สัตตสติกขันธกะ
[เล่มที่ 9] พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒
พระวินัยปิฎก
เล่ม ๗
จุลวรรค ทุติยภาค
สัตตสติกขันธกะ
เรื่องพระวัชชีบุตรแสดงวัตถุ๑๐ ประการ 630/530
เครื่องเศร้าหมองของพระจันทร์พระอาทิตย์๔ อย่าง 634/532
เครื่องเศร้าหมองของสมณพราหมณ์๔ อย่าง 533
เรื่องนายบ้านชื่อมณีจูฬกะ 637/535
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร 638/537
เรื่องพระสัมภูตสาณวาสีเถระ 640/538
ปุจฉาวิสัชนาวัตถุ๑๐ ประการ 642/541
เรื่องพระสาฬหเถระปริวิตก 644/544
สงฆ์มุ่งวินิจฉัยอธิกรณ์ 646/547
เรื่องพระสัมภูตสาณวาสี 648/548
สมมติภิกษุเป็นพวกปราจีนและปาฐา 649/550
สมมติตนเป็นผู้ถามและผู้แก้ 651/552
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 9]
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 530
สัตตสติกขันธกะ
เรื่องพระวัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ
[๖๓๐] ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพาน ล่วงได้ ๑๐๐ ปี พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี แสดงวัตถุ ๑๐ ประการใน เมืองเวสาลี ว่าดังนี้ :-
๑. เก็บเกลือไว้ในเขนงฉัน ควร
๒. ฉันอาหารในเวลาบ่าย ล่วงสององคุลี ควร
๓. เข้าบ้านฉันอาหารเป็นอนติริตตะ ควร
๔. อาวาสมีสีมาเดียวกัน ทำอุโบสถต่างๆ กัน ควร
๕. เวลาทำสังฆกรรม ภิกษุมาไม่พร้อมกันทำก่อนได้ ภิกษุมาทีหลัง จึงบอกขอนุมัติ ควร
๖. การประพฤติตามอย่าง ที่อุปัชฌาย์และอาจารย์ประพฤติมาแล้วควร
๗. ฉันนมสดที่แปรแล้ว แต่ยังไม่เป็นนมส้ม ควร
๘. ดื่มสุราอ่อน ควร
๙. ใช้ผ้านิสีทนะไม่มีชาย ควร
๑๐. รับทองและเงิน ควร.
เรื่องพระยสกากัณฑกบุตร
[๖๓๑] สมัยนั้น ท่านพระยสกากัณฑกบุตรเที่ยวจาริกในวัชชีชนบท ถึงพระนครเวสาลี ข่าวว่า ท่านพระยสกากัณฑกบุตรพักอยู่ที่กูฎาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลีนั้น.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 531
[๖๓๒] สมัยนั้น พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี ถึงวันอุโบสถ เอาถาดทองสัมฤทธิ์ตักน้ำเต็มตั้งไว้ ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ กล่าวแนะนำอุบาสก อุบาสิกาชาวเมืองเวสาลี ที่มาประชุมกันอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงถวายรูปิยะ แก่สงฆ์ กหาปณะหนึ่งก็ได้ กึ่งกหาปณะก็ได้ บาทหนึ่งก็ได้ มาสกหนึ่งก็ได้ สงฆ์จักมีกรณียะด้วยบริขาร เมื่อพระวัชชีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระยสกากัณฑกบุตรจึงกล่าวกะอุบาสกอุบาสิกาชาวเมืองเวสาลีว่า ท่านทั้งหลาย พวก ท่านอย่าได้ถวายรูปิยะแก่สงฆ์ กหาปณะหนึ่งก็ตาม กึ่งกหาปณะก็ตาม บาทหนึ่ง ก็ตาม มาสกหนึ่งก็ตาม ทองและเงินไม่ควรแก่สมณะเชื้อสายพระศากยบุตร พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน พระสมณะเชื้อสาย พระศากยบุตรไม่รับทองและเงิน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร มีแก้ว และทองวางเสียแล้ว ปราศจากทองและเงิน อุบาสกอุบาสิกาชาวเมืองเวสาลี แม้อันท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ยังขืนถวายรูปิยะแก่สงฆ์ กหาปณะหนึ่งบ้าง กึ่งกหาปณะบ้าง บาทหนึ่งบ้าง มาสกหนึ่งบ้าง.
ครั้นล่วงราตรีนั้นแล้ว พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี ได้จัดส่วน แบ่งเงินนั้นตามจำนวนภิกษุแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระยสกากัณฑกบุตรว่า ท่าน พระยส เงินจำนวนนี้เป็นส่วนของท่าน ท่านพระยสกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย ฉันไม่มีส่วนเงิน ฉันไม่ยินดีเงิน.
[๖๓๓] ครั้งนั้น พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีกล่าวว่า ท่าน ทั้งหลาย พระยสกากัณฑกบุตรนี้ ด่า บริภาษ อุบาสกอุบาสิกา ผู้มีศรัทธา เลื่อมใส ทำให้เขาไม่เลื่อมใส เอาละ พวกเราจะลงปฎิสารณียกรรมแก่ท่าน แล้วได้ลงปฏิสารณียกรรมแก่พระยสกากัณฑกบุตรนั้น.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 532
ครั้งนั้น ท่านพระยสกากัณฑกบุตร ได้กล่าวกะพวกพระวัชชีบุตร ชาวเมืองเวสาลีว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า สงฆ์ พึงให้พระอนุทูตแก่ภิกษุผู้ถูกลงปฎิสารณียกรรม ขอพวกเธอจงให้พระอนุทูต แก่ฉัน จึงพวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีได้สมมติภิกษุรูปหนึ่งให้เป็นอนุทูต แก่ท่านพระยสกากัณฑกบุตร.
ต่อมา ท่านพระยสกากัณฑกบุตร พร้อมด้วยพระอนุทูตพากันเข้าไป สู่พระนครเวสาลี แล้วชี้แจงแก่อุบาสกอุบาสิกาชาวเมืองเวสาลีว่า อาตมาผู้ กล่าวสิ่งไม่เป็นธรรม ว่าไม่เป็นธรรม สิ่งเป็นธรรม ว่าเป็นธรรม สิ่งไม่ เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย สิ่งเป็นวินัย ว่าเป็นวินัย เขาหาว่า ด่า บริภาษท่าน อุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ทำให้ไม่เลื่อมใส.
เครื่องเศร้าหมองของพระจันทร์พระอาทิตย์ ๔ อย่าง
[๖๓๔] พระยสกากัณฑกบุตรกล่าวต่อไปว่า ท่านทั้งหลาย สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระจันทร์พระอาทิตย์เศร้าหมอง เพราะเครื่องเศร้าหมอง ๔ ประการนี้ จึงไม่แผดแสงไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง เครื่องเศร้าหมอง ๔ ประการ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
๑. พระจันทร์ พระอาทิตย์ เศร้าหมองเพราะเครื่องเศร้าหมอง คือ หมอก จึงไม่แผดแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง.
๒. พระจันทร์ พระอาทิตย์ เศร้าหมองเพราะเครื่องเศร้าหมอง คือ น้ำค้าง จึงไม่แผดแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 533
๓. พระจันทร์ พระอาทิตย์ เศร้าหมองเพราะเครื่องเศร้าหมอง คือ ละอองควัน จึงไม่แผดแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง.
๔. พระจันทร์ พระอาทิตย์ เศร้าหมองเพราะเครื่องเศร้าหมอง คือ อสุรินทราหู จึงไม่แผดแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระจันทร์ พระอาทิตย์ เศร้าหมองเพราะเครื่อง เศร้าหมอง ๔ ประการนี้แล จึงไม่แผดแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง ฉันใด
เครื่องเศร้าหมองของสมณพราหมณ์ ๔ อย่าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เศร้าหมองเพราะเครื่อง เศร้าหมอง ๔ ประการนี้ จึงไม่มีสง่า ไม่ผ่องใส ไม่ไพโรจน์ เครื่องเศร้าหมอง ๔ ประการ เป็นไฉน
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ดื่มสุรา ดื่มเมรัย ไม่งดเว้น จากการดื่มสุราเมรัย นี้เป็นเครื่องเศร้าหมองของสมณพราหมณ์ข้อที่ หนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งเศร้าหมอง ไม่มีสง่า ไม่ผ่องใส ไม่ไพโรจน์.
๒. อนึ่ง สมณพราหมณ์พวกหนึ่งเสพเมถุนธรรม ไม่งดเว้นจาก เมถุนธรรม นี้เป็นเครื่องเศร้าหมองของสมณพราหมณ์ข้อที่สอง ซึ่งเป็นเหตุ ให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เศร้าหมอง ไม่มีสง่า ไม่ผ่องใส ไม่ไพโรจน์.
๓. อนึ่ง สมณพราหมณ์พวกหนึ่งยินดีทองและเงิน ไม่งดเว้นจาก การรับทองและเงิน นี้เป็นเครื่องเศร้าหมองของสมณพราหมณ์ข้อที่สาม ซึ่ง เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เศร้าหมอง ไม่มีสง่า ไม่ผ่องใส ไม่ ไพโรจน์.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 534
๔. อนึ่ง สมณพราหนณ์พวกหนึ่งเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพ ไม่งดเว้น จากมิจฉาชีพ นี้เป็นเครื่องเศร้าหมองของสมณพราหมณ์ข้อที่สี่ ซึ่งเป็นเหตุให้ สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เศร้าหมอง ไม่มีสง่า ไม่ผ่องใส ไม่ไพโรจน์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งเศร้าหมองเพราะเครื่อง เศร้าหมอง ๔ ประการนี้แล จึงไม่มีสง่า ไม่ผ่องใส ไม่ไพโรจน์ ฉันนั้น ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ ครั้นแล้วพระสุคตผู้ศาสดาได้ ตรัสประพันธคาถามีเนื้อความ ว่าดังนี้ :-
[๖๓๕] สมณพราหมณ์เศร้าหมอง เพราะราคะและโทสะ เป็นคนอันอวิชชา หุ้มห่อ เพลิดเพลิน รูปที่น่ารัก เป็นคนไม่รู้ พวกหนึ่งดื่มสุราเมรัย พวกหนึ่งเสพเมถุน พวกหนึ่งยินดีเงินและทอง พวกหนึ่งเป็น อยู่โดยมิจฉาชีพ เครื่องเศร้าหมองเหล่านี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระราชาผู้ สูงศักดิ์ตรัสว่า เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์ พวกหนึ่งเศร้าหมอง ไม่มีสง่า ไม่ผ่องใส ไม่บริสุทธิ์ มีกิเลสธุลีดุจมฤค ถูกความมือ รัดรึง เป็นทาสตัณหา พร้อมด้วยกิเลส เครื่องนำไปสู่ภพ ย่อมเพิ่มพูนสถานทิ้ง ซากศพให้มาก ย่อมถือเอาภพใหม่ต่อไป.
[๖๓๖] ข้าพเจ้าผู้มีวาทะอย่างนี้กล่าวสิ่งไม่เป็นธรรม ว่าไม่เป็นธรรม สิ่งเป็นธรรม ว่าเป็นธรรม สิ่งไม่เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย สิ่งเป็นวินัย ว่า
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 535
เป็นวินัย เขาหาว่า ด่า บริภาษ อุบาสกอุบาสิกา ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ทำให้ ไม่เลื่อมใส.
เรื่องนายบ้านชื่อมณีจูฬกะ
[๖๓๗] ท่านทั้งหลาย สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อเก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ชนทั้งหลายนั่งประชุมกันในราชบริษัท ภายในราชสำนัก ได้ยาก ถ้อยคำนี้ขึ้นสนทนาในระหว่างว่า ทองและเงินย่อมควรแก่พระสมณะเชื้อสาย พระศากยบุตร พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรย่อมยินดีทองและเงิน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรย่อมรับทองและเงิน ก็คราวนั้น นายบ้านชื่อ มณีจูฬกะ นั่งอยู่ในบริษัทนั้นด้วย เขาได้กล่าวกะบริษัทนั้นว่า นาย พวกท่าน อย่าได้พูดอย่างนั้น ทองและเงินไม่ควรแก่พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน พระสมณะเชื้อสายพระ ศากยบุตรไม่รับทองและเงิน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรมีแก้วและทอง อันวางเสียแล้ว ปราศจากทองและเงิน นายบ้านชื่อมณีจูฬกะสามารถชี้แจงให้ บริษัทนั้นเข้าใจ ครั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ชน ทั้งหลายนั่งประชุมกันในราชบริษัทภายในราชสำนัก ได้ยกถ้อยคำนี้ขึ้นสนทนา ในระหว่างว่า ทองและ.เงินควรแก่พระสมณะเธอสายพระศากยบุตร พระสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตรยินดีทองและเงิน พระมณะเชื้อสายพระสากยบุตรรับ ทองและเงิน เมื่อชนทั้งหลายพูดอย่างนี้แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้พูดกะบริษัท นั้นว่า นาย พวกท่านอย่าได้พูดเช่นนี้ ทองและเงินไม่ควรแก่พระสมณะเชื้อสาย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 536
พระศากยบุตร พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน พระสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตรไม่รับทองและเงิน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรมี แก้วและทองอันวางเสียแล้ว ปราศจากทองและเงิน ข้าพระพุทธเจ้าสามารถ ชี้แจงให้บริษัทนั้นเข้าใจได้ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าพยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่ากล่าว คล้อยตามพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำเท็จ ชื่อว่าพยากรณ์ธรรมอันสมควรแก่ธรรม และสหธรรมิกบางรูป ผู้กล่าวตาม วาทะ ย่อมไม่ถึงฐานะที่ควรติเตียนหรือ พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เอาละ นายบา้น เธอพยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวคล้อยตามเรา ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่า พยากรณ์ธรรม สมควรแก่ธรรม และสหธรรมิกบางรูปผู้กล่าวตามวาทะย่อมไม่ถึงฐานะที่ควร ติเตียน ดูก่อนนายบ้าน ทองและเงินไม่ควรแก่สมณะเชื้อสายพระศากยบุตร โดยแท้ สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน สมณะเชื้อสายพระ ศากยบุตรไม่รับทองและเงิน สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรมีแก้วและทองอันวาง เสียแล้ว ปราศจากทองและเงิน ทองและเงินควรแก่ผู้ใด แม้กามคุณทั้งห้าก็ ควรแก่ผู้นั้น กามคุณทั้งห้าควรแก่ผู้ใด เธอพึงจำผู้นั้นไว้โดยส่วน เดียวว่า มี ปกติมิใช่สมณะ มีปกติมิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร เราจะกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ต้อง การหญ้า พึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้ พึงแสวงหาไม้ ผู้ต้องการเกวียน พึง แสวงหาเกวียน ผู้ต้องการบุรุษ พึงแสวงหาบุรุษ แต่เราไม่กล่าวโดยปริยาย ไรๆ ว่า สมณะพึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงิน.
ข้าพเจ้าผู้มีวาทะอย่างนี้ กล่าวสิ่งไม่เป็นธรรม ว่าไม่เป็นธรรม สิ่ง เป็นธรรมว่าเป็นธรรม สิ่งไม่เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย สิ่งเป็นวินัย ว่าเป็นวินัย เขาหาว่า ด่า บริภาษอุบาสกอุบาสิกา ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสทำให้ไม่เลื่อมใส.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 537
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๖๓๘] ท่านทั้งหลาย สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภท่าน พระอุปนันทศากยบุตร ทรงห้ามทองและเงิน และทรงบัญญัติสิกขาบทใน พระนครราชคฤห์นั้นแล ข้าพเจ้ามีวาทะอย่างนี้ กล่าวสิ่งไม่เป็นธรรม ว่าไม่ เป็นธรรม สิ่งเป็นธรรม ว่าเป็นธรรม สิ่งไม่เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย สิ่ง เป็นวินัย ว่าเป็นวินัย เขาหาว่า ด่า บริภาษ อุบาสกอุบาสิกา ผู้มีศรัทธา เลื่อมใส ทำให้ไม่เลื่อมใส.
เมื่อท่านพระยสกากัณฑกบุตร กล่าวอย่างนี้แล้ว อุบาสกอุบาสิกาชาว เมืองเวสาลีได้กล่าวกะท่านพระยสากัณฑกบุตรว่า ท่านเจ้าข้า พระคุณเจ้ายสกากัณฑกบุตรรูปเดียวเท่านั้น เป็นพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ภิกษุพวกนี้ ทั้งหมดไม่ใช่สมณะ ไม่ใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ท่านเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้า ยสกากัณฑกบุตรจงอยู่ในเมืองเวสาสี พวกข้าพเจ้าจักทำการขวนขวายเพื่อจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัสบริขาร แก่พระคุณเจ้ายสกากัณฑกบุตร.
ครั้งนั้น ท่านพระยสกากัณฑกบุตร ได้ชี้แจงให้อุบาสกอุบาสิกาชาว เมืองเวสาลีเข้าใจแล้ว ได้ไปอารามพร้อมกับพระอนุทูต.
ลงอุกเขปนียกรรม
[๖๓๙] ครั้งนั้น พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี ได้ถามพระอนุทูต ว่า คุณ พระยสกากัณฑกบุตร ขอโทษอุบาสกอุบาสิกาชาวเมืองเวสาลีแล้วหรือ.
พระอนุทูตตอบว่า ท่านทั้งหลาย อุบาสกอุบาสิกาทำความลามกให้ แก่พวกเรา ทำพระยสกากัณฑกบุตรรูปเดียวเท่านั้นให้เป็นสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ทำพวกเราทั้งหมดไม่ให้เป็นสมณะ ไม่ให้เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 538
ครั้งนั้น พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีปรึกษากันว่า ท่านทั้งหลาย พระยสกากัณฑกบุตรนี้ พวกเรามิได้สมมติ แต่ประกาศแก่พวกคฤหัสถ์ ถ้า เช่นนั้นพวกเราจะลงอุกเขปนียกรรมแก่เธอ พระวัชชีบุตรเหล่านั้น ปรารถนา จะลงอุกเขปนียกรรมแก่พระยสกากัณฑกบุตรนั้น จึงประชุมกันแล้ว.
ครั้งนั้น ท่านพระยสกากัณฑกบุตร เหาะสู่เวหาสไปปรากฏในเมือง โกสัมพี แล้วส่งทูตไป ณ สำนักภิกษุชาวเมืองปาฐา เมืองอวันตี และประเทศ ทักขิณาบถว่า ท่านทั้งหลายจงมาช่วยกันยกอธิกรณ์นี้ ต่อไปในภายหน้าสภาพ มิใช่ธรรมจักรุ่งเรือง ธรรมจักเสื่อมถอย สภาพมิใช่วินัยจักรุ่งเรือง วินัยจัก เสื่อมถอย ภายหน้าพวกอธรรมวาทีจักมีกำลัง พวกธรรมวาทีจักเสื่อมกำลัง พวกอวินยวาทีจักมีกำลัง พวกวินยวาทีจักเสื่อมกำลัง.
เรื่องพระสัมภูตสาณวาสีเถระ
[๖๔๐] สมัยนั้น ท่านพระสัมภูตสาณวาสี อาศัยอยู่ที่อโหคังคบรรพต ครั้งนั้น ท่านพระยสกากัณฑกบุตร เข้าไปหาท่านพระสัมภูตสาณวาสียังอโหคังคบรรพต อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ท่าน ผู้เจริญ พวกพระวัชชีบุตร ชาวเมืองเวสาลีพวกนี้ แสดงวัตถุ ๑๐ ประการ ใน เวสาลี ว่าดังนี้:-
๑. เก็บเกลือไว้ในเขนงฉัน ควร
๒. ฉันอาหารในเวลาบ่ายล่วงสององคุลี ควร
๓. เข้าบ้านฉัน อาหารเป็นอนติริตตะ ควร
๔. อาวาสมีสีมาเดียวกัน ทำอุโบสถต่างๆ กัน ควร
๕. เวลาทำสังฆกรรม ภิกษุมาไม่พร้อมกันทำก่อนได้ ภิกษุมาทีหลัง จึงบอกขออนุมัติ ควร
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 539
๖. การประพฤติตามอย่าง ที่อุปัชฌาย์และอาจารย์ประพฤติมาแล้ว ควร
๗. ฉันนมสดที่แปรแล้ว แต่ยังไม่เป็นนมส้ม ควร
๘. ดื่มสุราอ่อน ควร
๙. ใช้ผ้านิสีทนะไม่มีชาย ควร
๑๐. รับทองและเงิน ควร.
ถ้าเช่นนั้น พวกเราจงช่วยกันยกอธิกรณ์นี้ ภายหน้าสภาพมิใช่ ธรรมจักรุ่งเรือง ธรรมจักเสื่อมถอย สภาพมิใช่วินัยจักรุ่งเรือง วินัยจักเสื่อม ถอย ภายหน้าพวกอธรรมวาทีจักมีกำลัง พวกธรรมวาทีจักเสื่อมกำลัง พวก อวินยวาทีจักมีกำลัง พวกวินยวาทีจักเสื่อมกำลัง ท่านพระสัมภูตสาณวาสี รับคำพระยสกากัณฑกบุตรแล้ว.
ครั้งนั้น พวกภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ ๖๐ รูป ถืออยู่ป่าเป็น วัตรทั้งหมด ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรทั้งหมด ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรทั้งหมด ถือไตรจีวรเป็นวัตรทั้งหมด เป็นพระอรหันต์ทั้งหมด ประชุมกันที่อโหคังคบรรพต ภิกษุชาวเมืองอวันตีและประเทศทักษิณาบถประมาณ ๘๐ รูป บางพวก ถืออยู่ป่าเป็นวัตร บางพวกถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร บางพวกถือไตรจีวรเป็นวัตร เป็นอรหันต์ทั้งหมด ประชุมกันที่อโหคังคบรรพต.
เรื่องพระเรวตเถระ
[๖๔๑] ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลายกำลังปรึกษากัน ได้คิดว่าอธิกรณ์ นี้หยาบช้า กล้าแข็งนัก ไฉนหนอ พวกเราจักได้ฝักฝ่าย ที่เป็นเหตุให้มีกำลัง กว่าในอธิกรณ์นี้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 540
ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะอาศัยอยู่ในโสเรยยนคร เป็นพหูสูต ชำนาญ ในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม เป็น นักปราชญ์ มีความละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา
พระเถระทั้งหลาย คิดกันว่า ท่านพระเรวตะนี้แล อาศัยอยู่ใน โสเรยยนคร เป็นพหูสูต ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม เป็นนักปราชญ์ มีความละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ ต่อสิกขา ถ้าพวกเราได้ท่านพระเรวตะไว้เป็นฝักฝ่าย เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเรา จักมีกำลังกว่าในอธิกรณ์นี้.
ท่านพระเรวตะได้ยินถ้อยคำของพระเถระทั้งหลายปรึกษากันอยู่ด้วย ทิพโสตธาตุอันหมดจด ล่วงเสียซึ่งโสตธาตุแห่งมนุษย์ ครั้นแล้วจึงคิดว่า อธิกรณ์นี้แล หยาบช้า กล้าแข็ง ข้อที่เรา จะถอยในอธิกรณ์เห็นปานนั้นไม่ สมควรแก่เราเลย ก็แลบัดนี้ ภิกษุเหล่านั้นจักมาหา เราคลุกคลีกับพวกเธอ จักอยู่ไม่ผาสุก ถ้ากระไร เราควรไปเสียก่อน.
ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะ ได้ออกจากเมืองโสเรยยะไปสู่เมืองสังกัสสะ ทีนั้น พระเถระทั้งหลายได้ไปสู่เมืองโสเรยยะ. แล้วถามว่า ท่านพระเรวตะไป ไหน พวกเขาตอบอย่างนี้ว่า ท่านพระเรวตะนั้นไปเมืองสังกัสสะแล้ว ต่อมา ท่านพระเรวตะได้ออกจากเมืองสังกัสสะไปสู่เมืองกัณณกุชชะแล้ว พระเถระ ทั้งหลายพากันไปเมืองสังกัสสะ แล้วถามว่า ท่านพระเรวตะไปไหน พวกเขา ตอบอย่างนี้ว่า ท่านพระเรวตะนั้น ไปเมืองกัณณกุชชะแล้ว.
ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะได้ไปจากเมืองกัณณกุชชะ สู่เมืองอุทุมพร จึงพระเถระทั้งหลายพากันไปเมืองกัณณกุชชะ แล้วถามว่า ท่านพระเรวตะไป ไหน พวกเขาตอบอย่างนี้ว่า ท่านพระเรวตะนั้นไปเมืองอุทุมพร.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 541
ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะได้ไปจากเมืองอุทุมพรสู่เมืองลัคคฬปุระ จึง ท่านพระเถระทั้งหลายพากันไปเมืองอุทุมพร แล้วถามว่า ท่าพระเรวตะไปไหน พวกเขาตอบอย่างนี้ว่า ท่านพระเรวตะนั้นไปเมืองอิคคฬปุระ.
ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะได้ไปจากเมืองคัคคฬปุระ สู่สหชาตินคร พระเถระทั้งหลายพากันไปเมืองอัคคฬปุระ แล้วถามว่า ท่านพระเรวตะไปไหน พวกเขาตอบอย่างนี้ว่า ท่านพระเรวตะนั้นไปสหชาตินครแล้ว พระเถระทั้งหลาย ไปทันท่านพระเรวตะที่สหชาตินคร.
ปุจฉาวิสัชนาวัตถุ ๑๐ ประการ
[๖๔๒] ครั้งนั้น ท่านพระสมภูตสาณวาสี ได้กล่าวกะท่านพระยสกา. กัณฑกบุตรว่า ท่านพระเรวตะรูปนี้ เป็นพหูสูต ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม เป็นนักปราชญ์ มีความ ละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา ถ้าพวกเราจักถามปัญหากะท่านพระเรวตะ ท่านพระเรวตะสามารถจะยังราตรีทั้งสิ้น ให้ล่วงไป ด้วยปัญหาข้อเดียวเท่านั้น ก็แลบัดนี้ ท่านพระเรวตะจักเชิญพระอันเตวาสิกให้สวดสรภัญญะ ท่านนั้น เมื่อภิกษุรูปนั้น สวดสรภัญญะจบ พึงเข้าไปหาท่านพระเรวตะ แล้วถามวัตถุ ๑๐ ประการนี้ ท่านพระยสกากัณฑกบุตรรับคำของท่านพระสัมภูตสาณวาสีแล้ว ท่านพระเรวตะได้เชิญพระอันเตวาสิก ให้สวดสรภัญญะแล้ว ท่านพระยสกากัณฑกบุตร เมื่อภิกษุนั้นสวดสรภัญญะจบ ได้เข้าไปหาท่านพระเรวตะ อภิวาท นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วถามว่า สิงคิโสณกัปปะ ควรหรือ ขอรับ.
พระเรวตะย้อนถามว่า สิงคิโลณกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ
ย. คือการเก็บเกลือไว้ในเขนงโดยตั้งใจว่าจักปรุงในอาหารที่จืดฉัน ควรหรือไม่ ขอรับ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 542
ร. ไม่ควร ขอรับ.
ย. ทวังคุลกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ.
ร. ทวังคุลกัปปะนั้น คืออะไร.
ย. คือการฉันโภชนะในวิกาลเมื่อตะวันบ่ายล่วงแล้วสององคุลี ควร หรือไม่ ขอรับ.
ร. ไม่ควร ขอรับ.
ย. คามันตรกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ.
ร. คามันตรกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ.
ย. คือภิกษุฉันเสร็จ ห้ามภัตรแล้วคิดว่า จักเข้าละแวกบ้าน ในบัดนี้ ฉันโภชนะเป็นอนติริตตะ ควรหรือไม่ ขอรับ.
ร. ไม่ควร ขอรับ.
ย. อาวาสกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ.
ร. อาวาสกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ.
ย. คืออาวาสหลายแห่ง มีสีมาเดียวกัน ทำอุโบสถต่างกัน ควรหรือ ไม่ ขอรับ.
ร. ไม่ควร ขอรับ.
ย. อนุมติกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ.
ร. อนุมติกัปปะนั้น คออะไร ขอรับ.
ย. คือสงฆ์เป็นวรรคทำกรรม ด้วยตั้งใจว่า จักให้ภิกษุที่มาแล้ว อนุมัติ ควรหรือไม่ ขอรับ.
ร. ไม่ควร ขอรับ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 543
ย. อาจิณณกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ
ร. อาจิณณกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ
ย. คือการประพฤติวัตรด้วยเข้าใจว่า นี้พระอุปัชฌาย์ของเราเคยประพฤติมา นี้พระอาจารย์ของเราเคยประพฤติมา ควรหรือไม่ ขอรับ
ร. อาจิณณกัปปะ บางอย่างควร บางอย่างไม่ควร ขอรับ
ย. อมถิตกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ
ร. อมถิตกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ
ย. คือนมสดละความเป็นนมสดแล้ว ยังไม่ถึงความเป็นนมส้ม ภิกษุ ฉันเสร็จ ห้ามภัตรแล้ว จะดื่มนมนั้นอันเป็นอนติริตตะ ควรหรือไม่ ขอรับ
ร. ไม่ควร ขอรับ
ย. ดื่มชโลคิ ควรหรือไม่ ขอรับ
ร. ชโลคินั้น คืออะไร ขอรับ
ย. คือการดื่มสุราอย่างอ่อนที่ยังไม่ถึงความเป็นน้ำเมา ควรหรือไม่ ขอรับ
ร. ไม่ควร ขอรับ
ย. ผ้าปูนั่งไม่มีชาย ควรหรือไม่ ขอรับ
ร. ไม่ควร ขอรับ
ย. ทองและเงิน ควรหรือไม่ ขอรับ
ร. ไม่ควร ขอรับ
ย. ท่านเจ้าข้า พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีนี้แสดงวัตถุ ๑๐ ประการเหล่านี้ ในเมืองเวสาลี ท่านเจ้าข้า ถ้าเช่นนั้น พวกเราจงช่วยกันยก อธิกรณ์นี้ขึ้น ในภายหน้าสภาพที่มิใช่ธรรมจักรุ่งเรือง ธรรมจักเสื่อมถอย สภาพ ที่มิใช่วินัยจักรุ่งเรือง วินัยจักเสื่อมถอย ในภายหน้าพวกอธรรมวาทีจักมีกำลัง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 544
พวกธรรมวาทีจักเสื่อมกำลัง พวกอวินัยวาที จักมีกำลัง พวกวินัยวาทีจักเสื่อม กำลัง ท่านพระเรวตะรับคำท่านพระยสกากัณฑกบุตรแล้ว.
ปฐมภาณวาร จบ
[๖๔๓] พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีทราบข่าวว่า พระยสกากัณฑกบุตร ปรารถนาจักยกอธิกรณ์นี้ขึ้น กำลังแสวงหาฝักฝ่าย และข่าวว่า ได้ฝักฝ่ายจึงคิดต่อไปว่า อธิกรณ์นี้แล หยาบช้า กล้าแข็ง พวกเราจะพึงได้ ใครเป็นฝักฝ่ายซึ่งเป็นเหตุให้พวกเรามีกำลังกว่าในอธิกรณ์นี้หนอ แล้วคิดต่อ ไปว่า ท่านพระเรวตะนี้เป็นพหูสูต ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม เป็นนักปราชญ์ มีความละอาย มีความ รังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา ถ้าพวกเราได้ท่านพระเรวตะเป็นฝักฝ่าย เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเราจักมีกำลังกว่าในอธิกรณ์นี้
ครั้งนั้น พวกพระวัชชีบุตร ชาวเมืองเวสาลี จัดแจงสมณบริขารเป็น อันมาก คือ บาตรบ้าง จีวรบ้าง ผ้าปูนั่งบ้าง กล่องเข็มบ้าง ผ้ากายพันธ์ บ้าง ผ้ากรองน้ำบ้าง ธมกรกบ้าง แล้วขนสมณบริขารนั้นโดยสารเรือไปสู่ สหชาตินคร ขึ้นจากเรือแล้วพักผ่อนฉันภัตตาหารที่โคนไม้แห่งหนึ่ง.
เรื่องพระสาฬหเถระปริวิตก
[๖๔๔] ครั้งนั้น ท่านพระสาฬหะ หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความ ปริวิตกแห่งจิตขึ้นอย่างนี้ว่า ภิกษุพวกไหนหนอ เป็นธรรมวาที คือ พวก ปราจีนหรือพวกเมืองปาฐา เมื่อท่านกำลังพิจารณาธรรมและวินัยได้คิดต่อไปว่า ภิกษุพวกปราจีนเป็นอธรรมวาที ภิกษุ พวกเนืองปาฐาเป็นธรรมวาที ขณะนั้น
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 545
เทวดาผู้อยู่ในชั้นสุทธาวาสตนหนึ่ง ทราบความปริวิตกแห่งจิตของท่านพระสาฬหะ ด้วยจิตของตน ได้หายไปในเทวโลกชั้นสุทธาวาส มาปรากฏเฉพาะ หน้าท่านพระสาฬหะเหมือนบุรุษที่มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น แล้วได้เรียนท่านพระสาฬหะว่า ถูกแล้ว ชอบแล้ว ท่านพระสาฬหะ ภิกษุพวกปราจีนเป็นอธรรมวาที ภิกษุพวกเมืองปาฐาเป็นธรรมวาที ถ้าเช่นนั้น ท่านจงดำรงอยู่ตามธรรมเถิดขอรับ พระสาฬหะกล่าวว่า เทวดา เมื่อกาลก่อน แลบัดนี้ อาตมาดำรงอยู่ตามธรรมแล้ว ก็แต่ว่า อาตมายังทำความเห็นให้แจ่ม แจ้งไม่ได้ก่อนว่า แม้ไฉนสงฆ์พึงสมมติเราเข้าในอธิกรณ์นี้.
เรื่องพระอุตตรเถระ
[๖๔๕] ครั้งนั้น พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี ถือสมณบริขาร นั้นเข้าไปหาท่านเรวตะแล้วเรียนว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระเถระจงรับสมณบริขาร คือ บาตร จีวร ผ้าปูนั่ง กล่องเข็ม ผ้ากายพันธ์ ผ้ากรองน้ำ และธมกรก
พระเรวตะกล่าวว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลาย ไตรจีวรของเราบริบูรณ์ แล้ว ไม่ปรารถนารับ
สมัยนั้น ภิกษุชื่ออุตตระมีพรรษา ๒๐ เป็นอุปัฏฐากของท่านพระเรวตะ ครั้งนั้น พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีเข้าไปหาท่านพระอุตตระ แล้วบอก ว่า ขอท่านอุตตระจงรับสมณบริขาร คือ บาตร จีวร ผ้าปูนั่ง กล่องเข็ม ผ้ากายพันธ์ ผ้ากรองน้ำ และธมกรก
พระอุตตระกล่าวว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลาย ไตรจีวรของผมบริบูรณ์ แล้วไม่ปรารถนารับ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 546
พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีกล่าวว่า ท่านอุตตระ คนทั้งหลาย น้อมถวายสมณบริขารแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ พวกเขาย่อมดีใจเพราะการทรงรับนั้นแล ถ้าไม่ทรงรับ พวกเขาก็น้อมถวาย แด่ท่านพระอานนท์ด้วยเรียนว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระเถระจงรับสมณบริขาร สมณบริขารที่พระเถระรับนั้น จักเหมือนสมณบริขารที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง รับ ฉะนั้น ขอท่านพระอุตตระจงรับสมณบริขารเถิด สมณบริขารที่ท่านรับ นั้น จักเป็นเหมือนสมณบริขารที่พระเถระรับ ฉะนั้น
ครั้งนั้น ท่านพระอุตตระถูกพวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีแค่นไค้ อยู่ จึงรับจีวรผืนหนึ่งกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย ท่านพึงพูดสิ่งที่ท่านต้องการ
พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีกล่าวว่า ขอท่านพระอุตตระจงกล่าว คำเพียงเท่านี้กะพระเถระว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระเถระจงพูดคำมีประมาณเท่านี้ ในท่ามกลางสงฆ์ว่า พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเสด็จอุบัติ ในปุรัตถิมชนบท พวกพระชาวปราจีนเป็นธรรมวาที พวกพระชาวเมืองปาฐา เป็นอธรรมวาที
ท่านพระอุตตระ รับคำของพวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีแล้ว เข้า ไปหาท่านพระเรวตะ เรียนว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระเถระจงพูดคำมีประมาณ เท่านี้ในท่ามกลางสงฆ์ว่า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมเสด็จอุบัติใน ปุรัตถิมชนบท พวกพระชาวปราจีนเป็นธรรมวาที พวกพระชาวเมืองปาฐา เป็นอธรธมวาที
พระเถระกล่าวว่า ภิกษุ เธอชวนเราในอธรรมหรือ แล้วประณาม ท่านพระอุตตระ ครั้งนั้น พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีได้ถามท่านพระอุตตระว่า ท่านอุตตระ พระเถระพูดอย่างไร
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 547
พระอุตตระตอบว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราทำเลวทรามเสียแล้ว พระเถระกล่าวว่า ภิกษุ เธอชวนเราในอธรรมหรือ แล้วประณามเรา
ว. ท่านอุตตระ ท่านเป็นผู้ใหญ่ มีพรรษา ๒๐ มิใช่หรือ
อ. ถูกละ ขอรับ แต่ผมยังถือนิสัยในพระเถระ.
สงฆ์มุ่งวินิจฉัยอธิกรณ์
[๖๔๖] ครั้งนั้น สงฆ์ปรารถนาจะวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น ได้ประชุมกัน แล้ว ท่านพระเรวตะจึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้.
ญัตติกรรมวาจา
ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าพวกเราจักระงับ อธิกรณ์นี้ในที่นี้ บางทีจะมีพวกภิกษุผู้ถือมูลอธิกรณ์รื้อฟื้นขึ้นทำใหม่ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว อธิกรณ์นี้เกิดขึ้น ณ ที่ใด สงฆ์ พึงระงับอธิกรณ์นี้ในที่นั้น
ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลายได้พากันไปเมืองเวสาลี มุ่งวินิจฉัยอธิกรณ์ นั้น ครั้งนั้น พระสัพพกามีเป็นพระสงฆ์เถระทั่วแผ่นดิน มีพรรษา ๑๒๐ แต่ อุปสมบทเป็นสัทธิวิหาริกของท่านพระอานนท์อาศัยอยู่ในเมืองเวสาลี ท่าน พระเรวตะได้กล่าวกะท่านพระสัมภูตสาณวาสีว่า ท่าน ผมจะเข้าไปสู่วิหารที่ พระสัพพกามีเถระอยู่ ท่านพึงเข้าไปหาท่านพระสัพพกามีแต่เช้า แล้วเรียนถาม วัตถุ ๑๐ ประการนี้ ท่านพระสัมภูตสาณวาสีรับเถระบัญชาแล้ว ครั้งนั้น ท่าน พระเรวตะเข้าไปสู่วิหารที่พระสัพพกามีเถระอยู่ เสนาสนะของท่านพระสัพพกามีเขาจัดแจงไว้ในห้อง เสนาสนะของท่านพระเรวตะเขาจัดแจงไว้ที่หน้ามุขของ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 548
ห้อง ครั้นนั้น ท่านพระเรวตะคิดว่า พระผู้เฒ่านี้ยังไม่นอน จึงไม่สำเร็จการ นอน ท่านพระสัพพกามีคิดว่า พระอาคันตุกะรูปนี้เหนื่อยมา ยังไม่นอน จึงไม่ สำเร็จการนอน.
[๖๔๗] ครั้นถึงเวลาใกล้รุ่ง. แห่งราตรี ท่านพระสัพพกามีลุกขึ้น กล่าว กะท่านพระเรวตะว่า ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ท่านอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไรโดยมาก
ร. ท่านเจ้าข้า บัดนี้ ผมอยู่ด้วยเมตตาวิหารธรรมโดยมาก
ส. ได้ยินว่า บัดนี้ ท่านอยู่ด้วยวิหารธรรมตื้นๆ โดยมากวิหารธรรม ตื้นๆ นี้ คือเมตตา.
ร. ท่านเจ้าข้า แม้เมื่อก่อนครั้งผมเป็นคฤหัสถ์ได้อบรมเมตตามา เพราะฉะนั้น ถึงบัดนี้ ผมก็อยู่ด้วยเมตตาวิหารธรรมโดยมาก และผมได้บรรลุ พระอรหัตมานานแล้ว ท่านเจ้าข้า ก็บัดนี้พระเถระอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร โดยมาก
ส. ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ฉันอยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรมโดยมาก
ร. ท่านเจ้าข้า ได้ยินว่า บัดนี้ พระเถระอยู่ด้วยวิหารธรรมของพระ มหาบุรุษโดยมาก วิหารธรรมของพระมหาบุรุษนี้ คือ สุญญตสมาบัติ
ส. ท่านผู้เจริญ แม้เมื่อก่อนครั้งฉันเป็นคฤหัสถ์ ได้อบรนสุญญตสมาบัติมาแล้ว เพราะฉะนั้น บัดนี้ ฉันจึงอยู่ด้วยวิหารธรรม คือ สุญญตสมาบัติและฉันได้บรรลุพระอรหัตมานานแล้ว.
เรื่องพระสัมภูตสาณวาสีถาม
[๖๔๘] พระเถระทั้งสองสนทนากันมาโดยลำดับค้างอยู่เพียงเท่านี้ ครั้งนั้น. ท่านพระสัมภูตสาณวาสีมาถึงโดยลำดับจึงเข้าไปหาท่านพระสัพพกามี
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 549
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้เรียนถามว่า ท่านเจ้าข้า พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีนี้ แสดงวัตถุ ๑๐ ประการในเมืองเวสาลี ว่าดังนี้ :-
๑. สิงคิโลณกัปปะ ควร
๒. ทวังคุลกัปปะ ควร
๓. คามันตรกัปปะ ควร
๔. อาวาสกัปปะ ควร
๕. อนุมัติกัปปะ ควร
๖. อาจิณณกัปปะ ควร
๗. อมถิตกัปปะ ควร
๘. ดื่มชโลคิ ควร
๙. ผ้าปูนั่งไม่มีชาย ควร
๑๐. ทองและเงิน ควร
ท่านเจ้าข้า พระเถระได้ศึกษาพระธรรมและพระวินัยเป็นอันมากใน สำนักพระอุปัชฌายะ เมื่อพระเถระพิจารณาพระธรรมและพระวินัยอยู่เป็น อย่างไร ขอรับ ภิกษุพวกไหนเป็นธรรมวาที คือ พวกปราจีน หรือพวก เมืองปาฐา
พระสัพพกามีย้อนถามว่า ท่านได้ศึกษาพระธรรมและพระวินัยเป็นอัน มากในสำนักอุปัชฌายะ ก็เมื่อท่านพิจารณาพระธรรมและพระวินัยอยู่เป็น อย่างไร ขอรับ ภิกษุพวกไหนเป็นธรรมวาที คือ พวกปราจีน หรือพวกเมือง ปาฐา
พระสัมภูตะตอบว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อผมพิจารณาพระธรรมและพระวินัย เป็นอย่างนี้ ขอรับ ภิกษุพวกปราจีนเป็นอธรรมวาที ภิกษุพวกเมืองปาฐา
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 550
เป็นธรรมวาที แต่ว่าผมยังทำความเห็นให้แจ่มแจ้งไม่ได้ก่อนว่า แม้ไฉน สงฆ์ พึงสมมติผมเข้าในอธิกรณ์นี้
พระสัพพกามีกล่าวว่า แม้เมื่อผมพิจารณาพระธรรมและพระวินัยอยู่ก็ เป็นอย่างนี้ ขอรับ ภิกษุพวกปราจีนเป็นอธรรมวาที ภิกษุพวกเมืองปาฐาเป็น ธรรมวาที แต่ว่าผมยังทำความเห็นให้แจ่มแจ้งไม่ได้ก่อนว่า แม้ไฉน สงฆ์พึง สมมติผมเข้าในอธิกรณ์นี้.
สมมติภิกษุเป็นพวกปราจีนและปาฐา
[๖๔๙] ครั้งนั้น สงฆ์ประสงค์จะวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น จึงประชุมกัน ก็เมื่อสงฆ์กำลังวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น เสียงอื้อฉาวเกิดขึ้นไม่สิ้นสุด และไม่เข้าใจ ข้อความของถ้อยคำที่กล่าวแล้วสักข้อเดียว ท่านพระเรวตะจึงประกาศให้สงฆ์ ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-
ญัตติกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเราวินิจฉัยอธิกรณ์ นี้อยู่ เสียงอื้อฉาวเกิดขึ้นไม่สิ้นสุด. และไม่เข้าใจข้อความของถ้อยคำ ที่กล่าวแล้วสักข้อเดียว ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์ พึงระงับอธิกรณ์นี้ด้วยอุพพาหิกวิธี.
สงฆ์คัดเลือกภิกษุ รูปเป็นพวกปราจีน ๔ รูปเป็นพวกเมืองปาฐา คือ ท่านพระสัพพกามี ๑ ท่านพระสาฬหะ ๑ ท่านพระอุชชโสภิตะ ๑ ท่าน พระวาสภคามิกะ ๑ เป็นฝ่ายภิกษุพวกปราจีน ท่านพระเรวตะ ๑ ท่านพระ-
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 551
สัมภูตสาณวาสี ๑ ท่านพระยสกากัณฑกบุตร ๑ ท่านพระสุมน ๑ เป็นฝ่าย ภิกษุพวกเมืองปาฐา ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติทุติยกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเราวินิจฉัยอธิกรณ์ นี้อยู่ เสียงอื้อฉาวเกิดขึ้นไม่สั้นสุด และไม่เข้าใจข้อความของถ้อยคำ ที่กล่าวแล้วสักข้อเดียว ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์ พึงสมมติภิกษุ ๔ รูปให้เป็นพวกปราจีน ๔ รูปให้เป็นพวกเมื่องปาฐา เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ด้วยอุพพาหิกวิธี นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เนื้อพวกเราวินิจฉัยอธิกรณ์ นี้อยู่ เสียงอื้อฉาวเกิดขึ้นไม่สิ้นสุด และไม่เข้าใจข้อความของถ้อยคำ ที่กล่าวแล้วสักข้อเดียว สงฆ์สมมติภิกษุ ๔ รูปให้เป็นพวกปราจีน ๔ รูปให้เป็นพวกเมื่องปาฐา เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ด้วยอุพพาหิกวิธี การสมมตภิกษุ ๔ รูปให้เป็นพวกปราจีน ๔ รูปให้เป็นพวกเมืองปาฐา เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี ชอบแก่ท่านผู้ใด. ท่านผู้นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
สงฆ์สมมตภิกษุ ๔ รูปให้เป็นพวกปราจีน ๔ รูปให้เป็นพวก เมื่องปาฐา เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ด้วยอุพพาหิกวิธีแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 552
เรื่องพระอชิตะ
[๖๕๐] โดยสมัยนั้นแล พระอชิตะมีพรรษาได้ ๑๐ เป็นผู้สวด ปาติโมกข์แก่สงฆ์ ครั้งนั้น สงฆ์สมมติท่านพระอชิตะให้เป็นผู้ปูอาสนะเพื่อ พระเถระทั้งหลาย พระเถระทั้งหลายคิดกันว่า พวกเราจะระงับอธิกรณ์นี้ ณ ที่ไหนหนอ แล้วคิดต่อไปว่า วาลิการามนี้แล เป็นรมณียสถาน มีเสียงน้อย ไม่มีเสียงเอ็ดอึง ถ้าไฉนพวกเราจะพึงระงับอธิกรณ์นี้ ณ วาลิการาม ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลายที่ประสงค์จะวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น ได้พากันไปวาลิการาม.
สมมติตนเป็นผู้ถามและแก้
[๖๕๑] ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ- กรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงถามพระวินัยกะท่านพระสัพพกามี.
ท่านพระสัพพกามีประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติกรรมวาจา
ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าอันพระเรวตะถามพระวินัยแล้วจะพึงแก้.
ถามและแก้วัตถุ ๑๐ ประการ
[๖๕๒] ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะถามท่านพระสัพพกามีว่า สิงคิโลณกัปปะควรหรือ ขอรับ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 553
พระสัพพกามีย้อนถามว่า สิงคิโลณกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ.
ร. คือ การเก็บเกลือไว้ในเขนงโดยตั้งใจว่า จักปรุงในอาหารที่จืดฉัน ควรหรือ ขอรับ.
ส. ไม่ควร ขอรับ.
ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน.
ส. ในเมืองสาวัตถี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์.
ร. ต้องอาบัติอะไร.
ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะอาหารที่ทำการสั่งสม.
ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า วัตถุที่ ๑ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้ จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์.
ข้อที่ ๑ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน.
[๖๕๓] ร. ทวังคุลกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ.
ส. ทวังคุลกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ.
ร. คือ การฉันโภชนะในวิกาล เมื่อตะวันบ่ายล่วงแล้วสององคุลี ควร หรือไม่ ขอรับ.
ส. ไม่ควร ขอรับ.
ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน.
ส. ในเมืองราชคฤห์ ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์.
ร. ต้องอาบัติอะไร.
ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะฉันโภชนะในเวลาวิกาล.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 554
ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า วัตถุที่ ๒ นี้สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๒ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน.
[๖๕๔] ร. คามันตรกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ.
ส. คามันตรกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ.
ร. คือ ภิกษุฉันเสร็จห้ามภัตรแล้วคิดว่า จักเข้าละแวกบ้าน ในบัดนี้ ฉันโภชนะเป็นอนติริตตะ ควรหรือไม่ ขอรับ.
ส. ไม่ควร ขอรับ.
ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน.
ส. ในเมืองสาวัตถี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์
ร. ต้องอาบัติอะไร.
ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะฉันโภชนะเป็นอนติริตตะ
ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า วัตถุที่ ๓ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๓ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน.
[๖๕๕] ร. อาวาสกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ.
ส. อาวาสกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ.
ร. คืออาวาสหลายแห่ง มีสีมาเดียวกัน. ทำอุโบสถต่างกัน ควรหรือ ไม่ ขอรับ.
ส. ไม่ควร ขอรับ.
ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 555
ส. ในเมืองราชคฤห์ ปรากฏในคัมภีร์อุโบสถสังยุต.
ร. ต้องอาบัติอะไร.
ส. ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะละเมิดวินัย.
ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า วัตถุที่ ๔ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๔ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน.
[๖๕๖] ร. อนุมติกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ.
ส. อนุมติกัปปะนั้น คืออะไร.
ร. คือ สงฆ์เป็นวรรคทำกรรม ด้วยตั้งใจว่า จักให้ภิกษุที่มาแล้ว อนุมัติ ควรหรือไม่ ขอรับ.
ส. ไม่ควร ขอรับ.
ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน.
ส. ในเมืองจัมเปยยกะ ปรากฏในเรื่องวินัย.
ร. ต้องอาบัติอะไร.
ส. ต้องอาบัติทุกกฏ ในเพราะละเมิดวินัย.
ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๕ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๕ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน.
[๖๕๗] ร. อาจิณณกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ.
ส. อาจิณกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ.
ร. คือ การประพฤติวัตรด้วยเข้าใจว่า นี้พระอุปัชฌายะของเราเคย ประพฤติมา นี้พระอาจารย์ของเราเคยประพฤติมา ควรหรือไม่ ขอรับ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 556
ส. อาจิณณกัปปะบางอย่างควร บางอย่างไม่ควร ขอรับ.
ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า วัตถุที่ ๖ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๖ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน.
[๖๕๘] ร. อมถิตกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ.
ส. อมถิตกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ.
ร. คือ นมสดละความเป็นนมสดแล้ว ยังไม่ถึงความเป็นนมส้ม ภิกษุ ฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว จะดื่มนมนั้นอันเป็นอนติริตตะ ควรหรือไม่ ขอรับ.
ส. ไม่ควร ขอรับ.
ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน.
ส. ในเมืองสาวัตถี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์
ร. ต้องอาบัติอะไร.
ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะฉันโภชนะอันเป็นอนติริตตะ.
ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า วัตถุที่ ๗ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๗ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยง สัตถุสาสน์ข้อที่ ๗ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน.
[๖๕๙] ร. การดื่มชโลคิ ควรหรือไม่ ขอรับ.
ส. ชโลคินั้น คืออะไร ขอรับ.
ร. คือ การดื่มสุราอย่างอ่อนที่ยังไม่ถึงความเป็นน้ำเมา ควรหรือไม่ ขอรับ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 557
ส. ไม่ควร ขอรับ
ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน.
ส. ในเมืองโกสัมพี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์.
ร. ต้องอาบัติอะไร.
ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะดื่มสุราและเมรัย
ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า วัตถุที่ ๘ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๘ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน.
[๖๖๐] ร. ผ้าปูนั่งไม่มีชาย ควรหรือไม่ ขอรับ.
ส. ไม่ควร ขอรับ.
ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน.
ส. ในเมืองสาวัตถี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์.
ร. ต้องอาบัติอะไร.
ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ที่ต้องตัดเสีย.
ร. ท่านเจ้าข้า ของสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า วัตถุที่ ๙ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๙ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน.
[๖๖๐] ร. ทองและเงิน ควร หรือไม่ ขอรับ.
ส. ไม่ควร ขอรับ.
ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน.
ส. ในเมืองราชคฤห์ ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์.
ร. ต้องอาบัติอะไร.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 558
ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะรับทองและเงิน.
ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๑๐ นี้ สงฆ์วินิจฉัย แล้วแม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๑๐ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน.
[๖๖๒] ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า วัตถุ ๑๐ ประการนี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุ ๑๐ ประการนี้ จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์.
[๖๖๓] พระสัพพกามีกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย อธิกรณ์นั่นสงฆ์ชำระ แล้ว สงบระงับเรียบร้อยดีแล้ว อนึ่ง ท่านพึงถามวัตถุ ๑๐ ประการนี้กะผม แม้ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นรู้ทั่วกัน.
ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะได้ถามวัตถุ ๑๐ ประการนี้กะท่านพระสัพพกามีแม้ในท่ามกลางสงฆ์ ท่านพระสัพพกามี อันท่านพระเรวตะถามแล้วๆ ได้วิสัชนาแล้ว.
ก็ในสังคายนาพระวินัยครั้งนี้ มีภิกษุ ๗๐๐ รูป ไม่หย่อน ไม่เกิน เพราะฉะนั้น การสังคายนาพระวินัยครั้งนี้ บัณฑิตจึงเรียกว่า แจง ๗๐๐ ดังนี้แล
สัตตสติกขันธกะ ที่ ๑๒ จบ
ในขันธกะนี้มี ๒๕ เรื่อง
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 559
หัวข้อประจำขันธกะ
[๖๖๔] เรื่องวัตถุ ๑๐ เรื่องเทน้ำให้เต็มถาดสัมฤทธิ์ เรื่องลงปฏิสารณียกรรม เรื่องเข้าไปในเมืองเวสาลีกับทูต เรื่องเศร้าหมองของพระจันทร์ พระอาทิตย์ ๔ อย่าง เรื่องความเศร้าหมองของสมณะอีก ๔ อย่าง เรื่องรับทอง และเงิน เรื่องพระยสไปปรากฏตัวที่เมืองโกสัมพี เรื่องภิกษุชาวเมืองปาฐา เรื่องแสวงหาพวก เรื่องเมืองโสเรยยะ เรื่องเมืองสังกัสสะ เรื่องเมืองกัณณกุชชะ เรื่องไปเมืองอุทุมพร เรื่องไปเมืองสหชาติ เรื่องอาราธนาสวดสรกัญญะ เรื่องพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีได้ทราบข่าว เรื่องพวกเราจะได้ใครหนอเป็น ฝักฝ่าย เรื่องจัดแจงสมณบริขารมีบาตรเป็นต้น เรื่องโดยสารเรือไปไกล เรื่อง ท่านพระอุตตระรับคำ เรื่องถูกตำหนิร้ายแรง เรื่องสงฆ์ไปเมืองเวสาลี เรื่อง เมตตา เรื่องสงฆ์ระงับอธิกรณ์ด้วยอุพพาหิกวิธี.
หัวข้อประจำขันธกะ จบ
จุลวรรค ภาค ๒ จบ
พระวินัยปิฏก เล่ม ๗ จบ