเสริญการปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมไว้ ถ้ากระไร พวกเราจักปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมในเดือนต้น แล้วจักประชุม สังคายนาพระธรรมและพระวินัยในเดือนท่ามกลาง ครั้งนั้น พระเถระได้ ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมในเดือนต้น.

พระอานนท์สำเร็จพระอรหัต

[๖๑๗] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์คิดว่า พรุ่งนี้เป็นวันประชุม ข้อ ที่เรายังเป็นเสกขบุคคลอยู่จะพึงไปสู่ที่ประชุมนั้น ไม่ควรแก่เรา จึงยังราตรี เป็นส่วนมากให้ล่วงไปด้วยกายคตาสติ ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรีจึงเอนกายด้วย ตั้งใจว่า จักนอน แต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอนและเท้ายังไม้ทันพ้นจากพื้น ใน ระหว่างนั้น จิตได้หลุดพ้นจากอาสวะ. เพราะไม่ถือมั่น ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เป็นพระอรหันต์ได้ไปสู่ที่ประชุม.

พระอุบาลีวิสัชนาพระวินัย

[๖๑๘] ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ- กรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ญัตติกรรมวาจา

ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าจะพึงถามพระวินัยกะพระอุบาลี.

ท่านพระอุบาลี ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 513

ญัตติกรรมวาจา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าอันท่านพระมหากัสสปถามพระวินัยแล้วจะ พึงวิสัชนา.

ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปได้ถามท่านพระอุบาลีว่า ท่านอุบาลี ปฐมปาราชิกสิกขาบท พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติที่ไหน.

อุ. ในเมืองเวสาลี ขอรับ

ม. ทรงปรารภใคร

อุ. ทรงปรารภพระสุทิน กลันทบุตร

ม. ในเพราะเรื่องอะไร

อุ. ในเพราะเมถุนธรรม.

ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสปถามวัตถุ นิทาน บุคคล บัญญัติ อนุบัญญัติ อาบัติ อนาบัติ แห่งปฐมปาราชิกสิกขาบทกะท่านพระอุบาลี แล้ว ถามต่อไปว่า ทุติยปาราชิกสิกขาบท พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติที่ไหน.

อุ. ในพระนครราชคฤห์ ขอรับ

ม. ทรงปรารภใคร

อุ. ทรงปรารภพระธนิยะ กุมภการบุตร

ม. ในเพราะเรื่องอะไร

อุ. ในเพราะอทินนาทาน.

ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสปถามวัตถุ นิทาน บุคคล บัญญัติ อนุบัญญัติ อาบัติ อนาบัติ แห่งทุติยปาราชิกสิกขาบทกะท่านพระอุบาลี แล้ว

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 514

ถามต่อไปว่า ท่านพระอุบาลี ตติยปาราชิกสิกขาบท พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง บัญญัติที่ไหน.

อุ. ในพระนครเวสาลี ขอรับ

ม. ทรงปรารภใคร

อุ. ทรงปรารภภิกษุมากรูปด้วยกัน

ม. ในเพราะเรื่องอะไร

อุ. ในเพราะมนุสสวิคคหะ.

ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสปถามวัตถุ นิทาน บุคคล บัญญติ อนุบัญญัติ อาบัติ อนาบัติ แห่งตติยปาราชิกสิกขาบทกะท่านพระอุบาลี แล้ว ถามต่อไปว่า จตุทถปาราชิกสิกขาบท พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติที่ไหน.

อุ. ในพระนครเวสาลี ขอรับ

ม. ทรงปรารภใคร

อุ. ทรงปรารภพวกภิกษุจำพรรษาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา

ม. ในเพราะเรื่องอะไร

อุ. ในเพราะอุตริมนุสธรรม.

ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสปถามวัตถุ นิทาน บุคคล บัญญัติ อนุบัญญัติ อาบัติ อนาบัติ แห่งจตุตถปาราชิกสิกขาบทกะท่านพระอุบาลี แล้ว ถามอุภโตวินัยโดยอุบายนั้นแล ท่านพระอุบาลีผู้อันท่านพระมหากัสสปถามแล้ว ถามแล้ว ได้วิสัชนาแล้ว.

พระอานนท์วิสัชนาพระธรรม

[๖๑๙] ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ- กรรมวาจา ว่าดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 515

ญัตติกรรมวาจา

ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าจะพึงถามกรรมกะท่านพระอานนท์.

ท่านพระอานนท์ ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ญัตติกรรมวาจา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าอันท่านพระมหากัสสปถามธรรมแล้วจะพึง วิสัชนา.

ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปถามท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ พรหมชาลสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสที่ไหน.

อา. ตรัสในพระตำหนักในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกาในระหว่างกรุง ราชคฤห์ และเมืองนาลันทาต่อกัน ขอรับ

ม. ทรงปรารภใคร

อา. ทรงปรารภสุปปิยปริพาชก และพรหมทัตตมาณพ.

ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปได้ถามนิทาน และบุคคลแห่งพรหม ชาลสูตรกะท่านพระอานนท์ แล้วถามต่อไปว่า ท่านอานนท์ สามัญญผลสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสที่ไหน.

อา. ที่วิหารชีวกัมพวัน เขตกรุงราชคฤห์ ขอรับ

ม. ตรัสกับใคร

อา. กับพระเจ้าอชาตสัตตุ เวเทหิบุตร.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 516

ลำดับนั้นท่านพระมหากัสสป ถามนิทาน และบุคคลแห่งสามัญญผลสูตรกะท่านพระอานนท์ แล้วถามตลอดนิกาย ๕ โดยอุบายนั้นแล ท่านพระ อานนท์ผู้อันท่านพระมหากัสสปถามแล้ว ถามแล้ว ได้วิสัชนาแล้ว.

เรื่องสิกขาบทเล็กน้อย

[๖๒๐] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้ชี้แจงต่อพระเถระทั้งหลายว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อจวนจะปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะข้าพเจ้าว่า ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราล่วงไป สงฆ์หวังอยู่จะพึงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียก็ได้ พระเถระทั้งหลายถามว่า ท่านพระอานนท์ ก็ท่านทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือเปล่าว่า พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบทเหล่าไหน เป็นสิกขาบทเล็กน้อย ท่าน พระอานนท์ตอบว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็สิกขาบทเหล่าไหน เป็นสิกขาบทเล็กน้อย.

พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ นอกนั้นเป็น สิกขาบทเล็กน้อย.

พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้น สังฆาทิเสส ๑๓ นอกนั้นเป็นสิกขาบทเล็กน้อย.

พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓ เว้นอนิยต ๒ นอกนั้น เป็นสิกขาบทเล็กน้อย.

พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้น สังฆาทิเสส ๑๓ เว้นอนิยต ๒ เว้นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ นอกนั้น เป็นสิกขาบทเล็กน้อย.

พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้น สังฆาทิเสส ๑๓ เว้นอนิยต ๒ เว้นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ เว้นปาจิตตีย์ ๙๒ นอกนั้นเป็น สิกขาบทเล็กน้อย.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 517

พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓ เว้นอนิยต ๒ เว้นนิสสัคคิย์ปาจิตตีย์ ๓๐ เว้นปาจิตตีย์ ๙๒ เว้นปาฎิเทสนียะ ๔ นอกนั้นเป็นสิกขาบทเล็กน้อย.

เรื่องไม่บัญญัติและไม่ถอนพระบัญญัติ

[๖๒๑] ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ- ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ญัตติทุติยกรรมวาจา

ท่านทั้งหลายขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขาบทของพวกเราที่ ปรากฏแก่คฤหัสถ์มีอยู่ แม้พวกคฤหัสถ์ก็รู้ว่า สิ่งนี้ควรแก่พระสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตร สิ่งนี้ไม่ควร ถ้าพวกเราจักถอนสิกขาบท เล็กน้อยเสีย จักมีผู้กล่าวว่า พระสมณะโคดมบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก ทั้งหลายเป็นกาลชั่วคราว พระศาสดาของพระสมณะเหล่านี้ยังดำรง อยู่ตราบใด สาวกเหล่านี้ยังศึกษาในสิกขาบททั้งหลายตราบนั้น เพราะ เหตุที่พระศาสดาของพระสมณะเหล่านี้ปรินิพพานแล้ว พระสมณะ เหล่านี้จึงไม่ศึกษาในสิกขาบททั้งหลายในบัดนี้ ถ้าความพร้อมพรั่ง ของสงฆถึงที่แล้ว สงฆ์ไม่พึงบัญญัติสิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติ ไม่พึงถอน พระบัญญัติที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว พึงสมาทานประพฤติ ในสิกขาบท ทั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติแล้ว นี้เป็นญัตติ.

ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขาบทของพวกเราที่ ปรากฏแก่คฤหัสถ์มีอยู่ แม้พวกคฤหัสถ์ก็รู้ว่า สิ่งนี้ควรแก่พระสมณะ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 518

เชื้อสายพระศากยบุตร สิ่งนี้ไม่ควร ถ้าพวกเราจักถอนสิกขาบท เล็กน้อยเสีย จักมีผู้กล่าวว่า พระสมณโคดมบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก ทั้งหลายเป็นกาลชั่วคราว พระศาสดาของพระสมณะเหล่านี้ยังดำรง อยู่ตราบใด สาวกเหล่านี้ยังศึกษาในสิกขาบททั้งหลายตราบนั้น เพราะเหตุที่พระศาสดาของพระสมณะเหล่านี้ปรินิพพานแล้ว พระสมณะเหล่านี้จึงไม่ศึกษาในสิกขาบททั้งหลายในบัดนี้ สงฆ์ไม่บัญญัติ สิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติ ไม่ถอนพระบัญญัติที่ทรงบัญญัติแล้ว สมาทาน ประพฤติในสิกขาบททั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว การไม่บัญญัติ สิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติ ไม่ถอนพระบัญญัติที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว สมาทาน ประพฤติในสิกขาบททั้งหลายตามทั้งทรงบัญญัติแล้ว ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด.

สงฆ์ไม่บัญญัติสิ่งที่ทรงบัญญัติ ไม่ถอนพระบัญญัติตามที่ทรง บัญญัติแล้ว สมาทานประพฤติในสิกขาบททั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติ แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

ปรับอาบัติทุกกฏแก่พระอานนท์

[๖๒๒] ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลายได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ ข้อที่ท่านไม่ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ สิกขาบทเหล่าไหน เป็นสิกขาบทเล็กน้อย นี่เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจง แสดงอาบัติทุกกฏนั้น.

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า เพราะระลึกไม่ได้ ข้าพเจ้าจึง มิได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบทเหล่าไหน เป็น

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 519

สิกขาบทเล็กน้อย ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุที่ไม่ได้ทูลถามนั้น ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่ เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัติทุกกฏนั้น.

พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านพระอานนท์ ข้อที่ท่านเหยียบ ผ้าวัสสิกสาฎกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเย็บ แม้นี้ก็เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่าน จงแสดงอาบัติทุกกฏนั้น.

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าเหยียบผ้าวัสสิกสาฎกของ พระผู้มีพระภาคเจ้าเย็บโดยมิได้เคารพก็หามิได้ ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุที่เหยียบนั้น ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัติทุกกฏ นั้น.

พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านพระอานนท์ ข้อที่ท่านให้มาตุคาม ถวายบังคมพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน พระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าเปื้อนน้ำตาของพวกนางผู้ร้องไห้อยู่ แม้นี้ก็เป็นอาบัติทุกกฏนั้น.

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าคิดว่ามาตุคามเหล่านี้ อย่าได้อยู่จนเวลาพลบค่ำ จึงให้พวกมาตุคามถวายบังคมพระสรีระของพระผู้มี พระภาคเจ้าก่อน ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุที่ให้มาตุคามถวายบังคมพระสรีระของ พระผู้มีภาคเจ้านั้น ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้า ยอมแสดงอาบัตินั้น.

พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านพระอานนท์ ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำนิมิตอันหยาบ ทรงทำโอกาสอันหยาบอยู่ ท่านไม่ทูลอ้อนวอน พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงดำรงอยู่ ตลอดกัป ขอ พระสุคตจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 520

แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดง อาบัติทุกกฏนั้น.

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกมารดลใจ จึงไม่ได้ ทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำรงอยู่ตลอด กัป ขอพระสุคตจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความ สุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่สัตวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อ ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุนั้นว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัติทุกกฏนั้น.

พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านอานนท์ ข้อที่ท่านได้ทำการ ขวนขวายให้มาตุคามบวชในพระธรรมวินัย ที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว แม้ นี้ก็เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติทุกกฏนั้น.

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าทำการขวนขวายให้ มาตุคามบวชในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้วด้วยคิดว่าพระนาง มหาปชาบดีโคตมีนี้ เป็นพระเจ้าแม่น้ำของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ประคับ ประคอง เลี้ยงดูทรงประทานขีรธาราแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพระพุทธมารดาทิวงคต ได้ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เสวยถัญญธารา ข้าพเจ้าไม่เห็น เหตุนั้นว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบท ทุกกฏนั้น.

เรื่องพระปุราณเถระ

[๖๒๓] สมัยนั้น ท่านพระปุราณะเที่ยวจาริกในชนบททักขิณาคิรี พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป คราวเมื่อพระเถระทั้งหลาย สังคายนาพระธรรมและพระวินัยเสร็จแล้ว ได้พักอยู่ในชนบททักขิณาคิรีตาม

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 521

เถราภิรมย์ แล้วเข้าไปหาพระเถระทั้งหลาย ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นสถาน ที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ แล้วได้กล่าวสัมโมทนียะ กับพระเถระทั้งหลายแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระเถระทั้งหลายได้กล่าวกะ ท่านพระปุราณะผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ท่านปุราณะ พระเถระทั้งหลาย ได้สังคายนาพระธรรมและพระวินัยแล้ว ท่านจงรับรู้พระธรรมและพระวินัยนั้น ที่พระเถระทั้งหลายสังคายนาแล้ว.

ท่านพระปุราณะกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย พระเถระทั้งหลาย สังคายนา พระธรรมและพระวินัยเรียบร้อยแล้วหรือ แต่ว่า ข้าพเจ้าได้ฟัง ได้รับมา เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประการใด จักทรงไว้ด้วยประการนั้น

[๖๒๔] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะพระเถระทั้งหลายว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อจวนเสด็จปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะข้าพเจ้าอย่างนี้ ว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เมื่อเราล่วงไปแล้ว สงฆ์จงลงพรหมทัณฑ์แก่ แก่ภิกษุฉันนะ.

พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า ท่านอานนท์ ท่านทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าหรือว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็พรหมทัณฑ์เป็นอย่างไร

พระอานนท์ตอบว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วว่า พรหมทัณฑ์เป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุฉันนะพึงพูดตามปรารถนา ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงว่ากล่าว ไม่พึงสั่งสอน ไม่พึงพร่ำสอนภิกษุฉันนะ.

ท่านพระเถระทั้งหลายกล่าวว่า ท่านอานนท์ ถ้าเช่นนั้น ท่านนั้น แหละจงลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 522

พระอานนท์ปรึกษาว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าจะลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะได้อย่างไร เพราะเธอดุร้าย หยาบคาย.

พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า ท่านอานนท์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไปกับ ภิกษุหลายๆ รูป ท่านพระอานนท์รับเถระบัญชาแล้วโดยสารเรือไป พร้อม กับภิกษุหมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ถึงเมืองโกสัมพี ลงจากเรือแล้วได้นั่ง ณ โคนไม้แห่งหนึ่งใกล้พระราชอุทยานของพระเจ้าอุเทน.

เรื่องพระเจ้าอุเทน

[๖๒๕] ครั้งนั้น พระเจ้าอุเทนกับพระมเหสี ประทับอยู่ในพระราชอุทยานพร้อมด้วยข้าราชบริพาร พระมเหสีของพระเจ้าอุเทนได้สดับข่าวว่า พระคุณเจ้าอานนท์ อาจารย์ของพวกเรา นั่งอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่งใกล้พระราชอุทยานจึงกราบทูลพระเจ้าอุเทนว่า ขอเดชะ ข่าวว่า พระคุณเจ้าอานนท์ อาจารย์ของพวกหม่อมฉัน นั่งอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่งใกล้พระราชอุทยาน พวก หม่อมฉันปรารถนาจะไปเยี่ยมพระคุณเจ้าอานนท์ พระเจ้าข้า พระเจ้าอุเทน ตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงเยี่ยมพระสมณะอานนท์เถิด

ลำดับนั้น พระมเหสีของพระเจ้าอุเทน ได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วถวายอภิวาท นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ชี้แจงให้พระ มเหสีของพระเจ้าอุเทนผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เห็นแจ้า สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา.

ครั้งนั้น พระมเหสีของพระเจ้าอุเทนอันท่านพระอานนท์ชี้แจงให้เห็น แจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้วได้ถวายผ้าห่ม ๕๐๐ ผืน แก่ท่านพระอานนท์ ครั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระอานนท์แล้วลุกจาก อาสนะถวายอภิวาท ทำประทักษิณ แล้วเข้าไปเฝ้าพระเจ้าอุเทน.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 523

[๖๒๖] ครั้งนั้น พระเจ้าอุเทนได้ทอดพระเนตรเห็นพระมเหสีเสด็จ มาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามว่า พวกเธอเยี่ยมพระสมณะอานนท์ แล้วหรือ

พระมเหสีกราบทูลว่า พวกหม่อมฉันได้เยี่ยมพระคุณเจ้าอานนท์แล้ว พระเจ้าข้า

อุ. พวกเธอได้ถวายอะไร แก่พระสมณะอานนท์บ้าง

ร. พวกหม่อมฉันได้ถวายผ้าห่ม ๕๐๐ ผืน แก่พระคุณเจ้าอานนท์ พระเจ้าข้า

พระเจ้าอุเทนทรงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะอานนท์จึงรับจีวรมากถึงเพียงนั้น พระสมณะอานนท์จักทำการค้าขายผ้า หรือ จักตั้งร้านค้า แล้วเสด็จเข้าไปหาท่านพระอานนท์ ทรงปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง แล้วตรัสถามว่า ท่านพระอานนท์ มเหสีของข้าพเจ้ามาหาหรือ

อา. พระมเหสีของพระองค์มาหา มหาบพิตร

อุ. ก็พระนางได้ถวายอะไร แก่ท่านพระอานนท์บ้าง

อา. ได้ถวายผ้าห่มแก่อาตมภาพ ๕๐๐ ผืน มหาบพิตร

อุ. ก็ท่านพระอานนท์จักทำอะไรกะจีวรมากมายเพียงนั้น

อา. อาตมภาพจักแจกให้แก่ภิกษุทั้งหลาย ที่มีจีวรคร่ำคร่า มหาบพิตร

อุ. ท่านพระอานนท์ ก็ท่านจักทำอย่างไรกะจีวรที่เก่าคร่ำเหล่านั้น ต่อไป

อา. อาตมภาพจักทำผ้าเหล่านั้น ให้เป็นผ้าดาดเพดาน มหาบพิตร

อุ. ท่านพระอานนท์ ท่านจักทำอย่างไรกะผ้าดาดเพดานเก่าเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 524

อา. อาตมภาพจักทำผ้าเหล่านี้นั้นให้เป็นผ้าปูฟูก

อุ. ท่านพระอานนท์ ท่านจักทำอย่างไรกะผ้าปูฟูกที่เก่าเหล่านั้น

อา. อาตมภาพจักทำผ้าเหล่านั้นให้เป็นผ้าปูพื้น มหาบพิตร

อุ. ท่านพระอานนท์ ท่านจักทำอย่างไรกะผ้าปูพื้นที่เก่าเหล่านั้น

อา. อาตมภาพจักทำผ้าเหล่านั้นให้เป็นผ้าเช็ดเท้า มหาบพิตร

อุ. ท่านพระอานนท์ ท่านจักทำอย่างไรกะผ้าเช็ดเท้าที่เก่าเหล่านั้น

อา. อาตมภาพจักทำผ้าเหล่านั้นให้เม่นผ้าเช็ดธุลี มหาบพิตร

อุ. ท่านพระอานนท์ ท่านจักทำอย่างไรกะผ้าเช็ดธุลีที่เก่าเหล่านั้น

อา. อาตมภาพจักโขลกผ้าเหล่านั้น ขยำกับโคลนแล้วฉาบทาฝา มหาบพิตร

ครั้งนั้น พระเจ้าอุเทนทรงพระดำริว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรทั้งหลายนำผ้าไปแยบคายดี ไม่เก็บผ้าเช้าเรือนคลัง แล้วถวายผ้าจำนวน ๕๐๐ ผืน แม้อื่นอีกแก่ท่านพระอานนท์ ก็ในคราวนี้บริขารคือจีวรบังเกิดแก่ ท่านพระอานนท์เป็นครั้งแรก คือผ้า ๑,๐๐๐ ผืน เกิดขึ้นแล้ว.

ลงพรหมฑัณฑ์

[๖๒๗] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปยังวัดโฆสิตาราม ครั้นแล้ว นั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ท่านพระฉันนะเข้าไปหาท่านพระอานนท์อภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะท่านพระฉันนะผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ท่านฉันนะ สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์แก่ท่านแล้ว.

ฉ. ท่านพระอานนท์ ก็พรหมทัณฑ์เป็นอย่างไร

อา. ท่านฉันนะ ท่านปรารถนาจะพูดคำใด พึงพูดคำนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่พึงว่ากล่าว ไม่พึงตักเตือน ไม่พึงพร่ำสอนท่าน

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 525

ฉ. ท่านพระอานนท์ ด้วยเหตุเพียงที่ภิกษุทั้งหลายไม่ว่ากล่าว ไม่ตัก เตือน ไม่พร่ำสอนข้าพเจ้านี้ เป็นอันสงฆ์กำจัดข้าพเจ้าแล้วมิใช่หรือ แล้ว สลบล้มลง ณ ที่นั้นเอง

ต่อมา ท่านพระฉันนะ อึดอัด ระอา รังเกียจอยู่ด้วยพรหมทัณฑ์ จึงหลีกออกอยู่แต่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ ไม่นานเท่าไรนัก ได้ทำให้แจ้งซึ่งคุณพิเศษอันยอดเยี่ยม เป็นที่สุดพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกจากเรือนบวชโดยชอบต้องประสงค์ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองใน ปัจจุบันนี้แหละเข้าถึงอยู่แล้ว ได้รู้ชัดแล้วว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ แล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี

ก็แล ท่านพระฉันนะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง บรรดาพระอรหันต์ ทั้งหลาย ครั้นท่านพระฉันนะบรรลุพระอรหัตแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วกล่าวว่า ท่านพระอานนท์ ขอท่านจงระงับพรหมทัณฑ์แก่ผมในบัดนี้เถิด

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านฉันนะ เมื่อใด ท่านทำให้แจ้งซึ่ง พระอรหัตแล้ว เมื่อนั้นพรหมทัณฑ์ของท่านก็ระงับแล้ว.

[๖๒๘] ก็ในการสังคายนาพระวินัยนี้ มีภิกษุ ๕๐๐ รูป ไม่หย่อนไม่ เกิน เพราะฉะนั้น การสังคายนาพระวินัยครั้งนี้ บัณฑิตจึงเรียกว่า แจง ๕๐๐ ดังนี้แล.

ปัญจสติกขันธกะ ที่ ๑๑ จบ

ในขันธกะนี้มี ๒๓ เรื่อง

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 526

หัวข้อประจำขันธกะ

[๖๒๙] เรื่องเมื่อพระสัมพุทธปรินิพพานแล้ว พระเถระชื่อกัสสปผู้ รักษาพระสัทธรรม ได้ชี้แจงกะหมู่ภิกษุถึงถ้อยคำที่พระสุภัททะกล่าวหมิ่นพระธรรมวินัยเมื่อเดินทางไกลจากเมืองปาวา พวกเราจักสังคายนาพระสัทธรรม ใน ภายหน้าอธรรมจักรุ่งเรือง เรื่องเลือกสรรภิกษุ ๕๐๐ รูปหย่อนหนึ่ง เรื่องเลือก พระอานนท์ เรื่องอยู่ใกล้ถ้ำอันอุดมเพื่อทำสังคายนาพระธรรมวินัย เรื่องถาม วินัยกะพระอุบาลี เรื่องถามพระสูตรกะพระอานนท์ผู้ฉลาด เรื่องพระสาวกของ พระชินะเจ้าได้ทำสังคายนาพระไตรปิกฎ เรื่องอาบัติเล็กน้อยต่างๆ เรื่องปฏิบัติ ตามพระบัญญัติ เรื่องไม่ทูลถาม เรื่องเหยียบ เรื่องให้ไหว้ เรื่องไม่ทูลขอ เรืองให้มาตุคามบวช เรื่องข้าพเจ้ายอมรับอาบัติทุกกฏ เพราะเธอท่านทั้งหลาย เรื่องพระปุราณะ เรื่องพรหมทัณฑ์ เรื่องพระมเหสีกับพระเจ้าอุเทน เรื่องผ้า มาก เรื่องผ้าเก่า เรื่องผ้าดาดเพดาน เรื่องผ้าปูฟูก เรื่องผ้าลาดพื้น เรื่อง ผ้าเช็ดเท้า เรื่องผ้าเช็ดธุลี เรื่องผ้าขยำกับโคน เรื่องผ้า ๑,๐๐๐ ผืนเกิดแก่ พระอานนท์เป็นครั้งแรก เรื่องพระฉันนะถูกลงพรหมทัณฑ์ได้บรรลุสัจจะ ๔ พระเถระผู้เชี่ยวชาญ ๕๐๐ รูป ฉะนั้น จึงเรียกว่าแจง ๕๐๐.

หัวข้อประจำขันธกะ จบ